ฉบับที่ 156 “อยากรู้เหมือนกันว่าการได้ชนะพวกประกันนั้นมันเป็นอย่างไร ”

เรื่องราวของทุกคนมีสิทธิที่ ฉลาดซื้อ นำมาฝากเพื่อเป็นบทเรียนอันล้ำค่าคราวนี้ คือ เรื่องราวของคุณธาวิน หมี่เต หนุ่มอาข่า  ชาวเชียงใหม่ ทำงานเป็นหัวหน้าช่างที่บริษัทเกี่ยวกับเครื่องประดับในกรุงเทพฯ กับคุณกิติยา จุพิพันธ์ทอง หรือกุ้ง สาวนครสวรรค์  ภรรยาสาว ซึ่งเป็นผู้จัดการร้านทำฟัน ทั้งสองจะเล่าเรื่องราวการต่อสู้กับความเฉยชาของบริษัทประกันภัยที่ปฏิบัติราวกับคนใจหิน เมื่อคุณธาวิน คือ 1 ในผู้ประสบอุบัติเหตุจากรถกรณีรถทัวร์ตกเหวลึกที่ลำปาง ธาวิน : ผมเดินทางไปเยี่ยมแม่ ไปอยู่กับแม่ได้สักพักก็กลับกรุงเทพฯ พอมาถึงลำปาง อ.เถิน ก็ประสบอุบัติเหตุรถโดยสาร ผมนั่งรถทัวร์ของบริษัทนิววิริยะฯ คนนั่งมาเต็มคันรถ   ช่วงเวลาที่เกิดเหตุประมาณเกือบเที่ยงคืน ตอนแรกหลับตาอยู่แต่ไม่ได้หลับนะพอรู้สึกตัวว่ารถเอียงเลยลืมตาขึ้นมา เห็นเลยว่ารถเอียงแล้วก็ล้มฝั่งที่ผมนั่งพอดี พอตั้งสติได้ก็เรียกให้คนช่วย คนที่อยู่ข้างนอกเข้ามาช่วยผมออกไปได้ แล้วรอบๆ ก็มีคนถูกคลุมผ้าขาว มีแต่เลือด ตอนแรกเขาพาไปโรงพยาบาลเถิน พอเอ็กซเรย์เสร็จก็ถูกส่งตัวไปโรงพยาบาลลำปางต่อ ซึ่งตอนนั้นผมไม่รู้เลยว่าผมเป็นอะไร เจ็บหนักขนาดไหน รู้แค่มีผู้เสียชีวิตเยอะ   ก่อนที่แฟนผมจะมาถึงโรงพยาบาล วันแรกเขาไม่ให้ผมกินอะไร ผมต้องนอนอยู่เหมือนคนป่วยไร้ญาติ ไม่มีใครมาดูแลอะไรเท่าไหร่ อาจจะเพราะคนป่วยเยอะด้วย เลือดเกรอะกรังเต็มตัวเลย ยังอยู่สภาพเดิมจากที่เกิดเหตุมา พออีกวันเขาก็ย้ายให้ไปนอนหน้าระเบียง แจ้งว่ามีคนเจ็บหนักกว่าต้องย้ายไปนอนข้างนอกนะ ตอนนั้นไม่มีใครเหลียวแลผมเลย นอนรออย่างเดียว พออีกวันก็ต้องผ่าตัด ไม่มีญาติก็ไม่มีใครเซ็นต์อนุญาต ต่อมาทราบภายหลังว่ามีผู้เสียชีวิต 8 คน คนเจ็บ คนตายส่วนใหญ่เป็นพวกชนเผ่าที่ถือบัตรเหมือนกัน แต่หลายคนผมคิดว่า คงได้รับการปฏิบัติที่ไม่ดี ไม่เป็นธรรม เพราะพวกเขาไม่ประสีประสาเรื่องกฎหมายกัน(ผมก็เกือบไปเหมือนกันโชคดีได้แฟน พี่ชายแฟนช่วย)  อาการผมสาหัส ต้องนอนโรงพยาบาล 4 วัน  และออกมาพักอยู่ข้างนอกอีก 2 – 3 วัน   กุ้ง : อยู่ รพ. 3 วันนี่เขา(รพ.)ให้เราออกเลย หนังหัวของธาวินเปิดมากนะต้องเย็บประมาณ 20 เข็ม ตอนนั้นธาวินก็ยังเบลอๆ อยู่ ทางแผนกการเงินเรียกเราไปคุยว่ามันหมดงบที่เขา(ประกันบุคคลที่ 3) คุ้มครองเราแล้วนะ เขาจะลองยื่นของบไปอีกแล้วจะแจ้งเราอีกที พอถัดมาวันเดียวหมอบอกว่าออกได้แล้ว แต่ธาวินยังไม่ดีขึ้นเลย ขนาดเดินยังเดินไม่ค่อยตรงเลย หมอบอกว่าไม่เป็นไรออกได้ แต่ใบรับรองแพทย์ยังไม่ได้ เราเลยต้องไปเช่าห้องพักอยู่ตรงข้ามกับโรงพยาบาลเพื่อรอหมอให้ออกใบรับรองแพทย์ให้ จากนั้นก็ไปที่สถานีตำรวจ อ.เถิน เพื่อตกลงกับตัวแทนประกันที่นั่น ตัวแทนประกันบอกว่าให้เราเต็มที่ไม่เกิน 15,000 บาท ให้ตามใบรับรองแพทย์เลย (ใบรับรองแพทย์คือให้ลาได้ 6 สัปดาห์) แล้วไปรักษาตัวต่อที่กรุงเทพฯ ส่วนเงินเดือนต้องให้ทางบริษัทส่งแฟ็กซ์มา เงินเดือน 13,500 บาท เขาให้เราได้เต็มที่แค่เดือนครึ่ง คือ 15,000 บาท พี่ชายของกุ้งเลยบอกว่า เขาเป็นคนมาส่งธาวินไม่รู้ตอนนี้สมองเขาเป็นอย่างไรบ้าง ทางประกันเลยบอกว่าจะขอเพิ่มให้อีก 5,000 บาท  พี่ชายจึงบอกไม่ให้ยอม อย่าเซ็นต์อะไรทั้งนั้น ตอนนั้นมีอีกคนหนึ่งที่เกิดอุบัติเหตุจากรถคันเดียวกัน เขามาไกล่เกลี่ยเหมือนกัน เป็นชาวเผ่าอะไรจำไม่ได้แล้ว ซึ่งเขาท้องอยู่แต่ลูกไม่ดิ้นแล้ว แล้วเงินเดือน 7,000 บาท ตัวแทนประกันก็บอกให้แค่ 7,000 เพราะในใบรับรองแพทย์เขียนไว้ว่าลาได้ 2 สัปดาห์ แต่ตัวแทนประกันจะจ่ายให้เต็มเดือนคือ 7,000 บาท ถ้าไม่เอาก็ไม่ต้องเอา เขาคุยกันอีกสักพักตัวแทนประกันบอกว่าจะคุยกับหัวหน้าให้เพิ่มเป็น 9,000 บาท เขาพูดว่า “ผมจะบอกไว้เลยไม่มีใครชนะประกันได้หรอก” ตอนนั้นพอกุ้งได้ยินก็รู้สึกว่าอยากรู้เหมือนกันนะว่าการได้ชนะประกันนั้นมันเป็นอย่างไร แล้วตัวแทนประกันคนนี้ก็เดินไปคุยกับหัวหน้าของเขา ซึ่งพี่ชายของกุ้งนั่งอยู่โดยที่พวกเขาไม่รู้ว่าเรามาด้วยกัน พี่ชายกุ้งได้ยินที่ตัวแทนประกันคนนั้นคุยกับหัวหน้าว่า เคสนี้จบแล้วที่ 9,000 บาท แต่ที่เราได้ยินเขาพูดคือบอกจะช่วยคุยกับหัวหน้าให้ ทำให้เรารู้เลยว่าเขาก็คงไม่ได้ช่วยเราอย่างที่เขาพูดหรอก พอกลับมาถึงกรุงเทพฯ ก็มีจดหมายของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคส่งมาว่าจะช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุจากรถโดยสาร แต่ตอนนั้นก็ไม่ได้สนใจเพราะพี่ชายบอกว่าจะวิ่งเรื่องให้ ตอนหลังมีตัวแทนของนิววิริยะ(รถคันที่เกิดอุบัติเหตุ ) และตัวแทนประกันมาคุยว่า อย่าให้มีเรื่องฟ้องร้องกันเลย ให้ไกล่เกลี่ยกัน ก็คุยกันว่าขอ 40,000 บาท แล้วจะไม่มีการฟ้อง ไม่ต้องเดินเรื่องอะไรแล้ว 40,000 บาทนี่คือเราพอใจแล้ว ทีนี้รอมาเรื่อยๆ จนเกือบปี อยู่ๆ ก็มีเงินมาให้ 15,000 บาท เงินตรงนี้ไม่ทราบเหมือนกันว่ามาจากประกันหรือขนส่ง แต่พี่ชายบอกว่าให้รับไว้ก่อน แต่ไม่มีการเซ็นต์รับอะไรเพราะเรายังไม่รู้ต้นสายปลายเหตุว่ามาจากประกันหรือเปล่า พอหลังจากนั้นอีก 1 เดือนพี่ชายก็เริ่มวิ่งเรื่องแล้ว เพราะมันนานแล้วยังไม่ได้อะไรสักที ก็มีคนในขนส่งแนะนำว่าให้มาที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค คนๆ นี้เขาพาพี่ชายมาที่มูลนิธิฯ เลย เราก็มารู้ทีหลังว่าอีกเดือนเดียวจะหมดอายุความ แล้วเราจะเรียกร้องอะไรจากบริษัทประกันภัยไม่ได้อีกเลย ที่บริษัทฯ เงียบไปเป็นเหมือนการดึงเวลา ซึ่งเราไม่รู้ว่าคดีมันหมดอายุความ แค่ 1 ปี เรารอมา 11 เดือน กับอีกไม่กี่วันก็จะครบปีแล้ว พอพี่ชายทราบจึงเดินเรื่องให้ ยื่นขอเป็น 10 ปี แล้วก็ให้เราเก็บหลักฐานทั้งหมด พูดถึงหลักฐานก็ทิ้งไปเยอะมาก เหลือแค่เอกสารของโรงพักและโรงพยาบาล โชคดีที่มีพี่คนหนึ่งถ่ายรูปบาดแผลเก็บไว้ให้เป็นอนุสรณ์ว่าเคยปางตาย พวกใบเสร็จก็ไม่มีเลย มีแต่ใบเสร็จที่กลับมารักษาตัวต่อที่โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ ซึ่งตอนแรกคุณธาวินจะไม่ยอมรักษาต่อ กุ้งรู้สึกว่าอารมณ์เขาไม่ค่อยปกติ จนคนรอบๆ ข้างก็พูด เพราะปกติเขาเป็นคนเรียบร้อย นิ่งๆ เดี๋ยวนี้นึกจะโกรธก็โกรธ เลยช่วยกันคุยว่าต้องไปหาหมอนะเพราะมันเกี่ยวกับรูปคดี เขาเลยยอม หมอก็บอกว่ามันเกี่ยวกับสมองกระทบกระเทือน เขาใช้หลักจิตวิทยาคุยจนรู้ปม ตอนนี้อารมณ์ก็ค่อยๆ ดีขึ้น แต่จะมีเรื่องอาการขี้ลืม เบลอๆ ความจำแย่ลงแต่ว่าอารมณ์ดีขึ้น หมอบอกว่ามันเกี่ยวกันนะจะทำให้เขาลืมมันยาก เพราะตอนเกิดอุบัติเหตุเขามีสติสมบูรณ์ เห็นคนตาย เห็นทุกอย่าง บางทีเขาขับรถไปอยู่ดีๆ ก็หยุด เขาบอกว่ากลัวโดนรถชน ก็เลยบอกว่าเราต้องสู้นะ ต้องสู้ไปด้วยกัน ตอนพากันมาที่มูลนิธิฯ ตอนแรกก็กลัวนะคิดไปว่า “ใครจะมาช่วยเฉยๆ โดยที่ไม่ได้อะไร” แต่จำได้ว่าหลังเกิดอุบัติเหตุไม่นานมีซองเอกสารจากมูลนิธิฯ ส่งมาซึ่งเราได้ทิ้งไปแล้ว นี่ถ้าคุยตั้งแต่ต้น เรื่องอาจจบไปนานแล้วนะ มีคนบอกว่าตอนเกิดเรื่องใหม่เราจะได้เปรียบแต่นี่ปล่อยไว้นาน สรุปสุดท้ายคือเขายอมจ่ายที่ 170,000 บาท คือทางมูลนิธิฯ เขียนเรียกค่าเสียหายให้ใหม่เป็น 500,000 บาท ซึ่งทางมูลนิธิฯ บอกว่าอย่าไปคาดหวังนะ ซึ่งเขาก็ยอมที่ 170,000 บาท วันนี้ก็นัดรับเช็คแล้วก็ไม่ได้เลื่อนไปอีก ซึ่งเราต้องเป็นคนโทรตามเอง บทเรียนราคาแพง สิ่งที่ต้องทำ 1.เก็บทุกอย่างที่เกี่ยวกับเรา ใบเสร็จทุกอย่าง ข่าวที่เกี่ยวกับเรา อันนี้เป็นบทเรียนเลยเพราะตอนแรกผมก็ไม่ได้คิดที่จะฟ้อง เลยไม่ได้เก็บ พอตอนหลังมีคดีความต้องใช้หลักฐานทุกอย่าง ถ้าไม่เกิดกับเราจะไม่รู้เลยว่ามันยุ่งยากขนาดนี้ แล้วการปฏิบัติกับเราทั้งคำพูด การดูถูก ทำเหมือนเราไม่ใช่คน คือการเปิดใจยอมรับมีน้อย แค่บอกว่าเป็นชาวเขาก็ดูถูกแล้ว เขาไม่สนใจว่าคุณเก่งแค่ไหน แค่ช่วงแรกที่เกิดอุบัติเหตุก็นั่งเจรจากัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวเขาที่มีบัตรประชาชน อย่างผมก็มีบัตร แต่ว่าเขาไม่ประสีประสาเรื่องกฎหมาย เหมือนผมตอนแรกก็ไม่รู้ มันทำให้โดนเอาเปรียบ คนอื่นเขาได้เงินแล้วก็เซ็นต์รับไป 2.อย่าลงลายมือรับข้อเสนอแรก ดีที่พี่ชายบอกว่าห้ามยอมความง่ายๆ  พอตัวแทนประกันบอกว่าไม่มีใครชนะประกันได้ พวกเราก็พยายามตามเรื่องกัน พอติดต่อไปทางประกันก็ทำเฉย บอกว่าไม่ใช่หน้าที่ที่เขาจะต้องมาติดต่อ หลังจากที่ไกล่เกลี่ยที่โรงพักแล้วสรุปว่าเราไม่ยอมความกัน เขาบอกว่าถ้าคุณไม่ยอมก็ต้องไปฟ้องเอา ไม่เกี่ยวกับเขาแล้ว พอลงมากรุงเทพก็มารักษาตัวต่อ เจรจาทีแรกไปขนส่งก็ตกลงกันได้ที่ 4 หมื่น รอมาครึ่งปีก็ไม่ได้ข่าวคราวอะไร รอมาเกือบปีก็ได้เงินหมื่นห้าโผล่มา ก็เห็นว่าไม่ได้เรื่องแล้ว โชคดีมีคนที่รู้จักกับพี่ชายเขาพามาที่มูลนิธิฯ 3.ห้ามท้อ บางทีมันก็ท้อนะ เพราะเขา(ประกัน) เห็นเราไม่ประสีประสาเขาก็มองข้ามไป เอาเปรียบได้ก็เอาเปรียบ ตอนแรกเขาให้ 25,000 บาท ผมไม่ยอม พอเจรจายอมที่ 4 หมื่น แต่ก็แล้วก็กลับมาให้หมื่นห้า อย่างนี้มันถูกแล้วหรือ จนต้องเป็นคดีความ ฟ้องร้องกันอีกเยอะแยะ เสียเวลาทั้งของเราและของเขา ซึ่งค่าเดินทาง ค่าโดนหักที่ต้องลางานนั้นมันออกใบเสร็จไม่ได้ เงิน 170,000 มันไม่คุ้มหรอก จริงๆ แล้วเราไม่ได้อยากให้เป็นคดีความ ไม่ได้อยากได้เงินเขาขนาดนั้น แต่อยากให้ประกันเอาใจเขามาใส่ใจเราบ้าง รู้เลยว่า เกิดเรื่องอย่างนี้มันพูดถึงจิตใจไม่ได้นะ เขายึดที่หลักฐานอย่างเดียว ไม่อย่างนั้นโดนเอาเปรียบแน่ ผมเข้าใจว่าพวกเขาต้องปกป้องผลประโยชน์ของบริษัทฯ เขาเป็นเรื่องธรรมดา แต่ควรมองอีกมุมหนึ่งด้วยว่าเรื่องอย่างนี้ไม่มีใครอยากให้เกิด ไม่มีใครอยากเจ็บ อยากตาย แต่ถ้าเกิดแล้วเขาต้องรับผิดชอบ ไม่ใช่ปล่อยเลยตามเลย เขาเห็นเป็นชนเผ่า คงไม่คิดว่าจะสู้ขนาดนี้     //

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 155 กรุณางดการใช้เสียงขณะอ่าน

ฉลาดซื้อฉบับต้นปีนี้จะพาไปสัมผัสว่าความเงียบดีอย่างไร ลดเสียงลงสักหน่อย สังคมจะมีความสุขเพียงไหน เราจะเรียนรู้สิ่งเหล่านี้ไปพร้อมๆ กับ รู้จัก ดร.อรยา สูตะบุตร หรือ อ.ปุ้ม ผู้ประสานงานชมรมหรี่เสียงกรุงเทพฯ  ที่นอกจากท่านจะเป็นอาจารย์พิเศษวิชาพลเมืองและความรับผิดชอบต่อสังคม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  กรรมการสถาบันธรรมศักดิ์เพื่อประชาธิปไตย  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  หรือทำงานแปล ไทย-อังกฤษ แล้ว    ยังเป็นสมาชิกกลุ่มบิ๊กทรี( กลุ่มอนุรักษ์ต้นไม้ใหญ่ในเมือง ) ค่อยๆ หรี่เสียงตัวเราเอง สิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัว แล้วมาล้อมวงฟังเรื่องราวของชมรมหรี่เสียงกรุงเทพกันนะคะ   เกี่ยวกับชมรมหรี่เสียงกรุงเทพฯ เกิดขึ้นมาได้อย่างไร จริงๆ ชมรมนี้อยู่มาใกล้จะ 10 ปีแล้วแต่ก็เป็นชมรมเล็กๆ ตอนเริ่มต้นในกรุงเทพฯ ก็มีเสียงรบกวนอยู่หลายรูปแบบ แต่อันที่สะกิดใจก็คือ เสียงทีวีในรถไฟฟ้า เพราะว่ามันเป็นเสียงที่เราหนีไม่ได้ ไปหรี่เสียงมันก็ไม่ได้ ไปยืนตรงที่มันไม่มีเสียงก็ไม่มี เกิดคล้ายๆ ว่าแรงผลักดันที่จะทำอะไรสักอย่างก็เลยเป็นที่มาของชมรม   ชมรมว่าทำงานในส่วนใดบ้าง มีขอบข่ายอย่างไร เนื่องจากเป็นชมรมเล็กๆ นะคะ การใช้บทบาทในเรื่องที่เผยแพร่ข้อมูลไปถึงสาธารณะก็คือ ผ่านสื่อหลายๆ ช่องทาง โดยเน้นเรื่องอันตรายของเสียงดัง มีการตีพิมพ์บทความ ข้อมูลให้คนรู้ว่าจะต้องระวังภัยเสียงดังในพื้นที่ไหนบ้าง โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ จะมีบางช่วงเวลาที่ระดมอาสาสมัครออกไปวัดเสียง ก็วัดกันเองด้วยเครื่องมือที่มีคนให้ยืม แล้วเราก็ตีพิมพ์ออกมาเป็นบทความว่าที่ไหนเสียงดังอย่างไร พร้อมกับให้ข้อมูลว่าค่าระดับเท่านี้ๆ มันทำอันตรายกับหูได้ในระยะเวลานานเท่าไร จะเป็นลักษณะใช้สื่อในการให้ข้อมูล และถ้าเป็นไปได้ก็เข้าไปตามสถานศึกษาบ้าง ก็มีการจัดคล้ายๆ เหมือนกับพาคนไปเที่ยวที่ที่มันเงียบสงบในกรุงเทพฯ  แล้วบรรยายให้ความรู้ไปในกิจกรรมพร้อมกันว่าการอยู่ในที่ที่มันสงบและไม่มีเสียงดังนั้นมันมีประโยชน์อย่างไร   นอกจากเสียงบนรถไฟฟ้า คิดว่าเสียงที่ไหนที่มันเป็นมลพิษอีกบ้าง ถ้าพูดถึงกลุ่มเฉพาะขนส่งมวลชนทั้งหลาย ก็จะมีทั้งรถไฟฟ้า รถไฟใต้ดิน และพวกรถทัวร์ รถที่มันติดทีวีข้างในตัวรถ ซึ่งพวกนี้มันเป็นเสียงกลุ่มเดียวกัน ทำให้รู้สึกว่าจะหนีไม่ได้ ต่อให้อุดหูมันก็ยังช่วยไม่ได้ เพราะว่าโดยมากจะเปิดดังมาก และเป็นที่แคบมันก็ยังมีโอกาสสะท้อนมากเข้าไปอีก พอเป็นลักษณะที่ต้องทนอยู่ในที่หนีไม่ได้ ลดเสียงไม่ได้นี่ก็เป็นประเภทหนึ่ง อีก 2 ประเภทที่เจอคนร้องเรียนเข้ามาเยอะ คือเสียงจากที่ก่อสร้าง ซึ่งบางทีก็ทำแบบไม่เต็มเวลา ไหลไป 24 ชม.ก็มี แล้วเสียงก่อสร้างต่อให้เราไม่ต้องอยู่ใกล้มาก มันก็มีทั้งแรงสั่นสะเทือน มีทั้งเสียง นี่ไม่นับมลภาวะอื่นทางอากาศนะคะ อีกเรื่องคือพวกที่มีลักษณะเปิดดนตรีในที่สาธารณะในระดับที่เกินความจำเป็น ตั้งแต่คอนเสิร์ต ห้างสรรพสินค้า พวกคาราโอเกะแบบที่ไม่ปิดมิดชิด ตั้งเป็นเพิงขึ้นมาได้ก็ร้องแล้ว พวกนี้จะมีปัญหามากเพราะว่าเปิดกันดึกดื่น พอไม่มีการควบคุม ไม่ได้ขออนุญาต เป็นเพิงไม้เล็กๆ ตามข้างทางแล้วใช้เครื่องเสียงขนาดใหญ่ เลิกกันตอนเช้ามืดนั้น เป็นการใช้เสียงที่ไม่รับผิดชอบต่อคนที่อยู่รอบๆ อีกอย่างคือใช้เสียงในระดับที่สูงเกินไป ก็เลยจะกระทบคนเป็นจำนวนมาก แต่ปัญหาอันหลังสุดนี้มันกลายเป็นปัญหาที่ในต่างจังหวัดรุนแรงกว่ากรุงเทพฯ เสียอีก เพราะมันเหมือนเป็นธรรมเนียมที่ถ้าอยู่ในชุมชนเมือง มันมีโอกาสน้อยกว่าที่คาราโอเกะแบบนี้จะอยู่ได้โดยไม่มีใครไปว่าอะไรเขา แต่ว่าชานเมืองหรือต่างจังหวัด ต่อให้หนีไปโรงแรมที่ห่างไกล หรือสถานที่ปฏิบัติธรรมที่ลี้ลับสุดๆ จะต้องมีบ้านชาวบ้านก็ต้องงานเลี้ยงอะไรของหมู่บ้านที่มีเครื่องเสียงเต็มเหนี่ยว แล้วมันไม่ใช่เพลงรื่นรมย์ เป็นเพลงแบบคนเมาจนถึงดึกดื่น ถึงเช้า ซึ่งมันสะท้อน 2 อย่าง คือ การไม่รู้อันตรายของระดับเสียงที่ดังเกินไป อันตรายทั้งในแง่ร่างกายและจิตใจ อันที่ 2 คือการที่เราละเลยความรับผิดชอบต่อผู้อื่นจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตของเรา คิดว่านี่คือการทำอะไรชิลๆ แต่เราลืมดูว่าทำให้คนอื่นไม่ได้พักผ่อนหรือถูกรบกวนด้วยเสียงดัง   อาจต้องใช้การรณรงค์เรื่องจิตสำนึกหรือเปล่า เท่าที่ในประสบการณ์มีอีกเรื่องหนึ่งที่ต้องเสริม คือ คนกรุงเทพฯ เริ่มมีปัญหา และมีการแจ้งมาที่ชมรมบ่อย คือ การเป่านกหวีด (หัวเราะ) จะหมายถึงการเป่านกหวีดจราจร จริงๆ ตำรวจเป่าน้อยมาก ที่เป่าคือพวกดูแลจราจรตามหน้าอาคารต่างๆ ซึ่งถ้ามองจริงๆ แล้วจะพบว่ามันมีประโยชน์น้อยมาก คือเป็นสิ่งที่เข้าใจยากมากที่คนขับรถนั้นไม่ว่าจะเป็นที่ออกมาจากตึก หรือกำลังจะผ่านหน้าตึกจะแยกแยะไม่ได้หรอกว่าเป่านกหวีดอันนี้คือให้ไปหรือให้หยุด แล้วหมายถึงคันที่กำลังจะออกหรือคันที่กำลังจะผ่าน มันเหมือนกับเป็นเสียงปี๊ดๆ ไปไม่มีความหมายชัดเจน แค่ทำให้เกิดความสนใจแต่ไม่ได้แปลออกมาว่าให้ทำอะไร จะเห็นว่าหลายๆ ที่นั้น โรงพยาบาล ห้างสรรพสินค้า หรือโรงแรมหลายแห่งที่เขามีรถเข้าออกเยอะๆ เขาไม่ได้ใช้นกหวีดก็ไม่ได้มีปัญหาอะไรมากไปกว่าหน่วยงานที่ใช้ ซึ่งนี่เป็นความเข้าใจว่านกหวีดเป็นเสียงก่อให้เกิดความรำคาญนั้นแต่ละเจ้าของก็จะไม่เหมือนกัน อย่างเซ็นทรัลชิดลมมีรถเลี้ยวเข้าเลี้ยวออกเยอะมากแต่ไม่มีนกหวีดและเขาก็ไม่เคยมีปัญหาอะไรในขณะที่ห้างอื่น โรงพยาบาล อาคารทั้งหลายจะบอกว่าไม่ได้ต้องใช้ ซึ่งเซ็นทรัลชิดลมเป็นหลักฐานที่ดีว่าไม่เห็นต้องใช้เลย ใช้อย่างอื่นแทนได้ ใช้ธง ใช้สัญญาณสีต่างๆ หรือใช้เครื่องมือเป็นแท่งที่มีแสงตอนกลางคืนแทนได้ ซึ่งจากที่ได้รับการร้องเรียนหลายๆ เรื่อง วิธีที่ดีที่สุดคือการเจรจากับคนที่เป็นฝ่ายทำเสียงโดยตรง หมายความว่าในการเจรจานั้นไม่ใช่แค่โทรไปด่าแล้วจบไป สมมติว่าหน่วยงานหรือตึกหนึ่ง ฝั่งคนที่ร้องเรียนถ้าจะให้ดีคือรวมๆ ตัวกัน แล้วคุยกันดี ชี้แจงเหตุผลกัน พบว่าได้ผลมากที่สุด ล่าสุดมีอีเมล์เข้ามาถามว่าเขาจะทำอย่างไรดีกับคอนโดฯ ฝั่งตรงข้ามบ้านเขาเป่านกหวีดตลอด  ซึ่งเขาปิดหน้าต่างแล้วก็ยังช่วยไม่ได้ เป่าทั้งวันเลย ก็บอกเขาว่าคุณอยู่คอนโดฯ เหมือนกัน ฝั่งของคุณไม่เป่านกหวีดเลย แล้วสิทธิมันก็พอๆ กันเพราะว่าถนนเดียวกัน ขอแนะนำให้รวมตัวกันแล้วขอนัดผู้จัดการทั้ง 2 ตึกเลยมาคุยกัน ใช้เหตุผลพูดคุยกันว่าทำไมตึกหนึ่งใช้ อีกตึกหนึ่งไม่ต้องใช้ ทดลองดูไหมว่าถ้าไม่ใช้แล้วมันดีอย่างไร ผลเสียอย่างไร เขาก็ไปลองดูนะ ปรากฏว่ายังไม่ทันได้รวมตัว แค่เดินเข้าไปคุยกับผู้จัดการคอนโดฯ ฝั่งที่เป่านกหวีด ได้ผลเรียบร้อยดี คือเหมือนกับว่าไม่มีใครไปบอกเขาว่าเป่าแล้วมันไม่มีประโยชน์ ถ้าเราเป็นคนที่ใส่ใจสุขภาพของคนอื่น นกหวีดเป็นอันตรายกับผู้เป่ามากที่สุด และความดังของเสียงนกหวีด ถ้าไม่อุดหูแล้วเป่าเต็มแรง เสียงพอๆ กับเครื่องบินไอพ่นเลย เกิน 90 เดซิเบลนะ เคยให้ยามคนหนึ่งเป่าแล้วใช้เครื่องวัดเสียงจ่อเลย เกิน 90 เดซิเบล ปกติคนเราฟังระดับ 70 เดซิเบลเป็นระดับที่ได้ยินพอดี ต้องไม่รู้สึกรำคาญ และถ้าเกิน 80 เดซิเบลเป็นเวลา 1 ชม.จะเริ่มทำให้หูเสื่อมได้   เรื่องกฎหมายในบ้านเราควบคุมได้ระดับไหน คิดว่าพอไหม หรือต้องรณรงค์อย่างไร ใช้กฎหมายไม่เวิร์ค มีกฎหมายเรื่องระดับเสียงซึ่งกรมควบคุมมลพิษประกาศใช้ แต่มันเป็นกฎหมายที่ใช้การไม่ได้ เพราะบอกว่าห้ามทำเสียงดังเกิน 80 เดซิเบลต่อ 24 ชม. หรือ ถ้าค่าเฉลี่ย 24 ชม.ไม่เกิน 80 เดซิเบลนั้นไม่เป็นไร แล้วเมื่อไรมันจะเกิน เพราะตอนตี 3 ตี 5 มันก็ไม่ค่อยดังแล้ว หรือถ้าดังไปถึง 100 เดซิเบลก็คงแป๊บเดียว ถ้าไปหาร 24 ชม.ค่าเฉลี่ยต่อชม.มันก็ไม่เกิน 80 เดซิเบล อย่างที่บอกว่าการเจรจาไกล่เกลี่ยหาข้อตกลงกันได้ผลกว่ากฎหมาย กฎหมายถ้ารอไปแก้คงไม่ทันได้ใช้นะคะ   จุดมุ่งหมายต้องไปขนาดนั้นเลยไหม ปัจจุบันจะทำควบคู่ไปกับการแก้ปัญหาด้านอื่น แต่เรื่องกฎหมายนี้ต้องไปขนาดนั้นไหม ประเทศอื่นเขาจำกัดอยู่แค่ไหน คือกฎหมายเป็นปัญหาโลกแตกสำหรับประเทศไทยในทุกเรื่อง คือกฎหมายถ้ามีการบังคับใช้นั้นก็จะดี จะเห็นผลนะ แต่เรามีปัญหาเรื่องการบังคับใช้ เพราะฉะนั้นในส่วนที่เกี่ยวข้องกับชมรม ขอเน้นเรื่องที่ 1 คือการสร้างความรู้ สร้างความตะหนัก เรื่องที่ 2 คือ เน้นการหันหน้าเข้าคุยกัน หาทางออกร่วมกันด้วยสันติวิธี ไม่ใช่ฝ่ายบ่นก็บ่นไปแต่ว่าไม่เคยได้เข้าไปทำความรู้จักมุมมองของคนที่เขาทำให้เกิดเสียง แล้วหาข้อยุติร่วมกัน ซึ่งวิธีหลังมันได้ผล แต่ในหลายกรณีมันก็ไม่ประสบความสำเร็จ รถไฟฟ้าและรถไฟใต้ดินก็ใช้วิธีเขียนจดหมายไปทั้ง 2 หน่วยงาน ก็ไม่ได้รับความร่วมมือ อย่าง BTS เขาตอบนะแต่บอกว่าเขาวัดแล้วเสียงเขาไม่ดัง มีการสำรวจความคิดเห็นจากผู้ใช้ BTS เขาบอกว่าชอบโฆษณาในรถ ส่วน MRT เราก็ไปตรวจเสียงให้เขาเห็นเลย เขาเห็นรู้เลยว่านี่คือเครื่องตรวจเสียง พนักงานเขาเดินมาหาบอกว่าคุณมาวัดเสียงคุณได้รับอนุญาตหรือยัง ไม่อย่างนั้นต้องเชิญคุณออกไปจากบริเวณ MRT ถ้าทางฉลาดซื้อสำรวจข้อมูลพวกนี้ วัดเสียงได้ ทำได้ทั้งในแง่สำรวจความคิดเห็นด้วย ถ้าช่วยกันก็จะเป็นประโยชน์มากๆ จะได้เป็นหน่วยงานคนกลาง อย่างกลุ่มหรี่เสียงฯ คนจะมองว่าอยู่ฝ่ายคนที่ร้องเรียน ถ้าเป็นมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคจะเป็นลักษณะช่วยดูแลหลายๆ ในประเด็นของผู้บริโภคมากกว่า  

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 154 “ รถเมล์..ทุกคนต้องขึ้นได้ทุกคัน ”

คุณสุภรธรรม มงคลสวัสดิ์ 1 ในผู้นำเรื่องสิทธิของคนพิการแถวหน้าของเมืองไทย ประเด็นล่าสุด “ รถเมล์..ทุกคนต้องขึ้นได้ทุกคัน ” ที่มีภาพผู้ชายหลายๆ คน กำลังแบกคนพิการที่นั่ง Wheelchair ขึ้นบนรถเมล์ ปรากฏในหลายสื่อ  จนเป็นข่าวดัง เมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา คุณสุภรธรรม หรือ อ.ตั๋น  เลขามูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ เริ่มเล่าประวัติส่วนตัวให้เราฟังว่า “ผมพิการมาตั้งแต่เด็กๆ แล้วก็เรียนโรงเรียนคนพิการ เป็นคนหนองคาย แต่เนื่องจากต่างจังหวัดมันไม่มีโรงเรียนคนพิการ ผมเลยต้องเข้ามาเรียนโรงเรียนคนพิการศรีสังวาลย์ที่ปากเกร็ด ตั้งแต่ ป.1จนจบ ม.3 จบแล้วผมก็ไม่ได้เรียนต่อภาคปกติ เพราะว่ามันไม่มีที่ให้ไป ก็ได้ไปเรียนภาคค่ำ สุดท้ายได้เรียนโปรแกรมเมอร์ที่อาชีวะพระมหาไถ่ ที่เป็นฝึกอาชีพเพื่อคนพิการโดยคณะพระมหาไถ่ เป็นการฝึกอาชีพเพื่อคนพิการรุ่นแรก ผมฝึกอาชีพที่นั้นพอจบก็ทำงานที่นั่นเลย เป็นครูที่นั่นมาเรื่อยๆ ตั้งแต่ปี   2530 ตอนนี้ก็ 26 ปีโดยประมาณที่อยู่ที่นั่น ตั้งแต่เป็นครูน้อย เป็นหัวหน้าแผนกคอมพิวเตอร์ เป็นครูใหญ่ แล้วก็มาทำจัดหางาน และทำมูลนิธิฯ มูลนิธิก็ดูแลภาพรวมของงานด้านคนพิการของคณะมหาไถ่ที่มีงานอยู่ที่พัทยา และหนองคาย ก็คลุกคลีงานด้านคนพิการตั้งแต่ต้น เพราะว่าคนที่ก่อตั้งคือบาทหลวง พอเราทำโรงเรียนเสร็จก็ถามว่า คือโรงเรียนนั้นต้องถือว่าประสบความสำเร็จนะ เพราะคนที่จบการศึกษาทุกคนต้องมีงานทำ เพราะฉะนั้นในวงการคนพิการถือว่าโอเค”   แรงบันดาลใจของอาจารย์ที่อยากเห็นการพัฒนาคืออะไร ก็เผชิญปัญหาด้วยตัวเอง ที่เราเห็นปัญหา คลุกคลีกับมันเราก็รู้สึกว่ามันน่าจะมีหนทางที่ดีกว่านี้ น่าจะมีโอกาสที่ดีกว่านี้บวกกับสภาพแวดล้อมมันหล่อหลอม สภาพแวดล้อมในครอบครัวก็ดี ที่โรงเรียนศรีสังวาลย์ ที่อาชีวะพระมหาไถ่ สภาพแวดล้อมที่ไม่ให้เราคิดถึงตัวเราเอง ให้คิดถึงคนอื่น อย่างพ่อก็เป็นแบบอย่างของคนที่ทุ่มเทกับการทำงานเพื่อพัฒนางาน เพื่อช่วยเหลือคนอื่น อย่างการที่โรงเรียนของเราอยู่ภายใต้การอุปถัมภ์ของสมเด็จย่า พระจริยวัตรของพระองค์ท่าน คำสอนของท่านมันถูกแทรกซึมเข้ามาในชีวิตโดยที่เราไม่รู้ตัวบวกกับสิ่งที่เราเห็นในความไม่เป็นธรรม แม้แต่เราอยู่ในโรงเรียนบางทีมันก็มีความไม่เป็นธรรมเกิดขึ้น ซึ่งความไม่เป็นธรรมนั้นมันไม่ใช่เพราะใครอยากจะสร้างความไม่เป็นธรรม แต่มันเกิดขึ้นเพราะความไม่รู้ หรือมันเป็นข้อจำกัด อย่างเช่น คนพิการก็จะมีคนที่นั่งรถเข็นเหมือนผม คนที่เดินได้ แน่นอนคนที่เดินได้ก็มีโอกาสมากกว่าคนที่นั่งรถเข็น เช่นถ้ามีกิจกรรม จะเอาให้ง่ายก็เอาคนที่เดินได้ไป ให้คนที่นั่งรถเข็นไว้ทีหลังอย่างนี้เป็นต้น ก็คือความไม่เป็นธรรม แต่ถ้าถามผมนั่งรถเข็นพอช่วยเหลือตัวเองได้กับอีกคนหนึ่งนั่งรถเข็นแต่ต้องมีคนช่วยเข็น ช่วยป้อนข้าว คนกลุ่มนั้นก็ยิ่งแย่กว่าเรา ถามว่าใครจะดูแล ใครจะเป็นปากเป็นเสียงให้กับเขา เพราะฉะนั้นถามว่าทำไมถึงทำ ก็เพราะสภาพแวดล้อม และสิ่งที่เราเห็นมากกว่า ปัจจุบันของประเทศไทยมีเส้นทางที่เอื้อให้คนพิการมากน้อยแค่ไหน ถ้าพูดถึงการคมนาคม คงต้องมองเรื่องของคนพิการเป็นกลุ่มๆ คนพิการตามสถิติของสำนักงานสถิติแห่งชาติคนพิการทั้งหมดประมาณล้านแปดล้านเก้า แต่ที่มีบัตรคนพิการนั้นมีประมาณล้านสี่เกือบล้านห้า ครึ่งหนึ่งเป็นคนพิการด้านร่างกาย หมายความว่าใช้ Wheelchair แขนขาดขาขาด นอกนั้นก็จะเป็นคนพิการหูหนวกประมาณสิบกว่าเปอร์เซ็นต์ ตาบอดประมาณ 12 – 15 เปอร์เซ็นต์และคนพิการอื่นๆ ในเรื่องการเดินทางนั้นที่ลำบากที่สุดคือคนที่พิการทางด้านร่างกาย เพราะว่าไม่สามารถใช้บริการสาธารณะได้โดยสะดวกโดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่ใช้ Wheelchair ต้องบอกว่าไม่สะดวกเลย จริงๆ ที่เห็นว่ามีหลายฝ่ายเริ่มให้ความสนใจคือปี 2538-2539 เป็นการให้ความสนใจเพราะถูกบังคับให้สนใจ ก็เมื่อกรุงเทพจะมีรถไฟลอยฟ้า ตอนนั้นมี 23 สถานี แต่ไม่มีการอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการเลย เราก็ได้ออกมารณรงค์ในเรื่องนี้ ในช่วงที่มีการณรงค์เราพบว่าสังคม และหน่วยงานอื่นก็ให้ความสนใจ ยกตัวอย่างเช่น ตอนนั้นทำรถลอยฟ้าก็ทำรถใต้ดินด้วย ทางใต้ดินก็สนใจ และตระหนักถึงสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ แต่ถามว่าทำแล้วใช้งานได้จริงไหม ในเชิงระบบไม่สามารถใช้งานได้จริง อย่างเช่น รถไฟลอยฟ้ามีทั้งหมด 23 สถานี แต่มีลิฟต์สำหรับคนพิการแค่ 5 สถานี และ 5 สถานีนี้อย่างอ่อนนุชนั้นมีขาเดียว คือมีฝั่งเดียวปกติมันต้องมี 2 ฝั่งนะขาไปกับขากลับ ก็ยังไม่สมบูรณ์ หรือรถไฟใต้ดินอย่างที่บอกว่าสนใจ แต่เวลาทำจริงๆ นั้นก็เรียกว่าไม่สมบูรณ์ รถไฟฟ้าใต้ดินมีทั้งหมด 18 สถานี บางสถานีก็มี 2 มี 3 Exit มากสุดก็ 5 แต่รวมทั้ง 18 สถานีมีทั้งหมด 60 Exit มี Wheelchair ไปได้แค่ 31  Exit ยกตัวอย่างเช่น สถานีลาดพร้าวมี 4 ทางเข้าออก แต่ Wheelchair ไปได้แค่ทางเดียว เพราะฉะนั้นพูดถึงการใช้ระบบขนส่งรถไฟฟ้าใต้ดินในชีวิตประจำวัน มันเป็นไปไม่ได้ สมมติพักอาศัยอยู่ในฝั่งที่มีลิฟต์ เราก็ขึ้นลิฟต์ไปขึ้นรถไฟฟ้าใต้ดินไปทำงาน ขากลับก็กลับมาไม่ได้ ขากลับต้องไปโบกแท็กซี่เพื่อจะฝ่าจราจรกลับรถไปอีกฝั่งหนึ่ง อย่างนี้เป็นต้น เพราะฉะนั้นระบบขนส่งมวลชนในกรุงเทพ รถไฟลอยฟ้ายังมีปัญหา รถใต้ดินมีปัญหา ส่วนต่อขยายของ BTS อันนี้โอเค ส่วนต่อขยายทั้งหมดมีการติดตั้งลิฟต์ทั้ง 2 ฝั่ง แต่อาจมีปัญหาบ้างเรื่องของสภาพแวดล้อม เรื่องฟุตบาท ทางเท้า แต่ กทม.เองก็มีนโยบายที่จะติดตั้งลิฟต์ครบทุกสถานี บอกว่าจะทำครบตั้งแต่ปี 55 เราก็ตามแล้วตามอีกก็ยังไม่ครบ ทราบว่ากำลังดำเนินการ ส่วนต่อขยายของรถไฟฟ้าใต้ดินมีปัญหาอยู่บ้างบางสถานีที่ยังใช้คอนเซ็ปต์การออกแบบเหมือนเดิม เราก็พยายามเจรจา มีการปรับแก้ไปบ้างแต่ก็ยังไม่ครบถ้วน มี Airport Link (Airport Rail Link) ในเชิงระบบถือว่าโอเคแต่ว่าในการให้บริการนั้นยังมีปัญหา เช่น ระดับระหว่างแพลตฟอร์มมันห่างกันมาก มันอันตราย จะต้องมีระบบในการให้บริการที่เสริมเข้าไป อย่างมี Fiber เป็นสะพานเชื่อมระหว่างแพลตฟอร์มกับตัวรถเวลาคนพิการหรือคนที่ใช้ Wheelchair ไฟฟ้าใช้บริการจะต้องมีสะพานเชื่อมจะได้ไม่เกิดอันตราย เป็นต้น รถเมล์ไม่มีทาง ศูนย์เลย ใช้ไม่ได้ เรือก็ศูนย์ รถไฟระหว่างเมืองเพิ่งจะมีเป็นโบกี้นำร่อง แต่ให้บริการไม่ได้จริง เพราะว่าเป็นขบวนระหว่างกรุงเทพฯ – หนองคาย, กรุงเทพฯ – เชียงใหม่ อยู่ในขบวนรถด่วนปรับอากาศชั้น 2 ซึ่งมีค่าใช้จ่ายที่สูง ถ้าจะไปเลือกชั้น 3 หรือขบวนอื่นๆ ที่ไม่ได้เป็นไปตามเวลาอีกก็ยังไม่สะดวก แต่เนื่องจากช่วงนี้ตกรางบ่อย ก็รอให้หายตกรางก่อนแล้วค่อยว่ากัน (555) อันนี้รถไฟ  ยังมีปัญหา รถ บขส. ก็เป็นทางเลือกที่ดีอีกทางเลือกหนึ่งแต่ไม่มีระบบบริการ มีเพียงการช่วยด้วยความเป็นคนไทย ด้วยความมีมนุษยธรรม ก็มีการช่วยตามสมควร แต่โดยระบบแล้วนั้นยังไม่เอื้อทั้งระบบ เครื่องบินถือว่าดีที่สุดแต่มันแพงยกเว้น Low Cost นะ ก็ยังไม่สามารถจะเอื้ออำนวยความสะดวกได้ และเวลาจองตั๋วมีการถูกปฏิเสธ เวลาไปใช้บริการ ไปเช็คอินมีการถูกปฏิเสธให้ความช่วยเหลือถามว่าเส้นทางหรือการเดินทางของคนพิการไม่ว่าจะเป็นทางถนน ทางน้ำ ทางอากาศ ทางรางยังมีปัญหา คนพิการจึงเดินทางไปตามสภาพ คือเจอปัญหาอะไรก็แก้ไปตามสภาพ ไม่ได้ขึ้นเครื่องก็โวยวายไป ไปขึ้นรถไฟจำเป็นต้องคลานขึ้นก็คลานขึ้น มีเพื่อนอุ้มขึ้นก็อุ้มขึ้น เป็นแบบนี้ชีวิตก็ลำบาก เพราะฉะนั้นชีวิตที่ลำบากนั้นหลายๆ คนก็เลือกที่จะไม่ออกมาสู่สังคม ไม่สามารถออกไปทำงานได้ ไม่สามารถไปเรียนหนังสือได้ สุดท้ายก็ต้องกลับไปอยู่บ้านที่ชุมชน ที่ผ่านมารัฐมีนโยบายที่เอื้อประโยชน์ในเรื่องคมนาคมต่อคนพิการแค่ไหน ถามว่ารัฐบาลสนใจไหม ก็ดูเหมือนจะสนใจนะตั้งแต่ปี 38 มีคนเริ่มให้ความสนใจ หลังจากนั้นก็มีตั้งคณะกรรมการอะไรขึ้นมาต่างๆ นานา แต่ภาคปฏิบัติจริงๆ นั้นน้อยมากๆ มีเฉพาะการปรับปรุงพวกอาคาร สถานที่ของสถานีขนส่ง สถานีรถไฟ บขส. ปรับปรุงไปทำไมเดินทางไม่ได้ แต่ที่ต้องทำเพราะมันมีกฎหมายว่าด้วยเรื่องอาคาร สถานที่ อันนั้นก็ถูกไฟลท์บังคับตรงนั้น แต่ถามว่ารัฐบาลให้ความสนใจเป็นจริงเป็นจังไหม ไม่มีเลย เพิ่งมีสมัยรัฐบาลนี้  รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ที่มีการทำรถไฟเป็นโบกี้นำร่อง ก็ทำเสร็จแล้ว ทดลองวิ่งแล้ว แต่ยังไม่ได้เดินรถเป็นประจำ พอท่านดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ มาเป็นว่าการก็เลยเกิดโครงการนำร่องขึ้นมาเป็น “สะดวก ปลอดภัย คมนาคมยุคใหม่ ใส่ใจคนพิการ” แต่ที่มันเกิดดอกออกผลเยอะนั้นต้องยกให้เป็นเครดิตของเลขารัฐมนตรี คือท่านฐิติมา  ฉายแสง ที่ดำเนินเรื่องนี้ตามนโยบายของรัฐมนตรีอย่างจริงจัง แต่มันก็เป็นเพียงโครงการนำร่องนะ ระยะเวลาสั้นๆ โดยเลือกปรับปรุงบริการในเรื่อง 4 หมวด คือ รถทางบก คือทางถนน ไปปรับปรุง บขส. เลือกที่สถานีจตุจักรหรือว่าหมอชิต 2 และเลือก ขสมก. ไปปรับปรุงเขตการเดินรถที่ 8 ก็ปรับสภาพแวดล้อมภายใน อาคาร สถานที่ เอารถต้นแบบในแต่ละแบบนั้นมาดูว่าถ้ามีการใช้ปรับปรุงรถเมล์จะมีต้นแบบอะไรบ้าง ระบบทางน้ำก็ไปปรับปรุงท่าเรือสาทร ซึ่งเป็นท่าเรือท่องเที่ยวและจะมีการคุยกับผู้เดินเรือในการที่จะอำนวยความสะดวกให้กับคนพิการ ทางอากาศเลือกสนามบินดอนเมืองเป็นโครงการนำร่อง ส่วนทางรางเลือกหัวลำโพงและรถไฟฟ้าใต้ดินที่สถานีลาดพร้าว ซึ่งโครงการนำร่องมันสะท้อนออกมาว่าการปรับปรุงสภาพแวดล้อมทำอย่างไร ปัญหาอุปสรรคคืออะไร วิธีการให้บริการคนพิการในระบบขนส่งมวลชน บขส. เองก็มีนโยบายการปรับปรุงสถานีรถโดยสารอีก 8 แห่งทั่วประเทศและจะปรับปรุงบริการ คือวิธีการในการช่วยคนพิการ จริงๆ เราเสนอไปหลายอย่างนะ เช่น การจองตั๋ว การล็อกที่นั่งเอาไว้ให้คนพิการได้นั่งโดยไม่ต้องลากถูกันไปกลางรถ ท้ายรถ เพราะที่ผ่านมานั้นการจองตั๋วนั้นถ้าเราไม่ได้ที่นั่งด้านหน้า เวลาขึ้นไปจริงๆ เราก็ต้องไปขอผู้โดยสาร เขาก็ต้องย้ายให้ ซึ่งมันก็ได้ แต่ความรู้สึกเราก็ไม่ได้อยากเป็นภาระคนที่เขาชอบนั่งหน้าด้วยวิถีการเดินทางของแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน เขาก็จำเป็นต้องย้าย ซึ่งเวลาย้ายบางทีก็ย้ายไปไกล หรือถูกแยกกัน เขาจองมาเป็นคู่แต่เราไปคนเดียวก็ถูกแยกกันคนหนึ่งซึ่งมันเป็นปัญหา เลยเสนอว่ามันน่าจะมีระบบการจองตั๋ว การล็อกที่นั่ง สถานีสนามบินก็มีการขยายผลซึ่งก็มี สนามบินภูเก็ต เชียงใหม่ สงขลา นี่ก็ทำต่อเนื่องนะ มีการอบรมให้กับพนักงานการท่าให้กับแอร์เอเชีย   การรณรงค์เรื่องบริการรถเมล์ทำอย่างไรบ้าง เราตามตั้งแต่รัฐบาลมีนโยบายที่จะออกรถเมล์ใหม่ เราก็ตามตลอดว่ารถใหม่จะต้องมีสิ่งอำนวยความสะดวกให้คนพิการสามารถจะเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ทุกคัน ทุกคนต้องสามารถใช้ประโยชน์ได้ ไม่เอาสัดส่วน ไม่เอา 70 – 80 เปอร์เซ็นต์หรือแม้แต่ 50 เปอร์เซ็นต์ก็ไม่ใช่ รถโดยสารในกรุงเทพฯนั้นมีประมาณ 16,000 คัน ของ ขสมก. ก็ประมาณเกือบ 4,000 คัน นอกนั้นจะเป็นรถร่วม รถตู้ ถ้าสมมติ ขสมก. บอกว่าเอาไปครึ่งหนึ่ง ครึ่งหนึ่งแสดงว่ามีไม่ถึง 10 เปอร์เซ็นต์ของทั้งระบบ สมมติว่าเขาออกรถทุก 15 นาที คนพิการต้องรอ 150 นาทีรถคันต่อมาถึงจะมา เพราะฉะนั้นในชีวิตประจำวันมันใช้ไม่ได้ แล้ว ขสมก.เป็นบริการของรัฐฯ ถ้าบริการของรัฐไม่เริ่ม ไม่ทำ คุณจะไปบอกให้รถร่วมทำได้อย่างไร เลยต้องบอกว่า ขสมก.ต้อง 100 เปอร์เซ็นต์ ถ้า 100 เปอร์เซ็นต์เมื่อไรค่อยเคลื่อนไปรถร่วม โอเคเราไม่แตะรถเก่า แต่รถใหม่ที่ออกมาคุณจะต้องให้ความสะดวกสำหรับคนพิการ เราก็ติดตามโดยการทำหนังสือ พบรัฐมนตรี เข้าพบ ผอ.ขสมก.ตามลำดับแล้วก็ทำงานเชื่อมโยงกับสมาคมคนพิการและหน่วยงานต่างที่เขาสนใจในประเด็นนี้ เพราะฉะนั้นการขับเคลื่อนนั้นเราไม่ได้ขับเคลื่อนในนามมหาไถ่หรือหน่วยใดหน่วยหนึ่ง แต่เราขับเคลื่อนร่วมกัน ใครที่มีอุดมการณ์ มีแนวทางตรงกัน เพราะบางคนบางหน่วยงานเขาก็ขับเคลื่อนโดยใช้นโยบาย ใช้งานวิชาการ ประเด็นสำคัญก็คือรถเมล์ทุกคนต้องขึ้นได้ทุกคัน เราก็เอาประเด็นนี้เป็นตัวชูโรง เราก็รณรงค์มา ซึ่ง ณ นาทีนี้ทั้งรัฐบาลและ ขสมก.นั้นยอมที่จะให้รถเมล์ทุกคัน ทุกคนสามารถขึ้นได้ แต่ยังไม่ 100 เปอร์เซ็นต์ งานของเราจะจบก็ต่อเมื่อรถเมล์คันสุดท้ายตามโครงการนี้ออกสู่ท้องถนนอันนี้ถึงจะจบ จบโครงการนี้ไม่ได้หมายความว่าเราจบแล้วเรื่องของรถเมล์ นั่นหมายความว่า Next Step เราจะทำอย่างไรกับรถร่วม เรื่องฟุตบาท ทางเท้า เรื่องโครงข่ายที่จะโยงใยกันต่อ ซึ่งเราต้องทำงานต่อในเรื่องเหล่านี้   //

