ฉบับที่ 235 เสียงสะท้อนจากคนทำงานคุ้มครองผู้บริโภค 4 คน จาก 4 ภูมิภาค

        “ไหนว่าเลิกใช้พาราควอตแล้ว แต่องค์กรผู้บริโภคยังตรวจพบปนเปื้อนใน ‘น้ำปู’” ,“เผยผลสุ่มตรวจปลาหมึกแห้ง พบแคดเมียมปนเปื้อนเกินเกณฑ์ 7 ตัวอย่าง”, “ฉลาดซื้อเผยปริมาณโลหะหนักและสารกันบูดในผลิตภัณฑ์น้ำปลาร้าปรุงสำเร็จปลอดภัย แนะผู้บริโภคเลือกยี่ห้อที่ผ่าน อย.”,  และ “เช็กเลย “แกงไตปลาแห้ง” ยี่ห้อไหนมีสารกันบูดเกินเกณฑ์”        พาดหัวข่าวเหล่านี้สะท้อนถึงงานคุ้มครองผู้บริโภคในพื้นที่ทั่วประเทศ ฉลาดซื้อ จะพาไปพบกับคนทำงานเฝ้าระวังจากเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคในสี่ภูมิภาค พวกเขาทั้งสี่จะมาฉายภาพพลังของผู้บริโภค ความตื่นตัว และผลกระทบในพื้นที่ ตลอดจนความร่วมมือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง           พวงทอง  ว่องไว ผู้ประสานงานเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภาคเหนือ  หลังจากเรียนจบใน ปี พ.ศ.2539  ก็เริ่มทำงานกับมูลนิธิพัฒนาศักยภาพชุมชน (North Net Foundation) ที่เชียงใหม่ ประเด็นเรื่อง AIDS ในชุมชน แรงงานข้ามชาติและสิทธิเด็ก ทำอยู่ 2-3 ปี ก็ไปเรียนต่อปริญญาโทและเป็นอาจารย์อยู่ที่ศูนย์ประสานงานวิจัยฯ  ม.ราชภัฏเชียงราย ปี 2547 ลาออกมาช่วยงานที่มูลนิธิพะเยาเพื่อการพัฒนา ช่วงแรกทำเรื่องการป้องกันการแพร่ระบาดของ AIDS ในชุมชน จนประมาณปี 58 จึงมาทำเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภค เกิดผลตอบรับอย่างไรในพื้นที่ หลังการแถลงข่าวผลทดสอบ         มันก็จะมีผลกับการทำงานนิดหน่อย หน่วยงานเขาก็ว่า ทำไมไม่มาคุยกัน จะได้ทำความร่วมมือ ปฏิกิริยามีสองส่วน หน่วยงานในพื้นที่อาจไม่เข้าใจการทำงานของเรา และผู้ประกอบอาจกังวลว่าเก็บไปแล้วจะส่งผลกระทบกับเขาอย่างไร แม้ที่ผ่านมายังไม่เกิดอะไรรุนแรง แต่ในช่วงปีที่สองหลังจากเรามีบทเรียน พอเราประชุมกับ ฉลาดซื้อ เสร็จ ก็วางเป้าหมายว่าเราจะทำความร่วมมือกับ สสจ.ในพื้นที่เลย บอกว่าเราจะเก็บข้อมูลอะไร อย่างไร  จะร่วมมือกันอย่างไร เช่น สสจ.เขาจะให้ข้อมูลว่ามีแหล่งผลิตอะไร ที่ไหน อย่างไร เขาไปทำความร่วมมือกับผู้ประกอบการในการปรับสูตร มีการทำข้อมูลด้วยกัน ปีนี้เราเก็บน้ำพริกหนุ่มรอบสอง ปรากฏว่า สสจ.เขาลงพื้นที่กับผู้ประกอบการ ตอนที่เราประกาศผล ไม่มีผลกระทบใดๆ เลย ผู้ประกอบการให้ความร่วมมือปรับสูตรได้ก็ปรับเลย และปีนี้ คือครั้งที่ 3 ที่เราทำความร่วมมือกับ สสจ.อย่างชัดเจน โดยเขาทำกับผู้ประกอบการตั้งแต่แรกเลย ปรากฏว่าน้ำพริกหนุ่มของจังหวัดพะเยาที่เคยพบการปนเปื้อน มากๆ กลับลดลงจนแทบจะไม่มี หรือเกินมาตรฐานเล็กน้อย ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงสำหรับขบวนการทำงาน         มันเกิดความเข้าใจระหว่างองค์กรที่ทำงานร่วมกัน และระหว่างหน่วยงานราชการกับองค์กร เรามีแผนการทำงานที่ส่งเสริมกันที่ชัดเจน และ มีการวางระบบข้อมูลเพื่อส่งเสริมการทำงานร่วมกัน เช่น เราจะเป็นฝ่ายเฝ้าระวังอย่างไร เขาจะเอาข้อมูลที่เราเฝ้าระวังไปเชื่อมต่อในการทำงานอย่างไร แต่ครั้งที่เราเก็บน้ำปู ต้องบอกว่า สสจ.ไม่ได้อยู่ในแผนเรา เราเก็บแล้วไม่ได้ทำความเข้าใจกับผู้ประกอบการในพื้นที่ เก็บตามเป้าหมายที่เราต้องการคือทำให้เกิดการตระหนักรู้ในภาคประชาชน เรื่องสารพาราควอตในปู พื้นที่ที่เราเก็บตัวอย่างนั้นผลิตน้ำปูค่อนข้างเยอะและเป็นที่นิยม บางเจ้าที่อยู่ในพื้นที่ก็เลยได้รับผลกระทบไปด้วย คนในพื้นที่เขารู้สึกว่าเขาให้ความร่วมมือแล้วได้ประโยชน์อย่างไร        กรณีน้ำพริกหนุ่ม ตอนแรกผู้ประกอบการเขาเจอการปนเปื้อนที่ 3,000 กว่า เขาก็ตกใจ เพราะเขาไปเอาผลิตภัณฑ์จากจังหวัดอื่นมาขายในชื่อเขา เขาไม่เคยสนใจและไม่เคยคิดว่ามันมี สิ่งที่ตามมาคือเขาขอบคุณที่ทำให้เขารู้ เขาจะไม่รับมาขายแล้ว ทำเองดีกว่า หลายผลิตภัณฑ์ที่เราเก็บ เขายอมปรับสูตรกับ สสจ.เลยนะ ปรับสูตรปรับอะไรหลายอย่าง เบื้องต้นคิดว่าเขาพร้อมที่จะปรับ แต่ตอนที่ข่าวออกมาและเราไม่ได้ไปคุยกับเขาก่อน เขาช็อคอยู่เหมือนกัน ถ้าเราไปเก็บข้อมูลแล้วบอกเขาเลยว่าซื้อไปทำไม ผลออกมาแล้วเราจะใช้อย่างไร ทำความเข้าใจกับเขาแต่ต้น อันนี้จะเป็นประโยชน์มากในการขับเคลื่อน ผู้ประกอบการก็คือผู้บริโภคเหมือนกัน เพราะต้องกินของที่อยู่ตามท้องตลาด        มันมีสองทัศนะที่ต้องจูนหากันให้ได้ ผู้บริโภคต้องการสินค้าที่ปลอดภัย ผู้ประกอบการก็ต้องการจำหน่ายให้ได้ยอดเพื่อให้ตัวเองอยู่ได้ ถ้าวันนี้ผู้ประกอบการผลิตสินค้าที่มีมาตรฐานและปลอดภัย แม้ราคาจะสูงนิดหน่อย แต่มันสามารถติดตามแหล่งที่มา มีกระบวนการผลิต การควบคุม ในฐานะเครือข่ายผู้บริโภค ก็ต้องทำหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภค มากไปกว่านั้นคือต้องทำให้ผู้บริโภครู้และตระหนักในสิทธิของตัวเอง         พงษภัทร หงส์สุขสวัสดิ์ เครือข่ายผู้บริโภคภาคตะวันตก เริ่มทำงานเมื่อปี 2548 ปัจจุบันทำงานตำแหน่งกลไกภาคงานหลักประกันสุขภาพ  หัวหน้าโหนด สสส. จังหวัดกาญจนบุรี และผู้จัดการสมาคมผู้บริโภคภาคตะวันตก เขาบอกว่าเสน่ห์ของงานผู้บริโภคอยู่ที่สามารถช่วยแก้ปัญหาให้คนได้ และคนทำงานก็ได้พัฒนาตัวเองตลอดเวลา ถ้าเคสได้รับการแก้ไขจะรู้สึกดีใจมาก บางครั้งรู้สึกเหมือนเป็นปัญหาของตัวเองที่สามารถแก้ไขได้ แต่ถ้าแก้ไม่ได้ก็จะเสียใจ เช่น กรณีเสาส่งสัญญาณที่บ้านห้วยพลู จ.