ฉบับที่ 162 เลือกบริโภค “ผัก” ปลอดสาร ต้องมั่นใจว่าปลอดภัยจริง

“กินผักดี  มีประโยชน์” แนวทางหนึ่งที่คนรักสุขภาพเชื่อกันว่าจะทำให้ห่างไกลจากโรควิถีชีวิต ซึ่งเป็นโรคที่รายงานจากองค์การอนามัยโลกระบุว่า เป็นสาเหตุของการเจ็บป่วยและเสียชีวิตของคนยุคนี้ถึงกว่า 66 % โดยเฉพาะในประเทศที่กำลังพัฒนา เนื่องจากการใช้ชีวิตที่เร่งรีบ การบริโภคอาหารนอกบ้าน ประเภทอาหารจานด่วน การมีพฤติกรรมกินอาหารมีไขมันแบบเดิมๆ ซ้ำๆ จึงทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมา อาทิ เบาหวาน ความดัน ไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ ฯลฯ ­­ “เตรียมผักไว้ทำกับข้าว” กินที่บ้านกับคนในบ้าน ดีทั้งสุขภาพ และมีความสุขกับคนในครอบครัว ลูกๆ หลานๆ  แต่จะมั่นใจได้อย่างไรว่า “ผัก” ที่บริโภคกันอยู่ทุกวันนี้ปลอดสารพิษ กินดี และมีประโยชน์จริง เพราะผักปลอดสารพิษที่นำมาขายตามท้องตลาดและห้างสรรพสินค้า มีมากชนิดเสียจนบางครั้งก็ทำให้สับสนว่าจะเลือกซื้อร้านไหน หรือ ยี่ห้อไหนดี หรือว่าจำเป็นหรือไม่ที่หันมาบริโภคผักปลอดสารพิษที่มีราคาสูงกว่าผักทั่วไปถึง 3-4 เท่าตัว สำหรับผักปลอดสารพิษนั้น หลายๆ คนอาจเข้าใจว่ามีกรรมวิธีการปลูกขึ้นโดยธรรมชาติ และไม่มีการใช้สารเคมีใด ๆ ทั้งสิ้น อันที่จริงแล้วอ่านดูจากข้อมูลจากกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์  ซึ่งทำหน้าที่ดูแลและตรวจสอบมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร พบว่าเขาอนุญาตให้มีการใช้สารเคมีบางชนิดในผักปลอดสารพิษได้ เช่น ปุ๋ยเคมี ยากำจัดศัตรูพืช ยาฆ่าแมลง ฮอร์โมน แต่มีข้อแม้คือ สารเคมีดังกล่าวจะต้องมีสารตกค้างในระยะสั้นเท่านั้น และจะต้องหยุดใช้ก่อนการเก็บเกี่ยวที่ทางกรมส่งเสริมการเกษตรได้กำหนดไว้  ซึ่งนี่ถือเป็นมาตรการป้องกันระดับหนึ่งของหน่วยงานภาครัฐ จากตารางข้างต้น อธิบายได้ว่า ผักอินทรีย์ หรือผักออร์แกนิค คือผักที่ไม่ใช้สารเคมี ทั้งสิ้นในการปลูก ไม่ว่าจะเป็นสารเคมีกำจัดโรค กำจัดแมลง กำจัดศัตรูพืช ไม่ใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์ ไม่ใช้เมล็ดดัดแปลงพันธุกรรม และให้ความสำคัญในการรักษาสิ่งแวดล้อม. ส่วนผักอนามัย จะปลูกแบบใช้สารเคมีในปริมาณที่กรมฯ กำหนด มีการใส่ใจเรื่องความสะอาดทุกขั้นตอน ก่อนและหลังการเก็บและบรรจุลงหีบห่อ สำหรับ  ผักปลอดสารพิษ ต้องไม่มีการใช้สารเคมีแต่ก็มีบางชนิดที่สามารถใช้ได้ ผักไฮโดรโปนิกส์ ซึ่งเป็นการปลูกโดยน้ำนั้น ยาฆ่าแมลงและยาปราบ ศัตรูพืชจะเข้าสู่ผักได้ แต่ทราบว่ากรมฯ เขาก็ได้กำหนดปริมาณที่เหมาะสมไว้แล้วเช่นกัน ฟังดูอย่างนี้ก็จะรู้สึกว่าผักอินทรีย์ หรือผักออร์แกนิค น่าจะสะอาดที่สุดและปลอดภัย กว่าผักประเภทอื่น แต่ก็มีราคาสูงมาก ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับผู้บริโภคแล้วว่าจะเลือกซื้อแบบไหน ที่น่าคิดคือ เรามั่นใจได้อย่างไรว่า ข้อความที่พิมพ์ไว้บนถุงผักที่วางขายตามร้าน ได้ผ่านการปลูกแบบปลอดสารพิษจริงๆ ไม่ใช่แค่พิมพ์ข้อความไว้เท่านั้น ก็คงต้องฝากหน่วยงานไปเข้มงวดกวดขันกันหน่อย หรือหากไม่อยากเสียเงินเยอะๆ ก็ซื้อผักธรรมดาตามท้องตลาดก็ได้ แต่ลองเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค เช่น อย่าเลือกซื้อแต่ผักที่สวย ไม่มีหนอนหรือแมลงกัดกิน เพราะนั่นแสดงว่าอาจมีการใช้สารเคมีในการปลูก แต่ก็ไม่แน่นอนเสมอไปเพราะได้ข่าวว่าหลังๆ นี้เริ่มมีวิธีการหลอกลวงขั้นเทพ คือสามารถทำให้ผักที่ขายมีร่องรอยเหมือนหนอนกินได้แล้ว เท็จจริงอย่างไรก็ลองสืบหาข้อเท็จจริงกันต่อไป กินผักตามฤดูกาล กินผักหน้าตาแปลกๆ บ้าง ไม่ซ้ำซากอยู่แต่กับผักเดิมๆ ก็ช่วยได้มาก ข้อสำคัญไม่ว่าจะเลือกซื้อผักปลอดสารพิษ หรือไม่ปลอดสารพิษมาแล้วก็ต้องล้างให้สะอาดด้วยอย่างน้อยก็ช่วยลดสารปนเปื้อนลงได้ระดับหนึ่ง(เว้นพวกดูดซึม อันนี้สุดจะเยียวยา) ก่อนนำมารับประทานหรือปรุงอาหาร จะได้มั่นใจขึ้นเป็นสองเท่า

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 119 อาหาร 1 ใน 3 ไม่ปลอดภัย

  นับเนื่องจากที่ผมได้ร่วมทำโครงการอาหารปลอดภัย(ชื่อเล่นนะครับ) ผมก็ได้นำเสนอผลการทดสอบผลิตภัณฑ์อาหารไปหลากหลายชนิดมาก มากขนาดรวมเป็นหนังสือ “ถูกปาก” ที่ทางฉลาดซื้อจัดพิมพ์จำหน่ายไปเมื่อตุลาคมที่ผ่านมาได้หนึ่งเล่มเชียวนะครับ   แต่งานในโครงการฯ นี้มีมากกว่าการทดสอบผลิตภัณฑ์อาหารครับ ท่านบอกอเลยขอร้องเสียงแข็งให้ผมช่วยสรุปภาพรวมของโครงการฯ มาเล่าให้สมาชิกฉลาดซื้อได้รับรู้บ้าง ก็เลยขอเบียดคอลัมน์ช่วงฉลาดช้อปหน่อยนะครับ ความเป็นมาโครงการพัฒนากลไกการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารของผู้บริโภคเป็นโครงการความร่วมมือของ 3  ภาคี คือระหว่างเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคใน 8 จังหวัด (กรุงเทพฯ สมุทรสงคราม ขอนแก่น มหาสารคาม เชียงใหม่ พะเยา สงขลา และสตูล)   โดยมีมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเป็นผู้ประสานงานกลางกับเครือข่ายห้องปฏิบัติการทางอาหารในระดับภูมิภาค (ม.เชียงใหม่ ม.ขอนแก่น และ ม.สงขลานครินทร์) ที่มีสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นผู้ประสานงานกลาง และ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ อุบลราชธานี   ทำหน้าที่พัฒนาและดูแลระบบฐานข้อมูลการเฝ้าระวังความไม่ปลอดภัยทางอาหาร ดำเนินงานภายใต้วัตถุประสงค์หลักสามประการ คือ (1) เพื่อพัฒนากลไกการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารโดยผู้บริโภค (2) เพื่อคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจากปัญหาความไม่ปลอดภัยด้านอาหาร และ (3) เพื่อพัฒนาเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคในการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหาร   เราทำอะไรไปบ้าง จากการดำเนินงานที่ผ่านมา การพัฒนากลไกการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารของผู้บริโภค ได้          จัดตั้งศูนย์เฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารในระดับจังหวัดขึ้นใน 8 จังหวัด จาก 4 ภูมิภาค โดยมีสมาชิกเครือข่ายที่ตื่นตัวและทำการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารประมาณ 500 คน ในกรุงเทพฯ จังหวัดสมุทรสงคราม ขอนแก่น มหาสารคาม เชียงใหม่ พะเยา สงขลา และจังหวัดสตูล โดยศูนย์เฝ้าระวังทั้ง 8 จังหวัดได้พัฒนาร่วมกันเป็นกลไกการเฝ้าระวังระดับประเทศ  จัดกิจกรรมสำคัญ (ก) การสนับสนุนข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ความปลอดภัยด้านอาหารให้แก่พื้นที่ดำเนินงานทุก 2 สัปดาห์  (ข) การฝึกอบรมด้านกฎหมาย เทคนิคการรับเรื่องร้องเรียนด้านอาหาร และการติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงาน   นอกจากนั้นยังได้รับการสนับสนุนจากศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์อุบลราชธานี พัฒนาระบบฐานข้อมูลและเว็บไซท์ สำหรับการรายงานและเผยแพร่ข้อมูลปัญหาความไม่ปลอดภัยด้านอาหาร www.tumdee.org/food/ เชื่อมโยงกับเว็บไซท์มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค www.consumerthai.org เพื่อสามารถเข้าถึงได้มากขึ้นและง่ายแก่การนำข้อมูลไปใช้ และได้ดำเนินการพัฒนาศักยภาพในการใช้ฐานข้อมูลและการรายงานข้อมูลความไม่ปลอดภัยด้านอาหารแก่เจ้าหน้าที่ของพื้นที่ดำเนินงานทั้ง 8 จังหวัด   ข้อมูล  อีกทั้งยังได้ดำเนินการรายงานและเผยแพร่ข้อมูลผลการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารให้แก่ผู้บริโภคอย่างต่อเนื่องผ่านสื่อต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อวิทยุ สื่อโทรทัศน์ หรือสื่อความรู้แบบอื่น ๆ เพื่อให้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจแก่ผู้บริโภคในการเลือกซื้อสินค้าที่มีมาตรฐาน มีคุณภาพ และปลอดภัย   อาหาร 1 ใน 3 ไม่ปลอดภัยจากที่ได้รายงานผลทดสอบผลิตภัณฑ์อาหารอย่างสม่ำเสมอในฉลาดซื้อ อันนี้เกิดจากความร่วมมือกันของศูนย์ฯ ทั้ง 8 จังหวัด ที่แข็งขันช่วยกันลงพื้นที่เก็บตัวอย่างและส่งวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ ซึ่งตลอดปีที่ผ่านมา มีตัวอย่างที่เราส่งวิเคราะห์รวมกว่า 750 รายการ   และจากการวิเคราะห์พบว่าอย่างน้อย 1 ใน 3 ของอาหารที่สุ่มตัวอย่าง มีการปนเปื้อนเกินมาตรฐาน ไม่ว่าจะเป็นด้านจุลินทรีย์ หรือเคมี ยกตัวอย่างเช่น สารกันบูดในลูกชิ้นหมู ไก่เนื้อ และปลา ยาฆ่าแมลงในผัก-ผลไม้   ทั้งที่เป็นประเภทปลอดสารและที่ขายอยู่ในตลาดปกติ ยาฆ่าแมลง อะฟลาท็อกซินและโลหะหนักตกค้างในของแห้งจำพวก กุ้งแห้ง ปลาหมึกแห้ง เห็ดหอมแห้ง เห็ดหูหนูขาว และสาหร่ายแกงจืด ทั้งนำเข้าและที่ขายอยู่ภายในประเทศ จุลินทรีย์ปนเปื้อน หรือความผิดปกติของค่าโปรตีน(มีทั้งน้อยและมากจนผิดปกติ)ในนมโรงเรียนทั้งชนิด พาสเจอร์ไรส์ และยูเอชที และคุณค่าทางโภชนาการและโลหะหนักในสาหร่ายขนมเด็ก เป็นต้น ซึ่งคงผ่านตาท่านผู้อ่านฉลาดซื้อไปแล้ว  เรื่องอาหารที่เรานำเสนอนี้สร้างกระแสฮือฮาได้มากนะครับ ผมได้รับจดหมายไถ่ถามจากบริษัทผู้ผลิตเป็นระยะๆ ว่า โครงการฯ เราทำอะไร ทดสอบยังไง โดยส่วนใหญ่ผู้ผลิตเจ้าใหญ่ที่พบว่าเกิดปัญหากับผลิตภัณฑ์ของตน ก็ยินดีที่ทางเราช่วยเป็นหูเป็นตาให้อีกทาง และพร้อมที่จะนำข้อเสนอของเราไปปรับปรุงตัวผลิตภัณฑ์ อันนี้ถือเป็นเรื่องน่ายินดีมากครับ และรายที่แย่ๆ หาผู้ผลิตไม่เจอ ก็พบว่า หายหน้าหายตาไปจากตลาดเหมือนกันครับ อันนี้ผมถือว่า เป็นเรื่องดี แต่อาจจะมาโผล่ในชื่อหรือยี่ห้ออื่นหรือไม่ อันนี้ต้องติดตามกันต่อไป   ข้อเสนอทางด้านนโยบายเมื่อพบว่ามีปัญหาอะไรบ้างในห่วงโซ่ของการผลิตอาหาร ผู้ร่วมดำเนินงานในโครงการฯ ก็ได้ร่วมกันพัฒนานโยบายสำคัญเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคด้านความปลอดภัยของอาหารขึ้น ซึ่งได้ผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมสมัชชาผู้บริโภค ที่มีผู้บริโภคเข้าร่วมไม่น้อยกว่า 500 คน คิดว่าหลายท่านก็คงจะได้เข้าร่วมประชุมในครั้งนั้นด้วย  จากนั้นก็นำเสนอรายละเอียดเผยแพร่ให้กับสาธารณชน เพื่อที่จะได้ผลักดันให้หน่วยงานรัฐ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการควบคุม กำกับดูแล และส่งเสริมให้เกิดความปลอดภัยด้านอาหารได้พัฒนาต่อไป สำหรับท่านใดที่สนใจเรื่องข้อเสนอนโยบาย เราจัดทำเป็นเอกสารแจก ติดต่อมาที่ผมได้ครับเอกสารยังพอมีเหลืออยู่บ้าง   ก้าวต่อไปเพื่อสังคมที่มีคุณภาพถึงแม้โครงการนี้จะเป็นการทดลองพัฒนากลไกการคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหารใน 8 จังหวัด และมีความจำกัดด้านความรู้เชิงวิชาการขององค์กรผู้บริโภคในการเผยแพร่ข้อมูลเรื่องนี้ต่อสาธารณะ แต่โครงการได้ขยายผลเพิ่มเติมในการพัฒนาความร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.)   โดยมีคณะทำงานในการใช้ประโยชน์จากผลข้อมูลการเฝ้าระวังอาหารร่วมกัน และการพัฒนาความร่วมมือเรื่องอาหารปลอดภัย ในอนาคต ซึ่งหน่วยงานรัฐหรือหน่วยงานท้องถิ่นควรจะมีการสนับสนุนระบบการพัฒนาการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหาร และการรณรงค์เรื่องอาหารปลอดภัยโดยผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง เพื่อความมั่นคงและความปลอดภัยด้านอาหารของประชาชนคนไทยทุกคน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 169 ถึงเวลาต้องปฏิรูปการเข้าถึงอาหารปลอดภัย

15 มีนาคม ของทุกปี  คือวันคุ้มครองผู้บริโภคสากล  เป็นวันที่ผู้บริโภคทั่วโลกลุกขึ้นมาเรียกร้องสิทธิขั้นพื้นฐาน  จากการที่ถูกละเมิดสิทธิโดยผู้ประกอบการที่ไร้ธรรมาภิบาล  โดยรัฐบาลของแต่ละประเทศมีหน้าที่กำหนดนโยบายเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคแท้จริงแล้ว  ประเทศไทยมีการพูดถึงสิทธิผู้บริโภคมาก่อนปี 2520  และผลักดันจนทำให้เกิด พ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งมีผลบังคับใช้มาตั้งแต่ปี 2522  โดยกำหนดสิทธิผู้บริโภคไว้ถึง 5 ประการ  คือ สิทธิที่จะได้รับข่าวสารรวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าและบริการ/สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกสินค้าและบริการ/สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา/สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าและบริการ/สิทธิจะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย   (ยังมีสิทธิผู้บริโภคสากลอีก 3 ข้อ)และให้มี สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค  ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ  มาเป็นผู้กำกับดูแลงานด้านคุ้มครองผู้บริโภคของประเทศไทย  และมีการขยายงานคุ้มครองผู้บริโภค ออกไปอีกหลายหน่วยงานในแต่ละด้านแต่รัฐก็คือรัฐ งานทุกเรื่องเป็นไปอย่างล่าช้า   ไม่ทันเล่ห์เหลี่ยมผู้ประกอบการที่ไร้จริยธรรม  แม้ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค มีผลบังคับใช้มากว่า 35 ปีแต่ก็ยังไม่สามารถทำให้ผู้บริโภคได้รับการคุ้มครองอย่างจริงจัง!งานสมัชชาผู้บริโภคที่จัดขึ้นวันที่ 15 มีนาคม ปีนี้   เน้นไปที่เรื่องการเข้าถึงอาหารปลอดภัย  เพื่อกระตุ้นให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  จริงจังกับเรื่องอาหารปลอดภัยเพิ่มขึ้น  ไม่ใช่บริโภคอาหารตามที่โฆษณา เช่น  กินชาเขียว(น้ำตาลเยอะ)แล้วได้รถเบนซ์  กินเครื่องดื่มชูกำลังแล้ว ได้เงิน 10 ล้าน  คนก็ระดมกินกันมากมายเพื่อหวังรวย  มิได้กินเพื่อเป็นอาหาร  ยกตัวอย่าง เช่น บริษัทเครื่องดื่มชูกำลัง มักชอบไปจัดงานอีเว้น  ในต่างจังหวัดโดยมีสิ่งล่อใจ ด้วยของขวัญของรางวัล และเชิญดารานักร้องดังไปปรากฏตัว  แต่มีข้อแม้ใครจะเข้างานต้องมีฝาขวด 10 ฝา  บางคนก็เตรียมมาจากบ้าน  คนที่ไม่ได้เตรียมมาก็ซื้อได้เลยหน้างาน สิ่งที่น่าเศร้าใจที่สุดคือ เด็กประมาณ 11 ขวบ ยืนกินเครื่องดื่มชูกำลังตรงนั้นรวดเดียว 10 ขวด  เพียงแค่อยากเข้าไปสัมผัสใกล้ชิดกับดาราที่ชื่นชอบ  โดยที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่มีใครเสนอตัวเข้ามาเป็นเจ้าภาพจัดการ       ยังไม่รวมถึงการโฆษณาอาหารเสริม  ให้เข้าใจผิดว่าเป็นยารักษาโรค   การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพที่สำคัญ  มี  2 ส่วน ต้องมีการกำกับการโฆษณาอาหารมิให้เกิดการโฆษณาเกินจริง และใช้การพนันมาสร้างแรงจูงใจให้ซื้อสินค้า   ควบคุมความหวานในอาหาร และกำหนดห้ามดื่มเกินวันละ กี่ขวด   เพราะ “ปากคือประตูสู่โรคภัย”  ไม่ควบคุมวันนี้ อนาคตเด็กไทย  จะเป็น “คนอมโรค” ซึ่งจะส่งผลกระทบกับเศรษฐกิจ  และความมั่นคงของประเทศ   ดังนั้นการทำให้ผู้บริโภคเท่าทัน!  ก่อนหยิบอะไรใส่ปากจึงเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่ง!  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 115 ก๊าซเอ็นจีวี พลังงานสะอาด ปลอดภัยจริงหรือ

ยวดยานนับหลายล้านคันที่วิ่งอยู่บนท้องถนนในปัจจุบัน มีรถยนต์ที่ใช้ก๊าซเอ็นจีวีเป็นเชื้อเพลิงอยู่เกือบ 2 แสนคัน คนส่วนใหญ่เชื่อว่าเอ็นจีวีเป็นพลังงานสะอาดและปลอดภัย แต่ความเชื่อนี้อาจจะไม่เป็นจริงเสียแล้วในวันนี้เราทราบถึงคำถามเรื่องนี้จากการจัดเวทีเสวนาของคณะกรรมาธิการศึกษา ตรวจสอบเรื่องการทุจริต และเสริมสร้างธรรมาภิบาล ที่มีนางสาวรสนา โตสิตระกูล วุฒิสมาชิกกรุงเทพมหานคร เป็นประธาน เวทีนี้จัดไปเมื่อวันที่ 6 สิงหาคมที่ผ่านมาจุดเริ่มเรื่องมาจากสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย ได้ทำหนังสือร้องเรียน มาถึงคณะกรรมาธิการชุดดังกล่าว โดยแจ้งว่า เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ.2552 กรมธุรกิจพลังงาน กระทรวง พลังงาน ได้ออกประกาศขึ้นมาฉบับหนึ่ง เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของก๊าซธรรมชาติ สำหรับยานยนต์ พ.ศ.2552สาระสำคัญของประกาศฉบับนี้คือ ต้องการให้เอ็นจีวีที่ใช้กับรถยนต์ซึ่งถูกผลิตมาจากแหล่งผลิตต่างๆ เช่น จากฝั่งอ่าวไทย จากฝั่งอันดามัน จากแหล่งน้ำมันสิริกิติ์ จ.กำแพงเพชร หรือจากแหล่งน้ำพอง จ.ขอนแก่น และมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันโดยธรรมชาติได้มีคุณภาพมาตรฐานเดียวกัน โดยกำหนดค่าดัชนีวอบบี้หรือค่าพลังงานความร้อน ซึ่งเป็นคุณสมบัติสำคัญที่จะใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์ได้ให้อยู่ระหว่าง 37-42 เมกกะจูล/ลูกบาก์เมตร(MJ/m3) และให้มีคาร์บอนไดออกไซด์ได้ไม่เกินร้อยละ 18 ของปริมาตรอ่านมาถึงตรงนี้ ท่านผู้บริโภคอาจคิดว่าก็ดีแล้วนี่ ที่มีการปรับปรุงคุณภาพก๊าซเอ็นจีวี แล้วจะมาร้องเรียนกันทำไม สิ่งที่ผู้บริโภคต้องตั้งคำถามสหพันธ์การขนส่งทางบกฯ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมตรงนี้ว่า ผลของประกาศฉบับนี้ ทำให้ บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) ในฐานะผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติ ใช้เป็นเงื่อนไขที่จะต้องมีการเติมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงไปในก๊าซธรรมชาติ เพื่อลดค่าดัชนีวอบบี้ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กรมธุรกิจพลังงานกำหนด ซึ่งจะต้องมีการปิดปั๊มก๊าซเอ็นจีวีหลายแห่งในช่วงเดือนสิงหาคมต่อเดือนกันยายน 2553 เพื่อทำสิ่งที่เรียกว่า “ปรับปรุง” คุณภาพก๊าซเอ็นจีวีที่จะจำหน่ายให้กับผู้ใช้รถยนต์กว่า 2 แสนคันและให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ค่าดัชนีวอบบี้หรือค่าพลังงานความร้อนที่กรมธุรกิจพลังงานกำหนดน่ะ ดันต่ำกว่าค่ามาตรฐานสากลของก๊าซธรรมชาติที่หลายๆ ประเทศมีใช้อยู่ในปัจจุบัน ที่ถูกกำหนดไว้ที่ 46-52.9 MJ/m3 และต่ำกว่าค่าดัชนีวอบบี้ของก๊าซธรรมชาติที่ผลิตได้จากแหล่งต่างๆ ในประเทศ โดยเฉพาะจากแหล่งอ่าวไทยซึ่งถือเป็นแหล่งใหญ่ที่นำมาผลิตเป็นก๊าซเอ็นจีวี ซึ่งมีค่าดัชนีวอบบี้อยู่ที่ 41.9-44.0 MJ/m3ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับผู้บริโภค คือ การไปกำหนดค่าดัชนีวอบบี้ที่ต่ำว่ามาตรฐานสากลและต่ำกว่าคุณสมบัติที่เป็นจริงของก๊าซธรรมชาติที่ผลิตได้ของประเทศเช่นนี้ ทำให้ ปตท. ใช้โอกาสนี้เติมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงไปในในเอ็นจีวีเพื่อให้ได้มาตรฐานต่ำๆ ตามที่กรมธุรกิจพลังงานกำหนด และยังปล่อยให้เติมได้ถึง 18% ของเนื้อก๊าซเอ็นจีวีทั้งหมด ในขณะที่มาตรฐานสากลยอมให้มีคาร์บอนไดออกไซด์ได้ไม่เกิน 3% หรือในบางมาตรฐานที่บางประเทศใช้กันเขาไม่ยอมให้มีเลยด้วยซ้ำ ทั้งนี้เพื่อลดปัญหาภาวะโลกร้อน อันเกิดจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศของโลกนั่นเองและสิ่งที่สหพันธ์การขนส่งทางบกฯ กังวลมากที่สุด คือ หากปล่อยให้มีอัตราส่วนของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่สูงมากภายในถังเก็บก๊าซเอ็นจีวีที่ติดตั้งกับรถยนต์ประเภทต่างๆ ทั้งรถบรรทุกหรือรถยนต์ส่วนบุคคลเมื่อใด ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อาจทำปฏิกิริยากับน้ำหรือความชื้นที่อยู่ในถังซึ่งอาจเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย จะทำให้เกิดเป็น Feco3 หรือเหล็กคาร์บอเนต ซึ่งจะทำให้ถังเอ็นจีวีมีโอกาสกัดกร่อนได้เร็วขึ้น เปรียบเสมือนว่า ถังก๊าซเอ็นจีวี(ที่ติดตั้งในรถยนต์กว่า 2 แสนคัน)มีโอกาสระเบิดได้ทุกเมื่อ เนื่องจากก๊าซเอ็นจีวีเป็นก๊าซคุณสมบัติเบากว่าอากาศมากจึงต้องใช้แรงดันอัดมหาศาลและต้องอยู่ในถังที่มีสภาพความทนทานมากๆ เท่านั้น ใช้ถังเหล็กธรรมดาอย่างก๊าซหุงต้มหรือแอลพีจีไม่ได้อ่านมาถึงตรงนี้ จึงขอตั้งเป็นคำถามสำคัญสำหรับผู้บริโภคทุกคนว่า เงินที่เราจ่ายซื้อเอ็นจีวีเติมลงไปในถังนั้นคุ้มค่าจริงหรือไม่ เพราะแทนที่เงิน 100 บาทที่จ่ายไปจะได้เอ็นจีวีที่มีคุณภาพช่วยรถวิ่งปรื๋อเต็มๆ 100 บาท กลับกลายเป็นเงินซื้อขยะอย่างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปถึง 18 บาททั้งๆ ที่ไม่ได้มีความจำเป็นกับรถยนต์ของเราเลยสักนิด และท้ายสุดก็ถูกปล่อยออกสู่ชั้นบรรยากาศของโลก เป็นแรงหนุนทำให้โลกร้อนขึ้นร่วมกับรถยนต์ที่ใช้ก๊าซแอลพีจี เบนซิล หรือดีเซลดังนั้น อ่านเรื่องนี้กันแล้วในฐานะคนอ่านฉลาดซื้อต้องช่วยกันตะโกนถามคำถามนี้กันดังๆ ครับ หวังว่าเมื่อกรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน ได้ยินคำถามของผู้บริโภคแล้ว จะได้กลับไปใช้สมองคิดทบทวนการกำหนดคุณภาพมาตรฐานก๊าซเอ็นจีวีเสียใหม่โดยเร็ว อย่าปล่อยให้ผู้บริโภคต้องถูกเอารัดเอาเปรียบและตกอยู่ในภาวะเสี่ยงอันตรายถึงชีวิตแบบนี้เลยขอรับ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 99 โตโยต้าคัมรี่ ACV30 ถุงลมนิรภัยไม่ทำงาน

