ฉบับที่ 184 ไนเตรท และ ไนไตรท์ ใน “หมูแผ่นกรอบ หมูหวาน เนื้อเค็ม”

ขอบคุณทุกท่านที่สนใจข้อมูลจากนิตยสารฉลาดซื้อ>>> อ่านแล้วอยากสนับสนุนให้เรามีเงินทุนต่อเนื่อง >>> ร่วมอ่าน online 200 บาท/ ต่อปี  ข้อมูลการสมัครอยู่ด่านล่าง ขอบคุณค่ะ หมูแผ่นกรอบ หมูหวาน หมูเค็มหรือเนื้อเค็ม นอกจากจะเป็นอาหารถูกปากของใครหลายคนแล้ว ยังเป็นของฝากยอดนิยมอีกด้วย เพราะมีรสชาติอร่อยและสะดวกพร้อมรับประทาน โดยสามารถนำมาเป็นของกินเล่น หรือกินคู่กับข้าวสวยหรือเหนียวร้อนๆ ก็ยังได้อย่างไรก็ตามอาหารเหล่านี้ต้องผ่านการแปรรูป เพื่อเพิ่มรสชาติ ช่วยถนอมอาหารและทำให้สามารถจำหน่ายได้สะดวกขึ้น ซึ่งบางเจ้าอาจใส่สารเคมีอย่าง เกลือไนเตรทและเกลือไนไตรท์เข้าไป เพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีลักษณะโดยรวมตามที่ควรเป็น โดยหากผู้บริโภคได้รับสารเคมีดังกล่าวในปริมาณที่มากเกินไป สามารถส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ฉลาดซื้อฉบับนี้จึงขอพาผู้อ่านไปดูผลทดสอบ เกลือไนเตรทและเกลือไนไตรท์ใน หมูแผ่นกรอบ หมูหวาน หมูเค็มและเนื้อเค็มจำนวน 14 ยี่ห้อ หลังจากที่เราเคยเสนอผลทดสอบสารดังกล่าวในไส้กรอกกันแล้ว ซึ่งรับรองว่าผลทดสอบคราวนี้ยังน่าสนใจเหมือนเดิม   มาตรฐานสำหรับการใช้วัตถุเจือปนอาหาร ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข(ฉบับที่ 281) พ.ศ. 2547 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร ... ข้อ 6  การใช้วัตถุเจือปนอาหาร ต้องใช้ตามชนิดวัตถุเจือปนอาหาร ชนิดของอาหารและปริมาณสูงสุดที่ให้ใช้ได้ ตามเงื่อนไขใดเงื่อนไขหนึ่ง ดังนี้  6.1 ตามมาตรฐานทั่วไปสำหรับการใช้วัตถุเจือปนอาหารของโคเด็กซ์ (Codex General Standard for Food Additives) ฉบับล่าสุด 6.2 ตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการอาหาร ซึ่งในกรณีของ หมูแผ่นกรอบ หมูหวาน หมูเค็ม เนื้อเค็ม ไม่มีการกำหนดเฉพาะไว้ตามประกาศข้อ 6.2 (ประกาศ อย.) จึงยึดตามเงื่อนไขของประกาศ ข้อ 6.1 (โคเด็กซ์) คือ สามารถใช้ "โซเดียมไนไตรท์" (INS 250) ในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ทั้งตัวหรือตัดแต่ง แปรรูปโดยไม่ใช้ความร้อน และผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ทั้งตัวหรือตัดแต่ง ทำให้สุกโดยใช้ความร้อน ซึ่งกำหนดให้ใช้โซเดียมไนไตรท์ ปริมาณสูงสุดได้ไม่เกิน 80 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักอาหาร 1 กิโลกรัม (ตามประกาศ อย. มีกำหนดการใช้ไนไตรท์ไว้เฉพาะเนื้อหมัก เช่น ไส้กรอก แฮม ให้ใช้ได้ไม่เกิน 125 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักอาหาร 1 กิโลกรัม ซึ่ง หมูแผ่นกรอบ หมูหวาน หมูเค็ม เนื้อเค็ม ไม่น่าจะใช่เนื้อหมักตามประกาศ อย.) สำหรับกรณีการใช้วัตถุเจือปนอาหารที่เป็น "โซเดียมไนเตรท" (INS 251) ในผลิตภัณฑ์เนื้อประเภท หมูแผ่น หมูสวรรค์ เนื้อเค็ม ไม่มีกำหนดไว้ในโคเด็กซ์ และไม่มีการกำหนดเฉพาะไว้ใน ประกาศ อย. แต่คงเทียบเคียงได้กับปริมาณการใช้วัตถุเจือปนอาหาร ในเนื้อสัตว์ประเภทเนื้อหมัก(ไส้กรอก แฮม) ที่มีการกำหนดเฉพาะไว้ คือ “โซเดียมไนเตรท” ปริมาณสูงสุดที่ให้ใช้ได้ไม่เกิน 500 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักอาหาร 1 กิโลกรัม ทั้งนี้ในประกาศ อย. เรื่อง ข้อกำหนดการใช้วัตถุเจือปนอาหาร (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ปี 2548) ยังได้ระบุเพิ่มเติมไว้ว่า “การใช้วัตถุเจือปนอาหารในกลุ่มหน้าที่เดียวกันตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป ต้องมีปริมาณรวมกันแล้ว ไม่เกินปริมาณของวัตถุเจือปนอาหารชนิดที่กำหนดให้ใช้ได้น้อยที่สุด” ซึ่งถ้ายึดตามเกณฑ์นี้ การใช้ทั้งไนเตรทและไนไตรท์ร่วมกัน  ในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ทั้งตัวหรือตัดแต่งให้สุกโดยใช้ความร้อน และผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ทั้งตัวหรือตัดแต่ง แปรรูปโดยไม่ใช้ความร้อน ก็คือ ต้องไม่เกิน 80 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักอาหาร 1 กิโลกรัม ผลการทดสอบ             ตัวอย่างที่มีการใช้ไนเตรทและไนไตรท์ รวมกัน เกิน 80 มิลลิกรัม/อาหารน้ำหนัก 1 กิโลกรัม   ตัวอย่างที่พบการใช้ไนเตรท เกิน 500 มิลลิกรัม/อาหารน้ำหนัก 1 กิโลกรัม      สรุปผลการทดสอบ- จากทั้งหมด 14 ตัวอย่าง พบว่ามี 10 ตัวอย่าง(ร้อยละ 71) ใส่สารไนเตรท ไนไตรท์ ไม่เกินปริมาณสูงสุดที่กำหนดให้ใช้ ตามประกาศ อย เรื่องข้อกำหนดการใช้วัตถุเจือปนอาหาร- มี 1 ตัวอย่างที่มีไนเตรทเกินกว่าค่าปริมาณสูงสุดที่ให้ใช้ได้ไม่เกิน 500 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักอาหาร 1 กิโลกรัม คือ ยี่ห้อ หมูสวรรค์ ร้านหมู หมู โดยตรวจพบไนเตรทสูงถึง 2033.16 มก./กก.- พบ 1 ตัวอย่างที่มีการใช้ไนเตรทและไนไตรท์ รวมกัน เกิน 80 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักอาหาร 1 กิโลกรัม แต่ไม่เกิน 125 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักอาหาร 1 กิโลกรัม คือ   ตราบ้านไผ่ เนื้อสวรรค์ พบไนเตรท 94.66 มก./กก. และพบไนไตรท์น้อยกว่า 10 มก./กก. รวมแล้วอยู่ระหว่าง 94.66  - 104.66 มก./กก- พบ 2 ตัวอย่าง. ที่มีการใช้ไนเตรทและไนไตรท์ รวมกัน เกิน 125 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักอาหาร 1 กิโลกรัม คือ(1)  เนื้อเค็ม ตราลัดดา พบไนเตรท 169.93 มก./กก. และไนไตรท์ 55.68 มก./กก. รวม 225.61 มก./กก.(2) เนื้อเค็ม ร้านหมู หมู พบไนเตรท 216.05 มก./กก. และไนไตรท์ 17.17 มก./กก. รวม 233.22 มก./กก.ฉลาดซื้อแนะ    ไม่รับประทานอาหารประเภทเนื้อสัตว์แปรรูปบ่อยครั้งเกินไป เพราะมีความเสี่ยงต่อการรับเอาสารเคมีที่ใช้เจือปนเพื่อการถนอมอาหารในปริมาณมาก เนื่องจากหลายครั้งพบว่า ผลิตภัณฑ์ประเภทนี้มีการใช้ในปริมาณที่เกินกว่ากฎหมายกำหนด ซึ่งอาจจะส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว  ข้อมูลอ้างอิง :•    ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 281) พ.ศ. 2547 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร•    ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง ข้อกำหนดการใช้วัตถุเจือปนอาหาร (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ปี 2548)•    ข้อกำหนดการใช้วัตถุเจือปนอาหารตามมาตรฐานทั่วไปสำหรับวัตถุเจือปนอาหารของโคเด็กซ์ http://food.fda.moph.go.th/data/FoodAdditives/GSFA_2014.pdf •    แนวทางการใช้วัตถุเจือปนอาหารและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2556•    การใช้วัตถุเจือปนอาหารในผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ http://food.fda.moph.go.th/data/news/2558/sum_newser/TrainingFA2011/3.2Meat54.pdf-------------------------------------------------->>>อ่านแล้วอยากสนับสนุนให้เรามีเงินทุนต่อเนื่อง >>> ร่วมอ่านonline 200 บาท/ ต่อปี >>> โอนเงินแล้วแจ้งมาที่ >> อีเมล์ chaladsue@gmail.com + แนบรูปโอน >> เปิดอ่าน full Version ทันทีจ้าาาาาา>>> ต้องการใบเสร็จ >> พิมพ์ชื่อ - ที่อยู่  ใน อีเมล์ด้วยนะครับ---------------------------------ชื่อ บช. "มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค"กสิกรไทย : 058-2-86735-6ไทยพาณิชย์ : 319-2-62123-1กรุงไทย : 141-1-28408-9ทหารไทย : 026-2-40760-4กรุงเทพ : 088-0-38742-8กรุงศรีอยุธยา : 463-1-10884-6--------------------------------->>> อ่านย้อนหลังได้กว่า 90 ฉบับ ผลทดสอบเพียบ! >>>นิตยสารนี้ไม่มีโฆษณา...เพื่อข้อมูลที่เป็นกลางและตัดสินใจได้ สำหรับผู้บริโภค--------------------------------

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 167 เช็ค “แคลอรี” ในขนมหวานยอดฮิต

