ฉบับที่ 150 ทำไมต้องสนใจการเจรจาเอฟทีเอ ไทยกับสหภาพยุโรป

แล้วกระแสเรื่องการเจรจาเอฟทีเอระหว่างไทยกับสหภาพยุโรป ก็วนกลับมาสู่ความสนใจของสาธารณะอีกครั้ง หลังการเจรจารอบแรกเมื่อเดือนพฤษภาคม ที่จัดขึ้น ณ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม จบลงด้วยการที่ทั้งสองฝ่ายได้ทำความเข้าใจในข้อเสนอต่างๆ และย้ำเจตนารมณ์ที่จะพยายามสรุปผลการเจรจาให้ได้ภายในปี 2557 โดยจะมีการหารือในรายละเอียดมากขึ้นในการเจรจารอบสอง ซึ่งกำหนดให้มีขึ้นที่เชียงใหม่ ประเทศไทย ในระหว่างวันที่  16 – 20 กันยายน 2556 นี้ ในโลกที่ทุกประเทศต้องแข่งขันกันในด้านการค้าขาย แน่นอนว่าประเทศไทยไม่อาจเลี่ยงการค้าระหว่างประเทศได้ การส่งออกถือเป็นกลจักรสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย และเพราะเหตุที่ต้องแข่งขันเพื่อช่วงชิงความได้เปรียบไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเจาะตลาด การส่งเสริมการส่งออก และการทำให้อุปสรรคในการเข้าสู่ตลาดประเทศคู่ค้าลดน้อยลงนั้นต้องทำผ่านการเจรจาในเวทีระดับต่างๆ เอฟทีเอหรือความตกลงการค้าเสรี(Free Trade Agreement : FTA) ก็คือหนึ่งในเวทีการเจรจาที่สำคัญ เป็นระดับความสำคัญขนาดที่ว่ามีผลกระทบต่อความเป็นความตายของคนในประเทศเลยทีเดียว ช่วงหลายปีที่ผ่านมา ไทยได้ทำเอฟทีเอกับหลายประเทศ ไม่ว่าจะเป็นกับประเทศจีน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น อินเดีย ฯลฯ ซึ่งจากบทเรียนที่ผ่านมานั้น น่าจะทำให้เราได้ประจักษ์ในการเปลี่ยนแปลงเชิงเศรษฐกิจการค้าหลายประการ และขณะนี้เราก็มีความเสี่ยงที่จะต้องเผชิญกับสถานการณ์เดิมอีกครั้ง(อาจร้ายแรงกว่า) เมื่อจำต้องเร่งเปิดเจรจาเอฟทีเอกับสหภาพยุโรป ด้วยเหตุผลหลักๆ คือ เพื่อไม่ให้ภาคธุรกิจบางส่วนเสียหายเนื่องจากการเสียสิทธิ จีเอสพี(การให้ระบบสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร) ที่เคยทำให้ภาคธุรกิจนั้นได้เปรียบคู่แข่งขันจากชาติอื่นในการค้าขายกับสหภาพยุโรป   การให้ระบบสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร(Generalized System of Preferences) หรือ GSP เกิดขึ้นครั้งแรกภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เนื่องจากเกิดปัญหาภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ในคราวประชุมของคณะกรรมการว่าด้วยการค้าและพัฒนา (United Nations Conference on Trade and Development- UNCTAD) เมื่อปี 2507 ได้มีการเสนอให้มีสิทธิพิเศษ GSP ขึ้น เพื่อช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งต่อมาในคราวประชุม UNCTAD ปี 2511 ที่ประชุมจึงได้ยอมรับในระบบสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรหรือ GSP โดยกำหนดให้ระบบ GSP ที่ก่อตั้งขึ้นนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการส่งออก การพัฒนาอุตสาหกรรมและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลาย และอยู่บนหลักการพื้นฐาน 3 ประการ คือ เป็นการให้สิทธิโดยทั่วไป(Generalized) ไม่หวังผลตอบแทน(Non - recipocal) และไม่เลือกปฎิบัติ (Non-discrimination) สำหรับประเทศไทยนั้นใช้สิทธิพิเศษฯ GSP จากประเทศต่างๆ มาตั้งแต่ปี 2514   ถูกตัดสิทธิ จีเอสพี เหตุที่ไทยต้องเร่งเจรจาเอฟทีเอ “17 ธันวาคม 2555 คณะกรรมาธิการยุโรปออกระเบียบ Commission Implementing Regulation (EU) No 1213/2012 เพื่อประกาศรายการสินค้าตาม Section ที่จะถูกตัดสิทธิพิเศษทางภาษีภายใต้โครงการ GSP ใหม่ของสหภาพยุโรป ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2557 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2559” สหภาพยุโรป หรือ อียู เป็นตลาดใหญ่สำหรับสินค้าส่งออกจากไทย ขณะนี้กำลังจะตัดสิทธิพิเศษทางการค้า จีเอสพี (Generalised System of Preferences) ที่เคยให้กับไทยมาเป็นระยะเวลานานหลายปี การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ส่งผลกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของสินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปยุโรป เมื่อไทยถูกตัดสิทธิ จีเอสพี จึงเกิดคำถามขึ้นว่า แล้วสาขาอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจะเดินหน้าอย่างไร ซึ่งอันที่จริงแล้วมันมีหลายคำตอบเพื่อการปรับตัวสำหรับโจทย์นี้ แต่สิ่งที่ถูกหยิบมาก่อนมาตรการอื่นใด(ประสานเสียงกันทั้งภาคธุรกิจและรัฐบาล) คือ ไทยต้องเร่งเจรจา Free Trade Agreement (FTA) กับอียู เพื่อให้ได้สิทธิพิเศษทางภาษีครอบคลุมสาขาส่งออกสำคัญเช่นที่เคยได้รับตามระบบ จีเอสพี โดยทั้งภาคธุรกิจและรัฐบาลต่างเห็นพ้องกันว่า เป็นมาตรการที่จะช่วยลดผลกระทบจากการถูกตัด จีเอสพี ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ซึ่งในความเป็นจริงการเร่งรีบเจรจา เอฟทีเอ ระหว่าง ไทย-อียู นี้ไม่แน่ว่าอาจทำให้เสียมากกว่าได้...