เป็นเรื่องยากที่คนซื้อรถจะรู้ว่าถุงลมนิรภัยที่ติดมากับรถนั้น จะสามารถทำงานได้เจ๋งลดความรุนแรงของอุบัติเหตุเหมือนอย่างที่โฆษณาไว้หรือเปล่า จะรู้ได้ก็ต่อเมื่อมีการชนเกิดขึ้นนั่นแหละ นับเป็นอุปกรณ์นิรภัยที่ต้องลงทุนไม่น้อยเพื่อจะรู้ผลเพียงว่ามันทำงานหรือไม่ทำงานด้วยโฆษณาถึงสมรรถนะในการขับขี่ที่ดีเยี่ยม และมีระบบถุงลมนิรภัยที่ได้รับการรับรองว่าถูกออกแบบมาให้ทำงานเมื่อได้รับแรงกระแทกอย่างรุนแรงทางด้านหน้าตลอดทั้งแนวทำให้คุณจิระ(นามสมมติ) ตัดสินใจซื้อรถเก๋งโตโยต้าคัมมรี่ ACV30 ด้วยเงิน 1.5 ล้านเศษ ๆ เมื่อประมาณปี 2545 ขับมาหลายปีดีดักก็ไม่เคยเกิดอุบัติเหตุให้ได้ทดลองใช้ระบบถุงลมนิรภัยสักครั้ง ซึ่งความจริงแล้วก็ไม่มีคนใช้รถหน้าไหนอยากจะทดลองใช้มันด้วยซ้ำหรอกครับ คุณจิระจึงเหมือนคนใช้รถส่วนใหญ่ที่เข้าใจว่าถุงลมนิรภัยที่อยู่ในรถยังสามารถทำงานได้ตามปกติหากมีการชนเกิดขึ้นจนเมื่อประมาณกลางเดือนมกราคมที่ผ่านมา คุณจิระได้ขับรถยนต์ไปตามถนนสายดอยสะเก็ด-เชียงราย ซึ่งเป็นเส้นทางตามสันเขามีโค้งหลายโค้ง แม้จะขับด้วยความระมัดระวังใช้ความเร็วประมาณ 70 กิโลเมตรต่อชั่วโมงแต่คุณจิระก็ไม่รอดขับไปชนกับรถกระบะที่วิ่งสวนทางมาอย่างแรงจนรถยนต์ได้รับความเสียหายกันทั้งสองฝ่าย ส่วนถุงลมนิรภัยที่อยู่ในรถแทนที่จะทำงานมันกลับเงียบเฉยไม่มีปฏิกิริยาใด ๆปล่อยให้ทั้งคนขับและผู้โดยสารได้รับบาดเจ็บสาหัสกันทั้งคัน ไม่ว่าจะป็นคุณจิระคนขับได้รับบาดเจ็บซี่โครงซ้ายร้าว เจ็บหน้าอก ภรรยาของคุณจิระที่นั่งคู่กันมาด้านหน้ากระดูกไขสันหลังช่วงกลางหลังถึงกับแตกละเอียด ในขณะที่เพื่อนซึ่งนั่งมาทางด้านหลังของคนขับได้รับบาดเจ็บช้ำบริเวณหน้าอกซ้าย แก้มบวมคุณจิระคิดว่า ถ้าถุงลมนิรภัยทำงานได้จริง ผู้โดยสารจะไม่บาดเจ็บหนักถึงขนาดนี้ และโตโยต้าควรรับผิดชอบอย่างใดอย่างหนึ่ง คุณจิระได้ส่งรถไปให้บริษัท โตโยต้าเชียงใหม่ จำกัด ตรวจสอบความเสียหายและสาเหตุที่ถุงลมนิรภัยไม่ทำงาน เมื่อประมาณเดือนมกราคม 2552 ได้รับผลการตรวจสอบกลับมาในเดือนมีนาคม 2552 โดยโตโยต้าสรุปผลการตรวจสอบออกมาว่า1. ลักษณะการชน เป็นการชนปะทะแบบเฉียงและการชนในลักษณะแบบมุดด้านใต้ซึ่งตำแหน่งที่รถถูกชนอยู่บริเวณด้านบนเหนือแชสซีดูดซับแรงกระแทก ซึ่งทำให้แรงปะทะที่เกิดขึ้นไม่เพียงพอที่จะไปกระตุ้นให้เซ็นเซอร์ถุงลมนิรภัยทางด้านหน้าซ้าย-ขวาทำงาน ดังนั้นจึงทำให้ไม่มีการส่งสัญญาณไปยังกล่อง ECU SRS จึงทำให้ระบบถุงลมนิรภัยไม่ทำงาน ถุงลมนิรภัยจึงไม่พองตัวออกมาตามเงื่อนไขการทำงานของระบบถุงลมนิรภัย2. การชนบริเวณตรงกลางที่ทำให้คานรับแรงกระแทกจากการชนงอตัวเข้าด้านในบริเวณตรงกลาง การชนในลักษณะนี้จะทำให้คานดูดซับแรงจากการชนเสียรูปและดูดซับแรงการชนแล้วเกิดแรงดึงให้แชสซีดูดซับแรงเสียรูปตามแรงบดึงของการชน จึงทำให้แรงปะทะที่เกิดจากการชนไม่ได้รับแรงกระแทกโดยตรงจากจากการชน ดังนั้นแรงหน่วงที่เกิดขึ้นจากการชนจึงถูกซับแรงและแรงหน่วงที่เกิดขึ้นนี้จึงไม่เพียงพอที่จะไปกระตุ้นให้เซ็นเซอร์ถุงลมนิรภัยทำงานได้ ดังนั้นระบบถุงลมนิรภัยจึงไม่ทำงาน ถุงลมนิรภัยไม่พองตัว 3. จากการตรวจสอบระบบการสั่งงานของระบบ Air bag จะแยกอิสระถึงแม้ว่าวงจรเซนเซอร์ด้านซ้ายจะขาดวงจรเนื่องจากการชน แต่เซนเซอร์ด้านขวาและเซนเซอร์ตรงกลางก็ยังสามารถที่จะสั่งการทำงานของถุงลมนิรภัยได้ถ้าแรงปะทะแรงหน่วงที่เกิดขึ้นเพียงพอที่จะทำให้เซนเซอร์ทั้ง 2 ที่เหลือทำงานอ่านเสียยืดยาว ถ้าสรุปให้ง่ายกว่านั้นโตโยต้าพยายามยืนยันนั่งยันว่า การทำงานของระบบถุงลมนิรภัยในรถรุ่นนี้ใช้งานได้ตามปกติ แต่ความผิดพลาดครั้งนี้มีนิดเดียวคือ รถชนกันเบาไปหน่อยไม่พอที่จะปลุกระบบถุงลมนิรภัยให้ทำงานได้อย่างที่ควรจะเป็นเป็นใครได้ฟังผลการตรวจสอบแบบนี้ก็ต้องโมโหกันบ้างล่ะครับ คุณจิระก็ไม่แพ้กัน“รถชนจนยับ คนในรถเจ็บหนักแต่ถุงลมไม่ออก ตอนซื้อรถยนต์เขาบอกว่าถ้าชนที่ความเร็ว 25 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ถุงลมก็จะพองออกปกป้องคนที่อยู่ในรถ แต่ในวันนั้นผมขับด้วยความเร็ว 70 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และยังเป็นการชนแบบประสานงากับรถกระบะที่วิ่งสวนมา แต่ถุงลมไม่ออกทำให้ได้รับบาดเจ็บสาหัส มีจดหมายส่งมาว่าบริษัทจะไม่รับผิดชอบเพราะเราชนเบาไปถุงลมเลยไม่ออก ทำให้เรารู้สึกแย่เอามากๆ ตอนนี้รถก็ไม่มีใช้ งานก็ทำไม่ค่อยได้เพราะอาการบาดเจ็บ อย่างนี้เราจะเรียกร้องอะไรได้ไหมครับ”แนวทางแก้ไขปัญหาน่าเห็นใจครับดูจากสภาพยับเยินของรถและอาการบาดเจ็บของผู้โดยสารแล้ว งานนี้ไม่น้อยเลย และเมื่อดูจากรายงานผลการตรวจสอบของโตโยต้าพบความเสียหายของรถจากการชนหลายจุดยิ่งเป็นการตอกย้ำว่าการชนครั้งนี้ไม่เบา จากการตรวจวาสอบของโตโยต้าพบความเสียหายภายนอกพบบริเวณด้านหน้ารถ กันชน ไฟหน้าและฝากระโปรงหน้าได้รับความเสียหาย ตรวจสอบภายในห้องเครื่องยนต์พบว่าเครื่องยนต์ถูกกระแทก ฝาหน้าเครื่องแตก หม้อน้ำเสียหาย แบตเตอรี่แตก และกล่องฟิวส์ถูกกระแทก ตรวจสอบคานรับแรงกระแทกด้านหน้ามีการเสียรูปงอตัวบริเวณตรงกลาง ตรวจสอบโครงสร้างแชสซีดูดซับแรงการชน(GOA) ด้านหน้าซ้าย-ขวาได้รับความเสียหายงอตัวเข้าด้านในต่อเนื่องจากการชนตรงกลาง ที่สำคัญตรวจสอบภายในห้องโดยสารไม่พบความเสียหายและถุงลมนิรภัยไม่ทำงานดังนั้นผู้บริโภคจึงมีสิทธิเต็มร้อยที่จะเรียกร้องค่าเสียหายที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะความเสียหายทางด้านร่างกายสุขภาพอนามัยที่เกิดจากการไม่ทำงานของถุงลมนิรภัย รวมถึงค่ารักษาพยาบาลในอนาคตที่เกิดจากการบาดเจ็บเรื้อรัง เป็นต้น ซึ่งสามารถฟ้องเป็นคดีผู้บริโภคได้ และอาจขอให้ศาลท่านมีคำสั่งเรียกเก็บรถยนต์รุ่นนี้คืนจากผู้ใช้รถทุกคนได้หากพิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นรถยนต์ที่ไม่มีความปลอดภัยต่อผู้ใช้รถจริงเบื้องต้น ผู้บริโภคควรตรวจสอบว่ามีความเสียหายใดเกิดขึ้นบ้างคิดเป็นมูลค่าหรือตัวเงินจำนวนเท่าไหร่ หลังจากนั้นให้ทำจดหมายเรียกค่าเสียหายดังกล่าวไปยังบริษัทรถยนต์เพื่อให้บริษัทแสดงความรับผิดชอบ ซึ่งเขาอาจจะแสดงความรับผิดชอบด้วยการจ่ายเงินเยียวยาความเสียหายให้จำนวนหนึ่ง หรืออาจไม่มีเลยก็ได้ หากผู้บริโภคเห็นว่าค่าเสียหายที่ทางบริษัทตอบกลับมาไม่สมเหตุสมผล สามารถที่จะยืนฟ้องเป็นคดีผู้บริโภคในภายหลังก็ได้

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 128 ถอนทะเบียนยา...ความปลอดภัยที่ยังมีช่องโหว่

  เพราะร่างกายของคนเราจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการดูแลรักษา ยิ่งในเวลาที่เจ็บไข้ได้ป่วยตัวช่วยสำคัญที่จะมาทำหน้าที่รักษาบรรเทาโรคภัยต่างๆ คงหนีไม่พ้น "ยา" 1 ในปัจจัย 4 ที่แม้หลายๆ คนจะแอบภาวนาว่าถ้าเป็นไปได้ในชีวิตนี้ก็ไม่อยากพึ่งพาหรือฝากความหวังไว้กับการกินยา เพราะว่าไม่อยากป่วย แต่ในยามที่โรคภัยไข้เจ็บถามหา ยาก็ถือเป็นตัวช่วยที่ดีเพราะคงไม่มีใครอยากจะต้องทนอยู่กับอาการเจ็บป่วยเป็นเวลานานๆ   เมื่อยารักษาโรค อาจกลายเป็นยาพิษ  แม้หน้าที่ของยา คือการบรรเทารักษาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ซึ่งนี่ก็คือหน้าที่ที่ถือเป็นคุณประโยชน์ของยา แต่ว่าบางครั้งการใช้ยาก็อาจกลายเป็นโทษได้เหมือนกัน ทั้งจากการใช้ยาไม่ถูกกับโรค การแพ้ยา การใช้ยาบางชนิดติดต่อกันเป็นเวลานานเกินไป การใช้ยาที่ไม่ได้คุณภาพหรือยาปลอม ซึ่งปัญหาที่เกิดจากการใช้ยาทั้งหมดที่กล่าวมาถือเป็นปัญหาที่ไม่ควรมองข้าม เพราะเรื่องของการใช้ยาเป็นเรื่องที่พูดได้เลยว่าเกี่ยวโยงกับความเป็นความตาย ยาดีก็ช่วยขจัดปัดเป่าโรคภัยต่างๆ แต่ถ้ายาไม่ดีหรือใช้ยาผิดวิธี ก็อาจเป็นอันตรายร้ายแรงถึงขั้นทำให้เสียชีวิต   การจัดการยาก่อนถึงมือผู้บริโภค การควบคุมดูแลเรื่องความปลอดภัยของยา เป็นหน้าที่ที่ภาครัฐต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก ซึ่งในประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุขและสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. จะคอยดูตรวจสอบและให้ข้อมูลกับประชาชน ในเรื่องของยาที่อาจเป็นอันตราย ซึ่ง อย.เองก็มีหน้าที่ทั้งการพิจารณาตรวจสอบเพื่อออกใบอนุญาตในการผลิต จำหน่าย หรือนำเข้า ยาชนิดต่างๆ ก่อนที่จะนำมาวางขายหรือใช้ในโรงพยาบาล คลินิก สถานพยาบาลต่างๆ รวมถึงตามร้านขายยาทั่วไป เพื่อความปลอดภัยและสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคหรือผู้ป่วยที่ต้องใช้ตัวยานั้นๆ ในการรักษาโรค ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อ อย.มีอำนาจในการออกใบอนุญาตให้กับยาชนิดต่างๆ การเพิกถอนทะเบียนยาที่เห็นว่าเมื่อนำมาใช้แล้วอาจเป็นอันตรายก็เป็นหน้าที่ของ อย. ซึ่ง อย. จะพิจารณาทบทวนเพื่อทำการเพิกถอนทะเบียนยานั้นๆ พร้อมไปกับการสร้างระบบมาตรฐานยาคุณภาพให้เกิดขึ้นในเมืองไทย ซึ่งเมื่อ อย. ได้มีการสั่งเพิกยาถอนยาตัวใดก็ตาม อย.ก็จะประกาศรายชื่อยาเหล่านั้นเผยแพร่สู่สาธารณะ หน้าที่ของผู้บริโภคจึงต้องคอยติดตามข่าวสาร เป็นการสร้างข้อมูลเรื่องยาให้กับตัวเอง   การเพิกถอนทะเบียนยา การเพิกถอนทะเบียนยา ถือเป็นหน้าที่ของกระทรวงสาธารณสุขที่เป็นผู้ออกคำสั่งเพิกถอนทะเบียนตำรับยาที่เห็นว่าจะเป็นอันตรายต่อผู้ใช้ หรือเป็นยาไม่มีคุณภาพไม่มีสรรพคุณตรงตามที่อ้าง หรือเมื่อใช้แล้วส่งผลร้ายกับร่างกายมากกว่าให้ผลในทางรักษาโรค หรือมีตัวยาใหม่ที่ให้ผลดีกว่า คณะกรรมการทบทวนตำรับยาแผนปัจจุบันสำหรับมนุษย์ สำนักคณะกรรมการอาหารและยา ก็จะนำตัวยาที่เห็นว่ามีปัญหาเข้าสู่การพิจารณาในการประชุม จากนั้นเมื่อที่ประชุมเห็นชอบให้มีคำสั่งให้เพิกถอนทะเบียนยาตัวดังกล่าว ก็จะมีการออกเป็นคำสั่งกระทรวงให้รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขเป็นคนลงนามรับรอง ก่อนจะนำไปประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เป็นอันครบถ้วนกระบวนความว่าตัวยานั้นๆ ได้กลายเป็นยาที่ถูกถอนทะเบียนออกจากระบบยาในประเทศ ห้ามขาย ห้ามผลิต ห้ามใช้ ใครฝ่าฝืนมีโทษตามกฎหมาย  แม้ขั้นตอนการถอนทะเบียนยาดูเหมือนจะมีไม่มาก แต่เมื่อมาดูถึงระยะเวลากว่าจะถึงในขั้นตอนสุดท้ายคือการประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งเป็นขั้นตอนที่สามารถดำเนินเอาผิดทางกฎหมายได้นั้นต้องใช้เวลาพอสมควร ลองมาดูตัวอย่างระยะเวลาการดำเนินการในการถอนทะเบียนยาที่ผ่านมาว่าต้องใช้ระยะเวลาเท่าไหร่  ตัวอย่างข้อมูลแสดงระยะเวลาการถอนทะเบียนยา   ชื่อยาที่ถอนทะเบียน สาเหตุ คำสั่งเลขที่ วันที่ประชุมคณะกรรมการยา วันที่ประกาศเป็นคำสั่งกระทรวง วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ระยะเวลาตั้งแต่ประชุมถึงวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ยาสูตรผสมของยามีแธนดีโนน (Methandienone) กับ ยาไซโปรเฮปตาดีน (Cyproheptadine) สูตรยาไม่เหมาะสม เมื่อนำไปใช้ในเด็กอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ 736/2552 14 พฤษภาคม 2551 5 มิถุนายน 2552 31 สิงหาคม 2552 475 วัน ยาคาริโซโพรดอล (Carisoprodol) ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง สงบประสาทเป็นยานอนหลับและเสพติดได้ 547/2552 20 พฤศจิกายน 2551 23 เมษายน 2552 19 มิถุนายน 2552 212 วัน ยาผสมสูตรเมโธคาร์บามอล (Methocarbamol) และอินโดเมธาซิน (Indomethacin) ชนิดรับประทาน ไม่มีหลักฐานทางวิชาการสนับสนุนประสิทธิผลและความปลอดภัยในการใช้ยา 848/2552 11 กุมภาพันธ์ 2552 2 กรกฎาคม 2552 24 สิงหาคม 2552 195 วัน ยาคาสคารา ซากราดา (Cascara sagrada) เสี่ยงอันตรายจากสารที่เป็นส่วนประกอบ 859/2552 11 กุมภาพันธ์ 2552 2 กรกฎาคม 2552 19 มิถุนายน 2552 129 วัน *ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาก่อนรัฐมนตรีลงนาม ยาคลอร์ซ็อกซาโซน (Chlorzoxazone) ไม่มีประสิทธิผลในการคลายกล้ามเนื้อตามที่ขึ้นทะเบียนไว้ และได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีความเป็นพิษต่อตับ 1115/2552 8 เมษายน 2552 20 สิงหาคม 2552 26 มีนาคม 2553 353 วัน ยาฟีโนเวอรีน (Fenoverine) ตัวยาทำให้เกิดอาการข้างเคียงที่ร้ายแรง คือ เซลล์กล้ามเนื้ออ่อนแรง กล้ามเนื้อเกร็ง (rhabdomyolysis) ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ 1421/2552 12 มิถุนายน 2552 30 กันยายน 2552 21 กรกฎาคม 2553 405 วัน ยาฟีนอล์ฟธาลีน (Phenolphthalein) และแซนโตนิน (Santonin) | อาจทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้ยา โดยฟีนอล์ฟธาลีน เป็นสารก่อมะเร็งในสัตว์ทดลอง จึงอาจทำให้เกิดมะเร็งในคนจากการใช้ยาในระยะยาว ซึ่งเมื่อยาเข้าสู่ร่างกายจะถูกขจัดออกอย่างช้า ๆ จึงเพิ่มความเสี่ยงจากการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ เช่น ปฏิกิริยาที่ผิวหนัง และระดับโปแตสเซียมต่ำ เป็นต้น แซนโตนิน มีฤทธิ์เพิ่มพิษต่อระบบประสาท (neurotoxic) และมีรายงานการเกิดอาการข้างเคียงที่รุนแรงแม้ใช้ในขนาดต่ำ 985/2553 12 มิถุนายน 2552 20 พฤษภาคม 2553 23 มิถุนายน 2553 377 วัน ฟีนอล์ฟธาลีน (Phenolphthalein) เป็นสารก่อมะเร็งในสัตว์ทดลอง จึงอาจทำให้เกิดมะเร็งในคนจากการใช้ยาในระยะยาว และร่างกายของคนจะขจัดยาออกอย่างช้าๆ ซึ่งเป็นการเพิ่มความเสี่ยงจากการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ อาจทำให้เป็นอันตรายต่อผู้ใช้ยา 1923/2553 12 มิถุนายน 2552 19 ตุลาคม 2553 30 พฤศจิกายน 2553 537 วัน ยาโรซิกลิทาโซน (Rosiglitazone) อาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด 447/2554 22 ธันวาคม 2553 4 เมษายน 2554 18 พฤษภาคม 2554 148 วัน อีนาลาพริล มาลีเอท (Enalapril maleate) ยา Paril 5 เลขทะเบียน 1C 173/51 และยา Paril 20 เลขทะเบียน 1C 174/51 มีปริมาณตัวยาสำคัญ คือ อีนาลาพริล มาลีเอท (Enalapril maleate) ต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้เกินกว่าร้อยละยี่สิบ เข้าข่ายเป็นยาปลอม 462/2554 22 ธันวาคม 2553 4 เมษายน 2554 8 มิถุนายน 2554 169 วัน ยาน้ำตราบีเวลล์ ตรวจพบตัวยาวาร์เดนาฟิล (Vardenafil) ซึ่งเป็นยาแผนปัจจุบันที่เป็นยาควบคุมพิเศษผสมอยู่ ยาดังกล่าวจึงไม่ใช่ยาแผนโบราณตามตำรับยาที่ขึ้นทะเบียนไว้และเป็นยาที่ไม่ปลอดภัยแก่ผู้ใช้ เข้าข่ายเป็นยาปลอม 506/2554 23 กันยายน 2553 12 เมษายน 2554 8 มิถุนายน 2554 259 วัน     ซึ่งหลังจากมีการลงนามโดยรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขเห็นชอบว่าควรเพิกถอนตัวยาดังกล่าว จะมีหนังสือแจ้งไปยังผู้ผลิตหรือนำเข้ายาที่เห็นว่าจะเป็นอันตรายตัวดังกล่าว ต้องหยุดการผลิตและเก็บสินค้าที่ได้ส่งไปวางขายตามร้านหรือสถานพยาบาลต่างๆ ให้เสร็จสิ้น ก่อนที่จะมีการประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เพราะเมื่อถึงในขั้นตอนนี้ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมายหากพบว่ายังมีการกระทำฝ่าฝืนคำสั่งอยู่ แต่หลังจากประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาแล้วผู้ผลิตยาที่ถูกคำสั่งให้เพิกถอนทะเบียนก็ยังสามารถยื่นคำโต้แย้งไปยังศาลปกครองได้อีกภายใน 90 วัน ซึ่งช่วงระยะเวลาหลังจากคณะกรรมการยาพิจารณาเห็นชอบให้มีการถอนทะเบียนยาที่เห็นว่าอาจจะเป็นอันตราย ไปจนถึงการรอให้รัฐมนตรีฯ ลงนามรับรอง เพื่อแจ้งให้ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้ายานั้นๆ ดำเนินการตามคำสั่งของกระทรวงนั้น เป็นช่วงที่ผู้บริโภคมีความเสี่ยงอันตรายจากการใช้ยาตัวที่เป็นปัญหา เพราะยาดังกล่าวยังคงมีอยู่ในท้องตลาด หากผู้ใช้ยาไม่ได้รับทราบข้อมูลข่าวสาร ขาดความรู้เรื่องข้อมูลยา ก็อาจหลงใช้ยาดังกล่าวจนเกิดอันตราย แม้แต่แพทย์ เภสัชกร ที่ไม่ทราบข้อมูลหรือนิ่งนอนใจรอการประกาศอย่างเป็นทางการหรือรอการดำเนินการจากผู้ผลิตยา ก็อาจสั่งจ่ายยาดังกล่าวให้กับผู้ป่วย   การเพิกถอนทะเบียนตำรับยานั้น เป็นไปในลักษณะที่ตรวจสอบทบทวนตำรับยาทั้งยาใหม่ที่รอการขึ้นทะเบียน และยาเก่าที่เคยได้รับการขึ้นทะเบียนไว้แล้ว ซึ่งการทบทวนทะเบียนยานั้นต้องทำในลักษณะต่อเนื่อง โดยต้องมีการตรวจสอบเป็นระยะ ประเมินดูสถานการณ์การใช้ยาทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทั้งหมดก็เพื่อการใช้ยามีความปลอดภัยมากที่สุด   ------------------------------------------------------------------------------------------ การถอนทะเบียนยาโดยภาคประชาชน เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2552 ชมรมเภสัชชนบท ร่วมกับกลุ่มศึกษาปัญหายา กลุ่มเภสัชกรภาคกลาง มูลนิธิเครือข่ายครอบครัว มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ และมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้ยื่นหนังสือถึงรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข เพิกถอนทะเบียนตำรับยา 4 รายการ คือ 1.ยาแอสไพรินชนิดผง 75-375 มก. 2.ยาแก้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ ยาขับปัสสาวะที่มี Methylene blue เป็นส่วนประกอบ 3.ยาแก้ท้องเสียที่มี Furazolidone และ/หรือมียาปฏิชีวานะเป็นส่วนประกอบ และ 4.ยา Amoxycillin powder 125 มก.ชนิดซอง เพราะเห็นว่าเป็นยาที่มีความไม่เหมาะสม อาจเป็นอันตรายกับผู้ใช้ แต่ยังพบเห็นยาดังกล่าวมีจำหน่ายทั้งในร้านยาและร้านขายของชำเป็นจำนวนมาก ------------------------------------------------------------------------------------------   สามารถตรวจสอบรายชื่อตำรับยาที่ถูกเพิกทอนทะเบียนทั้งหมดได้ที่เว็บไซต์ของ อย. http://wwwapp1.fda.moph.go.th/drug/zone_law/law010.asp ------------------------------------------------------------------------------------------ ขณะนี้มียาที่รอการทบทวนอยู่ทั้งหมดถึง 50 รายการ จากการประชุมของคณะอนุกรรมการทบทวนตำรับยาแผนปัจจุบันสำหรับมนุษย์ เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2554 ซึ่งทาง อย. ตั้งใจให้มีการทบทวนยาทั้งหมดเสร็จสิ้นภายในปี 2556 (หนึ่งในนั้นมียาที่มีส่วนผสมของ Methylene blue ที่ภาคประชาชนเสนอให้มีการทบทวนรวมอยู่ด้วย) ------------------------------------------------------------------------------------------   การรู้และเข้าถึงข้อมูลยา...ปัญหาใหญ่ของผู้บริโภค  เป็นเรื่องที่น่าเสียดายและน่าตกใจ ที่คนไทยเรายังเข้าถึงข้อมูลของยาต่างๆ ในระดับที่น้อยถึงน้อยมาก นั่นเป็นเพราะคนไทยเราค่อนข้างให้ความเชื่อถือในตัวสถานพยาบาล ตัวบุคลากร ซึ่งก็คือแพทย์ และเภสัชกร ว่าสามารถรักษาและดูแลเวลาเจ็บไข้ได้ป่วยได้เป็นอย่างดี ทำให้หลายคนมองข้ามที่จะศึกษาข้อมูลยาต่างๆ ที่ใช้อยู่หรือได้เวลาไปพบแพทย์ ซึ่งหากใช้แล้วอาการดีขึ้นหรือรักษาโรคให้หายได้ก็คงไม่มีปัญหา แต่หากเกิดผลในทางตรงกันข้าม คือกินยาแล้วกลับเจ็บป่วยมากกว่าเดิม ได้โรคเพิ่มขึ้น หรือรุนแรงไปจนถึงขั้นเสียชีวิต ซึ่งก็สายไปแล้วที่จะแก้ไข การรู้จักหรือเข้าถึงข้อมูลของยาที่ใช้จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม คำถามที่ตามมาคือแล้วผู้บริโภคธรรมดาๆ จะเข้าถึงข้อมูลยาได้ด้วยวิธีไหน ข้อมูลยาพื้นฐานที่เราทุกคนสามารถเข้าถึงได้ง่ายที่สุดก็คือ ข้อมูลบนฉลากยาและเอกสารกำกับยา ซึ่งต้องมีมาพร้อมกับยาที่เราซื้อมาใช้ หากไม่มีข้อมูลบนฉลากหรือเอกสารกำกับยาแนบมาให้ ก็ควรหลีกเลี่ยงอย่าซื้อมาใช้ ถ้าเป็นยาที่เราได้รับจากแพทย์ที่เราไปรับการรักษาตามสถานพยาบาลต่างๆ ที่มักจะจัดยามาเป็นชุด บรรจุอยู่ในซองยา ไม่ได้มีฉลากหรือเอกสารใดๆ แนบมา ผู้ที่รับยาก็ต้องสอบถามข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับผลของยา วิธีการใช้ยา ให้เข้าใจครบถ้วน เพื่อประโยชน์ของตัวเอง  แม้อาจจะมีอุปสรรคเรื่องภาษา ด้วยว่ายาที่เราใช้กันอยู่เป็นยาฝรั่ง นำเข้าหรือมีการผลิตคิดค้นในต่างประเทศ ชื่อสามัญทางยาชื่อจึงเป็นภาษาอังกฤษเป็นส่วนใหญ่ แถมยังเป็นคำศัพท์เฉพาะทาง อ่านยาก จดจำยาก แต่ก็ถือว่าเป็นหน้าที่ของผู้บริโภคอย่างเราที่อาจต้องใช้ความพยายามสักหน่อยในการทำความเข้าใจ ก็เพื่อความความปลอดภัยในการใช้ยาของตัวเราเอง  การเข้าถึงข้อมูลยาจึงมีประโยชน์ทั้งในเรื่องของความปลอดภัย เป็นข้อมูลสำคัญในการรักษาโรค โดยเฉพาะยิ่งเมื่อเรารู้ชื่อสามัญทางยา ไม่ยึดติดอยู่กับชื่อทางการค้าหรือชื่อยี่ห้อ ก็อาจช่วยให้เราได้ใช้ยาในราคาที่ถูกลง  นอกจากปัญหาที่คนขาดความสนใจ และขาดช่องทางในการเข้าถึงข้อมูลยาแล้ว อีกหนึ่งปัญหาเกี่ยวกับข้อมูลยาที่น่ากังวลไม่แพ้กันก็คือ การรับข้อมูลยาที่ไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสมที่ถูกเผยแพร่ผ่านทางสื่อต่างๆ ทั้ง ทีวี เคเบิ้ลท้องถิ่น วิทยุชุมชน และตามเว็บไซต์ต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการให้ข้อมูลเพื่อมุงหวังทางธุรกิจ คือเป็นการอวดอ้างสรรพคุณในทางรักษาโรคเกินจริง ซึ่งสร้างปัญหาให้กับผู้บริโภคอย่างมาก แม้ส่วนมากจะเป็นในลักษณะของอาหารเสริมแต่อ้างผลในการรักษาโรค สร้างความสับสันให้กับผู้บริโภคเป็นอย่างมาก แถมผลิตภัณฑ์เหล่านี้ก็จะอ้างเรื่องการรับรองจาก อย. ทำให้ผู้บริโภควางใจหาซื้อมารับประทาน จนเกิดผลร้ายกับร่างกายอย่างที่เคยปรากฏเป็นข่าวหรือที่เคยมีการบันทึกเอาไว้ เช่น กรณีของคุณยายวัยหกสิบกว่าคนหนึ่งที่ทานผลิตภัณฑ์กวาวเครือขาวและกวาวเครือแดงอัดแคปซูลที่สั่งซื้อมาหลังจากได้ยินประกาศโฆษณาทางวิทยุว่ากินแล้ว บำรุงสมอง บำรุงประสาท เสริมสมรรถภาพทางเพศ โดยกินนติดต่อกันมาเป็นเวลาเดือนกว่าๆ ก็ปรากฏว่ามีเลือดไหลออกมาจากช่องคลอดของคุณยายติดต่อกันถึง 14 วัน เมื่อมาหาหมอ พบว่าเกิดความผิดปกติที่ผนังมดลูก ต้องรักษาด้วยการขูดผนังมดลูก สาเหตุน่าจะมาจากการได้รับสาร Phytoestrogen ที่อยู่ในกวาวเครือมากเกินไป โดยตัวคุณยายแกก็บอกว่าเห็นผลิตภัณฑ์ตัวนี้ผ่าน อย. แล้ว ไม่น่าจะมีอันตราย  ซึ่งนี้ก็เป็นเพราะผู้บริโภคขาดความรู้ในเรื่องข้อมูลยา ไม่รู้ถึงสารที่อยู่ในตัวยา ไม่รู้สรรพคุณที่แท้จริง ไม่รู้ว่าตัวยาดังกล่าวมีความจำเป็นต่อร่างกายมากน้อยแค่ไหน แถมยังถูกป้อนข้อมูลที่ผิดๆ ฝากไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องรีบพัฒนาระบบและวิธีการที่จะช่วยให้ผู้บริโภคเข้าถึงและตระหนักในการรับรู้ข้อมูลยาให้มากขึ้น รวมถึงการเฝ้าระวังการโฆษณาที่มีผลต่อการใช้ยาที่ไม่ถูกต้องหรือมุ่งหวังแต่ผลทางการค้าเพียงอย่างเดียว ด้านผู้บริโภคเองก็ต้องสร้างทัศนคติเรื่องการใหม่ในการใช้ต้องให้ความสำคัญมากขึ้น ใช้ยาอย่างระมัดระวัง ให้คิดเสมอว่าการใช้ยาก็อาจให้โทษได้เช่นกัน และโทษของการใช้ยาที่ไม่ถูกต้องหรือผิดวิธีนั่นร้ายแรงมาก ซึ่งคนที่รับผลนั่นก็คือสุขภาพร่างกายของเราเอง  ใช้ยาอย่างไรให้ปลอดภัย  1.รู้จักยาที่จะใช้ ไม่ว่ายานั้นจะได้มาจากการจ่ายยาของแพทย์ หรือผู้ป่วยหาซื้อเองจากร้านขายยา สำคัญอย่างยิ่งที่ผู้ใช้ยาต้องศึกษายาที่จะใช้ให้ดีว่ามีความปลอดภัย เหมาะสม ถูกต้องตรงตามอาการป่วยที่เราต้องการรักษา  ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับยาที่ควรรู้ ก็คือ  -ชื่อสามัญทางยา การรู้จักชื่อสามัญทางยามีประโยชน์ เพราะเราจะสามารถทราบได้ว่ายาที่เราใช้ คือยาอะไร ตัวเรามีประวัติการแพ้ยาตัวนี้หรือไม่ หรือหากกำลังใช้ยาตัวนี้อยู่แล้วจะได้แจ้งกับแพทย์ที่จ่ายยาป้องกันการใช้ยาซ้ำซ้อน ซึ่งปกติยาที่ได้รับการรับรองอย่างถูกกฎหมายจะต้องมีการแจ้งชื่อสามัญทางยาไว้ในเอกสารกำกับยา หรือถ้าเป็นยาที่สั่งจ่ายโดยแพทย์หรือเภสัชกรก็ต้องมีการเขียนแจ้งไว้ที่หน้าซองที่ใช้บรรจุยา  -เมื่อรู้จักชื่อสามัญทางยาแล้ว ก็ต้องรู้จักชื่อทางการค้าด้วย เพื่อเป็นข้อมูลสำคัญหากพบว่าใช้ยาตัวดังกล่าวแล้วเกิดอันตราย -ลักษณะทางกายภาพของยา ทั้ง สี กลิ่น รูปร่าง เพราะหากวันหนึ่ง ยาตัวดังกล่าวเกิดมีลักษณะทางกายภาพผิดแปลก เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ให้หยุดใช้ยาตัวดังกล่าว เพราะการที่ยาเปลี่ยนแปลงลักษณะอาจเป็นสัญญาณบอกว่าชนิดนี้อาจเป็นอันตรายได้  -ข้อกำหนดในการใช้ยา ขนาดและวิธีใช้ ว่าต้องรับประทานในปริมาณเท่าไหร่ ทานเมื่อไหร่ อย่างไร และยาที่ทานอยู่สามารถทานได้นานแค่ไหน ไม่ควรทานติดต่อกันเป็นเวลาเท่าไหร่  -ต้องรู้ว่าในสถานการณ์ใดที่ควรหยุดใช้ยา เช่น ใช้ยาแล้วแสดงอาการไม่พึงประสงค์ หรือเกิดอาการแพ้ยา ซึ่งควรแจ้งลักษณะอาการด้วย เช่น ใจสั่น ปวดท้อง ฯลฯ  -คำเตือนและข้อห้ามในการใช้ยา  -ผลข้างเคียงของการใช้  -วิธีการเก็บรักษายา 2.อ่านฉลากและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด  ทำความเข้าใจยาที่จะใช้อย่างถูกต้องครบถ้วน หากอ่านฉลากหรือเอกสารกำกับยาแล้วยงมีส่วนที่สงสัยให้ปรึกษาแพทย์ เภสัชกร หรือสอบถามไปที่ อย.  3.ต้องให้ข้อมูลกับแพทย์ เภสัชกร หรือคนที่มีหน้าที่จ่ายยาให้กับเราให้มากที่สุด  ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลประวัติการแพ้ยา ข้อกำจัดในการใช้ยา เช่น รับประทานยาแคปซูลไม่ได้ หรือปกติต้องทำงานที่ต้องใช้ความระมัดระวังสูงต้องหลีกเลี่ยงยาที่รับประทานแล้วทำให้เกิดอาการง่วงนอน รวมทั้งหากในตอนนั้นมีการใช้ยาตัวอื่นหรือรับประทานอาหารเสริมอื่นๆ ร่วมอยู่ด้วยก็ต้องแจ้งให้กับผู้ที่จ่ายยาทราบ ที่สำคัญคือคือตัวเราเองมีข้อสงสัยในเรื่องใดๆ ที่เกี่ยวกับการใช้ยาต้องสอบถามให้เข้าใจก่อนใช้ยา  4.สอบถามถึงสาเหตุที่จะทำให้ปฏิกิริยาจากการใช้ยา  ต้องสอบถามกับแพทย์ เภสัชกร หรือคนที่มีหน้าที่จ่ายยาให้กับเรา ว่ายาที่เรารับประทานนั้นจะมีปฏิกิริยากับอาหาร อาหารเสริม หรือยาตัวอื่นๆ ที่เรารับประทานอยู่หรือไม่ อย่างไร แล้วหากทำปฏิกิริยากันจะแสดงอาการอย่างไร มีผลเสียหรือไม่ ต้องหยุดรับประทานยาหรืออาหารเสริมที่รับประทานอยู่หรือไม่  5.ต้องคอยสังเกตดูผลจากการใช้ยาและอาการข้างเคียง  หากเกิดอาการใดๆ ที่รู้สึกผิดปกติระหว่างใช้ยา ต้องปรึกษาแพทย์ทันที และควรมีข้อมูลการปฏิบัติตัวเมื่อเกิดอาการข้างเคียงจากการใช้ยา  ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------ข้อมูลประกอบบทความ : ยาวิพากษ์ ปีที่ 2 ฉบับที่ 6 กันยายน 2553, แผนงานสร้างกลไกลเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยาวิพากษ์ ปีที่ 3 ฉบับที่ 9 เมษายน 2554, แผนงานสร้างกลไกลเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสิทธิผู้บริโภคเพื่อความปลอดภัยในการใช้ยา, ผศ.ดร.วิทยา กุลสมบูรณ์ การใช้ยาอย่างปลอดภัย, กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาร่างพระราชบัญญัติยา พ.ศ.... (ฉบับประชาชน), มูลนิธิสาธารณสุขกับการพัฒนา และคณะศูนย์ข้อมูลยาปลอมและยาลักลอบนำเข้า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาhttp://wwwapp1.fda.moph.go.th/counterfeit/public/index.aspxสำนักยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาhttp://wwwapp1.fda.moph.go.th/drug/zone_law/law010.asp  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 178 คนไทยยังต้องเสี่ยงภัยกับการโดยสารรถประจำทาง 2

