ฉบับที่ 108 ถูกตัดบัญชีเงินเดือนทั้งหมดโดยยังไม่มีหมายศาล

ต้องเรียกว่า 100% เต็มครับที่เป็นลูกหนี้ของธนาคารกรุงเทพทั้งนั้นและได้ร้องเรียนเข้ามาที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ว่าถูกธนาคารดอกบัวหลวงยึดเงินในบัญชีไปโดยไม่มีการบอกกล่าวหรือมีหมายบังคับคดีจากศาลแต่อย่างใด ที่สำคัญคือบัญชีที่ถูกยึดเป็นบัญชีเงินเดือนวันที่ 24 ธันวาคม 2552 เป็นวันสุดช็อคของคุณสุวรรณ(นามสมมติ) เพราะอยู่ดีๆ เงินในบัญชีร่วมสี่หมื่นกว่าหายกลายเป็นศูนย์โดยไม่มีการบอกกล่าว“วันนั้นดิฉันไปกดเงินจากบัญชีธนาคารกรุงเทพซึ่งเป็นบัญชีสำหรับโอนเงินเดือนเข้าแต่พบเงินในบัญชีมียอดเงินเป็นศูนย์บาท ตกใจมากค่ะทีแรกคิดว่าเงินหายจึงโทรสอบถามไปที่คอลเซนเตอร์ ได้รับแจ้งให้ติดต่อไปอีกหมายเลขหนึ่ง ก็กดโทรไปถามจึงได้รับแจ้งว่า ธนาคารเป็นผู้หักเงินในบัญชีไปทั้งหมดจริงเพื่อนำไปชำระหนี้บัตรเครดิตของธนาคารกรุงเทพที่ดิฉันติดค้างชำระอยู่  เจ้าหน้าที่แจ้งว่าธนาคารมีสิทธิจะทำได้เนื่องจากดิฉันทำสัญญาไว้”คุณสุวรรณงงเหมือนเพลงไก่นาตาฟาง ว่าตนเองไปทำสัญญาบ้าๆ แบบนี้ตอนไหนที่ไปอนุญาตให้ธนาคารหักเงินซะหมดเกลี้ยงจนไม่มีจะกิน…คุณวรพลเป็นลูกหนี้บัตรเครดิตของธนาคารกรุงเทพอีกรายที่ประสบชะตากรรมในลักษณะเดียวกัน โดยเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2552 ญาติของคุณวรพลได้โอนเงินมาใช้หนี้ของพี่ชายจำนวน 12,500 บาท เข้ามาบัญชีของคุณวรพล พอวันที่  29 ธันวาคม 2552 คุณวรพลจะไปกดเงินมาให้พี่ชาย แต่ว่าไม่มีเงินอยู่แม้แต่บาทเดียว ไปสอบถามทางธนาคารบอกคุณเป็นหนี้บัตรเครดิต ทางบัตรเครดิตได้หักเงินไปแล้ว สุดท้ายคือคุณสมคิด ถูกธนาคารกรุงเทพอายัดเงินในบัญชีเงินเดือนไปทั้งหมด เพื่อชำระหนี้บัตรเครดิต จำนวนสองหมื่นกว่าบาท โดยคุณสมคิดเข้าใจว่า การที่ธนาคารจะทำเช่นนี้ได้จะต้องได้รับการยินยอมจากเจ้าของบัญชีเสียก่อนการยึดเงินในบัญชีเพื่อนำไปชำระหนี้โดยไม่มีการบอกกล่าวกับลูกหนี้ของธนาคารแห่งนี้ ทำให้ลูกหนี้ได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก อย่างกรณีของคุณสุวรรณเธอบอกว่า เงินที่ถูกยึดไปนั้นเป็นเงินเดือนและโบนัสที่ได้มาและจะนำมาเคลียประนอมหนี้เจ้าหนี้ที่มี  และเป็นค่าใช้จ่ายจิปาถะในแต่ละเดือนของครอบครัว และเมื่อไม่มีเงินเหลือเลยแม้แต่บาทเดียว ทำให้ต้องไปกู้หนี้ยืมสินญาติพี่น้องเพื่อมาประทังชีวิตแนวทางแก้ไขปัญหาการที่ลูกหนี้ที่ผิดนัดชำระหนี้จะถูกยึดทรัพย์ อายัดเงินทั้งที่เป็นเงินเดือนหรือเงินในบัญชีที่ฝากไว้กับธนาคารได้นั้น ไม่ใช่เรื่องที่เจ้าหนี้จะทำได้โดยพลการ เพราะตามกระบวนการทางกฎหมายแล้วเจ้าหนี้จะต้องไปฟ้องร้องต่อศาลจนมีคำพิพากษาออกมา หากลูกหนี้ก็ยังไม่มีปัญญาหาเงินมาชำระหนี้ได้นั่นแหละ ทางเจ้าหนี้ถึงจะไปร้องขอต่อศาลอีกครั้งเพื่อออกหมายบังคับคดี อายัดเงินเดือน ยึดทรัพย์ หรือยึดบัญชีฝากเงินในธนาคาร ที่ว่ามานี้เป็นกรณีที่ไม่มีข้อสัญญาผูกกันไว้แต่ต้น แต่ถ้ามีสัญญาผูกพันกันไว้ว่าถ้าลูกหนี้ไม่ชำระหนี้จะยอมให้เจ้าหนี้ทำอย่างนั้น อย่างนี้ได้และลูกหนี้ลงนามยินยอมให้เจ้าหนี้ทำเช่นนั้นได้ก็เสร็จเจ้าหนี้แน่นอนในการทำสัญญาเป็นสมาชิกบัตรเครดิตกับธนาคารกรุงเทพหรือกับสถาบันการเงินอื่นๆ ต้องยอมรับว่ามีผู้บริโภคน้อยรายที่จะสนใจอ่านข้อสัญญากันทุกบรรทัดก่อนลงลายมือชื่อเข้าทำสัญญา แต่ถ้าใครมีบัญชีเงินเดือนอยู่กับธนาคารกรุงเทพและถูกแนะนำให้ทำบัตรเครดิตด้วย ขอแนะนำว่าต้องอ่านครับหากจะทำบัตรเครดิตกับธนาคารแห่งนี้ เพราะในสัญญามีการระบุข้อความสำคัญว่า “ข้าพเจ้า(ผู้ถือบัตรเครดิต) ตกลงว่า หากข้าพเจ้าไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดและเงื่อนไขการใช้บัตรเครดิตของธนาคาร อันเป็นเหตุให้ธนาคารยกเลิกบัตร ข้าพเจ้ายินยอมให้ธนาคารมีสิทธินำเงินในบัญชีเงินฝากทุกประเภทของข้าพเจ้า มาชำระหนี้บัตรเครดิตที่มีอยู่กับธนาคารได้” ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ธนาคารยึดเงินในบัญชีไปชำระหนี้บัตรเครดิตที่ค้างได้จนกว่าจะหมดเนื่องจากผู้บริโภคได้ให้ความยินยอมไว้แล้วนั่นเอง และสามารถหักได้แม้จะอายุความของหนี้บัตรเครดิตจะขาดไปแล้วก็ตามข้อสัญญาในลักษณะดังกล่าวนี้ คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้มีการพิจารณาเห็นว่าเป็นข้อสัญญาที่มีลักษณะหรือมีผลให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งปฏิบัติหรือรับภาระเกินกว่าที่วิญญูชนจะพึงคาดหมายได้ตามปกติ เนื่องจากการไม่ชำระหนี้บัตรเครดิตอาจมีสาเหตุหลายประการ เช่น บัตรสูญหาย  บัตรถูกลักขโมย  ซึ่งยังไม่ได้พิสูจน์ความรับผิดประกอบกับเป็นการใช้ข้อสัญญาที่เลี่ยงกระบวนการยุติธรรมโดยไม่ไปใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลเพื่อพิสูจน์ความผิดเสียก่อน  การกำหนดข้อสัญญาเช่นนี้ จึงน่าจะเป็นกรณีที่กำหนดข้อสัญญาที่ให้ผู้บริโภคต้องรับผิดชอบ หรือรับภาระมากกว่าที่กฎหมายกำหนด  ซึ่งอาจถือได้ว่าทำให้ได้เปรียบคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเกินสมควร  ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 และยังขัดต่อประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่องให้ธุรกิจบัตรเครดิตเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2542 อีก ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนของคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อหาแนวทางกำหนดนโยบายและมาตรการในการคุ้มครองผู้บริโภคต่อไปแต่ผู้บริโภคอย่างคุณสุวรรณ คุณวรพล คุณสมคิดที่โดนยึดเงินไปแล้วคงจะรอมาตรการของ สคบ. ไม่ไหว ข้อแนะนำที่มีให้คือให้ไปขอเจรจากับธนาคารเพื่อขอลดหย่อนการหักเงินในบัญชีลงส่วนหนึ่งซึ่งธนาคารจะพิจารณาเป็นรายๆ ไป และที่สำคัญต้องไม่ผิดนัดชำระหนี้บัตรเครดิตของธนาคารที่ตนมีสมุดบัญชีเงินเดือนหรือสมุดบัญชีเงินฝากอยู่อย่างเด็ดขาด

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 106 ช่วยทำให้คนไม่คิดก่อหนี้ด้วยนะรัฐบาล

คงต้องยอมรับกันว่าปัจจุบันเรื่องหนี้ๆ โดยเฉพาะหนี้ที่ไม่ใช่หนี้ในระบบสถาบันการเงิน หรือที่เรียกกันติดปากว่า “หนี้นอกระบบ” นั้น มีการกระพือโหมข่าวนี้กันมากในสื่อสารมวลชนต่างๆ อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะข่าวทีวีและหนังสือพิมพ์ มีการนำเสนอให้เห็นถึงการคิดดอกเบี้ยกันแบบบ้าระห่ำชนิดว่าบ้านนี้เมืองนี้มันไม่มีขื่อมีแปกันเลยทีเดียว รวมถึงวิธีการทวงหนี้แบบมหาโหด ทั้งชกต่อยเตะตี และสุดท้ายของความรุนแรงคือ ถึงกับฆ่าแกงกัน จนทำให้รัฐบาลก้นร้อนนั่งไม่ติดต้องหาวิธีด้วยการหยิบยกปัญหาหนี้นอกระบบ ขึ้นมาเป็นปัญหาระดับชาติ โดยกระทรวงการคลังแอ่นอกมารับเป็นเจ้าภาพในการแก้ไขปัญหาการออกมาตรการมาช่วยเหลือลูกหนี้นอกระบบ ให้พ้นทุกข์พ้นร้อนจากวังวนดอกเบี้ยมหาโหดนั้นคือ ให้สถาบันการเงินในระบบเข้ามาช่วยเหลือ โดยให้ลูกหนี้นอกระบบสามารถกู้เงินไปใช้หนี้ได้และมาเป็นหนี้สถาบันการเงินแทนในราคาดอกเบี้ยที่เป็นธรรมและระยะเวลาการผ่อนชำระก็ยืดเวลาให้ยาวขึ้น เรียกว่ามาตรการครั้งนี้ น่าจะสามารถช่วยให้ลูกหนี้หลุดพ้นจากขอบเหวแห่งความทุกข์ร้อนของกระบวนการหนี้นอกระบบได้ เรียกง่ายๆ ว่า หลุดพ้นจากขุมนรกกันเลยทีเดียวก็ว่าได้ผู้เขียนเห็นมาตรการนี้แล้วก็รู้สึกโล่งอกโล่งใจและชื่นใจแทนลูกหนี้เหล่านั้น และนึกขอบคุณรัฐบาลที่ให้ความสำคัญกับประชาชนทุกระดับแบบได้ใจกันไปเต็มๆ กันเลยล่ะ (นี่ชมนะ ชมจริงๆ) แต่มีอยู่วันหนึ่งผู้เขียนได้มีโอกาสเข้าไปสระผมที่ร้านแห่งหนึ่งแถวสมุทรสงคราม พอดีในร้านนั้นมีคนนั่งพูดคุยกันอยู่เรื่องหนี้นอกระบบและการช่วยเหลือของรัฐ ก็เลยนั่งฟังเขาคุยกันจับใจความได้ว่า ดีจังเลยที่รัฐบาลช่วยเหลือในครั้งนี้ธนาคารออมสินก็ดี๊ดีๆให้เรากู้ง่ายมากแค่เรารวมกลุ่มกันไป 3 คน และค้ำประกันกันเองก็กู้ได้แล้ว งวดแรกเขาให้กู้คนละสองหมื่น หากเรามีประวัติดีเขาจะเพิ่มให้เป็นคนละห้าหมื่น แต่ในกลุ่มเราต้องส่งตรงเวลานะอย่าให้เสียประวัติ ไม่อย่างนั้นเขาจะไม่เพิ่มวงเงินให้ ตอนนี้เอาไปใช้หนี้นอกระบบได้แล้วโล่งไปเลยดีจัง ผู้เขียนก็เลยถามเขาว่าทำไมถึงต้องกู้นอกระบบล่ะ เขาบอกว่าก็ตอนแรกลงทุนค้าขายมันไม่มีเงินทุนก็เลยต้องกู้เขา ก็คิดว่าจะส่งทันแต่มันขายของไม่ดีการส่งเลยเป็นไปด้วยความยากลำบาก ผู้เขียนก็พยักหน้าแบบเข้าอกเข้าใจกันแหละ สักพักเขาก็เปลี่ยนเรื่องคุยตอนแรกผู้เขียนก็ไม่ตั้งใจฟังแต่มาสะดุดตรงที่ เสียงเจ้าของร้านคุยว่า แหม..เมื่อคืนดวงไม่ดีเสียป๊อกเด้งไปสามพัน เดี๋ยวคืนนี้แก้ตัวใหม่ เสียงอีกคน(ที่คุยเรื่องเป็นหนี้นอกระบบ)ก็ตอบมาว่าฉันก็ดวงไม่ดีงวดนี้ตาม 41 ไป 2,000 บาท ไม่กระทบเลย งวดหน้าเอาใหม่ ผู้เขียนฟังแล้วอึ้งทึ่งไปเลย...อะไรเนี่ย เมื่อกี้ยังคุยเรื่องความทุกข์ของการเป็นหนี้อยู่เลย แป๊บเดียวคุยเรื่องการพนันกันและ โอ้ย..ยังงี้เขาจะหลุดพ้นวังวนของการเป็นหนี้ได้อย่างไร หากลูกหนี้เหล่านั้นยังไม่มีวินัยในการใช้จ่ายเงินสุดท้ายก็คงหนีไม่พ้นการกลับไปเป็นหนี้นอกระบบอีกจนได้ ดังนั้นหากรัฐบาลจะช่วยเขาคงไม่ใช่แค่หาแหล่งเงินกู้ให้ใหม่เหมือนที่ทำอยู่ แต่คงต้องมีการฝึกอบรมวินัยการบริหารจัดการเงินรวมถึงวิธีคิดให้เขาด้วย ไม่อย่างนั้นการช่วยเหลือของรัฐคงเป็นได้แค่ไฟไหม้ฟาง สุดท้ายเขาเหล่านั้นก็ต้องกลับไปเป็นลูกหนี้นอกระบบอีกเหมือนเดิม หากจะช่วยเขาจริงคงต้องคิดมากกว่านี้นะ รัด-ทะ-บาน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 106 แก้หนี้นอกระบบ ต้องพบตำรวจดีที่สุด

คุณพรมีอาชีพค้าขาย โดยปกติของคนที่ประกอบอาชีพนี้ซึ่งมีกิจการไม่ใหญ่โตอะไรนักจะไปขอกู้เงินเพื่อลงทุนจากสถาบันการเงินต่างๆ นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย จึงเป็นธรรมดาที่ต้องมีการพึ่งพาเจ้าหนี้นอกระบบบ้าง ทั้งๆ ที่รู้ว่าดอกมันโหดแสนโหด แต่เพื่อความอยู่รอดก็ต้องยอมคุณพรไปทำสัญญาเงินกู้กับคนรู้จักกัน และก็เป็นปกติของพวกปล่อยกู้ที่จะอ้างว่าผู้หนุนหลังเป็นคนมีสีหรือผู้มีอิทธิพลลักษณะใดลักษณะหนึ่ง สำหรับเจ้าหนี้รายนี้อ้างว่ามีสามีเป็นตำรวจทางหลวง คุณพรตกลงทำยอดกู้ 30,000 บาท ถูกหักเป็นค่าดำเนินการ 18,000 บาท ได้รับเงินจริง 12,000 บาท ทางผู้ให้กู้ให้ทำสัญญาเงินกู้ดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี แต่ผู้กู้ต้องจ่ายเงินคืนรายวันๆ ละ 180 บาท โดยคุณพรได้ชำระมากว่า 7 เดือนแล้ว แต่หลักฐานทั้งหมดอยู่กับเจ้าหนี้ต่อมาคุณพรได้ติดต่อกับเจ้าหนี้บอกว่าจะขอคืนเงินต้น 20,000 บาทได้ไหมแล้วปิดบัญชีกัน แต่ทางเจ้าหนี้ไม่ยอมบอกต้องชำระเต็ม 30,000 บาทตามสัญญา ถ้าหากยังไม่ชำระเงินต้นคืนก็ต้องจ่ายดอกรายวันไปจนกว่าจะมีเงินต้น 3 หมื่นบาทมาคืนให้เจ้าหนี้“เมื่อครู่นี้เองค่ะน้อง พี่ได้รับโทรศัพท์จากเจ้าหนี้รายนี้ เขาบอกว่าจะส่งตำรวจมาเก็บเงินให้เตรียมไว้ ถ้าไม่เคลียร์ต้องมีเรื่องแน่นอน ตอนนี้พี่กับสามีพี่ไม่กล้าอยู่ที่บ้านแต่ห่วงแม่ที่เฝ้าบ้านอยู่ จะทำอย่างไรดีน้อง” คุณพรโทรศัพท์เข้ามาปรึกษากับเจ้าหน้าที่ของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค แนวทางแก้ไขปัญหาปัญหาหนี้นอกระบบเป็นปัญหาที่คาบเกี่ยวกับความผิดทางอาญาทั้งเรื่องการเรียกเก็บดอกเบี้ยที่ผิดกฎหมายและการข่มขู่ กรรโชก สิ่งที่ควรทำโดยทันทีคือ การไปแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในท้องที่ที่เกิดเหตุครั้งแรกที่คุณพรได้รับคำแนะนำ ก็คิดเหมือนกับลูกหนี้นอกระบบโดยทั่วไปว่าเจ้าหนี้มีคนมีสีเข้ามาเกี่ยวข้องไปแจ้งความกับตำรวจจะได้เรื่องได้ประโยชน์อะไร แต่ท้ายสุดได้ลองทำตามคำแนะนำไปแจ้งความที่สถานีตำรวจนครบาลพญาไท กลับพบสิ่งที่ไม่เคยคาดคิดมาก่อนเมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจร้อยเวรให้บริการด้วยความประทับใจ ทั้งรับแจ้งความและช่วยสืบเสาะหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับตัวเจ้าหนี้นอกระบบรายนี้ด้วย ซ้ำยังให้นามบัตรและเบอร์มือถือส่วนตัวให้อีก พร้อมกับแจ้งกับคุณพรว่า ให้ติดต่อได้ทันทีหากเจ้าหนี้ส่งคนไปคุกคามท้ายที่สุดเจ้าหนี้รายนี้เมื่อรู้ว่าจะต้องเจอตำรวจตัวจริงเข้า ก็ยอมที่ยุติเรื่องตกลงเรียกเก็บหนี้ตามที่ตกลงกันไว้แต่แรกเท่านั้น ไม่มีการเรียกเก็บดอกเบี้ยรายวันอีกต่อไป เพราะรู้ว่าเป็นการกระทำผิดกฎหมายและอาจติดคุกได้ถ้าหากเจ้าหน้าที่ตำรวจจะดำเนินคดีจริง ๆ  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 106 บทเรียนของพวกหากินกับหนี้เสีย

“ผมสงสัยว่าคดีหนี้ของผมจะขาดอายุความไปแล้ว อยากให้มูลนิธิฯ ช่วยดูให้หน่อยครับ”บ่ายแก่ ๆ ของวันที่ 6 ตุลาคม 2552 คุณเสน่ห์ เดินเข้ามาที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคพร้อมสำเนาคำฟ้องคดีผู้บริโภค ที่คุณเสน่ห์ตกเป็นจำเลยฐานผิดสัญญากู้ยืมเงินที่เอามาจากบริษัท อีซี่บาย จำกัด(มหาชน)และถูกเรียกให้ชำระหนี้เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 82,000 กว่าบาท แต่ชื่อโจทก์ที่ยื่นฟ้องกลับเป็นชื่อบริษัท เจเอ็มที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส จำกัด ที่ซื้อหนี้เสียมาจากบริษัทอีซี่บาย“ศาลนัดผมเพื่อเจรจาไกล่เกลี่ยครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2552 ตอนแรกผมตั้งใจว่าจะแถลงด้วยวาจาว่าคดีของผมนั้นโจทก์ฟ้องขาดอายุความแล้ว แต่เจ้าหน้าที่ของศาลแนะนำให้ผมเขียนคำให้การเป็นลายลักษณ์อักษรจะดีกว่า ผมจึงได้ขอให้ศาลเลื่อนพิจารณาไปอีกสักนัดเพื่อติดต่อหาทนายช่วยเขียนคำให้การเพราะผมไม่รู้ว่าจะเขียนอย่างไร ศาลจึงได้นัดพิจารณาคดีอีกครั้งเป็นวันที่ 15 ตุลาคม 2552 ซึ่งครั้งนี้ผมจะต้องมีคำให้การของจำเลยไปยื่นต่อศาลครับ ไม่อย่างนั้นผมถูกพิพากษาให้ต้องชำระหนี้ก้อนนี้แน่”“ถามหน่อยเถอะครับ...ว่าทำไมคุณถึงไม่ชำระหนี้เขาต่อและทำไมคิดว่าคดีนั้นขาดอายุความไปแล้ว?” เจ้าหน้าที่รับเรื่องร้องเรียนถาม “ผมกู้เงิน 1 แสนบาทจากอีซี่บายมาเมื่อปี 2544 ผมก็ชำระหนี้เรื่อยมาตลอดร่วม 2 ปี เป็นเงินร่วมแสนกว่าบาทแต่หนี้ในบัญชีมันไม่หมดสักที ดอกเบี้ยมันแพงมาก ตอนนั้นก็ลำบากมากเลยต้องหยุดจ่ายหนี้ไป จำได้ว่าผมจ่ายหนี้ครั้งสุดท้ายเมื่อประมาณเดือนพฤษภาคม 2546 แต่ในคำฟ้องแจ้งว่าผมไม่ชำระหนี้เงินกู้มาตั้งแต่งวดวันที่ 2 มิถุนายน 2546 เขามาฟ้องผมวันที่ 8 มิถุนายน 2552 นี่เอง ก่อนหน้านี้ผมได้เคยโทรมาปรึกษากับทางมูลนิธิฯ แล้วทราบว่า สัญญาสินเชื่อส่วนบุคคลอายุความที่จะฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ต้องทำกันภายใน 5 ปีใช่ไหมครับ”“ใช่ครับต้องฟ้องร้องกันภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญา แต่ต้องขอดูรายละเอียดในคำฟ้องก่อนนะครับว่าจะช่วยเหลือได้อย่างไร”แนวทางแก้ไขปัญหาเมื่อพิจารณาในรายละเอียดคำฟ้องพบข้อมูลที่น่าสนใจมากสำหรับผู้ที่เป็นลูกค้าหรือลูกหนี้อีซี่บายดังนี้ครับ1. เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2551 บริษัท อีซี่บาย จำกัด(มหาชน) ได้ดำเนินการขายบัญชีหนี้เสียในกลุ่มสินเชื่อเงินสดให้กับบริษัท เจ เอ็ม ที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส จำกัด โดยมีจำนวนบัญชีลูกหนี้รวมกันทั้งสิ้น 17,170 ราย มูลหนี้รวมกันทั้งสิ้น 471 ล้านบาทเศษ โดยคิดค่าตอบแทนที่บริษัท เจ เอ็ม ที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็สฯ จ่ายเพื่อซื้อหนี้เสียจากอีซี่บายก้อนนี้เป็นเงินเพียง 20 ล้านบาทเศษเท่านั้น หรือคิดเป็นเพียงร้อยละ 4.25 ของมูลหนี้ทั้งหมด2. ผลจากการซื้อขายหนี้เสียดังกล่าวทำให้บริษัท เจ เอ็ม ที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็สฯ ได้มาซึ่งทรัพย์สินและสิทธิเรียกร้องเกี่ยวกับหนี้ทั้งหมดตลอดจนการรับชำระหนี้แทนอีซี่บาย พูดง่ายๆ คือจ่ายเพียงแค่ร้อยละ 4.25 แต่ได้สิทธิเรียกร้องจากลูกหนี้เต็ม 100 เปอร์เซ็นต์ แถมดอกเบี้ยอีกต่างหาก3. อัตราดอกเบี้ยที่อีซี่บายทำกับผู้บริโภครายนี้ซึ่งทำในช่วงปี 2544 นั้น จะคิดเป็นค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินในอัตราร้อยละ 2.0 บาทต่อเดือนหรือร้อยละ 24 บาทต่อปี และยังคิดดอกเบี้ยอีกในอัตราร้อยละ 0.50 บาทต่อเดือนหรือร้อยละ 6 ต่อปีอีก จึงเท่ากับว่าผู้บริโภคต้องจ่ายดอกเบี้ยร้อยละ 30 บาทต่อปี ซึ่งในขณะนั้นธนาคารแห่งประเทศไทยยังไม่ได้เข้าไปกำกับการเรียกเก็บดอกเบี้ยของสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารทั้งหลาย การเรียกเก็บดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวจึงเป็นการเรียกเก็บดอกเบี้ยที่ผิดกฎหมาย4. สัญญากู้ยืมเงินที่เรียกว่าประเภทสินเชื่อส่วนบุคคลนั้น มีข้อตกลงว่าผู้บริโภคจะใช้เงินต้นพร้อมดอกเบี้ยคืนให้กับเจ้าหนี้โดยผ่อนชำระเป็นรายเดือนเป็นงวดๆ ดังนั้น การฟ้องเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระดอกเบี้ยพร้อมเงินต้นตามสัญญากู้ยืมเงิน จึงถือได้ว่าเป็นการเรียกเอาดอกเบี้ยพร้อมต้นเงินเพื่อผ่อนต้นทุนคืนเป็นงวด ๆ ซึ่งมีกำหนดอายุความไว้ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/32(2) ในคำฟ้องระบุว่าฝ่ายผู้บริโภคไม่ชำระหนี้เงินกู้มาตั้งแต่งวดวันที่ 2 มิถุนายน 2546 สิทธิเรียกร้องของฝ่ายเจ้าหนี้จึงเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2546 แต่โจทก์มาฟ้องวันที่ 8 มิถุนายน 2552 เกินกว่า 5 ปีแล้ว ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความครับ คือต้องฟ้องก่อนวันที่ 3 มิถุนายน 2551 เท่านั้นเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏชัดตามที่กล่าวมาเจ้าหน้าที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิฯ ของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค โดยคำแนะนำของหัวหน้าศูนย์ทนายความอาสาจึงได้ช่วยเหลือผู้บริโภคโดยการร่างคำให้การจำเลยเพื่อให้ผู้บริโภคเป็นผู้ไปยื่นต่อศาลในวันนัด โดยได้ให้การใน 2 ประเด็นหลักคือ เรื่องการเรียกเก็บดอกเบี้ยที่ผิดกฎหมายและเรื่องคดีขาดอายุความ ซึ่งท้ายสุดศาลได้พิพากษายกฟ้องโจทก์เป็นที่เรียบร้อย ทำให้ผู้บริโภครายนี้พอที่จะลืมตาอ้าปากได้บ้างเนื่องจากอีซี่บายมีการขายหนี้เสียออกไปร่วมสองหมื่นราย และอาจมีหลายรายที่เจ้าหนี้เสียสิทธิในการเรียกร้องแล้วเนื่องจากขาดอายุความ แต่หากลูกหนี้ไม่ได้ยื่นคำให้การสู้คดีอย่างถูกต้อง ศาลจะพิพากษาให้ลูกหนี้ต้องชำระหนี้ต่อไป ดังนั้นหากใครมีข้อสงสัยในประเด็นนี้รีบติดต่อมาที่มูลนิธิฯ โดยทันที