ก็เป็นได้ สินค้าส่งออกของไทยที่ถูกตัดสิทธิ GSP เรียงตามมูลค่าส่งออก 10 อันดับแรก ในปี 2555 (ม.ค.-พ.ย.) สินค้า มูลค่าส่งออกไปอียู (ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) สัดส่วนการพึ่งพาอียู (ร้อยละ) อัญมณีและเครื่องประดับ 1,501.7 11.8 ผลไม้กระป๋องและแปรรูป 347.0 24.4 ปลาทูน่ากระป๋อง 262.6 10.9 กุ้งแปรรูป 225.7 16.7 อาหารสัตว์เลี้ยง 132.9 13.1 ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและ อาหารสำเร็จรูปอื่นๆ 98.9 10.3 เนื้อสัตว์และของปรุงแต่ง ที่ทำจากเนื้อสัตว์ 63.3 23.2 ปลาแปรรูป 53.9 10.8 ผักกระป๋ องและแปรรูป 45.1 14.3 โกโก้และของปรุงแต่งที่ ทำจากโกโก้   15.0 20.4   ที่มา กระทรวงพาณิชย์ 10 มกราคม 2556 คนไทยรวยขึ้น ต้นเหตุสำคัญการถูกตัดจีเอสพีจากอียู ในวันที่ 1 ม.ค. 2557 อียูจะทำการทบทวนประจำปีเพื่อตัดชื่อประเทศที่มีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์ จากระบบ GSP โดยเน้นหลักการที่จะให้ประโยชน์เฉพาะประเทศที่มีความต้องการจริง หากประเทศไทยยังคงได้รับการจัดอันดับโดย World Bank ตาม GNI per capita ให้เป็น upper-middle income country อีกในปี 2556 นี้  เท่ากับว่าไทยจะครองตำแหน่งนี้ติดกันมาเป็นระยะเวลา 3 ปี ส่งผลให้ประเทศไทยกลายเป็นประเทศที่ไม่มีสิทธิได้รับสิทธิ GSP จากอียูอีก ไม่ว่าในสินค้าใดๆ โดยที่อียูให้เวลาปรับตัว 1 ปีหมายความว่าสิทธิ GSP จากอียูอาจจะหมดไปสำหรับทุกตัวสินค้าจากไทยในต้นปี 2558 วันที่ 4 ธันวาคม 2555 คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบร่างกรอบการเจรจา ความตกลงการค้าเสรีไทย – สหภาพยุโรป และได้มอบหมายผู้แทนการค้าไทย (ดร.โอฬาร ไชยประวัติ) เป็นหัวหน้าคณะเจรจา และเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2556 ที่ประชุมรัฐสภาร่วมฯ ได้มีมติเห็นชอบร่างกรอบการเจรจา กรอบการเจรจา ความตกลงการค้าเสรีไทย-สหภาพยุโรปจะครอบคลุมความ   ตกลงด้านการค้าสินค้า บริการ การลงทุน และความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ซึ่งการเจรจาอาจแยกเป็นรายฉบับ รวมทั้งภาคผนวกและเอกสารแนบท้ายที่จะมีการเจรจาเพิ่มเติมในภายหน้า สาระสำคัญครอบคลุม 17 ประเด็น 1)            การค้าสินค้า 2)            พิธีการศุลกากรและการอำนวยความสะดวกทางการค้า 3)            กฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า 4)            มาตรการเยียวยาทางการค้า 5)            มาตรการปกป้องด้านดุลการชำระเงิน 6)            มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช 7)            อุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า 8)            การค้าบริการ 9)            การลงทุน 10)          การระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐ 11)          ทรัพย์สินทางปัญญา 12)          การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ 13)          ความโปร่งใส 14)          การแข่งขัน 15)          การค้าและการพัฒนาที่ยั่งยืน 16)          ความร่วมมือ 17)          เรื่องอื่นๆ เมื่อพิจารณาจากกรอบการเจรจาที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ จะพบว่า การเจรจาเอฟทีเอ ไทย-อียูนี้ มีหลายประเด็นที่ไม่เคยเจรจาเปิดเสรีมาก่อนในเอฟทีเออื่นๆ ทั้งเป็นประเด็นที่มีผลกระทบสูง เช่น ทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับยา ทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพ การคุ้มครองการลงทุนที่เปิดโอกาสให้ใช้กระบวนการอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศในการระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐและเอกชน และสินค้าทำลายสุขภาพ เช่น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และบุหรี่ เป็นต้น        จึงทำให้เกิดประเด็นร้อนในสังคมขึ้นมาทันใดว่า รัฐบาลจะเร่งเจรจาไปเพื่อผลทางการค้าของสินค้าส่งออกไม่กี่กลุ่ม แล้วยอมละทิ้งผลประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่หรือ?   