นครปฐม ซึ่งเป็นเคสแรก ทันทีที่เคสแจ้งมาว่าบริษัทเค้าถอนเสา เราก็รู้สึกเหมือนว่าเราทำได้แล้ว หรือกรณีเสาที่โรงเรียนสอนเด็กพิเศษที่บางกะพ้อม สมุทรสงคราม ซึ่งชุมชนยอมให้ติดตั้ง เราก็แอบเสียใจที่เราช่วยเด็กเหล่านั้นไม่ได้ เรื่องการเฝ้าระวังในพื้นที่ภาคตะวันตก ผู้บริโภคมีความตื่นตัวอย่างไร         ผู้บริโภคในพื้นที่จะระวังมากขึ้น เช่น เขาจะเลือกไปร้านที่ไม่พบสารปนเปื้อน มีการปรับตัวหลังจากได้ข้อมูล ร้านค้าก็ปรับตัว สมมุติว่าเขาเป็นร้านรับซื้อมาขาย เขาก็จะคัดของมากขึ้น สมมุติว่าเราซื้อปลาหมึกแห้งที่เขารับมาจากอีกที่หนึ่ง แล้วปรากฏว่ามีสารปนเปื้อน เขาก็จะไม่รับมาขาย มันก็ทำให้ผู้ผลิตต้องปรับตัวเองเพื่อให้ขายได้ โดยดูแลเรื่องสารปนเปื้อน เรื่องการผลิตมากขึ้น การทำงานร่วมกันมีความสำคัญกับอาหารปลอดภัยอย่างไร        สิ่งสำคัญของการทำงานแบบทุกฝ่ายร่วมมือกัน คือ หนึ่ง ผู้บริโภคได้ทานอาหารที่ปลอดภัย สอง มันไม่ใช่หน้าที่ของคนใดคนหนึ่ง เราโตมากับความคิดว่าทุกอย่างเป็นหน้าที่ของรัฐ รัฐก็จัดการไป แต่จริงๆ แล้วทุกคนมีหน้าที่ร่วมกันเฝ้าระวัง ประชาชนก็มีหน้าที่สอดส่องดูแล แล้วแจ้งเตือน หน่วยงานมีหน้าที่ตรวจสอบ เขาก็ตรวจสอบหลังจากมีคนแจ้ง ถ้าเราไม่เฝ้าไม่ดู เขาไม่รู้ เขาก็ไม่ตรวจสอบ สุดท้ายอาหารพวกนี้มันก็ปนเปื้อนและส่งผลมาที่ตัวเรา ผมว่ามันเป็นภาระของคนใดคนหนึ่งไม่ได้   ภาคประชาชนไม่ได้มาแย่งงานของหน่วยงานรัฐ มันเป็นเรื่องที่ต้องช่วยกัน ถ้าจับมือทำงานเชิงมิตรกันมากขึ้น ผลประโยชน์สูงสุดมันก็ตกที่ตัวประชาชน ผู้บริโภคมีบทบาทอย่างไรกับการเลือกอาหารปลอดภัยให้กับตัวเอง         สิ่งแรกก็คือต้องรู้ว่าอาหารที่เขากิน มาจากไหน และตรงไหนที่มันปลอดภัย ถ้าดูข้อมูลจาก ฉลาดซื้อ เขาเห็นยี่ห้อ เขาก็เลือกได้ง่ายขึ้น ผู้บริโภคมีอิสระในการเลือกซื้อและมีสิทธิได้รับความปลอดภัยจากการบริโภค อันนี้ใครก็ไม่สามารถทำให้เขาได้ ผู้บริโภคต้องตัดสินว่ามีข้อมูลแบบนี้แล้วจะเลือกอย่างไรให้ตัวเองปลอดภัย        ศตคุณ คนไว เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภาคอีสาน เริ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคด้วยการเป็นนักศึกษาฝึกงานที่สมาคมผู้บริโภคจังหวัดขอนแก่น เมื่อปี 2555 เขาได้เรียนรู้งานในช่วงที่การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ อาหาร ยา เครื่องสำอาง กำลังเป็นที่นิยม  แต่กลับมีผู้บริโภคได้รับอันตรายจากผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจนเสียชีวิต จึงได้ทำวิจัยเมื่อจบการศึกษาในประเด็นความเข้าใจของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์สุขภาพ ทำให้เห็นว่าผู้ใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรังที่ต้องการสุขภาพดี  หลังจากเข้ารับการเกณฑ์ทหาร 1 ปี ประมาณปี 2558 จึงได้กลับมาทำงานที่สมาคมผู้บริโภคอีกครั้ง เขาสนใจเรื่องการคุ้มครองสิทธิ ซึ่งผู้คนทั่วไปมักเจอกับการถูกผู้ประกอบการหรือคนอื่น เอารัดเอาเปรียบทางสังคม ทางการค้า หรือแม้แต่ด้านสวัสดิการ การเก็บตัวอย่าง/เฝ้าระวังในพื้นที่มีประโยชน์หรือทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร         ที่ผ่านมามีการเก็บตัวอย่างปลาร้าใน 4 จังหวัด คือ กาฬสินธุ์ ขอนแก่น อุบลราชธานี  ร้อยเอ็ด เก็บตัวอย่างกุนเชียง เก็บตัวอย่างผักในตลาดขายส่งในเมืองขอนแก่น  เฝ้าระวังการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมาย โอ้อวดเกินจริง ทางวิทยุ และเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง         ผู้ประกอบการตื่นตัวและปรับปรุงคุณภาพสินค้า ลงโฆษณาที่ถูกกฎหมาย เพิ่มรายละเอียดของสินค้า เช่น วันผลิต วันหมดอายุ เป็นต้น บางรายเปลี่ยนรูปแบบการโฆษณา การขาย หรือรูปแบบผลิตภัณฑ์ ไม่ให้เหมือนกับสินค้าที่ผิดกฎหมาย เพื่อลดต้นทุนการผลิต  ด้านผู้บริโภคก็ตื่นตัว เข้าถึงข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้ามากขึ้น เช่น มีความรู้เรื่องการเจือปนของโลหะหนักในน้ำปลาร้า            ในส่วนประโยชน์และการเปลี่ยนแปลง จะปรับเปลี่ยนรูปแบบการลงพื้นที่เก็บตัวอย่างอยู่เสมอ เช่น ในการเก็บตัวอย่างเครื่องสำอาง ต้องให้ภาคประชาชนเป็นคนทำ เพราะร้านค้าต่างๆ จะรู้ทันที หากเจ้าหน้าที่ สสจ.