โครงการเสริมพลังผู้บริโภคและผู้ประกอบการเพื่อรถโดยสารปลอดภัย พยายามทำหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภค เพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิความปลอดภัยในการโดยสารรถสาธารณะ ได้จัดทำการสำรวจความคิดเห็นจากผู้ใช้บริการรถทัวร์โดยสารสาธารณะ ซึ่งเก็บตัวอย่างจากผู้บริโภคทั่วประเทศ จำนวน 1,784 ตัวอย่าง (ระยะเวลาเก็บตัวอย่าง เดือนกลางเดือนสิงหาคม-กันยายน 2558 ) เพื่อสะท้อนสถานการณ์จริงที่ผู้บริโภคต้องเผชิญอยู่ ณ ปัจจุบัน ------------------------------------------------------------------------------------------------ในแต่ละปีจะมีอุบัติเหตุรถโดยสารสาธารณะทุกประเภท เฉลี่ย 2,000 ครั้งต่อปี ซึ่งจากสถิติเฉลี่ยแล้ว พบว่าเมื่อเกิดอุบัติเหตุกับรถโดยสารสาธารณะ 1 ครั้งจะมีผู้เสียชีวิต 0.42 รายหรือครึ่งคน บาดเจ็บสาหัส 4 คน และบาดเจ็บเล็กน้อย 2.69 ราย มูลค่าความเสียหายมหาศาล รวมถึงปีละ 8,000 – 9,000 พันล้านบาทต่อปี   ข้อมูลเฉพาะจำนวนตัวอย่างแบบสำรวจ 4 ภูมิภาคภาคเหนือ 609 ภาคใต้ 432 ภาคตะวันออก 263 ภาคอีสาน 480 อาชีพนักเรียน 23.9% รับจ้าง 16.6% พนักงานบริษัทเอกชน 13.9% ธุรกิจส่วนตัว 13.7% ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ 10.3%เกษตรกร 8.5% แม่บ้านพ่อบ้าน 5.8% ว่างงาน 4.5%   ผลสำรวจโดยสรุป 1.ประชาชนยังนิยมใช้รถทัวร์โดยสารสาธารณะ เพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์การเดินทางทั้งไปทำธุระ กลับบ้านและไปเรียนหนังสือ โดยรถ ป.2 ชั้นเดียวได้รับความนิยมที่สุด และบริษัทรถร่วม บขส. ได้รับความนิยมพอๆ กับ บริษัท ขนส่ง จำกัด2. เหตุผลที่ใช้รถทัวร์โดยสารสาธารณะ คือ ความสะดวก ปลอดภัยและราคาถูก เรียงตามลำดับ มากไปน้อย 3.ความพึงพอใจทั้งเรื่องพนักงานขับรถ พนักงานประจำรถ และความสะดวก ความสะอาดของสถานีรถ อยู่ในค่าเฉลี่ยปานกลาง แต่ยังพบปัญหาการบรรทุกผู้โดยสารเกินประมาณ 9.4%4.ภายในรถโดยสารส่วนใหญ่มีเข็มขัดนิรภัย(80% ตอบว่ามี) และประมาณ 50% ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่า ทางรถโดยสารได้แจ้งข้อมูลให้กับผู้โดยสารทราบผ่านโทรทัศน์บนรถ แต่มีถึง 45 % ที่ไม่คาดเข็มขัดในขณะโดยสาร ด้วยเหตุผลว่า อึดอัดเป็นอันดับหนึ่ง ไม่มีเข็มขัดหรือเข็มขัดไม่อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน คิดว่าเดินทางแค่ระยะสั้นๆ รวมทั้งอายจึงไม่กล้าคาดเข็มขัด5.มีผู้ตอบแบบสอบถามเพียง 23% ที่ทราบว่าถ้าไม่คาดเข็มขัดจะถูกปรับ 5000 บาท6.เกี่ยวกับอุปกรณ์ความปลอดภัยในรถ ทั้งค้อนทุบกระจก ถังดับเพลิง ส่วนใหญ่จะระบุว่ามี (68.6% ,71.6%) เรื่องประตูฉุกเฉิน 82.2 % สังเกตว่ามี ส่วนที่น่าสนใจคือ การแจ้งเรื่องการใช้อุปกรณ์มีครึ่งหนึ่ง คือ 53.4% ไม่พบว่ามีการให้คำแนะนำแก่ผู้โดยสาร ไม่ว่าจะเป็นโดยพนักงานขับรถ พนักงานประจำรถ หรือ วิดีโอ 7.ความเชื่อมั่นในเรื่องความปลอดภัยในการโดยสาร อยู่ที่ระดับปานกลาง คือ 46.7%   รายละเอียดการสำรวจ         เลือกรถโดยสาร อย่างไรให้ปลอดภัย 1. เลือกรถโดยสารสาธารณะที่ถูกกฎหมาย เช่น ถ้าเป็นรถตู้โดยสารสาธารณะต้องเป็นรถร่วมบริการที่ได้รับอนุญาต (มีตราหรือสัญลักษณ์ของ บ.ข.ส. หรือ ขสมก. ติดข้างรถ) หรือ รถโดยสารป้ายทะเบียนสีเหลืองที่ได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบกเท่านั้น 2. อย่าไว้ใจทาง อย่าวางใจ ‘รถเสริม’ ไม่ควรใช้บริการ รถทัวร์ผี รถตู้เถื่อน ที่มาวิ่งเสริมรับคนในช่วงเทศกาลต่างๆ โดยเด็ดขาด ซึ่งรถดังกล่าวอาจไม่ได้รับการตรวจสภาพมาก่อน และหากเกิดอุบัติเหตุขึ้นกับรถผีรถเถื่อนแล้ว ผู้โดยสารจะไม่มีหลักประกันใดมารับรองความปลอดภัย อาจจะเจ็บตัวฟรีได้ 3. ผู้โดยสารควรคาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้งที่ใช้บริการ เพื่อลดความรุนแรงของการบาดเจ็บหากเกิดอุบัติเหตุ4. เมื่อต้องเดินทางเกิน 300 กม. ไม่ควรเลือกเดินทางโดยรถตู้โดยสาร เนื่องจากกรมการขนส่งทางบกอนุญาตให้รถตู้โดยสารให้บริการได้ในระยะทางไม่เกิน 300 กม. เท่านั้น เพราะหากไกลกว่านั้นอาจจะทำให้พนักงานขับรถอ่อนเพลียจนเกิดอุบัติเหตุและยังเป็นการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการทำผิดกฎหมายด้วย 5. ถ้ามีผู้โดยสารอื่นขึ้นเต็มรถอยู่ก่อนแล้ว ไม่ควรฝืนขึ้นไปยืนหรือนั่งเบาะเสริม เพียงเพราะต้องการอยากให้ไปถึงที่ด้วยความรวดเร็วอย่างเดียว เพราะการบรรทุกผู้โดยสารเกินของรถโดยสารอาจจะเพิ่มโอกาสเกิดอุบัติเหตุ และอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ 6. ไม่ทนนั่งรถโดยสารอันตราย ผู้โดยสารควรสังเกตพฤติกรรมและอากัปกริยาของพนักงานขับรถ เช่น มีอาการง่วงซึม หรือมึนเมาจากสุรา สารเสพติดหรือไม่ หรือขับรถเร็วผิดปกติ ส่ายไปส่ายมา แซงซ้ายปาดขวา ไม่เคารพกฎจราจร หากพบเห็น ต้องไม่อายที่จะแจ้งเตือนพนักงานขับรถทันที หรือรีบแจ้งสายด่วน 1584 หรือ 191 หรือกองบังคับการตำรวจทางหลวง 1193 เพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสารทุกคน เมื่อเกิดอุบัติเหตุรถโดยสารกับตัวเอง ต้องทำยังไง1. ผู้โดยสารต้องตั้งสติให้ได้ก่อน2. เมื่อมีสติแล้ว ให้สำรวจดูสภาพร่างกายของตนเองว่าได้รับบาดเจ็บหรือไม่ และทรัพย์สินเครื่องใช้ที่ติดตัวมายังอยู่ครบหรือเปล่า 3. ถ้ามีสติ รู้สึกตัวดี และสำรวจสภาพร่างกายตนเองเรียบร้อยแล้ว ให้หยิบสิ่งของที่จำเป็น เช่น กระเป๋าสตางค์ , โทรศัพท์มือถือ ฯลฯ แล้วพาร่างกายออกจากตัวรถโดยทันที 4. เมื่อออกมาพ้นตัวรถแล้ว ให้รีบโทรศัพท์ (ถ้ามี) แจ้ง 191 หรือ 1584 หรือ 1193 5. เมื่อดำเนินการตามข้อ 1 – 4 เรียบร้อยแล้ว หากท่านยังพอมีแรงอยู่ ให้ท่านเข้าช่วยเหลือผู้โดยสารคนอื่นที่บาดเจ็บเท่าที่พอจะช่วยได้ หากไม่สามารถทำได้ ให้บุคคลอื่นมาช่วยเหลือ 6. (ถ้ามีสติและทำได้) ควรถ่ายรูปสถานที่เกิดเหตุและบริเวณโดยรอบ ถ่ายภาพตอนบาดเจ็บของตนเองและคนอื่นที่บาดเจ็บ ไว้เป็นหลักฐานด้วยโทรศัพท์มือถือ เพื่อเป็นข้อมูลและพยานหลักฐานสำหรับการเรียกร้องค่าเสียหาย 7. เมื่อผู้โดยสารที่บาดเจ็บถูกนำตัวส่งโรงพยาบาล หากบาดเจ็บไม่มากและรู้สึกตัวดี ผู้บาดเจ็บต้องให้ข้อมูลที่เป็นจริงกับเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล หรือพนักงานสอบสวนที่มาขอข้อมูลของผู้บาดเจ็บเพื่อเป็นหลักฐาน8. ผู้โดยสารที่บาดเจ็บสามารถใช้สิทธิรักษาพยาบาลเบื้องต้น ได้ตามสิทธิ พ.ร.บ. รถ ของรถโดยสารคันที่โดยสารมา (ผู้โดยสารไม่ต้องสำรองจ่าย โรงพยาบาลที่รับการรักษาเป็นผู้เบิกค่าใช้จ่ายในส่วนนี้จากบริษัทประกันภัยเอง)9. ผู้โดยสารที่บาดเจ็บต้องตรวจสอบข้อมูลการทำประกันภัยของรถโดยสารคันเกิดเหตุกับเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล หรือพนักงานสอบสวน หรือตัวแทนของคู่กรณี (เจ้าของรถ หรือบริษัทประกันภัย) ว่ารถโดยสารคันเกิดเหตุทำประกันภัยภาคสมัครใจไว้หรือไม่ ถ้าทำ ทำไว้กับบริษัทใด เพราะหากรถโดยสารทำประกันภัยภาคสมัครใจไว้ ผู้โดยสารจะมีสิทธิได้รับความคุ้มครองความเสียหายตามกรมธรรม์ประกันภัย ในการเบิกค่ารักษาพยาบาลและเยียวยาความเสียหายเพิ่มเติมได้    

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 177 คนไทยยังต้องเสี่ยงภัยกับการโดยสารรถประจำทาง

ทุกวันนี้ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า รถตู้โดยสาร ได้กลายมาเป็น รถโดยสารประจำทางในเกือบจะทุกเส้นทางรอบปริมณฑลกรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียงไปแล้ว ซึ่งไม่ใช่ว่ารถตู้นั้นเป็นทางเลือกยอดนิยม แต่ดูเหมือนไม่มีทางเลือกมากกว่า และแม้ว่าโดยสภาพของรถตู้เองที่ไม่เหมาะกับการเป็นรถขนส่งสาธารณะ แต่เมื่อเติบโตกลายเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ หลายฝ่ายจึงพยายามหามาตรการต่างๆ ออกมาบังคับเพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุดในการโดยสาร ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง การจำกัดความเร็วในการขับ การกำหนดปริมาณคนนั่ง ฯลฯ แต่เมื่อมองจากสถิติจำนวนอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นแล้ว ดูเหมือนมาตรการต่างๆ นั้น ไม่ได้ช่วยสร้างความอุ่นใจให้กับผู้โดยสารสักเท่าไรนัก โครงการเสริมพลังผู้บริโภคและผู้ประกอบการเพื่อรถโดยสารปลอดภัย   ซึ่งพยายามทำหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภค เพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิความปลอดภัยในการโดยสารรถสาธารณะ  ได้จัดทำการสำรวจความคิดเห็นจากผู้ใช้บริการรถตู้โดยสารสาธารณะ ซึ่งเก็บตัวอย่างจากผู้บริโภคทั่วประเทศ จำนวน 3,885 ตัวอย่าง (ระยะเวลาเก็บตัวอย่าง เดือนกลางเดือนสิงหาคม-กันยายน 2558   ) เพื่อสะท้อนสถานการณ์จริงที่ผู้บริโภคต้องเผชิญอยู่ ณ ปัจจุบัน  ข้อมูลเฉพาะจำนวนตัวอย่างแบบสำรวจ  6 ภูมิภาคภาคเหนือ 177 ภาคใต้ 399 ภาคตะวันออก 479 ภาคตะวันตก 1867 ภาคกลาง 783 ภาคอีสาน 180 เพศชาย 57% หญิง 43%อาชีพนักเรียน     25.4%  รับจ้าง 17% พนักงานบริษัทเอกชน 15.7% ธุรกิจส่วนตัว 15.2% ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ 10%เกษตรกร    6%  แม่บ้านพ่อบ้าน 5.1% ว่างงาน 3% อื่นๆ 1.2% ไม่ตอบ 1.4% ผลสำรวจโดยสรุป1.รถตู้โดยสารสามารถตอบสนองการเดินทางของผู้บริโภค ทั้งในเรื่อง การทำธุระส่วนตัว การเดินทางกลับบ้าน การทำงานและการเรียน โดยมีเหตุผลเรื่อง ความสะดวก รวดเร็ว เป็นอันดับหนึ่งและสองตามลำดับ ส่วนเรื่องความปลอดภัยจัดอยู่ในลำดับท้ายสุด2. ความพึงพอใจต่อพนักงานขับรถอยู่ในระดับปานกลาง และ 66.5% ของผู้ตอบแบบสำรวจไม่รู้สึกว่าพนักงานขับรถ ขับรถเร็วหรือหวาดเสียว 3. มีผู้บริโภคเพียง 9.6% ที่พบปัญหาการบรรทุกผู้โดยสารเกิน  4. ผู้บริโภคยังไม่ค่อยให้ความสำคัญกับการคาดเข็มขัดนิรภัยโดย 57% ตอบว่าไม่คาดเข็มขัด จากสาเหตุ อึดอัด(21%) รู้สึกว่าระยะเดินทางเป็นช่วงสั้นๆ /ไม่มีเข็มขัดนิรภัย/เข็มขัดไม่พร้อมใช้งาน(8.6/8.4/8.3 %) และมีประมาณ  4% ที่ระบุว่า น่าอาย(หากต้องคาดเข็มขัดขณะที่คนอื่นไม่คาด)   5.มีผู้บริโภคถึง 31.4% ที่ไม่ทราบว่า ถ้าไม่คาดเข็มขัดจะมีโทษปรับสูงถึง 5000 บาท มีเพียง 23.9% ที่ทราบ  ทั้งนี้มีผู้ไม่ตอบแบบสำรวจถึง 44.7% ซึ่งเป็นไปได้ว่า อาจไม่แน่ใจในข้อบังคับกฎหมายเกี่ยวกับโทษปรับดังกล่าว           สถิติอุบัติเหตุรถตู้โดยสาร มกราคม – กันยายน 2558จำนวน 85 ครั้งบาดเจ็บ 675 รายเสียชีวิต 75 ราย ที่มา โครงการเสริมพลังผู้บริโภคและผู้ประกอบการเพื่อรถโดยสารปลอดภัยมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 172 ผลสำรวจความพึงพอใจต่อคุณภาพการบริการและความปลอดภัยรถโดยสารระหว่างจังหวัด

เมื่อเร็วๆ นี้ ฉลาดซื้อได้นำเสนอผลสำรวจความพึงพอใจในเรื่องของคุณภาพการบริการและความปลอดภัยในการใช้รถโดยสารประจำทางหรือรถเมล์ใน กทม.และปริมณฑล ซึ่งข้อมูลที่ได้จากการสอบถามประชาชนคนที่ใช้จริง ทำให้เห็นหลายเรื่องหลายประเด็นที่ยังเป็นปัญหาในการใช้บริการ ไม่ว่าจะเป็น ปัญหาการรอรถ ที่มีถึง 41% ของตัวอย่างผู้ตอบแบบสอบถาม ที่ต้องทนรอรถนานถึง 16 – 30 นาที หรือเรื่องความสะดวกในการเดินทาง ที่พบว่ามีถึง 31% ที่ต้องต่อรถโดยสารมากกว่า 1 ต่อ จึงจะไปถึงจุดหมาย นอกจากนี้ยังพบว่ามีถึง 45% ที่เคยเจอปัญหารถโดยสารประจำทางรับ – ส่งผู้โดยสารนอกป้ายโดยผลสำรวจครั้งนี้จัดทำขึ้นโดย สถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ซึ่งไม่ได้มีแค่รถโดยสารประจำทางในกทม.และปริมณฑลเท่านั้น แต่ยังมีผลสำรวจในส่วนของรถโดยสารสาธารณะที่วิ่งให้บริการระหว่างจังหวัด หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า รถบัส หรือ รถทัวร์ ลองมาดูกันสิว่าประชาชนที่ต้องเดินทางจากกทม.ไปยังจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศด้วยรถโดยสารสาธารณะ เขามีความรู้สึกอย่างไรในเรื่องของคุณภาพการบริการและความปลอดภัยข้อมูลเฉพาะของการสำรวจวิธีสำรวจ : สัมภาษณ์ผู้ใช้บริการรถโดยสารประจำทางระหว่างจังหวัด สถานที่สำรวจ : 1.สถานีขนส่งหมอชิต 2.สถานีขนส่งสายใต้ใหม่จำนวนกลุ่มตัวอย่าง : 413 ตัวอย่างช่วงเวลาที่ทำสำรวจ : 4 – 13 กุมภาพันธ์ 2558ข้อสรุปจากผลสำรวจ-เหตุผลในการเลือกเดินทางโดยรถประจำทางระหว่างจังหวัด พบว่า 70% เลือกเพราะความสะดวก และมีถึง 32% เลือกเพราะค่าใช้จ่ายถูก-จากผลสำรวจพบว่า มีผู้ใช้รถประจำทางระหว่างจังหวัดที่เป็นรถ 2 ชั้น ถึง 60% จากรถทั้งหมด-ผู้ใช้บริการรถประจำทางระหว่างจังหวัด ส่วนใหญ่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเข้าถึงจุดจอดรถรับ-ส่ง สูงกว่าความจำเป็น คือการเดินทางเพื่อเข้าสู่งสถานีขนส่งทั้ง หมอชิต และ สายใต้ใหม่ ยังมีบริการรถโดยสารสาธารณะอย่างรถเมล์ค่อนข้างน้อย ทำให้ผู้โดยสารต้องเลือกใช้บริการที่สะดวกกว่า อย่าง แท็กซี่ หรือ มอเตอร์ไซค์รับจ้าง ซึ่งค่าใช้จ่ายสูงกว่า -ยิ่งเมื่อดูในจุดจอดหรือสถานีรับ - ส่งรถประจำทางระหว่างจังหวัดในพื้นที่ต่างจังหวัด ยิ่งถือว่าค่อนข้างเป็นปัญหา เพราะยังขาดระบบการเชื่อมต่อการเดินทางจากสถานีไปยังสถานที่ต่างๆ ทำให้ผู้โดยสารส่วนใหญ่ต้องใช้ รถยนต์ส่วนตัว เป็นหลัก-การเดินทางระหว่างจังหวัด มีจุดจอดรับ-ส่งหรือสถานีขนส่ง ที่มีความปลอดภัย สร้างความพึงพอใจให้ผู้ใช้บริการได้พอสมควร แต่จะต้องพัฒนาต่อไปในอนาคต-ผู้ใช้บริการรถประจำทางระหว่างจังหวัดที่เดินทางที่สถานีขนส่งหมอชิต รอรถน้อยกว่าการไปขึ้นรถที่สถานีขนส่งใต้ใหม่-รถประจำทางระหว่างจังหวัด ไม่มีการบรรทุกผู้โดยสารเกิน -ผู้โดยสารตระหนักถึงความปลอดภัยเมื่อเริ่มเดินทางระหว่างจังหวัด จากอัตราการคาดเข็มขัดที่สูงกว่าการเดินทางภายในจังหวัด-มีผู้โดยสารรถประจำทางระหว่างจังหวัดถึง 34% ที่ตอบว่าไม่ได้คาดเข็มขัดนิรภัย โดยเหตุผลหลักคือ รู้สึกอึดอัด 76% ซึ่งถือว่าเป็นอัตราที่ค่อนข้างสูง -การแจ้งให้คาดเข็มขัดนิรภัยจากพนักงานขับรถหรือพนักงานบนรถ มีผลต่ออัตราการคาดเข็มขัดนิรภัยของผู้โดยสาร                                          

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 170 ผลสำรวจความพึงพอใจต่อคุณภาพการบริการ และความปลอดภัยรถโดยสารประจำทางใน กทม.