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 153 นโยบายเรื่องพลังงานแสงอาทิตย์เป็นจริงได้แค่ไหน กับ ดร.เดชรัต สุขกำเนิด

ลมหนาวพัดมาแบบนี้ เช้าๆ แดดอาจจะพออุ่น แต่สายๆ  เมื่อลมหนาวจางมีแสงแดดเข้าแทนที่ แดดแรงแบบนี้ทำให้คิดถึงพลังงานโซล่าร์เซลล์ พลังงานแสงอาทิตย์ที่เป็นมิตรทั้งกับสิ่งแวดล้อมเพราะเป็นพลังงานสะอาด แถมบ้านเราก็มีแดดมากมายเหลือเฟือ ล่าสุดกระทรวงพลังงาน ส่งเสริมให้มีการติดตั้งโซล่าร์เซลล์และเปิดรับซื้อไฟฟ้า ได้รับความสนใจจากผู้บริโภคไฟฟ้าที่คิดจะผันตัวเองไปเป็นผู้ขายไฟฟ้ากันอย่างมากมาย   ภาพฝันกับความเป็นจริงของเรื่องพลังงานแสงอาทิตย์จะเป็นอย่างไร ฉลาดซื้อจึงอาสาพาไปหาความรู้ต่อกับ ดร.เดชรัต สุขกำเนิด ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์   ทำอย่างไรเราจึงจะลดค่าไฟฟ้าโดยหันมาพึ่งพาพลังงานทดแทนอย่างโซล่าร์เซลล์ ไม่ คือทำอย่างไรเราจึงจะลดการพึ่งพาค่าใช้จ่ายของเราจากที่มันพึ่งพาหลวงนะใช้คำกว้างๆ แบบนี้ หรือเราต้องจ่ายให้การไฟฟ้าเราจะลดลงได้อย่างไร อันนี้คือแนวคำถามมันมาแนวนี้ แต่แนวที่หลวงให้การสนับสนุนอยู่นั้นเป็นคนละคำถามเลยมันกลายเป็นว่าจะขายไฟให้หลวงไหม เพราะฉะนั้นระบบ Solar cell ปัจจุบันนั้น มันคือระบบที่ผลิตได้เท่าไรก็ขายให้หลวงไปหมด ขายให้หลวงไปหมดแล้วได้เท่าไรก็เป็นเงินกลับมาที่เราแล้วเราจะซื้อไฟเท่าไรก็เป็นเรื่องของเรามันไม่ได้สัมพันธ์กันโดยตรงกับไฟที่เราขายให้หลวงนึกอออกไหมครับ เพราะฉะนั้นสมมติบ้านผมไม่มีใครใช้ไฟเลย ผมจะติด Solar cell ได้ไหม ผมก็ติดได้เพราะผมติดเพื่อหารายได้ มันเป็นระบบ Solar cell เพื่อหารายได้ ไม่ใช่ Solar cell เพื่อลดรายจ่ายเพราะฉะนั้นมันเลยกลายเป็นคนละโจทย์กันเลย   สมมติว่าเราไม่มีแอร์สักเครื่อง เราใช้ไฟน้อยมากแต่ถ้าเราอยากลงทุน อันที่จริงมันเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าหรือไม่ มันเลยไม่ได้ตั้งคำถามที่ว่าเป็นการประหยัดที่คุ้มค่าหรือไม่ มันเลยกลายเป็นคนละโจทย์กัน เพราะรัฐบาลไม่ให้การสนับสนุนผู้ที่ซื้อ Solar cell เพื่อที่จะลดค่าใช้จ่าย เขาสนใจคนขายให้เขามากกว่า สมมติคุณไปซื้อ Solar cell มาติดนะ แล้วปรากฏว่าคุณไม่ต้องใช้ไฟหลวงเลยสักหน่วยเดียว โอเคมันเป็นเรื่องของคุณ แต่ที่เขาช่วยอยู่นั้นคือคุณได้มาเท่าไรคุณขายให้หลวงคุณได้ 7 บาทต่อหน่วย เสร็จเรียบร้อยเวลาคุณซื้อไฟหลวงก็แล้วแต่ว่าค่าไฟของการไฟฟ้าในขณะนั้นมันราคาเท่าไร ปัจจุบันก็ 3.7 บาทต่อหน่วย เพราะฉะนั้นมันกลายเป็นคนละระบบความคิด มันเลยกลายเป็นว่าบ้านนี้มีคนอยู่เท่านี้ๆ มันไม่เกี่ยวนะ คุณมีเงินสัก 2 แสนไหมแล้วคุณอาจจะได้เงินสักประมาณ 6 หมื่นคุณจะขายไหม รัฐบาลเขาอยากจะได้รูปแบบหน่อย เขาต้องการติดบนหลังคา ความจริงคือตามคอนเซ็ปวางบนพื้นก็ได้ แต่รัฐบาลอยากได้ภาพเขาก็เลยบอกว่าต้องติดบนหลังคา โจทย์มันขึ้นอยู่กับ 2 อย่าง หนึ่งคือมีเงินลงทุน อันที่สองคือมีหลังคาใหญ่แค่นั้นเอง ถ้าเกิดคุณมีหลังคาใหญ่คุณก็ติดไป ถ้าคุณมีเงินลงทุนคุณก็ติดไป โดยที่ไม่ต้องเกี่ยวกับเรื่องการใช้ไฟเลย   ทีนี้ถ้าเกิดถามว่าจะให้มันเกี่ยวมันก็มี 2 ประเด็นนะ มันเกี่ยวไม่ได้โดยตรงความหมายคือว่า เราก็ทำบัญชีของเราเองว่าเราเคยใช้เท่าไร จริงๆ มันใช้เท่าเดิมนะแต่ว่าเราขายได้เท่าไรแต่ที่ไม่ตรงคือถ้ามองเป็นตัวเงินตอนที่เราขายไปเราจะได้เงินมากกว่าตอนที่เราซื้อกลับมาซึ่งมันก็ชักแปลกๆ นะแต่เนื่องจากรัฐบาลให้การสนับสนุน เพราะฉะนั้นมองในแง่นี้มันไม่ใช่คำถาม คุณขายได้เท่าไรคุณขายไปเลยโดยไม่ต้องสนใจว่าใช้ไฟเท่าไร เพราะคุณทำขึ้นมาเพื่อต้องการจะขายคุณก็ขายให้ได้มากที่สุด ทำเท่าที่เงินคุณมี เท่าที่หลังคาคุณมีแล้วคุณก็ผลิตไปเลย สุดท้ายจะซื้อมาเท่าไรก็อีกเรื่องหนึ่ง เพราะฉะนั้นก็ตอบได้ว่ามันเกี่ยวแต่ไม่โดยตรง อันนี้ต้องปรึกษากันแล้วว่าเราจะเขียนโพลไปทางไหน คือถ้าเขียนไปทางเดิมก็ได้แต่กลัวว่าคล้ายๆ กึ่งๆ ไม่จริงที่ถ้าคุณมีอย่างนี้แล้วคุณไปลงทุน Solar cell ก็ไม่ได้ถ้าพูดแบบสุดขั้วเลยนะถ้าคุณมีเงิน 2 แสนแล้วไปเช่าหลังคาใครก็ได้คุณก็ลงทุนได้   อย่างที่อาจารย์เล่าว่ามันไม่ใช่เหมือนภาพฝันที่บางคนคิด อย่างเช่นร้านกาแฟที่เชียงรายคือเขาไม่มีไฟฟ้าใช้เขาก็มีแผง Solar cell 8 แผงซึ่งใช้ได้จริงๆ แต่เขาก็ไม่ได้มีอะไรเยอะ มีหลอดไฟ เครื่องชงกาแฟ พัดลม ซึ่งเขาก็ไม่ต้องจ่ายค่าไฟเลยสักบาทเดียว ถ้าพูดในระบบนี้นะกลายเป็นว่าเขาไม่ควรเอาไฟมาใช้ เขาควรขายเข้าระบบเพราะว่าเขาจะได้เงินเพิ่มอีก คือระบบของรัฐบาลมันพิสดารนะ กลายเป็นว่าวิธีคิดพึ่งพาตนเองเป็นเรื่องรองจากวิธีคิดที่หากำไร ซึ่งผมไม่ได้ว่าวิธีวิธีการหากำไรของรัฐฯ นี่มันเสียหายนะ ผมเสียดายวิธีคิดของคนที่จะพึ่งพาตนเอง รัฐบาลเขาไม่สนใจมันก็เหมือนเขาซื้อของ เขามีงบประมาณเขาก็ซื้อของกันไป จะเป็นใคร จะคิดอย่างไร เขาไม่สนใจขอให้จ่ายไฟเข้ามาสู่ระบบเขาได้ก็ได้   อย่างนี้ก็เหมือนกับไปเอื้อประโยชน์กับการขายแผง มันก็เป็นผลจากข้อเรียกร้องของเรานะ คือแต่ก่อนเขาทำแบบนี้มาประมาณ 4-5 ปีแล้ว แต่เขาเน้นเฉพาะรายใหญ่คนก็ด่ากันมากว่าทำไมไม่สนับสนุนบ้านเรือน เขาก็เลยมาเน้นบ้านเรือน แต่เน้นโดยใช้ระบบเดียวกับรายใหญ่โดยไม่สนใจว่าบ้านเรือนจะคิดอย่างไร มันก็เลยกลายเป็นว่าคุณจะติด Solar cell เพื่อจะขายไหม จริงๆ เราก็ปฏิบัติเช่นเดียวกันกับรายใหญ่เพียงแต่ว่าเราปฏิบัติในสากลที่ย่อลงมาเป็นหลังคาบ้านเราเท่านั้นเองเลยไม่ได้เป็นเหมือนร้านกาแฟที่พูดถึง ประเด็นต่อมาคือแล้วมันเอื้อกับการทำแผงไหม คือเรื่องที่รัฐบาลทำอยู่ที่ต่างประเทศเขาทำอยู่นะ แต่ฝั่งที่เขาทำคือผู้ที่ทำขายไอ้ที่เราคิดว่าทำขายเราก็ทำขายแต่ต่างประเทศเขามีการสนับสนุน อีกแบบหนึ่งที่ไม่ใช่ทำขายเขาก็สนับสนุนด้วย แต่ของเราประเภทที่สองจะไม่มี ต้องเคลียร์ก่อนว่าการสนับสนุนแบบนี้ไม่ใช่การสนับสนุนที่ผิดแต่ผมคิดว่าคนมีวิธีการจะช่วยเหลือ 2 วิธี วิธีที่ 1 คือลดของเราเอง อันที่ 2 คือขายไปเลย เพราะฉะนั้นควรช่วยทั้ง 2 วิธีแต่รัฐบาลเลือกเฉพาะเป็นการลงทุนขายเข้าระบบเท่านั้น อันต่อมาคือเรากำหนดขอบเขตของวันผมจำไม่ได้ว่าวันที่เท่าไรคือรับไม่เกิน 1 เดือนเองว่าให้มาสมัคร อันนี้คุณทำไปเพื่ออะไร ต่างประเทศไม่มีนะที่เขารับซื้อที่ 6.96 เขาก็จะประกาศเลยต่อจากนี้เป็นต้นไปถึงปีหน้าและปีถัดไป ถ้าคุณมาช้าก็ช่วยไม่ได้นะเหลือ 6.80 เขาก็ประกาศล่วงหน้าไปเลย เขาประกาศล่วงหน้าหลายปีคุณก็เลือกเอาเลยว่าคุณจะเข้าปีไหนแล้วแต่กำลังของคุณ แต่ว่าของเรารับซื้อแค่นี้ให้มาในเวลาเท่านี้ก็คืออยากได้ไหม 6.96 ถ้าอยากได้ให้ไปหาบริษัทที่ทำแผง บริษัทที่ทำแผงเค้าเป็นคนขายของเขาไม่สนใจหรอกว่าตอนนี้ราคาเท่าไร เขาก็ขึ้นราคาก่อนเพราะว่ามันขึ้นได้เต็มที่ แผงมันราคาเท่านี้คนที่ติดมันจะได้ราคาเท่าไรเขาก็ขึ้นราคาของเขาขึ้นมาเพราว่าทุกคนต้องรีบแล้ว เวลา 1 เดือนทุกคนรีบกันหัวขวิดเลย ผมคิดว่าวิธีนี้มันไม่ถูกแนวคิดที่ว่ามันต้องภายในเวลาเท่านี้ในที่สุดปรากฏว่าคนไทยด้วยความที่เราไม่คุ้นเคยคนจำนวนไม่น้อยก็เลยไม่เอาก็ได้ คือเงินมันก็ไม่ได้ดีขนาดว่ารถคันแรกที่ถ้าเราไม่เอาเราจะเสียสิทธิ คนไม่รู้สึกอย่างนั้นเลยเขาก็เลยไม่ได้บ้านตามเป้าไม่รู้เลยว่าเขาจะเปิดรอบใหม่เมื่อไร ปัญหาของเมืองไทยมันเป็นอย่างนี้คุณไม่จำเป็นต้องมีรอบเวลาเลยคุณเปิดไปยาวๆ ไปเลย การที่เปิดสั้นๆ แบบนี้ผมเข้าใจว่าเป็นตลาดเปิดยาวๆ ไปเลยจะรีบทำไมคุณก็เช็คบริษัทนั้น บริษัทนี้แต่นี่ไม่มีเลยทุกคนต้องรีบหัวขวิดเลย   ตอนนี้เขาขายไฟกันได้จริงใช่ไหม จริงครับเป็นนโยบายของรัฐ เขาพูดเลยในทางอ้อมว่าถ้าไม่ติดต่อบริษัทพวกนี้ทำเอกสารเองคุณอย่าหวังคือเขาไม่ได้ประกาศแบบนั้นนะแต่เป็นที่รู้กัน บริษัทที่ทำแผงเขาก็โฆษณาอย่างนั้น ลองไปทำเองได้แต่นานแน่ ผมก็เลยมีความรู้สึกว่ามันไม่ค่อยดีอย่างที่ควรจะเป็น ให้บริษัททำเอกสารให้ไม่มีปัญหาแต่อย่าล็อคเรื่องวัน ติดเรื่องวันเรื่องเดียวเพราะว่าถ้าไม่ล็อคเรื่องวันคุณก็ไปหาได้หลายบริษัท การทำเอกสารก็เหมือนบริการเสริมพอคุณล็อคเรื่องวันการทำเอกสารมันกลายเป็นเงื่อนไขทำให้คนอื่นไปทำไม่ได้ก็ต้องเข้ากับบริษัทไป เพราะฉะนั้นโครงการนี้จะเห็นว่ากระแสไม่ค่อยดีเหมือนที่หวังเพราะมันเป็นปัญหาของรัฐบาลเอง   อย่างนี้เราจะแนะนำคนที่เขาจะใช้พลังงานทดแทนอย่างไรดี แนะนำนักลงทุน ถ้าลงทุนขนาดนี้จะคุ้มหรือไม่คุ้มอย่างไร สมมติถ้าเราแนะนำคนอ่านไปอย่างที่เราอยากจะให้เป็น ขั้นที่ 1 คือ สนับสนุนให้เอา Solar cell มาเพื่อลดการใช้ในครัวเรือน ถามว่าลดอย่างไรก็คือลดง่ายๆ นะ ไฟแสงสว่างโดยเฉพาะส่วนที่อยู่ไกลบ้านค่าเดินสายไฟในกรุงเทพฯ เป็นหมื่นเลยแพงมาก ถ้าเราเอาแผง Solar cell เราเดินสายเองได้เลยเพราะมันเป็นไฟกระแสตรงแล้วมันติดอิสระ อันนี้ Solar cell อันนี้หลอดแค่นี้ ถ้าเราส่งเสริมลักษณะแบบนี้จะใช้ได้นะครับ ต่อมา Solar cellสำหรับเครื่องสูบน้ำ เครื่องสูบน้ำนี่กินไฟเยอะเลย ถ้าเรามี Solar cell อันหนึ่งแล้วเอาไว้ใช้ในการสูบน้ำ ปั๊มน้ำ รดน้ำต้นไม้อะไรประมาณนี้ ปัจจุบันบ้านผมถ้าต้องใช้น้ำประปามารดน้ำมันต้องใช้เครื่องสูบน้ำก็กินไฟอีก แต่ถ้าเราใช้ Solar cell เราก็ไม่จำเป็นที่เราจะต้องใช้ไฟฟ้าในการใช้เครื่องสูบน้ำ นี่คือสิ่งที่ทำได้ ถามว่าแล้วไอ้พวกนี้จะได้เยอะไหมคำตอบก็คือจริงๆ แล้วก็ไม่ถึงกับเยอะนะ Solar cell ที่ใช้ในบ้านเป็นเรื่องของกระแสตรงและกระแสสลับ ปัญหานี้เป็นปัญหาระดับพื้นฐานเหมือนยกตัวอย่างแบตเตอรี่มือถือเป็นกระแสตรงหรือกระแสสลับ เราใช้กระแสตรงแต่ว่าเวลาเราไปเสียบบางบ้านต้องทำออกมาเป็นบ้านกระแสตรงเหมือนกับมีมีปลั๊กอะไรที่เป็นกระแสตรงก็ต้องเป็นกระแสตรง ทีวีข้างในก็เป็นกระแสตรง คอมพิวเตอร์ข้างในก็เป็นกระแสตรง มีที่ไม่เป็นกระแสตรงก็มีตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ พัดลม ที่ไม่เป็นกระแสตรง อย่างอื่นถ้าไม่ใช่พวกเกี่ยวกับความร้อนเป็นกระแสตรงหมดเลย บ้านจะลดได้เยอะก็ต่อเมื่อเราเปลี่ยนระบบไฟฟ้าให้มันเป็นกระแสตรง แสงสว่างก็เป็นกระแสตรง เป็นกระแสสลับที่สุดท้ายเปลี่ยนตรงขั้วหลอดให้เป็นกระแสตรงถ้าเป็นหลอดไฟแบบนี้เป็นกระแสตรงหมดแล้ว ในระยะยาวต้องมีการสร้างบ้านที่มีกระแสตรงในขณะเดียวกันก็อาจมีกระแสสลับเพียงแต่ว่าเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้าบางส่วนเท่านั้นเองที่เสียบกระแสสลับ ถ้าแบบนั้น Solar cell จะได้ประโยชน์เยอะเลย ถ้าเป็นระบบนี้เราก็ต้องมาแปลงอีกเหมือนเราจะเปิดทีวี บ้านเรามี Solar cell เราก็ต้องเอา Solar cell ไปแปลงเป็นกระแสสลับแล้วเอาปลั๊กไฟทีวีไปเสียบไว้มันก็เป็นกระแสสลับเข้ามาแล้ว พอมันเข้ามาก็แปลงให้เป็นกระแสตรงอีก   พวกบริษัทขายแผง Solar cell เขาก็ไม่ได้แนะนำนะว่าบ้านใหม่จะติดแผงควรต้องต่อไฟอย่างไร ไม่ต้องแนะนำเพียงแต่ว่าคุณต้องเชื่อมต่อระบบไปเลย พูดง่ายๆ คือเขาไม่ได้ทำเหมือนมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคทำ มันเหมือนกับคุณมีเครื่องกำเนิดไฟฟ้ามาติดไว้ที่บ้านเฉยๆ แล้วคุณก็ขายไฟฟ้าเข้าระบบไปทุนที่เหลือก็ยังเป็นเหมือนเดิมทุกประการ ก่อนหน้าที่เขาจะเปิดรับซื้อมีบ้านที่เขาติดในกรณีอย่างนั้นคือเขาติดเพื่อจะลดการใช้ของเขาแต่มีบางบ้านที่เขาติดเพราะไม่ได้รับการสนับสนุนมันก็ลงทุนแพง อย่างมูลนิธิฯ ติดไปแล้วก็ซื้อไฟน้อยลงก็มีจำนวนหนึ่งที่เขาใช้อยู่ พอเขารับซื้อแบบนี้ทุกอย่างก็เปลี่ยนหมดคือเราไม่ต้องสนใจแล้วว่าเราจะใช้อะไร เราก็ขายไปส่วนลดของเราก็ลดรายจ่ายไม่เกี่ยวกับรายได้ที่อยู่บนหลังคา คนที่จะติดได้ก็ต้องมีเงินนอนรอ 2 แสนโดยประมาณ 2 แสนนี้จริงๆ แล้วถ้าเทียบกับการใช้ไฟฟ้าในบ้านก็ประมาณนั้นเหมือนกัน ถ้าสมมติเราทำเพื่อที่จะใช้เองในบ้านประมาณ 2 แสนนี้ก็ถือว่าน่าจะพอได้เพราะก็ต้องทำเชื่อมกับระบบอีกอยู่ดี เพราะบางช่วงที่ไม่มีแสงแดดเราก็ต้องใช้จากระบบ ถ้าช่วงที่แดดเยอะเกินแต่เราไม่ได้อยู่บ้านเราก็ขายให้กับระบบเพราะฉะนั้นในช่วง 2 แสนก็ประมาณ 3 กิโลวัตต์นั้นก็เพียงพอสำหรับบ้านซึ่งไม่ได้ใช้แอร์ ถ้าใช้แอร์ก็ต้องดูว่าเครื่องใหญ่แค่ไหน มีกี่เครื่อง จำนวนคนไม่สำคัญเท่ากับแอร์นะครับเพราะว่าแอร์ส่วนใหญ่กินไฟอย่างน้อยเกือบครึ่งหนึ่งของไฟฟ้าในบ้าน เพราะฉะนั้นถ้ามีแอร์ปุ๊บโจทย์ก็จะเป็นอีกโจทย์หนึ่งเลย แอร์นั้นจริงๆแล้ว 2 กิโลวัตต์ก็น่าจะพอ ส่วนใหญ่ตอนนี้ที่เขาติดๆกันก็ประมาณ 3 กิโลวัตต์แต่มันมักไม่ใช่เป็นโจทย์ในเรื่องการใช้ แต่มันเป็นโจทย์ว่า 2 แสนคนชนชั้นกลางที่รายได้ดีหน่อยก็พอจะลงทุนแต่ถ้าจะลงทุน 4 แสน 5 แสนก็ได้หมด   ส่วนถ้าเป็นต่างจังหวัดที่เราทำงานด้วยที่เป็นเกษตรกรจริงๆ นั้นเขาใช้เยอะก็คือเครื่องสูบน้ำเพื่อการเกษตร แต่การสูบน้ำเพื่อการเกษตรกับการสูบน้ำของคนกรุงเทพฯมันต่างกันนะ การสูบน้ำเพื่อการเกษตรมันไม่ใช้กำลังเยอะเขาต้องการแค่ปั๊มยกขึ้นไปที่สูงไปเก็บไว้ พอตอนเช้ากับตอนเย็นที่เขาเปิดน้ำเขาก็จะให้น้ำมันไหลลงมาเพื่อให้มันมีแรงดันไปตามระบบชลประทานของเขาจึงง่ายมากที่จะทำ Solar cell ที่ไม่ต้องใช้กำลังที่ไม่ต้องใช้กำลัง Solar cell เยอะก็เหมือนกับไม่ต้องลงทุนเยอะ อีกอันหนึ่งที่ผมคิดว่าจำเป็นโดยปริยายคืออนาคตในสถานะเครื่องมือช่วยเรื่องของภัยพิบัติก็น่าจะใช้อันนี้ได้เพียงแต่ว่าเรายังไม่มีเซ็ตสำเร็จรูปว่าบ้าน 1 หลังชาร์จแบตฯ ได้อะไรประมาณนี้ อยู่ที่ถูกน้ำท่วมมันควรจะเป็นอย่างไร เครื่องปั๊มน้ำบ้านถ้าขายพ่วงแบบนี้แม้จะเป็นการขายเข้าระบบ แต่ถ้ามีตรงนี้ได้ถ้าถึงวันนั้นคุณจะขายเข้าระบบทำไม ไฟจากระบบไม่จ่ายมาคุณก็ไม่ต้องขายเข้าระบบคุณก็ตัดใช้ในบ้านคุณ ในวันที่น้ำท่วมถ้าคุณยังขายเข้าระบบแล้วระบบเขากลัวน้ำท่วมเกิดตัดไฟหรือระบบเกิดล่มคุณก็ต้องตัดไฟที่คุณขายให้มันมาลงที่บ้าน ทีนี้เรามีอุปกรณ์เสริมถ้าเราทำลักษณะแบบนี้คนที่อยู่บ้านก็จะใช้ประโยชน์ได้ เราไม่ได้เอาความคิดชุดนี้ไปร่วมด้วยเราก็จะใช้ความคิดว่าขายเพื่อไปเอาเงินมาอย่างเดียว แต่จริงๆ แล้วการมี Solar cell มันแปลว่าไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นมันจะอย่างนี้ได้ แต่คุณต้องแนะนำอย่างนี้ติดต่อกับเร้าเตอร์ได้เลย ถ้าเกิดเหตุอะไรเกิดขึ้นคุณก็สั่งอินเตอร์เน็ตได้เลยโดยที่คุณไม่ต้องไปพึ่งหรือมันมีอะไรสักอย่าง ผมไม่ได้เชี่ยวชาญการสื่อสารนะแต่ว่าคุณจะสื่อสารได้แน่นอน 100 เปอร์เซ็นต์ ถ้าคุณมีแผง Solar cell แบบนี้เขาเรียกคล้ายๆตัว Hub ของ Wifi  ถ้าคุณขายคอนเซ็ปต์แบบนี้มันจะช่วยการใช้มันไปได้ดีกว่าการมองเรื่องการลงทุนอย่างเดียว

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 152 นพ. อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์