ลงพื้นที่ คณะทำงานได้ลงมือปฏิบัติ เครือข่ายภาคประชาชนที่ร่วมกันเก็บข้อมูลก็ได้รับรู้สถานการณ์และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เป็นการสร้างความเข้มแข็งของภาคประชาชนไปพร้อมกัน         หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ได้รับข้อมูลสินค้าและร้านค้าที่ขายของผิดกฎหมาย มีการปนเปื้อนเกินมาตรฐาน การโฆษณาเกินจริง หน่วยงานในพื้นที่ดำเนินการได้รวดเร็ว เช่น ตักเตือน จับ-ปรับ รวมถึงดำเนินคดี เมื่อหน่วยงานติดตาม ตรวจสอบและพบว่าผลิตภัณฑ์นั้นผิดกฎหมาย แล้วประกาศห้ามขาย ก็จะเป็นประโยชน์กับผู้บริโภค ภาคอีสานมีแผนเก็บตัวอย่างหรือเฝ้าระวังอะไรต่อ        วางแผนเก็บตัวอย่างเนื้อย่างครับ ทำร่วมกับเครือข่ายในจังหวัด ในส่วนการเฝ้าระวังสถานการณ์ในจังหวัด จะมีกลไกภาคประชาชนและหน่วยงาน ซึ่งจะวางแผนการทำงานร่วมกันในแต่ละปี         จุฑา สังขชาติ เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภาคใต้ เริ่มทำงานด้านนี้เลยเพราะสนใจเรื่องสิทธิ รู้สึกว่าเรื่องสิทธิผู้บริโภคเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวมาก แต่คนไม่ค่อยให้ความสำคัญ แม้จะทำมา 20 ปีแล้ว ยังรู้สึกสนุก เพราะงานผู้บริโภคมีเสน่ห์ตรงที่เป็นเรื่องใกล้ตัว และมีเรื่องใหม่ๆ อยู่ตลอด อาจเป็นปัญหาเดิมแต่มีการยกระดับขึ้นตามสถานการณ์ ทำให้ต้องรู้เท่าทันและเรียนรู้ไปเรื่อยๆ ได้อะไรจากการทำงานเฝ้าระวังสินค้าและบริการ        อันดับแรกเลย มันจะได้กับคนที่เก็บตัวอย่าง เวลาเราให้อาสาสมัครไปเก็บตัวอย่าง เราก็ได้รู้ว่าอาหารแต่ละอย่างมีปัญหาอะไรได้บ้าง กฎหมายว่าอย่างไร เช่น ตอนเก็บไตปลาเราก็จะรู้ว่าไตปลาเขาใส่สารกันบูดด้วย กฎหมายห้ามใส่เกินเท่านี้ๆ  ทำให้เรามีความรู้มากขึ้น แกนนำเครือข่ายหรืออาสาสมัครที่มาช่วยก็จะมีข้อมูลมากขึ้น ตอนให้เขาเก็บตัวอย่างกาแฟ 3-in-1 เขาก็จะรู้ว่าอันนี้อันตราย ไม่ดีอย่างนั้นอย่างนี้ และในพื้นที่เขามีผลิตภัณฑ์ที่น่าจะมีปัญหาเยอะเลย ทำให้ผู้บริโภคระดับแกนนำตื่นตัวมากขึ้น และมีความรู้ไปบอกต่อได้ เวลาผลออกไป เกิดผลกระทบอย่างไรกับคนในพื้นที่         ตอนที่เราตรวจไตปลา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็เหมือนกับต้องทำงานเฝ้าระวังให้มากขึ้น หรือเวลาเราเก็บข้อมูลที่อาจไม่เกี่ยวกับเรื่องอาหารโดยตรง เช่นเครื่องสำอาง พอเราเก็บข้อมูลมาจากพื้นที่ว่ามันมีปัญหาน่าสงสัยว่าจะมีการใส่สารที่เป็นอันตราย ก็เอามาพูดคุยให้หน่วยงานเขารู้ ทำให้ สสจ.เขาทำงานเชิงรุก เขาก็ไปดูว่ามันมีการขายพวกนี้ไหม ออนไลน์มีไหม บางอันเขาก็ล่อซื้อ และเขาก็เจอว่าไอ้ที่มันขายอยู่มันอันตราย เขาก็ไปจับ ตอนนี้เป็นข่าวใหญ่เรื่องโรงงานผลิตเครื่องสำอางที่ใส่สารอันตราย อันนี้ก็เริ่มจากการที่เราเก็บข้อมูลมา เราคุยกับเขา ทำให้เขาเห็นว่าผู้บริโภคตื่นตัวค่อนข้างเยอะ มีแผนเฝ้าระวังอย่างไรในพื้นที่         จากที่ได้คุยกัน คิดว่าจะดูพวกของฝากพื้นถิ่น เช่น กะปิ กุ้งแห้ง ปลาหมึกแห้ง ที่ผ่านมาผลิตภัณฑ์ในชุมชนอาศัยความไว้วางใจกัน แต่ตอนหลังเป็นอุตสาหกรรมมากขึ้น เราก็เลยไม่มั่นใจเรื่องความสะอาด ความปลอดภัย  คุยกันว่าถ้าตรวจเรื่องนี้ก็น่าจะทำให้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน ผู้บริโภคก็จะมั่นใจมากขึ้น อีกอย่างที่น่าสำรวจคือ กาแฟทรีอินวัน แบบนำเข้า ที่ไม่มีฉลากภาษาไทย ไม่แน่ใจว่าใส่สารอันตรายหรือเปล่า กาแฟในประเทศราคาซองละ 5 - 7 บาท แต่กาแฟนำเข้าพวกนี้ขายซองละ 30 บาท บางทีก็ขาย 2 หรือ 3 ซอง 100 เป็นกาแฟที่กินแล้วคึกคักอะไรแบบนี้ คือมันขายผู้ชาย เวลาลงพื้นที่ก็มีคนเล่าให้ฟังว่าเพื่อนของเขากินแล้วหัวใจวาย

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 131 ฉลาดใช้ สมาร์ทโฟน

  สมาร์ทโฟน ก็คือ โทรศัพท์มือถือที่สามารถทำงานได้ใกล้เคียงกับคอมพิวเตอร์ แถมยังได้เปรียบในเรื่องของขนาดที่ทั้งเล็กและเบากว่าคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คทั่วไป พกพาไปไหนมาไหนก็สะดวกสบาย ปัจจุบันมือถือเป็นมากกว่าอุปกรณ์สื่อสารแล้ว เพราะเป็นได้ทั้ง กล้องถ่ายรูป เครื่องเล่นวิทยุ โทรทัศน์ เกม อุปกรณ์เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ท ฯลฯ ต้องยอมรับว่า “สมาร์ทโฟน” นั้น “ฉลาด” สมชื่อ แต่ก็อย่าลืมว่าเราในฐานะผู้ใช้ก็ต้อง “รู้จักใช้และใช้อย่างฉลาด” ใช้อย่างมีความรู้มีข้อมูล ใช้แล้วตัวเราได้รับประโยชน์ อย่าใช้แล้วทำให้เกิดโทษ โดยเฉพาะค่าบริการในใบแจ้งหนี้ อาจทำให้ช็อกได้ อย่าลืมว่า ไม่ว่าเราจะคุยโทรศัพท์ ส่งข้อความ อ่านอีเมล โหลดเพลง โหลดเกม เล่นเน็ต เข้าเว็บไซต์ หรือไปกด Like ใน Facebook อะไรก็แล้วแต่ที่ต้องเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตผ่านทางมือถือ ทุกอย่างมีค่าบริการหมด ไม่มีอะไรฟรี   การใช้งานสมาร์ทโฟน โปรดอย่าซื้อตามกระแส ควรซื้อมาและใช้ให้คุ้มประโยชน์มากที่สุด บางทีเครื่องเป็นหมื่นแต่คุณก็ใช้ประสิทธิภาพของมันแค่สองสามพัน อันนี้ไม่คุ้ม เป็นเรื่องที่น่าเสียดาย บางคนชอบไอโฟน แต่ผลิตภัณฑ์ยี่ห้อนี้ราคาสูง นอกจากนี้โปรแกรมการใช้งานเสริม หรือที่เรียกกันว่า แอพพลิเคชั่น (Application) ต่างๆ ก็มีทั้งที่ให้โหลดฟรีและที่ต้องเสียเงินซื้อเพิ่ม โปรดศึกษาให้ดีก่อน สิ่งที่ควรรู้เมื่อใช้สมาร์ทโฟน 1.