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 105 ฉันทนาถูกผีสวมสิทธิเบิกเงิน

เรื่องนี้เป็นเรื่องของลูกจ้างแรงงานโชคร้ายที่ถูกผีสวมสิทธิจนเกือบไม่ได้ใช้สิทธิประกันสังคมคุณกิตติมา สาวใหญ่วัย 48 ปี ทำงานอยู่ในโรงงานผลิตชุดชั้นในแห่งหนึ่ง และขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนกับโรงพยาบาลนวมินทร์ 2 ได้ร้องเรียนกับมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคว่า เมื่อช่วงเดือนสิงหาคม 2552 ที่ผ่านมา เห็นทางโรงพยาบาลแห่งนี้ขึ้นป้ายว่า บริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกฟรี ตามโครงการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก 76 จังหวัดทั่วประเทศพอทำเรื่องลางานได้ในวันที่ 24 สิงหาคม 2552 จึงเดินทางไปที่โรงพยาบาลแห่งนี้ ตั้งใจจะไปใช้สิทธิตรวจรักษา แต่เมื่อเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลตรวจสอบข้อมูลในคอมพิวเตอร์พบว่า ตนได้ใช้สิทธิตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกไปแล้ว 2 ครั้ง คือเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2551 และวันที่ 18 มีนาคม 2552 ซึ่งข้อมูลนี้ถูกบันทึกโดยโรงพยาบาลบางกอก 9 อินเตอร์เนชั่นแนล ทำให้ไม่สามารถใช้สิทธิรักษาฟรีได้สำหรับปี 2552คุณกิตติมา รู้สึกแปลกใจ และไม่ทราบว่า ทางโรงพยาบาลอ้างสิทธิของตนได้อย่างไร เพราะในปี 2552 ตนยังไม่ได้ไปตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเลย แต่ก็พอนึกขึ้นได้ว่า เมื่อปี 2551 โรงพยาบาลบางกอก 9 อินเตอร์เนชั่นแนล มาออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ตรวจมะเร็งปากมดลูกที่โรงงาน เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2551 ตนและเพื่อนร่วมงานหลายคนได้ใช้บริการ“ตอนนั้นเสียค่าใช้จ่าย 199 บาทด้วยค่ะ” คุณกิตติมาให้ข้อมูล แนวทางแก้ไขปัญหาอันว่าโครงการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก 76 จังหวัดทั่วประเทศนั้น มีที่มาจากการที่ในปัจจุบันโรคมะเร็งปากมดลูกเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของประเทศไทย เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ เพราะทำให้เกิดการสูญเสียทรัพยากรบุคคลและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล การป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งปากมดลูกต้องมีการค้นหา โดยการตรวจหาเซลล์มะเร็งให้พบตั้งแต่อยู่ในระยะเริ่มแรกและในระยะก่อนเป็นมะเร็งซึ่งสามารถรักษาให้หายได้ และเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการรักษาในระยะลุกลาม และจากการศึกษาขององค์การอนามัยโลก ได้พบว่าการคัดกรองด้วยการทำ pap smear (ซึ่งเป็นวิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกวิธีหนึ่ง) ในสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 35,40,45,50,55,60ปี ทำให้ช่วยลดอัตราการเกิดและอัตราการตายจากโรคมะเร็งปากมดลูกได้ ดังนั้น สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข จึงได้ร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จัดทำโครงการนี้ขึ้น โดยกลุ่มเป้าหมายที่จะได้รับบริการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกจากโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย คือสตรีที่ใช้สิทธิประกันสังคม และสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือบัตรทอง ซึ่งสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) จะเป็นผู้จ่ายเงินชดเชยค่าบริการให้กับโรงพยาบาลแทน สำหรับการคัดกรองด้วยวิธี pap smear สปสช.จะทำการจ่ายเงินชดเชยค่าบริการให้รายละ 250 บาท นี่จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้มีโรงพยาบาลรัฐและเอกชนหลายแห่งเข้าร่วมโครงการนี้และทำให้แรงงานที่มีประกันตนกับสำนักงานประกันสังคมอย่างเช่นคุณกิตติมาก็ได้รับสิทธิตรวจรักษาฟรีด้วยแต่เมื่อคุณกิตติมาได้ให้ข้อเท็จจริงว่า ได้เคยตรวจมะเร็งปากมดลูกที่โรงงานกับหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ของโรงพยาบาลบางกอก 9 อินเตอร์เนชั่นแนล เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2551 และยังเสียค่าใช้จ่าย 199 บาทด้วย ซ้ำเมื่อมาขอตรวจอีกครั้งในเดือนสิงหาคม 2552 กลับมีบันทึกข้อมูลของโรงพยาบาลบางกอก 9 อินเตอร์เนชั่นแนลว่าคุณกิตติมาได้ใช้บริการไปแล้วเมื่อ 18 มีนาคม 2552 อย่างนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ต้องตรวจสอบให้ชัดเจนว่าเกิดอะไรขึ้นว่ามีใครไปแอบใช้สิทธิโดยที่เจ้าตัวไม่รู้หรือไม่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคได้ทำหนังสือถึงผู้อำนวยการ สปสช. เขตพื้นที่ 13 กรุงเทพมหานครเพื่อให้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงและพิจารณาลงโทษหน่วยบริการที่เบิกงบประมาณค่าใช้จ่ายเป็นเท็จ พร้อมแก้ไขปัญหาและเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ผู้บริโภคไปเมื่อ 14 กันยายน 2552 และในวันที่ 8 ตุลาคม 2552 สปสช. เขตพื้นที่ 13 ได้มีหนังสือตอบกลับมาว่า สำนักงานฯ ได้ประสานและทำหนังสือถึงคุณกิตติมาให้ไปรับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกได้ที่โรงพยาบาลนวมินทร์ 2 ได้ตามสิทธิ โดยให้โรงพยาบาลนวมิทนร์ 2 เบิกชดเชยบริการกับสำนักงานฯ ได้ ส่วนปัญหาสำคัญคือเรื่องข้อเท็จจริงข้อมูลการเบิกจ่ายนั้น ขณะนี้สำนักงานฯ อยู่ในระหว่างการตรวจสอบการบริการอยู่  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 104 “รถเปลี่ยนเป็นเงิน” อันตรายติดเสาไฟฟ้า

“หนูจ๋า ช่วยป้าด้วยจ้ะ...!”“มีอะไรหรือคะป้า” เจ้าหน้าที่ของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคถาม“คืออย่างนี้...”ต่อจากนั้นเจ้าหน้าที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคก็ได้รับฟังความทุกข์จากป้าอารีย์ที่หลั่งไหลออกมาอย่างไม่ขาดสาย“สามีป้ามีปัญหาสุขภาพ เจ็บป่วยออดๆ แอดๆ ป้าต้องทำงานหาเงินคนเดียว ทำทุกอย่างทั้งเย็บมุ้งขาย ทั้งทำสวนอยู่ต่างจังหวัด ยังไม่พอนะหนู แม่สามีของป้าแกก็มาป่วยเข้าอีกคน ป้าแทบหมดหนทางไม่รู้จะหาเงินที่ไหนมาใช้จ่ายจุนเจือครอบครัว”ที่เล่ามาเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่ปัญหาจริง ๆ ของป้าอารีย์เกิดขึ้นเมื่อ...“ป้าต้องใช้เงินมากไม่รู้จะไปกู้ที่ไหน เห็นเบอร์ตามเสาไฟฟ้าที่บอกว่า ให้นำรถไปเปลี่ยนเป็นเงินได้ พอดีสามีป้ามีรถกระบะอยู่คันหนึ่ง ก็ตัดสินใจวินาทีนั้นล่ะ กะจะเอารถไปจำนำเปลี่ยนเป็นเงินมาใช้กันก่อน มีเงินเมื่อไหร่ค่อยไปไถ่ถอนคืนทีหลัง”ป้าอารีย์จึงโทรไปขอความช่วยเหลือตามเบอร์โทรศัพท์ที่แจ้งไว้ในป้ายข้างเสาไฟฟ้าทันที“ตอนนั้นประมาณเดือนกรกฎาคม ปี 2548 เขาบอกคิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2 ต่อเดือน ใช้สมุดรถยนต์ค้ำประกัน ก็นัดหมายทำสัญญากันเลย” “ไปทำสัญญากันที่ปั๊มน้ำมันแห่งหนึ่งแถวถนนเพชรเกษม ช่วงบางแค วันนั้นเห็นมีพนักงานแค่ 2 คน ก็เอารถเราไปให้เขาดูด้วย เขาตีราคาบอกว่าได้แค่ 70,000 บาท และให้วางสมุดทะเบียนรถไว้กับเขาแต่รถเอาไปใช้ได้ป้าก็ลังเลอยู่แต่สามีป้า ซึ่งเป็นเจ้าของรถตกลงเซ็นสัญญาทันที ก็ไม่ได้อ่านเอกสารหรอกเพราะตัวเล็กมาก แล้วพนักงานก็ให้ป้าเซ็นกำกับในสัญญานี้ด้วย โดยบอกว่าป้าเป็นเจ้าบ้านต้องเซ็นอนุญาตให้รถที่จำนำทะเบียนนั้นจอดได้ ป้าก็งง ๆ อยู่แต่ก็เซ็นไป”“เมื่อทำสัญญาเสร็จป้ากับสามีได้รับเงินแค่ 64,000 บาท เพราะพนักงานแจ้งว่ามีค่าใช้จ่าย 6,000 บาท หลังจากนั้นเขาก็ให้ป้ากับสามีเดินทางไปโอนทะเบียนรถให้เขา โดยให้พนักงานอีกคนขับรถของสามีป้าตามไปที่ขนส่งเขาเอารถไปทำเรื่องอยู่นานมาก แล้วเมื่อทำเรื่องโอนรถเสร็จป้ายังต้องเสียค่าโอนอีก 1,050 บาท”สรุปว่าวันนั้น ป้าอารีย์กับสามีได้รับเงินเพียงแค่ 62,950 บาท เท่านั้น จากการจำนำรถ 70,000 บาทและไม่ได้รับเอกสารใดๆ กลับบ้านเลยหลังจากนั้นไม่นานป้าอารีย์ได้รับเอกสารสัญญาส่งมาทางไปรษณีย์ เมื่อแกะเปิดดูแบบเต็มๆ ถึงได้รู้ว่าสัญญาที่ได้ทำไปนั้นแทนที่จะเป็นสัญญาจำนำรถกลับเป็นสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ของตัวเอง โดยมีหนี้เช่าซื้อรถจำนวน 137,700 บาท ผ่อนงวดละ 3,825 บาท ระยะเวลาผ่อน 36 งวด ได้รับเอกสารสัญญาแล้วป้าอารีย์ก็น้ำตาตกใน แต่ไม่ได้ทักท้วงอะไรตั้งหน้าตั้งตาผ่อนรถของตัวเองไปโดยไม่ปริปาก มีบางงวดที่ขาดส่งหรือล่าช้าไปบ้างจึงถูกเรียกเบี้ยปรับและค่าติดตามทวงถามเพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆ แต่ก็กัดฟันสู้ จนเมื่อประมาณเดือนตุลาคม 2551 คราวนี้ป้าอารีย์และสามีไม่มีเงินกันจริงๆ จึงไม่ได้ชำระเงินค่างวดอีก“พอถึงต้นเดือนพฤศจิกายน 2551 มีคนของไฟแนนซ์มาทวงหนี้ถึงที่บ้านแจ้งว่าให้ชำระหนี้ค่าเช่าซื้อทั้งหมด 50,000 กว่าบาทไม่เช่นนั้นจะยึดรถทันที แต่อีกไม่กี่วันป้าได้โทรไปถามยอดหนี้ให้แน่ใจอีกครั้งกลับได้รับแจ้งว่ามีหนี้เช่าซื้อถึง 70,000 กว่าบาทและถ้าจ่ายไม่ได้จะถูกยึดรถ”“ป้ากับสามีไม่รู้จะทำอย่างไรจากที่ไปขอกู้เงินเขาแค่ 70,000 บาท จ่ายคืนหนี้มาตั้ง 2-3 ปีก็ยังไม่หมด ตอนนี้เอารถยนต์ไปหลบที่ต่างจังหวัดอยู่ อยากให้มูลนิธิฯ ช่วยเหลือป้าด้วย”แนวทางแก้ไขปัญหาน่าเห็นใจครับกับปัญหาเศรษฐกิจระดับครัวเรือนที่ไม่มีทางออก เมื่อไม่มีแหล่งเงินกู้ในที่สว่างก็ต้องไปหาเก็บเอาตามเสาไฟฟ้ากันอย่างนี้ล่ะครับชีวิตคนไทยเมื่อเสียรู้เข้าทำสัญญาเช่าซื้อรถของตัวเองไปแล้วก็คงต้องเดินหน้าต่อไปล่ะครับ เมื่อดูใบเสร็จรับเงินที่ป้าอารีย์จ่ายค่างวดไปแล้วพบว่าค้างเหลืออยู่อีกแค่ 7 งวด เป็นเงิน 26,775 บาท เพื่อไม่ให้เป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าซื้อจึงแนะนำให้ป้าอารีย์ชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างอยู่ให้ครบ โดยใช้วิธีโอนเงินเข้าบัญชีไฟแนนซ์ไป ไม่ต้องสนใจว่าใบเสร็จที่ได้รับจะถูกหักเป็นเบี้ยปรับล่าช้าหรือไม่ เพราะธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ถือเป็นธุรกิจที่ถูกคณะกรรมกาคุ้มครองผู้บริโภคเขาควบคุมสัญญาไว้ แม้จะให้ผู้ประกอบธุรกิจมีสิทธิคิดเบี้ยปรับ เบี้ยล่าช้า ได้แต่สัญญาควบคุมก็ห้ามคิดอัตราดอกเบี้ยแบบลูกค้าชั้นดีรายย่อยของธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน) บวกสิบ(MRR. + 10) อย่างที่หลาย ๆ ไฟแนนซ์ชอบเขียนกันไว้ในสัญญา หรือค่าทวงถามก็ให้คิดได้แต่ต้องอยู่ในอัตราที่เหมาะสมสามารถพิสูจน์ได้ว่ามีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นตามนั้นจริง ที่สำคัญสัญญาควบคุมเขาถือว่าเมื่อผู้เช่าซื้อชำระค่างวดและค่าใช้จ่ายอื่นใดที่ปรากฏในสัญญาและไม่ขัดต่อสัญญาควบคุมของ สคบ.แล้วถือว่ากรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่เช่าซื้อนั้นตกเป็นของผู้เช่าซื้อโดยทันที และผู้ประกอบธุรกิจมีหน้าที่ต้องดำเนินการโอนทะเบียนรถให้ผู้เช่าซื้อโดยทันทีภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับเอกสารที่เกี่ยวกับการโอนทะเบียนจากผู้เช่าซื้อครบถ้วนดังนั้นเมื่อป้าอารีย์ได้ชำระค่างวดรถไปครบถ้วนหลังจากนั้นมูลนิธิฯ จึงได้ช่วยทำหนังสือแจ้งไฟแนนซ์ให้ทำการโอนเปลี่ยนชื่อในสมุดคู่มือจดทะเบียนรถ ตอนแรกไฟแนนซ์ก็ทำทีอิดเอื้อนจะขอเรียกเก็บเบี้ยปรับอยู่แต่ด้วยไม่มีข้อต่อสู้ทางกฎหมายเนื่องจากสัญญาที่ทำขึ้นได้กำหนดค่าเบี้ยปรับที่ขัดต่อสัญญาควบคุมท้ายที่สุดจึงต้องทำการโอนเปลี่ยนชื่อรถโดยไม่มีเงื่อนไขครับ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 103 เจ้าหนี้อายัดเงินเดือน ทำไมไม่มีบอกกล่าว

 คุณธิดา ลูกหนี้นามสมมติ ได้ร้องทุกข์ออนไลน์มาที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคว่าขอร้องเรียนเกี่ยวกับการอายัดเงินเดือนของธนาคารฮ่องกงแบงค์ โดยคุณธิดาได้ให้รายละเอียดว่าเนื่องจากได้เป็นหนี้กับธนาคารแห่งนี้และถูกฟ้องและไปขึ้นศาลเรียบร้อยแล้ว โดยมีการทำยอมที่ศาลโดยกำหนดชำระคืน 30 งวดๆ ละ 3,400 บาท คุณธิดาแจ้งว่าได้ชำระตามสัญญาประนีประนอมไปประมาณ 7 งวดแล้ว โดยงวดที่ 1 ถึงงวดที่ 4 ชำระเงินตรงตามที่ทำยอมไว้ แต่ในงวดที่ 5-7 ชำระไม่ตรงตามจำนวน โดยชำระได้แค่งวดละ 2 พันกว่าบาทเท่านั้น เนื่องจากมีเหตุจำเป็นไม่สามารถหาเงินมาชำระได้ พอไม่ชำระตรงตามจำนวนในงวดที่ 5 มีเจ้าหน้าที่ติดต่อมาแจ้งให้ชำระให้เป็นไปตามสัญญาประนีประนอม แต่ในงวดที่ 6 และ 7 พอจ่ายไปงวดละ 2 พันกว่าบาท ก็ไม่มีเจ้าหน้าที่ติดต่อมาอีก ก็คิดว่าไม่มีปัญหาอะไร แต่อีกไม่กี่วันต่อมาได้มีหมายอายัดเงินเดือนมาที่บริษัทที่ทำงานอยู่คุณธิดาได้พยายามติดต่อเจรจากับสำนักงานกฎหมายที่ดำเนินการอายัดเงินเดือน โดยสัญญาว่าจะเคลียร์ยอดที่ค้างจ่ายให้ครบและขอจ่ายในงวดต่อไปตามปกติที่ 3,400 บาท แต่สำนักงานกฎหมายปฏิเสธแจ้งว่าคุณธิดาได้ทำผิดสัญญาประนอมยอมความแล้ว ต้องบังคับคดีด้วยการอายัดเงินเดือนเพื่อนำมาชำระหนี้ก่อนทำสัญญาประนีประนอมคุณธิดาจึงถามมาว่า ทำไมการอายัดเงินเดือนถึงไม่มีเรียกไกล่เกลี่ยก่อน   แนวทางแก้ไขปัญหาการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันที่ศาลระหว่างลูกหนี้กับเจ้าหนี้ ลูกหนี้จะต้องมั่นใจว่าตนจะสามารถชำระหนี้ได้ เพราะโดยทั่วไปแล้วทางเจ้าหนี้มักจะขอให้ศาลมีคำพิพากษาตามยอมโดยมีเงื่อนไขว่าหากลูกหนี้ผิดสัญญาประนีประนอมที่ได้ทำกันขึ้นให้เจ้าหนี้สามารถบังคับคดีให้ลูกหนี้ต้องชำระหนี้ตามจำนวนที่ได้ฟ้องแต่แรกได้ มิใช่หนี้ที่เหลือจากการชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมกันดังนั้นเมื่อลูกหนี้ผิดสัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ ไม่ชำระหนี้เต็มตามจำนวนที่ได้ตกลงกันไว้ในแต่ละงวด หรือชำระหนี้คลาดเคลื่อนไปจากกำหนดเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา เจ้าหนี้อาจถือว่าลูกหนี้ผิดสัญญาได้ทันทีและสามารถนำสัญญาไปขอบังคับคดีได้โดยไม่ต้องฟ้องศาลอีกหรือต้องมีการบอกกล่าวหรือต้องมานั่งไกล่เกลี่ยกันอีก เพราะถือว่าลูกหนี้ทราบเป็นอย่างดีแล้วจากการทำสัญญาและยังกระทำผิดสัญญาอีกแต่ลูกหนี้อย่าเพิ่งวิตกเกินการณ์ เพราะการอายัดเงินเดือนจากลูกหนี้นั้นกฎหมายอนุญาตให้อายัดได้เพียงร้อยละ 30 จากยอดเงินเดือนเต็มก่อนหักภาษีหรือประกันสังคม หากใครมีเงินเดือนเกินหมื่นนิด ๆ กฎหมายยังช่วยลูกหนี้อีกเล็กน้อยด้วยการกำหนดว่า การอายัดเงินเดือนจะต้องเหลือเงินให้ลูกหนี้ไว้อย่างน้อย 10,000 บาทเพื่อการดำรงชีพ จึงหมายความว่าลูกหนี้รายใดที่มีเงินเดือนต่ำกว่าหมื่นบาทจึงไม่มีสิทธิถูกอายัดเงินเดือนได้ และหากลูกหนี้มีเจ้าหนี้หลายราย ก็ไม่สามารถถูกอายัดเงินเดือนในคราวเดียวกันได้หากเจ้าหนี้รายแรกได้อายัดเต็มตามวงเงินที่กฎหมายอนุญาตแล้ว

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 103 จองรถไม่ได้รถ ต้องได้เงินจองคืน