ผู้ผลิตเองก็ต้องมีจริยธรรมการผลิตอยู่แล้ว ของการขายอยู่แล้วว่า จะต้องไม่ขายสิ่งที่เป็นพิษให้แก่เด็ก เด็กใช้แล้วโง่ เอาไปทาบ้าน เด็กอยู่ในบ้าน เด็กโง่ ผู้ผลิตที่ไหนเขาไม่อยากทำให้เด็กไทยโง่และโง่กันเป็นพันๆคน ใช่ไหม (หัวเราะ)   รศ. นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ หัวหน้าศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก  รพ.รามาธิบดี คุณหมอด้านเด็ก ที่เมื่อพูดถึงเรื่องอุบัติเหตุและความปลอดภัยต่างๆ ในเด็กเล็ก จะต้องมีชื่อท่านเป็นมือวางอันดับต้นๆ ของประเทศ ..นั่นคือบทบาทในเรื่องของการทำงานในปัจจุบัน ตอนเด็กๆ อาจารย์สนใจเรื่องการคุ้มครองสิทธิไหมคะ “ ความจริงแล้วผมตรงกันข้ามเลยนะ ตอนเด็กนี่ผมเป็นเด็กที่ตัวเล็ก ตัวผอม ตัวเล็กหัวโต แล้ว เรียนหนังสือ ส่วนใหญ่ก็จะยอมหมด สมัยก่อนการศึกษาเราเป็นรูปแบบสมัยก่อนนะ ครูจะดุมาก ถือไม้เรียวตี นักเรียนก็จะเงียบไม่มีปากมีเสียง เราเป็นคนหนึ่งที่เงียบ เรายังเห็นเพื่อนเราตั้งหลายคนเถียงเก่งก็มี ใช่ไหม  ขึ้นมาสู้กับคุณครู ไม่ได้สู้ในลักษณะความรุนแรงนะ แต่ว่าเถียง แล้วก็บอกว่าผมไม่ผิด เพราะเหตุผลๆ นี้ แต่เราเป็นคนหนึ่งที่ยอมตลอดอะไรก็ได้ เราไม่ผิด เขาว่าผิดก็ผิด ก็ไม่เป็นไร ผิดก็ผิด มีอยู่ครั้งเดียวเท่าที่จำได้มีอยู่ครั้งเดียว ตอนนั้นอาจจะเป็นเพราะทำตามผู้ใหญ่ จำได้ว่าคุณครูประท้วง สมัยนั้นเดินขบวนประท้วงได้ ถ้าจำไม่ผิดน่าจะซัก ป.3 – ป.4  ครูไปประท้วง ผู้อำนวยการอยู่นอกโรงเรียน และคุณครูฝากเราที่เป็นหัวหน้าห้อง คุณครูฝากว่าให้เราคุมเพื่อนๆ อย่าให้วุ่นวาย พอไม่มีคุณครูดูแล เพื่อนๆ เลยพูดคุยกันเสียงดัง เราก็เลยต้องให้ทุกคนอยู่ในความสงบเพราะว่าคุณครูกำลังเดือดร้อน ไปประท้วงเรื่องเงินเดือนอยู่และขึ้นมาแบบเสียงดังกับเพื่อนๆ ถือไม้เรียวเลียนแบบคุณครู เคาะโต๊ะแล้วตะโกนให้เพื่อนๆ เงียบอยู่ในระเบียบ เห็นจะมีอยู่ครั้งเดียว นอกนั้นก็รู้สึกจะเป็นเด็กหงอๆ ตลอด   จากเมื่อกี้ที่เล่ามันก็เป็นชั้นประถมนะ พอมาชั้นมัธยมค่อยๆ สะสมเรื่องของความกล้าหรือการแสดงออกมาก ขึ้น ว่าตอนอยู่มัธยมมาเข้าเรียนสวนกุหลาบแล้วเริ่มเห็นการแสดงออกของกิจกรรมนักเรียน ตั้งแต่สมัยก่อนตุลาฯ เห็นนักเรียนที่พยายามจะออกไปเดินขบวนประท้วงแล้วคุณครูห้าม คุณครูปิดประตูรั้วและนักเรียนก็พังประตูรั้ว เพื่อที่จะออกไปเดินขบวนให้ได้ คุณครูบอกว่าออกไปเสียชื่อโรงเรียน นักเรียนถอดเสื้อทิ้งไว้หน้าโรงเรียนกันเลย แล้วออกไปกันเลย เราได้เห็นรุ่นพี่ปฏิบัติกันก็เริ่มสะสมความสนใจในสิทธิของพวกเรากันเอง ของนักเรียนเอง แล้วการแสดงออกที่ไม่เกินไปนะ แต่ว่ามีเหตุมีผล  คำนึงถึงการละเมิดสิทธิไม่ว่าคนๆ นั้นจะเป็นผู้ใหญ่เป็นอะไรก็ตามแต่ ถ้าหากเป็นการละเมิดสิทธิ เราควรจะปกป้องทั้งของตัวเราและของชุมชนด้วยนะ   ทำไมอาจารย์ถึงเลือกเรียนหมอคะ ต้องยอมรับว่าไม่ได้เป็นความสนใจโดยตรง เพราะสมัยก่อนนี้มีคนเรียนหนังสือที่เขาเรียนเก่งๆ ก็ เรียนหมอกัน ผู้ปกครองจะให้ความสนใจลูกเรียนหมอด้วย โดยตัวเราเองไม่ได้สนใจโดยตรงนะ แต่ไม่ได้รังเกียจอะไร  รู้สึกว่ามันน่าสนใจ แต่เราไม่รู้ว่าเรียนแล้วเป็นอย่างไร รู้แต่ว่าเรียนแล้วต้องมารักษาคน มีความสนใจโดยตรงในการรักษาโรคให้กับคนอื่น รู้สึกว่าเป็นวิชาชีพที่ดี แล้วมีพี่ๆ ที่มาเรียนกันมาก่อนแล้ว 2 คนแล้ว ก็เลยมาสอบกับเขาด้วย พอสอบได้ก็มาเรียน แต่พอมาเรียนแล้วรู้สึกว่ามันเป็นวิชาชีพที่ดีนะ มีทั้งวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์อยู่ในตัวเดียวกัน ถ้าเราชอบงานทางด้านวิทยาศาสตร์ด้านลึก เราก็เป็นหมอได้ ชอบด้านสังคมด้วย ก็เป็นหมอได้  แต่ท่าจะให้ดีควรจะสนใจทั้งสองด้าน ใช้ความรู้ทักษะสมดุลของทางด้านวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ ถ้าหมอที่สนใจด้านวิทยาศาสตร์ ไม่สนใจด้านสังคมเลย เชื่อว่าช่วยกันได้ส่วนหนึ่ง แต่ไม่สามารถที่จะผลักดันได้ทั้งขบวนการแพทย์ให้เดินหน้าได้ทั้งหมด เพราะฉะนั้นจะต้องมีหมอที่สนใจด้านสังคมศาสตร์มาสมดุลกันหรือในตัวคนๆ เดียวกัน คุณมีความสนใจทั้งสองได้ งานถึงจะดำเนิน   ได้ใช้ความรู้ทั้ง 2 ด้านมาพัฒนางานเรื่องเด็ก เรื่องความปลอดภัยอันนี้ด้วย ใช่ งานในได้ความปลอดภัย ก็เห็นได้ชัดเลยว่า การศึกษาด้านวิทยาศาสตร์มันมีความสำคัญมาก ตั้งแต่ ไม่ว่าจะเป็นวิทยาศาสตร์การแพทย์หรือวิทยาศาสตร์พื้นฐาน บางเรื่อง เช่น เรื่องอุบัติเหตุรถยนต์นั้น อาจจะต้องมีความสนใจได้ฟิสิกส์ ด้านแรงกล อีกหลายด้าน ด้านมลพิษนี่ก็ต้องสนใจเรื่องทางด้านเคมี เรื่องวิทยาศาสตร์การแพทย์ทางด้านเคมี พวกนี้เป็นต้น เวลาจะใช้ประโยชน์นำไปสู่การป้องกันว่า ผมต้องไปสร้างผลิตภัณฑ์สู้รบปรบมือกับความเข้าใจของประชาชนเอง ความเข้าใจของผู้ผลิต ต้องไปออกนโยบายกฎหมายควบคุม ต้องไปคำนึงถึงว่า ทำเรื่องนี้แล้วเศรษฐกิจของประเทศจะหยุดชะงักงันหรือเปล่า และมีผลต่อเรื่องนู้นเรื่องนี้หรือเปล่า จะเห็นว่า เวลาจะนำเอาความรู้ทางการแพทย์ไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนในสังคม มันไม่ง่ายนะ มันต้องเข้าใจ ทั้งความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เหมาะสม ต้องปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับภาวะทางเศรษฐกิจทางสังคม เพื่อประชาชนจะนำไปใช้ได้อย่างถูกต้องต่อไป นั่นถือว่าเป็นงานที่ต้องใช้ความรู้ทั้งสองด้านเป็นจริงๆ ด้วย   จุดเริ่มต้นของศูนย์ฯ มาได้อย่างไรคะ เริ่มต้นที่เราสนใจเรื่องความปลอดภัยในเด็กเพราะว่า ผมย้ายมาอยู่จากโรงงานต่างจังหวัด จังหวัดน่าน ลงมาอยู่หน่วยเวชศาสตร์ผู้ป่วยนอก เด็กและวัยรุ่นของภาควิชาพยาบาลเวชศาสตร์ทำงานโรงพยาบาลผู้ดี ซึ่งเป็นโรงเรียนแพทย์ ซึ่งปกติ โรงเรียนแพทย์นี่ต้องพยายามจะหาความรู้ที่จะไปชี้นำสังคม เพราะฉะนั้นนอกจากการดูแลผู้ป่วยเด็กที่ห้องฉุกเฉินและที่ผู้ป่วยนอก เราจะทำวิจัยสุขภาพเด็ก เพื่อมาวิเคราะห์กันในหน่วยว่า อะไรจะช่วยให้ทำการตายของเด็กลดลง และพบว่าอุบัติเหตุ เป็นเหตุที่ทำให้เด็กเสียชีวิตร้อยละ 40 เมื่อสัก 10 กว่าปีที่แล้ว เป็นเด็กที่อายุเกินกว่า 1 ขวบขึ้นไปนะ ซึ่งก็แปลกมากเลยทำงานกันไม่มีใครสนใจเรื่องอุบัติเหตุ มีสนใจแต่ในเชิงรักษา คือหมอศัลยกรรมผ่าตัดเวลาเด็กบาดเจ็บมา แต่การป้องกันเรื่องอื่นเราทำหมดเลย เราฉีดวัคซีนป้องกันโรค เราป้องกันนู่น นี่ การขาดอาหาร เราชั่งน้ำหนัก เราวัดส่วนสูง แต่เราไม่ป้องกันอุบัติเหตุเลย ทั้งที่เป็นเหตุให้เด็กเสียชีวิตกว่าร้อยละ 40 ของเด็ก เรื่องไข้เลือดออก ไข้หวัดใหญ่ เราสนใจมาก แต่ปรากฏว่าเด็กตายนิดเดียว เด็กตายจากอุบัติเหตุ 100 คน ใน 100 คนนี่เด็กตาย 40 คน แต่เราไม่ทำอะไรเลย นั่นเป็นที่มีของการจัดตั้งศูนย์วิจัยเพื่อป้องกันในเด็ก แล้วก็เริ่มศึกษานั้นเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน และในการแก้ไขปัญหาพอเราศึกษาไป เราพบว่าในการแก้ไขปัญหาหลักการที่สำคัญที่สุดก็คือ การทำงานร่วมกัน ของเครือข่ายสหวิชาชีพ และการผลักดันในแต่ละเรื่องให้ครบทุกมิติ ถ้าไม่เช่นนั้นแล้วทำไม่ได้ เช่น เด็กเสียชีวิตด้วยมอเตอร์ไซค์ ปัญหาจะลดลงถ้าเด็กใส่หมวกกันน็อค หรือลดการขับขี่ที่มีความเสี่ยง เช่น ขับขี่ก่อนวัย ลดการขับขี่ที่ผู้ขับขี่ไม่พร้อม เช่น การเมาสุรา ทำถนนให้ปลอดภัย มีการแยกเลนมอเตอร์ไซค์ เลนรถยนต์เป็นต้น ทั้งหมดนี้ที่พูดมา 4-5 ข้อของทั้งหมด จะเห็นว่ามันไม่จบด้วยเรื่องการคำนวณแรงที่กระทำต่อศีรษะเด็กอย่างเดียว แล้วกว่าจะเปลี่ยนแปลงให้คนใช้หมวกกันน็อค กว่าจะมีกฎหมายหมวกกันน็อค จะให้คนที่มีอายุต่ำกว่า 18  ปีไม่ขับมอเตอร์ไซค์ กว่าจะให้ถนนทุกหนทางแยกผู้ขับขี่ของยานพาหนะที่มีความเสี่ยงสูงออกจากกว่ายานพาหนะทั่วไป ผมว่าเรื่องทั้งหมดนี้ยากกว่าทุกเรื่องเลย รับรองว่าได้เปลี่ยนแปลงทางวิชาด้านการแพทย์แน่นอน ด้วยวิชาการหรือวิชาชีพอื่น อีกหลายวิชาชีพ เพราะนั้นการทำงานร่วมกันเป็นหัวใจ ที่สุดเลย ทุกเรื่องจะเป็นแบบนี้หมดไม่เว้นเรื่องอุบัติเหตุ   ประเด็นหลักที่ทำในปีนี้ ศูนย์วิจัยเราทำเรื่องหลักอยู่ ในเรื่องอุบัติเหตุ เป็นเรื่องของอุบัติเหตุมอเตอร์ไซค์ของเด็กวัยเรียน ซึ่งขับขี่ก่อนวัย วัยเด็กเล็กนี่เราทำมาพักหนึ่งแล้ว มีหน่วยงานรับเรื่องต่อไปเยอะ เรื่องการจมน้ำของเด็กวัยเรียนเช่นกัน เด็กวัยเล็กนี่ อัตราการจมน้ำตาย นี่ลดลงตั้งวันละ 38 นะ นอกจาก 2 เรื่องนี้ เราพบว่าเรื่องสิ่งแวดล้อม ภัยจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็ก เป็นเรื่องที่มีความสำคัญขึ้นมาเลย ภัยจากสิ่งแวดล้อมก็ไปปะปนกับเรื่องหลายเรื่องเลย เรื่องผลิตภัณฑ์ที่ออกมาอยู่รอบตัวเด็ก และก่อให้เกิดมลพิษหลายอย่าง เราไปพบว่ามีเด็กชัก สืบเนื่องมาจากการอาศัยอยู่ใกล้โรงงาน ซึ่งเป็นโรงงานรีไซเคิลแล้วก็เจาะเลือดเด็กพบว่ามีสารตะกั่วสูงถึง 16 เท่าของค่าปกติของค่าที่ยอมรับได้นะ แล้วศึกษาต่อในโรงเรียนของเด็กในบริเวณนั้น พบว่า ครึ่งหนึ่งของโรงเรียนเลย 70 กว่าคนจาก 100 กว่าคน ตะกั่วในเลือดสูงในอัตราที่เขาไม่ยอมรับ อัตราเป็นพิษ ปรากฏว่าไปดูตามบ้านของเด็กเหล่านี้ ว่าไม่ได้เกิดจากมลพิษของโรงงานอย่างเดียว แต่เกิดจากสีทาบ้านด้วย สีทาบ้านของเด็กเหล่านี้พบว่ามีการใช้สีที่มีสารตะกั่วสูงในการทาบ้านด้วย อาจจะมีส่วนทั้งตัวโรงงาน สิ่งแวดล้อม ทั้งตัวสีทาบ้าน เมื่อก่อนหน้านี้ 2-3 ปี เราเคยศึกษาศูนย์เด็กเล็ก พบว่าศูนย์เด็กเล็กที่ใช้สีน้ำมันทา ครึ่งหนึ่งของศูนย์เด็กเล็กเหล่านี้มีสารตะกั่วสูง อันนี้สอดคล้องกับการศึกษาสีน้ำมันในตลาดของมูลนิธิบูรณะนิเวศ ดังนั้นผลิตภัณฑ์ที่สร้างด้วยสารพิษทั้งหลายที่อยู่รอบตัวเด็ก รวมทั้งสิ่งแวดล้อมที่ปล่อยมลภาวะที่เป็นพิษต่อเด็ก อันนี้เป็นประเด็นที่เราคิดว่าเป็นเรื่องความปลอดภัยของเด็ก แล้วเข้ามาเป็นประเด็นในปีนี้ที่เราศึกษา นอกจากในกรณีสมุทรสาครที่เล่าให้ฟัง จากการเจอผู้ป่วยหนึ่งรายที่เข้ามาที่โรงพยาบาล แล้วเราลงไปศึกษาสิ่งแวดล้อมรอบผู้ป่วยหนึ่งรายนั้น แล้วศึกษาเด็กคนอื่นในพื้นที่นั้น ไปเจอเด็ก 70 คนใน 156 คน เราไม่ได้หยุดอยู่แค่นั้น เรารู้สึกว่า ปัญหาเรื่องสารตะกั่วในเลือดของเด็ก ซึ่งส่งผลให้เด็กปัญญาอ่อน มีผลอันตรายต่อสมองเด็ก เรานึกว่ามันหมดไปแล้ว ตั้งแต่เราเปลี่ยนน้ำมัน ยุคที่มีตะกั่วในน้ำมันมาเป็นน้ำมันไร้สารตะกั่ว ปรากฏว่า ยังเป็นปัญหาอยู่ กำลังสงสัยว่าเมืองที่คล้ายเมืองสมุทรสาคร คือเมืองที่เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่อุตสาหกรรมมากขึ้น เด็กเหล่านี้จะมีอันตรายจากพิษสารตะกั่วหรือเปล่า ที่นี้ถ้าเป็นจากสีทาบ้าน แสดงว่ามันอาจจะไม่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม หมายถึงว่าเมืองที่เป็นพื้นที่สีเขียว แต่บ้านเราดันใช้สีน้ำมันไปทา แล้วสีน้ำมันเหล่านั้นมีสารตะกั่วสูงนั้น ต่อให้อยู่ในพื้นที่สีเขียวก็มีสารตะกั่วเป็นพิษหรือเปล่า ดังนั้นการควบคุมไม่ใช่การเพ่งเล็งไปที่พื้นที่ที่เป็นโรงงานอุตสาหกรรมอย่างเดียว แต่ต้องไปเพ่งเล็งที่ตัวผลิตภัณฑ์คือ สีทาบ้านที่มีสีน้ำมันอยู่นั้น แล้วกระจายไปทุกบ้านด้วย ต้องไปคุมที่ข้างบน การผลิตสีทาบ้านหรือเปล่า อันนี้เป็นประเด็นที่ตั้งขึ้นมา เราก็ออกไปศึกษาพื้นที่สีเขียวของจังหวัดสมุทรสาคร เช่น กระทุ่มแบน เราลงไปศึกษาพื้นที่โรงงานจังหวัดระยอง พื้นที่สีเขียวของจังหวัดระยองเช่น เขาชำเหมา ไปฉะเชิงเทราเก็บพื้นที่สีเขียวและพื้นที่โรงงานเช่นเดียวกัน แล้วมาเปรียบเทียบกันดูว่าเป็นอย่างไร ซึ่งผลการศึกษาคงลงในนิตยสารฉลาดซื้อนี่ละ   ทิศทางในการรณรงค์เป็นอย่างไรบ้าง มีอยู่ 2 ประเด็น เรื่องสี เรื่องของเล่น เรื่องเครื่องเล่นสนาม เราก็ว่าส่วนหลักใหญ่มาจากสี เพราะนั้นจะมีเครือข่ายที่เกิดขึ้น มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค มูลนิธิบูรณะนิเวศ กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานอุตสาหกรรม สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค นี่ก็เป็นเครือข่ายที่สำคัญ อีกอันหนึ่งก็เป็นภาคเอกชน บริษัทผลิตสี จะมีหน่วยงานวิชาการข้างเคียงเช่น วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย กลุ่มสถาปนิกทั้งหลาย ซึ่งอาจจะมีความใกล้ชิดกับผลิตภัณฑ์สี หรืออาจจะเป็นเครือข่ายที่มีการร้องทุกข์ได้นะ เรามีข้อเสนออย่างนี้ เรื่องของผลิตภัณฑ์นะ เนื่องจากในต่างประเทศเขา ได้สนใจเรื่องนี้ ในอเมริกาสนใจเรื่องนี้ตั้งแต่ปี 1972 มีการออกกฎหมายเรื่องของสารตะกั่วในสี มีการให้คำแนะนำประชาชนและมีการเจาะเลือดเด็กตั้งแต่เล็กๆ เลย เป็นการเจาะแบบเพื่อการตรวจสุขภาพทั่วไป แล้วมีการ subsidies คือให้ชาวบ้านสนใจเรื่องของการกำจัดสารตะกั่วในสีรอบบ้านของตนเอง เมื่อพบว่ามีความเสี่ยงให้รายงานสาธารณะสุขในพื้นที่ในการตรวจหาสารตะกั่วในสี ซึ่งพวกนี้รัฐบาลก็ subsidies คือจ่ายเงินให้ ถ้าเราจะเป็นต้องเปลี่ยนสี ต้องมีการขูดลอกด้วยทีม เขาเรียกว่าทีมกำจัดสารตะกั่ว คือไปขูดลอกอย่างถูกวิธีไม่ทำให้ตะกั่วกระจายสู่ชุมชน แล้วก็ทาสีใหม่โดยที่รัฐบาลมีส่วนจ่ายเพิ่มให้ศูนย์ บ้านเรานั้นไม่ได้สนใจตรงนี้เลยที่ผ่านมา ข้อเรียกร้อง ข้อที่ 1 พิจารณาเรื่องการออกมาตรฐานสีและมีการกำหนดสารตะกั่วไม่ให้เกินเท่าไหร่ในมาตรฐานสีอย่างน้อยให้เป็นไปตามสากล อันนี้คิดว่าคงต้องใช้เวลานานมาก เมื่อกำหนดมาตรฐานแล้วก็ประกาศเป็นกฎหมาย ใช้เวลานาน ข้อเสนอข้อที่ 2 เราคิดว่าน่าจะทำได้ทันที ระหว่างข้อแรกกำลังดำเนินการอยู่ เราทำข้อที่ 2 ไปเลย คือการที่ผู้ผลิตสี บ่งบอกชัดเจนว่าสีกระป๋องนี้มีสารตะกั่ว ไม่ควรใช้ทาภายใน มีสารตะกั่วเท่าไหร่ (...) แล้วไม่ควรใช้ทาอาคารภายใน อย่างน้อยให้พี่เลี้ยง คุณครูศูนย์เด็กเล็ก บ้านเรือนเขารู้ ทำไมเขาชอบเอาสีน้ำมันมาทาเพราะว่า เวลาเด็กขีดเขียนลบออกง่าย โดยเฉพาะศูนย์เด็กเล็ก   เป็นสีน้ำมันที่ใช้ทาแบบสีสันสดใสใช่ไหมคะ ใช่ สีสันสดใสด้วย ซึ่งอันนี้มีความเสี่ยง เพราะนั้นทำยังไงผู้บริโภคจะเข้าใจยาก รับรู้ยาก จะไปติดฉลากเขียว ให้เขาเลือกเฉพาะฉลากเขียว เขาก็อาจจะไม่เข้าใจว่า วันนี้เขาอยากซื้อของดีซื้อฉลากเขียว แต่พรุ่งนี้เขาอยากซื้อของธรรมดา เขาไม่ได้เข้าใจว่ามันเป็นของไม่ดีนะ แต่เข้าใจว่าเป็นของธรรมดา ใช้ได้ เขาก็ซื้อ เช่นเดียวผู้ผลิต เขาว่า เวลาใช้สีน้ำมันของคุณนั้นมีสารตะกั่วสูง เขาบอกว่า “ไม่ได้ใช้ทาภายในนี่นา ผู้ใช้ใช้ผิดเอง โทษเขาไม่ได้” แต่พอไปดูข้างกระป๋องเห็นเขียนชัดเลยว่า “ใช้ทาได้ทั้งอาคารภายในและภายนอก” เป็นต้นนะ เพราะฉะนั้นผมคิดว่าผู้ผลิตเอง ควรจะระบุชัดเจนว่า มีสารตะกั่วสูงหรือไม่สูง ถ้าสูงไม่ควรใช้ทาอาคารภายใน อย่างนี้เป็นต้น ระบุให้ชัดเจนไปเลย และต้องการให้ สคบ. บังคับให้ทำฉลากเพิ่มขึ้นทันที ส่วนเอาตะกั่วออกจากสีค่อยว่ากัน ความเสี่ยงที่มันอยู่รอบตัว เราจะป้องกันหรือว่าเราจะมีความพร้อมตรงไหน อย่างไรบ้าง ความเสี่ยงจากอุบัติเหตุหรือว่าสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ สารพิษรอบตัวเด็ก มันมีความสัมพันธ์กับบุคคล กับพฤติกรรมบุคคล แล้วก็ตัวสิ่งแวดล้อม เช่น สีนั้น อาจจะเกิดจาก มันหลุดลอก เด็กก็เอามือไปเล่นไปถูไปจับ ไม่ได้ล้างมือ เวลากินผลเสียเข้าสู่ร่างกาย การป้องกันก็เกิดได้จากการล้างมือบ่อยๆ เป็นต้น กวาดม็อบพื้น เรารู้ว่าเวลากวาดมันกระจายเราใช้ผ้าชุบน้ำม็อบพื้นเช็ดเอา เป็นต้น ไม่กวาด เช็ดเอา แต่ถ้าบ้านคุณมีสิทธิหรือเป็นผงๆ อยู่ตามขอบมุมอยู่เรื่อยนะ พวกนี้เป็นการแก้ปัญหาที่บุคคล อันนี้ประชาชนต้องรู้ ต้องแก้ไข ถ้ามากับเสื้อผ้าคุณพ่อที่ไปทำงานโรงงานอุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยง เช่น โรงงานแบตเตอรี่ โรงงานรีไซเคิล อะไรพวกนี้เป็นต้น ถ้าคุณพ่อมาถึงบ้านก็ต้องเปลี่ยนเสื้อ ถอดเสื้อที่ทำงานออก อย่าใส่ปะปนเข้ามาในบ้าน ใส่เสื้อใหม่ ดูแลความสะอาดไปแล้ว ที่นี้เป็นบุคคล หลักการที่ 2 เป็นเรื่องของสิ่งแวดล้อม คือ ตัวสี ตัวสีถ้าเราไม่เลือกสีที่มีสารตะกั่วมาทา อันนี้แน่นอนลูกเราปลอดภัยนะ เช่นเดียวกับ ไม่นั่งมอเตอร์ไซค์ เราไม่มีบาดเจ็บจากมอเตอร์ไซค์ เพราะนั้นการป้องกันนอกจากบุคคลแล้วมาดูเรื่องของผลิตภัณฑ์ เราเลือกผลิตภัณฑ์ที่ดีเลย ที่นี้ในกรณีผลิตภัณฑ์นั้นเลือกไม่ได้ เพราะว่าถ้าเลือกของดีก็แพง หรือว่าของไม่ดีมันก็ไม่เขียนให้เรารู้ มันเขียนข้างกระป๋องแต่ว่า ใช้ทาอาคารภายในก็ได้ภายนอกก็ได้ ไม่ยอมบอกเราว่ามีสารตะกั่วสูง อย่างนี้พ่อแม่ไม่รู้จะเลือกยังไง แต่ว่าพ่อแม่อย่าไปหยุดแค่นั้น เพราะอย่างไรเราควรต้องรู้ว่ามันมีหน่วยงานคุมอยู่ แต่หน่วยงานคุมอีท่าไหนมันออกมาแบบนี้ เพราะฉะนั้นก็ต้องขึ้นไปเคลื่อนไหวให้หน่วยงานที่เราต้องรับผิดชอบนั้น เขารู้ว่า มันมีอันตรายอย่างนี้อยู่นะ คุณจะแก้ยังไง ผู้ผลิตเองก็เป็นผู้ผลิตสีที่เป็นโรงงานใหญ่ โรงงานโตทั้งหลาย ผู้ผลิตเองต้องมีจริยธรรมการผลิตอยู่แล้ว ของการขายอยู่แล้วว่า จะต้องไม่ขายสิ่งที่เป็นพิษให้แก่เด็ก เด็กใช้แล้วโง่ เอาไปทาบ้าน เด็กอยู่ในบ้าน เด็กโง่ ผู้ผลิตที่ไหนเขาไม่อยากทำให้เด็กไทยโง่และโง่กันเป็นพันๆ คน ใช่ไหม? (หัวเราะ) เพราะฉะนั้น คุณพ่อแม่เคลื่อนไหวหน่วยงานรับผิดชอบไม่พอ คุณพ่อคุณแม่ต้องเคลื่อนไหวผู้ผลิต ว่า  คุณขายของ ฉันซื้อของ แต่ว่าฉันไม่รู้ว่ามันมีหรือไม่มี หรือจะช่วยตัวเองหรือจะหลีกเลี่ยงอย่างไร เพราะฉะนั้นคุณก็ติดป้ายให้มันชัดๆ คุณอย่าหลอกผู้ซื้อ ติดป้ายไว้ชัดๆ เท่านั้นเอง อันนั้นจะช่วยได้ระหว่างเราแยกได้ แต่แน่นอนถ้าแยกแล้ว อีกกระป๋องหนึ่งซึ่งดี แล้วมันแพงมาก ถ้าเราทุกคนเลือกไม่ซื้อของที่มันไม่ถูก แต่ว่ามันอันตราย มันก็จะหมดไปจากตลาดเอง แล้วก็ของที่แพง ราคาก็จะ dump ลงเองตามกลไกการตลาด แน่นอนอาจจะเรียกร้องดำเนินงานให้ไปคุมราคา ตราบใดที่มีของดีของไม่ดีปนกัน ขายได้ หน่วยงานรับผิดชอบก็อนุญาต และคนซื้อไม่รู้ ราคามันจะเป็นอย่างนี้  ของดีจะราคาสูง ในต่างประเทศไม่มีของไม่ดี เพราะนั้นราคาต่างๆ จะปรับในราคาที่พอเหมาะพอสม ผมเชื่อว่า บริษัทสีทุกบริษัทมีทั้งของดีและของไม่ดี อย่ากลัวการที่ประชาชนเริ่มรู้ เริ่มเคลื่อนไหวไม่อยากใช้ของไม่ดี เพราะคุณมีของดีไว้ขายอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นคุณเองไม่ได้เสียอะไรนะ ผมว่าการป้องกันก็อย่างนี้ แค่บุคคลไม่พอ ต้องดูที่สิ่งแวดล้อม หลีกเลี่ยงได้หลีกเลี่ยงนะ ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ต้องไปเล่นงานหน่วยงานที่รับผิดชอบ รวมทั้งไปเล่นงานผู้ผลิตว่าทำไมขายของแล้วทำให้เด็กโง่ออกมาปะปนกับตลาด เพราะฉะนั้นประชาชน ชุมชนต้องดูแล นอกจากการดูแลตนเอง ควรต้องเคลื่อนไหวในหน่วยงานที่เขารับผิดชอบด้วย ผู้ผลิตที่เขาต้องรับผิดชอบสินค้าเขาด้วย เพราะฉะนั้นมันไม่มีทางที่เราจะดูแลตนเองได้หมด ถ้าเราถูกหลอกมาตั้งแต่แรกว่ามันดีหรือไม่ดีเราก็ไม่รู้ เราก็ดูแลตนเองไม่ได้

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 151 จงกล้าและอย่าให้มันติดอยู่ในใจ

คุณสุนิสา ศิริกุล  หรือคุณครูนิกกี้ สาวเมืองจันท์ ที่ตัดสินใจไปลงหลักปักฐาน ณ ดินแดนใหม่ ขอนแก่น เธอคนนี้เป็นผู้ที่รักในวิชาภาษาอังกฤษมาตั้งแต่เยาว์วัยและมุ่งหวังอยากให้คนไทยมีความสุขในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ(ไม่ใช่ความกลัวอย่างที่เป็นกันอยู่) และสามารถใช้ภาษานี้สื่อสารได้เป็นอย่างดี  ความมุ่งมั่นนี้นี่เองที่ทำให้เธอและน้องสาวร่วมกันปลุกปั้น English I Like หลักสูตรการสอนภาษาอังกฤษที่ไม่ฝืนธรรมชาติของการใช้ภาษา เมื่อคิดขยายหลักสูตรในวงกว้างเธอจึงมองหา การทำแฟรนไชส์กับสถาบันสอนภาษาอังกฤษที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่ง แต่เมื่อได้ลองสัมผัสดู ทำให้เธอเริ่มรู้จักคำว่า การพิทักษ์สิทธิผู้บริโภค เรามาลองติดตามเรื่องราวการต่อสู้ของเธอ เรื่องราวที่ทำให้เธอคิดเสมอว่า “เรื่องผู้บริโภคไม่ได้เป็นเรื่องไกลตัวเลย ”   ปัญหาที่เจอคืออะไร คือตอนนั้นจะทำสอนพิเศษภาษาอังกฤษ น้องสาวก็เรียนจบเอกวิชาด้านภาษาอังกฤษ ก็หาประสบการณ์อยู่ต่างประเทศ เราก็จะมาเปิดโรงเรียนสอนพิเศษด้วยกัน ทีนี้เราก็มองว่าแม้เราจะมีความรู้ ความสามารถอยู่ก็ตามแต่เราก็ต้องการคนที่เขาเป็นมืออาชีพมากกว่าในเรื่องของการตลาด ประชาสัมพันธ์ หรือว่าการจัดการอะไรทุกอย่างที่เขามีความพร้อมมากกว่าเรา ก็เลยตัดสินใจเลือกหาเป็นแฟรนไชส์ แล้วก็ไปเจอแฟรนไชส์ของธุรกิจโรงเรียนสอนภาษาแห่งหนึ่ง   โดยหลักการเราเห็นแล้วเราชอบเพราะเขาสอนที่เป็นหลัก Phonics ด้วย ตรงนี้ช่วยแก้ปัญหาการเรียนภาษาอังกฤษของคนไทยได้ตรงจุด ทีนี้ปรากฏว่าในข้อสัญญาต่างๆ ก็จะมีเงื่อนไขที่เขาจะทำงานร่วมกันกับเราว่าจะทำอะไรให้เราบ้าง ยังไง มันก็เริ่มต้นมาตั้งแต่แรก ตั้งแต่เรายังไม่ได้ทำโรงเรียนสอนพิเศษ ขั้นตอนการดำเนินการต่างๆ มันก็เริ่มไม่ตรงกับตามที่ได้พูดคุยกันไว้ในสัญญา เรื่อยมาจนกระทั่งใช้เวลาประมาณครึ่งปีในการเตรียมการด้านสถานที่ จัดหาบุคลากรต่างๆ เตรียมความพร้อมทุกด้านค่ะ เราก็เห็นว่าเขาไม่ได้มีความพยายามที่จะช่วยเหลือเราตามเงื่อนไข ตามข้อตกลงที่ได้พูดคุยไว้ ก็เริ่มมีปัญหาจนกระทั่งเปิดโรงเรียนสอนพิเศษขึ้นมา ก็ไม่ได้รับการช่วยเหลืออย่างเช่น เขาจะต้องอบรมความรู้ของเขาให้กับเรา เนื้อหามันค่อนข้างเยอะ สมมติว่าจาก 10 เขาอบรมให้เราแค่ 1 แต่เราจะต้องสอนเนื้อหาให้ครอบคลุมทั้ง 10 เรื่องนั้น แต่อบรมให้เราแค่เรื่องเดียว แต่เวลาเก็บค่าแฟรนไชส์คุณคิดเปอร์เซ็นต์ในแต่ละเดือนคุณคิดทั้งหมด การจัดหาครูก็ไม่หาให้ เราก็ไม่รู้จะทำอย่างไรก็ต้องหาเอง แต่นี่มันเป็นเงื่อนไขนะว่าเขาจะต้องช่วยเราในการสัมภาษณ์ ในการเทรนพนักงานอะไรต่างๆ ทุกอย่างมันก็ไม่เป็นไปตามเงื่อนไข แม้กระทั่งหนังสือแบบเรียนต่างๆ ที่เขาทำขึ้นมาซึ่งราคากับคุณภาพก็ไม่ค่อยเหมาะสมกัน ก็มีความผิดพลาดเยอะต่างๆ นานา “ที่สำคัญคือเรามองเห็นว่าไม่มีความพยายามที่จะช่วยเหลือกันด้วยความจริงใจ” ซึ่งตรงนี้มันอาจจะช่วยเราไม่ได้มากก็จริง แต่ถ้าเขามีความพยายามที่จะช่วยเหลือเราอย่างที่ได้คุยกันไว้ มันก็โอเค แต่นี่เขาไม่ได้พยายามที่จะช่วยเหลือใดๆ ค่ะ พอถึงเวลาก็พยายามที่จะเก็บค่าแฟรนไชน์ในแต่ละเดือน เราก็เริ่มท้วงติงไปว่าเราจะจ่ายให้แค่ส่วนนี้นะ เฉพาะส่วนที่เราสอนเด็กในเนื้อหาที่เขาได้อบรมมา ส่วนที่เหลือนอกจากนั้นคุณไม่ได้อบรมให้เรา เพราะฉะนั้นเราไม่ยินดีที่จะจ่ายส่วนนั้น ก็เริ่มมีปัญหากันแล้ว เริ่มรู้สึกไม่Happy ต่อกันแล้ว ก็เลยลองพูดคุยกับคนที่ซื้อแฟรนไชส์สาขาอื่นๆ ว่าเขามีปัญหานี้ไหม บังเอิญเราได้โบรชัวร์ของคนที่ซื้อตั้งแต่ก่อนหน้านี้มาก่อนแล้ว มีเบอร์โทร ก็เลยโทรสอบถามไปปรากฏว่าหลายที่เลยที่เขาเลิกทำไปแล้ว เพราะประสบปัญหาต่างๆ ในลักษณะคล้ายๆ กันแบบนี้ ก็เลิกกันไปเยอะแล้ว แล้วรุ่นปัจจุบันที่ทำอยู่ก็มีปัญหาเหมือนกัน แล้วทุกคนก็ได้แต่บ่น แต่ไม่มีใครทำอะไรเลย เราก็เลยเป็นตัวตั้งตัวตีในการที่จะรวมคนที่มีปัญหาเดียวกันนี้มาร้องเรียนร่วมกัน พอดีตอนนั้นได้รู้จักมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคผ่านทางรายการทีวีช่อง 11 ก็เลยลองติดต่อสอบถามมาสุดท้ายก็ได้รับความช่วยเหลือมาเป็นลำดับ และอาจจะเป็นเพราะว่าเราเองไม่ได้มีเงินทุนมากพอที่จะสูญเสียเงินจำนวนนั้นไป เพราะลงทุนมันต้องมีค่าสถานที่อะไรต่อมิอะไรมากมาย ค่าแฟรนไชส์ก็ประมาณเกือบสองแสน ค่าลงทุนด้านอื่นๆ อีก เรียกว่าเราก็ไม่ฉลาดพอแล้วก็ไปไว้ใจเขาด้วย การลงทุนมันเป็นหลักล้าน ซึ่งบอกตรงๆ ว่าเป็นเงินเก็บของเราและครอบครัวที่เอามาช่วยเหลือ นั่นก็ถือว่าเป็นเงินเกือบทั้งหมดของเราเลยที่มี เพราะฉะนั้นเรามีความรู้สึกว่าเราสูญเสียไม่ได้ เลยรวมตัวกันมาเรียกร้องสิ่งที่มันเป็นสิทธิอันชอบธรรมของเรา จนในที่สุดก็สำเร็จได้ด้วยความช่วยเหลือของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ตอนแรกก็เกือบจะเป็นคดีฟ้องร้องกัน ที่สุดก็สามารถที่จะไกล่เกลี่ยกันได้แล้วเขาก็ยอมคืนเงินจำนวนหนึ่งที่เป็นค่าแฟรนไชส์ที่เราจ่ายไปเป็นก้อนให้คืนกลับมา ซึ่งทั้งหมด 4 สาขาที่ร้องเรียนกันเข้ามา   คิดว่าสิ่งที่ทำให้เราประสบความสำเร็จในการร้องเรียน คือพลังผู้บริโภคไหม ใช่ค่ะ ส่วนที่เราชนะนี่มันมีข้อมูลหลักฐานที่มันชัดเจนอยู่แล้วในความผิดพลาด ความไม่ถูกต้องของเขาด้วย ผลงานการทำงานของมูลนิธิฯ ที่ช่วยเหลือเราอย่างเต็มที่ด้วยในฐานะของผู้มีประสบการณ์ทำงานจริงจังแล้วก็สามารถที่จะช่วยเหลือเราอย่างแท้จริงด้วย เพราะฉะนั้นมันก็มีพลังที่จะต่อรองกับเขา แล้วก็เห็นว่าที่เรารวมกลุ่มกันในการร้องเรียนนั้น เราร้องเรียนอย่างจริงจัง เรามีเป้าหมายในการร้องเรียนที่ชัดเจน ไม่ใช่แค่ร้องเรียนไปเฉยๆ แต่เราต้องเรียกร้องสิ่งนั้นจริงๆ และเขาเองก็คงเห็นแล้วว่าทุกอย่างนั้นมันเป็นไปได้ยากที่เขาจะชนะ รวมถึงในกรณีที่ผ่านๆ มาคนที่ทำไปแล้วก็เจอปัญหาเหล่านี้ทั้งหมดเลยแต่ไม่มีใครลุกขึ้นมาเรียกร้อง ครั้งนี้คงเป็นครั้งแรกที่เขาได้เจอเหตุการณ์จริงๆ ว่ามีคนลุกขึ้นมาสู้เพื่อสิทธิอันชอบธรรม   ปกติก็ไม่ชอบให้ใครเอาเปรียบหรือเปล่า อาจจะเป็นสิ่งที่เรารับมาโดยไม่รู้ตัวก็ได้ แต่พ่อแม่ก็พยายามที่จะฝึกเราให้มีระเบียบวินัย ให้เป็นคนดีประมาณนี้ ความเข้มงวดในเรื่องของการรักษากริยา มารยาท กาลเทศะกับเราพอสมควร แต่ส่วนเรื่องของการที่จะดูแลเรื่องสิทธิตัวเองคิดว่าอาจจะได้รับจากสิ่งแวดล้อมรอบๆ ข้าง ได้รับจากการชมภาพยนตร์ ส่วนใหญ่จะดูในภาพยนตร์ต่างประเทศ แล้วเราก็สนใจในเรื่องภาษาอังกฤษ เราก็ได้เรียนรู้ส่วนหนึ่งในวัฒนธรรมต่างประเทศในเรื่องของการที่จะคุ้มครองสิทธิของตัวเอง ต่อหน้าที่ของเราในขอบเขตที่สามารถทำได้   ในวัยเด็กมีประสบการณ์การเรียกร้องสิทธิให้ตัวเองอย่างไรบ้าง คือในวัยเด็กอาจจะรู้สึกว่าผู้ใหญ่บอกอะไรกับเรานั้น ให้ทำนี้นั้นแล้วเดี๋ยวจะพาไปเที่ยว เราก็รู้สึกคาดหวังกับคำพูดของเขาแล้วว่าเดี๋ยวเราทำตามนี้แล้วเราจะได้ตามนี้ เพราะฉะนั้นเราก็คาดหวังว่าเขาจะทำตามคำพูดที่ได้บอกกับเรา อันนั้นเราเริ่มรู้สึกเรียกร้องแล้วว่าทำตามที่บอกแล้วนะ ทำไมผู้ใหญ่ไม่เห็นทำตามที่พูดเลย ก็เริ่มรู้สึกถึงประเด็นนี้ตั้งแต่เด็กแล้วว่าทำไมมันไม่เป็นแบบนั้น   แล้วคนที่อยู่รอบๆตัวเรา หรือเพื่อนๆ เขารู้สึกว่าเราไม่เหมือนคนอื่นไหม ใช่ค่ะ สามีบอกว่าทำไมไม่ทำ ไม่คิดเหมือนคนอื่นๆ เขาบ้าง(หัวเราะ) ก็เริ่มรู้สึกว่าสังคมเรานั้นไม่ค่อยกล้า ช่างมันเถอะ ปล่อยมันไป แต่เรามองว่าความถูกต้อง สิ่งที่มันควรจะเป็นเราก็น่าจะมีสิทธิที่จะเรียกร้องในการที่จะทำอะไรออกไปได้โดยที่ไม่กระทบกระเทือนหลักการที่ถูกต้อง ไม่ได้ทำความเดือดร้อนให้คนอื่น เรามองว่ามันเป็นสิ่งที่ถูกต้อง มันควรทำ คนอื่นก็เหมือนกันก็ควรทำเพียงแต่คุณไม่กล้าเอง ยกตัวอย่างง่ายๆ เลยนะคะ เคยมีอยู่ครั้งหนึ่งนานแล้วนะเป็นวัยเพิ่งทำงานก็นั่งรถทัวร์กลับบ้านต่างจังหวัด ซึ่งก็ดึกแล้วแต่ว่านิสัยของเราค่อนข้างฝึกมาแบบไทยนี้รักสงบ บางทีไม่อยากพูดมาก กลัวว่าคนอื่นจะคิดอย่างไร รู้สึกกับเราอย่างไร บางครั้งเราอาจลืมมองไปว่านอกจากความรู้สึกของตัวเองแล้ว ความรู้สึกของคนรอบข้างเป็นอย่างไรด้วย อย่างกรณีที่เจอคือมีกลุ่มวัยรุ่นซึ่งก็โตแล้วเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัย เขาก็นั่งเป็นกลุ่มอยู่บนรถทัวร์ แล้วส่งเสียงดังคุยกันโหวกเหวกโดยที่ไม่ได้นึกเกรงใจคนอื่น ด้วยวัยคะนองก็อาจจะลืมนึกคิดไปว่ามันกระทบกระเทือนคนอื่น ซึ่งช่วงเวลานั้นมันก็ดึกจะเที่ยงคืนแล้ว ทั้งคันรถอยากจะพักผ่อนแต่ว่าไม่มีใครกล้าที่จะลุกขึ้นมาพูด แม้กระทั่งพนักงานบนรถก็ตาม ไม่มีใครกล้าลุกไปบอกให้เขาเงียบเสียง ก็เลยลองให้เวลากับเขาสักพักเดี๋ยวเขาอาจจะหยุดส่งเสียงดัง ปรากฏว่ารอไปสักพัก 15 -20 นาทีก็ยังไม่เงียบ เลยลุกขึ้นไปพูดกับเขาดีๆ ว่า “ขอโทษนะคะ นี่ก็ดึกมากแล้วและคิดว่าทุกคนคงอยากพักผ่อน ขอให้น้องๆ ช่วยคุยกันเบาๆ ช่วยเงียบเสียงด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ” แล้วทุกคนก็ได้เดินทางนอนหลับพักผ่อนไปได้ในที่สุด นั่นก็เป็นตัวอย่างง่ายๆ ว่าถ้าเรากลัวที่จะไม่กล้าพูดไม่กล้าทำอะไร เราก็จะถูกคนอื่นที่บางทีเขาอาจจะไม่รู้ตัวก็ได้ ทำไปโดยไม่ได้มีเจตนาที่ไม่ดี มันก็อาจจะกระทบกระเทือนชีวิตความเป็นอยู่ของเราได้ แต่ถ้าเราลองใช้วิธีการที่มันเป็นมิตรกัน ไม่ใช่ว่าจะต้องเป็นปัญหาความขัดแย้งกันเสมอไป ก็พูดคุยกันตรงนี้มันสามารถที่จะปรับได้ แล้วก็ได้ความสุขร่วมกันได้ในสังคมค่ะ   ฝากถึงบางคนที่อาจจะยังไม่กล้าเรียกร้องสิทธิ เบื้องต้นต้องคิดว่าน่าจะมองก่อนว่าสิ่งที่เราเรียกร้องนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้อง ไม่ใช่สิ่งที่ผิด ไม่ผิดต่อกฎหมาย ไม่ผิดต่อศีลธรรม และมันจะเป็นแบบอย่าง เป็นประโยชน์ของเรารวมทั้งกับคนอื่นๆ ด้วย ไม่มีสิ่งที่จะติดค้างคาใจเรา บางทีเราไม่ทำอะไรลงไปแต่เรายังติดใจอยู่แบบนั้นตลอด แล้วเราก็พูดถึงมัน บ่นถึงมันตลอดแต่มันไม่ได้รับการแก้ไข แต่ถ้าเราได้ลงมือทำไปโดยที่เราปรึกษาผู้รู้ ขอความช่วยเหลือ มันก็จะช่วยเราได้ ส่วนใหญ่ที่เราไม่กล้าเพราะเราไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร เราไม่เข้าใจ กลัวนั้น กลัวนี่ คือบางทีเรากลัวไปก่อน เพราะฉะนั้นก็หาผู้รู้คอยแนะนำให้คำปรึกษา ซึ่งมีหลายหน่วยงาน หลายองค์กรที่ช่วยเราได้อยู่ ก็มองว่าหนึ่ง มันเป็นสิ่งที่ถูกต้อง สอง ความกลัวของเรา จะเปลี่ยนความกลัวของเราต้องเปลี่ยนความกลัวเป็นความรู้ ต้องหาข้อมูล หาคำแนะนำ ปรึกษา ช่วยเหลือ และจริงใจกับตัวเองว่าการณ์นั้นเราเป็นผู้ที่ถูกต้องจริงๆ ถ้าเรามั่นใจในสิ่งนี้ก็ให้เดินหน้าเรียกร้องความถูกต้องนั้นให้เกิดประโยชน์กับตัวเอง และเป็นตัวอย่างให้กับคนอื่นด้วย คนที่คิดไม่ดีเขาจะได้ไม่กล้าที่จะทำแบบนั้นกับคนอื่นๆ อีก

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 150 หนังสือไม่เคยหลอกลวงคนอ่าน