สิ่งที่จะเกิดขึ้น ถ้าไทยขาดความระมัดระวังในการเจรจา - ยารักษาโรคถูกผูกขาดยาวนานยิ่งขึ้น ยาราคาแพงจะคงอยู่ในตลาดยาโดยไม่มียาที่ถูกกว่าเข้ามาแข่งขัน ส่งผลให้คนจำนวนมากเข้าไม่ถึงยา เข้าไม่ถึงการรักษา เพิ่มภาระกับงบประมาณของประเทศ และระบบหลักประกันสุขภาพจะถูกสั่นคลอน  หากมีการยอมรับประเด็นทรัพย์สินทางปัญญาด้านยา - เปิดทางให้บรรษัทการเกษตรยักษ์ใหญ่เข้ามาผูกขาดเมล็ดพันธุ์ ต้นทุนการผลิตเกษตรกรรมและอาหารจะสูงขึ้นอย่างมาก หากยอมรับประเด็น ทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับทรัพยากรชีวภาพ - เปิดทางให้บริษัทธุรกิจการเกษตรขนาดใหญ่เข้ามาใช้ทรัพยากรธรรมชาติและลงทุน ทางการเกษตร ด้วยเงินทุนเทคโนโลยี และการเอื้อประโยชน์ทางนโยบายจากรัฐบาล เกษตรกรรายย่อยจะกลายเป็นแรงงานรับจ้างในที่ดินของตัวเอง อาหารถูกผูกขาดและถูกกำหนดราคาโดยบริษัทจากการเปิดเสรีการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรธรรมชาติและการเกษตร - ขณะที่ยารักษาโรคมีราคาแพง สินค้าที่มีอันตรายต่อสุขภาพของประชาชนจะได้รับการลดภาษีอย่างมโหฬาร เช่น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาสูบ จะมีราคาถูก กระตุ้นให้เกิดนักดื่ม-นักสูบหน้าใหม่ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะเป็นภาระโรคใน ระยะยาว และยังจำกัดอำนาจของรัฐในการออกนโยบายและมาตรการเพื่อควบคุมการบริโภค แอลกอฮอล์และยาสูบ - เอฟทีเอนี้ จะเป็นอุปสรรคสำหรับการกำหนดนโยบาย กฎหมาย และมาตรการต่างๆ  ไม่ว่าจะเป็นด้านสาธารณสุข, การคุ้มครองผู้บริโภค, ปกป้องสิ่งแวดล้อม, ช่วยเหลือเกษตรกร, อุดหนุนเอสเอ็มอี ด้วยกลไกที่เรียกว่า “กลไกการระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐและเอกชน” ที่เปิดโอกาสให้นักลงทุนต่างชาติฟ้องร้องผ่านอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ เรียก ค่าเสียหายจากงบประมาณแผ่นดิน หากรัฐบาลกำหนดนโยบายที่กระทบต่อการหากำไรของ บริษัทข้ามชาติ - ปิดกั้นการเข้าถึงความรู้ทั้งหนังสือและโลกออนไลน์ ผ่านเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาและการบังคับใช้กฎหมายที่เกินไปกว่าที่ตกลงไว้ ในองค์การการค้าโลก (WTO) ---------------------------------------------------------------------------------------------------------- เราไม่ได้ ค้าน FTA แต่เราต้องการ FTA ที่เป็นธรรมกับประชาชน และเป็นประโยชน์อย่างแท้จริงมากกว่า กรรณิการ์ กิจติเวชกุล FTA Watch “เรื่องของทรัพย์สินทางปัญญาไม่ได้มีแค่เรื่องยา แต่ยังมีเรื่องทรัพยากรชีวภาพอีกด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่ใหญ่มาก ดังนั้นสิ่งที่เรากำลังทำคือ ทำอย่างไรก็ตามเพื่อให้การเจรจา ผลของการเจรจาเป็นประโยชน์กับประชาชน กับสังคมมากที่สุด โดยที่พยายามลดผลกระทบทางลบให้น้อยที่สุดไม่ใช่เป็นเหมือนกับการเจรจา FTA ครั้งที่ผ่านๆ มา โดยต้องใช้ข้อมูล ใช้การศึกษา ใช้งานวิจัยให้มากที่สุด ถ้าอะไรเป็นผลกระทบไม่ควรจะยอมรับ อะไรที่ยังพอได้ก็ยังสามารถกำหนดระยะเวลาออกไปได้ เพื่อให้มีผลบังคับช้าหน่อย แต่อะไรที่ยอมได้และเป็นประโยชน์กับประเทศไทยก็ยอม แต่ไม่ใช่ว่าทุกอย่างขึ้นอยู่กับการกดดันของภาคธุรกิจเท่านั้น ปัญหาสำคัญของเรื่องนี้มาจากการที่ก่อนหน้านี้ประเทศไทยเป็นประเทศด้อยพัฒนา หรือกำลังพัฒนาระดับล่างๆ ทำให้ได้สิทธิพิเศษทางการค้า หรือ GSP หมายความว่าประเทศด้อยพัฒนาที่ส่งสินค้าไปขายจะเสียภาษีน้อยกว่า แต่เมื่อไหร่ที่เป็นประเทศพัฒนาแล้วจะไม่ได้รับสิทธิดังกล่าวอีก ต้องมีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม ซึ่งช่วงทศวรรษหลังนี้ประเทศไทย ธุรกิจของไทยมีศักยภาพสูงขึ้นมา ถือเป็นประเทศกำลังพัฒนาที่มีรายได้ระดับสูง 3 ปีติดต่อกัน และเรายังมีสินค้าจำนวนมากที่เคยได้สิทธิ GSP และไปครองตลาดเกิน 17.5% สินค้าบางประเภทที่เขากำหนดก็เกิน 14.5% สินค้าหลายตัวของไทยทยอยหมดสิทธิได้รับ GSP ไปแล้ว และที่ล็อตใหญ่ๆ จะหมดสิ้นปี 2557 เพราะฉะนั้นภาคธุรกิจควรจะปรับตัวเองก่อนหน้านี้ 3-4 ปีแล้ว เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงนี้ แต่กลับพบว่าภาคธุรกิจไทยไม่ยอมทำอะไรเลย แต่มาเรียกร้องและกดดันรัฐบาลไทยว่าต้องไปเจรจา FTA ให้แล้วเสร็จในปีครึ่ง ให้มันใช้ในวันที่ 1 ม.