“ฮันนี่ โทสต์”, “เครปเค้ก”, “แพนเค้ก”, “เอแคลร์”, “ชูครีม” “มาการอง” ฯลฯ เหล่านี้คือ เมนูเบเกอรี่สูตรอินเตอร์ที่กำลังฮิตติดเทรนด์สุดๆ ในหมู่บรรดาผู้นิยมขนมหวาน ผู้ซึ่งไม่หวั่นต่อปริมาณน้ำตาลและไขมัน เรียกว่าฮิตขนาดที่ร้านดังๆ มีคนเฝ้ารอต่อแถวซื้อยาวเหยียด บางคนต้องรอเป็นชั่วโมงกว่าจะได้ชิม แบบเดียวกับปรากฏการณ์เข้าคิวซื้อขนมยอดฮิตในอดีตอย่าง “โรตีบอย” และ โดนัท “คริสปี้ครีม” ซึ่งขนมที่เคยฮิตทั้ง 2 ประเภท (ปัจจุบันนี้โรตีบอยไม่มีขายในไทยแล้ว ส่วนโดนัทคริสปี้ครีมหลังขยายสาขาปรากฏการณ์เข้าคิวซื้อก็หายไปในเวลาอันรวดเร็ว) “ฉลาดซื้อ” ของเราก็เคยนำมาทดสอบดูปริมาณน้ำตาลและไขมันมาแล้ว เมื่อมีของกินมาใหม่และกำลังได้รับความนิยม แบบนี้ “ฉลาดซื้อ” ของเราไม่พลาดที่จะนำมาวิเคราะห์กันดูสิว่า แต่ละร้านแต่ละเมนูให้ พลังงาน น้ำตาล และไขมัน แค่ไหนกันบ้าง   ผลทดสอบค่าพลังงานในตัวอย่างขนมหวานยอดนิยม จากผลวิเคราะห์ที่ได้ จะเห็นว่าบรรดาขนมหวานยอดนิยมทั้งหลาย ล้วนแล้วให้ค่าพลังงานที่ค่อนข้างสูง อย่าง Round & Brown ของร้าน แพนเค้ก คาเฟ่ 1 เสิร์ฟ ให้พลังงานถึง 617.5 กิโลแคลอรี หรือคิดเป็นประมาณ 30% ของพลังงานที่ร่างกายต้องการใน 1 วัน หรือจะเป็นเมนูยอดนิยมที่สุดในตอนนี้อย่าง ชิบูญ่า ฮันนี่ โทสต์ ของร้าน อาฟเตอร์ยู ที่ 1 เสิร์ฟ ให้พลังงานสูงถึง 802.5 กิโลแคลอรี หรือคิดเป็นประมาณ 40% ของพลังงานที่ร่างกายต้องการใน 1 วัน แต่อย่าเพิ่งตกใจ เพราะส่วนใหญ่คนที่ไปกินขนมหวานเหล่านี้ ไม่ได้กินคนเดียวหมด 1 เสิร์ฟ เพราะ 1 จากที่ทางร้านเสิร์ฟมา ก็มักจะช่วยๆ กันกิน ที่เห็นส่วนมาก จาน 1 ก็กินกันที 2 – 3 คน ถ้าเป็นแบบนี้ค่าพลังงานที่ได้ก็จะลดลง ไม่ถึงกับน่ากลัว ถ้าบริหารดีๆ ค่าพลังงานที่ได้จากการกินอาหารใน 1 วัน ก็น่าจะยังไม่เกินกับที่ร่างกายของเราต้องการ(ไม่เกิน 2,000 กิโลแคลอรี) แต่เห็นค่าพลังงานแบบนี้แล้ว บางคนที่คิดว่าไหนๆ พลังงานก็สูงแล้วกินมันแทนข้าวไปเลยแล้วกัน ถ้าเป็นแบบนั้นไม่ดีแน่ๆ เพราะแม้จะให้พลังงานสูงเทียบเท่าอาหารมื้อหลัก แต่คุณค่าทางอาหารนั้นต่างกันโดยสิ้นเชิง ขนมเหล่านี้ส่วนใหญ่ทำจากแป้ง น้ำตาล ครีม ยังขาดสารอาหารสำคัญๆ อีกมากที่ร่างกายต้องการ อย่าง โปรตีน วิตามิน ใยอาหาร กินแต่ขนมก็ได้แต่ แป้ง ไขมัน น้ำตาล ถ้าอ้วนขึ้นมาจะหาว่าฉลาดซื้อไม่เตือนไม่ได้นะ ส่วนพวกที่เป็นขนมทานเล่นเป็นชิ้นๆ อย่าง ปารีส เอแคลร์ รส ไอเฟล ที่ 1 ชิ้นให้พลังงาน 306 กิโลแคลอรี ถ้ากิน 2 ชิ้น 612 กิโลแคลอรี ก็ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่สูง หรืออย่าง ขนมปังหน้าสังขยา จากร้าน มนต์นมสด ที่ปริมาณแคลอรีต่อ 1 แผ่นอยู่ที่ 268.6 กิโลแคลอรี 2 ชิ้นก็จะกลายเป็น 537.2 กิโลแคลอรี ก็ถือว่าค่อนข้างสูง ประมาณ 1 ใน 4 ของ พลังงานที่ร่างกายเราควรได้รับใน 1 วัน เพราะฉะนั้นอย่าคิดว่าแค่กินขนมชิ้น 2 ชิ้น คงไม่อ้วน ถ้าหากมื้อหลักอื่นๆ เรายังกินอาหารที่เต็มไปด้วยแป้งและไขมัน โดยเฉพาะพวกของทอด แล้วยิ่งถ้ากินพวกน้ำหวาน น้ำอัดลม กาแฟเย็น ชาเย็น ด้วยพลังงานที่เราได้รับมีสิทธิพุ่งทะยาน กินแบบนี้บ่อยๆ ไม่ใช่แค่ไขมันจะมาเพิ่มที่รอบเอว แต่สุขภาพก็จะมีปัญหาตามมาด้วย เทคนิคกินขนมหวานให้มีความสุข สุขใจไม่ทำร้ายสุขภาพ กินขนมให้เป็นขนม อย่ากินโดยคิดว่าจะกินแทนข้าว กินแค่พออร่อย อย่ากินเอาอิ่ม ขนมชิ้นใหญ่ จานใหญ่ อย่ากินคนเดียว แชร์กันกินกับเพื่อนหลายๆ คน ไม่ทำร้ายสุขภาพ แถมประหยัดเงินด้วย เพราะช่วยๆ กันจ่าย กินขนมหวาน อย่ากินคู่กับน้ำหวาน เดี๋ยว น้ำตาล กับ ไขมัน จะทวีคูณ กินของคาวแล้วไม่จำเป็นต้องกินขนมหวานเสมอไป ถ้าอิ่มแล้ว ก็ขอให้พอ เอาไว้กิน มื้อหน้า วันหน้า ก็ได้ กินขนมหวานแล้วอย่าลืมออกกำลังกาย อย่าเอาแต่นั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์อยู่ที่โต๊ะ ลุกไปออกกำลังกายบ้าง เผาผลาญแคลอรี   กินถูกหลัก “พลังงานไม่เกิน” คนที่กลัวอ้วนหรือกำลังอยู่ในช่วงลดน้ำหนักหลายคนกังวลเรื่องปริมาณแคลอรีของพลังงานจากการกินอย่างมาก ซึ่งมีหลายคนเข้าใจผิดเรื่องการคุมพลังงานจากการกินอาหาร ความจริงแล้วพลังงานถือเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างมากต่อร่างกาย การทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย ทั้งการทำงานของสมอง ระบบการเต้นของหัวใจ ระบบการหายใจ ล้วนแล้วต้องอาศัยพลังงานที่เราได้จากการกินอาหารและพลังงานบางส่วนที่ร่างกายเราสะสมเอาไว้ ซึ่งปริมาณแคลอรีของพลังงานจากการกินอาหารที่เหมาะสมต่อร่างกายใน 1 วันคือ 1,600 – 2,000 กิโลแคลอรี ซึ่งหากเราต้องกินอาหาร 3 มื้อต่อ 1 วัน ใน 1 มื้อ ปริมาณแคลอรีที่เราได้จะอยู่ประมาณ 350 – 500 กิโลแคลอรี ซึ่งเมื่อนำมารวมกันแล้วถือว่าเหมาะสมพอดีกับที่ร่างกายของเราต้องการ แถมยังเหลือพอให้เรากินพวกผลไม้ต่างๆ เป็นว่างของหวานหลังการกินอาหารมื้อหลักได้อีก แต่สาเหตุที่หลายคนน้ำหนักเพิ่มหรือมีรูปร่างอ้วนจากการกิน ส่วนใหญ่เป็นเพราะอาหารที่เพิ่มมาจาก 3 มื้อหลัก พวกขนมหวาน น้ำหวานน้ำอัดลม กาแฟเย็น ชาเย็น พวกนี้แหละคือตัวร้ายที่ทำให้หลายคนอ้วนขึ้น เพราะบรรดาขนมหวาน กับเครื่องดื่มรสหวานทั้งหลายให้พลังงานสูง สูงพอๆ กับอาหารจานหลัก อย่างเมนูเบเกอรี่ยอดฮิตทั้งหลายที่ฉลาดซื้อนำมาทดสอบล้วนแล้วแต่มีวัตถุดิบหลักคือ แป้ง น้ำตาล นม เนย ครีม บางสูตรก็เติมน้ำเชื่อม แยม ช็อกโกแลต เพิ่มความอร่อย เพราะฉะนั้นไม่ต้องแปลกใจ ถ้ากินขนมพวกนี้บ่อยๆ แล้วพุงน้อยๆ จะเริ่มย้อยออกมา เพราะฉะนั้น ทั้งๆ ที่ก็กินข้าวแค่ 3 มื้อปกติ แต่ลืมคิดว่าระหว่างมื้อหลักก็กินขนมหวานของว่างจุบจิบอีกไม่รู้ตั้งเท่าไหร่ แบบนี้จะไม่ให้แคลอรีเกินได้ยังไง   ค่าพลังงานในอาหารแต่ละประเภท   ที่มา : การดูแลสุขภาพทางโภชนาการด้วยตนเอง, ดร. บุญศรี   กิตติโชติพาณิชย์ ภาควิชาการพยาบาลสูติ-นารีเวชศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช   ปริมาณสารอาหารที่เหมาะกับร่างกายใน 1 วัน   -พลังงานวันละ 2,000 กิโลแคลอรี -โปรตีน ตามน้ำหนักตัว กรัม (เช่น น้ำหนักตัว 50 กิโลกรัม ควรได้รับโปรตีนต่อวันคือ 50 กรัม) -ไขมันทั้งหมด น้อยกว่า 65 กรัม -กรดไขมันอิ่มตัว น้อยกว่า 20 กรัม -โคเลสเตอรอล น้อยกว่า 300 มิลลิกรัม -คาร์โบไฮเดรต ทั้งหมด 300 กรัม -ใยอาหาร 25 กรัม -โซเดียม น้อยกว่า 2,400 มิลลิกรัม -น้ำตาล น้อยกว่า 24 กรัม (ประมาณ 6 ช้อนชา) ที่มา : ปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน สำหรับคนไทยอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป (Thai RDI (Thai Recommended Daily Intakes))   ออกกำลังกายช่วยเผาผลาญแคลอรี ใน 1 ชั่วโมง เราเผาพลังงานด้านได้แค่ไหน วิ่งเร็ว                                       560 กิโลแคลอรี วิ่งช้า (จ๊อกกิ้ง)                           490 กิโลแคลอรี เดิน                                         245 กิโลแคลอรี ปั่นจักรยาน                                420 กิโลแคลอรี ที่มา : http://manycalorie.com/calories-burned-running/

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 158 รสหวานในน้ำจิ้มไก่

น้ำจิ้ม จัดเป็นของคู่สำรับอาหาร อย่างน้อยๆ ก็ต้องมีพริกน้ำปลาสักถ้วย น้ำจิ้มช่วยเพิ่มอรรถรสในการกิน เรียกได้ว่าเป็นตัวชูรสอาหารให้โดดเด่นขึ้น ปัจจุบันน้ำจิ้มถ้าไม่ทำเอง ก็มีผู้ผลิต บรรจุขวดไว้ให้เราซื้อหากันได้สะดวก น้ำจิ้มมีหลายชนิด แต่ที่นิยมกันมากถึงกับเคยมีการจัดอันดับน้ำจิ้มที่คนไทยชื่นชอบ ปรากฏว่า น้ำจิ้มไก่มาเป็นอันดับหนึ่ง  “เหตุเพราะน้ำจิ้มไก่สามารถทานได้กับอาหาราแทบทุกชนิดไม่ใช่แค่ไก่อย่างเดียว แถมทานกับข้าวสวยเปล่าๆยังอร่อยอย่าบอกใคร” (ที่มา toptenthailand) และเพราะว่ากินคู่กับอาหารมาเป็นเวลานาน ทำให้คนส่วนใหญ่ติดในรสชาติที่จัดจ้าน ทั้งเปรี้ยว หวานและเผ็ดนิดๆ อีกทั้งยังกินกันมาตั้งแต่เด็ก ซึ่งพอไปรวมกับอาหารอื่นๆ เข้า ก็อาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมาได้เช่นกัน เพราะน้ำจิ้มไม่เพียงแต่หวานจากน้ำตาล ยังมีการตัดรสด้วยเกลือ ซึ่งก็คือโซเดียม ที่กำลังกลายเป็นปัญหาใหญ่ในปัจจุบัน เพื่อช่วยให้มองภาพรวมของน้ำจิ้มไก่ได้ว่า อาจมีปัญหาถ้าติดรสชาติของน้ำจิ้มมากเกินไป และจิ้มกินจนเพลิน เราลองมาดูฉลากของน้ำจิ้มไก่กันดีกว่า ซึ่งน่าสนใจว่า หลายยี่ห้อได้ทำฉลากโภชนาการไว้ด้วย   อย่ามองข้ามน้ำจิ้ม แค่สองช้อนโต๊ะ ก็หวานพุ่ง ค่าเฉลี่ยของโซเดียมในน้ำจิ้มไก่ ในหน่วยบริโภคขนาด 36 กรัมหรือราวๆ 2 ช้อนโต๊ะ คือ 460 มก. ส่วนน้ำตาลประมาณ 14.3 กรัม เรียกว่า แค่จิ้มนิดๆ ก็หวานจัดกันทีเดียว สำคัญอีกอย่างที่ต้องระวังคือ โซเดียม ซึ่งมีปริมาณไม่เบาเลย ดังนั้นแล้ว อย่าเห็นว่าหวานเลยจิ้มเพลินจนลืมโซเดียมที่แฝงอยู่ในน้ำจิ้มอันแสนอร่อย แม้น้ำจิ้มจะเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของอาหารที่หลายคนขาดไม่ได้ แต่ควรกินแต่เพียงพอดี อย่าเยอะนะคะ ด้วยความปรารถนาดีจากฉลาดซื้อ(มารคอหอยตัวสำคัญ)   ปริมาณโซเดียมในเครื่องปรุงและอาหารสำเร็จรูป   •        เกลือ 1 ช.ช                                             =โซเดียม 2,000 มก. •        น้ำปลาหรือซีอิ๊ว 1 ช. ช.                        =โซเดียม  400  มก. •        ซอสมะเขือเทศ  1 ช.ช                           = โซเดียม 55 มก. •        ซอสหอยนางรม 1ช.ช                            = โซเดียม140 – 160มก. •        น้ำจิ้มไก่ 1 ช.ช                                        = โซเดียม 67 - 76 มก. •        บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 60 กรัม                   = โซเดียม 1,500 มก. •        โจ๊กกึ่งสำเร็จรูป    42 กรัม                    = โซเดียม 1,000 มก. http://www.raktai.org/Home/KnowledgeContent.aspx?id=4         คำแนะนำสิบข้อที่เตือนให้เราทบทวน “นิสัยการกิน” 1. กรุณาชิมทุกครั้งก่อนที่จะเติมเครื่องปรุงลงไป โดยเฉพาะก๋วยเตี๋ยว2. กรุณากวาดเอาขวดน้ำปลา ซอส ซีอิ๊วและเกลือออกจากโต๊ะอาหารให้เกลี้ยงภายในวันนี้3. ลดการกินอาหารหมัก-ดอง, อาหารแปรรูปเช่นผัก, ผลไม้ดอง, ไส้กรอก, หมูยอ, แหนม, เบคอน4. ลด การกินบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป (เพราะมีโซเดียมในอาหารประเภทนี้มหาศาล ซึ่งอาจจะมาจากผงชูรส ดังนั้น สัปดาห์หนึ่งอย่ากินเกินสามซอง และเวลากินอย่าไปซดน้ำจนหมดเกลี้ยง เพราะถ้าซดจนหมด ก็จะได้ทั้งความเค็มจากเกลือ, น้ำปลาและผงชูรสไปเต็มๆ ) 5. ลดการกิน อาหารที่มีน้ำจิ้ม (เวลากินสุกียากี้หรือหมูกระทะ น้ำจิ้มมีเหลือล้น บางคนขอเพิ่มสองสามรอบด้วยซ้ำไป นั่นคือความเต็มอย่างยิ่งและมีโซเดียมสูงอย่างยิ่ง)6. ลดการกินอาหารที่ปรุงจากปลาเค็ม ไข่เค็ม เนื้อเค็ม ปลาร้า กะปิ เต้าหู้ยี้ (ไม่ควรกินบ่อย, ขอย้ำว่ากินได้แต่อย่าบ่อย)7. กินผลไม้สดโดยไม่ต้องจิ้มพริก, เกลือหรือน้ำตาล 8. ลดการกินอาหารจานด่วนตะวันตกและขนมกรุบกรอบ เพราะอาหารประเภทนี้ผงชูรสและโซเดียมมากเกินความจำเป็น9. ลดการใช้ผงชูรส (ไม่ถึงกับต้องงด หากกินปริมาณพอเหมาะก็ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย แต่หากกินมากก็จะเจอปัญหาโซเดียมสูง)10. อ่านฉลากก่อนซื้อ (ฉลากไหนที่บอกว่ามีโซเดียมไม่เกิน 200 มิลลิกรัม ก็ถือว่าใช้ได้)   //