“จรัญ หอมเทียนทอง” ในวัย 59 ปี หลงใหลในโลกหนังสือมาตั้งแต่ยุค 14 ตุลาคม 2516 จวบจนปัจจุบันก่อตั้งสำนักพิมพ์แสงดาว เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของนักอ่านในเมืองไทย ที่ต้องการลิ้มรสทางปัญญาที่หลากหลายทั้ง ความรู้ตลอดไปจนเรื่องสารพันบันเทิง  ในวันนี้กับอีกบทบาท ในตำแหน่งนายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย สิ่งที่ นายกฯ คนใหม่ ลั่นวาจาหลังได้รับการคัดเลือก คือ การสร้างธุรกิจหนังสือให้เติบโตท่ามกลางเศรษฐกิจที่ถดถอย ทำให้สำนักพิมพ์อยู่ได้อย่างมั่นคงและเสมอภาค รวมทั้งความพยายามที่จะผลักดันหนังสือไทยให้เผยแพร่ไปยังต่างประเทศมากกว่าเดิม นิตยสารฉลาดซื้อ และสำนักพิมพ์ของเราที่อยู่ในสถานะ โรงพิมพ์ทางเลือก ไปถึงธุรกิจสิ่งพิมพ์ขนาดเล็ก (มาก)ถึงกับตาลุกวาว กับนโยบาย ลองมาดูกันสิว่า “แสงดาว” แห่งศรัทธากับเส้นทางหนังสือทางเลือกจะเดินทางต่อไปอย่างไร ทิศทางของหนังสือทางเลือกในอนาคตอันใกล้จะเป็นอย่างไร จะพูดแบบใช้สำนวนเลยไหม ทิศทางเป็นทิศทางที่มีทางเลือกไม่มาก มีทางเลือกไม่มากหมายความว่าทุกคนเองจะต้องเป็นมืออาชีพมากขึ้น คำว่ามืออาชีพคืออะไร คือคุณต้องอ่านลูกค้าคุณให้ออก คุณจะผลิตหนังสือมาเป็นขยะไม่ได้แล้ว ต่อไปนี้การผลิตหนังสือหนึ่งเล่มจะต้องเป็นการผลิตหนังสือที่ผ่านการคิดมาพอสมควร มาแบบว่าไปตายเอาดาบหน้านั้นจะได้ตายสมใจ เพราะว่าช่องทางในการจัดจำหน่ายมันไม่มี มันน้อย เหตุผลที่มันน้อยคือหนังสือมันเยอะพอหนังสือมันเยอะนั้นวันหนึ่ง เมื่อการตลาดมาใช้กับวงการหนังสือมันทำให้วงการหนังสือมันเปลี่ยนไป คือพูดตรงๆ ปัจจุบันนี้หนังสือทุกเล่มเมื่อเอาการตลาดมาใช้ หนังสือมันเป็นสินค้าวัฒนธรรม เมื่อสินค้าวัฒนธรรมถูกตลาดมาครอบงำ วัฒนธรรมมันก็จะเปลี่ยนไปเป็นวัฒนธรรมที่ถูกจัดสรร เหมือนเรากลับไปดูละครทีวีที่เราดูทุกวันนี้เป็นวรรณกรรมไทยที่ถูกจัดสรรมาเพื่อทำเป็นละครทีวี เมื่อมันเป็นละครถูกจัดสรรมาเพื่อจัดทำเป็นละครทีวีคุณค่าทางศิลปะมันหายไป แต่มันจะมีคุณค่าทางการตลาดเพิ่มขึ้น ดังนั้น เมื่อเราจับประเด็นนี้มาใช้กับวรรณกรรมต่อไปนี้วรรณกรรมดีๆ มันก็จะไม่เกิดขึ้น เพราะวรรณกรรมดีๆ นั้นมันไม่สามารถตอบโจทย์ที่ต่อยอดได้ คือ ตอบโจทย์ที่เป็นละครทีวี สภาพตลาดจึงเป็นอย่างนี้ มันก็เป็นคำตอบเดียวกับที่เราตอบหนังสืออิสระว่าคนทำหนังสืออิสระขนาดเล็กจึงจำเป็นต้องหาตลาดตัวเอง ถามว่าตลาดของตัวเองหาอย่างไรก็คือคุณต้องใช้โซเชียลมีเดียใช้แฟนคลับของตัวเอง เพื่อสร้างจุดขายของตัวเองบางทีคุณจะเห็นสบู่ Local ยากนะขณะที่สบู่ลักส์ขายได้ สบู่ดอกบัวคู่ก็ขายได้แต่เขาขายตลาดของเขา เขาสร้างจากจุดเล็กๆ ของเขาขึ้นมา ปัจจุบันนี้สบู่ดอกบัวคู่นี้พอขายจนได้มาสักพักเริ่มไม่ใช้ดอกบัวคู่แล้ว ดอกบัวคู่ใช้การตลาดนำใช้เป็น Twin Lotusให้คนรู้สึกว่าไม่ใช้ดอกบัวคู่ ผมเห็นสินค้านี้ Twin Lotus มันก็คือดอกบัวคู่ ในวงการหนังสือก็เช่นเดียวกันแต่วงการหนังสือนั้นจะมีข้อด้อยตรงที่คนทำหนังสือนั้นไม่มีช่องทางจำหน่ายหนังสือของตัวเองต้องไปอาศัยช่องทางจำหน่ายของคนอื่นเขา อุปสรรคคือช่องทางการจำหน่ายจึงเป็นปัญหาหนึ่งซึ่งมันทำให้เป็นความจำเป็นของสมาคมผู้จัดพิมพ์จะต้องหาช่องทางขายให้สมาชิกเรา เราจึงให้โอกาสสมาชิกที่เป็นรายเล็กรายกลางเราจึงจัดหาที่ทางให้เอื้อประโยชน์กับรายเล็กรายกลาง ถามว่าคุณรังเกียจรายใหญ่เหรอ ไม่ใช่ครับแต่รายใหญ่เขามีโอกาสในการขายของเขาอยู่แล้ว โอกาสเมื่อมันเกิดเพิ่มขึ้นโดยสมาคมผู้จัดพิมพ์ ความเพิ่มขึ้นมันควรจะเป็นของรายเล็กมากกว่าเราไม่ควรจะเอาโอกาสนั้นไปให้รายใหญ่อีก พูดง่ายๆ คือคนรวยเขามีโอกาสของเขาอยู่แล้วเราไปเพิ่มโอกาสให้เขาทำไม การเพิ่มโอกาสให้เขาเขาไม่รู้สึกดีใจกับเราหรอกเพราะเขารู้สึกว่าเขามีอยู่แล้ว แต่ถ้าเราให้โอกาสกับคนเล็กนั้นเขาจะดีใจมากกว่าเหมือนกับคุณเอาเงิน 500 บาทไปให้เศรษฐีเขาก็ไม่สนใจแต่ถ้าคุณเอาเงิน 100 บาทไปให้คนจนคุณจะเหมือนเป็นเทพเจ้าเลยนะ ฉันใดก็ฉันนั้นครับ  การตลาดของคนทำหนังสือรายเล็กจะไปในทิศทางอย่างไร ? ทิศทางหนังสือรายเล็กนั้นถ้าคิดว่าเขาจะเข้าตลาดใหญ่ๆ ได้จะต้องเป็นหนังสือของคนตัวเล็กที่มี Talk of the Town ถ้าหนังสือคุณไม่ใช่ Talk of the Town นะโอกาสที่จะได้ไปลืมตาอ้าปากนั้นยาก แต่ถามว่าร้านหนังสือรายใหญ่ที่ไม่เอาของเขามาวางนั้นผิดไหม ไม่ผิด เพราะร้านหนังสือขนาดใหญ่นั้นค่าเช่าที่เขาแพง เขาจึงจำเป็นจะต้องวางสินค้าที่จะต้องสร้างรายได้ให้เขาสูงสุด เมื่อหนังสือของรายเล็กนั้นไม่ใช่หนังสือที่อยู่ในกระแส ไม่ใช่หนังสือ Talk of the Town การไหลเวียนหนังสือในร้านเขาต่อการเช่าพื้นที่ 1 ตรม.นั้น เขาย่อมเอาหนังสือที่ได้เงินเร็วมากกว่าหนังสือที่ขายได้ช้า ฉะนั้นงานวรรณกรรมดีๆ ของดีมักจะขายช้า ในโลกนี้ของดีที่ขายดีก็มีบ้าง แต่ของดีนี้ขายยากมาก  ถ้าอย่างนั้นเราจะสร้างวัฒนธรรมในการอ่านอย่างไร ? วัฒนธรรมของการอ่านไม่ต้องสร้างครับ  เราต้องสร้างฐานของการอ่านมากขึ้นเพื่อเมื่อคนอ่านหนังสือมากขึ้นคนจะสามารถคัดกรองได้ว่าในอนาคตนั้นเขาจะอ่านหนังสือแบบไหน วันนี้คนเข้าร้านหนังสือใหญ่ อ่านหนังสือตามกระแสที่เป็น Talk of the Town ไม่ผิดครับแต่เมื่อเขาอ่านบ่อยๆ แล้วเขาจะรู้ว่าหนังสือเหล่านั้นอาจจำให้ความเพลิดเพลินเขาแต่ให้อรรถประโยชน์น้อยกว่าหนังสือคลาสสิกมาก วันหนึ่งเขาจะรู้เองครับตามอายุของเขา ดังนั้นสิ่งที่เราควรจะทำก็คือทำอย่างไรถึงจะเพิ่มคนอ่านหนังสือให้มากขึ้น เพราะถ้าเราเพิ่มคนอ่านให้มากขึ้นแล้วคนอ่านเขาจะคัดกรองหนังสือของเขาเอง  การที่มีการอ่านหนังสือบนTablet มันมีส่วนช่วยหรือทำให้ตลาดหนังสือเดิมเล็กลงไหม ผมว่าการอ่านหนังสือบน E-Book ไม่ทำให้คนอ่านหนังสือลดลงแต่ว่าการอ่านหนังสือบน E-Book นั้นเป็นอีกหนึ่งช่องทางของคนอ่านหนังสือ แต่ถ้าถามว่าทำให้หนังสือเล็กลงหรือไม่ ไม่ครับเพราะให้อรรถประโยชน์ในการอ่านไม่สะดวกครับ E-Bookนั้นจะอ่านได้เฉพาะที่เป็น Magazine หนังสือพิมพ์ เพราะถ้าเป็นหนังสือนิยายหนึ่งเล่มนั้นคุณไม่สามารถอ่านจบได้ภายในวันเดียว อย่าลืมว่า E-Book มีเงื่อนไขในการอ่านเรื่องของแสงที่สะท้อนออกมาจากเครื่องอันนี้เรื่องที่หนึ่ง สองคือคุณต้องอ่านในที่ที่มีสัญญาณไปถึง สามมันมีค่าไฟที่คุณต้องใช้ สี่การอ่านหนังสือนั้นคลาสสิกกว่า E-Book ครับอันนี้เป็นทัศนะผมนะครับ E-Bookเป็นเพียงแค่แฟชั่นชั่วครั้งชั่วคราว แต่ที่พูดไม่ได้หมายความว่าไปดูถูกตลาด E-Book นะครับแต่ว่า E-Bookนั้นเป็นอีกช่องทางเลือก ผมก็ดีใจที่อย่างน้อยทำให้มีคนอ่านหนังสือเพิ่มขึ้นอีกจำนวนหนึ่ง วันนี้เวลาเราเจอเด็กอ่านหนังสือจากโทรศัพท์ IPhone อ่านหนังสือจาก Facebook เราไม่เสียใจครับ เราดีใจเพราะว่าคนอ่านหนังสือมากขึ้นให้เขาใช้เวลาว่างในการอ่านหนังสือดีกว่าใช้เวลาว่างในการคุย ซึ่งการอ่านจะอ่านใน Facebook มันก็เรื่องของเขา แต่ขอให้คนรักการอ่านก่อน เป้าหมายของสมาคมฯ คือทำอย่างไรให้คนรักการอ่านก่อนนี่คือเป้าหมายของเรา   การที่เราจะก้าวเข้าสู่ AEC ตลาดหนังสือไทยมันจะไปอย่างไร ? มีคนพูดกันมากว่าเมื่อเราก้าวเข้าสู่ AEC แล้วหนังสือมันจะเป็นอย่างไร ผมเรียนว่าหนังสือคือวัฒนธรรม วัฒนธรรมเราคือหนังสือไทยเรามีความพร้อมที่จะแปลเป็นภาษาอังกฤษไหมครับ อย่าลืมว่ามีภาษากลางเป็นภาษาอังกฤษและภาษาจีน เราเองมีความพร้อมที่จะแปลเป็นภาษาอังกฤษไหมแล้วหนังสือในแถบอาเซียน สิ่งเดียวที่จะทำให้สื่อสารและซื้อขายกันคล่องตัวที่สุดในอาเซียน คือหนังสือการ์ตูนครับ เพราะหนังสือการ์ตูนไม่จำเป็นต้องบอกความมาก ชัดเจน ฉะนั้นตลาดที่ไปอาเซียนคือหนังสือการ์ตูนและต้องทำบทพากษ์เป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งมีคนทำได้ระดับหนึ่ง AEC กับหนังสือนั้นคือต้องเข้าใจว่า AEC นั้นคือเขตปลอดภาษีสำหรับสินค้าในแทบอาเซียนธรรมดาถ้าไม่ใช่ AEC หนังสือก็เป็นสินค้าปลอดภาษีอยู่แล้ว ดังนั้นตัวนี้มันมีมาก่อน AEC ครับ เพราะว่าไม่ใช่เฉพาะ AEC นะครับโลกนี้คุณส่งหนังสือเรียนไปที่ไหนก็แล้วแต่หนังสือเรียนเป็นสินค้าที่ยกเว้นภาษีอากรครับ AEC นี้ว่าด้วยมาตรฐานการค้าและภาษีอากรของประเทศในกลุ่มอาเซียนแต่ว่าหนังสือนั้นเป็นสินค้าที่ได้รับการยกเว้นอยู่แล้ว AEC ไม่มีผลกับหนังสือครับ เพราะว่าถึงแม้ไม่มี AEC หนังสือก็ไม่เสียภาษีอยู่แล้วครับ มีคนชอบพูดว่าเข้าสู่ AEC แล้วหนังสือจะเป็นอย่างไร คือ AEC นั้นว่าด้วยเรื่องสินค้า หนังสือก็คือสินค้าชนิดหนึ่งแต่หนังสือเป็นสินค้าที่ไม่ว่าคุณจะส่งไปที่ไหนในโลกนี้นะครับ ทางยุโรป ประเทศจีน หรืออเมริกา หนังสือส่งไปทุกที่ทั่วโลกยกเว้นภาษีหมดครับ คือเห็นความสำคัญของโลกนี้ไหมครับโลกใบนี้การส่งสินค้าทางอากาศถ้าสินค้าคุณเป็นหนังสือนะครับคุณจะได้ลดค่าขนส่งลงไป 50% คือพิกัดศุลกากรโลกเขาเน้นหนังสือเลยนะ หนังสือเป็นสินคาชนิดเดียวในโลกที่ยกเว้นอากรครับ  แล้วเรื่องราคามีผลกับการอ่านหนังสือไหม ราคาหนังสือลดลงยากครับถ้าตราบใดประเทศเรายังมีสินค้าขายฝาก อยู่ถ้าร้านหนังสือประเทศเราซื้อสินค้าขาดไม่ฝากขายเหมือนซื้อซีอิ้วขาวตราเด็กสมบูรณ์หรือซื้อน้ำปลา หนังสืออาจจะราคาถูกลงแต่ปัจจุบันหนังสือเป็นสินค้าที่ฝากขาย เมื่อคุณทำหนังสือมา 100 เล่ม คุณลงทุนไป 100 บาทคุณเอาหนังสือ 100 เล่มนี้ไปวางไว้ที่ร้านนายอินทร์ ร้านซีเอ็ดคุณไม่รู้ว่าผ่านไป 3 เดือนหนังสือคุณจะขายได้กี่เล่ม 100 บาทที่คุณลงทุนไปอีก 3 เดือนขายได้ 2 เล่มคุณก็เจ๊งแล้วเพราะคุณไม่เคยรู้ชะตาของหนังสือคุณว่าชะตากรรมมันจะไปทางไหน เพราะว่าร้านหนังสือวางหนังสือไว้เฉยๆ เขาไม่ได้ทำการตลาดให้คุณ ผมจึงบอกว่าหนังสือในอนาคตนั้นถ้าหนังสือไม่มีความเด่นดังด้วยตัวของมันเอง ไม่ใช่หนังสือ Talk of the Townแล้วนั้นก็ปิดตัวได้ง่าย ยกเว้นแต่หนังสือนั้นจะเป็นหนังสือที่ซึ่งมีคนตามอ่านอยู่ตลอดเวลา เช่น สามก๊กมีคนอ่านตลอด คุณพิมพ์ไปอย่างไรก็ขายได้ คุณพิมพ์หนังสือธรรมดาที่ไม่มีจุดขาย ไม่มีความดีเด่นของวรรณกรรม คุณทำมาก็ขายไม่ออก   เราควรควบคุมราคาหนังสือไหมเพื่อให้ยุติธรรมกับคนอ่าน อย่างกำหนดเพดานต้นทุน ไม่มีเพดานครับ ใครจะกำหนดต้นทุนอย่างไรก็ได้เพราะว่าสินค้าต้องเป็นสินค้าฝากขายเขาต้องการให้จุดคุ้มทุนต่ำที่สุด จุดคุ้มทุน 50% คูณกำไรหนังสือ 50% แต่ 50% ที่เป็นกำไรนั้นคือสต๊อกนะครับ คุณก็ไม่รู้ว่าคุณจะแปลสต๊อกให้กลายเป็นเงินได้อย่างไรอันนี้คือปัญหาของมันครับ   สุดท้ายหนังสือจะคุ้มครองผู้บริโภคอย่างไร คือคุ้มครองผู้บริโภคนั้นจะมาคุ้มครองหนังสือไหม ผมว่าหนังสือมันไม่เคยหลอกลวงคนอ่าน ตัวหนังสือไม่เคยเป็นพิษเป็นภัยกับใครนะครับ ยกเว้นแต่ว่าเขาซื้อหนังสือโป๊เองอันนั้นช่วยไม่ได้เพราะว่าหนังสือโป๊ขายรูปนะครับ ฉะนั้นหนังสือเป็นสินค้าที่ สคบ.เขาก็ไม่ออกระเบียบมานะคือจะเห็นว่าคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคไม่เคยมีใครมาร้องเรียนเรื่องหนังสือนะ   งานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ในช่วงกลางเดือนตุลาคมนี้ จัดขึ้นภายใต้แนวคิด "หนังสือเปลี่ยนชีวิต เปลี่ยนโลก 40 ปี 14 ตุลา 16" โดยจะมีความพิเศษกว่าทุกครั้ง คือการจัดสรรพื้นที่ให้สำนักพิมพ์ขนาดเล็ก ออกร้านจำหน่ายหนังสือเพิ่มขึ้น และการจัดนิทรรศการหนังสือต้องห้าม เพื่อให้เยาวชนเรียนรู้ประวัติศาสตร์ไทยมากขึ้น    

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 149 เสียงสะท้อนจากกลุ่มผู้เดือดร้อนกรณี เชฟโรเลต ครูซ

จากวันนั้นจนถึงวันนี้ก็คือความมั่นใจของคนใช้รถมันไม่เหลืออยู่แล้ว แล้วในความรู้สึกก็คือ ผู้ให้บริการอย่าง GM ของเชฟนั้น เขาผลักภาระความเสี่ยงให้กับลูกค้าโดยที่เขาไม่ยอมพิจารณาหรือพิจารณาความผิดว่าสิ่งที่มันเกิดขึ้นมันเป็นความผิดของเขาเลย ก็คือพูดง่ายๆ ว่าผู้บริโภครับไปเต็มๆ ในวันที่ปิดต้นฉบับเรื่องนี้  มีข่าวเกี่ยวกับอุบัติเหตุครั้งใหญ่จากรถโดยสารสาธารณะสายอีสานที่เพิ่งจะเกิดขึ้นสด ๆ ร้อน ๆ ความเสียหายที่เกิดขึ้นรุนแรงที่สุดในรอบ 7 เดือนที่ผ่านมา จนผู้เขียนอยากจะภาวนาให้อุบัติเหตุครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้าย แม้ว่าคำตอบจะเป็นไปได้ยากก็ตาม  การให้บริการรถสาธารณะในบ้านเราที่ไม่ปลอดภัยเช่นนี้ หลายๆ จึงคนหันมาซื้อรถยนต์ส่วนตัวเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ตนเองและครอบครัว ( อารมณ์ประมาณว่าขับเองดีกว่า อุ่นใจกว่า )  แต่ไม่ว่าจะหาข้อมูลครบถ้วน รอบด้านมากสักเพียงใด ก็ไม่วายที่จะเกิดปัญหาขึ้นจนได้  คุณณฐกร แก้วชิน และคุณวายุพัฒน์  บัวชุม ผู้เสียหายจากกรณี เชฟโรเลต ครูซ คือ 2 ตัวแทนจากกลุ่มที่จะมาเล่าว่าว่าพวกเขาประสบปัญหาอะไรบ้าง   รถที่อยู่ในกลุ่มของเรามีปัญหาอะไรบ้าง? ส่วนใหญ่หลักๆ เลยเป็นปัญหาเรื่องเกียร์ ช่วงแรกเกียร์ก็จะมีเรื่องอาการกระตุก กระชากเวลาออกตัวไม่นิ่งเหมือนตอนซื้อรถมาใหม่ๆ บางคันรถป้ายแดงก็มีอาการ และหนักหนาสุดก็คือรถมีการกระชากอย่างแรง เกียร์มันกระชากอย่างแรงสมมติว่าขับอยู่ 80 – 90 กม./ชม.ความเร็วมันตกมาเหลือ 20 แต่ความเร็วรอบจาก 2,000 มันขึ้นถึง 3,000-4,000 รอบแทน แต่ความเร็วมันตกลงมานะครับสมมติว่าเราขับอยู่ข้างหน้าสิบล้อ สิบล้อก็มาเร็วเหมือนกันแล้วความเร็วมันหายไปเหมือนกับเราเบรกกะทันหัน คือเจอกรณีนี้หลายเคสเหมือนกัน อย่างล่าสุดเมื่อวันก่อนก็มีแซงสิบล้อไปแล้วเกียร์น็อกไปเฉยๆ   รวมกลุ่มกันตอนนี้มีประมาณกี่คัน ก็ที่หามาได้ก็ประมาณ 70 กว่าคันแต่ตอนนี้ที่ซ่อมไปแล้วก็ประมาณหลักร้อยคัน แต่ทีนี้มีข้อมูลเชิงลึกว่ามันก็หลายพันคันครับที่มีอาการแบบนี้แต่ว่ายังไม่ถึงกับเข้ารับการเข้าซ่อมบำรุงแต่ถ้าเริ่มมีอาการก็หลักพันคัน   เป็นรถรุ่นเดียวกันทั้งหมด? เป็นรุ่นเดียวกันครับเป็นรุ่น 2011-2012 ก็ถ้ารุ่นนี้ขับไปจริงๆ ก็สองหมื่นคันจากสองหมื่นคันจะเป็นเครื่องบล็อก 1.8 หรือเครื่อง 1,800 cc. นี้ประมาณ 17,000 คัน 17,000 คัน นี้ไม่รอดแน่นอน แต่ว่าตอนนี้มันเริ่มทยอยมีอาการไงครับ คนที่ซื้อมาทีหลังขับน้อยก็จะยังไม่มีอาการ แต่คนที่ซื้อมาก่อนใช้รถเยอะจะมีอาการมาก่อน หรือคนที่ซื้อรถมาทีหลังแต่ใช้รถเยอะก็จะเจออาการก่อนเหมือนกัน   อาการจะอยู่ที่ขับไปได้กี่กิโลเมตร ประมาณ 15,000 กม. ขึ้นก็จะเจอ ส่วนมากเฉลี่ยอยู่ที่ 20,000 กม. เศษๆ ก็จะเจอที่เกียร์พัง แต่ถ้ารอบมันกระตุกนี้ประมาณซัก 5,000 กม. แรกก็จะมาแล้วครับ อย่างผมเคยเปลี่ยนเกียร์ทั้งลูกไปลูกหนึ่ง ออกศูนย์ได้ประมาณพันกิโลฯ เวลาเปลี่ยนเกียร์ก็กระชาก   ทางผู้ประกอบการแจ้งผลเกี่ยวกับปัญหาของเราอย่างไรกับเรื่องเกียร์? ในกรณีผมเริ่มต้นคือเรื่องเกียร์กระชากจากเกียร์หนึ่งไปเกียร์สอง รถของผมเพิ่งใช้ไปประมาณสี่หมื่นหนึ่งพันกว่ากิโลฯ แล้วก็มีอาการเหยียบแล้วคันเร่งไม่ขึ้น เบื้องต้นเอาเข้าตรวจสอบที่ศูนย์ ศูนย์แจ้งว่าไม่มีอาการผิดปกติใดๆทั้งสิ้น เอาเข้าไปเขาก็ตรวจเช็คเอาคอมมาต่อทำนั้นทำนี่แล้วก็แจ้งว่าไม่มีปัญหา ซึ่งเราก็ยังไม่มีความรู้หรือว่ายังไม่เท่าทันในเรื่องนี้พอสมควร แต่ในกรณีแบบนี้ให้ศูนย์ออกเป็นใบว่า คุณรับรองว่ามันไม่มีปัญหาแต่ว่าศูนย์ก็ไม่มีอะไรตอบกลับเข้ามา จากวันนั้นจนถึงวันนี้ก็คือความมั่นใจของคนใช้รถมันไม่เหลืออยู่แล้ว แล้วในความรู้สึกก็คือ ผู้ให้บริการอย่าง GM ของเชฟนั้น เขาผลักภาระความเสี่ยงให้กับลูกค้าโดยที่เขาไม่ยอมพิจารณาหรือพิจารณาความผิดว่าสิ่งที่มันเกิดขึ้นมันเป็นความผิดของเขาเลย ก็คือพูดง่ายๆ ว่าผู้บริโภครับไปเต็มๆ ในกรณีที่เขาให้ข้อเสนอให้เพิ่มขึ้นมาจาก 1 กม. เป็น 150,000 กม. จาก 3 ปีเป็น 4 ปี แล้วถ้าเกิดเป็นในกรณีที่เราใช้รถน้อยแล้วเกิดหลังจากประกันนี่แล้วคุณจะรับผิดชอบอย่างไร แล้วถ้ามีคนที่ใช้แล้วเกิดในระยะประกันเกิดอุบัติเหตุตามที่เราได้แจ้งไปแล้วคุณจะรับผิดชอบอย่างไร   มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นจากการใช้รถรุ่นนี้บ้างไหมจากที่เราทราบ? มีอยู่รายหนึ่งครับ คือรถมันพุ่งเองแล้วก็ไปชนรถคันข้างหน้า ทีนี้รถคันนี้ก็จะได้รับการดูแลจาก GM โดยมีวิศวกรจากเกาหลีเขามาเช็ครถ สุดท้ายเขาบอกว่ารถปกติ เขาก็ไม่ได้โยนว่าเป็นความผิดของผู้บริโภคหรือคนขับหรอกแต่มันก็กลายๆ นะครับ เพราะเขาบอกว่าเขาพิสูจน์ทางเทคนิคแล้วว่ามันไม่ได้มีความผิดปกติจากรถ แต่มันเป็นความผิดที่ว่าคนขับอาจจะรถยังจอดไม่สนิทแล้วเปลี่ยนจากเกียร์ D เกียร์ T มันทำให้เฟืองที่เขาเรียกกันว่าเฟืองล็อกมันสับไม่ลงตรงเกียร์ T มันก็เลยเกิดอาการรถมันก็เลยพุ่งออกไป   รถรุ่นนี้เกิดในเกียร์ออร์โต้ทั้งหมด ครับ ออร์โต้ทั้งหมดเลย เพราะว่าเกียร์กระปุกนั้นจะมีเฉพาะเครื่อง 1,600 cc.  แต่เครื่อง 1,800 2,000 cc. นั้นจะเป็นเกียร์ออร์โต้ทั้งหมด   เรารวมกลุ่มกันได้อย่างไร เพราะว่าหลายๆ คนก็มาจากคนละที่ อย่างของตัวผมเริ่มจากการโพสต์ปัญหาในหน้าเพจ Facebook ของเชฟโรเลตไทยแลนด์ ก็ไปเจอกลุ่มคนที่มีปัญหาเดียวกันเราก็แอดมาคุยกัน มาแชร์ปัญหากันว่าแต่ละคนเจอปัญหาอะไรบ้าง ปัญหาเกียร์กี่ครั้ง ปัญหาเครื่องดับกี่ครั้ง ปัญหารถพุ่งกี่ครั้ง ก็มาคุยกันแล้วก็โทรเข้าไปคุยกับ GM ว่าเขาจะรับผิดชอบกับพวกเราอย่างไร สาเหตุมันเกิดจากอะไรมันก็ยังไม่มีคำตอบที่น่าพอใจ เราก็เลยรวมตัวกันขึ้นมาแล้วก็ตั้งกลุ่ม Facebook ขึ้นมา คือมันคิดอะไรไม่ออกก็เลยตั้งว่า ครูซรวมตัวไปช่อง 3 เนื่องจากว่าจุดประสงค์หลักตอนนั้น คือช่อง 3 น่าจะเป็นสื่ออะไรให้เราได้บ้าง ทีนี้ก็เลยรวมตัวกันมาเรื่อยๆจากหลักสิบ ยี่สิบ สามสิบแต่ละคนก็จะดึงเพื่อนเข้ามาที่ใช้ครูซเหมือนกันก็ช่วยแชร์ว่าคนไหนเคยซ่อมแล้ว คนไหนยังไม่เคยซ่อม ซ่อมแล้วยังไม่เป็นที่น่าพอใจอะไรแบบนี้นะครับ ซ่อมหลายครั้งแล้วยังมีปัญหาอยู่ ก็มารวมตัวกัน คุยแลกเปลี่ยนกันจนจำนวนมันเพิ่มขึ้นจนตอนนี้น่าจะประมาณหนึ่งพันถึงพันสามร้อยคน แต่ก็มีหลายกลุ่มคือกลุ่มที่เสียหายแล้ว และกลุ่มที่ยังไม่เสียหาย และกลุ่มออกรถใหม่ ออกรถแล้วเพิ่งมาเจอแบบนั้นนะครับ(หัวเราะ) เราก็เลยมาแลกเปลี่ยนข้อมูล มาสอบถามเราจะดูแลรถอย่างไรไม่ให้เกิดปัญหาแบบนี้ขึ้น หรือถ้ารถมีปัญหาแล้วเราจะต่อรองกับเชฟโรเลตอย่างไร จะเจรจากับศูนย์อย่างไร ก็คือเป็นที่แลกแลกเปลี่ยนข้อมูลไป   เรามีแกนนำที่ติดต่อประสานงานหลักเลยไหม ประมาณสิบกว่าคนครับ อย่างผมก็เป็นหนึ่งในแกนนำหรือเรียกว่าเป็นตัวแทนของกลุ่มดีกว่า   เรามีการสื่อสารกับสาธารณะอย่างไรให้คนทั่วไปที่อาจจะไม่ได้ใช้ครูซ แต่ให้พวกเราได้ระวัง? ตัวพวกผมที่เป็นตัวแทนต้องขอขอบคุณสถานีไทยพีบีเอส รายการสถานีประชาชนนะครับ แล้วก็รายการวิทยุของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค รายการภูมิคุ้มกัน  ที่ออกอากาศทางช่องอินเตอร์เน็ตนะครับ( http://www.thaipbsonline.net ) ซึ่งตอนนี้สื่อหลักก็คือช่องไทยพีบีเอสช่องเดียว อย่างช่อง 3 ก็จะเป็นข่าวช่วงเย็นแค่สรุปข่าวช่วงเดียว ในกรณีช่อง 7 ก็มีการเสนอแค่ว่าเสียอย่างไรแต่ไม่ได้มีการเจาะรายละเอียดว่าเสียจากเหตุอะไร จะมีการแก้ไขปัญหาอย่างไร ก็ยังไม่มีข้อมูลตรงนี้เพิ่มเติม   อยากให้สะท้อนว่ามีอะไรบ้างและอยากให้หน่วยงานไหนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ทำอะไร ให้กับเราบ้าง ? อย่างตัวผมก็อยากจะเน้นความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์มากกว่า เพราะว่ามันสำคัญไม่ว่าจะเป็นระบบเครื่องยนต์ เกียร์ ซึ่งมันเป็นหัวใจของเครื่องยนต์เลย ถ้าเกิดความบกพร่องขึ้นมาระหว่างที่เราใช้อยู่นั้นมันเสี่ยงกับชีวิตร้อยเปอร์เซ็นต์เลย อย่างผมก็ประสบมาเยอะเพราะว่าเกียร์พังไปสี่ครั้ง แต่ละครั้งนี่คือชีวิตทั้งนั้นเลย แต่ผมมีสติพอที่จะประคับประคองรถทำให้ไม่เกิดอุบัติเหตุร้ายแรง ถ้าเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงเราก็ไม่สามารถจะมาบอกคนข้างหลังได้ว่า ณ ช่วงเวลานั้นมันเกิดอะไร ทีนี้อยากให้สะท้อนถึงสิทธิของผู้บริโภคให้มันเป็นรูปธรรมมากกว่านี้ เพราะตอนนี้กฎหมายบ้านเรายังไม่ได้ดูแลผู้บริโภคจริงๆ จังๆ สักที จะเป็นลักษณะการเจรจาไกล่เกลี่ย จบแล้วก็จบเลย ถ้ามีกฎหมายที่มันเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาเพื่อจะรักษาสิทธิประโยชน์ของผู้บริโภคให้มันเป็นรูปธรรมมากกว่านี้เพื่อให้ผู้ประกอบการไม่เอาเปรียบผู้บริโภคมากเกินไป ผมอยากให้ผู้ประกอบการหรือทางเชฟโรเลตให้มีความรับผิดชอบต่อปัญหา เพราะว่าปัญหาแต่ละอย่างถ้าเกิดขึ้นมาแล้วนั้นคุณน่าจะมีวิธีการป้องกันหรือการแก้ไขปัญหานั้นให้เสร็จไป แน่นอนว่าปัญหาไม่มีใครอยากให้เกิดทั้งผู้ให้และผู้รับบริการแต่เมื่อมันเกิดขึ้นมาแล้วนั้นทำไมเราไม่หันหน้ามาคุยกัน สิ่งที่คุณทำคือผลักภาระ ความรับผิดชอบ โยนความเสี่ยง คุณจะเป็นอะไรเรื่องของคุณ สิ่งที่ผมอยากสะท้อนก็คือความรับผิดชอบของพวกเขามากกว่านี้ สองคือผู้บริโภคนั้นให้ความมั่นใจกับสินค้าของคุณแล้วแต่คุณมาทำลายความมั่นใจของผู้บริโภคนั้นผมว่ามันไม่ใช่ น่าจะมีความรับผิดชอบมากกว่านี้   อยากให้ฝากอะไรถึงผู้บริโภคที่กำลังมองหารถซักคัน ธราธร : ก่อนที่จะเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ทุกอย่างเลยต้องหาข้อมูลก่อน อย่างเชฟโรเลตเราก็หาข้อมูลเพื่อที่จะหาสิ่งที่ดีที่สุด อย่างผมกับพี่เขาเลือกเชฟโรเลตเพราะคิดว่ามันปลอดภัย ความปลอดภัยมาเป็นหลักเลยเรื่องอื่นเราอาจจะมองน้อยลง คือเลือกเพราความปลอดภัยอย่างเดียวเลย หน้าตาภายนอกเป็นส่วนประกอบแต่ก็มาเป็นอย่างนี้ เราเดินทางบ่อยเราเลยเลือกสมรรถนะรถ ความเซฟตี้ของรถ มีความแข็งแรง พอเกิดอุบัติเหตุขึ้นมาคนรอบข้างเย็บสามสี่เข็ม ผู้โดยสารบาดเจ็บเล็กน้อยเท่านั้นเอง นี่เป็นเหตุผลที่เราเลือกเชฟโรเลตเพราะเราคงไม่ได้ซ่อมรถบ่อยๆ เผื่อว่าเราเกิดอุบัติเหตุขึ้นมามันจะช่วยเซฟชีวิตเราได้ เลยอยากจะฝากว่าคนทั่วไปหรือผู้บริโภคทั่วไปจะเลือกซื้อก็ศึกษาข้อมูลให้ดี ขนาดเราหาข้อมูลดีแล้วนะยังโดนขนาดนี้ มีไกด์ไลน์ของรถเลยนะ เอารุ่นนี้มาเปรียบกับรุ่นนี้ รถรุ่น ก.ข.ค.ง. เอาสี่รุ่นนี้ข้อดีข้อเสียของครูซมาเปรียบเทียบกับสี่รุ่นนี้ คือผมดูมาหมด ความเตี้ย หน้าฐานกว้างคือผมหาข้อมูลละเอียดมากก็ยังเจอปัญหาอย่างนี้   แล้วยังอยากจะใช้รถคันนี้ต่อไหม วายุพัฒน์ : สำหรับผมพูดตรงๆ คือคันนี้คันแรก แล้วก็หนี้ก้อนใหญ่เลยทีเดียวพูดกันตรงๆ ถามว่าอยากใช้ต่อไปไหมถ้าครูซไม่มีปัญหาเรื่องเกี่ยวกับเกียร์ เครื่องดับกลางอากาศ เกียร์กระตุก ผมก็ยืนยันว่าจะใช้นะแต่ถ้ามันเกิดกรณีนี้ขึ้นมาผมบอกตรงๆ ไม่กล้าใช้ ณฐกร : ผมก็ไม่กล้าใช้เพราะว่ามันสี่ครั้งแล้วมันเสี่ยงชีวิตมาก คือมันอันตรายกับชีวิตเรานะ

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 148 ก้าวเข้าสู่ยุคทีวีดิจิตอล กับ ผศ.ดร. เอื้อจิต วิโรจน์ไตรรัตน์

อีกไม่นาน ประเทศไทยของเราจะก้าวเข้าสู่ยุคดิจิตอลอย่างเต็มรูปแบบ สิ่งหนึ่งที่เรียกได้ว่าเป็นตัวชี้วัดสิ่งที่เรียกว่า ยุคดิจิตอล อย่างหนึ่งก็คือ การก้าวข้ามระบบการส่งสัญญาณทีวีแบบเดิม อย่างยุคอนาล็อกมุ่งสู่ทีวีดิจิตอล แล้วผู้บริโภคร่วมยุคอย่างเราจะก้าวไปอย่างไรไม่ให้ตกขบวน    ผู้อำนวยการโครงการเสริมสร้างกลไกสื่อมวลชนศึกษาเพื่อสุขภาวะ  (มีเดียมอนิเตอร์) ผศ.ดร.เอื้อจิต วิโรจน์ไตรรัตน์ จะมาเล่าให้ฟังกันค่ะ เรื่องทีวีดิจิตอล ผู้บริโภคควรจะเตรียมความพร้อมอย่างไร ? คิดว่ามันมี 3 ส่วนนะคะ เรื่องที่หนึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดคือเรื่องของเทคนิค ว่าสำหรับผู้ชมทั่วไปไอ้ตัวเครื่องรับมันเป็นยังไง จะต้องเปลี่ยนแปลงเครื่องรับไหม ซึ่งในเรื่องนี้อาจารย์มองว่า กสทช. ยังไม่ออกแบบสื่อสารชัดเจน แต่เราเอาทีละเรื่องคือเรื่องเทคนิค จอแบบเดิมมันรับได้ไหม ตอนนี้มีมติออกมาแล้วว่าจะให้คูปองไปซื้อ Set Top Box แต่มันก็มีอีกในช่วงเปลี่ยนผ่านจะมีตัวที่ทำให้คนเข้าใจว่ารีบไปซื้อซะ มีราคาพิเศษ ทีวีรุ่นนั้นรุ่นนี้เตรียมพร้อมสำหรับทีวีดิจิตอลซึ่งในความเป็นจริงแล้วทีวีที่จะออกอากาศเป็นสัญญาณดิจิตอลได้นั้นจะต้องใช้เงินสูงนะ  ราคามันยังสูงอยู่ในเรื่องเครื่องรับ ฉะนั้นอันนี้คือเรื่องเทคนิคในเรื่องเครื่องรับ   อันที่สองก็คือผู้ให้บริการซึ่งมันมีความซับซ้อนก็ช่างมัน เอาเฉพาะที่เกี่ยวกับผู้บริโภค ผู้ให้บริการด้านเนื้อหาก็จะมีมากขึ้นตามตัวช่องที่มีมากขึ้น ตรงนี้ก็มองว่าผู้บริโภคก็ไม่ได้รู้อย่างเป็นระบบอีก ว่าผู้ให้บริการนั้นตามกฎหมายกำหนดไว้ว่าอย่างไร แล้วผู้ให้บริการแต่ละประเภทนั้นควรมีบทบาทหน้าที่อย่างไร แล้วทำไมต้องกำหนดให้ผู้ให้บริการมีประเภทโน้น ประเภทนี้ ประเภทนั้น การเปิดพื้นที่ผู้ให้บริการนอกจากจะเป็นการเปิดพื้นที่ในเรื่องของการให้บริการและการประกอบการทางธุรกิจแล้ว ในมุมของผู้บริโภคนั้นผู้บริโภคมีอะไรที่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น อันที่สาม ต่อไปนี้มีช่องให้เลือกมากมาย มีใครไปเตรียมผู้บริโภคไว้รึยังว่าจะมีช่องให้เลือกมากมาย ความเป็นจริงที่หนีไม่พ้นคือคนเราทุกคนมีวันละ 24 ชม.เท่ากัน ภายใต้ 24 ชม.นี้ถ้าจะยังชีวิตมันต้องมีเวลาพักผ่อน ถ้าจะมีชีวิตอยู่ได้ในทางเศรษฐกิจก็ต้องมีการทำมาหากิน ตามบทบาทหน้าที่ของแต่ละคน เพราะฉะนั้นอันนั้นคือการสร้างภูมิให้กับผู้บริโภค ในสามส่วนนี้ถ้าพูดในภาพรวมฝ่ายที่หลีกเลี่ยงไม่ได้คือ กสทช. เพราะว่า กสทช.คือองค์กรอิสระที่มาดูแลเรื่องการเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์สื่อ ของการประกอบกิจการสื่อและลักษณะนิสัยการรับสื่อ แต่มันเป็นที่น่าสังเกตว่าผู้บริโภคจะได้ทราบเรื่องราวเกี่ยวกับการปฏิรูปสื่อหรือกระทั่งทีวีดิจิตอล สื่อหนังสือพิมพ์ในรูปแบบการสื่อสารระหว่าง กสทช.กับผู้ประกอบการเป็นหลัก นั้นคือว่ากฎกติกาการประกอบการทีวีดิจิตอลเป็นยังไง ซึ่งพวกนี้สำหรับผู้บริโภคโดยทั่วไปแล้วอาจจะคิดว่ามันเป็นเรื่องไกลตัวเขามากเลย แต่มันก็ทำให้เขารู้ว่ามีอะไรที่เขาเถียงๆกันอยู่ กำลังพยายามจัดการกันอยู่ เพราะฉะนั้น กสทช.ไม่ได้ออกแบบระบบในการสื่อสารเพื่อการเตรียมการผู้บริโภคเลย จะมีที่เกี่ยวข้องก็มีกรณี Set Top Box ตกลง กสทช.จะใช้เงินกองทุนเรื่องนี้ อาจารย์คิดว่าเรื่องนี้มันต้องมีการออกแบบนะ มันไม่ใช่การสื่อสารตามโอกาสหรือความสะดวกใช่ไหมคะ มันต้องมีการออกแบบว่าช่วงนี้จะให้ผู้บริโภครู้เรื่องอะไรดี แล้วก็เป็นเรื่องใกล้ตัวเขา สั้นๆ เข้าใจง่าย เช่น ตอนนี้อย่าเพิ่งไปตัดสินใจซื้อทีวีเพียงแค่ว่าโฆษณาว่าซื้อทีวีรุ่นนี้เตรียมรับทีวีดิจิตอล อันนี้สมมตินะคะ หมายถึงว่าต้องดูแลผู้บริโภค หรือว่าอีกหน่อยค่อยมี Set Top Box แล้วให้ผู้บริโภคเป็นศูนย์กลางว่าแต่ละช่วงเวลาผู้บริโภคควรรับรู้ข้อมูลอะไร อยู่ที่การออกแบบเพื่อการสื่อสารกับผู้บริโภคโดยเฉพาะ ไม่ใช่ให้ผู้บริโภคเป็นผู้เฝ้าดูการสื่อสาร วาทะกรรมหรือกิจกรรมระหว่าง กสทช.กับผู้ประกอบการเท่านั้น ซึ่งอันนี้ถ้าเปรียบเทียบกับ 3Gนะ อาจารย์ว่า3G กสทช.ออกแบบมากกว่านี้เยอะ   มีเดียมอนิเตอร์จะรับมือไหวไหมในการติดตาม Content ที่จะมีเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว ที่ประชุมใหญ่ก็มีการพูดถึงเรื่องนี้ว่าภูมิทัศน์สื่อมันเปลี่ยนแต่จริงแล้วใน Content มันก็คงไม่เปลี่ยนแปลงนะคะ Content หลักที่มีเดียมอนิเตอร์ดูก็คงเป็นการดูเรื่องจริยธรรมสื่อ จริยธรรมที่สำคัญก็คือจริยธรรมสื่อในเรื่องการนำเสนอเนื้อหาอย่างคำนึงถึงสิทธิมนุษยชน ไม่เลือกปฏิบัติ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์พวกนี้ แต่ว่าอันนึงที่จะตามมาและเราจะดำเนินการก็คือ การปรับเปลี่ยนภูมิทัศน์สื่อที่มันมีผลกับเนื้อหาที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น  เนื้อหามันกลายเป็นการตลาดเข้มข้นมากขึ้นหรือเนื้อหามันกลายเป็นการเมืองที่ร้อนแรงมากขึ้น อันนี้ก็จะตามดูเหมือนกัน แต่ว่าเรื่องของการปรับเปลี่ยนภูมิทัศน์ในภาพรวมก็คิดว่าจะศึกษาเรื่องทีวีดิจิตอล ซึ่งถือว่าสำคัญมากเพราะ กสทช.ถือเป็นจุดปลี่ยนเลยนะ มันก็จะน่าเศร้านะถ้าการปฏิรูปสื่อทำให้ประชาชนมีทางเลือกมากขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการมีความหลากหลายมากขึ้น ทำให้อย่างน้อยมีประเภทสื่อที่ไม่มุ่งเน้นกำไรแต่เป็นสื่อที่มีพันธกิจในการให้บริการสาธารณะได้มีพื้นที่ แต่ปรากฏภายใต้การปฏิรูปสื่อที่มันมีจำนวนมากขึ้น ผู้ประกอบการหลากหลายมากขึ้นสถานการณ์มันกลับเหมือนเดิมแต่ว่าคูณสอง คูณสามเท่านั้น อย่างเช่นธุรกิจก็ยังใช้สื่อในการสร้างเรตติ้ง ขาดความรับผิดชอบต่อสังคม ขาดความตระหนักในเรื่องของศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ในเรื่องของการผลิตซ้ำ ความคิดในเรื่องอคติต่อคนกลุ่มชนเฉพาะหรือกลุ่มคนลักษณะพิเศษต่างๆ เท่ากับการปฏิรูปสื่อมันเป็นการคูณปัญหาเดิมให้มันมีลักษณะของทวีคูณหรือมากมายมากขึ้น ซึ่งตัวนี้โจทย์ของผู้บริโภคแม้กระทั่งในระบบเดิมโจทย์ของผู้บริโภคต้องยอมรับว่าการเตรียมการหรือการสร้างภูมิคุ้มกันกับผู้บริโภคในลักษณะของผู้บริโภคที่เป็น Mass จริงๆ ก็ไม่ได้แข็งขัน แข็งแรง อาจารย์คิดว่าโจทย์ผู้บริโภคมันยิ่งหนักมากขึ้น สื่ออย่างฉลาดซื้ออาจจะต้องเปิดเล่มอีกเล่มหนึ่งหรือเปล่า(หัวเราะ) ไม่ใช่แค่ฉลาดซื้อแล้วอาจจะต้องเป็นฉลาดในการบริโภคสื่อหรือรู้เท่าทันสื่อเพราะมันไม่ใช่สินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไปแต่มันมีผลที่จะใช้ชีวิตของผู้คนเพราะว่าเขารับชุดความคิดอะไร เขาเปิดMemory เขาให้กับ Product อะไร มันก็ไปมีผลกับการอุปโภคบริโภค ถ้าการอุปโภคบริโภคนั้นมันLead ไปในทางที่ทำให้มีผลร้ายกับตัวเขา ไม่ว่าจะเป็นเสียทรัพย์ เสียรู้ หรือว่ามีผลต่อสุขภาพไม่ไปหาหมอแต่ว่าไปดื่มน้ำเห็ด น้ำผลไม้ เพราะตัวสื่อมันรุนแรง เพราะฉะนั้นอาจารย์คิดว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่มันจะทวีคูณไปเยอะมากเลยแล้วเวลาเราพูดถึงผู้บริโภคเราอย่าไปนึกถึงผู้บริโภคที่ Active ผู้บริโภคที่เข้าเว็บฉลาดซื้อ ผู้บริโภคที่แลกเปลี่ยนกันใน Social Media ผู้บริโภคที่ประกาศจุดยืนชัดเจนว่าฉันจะรู้เท่าทัน ฉันจะไม่หลงไปกับกระแสการบริโภค อาจารย์คิดว่าพวกนี้มีไม่ถึง 10% เสียด้วยซ้ำ เพราะฉะนั้นการคิดในเรื่องนี้นั้นพื้นที่สื่ออย่างเดียวอาจจะไม่พอ อาจจะต้องบุกไปในพื้นที่ในเชิงโครงสร้างการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในสังคม เช่น หน่วยงานที่ไปจัดเวทีกับผู้คนในลักษณะของ Public Communication ซึ่งตอนนี้ก็จัดกันเยอะมาก มันจะต้องมีเรื่องนี้โดยเฉพาะรึเปล่า หรือแม้กระทั่งในหลักสูตรการศึกษาทั้งในระบบนอกระบบ หรือแม้กระทั่งการเสนอนโยบายของ กสทช.ต่อผู้ประกอบการเลยว่าในสัดส่วนการออกอากาศ 24 ชม.ต่อวันต้องมีกี่เปอร์เซ็นต์ที่ทำเรื่อง Consumer literacy เพราะว่าสื่อมันเป็นทุกอย่างนำไปสู่การให้ข้อมูลในการอุปโภคบริโภค ใช้ชีวิตและวิถีชีวิตด้วย   มุมมองต่อการทำงานของ กสทช. กสทช.มาดูแลเรานั่นก็คือการดูแลผู้บริโภค กสทช.บอกว่าให้เป็นเรื่องร้องเรียนเข้ามา ทั้งที่ความจริงแล้ว กสทช. สื่อเยอะมาก ให้กสทช.ไปตามมอนิเตอร์มันเป็นไปไม่ได้อันนี้เห็นด้วย แต่สุ่มดูได้ไหม  ทำเป็น Sample ได้ไหม จุดที่เห็นชัดอีกเรื่อง ก็คือรับเรื่องร้องเรียนถ้าถามว่า กสทช.มีกลไกในการบันทึกเก็บไหม โครงการเล็กๆ ในมีเดียมอนิเตอร์ยังมีมากกว่าเลย เราก็ตามเก็บประเด็นที่เราอยากศึกษา ถ้าเปรียบเทียบกับหน่วยงานในต่างประเทศอาจารย์ได้มีมีโอกาสเข้าไปในสถานทูตสหรัฐอเมริกาหน่วยที่เรียกว่า Open source center (OSC) อาจารย์เดินผ่านห้องๆ หนึ่งอาจารย์รู้เลยว่าห้องนี้เป็นห้องบันทึกสัญญาณโทรทัศน์ ปรากฏว่าบันทึกสัญญาณโทรทัศน์ทุกช่องที่เขารับได้แล้วเก็บไว้ตลอดต่อเนื่อง นี่คือของสถานทูตสหรัฐอเมริกาในประเทศไทย แต่คำถามที่กลับมาก็คือว่าหน่วยงานระดับองค์กรอิสระ องค์กรอิสระที่ดูแลเรื่องสื่อคุณจะไม่บันทึกเก็บเลยเหรอ ตอนนี้ถ้ามีผู้ร้องเรียนมีเรื่องร้องเรียนเข้ามาแล้วไม่มีตัวหลักฐานองค์ประกอบการร้องเรียนไม่ครบนะคะ ถือว่าตกเพราะฉะนั้นถ้าร้องเรียนขึ้นมาว่ามีโฆษณาอย่างนี้ๆ ฟังจากสถานีนี้ เวลานี้ โฆษณานี้จำข้อความได้เลย มันน่าจะหลอกลวงเกินจริงหรือใช้คำไม่สุภาพ ลามก คำถามก็คือแล้วเทปเสียงที่จะเป็นหลักฐานล่ะ เสร็จแล้วพอมัน Process เข้ามาผู้บริโภคไม่มีอยู่แล้ว สมมติ กสทช.ส่งไปตามภูมิภาค ภูมิภาคบอกได้ว่าบันทึกได้ ณ ขณะนี้แต่เรื่องร้องเรียนมันร้องเรียนไปเมื่อกี่วันมาแล้ว กว่าเรื่องร้องเรียนมันจะ Process มาถึงมันก็ผ่านมาไปเป็นเดือนแล้ว ตัวเสียงก็ดี ภาพก็ดีที่ร้องเรียนมันเป็นอดีตแล้วสำหรับการบันทึกปัจจุบันบ่อยครั้งที่ถ้าจะร้องไปที่สถานี ซึ่งถ้าตามกฎหมายสถานีต้องเก็บสัญญาณ 30 วันเพราะฉะนั้นไม่ต้องทำจดหมายไปหรอก เพราะว่าแค่เรื่องร้องเรียนเข้าสู่การพิจารณามันก็เกิน 30 วันแล้ว อีกเรื่องคือ กสทช.ค่อนข้างทำงานอย่างเกร็งและกลัวผู้ประกอบการมากเกินไปเพราะว่าผู้ประกอบการแต่ละรายก็ดูน่ากลัว เท่าที่อาจารย์สัมผัสคือกลัวฟ้อง กลัวถูกฟ้อง ทำให้ กสทช.ทำงานโดยเกาะกฎหมายเป็นสำคัญแล้วกฎหมายไหนก็ขึ้นอยู่กับคุณตีความแบบไหนไง ถ้าคุณตีความว่าสิทธิผู้บริโภคคือสิทธิประชาชนที่พึงได้รับการปกป้องคุ้มครองดูแล ถ้าคุณตีความแบบนี้คุณก็ต้องไปเจรจากับผู้ประกอบการหรือไปดำเนินการกับผู้ประกอบการ มันก็เหมือนกฎหมายลิขสิทธิ์ภายใต้กฎหมายลิขสิทธิ์คุณจะต้องเคารพกติกาสากลจนทำให้กติกาสากลของเราไปเชื่อมโยงกับประเทศที่มีอำนาจมาทำให้ผู้บริโภคของเราต้องมาบริโภคของแพงโน่น นี่ นั่นหรือเปล่า จะทำยังไงมันก็ต้องหาจุดเพราะฉะนั้นสำคัญที่สุด อันสุดท้ายคือมี กสทช.อย่างเดียวไม่พอมันต้องมีกลไกที่ตามดู กสทช. ด้วย แล้วกลไกนั้นมีศักยภาพในการที่จะสื่อสารให้สังคมเข้าใจ ในการที่จะสื่อสารให้ กสทช.ฟัง แต่ตอนนี้คือว่า กสทช. เกาะกฎหมายไงแล้วบ่อยครั้งการตีความทางกฎหมายเลือกที่จะตีความที่ทำให้การทำงานของตัวเองนั้นมันไม่มี commitment ที่สูง นี่อาจารย์พูดตรงไปตรงมาเลย