ค. 2558 เพื่อให้ได้ต่อสิทธินี้อย่างถาวร ซึ่งตรงนี้เราถือว่าเป็นความไม่ยุติธรรมอย่างยิ่งเพราะว่ามันจะทำให้การเจรจาด้อยประสิทธิภาพอย่างมาก อินเดียเป็นประเทศใหญ่กว่าประเทศไทย เจรจามาแล้วกว่า 5 ปี กับสหภาพยุโรปยังไม่ยุติ สิงคโปร์ขนาดเป็นประเทศเล็กเขายังเจรจาไป 3 ปีใกล้จะเสร็จแล้ว” โฟกัสมาที่เรื่องยาเพราะไม่ใช่แค่ผลทางธุรกิจแต่มีต่อสุขภาพของคนไทยด้วย ? “เรื่องยา เราต้องบอกว่ามีความพยายามของภาคธุรกิจเอกชนที่จะได้ผลประโยชน์จากการคง สิทธิ GSP พยายามร่วมมือกับสมาคมบริษัทยาข้ามชาติ ใช้คำเรียกยาชื่อสามัญว่าเป็นการทำปลอม ซึ่งน่าแปลกใจมากที่เขาใช้คำเดียวกับทูตสหภาพยุโรปประจำประเทศไทยใช้บอกกับ ผู้สื่อข่าวว่ายาชื่อสามัญของไทย หรือยาที่ใช้อยู่ในประเทศไทยเป็นยาปลอมจำนวนมาก แต่คำว่าปลอมของเขาจงใช้ในเรื่องของการปลอมทรัพย์สินทางปัญญา แต่คำว่ายาปลอมในบ้านเราเป็นยาปลอมเรื่องคุณภาพ ยาปลอมตาม พ.ร.บ.ยา ซึ่งพวกนี้ไม่สนใจ พยายามที่จะขยายนิยามออกมาเพื่อที่จะกีดกันยาชื่อสามัญไม่ให้เข้าสู่ตลาด ยาชื่อสามัญมีความสำคัญอย่างไร ก็ย้อนหลังกับไปเมื่อ 10 ปีก่อน ยาต้านไวรัสเอชไอวี มีการผู้ขาดเพียงเจ้าเดียว ทำให้ค่าใช้จ่ายต่อเดือน ต่อคนประมาณ 3-4 หมื่นบาท ตอนนั้นมีเพียงผู้ติดเชื้อที่อยู่ในโครงการทดลองเท่านั้นถึงจะได้ใช้ แต่เมื่อมีการผลิตได้มากขึ้น ประเทศบราซิลผลิตได้ อินเดียผลิตได้ ประเทศไทยผลิตได้ ราคาลดลงเกินกว่าครึ่ง และเมื่อเวลาผ่านมา เมื่อมีจำนวนผู้เข้าแข่งขันในตลาดมากขึ้นราคาก็ลดลง ปัจจุบันยา จีพีโอเวียร์ของเราอยู่ที่ประมาณ 700-800 บาทต่อเดือนเท่านั้น ในขณะที่ยาต้นแบบเองก็ลดลงเหลือเพียงไม่กี่พันบาท แบบนี้มันทำให้คนเข้าถึงยาเพิ่มขึ้น ซึ่งชัดเจนว่าสามารถช่วยชีวิตคนได้ เป็นกำลังสำคัญของครอบครัวเขาได้ต่อไป เรื่องนี้ทำให้เราเห็นว่ายาชื่อสามัญมีความสำคัญ เราไม่ได้คัดค้านระบบทรัพย์สินทางปัญญา ระบบทรัพย์สินทางปัญญาที่ให้สิทธิผูกขาดกับผู้คิดค้นนวัตกรรมที่มีความใหม่ และมีนวัตกรรมที่สูงขึ้น แต่สมควรได้รับในเวลาที่เหมาะสม ซึ่งการตกลงขององค์กรการค้าโลกระบุไว้ที่ 20 ปี แต่อยู่ๆ คุณบอกว่าจะมาขยายความคุ้มครองสิทธิบัตรออกไปอีก 5 ปี เนื่องจากความล่าช้าในการออกสิทธิบัตร และบวกความล่าช้าในการอนุมัติทะเบียนยา ซึ่งคุณไม่เคยไปดูเลยว่าความล่าช้านั้นเกิดจากเจ้าหน้าที่หรือเกิดจากผู้ที่ มาขอสิทธิบัตรหรือมาขอขึ้นทะเบียนยา ทั้งๆ ที่กรณีการขอสิทธิบัตรถ้าของดีจริง ได้สิทธิบัตรตั้งแต่วันที่ขอยื่นแล้ว ถ้าใครจะไปผลิต ถึงแม้จะยังไม่ได้สิทธิแต่สามารถยื่นโนติสไปให้ผู้ผลิตเหล่านั้นได้ ซึ่งบริษัทยาข้ามชาติในประเทศไทยก็ทำอยู่บ่อย เพียงแต่ถ้ายาของคุณไม่ได้คุณภาพจริง ไม่สมควรได้สิทธิบัตรจริง คนอื่นก็กล้าผลิตเพราะรู้ว่าไม่ได้เป็นการละเมิดสิทธิบัตร หรือแม้แต่กรณีที่มีบางคนอ้างว่าการขึ้นทะเบียนยาใช้เวลาถึง 13 ปีจึงอนุมัตินั้น คิดว่าตัวเลขนี้เป็นการโกหก ถ้าจริงออกมาบอกเลยว่าเป็นยาตัวไหน เพราะว่าจากงานวิจัยเราพบว่าบริษัทยาข้ามชาติที่มาขอสิทธิบัตรในประเทศไทย พยายามขอถ่วงเวลาในการให้กรมทรัพย์สินทางปัญญาตรวจ พยายามยืดเวลาออกไป 3-5 ปี เพราะรู้อยู่แล้วว่าในช่วงเวลานั้นถึงอย่างไรก็ได้รับความคุ้มครอง เพราะฉะนั้นก็ไม่รีบร้อนยื่นให้กรมทรัพย์สินทางปัญญาตรวจ ถ้ามีความล่าช้าในส่วนของผู้อนุมัติคุณก็ต้องไปเร่งกระบวนการอนุมัติ ไม่ใช่มาบอกว่าคุณควรต้องได้รับการขยายความคุ้มครองสิทธิบัตรออกไปอีก 5 ปี” จริงๆ แล้วของไทยใช้เวลาขอขึ้นทะเบียนนานแค่ไหน ? “มันไม่ได้นานขนาดนั้นหรอก อย่างขอขึ้นทะเบียนยาใช้เวลาเฉลี่ยประมาณ 1 ปี จะมีบางเคสที่ใช้เวลา 2 ปี แต่มีไม่เยอะ ซึ่งเรื่องนี้ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ชี้แจงได้ เขามีตัวเลขเหล่านี้ทั้งหมด ส่วนเรื่องการขอสิทธิบัตรจะอยู่ที่ 4-5 ปี ที่เป็นปัญหาแบบนี้ ก็อย่างที่บอกว่างานวิจัยพบว่าบริษัทที่มาขอสิทธิบัตรไม่ยอมยื่นจรวจสอบ คือยื่นขอแล้ว จะมีระยะเวลาที่จะมาขอยื่นตรวจสอบ หากไม่มาขอยื่นตรวจสอบ กรมทรัพย์สินทางปัญญาก็ไม่สามารถตรวจสอบได้ แล้วเขาก็ยืดเวลาออกไป 3-5 ปีอย่างนี้ ยืดจนสุดขีดของเขาเพราะรู้ว่าช่วงเวลานั้นจะได้รับการคุ้มครองถ้าสิทธิบัตร ของเขาดีจริง ฉะนั้นไม่ได้เป็นปัญหาจากหน่วยงานราชการของไทยเลย ซึ่งประเด็นนี้คนที่ไม่ได้อยู่ในภาคส่วนที่เกี่ยวกับยามักจะไม่รู้ และยังมีสมาคมบริษัทยาข้ามชาติพยายามไปกรอกหูคนเหล่านี้ให้มาพูดจาโกหก ประชาชน เป็นเรื่องที่เรารับไม่ได้ ยังไม่นับเรื่องที่คุณพยายามใช้ Data Exclusivity เพื่อที่จะได้ผูกขาดข้อมูลทางยา เพราะเมื่อไหร่ก็ตามที่มีบริษัทยาข้ามชาติมาขึ้นทะเบียนแล้ว ห้ามคนอื่นมาขึ้นทะเบียนเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 5 ปี จะอ้างว่าเป็นโมเลกุลใหม่ แต่กลับไม่มีระบุไว้ตรงไหนเลยว่าเป็นโมเลกุลใหม่ เนื้อหาคำขอที่ยุโรปยื่นให้อินเดีย ยื่นให้อาเซียนไม่มีคำขอใดบอกเลยว่าเป็นโมเลกุลใหม่ พวกนี้ต้องการใช้วิธีการนี้สำหรับตัวยาที่หมดสิทธิบัตรแล้วแต่ยังไม่ได้ขึ้น ทะเบียน ยาตัวใหม่ที่คิดค้นขึ้นกว่าจะมาถึงบ้านเราก็ช้ามาก การขึ้นสิทธิบัตรถ้าขึ้นช้าจะถือว่าเก่า เพราะฉะนั้นก็ต้องมาขึ้น กว่าที่ยาจะมา กว่าจะมาขึ้นทะเบียนยาก็เก่าแล้ว ถ้าไม่ใช้วิธี Ever greening หรือสิทธิบัตรต่อเนื่อง ไม่ใหม่มากแต่ก็มาต่ออายุไปเรื่อยๆ คือเป็นอีกระบบหนึ่งที่สามารถตั้งราคาได้โดยไม่มีผู้แข่ง เพราะเมื่อไหร่ที่มีคนมาแข่งราคาจะลดลงไปกว่าครึ่ง เพราะฉะนั้นสิ่งที่พยายามทำคือการขัดขวางบริษัทยาชื่อสามัญ และตอนนี้มีความพยายามที่จะบอกว่ายาชื่อสามัญในไทยไม่มีศักยภาพ ซึ่งคิดว่าคนที่ไม่ได้อยู่ในธุรกิจนี้คงจะเข้าใจผิด ในวงธุรกิจเดียวกันเขาเป็นที่ยอมรับว่าบริษัทยาชื่อสามัญในไทยมีศักยภาพ อย่างมาก และตอนนี้หลายเจ้าทำส่งขายในยุโรป สหรัฐอเมริกา รวมถึงทำให้กับบริษัทยาของญี่ปุ่นที่ส่งขายในประเทศไทยด้วย” มีข้อเสนอจากภาคธุรกิจว่า เมื่อเป็นกังวลเรื่องยาแพงก็ให้เจรจากันในเรื่องของยาแพง ถ้าหากประเทศไทยยอมตามข้อเรียกร้องของสหภาพยุโรป แล้วเจรจาในประเด็นเรื่องยาแพงอย่างเดียวจะเกิดผลอย่างไรกับประเทศไทย ? “เกิดผลกระทบแน่นอน ต้องบอกก่อนว่าคนที่พูดแบบนี้คือไม่เข้าใจระบบการควบคุมราคายาของประเทศไทย เลย ว่าบ้านเราไม่เคยมีระบบนี้อยู่ในประเทศ ดังนั้นเราจะไปคุมราคาเขาไม่ได้ มีแต่กรมการค้าภายในที่บอกว่าราคายาต้องไม่ขายเกินกว่าที่ระบุไว้ที่กล่อง แต่สามารถขายถูกกว่านี้ได้ บ้านเราไม่มีระบบควบคุมราคายา เพราะฉะนั้นการที่อ้างว่าไปเจรจา แล้วบอกเขาว่าหากได้ตรงนี้ไป จะต้องขายไม่เกินเท่านี้ๆ แต่คุณไม่มีกลไกอะไรเลยที่จะไปควบคุมเขา แล้วบอกไว้ก่อนเลยว่า หลัง FTA มีผลบังคับใช้กฎแบบนี้ออกไม่ได้ เพราะถ้าออกมาแล้วบริษัทยาสามารถเอาไปฟ้องร้องดำเนินคดีได้เลย เอาไปฟ้องร้องกับอนุญาโตตุลาการ เพราะฉะนั้นที่ผ่านมาการควบคุมราคายาของไทยคือ การที่เมื่อไหร่ก็ตามมีคู่แข่งขันในตลาดเพิ่มขึ้น ราคายาในตลาดจะลดลง หรือเขาใช้วิธีการซื้อจำนวนมากแล้วต่อรองราคายา แต่ว่าถ้าซื้อจำนวนมากแล้วมีขายแค่เจ้าเดียวก็ไม่ได้ลดราคาเหมือนกัน ประเทศไทยมีองค์การเภสัชกรรม (อภ.) ทำหน้าที่ผลิตยา จะมียาตัวใหม่ๆ ออกมาเพื่อยันราคายาที่หมดสิทธิบัตรแล้ว เพราะฉะนั้นสิ่งที่สหภาพยุโรปเรียกร้องอีกข้อหนึ่งคือการตัดแขนตัดขา อภ. คือให้ให้ยกเลิกกฎระเบียบให้ซื้อยากับ อภ.ก่อน ถ้าไม่เกิน 5% ซึ่งปกติโรงพยาบาลแทบไม่ได้ใช้กฎนี้แล้ว เพราะว่าเงินที่ได้รับจากสปสช.จะเข้าไปในลักษณะของเงินบำรุง ฉะนั้นจึงไม่จำเป็นต้องใช้กฎนี้  ดังนั้นข้อดีของการมี อภ.คือเอาไว้ยันราคา แต่ถ้าเมื่อไหร่ก็ตามที่ทำให้ อภ.ไม่มีสิทธิพิเศษใดๆ เลยไม่ว่าจะใช้หรือไม่ใช้ก็ตาม เมื่อนั้นเท่ากับว่าตัดแขน ตัดขา อภ. เช่นเดียวกับประเทศมาเลเซียที่เมื่อก่อนเคยมีองค์การเภสัชกรรมคล้ายกับบ้าน เรา แต่แปรรูปไป หลังจากนั้นยาในมาเลเซียแพงมาก ทุกวันนี้มีผู้ติดเชื้อและใช้ยาเรื้อรังในมาเลเซียมาซื้อยาในประเทศไทยเยอะ มาก เวลาที่คุณเป็นคนรวยมากๆ คุณไม่เข้าใจหรอกว่าคนเข้าไม่ถึงยาเป็นอย่างไร คนที่ผ่านช่วงเวลาเห็นเพื่อนล้มตายเป็นจำนวนมากทั้งๆ ที่มียาแต่มันแพงเกินไปมันผ่านมาแล้วทั้งนั้น ถึงต้องลุกมาบอกว่าไม่เฉพาะยาของผู้ติดเชื้อ แต่รวมถึงยารักษาโรคเรื้อรังอื่นๆ ด้วย และจะทำให้ระบบหลักประกันสุขภาพตาย เพราะว่าถ้าระบบหลักประกันสุขภาพไม่สามารถซื้อได้เพราะยาราคาแพง ระบบหลักประกันสุขภาพก็จะกลายเป็นประกันชั้น 2 ในที่สุดก็จะล้มเหลวถ้าไม่สามารถทำให้ประชาชนเชื่อมั่นได้ สิ่งที่ระบบหลักประกันสุขภาพต้องทำคือการต่อรองราคายาให้ถูก การที่มีภาคธุรกิจมาบอกว่าให้ต่อรองราคายาจากเขาลงนั้นเป็นไปไม่ได้ ย้อนหลังกลับไปเมื่อ 20 ปีก่อน ตอนนั้นสหรัฐอเมริกากดดันประเทศไทยให้แก้ไข พ.