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 144 น้ำตาลสังเคราะห์

  เมื่อน้ำตาลได้รับเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นผู้ร้ายที่ถูกส่งมาทำลายหุ่นอันผอมเพรียวและไม่เหมาะสำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน เลยต้องมีการคิดค้นและพัฒนาสารอะไรสักอย่างขึ้นมาเพื่อเป็นวัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาลที่เราคุ้นเคย สำหรับคนที่ อดหวาน ไม่ได้   ฉลาดซื้อฉบับนี้จึงขอพาคุณมารู้จักกับ “ความหวาน” แบบพลังงานต่ำหรือไม่ให้พลังงาน ซึ่งมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า วัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาล(Sweetener) ซึ่งเทรนด์ตลาดวัตถุให้ความหวานในเมืองไทย เมื่อปีที่ผ่านมามีมูลค่ารวมประมาณ 300-400 ล้านบาท และมีแนวโน้มเติบโตขึ้นเรื่อยๆ เมื่อดูจากปัจจุบันที่มีสินค้ากลุ่มนี้วางจำหน่ายอยู่หลายยี่ห้อและวางบนชั้นวางของห้างค้าปลีกทั่วไป     วัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาล จากการสำรวจตลาดพบว่า มีผลิตภัณฑ์ที่วางจำหน่ายอยู่ 6 กลุ่ม ได้แก่ 1.น้ำตาลฟรุคโตส(fructose) 2.กลุ่มที่ใช้แอสปาร์แทม 3.กลุ่มที่ใช้ซูคราโลส 4.กลุ่มที่ใช้สเตวิโอไซด์(หญ้าหวาน) 5.กลุ่มที่ใช้อะเซซัลเฟม-เค ร่วมกับแอสปาร์แทม 6.กลุ่มที่ใช้ซูโครสเป็นหลักร่วมกับสารให้ความหวานอื่นๆ   1.น้ำตาลฟรุคโตส(Fructose) เป็นน้ำตาลที่พบได้ในผลไม้และน้ำผึ้งตามธรรมชาติ ให้พลังงานเท่ากับน้ำตาลทรายคือ 4 กิโลแคลอรี่ต่อกรัม แต่น้ำตาลฟรุคโตสมีความหวานมากกว่าน้ำตาลทรายถึงเท่าตัว ดังนั้นจึงสามารถใช้ในปริมาณที่น้อยลงกว่าครึ่งเมื่อต้องการความหวานที่เท่ากัน    2.แอสปาร์แทม(Aspartame) แอสปาร์แทม เป็นผลึกสีขาว ไม่มีกลิ่น ให้ความหวานประมาณ 200 เท่าของน้ำตาลทราย แอสปาร์แทมให้พลังงานเท่ากับน้ำตาลทรายคือ 4 กิโลแคลอรี่ต่อกรัม แต่ใช้เพียงนิดก็หวานมากแล้ว ดังนั้นแอสปาร์แทมจึงให้แคลอรี่ที่น้อยกว่ามากเมื่อผสมลงในอาหาร ตัวอย่างเช่น น้ำอัดลมแคลอรี่ต่ำ ข้อเสียที่สำคัญของแอสปาร์แทมในเรื่องรสชาติคือ แอสปาร์แทมไวต่อความร้อน ดังนั้นเครื่องดื่มที่ผสมแอสปาร์แทมอาจมีรสชาติที่เปลี่ยนไปเมื่อสัมผัสกับความร้อน จึงไม่เหมาะจะนำไปใช้กับเครื่องดื่มหรืออาหารที่ต้องใช้ความร้อนในการปรุง คำเตือนอีกอย่างหนึ่งคือ ไม่เหมาะกับผู้ป่วยเฟนิลคีโตนูเรีย   เพราะว่าใช้แอสปาร์แทมเพียงจำนวนน้อยก็หวานมากแล้ว ดังนั้นผู้ผลิตจึงต้องเติมสารเพิ่มปริมาณ คือ แลคโตส ที่มีความหวานเพียง 0.2 เท่าของน้ำตาลในเปอร์เซ็นต์ที่สูงกว่า แต่ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่ อให้เป็นตัวหลักแค่ต้องการเพิ่มปริมาณบรรจุเท่านั้น แลคโตสนี้อาจมีปัญหาทำให้ท้องอืดได้สำหรับคนที่ไม่มีเอนไซม์ที่ใช้ย่อยแลคโตส   3.ซูคราโลส(Sucralose) ซูคราโลสนี้หวานกว่าน้ำตาลทรายถึง 600 เท่า ข้อดีของซูคราโลสคือ รสชาติ ที่ใกล้เคียงน้ำตาล ไม่มีรสขม และทนต่อความร้อน จึงมีการนำไปใช้ในอาหารหลากหลายชนิด เช่นเดียวกับแอสปาร์แทม เนื่องจากซูคราโลสมีความหวานมากกว่าน้ำตาลทรายถึง 600 เท่า การนำมาใช้จึงอยู่ในปริมาณที่น้อยมากๆ ดังนั้นเพื่อให้มีน้ำหนักเพิ่มจึงผสมกับน้ำตาลกลุ่มน้ำตาลแอลกอฮอล์ ได้แก่ มอลทิทอลและเออริทริทอล ซึ่งสองตัวนี้มีความหวานน้อยกว่าน้ำตาลทรายและให้พลังงานไม่มาก แต่ถ้ารับประทานมากไปอาจกระทบกับระบบทางเดินอาหารทำให้ท้องเสียได้   4.สเตวิโอไซด์(หญ้าหวาน) หญ้าหวาน หรือ ต้นสตีเวีย(Stevia rebaudiana Bertoni) เป็นพืชพันธุ์ตามธรรมชาติ โดยสารที่สกัดออกมาคือ สเตวิโอไซด์ หวานมากกว่าน้ำตาลทราย 300 เท่า ไม่ให้พลังงาน มีความคงตัวที่อุณหภูมิสูง สเตวิโอไซด์ ยังไม่ได้รับการยอมรับจากองค์การอาหารและยาของอเมริกาให้ใช้เป็นสารให้ความหวานแต่อนุญาตให้ใช้ผงแห้งและสารสกัดจากใบในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร   5.ใช้อะเซซัลเฟม-เค ร่วมกับแอสปาร์แทม อะเซซัลเฟม-เค (Acesulfame-K) เป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาลที่หวานกว่าน้ำตาลทรายประมาณ 200 เท่า ข้อดีคือให้รสหวานที่รับรู้รสได้เร็วแต่บางครั้งก็จะมีรสขมเมื่อใช้ในปริมาณสูง ไม่ให้พลังงานและทนความร้อนได้ดี ผู้ผลิตนิยมใช้อะเซซัลเฟม-เคร่วมกับแอสปาร์แทม เพื่อลดจุดด้อยของกันและกัน และเลี่ยงการเกิดรสขมเมื่อใช้ในปริมาณสูง     6.ใช้น้ำตาลทราย(Sucrose) ร่วมกับสารให้ความหวานอื่นๆ กลุ่มนี้เป็นวัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาลที่มีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมแคลอรีมากกว่าใช้ในผู้ป่วยเบาหวาน เพราะส่วนประกอบหลักยังคงเป็นน้ำตาลทรายมากกว่า 90% แต่เพิ่มสารให้ความหวานเข้าไปเพื่อลดปริมาณการใช้ลงมา ดังนั้นรสชาติจะเหมือนน้ำตาลปกติและแต่ค่าพลังงานจะต่ำลงมาเพราะปริมาณการใช้ที่น้อยลง     ---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- น้ำตาลเป็นอาหารคาร์โบไฮเดรตชนิดหนึ่ง เป็นหน่วยย่อยที่เล็กที่สุดของคาร์โบไฮเดรต ชื่อของน้ำตาลมักจะใช้คำลงท้ายว่า “โอส” (“ose”) อาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตเป็นอาหารที่เราทราบกันดีว่าได้แก่อาหารจำพวกแป้งและน้ำตาล คาร์โบไฮเดรตมีรากศัพท์มาจากคำว่า “คาร์บอน”รวมกับ”ไฮเดรท” แปลว่าเป็นสารประกอบที่มีโครงสร้างที่มีน้ำจับอยู่กับทุกๆ อะตอมของคาร์บอน   ---------------------------------------------------------------------------------------------------- วัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาลแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม วัตถุให้ความหวานที่ให้พลังงาน ได้แก่ ฟรุคโตส(น้ำตาลจากผลไม้) มอลทิทอล เออริทริทอลและไซลิทอล สารให้ความหวานกลุ่มนี้ ไม่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักและผู้ป่วยโรคเบาหวาน วัตถุให้ความหวานที่ไม่ให้พลังงานหรือให้พลังงานต่ำ ได้แก่ ซูคราโลส หญ้าหวาน แอสปาร์แทม อะเซซัลเฟม-เค สารให้ความหวานกลุ่มนี้ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักและผู้ป่วยโรคเบาหวาน ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------   ข้อมูล 1.เป็นเบาหวาน เลือกอะไรใส่กาแฟแทนน้ำตาล. รศ.วิมล ศรีสุข คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/thai/knowledgeinfo.php?id=100 2.สารให้ความหวานแทนน้ำตาล ศูนย์วิทยาศาสตร์บริการ http://elib.fda.moph.go.th/library/default.asp?page2=subdetail&id_L1=27&id_L2=15566&id_L3=565

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 130 เปรียบเทียบความหวานสารพัดของทา (น) กับขนมปัง

  ขนมปังอาจจะไม่ใช่อาหารหลักของคนไทย แต่ขนมปังก็เป็นของโปรดของใครหลายๆ คน จะรับประทานเป็นขนมเป็นของว่าง หรือจะรับประทานเอาอิ่มเป็นมื้อหลัก แบบที่หลายๆ คนนิยมเป็นอาหารเช้า ไม่ว่าจะแบบไหนก็อร่อยได้เหมือนกัน แค่ขนมปังธรรมดาๆ ก็ว่าอร่อยแล้ว ยิ่งถ้าทาแยมหรือเนยด้วยก็ยิ่งช่วยเพิ่มรสชาติขึ้นไปอีก แต่ก็อย่าอร่อยจนลืมตัว หรือหลงคิดว่าขนมปังทาแยม ขนมปังทาเนยจะแค่เป็นอาหารเบาๆ แทนข้าวแล้วจะไม่อ้วน เพราะในความอร่อยของ แยม เนยถั่ว หรือผลิตภัณฑ์ทาขนมปังชนิดอื่นๆ ล้วนมีตัวแปรสำคัญของความอร่อยอยู่ที่ความหวานของน้ำตาล เรามารู้ทันความหวานจากน้ำตาลกับผลสำรวจปริมาณน้ำตาลในผลิตภัณฑ์ทาขนมปังกันดีกว่า การทดสอบครั้งนี้ฉลาดซื้อสำรวจเปรียบเทียบปริมาณน้ำตาลในผลิตภัณฑ์ที่นิยมนำมารับประทานคู่กับขนมปัง ไม่ว่าจะเป็น แยม เนยถั่ว มาร์การีน รวมทั้งที่เป็นสไตล์ไทยๆ อย่าง สังขยา และ น้ำพริกเผา   ฉลาดซื้อใช้วิธีง่ายๆ ด้วยการวิเคราะห์จากข้อมูลที่อยู่บนฉลากของแต่ละผลิตภัณฑ์ โดยดูตัวเลขปริมาณน้ำตาลที่แจ้งไว้ในข้อมูลส่วนประกอบ ซึ่งทุกตัวอย่างที่นำมาทดสอบครั้งนี้จะแจ้งปริมาณน้ำตาลเอาไว้เป็น % เราจึงต้องปรับตัวเลขให้มีหน่วยเป็นกรัม แล้วเปรียบเทียบที่ปริมาณต่อ 1 ช้อนโต๊ะ (16 กรัม) เพราะการนำมาคิดเป็นน้ำหนักต่อช้อนโต๊ะน่าจะทำให้ข้อมูลที่ได้ เป็นข้อมูลที่ใกล้เคียงกับปริมาณที่เรารับประทานจริงในแต่ละครั้งมากที่สุด สำหรับการสำรวจในครั้งนี้ -ปริมาณ 16 กรัม ต่อ 1 ช้อนโต๊ะเป็นข้อมูลที่นำมาจากข้อมูลในฉลากโภชนาการ หรือ “Thai RDI” ของผลิตภัณฑ์ สุรีย์ น้ำพริกเผาเสวย ซึ่งเป็น 1 ใน 2 ตัวอย่าง ที่มีการแจ้งข้อมูลโภชนาการ อีก 1 ตัวอย่างคือ สตรีมไลน์ รีดิวซ์ ชูการ์ มาร์มาเลดส้มสูตรลดปริมาณน้ำตาล   ตารางแสดงผลสำรวจปริมาณน้ำตาลในผลิตภัณฑ์ทาขนมปังชนิดต่างๆ   ผลทดสอบ 1. แยม เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ทาหรือทานคู่กับขนมปังที่มีปริมาณน้ำตาลมากที่สุด ตัวอย่างที่มีน้ำตาลมากที่สุดตามข้อมูลที่แจ้งไว้ในส่วนประกอบก็คือ เบสท์ ฟู้ดส์ มาร์มาเลดส้ม ที่มีน้ำตาลอยู่ประมาณ 8.9 กรัม ต่อปริมาณแยม 1 ช้อนโต๊ะ มากกว่า 1 ใน 3 ของปริมาณน้ำตาลที่คนไทยควรบริโภคใน 1 วัน คือไม่เกิน 24 กรัม ถ้าเทียบจากเกณฑ์ที่ฉลาดซื้อใช้ แต่จริงๆ แล้ว วิธีการรับประทานของแต่ละคนก็คงจะแตกต่างกันไป บางคนอาจจะชอบทาแยมมากๆ เวลาทาบนขนมปังก็อาจทามากกว่า 1 ช้อนโต๊ะ หรือรับประทานต่อครั้งก็อาจกินขนมปังมากกว่า 1 แผ่น ปริมาณน้ำตาลก็จะมากน้อยแตกต่างกันไปตามพฤติกรรมการบริโภค เพราะฉะนั้นก็ต้องคำนวณกันให้ดีว่าจะเลือกกินแบบไหนเพื่อให้ได้น้ำตาลในปริมาณที่พอดีกับความต้องการของร่างกาย ไม่มากเกินไป ส่วนตัวอย่างแยมยี่ห้ออื่นๆ ก็มีปริมาณน้ำตาลใกล้เคียงกัน เฉลี่ยอยู่ที่ 5 – 8 กรัม ต่อแยม 1 ช้อนโต๊ะ แยมที่เราสำรวจทั้งหมดเป็นแยมผิวส้ม หรือที่เรียกว่า มาร์มาเลด (marmalade) 2. เนยถั่ว เหมือนจะดูไม่น่าจะหวานมาก แต่ก็พบน้ำตาลในปริมาณที่สูงเช่นกัน ตัวอย่างที่พบมากที่สุดคือ นัทเกา โกโก้และเฮเซลนัทครีม พบปริมาณน้ำตาลประมาณ 8.16 กรัม ต่อปริมาณตัวอย่าง 1 ช้อนโต๊ะ หรือ 1 ใน 3 ของปริมาณน้ำตาลที่คนไทยควรรับประทานใน 1 วัน ข้อสังเกตที่น่าสนใจ เนยถั่วบางผลิตภัณฑ์น้ำตาลไม่มาก หรือไม่มีเลยบนฉลาก แต่ความจริงไม่ใช่ เพราะเนยถั่วนิยมใช้สารให้ความหวานชนิดอื่นแทนน้ำตาล ซึ่งที่เราพบจากการสำรวจก็คือ  คอร์นไซรัป เป็นสารให้ความหวานที่ทำมาจากแป้งข้าวโพด ว่ากันว่าให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลทราย แถมร่างกายดูดซึมเอาไปใช้ได้ง่ายกว่าน้ำตาลทราย แต่ในบ้านเราไม่นิยมใช้เพราะราคาแพงกว่าน้ำตาลทรายที่ทำจากอ้อยค่อนข้างมากความนิยมต่อเนยถั่วในบ้านเรายังมีค่อนข้างน้อย จึงทำให้ผลิตภัณฑ์ทั้งหมดที่เราสำรวจล้วนแล้วแต่เป็นผลิตภัณฑ์นำเข้า ซึ่งส่งผลให้แต่ละตัวอย่างมีราคาที่ค่อนข้างสูง 3. สังขยา เราสำรวจพบ 1 ยี่ห้อ  2 รสชาติ คือ เอ็มไพร์ สังขยา กลิ่นใบเตย กับ กลิ่นวานิลลา ซึ่งปริมาณน้ำตาลของทั้ง 2 รสมีเท่ากัน คือ 6.89 กรัม ต่อปริมาณตัวอย่าง 1 ช้อนโต๊ะ หรือ 1 ใน 4 ของปริมาณน้ำตาลที่ควรรับประทานใน 1 วัน   ไม่ว่าคุณจะทาขนมปังด้วยหน้าอะไร ก็อย่าลืมความจริงข้อหนึ่งว่า ขนมปัง ก็มีความหวานเช่นกัน  ยกตัวอย่าง จากข้อมูลโภชนาการของผลิตภัณฑ์ขนมปังยี่ห้อฟาร์มเฮ้าส์ ทั้งแบบธรรมดาและแบบโฮลวีต บอกไว้ว่ามีปริมาณน้ำตาลอยู่ที่ 3 กรัม ต่อขนมปัง 2 แผ่น (50กรัม) ลองนำไปเป็นข้อมูลไว้ใช้คำนวณกันดูเวลาจะทานขนมปังทาหน้าต่างๆ จะได้หวานกันแต่พอดี   สารกันบูด ยังพบในหลายผลิตภัณฑ์สิ่งที่ต้องระวังอีกอย่างหนึ่งในการรับประทานขนมปังทาหน้าต่างๆ ก็คือ สารกันบูด  เพราะถ้าลองดูจากผลสำรวจจะเห็นว่ามีหลายตัวอย่างที่มีการใช้สารกันบูด แถมก่อนหน้านี้ก็เพิ่งมีข่าวว่าศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์และสำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สุ่มเก็บตัวอย่างขนมปังหลากหลายชนิดจำนวน 800 กว่าตัวอย่าง ผลที่ออกมาพบว่ามีมากกว่า 600 ตัวอย่างที่พบสารกันบูด เนย กับ มาร์การีน แตกต่างกันอย่างไร เพราะรูปร่างหน้าตาก็เหมือนกัน วิธีนำไปรับประทานก็ไม่ได้แตกต่างกัน ถ้าจะให้อธิบายให้ง่ายที่สุดก็คือ เนยคือผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการแตกตัวของไขมันในนม ขณะที่มาร์การีนก็คือ เนยเทียม ที่ใช้ไขมันจากพืชแทน เนื่องจากเนยจะมีไขมันอิ่มตัว ซึ่งเป็นตัวการทำให้เกิดโคเลสเตอรอลสูง มาร์การีนหรือเนยเทียม จึงถูกผลิตขึ้นมาเพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือก แต่ขณะเดียวกันตัวมาร์การีนเองก็มีความเสี่ยงของไขมันทรานส์ ซึ่งเป็นสาเหตุของหลอดเลือดหัวใจอุดตัน เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะเนยแท้หรือเนยเทียมก็ต้องเลือกอย่างระมัดระวัง นึกถึงสุขภาพของตัวเองมาเป็นอันดับแรก