แม้ว่าปัจจุบันจะมีรถโดยสารสาธารณะเป็นตัวเลือกให้ใช้บริการหลากหลายประเภท ทั้ง รถเมล์ รถตู้ รถแท็กซี่ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ เรือด่วน แต่ปริมาณกลับไม่ได้ตอบโจทย์เรื่องคุณภาพ เพราะเมื่อเรามองดูสภาพการจราจรบนท้องถนน โดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร ทั้งความแออัด ความเสี่ยงต่อความไม่ปลอดภัย มลภาวะเป็นพิษ ปัญหาเหล่านี้ล้วนยังอยู่คู่ถนนเมืองไทย เป็นปัญหาใหญ่ที่มองยังไงก็ยังไม่เห็นทางออก ระบบขนส่งมวลชนหลักในกรุงเทพฯ คงต้องยกให้กับ รถเมล์ เพราะไม่ว่าจะเด็ก ผู้ใหญ่ คนชรา แม่ค้า หรือว่าพนักงานบริษัท ต่างก็เป็นลูกค้าของ ขสมก. ทั้งสิ้น แน่นอนว่าปัญหาจากบริการรถโดยสารสาธารณะส่วนหนึ่งย่อมมาจากรถเมล์ แต่ปัญหาเหล่านั้นมีอะไรบ้าง การสอบถามจากปากคนที่ใช้บริการรถเมล์เป็นประจำน่าจะช่วยให้เราได้รู้ถึงสิ่งที่ยังเป็นปัญหาและสิ่งที่ผู้บริโภคที่ใช้บริการต้องการให้เกิดการปรับปรุง สถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ได้ทำการสำรวจ “พฤติกรรมการใช้ ความพึงพอใจต่อคุณภาพการบริการ และความปลอดภัยในการใช้รถโดยสารประจำทาง” โดยประเด็นที่ทำการสำรวจมีอย่างเช่น พฤติกรรมก่อนและหลังใช้บริการ, ทัศนคติต่อความปลอดภัยของจุดจอดรับ-ส่ง, เหตุผลในการเลือกใช้บริการ, ระยะเวลาในการรอรถโดยสาร, สภาพรถภายในและภายนอก ฯลฯ โดยการสำรวจความคิดเห็นได้แบ่งประเภทการสำรวจรถโดยสารเป็นสองกลุ่มใหญ่คือ รถโดยสารประจำทางในกทม.และปริมณฑล กับรถโดยสารประจำทางระหว่างจังหวัด ซึ่งฉลาดซื้อขอเลือกนำเสนอในประเด็นรถโดยสารประจำทางใน กทม.และปริมณฑลก่อน เพื่อประกอบกับบทความเรื่องเด่นซึ่งเกี่ยวกับรถโดยสารประจำทางพอดี ข้อมูลเฉพาะของการสำรวจ *ปริมาณตัวอย่างในการเก็บข้อมูล 307 ตัวอย่าง *สถานที่ในการสำรวจ : บริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ บริเวณสวนจตุจักรและเซ็นทรัลลาดพร้าว บริเวณเดอะมอลล์งามวงศ์วานและพันธุ์ทิพย์งามวงศ์วาน บริเวณเซ็นทรัลบางนาและสี่แยกบางนา บริเวณเซ็นทรัลปิ่นเกล้าและเมเจอร์ปิ่นเกล้า   ข้อสรุปจากผลสำรวจ -รถเมล์หรือรถโดยสารประจำทาง ยังคงเป็นตัวเลือกแรกในการเดินทางของคนกทม.และปริมณฑล ด้วยเหตุผลของราคาที่ถูกกว่าวิธีการเดินทางประเภทอื่นๆ มากถึง 59% โดยมีผู้ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องความปลอดภัยเพียงแค่ 3% เท่านั้น -ในการเดินทางโดยรถประจำทางในกทม. ผู้ใช้ยังต้องต่อรถโดยสารมากกว่า 1 ต่อเพื่อไปยังจุดหมายปลายทางถึง 31% -ระยะเวลาในการรอรถ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่คือ 41% บอกว่าต้องใช้เวลารอ 16-30 นาที ขณะที่มี 3% ที่ต้องรอรถนานมากกว่า 1 ชั่วโมง -เรื่องความถี่ของการมาของรถโดยสารประจำทางในกทม. พบว่า มากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ตอบแบบสอบถามคือ 56% รู้สึกพอใจในระดับปานกลาง -สภาพรถทั้งภายนอกและภายใน ผู้ตอบแบบสอบถามมากกว่าครึ่งหนึ่งรู้สึกพอใจในระดับปานกลาง คือ 52% สำหรับสภาพรถภายนอก และ 57% สำหรับสภาพรถภายใน -มารยาทการให้บริการของพนักงานขับรถ ผู้ตอบแบบสอบถามมากกว่าครึ่งหนึ่งรู้สึกพอใจปานกลาง คือ 57% -การรับส่งผู้โดยสารนอกป้าย แม้ว่า 55% ของผู้ตอบแบบสอบถามจะบอกว่าไม่เคยพบปัญหาดังกล่าว แต่อีก 45% ที่เหลือเคยเจอปัญหารถโดยสารประจำทางการรับส่งผู้โดยสารนอกป้าย ซึ่งต้องถือว่าเป็นจำนวนที่ค่อนข้างสูง -ความรู้สึกปลอดภัยโดยรวม 50% ของผู้ตอบแบบสอบถามรู้สึกพอใจมาก ส่วนอีก 37% รู้สึกพอใจปานกลาง ขณะที่มี 6% รู้สึกไม่พอใจมากที่สุด                  

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 142 ความปลอดภัยของรถยนต์

ฉลาดซื้อฉบับปิดท้ายปี 2555 ขอเกาะกระแสข่าวยอดขายรถยนต์พุ่งกระฉูด ด้วยการนำเสนอผลทดสอบความปลอดภัยรถยนต์ที่ EuroNCAP* ได้ทำไว้ ต้องบอกกันตรงนี้ก่อนว่าตามกฎหมายแล้ว รถยนต์ทุกยี่ห้อต้องผ่านการทดสอบความปลอดภัยก่อนจะนำมาขาย แต่นี่คืออีกระดับของการคุ้มครองผู้บริโภคและการยกระดับคุณภาพสินค้านั่นเอง ผู้ประกอบการเจ้าไหน ใจป้ำจัดเต็มก็จะได้ใจ (พร้อมเงินในกระเป๋า) ผู้บริโภคไป ----------------------------------------------------------------------------------------------------- EuroNCAP คือหน่วยงานอิสระที่ก่อตั้งโดยกรมการขนส่งของอังกฤษใน พ.ศ. 2540 จากนั้นรัฐบาลของฝรั่งเศส เยอรมนี สวีเดน เนเธอร์แลนด์ และแคว้นคาตาโลเนียของสเปน รวมถึงองค์กรผู้บริโภค และสมาคมรถยนต์ในประเทศต่างๆในยุโรปก็เข้าร่วมด้วย หน้าที่ของ EuroNCAP คือการทดสอบความปลอดภัยของรถที่จำหน่ายในยุโรปและเผยแพร่ข้อมูลให้กับผู้บริโภค ย้ำว่าองค์กรนี้ไม่อยู่ภายใต้อิทธิพลของบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ หนึ่งในสมาชิกของ EuroNCAP ได้แก่ องค์กรทดสอบระหว่างประเทศ (International Consumer Research & Testing) ที่ ฉลาดซื้อ และองค์กรผู้บริโภคในอีก 39 ประเทศเป็นสมาชิกอยู่นั่นเอง -----------------------------------------------------------------------------------------------------   การให้คะแนน EuroNCAP ให้คะแนนรวมจากการทดสอบทั้งหมดเป็นดาว สูงสุดคือ 5 ดาว คะแนนในแต่ละด้าน คิดเป็นคะแนนจากคะแนนเต็ม 100 ได้แก่ ความปลอดภัยของคนขับและผู้โดยสารด้านหน้า ความปลอดภัยของเด็ก (เมื่อนั่งบนเบาะนั่งนิรภัย) ความปลอดภัยของคนเดินถนน อุปกรณ์ความปลอดภัยที่เป็นมาตรฐานในตัวรถ ----------------------------------------------------------------------------------------------------- CRASH TESTS -     การชนด้านหน้า ทดสอบด้วยการชนเข้ากับสิ่งกีดขวางแบบยุบตัวได้ ที่ความเร็ว 64 กิโลเมตร/ชั่วโมง - การชนจากด้านข้าง ทดสอบโดยการใช้สิ่งกีดขวางแบบยุบตัวได้พุ่งเข้าชนประตูด้านคนขับ ที่ความเร็ว 50 กิโลเมตร/ชั่วโมง -      การชนเสา ตัวรถจะถูกเหวี่ยงให้ด้านข้างชนกับเสาด้วยความเร็ว 29  กิโลเมตร/ชั่วโมง -      การชน “คนเดินถนน” (โดยการพุ่งชนดัมมี่ศีรษะและขา ทั้งของเด็กและผู้ใหญ่) ที่ความเร็ว 40 กิโลเมตร/ชั่วโมง -      อุปกรณ์ความปลอดภัย การใส่ ถอด หรือการเตือนให้คาดเข็มขัดนิรภัย (ความชัดเจนทั้งเสียง และไฟสัญญาณเตือน) อุปกรณ์ช่วยจำกัดความเร็ว (ทั้งแบบที่ไม่ยอมไปเร็วกว่าความเร็วที่ผู้ขับขี่ตั้งไว้ และแบบที่มีเสียงเตือนเมื่อผู้ขับขี่ใช้ความเร็วเกิน) และระบบควบคุมการทรงตัวของรถ (Electronic Stability Control) -   การทดสอบความปลอดภัยของเด็ก ใช้ดัมมี่ขนาดเด็กขวบครึ่งและสามขวบนั่งบนเบาะนิรภัย (ชนิดที่ผู้ผลิตรถแต่ละยี่ห้อแนะนำ) ที่เบาะหลังของรถ นอกจากจะให้คะแนนโดยดูพฤติกรรมการเหวี่ยงของเบาะนิรภัยแล้ว ยังให้คะแนนในเรื่องคำแนะนำในการติดตั้ง และคำเตือนเรื่องถุงลมนิรภัย รวมถึงความสามารถของรถในการรองรับการติดตั้งที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กได้อย่างปลอดภัยด้วย   ----------------------------------------------------------------------------------------------------- อาการบาดเจ็บของกระดูกต้นคอ ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลถึงปีละหนึ่งหมื่นล้านยูโร ในยุโรป EuroNCAP จึงเพิ่มการทดสอบเรื่องนี้เพื่อให้เกิดการปรับปรุงการออกแบบเบาะนั่งและหมอนรองศีรษะ และให้คะแนนไว้ในเรื่องความปลอดภัยของคนขับและผู้โดยสารด้านหน้า ----------------------------------------------------------------------------------------------------- Meet the Iron Men: รู้จักกับ สองหุ่นกระดูกเหล็ก Hybrid III และ ES-2 คือหุ่นหลักที่ใช้ในการทดสอบความปลอดภัยภายในห้องโดยสาร โดย Hybrid III จะ เก็บข้อมูลการชนด้านหน้า ในขณะที่ ES-2 ทำหน้าที่เก็บข้อมูลการชนด้านข้าง ส่วนการทดสอบความปลอดภัยของคนเดินถนนนั้นเขาจะใช้เพียงชิ้นส่วนของหุ่นยนต์ในการทดสอบ   แม้หน้าตาจะไม่หล่อโดนใจ แต่ขอบอกว่าเขารับได้ทุกอย่าง ส่วนหัวทำด้วยอลูมิเนียม โครงกระดูกทำจากเหล็กกล้าถูกห่อหุ้มด้วย “ผิวหนัง” ที่ทำจากยาง ภายในศีรษะ คอ หน้าอก ช่องท้อง เชิงกราน และขา จะมีอุปกรณ์รับข้อมูลต่างๆ ที่แสดงผลให้เรารู้ถึงอาการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้นกับบริเวณดังกล่าว   สนนราคาของหุ่นทรหดแต่ละตัวนั้นไม่ต่ำกว่า หนึ่งแสนยูโร (ประมาณ 4 ล้านบาท) Supermini Chevrolet Aveo  รุ่นปี 2011 คะแนนรวม        5          ดาว ความปลอดภัยของคนขับและผู้โดยสารด้านหน้า                  95% ความปลอดภัยของเด็กเล็ก                                           87% ความปลอดภัยของคนเดินถนน                                       54% อุปกรณ์ความปลอดภัยมาตรฐาน                                    93%     Citroen C3  รุ่นปี 2009 คะแนนรวม       4          ดาว ความปลอดภัยของคนขับและผู้โดยสารด้านหน้า                  83% ความปลอดภัยของเด็กเล็ก                                           74% ความปลอดภัยของคนเดินถนน                                       33% อุปกรณ์ความปลอดภัยมาตรฐาน                                     40%     Honda Jazz รุ่นปี 2009 คะแนนรวม        5          ดาว ความปลอดภัยของคนขับและผู้โดยสารด้านหน้า                  78% ความปลอดภัยของเด็กเล็ก                                           79% ความปลอดภัยของคนเดินถนน                                       60% อุปกรณ์ความปลอดภัยมาตรฐาน                                     71%     Nissan Micra (Nissan March) รุ่นปี 2010 คะแนนรวม        4          ดาว ความปลอดภัยของคนขับและผู้โดยสารด้านหน้า                  84% ความปลอดภัยของเด็กเล็ก                                          79% ความปลอดภัยของคนเดินถนน                                      58% อุปกรณ์ความปลอดภัยมาตรฐาน                                    57%   Suzuki Swift รุ่นปี 2010 คะแนนรวม        5          ดาว ความปลอดภัยของคนขับและผู้โดยสารด้านหน้า                  94% ความปลอดภัยของเด็กเล็ก                                           82% ความปลอดภัยของคนเดินถนน                                       62% อุปกรณ์ความปลอดภัยมาตรฐาน                                     71%   Toyota Yaris รุ่นปี 2011 คะแนนรวม        5          ดาว ความปลอดภัยของคนขับและผู้โดยสารด้านหน้า                  89% ความปลอดภัยของเด็กเล็ก                                           81% ความปลอดภัยของคนเดินถนน                                      60% อุปกรณ์ความปลอดภัยมาตรฐาน                                    86%     Peugeot 208 รุ่นปี 2012 คะแนนรวม        5          ดาว ความปลอดภัยของคนขับและผู้โดยสารด้านหน้า                  88% ความปลอดภัยของเด็กเล็ก                                           78% ความปลอดภัยของคนเดินถนน                                       61% อุปกรณ์ความปลอดภัยมาตรฐาน                                     83%   Ford Fiesta รุ่นปี 2012 คะแนนรวม        5          ดาว ความปลอดภัยของคนขับและผู้โดยสารด้านหน้า                  91% ความปลอดภัยของเด็กเล็ก                                          86% ความปลอดภัยของคนเดินถนน                                      65% อุปกรณ์ความปลอดภัยมาตรฐาน                                    71%   Small Family Car BMW 3 Series รุ่นปี 2012 คะแนนรวม        5          ดาว ความปลอดภัยของคนขับและผู้โดยสารด้านหน้า                  95% ความปลอดภัยของเด็กเล็ก                                           84% ความปลอดภัยของคนเดินถนน                                       78% อุปกรณ์ความปลอดภัยมาตรฐาน                                     86%   Chevrolet Cruze รุ่นปี 2009 คะแนนรวม        5          ดาว ความปลอดภัยของคนขับและผู้โดยสารด้านหน้า                  96% ความปลอดภัยของเด็กเล็ก                                           84% ความปลอดภัยของคนเดินถนน                                       34% อุปกรณ์ความปลอดภัยมาตรฐาน                                     71%     Ford Focus รุ่นปี 2012 คะแนนรวม        5          ดาว ความปลอดภัยของคนขับและผู้โดยสารด้านหน้า                  92% ความปลอดภัยของเด็กเล็ก                                           82% ความปลอดภัยของคนเดินถนน                                       72% อุปกรณ์ความปลอดภัยมาตรฐาน                                     71%     Honda Civic รุ่นปี 2012 คะแนนรวม        5          ดาว ความปลอดภัยของคนขับและผู้โดยสารด้านหน้า                  94% ความปลอดภัยของเด็กเล็ก                                           83% ความปลอดภัยของคนเดินถนน                                      69% อุปกรณ์ความปลอดภัยมาตรฐาน                                    86%     Mazda 3 รุ่นปี 2009 คะแนนรวม        5          ดาว ความปลอดภัยของคนขับและผู้โดยสารด้านหน้า                  86% ความปลอดภัยของเด็กเล็ก                                          84% ความปลอดภัยของคนเดินถนน                                      51% อุปกรณ์ความปลอดภัยมาตรฐาน                                    71%     Mitsubishi Lancer รุ่นปี 2009 คะแนนรวม        5          ดาว ความปลอดภัยของคนขับและผู้โดยสารด้านหน้า                  81% ความปลอดภัยของเด็กเล็ก                                          80% ความปลอดภัยของคนเดินถนน                                      34% อุปกรณ์ความปลอดภัยมาตรฐาน                                    71%     VW Beetle รุ่นปี 2011 คะแนนรวม        5          ดาว ความปลอดภัยของคนขับและผู้โดยสารด้านหน้า                  92% ความปลอดภัยของเด็กเล็ก                                          90% ความปลอดภัยของคนเดินถนน                                      53% อุปกรณ์ความปลอดภัยมาตรฐาน                                   86%     Chevrolet Captiva รุ่นปี 2011 คะแนนรวม        5          ดาว ความปลอดภัยของคนขับและผู้โดยสารด้านหน้า                  88% ความปลอดภัยของเด็กเล็ก                                          82% ความปลอดภัยของคนเดินถนน                                      48% อุปกรณ์ความปลอดภัยมาตรฐาน                                    71%   Large Family Car Audi A4 รุ่นปี 2009 คะแนนรวม        5          ดาว ความปลอดภัยของคนขับและผู้โดยสารด้านหน้า                 93% ความปลอดภัยของเด็กเล็ก                                          84% ความปลอดภัยของคนเดินถนน                                      39% อุปกรณ์ความปลอดภัยมาตรฐาน                                    71%   Honda Accord รุ่นปี 2009 คะแนนรวม        5          ดาว ความปลอดภัยของคนขับและผู้โดยสารด้านหน้า                  86% ความปลอดภัยของเด็กเล็ก                                          79% ความปลอดภัยของคนเดินถนน                                      54% อุปกรณ์ความปลอดภัยมาตรฐาน                                   86%   Peugeot 508 รุ่นปี 2011 คะแนนรวม        5          ดาว ความปลอดภัยของคนขับและผู้โดยสารด้านหน้า                  90% ความปลอดภัยของเด็กเล็ก                                          81% ความปลอดภัยของคนเดินถนน                                      41% อุปกรณ์ความปลอดภัยมาตรฐาน                                   97%     Toyota Prius รุ่นปี 2009 คะแนนรวม        5          ดาว ความปลอดภัยของคนขับและผู้โดยสารด้านหน้า                  88% ความปลอดภัยของเด็กเล็ก                                          82% ความปลอดภัยของคนเดินถนน                                      68% อุปกรณ์ความปลอดภัยมาตรฐาน                                    86%     Volvo V60 รุ่นปี 2012 คะแนนรวม        5          ดาว ความปลอดภัยของคนขับและผู้โดยสารด้านหน้า                  94% ความปลอดภัยของเด็กเล็ก                                           82% ความปลอดภัยของคนเดินถนน                                      64% อุปกรณ์ความปลอดภัยมาตรฐาน                                    100%     Nissan Cube รุ่นปี 2010 คะแนนรวม        4          ดาว ความปลอดภัยของคนขับและผู้โดยสารด้านหน้า                  83% ความปลอดภัยของเด็กเล็ก                                          64% ความปลอดภัยของคนเดินถนน                                      56% อุปกรณ์ความปลอดภัยมาตรฐาน                                    84%   Pick-up Ford Ranger รุ่นปี 2012 คะแนนรวม        5          ดาว ความปลอดภัยของคนขับและผู้โดยสารด้านหน้า                  96% ความปลอดภัยของเด็กเล็ก                                           86% ความปลอดภัยของคนเดินถนน                                      81% อุปกรณ์ความปลอดภัยมาตรฐาน                                    71%     Isuzu D-Max รุ่นปี 2012 คะแนนรวม        4          ดาว ความปลอดภัยของคนขับและผู้โดยสารด้านหน้า                 83% ความปลอดภัยของเด็กเล็ก                                          67% ความปลอดภัยของคนเดินถนน                                      51% อุปกรณ์ความปลอดภัยมาตรฐาน                                   71%     VW Amarok รุ่นปี 2010 คะแนนรวม        4          ดาว ความปลอดภัยของคนขับและผู้โดยสารด้านหน้า                  86% ความปลอดภัยของเด็กเล็ก                                           64% ความปลอดภัยของคนเดินถนน                                       47% อุปกรณ์ความปลอดภัยมาตรฐาน                                     57%

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 136 ปั่นปลอดภัย ไปกับหมวกนิรภัย