ร.บ.สิทธิบัตร ปี 2528-2535 โดยอ้างว่าจะตัดสิทธิ GSP ไทย พวกธุรกิจที่ส่งออกก็บอกว่าให้ยอมรับไปเถอะเดี๋ยวก็มีการควบคุมราคายาโดยคณะ กรรมการสิทธิบัตรด้านยา จนในที่สุดคณะกรรมการสิทธิบัตรด้านยาก็ถูกยกเลิกไป เพราะว่ามีความตกลงลับๆ ระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกาขณะนั้นว่า ความจริงจะให้ยกเลิกคณะกรรมการชุดนี้หลังจากที่ออกกฎหมายแล้ว ในที่สุดก็ไม่มีตัวควบคุมราคายา แต่คุณได้ประโยชน์จากการได้สิทธิ GSP และขณะนี้ 20 ปี ต่อมาคุณยังจะทำแบบนี้ใช่ไหม คือไม่เคยเลยที่จะคิดถึงประชาชนคนอื่น ไม่เคยเลยที่จะคิดว่าจริงอยู่ที่ธุรกิจของคนทำให้ประเทศชาติก้าวหน้า แต่ว่าผลประโยชน์มันต้องถูกแบ่งปันบ้าง คนที่ยากจนควรมีตาข่ายทางสังคมมารองรับ เราไม่ได้บอกว่าคุณเจรจา FTA ไม่ได้ คุณเจรจาได้ แต่อะไรที่มันเป็นผลกระทบระยะยาว งานวิจัยที่ชี้ออกมาว่าการผูกขาดข้อมูลทางยาทำให้เกิดผลกระทบ 8 หมื่นล้าน จากการขยายอายุสิทธิบัตรอีก 2 หมื่นล้าน ยังไม่นับเรื่องสิทธิบัตรพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ของประเทศอีกประมาณแสนล้าน ถามว่าตรงนี้ใครจะรับภาระ จะเป็นเรื่องผลได้กระจุก ผลเสียกระจายอีกใช่ไหม” จากสถานการณ์ที่คณะเจรจาถูกกดดันจากภาคธุรกิจทำให้ขณะนี้แนวโน้มของการเจรจาคาดว่าจะเป็นไปในทิศทางใด ? “ตอนนี้ต้องบอกว่าต้องแยกก่อนว่า เราจะเห็นความพยายามของหัวหน้าคณะเจรจาคุณโอฬาร ไชยประวัติ และกรมทรัพย์สินทางปัญหาให้ อย. ดูเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับยาเป็นหลัก แต่พี่คิดว่าว่าเขายังให้ดูน้อยเกินไป เพราะว่าดูแค่การขยายอายุสิทธิบัตรและการผูกขาดข้อมูลทางยา แต่ในความเป็นจริงแล้วสิ่งที่สหภาพยุโรปต้องการคือการแก้ไขการบังคับใช้ กฎหมายของไทยให้เข้มข้นขึ้น ให้ยึดจับยาได้โดยอ้างว่าเป็นเป็นยาปลอม หรือยาที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งจริงๆ แล้วถ้าเวลาที่บอกว่ายานี้เป็นยาที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ไม่สามารถดูได้ด้วยตาเปล่า ฉะนั้นทริปส์ไม่เคยกำหนดว่าให้สามารถยึดจับได้ เพราะว่าสิทธิบัตรต้องไปฟ้องร้องกันในชั้นศาล และดูถึงระดับโมเลกุล ใช้ตาดูไม่ได้ แต่สิ่งที่สหภาพยุโรปต้องการคือให้ยึดจับเลย ไม่ว่าจะละเมิดหรือยัง หรือเกือบจะละเมิดให้ยึดจับได้ ตามกระบวนการของศาลไทยหากจะมาร้องขอให้ยึดจับโดยอ้างว่าเป็นการละเมิด ทรัพย์สินทางปัญหา ไม่ว่าจะเป็นเครื่องหมายการค้า หรือว่าทรัพย์สินทางปัญญาต้องวางเงินประกัน เพราะศาลเกรงว่าอาจจะมีการกล่าวหาอย่างไม่สมเหตุผล เป็นการกลั่นแกล้งกัน แต่สหภาพยุโรปเขียนเลยว่า “ห้ามวางเงินประกัน” ถ้าเป็นอย่างนี้ก็ใช้วิธีรังแกเขาเลยสิ แถมยังบอกว่าสามารถหยุดได้ทั้งกระบวนการ ไม่ว่าจะเป็นคนส่งวัตถุดิบ คนส่งของ ร้านขายยา แล้วใครยังจะอยากขายยาชื่อสามัญอีก ทั้งที่จริงๆ ไม่ใช่ยาปลอม เพราะยาชื่อสามัญจะผลิตได้ก็เมื่อสิทธิบัตรยานั้นหมดอายุไปแล้ว พี่เลยเข้าใจเลยว่าตอนนี้ทำไมทั้งสหภาพยุโรป ทูตสหภาพยุโรป และสภาหอการค้าไทยและพรีม่าพยายามโจมตีเรื่องยาปลอม ทั้งที่จริงๆ เป็นข้อกล่าวหาที่ไม่มีมูลอยากมาก เพราะว่าเขาเอาไปรวมกับยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน ยาที่ลักลอบเอาเข้ามา ซึ่งตอนนี้อย.ไทย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ก็ตรวจจับอยู่แล้ว ตอนนี้เป็นปัญหามาก คิดว่าฝ่ายคณะเจรจาเขาเริ่มดูเรื่องพวกนี้มากขึ้น ทางอย.เขาพยายามที่จะทำเตรียมพร้อมรับการเจรจา และการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพที่ อย.ร่วมกับสำนักงานสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ร่วมกันทำ ตรงนี้ก็จะเสร็จประมาณเดือนก.ย. นี้ ครั้งนี้จะเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเจรจา FTA ไทย ที่มีงานศึกษาที่พร้อมมูลมากกว่าครั้งไหนๆ ที่ผ่านมา แต่ขึ้นอยู่กับว่าเราจะได้ใช้งานวิจัยพวกนี้ไหม ถ้าภาคธุรกิจยังมากดดันอยู่ทุกวันว่าต้องเจรจาให้เสร็จภายในสิ้นปีหน้า พวกนี้มันต้องเจรจากันอย่างรอบคอบ ถ้ารู้ว่ามีปัญหาอย่างนี้แล้วจะเขียนอย่างไรให้รอบคอบ เขียนหลบอย่างไรให้ผลกระทบเกิดน้อยที่สุด ซึ่งถามว่าทำได้ไหม ทำได้ เพราะอินเดียเจรจากับสหภาพยุโรปจนสหภาพยุโรปยอมที่จะไม่เรียกร้องการขยาย อายุสิทธิบัตร ไม่เรียกร้องการผูกขาดข้อมูลทางยาแล้ว ไม่เรียกร้องให้อินเดียเข้าอนุสัญญา UPOV 1991[1] ไม่เรียกร้องให้อินเดียเข้า สนธิสัญญาบูดาเปส ไม่เรียกร้องให้อินเดียเข้ากลไกระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐและเอกชน เหลือที่ยังยันกันอย