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 147 คนรักษ์อนุสาวรีย์ ...แผนปฏิบัติการเมืองแห่งความสุขที่ทุกคนออกแบบได้

บางคนอาจจะไม่ทราบว่า “อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ” เป็นจุดเริ่มต้นกิโลเมตรแรกของกรุงเทพมหานคร  เป็นทั้งศูนย์กลางและจุดเชื่อมต่อการเดินทางทั่วทุกสารทิศของกทม.และปริมณฑลโดยระบบขนส่งมวลชน เป็นที่พักอาศัยและที่ตั้งของสถานที่สำคัญหลายแห่งทั้งภาครัฐและเอกชน อาทิ โรงพยาบาลจำนวนมาก หน่วยราชการ ศูนย์การค้า สถานประกอบการ สถานศึกษา ศาสนสถาน โบราณสถาน(วังพญาไท) และที่สำคัญยิ่งคือ อนุสรณ์สถาน (อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ) กลุ่ม “คนรักษ์อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ” เกิดขึ้นจากความรักในท้องถิ่นของกลุ่มคนกลุ่มหนึ่ง จากการรวมตัวขององค์กรต่างๆ รอบอนุสาวรีย์ชัยฯ ได้แก่ ภาคประชาชน นักธุรกิจ ผู้ประกอบการ โรงพยาบาล สถานศึกษา ศาสนาและองค์กรสาธารณะ เช่น สมาคมผู้บำเพ็ญประโยชน์ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เป็นต้น ต่างก็มีความผูกพันและห่วงใยต่อบริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิและพื้นที่ใกล้เคียงต้องการให้มีการดูแลรักษาและพัฒนาพื้นที่บริเวณอนุสาวรีย์ชัยแห่งนี้ จนกรุงเทพมหานครโดยปลัดกรุงเทพมหานครได้เล็งเห็นความสำคัญ จึงแต่งตั้งให้กลุ่ม “คนรักษ์อนุสาวรีย์ชัยฯ”เข้าร่วมเป็นคณะทำงานกับกรุงเทพมหานครเพื่อร่วมกันพัฒนาและฟื้นฟูบริเวณอนุสาวรีย์ชัยฯ ให้เป็นพื้นที่ที่สร้างสรรค์ประโยชน์สุขร่วมกันของทุกภาคส่วน  เรามาดูกันว่าเราจะรักษ์อนุสาวรีย์กันในรูปแบบใดบ้าง   คุณรัชพล ไกรจิรโชติ    กรรมการผู้จัดการห้างสรรพสินค้าเซ็นเตอร์วัน เราไม่อยากให้อนุสาวรีย์ชัยมันเป็นที่โล่งๆ หรอกๆ แต่ว่าเราอยากจะให้มันมีการอยู่ร่วมกันโดยไม่เบียดเบียนฝ่ายอื่นเกินไป คุณค้าขายในจุดที่เหมาะสมคุณก็ค้าขายของคุณไป ผมก็ค้าขายของผมไป ใครใช้ชีวิตยังไงก็ใช้ชีวิตอย่างนั้นไป ก็อยู่ร่วมกันได้แต่ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมันเริ่มไม่มีกฎเกณฑ์ควบคุมมันเริ่มกินเข้าไปในพื้นที่คนอื่น นานไปปัญหามันก็จะหนักข้อไปเรื่อยๆ อยากทราบที่มาและแนวคิดของ คนรักษ์อนุสาวรีย์ชัยฯ? จริงๆ เกิดจากการพูดคุย  ตอนแรกไม่ได้คิดถึงการตั้งเป็นกลุ่มแบบนี้ ก็เป็นการพูดคุยและปรับทุกข์เรื่องความไม่เป็นระเบียบแถวนี้ ก็อย่างที่ทราบว่าเราก็อยู่แถวนี้มานานนะครับ เดินไปเดินมาอยู่แถวนี้นานพอสมควร แล้วเราก็เห็นความเปลี่ยนแปลงไปในทางที่แย่ลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงสามสี่ปีหลังนะว่าเมืองโดยเฉพาะอนุสาวรีย์ชัยนี่มันไร้ระเบียบขึ้นทุกวันๆ มันไม่มีใครใส่ใจ หมายถึงเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบเรื่องนี้ก็ปล่อยปะละเลยจนกระทั่งเรารู้สึกว่าเหมือนกับโดนละเลย ที่เรามองกันอย่างแรกคือเรื่องของความสะดวกสบายที่เราเดินใช้รถใช้ถนน ที่เราเดินบนฟุตบาทหรือว่าในพื้นที่ที่มันไม่ควรจะเป็นหาบเร่แผงลอยเต็มไปหมด หรือว่าพื้นที่ที่เป็นซอยแล้วรถควรจะวิ่งไปวิ่งมาได้ แต่ว่ามันกลายเป็นรถตู้ยึดเต็มไปหมด ความจริงรถตู้ไม่ได้เพิ่งมีแต่มีมานาน เมื่อก่อนนี้มันอยู่ในกรอบ ในที่ของมันเพิ่งจะมามีในช่วงสามสี่ปีหลังนี้ที่แบบขยายเติบโตขึ้นมาโดยที่ไม่มีการควบคุม แล้วก็ทำให้สร้างปัญหาอื่นตามขึ้นมา เราเองเป็นคนเดินนี่เรารู้สึกได้เลยว่ามันเป็นปัญหา การเดินบนฟุตบาทยากมาก พื้นที่ที่มันควรจะเป็นพื้นที่สาธารณะก็โดนจัดสรรให้ไปเป็นอะไรก็ไม่รู้แล้วก็ถามใครก็ไม่มีใครตอบได้ เราก็เลยคิดว่าเราไม่อยากให้พื้นที่ที่เราใช้ชีวิตอยู่มันเป็นอย่างนี้ ก็เลยมีการพูดคุยกัน พอพูดไปมันเหมือนมันอยู่ในใจของทุกคน ทุกคนรู้สึกเออคิดเหมือนกันเหรอ ทุกคนก็เลยมารวมตัวกันว่ามาร่วมกันผลักดันกันดีกว่า ก็เรียกกลุ่มของเราว่ากลุ่มคนรักษ์อนุสาวรีย์ และก็มีการพูดคุยปัญหา เลือกว่าปัญหาไหนของพวกเราที่ต้องการได้รับการแก้ไขปัญหาเร็วหน่อย ก็เลือก 3 ประเด็น แล้วก็พยายามที่จะช่วยกันที่จะผลักดันเรื่องพวกนี้ไปที่หน่วยงานที่รับผิดชอบไม่ว่าจะเป็นเรื่องฟุตบาท เรื่องทางเท้าก็ต้องเป็น กทม.เรื่องเกี่ยวกับรถตู้ก็ต้องไปที่การจราจรหรือกรมขนส่งทางบก เราก็พยายามเหมือนกับเป็นตัวขับเคลื่อนคอยติดตามแล้วก็อยากจะรวบรวมเสียงของคนในชุมชน ซึ่งผมเชื่อว่าทุกคนมีความรู้สึกเดือดร้อนคล้ายๆ กัน เพราะจำนวนคนยิ่งมากมันก็จะเป็นทิศทางที่เป็นทิศทางของคนส่วนใหญ่จริงๆ แล้วพลังในการขับเคลื่อนมันก็จะเต็มที่   ปกติเป็นนักธุรกิจก็ต้องอยากให้มีคนมาห้างเยอะๆ จากการเป็นชุมทางรถตู้ แต่พอรณรงค์แบบนี้เหมือนสวนทางกับคนทั่วไป มีแนวคิดเรื่องนี้อย่างไร? ผมเองเชื่อว่า ถ้าทุกคนอยู่ในกรอบอยู่ในพื้นที่ของตัวเองไม่ไปเบียดเบียนในที่คนอื่น มันจะทำให้ทุกฝ่ายอยู่ร่วมกันได้ หน้าห้างเซ็นเตอร์วันก็เป็นเขตผ่อนผันเราไม่เคยไปเรียกร้องให้ยกเลิกเขตผ่อนผัน เพราะผมคิดว่าการที่มันมีคนคึกคัก มันมีคนอยู่ที่นี่มันไม่ใช่ปัญหา แต่การที่กีดขวางการเดินทางไปมานี้มันเป็นปัญหาแน่ๆ เอาว่าตรงๆ เลยลูกค้าที่จะมาที่ห้างนี้แต่เขาต้องใช้ความพยายามเดินเบียดเสียด ต้องเสี่ยงการโดนล้วงกระเป๋า ต้องลงไปเดินบนถนนอย่างนี้มันไม่ใช่แล้ว ซึ่งแนวผ่อนผันนี่มันจะไม่เกิดปัญหานี้หรอกแต่ที่มันเกิดปัญหาเพราะมาตั้งนอกแนวผ่อนผัน พอตั้งนอกแนวผ่อนผันก็ตั้งกันตามอิสระ อยากจะตั้งยังไง จะวางยังไงก็แล้วแต่ ซึ่งตรงนี้ผมว่ามันเริ่มเบียดเบียนแล้ว คนเดินถนนโดนเบียดเบียนแน่นอน รถตู้จริงๆ แล้วการมีของรถตู้มันทำให้อนุสาวรีย์ชัยคึกคักส่งผลดีกับธุรกิจแต่การที่มันมีมากจนเกินไปมันเริ่มส่งผลเสียในด้านอื่นๆ การที่มันคึกคักน่ะไม่เป็นไรหรอกแต่พอมันมากๆ เข้าไปมันกลายเป็นกีดขวางแล้ว ไอ้คนที่มีบ้านอยู่มีร้านค้าอยู่ในส่วนที่รถตู้มาจอดก็เริ่มมีปัญหาแล้วว่ารถออกมาเข้าบ้านไม่ได้ หรือว่าคนที่เดินในซอยก็รถตู้เฉี่ยวไปเฉี่ยวมาอย่างนี้มันก็เกินไป อย่างที่ผมบอกว่าเราไม่อยากให้อนุสาวรีย์ชัยมันเป็นที่โล่งๆ หรอกๆ แต่ว่าเราอยากจะให้มันมีการอยู่ร่วมกันโดยไม่เบียดเบียนฝ่ายอื่นเกินไป คุณค้าขายในจุดที่เหมาะสมคุณก็ค้าขายของคุณไป ผมก็ค้าขายของผมไป ใครใช้ชีวิตยังไงก็ใช้ชีวิตอย่างนั้นไป ก็อยู่ร่วมกันได้แต่ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมันเริ่มไม่มีกฎเกณฑ์ควบคุมมันเริ่มกินเข้าไปในพื้นที่คนอื่น นานไปปัญหามันก็จะหนักข้อไปเรื่อยๆ   คุณปารีณา  ประยุกต์วงศ์ กรรมการและผู้จัดการเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาคธุรกิจและภาคประชาสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ The NETWORK (Thailand) เรื่องของเรื่องคือเราถามถึงพื้นที่สาธารณะของคนสัญจร การจัดวางพื้นที่ในการขายของให้มันมีสุขลักษณะ เอื้ออำนวยความปลอดภัยต่อการเดินท้องถนน การเดินซื้อของ แล้วก็มีพื้นที่ให้คน  เพราะอนุสาวรีย์ชัยเป็นชุมทาง ต้องมีพื้นที่มากพอที่จะรับปริมาณประชาชนที่มาต่อรถ  ที่มีแนวโน้มว่าคนจะเยอะขึ้น โดยเฉพาะบริเวณหน้า รพ.ราชวิถี มีรถตู้จอดทำให้รถพยาบาลฉุกเฉินไม่สามารถเข้าได้ ทำไมถึงเข้ามาร่วมงานกับกลุ่มคนรักษ์อนุสาวรีย์ชัยอย่างไร ปัญหารอบ ๆ อนุสาวรีย์มีอะไรบ้าง ? เริ่มต้นจากเซ็นเตอร์วันที่ชวนกันประชาคม พอดีพี่เองอยู่องค์กรที่ชื่อว่าเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาคธุรกิจและภาคประชาสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ The NETWORK เราชวนกันกับภาคธุรกิจมารวมตัวกันเพื่อจะสร้าง community practice หรือเครือข่ายการเรียนรู้เรียกว่าเครือข่ายจิตอาสาพัฒนาองค์กรธุรกิจ เราก็ตั้งเป็นเน็ตเวิร์ค ทีนี้หนึ่งในสมาชิกในเครือข่ายของเราเรื่องของจิตอาสาก็มีเซ็นเตอร์วัน เนื่องจากเราอยู่ area ใกล้กัน ปัญหาของอนุสาวรีย์ฯ เกิดขึ้นเพราะ กทม.นี่ ได้ให้สัมปทานกับเอกชน 4 เกาะรอบอนุสาวรีย์ชัย ก็จะมีเกาะพญาไทซึ่งอยู่ตรงภัตตาคารพงหลี เกาะราชวิถีอยู่ตรงโรงพยาบาลราชวิถี เกาะพหลโยธินซึ่งอยู่ตรงบ้านเซเวียร์ที่เป็นทางด้านที่จะไปสะพานควาย และที่จะมาทางดินแดงเรียกว่าเกาะดินแดง ทีนี่เกาะพญาไทกับเกาะราชวิถีมันมีป้ายว่าจะมีการปรับปรุงพื้นที่ให้เป็นพื้นที่สาธารณะ ประเด็นที่เราสงสัยคือว่าจากเดิมสิบปีที่ผ่านมานี่ เรามีความรู้สึกว่าเราต้องแบกรับความอดทนของอนุสาวรีย์ชัยที่มันเปลี่ยนสภาพไปโดยที่ไม่มีคนจัดการ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของหาบเร่ แผงลอย เรื่องของพื้นที่ใช้สอยในการเดินเท้าซึ่งมันเปลี่ยนสภาพไปหมดเลย แล้วก็การใช้พื้นที่สาธารณะมันเพี้ยนๆ เปลี่ยนไป ไม่มีสุขอนามัย แล้วอยู่ดีๆ ก็มีป้ายขึ้นมาว่าปิดเกาะ 4 เกาะเพื่อปรับปรุงภูมิทัศน์ ที่จริงแล้วพื้นที่สาธารณะแบบนี้โดยหลักการมันต้องทำการประชาพิจารณ์การขอความเห็นจากภาคประชาชน เป็น Public openion นะคะไม่ใช่ Public hearing ว่าพื้นที่สาธารณะทั้ง 4 อันนี้จะมีการต่อสัมปทาน แล้วจะมีการออกแบบใหม่ แต่มันไม่มีการเรียกประชาชนเข้ามาคุยกัน มันก็เลยเป็นที่มาของพวกเราที่มารวมตัวกันแล้วตั้งคำถาม ว่ามันเกิดขึ้นได้ยังไง ก็ทำเรื่องไปตั้งแต่เดือนตุลาคม ตั้งแต่รู้ว่ามีป้ายมาเริ่มสัญญา โดยที่ตั้งแต่เดือนตุลาคมเราก็ขอให้ยุติการก่อสร้างแต่ก็ไม่มีผลในการรับฟัง กทม.เรียกประชุมแล้วก็รับฟัง พอดีช่วงนั้นเป็นช่วงที่กำลังจะเลือกตั้งผู้ว่าใหม่ ก็เลยเกิดความขรุขระตรงที่ว่าอำนาจตัดสินใจข้าราชการการเงินอาจจะยังมีประเด็นหลักที่ต้องซีเรียสกับมัน การให้ความสำคัญก็ลดน้อยลงไปก็เป็นที่มา หลังจากนั้นเราก็ชวนกันคุยการแก้ปัญหาอันนี้มันไม่ใช่เฉพาะ กทม. มันจะต้องมีส่วนร่วมของหลายส่วน   ตอนนี้ดำเนินการไปถึงช่วงไหนแล้วบ้างคะ ? ตอนนี้ก็คือการตกลงขั้นพื้นฐานเรื่องของพื้นที่ต่างๆที่อยู่รอบ 4 เกาะ เราจะทำยังไง เราตกลงกันยังไง ก็ในขั้นตอน ตอนนี้  เนื่องจากว่าถ้าเขาหยุดก่อสร้างตั้งแต่ตอนแรกที่เราบอกเราจะยังออกแบบปรับปรุงอะไรได้ใหม่ แต่เขาไม่รอฟัง ในส่วนของผู้รับสัมปทานเองก็ทำเป็นไม่รับรู้ว่ามีคนมาเรียกร้อง เขาก็เลยทำไปเรื่อยๆ จนกระทั่งในสิ่งที่เราขอนี่คือการขอพื้นที่สาธารณะ อย่างเช่น ฟุตบาท พื้นที่การเดิน ช่องไฟของร้านค้าที่จะมาตั้ง ความปลอดภัย อย่างเช่น การขึ้น - ลงบันไดเลื่อน มันมีความสุ่มเสี่ยงของอันตราย เช่นถ้าเด็กขึ้นบันไดเลื่อนไฟฟ้าจากด้านพงหลีเพื่อจะไป BTS เนี่ย มันมีหลังคาของร้านค้าเหลื่อมเข้ามา เนื่องจากมันเป็นอันตราย  เราก็เรียกร้องให้มีการปรับเปลี่ยน ห้องน้ำให้มีการย้ายให้มันมีภูมิทัศน์ที่สวยงามอะไรอย่างนี้ค่ะ แล้วก็มีเรื่องของต้นไม้ จำนวนของต้นไม้ เรื่องของเรื่องคือเราถามถึงพื้นที่สาธารณะของคนสัญจร การจัดวางพื้นที่ในการขายของให้มันมีสุขลักษณะ เอื้ออำนวยความปลอดภัยต่อการเดินท้องถนน การเดินซื้อของ แล้วก็มีพื้นที่ให้คน  เพราะอนุสาวรีย์ชัยเป็นชุมทาง ต้องมีพื้นที่มากพอที่จะรับปริมาณประชาชนที่มาต่อรถ  ที่มีแนวโน้มว่าคนจะเยอะขึ้น โดยเฉพาะบริเวณหน้า รพ.ราชวิถี มีรถตู้จอดทำให้รถพยาบาลฉุกเฉินไม่สามารถเข้าได้ เพราะว่า รพ.ราชวิถีเป็นศูนย์นเรนทรด้วย ศูนย์ที่จะประสานกับหลายๆโรงพยาบาล มันก็เลยเป็นปัญหา จริงๆ เราไม่ได้เรียกร้องเพื่อผลประโยชน์ของใคร เพราะว่าควรจะมีเมืองที่น่าอยู่ ให้มีพื้นที่ที่คนอยู่แล้วสบายใจ ให้มีหลายสิ่งหลายอย่างที่มันเอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิต ไม่ได้เอารัดเอาเปรียบกันเกินไป แล้วก็สิ่งที่เราต้องการก็คือเราไม่ต้องการทำให้ใครเดือดร้อน เราต้องการให้การอยู่ด้วยกัน ถ้อยทีถ้อยอาศัยและเห็นใจกัน เพราะฉะนั้นธีมของคนรักษ์อนุสาวรีย์ชัยคือคนรักอนุสาวรีย์ชัยที่เห็นใจกัน นั้นเราจะไม่หักด้ามพร้าด้วยเข่าว่าเอารถตู้ออกไป(เสียงดัง) เราไม่ได้ประท้วงแบบนั้น เราต้องการให้เกิดการฟื้นฟูกับกลุ่มรถตู้ จัดสรรกับ กทม. กทม.ต้องเป็นพ่อบ้านที่ดูแลบ้านหลังนี้ มีใครมารุกล้ำเขาก็ต้องมีหน้าที่ที่จะไปหาคนที่รับผิดชอบโดยตรงมานั่งคุยกันว่าเราจะจัดสรรเรื่องนี้อย่างไร คือเราจะปล่อยให้เมืองพัฒนาไปอย่างไร้ทิศไร้ทางอย่างนี้หรือไม่   แล้วอย่างคนที่เค้าเดินไปเดินมาหรือคนที่ใช้อนุสาวรีย์เป็นที่มาต่อรถ เราจะชวนพวกเขามามีส่วนร่วมอย่างไร คนในพื้นที่เราก็ต้องช่วยรณรงค์ว่าพวกเราจะรักพื้นที่นี้ด้วยกันอย่างไร เราจะมาเป็นพลเมืองที่จะรักพื้นที่อนุสาวรีย์ชัยที่เป็นบ้านเราอย่างไร   ส่วนประชาชนทั่วไป เราหวังว่าสิ่งที่เราพูดเนี่ยเขาจะเห็นคุณค่าของมัน กระบวนการเราจะเน้นคนในชุมชนก่อนเป็นตัวตั้งเพราะว่าถ้าคนในชุมชนไม่ทำ ไม่สนใจ คำว่าคนในชุมชนนี้ไม่ได้หมายถึงคนที่พักอาศัยหมายถึงคนที่ทำค้าขายคนที่มาจากที่อื่นแล้วมาค้าขายตรงนี้ได้ประโยชน์จากพื้นที่ตรงนี้เรียกได้เป็นคนในชุมชนของเราเพราะฉะนั้นจะบอกว่าเฉพาะคนที่พักอาศัยไม่ได้ ที่นี่ก็เกิดประเด็นว่าเรื่องหลักๆ คือทำยังไงให้เป็นพลเมือง มีมิติของการเป็นพลเมืองกันได้มากขึ้นไหม มันก็เลยนำมาสู่เรื่องของการเป็น consumer Awareness การตระหนักในเรื่องของผู้บริโภค ประโยชน์ของผู้บริโภค ความจริงก็เป็นเรื่องของผู้บริโภคโดยตรงเพราะเค้าเองเป็นทั้งผู้บริโภคและเป็นผู้ให้บริการด้านการบริโภค   ------------------------------------------------------------------------------------- รศ.ดร.วดี  เขียวอุไร    นายกสมาคมผู้บำเพ็ญประโยชน์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิในอดีต เท่าที่เราอยู่ตั้งแต่เดิมเนี่ยมันก็ไม่รกรุงรัง คือ มันมีต้นไม้และไม่มีของขายจนไม่เห็นอะไรเลย มองเห็นอนุสาวรีย์เด่นชัด เห็นสถานที่อะไรต่อมิอะไร เห็นสมาคมเก่าๆ ของเราก็เห็นสวยงาม ตอนนี้ก็เห็นแต่ของขาย เห็นแต่รถไง รถคนเขาจะเข้าสมาคมก็เข้าไม่ได้ มีแต่รถตู้จอด เราก็หนวกหู รถตู้โหวกเหวกเรียกผู้โดยสารมันไม่น่าดู มันทำให้อนุสาวรีย์ชัยพลอยไม่สง่างามไปด้วย ร้านก๋วยจั๊บนี่ขายทั้งวันทั้งคืน มันก็สกปรก เหม็นเน่า งงมากทำไมขายได้ เมื่อก่อนมันขายแต่ตอนเย็นนะ เดี๋ยวนี้มันขายตั้งแต่เช้าจรดเย็น ขนาดซ่อม(ปรับปรุงภูมิทัศน์)เขาก็ยังขายได้ สิ่งที่ “ คนรักษ์อนุสาวรีย์ชัย ” อยากเห็น •        ใช้พื้นที่รอบเกาะอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิตามวัตถุประสงค์ที่กรุงเทพมหานครได้เวนคืนที่ดินเป็นสวนสาธารณะ •        การจัดภูมิทัศน์ที่เอื้อต่อการเป็นศูนย์กลางและจุดเชื่อมต่อการเดินทางของผู้คนอย่างสะดวกสบายและปลอดภัย •       พื้นที่สาธารณะต้องมีความเป็น Green City ไม่กระตุ้นการบริโภคสูงสุด แต่ควรเป็นพื้นที่สันทนาการและการเรียนรู้ของชุมชน มีความสะอาด ร่มรื่น และปลอดภัย และมีการจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพตลอดจนการควบคุมมลภาวะทางอากาศและเสียง •       การบริหารจัดการและการใช้พื้นสาธารณะโดยภาครัฐและประชาชนมีลักษณะ “ร่วมด้วย  ช่วยกัน” •       มีการประชุม ติดตาม และ ประเมินผลทุก 2 เดือน โดยภาครัฐ และประชาชนอย่างเป็นระบบโดยคำนึงถึงวัตถุประสงค์ของการใช้พื้นที่และประโยชน์ส่วนรวมของประชาชนเป็นที่ตั้ง

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 146 เบื้องหลังขบวนการ 3 กำลังสูง

  ถ้ามองให้ลึกกันจริงๆ ทั้งอาหารและเครื่องดื่ม กลับมีน้ำตาล  ไขมันและโซเดียมสูง ส่งผลต่อสุขภาพของผู้บริโภค ที่สำคัญไปกว่านั้นก็คือคนส่วนใหญ่ก็ชอบกิน โดยเฉพาะเด็กๆ  เราถูกยัดเยียดให้กินสิ่งเหล่านี้โดยไม่มีทางเลือกอื่นเลย จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อเบื้องหลังของอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม 3 กำลังสูงถูกเปิดเผย โดย นงนุช  ใจชื่น นักวิจัย แผนงานวิจัยนโยบายอาหารและโภชนาการเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุขที่กล้าออกมาเผยโฉมหน้าของอุตสาหกรรมเหล่านี้ที่แสวงหาผลกำไรเพื่อกลุ่มบริษัทเดียวกัน และงัดกลยุทธ์การสื่อสารการตลอดแบบบูรณาการ  เพื่อพิชิตใจลูกค้า รวมทั้งกฎหมายที่เปิดช่องให้อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มทำโฆษณาอย่างอิสระ ไปดูกันค่ะว่า ขบวนการ 3 กำลังสูง คืออะไร  และเราจะมีส่วนร่วมได้อย่างไร   เปิดปฏิบัติการเผยโฉมขบวนการ 3 กำลังสูง “เราไม่มีได้โจมตีหรืออยากจะทำร้ายใคร  ไม่ต้องการสร้างศัตรูในงานชิ้นนี้ เราต้องการกระตุกให้คนได้รู้ว่าโครงสร้างบริษัทอาหารเป็นแบบนี้  การตลาดเป็นแบบนี้ที่สุดท้ายก็ต้องการส่งเสริมการขาย มากกว่าจะสร้างสุขภาพที่ดี” นงนุช  เอ่ยถึงเป้าหมายงานวิจัยชิ้นนี้   อะไรคือขบวนการ 3 กำลังสูง อธิบายกันง่ายๆ ก็คือเป็นการศึกษาขบวนการอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มที่มี 1 น้ำตาล  2 ไขมัน และ 3 โซเดียมสูง ซึ่งอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มที่ใช้ในกรศึกษาครั้งนี้ เราใช้วิธีกำหนดขนาดตัวอย่างตามเกณฑ์กำไรสุทธิของการส่งรายงานงบประมาณการเงินปี พ.ศ. 2553 และ พ.ศ. 2554 ให้กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ และทำการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างที่มีกำไรสุทธิสูงสุด 50 บริษัท เพื่อศึกษาใน 2 มิติ นั่นก็คือ มิติที่1 ความเป็นมา  เป้าหมาย  Mindset การลงทุนและพันธมิตร และมิติที่ 2 คือ การสื่อสารการตลาด จะมีทั้งบริษัทไทย และบริษัทต่างประเทศ  และแต่ละบริษัทก็มีทั้งผลิตสินค้าประเภทเดียวนั่นคือน้ำอัดลม เครื่องดื่มที่มีรสหวาน  และสินค้าหลายประเภท นั่นคือขนมกรุบกรอบ  ขนมปัง (บิสกิตเวเฟอร์) ขนมหวาน (ช็อคโกแลต ลูกอม หมากฝรั่ง ไอศกรีม) อาหารจานด่วน  ที่น่าจับตาก็คือทุ่มทุนสร้างโฆษณาสินค้า ซึ่งดูงบโฆษณาต่อรายได้ทำให้เราได้รู้ว่า การลงทุนของบริษัทกับการโฆษณา ก็เพื่อกระตุ้นยอดขายและจูงใจให้มีบริโภคสินค้านั่นเอง “ยกตัวอย่างบริษัทโคคา – โคลา(ประเทศไทย) จำกัด มีงบโฆษณาต่อรายได้ 30.11 % เทียบง่ายๆ โค้กขวดละ 10 บาท จะมีค่าโฆษณา 3 บาท  บริษัท แพรรี่มาร์เก็ตติ้ง จำกัด มีงบโฆษณา ต่อรายได้ 15.76 % นั่นก็คือ โปเตโต้ชิพ ซองละ 10 บาท จะมีโฆษณา 1 บาท 57 สตางค์”   โยงใยแมงมุม เครือข่ายเดียวกัน นงนุช  เล่าต่อว่าสายธุรกิจของขบวนการอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม 3 กำลังสูงนั้น เป็นพันธมิตรนั่นคือเป็นเครือข่าย อย่างเช่นมีบริษัทแม่อยู่ต่างประเทศแล้วขยายสาขามาประเทศไทย อีกรูปแบบก็คือเป็นคู่ค้า มีการซื้อขายระหว่างกัน ทั้งวัตถุดิบและเครื่องจักรการผลิต  รูปแบบเป็นครอบครัว เป็นเครือญาติกันระหว่างบริษัท  รูปแบบเป็นหุ้นส่วนกัน มีการถือหุ้นร่วมกันระหว่าง 2 บริษัท นั่นคือกรรมการอีกบริษัทหนึ่ง ถือหุ้นอีกบริษัทหนึ่ง “แต่บริษัทเป็นกลุ่ม เครือข่ายเดียว มีความเชื่อมโยงกันทั้งสายเลือด  สายธุรกิจ ไม่ว่าผู้บริโภคอย่างเราๆ จะซื้อสินค้าอะไรก็ตาม ก็เข้าข่ายเป็นสินค้าของบริษัทเดียวกัน”   เบื้องหน้า VS เบื้องหลัง เมื่อหันมาดูวิสัยทัศน์  ค่านิยมหลัก และเป้าหมายของแต่ละบริษัท นงนุช บอกว่าแต่ละบริษัทนั้นต้องการเป็นบริษัทชั้นนำค้าสร้างแบรนด์ให้คนรู้จักไปทั่วโลก  ผลิตสินค้าที่มีคุณภาพเพื่อสุขภาพของผู้บริโภค และมีความรับผิดชอบต่อสังคม หวังเติบโตไปพร้อมกับคู่ค้า “ถ้ามองให้ลึกกันจริงๆ ทั้งอาหารและเครื่องดื่ม กลับมีน้ำตาล  ไขมันและโซเดียมสูง ส่งผลต่อสุขภาพของผู้บริโภค ที่สำคัญไปกว่านั้นก็คือคนส่วนใหญ่ก็ชอบกิน โดยเฉพาะเด็กๆ  เราถูกยัดเยียดให้กินสิ่งเหล่านี้โดยไม่มีทางเลือกอื่นเลย  ทั้งการโฆษณาทุกช่องทางทั้งโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ แผ่นพับ โปสเตอร์ ที่สำคัญคือใช้พรีเซ็นเตอร์ที่เป็นการ์ตูน ดารา  นักร้อง เพื่อโน้มน้าวให้ชื่นชอบสินค้าที่เขาโฆษณา นอกจากการโฆษณาแล้ว  ยังมีเทคนิคการประชาสัมพันธ์ เพื่อสร้างทัศนคติที่ดีต่อผลิตภัณฑ์ทั้งการเปิดตัว การจัดสัมมนา การบริจาคหรือการช่วยเหลือชุมชน ยกตัวอย่างเช่น บริษัทที่ขายเครื่องดื่มน้ำตาลสูง บริจาคน้ำดื่มให้กับผู้ประสบภัยน้ำท่วม บริจาคผ้าห่มกันหนาวให้คนที่ภาคเหนือ การทำสิ่งเหล่านี้ก็เพื่อสร้างความเชื่อถือได้มากขึ้น  ซื้อใจหน่วยงาน องค์กรอื่นๆ สื่อมวลชน เพื่อสร้างพันธมิตรระหว่างบริษัทอีกด้วย”   สร้างโรคภัย จากความเคยชิน จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อปล่อยให้ขบวนการ 3 กำลังสูงเหล่านี้ยัดเยียดทั้งไขมัน  น้ำตาล และโซเดียมต่อไป  นั่นก็คือจะเกิดการเสพติดในรสชาติบางคนติดหวาน  ติดเค็ม โดยไม่รู้ตัว แล้วโรคต่างๆ ก็ตามมา คือมันอาจจะไม่ได้แสดงออกในทันที แต่มันปรากฏเมื่อเด็กๆ โตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ การเสพติดในรสชาติและภักดีต่อผลิตภัณฑ์นั้นๆ เช่นบริษัทผลิตเครื่องดื่มยี่ห้อหนึ่งที่ สร้างแบรนด์ใหม่ขึ้นมา ก็มีการโหมโฆษณาเพื่อให้ติดตาผู้คน แต่หลายๆ คนก็อาจจะยังติดในรสชาติเดิมของน้ำที่ผลิตโดยบริษัทนั้น กฎหมายมีไว้ ใช้ได้จริงแต่มีช่องว่าง ครั้นถามถึงกฎหมายต่างๆ ในการควบคุมการโฆษณานงนุชบอกว่า “บ้านเรามีเยอะ” หากย้อนไปตั้งแต่ปี พ.ศ. 2494  - พ.ศ.2554 ฉลาดซื้อนับรวมกันแล้วทั้งประกาศและกฎหมาย (จากหนังสือ เบื้องหลังขบวนการ 3 กำลังสูง: ลวงผู้ใหญ่ ล่อใจเด็ก) รวม 25 ฉบับด้วยกัน “ยังมีช่องว่างนั่นก็คือยกตัวอย่าง พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522  มาตรา 40 และ 41 ว่าด้วยเรื่องการความคุมการโฆษณา ห้ามโฆษณาที่มีเนื้อหาเกินจริง เพื่อป้องกันการเข้าใจผิดของผู้บริโภค และต้องผ่านการตรวจสอบก่อนถึงโฆษณาได้  แต่กฎหมายยังไม่ครอบคลุมถึงเวลาในการโฆษณาแฝงในสื่อโทรทัศน์  สื่อออนไลน์ หรือ พ.ร.บ คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2552 ก็ยังไม่ครอบคลุมรูปแบบการส่งเสริมการขายโดยใช้ของเล่น ของแถม การใช้การ์ตูนในการโฆษณา”   ปิดฉากการกินรวบ แจกจ่ายพวกพ้อง การที่จะปิดฉากขบวนการเหล่านี้ได้นั้น ต้องหนุนให้นำผลการศึกษาที่ได้ไป ขับเคลื่อน ผลักดันนโยบายอาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล ไขมัน โซเดียมสูง  ให้ความรู้กับผู้บริโภคเพื่อให้เท่าทันธุรกิจเหล่านี้ “รัฐต้องลงทุนสร้างความรู้ให้เข้าถึงผู้บริโภคทั้งการใช้สื่อโฆษณาทางโทรทัศน์ ให้ความรู้กับประชาชน และหากเป็นไปได้ควรจะมีหน่วยมอนิเตอร์ คอยตรวจสอบการโฆษณาต่างๆ  ให้เป็นไปตามกฎหมาย และต้องพัฒนากฎหมายให้เท่าทันกับสถานการณ์ปัจจุบัน รวมถึงมีบทลงโทษที่รุนแรง  ไม่ใช่ปรับถูกๆ เพราะเมื่อเทียบกับรายได้ที่เข้ามาที่บริษัท มันน้อยนิดเหลือเกิน ในขณะเดียวกันรัฐก็ควรเรียกร้องให้ขบวนการอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ลดส่วนผสมประเภทน้ำตาล  ไขมัน  และโซเดียมลง และผลิตอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ และต้องเพิ่มช่องทางให้ผู้บริโภคเข้าถึงอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่นมีร้านขายผลไม้ ร้านขนมไทยๆ ในโรงเรียน  สวนสนุก เพราะถ้าไม่สร้างทางเลือก ก็ต้องถูกขบวนการ 3 กำลังสูงยัดเยียดสิ่งเหล่านี้ต่อไป” ##

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 145 ชีวิตไม่ใช่แค่หนังสั้นๆ

  เมื่อเรื่องผู้บริโภคไปโลดแล่นบนแผ่นฟิล์ม ใน โครงการ “เล่าเรื่องผู้บริโภคผู้กำกับหนังสั้นกิตติมศักดิ์ 6 ผู้กำกับ” ฉลาดซื้อก็ไม่พลาดที่จะมาจับเข่าคุยกับผู้กำกับหนังสั้น   พัฒนะ จิรวงศ์ ผลงานสารคดีองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค   พัฒนะ จิรวงศ์ ใครหลายคนรู้จักเขาในฐานะผู้กำกับหนังสั้นเกี่ยวกับเด็ก ซึ่งเรื่องที่สร้างชื่อให้เขาก็คือ The Missing Piece ฉันอยู่นี่...เธออยู่ไหน นอกจากจะเป็นผู้กำกับแล้วเขายังสอนการทำภาพยนตร์ ที่ ม.กรุงเทพ  รวมถึงรับเขียนบทให้กับหนังใหญ่ อย่างเรื่อง  'พุ่มพวง The Moon' ฝีไม้ลายมือขนาดนี้ไปดูแนวกันทำหนังผู้บริโภคกันบ้างค่ะ   “ครั้งนี้ทำสารคดี สะท้อนชีวิตคนประสบอุบัติเหตุทางรถตู้ จะเล่าชีวิตประจำวันของคนที่เป็นเหยื่อซึ่ง ต้องรักษาตัวต่อเนื่องและต้องใช้เงินตัวเองในการรักษา บริษัทรถหรือบริษัทประกันก็พยายามบ่ายเบี่ยงการจ่ายเงิน จะตัดสลับคำให้สัมภาษณ์ของคุณสารี  เพราะว่าน่าจะนำเสนอเรื่องได้จริงกว่าการสร้างเรื่องขึ้นมา  บางทีการสร้างเรื่องขึ้นมาข้อมูลมันอาจจะไม่ตรง 100% แต่นี่เราให้ฟังจากปากคุณสารีเอง ก็น่าจะกระจ่างว่าเราต้องการสื่ออะไร และเห็นเหตุว่าทำไม่ต้องต่อสู้ก็จะเห็นใจหรือสนับสนุนมากขึ้น”   สารคดีจะสื่ออะไรให้คนดู “ต้องการจะบอกว่าเรื่องผู้บริโภคไม่ใช่เรื่องไกลตัว และไม่ใช่เรื่องน่าอายที่จะไปฟ้องศาล ไม่ให้คิดว่าแค่เรื่อง 10 บาทไปฟ้องทำไมให้อายเขา ถ้ามีองค์การอิสระจะช่วยอะไรได้ ตอนนี้มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคกำลังต่อสู้กับอะไรอยู่เพื่อผู้บริโภค นั่นก็คือการผลักดันกฎหมายมาตรา 61 อยากให้คนดูได้รู้ว่ามูลนิธิฯ ทำอะไร ในขณะที่ให้ความช่วยเหลือ  ตัวเองก็กำลังสู้กับอะไรอยู่   การคิดแนวสารคดีที่ทำอยู่ ก็ถือว่ายากเหมือนกันว่าจะหยิบเรื่องไหนขึ้นมา เพราะว่าจะเป็นบทสรุปให้กับหนังสั้นเรื่องอื่นๆ ในโครงการนี้ด้วย ก็ต้องเสนอในลักษณะสถานการณ์รวมๆ แต่ก็จะมีประเด็นใหญ่ที่นำเสนอเข้าไปด้วยก็คือเรื่องการฟ้อง ปตท.ซึ่งเรื่องนี้สะท้อนภาพได้ชัดมากว่า การที่ไม่มีองค์การอิสระฯ ที่สามารถฟ้องแทนผู้บริโภคได้ มันเกิดปัญหาอย่างไร” ##############   มานุสส วรสิงห์ ผลงานเรื่อง “ Priceless “ มานุสส วรสิงห์ ผู้กำกับและมือตัดต่อขั้นเทพ  เริ่มต้นงานในวงการภาพยนตร์จากการเป็นผู้ถ่ายเบื้องหลังภาพยนตร์เรื่อง “นายอโศกกับนางสาวเพลินจิต” เมื่อปี 2546     ล่าสุดคว้ารางวัลลำดับภาพยอดเยี่ยม สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 22 จากเรื่อง It gets Better ไม่ได้ขอให้มารัก จากสมาคมสมาพันธ์ภาพยนตร์แห่งชาติไปเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2556     มี ผลงานภาพยนตร์สั้นที่ได้รางวัลมากมายในประเทศ และยังได้รับเลือกไปฉายในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติอีกหลายแห่ง เช่น ผลงานเรื่อง เจ้าหญิงนิทรา, เพื่อนยาก ฯลฯ     มีผลงานการลำดับภาพให้ภาพยนตร์ไทยกว่า 20 เรื่อง เช่น ยอดมนุษย์เงินเดือน, แต่เพียงผู้เดียว, ไม่ได้ขอให้มารัก It Gets Better, คืนวันเสาร์ถึงเช้าวันจันทร์, ปัญญาเรณู 1-2 ฯลฯ    มีผลงานการกำกับภาพยนตร์ที่ผ่านมานั้นมีเพียงเรื่องเดียว คือ "ตายโหง ตอน คุกกองปราบ" ซึ่งออกฉายเมื่อปี 2553     เป็นหนึ่งในวิทยากรของกลุ่มอัศจรรย์ภาพยนตร์ กลุ่มคนทำหนังที่รวมตัวกันเพื่อจัดทำการอบรมการทำภาพยนตร์สั้น ให้แก่เยาวชนและผู้ที่สนใจ   หนังเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับอะไร “หนังสั้นเรื่องนี้ตั้งใจนำเสนอเรื่องราวของครอบครัวหนึ่งที่ประสบอุบัติเหตุจากรถโดยสารสาธารณะ ในการเรียกร้องค่าชดเชย ค่าสินไหมทดแทนกรณีเสียชีวิต คือ...พอเราได้อ่านข้อมูล แล้วทำให้เราเห็นอย่างหนึ่งว่าการจะเยียวยาชีวิตหนึ่ง เขาจะวัดจากรายได้ อาชีพ การทำงาน ซึ่งมันต้องมีหลักฐาน เหมือนต้องอยู่ในระบบ แล้วก็มามองดูตัวเองซึ่งทำงานอิสระ ถ้าหากว่าตายขึ้นมา พ่อแม่เราจะได้รับการชดเชยยังไง เพราะเราทำงานอิสระ เงินได้มาก็ไม่ค่อยเอาเข้าบัญชีเท่าไหร่ ได้มาก็ใช้ไป ซึ่งคิดว่าตัวเองตายไปก็คงจะเรียกร้องไม่ได้เท่าไร ก็ทำให้เห็นระบบว่ามองคนไม่เท่ากัน   เราก็เลยคิดวิธีทำหนังขึ้นมาโดยให้ครอบครัวนี้เล่นเป็นตัวเองที่น้องชายเสียชีวิตจากอุบัติเหตุรถโดยสารซึ่งก็ไม่ได้ทำอาชีพเป็นหลักเป็นแหล่ง ที่ต้องแบกรับภาระด้วยการดูแลแม่ที่ป่วยเป็นอัมพาต แต่ก็ไม่ได้เอาชีวิตเขาให้มาเล่นใหม่ในชีวิตจริงนะ เราเพียงแค่นำเสนอบางแง่มุม เพื่อให้เห็นมุมมองของปัญหา”   ต้องการสื่ออะไร “หนังเรื่องนี้ไม่ว่าจะใครดูก็อยากให้เข้าใจเรื่องที่ต้องการจะบอก สุดท้ายเมื่อดูหนังจบเราก็อยากให้เขาตั้งคำถามเหมือนกับเราว่าทางออกควรจะเป็นอย่างไร  ราคาชีวิตแต่ละคนควรจะเป็นเท่าไร  กฎหมายจะช่วยได้อย่างไร   แต่ตราบใดที่คนยังไม่โดนกับตัวเอง ผมก็คิดว่าคนยังไม่คิดว่าเป็นปัญหาของตัวเองที่ต้องมาแก้ร่วมกัน  อย่างกรณีรถตู้โดยสาร ถึงแม้มันอุบัติเหตุทุกวัน อ่านข่าวเจอแล้วมันสลดใจ ไม่ควรจะเป็นอย่างนั้น อย่างนี้ แต่เช้าวันรุ่งขึ้นบางคนก็ต้องนั่งรถตู้ไปทำงานอยู่ดี เพราะเราไม่มีทางเลือก ในขณะที่คนยังมีภารกิจที่ต้องทำยากเหมือนกันครับที่คนจะลุกขึ้นมาทำอะไร   หนังน่าจะสร้างความสงสัยให้คนได้ตั้งคำถาม  แล้วก็ลุกขึ้นมาทำอะไรและหลายส่วนก็ต้องเข้ามาช่วยกัน”   ยากไหมในการคิดประเด็น “ยากนะครับ สับสนเหมือนกันว่า สคบ. กับมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค อันเดียวกันไหม พอได้เข้ามาจริงก็รู้ว่ามันแตกต่างกัน และเพื่อนๆ หลายคนก็ไม่รู้สิทธิเลยว่าเราทำอะไรได้บ้าง  ซึ่งผมคิดว่ามันเป็นประเด็นพื้นฐานที่ทุกคนต้องรู้ ก็อยากจะสื่อสารออกไปให้ได้มากที่สุด” ##############   ชาญ  รุ่งเรืองเดชวัฒนา ผลงานเรื่องเรื่อง “ กลับบ้าน (Go Home) “ ชาญ  รุ่งเรืองเดชวัฒนา ผู้กำกับหนังโฆษณาเลื่องชื่อ  มีผลงานที่ผ่านมา ทั้งผลงาน ธนาคารออมสิน , การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย , ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย , บุญถาวร , ชมรมเมาไม่ขับ , เสถียรธรรมสถาน , กระทรวงการต่างประเทศ , ธ.อ.ส. , ธนาคารธนชาติ ฯลฯ  นอกจากนี้ยังเป็นอาจารย์พิเศษประจำวิชาการสร้างสรรค์โฆษณา , การออกแบบสิ่งพิมพ์ , การเขียนบทโฆษณา , การผลิตภาพยนตร์โฆษณา , การวางแผนกลยุทธ์งานโฆษณา , วิจารณ์งานโฆษณา   ทำไมถึงสนใจทำหนังเรื่องนี้ “ทำอย่างไรจะให้เกิดความใส่ใจเรื่องผู้บริโภค คนนั่งรถโดยสารดูจะใกล้ตัวที่สุดเพราะคนก็ต้องเดินทาง ซึ่งก็เห็นความไม่ปลอดภัยในหลายๆ เรื่องทั้งจากที่นั่ง 11 ที่ กลายเป็นที่นั่ง 17 ที่นั่ง แต่รถยังมีขนาดเท่าเดิมผู้โดยสารก็ต้องเบียดกันมากกว่าเดิม เจ้าของธุรกิจก็รวยกว่าเดิมซึ่งก็เป็นปัญหาผู้บริโภค   อีกอย่างก็คือคนที่นั่งรถตู้กลับต่างจังหวัดก็คือ การที่คนขับไม่ใส่ใจคนนั่งเช่นคนขับไม่พร้อมจะขับรถ  และที่พยายามจะนำเสนออีกอย่างก็คือบริษัทรถซื้อยางรถ ที่เรียกว่ายางวิ่งลอบ เหมือนซื้อยางที่ประเทศญี่ปุ่นโล๊ะแล้วมาใช้กับรถตัวเองเพราะราคาถูก แต่เล่าในหนังได้ไม่หมด”   คาดหวังกับหนังเรื่องนี้อย่างไร “หนังเรื่องนี้ช่วยตะโกน ถึงแม้จะไม่ทำให้หน่วยงานต่างๆ เกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรได้ในทันที  หนังช่วยตะโกนถึงสิ่งที่ผู้เสียชีวิตไม่ได้รับการเหลียวแล  ช่วยสะกิดให้หน่วยงานไปจนถึงภาครัฐได้หันมาใส่ใจและกระตุ้นเตือนให้เจ้าของธุรกิจที่เอาเปรียบผู้โดยสาร ให้ฉุกคิดได้บ้าง   ตอนถูกทาบทามให้มาทำเรื่องผู้บริโภค ตอนนั้นรู้สึกอย่างไร “ทำหนังเพื่อธุรกิจมาเยอะแล้ว  การที่เรามาทำงานเพื่อคืนกำไรให้สังคมบ้าง ผมว่ามันก็เป็นเรื่องที่ดี รู้สึกท้าทายมาก ต้องกระโดดลงมาทำและไม่ลังเล ผมว่ามันเป็นการปลดปล่อยความคิดที่จะช่วยเหลือสังคมในอีกมุมหนึ่ง  หนังสั้นจะเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่จะได้ถ่ายทอดจินตนาการผ่านเรื่องราวของหนังสั้น อย่างน้อยก็ทำให้สังคมได้ดีขึ้น   ตอนแรกก็หนักใจว่าจะสื่อสารอย่างไร ก็ได้นำเสนอพลอตเรื่องให้กับทางทีมงาน มูลนิธิฯ ถึงความเข้าใจและงานของเรา ก็เข้าใจตรงกันช่วยกันปรับหนังสั้นให้ได้เนื้อหาออกมาหนักแน่นในช่วงตอนจบ เช่นขึ้นสถิติอุบัติเหตุว่ามีเท่าไร  คนที่ตายอยู่ในวัยทำงาน และญาติผู้เสียชีวิตไม่ได้รับการเยียวยาเท่าที่ควร ก็น่าจะช่วยตะโกนไปถึงหน่วยงานได้   คิดว่าหนังสั้นจะสื่อสารที่ต้องการสื่อออกมาได้มากน้อยแค่ไหน ถ้าเล่าผ่านรูปแบบความบันทึก คนจะซึมซับเนื้อหาเข้าไปเอง แต่ถ้าเล่าเรื่องราวผ่านสารคดีผมว่าคนก็ตั้งกำแพงที่จะรับ  หนังที่ผมนำเสนอก็เป็นเรื่องราวที่เป็นชีวิตประจำวันของคน  ซึ่งเนื้อหาก็ไม่ได้ยัดเยียดให้ผู้ชมจนเกินไปให้เครียด คนก็น่าจะซึมซับเข้าไปได้ไม่ยาก หนังเรื่องนี้ขอบอกว่าคุณภาพเต็มเหมือนหนังใหญ่ทีเดียวทั้งการถ่ายทำ ตัดต่อ คุณภาพเสียง   ถ้าหากพูดถึงงบประมาณในการผลิตต้องบอกว่า “ทำงานด้วยหัวใจจริง” ซึ่งงานนี้ถ้าหากเป็นไปได้ควรจะมีโรงหนังสนับสนุนเยอะๆ มีรอบการฉายเยอะๆ เพราะรอบยิ่งเยอะจะยิ่งมีผลดีเป็นเงาตามตัว อยากฝากไว้ว่าความคิดสร้างสรรค์ยิ่งพร่างพรูออกมามากเท่าไร ก็ควรที่จะมีช่องทางในการรองรับให้มากมันถึงจะมีประสิทธิภาพมากที่สุด  