เรียน ผู้จัดการ บริษัท พระนครออโต้เซลล์เรื่อง ขอเงินค่าจองรถป้ายแดงคืนจากที่ได้ตกลงกันกับทางบริษัทไปแล้วนั้นว่าดิฉันจะรับเงื่อนไขจากบริษัท คือรับเงินคืนจำนวน 3,000 บาท จากที่ได้จองทั้งสิ้นเป็นเงิน 5,000 บาท โดยในการรับเงื่อนไขระบุในเอกสารการจองว่า ให้โอนเงิน 1,000 บาท เข้าบัญชีเลขที่ 688-000000-0 อีก 2,000 บาททางบริษัทยืนยันว่าจะจ่ายเป็นเช็คและแฟกซ์หน้าเช็คที่สั่งจ่ายเข้าบัญชีภายในวันที่ตกลงกัน แต่หลังจากนั้นดิฉันได้รอแฟกซ์แต่ก็ไม่มีแฟกซ์หน้าเช็คกลับมาดิฉันจึงอยากเรียนมา จริง ๆ แล้ว ดิฉันเช็คดูแล้วว่าทางบริษัท ผิดนัด ซ้ำแล้วซ้ำอีก นับตั้งแต่วันจองจนหาบริษัทไฟแนนซ์ให้ไม่ได้ และพยายามทำให้เรื่องยืดเยื้อและล่าช้า การกระทำดังกล่าวทำให้ดิฉันอดคิดไม่ได้ว่า ทางบริษัทจะริบเงินจองทั้งหมดจริง...นี่เป็นส่วนหนึ่งของจดหมายที่คุณกฤชญากรส่งถึงบริษัทขายรถยนต์แห่งหนึ่งเพื่อทวงถามเงินจองที่ได้จ่ายไปจำนวน 5,000 บาท แต่บริษัทรถอ้างว่าคุณกฤชญากรติดเครดิตบูโร ไฟแนนซ์ไม่อนุมัติสินเชื่อเช่าซื้อให้สักราย และได้เสนอเปลี่ยนรถที่จะขายให้เป็นคันใหม่ คุณกฤชญากรเห็นว่าไม่ได้รถตามที่ต้องการไว้แต่แรก จึงบอกเลิกสัญญาการจองและขอเงินค่าจองรถคืน แต่เกือบร้อยทั้งร้อยล่ะครับที่จะเจอการโยกโย้ โยกเย้ ประวิงเวลา เตะถ่วงไปเรื่อย ๆ ไม่คลายเงินจองออกมาง่าย ๆ จนผู้จองรถโดยส่วนใหญ่จำต้องทิ้งเงินจองไป ที่ผ่านมา ธุรกิจกินเงินจองรถนี่บรรดาเต้นท์รถเบิกบานมาก เพียงแค่ลงทุนค่าโฆษณาผ่านหนังสือขายฝากรถยนต์ แจ้งโฆษณาว่ามีรถทุกรุ่น ทุกเฉดสี ไม่ว่าใหม่หรือเก่า ก็สามารถหาให้ได้ แถมราคาย่อมเยากว่าศูนย์ตัวแทนของบริษัทผู้ผลิตเป็นหมื่น แค่นี้ก็มีลูกค้ามาถวายเงินจองให้ตรึม พอลูกค้ามาติดต่อก็บอกว่าหารถให้ได้แน่ ไฟแนนซ์ก็ผ่านแน่ ๆ ขอแค่วางเงินจองไว้ 5,000 บาท พอถึงจังหวะที่จะกินเงินจองกับลูกค้าก็จะมีสูตรตายตัวในทำนองว่า ลูกค้าปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับเครดิตบูโร เลยไม่สามารถจัดไฟแนนซ์ให้ได้ เมื่อลูกค้าเป็นคนผิดสัญญาการจองเอง ดังนั้นจึงต้องถูกยึดเงินจอง ลูกค้ากลับไปดูสัญญาก็เห็นเป็นจริงเช่นนั้นเสียด้วยแต่เขียนซะตัวเล็กกระจ้อยร่อย ท้ายสุดต้องยอมเสียเงินไป เรื่องทำนองนี้เคยนำลงในฉลาดซื้อมาครั้งสองครั้งแล้ว แต่ครั้งนี้มีข้อกฎหมายเด็ดสะระตี่ไว้ให้ผู้บริโภคใช้เรียกเงินจองคืนได้แบบสมบูรณ์แบบครับแนวทางแก้ไขปัญหาด้วยท่วงทำนองการประกอบธุรกิจที่ทุจริตของบรรดาเต้นท์รถทั้งหลายทำให้คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคนิ่งเฉยไม่ได้ ในที่สุดจึงได้ใช้แผนเผด็จศึกที่ได้ผลมาแล้วกับหลายๆ ธุรกิจ คือการประกาศให้ธุรกิจการขายรถยนต์ที่มีการจองเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา หลายคนยังไม่รู้จักเพราะประกาศฉบับนี้เพิ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ.2551 นี่เอง ถือเป็นประกาศควบคุมสัญญาล่าสุดที่ สคบ. มีออกมาประกาศฉบับนี้ใช้ควบคุมการประกอบกิจการขายรถยนต์ที่ผู้ประกอบธุรกิจนำเอารถยนต์ออกขายโดยให้ผู้บริโภคทำการจองซื้อ และผู้ประกอบธุรกิจได้รับเงินหรือรับสิ่งใดไว้เป็นมัดจำ และให้คำมั่นว่าจะส่งมอบรถยนต์ให้ผู้บริโภคตามเวลาที่กำหนดในสัญญาทีนี้ในเรื่องของการซื้อขายรถยนต์ที่มีการจอง ประกาศฉบับนี้ได้เขียนข้อสัญญาที่ควบคุมไว้อย่างชัดเจนว่า ผู้บริโภคมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเมื่อผู้ประกอบธุรกิจไปปรับเปลี่ยนราคารถยนต์ที่จองไว้สูงขึ้น หรือไม่ส่งมอบรถยนต์ให้ผู้บริโภคภายในระยะเวลาที่กำหนด หรือไม่ส่งมอบรถยนต์ที่มียี่ห้อ รุ่น ปีที่ผลิต สี และขนาดกำลังเครื่องยนต์ตรงตามที่กำหนดในสัญญา หรือ ไม่ส่งมอบรถยนต์ที่มีรายการอุปกรณ์ติดตั้งเพิ่มเติมและของแถม หรือสิทธิประโยชน์ต่างๆ ตามที่กำหนดในสัญญานอกจากนี้ยังมีการควบคุมสัญญาที่สำคัญอีกข้อหนึ่งว่า หากมีข้อเท็จจริงที่ผู้ประกอบธุรกิจได้รับทราบว่า ผู้บริโภคต้องขอสินเชื่อเพื่อการซื้อรถยนต์ และผู้บริโภคไม่ได้รับสินเชื่อตามที่ขอภายในกำหนดเวลาการส่งมอบรถยนต์ ผู้บริโภคหรือผู้ประกอบธุรกิจฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมีสิทธิบอกเลิกสัญญากันได้ผลของการบอกเลิกสัญญากันตามเงื่อนไขที่ได้ว่ามา คือ ผู้ประกอบธุรกิจต้องคืนเงินหรือสิ่งใดที่รับไว้เป็นมัดจำทั้งหมดแก่ผู้บริโภคภายใน 15 วันแม้ผู้ประกอบธุรกิจอาจจะหัวหมออ้างว่า สัญญาที่ทำกับผู้บริโภคไม่มีข้อสัญญาเหล่านี้ แต่ไม่สามารถจะใช้ยกเป็นเหตุในการไม่ยอมคืนเงินจองเงินมัดจำให้กับผู้บริโภคได้ครับ เนื่องจาก ตามหลักกฎหมายควบคุมสัญญาของ สคบ. นั้นมีหลักการสำคัญคือ หากสัญญาที่ผู้ประกอบธุรกิจทำขึ้นไม่มีข้อสัญญาตามที่ สคบ. ได้กำหนดไว้ กฎหมายจะถือว่าสัญญาของผู้ประกอบธุรกิจมีข้อสัญญาที่ สคบ. กำหนดไว้อยู่ด้วยแล้ว และหากสัญญาข้อใดของผู้ประกอบธุรกิจที่เขียนแล้วไปฝ่า ไปฝืนข้อสัญญาที่ สคบ. ได้กำหนดไว้ กฎหมายควบคุมสัญญาจะถือว่าไม่มีข้อสัญญานั้นปรากฏอยู่ในข้อสัญญาของผู้ประกอบธุรกิจ พูดง่ายๆ คือ ข้อสัญญาใดที่ไม่เป็นธรรมกับผู้บริโภคจะเอามาบังคับใช้กันไม่ได้หลักการนี้จึงเป็นที่มาของคำว่า “ธุรกิจที่ควบคุมสัญญา” ของคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสัญญานั่นเอง

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 101 อพาร์ตเม้นท์อมเงินประกัน

คุณเจนรวี เป็นนักศึกษาของสถาบันราชภัฏจันทรเกษม ปีสุดท้าย เข้าทำสัญญาขอเช่าห้องพักกับเอกอาทิตย์อพาร์ตเม้นท์เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2551และสิ้นสุดสัญญาในวันที่ 1 มีนาคม 2552ก็เหมือนกับนักศึกษาที่กำลังเดินหาหอพักทั่วไปล่ะครับไม่ค่อยได้อ่านสัญญากันหรอก เห็นมีห้องว่างให้เช่า ราคาห้องไม่แพงพอสู้ไหว ทิศทางลม ทำเล ความสะดวกปลอดภัยเหมาะสม มีเงินค่าเช่าห้องล่วงหน้าพร้อมเงินประกันก็คิดว่าไม่น่ามีปัญหาอะไรตกลงเซ็นสัญญาไป มันก็แค่เรื่องเช่าห้องพัก ...“ก็เห็นว่าเป็นสัญญาเช่าแค่ปีเดียวค่ะ กะว่าจะเช่าแค่นั้น พอครบปีเราเรียนจบรับปริญญาพอดี พอถึงตอนนั้นก็ไปขอคืนห้อง เอาเงินประกันคืนคงไม่มีอะไรวุ่นวาย วางเงินประกันไว้ 5,000 บาทค่ะ” คุณเจนรวีให้ข้อมูล ล่วงมาถึงเดือนกันยายน 2551 อพาร์ตเม้นท์แห่งนี้ได้ติดตั้งเคเบิลทีวีบริการให้กับผู้เช่าพักอาศัย โดยจะคิดค่าบริการเพิ่มจากค่าห้องอีกเดือนละ 200 บาท และได้จัดโปรโมชั่นให้ชมฟรี 4 เดือนแรกก่อนคิดค่าบริการจริง ๆ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2552 เป็นต้นไป แต่หากผู้เช่าห้องรายใดมาทำการต่อสัญญาใหม่เพื่อยืนยันการเช่าพักอาศัยต่อ ทางอาร์ตเม้นท์จะยกเว้นค่าบริการเคเบิ้ลให้ตลอดอายุสัญญาฉบับใหม่รวมระยะเวลา 1 ปีคุณเจนระวีเล่าว่าตอนที่ผู้ดูแลอพาร์ตเม้นท์มาแจ้งรายละเอียดของโปรโมชั่นนี้ ตอนนั้นกำลังวุ่นอยู่กับการขยำขยี้เสื้อผ้าอยู่หลังห้องพอดี“เขาบอกว่าให้เอาสัญญาเช่าห้องมาให้เขา แล้วจะได้ส่วนลดค่าเคเบิ้ลทีวีเดือนละ 200 บาท เราอยากได้ก็เลยส่งสัญญาให้เขาไป หายไปสักอาทิตย์หนึ่งเขาก็เอาสัญญามาคืนให้ตอนนั้นจำไม่ได้ค่ะว่าเราได้เซ็นลายมือชื่ออะไรเพิ่มเติมไปหรือเปล่า และไม่ได้เอะใจหรอกค่ะว่ามีการแก้ไขวันเริ่มสัญญาเช่าห้องกันใหม่ ตอนที่รับสัญญาคืนเขาก็มาตอนที่เรากำลังซักผ้าอยู่พอดี” พอถึงเดือนกุมภาพันธ์จึงได้ไปติดต่อขอคืนห้องล่วงหน้าก่อนหมดสัญญาและขอคืนเงินประกันจำนวน 5,000 บาท แต่ทางอพาร์ตเม้นท์แจ้งว่าจะไม่คืนเงินประกันให้เนื่องจากคุณเจนรวีแจ้งการย้ายออกผิดเงื่อนไขเนื่องจากพักอาศัยยังไม่ครบ 12 เดือน“เราก็เถียงเขาใหญ่เลยค่ะว่าเราอยู่มาตั้งแต่เดือนมีนาคมปีที่แล้ว จะออกในเดือนมีนาคมปีนี้ทำไมถึงไม่ครบ 12 เดือน แต่พอเขาให้เราเอาสัญญาขึ้นมาดูก็ตกใจค่ะ เพราะสัญญาที่เราถือไว้มันถูกแก้ไขวันเริ่มสัญญาใหม่เป็นวันที่ 1 มกราคม 2552 ซึ่งก็มีลายเซ็นของเราลงไว้เรียบร้อยเลย ตอนที่เราอยากได้เคเบิ้ลฟรี”คุณเจนรวีพยายามเจรจาต่อรองต่างๆ นานาแต่ท้ายที่สุดทางอพาร์ทเมนท์ยืนกระต่ายขาเดียว ให้คุณเจนรวีจ่ายค่าห้องและค่าใช้จ่ายที่ค้างอยู่ ส่วนเงินประกันขอยึด เมื่อไม่มีทางออกสุดท้ายจึงต้องมาร้องเรียนกับมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคแนวทางแก้ไขปัญหาสาระสำคัญของสัญญาที่อพาร์ทเม้นท์ทำกับคุณเจนรวีและใช้เป็นเหตุในการริบเงินมัดจำได้กำหนดไว้ว่า ระยะเวลาการเช่าต้องไม่น้อยกว่า 12 เดือน ถ้าผู้เช่าบอกเลิกสัญญาก่อนครบกำหนด ผู้ให้เช่าสามารถริบเงินที่ชำระไว้ทั้งหมด โดยผู้เช่าไม่มีสิทธิโต้แย้งหรือเรียกร้องใด ๆ ทั้งสิ้น ในส่วนของเงินค่าประกันห้องนั้นได้กำหนดว่า เงินค่าประกันห้องที่เหลือจากการหักค่าทำความเสียหายแล้ว จะคืนให้หลังจากที่ผู้เช่าได้ย้ายออกจากหอพักเป็นเวลา 30 วัน ....ซึ่งสัญญาลักษณะนี้หอพัก หรืออพาร์ทเม้นท์หลายแห่งได้ถ่ายแบบใช้เป็นเงื่อนไขเพื่องับเงินมัดจำค่าห้องของเด็กนักศึกษาจำนวนมากแต่เรื่องนี้มีทางออกครับ เนื่องจากคณะกรรมการว่าด้วยสัญญาซึ่งอยู่ภายใต้คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้ประกาศให้ธุรกิจการให้เช่าที่อยู่อาศัยที่เรียกเงินประกันเป็นธุรกิจที่ควบคุมรายการในหลักฐานการรับเงิน ประกาศนี้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2550ดังนั้นสัญญาที่คุณเจนรวีทำใหม่กับอพาร์ตเม้นท์เมื่อ 1 มกราคม 2552 จึงต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของประกาศฉบับนี้ด้วย โดยในส่วนของเงินประกันตามประกาศฉบับนี้ สัญญาการเช่าที่พักอาศัยทุกฉบับจะต้องมีข้อความว่า ผู้เช่ามีสิทธิได้รับคืนเงินประกันทันทีเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาเช่าที่อยู่อาศัยหรือเมื่อสัญญาเช่าที่อยู่อาศัยเลิกกัน เว้นแต่กรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจประสงค์จะตรวจสอบความเสียหายที่ผู้เช่าต้องรับผิดชอบ หากผู้เช่ามิได้ทำความเสียหาย ให้ผู้เช่ามีสิทธิได้รับคืนเงินประกันภายใน 7 วัน โดยให้ผู้ประกอบธุรกิจรับภาระค่าใช้จ่ายในการนำส่งคืนเงินประกันนั้น ตามที่ผู้เช่าแจ้งให้ทราบ ดังนั้นจึงถือว่าสัญญาที่เอารัดเอาเปรียบผู้เช่าของอพาร์ตเม้นท์ในกรณีนี้จึงขัดต่อประกาศดังกล่าวและถือว่าไม่มีข้อความส่วนนี้ในสัญญา ดังนั้นผู้ให้เช่าห้องพักต้องคืนเงินค่ามัดจำให้กับผู้บริโภคโดยไม่มีเงื่อนไขครับ  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 147 ไม่พอใจสินค้า ยินดีคืนเงิน

นักช้อปหลายๆ คนคงเคยประสบปัญหาซื้อของแล้วได้ของที่ไม่โดนใจ แม้ตอนจ่ายตังค์ซื้อจะดูโอเค แต่พอกลับมาบ้านเกิดรู้สึกว่ามันไม่ใช่ อาจเพราะซื้อโดยไม่ทันคิด ว่าของนั้นเราอยากได้จริงๆ หรือเปล่า ซื้อแล้วจะเอาไปใช้อะไร หรือซื้อมาซ้ำทั้งๆ ของที่บ้านก็มีอยู่แล้ว เมื่อสติเรากลับคืนมาแล้วเกิดฉุกคิดได้ ว่าจริงๆ เราไม่อยากได้หรือจำเป็นต้องใช้ของที่เพิ่งซื้อมา ทีนี้คำถามที่ตามมาคือ ของที่เราซื้อมาแล้วเกิดรู้สึกไม่พอใจ เน้นว่าแค่รู้สึกไม่พอใจ คือของที่ซื้อมาไม่ได้ชำรุดหรือมีปัญหา แค่เราเกิดเปลี่ยนใจไม่อยากได้ของที่ซื้อมา เรามีสิทธิ์ที่จะนำของไปขอคืนเงินกับร้านค้าที่เราซื้อของมาได้หรือเปล่า? “รับประกันความพึงพอใจในสินค้า ไม่พอใจเรายินดีคืนเงิน” ถ้าประโยคนี้ไม่ใช่แค่คำโฆษณา ผู้บริโภคอย่างเราก็น่าจะมีสิทธิขอคืนเงินได้...ใช่มั้ย?   ซื้อของแล้วเกิดเปลี่ยนใจ ขอคืนเงินได้ แม้จะดูเป็นเรื่องแปลกๆ อยู่สักหน่อย ที่ของที่เราตัดสินใจซื้อด้วยความเต็มใจตอนอยู่ที่ร้าน กลับกลายเป็นของที่เราไม่อยากได้เมื่อกลับมาอยู่บ้าน แต่เรื่องแบบนี้ก็เกิดขึ้นได้ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไร เราในฐานะผู้บริโภคมีสิทธิที่จะได้รับการดูแลในเรื่องการซื้อสินค้าและบริการ ไม่ใช่แค่เรื่องราคา คุณภาพ หรือข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อ แต่ยังครอบคลุมถึงเรื่องสำคัญอย่าง “การรับประกันสินค้า” ซึ่งถือเป็นบริการลูกค้าที่เหล่าห้างร้านต่างๆ ต้องมีไว้คอยบริการให้กับคนซื้อของ   ไม่ว่าเราจะซื้อของจาก ห้างสรรพสินค้า ห้างค้าปลีกชื่อดังทั้งหลาย หรือแม้แต่ร้านสะดวกซื้อ ผู้บริโภคมีสิทธิที่จะขอคืนสินค้าเปลี่ยนกลับมาเป็นเงินได้ แต่ว่าก็ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่แต่ละที่กำหนดไว้ เพราะฉะนั้นเราในฐานะผู้บริโภคนักช้อป จำเป็นมากที่ต้องรู้ถึงรายละเอียดเงื่อนไขการขอคืนสินค้าก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ   ก่อนจ่ายเงินซื้อของ ต้องเช็คเงื่อนไขการเปลี่ยน - คืน ตอนนี้เรารู้กันแล้วว่า ของที่เราซื้อมาแล้วเกิดปัญหา ชำรุด สินค้าไม่ตรงกับที่โฆษณา หรือรู้สึกไม่พึงพอใจในตัวสินค้า เราสามารถนำไปขอคืนเงินได้ แต่ว่าต้องอยู่ในเงื่อนไขที่ร้านค้าผู้ขายกำหนดไว้ แล้วเราจะรู้ถึงเงื่อนไขเหล่านั้นได้อย่างไร? ง่ายที่สุดก็คือการสอบถามโดยตรงจากพนักงานขาย ซึ่งถือเป็นช่องทางที่เราเข้าถึงขอมูลต่างๆ เกี่ยวกับสินค้าได้ง่ายที่สุด (แม้ว่าจากการทดสอบของฉลาดซื้อเรื่องการขอคืนสินค้า เราจะพบว่ามีหลายที่ที่พนักงานขายสินค้าคนเดิมอาจเปลี่ยนเป็นคนละคน จากพนักงานที่น่ารักดูเป็นมิตรตอนที่พูดเชิญชวนให้เราซื้อของ อาจกลายเป็นพนักงานขายที่ดูไม่อยากปฏิสัมพันธ์กับใครและไม่ค่อยสุภาพ ในเวลาที่เราไปติดต่อขอคืนสินค้า) การสอบถามข้อมูลเงื่อนไขการคืนสินค้าจากพนักงานขายจึงเป็นเรื่องสำคัญที่นักช้อปทุกคนควรปฏิบัติ เพราะปัจจุบันข้อมูลเรื่องการขอคืนสินค้าดูยังเป็นเรื่องลึกลับเข้าถึงยาก อาจจะมีบ้างในห้างสรรพสินค้าแบบแห่งที่แจ้งขอมูลเรื่องการขอเปลี่ยน – คืนสินค้าไว้ที่จุดบริการลูกค้า หรือในเว็บไซต์ของห้าง และที่ใกล้ตัวคนซื้อขึ้นมาหน่อยคือในใบเสร็จ แต่ก็ยังมีให้เห็นแค่ไม่กี่แห่ง (จากการทดสอบเราพบแค่ที่ Big C เท่านั้น) แถมข้อมูลก็ไม่ละเอียด เพราะแจ้งเพียงแค่ให้เก็บใบเสร็จไว้เป็นหลักฐานในการขอเปลี่ยน – สินค้าเท่านั้น   เงื่อนไขในการขอคืนสินค้าที่เราควรรู้ -ระยะเวลา – เพราะความที่ไม่ได้มีกฎหมายบังคับชัดเจนเรื่องการคืนสินค้า ทำให้การกำหนดระยะเวลาในการคืนสินค้าของห้างร้านแต่ละแห่งแตกต่างกันไป 7 วันบ้าง 15 วันบ้าง 30 วันบ้าง เพราะฉะนั้นระยะเวลาในการขอคืนสินค้านับจากวันที่ซื้อจึงเป็นเงื่อนไขสำคัญอันดับแรกๆ ที่เราควรรู้ นอกจากนี้สินค้าแต่ละประเภทก็มีการกำหนดระยะเวลาการขอคืนสินค้าที่แตกต่างกัน เช่น อาหารสด อนุญาตให้คืนสินค้าภายในวันที่ซื้อเท่านั้น หรือถ้าเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าก็อาจให้คืนสินค้าภายใน 10 – 15 วัน -สถานที่คืนสินค้า – ส่วนใหญ่จะต้องติดต่อขอคืนสินค้าที่จุดบริการลูกค้าในแผนกของห้างร้านสาขาที่เราได้ซื้อสินค้ามา และทางผู้ขายเขาจะรับประกันเฉพาะค่าสินค้าที่เรามาขอคืนเท่านั้น ค่าใช้จ่ายอื่นๆ อย่างค่าเสียเวลา ค่าเดินทาง ผู้ขายไม่รับผิดชอบ -สภาพของสินค้า – แน่นอนว่าสินค้าที่นำมาขอคืนสินค้าในกรณีที่สินค้าไม่ได้ชำรุดหรือเป็นสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน สินค้านั้นต้องอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ที่สุด คืออยู่ในบรรจุภัณฑ์ใกล้เคียงตอนที่ซื้อมา (กรณีที่แกะกล่องเอาของออกไปใช้แล้ว) ต้องพยายามอย่าให้ไม่มีร่องรอยการใช้งานหรือชำรุดเสียหาย ถ้าเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้า คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ต่างๆ ก็ต้องอยู่ครบถ้วน รวมถึงเอกสารต่างๆ ที่มพร้อมกับสินค้า ผู้ขายมักจะใช้คำจำกัดความง่ายๆ ว่าสินค้าที่นำมาคืนนั้น ต้องอยู่ในสภาพที่ “สามารถนำมาขายได้ต่อ” -หลักฐานในการขอคืนสินค้า – หลักๆ ก็คือใบเสร็จการซื้อสินค้า ไม่มีไม่ได้ นอกจากนี้อาจจะมีหลักฐานการจ่ายผ่านบัตรเครดิต กรณีซื้อสินค้าผ่านบัตร บางที่อาจให้ผู้ขอคืนสินค้าต้องกรอกเอกสารเพิ่มเติม -วิธีการคืนเงิน – ส่วนใหญ่ผู้ขายก็จะคืนให้ตามวิธีที่เราจ่ายเมื่อตอนซื้อ ถ้าจ่ายด้วยเงินสดก็จะคืนเป็นเงินสด ถ้าจ่ายผ่านบัตรก็จะคืนกลับไปในบัตร แต่ก็บางที่แม้จะจ่ายผ่านบัตรแต่ก็คืนให้เป็นเงินสด โดยจะมีการกำหนดวงเงินเอาไว้ เช่น ไม่เกิน 5,000 บาท (การคืนเงินผ่านทางบัตรเครดิตต้องคอยตรวจเช็คยอดเงินให้ดี เพราะผู้ขายมักจะคืนเงินหลังจากตกลงคืนสินค้าเรียบร้อยแล้ว 1 – 2 เดือน) ในการสำรวจของฉลาดซื้อเรายังพบว่ามีห้างสรรพสินค้าอยู่ 2 แห่ง ที่ไม่ได้คืนเป็นเงินสดแต่คืนมาเป็นคูปองเงินสดราคาเท่าราคาสินค้า คือที่ เดอะมอลล์ สาขางามวงศ์วาน และ เอ็มโพเรียม (ทั้ง 2 ห้างอยู่ในเครือเดียวกัน คือ บริษัท เดอะ มอลล์ กรุ๊ป) ซึ่งนั้นเท่ากับว่าเป็นการบังคับผู้บริโภคกลายๆ ว่าต้องกลับมาซื้อของกับทางห้างอีกหากไม่อยากให้เงินนั้นสูญไปเฉยๆ แม้คูปองเงินสดนั้นจะไม่ได้กำหนดวันหมดอายุ แต่ก็ดูแล้วไม่ค่อยเป็นธรรมกับผู้บริโภคสักเท่าไหร่ -สินค้าบางอย่างไม่สามารถขอคืนเงินได้ – ถือเป็นอีกหนึ่งเงื่อนไขสำคัญที่ควรรู้ก่อนซื้อสินค้า ยิ่งในกรณีที่ต้องการเปลี่ยนสินค้าจากเหตุผลด้านความพึงพอใจ ไม่ใช่เพราะสินค้าชำรุดหรือมีปัญหา สินค้าที่ร้านค้าส่วนใหญ่ไม่ยอมให้คืนอย่างเด็ดขาด ก็มีอย่างเช่น ชุดชั้นใน ชุดว่ายน้ำ ถุงเท้า หนังสือ แบตเตอรี่ ซีดี ฯลฯ และที่ต้องดูให้ดีคือ ในกลุ่มสินค้าลดราคา สินค้าราคาพิเศษ สินค้าลดล้างสต๊อก สินค้าเหล่านี้ก่อนจะซื้อต้องสอบถามให้ดีเรื่องการขอเปลี่ยนคืนสินค้า อย่าหลงซื้อโดยเห็นแก่ราคาที่ถูกกว่า ถ้าใช้ไปไม่นานแล้วเสียขึ้นมา จะเอากลับไปเปลี่ยนหรือขอคืนเงินไม่ได้ เดี๋ยวจะต้องมาปวดใจได้ของไม่คุ้มกับเงินที่เสียไป   การขอเปลี่ยน – คืนสินค้า ในมุมของกฎหมาย หลังจากฉลาดซื้อเราได้ทดสอบดูเรื่องเงื่อนไขและมาตรการการขอเปลี่ยน – คืนสินค้ากับบรรดาห้างร้านต่างๆ แล้ว เราก็พบข้อสังเกตอย่างหนึ่งว่า แต่ละที่แต่ละแห่งต่างก็มีเงื่อนไขที่แตกต่างกันไปแล้วแต่ตัวเองจะกำหนด ทั้งๆ ที่สินค้าอาจจะเป็นสินค้าชนิดเดียวกัน ราคาเท่ากัน แต่เงื่อนไขการขอคืนสินค้าไม่เหมือนกัน นั้นเป็นเพราะว่าเราไม่มีกฎหมายหรือข้อกำหนดใดๆ ที่ดูแลในเรื่องนี้ แม้จะมี พ.ร.บ. ที่พูดถึงเรื่องสินค้าอย่าง พ.ร.บ.ความรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย แต่ก็ดูแลเฉพาะสินค้าที่เข้าข่ายสินค้าไม่ปลอดภัยเท่านั้น หรือ พ.ร.บ.ขายตรงและตลาดแบบตรง ก็คุ้มครองเฉพาะคนซื้อของแบบขายตรง ที่ดูจะเป็นเรื่องเป็นราวมากที่สุด ก็คงเป็น “โครงการส่งเสริมการรับประกันคุณภาพสินค้าและบริการประเภทธุรกิจค้าปลีก ค้าส่ง” ที่ทางกรมการค้าภายในทำไว้กับบรรดา ห้างสรรพสินค้า ห้างค้าปลีกขนาดทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ รวมทั้งร้านสะดวกซื้อ ที่ให้มีการกำหนดเงื่อนไขการเปลี่ยน – คืนสินค้า แต่ว่าก็เป็นเพียงแค่การขอความร่วมมือเท่านั้น   ถ้าขอคืนไม่ได้...ให้กฎหมายช่วย สำหรับคนที่พบปัญหา ไปขอคืนสินค้าแล้วไม่ได้รับการบริการ ไม่ได้เงินคืน เปลี่ยนสินค้าไม่ได้ หรือผู้ขายปฏิเสธความรับผิดชอบโดยสิ้นเชิง อย่าเพิ่งหมดหวัง เพราะเรายังสามารถใช้กฎหมายเป็นตัวช่วยจัดการปัญหานี้ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  เรื่อง ความรับผิดเพื่อชำรุดบกพร่อง ได้กำหนดให้ผู้ขายสินค้าต้องรับผิดชอบต่อสินค้าที่ชำรุดบกพร่อง ซึ่งทำให้ผู้ซื้อสินค้าสามารถฟ้องร้องเพื่อพิจารณาเรียกร้องการชดเชยได้ โดยใช้ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาวิธีคดีผู้บริโภค ช่วยในการฟ้องร้อง   สิ่งที่ต้องทำเมื่อจะไปขอคืนสินค้า 1.ตรวจสอบเงื่อนไขการคืนสินค้าของร้านที่เราจะไปขอคืนสินค้าให้ดีและละเอียดที่สุดเท่าที่จะได้ สอบถามข้อมูลจากหลายๆ ทาง ในเว็บไซต์ของร้าน โทรถามกับร้านโดยตรง หรือจากคนที่เคยมีประสบการณ์ขอคืนสินค้า 2.เตรียมหลักฐานการซื้อสินค้าไว้ให้ครบถ้วนที่สุด เพราะฉะนั้นทุกครั้งที่ซื้อสินค้าต้องรักษาหลักฐานการซื้อไว้ให้ดีที่สุด โดยเฉพาะใบเสร็จ 3.พยามยามรักษาสภาพของสินค้าที่เราจะนำไปขอคืนให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ที่สุด รวมถึงเอกสารต่างๆ ของสินค้า หรือแม้แต่หีบห่อบรรจุก็ต้องพยายามรักษาให้คงสภาพเหมือนเมื่อตอนที่ซื้อมาให้มากที่สุด 4.ยิ่งติดต่อขอคืนเร็วมากเท่าไหร่ก็ยิ่งดีเท่านั้น เพราะเราจะสามารถจัดการสภาพของสินค้าและเอกสารต่างๆ ได้เป็นอย่างดี และยังทำให้ทางร้านค้าเองสามารถตรวจสอบข้อมูลการซื้อสินค้าของเราได้ง่ายด้วยเช่นกัน 5.ข้อนี้สำคัญ ต้องพยายามรักษาอารมณ์ของตัวเองให้ดี เพราะแน่นอนการไปติดต่อเพื่อขอคืนสินค้า (โดยเฉพาะในกรณีที่เกิดจากความไม่พึงพอใจในสินค้า) พนักงานที่รับเรื่องจากเราอาจมีบ้างที่ไม่ค่อยยินดีที่จะให้บริการ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใด หากเราต้องการให้การติดต่อขอคืนสินค้าของเราประสบความสำเร็จ เราเองต้องเป็นฝ่ายที่พยายามสื่อสารด้วยท่าทีสุภาพ แต่ก็ต้องรักษาสิทธิอย่างเต็มที่ ซึ่งการที่เราเตรียมตัวตามที่บอกไว้ในข้อ 1 - 3 มาอย่างดี ย่อมทำให้เรามีน้ำหนักเพียงพอที่จะได้รับบริการที่เหมาะสม   เงื่อนไขการขอคืนสินค้าของห้างสรรพสินค้า ห้างค้าปลีก และร้านสะดวกซื้อ ชื่อ ระยะเวลาในการขอคืนสินค้า สินค้าที่ยกเว้นในการขอคืนสินค้า หมายเหตุ โลตัส 30 วัน - เครื่องใช้ไฟฟ้า ต้องแจ้งขอคืนสินค้าภายใน 7 วัน สินค้าอาหารสด และสินค้าเฮ้าส์แบรนด์ รับเปลี่ยน-คืนได้ก่อนวันหมดอายุ บิ๊กซี 30 วัน ชุดว่ายน้ำ ชุดชั้นใน ซีดี สินค้าลดราคา เครื่องใช้ไฟฟ้า ต้องแจ้งขอคืนสินค้าภายใน 10 วัน สินค้าอาหารสด เบเกอรี่ คืนก่อนวันหมดอายุ ท็อป และ เซ็นทรัล ฟู้ด ฮอลล์ 7 วัน - - เซเว่น อีเลฟเว่น 7 วัน - สินค้าที่เสียก่อนวันหมดอายุ แฟมมิรี มาร์ช 7 วัน - สินค้าที่เสียก่อนวันหมดอายุ ฟูดแลนด์ - - สินค้าคุณภาพไม่ดี แม็คโคร 7 วัน - อาหารสดและแช่แข็ง ต้องแจ้งขอคืนสินค้าภายในวันที่ซื้อสินค้าเท่านั้น เซ็นทรัล 14 วัน ชุดว่ายน้ำ ชุดชั้นใน เครื่องประดับ เครื่องสำอาง หนังสือ ไส้ปากกา ผ้า สินค้าลดราคา - โรบินสัน 14 วัน ชุดว่ายน้ำ ชุดชั้นใน เครื่องประดับ เครื่องสำอาง หนังสือ ไส้ปากกา ผ้า สินค้าลดราคา - เดอะ มอลล์ 7 วัน สินค้าลดราคาพิเศษ - เพาเวอร์บาย 7 วัน กล้องถ่ายรูป, กล้องวีดีโอ, โทรศัพท์มือถือ, คอมพิวเตอร์, โน๊ตบุ๊ค, แท็บเล็ต, สินค้าตัวโชว์, สินค้าลดล้างสต๊อก, ทีวีจอใหญ่กว่า 30 นิ้ว สินค้าที่ใช้แล้ว หรือ แกะกล่องแล้วไม่รับคืน มีดังนี้ ตู้เย็น, แผ่นซีดี, วีดีโอเทป, คอมพิวเตอร์ ซอฟแวร์, ฟิล์ม, ถ่านไฟฉาย, ถ่านชาร์จ, เครื่องปรับอากาศ, เครื่องซักผ้า, เครื่องดูดฝุ่น, ไมโครเวฟ, เครื่องครัวขนาดเล็ก, ผ้าหมึก, อุปกรณ์ทำความสะอาด   ผลการสำรวจบริการคืนสินค้าของห้างสรรพสินค้าและห้างค้าปลีก   ห้างสรรพสินค้า /สาขา สินค้า ราคา ได้ ไม่ได้ วันที่ซื้อ วันที่คืน ง่าย ยาก เพราะ โรบินสัน /รังสิต เสื้อยืดหมีพูห์ 495- /   - 8 เมย.56 11 เมย.56 สยามพารากอน เสื้อยืด ยี่ห้อ Lantona 445-   / ไม่ให้คืนสินค้า ไม่มีเหตุผล 8 เมย.56 11 เมย.56 เทสโก้ โลตัส/สุขุมวิท 50 เสื้อยืดคอกลม 169- /   - 9 เมย.56 10 เมย.56 แม็คโคร/รังสิต เสื้อกีฬา ยี่ห้อ FBT 149- /   - 8 เมย.56 11 เมย.56 เดอะมอลล์/งามวงศ์วาน เสื้อยืดเด็ก ยี่ห้อ Tom&jerry 390-   / ต้องรอเป็นเวลาประมาณ 1 ชม. เนื่องจากทางแคชเชียร์ต้องยื่นเอกสารการทำคืนสินค้าให้ผู้จัดการแผนกต่าง ๆ รวม 3 ท่าน และไม่สามารถคืนเป็นเงินสด จึงคืนมาเป็นคูปองเงินสดราคาเท่าราคาสินค้า ไม่กำหนดวันหมดอายุ แต่ต้องมาใช้ซื้อสินค้าในเครือเท่านั้น 6เมย.56 10 เมย.56 บิ๊กซี /สี่แยกบ้านแขก เสื้อเชิ้ต 359- /   - 10 เมย.56 11 เมย.56 เอ็มโพเรียม เสื้อกล้ามผู้หญิง Giordano 200-   / ต้องรอเป็นเวลาประมาณ 15 นาที เนื่องจากทางแคชเชียร์ต้องยื่นเอกสารการทำคืนสินค้าให้ผู้จัดการเซ็นอนุมัติ แต่ไม่สามารถคืนเป็นเงินสด จึงคืนมาเป็นคูปองเงินสดราคาเท่าราคาสินค้า ไม่กำหนดวันหมดอายุ แต่ต้องมาใช้ซื้อสินค้าในเครือเท่านั้น 10 เมย.56 11 เมย.56 โตคิว       / ไม่ให้คืนเพราะพนักงานอ้างว่าหากให้คืนสินค้า พนักงานต้องจ่ายค่าสินค้าชิ้นนั้นแทน 10 เมย.56 11 เมย.56   เงื่อนไขในการสำรวจ 1.อาสาสมัครจะต้องซื้อเสื้อจากร้านที่ส่วนของทางห้างโดยตรง (ไม่ใช่ร้านที่มาเช่าพื้นที่) 2.ต้องนำเสื้อที่ซื้อมาไปติดต่อขอคืนสินค้า โดยต้องให้เหตุผลในการเปลี่ยนว่าไม่พอใจในสินค้าเท่านั้น เช่น ไม่ชอบสี หรือใส่แล้วไม่ชอบ 3.ติดต่อขอคืนสินค้าโดยที่ สินค้ายังอยู่ในสภาพเดิม และมีใบเสร็จเป็นหลักฐาน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 133 เงินทองของมายา เปรียบเทียบปัญหาด้านการเงินจากทั่วโลก