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 119 โด…นัทกันมาหวาน

  ฉบับนี้ขอเกาะกระแส “คริสปี้ครีม ฟีเวอร์” โดนัทยี่ห้อดังจากอเมริกา ที่มาสร้างปรากฏการณ์ มีคนไปต่อแถวรอซื้อยาวเป็นกิโลฯ ทนร้อน ทนเมื่อยตั้งเกือบ 3 ชั่วโมง เพื่อรอซื้อโดนัท (!?) ยังไงก็อย่ามั่วเพลิดเพลินกับรสชาติจนลืมห่วงใยสุขภาพเพราะโดนัทชิ้นหนึ่ง(40 กรัม) ให้พลังงานสูงถึง 168 กิโลแคลอรี อุดมด้วยไขมันและน้ำตาลแบบนี้ถ้ารับประทานมากไปหวาน มันเข้าเลือดแน่ๆ   ฉลาดซื้อส่งทีมงานไปเข้าแถวรอซื้อ คริสปี้ครีม 3 ชั่วโมงและตระเวนซื้อโดนัท จากร้านแฟรนไชส์อื่นอีกหลายร้าน รวม 5 ยี่ห้อ แล้วก็รีบนำส่งสถาบันโภชนาการ ม.มหิดล เพื่อเช็คค่าพลังงานและความหวาน รวมทั้งแอบดูเรื่อง สารกันบูดด้วย เผื่อเอาไว้เป็นคู่มือให้กับคนที่ชอบรับประทานโดนัทแต่ก็ยังห่วงใยสุขภาพ   ฉลาดซื้อทดสอบ โดนัทที่นำมาทดสอบทั้งหมด 9 ตัวอย่าง ประกอบด้วย ดังกิ้นโดนัท รสคลาสสิค เกรซ (โดนัทเคลือบน้ำตาล) และรสดับเบิ้ลช็อค (เนื้อแป้งช็อคโกแลตเคลือบช็อคโกแลต), มิสเตอร์โดนัทรสฮันนี่ดิป (โดนัทเคลือบน้ำตาล) และรสดับเบิ้ลช็อค, คริสปี้ ครีมรสดั้งเดิม (เคลือบน้ำตาล), แดดดี้ โด รสคลาสสิค เกรซ และรสดับเบิ้ลช็อค, และบัพเพิล รสแคลิฟอร์เนียอัลมอนด์ (เคลือบช็อคโกแลตขาวโรยหน้าด้วยอัลมอนด์) และรสช็อคโคโฮลิค (เนื้อแป้งโดนัทใส่ใส้ครีมช็อคโกแลต) มาดูผลทอดสอบกัน1.ค่าพลังงาน ปริมาณพลังงานที่แนะนำให้บริโภคต่อวันสำหรับคนไทยอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไปคือวันละ 2,000 กิโลแคลอรี ฉลาดซื้อขอทดสอบเพื่อดูกันว่าโดนัทรสใดของค่ายใดที่ให้พลังงานสูง-ต่ำ แค่ไหนกันบ้าง ผลการทดสอบในภาพรวมพบว่า   ค่าพลังงานเฉลี่ยของโดนัททุกค่ายอยู่ที่ 420.7 กิโลแคลอรี/100 กรัม ซึ่งเท่ากับ ร้อยละ 21 ของพลังงานที่ควรได้รับต่อวัน   และหากพิจารณาที่หนึ่งหน่วยบริโภคโดยเฉลี่ย 1 ชิ้น = 40 กรัม ค่าพลังงานที่ได้รับจะเท่ากับ 168.3 กิโลแคลอรี่/40 กรัมคิดเป็นร้อยละ 8 ของค่าพลังงานที่ต้องการต่อวัน ซึ่งตัวอย่างที่มีค่าพลังงานต่อชิ้นมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ 1. ดังกิ้นโดนัท รสดับเบิ้ลช็อค (1 ชิ้น หนักประมาณ 60 กรัม) ให้พลังงานอยู่ที่ 247.8 กิโลแคลอรี 2. มิสเตอร์โดนัท รสดับเบิ้ลช็อค (1 ชิ้น หนักประมาณ 50 กรัม) ให้พลังงาน 226.5 กิโลแคลอรี 3. บัพเพิล โดนัท รสช็อคโกโฮลิค (1 ชิ้น หนักประมาณ 50 กรัม) ให้พลังงาน 208 กิโลแคลอรี รู้ผลโดนัทที่มีพลังงานมากไปแล้ว มาดูโดนัทที่ให้พลังงานน้อยกันบ้าง ตัวอย่างโดนัทที่ให้พลังงานต่อชิ้นน้อยที่สุดในตัวอย่างที่เราสุ่มทดสอบครั้งนี้ คือ 1. มิสเตอร์โดนัท รสฮันนี่ดิป (1 ชิ้น หนักประมาณ 30 กรัม) ให้พลังงาน 121.5 กิโลแคลอรี 2. แดดดี้โด รสคลาสสิคเกรซ (1 ชิ้น หนักประมาณ 30 กรัม) ให้พลังงาน 135.3 กิโลแคลอรี 3. คริสปี้ครีม รสออริจินอล (1 ชิ้น หนักประมาณ 40 กรัม) ให้พลังงาน 138.8 กิโลแคลอรี   2.ปริมาณไขมัน ไขมันทำหน้าที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย เป็นแหล่งกรดไขมันที่จำเป็นและเป็นตัวช่วยการดูดซึมของวิตามินที่ละลายในไขมันคือ วิตามินเอ ดี อี และเค ส่วนที่ไม่ดีของไขมันคือถ้าร่างกายได้รับไขมันอิ่มตัวและโคเลสเตอรอลสูงจะเป็นสาเหตุของภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง ซึ่งนำไปสู่โรคหลอดเลือดหัวใจ ข้อมูลทางโภชนาการจากกองโภชนาการ กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า ใน 1 วันไม่ควรได้รับไขมันเกิน 65 กรัม  สำหรับผลการทดสอบไขมันรวม (Total Fat) ในโดนัททั้ง 9 ตัวอย่างพบว่าปริมาณไขมันเฉลี่ยที่หน่วยบริโภค 100 กรัมเท่ากับ 23.4 กรัม คิดเป็นร้อยละ 36 และเมื่อคิดเฉลี่ยต่อหนึ่งหน่วยบริโภคที่ 40 กรัม พบว่ามีปริมาณเท่ากับ 9.8 กรัม/ชิ้น คิดเป็นร้อยละ 15 สำหรับ ปริมาณไขมันสูงสุดต่อ 1 ชิ้น 3 อันดับแรก ได้แก่ 1. มิสเตอร์โดนัท รสดับเบิ้ลช็อค (1 ชิ้น หนักประมาณ 50 กรัม) มีปริมาณไขมัน 13.3 กรัม 2. ดังกิ้นโดนัท รสดับเบิ้ลช็อค (1 ชิ้น หนักประมาณ 60 กรัม) มีปริมาณไขมัน 11.88 กรัม 3. บัพเพิล โดนัท รสแคลิฟอร์เนียอัลมอนด์ (1 ชิ้น หนักประมาณ 50 กรัม) มีปริมาณไขมัน 11.84 กรัม   ส่วน 3 อันดับ ที่มีปริมาณไขมันรวมต่ำสุด ได้แก่ 1. มิสเตอร์โดนัท รสฮันนี่ดิป (1 ชิ้น หนักประมาณ 30 กรัม) มีปริมาณไขมัน 6.2 กรัม2. ดังกิ้นโดนัท รสคลาสสิคเกรซ (1 ชิ้น หนักประมาณ 40 กรัม) มีปริมาณไขมัน 6.7 กรัม3. แดดดี้โด รสคลาสสิคเกรซ (1 ชิ้น หนักประมาณ 30 กรัม) มีปริมาณไขมัน 8.0 กรัม 3.ปริมาณไขมันทรานส์ การบริโภคอาหารที่มีกรดไขมันทรานส์มากเกินไป อาจก่อให้เกิดสภาวะที่ผิดปกติกับร่างกาย เช่น น้ำหนักและไขมันส่วนเกินเพิ่มมากขึ้น มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดหัวใจตีบโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด รวมทั้งเป็นอันตรายต่อตับด้วย   มีข่าวดีจากการทดสอบไขมันทรานส์ เพราะไม่มีตัวอย่างใดที่มีปริมาณไขมันทรานส์สูงเกินว่า 0.5 กรัมต่อหน่วยบริโภค(1 ชิ้น) ซึ่งเป็นมาตรฐานที่องค์การอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริกากำหนดไว้ โดยค่าเฉลี่ยของไขมันทรานส์ที่พบต่อชิ้นอยู่ที่ 0.045 กรัม นอกจากนั้นเกินกว่าครึ่งของตัวอย่างทั้งหมดได้แก่ยี่ห้อคริสปี้ครีม แดดดี้โด และบัพเพิล ยังตรวจไม่พบไขมันทรานส์เลยอีกด้วย 4.ปริมาณน้ำตาล น้ำตาล 1 กรัมให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรี ข้อแนะนำในการรับประทานน้ำตาล คือ จำกัดไว้ที่ 5-10% ของพลังงานที่ได้รับทั้งหมดในหนึ่งวัน ซึ่งตามหลักโภชนาการแนะนำให้กินน้ำตาลในปริมาณน้อยเช่นเดียวกับไขมันและเกลือ สำหรับคนไทยกองโภชนาการแนะนำว่าไม่ควรกินน้ำตาลเกิน 6 ช้อนชาต่อวัน (ราว ๆ 24 กรัม)  ผลการทดสอบน้ำตาลในโดนัทพบว่าระดับน้ำตาลเฉลี่ยจากทั้ง 9 ตัวอย่างเท่ากับ 12.6 กรัม/ 100 กรัม คิดเป็นร้อยละ  52.5 และเท่ากับ 5.5 กรัม/หนึ่งชิ้น (40 กรัม) คิดเป็นร้อยละ 23 ของปริมาณสูงสุดที่ควรบริโภคต่อวัน โดยมีปริมาณน้ำตาลในโดนัทต่อชิ้นสูงสุด 3 อันดับแรกดังนี้   1. ดังกิ้นโดนัท รสดับเบิ้ลช็อค (1 ชิ้น หนักประมาณ 60 กรัม) มีปริมาณน้ำตาล 13.9 กรัม2. มิสเตอร์โดนัท รสดับเบิ้ลช็อค (1 ชิ้น หนักประมาณ 50 กรัม) มีปริมาณน้ำตาล 6.5 กรัม3. แดดดี้โด รสดับเบิ้ลช็อค (1 ชิ้น หนักประมาณ 40 กรัม) มีปริมารน้ำตาล 5.5 กรัม สำหรับปริมาณน้ำตาลต่ำสุด 3 อันดับแรก ได้แก่1. แดดดี้โด รสคลาสสิคเกรซ (1 ชิ้น หนักประมาณ 30 กรัม) มีปริมาณน้ำตาล 3.0 กรัม2. บัพเพิล โดนัท รสแคลิฟอร์เนียอัลมอนด์ (1 ชิ้น หนักประมาณ 40 กรัม) มีปริมาณน้ำตาล 3.4 กรัม3. มิสเตอร์โดนัท รสฮันนี่ดิป (1 ชิ้น หนักประมาณ 30 กรัม) มีปริมาณน้ำตาล 3.5 กรัม   5.สารกันบูดสารกันบูดหรือวัตถุกันเสียทั้ง กรดเบนโซอิค และกรดซอร์บิค ถ้าได้รับในปริมาณไม่มากร่างกายสามารถขับออกเอง แต่หากได้รับในปริมารมากเกินไปก็จะเป็นอันตราย ตั้งแต่ท้องเสีย โรคกระเพาะ ทำร้ายตับและไต และอาจรุนแรงถึงขั้นเป็นอัมพาต  จากการทดสอบถึงแม้จะพบสารกันบูดชนิดกรดเบนโซอิคในโดนัทกว่า 5 ตัวอย่างจาก 9 ตัวอย่างที่ทดสอบแต่ปริมาณที่พบอยู่ในเกณฑ์ที่น้อยมากจนไม่ก่อให้เกิดอันตราย ส่วนสารกันบูดชนิดกรดซอร์บิคนั้นพบเพียงแค่ตัวอย่างเดียวและตัวอย่างที่พบก็มีปริมาณที่ตรวจพบน้อยมากจนถึงน้อยที่สุด ดังนั้นจึงเป็นอีกหนึ่งข่าวดีของคอโดนัทที่อย่างน้อยก็ไม่ต้องกังวลเรื่องสารกันบูด   สรุปจากผลการทดสอบ โดนัทหนึ่งชิ้นที่น้ำหนักประมาณ 40 กรัม จะให้พลังงาน 168.3 กิโลแคลอรี่ คิดเป็นร้อยละ 8 ของความต้องการพลังงานต่อวัน ไขมัน 9.8 กรัม คิดเป็นร้อยละ 15 ของความต้องการไขมันต่อวัน และน้ำตาล 5.5 กรัม คิดเป็นร้อยละ 23 ของปริมาณน้ำตาลที่แนะนำให้บริโภคได้สูงสุดต่อวัน   ฉลาดซื้อแนะนำนักโภชนาการจัดให้โดนัทอยู่ในกลุ่มอาหารที่ให้พลังงานสูง หากรับประทานมากเกินไป จะทำให้อ้วนและเสี่ยงต่อการมีไขมันในเส้นเลือดสูง รวมถึงโรคอื่นๆ ที่จะตามมาเช่น โรคหัวใจ เบาหวาน เพราะส่วนประกอบหลักในโดนัทคือ คาร์โบไฮเดรตและไขมันจาก แป้ง นม เนย และน้ำตาล นอกจากนี้ยังมีไขมันจากน้ำมันที่ใช้ทอดโดนัทอีกต่างหาก ดังนั้นจึงควรอร่อยกันในปริมาณน้อย และนานๆ ครั้ง อย่ารับประทานทุกวัน -----------------------------------------------------------------------------------------------------   กาลครั้งหนึ่ง...โดนัท ว่ากันว่า โดนัท เป็นสูตรขนมหวานดั้งเดิมของชาวดัตช์ ซึ่งมีลักษณะเป็นขนมปังที่ทอดในน้ำมันมีชื่อเรียกว่า Olykoek  (เป็นภาษาดัตช์ที่ตรงกับภาษาอังกฤษว่า oil cake หรือ เค้กที่ทอดในน้ำมันหรือไขมัน) ช่วงปี ค.ศ. 1800 ชาวอเมริกันก็ได้รู้จักโดนัทจากชาวดัตช์ที่อพยพเข้ามา แม้ในช่วงแรกจะมีรูปร่างเป็นแค่ขนมปังก้อนธรรมดา   บ้างก็ว่าเป็นแป้งที่มีลักษณะเป็นเกลียวๆ เพราะเกิดจากการบิดฉีกแป้งโดลงไปทอด ซึ่งก็เป็นที่มาของคำว่าโดนัท ที่เพี้ยนมาจากคำว่า ว่า“โดน็อต” (dough knots) จากลักษณะแป้งที่เป็นเกลียวๆ คล้ายน็อตนี่แหละ บางแหล่งข้อมูลก็บอกว่าคำว่าโดนัทมาจากคำง่ายๆ อย่าง “dough nuts” ซึ่งหมายถึงแป้งโดที่มีการเติมถั่วลงไปนั่นเอง จนในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ร้านโดนัทแบบแฟรนไชส์ก็เกิดขึ้น โดยมีการใช้เครื่องจักรมาช่วยในการผลิตโดนัท เพื่อรองรับความต้องการที่มีมากขึ้น   ทำไมโดนัทต้องมีรู แฮนสัน เกรกอรี (Hansen Gregory) ได้รับการบันทึกว่าเป็นคนแรกของโลกที่ทำให้โดนัทมีรูตรงกลาง เรื่องเกิดขึ้นในปี1847 เมื่อเขาใช้กระปุกพริกไทยมากดแป้งโดนัทให้เป็นรูตรงกลางก่อนจะนำไปทอด เพื่อจะแก้ปัญหาแป้งตรงกลางไม่สุก และขยายพื้นที่แป้งเพื่อเวลาทอดจะได้ไม่อมน้ำมัน ซึ่งใครที่ได้กินโดนัทมีรูของ แฮนสัน เกรกอรี ต่างก็ชื่นชอบชื่นชมเป็นเสียงเดียวกัน จนในที่สุดโดนัทมีรูก็เป็นที่นิยมและยอมรับไปทั่วอเมริกา  คริสปี้ครีม ไม่ได้ฮิต ทุกที่กระแสการต่อแถวยาวเป็นกิโลฯ เพื่อรอซื้อโดนัท “คริสปี้ครีม” ไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในบ้านเราเท่านั้น แต่หลายๆ ประเทศที่เจ้าโดนัทสัญชาติอเมริกันที่มีอายุร่วม 70 ปีร้านนี้ไปเปิด ก็เกิดกระแสเข้าแถวรอเหมือนบ้านเรา เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี แต่ก็มีอีกหลายประเทศที่คริสปี้ครีมไม่ได้รับความนิยม ทั้งใน ฮ่องกง ออสเตรเลีย หรือแม้แต่ในอเมริกาบ้านเกิด สาเหตุมาจากการขยายสาขาที่เร็วและมากเกินไป รวมทั้งการที่คนเริ่มหันมาห่วงใยเรื่องสุขภาพกันมากขึ้น โดนัทจึงถูกเมินจากคนรักสุขภาพทำให้ร้านคริสปี้ครีมจึงต้องปิดตัวลงไปหลายสาขาในเวลาไม่กี่ปี     ตารางแสดงผลทดสอบคุณค่าทางโภชนาการในโดนัท ชื่อตัวอย่าง ราคา / ชิ้น (บาท) น้ำหนัก / 1 ชิ้น (โดยประมาณ) ผลทดสอบ / 100 กรัม ผลทดสอบเทียบ / 1 ชิ้น พลังงาน (กิโลแคลอรี) ไขมัน (กรัม) ไขมันทรานส์ (กรัม) น้ำตาล(กรัม) เบนโซอิค(มิลลิกรัม/กิโลกรัม) ซอร์บิค(มิลลิกรัม/กิโลกรัม) พลังงาน (กิโลแคลอรี) ไขมัน (กรัม) ไขมันทรานส์ (กรัม) น้ำตาล(กรัม) เบนโซอิค(มิลลิกรัม/กิโลกรัม) ซอร์บิค(มิลลิกรัม/กิโลกรัม) ดังกิ้น โดนัท คลาสสิค เกรซ 22 40 ก. 369 16.8 0.07 11.9 ไม่พบ ไม่พบ 147.6 6.7 0.03 4.7 ไม่พบ ไม่พบ ดังกิ้น โดนัท ดับเบิลช็อค 22 60 ก. 413 19.8 0.11 23.6 4.12 5.88 247.8 11.88 0.06 13.9 2.4 3.4 มิสเตอร์ โดนัท ฮันนี่ ดิป 10 30 ก. 405 20.7 0.09 11.6 36.24 ไม่พบ 121.5 6.2 0.03 3.5 10.9 ไม่พบ มิสเตอร์ โดนัท ดับเบิลช็อค 12 50 ก. 453 26.6 0.12 13.0 ไม่พบ ไม่พบ 226.5 13.3 0.06 6.5 ไม่พบ ไม่พบ ครีสปี้ ครีม ออริจินัล 27 40 ก. 347 21.0 0 12.4 ไม่พบ ไม่พบ 138.8 8.4 0 4.9 ไม่พบ ไม่พบ แดดดี้ โด คลาสสิค เกรซ 22 30 ก. 451 26.4 0 9.8 6.54 ไม่พบ 135.3 8.0 0 3.0 2.0 ไม่พบ แดดดี้ โด ดับเบิลช็อค 22 40 ก. 460 26.1 0 13.7 ไม่พบ ไม่พบ 184 10.44 0 5.5 ไม่พบ ไม่พบ บัพเพิล โดนัท แคลิฟอร์เนีย อัลม่อน 26 40 ก. 473 29.6 0 8.4 5.02 ไม่พบ 189.2 11.84 0 3.4 2.0 ไม่พบ บัพเพิล โดนัท ช็อคโคโฮลิค 26 50 ก. 416 23.5 0 9.0 13.70 ไม่พบ 208 11.75 0 4.5 6.8 ไม่พบ รายงานผลเฉพาะที่ส่งตรวจเท่านั้นทดสอบโดย : สถาบันโภชนาการ มหาลัยมหิดล   เปรียบเทียบพลังงานของโดนัทที่ทดสอบกับอาหารชนิดต่าง ๆ ขนิดของอาหาร พลังงาน (กิโลแคลอรี/ 100 กรัม) ไขมัน (กรัม) กลุ่มของหวาน เค้กปอนด์ โดนัท ฟรุ้ตเค้ก คุกกี้เนย บราวนี่ ไอศกรีมวานิลา 2 ก้อน ฝอยทอง ทองหยอด ขนมชั้น ลูกชุบ วุ้นกะทิ   473 420 380 458 485 280 423 337 273 268 133   29.5 23.4 15.3 17.0 31.5 ไม่มีข้อมูล 25.8 16.4 8.2 8.2 5.4