ศึกษารูปแบบแพ็คเก็จ เดี๋ยวนี้บรรดาค่ายผู้ให้บริการสัญญาณโทรศัพท์มือถือ ต่างก็ออกแพ็คเก็จต่างๆ ออกมาเป็นจำนวนมาก ความแตกต่างของแต่ละแพ็คเก็จขึ้นอยู่กับปริมาณของบริการที่ได้รับ ยิ่งจ่ายแพงก็ยิ่งได้ใช้มาก แต่ต้องเข้าใจว่าแพ็คเก็จสำหรับสมาร์ทโฟนไม่เหมือนกับแพ็คเก็จสำหรับมือถือทั่วไปแบบแต่ก่อน ที่จะเป็นประเภทจ่ายเท่าไหร่ก็ได้ค่าโทรเท่านั้น (หรือมากกว่า) อย่างแพ็คเก็จ voice ของดีแทค ที่จ่ายเดือนละ 499 บาท สามารถโทรได้ 550 นาที แต่ถ้าเป็นแพ็คเก็จสำหรับสมาร์ทโฟนอย่าง iPhone ของดีแทคเหมือนกันที่จ่ายเดือนละ 499 บาทเท่ากัน จะโทรได้แค่ 225 นาที แต่ก็ต้องเข้าใจว่ายังมีบริการอื่นๆ รวมอยู่ด้วย ทั้งค่าบริการอินเตอร์เน็ต SMS MMS โดยเฉพาะค่าบริการอินเตอร์เน็ตจาก EDGE/GPRS, WiFi และ 3G เพื่อลองรับความเป็นสมาร์ทโฟน แต่ก่อนบริการอินเตอร์เน็ตจะอยู่ในรูปแบบแพ็คเก็จเสริม นั่นเป็นเพราะว่าบรรดาผู้ให้บริการสัญญาณโทรศัพท์มือถือมองว่าเมื่อเป็นโทรศัพท์สมาร์ทโฟน การใช้งานอินเตอร์เน็ตก็จะมีมากขึ้น การโทรออกก็จะมีน้อยลง คนใช้สมาร์ทโฟนเลยต้องยอมรับ (แบบไม่ค่อยเต็มใจ) ว่าต้องปรับพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์ให้สอดรับกับรูปแบบของแพ็คเก็จ จากที่เคยติดต่อสื่อสารผ่านการคุยโทรศัพท์ ก็อาจต้องเปลี่ยนมาใช้การติดต่อที่ใช้อินเตอร์เน็ตแทนบ้างในบางโอกาส ซึ่งก็มีหลายช่องทางหลายวิธี เช่น ผ่านทางอีเมล MSN หรือ โปรแกรมที่คนใช้สมาร์ทโฟนควรมีไว้อย่าง  Whatsapp, Viber และ Line เพราะเป็นโปรแกรมที่ช่วยในการติดต่อสื่อสารเหมือนการคุยโทรศัพท์ แต่เป็นการคุยผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ไม่ต้องเสียค่าบริการในส่วนของค่าโทร ส่วนแพ็คเก็จสำหรับเล่นอินเตอร์เน็ต ก็มีทั้งแบบรวมมากับค่าโทร และแบบที่เป็นแพ็คเก็จอินเตอร์เน็ตอย่างเดียว ที่ยิ่งไปกว่านั้นก็คือ แพ็คเก็จอินเตอร์เน็ตซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งกับ โทรศัพท์มือถือ แท็ปเล็ต และแอร์การ์ด สำหรับใช้ในคอมพิวเตอร์หรือโน๊ตบุ๊ค ก็ยังมีรูปแบบการคิดค่าบริการทั้งแบบเหมาจ่าย คือจ่ายราคาเดียวเป็นประจำทุกเดือนใช้งานอินเตอร์เน็ตผ่าน EDGE หรือ 3G ได้ไม่จำกัด ซึ่งแพ็คเก็จแบบเหมาจ่ายรายเดือนแม้จะใช้งานได้ไม่จำกัดแต่ก็อาจจะมีราคาแตกต่างกันบ้าง ขึ้นอยู่กับความเร็วของอินเตอร์เน็ตที่ใช้ นอกจากนี้ยังมีแพ็คเก็จที่ให้เราจ่ายตามปริมาณที่ใช้ โดยจะมีการคิดค่าบริการเริ่มต้น และกำหนดปริมาณอินเตอร์เน็ตที่สามารถใช้ได้ในแต่ละเดือน ซึ่งจะมีทั้งแบบที่คิดเป็นจำนวนเมกะไบต์ และแบบที่คิดตามระยะเวลา ซึ่งถ้าหากมีการใช้เกินกว่าที่กำหนดก็ต้องจ่ายเพิ่มเป็นค่าบริการส่วนเกิน   2.รู้พฤติกรรมการใช้ของตัวเอง ก่อนจะเลือกแพ็กเก็จหรือโปรโมชั่นจากผู้ให้บริการมือถือค่ายไหนก็แล้วแต่ สิ่งสำคัญที่สุดคือต้องรู้ก่อนว่าพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์ของตัวเองเป็นแบบไหน ใช้โทรเข้าโทรออกเป็นหลัก หรือหนักไปทางใช้งานอินเตอร์เน็ต ต้องสำรวจตัวเองให้ดี เพราะค่าบริการโทรศัพท์มือถือรายเดือนเดี๋ยวนี้มีราคาสูง แถมถ้าหากไม่มีการวางแผนที่ดีแต่ละเดือนอาจจะต้องสูญเงินไปกับค่าโทรศัพท์ เพราะไม่ใช่แค่จ่ายตามราคาแพ็จเก็จที่สมัครแล้วจบ  ถ้าโทรเกิน เล่นเน็ตเกิน ก็ต้องเจอกับค่าบริการส่วนเกิน บางคนทีเลือกแพ็กเก็จ 399 บาท แต่อาจจะต้องจ่ายจริงๆ เกือบพันบาท เพราะใช้งานเกินข้อตกลงของแพ็กเก็จที่เลือกไว้ เรื่องที่ต้องย้ำกับคนใช้โทรศัพท์มือถือทุกคนไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือรุ่นไหน จะสมาร์ทหรือไม่สมาร์ท ต้องอย่าลืมศึกษาข้อตกลงและเงื่อนไขต่างๆ ให้ดี ต้องรู้ว่า จากราคาแพ็กเก็จรายเดือนที่จ่ายไป เราสามารถโทรออกได้กี่ครั้งหรือกี่นาที แล้วเมื่อโทรเกินจำนวน คิดค่าโทรส่วนเกินอย่างไร นาทีละเท่าไหร่ การใช้บริการอินเตอร์เน็ตต่างๆ ก็เช่นกัน ต้องมั่นตรวจสอบการใช้งานอยู่เรื่อยๆ อย่าลืมว่าโทรศัพท์มือถือของเราเป็นแบบสมาร์ทโฟน ฉลาดแบบที่เราอาจคาดไม่ถึง พอไปเจอสัญญาณ WiFi หรือ 3G ที่ไหนเข้า มือถือของเราก็อาจต่ออินเตอร์เน็ตได้เองโดยเจ้าของอย่างเราไม่ทันรู้ตัว เราสามารถประมาณการดูได้ว่าในแต่ละเดือนเราใช้งานอินเตอร์เน็ตบนโทรศัพท์มือถือมากน้อยแค่ไหน โดยใช้ “โปรแกรมช่วยคำนวณการใช้งานอินเตอร์เน็ตเพื่อเลือกแพ็คเก็จให้เหมาะสมกับการใช้งาน” ที่ค่ายผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือที่ออกแบบมาเพื่อให้เราคำนวนการใช้งานอินเตอร์เน็ตบนโทรศัพท์มือถือในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการท่องเว็บไซต์ รับ – ส่งอีเมล ดู Youtube เล่น Facebook ลองเลือกตามพฤติกรรมการใช้ของตัวเอง โปรแกรมจะคำนวณออกมาเป็นจำนวนเมกะไบต์ที่เราใช้ต่อเดือน แล้วค่อยนำไปเปรียบเทียบหาแพ็คเก็จที่เหมาะสมกับการใช้งานของเราที่สุด โดยเราสามารถเข้าไปใช้งานโปรแกรมนี้ได้ที่เว็บไซต์ของแต่ละค่ายผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ หรือตามลิงค์เหล่านี้ AIS http://www.ais.co.th/mobileinternet/3g/package/mobile-internet-calculator/Dtac http://www.dtac.co.th/3g/calculator-time.phpTruemove H http://www.truemove-h.com/calculator.aspx   3.