  เนื่องในโอกาสวันผู้บริโภคสากล 15 มีนาคม เราขอพาคุณเปลี่ยนบรรยากาศไปทัวร์ 1 วัน 10 ประเทศ อัพเดทเรื่องเงินๆทองๆ รอบโลกกัน ผู้บริโภคชั้นแนวหน้าอย่างพวกเรา รู้จัก “สิทธิในการเลือก” เป็นอย่างดี แต่เราอาจลืมสังเกตไปว่า ในบรรดาสิทธิผู้บริโภคทั้ง 8 ข้อ(แบบสากล) นั้น “สิทธิในการเลือก” ของเราถูกละเมิดโดยบริการการเงินการธนาคารมากที่สุด แม้ค่าธรรมเนียมจะแพงสักเท่าไร บริการจะแย่สักแค่ไหน เราก็ (ยินดี?) ทนกันต่อไป จะมีสักกี่คนที่อยากจะเป็นธุระเปลี่ยนไปใช้บริการจากธนาคารเจ้าใหม่ เพราะรู้สึกไม่พอใจกับเจ้าเดิม หรือเพราะเห็นข้อเสนอของเจ้าใหม่ที่ดีกว่า  เรื่องของเรื่อง ... ดูไม่ออกจริงๆ ว่าใครให้บริการหรือข้อเสนอที่ดีกว่ากัน ฝรั่งเศส ที่นี่เขามีสถิติยืนยันว่า ใน 100 คน มีถึง 15 คน ที่ “อยาก” จะเปลี่ยนธนาคาร แต่ “เปลี่ยน” จริงๆแค่ 5 คนเท่านั้นข่าวบอกมาว่า ที่นี่มีจำนวนผู้ประกอบการค่อนข้างจำกัด แถมยังมีค่าบริการแพงเป็นอันดับต้นๆของยุโรป แต่คนฝรั่งเศสกลับมีการรับรู้เรื่องการเปลี่ยนธนาคารน้อยมาก (ยืนยันโดยงานสำรวจเมื่อ 2 ปีก่อน โดยองค์กรผู้บริโภค UFC-Que Choisir) บรรดาธนาคารที่นี่ไม่มีการอำนวยความสะดวกใดๆ ให้แก่ผู้ที่ต้องการจะย้ายบัญชีเงินฝากไปอยู่กับเจ้าใหม่ ในขณะเดียวกันก็ไม่สนใจจะรับลูกค้าที่เปลี่ยนจากเจ้าอื่นมาที่ตนเองเช่นกัน หลักๆ แล้วเขาเน้นการขายผลิตภัณฑ์ทางการเงินเพิ่มเติมให้กับลูกค้าเก่ามากกว่า  นอกจากนี้เขายังคิดค่าธรรมเนียมสำหรับบริการที่มีคู่แข่งน้อย เช่น บัตรเดบิต สูงมากด้วย   สหรัฐอเมริกา เมื่อเดือนตุลาคม ปีที่แล้ว Bank of America ประกาศจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมรายเดือน เดือนละ 5 เหรียญ (ประมาณ 150 บาท) จากผู้ใช้บัญชีเงินฝากที่รองรับบัตรเดบิต ตั้งแต่เดือนมกราคม ปี 2012 เป็นต้นไป โดยมีธนาคารอีก 3 แห่ง (JP Morgan Chase / Wells Fargo และ Sun Trust) ตั้งท่าว่าจะทำเช่นเดียวกัน อเมริกันชนฟังแล้วขมขื่น เป็นลูกค้ากันมาก็นาน แล้วทำไมถึงยังต้องเสียเงินเพื่อเข้าไปใช้เงินในบัญชีเงินฝากของตัวเองอีก ว่าแล้วผู้บริโภคกว่า 40,000 คน ก็ร่วมกันเขียนอีเมล์ถึงสภาคองเกรส ร้องขอให้มีการตรวจสอบว่าการกระทำดังกล่าวนั้นเป็นธรรมต่อผู้บริโภคหรือไม่ ในที่สุดแผนการนี้ล้มเลิกไปในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา  ------------------------------------------------------------------------------------------------------- สถิติความอัดอั้นตันใจ อังกฤษ   ครึ่งหลังของปี พ.ศ. 2553 มีเรื่องร้องเรียนบริการการเงิน/ธนาคาร กว่า 1,700,000 เรื่อง อินเดีย  ระหว่าง ปี พ.ศ. 2552 – 2553 มีเรื่องร้องเรียนบริการการเงิน/ธนาคาร เกือบ 80,000 เรื่อง จีน  มากกว่าร้อยละ 40 ของผู้ใช้บริการธนาคาร ไม่พอใจกับค่าธรรมเนียมอัตราปัจจุบันบราซิล  เรื่องร้องเรียนยอดฮิตอันดับสอง ของ “สคบ.” ที่นั่นคือ บริการการเงิน/ธนาคาร-------------------------------------------------------------------------------------------------------เปลี่ยน ... วันนี้เธอแค่เปลี่ยน  ลองมาดูสถิติการ “เปลี่ยน” ของผู้บริโภคในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป ระหว่างปี พ.ศ. 2550 – 2551 ร้อยละ 25  “เปลี่ยน” ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตร้อยละ 22  “เปลี่ยน” ผู้ให้บริการประกันรถยนต์ร้อยละ 9  “เปลี่ยน” ผู้ให้บริการธนาคาร -------------------------------------------------------------------------------------------------------   สวีเดน ที่นี่เขาเท่จริงไรจริง มีการคงสิทธิหมายเลขบัญชีธนาคารด้วยระบบที่ชื่อว่า BankGiro ที่ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถเลือกที่จะไปใช้บริการของธนาคารไหน เมื่อไรก็ได้ ถ้าพบผลิตภัณฑ์หรือข้อเสนอที่น่าสนใจกว่า ด้วยการอ้างอิงหมายเลขบัญชีเดิม แต่เดี๋ยวก่อน องค์กรผู้บริโภคของสวีเดน Sveriges Konsumenter บอกว่าผู้ที่ใช้ประโยชน์จากระบบ BankGiro นี้ส่วนใหญ่เป็นองค์กรธุรกิจ ส่วนผู้บริโภคทั่วไปนั้นยังมีความเชื่อว่าการเปลี่ยนไปใช้บริการจากธนาคารอื่นนั้นเป็นเรื่องยุ่งยาก แถมสุ่มเสี่ยงอีกต่างหาก ทั้งๆ ที่มีระบบรองรับแต่คนก็ยังไม่ “เปลี่ยน” เรื่องนี้สะท้อนถึงความไม่เชื่อมั่นในระบบธนาคารของคนสวีเดน มีสถิติยืนยันว่าความเชื่อมั่นในสถาบันการเงินนั้นลดลงอย่างฮวบฮาบในระหว่างปี พ.ศ. 2552 – 2553 -------------------------------------------------------------------------------------------------------ความจริงแล้วคณะกรรมาธิการอุตสาหกรรมธนาคารแห่งยุโรป ได้ประกาศใช้แนวปฏิบัติในการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้บริโภคที่ต้องการโอนย้ายบัญชีเงินฝากของตนไปอยู่กับธนาคารอื่นในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปทั้งหมด รวมถึงนอร์เวย์ มาตั้งแต่เมื่อสามปีก่อน แต่จนทุกวันนี้ก็ยังไม่สามารถจัดการได้ลงตัวในทางปฏิบัติ-------------------------------------------------------------------------------------------------------   เนเธอร์แลนด์ ด้วยระบบ OVERSTAPSERVICE ที่มีใช้กันมาตั้งแต่ปี 2548 ที่กำหนดให้ธนาคารเดิมโอนประวัติการจ่ายเงินในช่วงเวลาย้อนหลัง 13 เดือน ไปยังบัญชีของผู้บริโภคที่ทำไว้กับธนาคารเจ้าใหม่ ทำให้คนที่นี่สามารถใช้สิทธิในการเลือกของตนเองได้สะดวกกว่าที่อื่น งานสำรวจขององค์กรผู้บริโภค Consumentenbond พบว่าผู้มีบัญชีธนาคารกว่า 1,900 คน มีการใช้บริการนี้ประมาณ 80,000 – 100,000 ครั้งต่อปี และผู้บริโภคมีความพึงพอใจต่อบริการธนาคารโดยรวมเพิ่มขึ้น จากที่เคยให้ 7 เต็ม 10 เมื่อปี 2549 ก็เพิ่มเป็น 8.5 เต็ม 10 ในปี 2554 แม้จะย้ายกันได้สะดวก แต่ก็ยังไม่สามารถใช้หมายเลขบัญชีเดิมได้อยู่นั่นเอง   ออสเตรเลีย ตั้งแต่เดือนมกราคมปีนี้เป็นต้นมา สถาบันการเงินที่ให้บริการรับจำนองบ้าน จะต้องมีข้อมูลให้กับผู้บริโภคในรูปแบบที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยต้องแจกแจงข้อมูลต่อไปนี้ในภาษาที่เข้าใจได้ง่าย ให้จบภายใน 1 หน้ากระดาษ • เงื่อนไขเงินกู้ / จำนวนงวดที่ต้องผ่อนชำระ• อัตราดอกเบี้ย • จำนวนเงินที่ต้องจ่ายทั้งหมด เมื่อจ่ายจนครบทุกงวด• ค่าธรรมเนียมต่างๆ ที่ธนาคารจะเรียกเก็บ -------------------------------------------------------------------------------------------------------ธนาคารใหญ่ขึ้น ทางเลือกผู้บริโภคน้อยลงอังกฤษ ธนาคารใหญ่ 5 อันดับแรก ยึดครองส่วนแบ่งตลาดถึงร้อยละ 87  แค่ Lloyds ธนาคารเดียวก็คุม 1 ใน 4 ของบัญชีเงินฝากทั้งประเทศแล้ว อีกร้อยละ 20 ของลูกค้าที่กู้ซื้อบ้านก็อยู่กับธนาคารนี้เช่นกันฝรั่งเศส  ร้อยละ 90 ของบัญชีเงินฝาก ร้อยละ 80 ของบัญชีเงินกู้ และร้อยละ 60 ของกรมธรรม์ประกันชีวิต อยู่กับธนาคาร 6 อันดับแรก อเมริกา ส่วนแบ่งการตลาดของ 50 ธนาคารอันดับต้นในปี  2553 เท่ากับส่วนแบ่งการตลาดของธนาคาร 150 อันดับแรก ในปี 2551ออสเตรเลีย ธนาคาร 4 อันดับต้น มีส่วนแบ่งร้อยละ 78 ของบัญชีเงินฝาก และมากกว่าร้อยละ 80 ของบัญชีเงินกู้บราซิล  ร้อยละ 75 ของบัญชีเงินฝาก อยู่กับธนาคาร 5 อันดับแรกเยอรมนี ร้อยละ 78 ของบัญชีเงินฝาก อยู่กับธนาคาร 6 อันดับแรก  -------------------------------------------------------------------------------------------------------   อังกฤษ คงจำกันได้ว่าที่นี่เขาพยายามกอบกู้ธนาคารขนาดใหญ่ที่อาการเข้าขั้นโคม่า ด้วยเงินภาษีของประชาชน นอกจากเสียงวิพากษ์วิจารณ์ถึงความไม่เป็นธรรม (แต่จำเป็น) ในเรื่องนี้แล้ว ขณะนี้เริ่มมีเสียงเรียกร้องให้มีการแยกให้ชัดเจนระหว่างธนาคารทั่วไป และธนาคารเพื่อการลงทุน เพราะระดับความเสี่ยงมันต่างกันลิบลับ เมื่อธนาคารเพื่อการลงทุน (ซึ่งสมควรเป็นผู้เชี่ยวชาญ) เก็งกำไรผิด ตัดสินใจพลาดเอง รัฐก็สมควรปล่อยให้ล้มไปเอง ไม่ต้องนำเงินสาธารณะเข้าไปอุ้มการลงทุนส่วนบุคคล -------------------------------------------------------------------------------------------------------ทำงานแทบตาย หายไปกับค่าโอนในแต่ละปี เงินจำนวนไม่ต่ำกว่า 4 แสนล้านเหรียญสหรัฐ จะถูกโอนจากแรงงานข้ามชาติไปยังประเทศบ้านเกิด (ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศกำลังพัฒนา) เพื่อจุนเจือคนในครอบครัว เป็นค่าซ่อมบ้าน ค่าเล่าเรียนลูก เป็นต้น โดยเฉลี่ยแล้วคนเหล่านี้จะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมการโอนมากกว่าร้อยละ 10 ของจำนวนเงินที่โอน บางครั้ง มากกว่าร้อยละ 20 ด้วยซ้ำ ผู้บริโภคมีทางเลือกที่ค่อนข้างจำกัดเพราะไม่มีข้อมูล ในขณะที่ธนาคารก็ยังไม่มีความโปร่งใสในมาตรฐานการตั้งราคาด้วยเช่นกัน แม้แต่ ธนาคารโลก World Bank เองก็เคยบอกว่า ถ้าธนาคารลดค่าธรรมเนียมการโอนให้ร้อยละ 5   จะมีเงินกลับไปสู่ครอบครัวในประเทศกำลังพัฒนาเพิ่มขึ้น 15,000 ล้านเหรียญต่อปีเลยทีเดียว-------------------------------------------------------------------------------------------------------   เนื่องในโอกาสวันคุ้มครองผู้บริโภคสากล World Consumer Rights Day ซึ่งตรงกับวันที่ 15 มีนาคม ของทุกปี สหพันธ์ผู้บริโภคสากลและองค์กรสมาชิก 220 องค์กรใน 115 ประเทศ (มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ของเราก็เป็นสมาชิกอยู่ด้วย) จะร่วมกันรณรงค์เรียกร้องให้เกิดบริการทางการเงินการธนาคารที่หลากหลาย โปร่งใส และเป็นธรรมต่อผู้บริโภคมากขึ้น

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 125 เงินฝากดอกเบี้ยสูง... แค่จูงใจหรือได้จริง!?