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 149 บันทึกมดงาน : เรื่องของข้าวสารถุง

“ฉลาดซื้อ” ฉบับนี้ ค่อนข้างพิเศษ เนื่องจากสิ่งที่เรานำมาทดสอบคราวนี้เป็นสินค้าที่อยู่ท่ามกลางกระแสที่ต้องถือว่าเป็น “เรื่องเล่าสนั่นเมือง” (talk of the town) ประเด็นนี้ร้อนขนาดที่ว่าเกือบ 2 เดือนแล้วยังมีเรื่องให้เป็นข่าวได้ตลอด ใบ้ให้อีกนิดว่าเป็นของที่คนไทยส่วนใหญ่ทานกันทุกวัน ติ๊ก.ต๊อก.ติ๊ก.ต๊อก รู้หรือยังครับว่าผมกำลังพูดถึงอะไร……ถูกต้องนะคร้าบ…ข้าวสารถุง นั่นเอง ซึ่งในเมื่อเป็นเรื่องร้อน มีหรือท่านผู้อ่านฉลาดซื้อจะไม่ได้รับข้อมูล งานนี้หัวหน้ากองบรรณาธิการบัญชาการด้วยตนเอง มีคำสั่งฟ้าผ่าเมื่อปลายเดือนมิถุนายนให้กระผมไปเก็บตัวอย่างข้าวสารถุงมาทดสอบหาความไม่ปลอดภัยมานำเสนอให้กับผู้บริโภคทุกท่านให้จงได้ งานนี้งานใหญ่ โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งฯ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและฉลาดซื้อ จึงเชื้อเชิญมูลนิธิชีววิถีและเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช(ไทยแพน) มาร่วมด้วยช่วยกัน(จ่ายเงินค่าทดสอบ) เพื่อตอบโจทย์สำคัญที่กำลังร้อนเรื่องข้าวมีสารเคมีปนเปื้อนหรือไม่   เมื่อบัญชามามีหรือกระผมจะนิ่งเฉย รีบจรลีไปเก็บตัวอย่างข้าวสารถุงจากซูเปอร์มาเก็ต และห้างโมเดิร์นเทรด ทั้งค้าปลีกและค้าส่ง 6 แห่ง ได้แก่ ห้างเทสโก้ โลตัส, ห้างบิ๊กซี, ห้างแมคโคร, ท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต, ฟู้ดแลนด์ ซูเปอร์มาร์เก็ต, และโฮมเฟรชมาร์ท, กับร้านสะดวกซื้อ 1 แห่ง คือ เซเว่นอีเลฟเว่น รวม 7 แห่ง ในบัดดล แต่ด้วยสินค้ามีเยอะจึงใช้เวลาพอสมควร งานนี้ดำเนินการระหว่างวันที่ 19 – 27 มิถุนายน 2556 ได้ข้าวถุงจำนวน 46 ตัวอย่าง แบ่งเป็น ข้าวหอมมะลิ 100% จำนวน 15 ตัวอย่าง และข้าวขาวกับข้าวหอมอื่น ๆ อีก 31 ตัวอย่าง โดยส่งตรวจหาคุณภาพข้าวสารถุงใน 5 ด้านที่สำคัญ คือ 1)การตรวจคุณภาพข้าวสารถุง ตามมาตรฐานข้าวสาร กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ 2)สารเคมีทางการเกษตร ยาฆ่าแมลง 2 กลุ่ม ได้แก่ ออร์กาโนฟอสเฟตและคาร์บาเมต 3) ยากันรา (fungicide) 4) สารรมควันข้าวเมธิลโบรไมด์ และ 5)  ข้าวสารถุงที่จำหน่ายในท้องตลาดสารพิษจากเชื้อรา – อะฟลาท็อกซิน กับห้องทดสอบที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO/IEC 17025 ผลการทดสอบ สองอาทิตย์ผ่านไป ตอนเช้าของวันที่ 12 กรกฎาคม 2556 รายงานผลทดสอบก็ออกจนได้ เราพบว่า…ทั้ง 46 ตัวอย่างไม่พบการตกค้างของยาฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตและคาร์บาเมต รวมทั้งไม่พบการตกค้างของยากันรา (fungicide)  อย่างไรก็ตาม พบการตกค้างของสารรมควันข้าวเมธิลโบรไมด์ในตัวอย่างจำนวนมาก ซึ่งมีข้อมูลโดยสรุปคือ ข้าวสารถุงร้อยละ 26.1 หรือจำนวน 12 ตัวอย่างไม่พบสารตกค้างทุกกลุ่ม ได้แก่ 1.ลายกนก ข้าวหอมมะลิแท้ 100%, 2.ข้าวพันดี ข้าวขาว 100% ชั้นดีพิเศษ, 3.ธรรมคัลเจอร์ ข้าวหอมคุณภาพคัดพิเศษ, 4.รุ้งทิพย์ ข้าวขาวเสาไห้, 5.บัวทิพย์ ข้าวหอม, 6.ตราฉัตร ข้าวขาว 15%, 7.ข้าวมหานคร ข้าวขาวคัดพิเศษ, 8.สุพรรณหงส์ ข้าวหอมสุรินทร์, 9.เอโร่ ข้าวขาว 100%, 10.ข้าวแสนดี ข้าวหอมทิพย์, 11.โฮมเฟรชมาร์ท จัสมิน ข้าวหอมมะลิ 100% และ 12.