อัตราค่าบริการส่วนเกิน หลายคนมักมีปัญหาเวลาที่ต้องจ่ายค่าบริการรายเดือนโทรศัพท์มือถือ เพราะยอดที่ต้องจ่ายมักแพงกว่าราคาแพ็คเก็จที่สมัครไว้เสมอ นั่นก็เป็นเพราะปริมาณการใช้งานบริการต่างๆ บนมือถือ ทั้ง โทรออก ส่งข้อความ เล่นเน็ต เกินกว่าที่กำหนดไว้ในแพ็คเก็จ ทำให้ต้องเสียค่าบริการส่วนเกิน ซึ่งจำเป็นอย่างมากที่เราต้องรู้ว่าแพ็คเก็จที่เราใช้อยู่นั้น สามารถใช้บริการต่างๆ ได้ที่ปริมาณเท่าไหร่ แล้วการคิดอัตราค่าบริการส่วนเกินอย่างไร เท่าไหร่ เพื่อเราจะได้สามารถควบคุมตัวเองได้ว่าในแต่ละเดือนสามารใช้ได้เท่าไหร่ ถ้าหากใช้เกินจะต้องเสียเงินเพิ่มแค่ไหน เพื่อไม่ให้เราต้องเสียค่าบริการแต่ละเดือนสูงเกินไป จนตัวเราเองไม่สามารถรับภาระนั้นได้ ซึ่งเราสามารถศึกษาอัตราค่าบริการส่วนเกินต่างๆ ได้ในข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้แพ็คเก็จหรือโปรโมชั่นต่างๆ ซึ่งปัจจุบันทั้ง 3 ค่ายผู้ให้บริการสัญญาณโทรศัพท์มือถือจะคิดค่าโทรส่วนเกินสำหรับแพ็คเก็จรายเดือนคือ 1 บาท 25 สตางค์ - 1 บาท 50 สตางค์ต่อนาที ส่วนบริการข้อความ SMS คิดข้อความละ 2 – 3 บาท EDGE/GPRS และ 3G มีค่าบริการส่วนเกินอยู่ที่ 1 บาท 50 สตางค์ - 2 บาท ต่อเมกะไบต์ และ WiFi คิด 1 บาทต่อนาที นอกจากนี้ค่าบริการต่างๆ ที่มีการแจ้งไว้ในแพ็คเก็จยังไม่ได้บวกค่าภาษีมูลค่าเพิ่มอีก 7%   4.ข้อจำกัดในการใช้งานอินเตอร์เน็ต ถึงแม้ว่าแต่ละค่ายผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ ต่างก็ออกมาบอกกันว่าความเร็วอินเตอร์เน็ตของตัวเองทั้งแรงทั้งเร็ว เทคโนโลยีล้ำหน้ากันสุดๆ แต่ยังมีความจริงเกี่ยวกับข้อจำกัดเรื่องสัญญาณอินเตอร์เน็ตอีกมากที่เขาไม่ได้บอกกับเราในโฆษณา ไม่ว่าจะเป็นข้อจำกัดเรื่อง สถานที่ ช่วงเวลา อุปกรณ์เชื่อมต่อ หรือแม้แต่ตัวเครื่องสมาร์ทโฟนที่ใช้อยู่ ล้วนมีผลต่อความเร็วของสัญญาณอินเตอร์เน็ตทั้งสิ้น อย่างเรื่องของ 3G ที่ถือเป็นเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตที่ว่ากันว่าแรงและเร็วที่สุด ณ เวลานี้ ก็ยังมีข้อจำกัดอีกมาก โดยเฉพาะเรื่องพื้นที่การให้บริการ อย่างที่เห็นในโฆษณาที่บอกว่า “เครือข่าย 3G ครอบคลุมทั่วกรุงเทพฯ และอีกหลายจังหวัดทั่วประเทศ” คนต่างจังหวัดฟังแล้วอาจสงสัยว่าจังหวัดที่เราอยู่มี 3G ใช่หรือเปล่า ต่างกับคนกรุงเทพฯ ที่อาจจะหลงดีใจว่าเรามี 3G ให้ใช้แล้ว แต่ในความเป็นจริงอาจไม่เป็นเช่นนั้น เพราะอย่างที่บอกว่าสัญญาณ 3G ยังมีข้อจำกัดอีกหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นระยะห่างของจุดรับ – ส่งสัญญาณ จำนวนผู้ใช้บริการ ณ เวลานั้นๆ และอุปกรณ์ที่ใช้งาน ซึ่งทำให้บางพื้นที่ก็อาจไม่มีสัญญาณ 3G หรือมีสัญญาณต่ำมาก ไม่เร็วอย่างที่โฆษณา จนเรียกว่าแทบจะใช้งานไม่ได้ ยิ่งในต่างจังหวัดยิ่งไม่ต้องพูดถึงเพราะมีแค่บางจังหวัด แถมในจังหวัดที่มีก็มีแค่บางอำเภอเท่านั้น เมื่อเป็นแบบนี้การสมัครแพ็กเก็จที่มีบริการ 3G เสริมเข้ามาด้วยนั้นก็ไม่มีประโยชน์ แต่ถ้าใครที่อยากก้าวตามเทคโนโลยีอยากใช้ 3G ก็ศึกษาข้อมูลพื้นที่สัญญาณที่จะใช้ให้ดี ดูปริมาณที่กำหนดให้ใช้ได้ในแต่ละเดือน รวมถึงอัตราค่าบริการส่วนเกินหากมีการใช้มากเกินกว่าที่กำหนดไว้ในแพ็คเก็จ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------- วิธีปิดการใช้งานอินเตอร์เน็ตบนมือถือป้องกันไม่ให้เสียค่าบริการส่วนเกิน จากเชื่อมต่ออัตโนมัติในโทรศัพท์สมาร์ทโฟน AISปิดการใช้งานอินเทอร์เน็ต *129*1# โทรออกเปิดการใช้งานอินเทอร์เน็ต *129*2# โทรออกตรวจสอบสถานะการใช้งาน ปิด - เปิด EDGE/GPRS : กด *129# โทรออกAIS มีบริการควบคุมการใช้งาน EDGE/GPRS ให้มียอดค่าบริการสูงสุดไม่เกิน 1,500 บาทต่อเดือน (ไม่รวม VAT)   Dtac ปิดการใช้งานอินเตอร์เน็ต *140*71# โทรออกเปิดการใช้งานอินเตอร์เน็ต *140*72# โทรออกนอกจากนี้ Dtac ยังมีบริการ SMS แจ้งเตือนยอดการใช้งานอินเตอร์เน็ต ซึ่งจะแจ้งเตือนเมื่อใช้ครบ 10 บาท / 200 บาท / 500 บาท และ 1,500 บาท   True Move Hปิดการใช้งานอินเทอร์เน็ต โทร  *9399 กด 5 กด 3 (ค่าบริการครั้งละ 1 บาท)ซึ่งเบอร์ *9399 ยังเป็นเบอร์ที่ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์อีกหลายเรื่องเช่น ตรวจสอบยอดการใช้บริการ ยอดคงเหลือ ยอดส่วนเกิน สมัครบริการเสริม SMS แจ้งเตือนยอดคงเหลือ บริการควบคุมค่าใช้จ่าย------------------------- วิธีปิดการใช้งาน EDGE/GPRS ด้วยตัวเราเองในโทรศัพท์สมาร์ทโฟน 1.