 การฝากเงินกับธนาคารของใครหลายคนอาจไม่ใช่เพียงแค่การออมเงิน แต่เป็นการต่อยอดเพิ่มมูลค่าให้กับเงินที่นำไปฝาก ด้วยผลกำไรที่ได้จาก “ดอกเบี้ย”  การฝากเงินไว้กับธนาคารแล้วปรารถนาดอกเบี้ยสูงแทบเป็นไปได้น้อยในบัญชีประเภท ออมทรัพย์ ดังนั้นทางเลือกที่น่าสนใจที่สุดก็คือ เลือกฝากกับ “บัญชีเงินฝากประจำ” ซึ่งให้ดอกเบี้ยสูงกว่าบัญชีออมทรัพย์ธรรมดา แถมช่วงนี้กระแสฝากเงินรับดอกเบี้ยสูงกำลังมาแรง ธนาคารหลายเจ้าใช้กลยุทธ์ดึงดูดใจลูกค้าด้วยตัวเลขดอกเบี้ยสูงปี๊ด แบบที่ใครเห็นก็ต้องตะลึง รู้สึกใจเต้นตึงตัง อยากควักเงินจากกระเป๋าเอาไปเข้าบัญชีแบบเดี๋ยวนั้นทันที   สงครามเงินฝากดอกเบี้ยสูง!!!  ช่วงนี้แต่ละธนาคารกำลังทำสงครามแย่งชิงเม็ดเงิน (ฝาก) จากลูกค้ากันอย่างหนัก โดยต่างก็ชูเรื่องเงินฝากดอกเบี้ยสูงมาเป็นจุดขาย ซึ่งส่วนใหญ่เลือกใช้กลยุทธ์ดอกเบี้ย 7% มาเป็นตัวเรียกแขก ให้หลายคนเกิดแรงบันดาลใจหันมาออมเงินกันวันนี้เพื่ออนาคตที่ดีในวันหน้า ไม่ว่าจะเป็น ธ.นครหลวงไทย กับโปรโมชั่นเงินฝากประจำพิเศษ super grow up 10 เดือน, ธ.ไทยพาณิชย์ เงินฝากประจำดอกเบี้ยก้าวกระโดด 11 เดือน, ธ.กสิกรไทย เปิดบัญชีเงินฝากประจำดอกเบี้ยพุ่งพรวด 13 เดือน ที่ให้ดอกเบี้ยสูงกว่าเพื่อนที่ 7.50% หรือแม้แต่ ธ.ออมสิน ก็มีเงินฝากประจำ 11 เดือน ให้ดอกเบี้ย 7% เป็นทางเลือกให้กับคนที่อยากฝากเงินไว้กินดอก  ลองมาดูกันหน่อยสิว่าแต่ละธนาคารใช้โปรโมชั่นอะไรมาจูงใจคนที่รักการออมอย่างเรากันบ้าง   ธ.นครหลวงไทย เงินฝากประจำพิเศษ super grow up 10 เดือน ดอกเบี้ย 7%อัตราดอกเบี้ย (ต่อปี)เดือนที่ 1 – 6 = 2.00%เดือนที่ 7 – 8 = 2.50%เดือนที่ 9 - 11 = 7.00%อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย = 3.10% เงื่อนไข-ต้องมีสมุดบัญชีคู่ฝากอีกหนึ่งบัญชี-ฝากขั้นต่ำ 10,000 บาท ไม่จำกัดวงเงิน-จ่ายดอกเบี้ย 3 ครั้ง เดือนที่ 6 เดือนที่ 8 และเดือนที่ 10-ฝากไม่ครบ 6 เดือนไม่ได้ดอกเบี้ย-บัญชีไม่สามารถใช้เป็นหลักประกันสินเชื่อ-หากจะถอนต้องถอนทั้งยอดฝาก ยอดฝากใดก็ได้----------   ธ.กสิกรไทย เงินฝากประจำดอกเบี้ยพุ่งพรวด 13 เดือน ดอกเบี้ย 7.50%อัตราดอกเบี้ย (ต่อปี)เดือนที่ 1 – 3 = 2.00%เดือนที่ 4 – 6 = 2.50%เดือนที่ 7 – 9 = 3.25%เดือนที่ 10 – 11 = 5.75%เดือนที่ 12 – 13 = 7.50%อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย = 3.827%เงื่อนไข-ฝากขั้นต่ำ 10,000 บาท-จ่ายดอกเบี้ยเดือนที่ 3 เดือนที่ 6 เดือนที่ 9 เดือนที่ 11 และเดือนที่ 13-ผู้ฝากต้องมีบัญชีออมทรัพย์หรือบัญชีกระแสรายวันอีกหนึ่งบัญชี เพื่อใช้ผูกกับบัญชีใหม่ไว้สำหรับรองรับการโอนดอกเบี้ยตามช่วงเวลาที่ครบกำหนด-ถ้าถอนเงินก่อนครบกำหนด จะได้รับดอกเบี้ย 2.00% ต่อปี-ถ้าถอนเงินต้นบางส่วนก่อนครบกำหนด เงินต้นส่วนที่เหลือเมื่อฝากจนครบกำหนดยังคงได้รับดอกเบี้ยตามปกติ-----------    ธ.ไทยพาณิชย์ เงินฝากประจำดอกเบี้ยก้าวกระโดด 11 เดือน ดอกเบี้ย 7%อัตราดอกเบี้ย (ต่อปี)เดือนที่ 1 – 4 ดอกเบี้ย 2%เดือนที่ 5 – 8 ดอกเบี้ย 3%เดือนที่ 9 – 11 ดอกเบี้ย 7%อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย = 3.727% ต่อปีเงื่อนไข-ฝากขั้นต่ำ 10,000 บาท ฝากครั้งต่อไปขั้นต่ำ 1,000 บาท-ไม่จำกัดวงเงินสูงสุด -ฝากไม่ครบ 3 เดือน ไม่ได้รับดอกเบี้ย-ฝากเกิน 3 เดือน แต่ไม่ครบ 11 เดือน จะได้รับดอกเบี้ยในอัตราเดียวกับบัญชีออมทรัพย์ ------------   ธ.ทหารไทย เงินฝากประจำ Up & Up 24 เดือน ดอกเบี้ย 7%อัตราดอกเบี้ย (ต่อปี)เดือนที่ 1 – 6 = 2.00%เดือนที่ 7 -12 = 3.00%เดือนที่ 13 – 18 = 4.00%เดือนที่ 19 – 24 = 7.00%อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย = 3.1875% ต่อปีเงื่อนไข-เปิดบัญชีครั้งแรกและการฝากครั้งต่อไปกำหนดขั้นต่ำที่ 25,000 บาท -จ่ายดอกเบี้ยทุก 3 เดือนพร้อมหักภาษี ณ ที่จ่าย-ถอนเงินก่อนครบกำหนดต้องถอนเต็มจำนวนเงินของแต่ละรายการที่ฝาก คิดดอกเบี้ยตามระยะเวลาฝากในเดือนที่ถอน-ถอนเงินได้เฉพาะกับสาขาที่เปิดบัญชีไว้เท่านั้น และต้องมีสมุดคู่ฝากด้วย------------------------------   ธ.ออมสิน เงินฝากประจำ 11 เดือน ดอกเบี้ย 7%อัตราดอกเบี้ย (ต่อปี)เดือนที่ 1 – 3 = 2.50%เดือนที่ 4 – 6 = 3.00%เดือนที่ 7 – 9  = 3.50%เดือนที่ 10 – 11 = 7.00%อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3.7273% เงื่อนไข -ฝากขั้นต่ำ 10,000 บาท -คิดดอกเบี้ยเมื่อครบกำหนดระยะเวลาฝาก-ฝากไม่ครบ 3 เดือน ไม่ได้รับดอกเบี้ย-ฝากครบ 3 เดือน แต่ไม่ครบ 11 เดือน คำนวณดอกเบี้ยให้ในอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 11 เดือน ตามระยะเวลาที่ฝากไว้จริง-ไม่สามารถถอนบางส่วนของเงินฝากแต่ละรายการได้ ให้ถอนปิดทั้งรายการฝากนั้น-ใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันเงินกู้ หรือค้ำประกันบุคคลได้--------   ความจริงในเลข 7 ต้องยอมรับว่าดอกเบี้ย 7% ต่อปี ถือเป็นตัวเลขที่สูงมาก ยิ่งถ้านำไปเทียบกับดอกเบี้ยที่ได้จากการฝากประจำแบบ 3 เดือน 6 เดือน หรือ 12 เดือน ที่ได้ดอกเบี้ยเฉลี่ยอยู่ที่ไม่เกิน 3.75% ต่อปี (ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย) ยิ่งกับบัญชีออมทรัพย์ธรรมดายิ่งไม่ต้องพูดถึงเพราะคิดดอกเบี้ยให้แค่ปีละ 0.75% เท่านั้น  ดอกเบี้ย 7% ที่ธนาคารนำมาเป็นจุดขายยั่วใจให้เรายอมควักเงินไปนอนนิ่งๆ อยู่ที่ตู้เซฟของธนาคาร ในความเป็นจริงแล้วเรา 7% ที่ว่าอาจเป็นแค่ตัวเลขลวงตา เพราะเมื่อมาพิจารณาในเงื่อนไขและหลักเกณฑ์การคิดดอกเบี้ยที่แต่ละธนาคารกำหนดไว้จะพบว่าดอกเบี้ยที่เราจะได้รับจริงๆ อาจได้ไม่ถึง 7% เนื่องจากบัญชีเงินฝากที่บอกว่าจะคิดดอกเบี้ยให้เราสูงถึง 7% ต่อปีนั้น   จะใช้หลักการคิดดอกเบี้ยแบบขั้นบันได หมายถึงดอกเบี้ยจะมีการเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาของการฝากตามแต่ที่เงื่อนไขของบัญชีเงินฝากนั้นๆ จะกำหนดไว้ เช่น 10 เดือน หรือ 11 เดือน โดยในช่วง 3 เดือนแรก เราจะได้รับดอกเบี้ยจากการฝากเงินอยู่ที่ประมาณ 2 – 3% ต่อปี   หลังจากนั้นมูลค่าของดอกเบี้ยก็จะเพิ่มขึ้นตามช่วงเวลาของการฝาก 6 เดือน 8 เดือน จนในช่วงเดือนท้ายๆ เราถึงจะมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยสูงสุดที่ 7% เมื่อเฉลี่ยตลอดช่วงเวลาการฝากเงินเราจะได้รับดอกเบี้ยสุทธิจริงๆ อยู่ที่ประมาณ 3 – 4% เท่านั้น   ซึ่งตัวเลขนี้ก็ยังไม่ใช่ดอกเบี้ยสุทธิจริงๆ ที่เราได้ เพราะดอกเบี้ยที่ทางธนาคารแจ้งกับเรานั้นเป็นดอกเบี้ยที่เฉลี่ยต่อปี แต่บรรดาบัญชีเงินฝากประจำให้ดอกเบี้ยสูงทั้งหลายที่แต่ละธนาคารส่งมาประชันกันนั้นถือเป็นบัญชีแบบพิเศษ คือจะเป็นการเปิดให้ฝากในช่วงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้นและอายุของบัญชีที่ใช้คิดปันผลดอกเบี้ยของบางบัญชีก็ไม่ถึง 1 ปี ซึ่งนั่นก็ทำให้ตัวเลขดอกเบี้ยเฉลี่ยที่แจงไว้ก็ต้องลดลงไปอีกเมื่อถึงเวลาที่คิดยอดรวม แถมยังต้องมีการหักภาษี ณ ที่จ่ายในส่วนของดอกเบี้ยที่ได้รับอีกด้วย ------------------------------------------------------   วิธีการคำนวณหาดอกเบี้ยเงินฝากที่ได้จริงๆ จากการฝากเงินในบัญชีเงินฝากดอกเบี้ยสูง  หลายคนอาจจะคิดว่าการคำนวณหาอัตราดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารเป็นเรื่องยาก เห็นตัวเลขมากๆ แล้วอาจจะตาลาย แต่ความจริงแล้วการคำนวณดอกเบี้ยเงินฝากนั้นง่ายนิดเดียว  สูตรที่ใช้ในการคำนวณก็คือ ระยะเวลาการฝาก × อัตราดอกเบี้ย ÷ ด้วย 12 ซึ่งก็จำนวนเดือนใน 1 ปี  ตัวอย่างธนาคารให้ดอกเบี้ยสูงสุดที่ 7% ระยะเวลาการฝาก 10 เดือน โดยคิดดอกเบี้ยเป็นขั้นบันได แบ่งการจ่ายเป็น 3 ครั้ง ช่วงเดือนที่ 1 – 5 ให้ดอกเบี้ย 2% ต่อปี เดือนที่ 6 – 8 ให้ดอกเบี้ย 3% ต่อปี และในเดือนที่ 9 – 10 ให้ดอกเบี้ย 7% ต่อปี ถ้าสมมุติว่าเรามีเงินต้นอยู่ 10,000 บาท เราก็จะสามารถคิดดอกเบี้ยจริงด้วยการคำนวณดังต่อไปนี้ เดือนที่ 1 – 5 ดอกเบี้ย 2.00% ต่อปี = 2.00 คูณ 5 หาร 12 = 0.83% เป็นดอกเบี้ยที่ได้ใน 5 เดือนแรกเดือนที่ 6 – 8 ดอกเบี้ย 3.00% ต่อปี = 3.00 คูณ 3 หาร 12 = 0.75% เป็นดอกเบี้ยที่ได้ใน 3 เดือนต่อมาเดือนที่ 9 – 10 ให้ดอกเบี้ย 7.00% ต่อปี = 7.00 คูณ 2 หาร 12 = 1.16% เป็นดอกเบี้ยที่ได้ในอีก 2 เดือนต่อมา รวมฝากเงิน 10 เดือนจะได้ดอกเบี้ยเฉลี่ยอยู่ที่ 2.74% ไม่ใช่ 7% อย่างที่ธนาคารโฆษณาไว้ ------------------------------------------------------   เรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับเงินฝากประจำพิเศษดอกเบี้ยสูง  -ต้องดูที่ดอกเบี้ยเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการฝาก อย่าเชื่อตัวเลขดอกเบี้ยที่ธนาคารเอามาโฆษณา ซึ่งดอกเบี้ยเฉลี่ยจะมีการแจ้งไว้ในเงื่อนไขรายละเอียดจากคิดดอกเบี้ยอยู่แล้ว  -เงินฝากประจำดอกเบี้ยสูงให้ดอกเบี้ยสูงกว่าในระยะเวลาที่สั้นกว่า ถ้าเทียบกับเงินฝากประจำทั่วไป  -แม้การฝากประจำระยะยาวจะได้รับดอกเบี้ยสูงกว่าการฝากระยะสั้นหรือฝากแบบออมทรัพย์ แต่ก็ส่งปัญหาต่อสภาพคล่องของผู้ฝาก เพราะไม่สามารถถอนออกมาใช้ได้สะดอก ถ้ามีการถอนก็จะมีการปรับลดดอกเบี้ยทันที แถมยังอาจเสียสิทธิได้รับดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น หากในอนาคตข้างหน้าเกิดมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในตลาดก่อนถึงวันที่ครบกำหนดฝาก  -เงินฝากประจำดอกเบี้ยสูงฝากขั้นต่ำที่ 1 หมื่นบาท ได้ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาการฝาก ส่วนเงินฝากประจำทั่วไปดอกเบี้ยจะเพิ่มขึ้นตามวงเงินฝาก ซึ่งส่วนใหญ่ต้องเป็นวงเงินที่สูงมากระดับหลายล้านบาท  -อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยบัญชีฝากประจำ 3 เดือนอยู่ที่ 1.50 – 3.45% ต่อปี, 6 เดือนอยู่ที่ 1.70 – 3.50% ต่อปี, 12 เดือนอยู่ที่ 1.90 -3.75% ต่อปี และ 24 เดือนอยู่ที่ 2.40 – 4.45% ต่อปี (ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย)-เงินฝากประจำที่มีการแบ่งจ่ายดอกเบี้ยตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไปในรอบระยะเวลาการฝากแต่ละประเภท ถ้าผู้ฝากถอนเงินก่อนครบกำหนด โดยธนาคารได้มีการแบ่งจ่ายดอกเบี้ยไปแล้ว ธนาคารจะดำเนินการเรียกคืนดอกเบี้ยที่จ่ายไปแล้วคืนตามสัดส่วนที่คำนวณจากยอดเงินต้น และไม่คืนภาษีเงินที่ได้เสียไปแล้ว ------------------------------------------------------  พ.ร.บ.คุ้มครองเงินฝาก  พ.ร.บ ที่จะช่วยให้อุ่นใจว่าเงินที่เราฝากไว้มีคนคอยดูแล หากวันหนึ่งธนาคารที่เราฝากเงินไว้เกิดเรื่องไม่คาดฝันถูกปิดกิจการ เงินของเราจะได้รับการคุ้มครอง ทั้งเงินฝากประเภทออมทรัพย์ กระแสรายวัน เงินฝากประจำ บัตรเงินฝาก และใบรับเงินฝากที่เป็นเงินบาท เฉพาะของธนาคารพาณิชย์  สำหรับวงเงินที่ได้รับการคุ้มครองตามประกาศของ พ.ร.บ. คือ11 ส.ค.53 – 10 ส.ค. 54 คุ้มครองเต็มจำนวนเงินฝาก11 ส.ค.54 – 10 ส.ค.55 คุ้มครองไม่เกินวงเงิน 50 ล้านบาท11ส.ค.55 เป็นต้นไป คุ้มครองไม่เกินวงเงิน 1 ล้านบาท  (*หลังจาก 11ส.ค.55 ถ้าหากมีเงินฝากเกิน 1 ล้านบาท เงินส่วนที่มาต้องรอการชดเชยจากการขายทรัพย์สินของธนาคารหรือสถาบันการเงินนั้นๆ) ------------------------------------------------------ เงินฝากประเภทอื่นๆ ที่น่าสนใจ  เงินฝากทวีทรัพย์ ดอกเบี้ย 3% ต่อปี (ธ.กสิกรไทย)วงเงินฝาก 1,000 – 25,000 บาท โดยต้องฝากเงินเท่าๆ กันทุกเดือนติดต่อกัน 24 เดือน ถึงจะได้รับดอกเบี้ย 3% ต่อปี แถมยังได้ดอกเบี้ยพิเศษอีก 2.50% ของดอกเบี้ยที่ได้รับ ในความพยายามที่สามารถฝากมาจนครบ 2 ปี แต่ถ้าขาดฝากแค่ 1 งวด ก็จะถูกปรับให้ได้ดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์เท่านั้น (ปัจจุบันอยู่ที่ 0.75% ต่อปี)  เงินออมปลอดภาษี ดอกเบี้ย 3.35% ต่อปี (ธ.นครหลวงไทย)ข้อดีคือไม่ต้องเสียภาษี ณ ที่จ่าย 15% สำหรับดอกเบี้ยเงินฝาก แต่ต้องทำตามเงื่อนไขคือ ฝากเงินจำนวนเท่าๆ กัน ติดต่อกันทุกเดือน นาน 24 เดือน หรือ 36 เดือน โดยถ้าฝากครบตามกำหนดจะมีโบนัสดอกเบี้ยเพิ่มให้ ฝาก 24 เดือนจะได้ดอกเบี้ยเพิ่มอีก 5% ของดอกเบี้ยที่ได้รับ ส่วน 36 เดือนจะได้เพิ่มอีก 6 % ของดอกเบี้ยที่ได้รับ สำหรับวงเงินในการฝากกำหนดไว้ที่ 500 – 600,000 บาท แต่ถ้าฝากช้าเกิน 2 ครั้งจะถูกตัดสิทธิการเป็นบัญชีปลอดภาษี และห้ามถอนเงินจนกว่าจะครบกำหนดฝาก  เงินฝากไม่ประจำ ทีเอ็มบี ดอกเบี้ยสูง ดอกเบี้ย 2.50% ต่อปี (ธ.ทหารไทย)ไม่จำกัดวงเงินในการฝาก จ่ายดอกเบี้ยปีละ 2 ครั้ง แต่ว่ามีข้อห้ามหลายอย่าง ทั้งไม่สามารถใช้บัตร ATM หรือบัตรเดบิตไม่ได้ ใช้ชำระค่าสาธารณูปโภคต่างๆ ไม่ได้ แถมถ้าถอนเงิน โอนเงินที่เคาน์เตอร์ของธนาคารมากกว่า 2 ครั้งใน 1 เดือน ต้องเสียค่าธรรมเนียมรายการละ 50 บาท แต่ทำผ่านระบบออนไลน์ไม่เสียค่าธรรมเนียม   ออมทรัพย์ฟรีค่าธรรมเนียม  ดอกเบี้ย 0.75% ต่อปี (ธ.ทหารไทย)บัญชีเงินฝากประเภทนี้แม้จะให้ดอกเบี้ยเท่ากับบัญชีออมทรัพย์ทั่วๆ ไป แต่ความน่าสนใจอยู่ตรงที่สามารถใช้ทำธุรกรรมต่างๆ โดยไม่เสียค่าธรรมเนียม ทำให้สามารถช่วยประหยัดเงินในบัญชีได้เยอะ ไม่ว่าจะเป็นการทำธุรกรรมผ่านเครื่อง ATM ผ่านะระบบอินเตอร์เน็ท ผู้ถือบัญชีนี้ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม รวมถึงค่าธรรมเนียมจากการผ่อนซื้อสินค้าโดยการหักบัญชี และค่ารักษาบัญชี แต่มีเงื่อนไขอยู่ว่าต้องมีเงินอยู่ในบัญชีไม่น้อยกว่า 2 หมื่นบาท ไม่งั้นจะถูกหักค่าธรรมเนียมเดือนละ 50 บาท (อ้าว!ไหนว่าฟรีค่าธรรมเนียม)-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------  ***หมายเหตุ: อัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมทั้งหมดที่ระบุในบทความ มาจากประกาศล่าสุดของแต่ละธนาคารในเดือน กรกฎาคม 2554 ตัวเลขอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามประกาศอื่นๆ ในอนาคต

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 93 เปิดบัญชีเงินฝาก คุณเสียเปรียบอะไรบ้าง

คนไทยนิยมเก็บเงินหรือออมเงินในรูปเงินฝากกับธนาคารพาณิชย์มากที่สุด เพราะเหตุว่ามีความเสี่ยงน้อยและยังได้ผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ยเงินฝาก(อยู่บ้าง) บัญชีเงินฝากนั้นมีอยู่หลายประเภท แต่ที่นิยมและสะดวกในการเปิดบัญชีที่สุดคือ บัญชีเงินฝากสะสมทรัพย์หรือออมทรัพย์ ซึ่งมีจุดเด่นที่ความคล่องตัวในการเบิกถอนเงิน และได้รับการยกเว้นภาษีบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ช่วยให้เกิดความสะดวกในการจัดสรรเรื่องเงินๆ ทองๆ ในชีวิตประจำวันได้มาก เพราะเป็นได้ทั้งบัญชีเงินฝากสำหรับการออมเงิน รับเงินเดือน ใช้จ่ายค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าสาธารณูปโภคอื่นๆ ค่าบัตรเครดิต หรือหนี้สินต่างๆ ตามแต่ที่เราจะกำหนด  แต่สิ่งที่เราคิดว่าเป็นเรื่องสะดวกสบายนี้ อาจมีเรื่องไม่คาดคิดที่ทำให้เราเสียเปรียบธนาคารพาณิชย์แบบเต็มๆ โดยเราไม่มีโอกาสล่วงรู้อะไรเลยจนกว่าจะเกิดปัญหาขึ้นเคยสังเกตกันบ้างไหมว่า เวลาเราไปขอเปิดบัญชีหรือขอใช้บริการ บัญชีเงินฝากธนาคารพาณิชย์ทั้งหลาย เราจะได้กระดาษมาหนึ่งแผ่นเพื่อกรอกขอความต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นชื่อ ที่อยู่ …กระดาษแผ่นนี้เรียกว่า “คำขอเปิดบัญชี” ซึ่งไม่ได้มีอะไรสะดุดตาสะดุดใจ แต่สิ่งที่เราส่วนใหญ่พลาดไป คือเอกสารที่เป็น “ข้อตกลงและเงื่อนไขแนบท้ายคำขอเปิดใช้บริการบัญชีเงินฝาก” ที่จะมีทุกธนาคารแต่เราส่วนใหญ่ไม่เคยรู้ หรือรู้แล้วก็ไม่สนใจเพราะช่างมีข้อความมากมาย ซับซ้อน และพนักงานธนาคารก็ไม่เคยมอบสำเนาให้เรา กลับมาอ่านหรืออ่านก่อนลงลายมือเลย ฉลาดซื้อเลยอาสาไปฉกเจ้าข้อตกลงและเงื่อนไขฯ ของธนาคารพาณิชย์ 5 รายใหญ่ ได้แก่ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยาและธนาคารไทยพาณิชย์ เพื่อดูว่า มันมีข้อความอะไรที่ทำให้ผู้บริโภคเสียเปรียบบ้าง โดยได้อาสาสมัครจากเครือข่ายองค์กรผู้บริโภค 11 จังหวัด (เชียงใหม่ ลำปาง พะเยา เพชรบูรณ์ สระบุรี ขอนแก่น กาญจนบุรี สมุทรสงครามตราด พัทลุง สตูล) ช่วยกันทำเนียนๆ ไปเปิดบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์ แล้วสังเกตวิธีการทำงานของพนักงานธนาคารพร้อมกับขอสำเนาข้อตกลงและเงื่อนไขฯ การเปิดบัญชีมาพิสูจน์อักษรทางกฎหมายกัน ได้ข้อสังเกตที่น่าสนใจดังนี้ ข้อสังเกตจากการขอเปิดบัญชีเงินฝากโดยอาสาสมัคร1.อาสาสมัครของเราทำตัวใสซื่อ เปิดบัญชีด้วยเหรียญบ้าง ธนบัตรบ้างแบบปนๆ กันไป พนักงานธนาคารบางแห่งจะปฏิเสธเหรียญดำๆ และธนบัตรเยินๆ เช่น ธ.ไทยพาณิชย์ สาขาละงู สตูลบอกให้เปลี่ยนใหม่ แต่บางแห่งพนักงานก็แสดงอาการไม่พอใจชัดเจน เช่น ธ.กสิกรไทย ที่สาขาถนนหน้าเมือง ขอนแก่น และ ธ.กรุงเทพ สาขาท่าแพ เชียงใหม่ “อาสาสมัครรายงานว่า พนักงานแสดงอาการไม่ค่อยพอใจที่จะให้บริการ ถึงแม้อาสาสมัครจะบอกว่านับแยกมาเรียบร้อยแล้ว เจ้าหน้าที่ก็ยืนยันว่าไม่รับฝากให้ไปแลกเงินที่ร้านสะดวกซื้อก่อน ยิ่งเหรียญ 25และ50 สตางค์ พนักงานบอกเลยว่าไม่รับ 2.เมื่ออาสาสมัครขอเปิดบัญชีเงินฝาก ไม่มีพนักงานธนาคารคนใดเลยที่จะบอกให้อ่านเอกสารข้อตกลงหรือเงื่อนไขฯ  หรือแม้แต่หยิบยื่นให้ผู้ขอใช้บริการได้อ่านก่อนเซ็นชื่อ อาสาสมัครสังเกตว่า พนักงานปฏิบัติแบบเดียวกันนี้กับทุกคน โดยส่วนใหญ่กรอกรายละเอียดแค่ใบคำขอเปิดใช้บริการและเซ็นชื่อตามที่พนักงานระบุตำแหน่งให้เซ็นเท่านั้น 3.เมื่ออาสาสมัครทำทีเป็นขอเอกสารมาอ่านหรือขอเอากลับไปอ่านที่บ้านได้ไหม อาสาสมัครบางคนบอกว่าขอไปอ่านก่อนวันนี้ยังไม่คิดเปิดบัญชี พนักงานส่วนใหญ่จะปฏิเสธโดยอ้างว่าเป็นเอกสารของทางธนาคารห้ามนำออกไป สำเนาให้ก็ไม่ได้  บางธนาคารเช่น ธ.กรุงไทย สาขาย่อยโลตัส หางดง เชียงใหม่ บอกว่า เป็นระเบียบของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ห้ามไม่ให้นำเอกสารออกไป  หรือ ธ.กรุงไทย สาขาถนนกลางเมือง ขอนแก่น บอกว่า เงื่อนไขต่างๆ มีในสมุดบัญชีหมดแล้ว แต่ก็มีธนาคารที่ยินดีให้อาสาสมัครนำสำเนาคู่ฉบับออกมาได้แบบเต็มใจให้ คือ ธนาคารกรุงเทพ แต่จะให้ต่อเมื่อมีผู้ร้องขอเท่านั้น ส่วน ธ.กสิกรไทย ธ.กรุงไทย ธ.กรุงศรีอยุธยา และธ.ไทยพาณิชย์ มีบางสาขาเท่านั้นที่จะอะลุ้มอล่วยให้เอกสาร หรือให้ทำสำเนาข้อตกลงหรือเงื่อนไขฯ ออกมาได้ เช่น ธ.กสิกรไทย สาขาพะเยา แต่ต้องเซ็นชื่อรับเอกสาร ธ.กรุงไทย สาขาพัทลุง ธ.กรุงศรีอยุธยา สาขาพะเยาและสาขาพัทลุง ธ.ไทยพาณิชย์ สาขาพะเยา (คนพะเยาน่าฮักขนาด) 4.ยอดเงินขั้นต่ำการเปิดบัญชี ส่วนใหญ่ได้รับการแจ้งจากพนักงานแบบอัตโนมัติว่า 500 บาท ซึ่งตามความเป็นจริง อาสาสมัครในหลายพื้นที่สามารถฝากต่ำกว่านั้นได้ จากรายงานพบว่า มีตั้งแต่ 100 – 500 บาท  บางที่พนักงานก็ย้อนถามว่า “จะฝากเท่าไหร่ล่ะ” หรือบางแห่งก็บอกเลยว่า “ให้ฝาก 500 ดีกว่า เพราะหากต่ำกว่า 500 บาท ถ้าบัญชีไม่มีการเคลื่อนไหว จะโดนหักค่ารักษาบัญชีเดือนละ 50 บาท” (ธ.กรุงไทย สาขาพัทลุง) 5.พนักงานบางธนาคารแจ้งแก่อาสาสมัครว่า ต้องทำบัตรเอทีเอ็มด้วยจึงจะสามารถเปิดบัญชีเงินฝากได้ ได้แก่ ธ.กรุงเทพ สาขาหล่มสัก ธ.กรุงไทย สาขาย่อยโลตัส หางดง เชียงใหม่ และสาขาย่อยโลตัส ลำปาง ธ.กรุงศรีอยุธยา สาขาพะเยา สาขากาญจนบุรี เฉพาะที่ ธ.กรุงศรีอยุธยา สาขาเชียงใหม่ พนักงานแจ้งว่าถ้าไม่ทำบัตรเอทีเอ็ม ต้องเปิดบัญชีขั้นต่ำ 2,000 บาท ธ.ไทยพาณิชย์ท่าแพ เชียงใหม่ กับ ธ.กรุงเทพ สาขาท่าแพ ก็เล่นมุขเดียวกัน (เชียงใหม่เหมือนกันเน้อ)   6.ค่าธรรมเนียมบัตรเอทีเอ็ม และบัตรเดบิต จะต่างกันประมาณ 50 – 100 บาท โดยทุกธนาคารจะเพิ่มทางเลือกให้ปวดหัวอีก เช่น บัตรเอทีเอ็มธรรมดา บัตรเอทีเอ็มบัตรทอง บัตรเอทีเอ็มแบบมีประกันชีวิต ซึ่งค่าธรรมเนียมจะยกระดับขึ้นไปอีก แต่สำคัญคือ ทุกธนาคารจะคิดค่าธรรมเนียมรายปีทันทีที่ขอเปิดใช้บริการเอทีเอ็ม จากนั้นเมื่อครบปีก็จะเก็บใหม่7.จากรายงานในพื้นที่พบว่า ส่วนใหญ่พนักงานจะส่งเสริมให้ทำบัตรเดบิตมากกว่าบัตรเอทีเอ็ม โดยให้เหตุผลว่าเป็นบัตรที่ใช้แทนเงินสดได้เลย เมื่อซื้อสินค้าหรือบริการในร้านค้าที่เปิดรับบัตรเดบิตและก็เป็นบัตรเอทีเอ็มไปพร้อมกันด้วย บางธนาคารบอกเลยว่า ถ้าทำบัตรเอทีเอ็มจะต้องรอนานเพราะไม่ค่อยมีคนนิยมทำ หรือบางแห่งก็บอกว่า บัตรเอทีเอ็มธรรมดา หมด8.บริการฝากเงิน กรณีที่เป็นเหรียญ ธนาคารจะคิดเงินเมื่อต้องนับเกินหลักพันบาทขึ้นไป ในอัตรา ร้อยละ 1-2 บาท ถ้าต่ำกว่านั้นก็ไม่คิดค่านับแต่อาจปฏิเสธแบบนุ่มนวลว่า ให้ไปแลกร้านสะดวกซื้อมาก่อนนะจ๊ะ ผู้บริโภคเสียเปรียบอะไรบ้างหลังจากอาสาสมัครของเราสามารถนำเอกสารข้อตกลงหรือเงื่อนไขแนบท้ายคำขอเปิดบัญชีเงินฝากจากธนาคารทั้ง 5 แห่งมาได้แล้ว ฉลาดซื้อสรุปเป็นประเด็นสำคัญได้ 5 ประการ ที่คิดว่าผู้บริโภคเสียเปรียบเห็นๆ คือ การชำระหนี้ การเปิดเผยข้อมูลผู้บริโภค การจัดส่งเอกสาร การสงวนสิทธิเปลี่ยนแปลงข้อตกลง และการปฏิเสธรับผิดชอบการถอนเงินโดยบุคคลอื่น ดูรายละเอียดในตาราง      