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 43 Heavy boy น้ำหวานตกมาตรฐาน

ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ อุบลราชานี ตรวจพบน้ำหวานเข้มข้นตรา Heavy boy กลิ่นสละ อาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค เนื่องจากมีสีสังเคราะห์ผสมอยู่เกินมาตรฐานกำหนด อากาศร้อนอบอ้าวอย่างที่เราเจอกันอยู่นี้ ถ้าได้เครื่องดื่มเย็น ๆ สักแก้วสองแก้วก็ช่วยคลายร้อนได้เยอะ แต่ในยุคเศรษฐกิจฝืดเคืองเงินทองทุกบาทก็ย่อมมีค่า น้ำอัดลมก็กลายเป็นของแพงไปเสียแล้ว จะไปซื้อหาผลไม้มาคั้นมาปั่นราคาก็ไม่ใช่ถูก ๆ แถมได้ปริมาณไม่มาก น้ำหวานเข้มข้นจึงเป็นที่พึ่งยามยากของหลาย ๆ ครอบครัว น้ำหวานเข้มข้นขวดหนึ่งก็สามารถผสมกับน้ำสะอาดทำเป็นน้ำหวานได้มากถึง 4 เท่า แถมยังมีให้เลือกหลายรสชาติตามแต่จะต้องการ แม้จะมีข้อดีในเรื่องของการประหยัดสตางค์ในกระเป๋า แต่น้ำหวานเข้มข้นก็ยังมีเรื่องที่ต้องระวังเช่นกัน เนื่องจากน้ำหวานเข้มข้นส่วนใหญ่หรือเกือบจะทั้งหมดล้วนใช้สีสังเคราะห์เป็นส่วนผสมด้วยกันทั้งนั้น และสีสังเคราะห์นี้หากผู้ผลิตเขาใส่มากเกินไปก็อาจจะเกิดอันตรายจากการสะสมของสารพิษที่อยู่ในสีสังเคราะห์นั้นได้ ฉลาดซื้อและเครือข่ายองค์กรผู้บริโภค 5 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย , ขอนแก่น , บุรีรัมย์ , สุราษฎร์ธานี และสงขลา จึงได้ร่วมกันสำรวจตลาดและเก็บตัวอย่างน้ำหวานเข้มข้นในพื้นที่ของตน และได้ส่งไปให้ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ เขต 7 อุบลราชธานี ทำการตรวจวิเคราะห์หาปริมาณของสีสังเคราะห์ที่ผสมอยู่ในน้ำหวานเข้มข้นยี่ห้อต่าง ๆ ยี่ห้อน้ำหวานเข้มข้นที่สำรวจพบมีทั้งหมด  12 ยี่ห้อ คือ 1.Heavy boy 2.โกลเด้นแพน 3.แคนดี-เคน 4.แคนดี้บอย 5.ซันนี่บอย 6.ท็อปส์ 7.เมาเทนเบส 8.วินนี่ บราวน์ 9.วินบอย 10.ออคิด 11.ฮอร์น บอย 12.เฮลซ์บลูบอย ส่วนกลิ่นและสีของน้ำหวานเข้มข้นที่สำรวจพบมีอยู่ 8 ชนิดด้วยกัน คือ 1.สับปะรด 2.ส้ม  3.สละ 4.องุ่น  5.ครีมโซดา  6.สตรอเบอรี่  7.ซาสี่  8.กุหลาบ กลิ่นและสีเหล่านี้เกิดจากการใช้สีสังเคราะห์มาเป็นส่วนผสมในกระบวนการผลิตน้ำหวานเข้มข้น กลิ่นและสีบางอย่างก็เกิดจากการผสมสีสังเคราะห์ 2 ชนิดในสัดส่วนที่เหมาะสม อย่างกลิ่นครีมโซดาเกิดจากการผสมกันระหว่างสีสีตาร์ตราซีนและสีบริลเลียนท์บลู FCF เป็นต้น ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ เขต 7 ได้ทำการตรวจวิเคราะห์น้ำหวานเข้มข้นรวมทั้งสิ้น 52 ตัวอย่างจาก 12 ยี่ห้อดังกล่าว พบน้ำหวานเข้มข้นที่อาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค 1 ตัวอย่างคือ น้ำหวานเข้มข้นตรา Heavy boy กลิ่นสละ ในฉลากไม่ระบุชื่อผู้ผลิต ระบุเพียงสถานที่ผลิตคือ เลขที่ 456 ถ.ริมทางรถไฟสายปากน้ำ ต.คลองเตย อ.พระโขนง กรุงเทพฯ เลขทะเบียน อย./ฉผด. 98/36 เนื่องจากมีสีสังเคราะห์ผสมอยู่เกินมาตรฐานกำหนด(สีเอโซรูบีน 92.34 มิลลิกรัม/กิโลกรัม) นอกจากนี้จากการสำรวจยังพบน้ำหวานเข้มข้นที่ทำผิดกฎหมายว่าด้วยเรื่องการแสดงฉลาก คือ ไม่มีการแสดงวันที่ผลิตหรือวันหมดอายุ ได้แก่ 1.Heavy boy แหล่งผลิตเลขที่ 456 ถ.ริมทางรถไฟสายปากน้ำ ต.คลองเตย อ.พระโขนง กรุงเทพฯ 2.Horn boy แหล่งผลิตโรงงาน ส.วัฒนา 43/20 หมู่ 7 ซ.วัดกำแพง เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ 3.Win boy แหล่งผลิตโรงงานน้ำหวานสมชัย 68 หมู่ 1 ถ.สุขาภิบาล 2 ต.คลองขวาง อ.ไทรน้อย จ.นนทบุรี นอกจากน้ำหวานเข้มข้นตรา Heavy boy กลิ่นสละ ที่มีสีสังเคราะห์เกินมาตรฐานแล้ว นอกนั้นถือว่ามีการใช้สีสังเคราะห์ผสมเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด ตารางที่นำมาแสดงนี้จะเรียงตามปริมาณสีสังเคราะห์ตัวหลักจากน้อยไปมากและจะจัดเป็นกลุ่มตามกลิ่นของน้ำหวาน ชอบใจน้ำหวานรสหรือกลิ่นไหนก็เลือกกันได้เลย แต่อย่าลืมว่า น้ำหวานนั้นมีส่วนประกอบของน้ำตาลอยู่ค่อนข้างมาก ดื่มน้ำหวานมากระวังโรคอ้วนจะถามหา เดี๋ยวจะหาว่าไม่เตือน วิธีการเลือกซื้อ เลือกดื่มน้ำหวานเข้มข้น1. ไม่จำเป็นต้องเลือกซื้อน้ำหวานเข้มข้นที่มีราคาแพง 2. แม้น้ำหวานเข้มข้นส่วนใหญ่จะมีปริมาณสีสังเคราะห์เป็นไปตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด แต่เพื่อหลีกเลี่ยงการรับสีสังเคราะห์เข้าสู่ร่างกาย ควรเลือกซื้อน้ำหวานที่มีปริมาณสีสังเคราะห์ที่มีปริมาณน้อยไปจนถึงปานกลาง(ของแต่ละตาราง) 3. ในการทำน้ำหวานให้เจือจางควรปฏิบัติตามฉลากที่แสดงคือ ผสมน้ำหวาน 1 ส่วน กับน้ำสะอาด 4 ส่วน เพื่อไม่ให้ร่างกายได้รับความหวาน และปริมาณสีสังเคราะห์มากเกินไป(แม้ว่าจะมีปริมาณสีสังเคราะห์อยู่ในเกณฑ์ก็ตาม) 4. ผู้ป่วยโรคเบาหวานไม่ควรบริโภคน้ำหวาน เพราะร่างกายของผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน จะมีน้ำตาลในเลือดมากเกินกว่าที่ตนเองจะใช้ได้หมดอยู่แล้ว เพราะฉะนั้น ไม่ว่าจะเป็นน้ำตาลในรูปของอาหารประเภทใดก็ตาม งดได้ควรงด 5. เตือนตัวเองตลอดเวลาว่า น้ำที่ดีที่สุดสำหรับร่างกายคือน้ำดื่มสะอาด(น้ำเปล่า) ไม่ควรดื่มน้ำหวานบ่อย ๆ อาจจะทำให้เกิดปัญหาโรคอ้วนได้(และจะมีโรคอื่น ๆ ตามมาอีกหลายโรค) เกณฑ์การควบคุมปริมาณสีที่ใช้เติมลงไปในน้ำหวานเข้มข้นกลุ่มสีแดง -สีปองโซ 4 อาร์  เติมได้ไม่เกิน 50 มิลลิกรัมต่ออาหารที่จะใช้บริโภค 1 กิโลกรัม-สีเอโซรูบีน เติมได้ไม่เกิน 70 มิลลิกรัมต่ออาหารที่จะใช้บริโภค 1 กิโลกรัม กลุ่มสีเหลือง-สีตาร์ตราซีน , สีซันเซ็ต เย็ลโล FCF เติมได้ไม่เกิน 70 มิลลิกรัมต่ออาหารที่จะใช้บริโภค 1 กิโลกรัม กลุ่มสีเขียว-สีฟาสต์กรีน FCF  เติมได้ไม่เกิน 70 มิลลิกรัมต่ออาหารที่จะใช้บริโภค 1 กิโลกรัม กลุ่มสีน้ำเงิน-สีอินดิโกร์คาร์มีน  เติมได้ไม่เกิน 70 มิลลิกรัมต่ออาหารที่จะใช้บริโภค 1 กิโลกรัม-สีบริลเลียนท์บลู FCF เติมได้ไม่เกิน 50 มิลลิกรัมต่ออาหารที่จะใช้บริโภค 1 กิโลกรัม กรณีที่น้ำหวานมีสีผสมกันอย่างน้อย 2 ชนิดขึ้นไป -ต้องมีปริมาณรวมของสีทุกชนิดไม่เกินปริมาณของสีที่กำหนดให้ใช้ได้น้อยที่สุด เช่น น้ำหวานที่มีสีตาร์ตราซีนและสีบริลเลียนท์บลู FCF ผสมกันอยู่ ต้องมีปริมาณรวมของสี 2 ชนิด ไม่เกิน 50 มิลลิกรัมต่ออาหารที่จะใช้บริโภค 1 กิโลกรัม อันเป็นเกณฑ์ของสีบริลเลียนท์บลู FCF ที่กำหนดให้ใช้ได้น้อยที่สุดนั่นเอง อันตรายของสีสังเคราะห์1.พิษของสีในระยะยาว สีส้ม (ซันเซ็ต เย็ลโล FCF) ถ้ารับประทานเกิน 0.5 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม จะทำให้ท้องเดินและน้ำหนักตัวลด 2.พิษที่เกิดจากโลหะที่ปนมากับสีผสมอาหาร ตะกั่ว ทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดศีรษะ และโลหิตจาง อาการต่อมาคือเป็นอัมพาตตามแขนขา สมองไม่ปกติ ชักกระตุก เพ้อคลั่ง และหมดสติ สารหนู ทำอันตรายต่อระบบส่วนกลาง ระบบทางเดินอาหาร ทำให้ตับอักเสบ และมีอันตรายต่อวงจรโลหิตที่ไปเลี้ยงหัวใจ อาจทำให้หัวใจวายได้ • โครเมียม ทำให้เวียนศีรษะ กระหายน้ำอย่างรุนแรง ปวดท้อง อาเจียนจนหมดสติ และเสียชีวิตเนื่องจากปัสสาวะเป็นพิษ   ผลการวิเคราะห์น้ำหวานเข้มข้น โดยศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์เขต 7 อุบลราชธานี(เรียงตามปริมาณสีสังเคราะห์จากน้อยไปหามาก)   ชื่อสินค้า กลิ่น สถานที่เก็บ ผลการตรวจวิเคราะห์* (มิลลิกรัม/กิโลกรัม) สีตาร์ตราซีน สีบริลเลียนท์บลู FCF สีเอโซรูบีน สีซันเซ็ต เย็ลโล FCF 1 เมาเทนเบส กุหลาบ กรุงเทพฯ - - 12.32 - 2 เฮลซ์บลูบอย กุหลาบ กรุงเทพฯ - - 39.31 - 3 เฮลซ์บลูบอย กุหลาบ เชียงราย - - 39.63 -   ชื่อสินค้า กลิ่น สถานที่เก็บ ผลการตรวจวิเคราะห์ (มิลลิกรัม/กิโลกรัม) สีตาร์ตราซีน สีบริลเลียนท์บลู FCF สีเอโซรูบีน สีซันเซ็ต เย็ลโล FCF 1 วินนี่ บราวน์ ครีมโซดา เชียงราย 7.35 1.96 - - 2 โกลเด้นแพน ครีมโซดา สุราษฎร์ธานี 8.37 0.72 - - 3 โกลเด้นแพน ครีมโซดา กรุงเทพฯ 9.76 1.43 - - 4 ท็อปส์ ครีมโซดา สงขลา 10.14 1.46 - - 