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 144 " World Consumer Rights Day"

ฉบับนี้ขอพาคุณไปพบกับสตรีแกร่งแห่งวงการสิทธิผู้บริโภคทั้งไทยและต่างประเทศ มุมมองในประเทศโดย คุณสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และมุมมองจากต่างประเทศ ดาโต๊ะ อินดรานี ทูไรซิงคาม ผู้อำนวยการสหพันธ์ผู้บริโภคสากล สาขาเอเชียแปซิฟิกและตะวันออกกลาง ในสถานการณ์ที่ไทยและเหล่าประเทศในกลุ่มอาเซียนกำลังจะกลายเป็นหนึ่งเดียวกัน   “ไปดูรายงานของ กกต.ที่บอกว่าธุรกิจใหญ่ๆ สนับสนุนงบประมาณให้พรรคการเมือง หากกลไกการคุ้มครองผู้บริโภคอยู่ภายใต้กลไกการเมือง ก็ไม่มีความเป็นอิสระ  การที่จะมีนโยบายการคุ้มครองผู้บริโภคก็จะเกิดขึ้นได้ยาก”   ผู้บริโภคไทยกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน สิ่งที่เรากลัวมาก ก็คือการที่แต่ละประเทศมีการคุ้มครองผู้บริโภคที่แตกต่างกัน ยกตัวอย่างเช่น การนำเข้าสารเคมี 4 ชนิดที่เป็นอันตรายอย่างมากนั่นคือ คาร์โบฟูราน เมโทมิล ไดโครโตฟอส และอีพีเอ็น ในประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย ลาว ยกเลิกแล้ว  แต่ไทยยัง ถ้าเรายังไม่มีกลไกของรัฐในการผลักดันให้เป็นมีเอกภาพในการคุ้มครองผู้บริโภค ก็จะทำให้ประเทศไทยของเรากลายเป็นที่ทิ้งขยะสารเคมีเหล่านี้ เพราะประเทศอื่นมีการถอนทะเบียนไปแล้ว  ก็ควรที่จะมีกติกาในการคุ้มครองผู้บริโภคที่เหมือนกัน   อีกเรื่องก็คือกลไกการคุ้มครองผู้บริโภคในอาเซียนเองยังกระจัดกระจาย อย่างคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคในอาเซียนซึ่งเป็นกลไกของหน่วยงานรัฐที่มารวมตัวกันนั้น ดูเรื่องสินค้าและบริการทั่วไป  แต่อาหาร ยา ก็ไปอยู่ภายใต้การดูแลของ อย.แต่ละประเทศ การคุ้มครองผู้บริโภค มันจึงมีหลายส่วนหากทำให้ระดับการคุ้มครองผู้บริโภคอย่างน้อยมีมาตรฐานขั้นต่ำที่เหมือนกัน  ก็ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำกันใน 10 ประเทศทั้งที่เราจะเป็นประชาคมเดียวกัน   ที่น่ากังวลอีกส่วนก็คือประเทศไทยยังไม่ตื่นตัวมากพอในแง่การคุ้มครองผู้บริโภค เห็นได้จากคณะกรรมการการคุ้มครองผู้บริโภคอาเซียน ซึ่งมีเว็บไซต์ ให้สมาชิกแจ้งสินค้าที่อาจมีอันตรายกับผู้บริโภคและมีการนำออกนอกตลาด ไทยเราไม่แจ้งเข้าไปเลย ทั้งที่ก็พบอยู่ประเทศที่ส่งอยู่ 5 ประเทศ เวียดนาม ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย สิงคโปร์  มาเลเซีย เช่น อินโดนีเซียห้ามขายหม้อหุงข้าว  ไดร์เป่าผม ที่ไม่มีภาษาอินโดนีเซีย ก็สะท้อนว่าเรายังไม่มีความตื่นตัวที่จะร่วมมือในการคุ้มครองผู้บริโภคในระดับอาเซียน  ไทยเราควรตามเรื่องเหล่านี้ให้ทัน  สคบ.ควรที่จะนำข้อมูลการแจ้งเตือนเหล่านี้มาแปลและแจ้งให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ ตอนนี้ก็ใช้ได้เฉพาะผู้บริโภคที่รู้ภาษาอังกฤษเท่านั้น ประเทศไทยอย่ามัวกังวลในการคุ้มครองผู้ประกอบการอยู่   องค์กรที่ทำงานด้านผู้บริโภคเตรียมตัวอย่างไร ปีนี้ครบ 30 ปีในการทำข้อตกลงความคุ้มครองผู้บริโภคในสหประชาชาติ ซึ่งสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคสากลก็ได้ทำงานผ่านรัฐบาลของประเทศต่างๆ ขณะนี้จะทบทวนการทำงานคุ้มครองผู้บริโภคในระดับโลกทั้งเรื่องสิทธิผู้บริโภคที่อาจะไม่ทันสมัย ซึ่งหน่วยงานรัฐไทยเราก็น่าจะถือโอกาสนี้ปรับปรุงการคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศไทย และสร้างกลไกในการทำงานคุ้มครองผู้บริโภคที่เป็นอิสระทั้งจากการเมือง ธุรกิจ หากไปดูรายงานของ กกต.ที่บอกว่าธุรกิจใหญ่ๆ สนับสนุนงบประมาณให้พรรคการเมือง หากกลไกการคุ้มครองผู้บริโภคอยู่ภายใต้กลไกการเมือง ก็ไม่มีความเป็นอิสระ  การที่จะมีนโยบายการคุ้มครองผู้บริโภคก็จะเกิดขึ้นได้ยาก   การมีองค์การอิสระฯ จึงเป็นเหมือนตัวกระตุ้นให้ตัวตรวจสอบตัวสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้บริโภคได้เท่าทันการใช้ชีวิต ซึ่งคิดว่าการมีองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นกลไกที่มีความสำคัญ   องค์กรผู้บริโภคเองก็ตื่นตัวกับการคุ้มครองผู้บริโภคอาเซียน มีการตั้ง “สภาผู้บริโภคอาเซียน” ขึ้น ซึ่งหากพบปัญหาอะไรที่รุนแรงก็พร้อมจะร่วมมือกัน อย่างการพยายามสร้างกลไกให้ความเห็นต่อคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคอาเซียน ว่าควรจะคุ้มครองผู้บริโภคอย่างไร ที่ตื่นตัวมากขณะนี้ก็ประเทศไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์  ที่ผ่านมาก็ทำ MOU เรื่องการเยียวยาผู้บริโภคในอาเซียน เช่น ผู้บริโภคไปซื้อของที่สิงคโปร์ กลับมาไทยแล้วมีปัญหา ก็ให้องค์กรผู้บริโภคที่สิงคโปร์รับเรื่องร้องเรียนแทนเราได้ ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีในการช่วยเหลือผู้บริโภค -----------------------   ดาโต๊ะ* อินดรานี ทูไรซิงคาม ผู้อำนวยการสหพันธ์ผู้บริโภคสากล สาขาเอเชียแปซิฟิกและตะวันออกกลาง   “ผู้หญิงคือผู้ริเริ่มเศรษฐกิจใหม่ และการสร้างความเข้มแข็งให้ผู้หญิง จะทำให้พวกเธอสามารถใช้สิทธิ และตัดสินใจด้วยตนเองได้”   บทบาทผู้หญิงกับการคุ้มครองผู้บริโภค ประเด็นผู้บริโภคเป็นสิ่งที่ผู้หญิงให้ความสนใจมาตลอด ไม่ว่าจะเป็นความปลอดภัยของอาหาร อุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ หรือการมีโภชนาการดี นอกจากนี้ยังมีเรื่องใหม่ๆ เช่นบริการการเงินการธนาคาร การบริโภคอย่างยั่งยืน หรือความปลอดภัยของข้อมูลด้วย   ผู้หญิงมีบทบาทสำคัญในการออกแบบและตัดสินใจรูปแบบการบริโภค และการดำเนินชีวิตของสมาชิกในครอบครัว และธรรมชาติของผู้หญิงในฐานะผู้ให้การดูแลและสัญชาติญาณในการเอาใจใส่ผู้อื่น ทำให้ผู้หญิงมีส่วนทำให้เกิดสภาพแวดล้อมที่มั่นคง ปลอดภัย และยั่งยืน เพื่อตนเองและครอบครัว   ผู้หญิงกำลังทำลายกำแพงและผลักดันให้รัฐบาลยกระดับความสำคัญของสตรี พวกเธอไม่ใช่ช้างเท้าหลังอีกต่อไป ผู้หญิงมีความสนใจสิทธิและความยั่งยืน และประเด็นเล่านี้จะเป็นสิ่งที่ควบคุมทิศทางความเคลื่อนไหวในอนาคต   ต่อไปนี้ข้าวของเครื่องใช้ในบ้านจะต้องสมบูรณ์(ไม่ใช่สินค้ามีตำหนิ) คุณภาพดี สามารถนำมาใช้ซ้ำหรือรีไซเคิลได้ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และคุ้มค่าเงิน เป็นต้น   ผู้หญิงคือผู้ริเริ่มเศรษฐกิจใหม่ และการสร้างความเข้มแข็งให้ผู้หญิง จะทำให้พวกเธอสามารถใช้สิทธิ และตัดสินใจด้วยตนเองได้  ผู้บริโภคต้องตระหนักว่าทุกๆ การกระทำของตนเองมีผลต่อเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และการแข่งขันในตลาด  ดังนั้นจึงต้องมีความรู้เพียงพอที่จะแยกแยะว่าเมื่อไรตนเองกำลังถูกเอาเปรียบ   และที่สำคัญ ประเด็นที่ผู้หญิงใส่ใจ เช่นการใช้จ่ายอย่างคุ้มค่า สิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัว และอาหารที่เด็กๆ บริโภค ได้กลายเป็นประเด็นระดับโลกที่องค์กรสากลอย่าง องค์การอนามัยโลก และแผนงานสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ ก็ให้ความสนใจเช่นกัน   อุปสรรคที่ใหญ่ที่สุดของการทำงานคุ้มครองผู้บริโภคในอาเซียน อุปสรรคที่ใหญ่ที่สุดคือผู้บริโภคในอาเซียนขาดความกระตือรือร้น และปล่อยให้ตัวเองถูกบริษัทใหญ่ๆเอาเปรียบ พวกเขาไม่มีความมั่นใจว่าจะสามารถเปลี่ยนแปลงกลไกตลาดได้ ประกอบกับภาครัฐก็ขาดความเด็ดขาดในการบังคับใช้กฎหมายด้วย ถ้าเทียบกันแล้วในภูมิภาคนี้ สิงคโปร์ถือว่าเป็นอันดับหนึ่งในด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ด้วยกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคที่ก้าวหน้าที่สุดและการบังคับใช้ได้ดีที่สุดด้วย เช่น สิงคโปร์มีกฎหมายเฉพาะสำหรับผลิตภัณฑ์ที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐาน/ความคาดหวังของผู้บริโภค (Lemon Law) และมีศาลพิจารณาคดีสำหรับนักท่องเที่ยวโดยเฉพาะ เป็นต้น   ประเทศไทยน่าจะมาเป็นอันดับสอง ด้วยการคุ้มครองผู้บริโภคที่อยู่ภายใต้สำนักนายกรัฐมนตรี แสดงว่าประเทศไทยให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก และองค์กรผู้บริโภคในประเทศไทยก็มีความตื่นตัว และมีการเคลื่อนไหวหลายอย่างเพื่อปัญหาผู้บริโภค   สื่อใหม่ในสังคมออนไลน์กับการคุ้มครองผู้บริโภค มันมีทั้งประโยชน์และโทษ อยู่ที่วิธีการใช้  เราสามารถใช้มันเพื่อเผยแพร่ประเด็นผู้บริโภคได้อย่างกว้างขวางโดยใช้เวลาไม่มาก  ขณะเดียวกันผู้ประกอบการที่ไม่รับผิดชอบหรือไม่มีจริยธรรม ก็สามารถใช้โซเชียลมีเดียในการเอาเปรียบผู้บริโภคได้เช่นกัน ผู้บริโภคยุคนี้จึงต้องตื่นตัวตลอดเวลา   *“ดาโต๊ะ” คือตำแหน่งที่รัฐบาลมาเลเซียมอบให้แก่บุคคลที่ทำประโยชน์ให้สังคม   อินดรานีเรียนจบทางด้านกฎหมาย เธอบอกว่าอยากทำงานที่เป็นประโยชน์กับสังคม เธอจึงเลือกทำงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ในปีพ.ศ. 2542 เมื่อเธอยังทำงานอยู่ที่สหพันธ์องค์กรผู้บริโภคแห่งมาเลเซีย Federation of Malaysian Consumers Associations (FOMCA) อินดรานีและทีมประสบความสำเร็จในการผลักดันกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค ในปี  พ.ศ. 2543 และ พ.ศ. 2550 เธอเป็นผู้แทนขององค์กรผู้บริโภคแห่งมาเลเซียในคณะกรรมการของสหพันธ์ผู้บริโภคสากล (Consumers International) และปัจจุบันเธอทำงานเคลื่อนไหวเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคในระดับภูมิภาคในตำแหน่งผู้อำนวยการสหพันธ์ผู้บริโภคสากล สาขาเอเชียแปซิฟิกและตะวันออกกลาง ขณะนี้อินดรานีเป็นผู้ประสานงานการทำข้อเสนอขององค์กรผู้บริโภคจากประเทศต่างๆ ต่อสหประชาชาติ ซึ่งกำลังปรับปรุงแนวทางการคุ้มครองผู้บริโภคในศตวรรษที่ 21

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 143 ร่ายมนต์ “รักษ์” แม่กลอง

  “ค่าหัวผม 1 ล้านบาท ตอนโรงทอผ้ามาสร้าง เขาให้เลือกว่าจะเอาอะไร ‘เงินหรือลูกปืน’” ศิริวัฒน์ คันทารส ผู้ประสานงานประชาคมคนรักแม่กลอง เอ่ยถึงค่าหัวของเขาเมื่อครั้งเขาและทีมลงให้ข้อมูลกับชาวบ้านทั้งข้อมูลชุมชน  สิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศ เมื่อตอนที่โรงงานทอผ้าจะมาสร้างในพื้นที่กับชาวบ้าน ฉลาดซื้อฉบับนี้พาคุณไปคุยกับ “กลุ่มประชาคมคนรักแม่กลอง” ว่า “ร่ายมนต์แบบไหน” คนแม่กลองถึงรักกันหนักหนา วิถีคนแม่กลองเป็นอย่างไร แม่กลองถือเป็นเมืองสวนกระแสโลก ถึงแม้จะแวดล้อมด้วยการเปลี่ยนแปลงต่างๆ  แต่วิถีชีวิตผู้คนยังคงอยู่กับวิถีเดิมๆ และเป็นเมืองที่อยู่กับทรัพยากร  สิ่งแวดล้อมเพราะทรัพยากรเป็นตัวกำหนดวิถีชีวิต และกำหนดทิศทางการพัฒนาของเมือง  คนยังอยู่น้ำ  ลม ทรัพยากรและภูมิปัญญา เป็นสังคมเกษตรกับสังคมประมง ผมเชื่ออย่างหนึ่งว่าถ้ายังทำอาชีพยังทำเกษตรกับประมงเป็นหลัก การดูแลรักษาธรรมชาติก็ไม่ต้องพูดถึงละเพราะเขายังหาอยู่ หากินกับสิ่งเหล่านี้  หาอยู่หากินเองได้คนจึงทะนงตัว และมีความเป็นตัวของตัวเองสูง เพราะว่าไม่ต้องพึ่งใคร และมีวัฒนธรรมรวมกลุ่มน้อยมาก มีศักดิ์ศรีอยู่ในตัวสูง   เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงจริงๆ ก็ในปี พ.ศ. 2518 - 2521 ที่เปลี่ยนเพราะนโยบายรัฐ จุดเปลี่ยนจุดแรกก็คือการสร้างเขื่อนศรีนครินทร์ กับเขื่อนวชิราลงกรณ์ที่ส่งผลทำให้คนอพยพออกนอกพื้นที่  ส่งผลต่อระบบนิเวศ สร้างเขื่อนศรีนครินทร์ส่งผลอย่างไรกับชาวบ้าน พอน้ำจืดถูกกักก็ทำให้น้ำเค็มดันขึ้น ทำให้ต้นไม้ในสวนต่างๆ  ตาย พืชผลต่างๆ ตายหมด บางคนยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเกิดอะไรขึ้น บางคนคิดว่าเป็นภัยแล้ง คนในพื้นที่ก็อพยพย้าย  แล้วคนนอกพื้นที่ก็เริ่มเข้าซื้อที่ดินทำนากุ้ง  คือพอน้ำทะเลหนุนพื้นที่สวนจะแย่ แต่พื้นที่ทางทะเลจะดี ก็เลยกลายเป็นยุคทองของประมงชายฝั่ง แล้วก็มาเจอนโยบายเลี้ยงกุ้งกุลาดำ ถือเป็นโอกาสของคนแม่กลองเป็นเศรษฐีชั่วข้ามคืน คนออกรถใหม่เป็นว่าเล่น เพราะราคากุ้งดี แต่ทำสัก 3 ปี ยุคทองก็หมด สักปี 2530 ที่ดินก็เริ่มเปลี่ยนมือไปสู่ผู้ประกอบการทั้งซีพี  ปตท. กระทิงแดง แล้วก็พวกพ่อค้าที่ดินที่กว้านซื้อเป็นร้อยๆ ไร่ ก็เลยมีคำๆ หนึ่งว่า “กุ้งกินโฉนด” ตอนแรกก็กินอาหารเม็ด แต่หลังๆ เริ่มกินโฉนด ชาวบ้านก็ยังไม่รู้สึกอะไร  แต่เราสูญเสียป่าชายเลนไปเยอะมาก ตอนนี้เราเหลือเพียง 100 เมตรจากชายฝั่ง  สักปี 2534 ก็เริ่มมีการรวมตัวของชาวบ้านที่คลองโคลนในการอนุรักษ์ป่าชายเลนเพราะระบบนิเวศหาย ทรัพยากรมันเปลี่ยน  และไม่อยากให้ผลกระทบจากการพัฒนาของรัฐสร้างความลำบากยากแค้นแก่ชาวบ้านชาวเมืองที่ไม่เคยรับรู้ว่าจะมีผลกระทบเช่นนี้เกิดขึ้นอีก ปัญหาอะไรที่ทำให้เห็นพลังคนแม่กลอง ทั้งที่คนแม่กลองไม่ชอบการรวมตัว รวมหมู่ วิกฤตโรงไฟฟ้าราชบุรีเป็นจุดเริ่ม ซึ่งการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) มีแนวคิดขนส่งน้ำมันเตาผ่านลำน้ำแม่กลอง ไปยังโรงไฟฟ้าที่จังหวัดราชบุรี จึงมีการจับกลุ่มวิพากษ์วิจารณ์ถึงผลกระทบต่อชาวบ้านทั้งสองฝั่งปากน้ำแม่กลองที่อาจเกิดขึ้น จากวิกฤตนี้  ผู้คนจึงรวมกันได้มากขึ้น องค์กรต่างๆ เช่น สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา [LDI] ได้เข้ามาร่วมทำงาน  ตามมาด้วยการจัดประชาพิจารณ์ของสภาพัฒน์ฯ  ในเวทีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 ช่วงปี พ.ศ.2542 (ค.ศ.1999) และถือว่าเป็นการจัดตั้งกลุ่มประชาคมรักแม่กลองขึ้นอย่างจริงจังเมื่อวันที่ 9/9/99 เพื่อดูแลและ ติดตามผลจากการพัฒนาของรัฐและเอกชนที่มีผลกระทบต่อผู้คนและสังคมท้องถิ่นในจังหวัดสมุทรสงคราม  แล้วก็มาต่อด้วยโรงฆ่าหมู เป็นการสร้างโรงฆ่าสัตว์ขนาดใหญ่ 2,000 ตัวต่อวัน บริเวณจุดเชื่อมต่อระหว่างน้ำเค็มกับน้ำกร่อย ซึ่งก็จะเกิดผลกระทบในวงกว้างไปในทะเล ประชาคมฯ ทำงานกับชาวบ้านอย่างไร การทำงานระยะแรกของกลุ่มประชาคมฯ ใช้บริเวณศาลกรมหลวงชุมพรฯ เป็นสถานที่พบปะพูดคุย มี หอการค้าจังหวัดสมุทรสงครามเป็นแนวร่วมสำคัญ เราเริ่มพูดคุยชวนคน ทำข้อมูลความรู้  เสนอข้อมูลว่าความเป็นอยู่ในชีวิตเป็นอย่างไร  ระบบนิเวศเป็นอย่างไร ถ้าได้รับกระทบจะเกิดอะไรขึ้น ก็ได้มวลชนจากพื้นที่ชายคลองเยอะทั้งยี่สาน ปลายโพงพาง บ้านแพรก หนามแดง บางกระบูน การให้ข้อมูลกับคนในพื้นที่มีความสำคัญมาก เพราะเราเชื่อว่าคนผูกพันกับสิ่งแวดล้อม พี่ๆ ในประชาคมลงทำข้อมูลกับชาวบ้าน เก็บข้อมูลต่างๆ มาร้อยเรียงเป็นข้อมูลสะท้อนให้เห็นว่าบ้านที่เราอยู่เป็นอย่างไร มีลักษณะอย่างไร แล้วถ้ามีโรงงานเข้ามาจะส่งผลอย่างไร แล้วก็นำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ในการทำงานสร้างความเข้าใจให้กับชาวบ้าน  การต่อสู้เรื่องโรงฆ่าสัตว์ครั้งนั้นก็เลยได้ประกาศจังหวัดเรื่องการกำหนดประเภทโรงงานอุตสาหกรรมในจังหวัดสมุทรสงคราม ว่าต้องเป็นโรงงานที่ไม่กระทบกับสิ่งแวดล้อม ไม่กระทบท้องถิ่น ประมาณปี 2548 หลังจากนั้นก็เป็นเรื่องเส้นทางลัดสู่ภาคใต้จะได้มวลชนแถบชายฝั่งทะเล  คลังแก๊ส โรงไฟฟ้าถ่านหินที่ชายทะเลบางแก้ว แล้วก็เริ่มขยับเป็นเครือข่ายจังหวัด หัวใจของการทำงานคือ หัวใจสำคัญในการผลักดันกระบวนการทำงานร่วมกัน คือ เน้นการใช้ฐานข้อมูลพื้นฐานที่เป็นภูมิปัญญา ที่สั่งสมมาจากรากเหง้าของคนแม่กลองผสมผสานกับความรู้ในระดับครัวเรือน ทำให้มี ข้อเท็จจริงเป็นเครื่องมือในการผลักดันการแก้ไขปัญหา ผนวกกับความรักแบบจริงใจต่อท้องถิ่นที่เป็น บ้านเกิดเมืองนอนมากกว่าการเน้นรักษาเพียงอย่างเดียวจึงทำให้มีทิศทางหรือเป้าหมายการดำเนินงานเดียวกัน มีการทำข้อมูลทางทะเล ข้อมูลน้ำ ข้อมูลลม เพราะเราเชื่อว่าแนวคิดหลักของประชาคมคนรักแม่กลองคือไม่ได้ทำหน้าที่ไปบอกชาวบ้านว่าทำอะไรไม่ดี หรือจะเกิดผลกระทบอย่างไร แต่เรามีหน้าที่ไปทำให้เห็นว่า ‘ชีวิตมันเป็นแบบนี้  โครงการต่างๆ ของโรงงานมันเป็นแบบนี้ ก็ให้ชาวบ้านช่วยกันตัดสินใจ ว่าเป็นอย่างไร’ เคยถามน้องๆ ที่ไปเจอตอนร่วมต่อต้านโรงไฟฟ้า ว่าไม่อยากมีเมืองที่เจริญเหรอ น้องตอบกลับมาว่าถ้าอยากเห็นความเจริญก็ไปเที่ยวกรุงเทพฯ ได้ ห้างสรรพสินค้าก็ไปเดินกรุงเทพฯ  อยากเก็บเมืองนี้ไว้อยู่  เก็บเมืองนี้ไว้ตาย อยากให้เมืองนี้อากาศดี น้องเขาตอบแบบนี้   ถ้าจะเห็นภาพชัดก็คือการลุกขึ้นสู้โรงไฟฟ้าของคนแม่กลอง มีทั้งชาวบ้าน นักเรียน เยาวชน พระ มีการทำหนังสือ “คนแม่กลองไม่เอาถ่าน” ระดมทุนเพื่อสู้โรงไฟฟ้า  มีคนช่วยทำเว็บไซต์  หาข้อมูลมาสู้กับโรงไฟฟ้า  ชาวบ้านสามารถพูดได้ ให้ข้อมูลได้ทุกคน  เพราะเขารู้ เขาเข้าใจว่าอะไรจะเกิดขึ้นหลังจากมีโรงไฟฟ้า  ถึงที่สุดแล้วชาวบ้านก็จะเข้าใจได้และรวมกลุ่มกันสู้เพื่อบ้านของตัวเอง ปัญหาที่คนแม่กลองรับมืออยู่เปลี่ยนไปจากเดิมไหม ความเปลี่ยนแปลงที่เข้ามาตอนนี้ไม่ใช่มาแบบ โครงการใหญ่ ๆ แต่จะเข้ามาแบบเล็กๆ อย่างโรงแรมขนาดเล็ก อุตสาหกรรมท่องเที่ยว ไม่เหมือนโครงการใหญ่ของรัฐที่เหมือนยักษ์ที่เราดูออกว่า  เราต้องถูกกินแน่ๆ จะมาแบบเทพบุตรที่นำผลประโยชน์ต่างๆ มาให้ชาวบ้าน  ทำให้ชาวบ้านมองผลประโยชน์ตัวเองเป็นตัวตั้ง ตัวเองได้ประโยชน์ ชุมชนได้ประโยชน์ อย่าง “ชูชัยบุรี ศรีอัมพวา” ชูชัยบอกว่าจะให้ไปขายของ อ่ะได้ประโยชน์   โรงงานเหล็กมาให้เงิน 2,000 บาท อ่ะฉันได้ประโยชน์  โรงงานทอผ้ามาบอกว่าจะดูแลรับคนเข้าทำงาน อ่ะฉันได้ประโยชน์  ชุมชนได้ประโยชน์ก็อย่างเช่น โรงเรียนได้เงิน วัดได้เงิน แต่ส่วนที่เป็นประโยชน์ร่วมกับที่อื่นจะไม่สนใจ  ค่อยๆ ถูกแยกออกไป ภาพก็จะค่อยๆ เปลี่ยนไปจากภาพกว้างที่มองเห็นประโยชน์ร่วมกัน  ถูกทำให้มองแยกเป็นส่วนย่อย ทางออกกับปัญหารูปแบบใหม่นี้ควรจะทำอย่างไร ผมคิดว่าเราต้องทำข้อมูลให้เยอะขึ้นมากกว่าความคิดเห็น และสร้างความเข้าใจให้กับคนให้มากกว่านี้   พยายามทำงานแบบเป็นภาคีเครือข่าย โดยไม่จำเป็นต้องมีผู้นำเดี่ยวตลอดเวลา และหลีกเลี่ยงปัญหาความขัดแย้งส่วนบุคคลไปให้มากที่สุด แต่พยายามให้ข้อมูลเชิงข้อเท็จจริง เพื่อให้สามารถใช้ในการประสานงานหรือรู้สำนึกในการทำงานเพื่อแผ่นดินเกิด การเชื่อมโยงอย่างเป็นระบบ อยู่บนพื้นฐานความเป็นจริงของชีวิต และทำงานแบบมีภาคีเครือข่าย เพราะชุมชนไม่สามารถจัดการปัญหาได้เพียงลำพังแต่จะอาศัยพลังทางสังคมในการประสานความร่วมมือขับเคลื่อนร่วมกันปัญหาทุกอย่างก็จะผ่านไปได้ครับ   ถ้าจะเห็นภาพชัดก็คือการลุกขึ้นสู้โรงไฟฟ้าของคนแม่กลอง มีทั้งชาวบ้าน นักเรียน เยาวชน พระ มีการทำหนังสือ “คนแม่กลองไม่เอาถ่าน” ระดมทุนเพื่อสู้โรงไฟฟ้า  มีคนช่วยทำเว็บไซต์  หาข้อมูลมาสู้กับโรงไฟฟ้า  ชาวบ้านสามารถพูดได้ ให้ข้อมูลได้ทุกคน  เพราะเขารู้ เขาเข้าใจว่าอะไรจะเกิดขึ้นหลังจากมีโรงไฟฟ้า  ถึงที่สุดแล้วชาวบ้านก็จะเข้าใจได้และรวมกลุ่มกันสู้เพื่อบ้านของตัวเอง

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 142 ผ่าตัดครั้งนี้พี่ต้องหาย

“พี่คิดอย่างเดียวก็คือ ถ้าได้ผ่าตัดอีกครั้งพี่ต้องหายแน่ๆ  พี่อยากหาย เพราะมันลำบากมาก ตัวและตาเหลืองมาก เวลาเดินไปหาหมอในโรงพยาบาล ทุกสายตามองพี่อย่างรังเกียจ  เขามองราวกับว่าพี่เป็นโรคร้าย...”   นิตยา ผาแดง เบือนหน้าหนีจากคู่สนทนา  เพื่อปาดน้ำในตาเมื่อเอ่ยถึงแผลในใจ ที่บังเอิญได้มาพร้อมกับการเข้ารับการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดี เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2554  ที่โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง ตามสิทธิประกันสังคมสุขภาพถ้วนหน้า ทุกคนมีสิทธิฉบับนี้พาคุณไปพูดคุยกับ นิตยา  ผาแดง ผู้ใช้สิทธิการรักษาตามสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า แล้วเกิดปัญหา ไปดูวิธีการแก้ปัญหาของเธอกันค่ะ   ก่อนหน้านั้นนิตยามีอาการปวดบริเวณใต้ลิ้นปี่ แพทย์แผนกศัลยกรรมตรวจอาการพบว่ามีนิ่วอยู่ในถุงน้ำดี 3 เม็ด  แพทย์จึงผ่าตัดออกและให้พักรักษาที่โรงพยาบาล 6 วัน  ครั้นกลับไปพักที่บ้านได้ 1 อาทิตย์ นิตยาเกิดอาการตัวเหลือง  ตาเหลือง ไม่มีแรง  เธอจึงกลับไปหาหมออีกครั้ง แพทย์ได้เอ็กซเรย์ด้วยคอมพิวเตอร์เพื่อเช็คว่ามีนิ่วไปอุดท่อถุงน้ำดีอีกหรือไม่  ซึ่งอาจทำให้เลือดไม่หมุนเวียนและแจ้งว่าหากพบนิ่วจะส่งตัวเธอไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลศิริราช  แต่เมื่อตรวจเอ็กซเรย์แล้วแพทย์เจ้าของไข้ไม่ได้แจ้งผลให้เธอทราบ  จนเวลาผ่านไป 10 วัน อาการของเธอก็ทรุดลงเรื่อยๆ “การกลับเข้าไปหาหมอครั้งนี้พอหมอเจ้าของไข้ตรวจล่าสุดแล้วก็หายตัวไปเลย  ให้หมอท่านอื่นเข้ามาดูแลแทน  เราก็บอกกับหมอที่ดูแลคนใหม่ว่าหมอคนเก่าจะส่งตัวเราไปโรงพยาบาลศิริราช หมอขอเช็ครายละเอียดแล้วแจ้งว่าจะส่งเราไปโรงพยาบาลศิริราช” แพทย์โรงพยาบาลศิริราชได้ทำการตรวจสอบอาการและจะเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์อีกครั้ง เพราะผลการเอ็กซเรย์จากโรงพยาบาลแรกที่ผ่าตัดให้ไม่ชัดเจน แต่เธอต้องเสียค่าใช้จ่ายเอง  โรงพยาบาลที่ส่งเธอมา จึงแจ้งให้เธอไปทำเรื่องเอ็กซเรย์ที่โรงพยาบาลพญาไท 3 ซึ่งเป็นโรงพยาบาลในเครือเดียวกัน แล้วนำผลเอ็กซเรย์ ไปให้โรงพยาบาลศิริราช ทำการรักษาต่อไป  ซึ่งการส่งไปส่งมานี้ใช้เวลาในการเดินเรื่องกว่า 2 เดือน ในขณะที่อาการของเธอก็ไม่ดีขึ้น ไปขอเวชระเบียนยากไหม “พี่ทำเรื่องขอเวชระเบียนจากโรงพยาบาลแรก ก็ได้เฉพาะส่วนที่เข้าโรงพยาบาลไปครั้งที่ 2 แล้ว ก่อนหน้านั้นไม่มี ซึ่งทางโรงพยาบาลบอกว่า ถ้าหากหมอที่โรงพยาบาลศิริราชต้องการก็ให้ทำหนังสือไปขอเอง ตอนไปขอเวชระเบียน  ส่วนตัวมองว่ามันยุ่งยากนะ เราต้องทำเรื่องขอเองและก็ถูกถามว่า ‘จะเอาไปทำอะไร’ พอได้มาแล้วก็นำไปส่งให้โรงพยาบาลศิริราช  ซึ่งมันกลับไป กลับมา ถ้าเป็นไปได้น่าจะทำเรื่องส่งมาครั้งเดียวเลย” วันที่ 6 มกราคม 2555  เธอจึงเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลศิริราชและแพทย์ได้ผ่าตัดให้เธออีกครั้ง โดยต้องตัดไส้มาเย็บต่อกับท่อน้ำดีให้กับเธอ  เพราะการผ่าตัดครั้งแรกของโรงพยาบาลเอกชนได้ตัดสายท่อน้ำดีสั้นเกินไป ทำให้เวลาเย็บต่อกลับคืนเกิดการตีบตันของทางเดินเลือด  ส่งผลทำให้นิตยาตัวเหลือง  ตาเหลือง ไม่มีแรง น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว   ตอนนั้นคิดอะไรอยู่ “คิดเยอะค่ะ แต่พี่คิดแล้วมีหวังก็คือ ถ้าได้ผ่าตัดอีกครั้งพี่ต้องหายแน่ๆ  พี่อยากหาก มันลำบากมาก ตัวและตาเหลืองมาก เวลาเดินไปหาหมอในโรงพยาบาล ทุกสายตามองพี่อย่างรังเกียจ  เขามองราวกับว่า...พี่เป็นโรคร้าย มันเหลืองมากๆ น้ำหนักลดลงฮวบๆ จาก 55 กก. เหลือ 44 กก. ตัวที่เหลืองก็ดำขึ้นและเริ่มคันตามเนื้อตัว มันน่าเกลียดมาก ผอมก็ผอม เสื้อผ้าที่เคยใส่ได้ก็ใส่ไม่ได้เลย การงานก็ไม่มีแรงทำ  พี่ขายอาหาร พอคนมาเห็นสภาพของพี่เป็นแบบนี้ก็ไม่มีใครอยากจะซื้อ  ลูกชายกำลังเรียนอยู่ ปวช.ปี 3 และกำลังฝึกงานอยู่ ต้องใช้เงินพอสมควร ลูกออกปากว่า ‘จะหยุดเรียน’ ได้ยินแล้วหัวใจมันจะสลาย  เราก็บอกลูกไปว่าอย่าออกมานะลูก เดี๋ยวแม่ก็หายและดีขึ้น ตอนนั้นมาแย่มาก เราเลิกกับสามี และก็มีเรานี่ละเป็นเสาหลักของบ้าน แต่ก็ยังโชคดีที่มีน้องสาวช่วยดูแล ไปสมัครบัตรสินเชื่อแล้วกดเงินมาหมุนเพื่อใช้ชีวิตก่อน  ตอนนั้นไม่คิดอะไรอื่นนอกจาก... ผ่าตัดครั้งนี้พี่ต้องหาย” ปัจจุบันนิตยา ได้รับการเยียวยาจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งตามเกณฑ์สมควรได้รับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นในกรณีที่ผู้รับบริการได้รับความเสียหายจากการรักษาพยาบาล เป็นมาตรการที่ดำเนินการตามบทบัญญัติของมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 จำนวน 50,000 บาท  เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2555 หลังยื่นเรื่องเข้าร้องเรียนต่อสำนักงานหลักประกันสุขภาพเขตบางขุนเทียนเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2555 และทำหนังสือถึงโรงพยาบาลเอกชนที่ทำการผ่าตัดในครั้งแรก ก็เรียกค่าเสียหายจากโรงพยาบาลที่ทำการรักษาเป็นเงิน 250,000 บาท  และวันที่ 8 ตุลาคม 2555 นิตยาได้รับค่าสินไหมทดแทนจำนวน 240,000 บาท   รู้เรื่องการเรียกร้องสิทธิได้อย่างไร “ตอนนั้นเราคิดอย่างเดียวก็คือ หมอช่วยทีเถอะทำไงก็ได้ให้เราหาย  ขอให้เราหายก็พอ เรื่องการเรียกร้องไม่เคยรู้เรื่องเลย  พ่อของน้อง(ลูกชาย) เขามาแนะนำว่าเราสามารถเรียกร้องสิทธิได้นะ ก็ให้เราทำหนังสือร้องเรียนไปที่ศูนย์หลักประกันสุขภาพฯ ไม่คิดเหมือนกันว่า ‘จดหมายฉบับเดียวนี้จะส่งผลกับเราถึงขนาดนี้’ ใจจริงของเราก็ไม่ได้อยากจะเรียกร้องอะไรเลย  เราหวังเพียงอยากจะหาย และไปใช้ชีวิตของเราปกติเท่านั้นเอง ถ้าหมอมาคุยกัน  มาให้ข้อมูลว่าเกิดอะไรขึ้น เราก็จะหาทางออกไปด้วยกัน  ส่วนหนึ่งเราต้องการรู้ว่าเราเป็นอะไร  จะต้องรักษาด้วยวิธีไหน แต่นี่หมอหายไปเลย พี่ว่าต้องคุยกัน”   ตอนนั้นไม่คิดว่าสามารถรับการเยียวยาได้ “ไม่เคยรู้เลยว่าจะเรียกร้องหรือชดเชยเยียวยาได้  ทางโรงพยาบาลก็ไม่ได้ให้ข้อมูลอะไร  แต่การเยียวยาส่วนนี้ก็ถือว่าช่วยเราได้เยอะ  เพราะเราทำงานไม่ได้เลยช่วงที่เราป่วย เป็นหนี้อีกต่างหาก  อยากขอบคุณทั้ง สปสช.และมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ที่ให้ความช่วยเหลือ   ครั้งนี้ได้บทเรียนอย่างไรบ้าง “ส่วนหนึ่งเราก็อยากแนะนำ  อยากบอกต่อเรื่องราวต่างๆ ให้คนได้รู้ว่าเรามีสิทธิอะไรผ่านประสบการณ์ ผ่านเรื่องราวของเรา  แต่อีกใจก็กลัวว่าพอเราแนะนำออกไปแบบนี้แล้ว เราจะถูกฟ้องกลับหรือเปล่านะสิ (หัวเราะ)... แต่ใครมาถามก็คงจะบอกต่อแนะนำไปค่ะ  เบอร์โทรศัพท์ก็มีแล้ว ต้องบอกต่อแน่นอน  ตอนนี้หลังการผ่าตัดเสร็จเรียบร้อย อาการดีขึ้นเรื่อยๆ  หลังการจ่ายเงินเยียวยาแล้ว ผอ.โรงพยาบาลเอกชนที่ผ่าตัดให้เรา ท่านก็ดี ท่านก็โทรมาสอบถามอาการต่างๆ เอาใจใส่เรา ซึ่งก็ถือว่าดีค่ะ ถึงที่สุดแล้วผู้ป่วยทุกคนก็ต้องการการเอาใจใส่ ตอนนี้สิทธิการรักษาก็ยังอยู่ที่โรงพยาบาลนี้นะคะ  ไม่คิดเปลี่ยน เพราะถ้าเปลี่ยนโรงพยาบาลจะต้องเดินทางไกลมากขึ้น  เราก็คิดว่าอยู่นี่ล่ะ”   ตอนนี้นิตยากลับมาเปิดร้านขายอาหารประเภทยำได้ตามปกติแล้ว ด้วยการเริ่มต้นการทำงานตั้งแต่ 8 โมงเช้า ไปตลาดซื้อของ กลับมาเตรียมของ จัดร้าน ขายของจนถึง 4 -5 ทุ่มเช่นเดิม ด้วยเงินลงทุนวันละ 2,000 บาท ได้กำไรหักต้นทุนแล้วเหลือ 1,000 บาท แต่หากวันไหนไม่ได้ขายรายได้ก็คงไม่ต้องถามถึง อีกบทเรียนจากประสบการณ์จริงของผู้บริโภคที่เรียนรู้เรื่องสิทธิผ่านประสบการณ์ตรง  ฉลาดซื้อหวังเพียงว่าการนำเสนอเรื่องราวเหล่านี้  ส่วนหนึ่งจะทำให้ผู้บริโภคท่านอื่นได้ทราบและรู้สิทธิของตัวเอง  และลุกขึ้นมาใช้สิทธิได้ทุกคน