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า150 Point

ฉบับที่ 82 ผลสำรวจหนี้

ข้อมูลจากการสำรวจสาเหตุของการเป็นหนี้ ของลูกหนี้ที่เข้าร่วมการอบรม เรื่องเป็นหนี้จะแก้ไขชีวิตอย่างไร ที่คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์  จำนวนทั้งหมด 378 คนเรียงลำดับสาเหตุของการเป็นหนี้1.    ภาระค่าใช้จ่ายในครอบครัว 2.    การไม่มีวินัยทางการเงิน 3.    การเปลี่ยนงาน/ ตกงาน 4.    การใช้จ่ายฟุ่มเฟือย 5.    การกู้ยืมเงินมาทำธุรกิจ อันดับหนี้ยอดนิยมหนี้บัตรเครดิต หนี้สินเชื่อส่วนบุคคล หนี้สัญญาเช่าซื้อ หนี้นอกระบบน่าสนใจ•    ร้อยละ 23 ของคนที่ตอบแบบสอบถาม ถูกโทรศัพท์ทวงหนี้ตลอดเวลา โดยใช้วาจาไม่สุภาพ หรือข่มขู่•    การชำระหนี้มีร้อยละ 68.8 ที่ยังชำระเงินแก่เจ้าหนี้ทุกราย อย่างสม่ำเสมอมีร้อยละ 15 ที่ตัดสินใจหยุดจ่ายทุกรายแล้ว •    นำเงินที่ไหนมาชำระหนี้ร้อยละ 45 บอกว่าหาเงินมาใช้หนี้ จากเงินกู้ในระบบ  ร้อยละ 26 บอกว่าหาเงินมาใช้หนี้ จากเงินกู้นอกระบบ•    ปัญหาร้อยละ 60 มีปัญหาครอบครัวอันเกิดจากภาวะการเป็นหนี้สินร้อยละ 58 รู้สึกว่าปัญหาหนี้สินนำเป็นอุปสรรคต่อการทำงานและการใช้ชีวิตมีมากกว่าร้อยละ  14 ที่เคยคิดฆ่าตัวตายเพราะปัญหาหนี้•    ในกลุ่มคนที่เป็นหนี้บัตรเครดิต o    ในบรรดาคนที่เป็นหนี้บัตรเครดิต มีคนเป็นหนี้บัตรเครดิตมากกว่า 1 ใบ ถึงเกือบร้อยละ 70o    ในบรรดาคนที่เป็นหนี้บัตรเครดิต มีถึงร้อยละ 40 ที่มีรายได้น้อยกว่า 10,000 บาท o    ในบรรดาคนที่เป็นหนี้บัตรเครดิต มีคนเคยคิดฆ่าตัวตายถึงร้อยละ 20o    กว่าร้อยละ 52.7 เป็นหนี้อันเกิดจากการไม่มีวินัยทางการเงินo    กว่าร้อยละ 35.4 เป็นหนี้จากการใช้เงินไปลงทุนทำธุรกิจo    มีถึงร้อยละ 33.2 ที่ถูกโทรศัพท์ถูกทวงหนี้ตลอดเวลา โดยใช้วาจาไม่สุภาพ หรือข่มขู่o    มีถึงร้อยละ 24.9 ที่มีโทรศัพท์ทวงหนี้ไปยังพ่อแม่หรือญาติo    มีถึงร้อยละ 24.5 ที่มีโทรศัพท์ทวงหนี้ไปยังที่ทำงานo    มีมากกว่าร้อยละ 24.2 ที่ได้รับจดหมายที่ทำขึ้นในรูปแบบที่เหมือนกับหมายศาล หรือจดหมายที่มีตราประทับทำนองว่าจะมีการยึดทรัพย์o    มีถึงร้อยละ 13.8 ได้รับโทรศัพท์จากผู้ที่แอบอ้างว่าโทรมาจากกรมบังคับคดี•    ในกลุ่มคนที่เป็นหนี้นอกระบบo    ในบรรดาคนที่เป็นหนี้นอกระบบ มีถึงร้อยละ 62.4 ที่มีรายได้น้อยกว่า 10,000 บาท o    ในบรรดาคนที่เป็นหนี้บัตรเครดิต มีคนเคยคิดฆ่าตัวตายถึงร้อยละ 24o    กว่าร้อยละ 59.4 เป็นหนี้อันเกิดจากการไม่มีวินัยทางการเงินo    กว่าร้อยละ 31.5 เป็นหนี้จากการใช้เงินไปลงทุนทำธุรกิจo    มีถึงร้อยละ 33.1 ที่ถูกโทรศัพท์ถูกทวงหนี้ตลอดเวลา โดยใช้วาจาไม่สุภาพ หรือข่มขู่o    มีถึงร้อยละ 28.8 ที่มีโทรศัพท์ทวงหนี้ไปยังพ่อแม่หรือญาติo    มีถึงร้อยละ 21.6 ที่มีโทรศัพท์ทวงหนี้ไปยังที่ทำงานo    มีมากกว่าร้อยละ 28 ที่ได้รับจดหมายที่ทำขึ้นในรูปแบบที่เหมือนกับหมายศาล หรือจดหมายที่มีตราประทับทำนองว่าจะมีการยึดทรัพย์o    มีถึงร้อยละ 15.2 ได้รับโทรศัพท์จากผู้ที่แอบอ้างว่าโทรมาจากกรมบังคับคดี(หนี้บัตรเครดิต กับหนี้นอกระบบ ทวงแย่ๆ พอๆ กันเลย ???)รายได้  รายจ่ายต่อเดือน ภาระหนี้สินต่อเดือน ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------- รู้จักบัตรไว้ ใช้ให้ถูกทาง บัตรเครดิต บัตรเครดิต เหมาะที่จะใช้สำหรับรูดซื้อของใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ซื้อของในซุปเปอร์มาร์เก็ต เติมน้ำมัน ทานอาหารในภัตตาคาร เพราะจะได้ระยะเวลาปลอดดอกเบี้ยประมาณ 40 วัน หากคุณชำระเต็มจำนวนที่เรียกเก็บ ดังนั้น ต้องคำนวนค่าใช้จ่ายให้ดีว่าพอใบแจ้งหนี้มาแล้วมีเงินในกระเป๋าที่จะชำระหนี้ทั้งหมดข้อควรระวัง -    หากคุณใช้บัตรเครดิตแล้ว ชำระหนี้ได้แค่บางส่วน คุณจะถูกเรียกเก็บดอกเบี้ยย้อนหลังไปตั้งแต่วันที่คุณรูดบัตรเลยทีเดียว -    ไม่ควรกดเงินสดจากบัตรเครดิตออกมาใช้ เพราะจะเสียดอกเบี้ย+ ค่าธรรมเนียมการใช้วงเงิน ตั้งแต่วันที่คุณกดเงินออกมาใช้ ไม่ว่าสิ้นเดือนคุณจะชำระหนี้เต็มจำนวนหรือไม่ก็ตาม บัตรเงินสดพร้อมใช้ / บัตรเงินสดฉุกเฉินสินเชื่อพวกนี้ อนุมัติวงเงินให้คุณเร็วมาก บางแห่งแค่คุณโทรศัพท์ไปแจ้งว่าต้องการเงินกู้ บริษัทไม่ถามเหตุผลด้วยซ้ำว่าคุณจะกู้ไปทำอะไร พอวางสายเงินกู้ก็โอนเข้าบัญชีให้คุณเรียบร้อยแล้ว ดังนั้น บัตรพวกนี้เหมาะสำหรับใช้กรณีจำเป็นที่ฉุกเฉินจริง ๆ เท่านั้นข้อควรระวัง-    สินเชื่อพวกนี้ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินสูงมาก และบางบัตรไม่สามารถปิดบัญชีได้ก่อนที่บริษัทกำหนด คุณจึงต้องจ่ายดอกเบี้ยจำนวนมาก ดังนั้น คุณต้องพยายามควบคุมตัวเองให้ดี อย่าให้ทุกเรื่องที่ต้องใช้เงินกลายเป็นเรื่องฉุกเฉินไปเสียทั้งหมด -    การ “กู้หนี้ออกมาใช้หนี้” ไม่ควรทำอย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ถูกต้องแล้ว ยังเป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาหนี้สินไม่รู้จบอีกต่างหาก -    ถ้าจะซื้อสินค้าหรือจับจ่ายใช้สอยในชีวิตประจำวันใช้บริการเช่าซื้อหรือใช้บัตรเครดิตน่าจะดีกว่า ถ้าจะลงทุนทำธุรกิจ ก็มีสินเชื่อสำหรับผู้ประกอบการ คุณต้องใช้เงินกู้ให้ถูกประเภทเพราะถ้าเลือกผิด คุณก็จะต้องจ่ายดอกเบี้ยแพงกว่า -----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า150 Point

ฉบับที่ 108 บัตรเดบิตกับเรื่องที่ต้องรู้

“บัตรเดบิต” (Debit Card) คือบัตรที่ทางธนาคารออกให้กับเราเมื่อเราเปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคาร เพื่อให้เราสามารถนำไปใช้ทำธุรกรรมทางการเงินด้วยระบบอิเล็กทรอนิคส์ผ่านตู้ ATM ไม่ว่าจะเป็นถอนเงิน โอนเงิน และชำระค่าบริการต่างๆ พูดง่ายๆ ก็คือ “บัตรเดบิต” มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับ “บัตร ATM” แต่บัตรเดบิตจะเพิ่มความพิเศษตรงที่สามารถนำไปจับจ่ายซื้อสินค้าต่างๆ ได้โดยตรงโดยที่ไม่ต้องใช้เงินสด ซึ่งก็คือการ “รูดปึ๊ด!” ตามสไตล์เงินพลาสติกแบบเดียวกับบัตรเครดิต แต่ว่าการใช้บัตรเดบิตไปรูดซื้อสินค้านั้น เงินจะถูกหักออกจากบัญชีของเราทันที ซึ่งต่างจากบัตรเครดิตที่เหมือนเป็นการนำเงินจากธนาคารหรือสถาบันการเงินที่เราไปทำบัตรเครดิตไว้มาใช้ก่อนแล้วค่อยจ่ายทีหลัง ถือเป็นการเพิ่มความสะดวกสบายมากขึ้นสำหรับคนที่ไม่อยากถือเงินสด ซึ่งบัตร ATM ไม่สามารถทำได้  บัตรเดบิต VS บัตร ATMหลายๆ คนอาจยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่า บัตรกดเงินสดที่ธนาคารออกให้เราหลังจากเปิดบัญชีใหม่เป็นบัตร ATM หรือบัตรเดบิต ด้วยความที่หลายคนยังเข้าใจผิดว่า บัตรกดเงินสดที่ธนาคารออกให้คือบัตร ATM เท่านั้น ซึ่งในช่วงหลายปีมานี้ บัตรเดบิตถือเป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงินรูปแบบใหม่ที่ทางธนาคารพยายามผลักดันทำตลาดอย่างหนักให้กับลูกค้าที่ใช้บริการ ซึ่งทุกครั้งที่เราไปเปิดบัญชีใหม่ พนักงานของธนาคารจะแนะนำให้เราเลือกทำบัตรเดบิตมากกว่าบัตร ATM ด้วยความที่คุณสมบัติของบัตรเดบิตมีมากกว่า ใช้ได้ครอบคลุมทั้งถอนเงินจากตู้ ATM และใช้จับจ่ายได้แทนเงินสด แถมบัตรเดบิตยังมีเรื่องโปรโมชั่นส่งเสริมการขายจากร้านค้าหรือบริการที่ร่วมรายการเมื่อใช้จ่ายผ่านบัตรเดบิต เราอาจได้รับส่วนหรือสิทธิประโยชน์อื่นๆ เล็กๆ น้อยๆ ซึ่งความพิเศษตรงนี้ก็ถือเป็นเงื่อนไขที่จูงใจให้กลายคนหันมาใช้บริการบัตรเดบิตแทนบัตร ATM กันมากขึ้นเมื่อคุณสมบัตรพิเศษมีมากกว่า เรื่องของค่าบริการที่เราต้องเสียให้กับธนาคารก็ต้องสูงตามไปด้วย บัตรเดบิตจะมีค่าธรรมเนียมทั้งในส่วนของค่าธรรมเนียมในการทำบัตรใหม่และค่าธรรมเนียมรายปีสูงกว่าบัตร ATM นี้จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมธนาคารและสถาบันการเงินต่างๆ จึงพยายามจูงใจลูกค้าให้หันมาใช้บัตรเดบิตแทนบัตร ATM สำหรับผู้บริโภคอย่างเราก็ต้องลองพิจารณาดูกันเอาเองว่า เจ้าบัตรเดบิตแม้จะมีคุณสมบัติพิเศษเหนือกว่าบัตร ATM แต่ไอ้ความพิเศษของมันนั้นเราได้ใช้ประโยชน์คุ้มค่ากับค่าธรรมเนียมที่เราต้องเสียเพิ่มขึ้นจากบัตร ATM ธรรมดาหรือไม่บัตรเดบิต VS บัตรเครดิต“บัตรเครดิต” (Credit Card) ช่วยให้เราใช้จ่ายได้โดยไม่ต้องเสียเงินจำนวนมากๆ ไปในครั้งเดียว บัตรเครดิตจะทำหน้าที่จ่ายเงินให้เราก่อน หลังจากนั้นเราจึงค่อยจ่ายเงินคืนไปตามเวลาและเครดิตที่เราตกลงไว้กับธนาคารหรือร้านค้าที่เราซื้อสินค้า พูดให้เห็นภาพ บัตรเครดิตก็คือการที่เรานำ “เงินในอนาคต” ออกมาใช้ก่อน ซึ่งหากเราไม่คุมการใช้จ่ายให้ดีหรือใช้จ่ายเกินตัวเกินวงเงินที่เราสามารถหาได้ในแต่ละเดือน ผลที่จะตามมาก็คือการเป็นหนี้บัตรเครดิต เพราะเราไม่สามารถหาเงินมาใช้คืนให้กับธนาคารหรือสถาบันการเงินที่เราไปทำสัญญาไว้ได้ ส่วนบัตรเดบิต เป็นการใช้จ่ายที่ดึงเอาเงินมาจากบัญชีของเราโดยตรง คือใช้ไปเท่าไรเงินก็จะถูกหักออกไปเท่านั้นเดี๋ยวนั้น ไม่สามารถใช้จ่ายเกินยอดเงินในบัญชีได้ ซึ่งแม้บัตรเดบิตจะไม่สร้างหนี้ให้เรากับธนาคารเหมือนบัตรเครดิต แต่ก็ต้องรู้จักควบคุมการใช้จ่ายและหมั่นเช็คยอดเงินในบัญชีเสมอ เพราะเราอาจเผลอรูดบัตรเดบิตซื้อนู้นซื้อนี้ จนเงินหมดบัญชีโดยไม่รู้ตัวบัตรเดบิต = บัตรอันดับหนึ่งการใช้บัตรเดบิตมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งมีสาเหตุจากหลายปัจจัย ทั้งการมุ่งทำการตลาดที่ผลักดันให้บัตรเดบิตเข้ามาแทนที่บัตร ATM ซึ่งตอนนี้ก็มีบางธนาคารที่ยกเลิกการใช้บัตร ATM ไปแล้ว สิ่งที่ธนาคารใช้เป็นกลยุทธ์ดึงดูดให้เราหันมาใช้บัตรเดบิตแทนบัตร ATM ที่เห็นชัดเจนก็คือ การปรับค่าธรรมเนียนทั้งแรกเข้าและรายปีของบัตร ATM ให้ขึ้นมาเท่ากับบัตรเดบิต ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อผู้ใช้ส่วนใหญ่ได้รับทราบถึงคุณสมบัติที่เหนือกว่าของบัตรเดบิต ก็ต้องย่อมเลือกบัตรเดบิตมากกว่าบัตร ATM นอกจากนี้บัตรเดบิตยังถือเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับคนที่ไม่อยากพกเงินสดจำนวนมากๆ และอยากใช้จ่ายซื้อสินค้าต่างๆ ผ่านบัตร ซึ่งแต่ก่อนคุณสมบัติแบบนี้มีเฉพาะในบัตรเครดิต แต่ด้วยเงื่อนไขในเรื่องของรายได้และฐานเงินเดือน ทำให้มีคนจำนวนมากซึ่งส่วนใหญ่ก็คือคนที่มีรายได้ไม่สูงพอที่จะสมัครบัตรเครดิตได้ ทำให้บัตรเดบิตจึงกลายมาเป็นคำตอบสำหรับคนกลุ่มนี้***จากรายงานของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เมื่อปี 2551 มีจำนวนบัตรเดบิตที่ใช้ในประเทศไทย 26.3 ล้านใบ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2550 ถึง 12.8% ขณะที่จำนวนบัตร ATM อยู่ที่ 22.4 ล้านใบ ลดลงจากปี 2550 0.9% ส่วนบัตรเครดิตมี่จำนวน 13 ล้านใบ เพิ่มขึ้น 8.1%บัตรเดบิต VS อุปสรรคแม้ว่าเวลานี้บัตรเดบิตจะถือบัตรอันดับหนึ่งที่มีคนใช้มากที่สุด แต่บัตรเดบิตกลับไม่ได้ทำหน้าที่ของมันอย่างครบถ้วน เพราะจากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทยบัตรเดบิตยังคงถูกใช้เพื่อเบิกถอนเงินผ่านทางตู้ ATM เช่นเดียวกับบัตร ATM เป็นส่วนใหญ่ ขณะที่การใช้เพื่อรูดซื้อสินค้าแทนเงินสดยังมีสัดส่วนที่ต่ำมาก ซึ่งมีที่มาจากหลายสาเหตุ ทั้งจากธนาคารเองที่มุ่งหวังเพิ่มปริมาณจำนวนผู้ใช้บัตรเป็นหลัก แต่ไม่ได้ให้ข้อมูลหรืออธิบายสิทธิการใช้ประโยชน์ของบัตรเดบิตที่มากกว่าการถอนเงินจากตู้ ATM นอกจากนี้ยังมีสาเหตุจากร้านค้าที่รับชำระด้วยบัตรเดบิตยังมีน้อย บางแห่งมีเรื่องเงื่อนไขเงินขั้นต่ำในการใช้บัตร และสาเหตุหลักจากตัวผู้ใช้เองที่ส่วนใหญ่ยังคงไม่ถนัดกับการใช้จ่ายผ่านบัตร ยังคงสะดวกกับการใช้เงินสดมากกว่า***ในปี 2551 มีการใช้จ่ายผ่านบัตรเดบิตรวมทั้งสิ้น 760 ล้านรายการ คิดเป็นการใช้จ่ายเพื่อชำระสินค้าและบริการเพียง ร้อยละ 1.5 เท่านั้น ขณะที่การเบิกถอนเงินจากตู้ ATM มีมากถึง ร้อยละ 83ตารางเปรียบเทียบค่าธรรมเนียมแรกเข้าและค่าธรรมเนียมรายปีบัตรเดบิต ธนาคารชื่อประเภทบัตรเดบิตค่าธรรมเนียมแรกเข้า(บาท)ค่าธรรมเนียมรายปี(บาท)สิทธิพิเศษเพิ่มเติมธ.กรุงเทพบัตรเดบิตบีเฟิสต์100 200-บัตรบีเฟิสต์-บีทีเอส100200ใช้เป็นบัตรโดยสารบีทีเอสประเภทเติมเงิน บัตรบีเฟิสต์ สมาร์ท100200มีไมโครชิพ EMV สามารถเก็บได้ทั้งข้อมูลและซอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัย เพื่อให้มั่นใจได้ว่า บัตรของท่านจะยากต่อการปลอมแปลงATM100200กรณีบัตร ATM บัตรชำรุดหรือสูญหายแล้วต้องการบัตรใหม่ ธนาคารจะออกบัตรเดบิตบีเฟิสต์ทดแทนให้ธ.กรุงไทย บัตรเดบิตมาตรฐาน (Classic)ไม่มีรูปถ่าย 100มีรูปถ่าย 150200-บัตรเดบิต-ทิพยประกันภัย150300มีวงเงินความคุ้มครอง การเสียชีวิต หรือทุพพลภาพจากอุบัติเหตุจำนวน 200,000.- บาท / บัตร และได้รับการบริการช่วยเหลือฉุกเฉิน จาก ทิพยประกันภัยATM50 150-ธ.กสิกรไทยK- Debit Card100200-K-My Debit Card  150200ใส่รูปภาพของตัวเองลงบนบัตรได้K-Max Debit Card  (  )100400ให้ความคุ้มครองอุบัติเหตุสูงสุด 200,000 บาท ทันที 24 ชั่วโมงทั่วโลกพร้อมรับสิทธิ์เบิกค่ารักษาพยาบาลสูงสุดครั้งละ 3,000 บาท เมื่อเข้ารักษาตัวจากอุบัติเหตุ ATM100200-ธนาคารไทยพาณิชย์ SCB Debit Card100200-SCB Debit Plus Card100599 บัตรเงิน1,499 บัตรทองเบิกค่ารักษาจากอุบัติเหตุได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง คุ้มครอง 24 ชั่วโมงทั่วโลก ไม่ต้องสำรองจ่ายเมื่อรักษากับสถานพยาบาลคู่สัญญากว่า 200 แห่งATM 100200-ธนาคารกรุงศรีอยุธยา บัตรกรุงศรี วีซ่า เดบิต100200-ATM100150-ธนาคารทหารไทย บัตรเดบิต Basic100200-บัตรเดบิต No Limit Next200200ฟรี ค่าธรรมเนียมการถอนเงิน และสอบถามยอดที่เครื่อง ATM ทุกธนาคารบัตรเดบิต No Limit500ฟรีฟรี ค่าธรรมเนียมการถอนเงิน และสอบถามยอดที่เครื่อง ATM ทุกธนาคารATM100200-ธนาคารนครหลวงไทย SCIB D-card100150-ATM50100-ธนาคารออมสิน บัตรออมสินวีซ่า เดบิต50100-ATM50100- *ข้อมูลค่าธรรมเนียมทั้งหมดเป็นการสำรวจภายในวันที่ 1 ม.ค. 53 เท่านั้น-จะเห็นว่าเกือบทุกธนาคารปรับค่าธรรมเนียมแรกเข้าและรายปีของบัตร ATM ให้เท่ากับบัตรเดบิตพื้นฐาน ยกเว้น ธนาคารกรุงไทย และ ธนาคารนครหลวงไทย ที่ค่าธรรมเนียมบัตร ATM ยังถูกกว่าบัตรเดบิต-ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมการเงินผ่านตู้ ATM ของบัตรเดบิต ทั้งการถอนเงิน โอนเงิน ชำระค่าบริการต่างๆ คิดค่าธรรมเนียมเท่ากับการทำผ่านบัตร ATM (แต่จะแตกต่างกันไปตามแต่ละธนาคาร)-บัตรเดบิต No Limit Next และ บัตรเดบิต No Limit ของธนาคารทหารไทย ไม่เสียค่าธรรมเนียมในการธุรกรรมการเงินผ่านตู้ ATM-เรื่องความปลอดภัยในการใช้บัตรเดบิตถือเป็นจุดขายที่หลายๆ ธนาคารนำมาใช้ดึงดูดคนที่จะใช้บริการ ที่ชัดเจนที่สุด บัตรบีเฟิสต์ สมาร์ท ของธนาคารกรุงเทพ ที่การฝังมีไมโครชิพ EMV เพื่อเก็บข้อมูลของเจ้าของบัตร ป้องกันการแอบอ้างหรือปลอมแปลง ส่วนการลงรูปของเจ้าของบัตรลงบนหน้าบัตรในบัตรเดบิตของธนาคารกรุงไทยและบัตร K-My Debit Card ของธนาคารกสิกรไทย ก็ถือเป็นการป้องกันการแอบอ้างใช้บัตร เพราะข้อเสียใหญ่ของบัตรเดบิตก็คือ หากเจ้าของบัตรทำบัตรหาย โอกาสที่จะถูกคนอื่นเอาบัตรไปรูดใช้ซื้อของสามารถเกิดขึ้นได้ง่ายมาก เพราะแม้จะมีการเซ็นลายเซ็นกำกับที่ใบเสร็จเพื่อเปรียบเทียบกับลายเซ็นที่หลังบัตร แต่ก็สามารถปลอมแปลงได้ง่ายมาก การป้องกันที่ดีที่สุดคือเมื่อบัตรหายต้องรีบติดต่อกับธนาคาร เพื่อระงับการใช้บัตรทันที-เรื่องการรักษาพยาบาลและดูแลสุขภาพ ก็ถือเป็นจุดขายที่บัตรเดบิตของหลายธนาคารนำมาใช้ ไม่ว่าจะเป็น บัตรเดบิต-ทิพยประกันภัย ของธนาคารกรุงไทย, บัตร K-Max Debit Card ของธนาคารกสิกรไทย และ SCB Debit Plus Card ของธนาคารไทยพาณิชย์ 