5 ท็อปส์ ครีมโซดา กรุงเทพฯ 10.15 0.85 - - 6 ออคิด ครีมโซดา กรุงเทพฯ 16.73 1.30 - - 7 ออคิด ครีมโซดา บุรีรัมย์ 18.14 1.25 - - 8 เมาเทนเบส ครีมโซดา กรุงเทพฯ 18.65 1.16 - - 9 แคนดี-เคน ครีมโซดา เชียงราย 19.51 1.35 - - 10 เฮลซ์บลูบอย ครีมโซดา บุรีรัมย์ 20.03 2.24 - - 11 แคนดี้บอย ครีมโซดา สุราษฎร์ธานี 21.12 1.50 - - 12 ซันนี่บอย ครีมโซดา สงขลา 23.63 3.74 - - 13 แคนดี้บอย ครีมโซดา กรุงเทพฯ 24.88 2.37 - - 14 ซันนี่บอย ครีมโซดา กรุงเทพฯ 26.25 3.62 - - 15 เฮลซ์บลูบอย ครีมโซดา กรุงเทพฯ 28.10 2.07 - - 16 Heavy boy ครีมโซดา ขอนแก่น 36.50 2.25 - -   ชื่อสินค้า กลิ่น สถานที่เก็บ ผลการตรวจวิเคราะห์ (มิลลิกรัม/กิโลกรัม) สีตาร์ตราซีน สีบริลเลียนท์บลู FCF สีเอโซรูบีน สีซันเซ็ต เย็ลโล FCF 1 เฮลซ์บลูบอย ซาสี่ กรุงเทพฯ ตรวจไม่พบสีสังเคราะห์ 2 เมาเทนเบส ทับทิม กรุงเทพฯ 14.07 - 25.04 - 3 วินบอย เพียเรด บุรีรัมย์ 22.96 2.03 - - 4 เฮลซ์บลูบอย สตรอเบอรี่ กรุงเทพฯ - - 42.39 -   ชื่อสินค้า กลิ่น สถานที่เก็บ ผลการตรวจวิเคราะห์ (มิลลิกรัม/กิโลกรัม) สีตาร์ตราซีน สีบริลเลียนท์บลู FCF สีเอโซรูบีน สีซันเซ็ต เย็ลโล FCF 1

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 171 แก้วตาหวานใจ : อุดมคติกับความเป็นจริงของครอบครัว

ในบรรดาเรื่องราวและเรื่องเล่าที่อยู่ในละครโทรทัศน์นั้น ดูเหมือนว่า เรื่องราวเกี่ยวกับ “สถาบันครอบครัว” เป็นเนื้อหาที่ละครมักจะหยิบยกมากล่าวถึงเป็นอันดับแรกๆ อาจเนื่องด้วยว่าครอบครัวเป็นประเด็นที่ใกล้ชิดกับชีวิตของคนเรามากที่สุด จนช่วงเวลาไพรม์ไทม์มิอาจมองข้ามเรื่องราวดังกล่าวไปได้เลย             แต่คำถามก็คือ ถ้าภาพอุดมคติของความเป็นครอบครัวจักต้องประกอบด้วยพ่อ แม่ ลูก และสมาชิกครอบครัวที่รักผูกพันกันแน่นแฟ้น อุดมคติแบบนี้กับความเป็นจริงที่เราเห็นในละครจะถูกถ่ายทอดออกมาเป็นภาพเดียวกันมากน้อยเพียงไร?             คำตอบต่อข้อคำถามนี้ก็คือ “อุดมคติ” เป็นภาพที่สังคมคาดฝันว่าอยากไปให้ถึง หรืออาจเป็นจินตกรรมความฝันในความคิดของใครหลายๆ คน แต่ภาพฝันของครอบครัวที่อบอุ่นครบครันพ่อแม่ลูกและหมู่มวลสมาชิกในบ้านนั้น ช่างเป็นภาพที่พบเห็นได้ยากหรือพบได้น้อยมากในละครโทรทัศน์ เหมือนกับภาพชีวิตครอบครัวของ “มดตะนอย” เด็กสาวตัวน้อยที่เติบโตมาโดยที่ไม่เคยได้พานพบหน้าบิดามารดาของตนเองเลย             เพราะคุณแม่วัยใสอย่าง “แม่กวาง” ผู้เป็นมารดา รู้สึกผิดที่ตั้งครรภ์ลูกน้อยตั้งแต่วัยเรียน ดังนั้นหลังจากที่ให้กำเนิดมดตะนอยมาแล้ว เธอจึงหลบลี้หนีหน้าไปอยู่ต่างประเทศ ในขณะที่ “พ่อหมึก” ผู้เป็นบิดาเอง ก็ไม่เคยรู้มาก่อนว่า ตนมีลูกสาวกับเขาหนึ่งคน แม่กับพ่อจึงไม่เคยได้เลี้ยงหรือใกล้ชิดกับมดตะนอย และปล่อยให้เด็กสาวตัวน้อยเติบโตมาด้วยการเลี้ยงดูของ “ลุงช้าง” พระเอกของเรื่อง             จนกระทั่งหลายปีผ่านไป พ่อหมึกได้ทราบข่าวจากเพื่อนว่า ตนเคยมีบุตรสาวหนึ่งคนตั้งแต่เมื่อครั้งยังเรียนมหาวิทยาลัย เขาเองก็ต้องการตามหาลูก จึงไหว้วานให้ “ไข่หวาน” ผู้เป็นน้องสาว เดินทางเข้ากรุงเทพเพื่อสืบค้นหาที่อยู่ของมดตะนอย             จะว่าเป็นพรหมลิขิต หรือการผูกเรื่องของนักเขียนบทให้เกิดเงื่อนปมขัดแย้งอย่างไรมิอาจทราบได้ แต่ในที่สุด สาวห้าวผู้รักรถยนต์เป็นชีวิตจิตใจอย่างไข่หวาน ก็มีอันได้มาพำนักพักอยู่ในบ้านของลุงช้างหนุ่มหวานขี้งอนและรักการทำครัวเป็นพ่อบ้านพ่อเรือน โดยมีมดตะนอยกลายเป็นกามเทพสื่อรักตัวน้อยระหว่างลุงช้างกับอาไข่หวานแบบไม่รู้ตัว             ภายใต้โครงเรื่องแบบที่กล่าวมานี้ ละครได้ผูกโยงฉายให้เห็นภาพของสถาบันครอบครัวเอาไว้อย่างซับซ้อน ทั้ง “สะท้อน” ภาพความจริงเอาไว้ด้านหนึ่ง ทั้ง “ตอกย้ำบรรทัดฐาน” เอาไว้อีกด้านหนึ่ง ในขณะเดียวกับที่ “ชี้นำ” หรือ “ตั้งคำถามใหม่ๆ” ให้ผู้ชมได้ทบทวนความเข้าใจเกี่ยวกับครอบครัวเอาไว้เช่นกัน             ในลำดับแรกที่ละคร “สะท้อน” ภาพความจริงของครอบครัวเอาไว้นั้น ถ้าเราคิดถึงภาพอุดมคติของความเป็นครอบครัวที่ต้องประกอบด้วยพ่อแม่ลูกที่รักใคร่อบอุ่นผูกพัน เพราะลูกมักถูกตีความว่าเป็น “แก้วตา” ในขณะที่คู่ชีวิตก็มีสถานะเป็น “หวานใจ” แต่ทว่า ภาพของละครกลับสะท้อนฉายไปที่ความเป็นจริงของสังคมในอีกทางหนึ่งว่า ชีวิตครอบครัวแท้จริงนั้นไม่ได้มีสูตรสำเร็จเหมือนกับภาพอุดมคติดังกล่าวเพียงด้านเดียว ภาพที่พ่อไปทางและแม่ไปทาง อาจเป็นชีวิตที่จริงแท้ยิ่งกว่าของครอบครัวได้เช่นกัน             แต่นั่นก็ไม่ได้แปลว่า เด็กที่เกิดมาภายใต้บรรยากาศครอบครัวแตกแยกจะกลายเป็นเด็กที่มีปัญหาเสมอไป ตราบเท่าที่ยังมีฟันเฟือนตัวอื่นที่หมุนให้สถาบันครอบครัวขับเคลื่อนต่อไปได้ ครอบครัวก็ยังคงดำเนินไปและผลิตเยาวชนรุ่นใหม่ที่น่ารักและเป็นเด็กดีแบบมดตะนอยได้ไม่ต่างกัน             ในแง่นี้ เราอาจตั้งข้อสังเกตได้ว่า ครอบครัวที่เป็นไปตามขนบจารีตไม่อาจตอบโจทย์ของคนยุคนี้ได้อย่างสมบูรณ์อีกต่อไปแล้ว แต่ครอบครัวจะเป็นเช่นไรก็ขึ้นอยู่กับว่า คนแต่ละกลุ่มหรือใครแต่ละคนจะเป็นผู้คิดค้นนิยามและตีความความหมายให้กับครอบครัวของเขาแบบแตกต่างกันไป             ฉะนั้น เมื่อขาดซึ่งพ่อกับแม่ มดตะนอยก็ยังมีลุงช้างที่ทำหน้าที่แทนทั้งเป็นพ่อและแม่ที่เลี้ยงเด็กน้อยให้เติบโตมาเป็นคนดี หรือแม้แต่ช่วงที่มีไข่หวานมาพำนักอาศัยใต้ชายคาเดียวกัน ไข่หวานก็ไม่ได้ทำหน้าที่แค่ “อาไข่หวาน” หากแต่ยังเล่นบทบาทเป็น “แม่ในจินตนาการ” ของมดตะนอยไปในเวลาเดียวกัน             ในขณะที่ด้านหนึ่งละครก็ “สะท้อน” สิ่งที่ “กำลังเป็นอยู่” ว่า ชีวิตจริงของครอบครัวร่วมสมัยไม่ได้อบอุ่นหรือเป็นไปตามอุดมคติ แต่ขึ้นอยู่กับว่าสมาชิกครอบครัวจะตีความและรังสรรค์สายสัมพันธ์ระหว่างกันของตนเองจริงๆ แต่อีกด้านหนึ่ง ในมุมฉากจบของละคร ก็เลือกที่จะรอมชอมด้วยการตอกย้ำกลับไปที่ภาพบรรทัดฐานที่ “ควรจะเป็น” ของครอบครัวว่า พ่อแม่ลูกที่อยู่พร้อมหน้าค่าตากัน ก็ยังเป็นอุดมคติที่ทุกๆ ครัวเรือนยังวาดฝันเอาไว้             เพราะฉะนั้น แม้จะพลัดพรากจากแม่กวางและพ่อหมึกไปตั้งแต่เด็ก แต่ด้วยความพยายามดิ้นรนต่อสู้เพื่อถักทอสายสัมพันธ์ของครอบครัวให้กลับคืนมา ในฉากจบของเรื่อง ละครก็ได้ยึดโยงให้มดตะนอยได้พบพ่อกับแม่ และหวนกลับมาร่วมสร้างครอบครัวที่เชื่อว่า “สมบูรณ์” กันอีกครั้ง พร้อมๆ กับที่ลุงช้างและอาไข่หวานก็ได้ลงเอยกับความรัก และเริ่มที่ก่อรูปก่อร่างสร้างครอบครัวในอุดมคติกันไปอีกทางหนึ่ง             แต่ที่น่าสนใจยิ่งก็คือ ไม่เพียงแต่สะท้อนหรือตอกย้ำเท่านั้น ละครอย่าง “แก้วตาหวานใจ” ยังได้เลือกใช้เส้นทางการ “ชี้นำ” หรือ “เสนอทางเลือกใหม่ๆ” ให้เราได้เห็นด้วยว่า แล้วภาพความจริงที่เราเคยยึดเคยเชื่อกับความสัมพันธ์ที่เวียนวนอยู่ในครอบครัวนั้น จำเป็นต้องเป็นเฉกเช่นนั้นอยู่ทุกครั้งจริงหรือไม่             ภาพตัวละครอย่างลุงช้างที่ชอบทำครัว เลี้ยงเด็ก หรืองุนงงสับสนทุกครั้งที่เกิดรถเสีย กับภาพที่ตัดสลับมาที่อาไข่หวาน ที่เป็นหญิงห้าว สนใจกับงานช่างงานซ่อมรถยนต์ ล้างจานแตกเสมอๆ ก็เป็นตัวอย่างของภาพที่ตั้งคำถามใหม่ๆ กับคนดูว่า ผู้ชายก็ไม่จำเป็นต้องชอบเรื่องที่ใช้กำลังร่างกายและผู้หญิงก็ไม่จำเป็นต้องรักสวยรักงามรักเรื่องที่ละเอียดอ่อนเสมอไป บทบาททางเพศของหญิงชายในสถาบันครอบครัวพร้อมที่จะสลับไปมาระหว่างกันได้ตลอดเวลา             ภายใต้การเล่นบทบาทของละครแบบ “เหรียญสามด้าน” ที่ทั้งฉายภาพสะท้อนสิ่งที่ “กำลังเป็น” ตอกย้ำภาพที่ “ควรจะเป็น” และตั้งคำถามใหม่ๆ กับภาพที่ “อาจจะเป็น” เช่นนี้ ในท้ายที่สุด เมื่อละครจบลง ก็คงทำให้เราได้ฉุกคิดว่า ในอุดมคติของความเป็นครอบครัวนั้น มดตะนอย ลุงช้าง อาไข่หวาน ตัวละครต่างๆ รวมถึงตัวเราเอง จะขับเคลื่อนนำพานาวาชีวิตครอบครัวของแต่ละคนกันไปเช่นไร                                                                                                