เป็นที่รู้กันดีว่าการขี่จักรยานเป็นการออกกำลังกายที่ช่วยทำให้หัวใจแข็งแรง แถมยังเป็นการเดินทางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ติดอยู่ตรงที่หลายคนยังไม่มั่นใจว่าการใช้จักรยานสัญจรไปมาจะปลอดภัย มูลนิธิโลกสีเขียวมีผลสำรวจความคิดเห็นที่ยืนยันว่าร้อยละ 85 ของคนกรุงเทพฯ ที่ร่วมตอบแบบสอบถาม (ประมาณ 4,500 คน) ยินดีจะใช้จักรยานในการเดินทางถ้าพวกเขารู้สึกว่าสามารถขับขี่ได้โดยไม่มีอันตราย ระหว่างที่เรากำลังรอให้เกิดทางจักรยานที่ปลอดภัยและใช้สะดวกมากขึ้น ฉลาดซื้อ ขอนำเสนอผลการทดสอบหมวกนิรภัยสำหรับผู้ใช้จักรยาน ที่องค์กรทดสอบระหว่างประเทศ International Consumer Research & Testing ได้ทำไว้เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยให้ความสำคัญกับประสิทธิภาพในการป้องกันการบาดเจ็บเป็นหลัก ตามด้วยความสะดวกสบายในการสวมใส่ การระบายอากาศ และการปลอดสารเคมีอันตราย   ด้วยเนื้อที่อันจำกัด เราจึงขอนำเสนอเฉพาะ 10 รุ่นที่ได้คะแนนรวมสูงสุด (จากหมวกที่เข้าทดสอบทั้งหมด 25 รุ่น) และได้คะแนนประสิทธิภาพในการป้องกันการบาดเจ็บในระดับ 4 ดาว ต้องบอกไว้ตรงนี้ว่ายังไม่มีรุ่นไหนที่ได้คะแนน 5 ดาวไปเลย     Casco Activ-TC ราคา  2,390 บาท น้ำหนัก 291 กรัม ป้องกันการบาดเจ็บ       4 สวมสบายไม่อึดอัด       5 สวม/ถอด สะดวก         5 ระบายอากาศได้ดี         5 ปลอดสารเคมีอันตราย  5 ผลิตในประเทศโรมาเนีย     Specialized Align  ราคา 1,500 บาท น้ำหนัก 336 กรัม ป้องกันการบาดเจ็บ       4 สวมสบายไม่อึดอัด       5 สวม/ถอด สะดวก         4 ระบายอากาศได้ดี         5 ปลอดสารเคมีอันตราย  5 ผลิตในประเทศจีน     Specialized Echelon ราคา 2,500 บาท น้ำหนัก 293 กรัม ป้องกันการบาดเจ็บ       4 สวมสบายไม่อึดอัด       5 สวม/ถอด สะดวก         4 ระบายอากาศได้ดี         4 ปลอดสารเคมีอันตราย  5 ผลิตในประเทศจีน     Giro Savant  ราคา 3,000 บาท น้ำหนัก 240 กรัม ป้องกันการบาดเจ็บ       4 สวมสบายไม่อึดอัด       5 สวม/ถอด สะดวก         4 ระบายอากาศได้ดี         4 ปลอดสารเคมีอันตราย  5 ผลิตในประเทศจีน     Profex FZ-006 ราคา 720 บาท น้ำหนัก 257 กรัม ป้องกันการบาดเจ็บ       4 สวมสบายไม่อึดอัด       4 สวม/ถอด สะดวก         4 ระบายอากาศได้ดี         4 ปลอดสารเคมีอันตราย  5 ผลิตในประเทศ  - ไม่ระบุ     Giro Transfer ราคา 1,500 บาท น้ำหนัก 261 กรัม ป้องกันการบาดเจ็บ       4 สวมสบายไม่อึดอัด       4 สวม/ถอด สะดวก         4 ระบายอากาศได้ดี         4 ปลอดสารเคมีอันตราย  5 ผลิตในประเทศจีน     Cratoni  Evolution ราคา 4,700 บาท น้ำหนัก 501 กรัม ป้องกันการบาดเจ็บ       4 สวมสบายไม่อึดอัด       4 สวม/ถอด สะดวก         4 ระบายอากาศได้ดี         3 ปลอดสารเคมีอันตราย  5 ผลิตในประเทศเยอรมนี     Uvex Discovery  ราคา 4,700 บาท น้ำหนัก 398 กรัม ป้องกันการบาดเจ็บ       4 สวมสบายไม่อึดอัด       4 สวม/ถอด สะดวก         3 ระบายอากาศได้ดี         2 ปลอดสารเคมีอันตราย  3 ผลิตในประเทศเยอรมนี     Casco E.Motion ราคา 5,500 บาท น้ำหนัก 464 กรัม ป้องกันการบาดเจ็บ       4 สวมสบายไม่อึดอัด       3 สวม/ถอด สะดวก         3 ระบายอากาศได้ดี         2 ปลอดสารเคมีอันตราย  5 ผลิตในประเทศโรมาเนีย     BELL Muni  ราคา 3,200 บาท น้ำหนัก 326 กรัม ป้องกันการบาดเจ็บ       4 สวมสบายไม่อึดอัด       2 สวม/ถอด สะดวก         3 ระบายอากาศได้ดี         4 ปลอดสารเคมีอันตราย  5     รุ่นอื่นๆ ประสิทธิภาพป้องกันการบาดเจ็บ 3 ดาว Nutcase URS - 011S BELL Venture BELL Faction ABUS ASA Aven-U Etto B-1350 City Safe Uvex xp 17 city ALPINA City Giro Surface GUB GUBX5   ประสิทธิภาพป้องกันการบาดเจ็บ 2 ดาว Rudy Project Snuggy ABUS HS-17 Urbanaut Limar 525 KED Sky Two   ประสิทธิภาพป้องกันการบาดเจ็บ 1 ดาว MET Cameleonte Executive ---   ฉลาดซื้อแนะ หมวกนิรภัยมีราคาค่อนข้างสูง ทำให้หลายคนเลือกที่จะซื้อแบบ “มือสอง” มาใช้ อย่าลืมตรวจเช็คว่ามีรอยบุบหรือไม่ (เพื่อจะได้มั่นใจว่ามันยังไม่ผ่านการชนหรือกระแทกมาแล้ว) ที่สำคัญวัสดุต่างๆที่ใช้ทำตัวหมวกก็มีอายุจำกัด ทางที่ดีควรหลีกเลี่ยงหมวกที่ผลิตมาแล้วเกิน 5 ปี เมื่อมีหมวกแล้วก็ต้องรู้จักวิธีสวมใส่ที่ถูกต้องด้วย ใส่แบบไหนแล้วเท่เราตอบไม่ได้ แต่ถ้าจะใส่ให้ปลอดภัย หมวกของคุณจะต้องอยู่ในแนวระนาบเท่านั้น สำคัญอย่างยิ่ง คือการสวมใส่หมวกนิรภัยเสมอเมื่อคุณขับขี่จักรยาน เพราะอุบัติเหตุไม่เลือกเวลาหรือระยะทางอยู่แล้ว แต่หมวกนิรภัยเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถรับประกันความปลอดภัยให้กับเราได้ เรายังต้องการทางจักรยานที่สะดวกและปลอดภัย เพื่อประสบการณ์การขับขี่ที่สุนทรีย์ด้วย ---- จากใจคนรักจักรยาน กรุงเทพฯ อาจจะยังห่างไกลจากการเป็น “เมืองจักรยาน” แต่มีคนอย่างน้อยกลุ่มหนึ่งที่นิยมชมชอบการขี่จักรยานทั้งเพื่อเดินทางมาทำงานและเพื่อเป็นกิจกรรมผ่อนคลายในวันหยุด เรามารู้จักกับนักปั่น 3 คน จากโครงการนิติธรรมสิ่งแวดล้อม ซึ่งทำงานรณรงค์เพื่อให้เกิดระบบกฎหมายสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้นในบ้านเรา มาดูกันว่าแต่ละคนมีประสบการณ์ ความเห็นหรือข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการขับขี่จักรยานอย่างไรกันบ้าง สุรชัย ตรงงาม ผู้อำนวยการโครงการฯ สุรชัยให้ความเห็นว่า แม้กรุงเทพฯ จะมี “ทางจักรยาน” แต่จากการใช้เส้นทางจริงนั้นพบว่ายังไม่สามารถใช้ได้สะดวก ทางจักรยานซ้อนทับทางเท้า  ทางจักรยานไปจบตรงบันไดขึ้นสะพานลอยก็มี ทางไม่มีการปรับให้เรียบ มีแต่เพียงเส้นขีดไว้เท่านั้น เขามองว่า “ทางจักรยาน” ที่มีอยู่ในปัจจุบันยังไม่สามารถใช้ได้สะดวก บางครั้งทางไปจบตรงบันไดขึ้นสะพานลอยเสียดื้อๆ บางช่วงก็ซ้อนทับทางเท้า พื้นผิวทางโดยรวมก็ไม่มีการปรับให้เรียบ บ่อยครั้งไม่มีทางลาดช่วยในการเปลี่ยนระดับ (ทำให้ผู้ขับขี่ต้องจอดและยกรถจักรยาน) แถมบางพื้นที่ยังกลายเป็นแผงขายของไปอีกด้วย และที่เป็นเรื่องท้าทายสุดๆ สำหรับนักปั่น ตามความเห็นของเขาคือ ฝาท่อระบายน้ำที่บ้างก็วางในแนวขวาง บ้างก็วางในแนวขนานไปกับถนน เรียกว่าเผลอไม่ได้เลยทีเดียว สุรชัยซึ่งใช้จักรยานในการสัญจรมาตั้งแต่ปี  2548 เคยประสบอุบัติเหตุ 1 ครั้ง ในวันที่คิดว่าออกไปไม่ไกลบ้าน จึงไม่ได้สวมหมวกนิรภัย แต่จักรยานล้มในช่วงที่กำลังเข้าโค้งหน้าปากซอย ผลคือคิ้วแตกและโหนกแก้มยุบ ทำให้ต้องหยุดงานไปประมาณ 4 เดือน แถมเสียค่ารักษาพยาบาลไปไม่ต่ำกว่า 40,000 บาท เขาจึงอยากจะย้ำว่าหมวกนิรภัยนั้นเป็นสิ่งที่มองข้ามไม่ได้เลย   สุภาภรณ์ มาลัยลอย เจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการ สุภาภรณ์ค้นพบว่า การขี่จักรยานมาทำงานนั้นเป็นประสบการณ์ที่รื่นรมย์อย่างยิ่ง จะขัดใจอยู่บ้างก็ตรงป้ายโฆษณาที่วางระเกะระกะบนทางจักรยาน และบางช่วงของทางที่ไม่เอื้อต่อการผ่านไปของจักรยานนี่แหละ เธอปั่นจักรยานเป็นระยะทาง 5 กิโลเมตร จากบ้านในซอยลาดพร้าว 62 มายังสำนักงานในซอยรามคำแหง 39 เจ้าตัวยืนยันว่ามันสะดวกอย่างยิ่งโดยเฉพาะอย่างยิ่งในตอนเช้าซึ่งรถติดมากๆ เธอก็ยังสามารถมาถึงสำนักงานได้ภายในเวลาไม่เกิน 30 นาที ที่สำคัญประหยัดค่าเดินทางไปวันละ 66 บาท แม้จะต้องจ่ายค่าซ่อมเกียร์ เติมลม ปะยางบ้าง ก็ยังถือว่าคุ้ม สำหรับเธอ แม้ทางจักรยานจะยังไม่สมบูรณ์แบบตามมาตรฐานสากล แต่การได้ขี่จักรยานเองก็ทำให้เธอรู้สึกปลอดภัยกว่าการนั่งซ้อนท้ายมอเตอร์ไซค์อยู่ดี   สงกรานต์ ป้องบุญจันทร์ ทนายความ รายนี้ขัดใจกับ “ทางจักรยาน” ในเส้นทางที่เขาใช้ประจำ จนต้องหลบลงไปปั่นบนพื้นถนนอยู่บ่อยครั้ง เขาอยากให้มีการนำแนวคิดการจัดพื้นที่ถนนให้สามารถใช้ร่วมกันได้ระหว่างรถยนต์และจักรยาน เจ้าตัวบอกว่าอยากให้เหมือนกับถนนที่เจนีวา ที่แบ่งพื้นที่ถนนครึ่งเลนให้กับจักรยานไปเลย สงกรานต์บอกว่าความจริงแล้วเลนจักรยานบนถนนสีลมบ้านเราก็มี เพียงแต่ยังถูกใช้เป็นที่จอดรถอยู่  หลักๆ แล้วเขาเชื่อว่าจะมีคนหันมาใช้จักรยานกันมากขึ้น ถ้ามีการออกแบบทางจักรยาน (ย้ำว่าต้องเป็น “ทางจักรยาน” ไม่ใช่การขีดเส้นเฉยๆ) โดยยึดหลักความปลอดภัย ความสะดวก และการเชื่อมต่อกับบริการสาธารณะ เช่นที่สำหรับจอดรถจักรยานที่สะดวกและปลอดภัยจากการโจรกรรมนั้นยังมีอยู่น้อยมาก ทำให้หลายคนไม่กล้าเสี่ยง สงกรานต์ลงทุนซื้อจักรยานไป 4,500 บาท ใช้ปั่นมาทำงานทุกวัน เขายืนยันว่าไม่เกิน 5 เดือนก็คืนทุน แต่ทั้งนี้ใครอยากจะสร้างเสริมประสบการณ์การขับขี่ของตนเองด้วยการลงทุนเพิ่มก็ไม่ว่ากัน ทีมนี้เขายกตัวอย่างให้ฟังว่า ถ้าเราอยากให้จักรยานเบาลง 1 กิโลกรัม เราก็จะต้องใช้จ่ายประมาณ 10,000 บาท เพื่อเปลี่ยนชิ้นส่วนจากเหล็กเป็นไทเทเนียม เป็นต้น เอาเป็นว่าถูกก็ได้ แพงก็ดี ลองพิจารณาหาจักรยานมาปั่นกันดู จะไปตลาด ไปทำงาน หรือไปส่งลูกที่โรงเรียนก็ตามแต่ใจ แต่อย่าลืมใส่หมวกนิรภัยด้วยแล้วกัน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 136 ผักขึ้นห้าง วางใจได้แค่ไหนเรื่องสารเคมี

ผักสดผลไม้เป็นอาหารที่มีประโยชน์ แต่ในกระบวนการปลูกก็มีเรื่องของสารเคมีเข้ามาเกี่ยวข้อง ถ้าตกค้างอยู่เป็นจำนวนมาก สุขภาพที่ดีก็อาจเปลี่ยนเป็นสุขภาพที่ร้ายได้ หลายหน่วยงานจึงจัดทำมาตรฐานเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค ฉลาดซื้อเลยขอโอกาสช่วยตรวจสอบซ้ำให้กับผู้บริโภค โดยฉลาดซื้อได้คัดเลือกผักจำนวน 7 ชนิด เพื่อนำมาวิเคราะห์หาการปนเปื้อนของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช หรือ ยาฆ่าแมลง ผักทั้ง 7 ชนิดที่เราเลือกมานั้นประกอบด้วย กะหล่ำปลี คะน้า ถั่วฝักยาว ผักกาดขาว ผักบุ้งจีน ผักชี และ พริกจินดา ล้วนเป็นผักยอดนิยมที่มักจะถูกเลือกเป็นส่วนประกอบในหลายๆ เมนู หาซื้อหารับประทานได้ทั่วไป ฉลาดซื้อเชื่อว่าหลายๆ คนน่าจะรับประทานผักเหล่านี้เป็นประจำ ตัวอย่างผักทั้ง 7 ชนิดที่นำมาวิเคราะห์ในครั้งนี้ ได้เลือกสุ่มเก็บตัวอย่างผักที่วางจำหน่ายในห้างสรรพสินค้าและซูเปอร์มาร์เก็ตชื่อดัง เพราะเห็นว่าปัจจุบันมีหลายๆ บ้าน หลายๆ ครอบครัวนิยมเลือกซื้อจากซูเปอร์มาร์เก็ตมากขึ้น โดยตัวอย่างผักที่เราเก็บจากซูเปอร์มาร์เก็ตเพื่อนำมาทดสอบทั้ง 7 ชนิด จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรก คือผักที่ได้รับเครื่องหมาย Q ซึ่งเป็ นตรารับรองสินค้าเกษตรคุณภาพ โดยสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ส่วนอีกหนึ่งกลุ่ม จะเป็นผักที่จำหน่ายโดยใช้ตราหรือยี่ห้อของทางห้างเอง (House brand)   การวิเคราะห์จะดูการปนเปื้อนของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช 2 กลุ่ม คือ กลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต และ กลุ่มคาร์บาเมต ซึ่งเกษตรกรผู้ปลูกผักนิยมใช้กันมากในปัจจุบัน โดยเราจะนำผลวิเคราะห์ที่ได้มาเทียบเคียงเกณฑ์ปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุด ที่ออกโดยมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) 1. รายงานการตรวจวิเคราะห์ ผัก กลุ่มมาตรฐาน Q ตัวอย่าง ยี่ห้อ ผู้ผลิต ราคา ผลการวิเคราะห์ (มก./กก) มาตรฐาน (ไม่เกิน มก./กก.)   สารกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต สารกลุ่มคาร์บาเมต ไทย (มกอช.) ยุโรป   กะหล่ำปลี ตราโครงการหลวง โครงการหลวง เชียงใหม่ 69 บ. / 1 กก. ไม่พบ ไม่พบ - -   คะน้า ตรา Fresh Deli ไร่ฐิติวันต์ - ไม่พบ Methiocarb น้อยกว่า 0.01 ไม่ปรากฏในการกำหนดมาตรฐานสินค้า (ไม่ควรมีการตกค้าง) Methiocarb 0.1   ถั่วฝักยาว ตราผักด๊อกเตอร์ บ.ผักด๊อกเตอร์ จำกัด 39 บ. / แพ็ค ไม่พบ Cardofuran 0.07 Methomyl 0.08 Carbofuran 0.1 Methomyl 1 Carbofuran 0.02 Methomyl 0.02   ผักกาดขาว ตราผักด๊อกเตอร์ บ.ผักด๊อกเตอร์ จำกัด 45 บ. / แพ็ค ไม่พบ ไม่พบ -   -   ผักบุ้งจีน ตรา Fresh Deli ไร่ฐิติวันต์ - ไม่พบ ไม่พบ - -   ผักชี ตรา Fresh Deli ไร่ฐิติวันต์ - Methidathion น้อยกว่า 0.05 ไม่พบ ไม่ปรากฏในการกำหนดมาตรฐานสินค้า (ไม่ควรมีการตกค้าง) Methidathion 0.02   พริกจินดา ตรา Fresh Deli ไร่ฐิติวันต์ - Chlorpyrifos 0.31 ไม่ พบ Chlorpyrifos 0.5 Chlorpyrifos 0.5   2. รายงานการตรวจวิเคราะห์ ผัก กลุ่มตราห้าง (House Brand) ตัวอย่าง ยี่ห้อ ผู้ผลิต ราคา ผลการวิเคราะห์ มาตรฐาน (ไม่เกิน มก./กก.) สารกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต สารกลุ่มคาร์บาเมต ไทย (มกอช.) ยุโรป กะหล่ำปลี เทสโก้ โลตัส สาขา บางประกอก - - ไม่พบ ไม่พบ - - คะน้า โฮม เฟรช มาร์ท สาขา เดอะ มอลล์ งามวงศ์วาน - 25 บ. / 250 กรัม Methidathion น้อยกว่า 0.05 ไม่พบ ไม่ปรากฏในการกำหนดมาตรฐานสินค้า (ไม่ควรมีการตกค้าง) Methidathion 0.02 ถั่วฝักยาว เทสโก้ โลตัส สาขา พระราม 2 - 7 บ. / แพ็ค Ethion น้อยกว่า 0.05 ไม่พบ ไม่ปรากฏในการกำหนดมาตรฐานสินค้า (ไม่ควรมีการ ตกค้าง) Ethion 0.01 ผักกาดขาว เทสโก้ โลตัส สาขา บางประกอก - 36.75 / 1 หัว ไม่พบ ไม่พบ - - ผักบุ้งจีน เทสโก้ โลตัส สาขา พระราม 1 - 5 บ. / แพ็ค ไม่พบ ไม่พบ - - ผักชี กูเม่ร์ มาร์เก็ต สยามพารากอน - 29 บ. / 80 กรัม Chlorpyrifos 0.84 Methidathion 0.06 Aldicarb 0.01 Carbofuran 0.75 ไม่ปรากฏในการกำหนดมาตรฐานสินค้า (ไม่ควรมีการตกค้าง) Chlorpyrifos 0.05 Methidathion 0.02 Aldicarb 0.02 Carbofuran 0.02 พริกจินดา เทสโก้ โลตัส สาขา พระราม 1 - - Methidathion น้อยกว่า 0.05 ไม่พบ ไม่ปรากฏในการกำหนดมาตรฐานสินค้า (ไม่ควรมีการตกค้าง) Methidathion 0.02     : เก็บตัวอย่างเมื่อเดือน มีนาคม 2555 : ผลวิเคราะห์เฉพาะตัวอย่างที่ส่งทดสอบเท่านั้น : วิเคราะห์ผลโดย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ผลการวิเคราะห์ เริ่มที่ข่าวดี ผลจากการวิเคราะห์บอกกับเราว่า ผัก 3 ใน 7 ชนิด คือ กะหล่ำปลี ผักกาดขาวและผักบุ้งจีน ทั้ง 2 กลุ่มตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อนของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชไม่ว่าจะในกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตหรือกลุ่มคาร์บาเมต งั้นมาดูผักอีก 4 ชนิด ที่ตรวจพบการปนเปื้อน มาดูกันสิว่าจะมีผลต่อผู้บริโภคอย่างเรามากน้อยแค่ไหน ผักคะน้า เริ่มกันที่ ผักคะน้า โดยตัวอย่างในกลุ่มผักที่ได้รับมาตรฐาน Q เป็นผักคะน้ายี่ห้อ เฟรช เดลี่ (Fresh Deli) พบการปนเปื้อนสารในกลุ่มคาร์บาเมต ที่ชื่อว่า เมทธิโอคาร์ป (Methiocarb) ที่ปริมาณน้อยกว่า 0.01 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งหากจะเทียบตามเกณฑ์ปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุด มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ไม่ได้มีกำหนดเกณฑ์ของ เมทธิโอคาร์ป เอาไว้ เราจึงเทียบกับมาตรฐานสารเคมีกำจัดศัตรูพืชของยุโรป ซึ่งกำหนดให้คะน้า (ใช้คำค้นหาว่า Chinese broccoli) พบการปนเปื้อน เมทธิโอคาร์ป ได้ไม่เกิน 0.1 มล. ต่อ กก. ซึ่งเท่ากับว่าผลการวิเคราะห์ที่ได้ไม่เกินเกณฑ์ที่เหมาะสม ส่วนตัวอย่าง ผักคะน้า ในกลุ่มตราห้าง ที่เก็บตัวอย่างจาก โฮม เฟรช มาร์ท สาขา เดอะ มอลล์ งามวงศ์วาน พบการปนเปื้อนของสารเคมีในกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต ตัวที่มีชื่อว่า เมทิดาไทออน (Methidathion) ปริมาณที่พบคือ น้อยกว่า 0.05 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งก็ไม่ได้มีกำหนดไว้ในเกณฑ์ปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุดของ มกอช. เช่นกัน เพราะฉะนั้นเมื่อนำไปเทียบกับเกณฑ์ของยุโรปที่กำหนดให้ เมทิดาไทออน ที่กำหนดไว้ไม่ให้เกิน 0.02 มล. ต่อ กก. ผลทดสอบที่ได้จึงเกินจากเกณฑ์ที่กำหนดไปนิดๆ   ถั่วฝักยาว ตัวอย่าง ถั่วฝักยาว มาตรฐาน Q ที่นำมาวิเคราะห์ คือ ตราผักด๊อกเตอร์ พบการปนเปื้อนวัตถุอันตรายทางการเกษตรเฉพาะในกลุ่มคาร์บาเมต 2 ตัว คือ คาร์โบฟูราน (Carbofuran) ที่ปริมาณ 0.07 มล. ต่อ กก. อีกตัวคือ เมโทมิล (Methomyl) ที่ปริมาณ 0.08 มล. ต่อ กก. ซึ่งสารเคมีทั้ง 2 ตัว มีการกำหนดไว้ในเกณฑ์ปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุดของ มกอช. โดยในถั่วฝักยาว อนุญาตในพบการปนเปื้อนของ คาร์โบฟูราน สูงสุดไม่เกิน 0.1 มล. ต่อ กก. ส่วน เมโทมิล สูงสุดได้ไม่เกิน 1 มล. ต่อ กก. เท่ากับว่าผลทดสอบ ถั่วฝักยาว มาตรฐาน ตราผักด๊อกเตอร์ พบการปนเปื้อนของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของ มกอช. มาดูที่ตัวอย่าง ถั่วฝักยาว ที่ใช้ตราของห้างสรรพสินค้า ซึ่งเราเก็บตัวอย่างมาจาก ห้างเทสโก้ โลตัส สาขาพระราม 2 พบการปนเปื้อนของสารเคมีในกลุ่มออร์กาโนฟอสฟอรัส 1 ตัว คือ อีไทออน (Ethion) ที่ปริมาณน้อยกว่า 0.05 มล. ต่อ กก. ซึ่งในเกณฑ์ของ มกอช. ไม่ได้มีการกำหนดปริมาณที่สามารถพบได้ของสารนี้ในถั่วฝักยาว แต่มีการกำหนดไว้ในกลุ่มของถั่วทั้งชนิดที่เป็นฝักสดและชนิดเมล็ดแห้ง โดยตั้งเกณฑ์การปนเปื้อนไว้ที่ไม่เกิน 1 มล. ต่อ กก. หากลองใช้เกณฑ์นี้เป็นตัวตั้ง การพบ อีไทออน ที่ปริมาณน้อยกว่า 0.05 มล. ต่อ กก. ก็ถือว่าห่างจากเกณฑ์สูงสุดที่ตั้งไว้ค่อนข้างมาก   ผักชี ในมาตรฐานสารเคมีในสินค้าเกษตรของ มกอช. ไม่ได้มีการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานของ ผักชี เอาไว้ ทำให้เราต้องนำไปเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานความปลอดภัยของยุโรปแทน โดยตัวอย่าง ผักชีมาตรฐาน Q ตรา เฟรช เดลี่ (Fresh Deli) พบการปนเปื้อนของ เมทิดาไทออน (Methidathion) น้อยกว่า 0.05 มล. ต่อ กก. ซึ่งเมื่อเทียบกับเกณฑ์สินค้าเกษตรของยุโรป กำหนดไว้ให้ถั่วฝักยาวสามารถพบการปนเปื้อนของ เมทิดาไทออน ได้ไม่เกิน 0.02 มล. ต่อ กก. ซึ่งนั้นเท่ากับว่าตัวอย่างผักชีมาตรฐาน Q ที่เรานำมาทดสอบพบการปนเปื้อนของยาฆ่าแมลงเกินมาตรฐาน เช่นเดียวกับ ตัวอย่าง ผักชีตราห้าง ที่พบการปนเปื้อนของสารเคมีหลายตัว ไม่ว่าจะเป็น คลอร์ไพริฟอส (Chlorpyrifos) 0.84 มล. ต่อ กก., เมทิดาไทออน (Methidathion) 0.06 มล. ต่อ กก., อัลดิคาร์บ (Aldicarb) 0.01 มล. ต่อ กก., และ คาร์โบฟูราน (Carbofuran) 0.75 มล. ต่อ กก. โดยผลวิเคราะห์ที่ได้ถือว่าน่าตกใจ เพราะในเกณฑ์สินค้าเกษตรปลอดภัยของยุโรป อนุญาตให้พบการปนเปื้อนของ คลอร์ไพริฟอส ไม่เกิน 0.05 มล. ต่อ กก. และ คาร์โบฟูราน ก็กำหนดให้ไม่เกิน 0.02 มล. ต่อ กก. แต่เมื่อดูตัวเลขที่ได้จากการวิเคราะห์จะเห็นว่าพบการปนเปื้อนสูงเกินเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในปริมาณที่สูงมาก จนน่าเป็นห่วง   พริกจินดา พริกจินดา มาตรฐาน Q ตรา เฟรช เดลี่ (Fresh Deli) พบการปนเปื้อนของ คลอร์ไพริฟอส (Chlorpyrifos) ที่ 0.31 มล. ต่อ กก. ซึ่งเกณฑ์ที่กำหนดไว้ทั้งของ มกอช. และยุโรป คือไม่เกิน 0.5 มล. ต่อ กก. เท่ากัน ตัวอย่างพริกจินดามาตรฐาน Q จึงถือว่ายังอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ส่วนตัวอย่าง พริกจินดาตราห้าง พบการปนเปื้อนของ เมทิดาไทออน (Methidathion) น้อยกว่า 0.05 มล. ต่อ กก. โดยเกณฑ์ของ มกอช. ไม่ได้กำหนดไว้ เมื่อนำไปเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานของยุโรปซึ่งกำหนดไว้ที่ไม่เกิน 0.02 มล. ต่อ กก. ดังนั้นผลวิเคราะห์ที่ได้ที่ว่าน้อยกว่า 0.05 มล. ต่อ กก. ก็อาจจะถือว่าเกินเกณฑ์ของยุโรป แต่ก็เป็นปริมาณที่ไม่มาก   สรุป -ใครที่ยังเข้าใจว่าผักมาตรฐาน Q เป็นผักปลอดสารคงต้องทำความเข้าใจกันใหม่ เพราะผักที่ได้รับมาตรฐาน Q จากสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) เป็นเพียงผักที่ได้รับการการันตีว่ามีการใช้สารเคมีอยู่ในเกณฑ์ที่ทางสำนักงานกำหนดว่าปลอดภัยเท่านั้น หากมีการสุ่มตรวจต้องพบการตกค้างของสารเคมีหรือยาฆ่าแมลงเกินจากเกณฑ์ที่ มกอช. กำหนด ยืนยันได้จากตัวอย่างผักที่เรานำมาทดสอบ หลายตัวยังพบการปนเปื้อนของสารเคมี (ถ้าหากอยากทานผักที่ปลอดสารเคมีจริงๆ ต้องเลือกผักที่เป็นผักเกษตรอินทรีย์) -อันตรายของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช จะสะสมในระยะยาว เป็นสาเหตุทำให้เกิดมะเร็ง ส่งผลเสียต่อสมอง และระบบทางเดินหายใจ ส่วนพิษเฉียบพลันซึ่งมักเกิดกับกลุ่มเกษตรกรผู้ใช้สารเคมีโดยตรง อาการที่จะเกิดขึ้นก็มีทั้ง เวียนหัว อาเจียน ปวดท้องรุนแรง ไปจนถึงเกิดอาการใจสั่น หายใจติดขัด (จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข พบว่าในช่วงปี 2543 – 2552 มีผู้ป่วยจากพิษสารกำจัดศัตรูพืชเฉลี่ยปีละ 1,996 ราย) -จากผลการวิเคราะห์สารเคมีที่พบในตัวอย่างผักกลุ่มที่ได้รับเครื่องหมาย Q แต่ละชนิดส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ของ มกอช. ยกเว้น ถั่วฝักยาว ที่พบการปนเปื้อนเกินเกณฑ์ที่ มกอช. กำหนด -ที่น่าสังเกตคือ ผักชี ซึ่ง มกอช. ไม่ได้มีเกณฑ์กำหนดเรื่องการปนเปื้อนของยาฆ่าแมลง โดยตัวอย่าง ผักชี มาตรฐาน Q เมื่อนำผลวิเคราะห์ที่ได้ไปเทียบกับเกณฑ์ของยุโรป แม้จะเกินมาตรฐานแต่ก็เป็นปริมาณที่ไม่มาก แต่เมื่อเป็นตัวอย่าง ผักชีตราห้าง กับพบการปนเปื้อนเกินเกณฑ์มาตรฐานในระดับที่ค่อนข้างสูง แม้หลายคนอาจจะคิดว่าผักชีเป็นผักที่เราใช้โรยหน้าในอาหารเมนูต่างๆ ซึ่งปกติเราจะทานในปริมาณที่น้อยมากๆ การปนเปื้อนของสารเคมีอาจไม่ส่งผลร้ายอะไร แต่การพบปริมาณการปนเปื้อนของยาฆ่าแมลงจำนวนมากแบบนี้ แสดงให้เห็นถึงสถานการณ์การใช้สารเคมีในการเกษตรของบ้านเราซึ่งยังมีมากจนน่าเป็นห่วง ในระยะยาวอันตรายของสารเคมีของส่งผลกระทบกับสุขภาพของเกษตรกรมากกว่าผู้บริโภค เพราะเกษตรกรสัมผัสกับสารเคมีอันตรายเหล่านี้โดยตรงและเป็นประจำทุกวันติดต่อกันเป็นเวลานาน ด้านการส่งออกก็จะเกิดปัญหาหากเราส่งผักที่มีการปนเปื้อนแบบนี้ออกไป ทางแก้ไขก็ต้องเป็นให้ความรู้กับเกษตรกรผู้ผลิต ว่าสารเคมีที่ใช้อยู่เป็นอันตรายยังไง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องมีมาตรการ ลดการใช้ การผลิต การนำเข้า สารเคมีทางการเกษตรที่เป็นอันตราย กระตุ้นและส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาทำเกษตรอินทรีย์กันมากขึ้น ซึ่งผู้บริโภคอย่างเราเองก็ต้องช่วยกันส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ แม้ราคาจะแพงกว่าผักทั่วไป แต่ก็ถือว่าคุ้มค่าเพราะได้สุขภาพที่ดีเป็นการตอบแทน -ไม่ว่าจะเป็นผักชนิดใด การล้างทำความสะอาดก่อนทานจึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรละเลย แม้แต่ผักที่ปอกเปลือกก่อนทาน ก็ต้องล้างทำความสะอาดก่อนปอกเปลือก   ------------------------------------------------------------------------------------- รู้จักเครื่องหมาย Q เครื่องหมาย Q บนสินค้าเกษตร คือเครื่องหมายรับรองที่ออกโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อรับรองว่าผลิตภัณฑ์เกษตรและอาหารผ่านเกณฑ์ของคณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ เรื่องความปลอดภัยด้านอาหาร (food safety) และด้านคุณภาพที่จำเป็น (essential quality) ซึ่งประโยชน์ของการติดเครื่องหมาย Q ในสินค้าเกษตรที่ครอบคลุมทั้ง พืช ปศุสัตว์ และประมง คือการเป็นเครื่องมือที่ใช้ควบคุมมาตรฐานการผลิตสินค้าเกษตร ไล่ตั้งแต่ระดับฟาร์ม การแปรรูป การขนส่ง ช่วยให้ผู้บริโภครู้ถึงแหล่งที่มาของสินค้า สามารถตรวจสอบข้อมูลต่างๆ ได้ในกรณีที่เกิดปัญหาหรือได้รับอันตรายจากการบริโภคผลิตภัณฑ์นั้นๆ   “คาร์โบฟูราน” (Cardofuran) ที่พบในตัวอย่าง ผักชี ตราห้าง กับ ถั่วฝักยาว มาตรฐาน Q และ “เมโทมิล” (Methomyl) ที่พบในตัวอย่าง ถั่วฝักยาว มาตรฐาน Q ถือเป็น 2 ใน 4 สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ เครือข่ายเฝ้าระวังสารเคมีเกษตร (Thai – PAN : Thailand Pesticide Alert Network) ที่เกิดจากการรวมตัวกันของ เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก เครือข่ายผู้บริโภค และภาคีที่เกี่ยวข้อง กำลังผลักดันให้ภาครัฐเพิกถอนทะเบียน ยกเลิกการนำเข้าและผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศไทย ซึ่งองค์การอนามัยโลก (WHO) จัดให้สารเคมีทั้ง 2 ชนิดนี้ เป็นสารที่มีความเป็นพิษเฉียบพลันสูง มีความอันตรายถึงชีวิตแม้จะได้รับสารพิษเพียงเล็กน้อย มีหลายประเทศที่ประกาศไม่ให้ใช้สารเหล่านี้ไปแล้ว โดยประเทศที่ประกาศแบน คาร์โบฟูราน ประกอบด้วย สหภาพยุโรป, สหรัฐอเมริกา, จีน และ จาไมก้า ส่วนประเทศที่ยกเลิกการใช้ เมโทมิล ได้แก่ สหราชอาณาจักร, เยอรมนี, ฟินแลนด์, สิงคโปร์ ส่วนสารเคมีอีก 2 ตัวที่เครือข่ายเฝ้าระวังสารเคมีเกษตรเสนอให้มีการยกเลิกการใช้ในประเทศไทยคือ ไดโครโตฟอส (Dicrotophos) และ อีพีเอ็น (EPN)  