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 167 กระแสต่างแดน

ธนาคารเอชเอสบีซี (HSBC) ได้สำรวจความพร้อมทางการเงินสำหรับชีวิตวัยเกษียณ ของผู้คนในวัย 25 ปีขึ้นไป และผู้คนในวัยเกษียณ จาก 15 ประเทศ* ทั่วโลกในระหว่างเดือนสิงหาคมและกันยายนปี 2557 และพบสิ่งที่น่าสนใจดังนี้ ... เมื่อแยกดูรายประเทศจะเห็นว่า คนฝรั่งเศสในวัยทำงานที่ไม่มั่นใจว่าจะมีชีวิตสุขสบายหลังเกษียณ มีถึงร้อยละ 60  รองลงมาได้แก่ คนไต้หวัน (ร้อยละ 56) และคนตุรกี (ร้อยละ 54) ส่วนในอินเดียและอินโดนีเซียนั้นมีผู้ตอบแบบสำรวจไม่ถึงร้อยละ 10 ที่รู้สึกไม่มั่นใจว่าตนเองจะสามารถเกษียณอย่างเป็นสุข ถ้าแยกกันระหว่างหญิงชายจะพบว่า ร้อยละ 38 ของผู้หญิงไม่มั่นใจว่าจะได้ใช้ช่วงเวลาเกษียณโดยไม่ลำบากทางการเงิน ในขณะที่ฝ่ายชายนั้นอยู่ที่ร้อยละ 31 ในภาพรวม ประมาณร้อยละ 70 ของคนวัยทำงาน มีความกังวลว่าจะมีเงินไม่พอใช้ในวัยเกษียณ ร้อยละ 66 กลัวว่าจะมีเงินไม่พอกับค่าใช้จ่ายรายวันในอนาคต อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 85 ของคนกลุ่มดังกล่าว ไม่ได้จัดให้การเก็บเงินเพื่อใช้ยามเกษียนเป็นเป้าหมายหลักของการออมเงินในปัจจุบัน อุปสรรคสำคัญที่ทำคนวัยทำงานรู้สึกว่าพวกเขายังไม่สามารถเก็บเงินไว้ใช้ยามชราได้ คือภาระผ่อนบ้าน ค่าเล่าเรียนลูก และหนี้อื่นๆ  แนวโน้มดังกล่าวชัดเจนมากในประเทศสหรัฐอเมริกา มาเลเซีย เม็กซิโก และแคนาดา เกือบร้อยละ 30 ของคนในวัยเกษียณที่รู้สึกไม่มีความพร้อมทางการเงินสำหรับชีวิตปัจจุบัน บอกว่า ก่อนหน้านี้พวกเขาไม่ทราบว่าตนเองควรมีเงินเก็บเท่าไร ร้อยละ 37 ของผู้ตอบแบบสำรวจในวัยก่อนเกษียณบอกว่าพวกเขายังเตรียมตัวไม่พร้อมทางการเงินสำหรับการเกษียณอย่างสุขสบาย  โดยประเทศที่คนวัยก่อนเกษียณรู้สึกไม่พร้อมมากที่สุดในการสำรวจนี้ได้แก่ ไต้หวัน และตุรกี สำหรับกลุ่มคนที่เกษียณแล้ว ผู้คนในตุรกี ฝรั่งเศส เม็กซิโก และสิงคโปร์ คือกลุ่มที่รู้สึกว่าตนเองมีความพร้อมน้อยที่สุด เกือบ 2 ใน 3 ของคนในวัยเกษียณที่รู้สึกไม่พร้อมนั้น ไม่รู้เลยว่าตนเอง “ไม่พร้อม” จนกระทั่งเข้าสู่วัยเกษียณแล้ว มากกว่า 1 ใน 3 ของผู้ตอบแบบสำรวจที่อยู่ในวัยเกษียณบอกว่า ถ้าย้อนเวลากลับไปได้พวกเขาจะเริ่มเก็บเงินให้เร็วกว่านี้ โดยคนวัยเกษียณใน มาเลเซีย เม็กซิโก และอินเดีย เป็นกลุ่มที่อยากกลับไปเปลี่ยนพฤติกรรมการออมของตนเองมากที่สุด ร้อยละ 38 ของคนที่เกษียณแล้วเห็นว่า การเก็บเงินเพื่อชีวิตหลังเกษียณควรเริ่มก่อนอายุ 30 ปี ในขณะที่เพียงร้อยละ 26 ของคนวัยใกล้เกษียณเท่านั้นที่เห็นว่าควรเริ่มเก็บเงินเร็วขนาดนั้น ร้อยละ 38 ของคนวัยทำงาน (ยกเว้น สหรัฐฯ และ ฮ่องกง) ยังไม่เริ่มเก็บเงิน และยังไม่มีแผนที่จะเก็บเงินสำหรับชีวิตหลังเกษียณ ผู้ทำสำรวจ (HSBC) ให้คำแนะนำว่า ถ้าต้องการอยู่สบายในวัยเกษียณ ... -          ควรเริ่มเก็บเงินตั้งแต่วันนี้ ยิ่งเร็วเท่าไรยิ่งดี -          ประเมินให้ได้ว่าจะต้องใช้เงินเท่าไรสำหรับการใช้ชีวิตในแบบที่เราต้องการ โดยเฉลี่ยแล้วคนเราจะต้องการเงินสำหรับการใช้ชีวิตหลังเกษียณอีก 18 ปี (คิดจากอายุเกษียณที่ 60 ปี และอายุคาดเฉลี่ยที่องค์การอนามัยโลกประเมินไว้ที่ 78 ปี) -          หาทางทำให้เงินที่มีอยู่งอกเงยขึ้น ด้วยการลงทุนอย่างฉลาด -          คิดถึงเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดเช่น อุบัติเหตุ หรืออาการเจ็บป่วย ไว้ด้วย ว่าสิ่งเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อแผนการใช้เงินของเราอย่างไร   *ออสเตรเลีย บราซิล แคนาดา ฝรั่งเศส ฮ่องกง อินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย เม็กซิโก สิงคโปร์ ไต้หวัน ตุรกี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา *การสำรวจดังกล่าวเป็นการตอบแบบสอบถามออนไลน์ โดยในประเทศอินโดนีเซียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์มีการสอบถามแบบตัวต่อตัวเพิ่มด้วย *อ้างอิงจากรายงาน The Future of Retirement: A balancing act ลิขสิทธิ์ HSBC Holdings plc 2015

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 152 กระแสต่างแดน

รับประกันความเหนียว ในครึ่งแรกของปี 2013 ปัญหาด้านการเงินการธนาคาร ที่คนอังกฤษร้องเรียนบ่อยที่สุดคือเรื่องที่เกี่ยวกับ “การประกันเงินกู้” ธนาคารและบริษัทรับเหมาก่อสร้างที่อังกฤษนิยมขายบริการเงินกู้พ่วงกับการประกัน ด้วยเงื่อนไขว่าจะรับผิดชอบจ่ายหนี้ให้ในกรณีที่ผู้กู้ไม่สามารถทำงานได้ แต่เมื่อถึงเวลานั้นจริงๆ ผู้บริโภคจำนวนไม่น้อยกลับไม่ได้รับความช่วยเหลืออะไร เพราะบรรดาข้อยกเว้นยุบยิบที่แนบท้ายมาในกรมธรรม์นั่นเอง ผู้ตรวจการด้านการเงินการธนาคารของอังกฤษบอกว่า ในบรรดาเรื่องร้องเรียน 327,000 เรื่องที่ส่งเข้ามา มีถึงร้อย 86 ที่เป็นกรณีธนาคารเบี้ยวเงินชดเชย หรือไม่ก็ถ่วงเวลาให้ผู้เอาประกันต้องรอโดยไม่จำเป็น   รายงานดังกล่าวระบุว่า 1 ใน 3 เป็นการร้องเรียนพฤติกรรมของสถาบันการเงินในกลุ่ม Lloyds Banking Group โดยเฉพาะอย่างยิ่งธนาคารแห่งสกอตแลนด์ ที่มีคนร้องเรียนมากกว่า 58,000 ราย และที่ถูกร้องเรียนมากเป็นอันดับสองได้แก่ บาร์เคลย์ ด้วยเรื่องร้องเรียนกว่า 44,000 เรื่อง ผู้ตรวจการฯ พบว่าบริษัทเหล่านี้ตั้งเงินสำรองสำหรับการประกันเหล่านี้ไว้ถึง 18,000 ล้านปอนด์ แต่ก็ยังปฏิเสธการให้เงินชดเชยกับผู้เอาประกันแม้ในกรณีที่สมควรจ่าย และที่สำคัญ 1 ใน 3 ของกรณีขอรับการชดเชยที่ถูกปฏิเสธไปนั้น เมื่อตรวจสอบดูแล้วพบว่าเข้าข่ายการได้รับเงินชดเชยด้วย ยังดีตรงที่ในการยื่นเรื่องกับผู้ตรวจการนั้น เขากำหนดให้ธนาคาร/บริษัทที่ขายประกัน เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย 550 ปอนด์ต่อเรื่องร้องเรียน ไม่ว่าเรื่องนั้นจะได้รับผลการพิจารณาว่าธนาคาร/บริษัทต้องรับผิดชอบหรือไม่ ค่อยยังชั่ว ... นึกว่าต้องซื้อประกันเพื่อความมั่นใจว่าประกันเงินกู้ที่ซื้อไว้จะจ่ายค่าชดเชยให้เราอีกด้วยนะนี่   ถูกไป..ไม่กล้าซื้อ ในห้างเมโทรของเวียดนาม ส้มนำเข้าจากออสเตรเลียขายในราคาเพียงกิโลกรัมละ 50,999 ดอง(75 บาท) แอปเปิ้ลจากอเมริกาก็กิโลกรัมละ 44,900 ดอง(66 บาท) เท่านั้น แต่กลับไม่เป็นที่นิยมเพราะผู้บริโภคไม่แน่ใจว่ามันมาจากไหนกันแน่ เป็นที่รู้กันทั้งประเทศว่าเวียดนามมีกฎระเบียบการนำเข้าผลไม้ที่เข้มงวด ซึ่งกำหนดให้มีการตรวจสอบเพื่อหาแมลง โรคระบาด หรือสารเคมีตกค้างต่างๆ ราคาผลไม้นำเข้าที่นั่นจึงค่อนข้างแพง กระทรวงการเกษตรและการพัฒนาชนบท ยืนยันว่าปัจจุบันผลไม้ที่นำเข้าจากประเทศตะวันตกนั้นมีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ที่เห็นขายกันอยู่ตามท้องถนนส่วนใหญ่เป็นการลักลอบนำเข้า ที่สำคัญข่าวเขาบอกว่า เป็นเรื่องยากที่จะค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับที่มาของผลไม้นำเข้า เพราะแม้แต่สมาคมผักและผลไม้แห่งเวียดนามเองก็แสดงข้อมูลเกี่ยวกับผลไม้ส่งออกเท่านั้น ถ้าอยากรู้ก็ต้องอาศัยข้อมูลจากภายนอก แอปเปิ้ลส่วนใหญ่ที่ขายในเวียดนามมาจากจีน โดยอ้างอิงตัวเลขของจีนที่ระบุว่ามูลค่าการส่งออกแอปเปิ้ลมาเวียดนามในระหว่างปี 2008 -2010 อยู่ที่ 53 ล้านเหรียญ ในขณะที่ตัวเลขจากอเมริกามีเพียง 8 ล้านเหรียญเท่านั้น   แบรนด์นั้นสำคัญแต่ ... การสำรวจความเห็นของคน 134,000 คน ทั่วโลก โดย Havas Media Group พบว่า ผู้บริโภคไม่รู้สึกอาลัยอาวรณ์นัก ถ้าร้อยละ 73 ของแบรนด์ต่างๆ ที่มีอยู่นั้นจะหายไปจากโลกนี้ และพวกเขาเชื่อว่ามีเพียง 1 ใน 5 ของแบรนด์เหล่านี้เท่านั้นที่ทำให้คุณภาพชีวิตผู้บริโภคดีขึ้นจริงๆ ถ้าเจาะดูเฉพาะคนยุโรป จะเห็นว่าค่อนข้างโหดทีเดียว พวกเขาเชื่อว่ามีเพียงร้อยละ 5 ของแบรนด์เท่านั้นที่ทำให้ชีวิตพวกเขาดีขึ้น และก็ไม่แคร์แม้ว่าร้อยละ 93 ของแบรนด์ที่มีอยู่จะหายไป มีเพียง 1 ใน 5 ของคนยุโรปและ 1 ใน 4 ของคนอเมริกันเท่านั้น ที่เชื่อว่าแบรนด์เหล่านี้สื่อสารกับตนเองด้วยความจริงใจเวลาที่ให้คำมั่นสัญญาหรือประกาศเจตนารมณ์ใดก็ตาม เจ้าของแบรนด์อาจจะอยากทบทวนการใช้งบประมาณหลายพันล้านปอนด์ที่ทุ่มเทให้กับการสร้างแบรนด์ แล้วหันมาเน้นความรับผิดชอบต่อสังคมแทน เพราะตัวเลขจากตลาดหุ้นยืนยันว่าบริษัทที่แสดงบทบาทความรับผิดชอบต่อสังคมได้ชัดเจน จะมีผลประกอบการที่สูงกว่าด้วย ที่น่าสนใจคือผู้บริโภคเชื่อว่าแบรนด์สามารถมีบทบาทในการปรับปรุงคุณภาพชีวิตและเพิ่มสุขภาวะของพวกเขา  คนยุโรปและอเมริกากว่าครึ่งก็เห็นด้วย แต่ในปัจจุบันแบรนด์เหล่านี้ยังไม่สามารถตอบสนองความคาดหวังดังกล่าวได้   เหมือนเดิม .. โซเดียมด้วย ด้วยกระแสกดดันให้ลด ละ เลิก อาหารที่มีไขมัน เกลือหรือน้ำตาลสูง ทำให้เราคิดไปว่าบรรดา ร้านอาหารจานด่วนรายใหญ่ๆ เขาคงจะปรับเปลี่ยนเมนูให้เป็นมิตรต่อสุขภาพมากขึ้น ... หรือเปล่า? งานสำรวจที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ Journal of the Academy of Nutrition and Diabetes เปิดเผยว่า ปริมาณแคลอรี่และโซเดียมในอาหารจานหลักของร้านฟาสต์ฟู้ดในอเมริกาในปี 2011 ก็ไม่ได้ลดลงจากปี 2010 แต่อย่างใด ข้อมูลดังกล่าวเป็นผลจากสำรวจอาหารจากหลัก 26,000 เมนู ในร้านจานด่วน 213 สาขาทั่วอเมริกา ในปี 2010 ค่าเฉลี่ยของพลังงานที่ได้จากอาหารจานหลัก 1 จานในร้านเหล่านี้อยู่ที่ 670 แคลอรี่ และยังคงเท่ากับค่าในปี 2011 ที่ร้านอาหารเริ่มแสดงข้อมูลโภชนาการของอาหารเมนูต่างๆ แล้ว และแม้จะมีการลดปริมาณแคลอรี่ลงเล็กน้อยในเมนูทั่วไป กลับไม่มีการลดปริมาณแคลอรี่ในเมนูสำหรับเด็ก ส่วนปริมาณโซเดียมโดยเฉลี่ยก็ลดลงเพียง 15 มิลลิกรัมต่อเมนูเท่านั้น ผู้วิจัยยังพบด้วยว่า แม้ร้านเหล่านี้จะปรับเปลี่ยนเมนูอยู่เป็นประจำ แต่ทุกครั้งที่มีการเพิ่มเมนูเพื่อสุขภาพก็จะมีการใส่เมนูตามใจปากเข้ามาด้วย การสำรวจนี้ฟันธงว่า ผู้ประกอบการยังไม่ได้ปรับปรุงโภชนาการของอาหารในร้านให้ดีขึ้น  มาตรการที่กำหนดให้แสดงข้อมูลโภชนาการเพียงอย่างเดียวจึงน่าจะยังไม่เพียงพอที่จะทำให้คนอเมริกามีนิสัยการกินที่ดีขึ้น     พร้อมรับคนสูงวัย การสูงวัยเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับประชากรทุกคนอยู่ตลอดเวลา เรามาดูกันว่าประเทศไหนพร้อมรองรับสังคมผู้สูงอายุกว่ากัน การสำรวจ Global AgeWatch Index 2013 ที่ทำใน 91 ประเทศ ซึ่งครอบคลุมร้อยละ 89 ของจำนวนประชากรที่อายุ 60 ปีขึ้นไป ได้จัดอันดับให้สวีเดนเป็นประเทศที่ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตและสุขภาวะดีที่สุด แม้จะไม่ได้เป็นที่หนึ่งในแต่ละด้านที่ทำการสำรวจ ซึ่งได้แก่ 1) ความมั่นคงทางรายได้  2) สุขภาพ  3) การจ้างงาน/การศึกษา และ 4) สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการใช้ชีวิต  แต่สวีเดนซึ่งมีประชากรวัย 60 ขึ้นไปประมาณ 1 ใน 4 ของประชากรทั้งหมด 9.5 ล้านคน ก็ติดอยู่ในอันดับท็อปเท็นของทุกด้าน ในด้านรายได้ ผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีที่มีรายได้ไม่ถึงครึ่งหนึ่งของรายได้เฉลี่ยของประชากรนั้นมีเพียงแค่ร้อยละ 9 และคนสวีเดนยังมีอายุคาดหลังวัย 60 ไปอีก 24 ปี อีกทั้งเขายังพบว่ามีประชากรในวัย 50 ปีขึ้นไปถึงร้อยละ 95.6 ที่รู้สึกว่าชีวิตยังมีความหมาย และผู้ที่มีอายุระหว่าง 55 – 64 ปีที่ยังมีงานทำอยู่ก็มีมากกว่าร้อยละ 70 ด้วย ตำแหน่งประเทศที่ผู้สูงอายุมีรายได้ดีที่สุดนั้นเป็นของลักเซมเบิร์ก ด้านสวิตเซอร์แลนด์ได้ครองตำแหน่งประเทศที่ผู้สูงอายุมีสุขภาพดีที่สุด ส่วนนอร์เวย์รั้งตำแหน่งประเทศที่มีอัตราการจ้างงานผู้สูงอายุสูงที่สุด ในขณะที่ผู้สูงวัยชาวเนเธอร์แลนด์คือกลุ่มคนที่ได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการใช้ชีวิตได้โดยอิสระมากที่สุด และหากคุณสงสัย ... ประเทศไทยก็ไม่ขี้เหร่ เข้าอันดับที่ 42 ซึ่งเป็นอันดับที่สูงที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียน (งานนี้เขาไม่ได้สำรวจที่สิงคโปร์) และเราได้อันดับที่ 8 ในเรื่องของสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุด้วย เพราะมีถึงร้อยละ 89 ที่รู้สึกว่าตนเองสามารถติดต่อเพื่อนหรือญาติได้ในกรณีที่มีปัญหา และมีมากกว่าร้อยละ 80 ที่รู้สึกว่ายังสามารถเดินไปไหนมาไหนในเมืองได้โดยไม่ต้องกลัวอันตราย   //