ระบบปฏิบัติการ IOS (ในโทรศัพท์ iPhone)เลือก Setting > General > Network > Cellular Data Off 2.ระบบปฏิบัติการ RIM (ใช้กับ Blackberry)วิธีที่ 1 เลือก Options > Mobile Network > Data Services > Offวิธีที่ 2 เลือก Manage Connection > Mobile Network Options > Data Services > Off 3.ระบบปฏิบัตรการ Androidเลือก Setting > Wireless & Networks > Mobile Network > Select the Data Roaming Check Box 4.ระบบปฏิบัติการ Windows Mobileเลือก Start > Comn Manager > Data connection > Off ที่มา : พลังคน พลังคลื่น ปีที่ 2 ฉบับที่ 10 กันยายน – ตุลาคม 2553, สำนักคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สมท.)http://www.it24hrs.com/2011/close-edge-gprs-setting/   เปรียบเทียบแพ็คเก็จรายเดือนสำหรับโทรศัพท์ iPhone ของแต่ละค่ายมือถือ AIS DTAC true ชื่อแพ็คเก็จ mini medium max Max plus S M L S M L ค่าบริการรายเดือน  (บาท) 279 519 839 899 449 580 699 399 579 799 โทรทุกเครือข่าย (นาที) 150 250 500 500 225 250 350 100 250 450 3G / EDGE (เมกะไบต์) 150 500 ไม่จำกัด ไม่จำกัด 100 ไม่จำกัด ไม่จำกัด 400 ไม่จำกัด ไม่จำกัด SMS (ครั้ง) 100 250 300 300 200 300 400 50 300 400 MMS (ครั้ง) 20 30 50 50 30 50 75 20 50 100 Wifi (ชั่วโมง) - - - ไม่จำกัด - - - 10 20 ไม่จำกัด ฟรีค่าบริการรายเดือน 6 เดือน เดือนที่ 19 - 24 4 เดือน เดือนที่ 21 - 24 3 เดือน เดือนที่ 10 - 12 6 เดือน เดือนที่ 19 - 24 6 เดือน หลังใช้มาแล้ว 18 เดือน     เปรียบเทียบแพ็คเก็จรายเดือนสำหรับโทรศัพท์ Blackberry ของแต่ละค่ายมือถือ   AIS DTAC true ชื่อแพ็คเก็จ BBM + Voice Call Chat + E-mail หรือ Facebook Internet 50 MB Internet 300 MB Unlimited BB Mini BB Mix BB Me BB Max BB Talk BB Social BB Net BB Unlimited ค่าบริการรายเดือน  (บาท) 300 300 450 500 799 179 249 299 790 300 300 450 799 โทรทุกเครือข่าย (นาที) 200 - - - - - - -   200 100 นาที ใช้ได้ 3 เดือนแรกที่สมัครแพ็คเก็จ SMS (ครั้ง) 10 - - - - 300 - - - - - - - Blackberry Massage P P P P P P P P P P P P P Chat - P P P P -   P P - - - - E-mail - เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง P P P - - P P - - P P Social Network (facebook, tweeter) - P P P - P P P - P P P 3G / EDGE (เมกะไบต์) - - 50 300 ไม่จำกัด - - - ไม่จำกัด - - 500 ไม่จำกัด Wifi (ชั่วโมง) - - - - ไม่จำกัด - - - - - 3 5 ไม่จำกัด สำรวจในช่วงเดือนมกราคม 2555 โปรโมชั่นอาจมีการเปลี่ยนแปลง อย่าลืมตรวจสอบอีกครั้ง

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 125 Call center ปฏิบัติการ โทรหาเธอวันละ 3 เวลา

  ฉลาดซื้อลงเรื่องทดสอบประสิทธิภาพของโทรศัพท์มือถือมาแล้วหลายครั้ง คราวนี้ขอลองทดสอบดูการให้บริการลูกค้าผ่านทางโทรศัพท์หรือคอลเซ็นเตอร์ ของแต่ละเครือข่ายดูบ้าง หลายคนคงอยากรู้ว่าคนอื่นๆ ที่เป็นลูกค้าของเครือข่ายอื่นๆ เขาต้องรอนานเหมือนเราหรือเปล่า  อาสาสมัครช่างโทรของเรา รับหน้าที่โทรเข้า Call center ของผู้ประกอบการโทรคมนาคม 3 บริษัท ได้แก่ AIS DTAC และTRUE MOVE วันละ 3 เวลา (09:00 น. 12:30 น. และ 20:00 น.) ในวันจันทร์ พุธ ศุกร์ เสาร์ และอาทิตย์ ในช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา มิใช่เพื่อการเม้าท์มอยด้วยความคิดถึง แต่เพื่อจับเวลาในการรอสาย   โดยเริ่มนับจากเวลาที่โทรติด จากนั้นฟังขั้นตอนต่างๆ จากระบบให้ข้อมูลอัตโนมัติของเครือข่าย จนกระทั่งได้ข้อมูลว่าต้องกดหมายเลขอะไรเพื่อติดต่อโอเปอเรเตอร์ และหยุดนับเวลาเมื่อโอเปอเรเตอร์รับสาย แต่ทั้งนี้อาสาสมัครจะวางสายเองถ้าต้องรอมากกว่า 5 นาที   จากการโทรเข้าคอลเซ็นเตอร์ของแต่ละบริษัท บริษัทละ 45 ครั้ง ทำให้เราได้ข้อมูลเรื่องระยะเวลาในการรอสายมาเล่าสู่กันฟังดังนี้   เวลาเฉลี่ยในการรอสายของแต่ละเครือข่าย1 นาที 15 วินาที  DTAC  1 นาที 59 วินาที  TRUE MOVE 2 นาที 39 วินาที  AIS   เวลาเฉลี่ยในการรอสายเมื่อโทรเข้าคอลเซ็นเตอร์ ในช่วงเวลาต่างๆ ของแต่ละเครือข่าย เวลา / เครือข่าย AIS DTAC TRUE MOVE 9:00 น. 3 นาที 03 วินาที 1 นาที 12 วินาที 1 นาที 46 วินาที 12:30 น. 1นาที 52 วินาที 1 นาที 49 วินาที 1 นาที 58 วินาที 20:00 น. 3 นาที 04 วินาที 1 นาที 56 วินาที 3 นาที 02 วินาที   • ถ้าคุณเป็นลูกค้า AIS เวลาที่เหมาะจะโทรปรึกษาคอลเซ็นเตอร์ คือช่วงเที่ยงๆ เพราะตอนเช้าและหัวค่ำนั้นคุณอาจจะต้องรอไม่ต่ำกว่า 3 นาที• ลูกค้า DTAC นั้นจะโทรเช้า เที่ยง หรือเย็นก็ไม่ต่างกันมากนัก แต่ข่าวดีคือรอไม่เกิน 2 นาที• ลูกค้า TRUE