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 128 ยังต้องระวัง ไส้กรอกสีสด

  มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคยังทำหน้าที่เฝ้าระวังเกี่ยวกับความปลอดภัยของอาหารอย่างต่อเนื่อง ปีที่แล้วถ้าจำกันได้ เราตรวจหาสีและวัตถุกันเสียในไส้กรอกหมูและไส้กรอกไก่ ทำให้รู้ว่า หลายยี่ห้อใส่วัตถุกันเสีย(สารกันบูด) เกินมาตรฐาน   ผ่านไปปีกว่าๆ  ฉลาดซื้อและมูลนิธิฯ เลยขอตามติดใกล้ชิดไส้กรอกกันอีกสักรอบว่า สถานการณ์ดีขึ้นหรือแย่ลง โดยเก็บตัวอย่างไส้กรอกกลุ่มพรีเมี่ยมทั้งแบบบรรจุถุงและแบบตักแบ่งขาย (ยี่ห้อเดิมที่เคยเก็บเท่าที่หาซื้อได้) จากห้างค้าปลีกสมัยใหม่ และตัวอย่างไส้กรอกสำหรับตลาดล่างจากตลาดสด รวมทั้งสิ้น 19 ตัวอย่าง แบ่งเป็นไส้กรอกหมู 9 ตัวอย่าง ไส้กรอกไก่ 6 ตัวอย่าง และไม่ระบุประเภทเนื้อที่ใช้ 4 ตัวอย่าง   ชื่อผลิตภัณฑ์ ผู้ผลิต / จำหน่าย ว.ด.ป. ผลิต / หมดอายุ ส่วนประกอบที่ระบุ การระบุฉลากเรื่องวัตถุกันเสีย ผลทดสอบ เบนโซอิค (มก./กก.) ซอร์บิค (มก./กก.) ไนเตรท* (มก./กก.) ไนไตรท์* (มก./กก.) สี (มก./กก.) ซีพี – แฟรงค์เฟริตเตอร์ บ.กรุงเทพโปรดิ้วส์ จำกัด (มหาชน) จำหน่าย ซีพีเอฟ เทรดดิ้ง 26/7/54 25/8/54 เนื้อสัตว์ น้ำตาล เกลือ เครื่องเทศ ไม่ระบุ ไม่พบ ไม่พบ - - ไม่พบ หมูตัวเดียว ไส้กรอกหมูคอกเทล บ.บางกอกแฮมโปรดักส์ ซิฟฟลาย จำกัด 22/7/54 22/8/54 เนื้อหมู เครื่องเทศ น้ำตาล ไม่ระบุ ไม่พบ ไม่พบ - - ไม่พบ S&P ไส้กรอกคอกเทล บ.S&P ซินดิเคท จำกัด (มหาชน) 14/7/54 28/8/54 เนื้อหมู เครื่องปรุงรส น้ำ เครื่องเทศ ไม่ระบุ (บอกว่าไม่ใส่สีไม่ใส่ผงชูรส) ไม่พบ ไม่พบ - - ไม่พบ TGM ไส้กรอกเวียนนาหมู บ.ไทยเยอรมันมีทโปรดักท์ จำกัด จำหน่าย บ.ไทยซอสเซส มาร์เก็ตติ่ง จำกัด 20/7/54 19/8/54 เนื้อหมู 80% น้ำ 15% เครื่องปรุงรส 5%   ระบุ (ใช้โมโนโซเดียมกลูตาเมต) ไม่พบ ไม่พบ - - ไม่พบ คุ้มค่า tesco คอกเทลหมู บ.ซีพีเอฟ ผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด 22/7/54 3/8/54 เนื้อหมู น้ำตาล เกลือ เครื่องเทศ ไม่ระบุ   ไม่พบ ไม่พบ - - ไม่พบ หมู 2 ตัว คอกเทลหมู บ.ไทยเยอรมันมีทโปรดักท์ จำกัด 27/7/54 3/8/54 ไม่ระบุ ไม่ระบุ ไม่พบ ไม่พบ - - ไม่พบ หมู 2 ตัว ไส้กรอกไก่ (ตักขาย) บ.ไทยเยอรมันมีทโปรดักท์ จำกัด (โลตัส บางประกอก) 31/7/11 7/8/11 - - ไม่พบ ไม่พบ - - ไม่พบ หมูตัวเดียวคอกเทลไก่ (ตักขาย) ซื้อที่ โลตัส บางประกอก 31/7/11 7/8/11 - - ไม่พบ ไม่พบ - - ไม่พบ ซีพี คอกเทลไก่ (ตักขาย) ซื้อที่ โลตัส บางประกอก 31/7/11 7/8/11 - - ไม่พบ ไม่พบ - - ไม่พบ เทสโก้ ไส้กรอกเวียนนาหมู บ.กรุงเทพโปรดั๊กส์ จำกัด  (มหาชน) ผลิตให้เฉพาะเทสโก้ 24/7/11 17/8/11 เนื้อสัตว์ เครื่องเทศ เครื่องปรุงรส ใช้ผลชูรส ใช้วัตถุกันเสีย ไม่พบ ไม่พบ - - ไม่พบ BK Products ฮอทดอก กริลไก่ บ.กรุงเทพโปรดั๊กส์ จำกัด  (มหาชน) ซีพี เทรดดิ้ง จำกัด จัดจำหน่าย   27/7/54 11/8/54 เนื้อไก่ น้ำ เครื่องเทศ, เครื่องปรุงรส มีส่วนผสมของกลูเตนจากข้าวสาลี โปรตีนจากถั่วเหลือง แป้งมันสำปะหลังดัดแปลง ใช้วัตถุกันเสีย ไม่พบ ไม่พบ - - ไม่พบ PF foods (ไม่ได้แจ้งว่าเป็นไส้กรอกอะไร) บ.ฟลายฟูดส์ จำกัด 99/9 ม.3 ตำบลนาดี อ.เมืองสมุทรสาคร จ.สมุทรสาคร ไม่แจ้ง - -   ไม่พบ ไม่พบ - - ไม่พบ บีลัคกี้ เวียนนาหมู หจก.บีลัคกี้ 15/7/54 13/8/54 เนื้อหมู 80% น้ำ 15% เครื่องเทศ 5% ระบุว่าไม่ใส่สารกันบูด และไม่ใส่สี ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ แหลมทอง แฟรงค์ไก่ บ.แหลมทองโปรตีนฟู้ด จำกัด วันหมดอายุ 6/8/54 เนื้อไก่ เครื่องเทศ เครื่องปรุง ไม่ใช้วัตถุกันเสีย ไม่พบ ไม่พบ 0.77 0.173 ไม่พบ ซีพี มินิคอกเทล (ไม่แจ้งว่าเป็นเนื้ออะไร บ.กรุงเทพโปรดิ๊วส์ จำกัด (มหาชน) 30/7/54 11/8/54 เนื้อสัตว์ น้ำตาล เกลือ เครื่องเทศ - 742.61 339.90 - - ไม่พบ JPM ไส้กรอกหมู บ.เจพีเอ็ม ซอสเซส จำกัด 23/7/54 23/8/54 เนื้อหมู 83% ไขมัน  10% เครื่องปรุง 4% แป้ง 2% น้ำแข็ง 1%     ไม่ระบุ 895.68 ไม่พบ - - ไม่พบ M A ไส้กรอกเวียนนาหมู บ.เจ แอนด์ โอ โปรเซสซิ่ง จำกัด 23/7/11 23/8/11 เนื้อสัตว์ น้ำตาล เกลือ เครื่องเทศ - 977.90 ไม่พบ - - ไม่พบ Better food ไส้กรอกเวียนนารมควัน บ.อาหารเบทเทอร์ จำกัด   14/7/54 13/8/54 เนื้อสัตว์อนามัย ไขมัน น้ำตาล เกลือ เครื่องเทศ ไม่ระบุ ไม่พบ 648.54 - - ไม่พบ Better Food ไส้กรอกนม (ไส้กรอกไก่) บ.อาหารแบทเบอร์ จำกัด 27/7/11 16/8/11 เนื้อไก่ 78% เครื่องปรุงรส+เครื่องเทศ 5% น้ำแข็ง 10% แป้ง 4% หางนม 3% - ไม่พบ 1,953.99 - - 3.79   ผลทดสอบไส้กรอก ยังพบว่ามีการใช้วัตถุกันเสียที่เกินมาตรฐานในบางยี่ห้อ (บางยี่ห้อซ้ำเดิมกับที่เคยพบเมื่อครั้งก่อน)  ในบางยี่ห้อที่ตรวจพบวัตถุกันเสียโดยที่ ไม่มีการแสดงฉลากระบุว่า มีการใช้วัตถุกันเสีย ซึ่งถือเป็นการแสดงฉลากที่ไม่ถูกต้อง  จากการทดสอบในครั้งนี้ (19 ตัวอย่าง) พบว่า กลุ่มวัตถุกันเสียที่ใช้เป็นกลุ่มเบนโซอิคและซอร์บิค โดยกติกาของ อย. ยอมรับให้ใส่วัตถุกันเสียในกลุ่มเบนโซอิคได้ ไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม แต่ต้องขออนุญาตก่อน ส่วนซอร์บิคนั้น ไม่ได้รับการยอมรับให้นำมาใช้ในผลิตภัณฑ์ประเภทเนื้อสัตว์ จึงอาจเข้าข่ายผิดกฎหมาย  ผลทดสอบวัตถุกันเสีย กลุ่มเบนโซอิคและซอร์บิค1. ไม่พบผลิตภัณฑ์ไส้กรอกที่ใส่กรดเบนโซอิคเกินมาตรฐาน แค่เฉียดๆ คือ M A ไส้กรอกเวียนนาหมู 977.90  มิลลิกรัม/กิโลกรัม (เกือบไป)  2. พบกรดซอร์บิคในตัวอย่าง 3 ยี่ห้อจาก 19 ยี่ห้อที่ส่งทดสอบ ได้แก่ Better Food ไส้กรอกนม(ไส้กรอกไก่) 1,953.99 มิลลิกรัม/กิโลกรัม, Better food ไส้กรอกเวียนนารมควัน 648.54 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และซีพี มินิคอกเทล(ไม่ระบุประเภทเนื้อสัตว์)  339.90  มิลลิกรัม/กิโลกรัม  3. พบผลิตภัณฑ์ที่ใช้ทั้งกรดเบนโซอิคและกรดซอร์บิคร่วมกันจำนวน 1 ตัวอย่าง คือ ไส้กรอกซีพี มินิคอกเทล ปริมาณรวมที่พบคือ 1,082.51 มิลลิกรัม/กิโลกรัม แบ่งเป็นกรดเบนโซอิค 742.61 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และกรดซอร์บิค 339.90 มิลลิกรัม/กิโลกรัม  4. วัตถุกันเสีย กลุ่มไนเตรทและไนไตรท์ พบไนเตรทและไนไตรท์ ในแหลมทอง แฟรงค์ไก่ ในปริมาณน้อยมาก คือ 0.77 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และ 0.173 มิลลิกรัม/กิโลกรัม  การใช้สีผสมในอาหาร (ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ไส้กรอกห้ามใส่สี)  5. พบการใช้สีสังเคราะห์ใน Better Food ไส้กรอกนม (ไส้กรอกไก่)   3.79   มิลลิกรัม/กิโลกรัม   สรุป โดยภาพรวมต้องถือว่า ไส้กรอกในระดับยี่ห้อพรีเมี่ยม มีระดับความปลอดภัยจากเรื่องวัตถุกันเสีย และสี ค่อนข้างสูง จากการเฝ้าระวังในครั้งนี้ ต้องขอบคุณผู้ผลิตทุกรายที่รักษาคุณภาพมาตรฐานในผลิตภัณฑ์ของตน และหวังว่าจะทำได้ดีตลอดไป  ไส้กรอก เป็นเทคนิคการถนอมอาหารที่เก่าแก่อย่างหนึ่ง นับถอยหลังไปได้ถึง สมัยบาบิโลเนีย หรือเมื่อประมาณ 3,500 ปีมาแล้ว กุนเชียง ไส้อั่ว หมูยอ หม่ำ และไส้กรอกอีสาน ก็นับเป็นไส้กรอกชนิดหนึ่งเช่นกัน   ไส้กรอกอย่างฝรั่ง เรียกว่า sausage มีรากศัพท์จากภาษาละติน “salsus" หมายถึง เนื้อสัตว์ที่มีการเก็บรักษาโดยใช้เกลือ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 121 กุนเชียง เสี่ยง...ไม่เสี่ยง

  โครงการพัฒนากลไกการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารของผู้บริโภคได้เก็บตัวอย่างกุนเชียงหมูจำนวน 7 ตัวอย่าง จากพื้นที่ปฏิบัติงานโครงการ 6 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ ขอนแก่น มหาสารคาม เชียงใหม่ พะเยา และสงขลา จังหวัดละ 1 ตัวอย่าง ยกเว้นจังหวัดมหาสารคามที่เก็บตัวอย่างทั้งสิ้น 2 ตัวอย่าง นอกจากนี้ยังได้เก็บตัวอย่างกุนเชียงไก่จำนวน 1 ตัวอย่าง จากพื้นที่จังหวัดสตูล รวม 8 ตัวอย่าง ในเดือนมีนาคม 2553 เพื่อทดสอบหาปริมาณการใช้วัตถุเจือปนอาหาร 2 กลุ่ม คือ สารกันบูด (ได้แก่ กรดเบนโซอิค กรดซอร์บิค ไนเตรท และไนไตรท์) กับ สีสังเคราะห์   ผลการทดสอบ1. พบการใช้กรดเบนโซอิคในกุนเชียงจำนวน 5 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 62 ปริมาณเฉลี่ยที่พบเท่ากับ 15.3 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ซึ่งจัดอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัยต่อการบริโภค2. พบการใช้กรดซอร์บิคจำนวน 3 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 37 ปริมาณเฉลี่ยที่พบเท่ากับ 620 มิลลิกรัม/กิโลกรัม โดยมี 1 ตัวอย่างที่ปริมาณกรดซอร์บิคอยู่ในเกณฑ์สูงเกินมาตรฐาน ปริมาณสารกันบูดที่พบเท่ากับ 1,205 มิลลิกรัม/กิโลกรัม3. พบการใช้ไนเตรทและไนไตรท์จำนวน 3 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 37 ปริมาณเฉลี่ยที่พบเท่ากับ 10 มิลลิกรัม/กิโลกรัมซึ่งจัดอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัยต่อการบริโภค4. ไม่พบการใช้สีสังเคราะห์ในทุกตัวอย่างที่ทำการทดสอบ  สรุป ในกุนเชียง 1 กิโลกรัมจากจำนวน 8 ตัวอย่างที่ทดสอบ ปริมาณเฉลี่ยของสารกันบูดชนิด กรดเบนโซอิคเท่ากับ 15.3 มิลลิกรัม กรดซอร์บิคเท่ากับ 620 มิลลิกรัม ไนเตรทและไนไตรท์เท่ากับ 10 มิลลิกรัม อย่างไรก็ตามความเสี่ยงจากการได้รับสารกันบูดสูงเกินมาตรฐานอยู่ในเกณฑ์ต่ำที่ร้อยละ 12.5 ขณะที่ความเสี่ยงจากการได้รับสีสังเคราะห์เป็นศูนย์หรือเท่ากับไม่มีเลย ซึ่งก็ถือว่าเป็นข่าวดี ยังไงเพื่อลดความเสี่ยงเวลาเลือกซื้อกุนเชียงอ่านฉลากให้ดี โดยเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่ฉลากระบุว่าไม่ใช้วัตถุกันเสียและไม่เจือสีสังเคราะห์*************************************************************** กุนเชียง ถือเป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปซึ่งมีลักษณะคล้ายกันกับไส้กรอก แต่จะแตกต่างกันตรงที่ความละเอียดของเนื้อที่ใช้ เนื้อสำหรับทำกุนเชียงจะเป็นเนื้อที่บดหยาบกว่า อาจจะใช้เครื่องบดหรือใช้มีดสับด้วยมือธรรมดาๆ ส่วนไส้กรอกจะเป็นเนื้อที่บดละเอียด เรียกว่าเนียนเป็นเนื้อเดียวกัน ก่อนจะนำมาใส่ส่วนผสม เช่น เกลือ น้ำตาล ซีอิ้วขาว หรือเครื่องเทศ แล้วนำไปใส่ลงในไส้หมูที่ล้างทำความสะอาดมาแล้วเรียบร้อย นำไปตากหรืออบให้แห้ง กุนเชียง มีที่มาจากประเทศจีน หลายประเทศในแถมเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ก็นิยมรับประทานกุนเชียงเหมือนบ้านเรา แต่ว่าจะมีชื่อเรียกแตกต่างกัน ถ้าเป็นชาวตะวันตกก็จะเหมาเรียกรวมกันว่า Chinese sausage หรือ ไส้กรอกจีน ************************************************************** ฉลาดซื้อแนะนำ-กุนเชียงที่ดี เนื้อกุนเชียงต้องผสมกันดี ทั้งส่วนเนื้อและส่วนที่เป็นมัน-สี ต้องเป็นธรรมชาติ ดูสม่ำเสมอกันตลอดชิ้น ไม่ซีดหรือคล้ำ-ไม่มีกลิ่นอับ หรือมีกลิ่นเหม็น -กุนเชียงต้องบรรจุอยู่ในภาชนะบรรจุที่สะอาด ผนึกเรียบร้อย ไม่มีสิ่งปนเปื้อน-ถ้าจะให้ดีควรมีการระบุ ชื่อผลิตภัณฑ์ ส่วนประกอบ น้ำหนักสุทธิ วัน เดือน ปี ที่ผลิตหรือหมดอายุ ชื่อผู้ผลิตพร้อมสถานที่ตั้ง กำกับไว้ที่ภาชนะบรรจุกุนเชียง+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++   ผลวิเคราะห์ตัวอย่างกุนเชียง ยี่ห้อ ผู้ผลิต จังหวัดที่เก็บตัวอย่าง ผลวิเคราะห์ (มิลลิกรัม / กิโลกรัม) เบนโซอิค ซอร์บิค ไนเตรท ไนไตรท์ สีสังเคราะห์ กุนเชียงหมู บิ๊กซี บ. ส ขอนแก่น กรุงเทพ 10.42 474.04 28.43 2.65 ไม่พบ ชิน เหอ เชียง ไม่ระบุ ขอนแก่น ไม่พบ 181.4 ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ พีแอนด์พี บ. พี แอนด์ พี มหาสารคาม 5 ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ จิง จิง เชียง บ.จิง จิง เชียง มหาสารคาม 5 ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ ไม่ระบุ ไม่ระบุ สงขลา 48.79 ไม่พบ 23.2 5.84 ไม่พบ แม่เนื้อพลอย ไม่ระบุ เชียงใหม่ 7.31 ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ พีแอนด์พี บ.พี แอนด์ พี พะเยา ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ กุนเชียงไก่ ปิยวัฒน์ บ.ปิยะวัฒน์เจ้เม้ง สตูล ไม่พบ 1,205 1.62 0.22 ไม่พบ   ผลรายงานเฉพาะตัวอย่างที่ส่งวิเคราะห์เท่านั้น โดย สถาบันโภชนาการ ม.มหิดล ภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร คณะเทคโนโลยี ม.ขอนแก่น คณะอุตสาหกรรมการเกษตร ม.สงขลานคริทร์ สถาบันวิจัยทยาศาสตร์สุขภาพ ม.เชียงใหม่ อ้างอิงสารกันบูด – ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 281 (พ.ศ. 2547) เรื่องวัตถุเจือปนอาหาร กำหนดให้ผลิตภัณฑ์กุนเชียงสามารถใช้วัตถุกันเสีย (สารกันบูด) ได้ 2 ชนิด คือไนเตรทและไนไตรท์ ที่ปริมาณไม่เกิน 500 และ 125 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ตามลำดับ และในกรณีใช้ไนเตรทกับไนไตรท์ร่วมกันในหนึ่งผลิตภัณฑ์ให้ปริมาณที่ใช้ได้สูงสุดไม่เกิน 125 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ส่วนการใช้สารกันบูดชนิดอื่น ๆ รวมถึงกรดซอร์บิคและกรดเบนโซอิค ไม่มีการระบุไว้แต่อย่างใดว่าให้ใช้ได้หรือไม่ อย่างไรก็ตาม มาตรฐานอาหารสากล (Codex) ปี 2005 ได้กำหนดการใช้กรดเบนโซอิคในผลิตภัณฑ์กุนเชียงเพื่อถนอมอาหารนั้นไว้ว่าไม่ควรเกินกว่า 1,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม โดยที่ไม่ได้ระบุการใช้กรดซอร์บิคในกุนเชียงไว้อีกทั้งยังมิได้ระบุค่าความปลอดภัย (Acceptable Dietary Intake: ADI) เอาไว้อีกด้วย  สีสังเคราะห์ - ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 281 (พ.ศ. 2547) เรื่องวัตถุเจือปนอาหาร ระบุว่าห้ามใช้สีสังเคราะห์ในกุนเชียง

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 117 “ขนมนำเข้า” เอาอันตรายมาฝากเราหรือเปล่า?