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 137 หนุ่มบ้านไร่กับหวานใจไฮโซ : เมื่อความไม่เข้ากัน โคจรมาพบกัน

แค่เห็นชื่อเรื่องละครครั้งแรกว่า “หนุ่มบ้านไร่กับหวานใจไฮโซ” ผมก็เกิดความสนใจใคร่รู้ว่า ชีวิตของหนุ่มบ้านไร่กับชีวิตของสาวไฮโซ ที่เหมือนจะอยู่กันคนละมุมโลก แต่เหตุไฉนละครจึงเลือกจับเอาสองชีวิตที่อยู่กันคนละฟากฟ้า ให้วนโคจรมาบรรจบกัน หากคิดตอบโดยใช้สามัญสำนึกทั่วไป หนุ่มบ้านไร่จะเวียนวนมาตกหลุมรักกับสาวไฮโซได้นั้น ก็ต้องด้วยบุพเพสันนิวาส หรือเป็นเหตุเนื่องแต่ “พรหมลิขิตบันดาลชักพา” แต่เพียงสถานเดียว แต่หากพินิจพิจารณาดูจากชีวิตของหนุ่มบ้านไร่อย่างนายปราบกับสาวไฮโซอย่างนับดาวแล้วล่ะก็ บุพเพสันนิวาสก็อาจเป็นเหตุปัจจัยหนึ่ง แต่ก็อาจมีตัวแปรเรื่องช่องว่างระหว่าง “ความเป็นชนบท” กับ “ความเป็นเมือง” ที่กลายมาเป็นอีกเหตุปัจจัยสำคัญไม่ยิ่งหย่อนกัน   โดยปกติแล้ว เป็นที่รับรู้กันว่า นับเป็นเวลาหลายทศวรรษภายหลังจากที่แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติถูกนำมาใช้ และกลายเป็นกรอบวิธีคิดหลักที่สังคมไทยยอมรับกันทั่วทุกหัวระแหง ช่องว่างระหว่างชนบทกับเมืองก็นับวันจะยิ่งถูกถ่างออกจากกันไปเรื่อยๆ โดยมีความเปลี่ยนแปลงที่ชนบทจะค่อยๆ ถูกกลืนกลายให้เปลี่ยนสถานะเป็นชายขอบของความเป็นเมืองแบบไม่มีที่สิ้นสุด นับดาว เธอผู้เป็นไฮโซสาวเจ้าของฉายา “นับดาวว้าวแซ่บ” ก็คือตัวแทนของภาพชีวิตความเป็นเมือง ที่แม้เบื้องหน้าของคนกลุ่มนี้อาจจะดูทันสมัย ดูสวย ดูหรู มีสไตล์ หรือ “ว้าวแซ่บ” สมกับฉายาที่เธอได้รับ หากแต่เบื้องหลังของนับดาว กลับเป็นไฮโซถังแตก ที่ต้องเอามรดกของปู่ย่าตายายมาออกขายเพื่อเลี้ยงชีวิตไปวันๆ ด้วยเหตุผลที่ “จมไม่ลง” และต้องกอดเกียรติยศที่ค้ำคอเชิดๆ เอาไว้ ไฮโซสาวว้าวแซ่บจึงต้องไปตระเวนออกงานสังคมมากมาย สลับกับฉากที่เธอและคุณน้าอะซ่า (หรือชื่อจริงว่า อลิสา) ก็ต้องแอบหาเงินไปไถ่เครื่องเพชร เครื่องประดับ หรือกระเป๋าแบรนด์เนมจากโรงรับจำนำ มาแต่งองค์ทรงเครื่องเพื่อเฉิดฉายในงานสังคมเหล่านั้น และความหวังเดียวของนับดาว ก็มีเพียงการจ้องจะแต่งงานกับไฮโซแฟนหนุ่มอย่างชัยชนะ เพื่อกอบกู้ฐานะทางเศรษฐกิจให้ฟื้นขึ้นมา โดยที่เธอเองก็หารู้ไม่ว่า แฟน ดร.ไฮโซหนุ่มของเธอเองนั้นก็ถังแตกไม่แพ้กัน และก็ถูกมารดาอย่างคุณชัชฎาชักใยให้เขาพยายามจับคู่แต่งงานกับนับดาวให้ได้ เพื่อปลดหนี้สินที่ล้นพ้นอยู่ด้วยเช่นกัน ภาพของตัวละครไฮโซอย่างนับดาว ชัยชนะ และคุณชัชฎานี้เอง ก็ไม่แตกต่างไปจากโลกแห่งสังคมเมือง ที่แม้หน้าฉากจะดูทันสมัย สวยงาม หรือมีมิตรจิตมิตรใจระหว่างกัน แต่หลังฉากนั้น กลับเปี่ยมไปด้วยความหลอกลวง ไม่วางใจกันและกัน และที่สำคัญ เบื้องลึกเบื้องหลังกลับไม่มีทรัพยากรหรือปัจจัยการผลิตอันใด ที่จะทำให้สังคมแบบนี้ยืนหยัดขับเคลื่อนต่อไปได้จริงๆ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ในโลกที่เจริญก้าวหน้าหรือทันสมัยแบบนี้นั้น จะมีก็แต่ “ภาพลักษณ์” ที่ผู้คนปั้นขึ้นมาไว้ขายให้กันและกันดูเท่านั้น แต่ “ภาพลักษณ์” ดังกล่าวก็เป็นแค่ “มายา” ทว่า “ปากท้องข้าวปลา” ที่เป็น “ของจริง” กลับหายากแร้นแค้นยิ่งนักในสังคมแบบนี้ ตรงข้ามกับภาพของปราบ หนุ่มบ้านไร่ที่ใช้ชีวิตอยู่กับ “ของจริง” ไม่ว่าจะเป็นของจริงที่เป็นปัจจัยการผลิตต่างๆ ทางเศรษฐกิจ นับตั้งแต่ที่ดินทำกินในไร่ แรงงานเกษตรกรซึ่งเป็นกำลังหลักในการผลิต รวมถึงวัตถุดิบการผลิต ที่สามารถแปรรูปมาเป็นอาหารป้อนให้มนุษย์ได้มีอยู่มีกินมีอิ่มท้อง เพราะฉะนั้น เมื่อฝ่ายหนึ่งมีแต่ “ภาพลักษณ์” ที่กินไม่ได้ แต่ปั้นหน้าลวงหลอกผู้อื่นไปวันๆ กับอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งมี “ของจริง” ที่กินได้ แต่เป็นเพียงชนบทที่ถูกผลักออกไปไว้ยังชายขอบของสังคม คนสองกลุ่มที่มาจากพื้นเพสังคมต่างกันหรือเหมือนจะเคยยืนอยู่กันคนละฟากฟ้า ก็มีเหตุอันให้ต้องมาบรรจบพบเจอกันในที่สุด เพียงเหตุปัจจัยเดียวที่ต้องการรักษาหน้าตาและอำนาจทางเศรษฐกิจสังคมเอาไว้ ไฮโซสาวชาวเมืองอย่างนับดาวกับคุณน้าอะซ่าจอมวางแผน ก็เลยต้องสวมวิญญาณแบบเจ้าจักรวรรดิที่เริ่มออกล่าอาณานิคม เพื่อขูดรีดและกอบโกยเอาทรัพยากรในชนบทชายขอบ มาหล่อเลี้ยง “ภาพลักษณ์” หรือหน้าตาของคนในศูนย์กลางสังคมทันสมัย แล้วละครก็เริ่มสาธิตให้เห็นขบวนการมากมายในการขูดรีดชนบท ตั้งแต่การกุข่าวปั้นเรื่อง การโกหกหลอกลวง การสร้างสถานการณ์ การเสแสร้งเป็นพวกความจำเสื่อม และอีกร้อยเล่ห์มารยาที่ถูกเสกสรรขึ้นมาลวงล่อปราบกับชาวบ้านไร่คนอื่นๆ หรือพูดง่ายๆ ก็คือ ในระบบจักรวรรดินิยมเยี่ยงนี้ สาวไฮโซตัวแทนแห่งสังคมเมือง จะทำทุกวิถีทางที่จะให้หนุ่มหน้ามนคนชนบทอย่างปราบยอมขายที่ดิน อันเป็นปัจจัยการผลิตหลักของสังคมเกษตร เพียงเพื่อแปรเปลี่ยนที่ดินทำกินของบ้านไร่ให้กลายเป็นรีสอร์ตอันโอ่อ่าเอาไว้ต้อนรับนักท่องเที่ยวเท่านั้น และก็ต้องรอให้คุณงามความดีของพ่อหนุ่มบ้านไร่ได้พิสูจน์ตัวระลอกแล้วระลอกเล่านั่นแหละ นับดาวจึงเริ่มตกหลุมรักเขา และเข้าใจสัจธรรมที่ว่า ชีวิตที่มีแต่ “ภาพลักษณ์” นั้นช่างไม่จีรังยั่งยืนเอาเสียเลย เมื่อเทียบกับชีวิตของชาวบ้านไร่บ้านนา ที่แม้จะดูเชยล้าสมัย แต่ก็เป็นโครงกระดูกสันหลังจริงของสังคมไทย แบบเดียวกับที่นับดาวได้พูดสรุปถึงโลกอันจอมปลอมเธอกับปราบว่า “นี่แหละชีวิตของนับดาวว้าวแซ่บ...ฉันรู้ว่าคุณรักฉัน แล้วฉันก็รักคุณ แต่ในโลกของฉัน ความรักมันไม่ได้มีความหมายอะไรมากมายนักหรอก ในโลกของฉัน เราแต่งงานกับคนที่เหมาะสมกับเราเท่านั้น...” ในตอนจบของละครนั้น ความรักความเข้าใจในความแตกต่างระหว่างชนบทกับเมืองอาจจะคลี่คลายไปแล้วก็ตาม แต่ตราบใดที่ในโลกจริง “ภาพลักษณ์” ยังเป็นหน้าตาและอำนาจที่สาวไฮโซแห่งเมืองทันสมัยยังพยายามรักษาอยู่ ก็ไม่รู้ว่าบทสรุปลงเอยที่สองฝ่ายโคจรมาเจอกันจริง ๆ จะเป็นประหนึ่งในละครกันไหม???