MOVE กรุณาอย่าโทรช่วงหัวค่ำเพราะต้องรอมากกว่า 3 นาที เปลี่ยนมาโทรช่วงเช้าหรือเที่ยงจะดีกว่า___  อาสาสมัครของเราทดลองโทรเข้าไปขอข้อมูลเรื่องการเปลี่ยนไปใช้บริการของเครือข่ายอื่น พบว่าแต่ละเครือข่ายยินดีให้ข้อมูลด้วยความเต็มใจ พูดจาสุภาพ และไม่พยายามจะตื้อให้เราใช้เครือข่ายเดิมต่อแต่อย่างใด ___ โพลล์ “ครอบครัวฉลาดซื้อ” รอสายกันนานไหมคราวนี้เราได้รับความร่วมมือจาก “ครอบครัวฉลาดซื้อ” สมาชิกฉลาดซื้อ และผู้เข้าร่วมการสัมมนาเรื่ององค์การอิสระผู้บริโภคที่โรงแรมเอเชีย ในวันคุ้มครองผู้บริโภค 30 เมษายน 2554 ทั้งหมด 275 คน ในการช่วยให้ข้อมูลเรื่องการรอสายรับบริการจากศูนย์บริการลูกค้าทางโทรศัพท์   ___  ผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด 275 คน• ร้อยละ 37 เป็นลูกค้าของดีแทค DTAC • ร้อยละ 35.8 เป็นลูกค้าของเอไอเอส AIS• ร้อยละ 24.2 เป็นลูกค้าของทรูมูฟ TRUE MOVE• ร้อยละ 3 เป็นลูกค้าของฮัทช์ HUTCHผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่ (ร้อยละ 87.5) ใช้บริการมาแล้วกว่าสองปี ___ • ร้อยละ 76.8 ของผู้ให้ข้อมูล เคยประสบปัญหาจากการใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ปัญหาเรื่องระบบสัญญาณ   ร้อยละ 59.5  ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับบริการเสริมต่างๆ  ร้อยละ 20 ปัญหาค่าบริการ    ร้อยละ 13.6 และปัญหาอื่นๆ     ร้อยละ 6.8   • การสำรวจครั้งนี้พบว่า  ทรูมูฟ มีลูกค้าที่เคยประสบปัญหา  ร้อยละ 82.8เอไอเอส มีลูกค้าที่เคยประสบปัญหา ร้อยละ 75.3ฮัทช์ มีลูกค้าที่เคยประสบปัญหา  ร้อยละ 75ดีแทค มีลูกค้าที่เคยประสบปัญหา  ร้อยละ 74.7  • สามอันดับปัญหายอดฮิตปัญหาเรื่องสัญญาณ  ร้อยละ 59.7ปัญหาเรื่องบริการเสริม  ร้อยละ 19.9ปัญหาเรื่องค่าใช้บริการ  ร้อยละ 13.4   • ร้อยละ 75.8 ของผู้ให้ข้อมูล เคยใช้บริการคอลเซ็นเตอร์ ของผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ ร้อยละ 34.2  รอสายประมาณ 3 ถึง 5 นาที ร้อยละ 32.9  รอสายน้อยกว่า 3 นาที ร้อยละ 21  รอสาย 5 ถึง 10 นาที ร้อยละ 11.9  รอสายเป็นเวลามากกว่า 10 นาที  ----ร้อยละ 12 ของผู้ตอบแบบสอบถามเคยรอสายมากกว่า 10 นาทีร้อยละ 38.5 ของคนที่เคยรอสายนานกว่า 10 นาทีเป็นลูกค้าของ TRUE MOVE ----

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 91 มือถือยี่ห้อไหน ใส่ใจสังคมมากที่สุด

ฉลาดซื้อเคยนำเสนอผลทดสอบโทรศัพท์มือถือกันไปแล้วในฉบับก่อนๆ คราวนี้ขอนำสมาชิกไปรู้จักเบื้องหลังการถ่ายทำของอุปกรณ์เหล่านั้นกันบ้างว่าบริษัทผู้ผลิตโทรศัพท์ดังกล่าวที่มีสาขาไปทั่วโลกนั้นได้แสดงความรับผิดชอบต่อสังคมในเรื่องของการให้ลูกจ้างได้มีสภาพการทำงานที่ดี การพยายามลดผลกระทบของการผลิตและตัวผลิตภัณฑ์ต่อสิ่งแวดล้อม และการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะกันอย่างไรบ้างสิ่งที่เรานำมาฝากผู้อ่านในฉบับนี้คือผลการสำรวจความรับผิดชอบต่อสังคม (หรือที่เรียกกันทั่วไปตอนนี้ว่า CSR ซึ่งย่อมาจาก Corporate Social Responsibility) ของผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือรายใหญ่ที่สุดของโลก 5 บริษัท ได้แก่ แอลจี โมโตโรลา โนเกีย ซัมซุง และโซนี อิริคสัน ที่ครอบครองส่วนแบ่งตลาดโลกถึงร้อยละ 75 และ 4 ใน 5 ของแบรนด์เหล่านี้ (โมโตโรลา โนเกีย ซัมซุง และโซนี อิริคสัน) มีส่วนแบ่งถึงร้อยละ 75 ของตลาดโทรศัพท์มือถือในยุโรป เจ้าภาพที่ทำการสำรวจครั้งนี้ได้แก่องค์กรยูโรคอนซูเมอร์ (Euroconsumers) ใช้วิธีการส่งแบบสอบถามไปยังบริษัทเหล่านั้น สัมภาษณ์ผู้รับผิดชอบด้าน CSR พร้อมกับศึกษารวบรวมข้อมูลจากสื่อและงานวิจัยต่างๆ ในระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2549 – มกราคม พ.ศ. 2550 คะแนนความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือรายใหญ่

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า150 Point

ฉบับที่ 162 ทำไมเครือข่ายผู้บริโภคจึงคัดค้านการแจกคูปอง 1,000 บาท กรณีกล่องดิจิตอลทีวี

วันนี้ ถ้าไม่พูดถึงเรื่องการแจกคูปองเพื่อให้ประชาชนไปแลกซื้อกล่องทีวีดิจิตอล ของ กสทช.  คงเชยแย่....   แต่เอ๊ะ! เรื่องดีๆ อย่างนี้ ทำไมมีทั้งคนสนับสนุน และคัดค้านมากมายจัง    ผู้บริโภคค้านการแจกคูปองราคา 1,000  บาท  เสนอให้กำหนดราคาคูปองเพียง 690 บาท   แต่ผู้ประกอบการทีวีดิจิตอล  กลับค้านการแจกคูปองราคา 690 บาท และสนับสนุนการแจกคูปองราคา 1,000 บาท  โอ้ย...มันกลับหัวกลับหางยังไงกันผู้บริโภคน่าจะดีใจที่ได้คูปอง 1,000 บาท  กลับไม่เอา   ได้มากก็ดีแล้วไง  ทำไมถึงมาค้าน เพราะอะไร?   โดยเฉพาะมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค  เป็น 2 องค์กรที่ออกมาคัดค้านเต็มเหนี่ยว  และโดนสังคมตั้งคำถามมากมายถึงการออกมาคัดค้านเรื่องนี้   ถามจริงๆ ก็ต้องบอกกันตรงๆ ว่า สาเหตุที่คัดค้าน คือ 1. ราคา และ  2. ขั้นตอนการแจกค้านทำไม?  