  “ฉลาดซื้อ” เราชอบเรื่องอาหาร (หมายถึงเรื่องการทดสอบนะ) ยิ่งเป็นขนมเรายิ่งชอบเป็นพิเศษ (ก็หมายถึงการทดสอบอีกนั้นแหละ...จริงๆ นะ) ฉบับนี้เราจึงขอนำเสนอผลการทดสอบที่แอบโกอินเตอร์นิดๆ กับการทดสอบ “ปริมาณน้ำตาลและสารปนเปื้อนในขนมนำเข้า”  ขนมนำเข้าแปลกตาแปลกลิ้น แม้แต่แพ็คเก็จที่ชวนให้สนใจและชวนให้น่าชิมกว่าขนมธรรมด้าธรรมดาทั่วไป หลายๆ คนไม่ว่าจะเด็กหรือผู้ใหญ่จึงชื่นชอบที่จะลิ้มลองขนมจากต่างประเทศ จนอาจมองข้ามเรื่องปลอดภัยเพราะเข้าใจเอาเองว่ามาจากเมืองนอกต้องเป็นของดี “ฉลาดซื้อ” เราจึงอยากจะรู้ว่าขนมนำเข้าเอาอันตรายมาฝากเราหรือเปล่า?   ตารางผลวิเคราะห์ตัวอย่าง “ขนมนำเข้าจากต่างประเทศ” (เก็บตัวอย่าง เดือนกันยายน 2553) ชื่อตัวอย่าง รูปแบบของขนม ประเทศที่ผลิต ผู้ผลิต ผู้นำเข้า วัน/เดือน/ปี ผลิต/หมดอายุ สถาที่ซื้อ/ชื่อร้าน ข้อมูลโภชนาการ ผลการตรวจวิเคราะห์ น้ำตาล (/100 กรัม) อะฟลาท็อกซิน สีผสมอาหาร เวจเจทเทเบิล แครกเกอร์ ตราฮาจูกุ ขนมปังกรอบโรยด้วยผัก จีน บริษัท โกลเด้นฟูจิ จำกัด เมืองตงก๋วน มณฑลกวางตุ้ง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน บริษัท แพรรี่มาร์เก็ตติ้ง จำกัด 1 ซอยกรุงเทพกรีฑา 2 (เลิศนาวา) หัวหมาก บางกะปิ กทม. 10240 โทร 0-2379-3191-2 23/04/10 22/04/11 เยาวราช มี 12.4 ไม่พบ ไม่พบ บ๊วยหวานผสมเปลือกส้ม ตรากู๊ดดี้ บ๊วยหวานผสมเปลือกส้ม จีน Zhaoan Tongsheng Foods Co.,Ltd Zhaoan Minyue Trading&Developing Area Fujian Provine บริษัท ซันฟู้ดส์ เทรดดิ้ง จำกัด 840/3 ถ.เจริญกรุง บางโคล่ บางคอแหลม กทม. 10120 10/07/08 12/01/08 เยาวราช ไม่มี 61.0 ไม่พบ ไม่พบ ลูกพลัมแห้ง train brand ลูกพลัมแห้ง จีน Shan tou Sanwa Seike Co.,Ltd China บริษัท อ.เพชรเกษมฮาร์ดโดรม จำกัด 64 หมู่ 2 ตลาดสามพราน จ.นครปฐม 73110 หมดอายุ 28/2/12 เยาวราช มี-ภาษาอังกฤษ 57.5 ไม่พบ ไม่พบ Koala’s March Chocolate Snack ขนมปังบิสกิตส์สอดไส้ช็อคโกแลต จีน Lotte China Foods Co., Ltd. No.8 Yongchang North Road, Economic & Technological Development Area, Beijing, China - 1/6/10 2/9/11 เยาวราช ไม่มี 24.2 ไม่พบ ไม่พบ ลักซูรี บิสกิตส์ ไส้ครีมชีส ขนมปังบิสกิตส์ ไส้ครีมชีส มาเลเซีย Hwa Tai Industries Berhad 12 Jalan Jorak, Kawasan Perindustrian Tongkang Pecah, 83010 Batu Pahat, Johor, Malaysia บริษัท เฮาเหว่ย (ประเทสไทย) จำกัด howei (Thailand) Co., Ltd. 193/100 อาคารเลครัชดาภิเษก ออฟฟิส คอมเพล็กซ์ ชั้น 23 เขตคลองเตย กทม. 10110 www.howei.co.th โทร 0-2264-0610-3 21/5/10 21/8/11 เยาวราช มี – ทั้งภาษาไทย และอังกฤษ 20.4 ไม่พบ ไม่พบ ช็อกโกแลต ชิพ อัลมอนด์ คุกกี ตราโคโค่แลนด์ คุกกีผสมช็อกโกแลตชิพและอัลมอนด์ มาเลเซีย โคโค่แลนด์ อินดัสทรี เอสดีเอ็น บีเอชดี รัฐเชลังกอร์ ประเทศมาเลเซีย บริษัท แพรรี่มาร์เก็ตติ้ง จำกัด 1 ซอยกรุงเทพกรีฑา 2 (เลิศนาวา) หัวหมาก บางกะปิ กทม. 10240 โทร 0-2379-3191-2 7/6/10 7/6/11 เยาวราช มี – ทั้งภาษาไทย และอังกฤษ 34.8 ไม่พบ ไม่พบ ยู้ปี้ กัมมี่ ไอซ์ โคล่า ชูการ์ โคทเต็ด วุ้นเจลาตินสำเร็จรูปกลิ่นโคล่าคลุกน้ำตาล อินโดนีเซีย พี ที ยูปิ อินโด เจลลี่กัม ประเทศอินโดนีเซีย บริษัท ซีโน-แปซิฟิค เทรดดิ้ง (ไทยแลนด์) จำกัด 122/2-3 ถ.นนทรี แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กทม. 10120 โทร. 0-2681-5081 หมดอายุ 30/6/12 พารากอน มี-ภาษาอังกฤษ และภาษาอินโดนีเซีย 49.5 ไม่พบ ไม่พบ คุกกี้แซนวิชรสช็อกโกแลต ตราโอรีโอ คุกกี้แซนวิชรสช็อกโกแลต อินโดนีเซีย Kraft Foods Indonesia, Bekasi 17530, Indonesia บริษัท ดีทแฮล์ม จำกัด 2535 ถนนสุขุมวิท บางจาก พระโขนง กรุงเทพฯ 10260 10/6/10 9/6/11 พารากอน มี – ทั้งภาษาไทย และอังกฤษ 38.4 ไม่พบ ไม่พบ ขนมปังกรอบสอดไส้ช็อกโกแลต ตราฮัลโหล แพนด้า ขนมปังกรอบสอดไส้ช็อกโกแลต สิงคโปร์ บริษัท เมจิ เซกะ (สิงคโปร์) จำกัด จูร่ง ประเทศสิงคโปร์ Thai Meiji Food Co., Ltd. 252/95 ยูนิต เอ และ บี ชั้น 18 อาคารเมืองไทย-ภัทร คอมเพล็กซ์ อาคาร 2 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 โทร 0-2694-3311 หมดอายุ 0/8/11 พารากอน มี – ภาษาไทย 29.3 ไม่พบ ไม่พบ sunsweet ลูกพรุนชนิดไม่มีเม็ด อเมริกา ซันสวีต โกรวเออร์ เมืองยูบา รัฐคาลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา บริษัท เฮาเหว่ย (ประเทสไทย) จำกัด howei (Thailand) Co., Ltd. 193/100 อาคารเลครัชดาภิเษก ออฟฟิส คอมเพล็กซ์ ชั้น 23 เขตคลองเตย กทม. 10110 www.howei.co.th โทร 0-2264-0610-3 25/02/10 25/02/12 พาหุรัด มี - ภาษาอังกฤษ 26.9 ไม่พบ ไม่พบ  การทดสอบขนมนำเข้าจากต่างประเทศ -เป้าหมายแรกและเป้าหมายหลักของเราคือการเก็บขนมนำเข้าที่มาจากเมืองจีน เพราะจีนถือเป็นประเทศที่ส่งขนมต้องสงสัยมาขายบ้านเรามากที่สุด (แบบที่ไม่มีฉลากภาษาไทยหรือไม่มีเลขที่ อย. กำกับ) ซึ่งนอกจากขนมแล้วเรายังเก็บพวกผลิตภัณฑ์ผลไม้อบแห้งด้วย เพราะถือเป็นของกินเล่นอีกชนิดที่ฮิตมากในหมู่ผู้รักของอิมพอร์ตจากเมืองจีน เรียกว่าป๊อปปูล่าไม่แพ้แพนด้าหลินปิงเลยทีเดียว แต่ “ฉลาดซื้อ” ก็ไม่ได้มีใจเอนเอียงให้กับจีนเพียงประเทศเดียว เพราะเราก็เก็บตัวอย่างขนมที่มาจากอีกหลายประเทศ ทั้งมาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ และอเมริกา เรียกว่าเป็นงานระดับนานาชาติ -พื้นที่ที่ “ฉลาดซื้อ” บุกไปเก็บตัวอย่างสินค้าทดสอบก็คือกรุงเทพฯ ซึ่งพื้นที่เป้าหมายที่เป็นจุดยุทธศาสตร์ของขนมต่างชาติในกรุงเทพฯ ก็คือ “ตลาดเยาวราช” ไล่ไปจนถึง “สำเพ็ง” และ “พาหุรัด” เรียกว่าไปเดินแถวนี้มีขนมให้เลือกสารพัดซึ่งว่ากันว่าที่มาที่ไปกว่าจะจบที่ตลาดเยาวราชของขนมเหล่านี้ ส่วนใหญ่ต้องตรวจวีซ่าที่ 3 จุดหลักๆ คือ ที่แม่สายจ.เชียงราย ที่ตลาดโรงเกลือ จ.สระแก้ว และบริเวณชายแดนติดประเทศมาเลเซีย จ.ยะลา ซึ่งขนมที่เข้ามาทาง 3 จุดนี้จะเป็นขนมจากจีนและประเทศเพื่อนบ้านเป็นหลัก   ส่วนขนมจากอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น และเกาหลี มักจะได้อภิสิทธิพิเศษกว่า เพราะมักจะได้ขึ้นห้าง อย่างในการเก็บตัวอย่างทดสอบครั้งนี้ “ฉลาดซื้อ” ไปสำรวจห้างดังอย่างพารากอน ที่โซน กรูเมต์ มาร์เก็ต เราพบขนมอินเตอร์เพียบ!!! นอกจากนี้เดี๋ยวนี้ยังมีอีกหนึ่งช่องทางที่ขนมต่างชาติจะเข้าถึงผู้บริโภค นั่นก็การสั่งซื้อผ่านอินเตอร์เน็ต ซึ่งคนมีใจดีไปซื้อจากประเทศนั้นๆ แล้วนำมาขายต่อเราอีกที ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นขนมยี่ห้อดังๆ ที่ไม่มีขายในบ้านเราจาก ญี่ปุ่นบ้าง เกาหลีบ้าง (จากการที่เราได้ไปเก็บตัวอย่างขนมในย่านเยาวราชและพาหุรัด เราพบว่าขนมชนิดเดียวกันยี่ห้อเดียวกัน หากซื้อที่เยาวราช อาจได้ราคาถูกกว่าที่ขายอยู่ที่พาหุรัดถึงเกือบ 20 บาท!) ผลการทดสอบ-ผลการทดสอบครั้งนี้เราตั้งใจตรวจสอบหาปริมาณน้ำตาล สีผสมอาหาร และสารอะฟลาท็อกซิน ในขนมนำเข้าซึ่งผลที่ออกมาน่าดีใจ เพราะสีผสมอาหาร และสารอะฟลาท็อกซินไม่พบการปนเปื้อนเลยในทั้ง 10 ตัวอย่าง  -ปริมาณน้ำตาลที่พบก็ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่สูงมากแต่ก็ถือว่ามีโอกาสเสี่ยงที่จะได้รับน้ำตาลมากเกินไปอยู่เหมือนกัน โดยปกติคนไทยเราไม่ควรได้รับน้ำตาลเกิน 24 กรัม หรือประมาณ 6 ช้อนชาต่อวันผลการทดสอบที่ออกมาจะเป็นการเทียบในปริมาณ 100 กรัม ทำให้มีหลายๆ ตัวอย่างมีปริมาณน้ำตาลเกิน 24 กรัมไปพอสมควร แต่แน่นอนว่าเราคงไม่ค่อยได้กินขนมครั้งละ 100 กรัมกันบ่อย ยกตัวอย่าง “บ๊วยหวานผสมเปลือกส้ม ตรากู๊ดดี้” ซึ่งพบปริมาณน้ำตาลมากที่สุด คือ 61 กรัม / 100 กรัม ซึ่งปกติ “บ๊วยหวานผสมเปลือกส้ม ตรากู๊ดดี้” 1 เม็ดจะมีน้ำหนักประมาณ 10 กรัม เท่ากับว่าถ้าเรากิน 1 เม็ดก็จะได้น้ำตาลอยู่ที่ประมาณ 6.1 กรัม หรือ 1 ใน 4 ของปริมาณน้ำตาลที่เราต้องใน 1 วัน ดังนั้นถ้าขนมเป็นแค่ของรับประทานเล่น แค่เม็ดเดียวก็น่าจะเพียงพอกับหนึ่งวัน เพราะเรายังต้องรับประทานอาหารจานหลักอีกตั้ง 3 มื้อ และยังมีอะไรต่อมิอะไรอีกหลายอย่างที่เรารับประทานใน 1 วัน ซึ่งทุกอย่างก็ล้วนแล้วแต่มีน้ำตาลเป็นส่วนผสมทั้งนั้น  หรืออย่าง “ขนมปังกรอบสอดไส้ช็อกโกแลต ตราฮัลโหล แพนด้า” ที่พบน้ำตาล 29.3 กรัม / 100 กรัมขณะที่ “ขนมปังกรอบสอดไส้ช็อกโกแลต ตราฮัลโหล แพนด้า” ขนาดเล็กที่สุดจะหนักอยู่ที่ 27 กรัมต่อซองเท่ากับว่าถ้าน้องๆ หนูๆ กินหมด 1 ซองก็จะได้น้ำตาลไป 7.9 กรัม ก็ถือว่าสูงไม่น้อยเลยทีเดียว   ฉลาดซื้อแนะ สรุปง่ายๆ ก็คือ อย่างที่เรารู้กันว่า ขนมส่วนใหญ่ส่วนประกอบหลักๆ ก็คงหนีไม่พ้นน้ำตาล ไม่ว่าจะขนมนำเข้าหรือขนมบ้านเราเอง ซึ่งขนมส่วนใหญ่ก็ไม่ได้มีประโยชน์กับร่างกาย ให้แค่พลังงานซึ่งเราได้จากการรับประทานอาหารจานหลักอยู่แล้ว แต่ก็ยังไงซะขนมก็มีรสชาติและเสน่ห์เฉพาะของมัน บางคนพอได้กินแล้วก็มีความสุข ที่เครียดๆ เหนื่อยๆ มา ได้กินขนมสักหน่อยก็ยิ้มได้หายเครียด ยิ่งกับเด็กๆ ขนมก็เหมือนเป็นของคู่ใจจะห้ามไม่ให้กินเลยก็ดูจะใจร้ายไปหน่อย  เอาเป็นว่าใครที่ยังติดใจรสหวานๆ ของขนม ก็ขอให้รับประทานในปริมาณที่พอดี ไม่มากเกินไป คือแค่กินเล่นไม่ใช้กินเอาอิ่มหรือกินแทนข้าว และให้ค่อยเตือนตัวเองไว้เสมอว่าทุกครั้งที่เรากินขนมเรากำลังกินน้ำตาลที่ไม่จำเป็นกับร่างกายเข้าไปด้วย ยิ่งกินมากก็ยิ่งอ้วน ยิ่งกินมากก็ยิ่งมีสิทธิป่วยเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย ________________________________________________________________________ (คนไทยรับประทานขนมหวานเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 700 กรัมต่อคนต่อปี ซึ่งถือว่ายังอยู่ในเกณฑ์ที่ค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับ คนอเมริกาที่รับประทานขนมหวานกันเฉลี่ยปีละ 14 กิโลกรัมต่อคนต่อปี หรือคนอังกฤษที่รับประทานเฉลี่ย 10 กิโลกรัมต่อคนต่อปี หรือเทียบกับประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงของเราอย่างเวียดนามก็ยังรับประทานขนมหวามมากกว่าเราคือ เฉลี่ยที่ 2 กิโลกรัมต่อคนต่อปี)ข้อมูลจาก ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ________________________________________________________________________

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 114 ชื่นใจอย่างปลอดภัย กับ เก็กฮวย

    “ดอกเก๊กฮวย” เป็นไม้ดอกในตระกูลเบญจมาศ มี ถิ่นกำเนิดในประเทศญี่ปุ่นและจีน ถือเป็นไม้ดอกที่ มีรูปทรงสวยงาม สีสันสดใส ดอกจะบานสวยงามในหน้าหนาว ในประเทศจีนยกให้เป็นสัญลักษณ์ของความแข็งแกร่ง และความมีคุณธรรมที่ไม่ยอมโอนอ่อนตามฤดูกาล ซึ่งดอกเบญจมาศถือเป็นดอกไม้ที่มีการซื้อขายกันมากทั่วโลก เพราะปลูกง่ายและมีหลากหลายพันธุ์ ทั้งแบบสวยงามใช้เพื่อการประดับตกแต่ง และแบบที่นำมาทำเครื่องดื่มซึ่งก็คือ ดอกเก๊กฮวย นั่นเอง   ชื่นใจอย่างปลอดภัย กับ “เก๊กฮวย” เป็นธรรมดาเวลาที่เราต้องเจอกับอากาศร้อนๆ หรือทำงานมาเหนื่อยๆ หลายคนก็คงรู้สึกกระหายอยากดื่มเครื่องดื่มเย็นๆ ที่ดื่มแล้วทำให้รู้สึกชื่นใจ หายเหนื่อย และถ้ามีประโยชน์ต่อร่างกายด้วยก็จะดีไม่น้อย แต่ก็คงมีบางคนที่อาจจะเบื่อน้ำเปล่า หรือถ้าเป็นชา กาแฟก็ไม่ค่อยถูกใจ น้ำอัดลมดื่มแล้วไม่มีประโยชน์ ส่วนน้ำผลไม้ก็แพงเกินไป  “ฉลาดซื้อ” จึงอยากแนะนำเครื่องดื่มสมุนไพร ดื่มแล้วชื่นใจ แถมให้ประโยชน์ ที่ไม่ว่าใครก็รู้จักกันดี อย่าง “เก๊กฮวย” น้ำเก๊กฮวย เป็นเครื่องดื่มในดวงใจของใครหลายๆ คน ด้วยกลิ่นและรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ จะต้มดื่มเองก็ง่าย จะซื้อแบบพร้อมดื่มก็สะดวกดีเพราะมีขายอยู่ทั่วไป ดื่มได้ทั้งร้อนและเย็น   ก่อนหน้านี้เคยมีข่าวไม่ดีเกี่ยวกับเก๊กฮวยว่า มีการตรวจพบอาหารหลายชนิดที่นำเข้ามาจากจีนที่ด่านอาหารและยาเชียงแสน จ.เชียงราย มีการปนเปื้อนของสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ปริมาณสูง ซึ่งมีดอกเก๊กฮวยแห้งรวมอยู่ด้วย เพื่อความสบายใจของคนที่ชอบดื่มน้ำเก๊กฮวย “ฉลาดซื้อ” จึงขออาสาพิสูจน์ความจริง มาดูกันซิว่าจะมีสิ่งไม่พึ่งประสงค์อยู่ในเก๊กฮวยหรือเปล่า   “ซัลเฟอร์ไดออกไซด์” อันตรายยังไง?  ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เป็นสารเจือปนอาหารที่มีฤทธิ์ในการช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย จุลินทรีย์ และรา จึงช่วยชะลอการเน่าเสียของอาหาร ยืดอายุของอาหาร แถมยังช่วยป้องกันการเปลี่ยนสีของอาหารได้ด้วย   แต่ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เป็นอันตรายต่อร่างกาย แม้ร่างกายสามารถขับสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ออกจากร่างกายได้โดยการปัสสาวะ แต่ถ้าร่างกายได้รับมากเกินไปจะมีผลไปลดประสิทธิภาพการใช้โปรตีนและไขมันในร่างกาย และมีฤทธิ์ทำลายวิตามิน B1 อาการที่เกิดขึ้นกับคนที่ได้รับสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์เข้าสู่ร่างกายมากๆ คือ จะทำให้หายใจติดขัด ปวดท้อง ท้องร่วง เวียนหัว คนที่แพ้มากๆ หรือเป็นหอบหืดอาจมีอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้   นอกจากดอกเก๊กฮวยแห้งแล้ว ยังมีอาหารอีก   หลายชนิดที่มีโอกาสเสี่ยงซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เช่น  ผักผลไม้แห้ง ผลไม้ดอง ผลไม้แช่อิ่ม ผลไม้กวน ผักผลไม้กระป๋อง แยม น้ำตาลทราย เส้นก๋วยเตี๋ยว เส้นหมี่ แป้ง อาหารแช่แข็ง ฯลฯ    ผลทดสอบสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในดอกเก๊กฮวยแห้ง   “ฉลาดซื้อ” ได้เก็บตัวอย่าง ดอกเก๊กฮวยแห้ง สำหรับนำไปต้มดื่มเองที่บ้าน ซึ่งตัวอย่างที่เราเก็บส่วนใหญ่ เป็นผลิตภัณฑ์ที่วางขายในห้างสรรพสินค้าหรือซูเปอร์มาร์เก็ตชื่อดัง มีเพียงหนึ่งตัวอย่าง (ดอกเก๊กฮวยแห้งตราเสือ) ที่เราไปเลือกซื้อที่ตลาดเยาวราช เพราะน่าจะเป็นที่ที่แม่ค้าหลายเจ้าไปซื้อเพื่อนำมาต้มเป็นน้ำเก๊กฮวยขาย ต่ออีกที ซึ่งช่วงที่เราไปซื้อตัวอย่างยี่ห้อดังกล่าว พบว่ามีวางจำหน่ายอยู่หลายร้านในตลาดเยาวราช เราจึงคาดว่า ดอกเก๊กฮวยแห้งยี่ห้อนี้น่าจะเป็นที่นิยมพอสมควร     • สำหรับข้อกำหนดของการปนเปื้อนของสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในดอกเก๊กฮวยแห้งนั้น ประกาศกระทรวง  สาธารณสุข (ฉบับที่ 280) พ.ศ.2547 เรื่อง ชาสมุนไพร ซึ่งนับรวมดอกเก๊กฮวยแห้งเอาไว้ด้วย ได้กำหนดไว้ว่าอนุญาตให้มีสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ปนเปื้อนได้ไม่เกิน 10 มิลลิกรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม • ในการทดสอบหาสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในดอกเก๊กฮวยแห้งครั้งนี้ มีอยู่ 2 ตัวอย่างจากทั้งหมด 8 ตัวอย่าง  ซึ่งพบในระดับที่สูงที่เกินกว่าประกาศของกระทรวงสาธารณสุขค่อนข้างมาก คือ สมุนไพร ดอกเก๊กฮวย  ตรา ดร.กรีน พบสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ปนเปื้อน 754.37 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และ ดอกเก๊กฮวย ตรา Tesco  พบสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ปนเปื้อน 155.67 มิลลิกรัม/กิโลกรัม   • อย่าเพิ่งตกใจแม้จะเห็นตัวเลขการปนเปื้อนของซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในดอกเก๊กฮวยแห้งที่เราทดสอบสูงกว่า  มาตรฐานที่กำหนดค่อนข้างมาก แต่ก็ถือเป็นตัวเลขที่เทียบจากปริมาณดอกเก๊กฮวยแห้ง 1 กิโลกรัม ซึ่งเป็นปริมาณที่เยอะมากยิ่งนำไปต้มเป็นน้ำดื่มก็ยิ่งมีปริมาณมากขึ้นไปอีก แถมยังมีเพียงแค่ 2 จาก 8 ตัวอย่างเท่านั้น ที่พบการปนเปื้อน นั่นก็แสดงให้เห็นว่า ดอกเก๊กฮวยแห้งในวางขายในท้องตลาดส่วนใหญ่ปลอดภัย   • แต่คราวหน้าถ้าจะซื้อดอกเก๊กฮวยแห้งมาต้มน้ำเก๊กฮวยดื่มที่บ้าน ก็ต้องเลือกผลิตภัณฑ์ที่บรรจุมิดชิด สะอาด มีชื่อที่อยู่ผู้ผลิตและวันเดือนปีที่ผลิตหรือหมดอายุระบุไว้ชัดเจน หรือถ้ามีบอกกรรมวิธีการผลิตหรือวัตถุดิบที่ใช้ก็จะยิ่งดีมาก • ในการทดสอบดอกเก๊กฮวยแห้งครั้งนี้ ”ฉลาดซื้อ” ยังได้ทดสอบหาการปนเปื้อนของสารอะฟลาท็อกซินด้วยซึ่งผลที่ออกมาน่าดีใจ เพราะไม่พบการปนเปื้อนสารอะฟลาท็อกซินในดอกเก๊กฮวยแห้งทั้ง 8 ตัวอย่าง -------------------------------------------------- ประโยชน์ของการดื่มน้ำเก๊กฮวย -น้ำเก๊กฮวยดื่มแล้วชื่นใจ ทำให้รู้สึกสดชื่น แก้กระหาย แถมช่วยแก้ร้อนใน ขับพิษร้อน ขับลม ขับเหงื่อได้ด้วย -ดอกเก๊กฮวยสารแคโรทีนอยด์ (carotenoid) ช่วยบำรุงสายตา บรรเทาอาการไข้ แก้วิงเวียนศีรษะ และอาการหน้ามืด -เป็นยาระบายและช่วยบรรเทาอาการปวดท้อง -ดื่มน้ำเก๊กฮวยช่วยบำรุงหัวใจ และระบบการทำงานของหลอดเลือด ช่วยขยายหลอดเลือดแดงใหญ่ที่เลี้ยงหัวใจ จึงช่วยป้องกันโรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือดต่างๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และโรคเส้นเลือดตีบ

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 112-113 กุ้งแห้ง แดงนี้อาจมีปัญหา

เมนูยอดฮิตอย่าง ส้มตำ ผัดไทยและยำรสเด็ด กุ้งแห้งตัวแดงๆ นี้ถือเป็นส่วนประกอบที่ขาดไม่ได้เชียว เพราะมันทั้งช่วยเพิ่มรสชาติและสีสันให้อาหารชวนรับประทานมากยิ่งนัก กุ้งแห้งที่เรารับประทานกันทุกวันนี้มีหลายไซด์หลายราคา เกรดดีเกรดไม่ดี ก็แล้วแต่กำลังทรัพย์ ยิ่งกุ้งตัวใหญ่อ้วนท้วนสมบูรณ์ราคาก็จะสูงตามไปด้วย กุ้งแห้งที่ขายกันอยู่ในตลาดนั้นมีราคาตั้งแต่กิโลกรัมละร้อยกว่าบาทไปจนถึงพันบาท ปัจจัยในการซื้อไม่เพียงแค่เรื่องราคา ขนาด ความสะอาดและแหล่งผลิตแล้ว เราต้องไม่มองข้ามเรื่อง “สี” นะครับเพราะกุ้งแห้งที่ดีไม่ควรผสมสีใดๆ ลงไปทั้งสิ้น ผลการทดสอบที่นำมาเสนอนี้เป็นการเก็บตัวอย่างอาหารครั้งที่ 3 ของโครงการพัฒนากลไกการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารของผู้บริโภคเช่นเคยครับ มีจำนวนตัวอย่างที่เก็บทั้งสิ้นจำนวน 8 ตัวอย่าง เมื่อเดือนมกราคม 2553 จากพื้นที่ดำเนินงานโครงการ ใน 8 จังหวัดจาก 4 ภูมิภาค ดังนี้ ภาคกลาง ได้แก่ กรุงเทพฯ และจังหวัดสมุทรสงคราม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดขอนแก่นและจังหวัดมหาสารคาม ภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดพะเยา และภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดสงขลาและจังหวัดสตูล กุ้งแห้งที่นำมาทดสอบเป็นกุ้งแห้งขนาดเล็กไม่แกะเปลือกสำหรับใช้ประกอบอาหาร และมีสิ่งที่ต้องการทดสอบคือตรวจหาสิ่งปนเปื้อนในอาหาร 3 ชนิดได้แก่ สารพิษจากเชื้อรา-อะฟลาทอกซิน สีปรุงแต่งอาหาร และสารเคมีทางการเกษตรกลุ่มไพรีทอยด์   ผลการทดสอบ - ข่าวดี ไม่พบการปนเปื้อนของสารพิษจากเชื้อรา-อะฟลาทอกซินในทุกตัวอย่างที่ทดสอบ (8 ตัวอย่าง) - ข่าวร้าย พบสีสังเคราะห์ในตัวอย่างจำนวน 2 ตัวอย่าง จาก 8 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 25 ของตัวอย่างทั้งหมดที่เก็บ โดยตัวอย่างที่เก็บจากร้านเจ๊รัตนา ในตลาดสดจังหวัดมหาสารคามพบสีตระกูลสีส้ม ซึ่งไม่ใช่สีสังเคราะห์ที่กฎหมายอนุญาตให้ใส่ในอาหาร และตัวอย่างที่เก็บจากตลาดสดจังหวัดพะเยา พบสีสังเคราะห์ชนิดสีแดง-ปองโซ 4 อาร์ และชนิดสีเหลือง-ซันเซ็ตเยลโลว์ เอฟซีเอฟ อันนี้อนุญาตให้ใช้กับอาหารแต่ไม่อนุญาตในกุ้งแห้งครับ   - พบการปนเปื้อนของสารเคมีทางการเกษตรกลุ่มไพรีทอยด์ในตัวอย่างจำนวน 4 ตัวอย่างจาก 8 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 50 ของตัวอย่างทั้งหมดที่เก็บ คือ 1. กุ้งแห้งใหญ่ ยี่ห้อ BDMP ของบริษัทบางกอกดีไฮเดรทมารีนโปรดักส์ จำกัด เก็บตัวอย่างจากห้างสยามพารากอน กรุงเทพฯ พบแลมบ์ดาไซแฮโลทริน (Lambda cyhalothrin )ที่ปริมาณ 0.098 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และพบไซเปอร์เมทริน (cypermethrin) ที่ปริมาณ 0.131 มิลลิกรัม/กิโลกรัม2. กุ้งแห้งจากร้านเจ๊ดม ณ ตลาดเทศบาลเมืองสมุทรสงครามพบแลมบ์ดาไซแฮโลทริน (Lambda cyhalothrin ) ที่ปริมาณ 0.052 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และพบไซเปอร์เมทริน (cypermethrin) ที่ปริมาณ 0.235 มิลลิกรัม/กิโลกรัม3. กุ้งแห้งที่เก็บตัวอย่างจากตลาดเมืองใหม่ จังหวัดเชียงใหม่พบแลมบ์ดาไซแฮโลทริน (Lambda cyhalothrin ) ที่ปริมาณ 0.031 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และพบไซเปอร์เมทริน (cypermethrin) ที่ปริมาณ 0.061 มิลลิกรัม/กิโลกรัม 4. กุ้งแห้งนำเข้าจากประเทศจีนที่เก็บตัวอย่างจากตลาดสดจังหวัดพะเยา พบแลมบ์ดาไซแฮโลทริน (Lambda cyhalothrin ) ที่ปริมาณ 0.048 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และพบไซเปอร์เมทริน (cypermethrin) ที่ปริมาณ 0.33 มิลลิกรัม/กิโลกรัม   ข้อสังเกต• ตัวอย่างที่เก็บจากตลาดสดจังหวัดพะเยา พบการปนเปื้อนทั้งสีสังเคราะห์สีแดงและสีเหลืองและพบการปนเปื้อนของสารเคมีทางการเกษตรกลุ่มไพรีทอยด์ (ยาฆ่าแมลง) • ผลิตภัณฑ์ที่ทำการทดสอบกว่าร้อยละ 90 ไม่ระบุยี่ห้อ ไม่ทราบวันผลิตและวันหมดอายุ และไม่ทราบผู้ผลิต ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98 (พ.ศ.2529) เรื่อง มาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน ข้อ 4 (2) ระบุว่าให้พบการปนเปื้อนของ อฟลาทอกซิน ได้ไม่เกิน 20 ไมโครกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม สาระน่ารู้เกี่ยวกับสิ่งปนเปื้อนที่พบในกุ้งแห้ง สีผสมอาหาร นิยมใส่ในอาหารเพื่อทำให้อาหารมีสีสันสดใสดึงดูดใจให้รู้สึกอยากรับประทาน ซึ่งสีที่ใส่ในอาหารมีทั้งสีจากธรรมชาติและสีที่สังเคราะห์ขึ้นมา แน่นอนสีผสมอาหารไม่มีคุณค่าทางอาหารแถมถ้าสะสมอยู่ในร่างกายในปริมาณมากๆ ก็อาจเป็นอันตรายต่อตัวเราได้ โดยเฉพาะกับระบบการทำงานของกระเพาะอาหาร เพราะสีผสมอาหารจะเข้าไปเคลือบกระเพาะอาหารการดูดซึมสารอาหารก็จะมีปัญหา และอาจลุกลามไปกระทบต่อการทำงานของไตด้วย สำหรับวิธีง่ายๆ เพื่อจะดูว่ากุ้งแห้งที่เราจะซื้อใส่สีหรือเปล่า แม่ค้าอาหารทะเลแห้งจากตลาดมหาชัยแนะนำว่าให้ดูที่ท้องกุ้ง ถ้ากุ้งแห้งไม่ใส่สีท้องกุ้งจะขาว แต่ถ้าเกิดเป็นสีแดงหรือส้มก็ให้สงสัยได้เลยว่าใส่สี สารเคมีทางการเกษตรกลุ่มไพรีทอยด์ เป็นสารเคมีในกลุ่มยาจำกัดแมลงซึ่งสารพิษชนิดนี้จะทำอันตรายกับคนเราไม่มาก แต่ก็ไม่ควรให้ร่างกายสัมผัสหรือหายใจเข้าไป ยิ่งถ้าหากเข้าสู่ร่างกายโดยการดื่มกินเข้าไปก็ต้องระวัง โดยเฉพาะคนที่เป็นและเคยเป็นโรคหอบหืด เพราะจะทำให้อาการหอบหืดปรากฏขึ้นมาได้ อาการเบื้องต้นก็มีทั้ง คลื่นไส้ อาเจียน ไปจนถึงชีพจรเต้นช้า หายใจติดขัด ผิวหนังซีด เหงื่อออก กล้ามเนื้อกระตุก ซึ่งเหตุผลที่สารเคมีกำจัดศัตรูพืชมาปนเปื้อนอยู่ในกุ้งแห้งก็เพราะพ่อค้า-แม่ค้าบางคนนำเจ้าสารเคมีดังกล่าวมาฉีดลงบนกุ้งแห้งเพราะไม่อยากให้มีแมลงวันมาตอมกลัวจะดูไม่ดีลูกค้าไม่มาซื้อ อะฟลาทอกซิน เป็นสารพิษที่เกิดจากเชื้อราซึ่งมักเกิดกับพืชตระกูลถั่ว ข้าว และอาหารแห้งต่างๆ โดยเฉพาะยิ่งเมื่ออยู่ในสภาพอาการที่ร้อนชื้น สำหรับพิษของอะฟลาทอกซินจะไปทำอันตรายกับตับ คือทำให้เกิดโรคต่างๆ ที่เกี่ยวกับตับ ไม่ว่าจะเป็นมะเร็งตับ ตับอักเสบ ตับแข็ง รวมทั้งอาจทำให้เกิดอาการสมองอักเสบ วิธีหลีกเลี่ยงสารอะฟลาทอกซินอย่างแรกก็คือ ไม่ทานอาหารที่มีเชื้อราขึ้น สังเกตง่ายๆ ก็คือถ้ามีรอยสีดำหรือสีเขียวเข้มๆ เกิดที่อาหาร ให้สงสัยได้เลยว่าเป็นเชื้อรา วิธีทำกุ้งแห้ง บ้านเราแดดจัดดี ถ้าพอมีพื้นที่โล่ง ทำกุ้งแห้งกินเองก็ดีนะครับ กุ้งที่นิยมนำมาทำกุ้งแห้งคือกุ้งทะเลเปลือกบางครับ นำมาต้มหรือนึ่งจนสุก โดยเคล้าเกลือพอให้มีรสเค็ม จากนั้นก็นำไปตากแดด ถ้าแดดดี ๆ แค่วันเดียวก็แห้งใช้ได้แล้วครับ จากนั้นก็หาถุงผ้าใส่กุ้งลงไปแล้วบุบหรือทุบด้วยไม้ตีพริก จะทำให้เปลือกร่อนออกมา แกะส่วนเปลือกทิ้งไป เราก็จะได้กุ้งแห้งอย่างดี รสชาติอร่อย ไม่ปนเปื้อนสารเคมีครับ อ้อสำหรับบ้านที่ไม่มีพื้นที่สำหรับตากแดด ลองนำกุ้งสดหรือกุ้งแช่แข็ง(ละลายก่อนนะครับ) เคล้าเกลือแล้วอบด้วยเตาอบไฟฟ้า ก็พอจะเป็นกุ้งแห้งแบบบ้านๆ ได้แล้วครับ กุ้งขนาดกลาง 1 กิโลกรัม พอตากแดดแห้งแล้วจะเหลือน้ำหนักประมาณ 250 กรัมครับ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 281( พ.ศ.2547) เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร ระบุว่า เนื้อสัตว์ทุกชนิด ที่ปรุงแต่ง รมควัน ทำให้แห้ง ห้ามใส่สี ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่288 (พ.ศ. 2548) เรื่องอาหารที่มีสารพิษตกค้าง ไม่ระบุว่าอนุญาติให้มีการปนเปื้อนของสารเคมีทางการเกษตรในอาหารทะเลแห้ง ดังนั้นจึงไม่ควรมีปนเปื้อนมาในอาหาร (ผลรายงานเฉพาะตัวอย่างที่ส่งวิเคราะห์เท่านั้นโดย สถาบันโภชนาการ ม.มหิดล ภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร คณะเทคโนโลยี ม.ขอนแก่น คณะอุตสาหกรรมการเกษตร ม.สงขลานครินทร์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ ม.เชียงใหม่)