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 172 จำไว้ เธอไม่ใช่นม(ข้นหวาน)

เครื่องดื่มเย็นชื่นใจ ไม่ว่าจะเป็นกาแฟเย็น ชาเย็น โกโก้เย็น คนขายที่เป็นแม่ค้าพ่อค้าจะปรุงด้วยส่วนผสมที่เราเรียกกันติดปากว่า “นมข้นหวาน และนมข้นจืด” แถมด้วยผง “ครีมเทียม” และน้ำตาลทราย เพื่อให้ได้รสชาติ หวาน มัน สะใจลูกค้าที่เป็นผู้บริโภคนั่นเอง โดยลูกค้าส่วนใหญ่จะปลอบใจตนเองจากการที่นิยมชมชอบดื่มเครื่องดื่มที่ทั้งหวานและมันจัดว่า ถึงอย่างไรก็ยังได้รับประโยชน์เชิงสุขภาพจากน้ำนมที่มีใน “นมข้นหวาน นมข้นจืด” อยู่บ้างล่ะน่า เพราะยังเข้าใจว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวทำจากน้ำนมโค ซึ่งมีสารอาหารโปรตีนและแคลเซียมคุณภาพดี เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ แต่หากได้อ่านฉลากผลิตภัณฑ์เหล่านี้ในท้องตลาดแล้ว ผู้บริโภคอาจจะต้องตั้งคำถามใหม่ว่า นมข้นหวาน หายไปไหน เพราะฉลากที่เคยระบุเป็นนมข้นหวาน นมข้นจืด ไม่มีอีกแล้ว แต่กลายเป็น “ผลิตภัณฑ์นม” “ครีมเทียมข้นหวาน” “ครีมเทียมข้นจืด????.เช็คหน่อย” กันไปหมด แล้วผลิตภัณฑ์ชื่อใหม่ๆ เหล่านี้มันคืออะไรกัน แต่ที่แน่ๆ ถ้าไม่อ่านฉลากก็จะไม่รู้อะไรกันเลยทีเดียว นมข้นมาจากไหนรองศาสตราจารย์ ดร.วิสิฐ จะวะสิต ผู้อำนวยการสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ให้ข้อมูลเรื่องผลิตภัณฑ์ดังกล่าวว่า ในประเทศที่ผลิตนมโคเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่มักมีน้ำนมผลิตออกมามากจนเกินความต้องการของตลาด ซึ่งนิยมถนอมรักษาเป็นผลิตภัณฑ์รูปแบบต่างๆ เช่น นมผง นมข้นจืด ทั้งนี้ เพื่อมีอายุการเก็บรักษายืนยาวขึ้น ประหยัดพื้นที่การเก็บรักษาและค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้า โดยนมข้นจืด ทำจากการนำน้ำนมไประเหยเอาน้ำออกเพื่อให้เข้มข้นขึ้น โดยการให้ความร้อนในเครื่องระเหยภายใต้ระบบสุญญากาศ คล้ายกับการต้มหรือเคี่ยวให้น้ำงวดลง น้ำที่ถูกระเหยออกไปเป็นประมาณครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 50) นมชนิดนี้จึงมีปริมาณสารอาหารประเภทหลักๆ ได้แก่ โปรตีน ไขมันและแร่ธาตุ เป็นสองเท่าของนมสด จึงเรียกกันว่า “นมข้น” และเพราะมีรสจืด ก็กลายเป็น “นมข้นจืด” บางทีก็เรียกว่า “นมข้นไม่หวาน” ในบางประเทศจะเรียกว่า “นมระเหย” (Evaporated Milk) โดยนมข้นจืดมักนำไปบรรจุกระป๋อง และถูกส่งไปช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาที่มีปัญหาขาดสารอาหาร เช่น ในทวีปอัฟริกา เพื่อให้นำไปเจือจางน้ำสะอาดอีก 1 เท่า และใช้ดื่มเป็นนมสด หลายสิบปีก่อน เมื่ออุตสาหกรรมนมในประเทศไทยยังไม่พัฒนา ก็ได้มีการนำนมข้นจืดมาเจือจางและดื่มเป็นนมสดเช่นกัน คนไทยเราเลยมีความคุ้นเคยว่านมที่อยู่ในกระป๋องสูงๆ มีประโยชน์ดี ส่วนนมข้นหวานผลิตโดยใช้นมข้นจืดมาผสมกับน้ำตาลทรายในสัดส่วนประมาณ 55 ต่อ 45 มีรสหวานจัด ไม่ต้องเก็บในตู้เย็น แต่ห้ามใช้ชงเลี้ยงทารก เพราะต้องเจือจางถึง 5 เท่า ถึงจะหวานพอดี สารอาหารจึงไม่เพียงพอสำหรับทารก ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาจึงบังคับให้ระบุบนฉลากว่า “ห้ามใช้เลี้ยงทารก” สำหรับในต่างประเทศ นมข้นหวานและนมข้นจืด ใช้ทำขนมอบ พวกเบเกอรี่ เพราะเป็นน้ำนมและมีความหวานมัน คนไทยก็นิยมเติมในชา กาแฟ โกโก้ ที่เรียกกันไปต่างๆ เช่น ชานม กาแฟเย็น โอเลี้ยงยกล้อ ผู้บริโภคยังได้สัมผัสรสชาติ และสารอาหารธรรมชาติในน้ำนมตามปริมาณเติมเพื่อปรุงแต่งความอร่อย เมื่อมีการผลิตนมข้นทั้ง 2 ชนิดในบ้านเรา ผู้ผลิตไม่สามารถนำน้ำนมสดมาเป็นวัตถุดิบโดยตรง เพราะไม่มีการผลิตอย่างเพียงพอ ทำให้มีราคาสูง จึงได้นำนมผงที่นำเข้าจากต่างประเทศมาผสมน้ำในสัดส่วนที่เหมาะสม แล้วนำมาบรรจุกระป๋อง ผลิตภัณฑ์เหล่านั้นจึงผลิตได้ในประเทศและเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวาง ปัจจุบันเราไม่สามารถหาซื้อ “นมข้นหวาน” และ”นมข้นจืด” ในท้องตลาดในบ้านเราอีกแล้ว เพราะ “นมข้นหวาน” และ “นมข้นจืด” ในเมืองไทยเราเปลี่ยนชื่อเป็น ”ผลิตภัณฑ์นม.....” “ครีมเทียมข้นหวาน” และ “ครีมเทียมข้นจืด” หมดแล้ว โดยที่สภาพหน้าตาของผลิตภัณฑ์ยังคงมีรูปลักษณะเดิม แต่วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์แตกต่างไปจากเดิม สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จึงไม่อนุญาตให้ใช้ชื่อเรียกบนฉลากว่า “นมข้นหวาน” และ”นมข้นจืด” ดังที่เคยใช้มา แต่คนไทยเรายังคงคุ้นเคยกับชื่อเดิมและใช้เรียกอย่างทั่วไป จึงอาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดในคุณประโยชน์ได้ครีมเทียมคืออะไรคำว่า “ครีมเทียม” เข้ามาอยู่ในชื่อของผลิตภัณฑ์เหล่านี้ได้อย่างไร และมันคืออะไรกันแน่ ครีมเทียมคือ ผลิตภัณฑ์ที่ทำขึ้นเลียนแบบครีมแท้ ครีมแท้ทำมาจากน้ำนมโคที่เหวี่ยงแยกไขมันออกมา จึงมีแต่ไขมันในสัดส่วนที่สูงมาก และมีโปรตีนและสารอาหารอื่นจากนมน้อย ครีมเทียมจึงเป็นผลิตภัณฑ์ที่เน้นให้มีไขมันเป็นหลักแต่ไม่ใช้ไขมันนมเพื่อลดต้นทุนลง ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ครีมเทียม จึงหมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้ทำจากนมและมีไขมันอื่นนอกจากมันเนย เป็นส่วนที่สำคัญ ส่วนประกอบหลักในครีมเทียม จึงเป็นแป้งที่ผ่านการย่อยบางส่วนที่เรียกกันว่า กลูโคสไซรัป หรือ มัลโตเด๊กตริน (คนไทยจะคุ้นชินในชื่อ แบะแซ) ผสมกับไขมัน โดยบางยี่ห้อก็เป็นน้ำมันปาล์ม บางยี่ห้อก็เป็นน้ำมันพืชชนิดอื่นหวาน มัน ครั้งต่อไป จำไว้ เธอไม่ใช่นม นมข้นหวานและนมข้นจืด ได้มีการเปลี่ยนแปลงสูตรไปจากเดิม ด้วยเหตุผลที่สำคัญคือผู้ผลิตต้องการลดต้นทุนการผลิต ซึ่งไม่ใช่เพิ่งทำ แต่ได้ดำเนินการต่อเนื่องมากว่า 10 ปีแล้ว ในระยะแรก เริ่มจากการใช้ไขมันเนยที่มีราคาแพงไปเป็นการใช้ไขมันพืชแทน เช่น การใช้น้ำมันปาล์มบ้าง น้ำมันมะพร้าวบ้าง ผสมกับนมผงขาดมันเนย ต่อมาจึงได้เริ่มมีการลดปริมาณนมผงที่เติมลงไป จนมีปริมาณนมในผลิตภัณฑ์น้อยมากจนกฎหมายไม่อนุญาตให้คำเรียกว่า “นม” เพราะผลิตภัณฑ์ที่จะเรียกว่า “นม” ได้นั้น จะต้องมีเนื้อนมไม่น้อยกว่าร้อยละ 8 ในผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ผลิตภัณฑ์ที่คนไทยส่วนใหญ่ยังหลงเรียกกันว่า “นมข้นหวาน และนมข้นจืด” จึงตกจากประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ผลิตภัณฑ์นม และเพื่อให้สามารถปรับปริมาณนมได้ตามอิสระมากขึ้น ผู้ประกอบการบางรายเลือกที่จะให้ผลิตภัณฑ์เข้าไปอยู่ในประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ครีมเทียม แทน เพราะทำให้สามารถปรับลดต้นทุนได้ง่ายขึ้น ด้วยการเพิ่มการใช้กลูโคสไซรัป (แบะแซ) ในปัจจุบันนี้ ผู้บริโภคต้องรู้เท่าทันว่า ครีมเทียมทั้งในรูปผง ข้นจืดและข้นหวานในกระป๋อง ที่เรานิยมใส่ในเครื่องดื่มประเภทชา กาแฟ โกโก้ ทั้งร้อนและเย็น รวมทั้งที่มีในผง 3 in 1 ทั้งหลาย มีสัดส่วนของน้ำนมน้อยมากหรืออาจไม่มีเลย ถ้าจะเลือกใช้แบบที่บรรจุกระป๋อง ก็ใช้ที่ผู้ผลิตเรียกว่า “ผลิตภัณฑ์นม” ก็จะได้บริโภคเนื้อนมมากกว่า เพราะมีกฏหมายคุมอยู่บ้าง เข้าทำนอง “กำขี้ดีกว่ากำตด” จึงต้องฝึกการอ่านฉลากและส่วนประกอบไว้ให้เป็นนิสัย ซึ่งกฎหมายบังคับให้ผู้ผลิตต้องแสดงข้อความดังกล่าวเป็นร้อยละหรือเปอร์เซ็นต์ เท่าทันคำอ้างบนฉลากเรื่องแรกที่ควรรู้ให้เท่าทันคือ สิ่งที่ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ไม่ว่ายี่ห้อไหน ชอบระบุว่า “ไม่มีโคเลสเตอรอล” หรือ “ปราศจากโคเลสเตอรอล” (No Cholesterol) ในความจริงตามธรรมชาตินั้น ไขมันจากพืชไม่มีโคเลสเตอรอลอยู่แล้ว แต่หากเป็นไขมันอิ่มตัวเช่น ไขมันปาล์ม เมื่อบริโภคเข้าไปร่างกาย ร่างกายสามารถเปลี่ยนเป็นโคเลสเตอรอลได้และยังมีผลในการเพิ่มไขมันตัวไม่ดี แอลดีแอล (LDL) อีกด้วย ไขมันที่ใช้ทดแทนไขมันนม ต้องการไขมันที่มีความอิ่มตัวสูง เพราะทำให้รสชาติมันอร่อย เวลาเติมผลิตภัณฑ์เหล่านี้ลงในเครื่องดื่มถ้วยโปรด จึงต้องใช้สติ ควบคุมอารมณ์ความยากให้ดี อย่า หวาน มัน มากเกินไป เพราะในแต่ละวันเราก็ยังมีโอกาสที่ได้รับไขมันอิ่มตัวจากอาหารมื้อหลักในปริมาณที่สูงมากได้อีกหลายทาง เรื่องที่สอง คือการสร้างความกลัวเรื่องไขมันทรานส์ สิ่งที่น่ากังวลคือ ผู้ผลิตมักมีการกล่าวอ้างเรื่องไขมันทรานส์ในผลิตภัณฑ์ครีมเทียมว่า “ปราศจาก” ซึ่งต้องเข้าใจและไม่หลงคล้อยตาม เพราะปัญหาเรื่องไขมันทรานส์มักพบในประเทศแถบตะวันตกเป็นหลัก เนื่องจากการผลิตครีมเทียมด้วยน้ำมันพืชที่มีไขมันไม่อิ่มตัว ต้องใช้กระบวนการไฮโดรจิเนชั่น (Hydrogenation) ซึ่งจะทำให้เกิดไขมันทรานส์ ที่มีผลให้ไขมันแอลดีแอล และโคเลสเตอรอลเพิ่มขึ้นแล้ว ยังไปทำให้ไขมันตัวดีหรือเอชดีแอลลดลงด้วย แต่สถานการณ์นี้จะไม่เกิดในเมืองไทยเพราะเราใช้ไขมันอิ่มตัวที่ไม่ผ่านกระบวนการไฮโดรจิเนชั่น การกล่าวอ้างดังกล่าวจึงเป็นการกลบเกลื่อนหรือเบี่ยงเบนข้อเสียของผลิตภัณฑ์ตนเองที่อุดมไปด้วยไขมันอิ่มตัว แต่เปลี่ยนเป็นการทำให้คนไทยเกิดความกลัวไขมันทรานส์จนลืมปัญหาที่แท้จริงของตนเองคือไขมันอิ่มตัว จึงต้องระวังกันให้มากเมื่อมีการใช้ครีมเทียมมาผลิตเป็น ครีมเทียมข้นหวาน ครีมเทียมข้นจืด สิ่งที่ทำให้คนเรารู้ไม่เท่าทันนั่นก็คือ หน้าตาและรสชาติที่ยังคงเดิม น้ำมันปาล์มที่ใช้ยิ่งใส่มากยิ่งได้ความมันอร่อย คนไทยกินอาหารมักคำนึงถึงความอร่อยมาก่อนสุขภาพ ปัจจุบันคนไทยจึงประสบปัญหาของไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจขาดเลือด ตลอดจน เบาหวานและความดันโลหิตสูงมากขึ้น การอ่านฉลากก่อนซื้อจึงมีความสำคัญมาก และนั่นก็คือ การฉลาดซื้อนั่นเอง          

อ่านเพิ่มเติม >