ชัดๆ นะเพราะเงินที่จะนำมาใช้ในการแจกคูปอง  22  ล้าน ครัวเรือน ต้องใช้งบประมาณกว่า 2 หมื่นล้านบาท     แม้จะเถียงว่าเงินนี้ไม่ใช่เงินงบประมาณแผ่นดิน  แต่เป็นเงินที่ได้มาจากการประมูลคลื่นความถี่ ทีวีดิจิตอล(รัฐธรรมนูญกำหนดว่าคลื่นความถี่ “ถือว่าเป็นสมบัติชาติ”) เงินที่นำมาแจกคือเงินของประเทศ    ดังนั้นการใช้เงินนี้ต้องสุจริต โปร่งใส   และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนและประเทศชาติ    การแจก “คูปอง” ไม่ใช่ปัญหา  แต่ปัญหาคือ “การกำหนดราคาคูปอง”แล้วทำไม? เครือข่ายที่ทำงานด้านผู้บริโภค จึงสนับสนุนการแจกคูปอง 690 บาท  คำตอบคือ  เพราะราคากล่องดิจิตอล  500  บาท ผู้ผลิตผู้ขายก็มีกำไรแล้ว(มีบริษัทผู้ผลิตและนักวิชาการออกมายืนยันชัดเจน) การกำหนดราคาคูปอง 1,000 บาท เป็นการกำหนดราคาเกินจริง  คนที่ได้ประโยชน์ไม่ใช่ประชาชน !  เพราะกำหนดราคาที่ 1,000 บาท ผู้ขายกล่องก็จะอัพราคาให้สูงกว่าราคาคูปองอยู่ดี  จะเห็นได้ว่า ตอนแรกที่ กสทช. มีแนวจะกำหนดราคาคูปองที่ 690 บาท ราคากล่องในท้องตลาดเรายังหาซื้อได้ในราคา 600-700 บาท ตอนมีข่าวว่า กสทช.จะกำหนดราคาคูปองใหม่เป็น 1,000 บาท  ราคากล่องก็ขึ้นราคาไปที่ 1,200  บาท   แต่ถึงเวลาเคาะราคาจริงที่ 690 บาท  ราคากล่องก็เริ่มลงราคามาแล้วในหลายยี่ฮ้อ  คงเป็นคำตอบได้อย่างดีว่า  ไม่ว่าจะแจกคูปองราคาเท่าไร   เราก็ต้องจ่ายเพิ่มส่วนต่างอยู่ดี  คนที่ได้ประโยชน์พุงปลิ้น ไม่ใช่ผู้บริโภคประเทศไทยกำลังเข้าสู่โหมดแห่งการปฏิรูป   การปฏิรูป ก่อนอื่น เราต้องมองข้ามผลประโยชน์ส่วนตน   และต้องร่วมแรงร่วมใจรักษาผลประโยชน์ชาติ   ไม่ปล่อยให้เกิดการโกงด้านนโยบายซ้ำซากอีก   มหากาพย์คูปองดิจิตอลยังไม่จบ   ยังมีเรื่องวิธีการแจก  วิธีการจำหน่ายกล่องฯ  ใครจะมีสิทธิขายได้บ้าง จะเอื้อเพียงรายใหญ่  หรือรายเล็กรายน้อยก็มีสิทธิขายได้  ต้องติดตามตอนต่อไป  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 114 อย่าลืมปฏิรูป

เมื่อประมาณปลายเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ผู้เขียนได้มีโอกาสไปเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นเครือข่ายเพื่อนทีวีไทย (ผู้เขียนเป็นสมาชิกสภาผู้ชมผู้ฟังรายการทีวีไทย) ในหัวข้อรับฟังความคิดเห็นมีหัวข้อหนึ่งคือคนสุพรรณคิดว่ามีปัญหาอะไรบ้างในพื้นที่ที่ต้องพึ่งสื่อ และก็มีหลากหลายปัญหาที่ลั่งไหลออกมาจากเวทีนั้น แต่มีอยู่ปัญหาหนึ่งที่ฟังแล้วสะดุดหูมากเป็นเรื่องของคุณจันทร์(นามสมมุติ) เธอเล่าว่าเธอกำลังปลูกบ้านใหม่ เลยเข้าไปติดต่อที่ร้านโฮมโปรบางใหญ่และได้คุยกับเซลล์โดยตรง และมีการตกลงซื้อไม้รามิเนสซึ่งเซลล์บอกว่าเป็นไม้เยอรมัน และได้บอกขนาดของบ้านให้เซลล์ช่วยคำนวณไม้ให้ ว่าต้องซื้อจำนวนเท่าไร รวมถึงซื้อสินค้าอื่นๆ ในร้านด้วย รวมๆ แล้ววันนั้นคุณจันทร์จ่ายเงินล่วงหน้า ไปประมาณ 200,000 บาท โดยมีสัญญาว่าจะส่งมอบของให้ทั้งหมดภายใน 1 เดือน พอครบเดือนของยังไม่มาส่งคุณจันทร์ได้โทรทวงถาม คำตอบที่ได้คือ พี่ปรับพื้นหรือยัง(อ้าวทำไมไม่บอกว่าต้องปรับพื้นก่อนส่งของ)คุณจันทร์จึงตอบไปว่าอีก 15 วันมาส่งของได้เลย ผ่านไป 15 วันของก็ยังไม่มาส่ง จากนั้นก็โทรตามตลอด กว่าจะมาส่งของก็เล่นไป เกือบๆ 4 เดือน จึงมีความชัดเจนว่าจะนำของมาส่งและส่งช่างมาปูพื้นให้ตามสัญญา คุณจันทร์ก็บอกว่าไหนๆ จะมาส่งไม้ 80 ตารางเมตร จึงแล้วขอให้เอาไม้มาเพิ่มอีก 5 ตารางเมตร เผื่อไม่พอจะได้ไม่ต้องเทียวไปเทียวมา ปรากฎว่าของที่เอามาส่งไม่ตรงตามที่สั่งทั้งสีและลาย แต่ไหนๆ ก็มาส่งแล้วหยวนๆ แล้วกัน(นิสัยผู้บริโภคทั่วไป) และก็ไม่มีไม้มาเพิ่มตามที่ตกลงและสิ่งที่คุณจันทร์กังวลก็เกิดขึ้นจริงคือไม้ไม่พอ ขาด 5 ตารางเมตร ตรงนี้คุณจันทร์ร้องทุกข์ว่าอาจเป็นเทคนิคการขายสินค้าของร้านนี้ เพราะเมื่อไม่พอก็ต้องกลับไปเอาใหม่ และคิดค่าขนส่งเพิ่มอีกเที่ยวละ 1,500 บาท ฟังดูรู้สึกได้เลยว่าผู้บริโภคอย่างเราๆ เสียเปรียบไปทุกทาง เอาเงินเขาไปหมุนก่อนตั้ง 4 เดือน กว่าจะส่งของ(ผู้บริโภคเสียเปรียบตลอด) และยังมีการเอารัดเอาเปรียบเล็กๆ น้อยๆ ตอดนิดตอดหน่อยกันอีก แล้วเรื่องอย่างนี้เชื่อว่าไม่ได้เกิดขึ้นกับคุณจันทร์รายเดียว ผู้บริโภคอย่างเราๆ จะพึ่งใครได้ นอกจากต้องใฝ่คว้าหาความรู้เรื่องสิทธิผู้บริโภคด้วยตนเองเพิ่มขึ้นไม่อย่างนั้นก็ต้องตกเป็นเบี้ยล่างผู้ประกอบการอยู่อย่างนี้ร่ำไป คงต้องขอบอกดังๆ อีกครั้ง ว่าเราต้องการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ที่จ่อรอเข้าสภาผู้แทนมาตั้งแต่สมัยประชุมที่แล้ว(เป็นแม่สายบัวแต่งตัวเก้อไปแล้ว1สมัย)หวังว่า สมัยประชุมนี้จะไม่เบี้ยวกันอีกนะท่านนักการเมือง..... ไหนๆ ก็กำลังเข้าสู่กระแสการปฏิรูปฟีเวอร์กันแล้ว ก็ขอให้ ช่วยปฏิรูปให้เกิดความเป็นธรรมในทุกด้าน ด้วยนะ ท่าน นน....อะ-พิ-สิดดดดๆๆๆๆ

อ่านเพิ่มเติม >