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 141 ตัวชี้วัดของไทย ขอเป็นโอกาสเถอะครับ

...ถ้าเรามองในแง่ประเด็นที่กระทบอนาคตจริงๆ ถ้าถามผมสิ่งที่สำคัญที่สุดมากกว่าการว่างงานคือเรื่องของว่าเรากำลังให้ โอกาสคนหรือเปล่า ตอนที่จะดูว่าเด็กที่จบมาใหม่จะเป็นอนาคตของประเทศ มันมีโอกาสหรือเปล่า มันก็ต้องไล่ไปในหลายมิติ... ฉบับนี้ฉลาดซื้อ พาคุณไปคุยกับ ดร.นิตินัย ศิริสมรรถการ กรรมการและเลขานุการผู้อำนวยการสถาบันอนาคตไทยศึกษา (Thailand Future Foundation) ซึ่งสถาบันฯ แห่งนี้ ทำหน้าที่นำเสนอข้อคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบายที่มีนัยสำคัญต่อภาคธุรกิจ สังคมโดยรวม ทำอย่างไรให้ประชาชน เอกชน รัฐ สื่อมวลชน ใส่ใจเรื่องระยะยาวมากกว่าเรื่องเฉพาะหน้าและเรื่องระยะสั้น สถาบันฯแห่งนี้พยายามหาวิธีทำเรื่องอนาคตเรื่องระยะยาวให้จับต้องได้ โดยเป็นรูปธรรมที่วัดได้ แปลงเป็นตัวเลขได้ แปลงเป็น KPI (Key Performance Indicators) หรือตัวชี้วัดได้  คราวนี้เรามาเรียนรู้เรื่องเศรษฐศาสตร์ใกล้ตัวกันค่ะ   การที่ผู้บริโภครับรู้เรื่อง KPI จะนำพาประเทศไทยไปสู่โลกอนาคตที่ดีได้อย่างไร บ้านเมืองเราวุ่นวายมาก 3- 4 ปีที่ผ่านมา ถ้าพูดแบบภาษาชาวบ้านก็คือ คนเราจำความได้ตั้งแต่อายุ 11 ขวบ หมายความว่าเด็กที่จะอายุ 15 ไม่เคยเห็นบ้านเมืองสงบเหมือนรุ่นเราๆ ที่เคยเห็น พอนึกแล้วตกใจ เพราะยาวไปถึงรากฐานของประเทศด้วย เมื่อก่อนอ่านหนังสือพิมพ์มีการวิจารณ์กัน ก็ฟังเหตุผล   ใครพูด  แต่ปัจจุบันไม่ใช่กลายเป็นว่า “ผมพูดและผมเป็นคนดีในหมู่พวกคุณ  คนอื่นที่พูดไม่ใช่พวกคนดี” ผมว่ามันยิ่งกว่าใครพูดนะ คือ ใครที่ไม่ได้ออกจากปากพวกเราไม่ใช่คนดี เห็นไหม หรือรัฐบาลมีการปรับเปลี่ยนกันอยู่ตลอดเวลา  มีการเสนอนโยบายไว้ เริ่มทำงบประมาณ อ้าวหมดวาระเปลี่ยนรัฐบาลกันอีก  จะเห็นว่ามันไม่มีความต่อเนื่องในการบริหารงานอย่างปี  2552 มีการเปลี่ยนการบริหารถึง 3 รัฐบาล และเปลี่ยนรัฐมนตรีอีก 9 ท่าน ขาดความต่อเนื่องในการดำเนินนโยบาย ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ผมไม่ได้วิจารณ์ว่านโยบายไหนดี ใครหลายคนๆ อาจมองว่าทำไมต้องไปดูเรื่อง KPI อะไรให้มันยุ่งยาก ก็เพราะว่าบ้านเราหยุดอยู่กับที่มา 7 – 8 ปีแล้ว และมองอะไรเพียงสั้นๆ  ชอบดูกันนักเรื่อง GDP (Gross Domestic Product) ก็พูดกันแต่เรื่อง GDP   จริงๆ คิดว่าผู้บริโภคไม่รู้หรอกว่า GDP ไม่ได้มีความหมายกับเรา มีความหมายไหม ผมว่าเราอ่านหนังสือพิมพ์กันจนหล่อหลอมให้รู้สึกว่า GDP เยอะมันคงดี  ซึ่ง GDP ก็คือ กำไร รายได้ต่างๆ ของผู้ประกอบการ มาดูว่าเรามีเค้กอยู่ชิ้นหนึ่ง เราจะแบ่งไว้กินวันนี้หรือเก็บไว้กินวันหน้า  เหมือนเงินน่ะ เรามีอยู่หนึ่งร้อยบาท  เราจะกินหรือเราจะออม   GDP ก็คือรายได้ ความฟู่ฟ่าของเศรษฐีในวันนี้  คำถามก็คือว่า ถ้าเค้กเราชิ้นใหญ่แล้วแบ่ง 40 เปอร์เซ็นต์ออม 60 เปอร์เซ็นต์มากินวันนี้มีความสุขมาก เพราะมันเยอะ  แล้วก็มาถามต่อว่าเค้กเรามันชิ้นใหญ่หรือชิ้นเล็ก แล้วเราแบ่ง 99 เปอร์เซ็นต์ กินวันนี้ แหมวันนี้มันช่างดูดีเหลือเกิน  แต่ปรากฏว่าในกระเป๋าที่ออมเหลือแค่ 1 เปอร์เซ็นต์ อันนี้ไม่ดีแน่ ผมพยายามโยงจากหลายส่วนทั้งการเมือง เศรษฐกิจ บางส่วนมันทำให้เหมือนว่าเศรษฐกิจไทยเราไปได้ดี  ปันผลของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ก็เยอะเมื่อเทียบกับภูมิภาค  แต่การลงทุนเราน้อย  นั่นหมายความว่าเงิน 100 บาท เราเอามากินวันนี้หมด โดยที่เก็บไว้ลงทุนน้อย  ต่างชาติมาลงทุนได้กำไรแล้วก็ไม่ลงทุนต่อ ได้กำไรเต็มที่แล้วก็กลับบ้าน   แล้วบ้านเราจะเหลืออะไรจริงไหม ถ้าคนเรามันมองสั้นหมดแล้ว KPI สั้นหมด GDP มันก็ไปได้เรื่อยๆ พอทุกคนกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างเดียว ถามว่าเก็บอะไรให้อนาคตบ้าง คำตอบก็คือไม่มี คือถ้ามองตัว KPI สั้น นโยบายรัฐที่ออกมาก็จะสั้น   ดังนั้นตัวชี้วัดหรือข้อมูลอะไรที่มันสื่อถึงอนาคตประเทศไทย ยกตัวอย่างเรื่องการว่างงานที่บอกว่า 1% ถึงน้อยกว่า แล้วประเทศเราดีจริงหรือเปล่าสำหรับตัวเลขการว่างงาน 1% ข้อมูลลึกๆ ข้างในพบว่าวัยทำงานของเรา 38 ล้านคน หรือ 40% อยู่ภาคเกษตร เพราะฉะนั้นตกงานจากในเมืองก็ไปอยู่ภาคเกษตรได้ พอหน้าฝนก็ให้ข้าวกินน้ำไป ตัวเองก็มาทำงานในเมือง พอฤดูแล้งกลับไปเกี่ยวข้าว ผู้รับเหมาจะสร้างทางก็ไม่มีแรงงาน เพราะว่ากลับไปเกี่ยวข้าวกันหมด ในทางกลับกัน ตัวเลขการว่างง่าน 1% ดูเหมือนจะดูดี แต่จริงๆ แล้วมันเหวี่ยงไปเหวี่ยงมา เลยทำให้หลังๆ ผู้ประกอบการก็เลยเอาแรงงานต่างด้าวเข้ามา อย่างตัวเลขแรงงานพม่าประมาณ 2 ล้านคน แต่กระทรวงแรงงานบอกว่าที่ไม่จดทะเบียนอีกเท่าตัว สรุปแล้วแรงงานต่างด้าว 4 ล้านคน คิดเป็น 10% ของจำนวนแรงงานในระบบของไทย วันดีคืนดี ถ้าพม่าพัฒนาประเทศได้ แล้วเขากลับไปหมด ดังนั้น การว่างงานที่ดูเหมือนจะต่ำเพราะมีภาคเกษตรที่คอยรองรับ การที่แรงงานย้ายไปย้ายมา ทำให้ผู้ประกอบการปรับนิสัยก็ใช้วิธีเอาแรงงานต่างด้าวเข้ามาแทน คนตกงาน 1% โดย 40% ของใน 1% เป็นแรงงานที่มีอายุ 24 ปีลงมา กลับกลายเป็นว่าคนแก่ๆ เดี๋ยวนี้ตกงานไม่เป็นไร กลับไปทำไร่ทำนาได้ แต่เด็กยุคใหม่บอกลืมไปแล้ว คุณพ่อคุณแม่ไม่ได้สอนทำไร่ทำนา จบออกมาปุ๊บ ตกงาน ก็ไปทำไร่ทำนาไม่ได้ ก็ตกอยู่ที่กรุงเทพฯ นี่แหละ เกือบครึ่งหนึ่ง กลับกลายเป็นตกงาน อันนี้คือโอกาส ดังนั้นที่บอกว่าตัวเลขการตกงานต่ำๆ ก็พูดกันไป แต่ประเด็นคืออะไร ประเด็นคือต่ำแล้วคือดีแล้วใช่ไหม ถ้าดูตัวเลขอย่างนี้ก็หมายความว่า นโยบายก็ไม่ต้องทำอะไร เพราะตัวเลขที่ประกาศมันดี นโยบายก็ออกเป็นว่าไม่ใส่ใจ หรือถ้าเรามองในแง่ประเด็นที่กระทบอนาคตจริงๆ ถ้าถามผมสิ่งที่สำคัญที่สุดมากกว่าการว่างงานคือเรื่องของว่าเรากำลังให้ โอกาสให้คนหรือเปล่า ตอนที่จะดูว่าเด็กที่จบมาใหม่จะเป็นอนาคตของประเทศ มันมีโอกาสหรือเปล่า มันก็ต้องไล่ไปในหลายมิติ เช่นว่า บ้านเราตอนนี้ ถ้าคุณจะมีโอกาสคือคุณต้องสามารถเข้าถึงการศึกษาได้ ตอนนี้จำนวนครัวเรือนที่มีรายได้พอที่จะส่งลูกเรียนปริญญาตรีและที่สูงกว่า นี้ได้มีกี่ครัวเรือน ถ้าคุณมีเงินออมพอส่ง มีโอกาส ก็จบ นอกจากจบมาแล้วหางานได้หรือเปล่า จบใหม่ๆ ก็หางานไม่ได้ หรือถ้าหางานได้ มีโอกาสที่จะหางานตรงกับที่เรียนหรือเปล่า อันนี้เราวัดได้ ตอนนี้คนจบปริญญาตรีเยอะ แต่จบปริญญาตรีก็ไปเป็นเสมียนเยอะ ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะคุณภาพไม่ค่อยดี แต่โอกาสในแง่ของตลาดแรงงานอาจจะไม่ดีด้วย นอกจากนี้ โอกาสเข้าถึงการเรียนหรือเปล่า จบแล้วหางานได้หรือเปล่า หางานได้แล้ว คุณเจริญในหน้าที่การงานหรือเปล่า หรือรายได้คุณโตหรือเปล่า พวกนี้จริงๆ วัดได้หมดเลย ความคิดเราก็คือทำพวกนี้เป็นตัวชี้วัดเพื่อที่จะสะท้อนเรื่องของโอกาส เอามายำเป็นอินเด็กซ์แล้วก็บอกว่า ดูตัวนี้สำคัญกว่าไปดูตัวเลข 1% ของเขา ถ้าเห็นว่าตรงนี้มันมีปัญหา ซึ่งมันมีจริงๆ ตัวประชากรเลขเรียนจบมีมากขึ้น ดูตามแนวโน้มแบบนี้ก็ดูดีขึ้นหมด แต่ไม่เคยใส่ใจว่าจบแล้วไปทำอะไร ทำงานตรงตามที่จบมาหรือเปล่า ตัวเลขนี้ไม่ดูเลย เหมือน KPI ประชาชนที่จบปริญญาตรีกี่คน แต่ถ้าคุณเห็นว่า KPI ของคุณไม่ใช่เรื่องว่าคุณผลิตคนมากี่คนแล้ว แต่คือถามว่าคนที่คุณผลิตแล้วมีโอกาสในการหางาน มีงานที่ทำให้รายได้โตหรือเปล่า หากตัวเลขออกมามันเปลี่ยนแล้ว จะเห็นทันทีว่าตัวชี้วัดพวกนี้ไม่ดี ดังนั้นการกำหนดนโยบายต้องเปลี่ยน คุณต้องไปดูเรื่องหลักสูตร เพราะหลักสูตรที่คุณผลิตออกมา มันไม่ตอบโจทย์ตลาด รายได้คุณถึงไม่โต หรือเขาหางานไม่ได้ การที่สถาบันฯ จะหยิบตัวเลขพวกนี้มาหวังว่าจะช่วย เหมือนกระตุกหางหมา อย่างน้อยให้คนระแวงว่าอย่าไปหลงกับตัวเลข มีช่องทางที่จะไปสู่การปฏิบัติในการกำหนดนโยบายที่ตรงประเด็นได้บ้างไหม จริงๆ เรามองเป็น 3 ชั้น โดยชั้นในสุดแกนกลางที่เป็นไข่แดง หรือ Policy Maker (ผู้กำหนดนโยบาย) ทำอย่างไรให้ Policy Maker สนใจเรื่องพวกนี้  อย่างเรื่องการศึกษาเป็นต้น  วงถัดมาเป็นพวกกลุ่มนักธุรกิจรุ่นใหม่ นักคิด นักวิชาการต่างๆ ส่วนวงนอกสุดเป็นวงสาธารณะ สื่อ ประชาชนทั่วไป ตอนที่เราคิดถึงโปรดักส์นี่เราก็ต้องนั่งนึกด้วยว่ากลุ่มเป้าหมายเรามีใหญ่ กลาง เล็ก ตั้งแต่วงในสุด “ไข่แดง” ยันวงนอกสุด “ไข่ขาว” แต่ละโปรดักส์ของเราสนองความต้องการของแต่ละคนอย่างไร ยกอย่างตัว Policy watch นี่ พูดถึงแต่อนาคต คนก็บอกว่า เดี๋ยวฉันก็ตายแล้วไม่ต้องมาสนใจอนาคตอะไร แต่ว่าตัว Policy watch เราคงต้องมีเพราะว่าสื่อมวลชนก็ดี ใครก็ดี เขาก็สนใจในปัจจุบันบ้าง เราควรที่จะ Policy watch ปัจจุบันที่กัดกร่อนอนาคตอะไรเป็นหลัก คำถามก็คือ เรามี 3 วง วงนอกคือ สื่อ ประชาชน วงกลาง นักคิด นักทำ วงในสุดคือ Policy Maker ซึ่งประชาชนเป็นหนึ่งในโปรดักส์ของเรา คือ Policy watch แต่เราจะทำเฉพาะ watch ที่เกี่ยวกับอนาคต ไม่ได้เกี่ยวกับวาเลนไทน์ว่า  จะทำให้จีดีพีโตเท่าไหร่  และสถาบันฯ ไม่ใช่จะไปชี้นำ Policy เพียงแต่เราจะยกระดับของการดีเบต  ให้รู้ทั้งข้อดีและข้อเสีย  พอจบแล้วก็จะไม่ชี้นำอะไร  แต่ว่าตัว Policy watch จะพยายามให้เห็น 2 มุม นักข่าวจะเอา 2 มุมนี้ไปถามใครก็ได้ หรือจะถามเราก็ได้เหมือนกัน  เป็นเหมือน Third Opinion แต่ว่าตอนเปิดโปรดักส์  เราไม่ได้ทำโปรดักส์แล้วบอกว่าต้องทำอย่างนี้สิ ไม่ใช่อันนี้ก็คือฝั่งที่เป็นไข่ขาวข้างนอก (สื่อ ประชาชน) ส่วนระดับตรงกลางนี่เราจะสร้างโดยใช้ Network Community เนื่องจากเรามีคนอยู่แค่หยิบมือหนึ่ง ยังไงเราเป็นกูรูทุกเรื่องไม่ได้ ซึ่ง Network Community มีทั้งผู้ใหญ่ในกรรมการที่ปรึกษา ทั้งผู้ใหญ่ในคณะกรรมการ เพื่อนๆ ที่อยู่ตามภาคเอกชนก็ดี  ก็บอกว่าเรามีอินเด็กซ์เรื่องนี้  เคยรู้หรือเปล่าว่า เช่นว่าแรงงานที่อยู่ในระบบตกงานเท่าไหร่ ตัวเลข 40% หรือเคยรู้หรือเปล่าว่าอัตราการดำรงตำแหน่งผู้ว่าอยู่ที่ 1 ปีหรือ 1.1 ปี เคยรู้หรือเปล่าว่าแรงงานต่างด้าวเข้ามาเซกเตอร์ไหน  เราก็เอาของเหล่านี้ที่เป็นอินเด็กซ์ไปขายในเครือข่ายนักคิด  ในอดีตมันก็มีหลายฟอรั่มที่พยายามจะรวมนักคิดรุ่นใหม่  ตั้งแต่รุ่นใหม่ จนขณะนี้เป็นรุ่นเก่า ก็ไม่เห็นใครรวมตัวได้เสียที อินเด็กซ์ของเราคือทำเพื่ออนาคต หรือเห็นอนาคต หรืออาจจะเห็นปัจจุบันที่กัดกร่อนอนาคต ดังนั้น ในเนื้อของอินเด็กซ์นี่ถ้าเขาจะไปเขียนอะไร  เขาต้องไปเขียนเรื่องปัจจุบันที่กัดกร่อนอนาคตอยู่  ดังนั้นตัวเขา (business community) งานก็เบาลง เพราะเหมือนมีมือไม้ทางนี้  พอเขาโทรมาเราอาจจะจัดข้อมูลให้เขา พอเขียนเสร็จปุ๊บ อย่าลืมนะครับ ปั๊มตรา ไทยแลนด์ฟิวเจอร์ของเราด้วย ตอบคำถามที่ว่า พวกที่คิดมาต่างๆ นี่ จะผลักดันให้เป็นจริงอย่างไร โปรดักส์ต่างๆ ที่คิด คิดในเรื่องของการผลักดัน เพราะเราไม่ได้เก่งในทุกเรื่อง คราวนี้ก็จะมีไข่ขาว ระดับตรงกลาง คือพวกกลุ่มนักคิด จะเอาไปช่วยผลักดันนั่นเอง” ฉลาดซื้อเชื่อว่านอกจากจะจัดทำดัชนีเครื่องชี้วัดแล้ว ก็ต้องการผลักดันให้ประชาชนคนไทยหันมาสนใจดัชนีเพื่ออนาคต เมื่อเราสนใจดัชนีเพื่ออนาคต นโยบายที่ออกมาก็เป็นนโยบายเพื่ออนาคตด้วย ตัวเลข ตัวชี้วัดต่างๆ เป็นตัวเลขที่สะท้อนเรื่องศักยภาพของอนาคตเรา แต่สิ่งสำคัญที่ต้องการสื่อสารในการจัดงานเปิดตัวสถาบันในวันนี้ คืออนาคตไทยเราเลือกได้

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 140 จิระชัย มูลทองโร่ย สคบ.ยุคนี้ จะไม่มองแบบม้าลำปาง

“...ภาครัฐมักมองทางตรงมากกว่าการมองข้าง เดี๋ยวนี้ต้องมอง 360 องศา เราจะไม่มองแบบม้าลำปาง จะต้องมีการบูรณาการของหน่วยงานภาครัฐ ถ้าผู้บริโภคมีปัญหาขึ้นมาหน่วยงานภาครัฐจะต้องระดมสรรพกฎหมาย ระดมสรรพกำลังในการแก้ไขปัญหา...” ฉลาดซื้อฉบับนี้พาคุณไปทำความรู้จักคนคุ้นเคย ที่ทำงานคู่ขนานกับมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคมาตลอด ท่าน “จิระชัย มูลทองโร่ย” เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ที่เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 14 ส.ค. 55 หากแต่คลุกคลีอยู่ใน สคบ.มากว่า 12 ปีแล้ว ไปดูแนวคิดการทำงานคุ้มครองผู้บริโภคในยุคของเลขาฯ สคบ.ท่านนี้กันค่ะ ประเด็นใดในการทำงานคุ้มครองผู้บริโภคที่ถือเป็นความท้าทายของ สคบ. งานคุ้มครองผู้บริโภคที่ต้องทำต่อก็คือ ต้องผลักดันประเด็นในการคุ้มครองผู้บริโภคให้เป็นรูปธรรม ทุกวันนี้เราซื้อสินค้าด้วยความเสี่ยง ซื้อไปแล้วเกิดปัญหาใครจะรับผิดชอบ ผู้บริโภคเองก็ต้องมาร้องที่ สคบ. ซึ่งนั่นเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคแบบเดิมๆ เราจึงจัดทำเครื่องหมายของ สคบ.แสดงไว้บนผลิตภัณฑ์ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคในการซื้อสินค้าหรือใช้บริการ ว่าเมื่อไปซื้อสินค้าหรือใช้บริการแล้วจะไม่ถูกเอาเปรียบ ไม่ถูกหลอกลวง หรือเมื่อไปซื้อสินค้าและใช้บริการแล้วเกิดปัญหา ผู้ประกอบการต้องแสดงความรับผิดชอบ หรือชดใช้อย่างชัดเจน แต่ที่ยังไปไม่ได้ก็คือการรับผิดชอบของผู้ประกอบการ นั่นก็คือถ้าหากเกิดความเสียหายขึ้นมาจะมีหลักการรับประกันอย่างไร ยังอยู่ในการทำความเข้าใจกันอยู่ ซึ่งตอนนี้มีสินค้าและบริการที่ต้องทำตรา สคบ.แล้ว 26 รายการ 8 หมวด นั่นก็คือทั้งอสังหาริมทรัพย์ สินค้า สุขภาพ ฯ   อีกความท้าทายก็คือการเป็นศูนย์กลางในการทำงานคุ้มครองผู้บริโภค สคบ.เป็นหน่วยงานเดียวที่คุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคทั้ง 5 ข้อนี้ การประสานความร่วมมือทั้งภาครัฐ ผู้ประกอบการ และภาคประชาชนในการทำงานเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคจึงมีความสำคัญ เพราะภาครัฐมักมองทางตรงมากกว่าการมองข้าง เดี๋ยวนี้ต้องมอง 360 องศา เราจะไม่มองแบบม้าลำปาง จะต้องมีการบูรณาการของหน่วยงานภาครัฐ ถ้าผู้บริโภคมีปัญหาขึ้นมาหน่วยงานภาครัฐจะต้องระดมสรรพกฎหมาย ระดมสรรพกำลังในการแก้ไขปัญหา ในต่างจังหวัดนั้นมีความสำคัญอย่างมาก ในกรุงเทพฯ และปริมณฑลมีคนแค่เพียง 10 ล้านกว่าคน ในต่างจังหวัดอีกกว่า 75 จังหวัดล่ะ “ใครดูแลเขา” ในอดีต สคบ.อาจจะไม่มีการประสานความร่วมมือทางหนังสือเท่าไรนัก แต่ต่อจากนี้ไปจะประสานความร่วมมือและพบปะพูดคุยกันให้มากยิ่งขึ้น ประสานส่วนผู้ประกอบการ ผู้ประกอบการผมถือว่าเป็นต้นน้ำของการคุ้มครองผู้บริโภค ที่ต้องประสานก่อนเลยก็คือสภาอุตสาหกรรม สภาหอการค้า เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ให้ สคบ.เข้าไปรับฟังขอบเขตงานด้วย และจะร่วมมือกันในการทำงานคุ้มครองผู้บริโภคได้อย่างไร นั่นก็คือต้องดำเนินการตามกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค มีการติดฉลาก ดูการโฆษณา ดูสัญญาก่อน ต่อไปก็ไปดูเรื่องความรับผิดชอบว่าถ้าเกิดความเสียหาย จะเยียวยาหรือให้ความช่วยเหลือผู้บริโภคอย่างไร สินค้าที่มีปัญหามีหลักเกณฑ์อย่างไรในการเยียวยา ประสานส่วนภาคประชาชน ที่มีการรวมกลุ่มกันชัดเจนแล้ว อย่างมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค สหพันธ์องค์กรผู้บริโภค ก็จะมีเครือข่ายผู้บริโภค ในการทำงานคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งเรามีจุดหมายเดียวกัน ก็คือการคุ้มครองผู้บริโภค แต่การทำงานของมูลนิธิฯ อาจจะง่ายและกระชับกว่า ก็จะได้ผนวกไปด้วยกัน หรืออาจจะเชิญตัวแทนองค์กรผู้บริโภคเข้าร่วมเป็นคณะอนุกรรมการ สคบ. รวมไปถึงการทดสอบสินค้า การรับเรื่องร้องเรียน ตรวจสอบผู้ประกอบการ เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ก็อยู่ระหว่างการตั้งคณะทำงานขึ้นมาในช่วงปี 2556 อยากจะทำงานด้วยไม่ว่าจะเป็นส่วนกลางหรือส่วนต่างจังหวัด มีแผนงานอะไรก็บอกกันให้รู้ สคบ.จะได้ส่งคนเข้าไปช่วยดำเนินการด้วย การทำงานร่วมกัน?...จะเป็นลักษณะแบบไหน จะเป็นคล้ายๆ ระบบสั่งการเหมือนภาครัฐทำกับภาครัฐหรือเปล่า ไม่เหมือนแน่นอน การสั่งการในภาครัฐก็อาจจะทำได้เป็นเรื่องๆ ที่เป็นนโยบายร่วมกัน เราใช้คำว่า “ประสานงาน หรือบูรณาการเข้าด้วยกัน” ร่วมกันทำงาน “สคบ.จะไม่ใช่ One man show” แต่จะประสานงานร่วมกัน สคบ.จัดการกับผู้ประกอบการอย่างไร อีกหน้าที่ที่ต้องทำก็คือการตรวจสอบผู้ประกอบการ ถือว่าเป็นกิจกรรมที่ต้องทำตามหน้าที่ที่ระบุไว้ในกฎหมาย อย่างไปสำรวจเต็นท์รถยนต์มือสอง ว่ามีการจัดทำฉลาก ทำหลักฐานการรับเงินหรือเปล่า ในห้างสรรพสินค้ามีสินค้าหมดอายุมาขายไหม ฉลากถูกต้องหรือเปล่า สำรวจเสร็จ สคบ.ในฐานะมีหน้าที่และอำนาจทางกฎหมาย ก็จะเข้าไปดำเนินการจัดการกับผู้ประกอบการ ซักถามเรื่องกฎหมาย ตักเตือน ก็ว่ากันไป ในเรื่องการจัดการรับเรื่องราวร้องทุกข์ ส่วนนี้มีปัญหาและได้รับคำวิพากษ์วิจารณ์กันมาก ว่ามีความล่าช้า ไม่ทันใจประชาชน แต่ก็ต้องยอมรับว่าการแก้ปัญหาของ สคบ.ในชั้นการเจรจาไกล่เกลี่ย สามารถจบลงได้ 80 % ซึ่งการเจรจาไกล่เกลี่ยเป็นประโยชน์ของคู่กรณีทั้งคู่ ผมยังให้ความสำคัญอยู่ ก่อนที่จะยื่นเรื่องฟ้องศาล ผมไม่ตามใจผู้ร้องนะ อย่างซื้อรถยนต์ใหม่มาแล้วมีปัญหา จะขอเปลี่ยนคันเลย ก็ต้องให้บริษัทชี้แจง แก้ไขจุดบกพร่องก่อน ให้เวลาผู้ประกอบการบ้าง เรื่องร้องเรียนที่ยังค้างอยู่ เป็นจำนวนมากที่ผู้ร้องไม่ยินยอมรับการชดเชยความเสียหายตามที่บริษัทนำเสนอ หรือตามที่ สคบ.เห็นว่าสมควรแล้ว แต่ผู้ร้องยังเรียกร้องตามอำเภอใจ ซึ่งผมเองมั่นใจว่าจะใช้อำนาจในการบริหารยุติเรื่องและให้ผู้ร้องไปฟ้องศาลด้วยตนเอง การดำเนินคดีในชั้นศาลผมถือว่าไม่เป็นประโยชน์ส่วนรวม การจะฟ้องคดีแทนผู้บริโภค ผมมีองค์ประกอบ 3 เหตุผล 1.ต้องเป็นผู้บริโภค 2.ต้องถูกละเมิดสิทธิ 3.ต้องเป็นประโยชน์ส่วนรวม สคบ.ฟ้องแทนผู้บริโภค จะฟ้องรวมหมู่ได้ไหม เรื่องการฟ้องแทนเราฟ้องให้อยู่แล้ว ถ้าฟ้องแล้วเป็นประโยชน์กับส่วนรวมเราก็ฟ้องแทนให้ อย่างผู้บริโภคร้องเรียนเรื่องซื้อหมามาเลี้ยงผ่านไป 2 วัน แล้วหมาตาย สคบ.ก็รับเรื่องแล้วชวนมาไกล่เกลี่ย เจ้าของฟาร์มเสนอไม่ชดเชยให้ แต่ถ้าซื้อตัวใหม่จะลดให้ครึ่งราคา ส่วนผู้ร้องไม่รับข้อเสนอ จะให้ชดเชยเป็นค่าสุนัข 10,000 บาท ค่ารักษาพยาบาลอีก 9,000 บาทรวมค่าเสียเวลา ฟาร์มบอกว่าตั้งแต่ขายมาไม่มีปัญหาอะไรเลย กรณีแบบนี้เราก็ฟ้องให้นะครับ เพราะเราถือว่าตลาดนัดจตุจักร มีคนเข้าออกประจำ อาจจะพบปัญหาเหมือนกับกรณีรายนี้ด้วยก็ได้ เพราะเราเห็นถึงประโยชน์ส่วนรวม แต่ถ้ามาเกี่ยงกันในเรื่องการชดเชยที่ต่างกันแค่ 500 หรือ 1,000 บาท แบบนี้เราไม่ฟ้องให้ แต่ถ้าผู้ประกอบการมีการโกงผู้บริโภคแค่ 1 บาท เราก็ฟ้องให้ เพราะสินค้าผลิตมาเท่าไร...มากมาย เราก็เปรียบเทียบตัวเลขผู้ประกอบการกับตัวเลขผู้ร้องว่าเป็นอย่างไร ถ้าเห็นว่าเป็นประโยชน์กับส่วนรวมเราก็ฟ้องแทนผู้บริโภคได้   สคบ.มีบทลงโทษผู้ประกอบการ แต่การไม่เปิดเผยชื่อผู้ที่ถูกลงโทษ ถูกปรับทำให้ผู้บริโภคยังถูกละเมิดต่อ วิธีการแบบนี้ยกเลิกได้ไหม อือ...หลายคนตำหนิ สคบ.อย่างนี้ว่าลงโทษผู้ประกอบการ แต่ไม่บอกว่าใคร ความจริงเป็นหน้าที่ตามกฎหมาย มาตรา 10 อนุ3 บอกให้ สคบ.เปิดเผยรายชื่อผู้ประกอบการรวมถึงสินค้า ว่ามีผู้ประกอบการรายใดที่ทำผิดกฎหมาย ซึ่งเรื่องนี้ สคบ.เองก็ปรับปรุงว่าเราต้องมีสื่อที่จะลงข่าวเหล่านี้ ก็อยู่ระหว่างการจัดทำสื่อ แล้วก็เผยแพร่สู่สื่อมวลชน เครือข่ายผู้บริโภคและพี่น้องประชาชน เพราะการจะเปิดเผยชื่อได้นั้น ต้องผ่านมติคณะอนุกรรมการก่อนถึงจะเปิดเผยรายชื่อได้ จะเปิดเผยรายชื่อทันทีก็ไม่ได้ ไม่งั้น สคบ.เองนั้นละจะถูกฟ้อง   องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค มาตรา 61 จะช่วยหนุนการทำงานของ สคบ.อย่างไรบ้าง และมีความคิดเห็นต่อ กม.นี้อย่างไร เป้าหมายการทำงานของ สคบ.กับ องค์กรผู้บริโภค มีเป้าหมายเดียวกันคือการคุ้มครองผู้บริโภค จะแตกต่างกันก็แค่ภารกิจ วิธีการ มีอะไรที่เราทำร่วมกันได้ก็มาแชร์กัน อย่างมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ถ้ามีโอกาสเข้าไปเป็นกรรมการองค์การอิสระฯ ก็เข้าไปทำงานเลย แบบนี้มูลนิธิฯ ก็จะมีแนวทางในการขยายความร่วมมือต่อไปได้ แล้วถ้าถามต่อว่า สคบ.จะอยู่อย่างไร ผมก็ต้องอยู่เพราะเป็นหน่วยงานภาครัฐ แต่องค์การอิสระฯ รัฐธรรมนูญเขียนไว้อย่างไร ก็ควรที่จะทำอย่างนั้น เช่นรัฐธรรมเขียนอำนาจหน้าที่ไว้ 3 แต่กลับไปเพิ่มเป็น 4 5 6 นั้นเป็นการก้าวก่ายแล้ว ไม่ได้ต่อต้านนะ เห็นด้วยที่ให้มีเพราะต้องมีหน่วยงานกลางขึ้นมาเพื่อบูรณาการทุกเรื่อง เข้ามาเสริม เข้ามาหนุนงาน ให้ผู้บริโภคได้รับความเป็นธรรมมากกว่า ควรจะมีกรอบอย่างนั้น เรื่องการจัดสรรงบประมาณดำเนินการ สคบ.ตั้งมา 30 กว่าปีแล้ว ยังได้งบไม่ถึง 200 ล้านเลย แล้วองค์การนี้เพิ่งจะร่างขึ้นมาไปเอาค่าหัวดำเนินการ 3 บาท 5 บาท ไปเอาเกณฑ์อะไรมา ทำไมไม่ให้ สคบ. เพราะถือว่าเป็นหน่วยงานหลักด้วยซ้ำ ปีหนึ่งได้ 100 ล้านบาท ก็ส่งงบลงพื้นที่ กระจายทุกจังหวัดที่ ให้กับประชาชนที่มีโครงการมากมาย บุคลากรก็ต้องให้ความรู้ทุกเรื่อง ยังได้ไม่ถึง 200 ล้านเลย แล้วนี่องค์การนี้เพิ่งจะเกิด มีคณะกรรมการ 15 คน ภารกิจหนักหนาขนาดไหน ต้องเอาค่าหัว 3 บาท 5 บาท แต่ผมไม่ได้คัดค้านนะ แต่ควรที่จะเป็นไปตามกรอบของกฎหมาย @.

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 139 สังคมรีไซเคิล สังคมโลกใหม่ของคนทันสมัย