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 106 กระแสต่างแดน

ยิ่งสุข ยิ่งหวาดระแวงมีข้อค้นพบจากงานวิจัยว่า คนเราซื้อระยะประกันเพิ่มสำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั้งหลายด้วยสองสาเหตุ หนึ่ง คือเราไม่สามารถประเมินความเสี่ยงได้อย่างถูกต้อง สองสภาวะจิตใจของเราในขณะที่ซื้อนั้นมันสุขเกินไปยิ่งเรามีความสุขมากเท่าไร เราก็จะยิ่งอยากหลีกเลี่ยงความเสี่ยงมากเท่านั้นปกติแล้วก่อนที่เราจะลงมือซื้ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ราคาแพงสักชิ้นเรามักจะต้องทำการศึกษามาดีพอใช้ น้อยคนนักที่จะหาข้อมูลเรื่องการซื้อเวลารับประกันเพิ่ม แต่การประกันแบบนี้กลับมีคนตัดสินใจซื้อมากมายคนขายก็มักให้เหตุผลกับเราว่า เราอาจพลั้งเผลอทำอุปกรณ์เหล่านี้ตกหล่นเมื่อไรก็ได้ และซื้อการประกันนั้นก็ง่ายมาก ประหยัดเวลา คิดแล้วถูกกว่าออกไปกินข้าวนอกบ้านหนึ่งมื้อเสียอีก ทำนองนี้เป็นต้นเหตุที่ทางร้านพยายามอย่างยิ่งที่จะขายการรับประกันเพิ่มให้กับลูกค้าก็เพราะ บริการดังกล่าวสามารถทำเงินมหาศาลให้กับทางร้านนั่นเอง ลองคิดดูว่าประกันเพิ่มสำหรับเน็ตบุ๊คราคา 400 เหรียญนั้นเท่ากับ 130 เหรียญ (เกือบ 1ใน 3) เลยทีเดียวSquareTrade เป็นบริษัทที่ขายการรับประกันให้กับสินค้าที่ซื้อขายทางอินเตอร์เน็ตเป็นต้น เชื่อหรือไม่บริษัทนี้สามารถขายการรับประกันให้กับเน็ทบุ๊คตัวเดียวกันในราคา 60 เหรียญเท่านั้น ซีอีโอ ของ SquareTrade บอกว่าบริการประกันแบบนี้มันไม่ใช่บริการที่ไม่ดีนะ เพียงแต่ร้านต่างๆ มักขายในราคาที่แพงเกินกว่าเหตุเท่านั้นเองในทางกลับกัน หน่วยงานที่คุ้มครองผู้บริโภคจะแนะนำว่าเราไม่ควรเสียเงินกับการเพิ่มระยะรับประกันเหล่านั้นเลยจะดีกว่า เพราะสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องซ่อมหรือถ้าจะซ่อม มันก็อยู่ในงบประมาณเดียวกับค่าซื้อการรับประกันเพิ่มนั่นแหละเรามักคิดว่าอย่างไรเสียค่าซื้อประกันเพิ่มมันก็ยังน้อยกว่าค่าซื้อสินค้าใหม่ แต่ยังไม่มีใครรู้เลยว่าอัตราการเสียของสินค้าเหล่านี้เป็นเท่าไร แต่ขอบอกว่ามันต่ำกว่าที่คุณคิดแน่นอนคอนซูเมอร์รีพอร์ต นิตยสารเพื่อผู้บริโภคของอเมริกา ได้ทำการสำรวจกับผู้อ่าน แล้วทำการคำนวณอัตราการเสียของอุปกรณ์เหล่านี้ในระยะ 3 ถึง 4 ปี และพบว่าอัตราการเสียของเครื่องเล่นโทรทัศน์ มีเพียงร้อยละ 3 (จากเครื่องเล่นโทรทัศน์ทั้งหมด 10 ยี่ห้อ) ในขณะที่อัตราการเสียของกล้องถ่ายรูปมีร้อยละ 10อัตราสูงที่สุดได้แก่ โน๊ตบุ้ค (ร้อยละ 43) แต่นั่นเป็นการเสียที่เกิดจากอุบัติเหตุและการมีของเหลวหกใส่คีย์บอร์ด ซึ่งโดยทั่วไปก็ไม่อยู่ในเงื่อนไขรับประกันอยู่แล้ว ... นั่นสิ แล้วคนเราซื้อประกันเพิ่มเพราะอะไรนักวิชาการให้ทัศนะว่า เราซื้อประกันพวกนี้เพราะเราอยู่ในอารมณ์ที่ดีเกินไปขณะที่กำลังจะได้มาซึ่งสินค้าที่เราเฝ้าฝันถึงมานาน สถิติบอกว่าคนเรานิยมซื้อระยะเวลารับประกันเพิ่มให้กับสินค้าประเภทที่ให้ความสุข มากกว่าสินค้าที่ซื้อเพราะต้องใช้ประโยชน์จากมัน (อย่างเครื่องซักผ้าหรือตู้เย็น)ฟังดูคล้ายเราควรหาเรื่องให้ตัวเองอารมณ์เสียสักเล็กน้อยก่อนออกไปซื้อของ จะได้ตัดสินใจอย่างมีสติขึ้นนะนี่จัดระเบียบเนื้อสดเชื่อหรือไม่ว่าประเทศที่ส่งออกเนื้อวัวมากเป็นอันดับสองของโลกอย่างออสเตรเลีย ไม่มีระบบการติดฉลากระบุคุณภาพสำหรับเนื้อวัวที่ขายในประเทศของตนเอง ผู้บริโภคส่วนใหญ่จึงไม่สามารถรู้ได้ว่า เนื้อที่ตนเองกำลังจะซื้อไปทำอาหารรับประทานนั้นเป็นเนื้อที่มีคุณภาพในระดับใดว่ากันว่าปัจจุบัน ร้อยละ 3 ของเนื้อวัวที่วางขายในซูเปอร์มาร์เก็ตในออสเตรเลีย เป็นเนื้อโคแก่ ที่แพ็คขายโดยติดฉลากว่าเป็นเนื้อ “คุณภาพเยี่ยม” หรือที่เรียกติดปากในภาษาฝรั่งว่า “พรีเมี่ยม” นั้นแลทุกวันนี้ออสเตรเลียไม่มีระบบการคัดแยกแบบบังคับสำหรับเนื้อวัวที่ขายในประเทศ มีเพียงโครงการแบบสมัครใจ ซึ่งก็มีเพียงเจ้าของไร่ปศุสัตว์เพียง 12,500 ไร่ จากทั้งหมด 160,000 ไร่ เท่านั้นที่สมัครเข้าร่วมโครงการให้การรับรองขององค์กร Meat and Livestock Australiaภายใต้ระบบรับรองที่ว่านี้ เนื้อจากโคเนื้อที่มีอายุสามปีครึ่งขึ้นไป หรือเนื้อโคนมที่พ้นวัยให้นมแล้วจะถูกจัดเข้าประเภทที่เหมาะกับการบริโภคในรูปแบบของเนื้อบดเท่านั้น แต่มีอีกข้อตกลงดั้งเดิมที่ระบุว่า เนื้อโคอายุมากเหล่านั้นสามารถนำมาขายในรูปแบบของสก็อตช์ฟิลเล่ท์ หรือ ทีโบนได้ ถ้ามีการระบุที่ฉลากว่าเป็นเนื้อโค “ราคาประหยัด”ทำไปทำมาบางห้างก็เลยทำมึนๆ ติดฉลากบรรดาเนื้อโคแก่เหล่านั้นว่า “พิเศษ” ไปด้วย ซึ่งอาจทำให้ผู้บริโภคเข้าใจว่าได้ของดีราคาถูก (ซึ่งความจริงแล้ว มันคือของไม่ดี ราคาถึงได้ถูก)รัฐบาลนิวเซาท์เวลส์ก็เลยแก้ปัญหาด้วยการเสนอให้มีระบบการรับรองแบบเดียวกับ AUS-Meat ที่ใช้ในการรับรองและคัดแยกประเภทของเนื้อวัวที่ส่งออกจากออสเตรเลียไปขายทั่วโลกนั้นแลPenFriend เพื่อนใหม่ใช้อ่านฉลากหลายคนรู้จักสิ่งที่เรียกว่า PenFriend ที่คุณครูภาษาอังกฤษสมัยประถมเคยให้เราฝึกเขียนจดหมายภาษาอังกฤษถึงเพื่อนต่างชาติ (นี่ถือเป็นการเช็คอายุคนอ่านไปในตัว เด็กเดี๋ยวนี้คงใช้ MSN Hi5 หรือ Facebook กันแล้ว)แต่ PenFriend นาทีนี้ คือ อุปกรณ์หน้าตาคล้ายปากกาชนิดใหม่ที่ทำให้ผู้พิการทางสายตา สามารถอ่านฉลากบนสินค้าต่างๆ ได้ อุปกรณ์ดังกล่าวใช้ระบบบาร์โค้ด ซึ่งเมื่อสแกนด้วยปากกาดิจิตัลแล้วจะไปเปิดไฟล์ เอ็มพี3 ที่บันทึกเสียงเอาไว้นั่นเองอุปกรณ์ที่พัฒนาขึ้นมาในโครงการร่วมระหว่างสถาบันผู้พิการทางสายตาแห่งชาติของอังกฤษและบริษัทลิงกัว มันตรา มีราคาประมาณ 60 ปอนด์ (ประมาณ 3,200 บาท) และสามารถใช้ในการทำฉลากตั้งแต่ อาหาร เสื้อผ้า ดีวีดี หรือ อัลบั้มเพลงต่างๆ ได้เทคโนโลยีที่เรียกว่า Optical Identification (OID) นี้จะพิมพ์จุดเล็กๆ ลงไปบนแผ่นสติกเกอร์ ซึ่งสามารถอ่านได้ด้วยสแกนเนอร์ที่อยู่ตรงปลายของปากกา และขณะที่มันสแกน ก็จะเปิดไฟล์เสียงที่บันทึกไว้เพื่อบอกว่า ของที่อยู่ในขวดนั้นเป็นอะไร ซึ่งหมายความว่าจะบันทึกวันหมดอายุหรือคำแนะนำในการประกอบอาหารไว้ด้วยได้ ประกาศ! ห้ามใช้ทีวีกินไฟคณะกรรมาธิการด้านพลังงานของรัฐแคลิฟอร์เนียลงมติอย่างเป็นเอกฉันท์ว่า ต่อไปนี้โทรทัศน์ขนาดไม่เกิน 58 นิ้ว ที่ขายในรัฐดังกล่าว จะต้องลดอัตราการกินไฟลงอย่างน้อยร้อยละ 33 ภายในปี พ.ศ. 2554 และจะต้องลดลงร้อยละ 49 ภายในปีพ.ศ. 2556ร้อยละ 10 ของการบริโภคพลังงานไฟฟ้าในรัฐแคลิฟอร์เนียเกิดจากการเปิดเครื่องรับโทรทัศน์ (ยิ่งเป็นโทรทัศน์จอพลาสมานั้น ก็จะยิ่งกินไฟมากกว่าโทรทัศน์ธรรมดาถึง 3 เท่า)ถ้าทุกคนในรัฐเปลี่ยนมาใช้โทรทัศน์ที่สามารถใช้พลังงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้ก็จะประหยัดค่าไฟได้ 30 เหรียญต่อเครื่อง ต่อปีเลยทีเดียวอุตสาหกรรมผู้ผลิตโทรทัศน์ว่าอย่างไรน่ะหรือ บ้างก็โวยวายว่านี่มันเป็นอุปสรรคต่อการสร้างสรรค์นวัตกรรมและเป็นการแทรกแซงกลไกตลาด ซึ่งกำลังทำให้เกิดการผลิตสินค้าที่ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพอยู่แล้ว (ขณะนี้มีโทรทัศน์ประหยัดไฟขายอยู่ในท้องตลาดประมาณ 1,000 รุ่นแล้ว)ในแต่ละปี คนแคลิฟอร์เนียซื้อเครื่องรับโทรทัศน์ 4 ล้านเครื่องหนี้ศัลยกรรมขณะนี้ประเทศเวเนซูเอล่ากำลังอยู่ในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ หลังจากที่เศรษฐกิจเฟื่องฟูมาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 5 ปีแม้เศรษฐกิจจะไม่เป็นใจแต่คนเวเนซูเอล่าก็ยังมุ่งมั่นที่จะทำหน้าเด้ง ดูดไขมัน และเสริมหน้าอกกันต่อไป สถิติการทำศัลยกรรมที่นี่ไม่เคยลดลงเลย ไม่เค้ย ไม่เคย ที่เขาจะคิดหยุดทำ เพียงแต่คิดว่าจะทำอย่างไรถึงจะได้ทำเท่านั้นทางออกคือการรูดปรึ๊ด หรือไม่ก็หาเงินกู้นั่นเองแพทย์ศัลยกรรมคนหนึ่งบอกว่า ยิ่งภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ คนก็ยิ่งอยากจะใช้จ่ายเพื่อการปลอบประโลมตัวเองมากขึ้น บ้างก็งัดเอาเงินเก็บออกมาทำสวย ที่ไม่มีก็กู้ยืมกันมาทีเดียว แพทย์คนเดิมบอกว่าลูกค้าบางรายยอมย้ายออกมาอยู่ในห้องเช่าที่เล็กลงเพื่อจะได้มีเงินเหลือไปทำการแปลงโฉม ส่วนอีกรายเอารถไปขายเพื่อหาเงินมาดึงหน้านักจิตวิทยาสังคมจากมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในเวเนซูเอล่าบอกว่าเรื่องนี้มันเกิดกับคนส่วนน้อย เพราะผู้หญิงกลุ่มที่มีรายได้ปานกลางถึงต่ำนั้น มักไม่มีเงินเก็บให้ถอนออกมาใช้ หรือมีทรัพย์สินอะไรที่จะเอาไปขายได้อย่างนั้นหรอกแต่ถ้าดูจากโฆษณาของคลินิกศัลยกรรมตามสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินจะเห็นว่า คลินิกเหล่านี้นั่นแหละที่เสนอปล่อยเงินกู้ให้เพื่อการศัลยกรรม หรืออีกนัยหนึ่งอุตสาหกรรมนี้กำลังทำทุกวิถีทางเพื่อให้ตนเองมีรายได้เข้ามาอย่างต่อเนื่องในทุกสภาพเศรษฐกิจคนที่นี่จำนวนไม่น้อยมองว่าการทำศัลยกรรมไม่ใช่เรื่องฟุ่มเฟือย พวกเขาเชื่อว่าคนเราจำเป็นจะต้องสวย ถึงคุณไม่อยากจะสวยแต่แรงกดดันจากสังคมก็ทำให้คุณอยากจะไปพึ่งมีดหมออยู่นั่นเอง ร้อยละ 60 ของผู้หญิงที่นั่นทำการผ่าตัดเพิ่มขนาดหน้าอก และหลายคนก็ทำมากกว่าหนึ่งครั้งด้วย

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 186 ซื้อขายที่ดินกันปลอมๆ เพื่อให้กู้เงินธนาคารได้ มีผลทางกฎหมายอย่างไร

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่าน กลับมาพบกันอีกครั้งนะครับ ในเล่มนี้อยากจะพูดถึงเรื่องของคนที่มีทรัพย์สินเป็นที่ดินและบ้าน แต่อยู่ไปอยู่มากลายเป็นหนี้ กลายเป็นคนไม่มีเครดิต แล้วกำลังจะถูกเขายึดบ้านยึดที่ไปขาย เมื่อไม่อยากให้ที่ดินและบ้านของตนถูกบังคับใช้หนี้  จึงหาทางออกโดย ไปตกลงกับเพื่อนหรือญาติที่เครดิตดีกว่า ให้นำบ้านและที่ดินไปจำนองเพื่อกู้ยืมเงินธนาคารแทน ซึ่งก็มีเรื่องจริงเกิดขึ้นกับท่านหนึ่ง เขาก็ไปทำสัญญาซื้อขายกันบังหน้า เพื่อให้เพื่อนที่เครดิตดีกว่าไปกู้เงินธนาคารมาให้ โดยมีข้อตกลงกันว่าเจ้าของที่ดินและผู้กู้เงินธนาคารจะเป็นผู้ผ่อนชำระหนี้แก่ธนาคารคนละครึ่งผ่อนหมดจะแบ่งที่ดินคืนครึ่งหนึ่ง ส่วนอีกครึ่งหนึ่งตกเป็นของผู้กู้และทำสัญญาเช่าที่ดินกับผู้กู้เงินเป็นประกัน เพื่อให้ผ่อนหนี้เงินกู้ตามสัญญา ต่อมาเจ้าของที่ดินไม่ชำระหนี้ตรงตามกำหนด คนที่กู้เงินและมีชื่อในโฉนดที่ดินจึงนำสัญญาเช่ามาฟ้องขับไล่เจ้าของที่ดินเป็นคดี ซึ่งเรื่องนี้ ได้สู้คดีกันจนถึงศาลฎีกา และศาลได้ตัดสินไว้ว่า สัญญาซื้อขายบ้านและที่ดินและสัญญาเช่าดังกล่าว ทำกันโดยไม่มีเจตนาจะซื้อขายกันจริง หรือเช่ากันจริง จึงเป็นเจตนาลวง ไม่มีผลบังคับใช้ตามกฎหมาย แต่เรื่องนี้ มีข้อสัญญาบางส่วน ซึ่งศาลมองว่าใช้บังคับกันได้ แยกออกจากสัญญาซื้อขาย หรือเช่าดังกล่าว โดยมองเจตนาแท้จริงว่า ต้องการแบ่งที่ดินกันคนละครึ่ง เมื่อเจ้าของที่ดินผ่อนชำระหนี้ตามที่ตกลง จึงมีฐานะเป็นเจ้าของร่วม ผู้กู้จึงไม่มีสิทธิไปฟ้องขับไล่เจ้าของที่ดิน  โดยมีรายละเอียดตาม คำพิพากษาศาลฎีกาที่  2952/2554 ดังนี้ สัญญาซื้อขายบ้านและที่ดินพิพาทเป็นสัญญาที่ทำขึ้นโดยไม่มีเจตนาแท้จริงให้ผูกพันกัน เป็นการแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กันระหว่างโจทก์และจำเลย เพื่อให้โจทก์นำที่ดินและบ้านพิพาทไปจำนองเป็นประกันหนี้กู้ยืมต่อธนาคาร และให้จำเลยทำสัญญาเช่าเพื่อเป็นประกันการผ่อนชำระหนี้แก่ธนาคาร สัญญาซื้อขายและสัญญาเช่าดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคหนึ่ง เจตนาที่แท้จริงของโจทก์และจำเลยเกิดจาก ส. และจำเลยเดือดร้อนเรื่องที่อยู่อาศัยเนื่องจากเจ้าหนี้จะยึดที่ดินและบ้านที่อยู่อาศัยชำระหนี้ แต่จำเลยและ ส. ไม่สามารถกู้ยืมเงินจากธนาคารมาชำระหนี้ได้ จึงต้องขอให้โจทก์เป็นผู้กู้ยืมเงินให้เพื่อนำเงินไปชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ของจำเลย เพื่อจะนำที่ดินมาเป็นที่อยู่อาศัยของจำเลยและ ส. โดยจำเลยและ ส. มีหน้าที่ร่วมกันผ่อนชำระหนี้ที่โจทก์กู้ยืมมาคนละครึ่ง หากจำเลยและ ส. ร่วมกันชำระหนี้จนครบ 10 ปี ตามสัญญาจำนอง หนี้จะหมด จำเลยมีสิทธิได้แบ่งที่ดินส่วนที่จำเลยปลูกบ้านแล้วจำนวนครึ่งหนึ่งของที่ดินทั้งหมดนอกจากส่วนที่กันเป็นถนน ส่วนที่ดินที่เหลืออีกครึ่งหนึ่งจะตกเป็นของ ส. ซึ่งถือเป็นตัวการซึ่งเชิดโจทก์เป็นตัวแทนทำนิติกรรมแทน ส. สัญญาตามบันทึกข้อตกลงแนบท้ายสัญญาซื้อขายที่ดินแม้จะถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาท แต่เจตนาที่แท้จริงของโจทก์และจำเลยที่ต้องการให้ ส. และจำเลยมีที่ดินอยู่อาศัยคนละครึ่ง จึงให้จำเลยร่วมผ่อนชำระหนี้แก่ธนาคารครึ่งหนึ่ง เพื่อว่าเมื่อจำเลยร่วมผ่อนชำระหนี้ครบแล้วจะได้แบ่งที่ดินครึ่งหนึ่ง จึงพึงสันนิษฐานได้โดยพฤติการณ์แห่งกรณีว่า คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายมีเจตนาจะให้ตกลงในส่วนนี้แยกออกจากสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาท ข้อตกลงในส่วนนี้จึงไม่ตกเป็นโมฆะและมีผลผูกพันโจทก์ว่า เมื่อจำเลยร่วมผ่อนชำระหนี้จำนองแก่ธนาคารแม้เพียงบางส่วนจำเลยก็มีสิทธิในที่ดินพิพาทฐานะในเจ้าของร่วมด้วยเช่นกัน โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทอีกเรื่อง เป็นกรณีโจทก์ฟ้องว่า โจทก์เอาที่ดินตาม น.ส.3 ก. ของโจทก์ทำสัญญาขายฝากไว้แก่จำเลยเพื่อยืมเงินจากจำเลย 30,000 บาท แต่เนื่องจากจำเลยอ่านหนังสือไม่ออก จึงไม่ทราบว่าสัญญาที่ทำเป็นสัญญาซื้อขายมิใช่สัญญาขายฝาก ในวันเดียวกันที่ทำสัญญาดังกล่าว จำเลยได้ทำสัญญากับโจทก์ว่าการทำสัญญาซื้อขายข้างต้นนั้นเป็นการขายฝากที่ดินมีกำหนด 2 ปี สัญญาซื้อขายที่ดินจึงเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาขายฝาก ต่อมาโจทก์ขอไถ่ถอนที่ดินจากจำเลย จำเลยไม่ยอมให้ไถ่ถอน จึงมาฟ้องคดีเพื่อให้จำเลยรับเงินจากโจทก์และโอนที่พิพาทคืนโจทก์ ซึ่งศาลก็มองว่าเรื่องนี้ เป็นการทำ “นิติกรรมอำพราง” คือทำสัญญาซื้อขายกันลวงๆ โดยเจตนาแท้จริงที่อำพรางไว้ คือให้เป็นสัญญาขายฝากที่ดิน ซึ่งก็ต้องบังคับตามสัญญาขายฝาก แต่เรื่องนี้ การขายฝากไม่ได้จดทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมาย ศาลจึงถือว่าที่ดินดังกล่าว ที่จำเลยได้ไปเป็นลาภมิควรได้ จึงต้องคืนที่ดินให้โจทก์  โดยมีรายละเอียดตาม คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 165/2527โจทก์ต้องการกู้เงินจำเลย จำเลยไม่มีเงิน จึงตกลงจดทะเบียนซื้อขายที่พิพาทมี น.ส.3ก. เพื่อจำเลยจะได้นำน.ส.3ก. ไปยืมเงินเพื่อนมาให้โจทก์กู้ หลังจากนั้นอีก4 วันโจทก์มารับเงินจากจำเลย แล้วโจทก์จำเลยทำสัญญาขายฝากที่พิพาทกันเอง ดังนี้ ถือได้ว่าการทำสัญญาซื้อขายที่พิพาทเพื่ออำพรางสัญญาขายฝาก สัญญาซื้อขาย จึงเป็นการแสดงเจตนาลวงด้วยสมรู้กันระหว่างคู่กรณี ที่จะไม่ผูกพันกันตามเจตนาที่แสดงออกมานั้น ย่อมตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 118 วรรคแรก( ปัจจุบันคือ มาตรา 155 )  ส่วนนิติกรรมขายฝากที่ถูกอำพรางไว้ เมื่อไม่ได้จดทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมายจึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 115 กรณีต้องบังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้โจทก์ต้องคืนเงินให้จำเลย และจำเลยต้องคืนที่ดินให้โจทก์จากตัวอย่างกรณีพิพาทที่ยกมาให้ศึกษากันนี้ ก็อยากเตือนผู้บริโภคว่า การทำสัญญาใดๆ ก็ตาม เราควรทำอย่างสุจริต ไม่ควรไปเสี่ยงทำสัญญากันหลอกๆ เพื่อให้มีผลผูกพันกันโดยไม่มีข้อสัญญาเป็นหนังสือรับรอง เพราะเมื่อภายหลังเกิดการผิดข้อตกลงกัน สัญญาเหล่านี้จะไม่มีผลใช้บังคับกันได้ และเกิดปัญหาต้องมาพิสูจน์ซึ่งอาจทำได้ยากลำบาก และหากคู่สัญญาของเราเกิดอยากเอาเปรียบเราก็จะทำให้เดือดร้อนได้  หลักที่ว่าสัญญาต้องเป็นสัญญาก็ไม่สามารถนำมาใช้กับกรณีเช่นนี้ได้นะครับ  ซึ่งหากโชคร้ายท่านก็อาจต้องสูญเสียทรัพย์โดยไม่ตั้งใจ ดังนั้นขอให้มีสติก่อนที่จะทำสัญญาใดก็ตาม และทำด้วยความระมัดระวังอ่านข้อสัญญาต่างๆ ให้ดี เพื่อคุ้มครองสิทธิของตนเองไม่ให้ถูกใครมาเอาเปรียบได้นะครับ สำหรับวันนี้ ก็ขอจบเพียงเท่านี้ ไว้พบกันใหม่ในฉบับหน้าครับ สวัสดีครับ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 162 เมื่อคนร้ายงัดบ้าน เอาสมุดฝากเงินกับบัตรฯ ไปถอนเงิน

สำหรับฉบับนี้เป็นอุทาหรณ์ที่เป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภคที่ต้องใช้บริการฝากเงินไว้กับธนาคาร และเหตุตามอุทาหรณ์อาจเกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของผู้บริโภคในยุคโจรผู้ร้ายชุกชุม ข้อเท็จจริงมีอยู่ว่า เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2534  โจทก์ทำสัญญาฝากเงินและเปิดบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์ไว้กับจำเลยที่ 2 ที่สาขาชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์  ต่อมาวันที่ 25  มีนาคม 2549  มีคนร้ายงัดบ้านโจทก์แล้วลักทรัพย์สินไปหลายรายการรวมทั้งบัตรประชาชนและสมุดฝากเงินดังกล่าวไป  ในวันนั้นโจทก์ไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจในทันที  และในวันเดียวกันเวลา 17.34 นาฬิกา โจทก์โทรศัพท์แจ้งศูนย์กรุงไทยโฟน หมายเลข 1551  ให้อายัดเงินในบัญชีเงินฝากดังกล่าว แต่เจ้าหน้าที่ศูนย์แจ้งว่ารับแจ้งอายัดเฉพาะบัตรถอนเงินและบัตรเครดิต ไม่รับแจ้งอายัดเงินฝาก หากจะแจ้งอายัดเงินฝากต้องแจ้งที่สาขาที่โจทก์เปิดบัญชีไว้  โจทก์ไม่ได้ติดต่อเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ที่สาขาชนแดน เนื่องจากวันดังกล่าวเป็นวันเสาร์  ต่อมาวันที่ 26  มีนาคม 2549  ซึ่งเป็นวันอาทิตย์มีหญิงคนหนึ่งนำสมุดเงินฝากของโจทก์ไปถอนเงินจำนวน  280,000  บาท  ที่ธนาคารจำเลยที่ 2 สาขาย่อยฟิวเจอร์พาร์ครังสิต จังหวัดปทุมธานี  โดยจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ปฏิบัติหน้าที่ในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ที่สาขาย่อยฟิวเจอร์พาร์ครังสิต จังหวัดปทุมธานี ได้จ่ายเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่หญิงคนดังกล่าวไป โจทก์จึงได้มาฟ้อง จำเลยที่ 1 ลูกจ้างของจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 ธนาคารผู้เป็นนายจ้างให้ร่วมกันรับผิด ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 2 แพ้คดี ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน  จำเลยที่ 2 ยื่นฎีกาหลายประเด็น  แล้วผลจะเป็นอย่างไร คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 268/2556  ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า.....คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 2 ว่า จำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ตามฟ้องหรือไม่ โดยจำเลยที่ 2 ฎีกาข้อแรกว่า เมื่อได้ความว่าจำเลยที่ 1  มิได้กระทำการโดยประมาทเลินเล่อแล้ว จำเลยที่ 2 ในฐานะนายจ้างย่อมหลุดพ้นความรับผิดไปด้วยนั้น เห็นว่า คดีนี้นอกจากโจทก์จะฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองรับผิดในมูลละเมิดแล้วโจทก์ยังบรรยายฟ้องด้วยว่าจำเลยที่ 2 ประกอบธุรกิจธนาคาร โจทก์ได้ตกลงทำสัญญาฝากเงินกับจำเลยที่ 2  และจำเลยที่ 1 ลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ได้จ่ายเงินให้แก่บุคคลอื่นที่แสดงตัวเป็นโจทก์ ทำให้โจทก์สูญเสียเงินในบัญชีเงินฝาก ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชำระเงินดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ย เป็นการฟ้องให้จำเลยที่ 2 ให้รับผิดในมูลฝากทรัพย์ด้วย  ดังนั้น  แม้ข้อเท็จจริงจะได้ความว่าจำเลยที่ 1 มิได้กระทำการโดยประมาทเลินเล่อเป็นผลให้จำเลยที่ 2 ในฐานะนายจ้างหลุดพ้นความรับผิด จำเลยที่ 2 ก็หลุดพ้นความรับผิดเฉพาะในมูลละเมิดเท่านั้น ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยให้จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้รับฝากเงินต้องรับผิดต่อโจทก์ผู้ฝากเงินตามนัย ป.พ.พ. มาตรา 659  วรรคสาม นั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาจำเลยที่ 2 ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น จำเลยที่ 2 ฎีกาข้อต่อไปว่า ถ้าโจทก์เก็บรักษาบัตรประจำตัวประชาชนไว้กับตัวคนร้ายก็ไม่สามารถปลอมบัตรประจำตัวประชาชนของโจทก์ได้ ถือว่าโจทก์มีส่วนประมาทเลินเล่ออยู่ด้วยนั้น เห็นว่า ข้อเท็จจริงฟังยุติว่ามีคนร้ายงัดบ้านโจทก์แล้วลักทรัพย์สินไปหลายรายการ  บ้านเป็นเคหสถานซึ่งปกติบ่อมเป็นที่ปกป้องเก็บรักษาทรัพย์สินได้ การที่มีคนร้ายงัดบ้านโจทก์แล้วลักทรัพย์สินภายในบ้านโจทก์ รวมทั้งนำสมุดฝากเงินและบัตรประจำตัวประชาชนของโจทก์ไปใช้ถอนเงินไปใช้ถอนเงินจากจำเลยที่ 2 จะถือว่าโจทก์ประมาทเลินเล่อมิได้ ฎีกาจำเลยที่ 2 ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น ฯลฯ พิพากษายืน

อ่านเพิ่มเติม >