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 110 ชาโบราณยี่ห้อไหนใส่สีมากเกินไป

เสน่ห์ของ ชาโบราณ ที่มัดใจใครหลายๆ คนให้หลงใหล คงหนีไม่พ้นเรื่องของรสชาติที่สะดุดลิ้นกับกลิ่นหอมที่ดึงดูดใจ และคงรวมไปถึงสีสันที่เป็นเอกลักษณ์ ฉูดฉาดบาดใจ แต่นักดื่มชาโบราณทั้งหลายเคยสงสัยกันหรือไม่ว่า สีของชาเย็น ชาดำเย็นที่เราดื่มนั้นมันเป็นสีจากธรรมชาติหรือมาจากการเติมแต่งเข้าไป “ฉลาดซื้อ” ฉบับนี้มีความจริงเรื่อง “สีในชา” ที่น่าตกใจมาเปิดเผยให้ทุกคนได้รู้กัน ชาโบราณ จัดเป็นผลิตภัณฑ์ประเภทชาปรุงสำเร็จพร้อมดื่ม ที่ทางการอนุญาตให้ใส่สีได้ โดยต้องมาจดแจ้งขออนุญาตกันก่อน เพื่อจำกัดปริมาณสีที่ผสมเข้าไปไม่ให้มากจนอาจเกิดอันตรายแก่ผู้บริโภค ดังนั้น “ฉลาดซื้อ” ได้ตระเวนเก็บตัวอย่างชาผงสำเร็จรูป แบบที่นำมาชงเป็นชาดำเย็นหรือชาเย็นใส่นมที่หลายๆ คนชอบซื้อดื่มจากร้านหรือรถเข็นขายชา-กาแฟทั่วๆ ไป ซึ่งชาชนิดนี้มีชื่อเรียกหลายๆ แบบ ไม่ว่าจะเป็น ชาโบราณ ชาแดง ชาซีลอน ชาดำ ---------------------------------------------------------------------------------------------------- ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 196) พ.ศ. 2543 ระบุเอาไว้ว่า ชาผงสำเร็จรูป ต้องมีคุณภาพและมาตรฐานดังนี้ คือ (1) มีความชื้นไม่เกินร้อยละ 6 ของน้ำหนัก (2) มีเถ้าทั้งหมดไม่เกินร้อยละ 20 ของน้ำหนักชาผงสำเร็จรูปแห้ง (3) มีกาเฟอีน (caffeine) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 4.0 ของน้ำหนัก เว้นแต่ชาผงสำเร็จรูปที่สกัดเอากาเฟอีนออกแล้ว ให้มีกาเฟอีนได้ในปริมาณที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และข้อที่ (4) ที่สำคัญมากๆ คือ เรื่อง สี ซึ่งในประกาศระบุไว้ว่า “ไม่ให้ใส่สี” แม้จะแต่งกลิ่นและรสได้ แต่ห้ามใส่สีเด็ดขาดทั้งในชาผงสำเร็จรูปและใบชา จะยกเว้นก็เฉพาะชาปรุงสำเร็จพร้อมดื่มที่ไม่ได้ระบุเรื่องการห้ามใส่สีเอาไว้ ---------------------------------------------------------------------------------------------------- ผลทดสอบ “สี” ในชาผงปรุงสำเร็จ- ในการทดสอบครั้งนี้ “ฉลาดซื้อ” ได้เก็บตัวอย่างชาผงปรุงสำเร็จทั้งหมด 13 ยี่ห้อ ซึ่งเลือกจากการบอกเล่าของแม่ค้า พ่อค้า ที่ขายชาโบราณว่า นิยมใช้ยี่ห้อใดในการขาย โดยฉลาดซื้อได้เก็บตัวอย่างของชาเขียว 1 ตัวอย่าง คือ ตรามือ สำหรับชงชาเขียวนม เพิ่มเติม นอกนั้นเป็นชาดำ ทั้งหมด - การทดสอบตัวอย่างชาผงปรุงสำเร็จทั้ง 13 ยี่ห้อ พบว่ามีเพียงแค่ 1 ตัวอย่างเท่านั้นที่ไม่พบการใส่สีสังเคราะห์เพิ่มเติม คือ Yoku ซึ่งที่ข้างซองไม่ได้แจ้งรายละเอียดใดๆ ไว้เลย แจ้งเพียงแค่ ใบอนุญาตนำหรือสั่งอาหารเข้ามาในราชอาณาจักรเลขที่ 10-3-13-13446 - สีผสมอาหารที่พบในการทดสอบครั้งนี้คือ ซันเซ็ต เย็ลโลว์ (Sunset yellow) และ ตาร์ตราซีน (Tartrazine) ซึ่งเป็นกลุ่มสีที่ให้สีเหลือง, ปองโซ 4 อาร์ (Ponceau 4R) และ คาร์โมอีซีน (Carmoisine) กลุ่มสีที่ให้สีแดง และ บริลเลียนท์ บลู (Brilliant blue) กลุ่มสีที่ให้สีน้ำเงิน ซึ่งทั้งหมดเป็นสีผสมอาหารที่เป็นสีสังเคราะห์ - ซันเซ็ต เย็ลโลว์ เป็นสีที่พบในทุกตัวอย่าง (ยกเว้น Yoku ที่ไม่พบสีผสมอยู่เลย) ตัวอย่างที่พบมากที่สุดคือ ยี่ห้อ ตราแพะ (ชาซีลอน) ซึ่งมีถึง 7356.70 มิลลิกรัมต่อ 1 กิโลกรัม ซึ่งในการชงชาดื่ม 1 แก้ว ปริมาณชาผงปรุงสำเร็จที่ใช้ชงจะอยู่ที่ 2 ช้อนชา หรือประมาณ 10 กรัม เมื่อคำนวณดูแล้ว ปริมาณสีสังเคราะห์ต่อการดื่มชาตราแพะ (ชาซีลอน) 1 แก้ว จะอยู่ที่ประมาณ 73.56 มิลลิกรัม ซึ่งถือเป็นปริมาณที่สูง เพราะโดยทั่วไปแล้วปริมาณที่ให้ใช้โดยปลอดภัยกำหนดไว้ไม่เกิน 1 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักร่างกาย 1 กิโลกรัม ต่อ 1 วัน (จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก. ภัยมืดจากสารพิษ. เชษฐ สตูดิโอ แอน กราฟิคดีไซน์ จำกัด : กรุงเทพฯ. 2537) - ตัวอย่างอื่นๆ ที่ตรวจพบสีในปริมาณที่สูงรองลงมา คือ ตรามังกรบิน (5091.60 มิลลิกรัม/ 1 กิโลกรัม), Racehorse (ตราม้าแข่ง) (4338.03 มล./ 1 กก.), ตรางูเห่า สูตรเข้มข้น (4012.31 มล./ 1 กก.) และ ตราเทพพนม (3191.35 มล./ 1 กก.) - Racehorse (ตราม้าแข่ง), ตราเทพพนม, ตรามือ สำหรับชงชาเขียวนม, ตราสามแพะ และ Kapak (ใบชาตราขวาน) ตรวจพบสีสังเคราะห์ปนเปื้อนมากกว่า 1 ชนิด คือ พบทั้ง ซันเซ็ต เย็ลโลว์ กับ ตาร์ตราซีน ซึ่งเป็นสีในกล่มสีเหลือง และ ปองโซ 4 อาร์ กับ คาร์โมอีซีน ซึ่งเป็นสีในกลุ่มสีแดง ยกเว้น ตรามือ สำหรับชงชาเขียวนม ที่ไม่ใส่สีสังเคราะห์ในกลุ่มสีแดง แต่พบสีในกลุ่มสีน้ำเงินคือ บริลเลียนท์ บลู - ชาโบราณ Finest Ceylontea Dust 999, ชาโบราณ Finest Ceylon Tea Dust 666 และ Racehorse (ตราม้าแข่ง) เป็นผลิตภัณฑ์ชาผงปรุงสำเร็จที่นำเข้ามาจากประเทศมาเลเซีย ซึ่งเมื่อหลายปีก่อนเคยมีข่าวว่า อย. เก็บตัวอย่างของทั้ง 3 ยี่ห้อมาทดสอบแล้วก็พบการเติมสีสังเคราะห์ในปริมาณสูงเช่นกัน ซึ่งแม้ อย. จะออกมาตรการคุมเข้มการนำเข้าสินค้าไม่มีคุณภาพ แต่ก็ยังมีสินค้าเหล่านี้เล็ดรอดเข้ามาได้อยู่ดี - ชาผงปรุงสำเร็จ ตรามือ สำหรับชงชาเขียวนม และ ตรามือ ฉลากแดง (ชนิดเติม) มีการระบุไว้ที่ฉลากว่า เจือสี ซึ่งทั้ง 2 ตัวอย่างมาจากผู้ผลิตเดียวกัน - นอกจากเรื่องสีผสมอาหารแล้ว ในการทดสอบชาผงปรุงสำเร็จครั้งนี้ “ฉลาดซื้อ”  ได้เลือกวิเคราะห์หาสารอะฟลาท็อกซิน (Aflatoxin) ด้วย ซึ่งผลที่ออกมาน่าจะทำให้ผู้บริโภคสบายใจขึ้นบ้าง เพราะไม่พบการปนเปื้อนสารอะฟลาท็อกซินในทุกตัวอย่างที่ทำการทดสอบ ฉลาดซื้อแนะ1.ตัวอย่างชาผงปรุงสำเร็จที่เรานำมาทดสอบในครั้งนี้ ส่วนใหญ่เป็นชนิดที่ร้านขายชา – กาแฟโบราณ ซื้อจากตลาดหรือร้านค้าส่งขนาดใหญ่ เพื่อไปต้มชงขายอีกที ซึ่งปกติเราก็ไม่ค่อยได้ทราบกันอยู่แล้วว่าร้านที่เราซื้อเขาใช้ชาแบบไหนมาชงให้เรา แบบนี้การหลีกเลี่ยงสีสังเคราะห์ที่อยู่ในชาก็เป็นเรื่องยาก นอกจากจะลดการดื่มชา ทั้งชาดำเย็นและชานมเย็น เพราะตอนนี้เรารู้แล้วว่าสีส้มสวยๆ ของชา มาจากสีสังเคราะห์ซึ่งถ้าเราได้รับเข้าสู่ร่างกายมากๆ ก็อาจเป็นอันตราย2.แต่ถ้าหากอยากดื่มชา แนะนำว่าให้ซื้อมาชงกินเอง โดยเลือกซื้อชาผงสำเร็จรูปที่มีบรรจุภัณฑ์สะอาดเรียบร้อย มีเลขที่อย.ถูกต้อง มีการแจ้งชื่อ-ที่อยู่ผู้ผลิต วันที่ผลิต วันหมดอายุ และส่วนประกอบต่างๆ ซึ่งนอกจากจะลดความเสี่ยงในการได้รับสีสังเคราะห์มากเกินไปแล้ว เรายังสามารถควบคุมเรื่องความหวานจากน้ำตาลและนมได้ด้วย---------------------------------------------------------------------------------------------------- สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้มีการกำหนดปริมาณสีที่อนุญาตให้ใช้ผสมในอาหารประเภท เครื่องดื่ม ไอศกรีม ลูกกวาด และขนมหวาน ดังนี้สีที่ใช้ได้ปริมาณไม่เกิน 70 มิลลิกรัมต่ออาหารในลักษณะที่ใช้บริโภค 1 กิโลกรัม * สีแดง ได้แก่ - เอโซรูบีน , เออริโทรซิน * สีเหลือง ได้แก่ - ตาร์ตราซีน , ซันเซ็ตเย็ลโลว์ เอ็ฟ ซี เอ็ฟ * สีเขียว ได้แก่ - ฟาสต์ กรีน เอ็ฟ ซี เอ็ฟ * สีน้ำเงิน ได้แก่ - อินดิโกคาร์มีน หรือ อินดิโกตินสีที่ใช้ได้ปริมาณไม่เกิน 50 มิลลิกรัมต่ออาหารในลักษณะที่ใช้ บริโภค 1 กิโลกรัม * สีแดง ได้แก่ - ปองโซ 4 อาร์ * สีน้ำเงิน ได้แก่ - บริลเลียนห์บลู เอ็ฟ ซี เอ็ฟ www.fda.moph.go.th/fda-net/html/product/.../candy.htm - ---------------------------------------------------------------------------------------------------- อันตรายของสีผสมอาหาร1.การรับประทานสีสังเคราะห์ในปริมาณมากร่างกายอาจได้รับอันตราย สีสังเคราะห์เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะไปเคลือบเยื่อบุกระเพาะอาหารและลำไส้ ทำให้น้ำย่อยอาหารทำงานไม่ปกติ ทำให้เกิดอาการท้องอืด ท้องผูก และยังมีผลทำให้การดูดซึมอาหารถูกขัดขวาง ซึ่งทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารไม่เต็มที่ ทำให้ร่างกายอ่อนแอ น้ำหนักลด อ่อนเพลีย และอาจส่งผลต่อการทำงานของไตและตับ 2.ในสีสังเคราะห์มักจะมีสารตกค้างอื่นๆ ปะปนมา ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสารประเภทโลหะหนัก เช่น แคดเมียม  ตะกั่ว สารหนู ปรอท พลวง  โครเมียม เป็นต้น ซึ่งสารเหล่านี้แม้จะได้รับในปริมาณเล็กน้อยแต่ก็จะสะสมอยู่ในร่างกาย ปล่อยไว้นานเข้าก็จะเป็นอันตรายต่อร่างกาย ---------------------------------------------------------------------------------------------------- ตารางแสดงผลทดสอบสีผสมอาหารในชาผงปรุงสำเร็จ     ผลวิเคราะห์เฉพาะตัวอย่างที่ส่งตรวจเท่านั้น วิเคราะห์ผลโดย สถาบันโภชนาการ ม.มหิดล

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 110 ‘สารกันบูด’ สูตรอร่อยเสี่ยงในลูกชิ้น

ลูกชิ้น หนึ่งในอาหารยอดนิยม ทั้งกินเล่นกินจริง นำไปปรุงเป็นอาหารต่างๆ ได้หลายเมนู ทั้งใส่ ก๋วยเตี๋ยว ปิ้ง ทอด หรือยำลูกชิ้นก็มี ลูกชิ้นมีขายทั่วไปทั้งหน้าโรงเรียน หน้าปากซอย ตลาดสด ร้านสะดวกซื้อ ซูเปอร์มาเก็ตในห้างสรรพสินค้า และห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ ด้วยความหลากหลายในการนำไปประกอบอาหารนี้เอง ทำให้โครงการพัฒนากลไกการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารสนใจและอยากรู้ว่าจะมีการปนเปื้อนอะไรบ้างในลูกชิ้น ทางโครงการฯ ร่วมกับนิตยสารฉลาดซื้อ และพื้นที่ดำเนินงานอีก 7 จังหวัด ของโครงการพัฒนากลไก ฯ จึงได้ดำเนินการเก็บตัวอย่างลูกชิ้นหมู ลูกชิ้นไก่ และ ลูกชิ้นปลา จากทั้งตลาดสด ร้านค้าปลีกในจังหวัด และ ห้างค้าปลีกและค้าส่งขนาดใหญ่ (โลตัส แมคโคร คาร์ฟูร์) ในเดือนพฤศจิกายน 2552 เพื่อตรวจหาสารกันบูด 4 ประเภท คือ กรดเบนโซอิค กรดซอร์บิค ไนเตรท และไนไตรท์ นอกจากนั้นยังตรวจหาน้ำประสานทองหรือ บอแรกซ์ อีกด้วย โดยเก็บตัวอย่างลูกชิ้นหมูจากพื้นที่กรุงเทพฯ สมุทรสงคราม ขอนแก่น มหาสารคาม เชียงใหม่ และ พะเยา จำนวน 22 ตัวอย่าง (22 ยี่ห้อ) เก็บตัวอย่างลูกชิ้นไก่จากจังหวัดสงขลา และ จังหวัดสตูล จำนวน 8 ตัวอย่าง (8 ยี่ห้อ) และ เก็บตัวอย่างลูกชิ้นปลา จากจังหวัดพะเยา จำนวน 2 ตัวอย่าง (2 ยี่ห้อ) รวมตัวอย่างลูกชิ้นที่เก็บ ทั้งสิ้น 32 ตัวอย่าง (32 ยี่ห้อ) ผลการทดสอบ1. การทดสอบวัตถุเจือปนอาหาร ประเภทสารกันบูด – กรดเบนโซอิค1.1. พบว่าลูกชิ้นหมูทุกยี่ห้อ (22 ยี่ห้อ) ที่เก็บตัวอย่างใส่สารกันบูดประเภทกรดเบนโซอิค โดยมีค่าเฉลี่ยของปริมาณที่พบอยู่ที่ 2,206.97 มิลลิกรัม/กิโลกรัม การแบ่งกลุ่มตัวอย่างตามผลที่พบออกเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มตัวอย่างที่มีปริมาณกรดเบนโซอิคต่ำกว่า 1,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม จำนวน 7 ตัวอย่าง (ร้อยละ 32) และกลุ่มตัวอย่างที่มีปริมาณกรดเบนโซอิคสูงกว่า 1,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม จำนวน 15 ตัวอย่าง (ร้อยละ 68) ปริมาณกรดเบนโซอิคที่พบสูงสุด 5 ตัวอย่าง ได้แก่ (1) ยี่ห้อกวางตุ้ง 9536.19 มิลลิกรัม/กิโลกรัม เก็บตัวอย่างจากห้างโลตัสจังหวัดเชียงใหม่ (2) ยี่ห้อหมูรวมดาว 3,572 มิลลิกรัม/กิโลกรัม เก็บตัวอย่างจากจังหวัดมหาสารคาม (3) ยี่ห้อหมูสยาม 3317.59 มิลลิกรัม/กิโลกรัม เก็บตัวอย่างจากตลาดยิ่งเจริญ กรุงเทพฯ (4) ยี่ห้อคุณหมอ 3,163.27 มิลลิกรัม/กิโลกรัม เก็บตัวอย่างจากตลาดห้วยขวาง กรุงเทพฯ และ (5) ยี่ห้อน้องเพียร 3,152 มิลลิกรัม/กิโลกรัม เก็บตัวอย่างจากจังหวัดมหาสารคาม 1.2. พบว่าลูกชิ้นไก่ทุกยี่ห้อ (8 ยี่ห้อ) ที่เก็บตัวอย่างใส่สารกันบูดประเภทกรดเบนโซอิค โดยมีค่าเฉลี่ยของปริมาณที่พบอยู่ที่ 2,243.668 มิลลิกรัม/กิโลกรัม โดยกลุ่มตัวอย่างที่มีปริมาณกรดเบนโซอิคต่ำกว่า 1,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม จำนวน 3 ตัวอย่าง (ร้อยละ 37.5) ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่มีปริมาณกรดเบนโซอิคสูงกว่า 1,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม จำนวน 5 ตัวอย่าง (ร้อยละ 62.5) ปริมาณกรดเบนโซอิคที่พบสูงสุด 3 ตัวอย่างได้แก่ (1) ยี่ห้ออร่อย 5 ดาว 5,796 มิลลิกรัม/กิโลกรัม เก็บตัวอย่างจากตลาดพลาซ่า อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา (2) ยี่ห้อบีบี 4,371.04 มิลลิกรัม/กิโลกรัม เก็บตัวอย่างจากตลาดสดละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล และ (3) ยี่ห้อจงหยวน 2,672 มิลลิกรัม/กิโลกรัม เก็บตัวอย่างจากตลาดพลาซ่า อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 1.3. พบว่าลูกชิ้นปลาจำนวน 1 ตัวอย่างจาก 2 ตัวอย่างที่ทำการสำรวจในจังหวัดพะเยาใส่สารกันบูดประเภทกรดเบนโซอิค คือยี่ห้อห้าดาว ซึ่งเก็บจากตลาดสดแม่ต๋ำ โดยพบที่ปริมาณ 167.37 มิลลิกรัม/กิโลกรัม 2. การทดสอบวัตถุเจือปนอาหารประเภทสารกันบูด – กรดซอร์บิคพบว่ามีลูกชิ้นจำนวน 5 ตัวอย่างที่ใช้กรดซอร์บิคในผลิตภัณฑ์ แบ่งเป็นลูกชิ้นหมูจำนวน 3 ตัวอย่าง ได้แก่ (1) ยี่ห้อแชมป์ 138.07 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ที่เก็บจากห้างแม็คโคร จังหวัดเชียงใหม่ (2) ยี่ห้อหมูดี 61.34 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ที่เก็บจากห้างคาร์ฟูร์ จังหวัดเชียงใหม่ และ (3) ยี่ห้อเทสโก้ 103.05 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ที่เก็บจากห้างโลตัสจังหวัดพะเยา อีก 2 ตัวอย่างที่พบกรดซอร์บิค ได้แก่ลูกชิ้นไก่ที่เก็บตัวอย่างจากจังหวัดสตูล ประกอบด้วยยี่ห้อบีวัน 406 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และ ยี่ห้อไก่ยิ้ม 143.4 มิลลิกรัม/กิโลกรัม 3. การทดสอบวัตถุเจือปนอาหารประเภทสารกันบูด – ไนเตรทจากการทดสอบทั้งสิ้น 28 ตัวอย่าง พบการใช้ไนเตรทในลูกชิ้นทั้งสิ้น 11 ตัวอย่าง แบ่งเป็นลูกชิ้นหมู 7 ตัวอย่าง (กรุงเทพ ฯ 4 ตัวอย่าง สมุทรสงคราม 2 ตัวอย่าง และมหาสารคาม 1 ตัวอย่าง) และลูกชิ้นไก่ 4 ตัวอย่าง (ทั้งหมดจากจังหวัดสงขลา) โดยมีปริมาณที่พบอยู่ระหว่าง 2.5 – 35 มิลลิกรัม/กิโลกรัม 4. การทดสอบวัตถุเจือปนอาหารประเภทสารกันบูด – ไนไตรท์จากการทดสอบทั้งสิ้น 28 ตัวอย่าง พบการใช้ไนไตรท์ในลูกชิ้นทั้งสิ้น 11 ตัวอย่าง แบ่งเป็น ลูกชิ้นหมู 7 ตัวอย่าง (กรุงเทพฯ 3 ตัวอย่าง และ สมุทรสงคราม 4 ตัวอย่าง) และลูกชิ้นไก่ 4 ตัวอย่าง (ทั้งหมดจากจังหวัดสงขลา) โดยมีปริมาณที่พบอยู่ระหว่าง 0.2 – 4.2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม 5. การทดสอบวัตถุเจือปนอาหาร – น้ำประสานทอง หรือ บอแรกซ์ไม่พบน้ำประสานทอง (บอแรกซ์) ในทุกตัวอย่างที่ทำการทดสอบ ข้อสังเกต1. มีลูกชิ้นหมูทั้งสิ้น 3 ยี่ห้อ ที่ใช้สารกันบูด 2 ชนิด คือกรดเบนโซอิค และกรดซอร์บิคร่วมกันในผลิตภัณฑ์เดียว ได้แก่ ยี่ห้อหมูดีและยี่ห้อแชมป์ที่เก็บตัวอย่างจากจังหวัดขอนแก่น และยี่ห้อเทสโก้ ที่เก็บตัวอย่างจากจังหวัดพะเยา 2. มีลูกชิ้นไก่จำนวน 2 ยี่ห้อ ที่ใช้สารกันบูด 2 ชนิด คือกรดเบนโซอิค และกรดซอร์บิคร่วมกันในผลิตภัณฑ์เดียว ได้แก่ ยี่ห้อ บีวันของบริษัทอาหารเบทเทอร์ และ ยี่ห้อไก่ยิ้มของบริษัท ซีพี ที่เก็บตัวอย่างจากจังหวัดสงขลา 3. มีลูกชิ้นหมูจำนวน 5 ยี่ห้อ ที่ใส่สารกันบูดตั้งแต่ 3 ชนิดขึ้นไป (กรดเบนโซอิค ไนเตรท และไนไตรท์) ในผลิตภัณฑ์เดียว ได้แก่ ยี่ห้อหมูสยาม วีไอพี และคุณหมอ ซึ่งเก็บจากตลาดสดในกรุงเทพฯ และ ยี่ห้อ พีพีเอ็น และ ศรีปทุม ซึ่งเก็บจากร้านค้าในจังหวัดสมุทรสงคราม 4. มีลูกชิ้นไก่จำนวน 4 ยี่ห้อ ที่ใส่สารกันบูดตั้งแต่ 3 ชนิดขึ้นไป (กรดเบนโซอิค ไนเตรท และไนไตรท์) ในผลิตภัณฑ์เดียว ได้แก่ ยี่ห้อจงหยวน อร่อย 5 ดาว บอลลูน และดิสโก้ ซึ่งเก็บตัวอย่างจากตลาดสดในจังหวัดสงขลา สรุปผลในการทดสอบครั้งนี้ พบว่าตัวอย่างลูกชิ้นเกือบทุกยี่ห้อที่เรานำมาทดสอบครั้งนี้มีการใช้สารกันบูด โดยเฉพาะกรดเบนโซอิค ซึ่งถึงแม้ อย. จะอนุญาตให้ใช้ได้ แต่ปริมาณที่ตรวจพบอยู่ในเกณฑ์ที่สูงมาก เมื่อเทียบมาตรฐานอาหารสากล (Codex Alimentarius Commission) ซึ่งกำหนดปริมาณการใช้กรดเบนโซอิคในอาหารไว้ว่าไม่ควรเกิน 1,000 มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม สำหรับคนที่ชอบลูกชิ้น เห็นตัวเลขของสารกันบูดจากผลการทดสอบครั้งนี้แล้วอาจตกใจ แต่ก็ต้องทำความเข้าใจว่า สารกันบูดสามารถใส่ลงในลูกชิ้นได้แต่ต้องอยู่ในปริมาณที่กำหนด ซึ่งเราในฐานะผู้บริโภคก็ต้องรู้จักเลือกที่จะรับประทาน คือเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีฉลากแสดงข้อมูลส่วนผสมต่างๆ ชัดเจน แสดงแหล่งที่ผลิต วันเดือนปีที่หมดอายุ ล่าสุด อย. ก็ได้ออกกฎระเบียบใหม่ให้ผู้ผลิตลูกชิ้นต้องติดฉลากแสดงข้อมูลสำคัญต่างๆ ลงบนสินค้าของตัวเอง ซึ่งตรงนี้ก็จะเป็นประโยชน์กับผู้บริโภคในการตัดสินใจเลือกซื้อ นอกจากนี้คนที่ชอบทานลูกชิ้นก็ต้องรู้จักควบคุมปริมาณการรับประทาน คือทานแต่พอดี เพราะถ้าทานมากไปก็ยิ่งเสี่ยงอันตราย ตารางแสดงผลการทดสอบสารกันบูดในลูกชิ้น    

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point