“ป้าคะ รู้จักโรงงานรับซื้อของเก่าของวงษ์พาณิชย์ไหม” ฉันถามป้าขายก๋วยเตี๋ยว เพราะเหลือบไปเห็นกองขวดพลาสติก  กระดาษ กองอยู่หลังร้าน “ขับรถตรงไปแล้วก็เลี้ยวขวาข้างหน้า ขับไปเรื่อยเดี๋ยวก็เจอ โรงงานเขาใหญ่” ป้าว่าพลางทำก๋วยเตี๋ยวให้ลูกค้าต่อไป ........................ ทันทีที่เลี้ยวรถเข้าโรงงานคัดแยกขยะเพื่อรีไซเคิล วงษ์พาณิชย์  พบป้ายสีฟ้าโดดเด่นเขียนว่า “ศูนย์กระจายสินค้าวัสดุรีไซเคิลสี่แยกอินโดจีน” ประกบกับป้ายบอกทาง คุนหมิง หลวงพระบาง ปีนัง ย่างกุ้ง อยู่ข้างถนน ด่านแรกของวงษ์พาณิชย์เป็นจุดคัดแยกขยะรีไซเคิล ผลิตภัณฑ์ต่างๆ มีราคากลางบอกไว้ ทั้งกระดาษ พลาสติก  ขวด-แก้ว  เครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์  โลหะ หลังรับซื้อแล้วก็จะถูกคัดแยกออกไปตามแผนกต่างๆ เศษเหล็ก  กระดาษ ขวดแก้ว อะลูมิเนียม โลหะ พลาสติก เครื่อง ใช้สำนักงาน-เครื่องใช้ไฟฟ้า เศษอาหาร และอื่นๆ เช่น เชื้อเพลิง พนักงานแต่งตัวด้วยเครื่องแบบสีเขียว ยืนเรียงกันตามสายพาน การคัดแยกพลาสติกดูจะมีพนักงานมากสุด  ด้านหลังพนักงานแต่ละคนจะมีสุ่มหงายอยู่  แต่ละคนมีสีพลาสติกของตัวเอง สีเขียว  สีฟ้า สีขาว ของใครมาก็หยิบใส่สุ่ม เต็มแล้วก็แบกไปเทในส่วนการจัดแยกสีไว้เพื่อนำไปเตรียมย่อย ล้าง และส่งโรงงานนำไปรีไซเคิลต่อไป ด้านกระดาษแยกเป็นกระดาษขาว  กระดาษลัง แล้วนำมาอัดเป็นก้อน ก้อนละ 1 ตัน ส่งขายให้กับโรงงานผลิตกระดาษ  เช่นกันกระป๋องอลูมิเนียม  ขวดเพ็ต ก็ถูกอัดเป็นก้อน เพื่อสะดวกในการขนส่ง ปัจจุบันวงษ์พาณิชย์มี 1,112 สาขาทั่วประเทศไทย ในประเทศลาว 4 สาขา ในประเทศมาเลเซีย 2 สาขา  ในประเทศพม่า 1 สาขา  กับประสบการณ์กว่า 37 ปี ในการบริหารจัดการโรงงานคัดแยกขยะเพื่อรีไซเคิล   พาคุณผู้อ่านไปชมข้างในโรงงานแล้ว เราไปคุยกับ ดร.สมไทย วงษ์เจริญ ประธาน กรรมการ โรงงานคัดแยกขยะเพื่อรีไซเคิล วงษ์พาณิชย์ กันดีกว่าค่ะ ในฐานะที่จัดการขยะมา 37 ปี เคยคิดที่จะเป็นส่วนหนึ่งของรัฐบาลในการเข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการขยะไหม เป็นส่วนหนึ่งของรัฐบาลไม่เคยคิด  ไม่เคยเลย คิดเพียงแค่จะช่วยรัฐได้อย่างไรเท่านั้นเอง  ทุกวันนี้ที่ทำอยู่ไม่ต้องการมีอำนาจอะไร ต้องการอย่างเดียวคือเป็นคนดี  ไม่ทำให้ใครเดือดร้อนทำมาหากินอยู่ในสังคมได้  อันนี้เป็นแนวความคิดอยู่แล้ว ส่วนหนึ่งก็มองว่าอาชีพการจัดการขยะอย่างเรานั้น  มันไปสร้างผลกระทบให้กับรัฐบาลระดับใหญ่ ระดับกลาง  ระดับเล็ก  ได้ประโยชน์มาก ข้อแรก มันไปลดขยะบ้านเมืองลงได้ 100 % อย่าง “โครงการขยะเหลือศูนย์” ในงบประมาณ 1 ปีของรัฐใช้เงินเป็นแสนล้านบาท ที่เสียไปกับการจัดการขยะนั่นคือ หนึ่งซื้อที่ดินฝังกลบ  สองทำบ่อฝังกลบ สามตั้งโรงงานเผาขยะ และต้องจัดการกับขยะ  สี่ซื้อรถขนขยะให้เทศบาล แล้วไหนจะต้องจัดการกับเรื่องร้องเรียนกับชาวบ้านอีก  โครงการของเราก็ไปกระทบกับสิ่งเหล่านี้  ถ้าหากว่ามีการส่งเสริมและพัฒนาให้อาชีพรีไซเคิลผงาดขึ้นมาได้เมื่อไร  หรือถ้าหากภาครัฐมีน้ำใจสนับสนุน  ผมเชื่อว่าประโยชน์จะตกไปสู่สังคม ประชาชน คณานับทีเดียว เหมือนทำบุญให้กับคนและโลกครั้งใหญ่  เพียงแค่มีน้ำใจให้กับวิถีรีไซเคิล สังคมรีไซเคิล นโยบายของทรัพยากรหมุนเวียน จะช่วยโลก และถึงวันยุติที่จะก้าวร้าวทำร้ายโลกลงได้แล้ว วัตถุดิบ แร่ต่างๆ มันไม่ตายนะ เราเองต่างหากที่คิดว่ามันตาย พอเราคิดแบบนี้มันก็จะทำให้เราตายไปด้วยเช่นกัน  แต่ก็ดีใจนะที่รัฐบาลใหญ่ๆ ของโลกให้ความสำคัญกับการดูแลโลกแล้ว ระบบการจัดการขยะในบ้านเรา วางระบบการทิ้งดี แต่พอเห็นรถขยะเทศบาลมาเก็บ ก็รวมกันไป... เพราะอะไรล่ะ  ยกตัวอย่างคนในกรุงเทพมหานคร ชาวบ้านพยายามจะแยกขยะ นักวิชาการก็ให้แยกขยะ มีการให้ความรู้ด้านการแยกขยะ ชาวบ้านก็พยายามแยกขยะแต่รถก็มาขนรวมกันไป  ความไม่พร้อมของใคร? ภาครัฐไม่พร้อมไง  ถูกไหม... เท่านั้นยังไม่พอ การเกิดศูนย์รีไซเคิลในกรุงเทพมหานครเกิดไม่ได้นะ  หลายเขตที่เข้าใจเรื่องรีไซเคิลก็เกิดได้  แต่สำนักงานเขตบางเขตไม่เข้าใจเรื่องรีไซเคิล  มาสั่งปิดโรงงานรีไซเคิลของวงษ์พาณิชย์ 3 เขตในกรุงเทพและดำเนินคดีอาญา และขึ้นศาล  ผมถามว่าแล้วชาวบ้านที่แยกขยะ จะเอาขยะที่แยกไปส่งตรงไหนล่ะ? ศูนย์รีไซเคิลถูกภาครัฐตั้งข้อหาว่าทำลายทัศนียภาพของเมือง  ผมบอกว่านั่นมันร้านค้าของเก่าโบราณที่ใช้ถนนเป็นโกดัง  ศูนย์รีไซเคิลยุคใหม่เขาทำระบบเป็นดีพาร์ทเม้นท์สโตร์กันแล้ว  มีการแยกหมวดหมู่สินค้า  การแต่งตัวของพนักงานสะอาด  มีวินัย มีหัวใจรักสิ่งแวดล้อม แต่ศูนย์อย่างนี้กลับถูกดำเนินคดีและขึ้นศาลอาญา เมื่อไรหนอประเทศไทยที่มีความคิดกว้างไกลด้านสิ่งแวดล้อมได้มาจุติและมาบริหารบ้านเมือง ให้เมตตาโลก แต่ก่อนรัฐบาลญี่ปุ่นก็เหมือนประเทศไทย ผลักดันศูนย์รีไซเคิลให้ออกไปนอกเมือง ปรากฏว่าขยะท่วมเมืองโตเกียว แต่ตอนนี้สนับสนุนให้ศูนย์รีไซเคิลเข้ามาเปิดในเมืองโตเกียวทำให้ขยะลดลงไป  ไม่ต้องขนขยะ  ซึ่งเป็นความชาญฉลาดของญี่ปุ่นที่รู้จักเปลี่ยนแปลง  ในบ้านเรารัฐบาลใหญ่ก็งานเยอะมากอาจจะมองไม่เห็นงานนี้ซึ่งมันสำคัญมาก ขยะในกรุงเทพวันหนึ่งมีขยะ 9,500 ตัน  ถ้าขนไปกองรวมกันที่สนามหลวง 4 วันเท่ากับตึก 4 ชั้นเลยนะ   ผู้บริโภคก็ต้องฉลาดที่จะซื้อของด้วย ไม่ใช่ซื้อแต่ของถูก แต่ไม่มีคุณภาพและของนั้นทำร้ายโลก เช่นแบตเตอรี่ที่มาจากจีน  ถูกจริง แต่ซื้อแล้วกลับเป็นสารพิษมาทำโลกอีก นั่นไม่ใช่ฉลาดซื้อ  ฉลาดซื้อต้องเมตตาโลกด้วยนะ ถ้าอย่างนั้นแล้วมีวิธีการทำให้คนเห็นขยะมีมูลค่า ได้อย่างไร คนที่จะคิดเรื่องมูลค่าของขยะ อาจจะพูดได้ว่า “คนทันสมัยเท่านั้นที่จะรู้คุณค่าของขยะ” ไม่ว่าเด็ก  วัยกลางวัน หรือผู้สูงวัย  คนเหล่านี้เป็นคนทันสมัยหรือเปล่า  ถ้าหากว่าเป็นคนทันสมัยละก็ ต้องรู้และเห็นคุณค่าของขยะ ทำอย่างไรคนเราถึงจะคิดและปฏิบัติได้จริงเป็นรูปธรรม  1) ก็ต้องเริ่มจากการให้ความรู้ ตั้งแต่ระดับประถมจนถึงมหาวิทยาลัย แทรกเนื้อหาเรื่องการรีไซเคิล หัวใจรีไซเคิล สังคมรีไซเคิล  2) สร้างแนวความคิดอีโคดีไซน์ (ผลิตภัณฑ์ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม) ต้องคิดเป็นว่าของแต่อย่าง แต่ละชิ้น ในการบริโภคในชีวิตประจำวัน  สิ่งของต่างๆ เกิดขึ้นบนพื้นฐานอีโคดีไซน์หรือเปล่า  วิศวกรแต่ละโรงงานรู้จักออกแบบสินค้า ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมไหม  สินค้าทุกคนสามารถนำไปเป็นทรัพยากรหมุนเวียนนำกลับมาใช้ใหม่ได้หรือไม่  ไม่ใช่ปล่อยให้เป็นขยะอีกต่อไป  รัฐบาลจึงจะออกตราสัญลักษณ์ “ฉลากเขียว” ให้กับผลิตภัณฑ์นั้นๆ ว่าเป็นสินค้าที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และนำกลับมาใช้ใหม่ ห้างสรรพสินค้าใหญ่ในสหรัฐอเมริกาเริ่มโครงการนี้แล้ว  สินค้าที่จะเข้ามาในห้างฯ ทุกชิ้นต้องไม่เป็นวัตถุดิบที่ทำลายสิ่งแวดล้อม  ต้องเป็นสินค้าที่อยู่บนพื้นฐานอีโคดีไซน์เท่านั้นจึงจะเข้ามาขายให้ห้างฯ ได้ เห็นไหมเจ้าของห้างฯ ยังตระหนักเรื่องนี้แล้ว ที่น่าจับตามองอีกประเทศก็คือประเทศอังกฤษ  คนเริ่มมีความคิดเรื่องอีโคดีไซน์ทำให้เกิดกระแสว่า ห้างฯ ไหนรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อมห้างฯ นั้นก็จะขายดี  ห้างฯ ไหนไม่รับผิดชอบก็จะขายตกไป หรือขายไม่ได้  ขาดทุนจนอาจจะต้องปิดกิจการในอนาคตก็ได้ พูดถึงฉลากเขียว บ้านเรามีการบังคับใช้หรือยังคะ สำนักงานจัดซื้อสีเขียวนานาชาติ  ที่เกิดขึ้นมาในปัจจุบันมีการประชุมใหญ่ให้ความรู้เรื่อง “หน่วยงานจัดซื้อสีเขียว” ของทุกๆ รัฐบาลใหญ่ในโลก  ไทยเราก็ไปร่วมประชุม แต่ก็ไม่รู้ว่าจะกำหนดเป็นนโยบายปฏิบัติกันเมื่อไร ถ้าหากว่าองค์กรภาคใหญ่ระดับรัฐบาล  กรม  กระทรวง  หรือสำนักงานต่างๆ  หน่วยงานจัดซื้อเขามีความรู้เรื่องการจัดซื้อสีเขียวนานาชาติ  มีการเข้ามาดูโรงงานรีไซเคิล และก่อนจะซื้อทุกครั้งต้องผ่านการเซ็นชื่อ อนุมัติว่า สินค้าที่จะซื้ออยู่ในมาตรฐานฉลากเขียว  อยู่ในการจัดซื้อสีเขียวได้ เป็นมาตรฐานที่ไม่ทำลายโลก วิศวกรผู้ออกแบบโรงงานทุกโรงงาน ก็ต้องมาเรียนรู้เรื่อง LCA (Life-cycle assessment) ต้องรู้ว่าตลอดวัฎจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ของเขา ต้องสะดวกต่อการรีไซเคิล ต้องลดการใช้ความร้อน ใช้พลังงานอย่างไร  ลดคาร์บอนไดออกไซด์อย่างไร ถึงจะเป็น LCA ได้ ต้องคิดถึงขนาดนี้จึงจะผลิตสินค้าสู่ตลาดผู้บริโภคได้ ผู้บริโภคก็ต้องฉลาดที่จะซื้อของด้วย ไม่ใช่ซื้อแต่ของถูก แต่ไม่มีคุณภาพและของนั้นทำร้ายโลก เช่นแบตเตอรี่ที่มาจากจีน  ถูกจริง แต่ซื้อแล้วกลับเป็นสารพิษมาทำโลกอีก นั่นไม่ใช่ฉลาดซื้อ  ฉลาดซื้อต้องเมตตาโลกด้วยนะ   ทีนี้พอมีการปลูกฝังให้ความรู้ความคิดแล้ว ประชาชนจะมีส่วนร่วมในการจัดการขยะได้บ้างไหม เพื่อช่วยภาครัฐ พูดถึงประชาชน  ประชาชนนี่ล่ะเป็นเครื่องมือที่ยิ่งใหญ่และสำคัญมาก ทำอย่างไรจะให้ประชาชนเป็นนักรีไซเคิล  เป็นนักจัดการขยะ  โรงงานจัดการขยะที่ทันสมัยที่สุดของโลกอยู่ที่ไหนรู้ไหม โรงงานจัดการขยะที่ทันสมัยที่สุดของโลก จริงๆ แล้วอยู่ทุกมือของประชาชน  และความรู้ที่อยู่ในตัวประชาชน เป็นโรงงานที่ไม่ต้องใช้งบประมาณใดๆเลย เพียงแต่ 1) ต้องฉลาดซื้อสินค้าที่จะเข้าบ้าน ของที่จะเข้าบ้านต้องรีไซเคิลได้  2) สามารถให้ความรู้ประชาชนในการจัดการแยกขยะรีไซเคิลได้สำเร็จ โดยใช้หลัก “มันมาอย่างไร ก็ให้มันไปอย่างนั้น” เช่นเราไปซื้อของห้างฯบิ๊กซี  โลตัส  แมคโคร หรือแม้แต่ 7 มันมาถุงเล็ก ใส่ถุงหิ้วมานะ มันมาถุงใหญ่ใส่ถุงหิ้วมานะ เราก็มาตอกตะปูไว้ข้างฝาบ้านเรา ถุงใหญ่  ถุงกลาง  ถุงเล็ก ตอก ไว้ แล้วก็เขียนป้ายติดไว้ถุงนี้กระดาษ  กก.ละ 5 บาท ถุงนี้กระป๋องอลูมิเนียม กก.ละ 38 บาท  ถุงนี้กระป๋องสังกะสี กระป๋องกาแฟ กก.ละ 4 บาท  ถุงนี้พลาสติก กก.ละ 20 บาท  ถุงนี้ขวดแก้ว  แล้วก็เขียนชื่อผู้ดูแลรับผิดชอบไว้ด้วยเลย อย่างลูกสาว  ลูกชายของเรา กรณีมีข้อสงสัยติดต่อที่เบอร์โทรศัพท์ นั่นไง เห็นไหมมีนักสิ่งแวดล้อมอยู่ในบ้านของเราแล้ว ทั้งกระป๋องเบียร์ น้ำอัดลม หมดแล้วเราก็เหยียบแบนๆ ใส่ถุงไว้ กล่องกระดาษทำให้แบนๆ มัดรวมกันไว้ ไม่เกะกะ พอได้เต็มถุงก็ใส่รถแท็กซี่ไปขายที่ศูนย์รีไซเคิล ไปทีหนึ่งก็ราวๆ 2,000 กว่าบาท ต่างจังหวัดไม่มีปัญหา แต่กทม.ก็จะรถติดนี่สิ กว่าจะไปถึงก็หมดไปกับค่ารถแท็กซี่  นี่ไงการไม่ยอมมีศูนย์รีไซเคิลในเมือง รัฐบาลมีนโยบายให้แยกขยะจากที่บ้าน แต่บางเขตก็มองเรื่องรีไซเคิลเป็นภาพลบ ก็ไม่รู้อย่างไรเหมือนกัน เคยได้ยินเรื่องธนาคารขยะ วงษ์พาณิชย์มีแนวคิดอะไรในการตั้งขึ้นมา วงษ์พาณิชย์ เป็นต้นกำเนิดธนาคารขยะ  เป็นคนคิดครั้งแรกของโลกที่ตั้งธนาคารขยะประวัติศาสตร์ขึ้นมาที่  ร.ร.เทศบาล 5 วัดพันปี ในปี 1999 ตอนนี้ในประเทศไทยเกิดธนาคารขยะกว่า 2,000 ธนาคาร  มีที่ลาว มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ที่ญี่ปุ่น ถึงสหรัฐอเมริกา ธนาคารขยะที่เกิดขึ้นตอนนั้น เป็นปีที่ฟองสบู่แตก ธนาคารต่างๆ ก็ปิดตัวลง เราก็เลยคิดตั้งธนาคารที่มั่นคงที่สุดในโลกขึ้น โดยไม่ใช่เงิน นั่นก็คือการตั้งธนาคารขยะ ไม่ต้องกลัวโจรที่ไหนมาปล้น  เป็นศูนย์การเรียนรู้ที่มีประโยชน์มาก อย่างคิดไม่ถึง พอตั้งธนาคารขึ้น 1) เราก็ให้เด็กบริหารจัดการ  มีการเลือกตั้ง ทำให้รู้จักการจัดการ รวมทั้งรู้จักประชาธิปไตย 2) ทำให้เด็กรู้จักการแยกขยะ และนำขยะมาแปลงเป็นเงิน ทำให้เด็กรู้จักการออม รู้จักสิ่งแวดล้อม 3) พอเด็กรู้วิธีการแยกขยะ ก็นำกลับไปบอกที่บ้านให้รู้จักแยกขยะ “ขวดน้ำปลา  กระดาษ ของหนู เป็นเงินค่าขนมของหนู” เด็กเอาไปบอกยายอายุ 70 ให้รู้วิธีการแยกขยะ ซึ่งยายเกิดมา 70 ปียังไม่รู้เลยว่าขยะเอามาขายได้  ให้เด็กเป็นครูให้กับที่บ้านด้วย การลงทุนธนาคารครั้งแรก เอาไม้มากั้นข้างฝา เอาสีเขียวที่ทากระดาษดำไปทาให้สวยๆ หน่อย แล้วติดป้ายว่า “ธนาคารขยะ” ถ้าภาครัฐสนับสนุนให้มีธนาคารขยะทุกโรงเรียน ทุกชุมชน สนับสนุนให้มีการรีไซเคิลขยะ รัฐก็จะไม่สิ้นเปลืองงบประมาณไปหาวิธีการจัดการขยะ  ไปซื้อที่ดินหาที่ทิ้งขยะ  เสียดายงบประมาณมาก ขยะมันไม่ตายนะ เอามันไปฝังที่ป่าช้า อย่าคิดว่ามันตายนะ เพียงแต่มันรอวันระเบิดขึ้นมา... “ขอบคุณนะครับที่มาเที่ยวบ้านคนเก็บขยะ” เจ้าสัวราชาขยะทองคำ กล่าวคำลาก่อนจะจากกัน

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 138 พ.ญ.ปิยะธิดา นางฟ้าของคนเป็นโรคไต

  “เราต้องสังเกตตัวเอง  มีคนไข้บางคนติดเชื้อมา  อย่างเรื่องผ้าเช็ดมือ  ถ้าเราใช้ทุกวันโดยที่ไม่เปลี่ยน  ถึงแม้จะล้างมือสะอาดแล้วแต่พอมาเช็ดมือกับผ้าที่มีเชื้อโรค ก็เหมือนกับไม่ได้ล้างมือ  แล้วพอเรามาปล่อยน้ำยาล้างไต เป็นไงคะ....ก็ติดเชื้อ” เสียงบรรยายนี้ ไม่ใช่วิชาสุขศึกษาในวิชาเรียน  แต่เป็นการทำความเข้าใจการล้างไตผ่านช่องท้องของผู้ป่วยโรคไตร่วมกับญาติ เพื่อผู้ป่วยและญาติจะดูแลกันอย่างถูกต้อง ของ พ.ญ.ปิยะธิดา จึงสมาน แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคไตและการบำบัดทดแทนไต ศูนย์ล้างไตทางช่องท้องโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) สาขาพร้อมมิตร และสาขาธนบุรี “อ้าว ป้าแมว ถ้าเกิดเหตุการณ์แบบนี้ต้องทำอย่างไรคะ” คุณหมอส่งเสียงเจื้อยแจ้วพูดคุยกับผู้ป่วยรุ่นแม่  รุ่นยายอย่างเป็นกันเอง เรียกชื่อได้ถูกต้องทั้งที่เพิ่งแนะนำตัวกันไปก่อนเริ่มการบรรยายทำความเข้าใจ การล้างไตผ่านช่องท้องของผู้ป่วยที่ถูกส่งตัวมารักษาที่นี่ ก่อนตัดสินใจรักษาด้วยวิธีการนี้   คุณหมอบอกว่าถ้าได้มาหาผู้ป่วย จะคิดถึงและเป็นห่วง  เหนื่อยบ้างแต่สนุกกับการทำงานมากกว่า ได้มาเจอผู้ป่วยว่า “อ้อ ยังอยู่” นโยบาย “PD first policy” สำหรับผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายภายใต้สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2551 ทางโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) จึงได้มีการก่อตั้งศูนย์ล้างไตทางช่องท้อง โรงพยาบาลบ้านแพ้ว สาขาพร้อมมิตร  ตั้งแต่วันนั้นศูนย์ล้างไตทางช่องท้องโรงพยาบาลบ้านแพ้วมีผู้ป่วย  1,297 ราย ผู้ป่วยที่ยังรักษาตัวอยู่กับโรงพยาบาล 750 ราย  ซึ่งถือว่าใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และอยู่ในระดับสองของโลก และกว่า 30 โรงพยาบาลที่ส่งตัวผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้ายมาที่นี่ ผู้ป่วยที่นี่เยอะ คำถามง่ายๆ เมื่อเดินเข้ามาแล้วเห็นผู้ป่วยจำนวนมาก ทำไมถึงมีจำนวนผู้ป่วยโรคไตรักษาที่นี่เยอะ คุณหมอจึงแจกแจงว่า ส่วนหนึ่งโรงพยาบาลที่ทำการล้างไตทางช่องท้องอาจจะไม่สะดวกที่จะรักษาให้กับคนไข้บัตรทอง “ความจริงก็ทำกันเป็นหมดละ ทั้งโรงเรียนแพทย์ โรงพยาบาลรัฐขนาดใหญ่ แต่อาจจะเป็นเพราะคนไข้บัตรทองเยอะ การที่ต้องเพิ่มจำนวนพยาบาล จำนวนสาขาวิชาชีพอื่นๆ มารองรับ ทำให้อาจมีปัญหาเรื่องกำลังคน และขาดงบประมาณ การที่ศูนย์ฯของเราสามารถรับได้ส่วนหนึ่งก็น่าจะมาจากการออกนอกระบบ ทำให้ระบบการบริหารจัดการ ไม่ต้องอยู่ในกฎระเบียบมากนัก เพราะเราเลี้ยงตัวเอง แต่ก็ยังเป็นโรงพยาบาลที่ยังสังกัดอยู่ภายใต้กระทรวงสาธารณะสุขอยู่นะคะ การบริหารก็ยังอยู่ภายใต้กระทรวง แต่งบประมาณที่ใช้เป็นส่วนที่ทางเราหาได้เองทั้งหมด ส่วนหนึ่งก็คือความเป็นองค์การมหาชน ไม่ได้เป็นองค์กรที่แสวงหากำไร    การที่ทำงานบริการอะไรที่สามารถเลี้ยงตัวเองได้ในองค์กร และให้งานบริการได้ก็สามารถรัน(run) งานได้  ผลกำไรจึงไม่สำคัญเท่าไร งบประมาณก็ไม่ต้องไปขอ  บุคลากรก็ไม่ต้องถูกบีบ จึงทำให้เรารับคนไข้ได้เยอะ” ล้างไตผ่านช่องท้อง ต้องใช้เวลาทำความเข้าใจ การล้างไตทางช่องท้องเป็นการบำบัดทดแทนไตที่มีการให้บริการอยู่แล้วในประเทศ ไทยก่อนหน้าที่จะมีการเริ่มต้นนโยบาย “PD first policy” แต่ด้วยเหตุปัจจัยหลายประการทำให้จำนวนผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ ได้รับการรักษาด้วยวิธีดังกล่าวน้อยกว่าการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมค่อนข้างมาก แต่เมื่อภาครัฐได้พิจารณากำหนดนโยบาย “PD first policy” โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลทางวิชาการว่าการรักษาทั้ง 2 วิธี มีอัตราการรอดชีวิตไม่แตกต่างกัน แต่การล้างไตทางช่องท้องมีความเป็นไปได้ในการที่จะดำเนินการให้เกิดการ บริการได้ทั่วประเทศ โดยมีการเข้าถึงบริการของประชาชนอย่างทั่วถึง และผลกระทบต่อบุคลากรทางการแพทย์ในภาครัฐน้อยกว่า  แต่การสร้างความเข้าใจกับประชาชนต้องเข้าถึงใจจริงๆ “ช่วงแรกๆ คนล้างไตทางช่องท้องน้อย  แต่ช่วงหลังก็มีผู้ป่วยที่เข้าใจและเลือกที่จะทำ อย่างผู้ป่วยที่เข้ามาที่นี่ครั้งแรก เราก็จะทำความเข้าใจเรื่องการล้างไตทางหน้าท้อง พูดถึงนโยบาย  ความแตกต่างของการฟอกเลือดทั้งสองอย่าง แล้วให้เขาตัดสินใจเลือกว่าจะรักษาแบบไหน  การดูแลรักษาสุขภาพควรจะทำอย่างไร  คือผู้ป่วยกับญาติ จะต้องได้รับการอบรมให้ความรู้ด้วยกัน  เพื่อการดูแลที่ถูกสุขอนามัย และลดการติดเชื้อ  60 เปอร์เซ็นต์ของผู้มาฟังคำแนะนำจะทำ บางคนตัดสินใจนาน เราก็ตามมาฟังต่อ แต่บางคนก็ตายไปก่อนที่จะทำ”   ผู้ป่วยบางคนไม่มีเงินค่าเดินทางมาเรียนล้างช่องท้อง มาหาหมอ ทางโรงพยาบาลเราก็มีเบี้ยเลี้ยงให้ผู้ป่วยด้วยนะ  ให้เขามาหาเรา  ถ้าเขาแข็งแรงดี สุขภาพดี เขาก็จะมีชีวิตอยู่ ใช้ชีวิตอยู่และทำอย่างอื่นๆได้ ทำมาหากินได้ เอาใจใส่เหมือนญาติมิตร การเอาใจใส่ในความหมายก็คือคุณหมอและทีมงานจำชื่อของผู้ป่วยได้ทุกคนและเอาใจใส่เสมอ “ส่วนใหญ่จะจำได้ เพราะมีความตั้งใจที่จะจำ เพราะงานที่เราทำมันเป็นโรคเรื้อรัง  แล้วการรักษาก็ไม่เหมือนฟอกด้วยเครื่องฟอกไตเทียม ที่ผู้ป่วยมาฟอกที่โรงพยาบาล ถ้าอยากได้งานที่มีคุณภาพเราก็สั่งพยาบาลได้  ไม่ต้องไปสั่งผู้ป่วย  แต่งานล้างไตทางช่องท้อง ถ้าอยากได้งานคุณภาพ เราต้องบอกให้ผู้ป่วยทำ ซึ่งสั่งไม่ได้ เขาจะทำก็ต่อเมื่อเขาคิดว่ามันดีและได้ประโยชน์กับเขา  เราจึงบอกทีมเราเสมอว่า “เราต้องรู้จักผู้ป่วย”  ต้องรู้ว่าเขาจะอยู่เพื่ออะไร  บางคนอยู่เพื่อลูก  บางคนอยู่เพื่อตัวเอง  เราต้องเรียนรู้ผู้ป่วยแต่ละคน ว่าคนนี้ต้องพูดคุยแบบไหน  จะแนะนำอย่างไร  เราต้องเห็นเขา  เราจะสั่งเขาไม่ได้เพราะเขาไม่ใช่ลูกจ้างเรานี่นา จริงไหม” กิจกรรมก็จะเริ่มต้นด้วยการให้คำแนะนำก่อน พอผู้ป่วยเข้ามาฟังเราก็จะให้คำแนะนำเรื่องการล้างไต การดูแลรักษาตัวเอง แล้วก็ต่อด้วย การวางแผนการรักษา ก็จะทำเป็นรายคนไป ทุกคนจะต้องได้รับการวางสายเพื่อล้างไตผ่านช่องท้อง จะต้องผ่าตัดใส่สายยางเพื่อล้างไตหลังจากนั้นอีก 7 วัน  ก็ต้องวางแผนร่วมกับผู้ป่วย บางคนเปลี่ยนจากฟอกด้วยเครื่องมาล้างไตผ่านช่องท้อง ก็ไม่น่าห่วงเพราะเขามีคิวฟอกเลือดอยู่ก็จะไม่ด่วน  อีกกลุ่มก็จะเป็นกลุ่มที่มีของเสียในร่างกายเยอะ เราก็จะดำเนินการกับกลุ่มนี้ก่อนบางคนก็แนะนำให้ฟอกเลือดก่อนที่จะล้างไตทางช่องท้อง หลังจากแผลผ่าตัดแห้งก็เริ่มเรียนการเปลี่ยนน้ำยาล้างไตทางช่องท้อง ผู้ป่วยก็จะเรียนการล้างไต ก็จะใช้ตัวเองนี่ละเรียน  จะสอนปล่อยน้ำยาเข้าช่องท้องทิ้งไว้ 2 ชม.แล้วปล่อยออก แล้วก็ใส่เข้าไปใหม่ จะได้คล่อง  แต่ความจริงต้องมีญาติมาเรียนด้วยนะ บางครอบครัวมาทั้งตระกูลเลยก็มีก็ถือเป็นเรื่องดี  ไม่คิดเงินเพิ่มคะ บางประเทศคิดเพิ่มนะเพราะมันเหนื่อย บางคนอยู่คนเดียว ก็ต้องดูแลตัวเอง สังคมเมืองนี่นะ ไม่ดูแลตัวเองแล้วใครจะมาดูแล ตอนเรียนเราก็จะเข้มหน่อยต้องให้ผู้ป่วยล้างไตเองให้เป็นใน 7 วัน  และห้ามไม่ให้ผู้ป่วยสอนกันเองการล้างไตทางช่องท้องมันต้องใช้เวลา แล้วต้องล้างเต็ม 24 ชั่วโมง ถึงจะถือว่าของเสียถูกขับออกมา เพราะเป็นกระบวนการที่ช้าแต่ต่อเนื่อง และด้วยความช้านี่ละทำให้ไม่ส่งผลกระทบต่อหัวใจและไตเก่า  ผู้ป่วยจึงต้องเรียนให้เป็นให้เร็ว  แล้วก็ทำการสอบ  แล้วจึงพาไปส่งบ้านแล้วก็นัดตรวจทุกๆ เดือน ผู้ป่วยบางคนไม่มีเงินค่าเดินทางมาเรียนล้างช่องท้อง มาหาหมอ ทางโรงพยาบาลเราก็มีเบี้ยเลี้ยงให้ผู้ป่วยด้วยนะ  ให้เขามาหาเรา  ถ้าเขาแข็งแรงดี สุขภาพดี เขาก็จะมีชีวิตอยู่ ใช้ชีวิตอยู่และทำอย่างอื่นๆได้ ทำมาหากินได้ เราก็มีกิจกรรมเยี่ยมบ้าน เป็นทีมนักวิชาการสาธารณสุข 750 คน ทยอยออกเยี่ยมบ้านทุกๆ 3 เดือน เพื่อไปดูการเปลี่ยนน้ำยาที่บ้าน  สภาพแวดล้อมที่บ้าน สังคม  ฐานะทางครอบครัว  เพื่อช่วยประสานงานให้ความช่วยเหลือกับองค์กรอื่นๆด้วย  เยี่ยมบ้านทีเราก็แบ่งออกเป็นสาย แบ่งๆ กันไป เพื่อให้ทันสถานการณ์เราก็มีโทรศัพท์สายด่วน บริการให้คำปรึกษา 24 ชั่วโมง ให้คำปรึกษาเวลาฉุกเฉิน  เพราะเราเชื่อว่า “ผู้ป่วยทำได้ ถ้าหากเขาเข้าใจ เรามีหน้าที่ทำให้เขาเข้าใจว่าต้องเข้าใจเรื่องอะไร” ผู้ป่วยต้องรู้เพราะเขาเปลี่ยนน้ำยาเองที่บ้าน เราจึงเชื่อว่าทุกคนทำได้ถ้าหากเข้าใจ  ไม่เกี่ยงว่ารวยแล้วถึงจะเข้าใจ คนจนก็เข้าใจได้  บางคนจบ ป.4 ก็เปลี่ยนน้ำยาได้ไม่เห็นติดเชื้อเลย เป็นหน้าที่ของผู้สอนมากกว่าที่จะทำอย่างไรให้ผู้ป่วยเข้าใจ  เราต้องเอาใจใส่เขาไม่ใช่ไปสั่งเขาว่าต้องทำอย่างนั้น อย่างนี้  ไม่มีใครทำแน่นอน เรามีอาสาสมัครด้วยนะ เป็นผู้ป่วยโรคไตนี่ละมาช่วยเราที่โรงพยาบาล  ช่วยทำกิจกรรมนักกำหนดอาหาร ดูแลผู้ป่วยในเรื่องอาหาร และเฉพาะกลุ่มบางคนต้องเสริมโปรตีน ต้องกินอะไรบ้าง เพื่อดูแลด้านโภชนาการของผู้ป่วย อีกกิจกรรมของอาสาสมัครก็คือ กิจกรรมรักตัวกลัวบวม ทำกิจกรรมเฉพาะคนที่ตัวบวม ให้เรียนรู้กันในกลุ่ม เพื่อลดอาการบวม ภาวะน้ำเกินของผู้ป่วย พอเห็นเพื่อนลดได้ก็จะมีกำลังใจในการดูแลตัวเอง  กำลังใจสำคัญมาก ถ้ามีกำลังใจก็จะลุยชีวิตต่อได้ เราพาผู้ป่วยไปเที่ยวด้วยนะ ปีละ 2 ครั้ง ก็ใช้งบโรงพยาบาลนี่ล่ะ ส่วนหนึ่งเป็นการสร้างกำลังใจ เพราะผู้ป่วยที่อยู่กับโรคเรื้อรังมาเป็นเวลานานแล้วมันจะรู้สึกแย่ ท้อแท้ การที่เขาได้ออกมาเรียนรู้มาเห็นคนอื่นๆ ที่เป็นคล้ายๆ กัน  ได้ไปเที่ยวด้วยกัน ก็จะเติมกำลังใจกันให้ลุกขึ้นมาต่อสู้ต่อไปได้  มันเป็นการสื่อสารโดยไม่ต้องใช้ภาษา   ความเท่าเทียม 3 กองทุนเรื่องการฟอกไต มันพูดยาก ความเท่าเทียมกันไม่ได้หมายความว่าทั้ง 5 นิ้วต้องเท่ากัน  มันมีเงื่อนไขทางสังคม ทางเศรษฐกิจ  บางอย่างต้องใช้เวลา บางอย่างในกระดาษเขียนว่าเท่ากัน  แต่พอปฏิบัติจริงกลับไม่เท่ากัน สมมติอยากได้การฟอกเลือดฟรีทั้งประเทศ  แต่เอาเข้าจริงคนที่ฟอกเลือดไกลๆ คุณรู้ไหมว่าไตเทียมที่คุณฟอกเลือดอยู่อาจจะไม่มีคุณภาพ  เพราะตรวจไม่ทัน เพราะเครื่องไตเทียมอยู่กับโรงพยาบาลเอกชนเยอะ  ซึ่งไม่ได้ทำเพื่อการกุศลค่ะ  ทำเพื่อเลี้ยงตัวเองให้ได้ผลกำไร ไตเทียมต้องการพยาบาลเฉพาะทางปัจจุบันมีแค่ 1,200 คน ที่กำหนดชัดเจนว่าจำนวนกี่คนต่อเครื่อง  ถ้ามีคนไข้เท่านี้คนจะต้องมีพยาบาลกี่คน ถ้าอยากได้ในกระดาษเท่ากัน เขาก็จะจัดให้เท่ากัน แต่สิ่งที่ได้อาจจะไม่ได้คุณภาพ เพราะฉะนั้นส่วนตัวคิดว่ามันต้องขึ้นอยู่กับจังหวะและเวลา ที่อยากให้ในกระดาษมันเขียนเท่ากัน แต่หารู้ว่าบางทีสิ่งที่มันเกิดมันไม่เท่ากันจริง  ถ้าไปยืนดูไตเทียมที่แยกอนุสาวรีย์ชัย  กับไปยืนดูไตเทียมที่จังหวัดขอนแก่น  มันไม่เท่ากันแบบอันตรายได้ คำว่าเท่ากันมันลึกซึ้งเกินกว่าจะมาเขียนบนกระดาษและบอกเพียงว่าต้องเท่ากัน  คงจะกินเวลาไม่นานนี้หรอกสิทธิน่าจะเท่ากัน  แต่บางทีก็อาจจะห่างกันขึ้นนะ ผู้ป่วยที่เป็นหลังวันที่ปี 51 ต้องล้างไตทางช่องท้องก่อนถึงจะสามารถฟอกเลือดโดยไม่ต้องร่วมจ่าย  แต่ก็นั่นล่ะอีกส่วนผู้บริการเองก็เกรงว่าจะให้บริการไม่ทัน ทั้งเครื่องมือ ทั้งบุคลากร  ก็ต้องใช้ระยะเวลา

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 137 กรุงเทพเมืองจักรยาน ความฝัน...ที่ไม่ไกลเกินฝัน

“ถ้าเรามองจากมุมมองของจักรยาน  คุณจะได้ทุกอย่างที่เป็นมิตรกับมนุษย์  เพราะจักรยานเป็นเทคโนโลยีของมนุษย์ และราคาถูก ทุกอย่างเราคุมได้ ความเร็ว สิ่งแวดล้อม และทำให้คุณเข้าถึงได้ทุกซอกมุม  อย่างการได้พูดคุยกับคนขายซาลาเปา ได้รู้เรื่องราว เกิดรายละเอียดขึ้นมาในชีวิต ต่างกับรถยนต์ที่ต้องวนหาที่จอด พอหาที่จอดไม่ได้ก็ไม่ซื้อ”   ฉลาดซื้อฉบับนี้ “พาคุณ” ไปขี่จักรยานกับ ดร.สรณรัชฎ์ กาญจนะวณิชย์  เลขาธิการมูลนิธิโลกสีเขียว กับโครงการดีๆ จักรยานกลางเมือง ซึ่งมูลนิธิโลกสีเขียวทำงานสองส่วนนั่นก็คือการเปลี่ยนทัศนคติของคน และการทำแผนที่ทางจักรยาน  มาค่ะ มาปั่นไปพร้อมกับเธอ   ขี่จักรยานแก้ปัญหาเมืองได้อย่างไร 2 – 3 ปีที่ผ่านมาจักรยานถูกพูดถึงในทิศทางการพัฒนาเมือง อาจจะยังไม่เป็นกระแสหลัก เริ่มจากบทความ แมกกาซีน   เพราะจักรยานสามารถแก้ปัญหาที่ซับซ้อนในสังคมได้ทั้งเรื่องเศรษฐกิจ  สังคม  สิ่งแวดล้อม  ความเหลื่อมล้ำ  พื้นที่สาธารณะ ปัจจุบันก็มีหลากหลายกลุ่มเกิดขึ้นมาใหม่  ติดต่อกันเป็นโครงข่าย เพื่อจะร่วมกันผลักดันให้เกิดการพัฒนาเมือง   ถ้าเรามองจากมุมมองของจักรยาน  คุณจะได้ทุกอย่างที่เป็นมิตรกับมนุษย์  เพราะจักรยานเป็นเทคโนโลยีของมนุษย์ และราคาถูก ทุกอย่างเราคุมได้ ความเร็ว สิ่งแวดล้อม และทำให้คุณเข้าถึงได้ทุกซอกมุม  อย่างการได้พูดคุยกับคนขายซาลาเปา ได้รู้เรื่องราว เกิดรายละเอียดขึ้นมาในชีวิต ต่างกับรถยนต์ที่ต้องวนหาที่จอด พอหาที่จอดไม่ได้ก็ไม่ซื้อ   คนที่เริ่มขี่จักรยานใหม่ๆ หลายคนเริ่มที่เหตุผลทางเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม  พอเริ่มขี่จักรยานชีวิตคุณก็จะเริ่มเปลี่ยน  มีการทักทายกัน พูดคุยกัน เกิดเป็นชุมชน ไปแตะรากของปัญหาต่างๆ ทั้งความไม่มีชุมชน สิ่งแวดล้อมไม่ดี  ไม่มีพื้นที่สาธารณะ ไม่มีเวลา แต่พอได้เปลี่ยนมาใช้จักรยาน ทุกปัญหาก็จะถูกแก้ไปเอง   เมืองจักรยานตอนนี้ที่อื่นมีไหม จากการเริ่มต้นของหลายๆ เมืองอย่างโบโกต้า ที่มี “เมืองไบซิเคิลซันเดย์” ซึ่งเป็นวันที่มีการปิดถนนเพื่อให้เป็นเมืองจักรยาน คำว่าเมืองจักรยานไม่ได้หมายความว่าทุกคนต้องขี่จักรยาน แต่เป็นเมืองที่ทุกคนสัญจรได้อย่างไม่เบียดเบียนกันและกัน ขับรถยนต์ก็ได้แต่ต้องไม่ปล่อยให้รถยนต์เข้ามายึดชีวิต  และรัฐต้องสร้างระบบขนส่งมวลชนที่ดี พอเราดูบทเรียนจากที่อื่นๆ เราก็จะเห็นว่าการที่จะส่งเสริมเมืองจักรยานก็ต้องอาศัย “เจตจำนงทางการเมือง” ต้องอาศัยแนวความคิด  ต้องเกิดการเปลี่ยนกระบวนทรรศน์  เพราะว่าพวกเราเกิดหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นเมืองที่ถูกเปลี่ยนเป็นรถยนต์ ถนนก็สร้างให้รถยนต์  ทั้งที่ถนนเป็นของทุกคน  ใช้ภาษีของเราในการสร้าง  เราก็ต้องสิทธิในการเข้าถึงพื้นที่สาธารณะ ไม่ใช่ปล่อยให้รถยนต์เข้าใช้หมด กรุงเทพฯ เรากลายเป็นเมืองที่ถูกรถยนต์บุกรุกไปแล้ว ต้องมีการขยายถนน ไล่รื้อบ้านของชาวบ้านเพื่อสร้างถนน ซึ่งมันตรงกันข้ามกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตคน โบโกต้าสร้างความเปลี่ยนแปลงของเมืองโดยให้ “คนเป็นศูนย์กลาง” ไม่ใช่ให้ “รถยนต์เป็นศูนย์กลาง” ถ้าพัฒนาเมืองให้รถยนต์ก็จะไม่ได้เมืองให้กับมนุษย์  แต่ถ้าจะพัฒนาเมืองให้มนุษย์ก็จะไม่สามารถให้รถยนต์สบายที่สุด เป็นสิ่งที่ต้องเลือกว่าจะพัฒนาอะไร หลายๆ เมืองทั่วโลกที่ประสบความสำเร็จเรื่องการใช้จักรยานจะเห็นเลยว่ามีปัจจัยเดียวกันคือ มีโครงข่ายเส้นทางจักรยานที่ขี่ถึงกันทะลุปรุโปร่ง เราไม่ได้ต้องการทางจักรยานที่สวยหรือแพงๆ แต่เป็นทางที่รู้จักผสมผสาน อาจจะแบ่งเลนหรือเป็นส่วนหนึ่งของถนนก็ได้  และควรจะมีข้อบังคับต่างๆ เช่น ประกาศจำกัดความเร็ว เพื่อความปลอดภัยของคนใช้ถนน และการเก็บภาษีค่ารถติด เช่นที่สิงคโปร์ ลอนดอน และหลายๆ เมืองทำอยู่   การจะเป็นเมืองจักรยานได้ต้องทำอย่างไร สิ่งแรกที่ต้องเริ่มคือเริ่มเปลี่ยนความคิดคน ปลุกเร้าจินตนาการขึ้นมาให้ได้ เพราะต้องสร้างความเข้าใจ  แต่ใช่ว่าจะเปลี่ยนได้ในชั่วข้ามคืน ต้องมีการสื่อสารเพื่อเปลี่ยนทัศนคติของคน  นั่นคือต้องให้คนได้ลิ้มรสเมืองจักรยานก่อน  มานับหนึ่งปิดถนนกันที่เมืองเศรษฐกิจก่อน เพราะเราต้องการให้คนเห็น แรกๆแม่ค้าอาจจะต่อต้านเหมือนที่อื่นๆ ที่ห้ามรถยนต์เข้า แม่ค้าก็กลัวจะขายของไม่ได้ แต่ที่ไหนได้กลับขายดีกว่าเดิม  เพราะจักรยานสามารถไปได้ทุกที่ เราจึงต้องพยายามทำ “คาร์ฟรีซันเดย์” ช่วงแรกมีการประสานงานกับ กทม.ปิดที่ถนนสีลม  แต่ปิดถนนแค่เลนเดียว คนก็ยังไม่ตื่นตัว แล้วก็เปลี่ยนที่ไปเรื่อยๆ ซึ่งการเปลี่ยนที่แบบนี้ ตัวเราเองมองเป็นการขี่จักรยานพาไปเที่ยว  ซึ่งไม่ใช่กิจกรรมของเรา ไม่ใช่ความหมายของเรา เป็นการเหนื่อยเปล่าๆ เราอยากทำอยู่ที่เดิม ให้คนได้รู้ คล้ายกับตลาดนัดมากกว่า อย่างเมืองจาการ์ตา(ประเทศอินโดนีเซีย) จากนัดทุกเดือนตอนนี้กลายเป็นทุกอาทิตย์ไปแล้ว บนถนนมีคนเดิน มีคนปั่นจักรยาน เด็กๆ วิ่งเล่นได้ เต้นรำได้บนถนน กลายเป็นพื้นที่สาธารณะ  และจะเกิดการยอมรับและสร้างระบบ อย่างในจาการ์ตามีระบบคาร์พูล สามารถโบกรถแล้วขึ้นมาด้วยกันได้ แต่ถึงที่สุดแล้วการจะพัฒนาสู่ความเป็นเมืองจักรยาน ก็ต้องอาศัยเจตจำนงทางการเมือง อย่างโบโกต้า ก็มีปัญหารถยนต์ขึ้นมาจอดบนฟุตบาท รถติด  แต่ด้วยความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาก็สร้างระบบขนส่งมวลชนที่เป็นมาตรฐาน เกิดโครงข่ายขนส่งมวลชน แต่รถยนต์ก็จะเข้าถึงได้ในบางพื้นที่ โครงข่ายที่ขนส่งที่จะเข้าถึงทุกพื้นที่ก็คือจักรยานนั่นเอง ต้องเปลี่ยนทัศนคติให้คนไม่รำคาญจักรยาน  และทำให้คนที่มีรถยนต์ใช้รถยนต์ให้น้อยลง  ไม่ได้ห้ามไม่ให้ใช้  เพราะส่วนหนึ่งก็จำเป็นแต่ใช้ให้เป็นเครื่องมือไม่ใช้เพราะเป็นทาสมัน  คนที่นั่งอยู่ข้างในรถต้องเปลี่ยนความคิดเพราะคุณกำลังเบียดเบียนคนอื่นอยู่   เริ่มต้นการเป็นนักปั่นในเมืองอย่างไรดี ในขณะที่เมืองบ้านเรายังไม่อำนวยทั้งถนนหนทาง เราก็ต้องปรับ ต้องทำอย่างผสมผสาน ทั้งขี่จักรยาน ขึ้นรถไฟ อย่างส่วนตัวใช้จักรยานพับ บ้านอยู่สุขุมวิท ก็ปั่นจากถนนที่บ้าน  มาขึ้นรถไฟใต้ดินที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์  ลงที่หัวลำโพง แล้วก็ปั่นจักรยานมาที่ทำงาน  ถ้าเราจะทำยังไงมันก็ต้องมีหนทางให้มาจนได้  ลองแล้วจะรู้ว่ากรุงเทพฯ มันไม่ได้ไกล แต่ที่รู้สึกว่ามันไกลก็คือรถมันติด  คนส่วนใหญ่ก็จะขี่เฉพาะใกล้ๆ แต่ก็ต้องขี่ให้ได้ทั้งใกล้และไกล อย่างที่ทำงานก็มีคนขี่จักรยานมาทำงานครึ่งหนึ่งของพนักงานที่เรามีเลยทีเดียว   ทางจักรยานบ้านเรามีไหม การพัฒนาเมืองต้องมีแผนการพัฒนา  ต้องมีเรื่องจักรยานเข้าไปด้วยในแผน  ไม่ใช่คิดแต่เรื่องการพัฒนาเมืองเพื่อรถยนต์ วันหนึ่งเกิดอยากจะมีการทำทางจักรยาน ก็ทำให้แล้วคนทำ คนวางแผนไม่ได้ใช้ พอทำเสร็จแล้วก็ตั้งคำถามว่าทำไมคนไม่ใช้ก็มันใช้ได้ไหม ขี่จักรยานไปแล้วก็ต้องยก  ต้องแบกจักรยาน หรือขี่ๆ ไป อ้าวมีสะพานลอยโผล่มา   ซึ่งการจะพัฒนาตรงนี้ก็ต้องให้คนใช้มาบอก มาช่วยคิด ซึ่งมันง่ายมาก ตอนนี้มูลนิธิโลกสีเขียวเราก็ทำเส้นทางจักรยานในกรุงเทพฯ โดยใช้ข้อมูลของคนที่ขี่จักรยานใช้กันอยู่ ใครอยู่ส่วนไหนก็แบ่งโซนกัน แล้วก็นำข้อมูลแต่ละโซนมารวมกัน  จะมีอาสาสมัครอีกกลุ่มหนึ่งที่จะช่วยต่อเติมในเส้นทางในส่วนที่เส้นทางยังเชื่อมกันไม่ได้ แล้วก็จะได้เป็นโครงข่ายเส้นทางจักรยานเกิดขึ้น หลังจากนั้นก็จะนำเสนอเส้นทางตัวอย่าง 2 เส้นทางต่อรัฐเพื่อให้ปรับปรุง เส้นทางแรกก็เส้นคลองไผ่สิงโต ชื่อว่ากรีนเวย์ เป็นเส้นทางจักรยานลอยฟ้าเชื่อมสวน 2 แห่ง เป็นเส้นที่ดีในเชิงยุทธศาสตร์ แต่ในระยะทางกิโลกว่าๆ ที่ต้องแบกจักรยานขึ้น – ลง บันไดถึง 6 ครั้ง แล้วบางจุดชันมาก  อีกเส้นก็คือถนนทรงวาด ซึ่งมีการทำเป็นถนนวันเวย์เยอะมาก จักรยานไม่ควรที่จะวันเวย์ เพราะมันจะอ้อม แต่ควรจะขี่ไปมาได้เลย   ส่วนหนึ่งก็เพื่อตอบว่าการที่รัฐทำเส้นทางจักรยานแล้วคนไม่ใช้ ซึ่งมันไม่ใช่  เพราะว่ามันใช้ไม่ได้ต่างหาก พอเราเสนอเส้นทางที่มีคนใช้อยู่แล้วก็น่าจะเป็นรูปธรรม  ให้รัฐพัฒนาเส้นทางจักรยานต่อไปได้   ถ้าจะเมืองจะเปลี่ยนไปใช้จักรยาน แล้วรถยนต์จะเป็นอย่างไร พอกลุ่มจักรยานเริ่มชัด ก็จะมีการออกมาเคลื่อนของกลุ่มรถยนต์ว่า “อยู่ในรถยนต์ปลอดภัยกว่า” แต่ก็จะมีบริษัทรถบางเจ้าที่ฉลาด พวกที่ไม่ฉลาดก็จะมองเราเป็นศัตรูที่จะทำอุตสาหกรรมของเราพัง แต่ถ้าฉลาดอย่างบริษัทรถในแคนาดาก็จะทำรถยนต์แนวกรีน  และมุ่งการขายรถยนต์ไปที่กลุ่มคนขี่จักรยาน อาจจะทำที่ใส่จักรยาน ย้อนมองมาในบ้านเราถึงแม้จะมีนโยบายรถคันแรกที่ทำให้ซื้อรถคันแรกได้ถูก  แต่ก็ไม่ได้มีแนวทางในการใช้  เพราะมุ่งเน้นที่จะขายรถอย่างเดียว ในขณะที่เราลดภาษีรถยนต์แต่ขอโทษทีจักรยานคุณภาพดีราคา ไม่แพง ต้องเสียภาษีนำเข้าเข้า  30 – 40 เปอร์เซ็นต์ ก็ไม่เข้าใจเหมือนกัน บ้านเรายังไม่มีนโยบายอุดหนุนนโยบายสีเขียวเลยที่จะอุดหนุนกิจกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นี่เรากำลังพูดถึงพื้นที่ของถนน ที่เป็นประชาธิปไตยที่จับต้องได้นะ ก็อือ...นะอะไรกันนี่...

อ่านเพิ่มเติม >