ชามทอง ข้าวขาวหอมมะลิ 100% มีข้าวสารถุง 34 ตัวอย่างหรือร้อยละ 73.9 ที่พบสารรมควันข้าวเมทธิลโบรไมด์ ตั้งแต่ 0.9-67 มิลลิกรัม/กิโลกรัมโดยตัวอย่างข้าวสารบรรจุถุงที่พบการปนเปื้อนสูงที่สุด คือยี่ห้อ โค – โค่ ข้าวขาวพิมพา พบการปนเปื้อนสูงถึง 67.4 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ซึ่งเกินกว่าเกณฑ์มาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ(codex) ที่กำหนดไว้ให้มีการตกค้างได้ไม่เกิน 50 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ข้อสังเกต ใน 34 ตัวอย่างที่พบการปนเปื้อนของเมธิลโบรไมด์ พบว่ามี 5 ตัวอย่าง ที่มีการตกค้างไม่เกินมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ แต่พบการตกค้างสูงกว่า 25 มิลลิกรัม/กิโลกรัมแต่ไม่เกิน 50 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ประกอบด้วย ข้าวแสนดี ข้าวหอม พบการปนเปื้อน 41 มิลลิกรัม/กิโลกรัม, ข้าวตราดอกบัว ข้าวเสาไห้ พบการปนเปื้อน 29.5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม, ข้าวตราดอกบัว ข้าวตาแห้ง พบการปนเปื้อน 28.9 มิลลิกรัม/กิโลกรัม, สุรินทิพย์ ข้าวหอมมะลิ พบการปนเปื้อน 27.6 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และข้าวถูกใจ ข้าวขาว พบการปนเปื้อน 27.5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม แม้ว่าการตกค้างส่วนใหญ่ที่พบจะไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานของ codex แต่ว่าในหลายประเทศมีการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานที่สูงกว่า codex เช่น อินเดียกำหนดไว้ไม่ให้เกิน 25 มิลลิกรัม/กิโลกรัม, จีน กำหนดไว้ที่ไม่เกิน 5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม, และไต้หวัน กำหนดไว้ที่ไม่เกิน 1 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ซึ่งเมื่อนำผลทดสอบครั้งนี้มาประกอบการพิจารณา หากเรานำตัวอย่างที่ทดสอบนี้ส่งไปขายต่างประเทศ จะมี 13 ตัวอย่าง (ร้อยละ 28) ที่ไม่สามารถส่งออกไปประเทศจีนได้ และจะมีสูงถึง 25 ตัวอย่าง (ร้อยละ 54) ที่ไม่สามารถส่งไปขายประเทศไต้หวันได้ สถานการณ์ปัจจุบันหลังการเผยแพร่ผลการทดสอบ ผลการทดสอบที่ผู้อ่านเห็นนี้ได้รับการเผยแพร่ผ่านสื่อมวลชนแขนงต่าง ๆ เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2556 และหลังจากนั้นก็มีการตอบสนองจากหน่วยงานรัฐโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ร่วมกับคณะกรรมการอาหารออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับใหม่ คุมสารเคมีรมควันข้าวโดยร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่...) พ.ศ.2556 เรื่อง อาหารที่มีสารพิษตกค้าง (ฉบับที่ 2) ซึ่งเป็นการปรับปรุงประกาศเดิมที่อาศัยอำนาจตาม พรบ.อาหาร พ.ศ.2522 โดยมีการเพิ่มชนิดและปริมาณสารพิษตกค้างจากวัตถุอันตรายทางการเกษตรในอาหารในบัญชีหมายเลข 1 เข้าไป 3 รายการให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล คือ ไฮโดรเจน ฟอสไฟด์ ให้มีปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุดไม่เกิน 0.1 มิลลิกรัมของสารต่อ 1 กิโลกรัมของอาหาร (มก./กก.) สารเมทิลโบรไมด์ ไม่เกิน 0.01 มก./กก. และสารซัลเฟอริล ฟลูออไรด์ ไม่เกิน 0.1 มก./กก. และจะเร่งจัดทำร่างให้แล้วเสร็จเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขลงนามส่งต่อเพื่อประกาศลงในราชกิจานุเบกษาให้มีผลบังคับใช้ทันที นอกจากนั้นยังได้ทำให้มาตรฐานการผลิตที่ดีขั้นพื้นฐาน (Primary GMP) กลายเป็นมาตรฐานบังคับ (จากเดิมเป็นแบบสมัครใจ) สำหรับข้าวบรรจุถุงและข้าวกระสอบแบ่งขาย และเร่งอบรมให้ความรู้กับเจ้าหน้าที่สำนักงานสาธารณสุขทั่วประเทศเพื่อให้พร้อมปฏิบัติการในพื้นที่ ด้านผู้ประกอบการ ได้มีการเก็บสินค้าล็อตที่มีปัญหาประมาณ 3,000 ถุง ออกจากท้องตลาดพร้อมประกาศให้ผู้บริโภคนำสินค้าคืนให้บริษัท ขณะที่ผมกำลังเขียนบทความนี้ เป็นวันที่ 19 กรกฎาคม 2556 ท่านผู้อ่านที่มีคำถามว่า เรื่องนี้จะจบอย่างไร และความปลอดภัยของข้าวสารถุงของพวกเราเหล่าผู้บริโภคทุกคนจะเป็นอย่างไรต่อไป คงต้องให้สมาชิก “ฉลาดซื้อ” ทุกท่าน คอยช่วยกันติดตามอย่างใกล้ชิดล่ะครับ   ภาคผนวก รู้จักเมธิลโบรไมด์ เมทิลโบรไมด์ มีชื่อเรียกอื่นว่าโบรโมมีเทน หรือดาวฟูม หรือเฮลอน 1001 เป็นสารควบคุมที่อยู่ใน Annex E (ยกเลิกการใช้ทั่วโลก) ของพิธีสารมอนทรีออล เป็นสารเคมีสังเคราะห์ ใช้ประโยชน์ในทางอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม อย่างกว้างขวาง  สำหรับประเทศไทยถูกกำหนดให้ยกเลิกการใช้ในปี 2558 นี้ สารนี้ มีสูตรทางเคมีว่า CH3Br เป็นก๊าซที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น มีอะตอมโบรมีนที่มีผลทำลายโอโซนได้มากกว่าคลอรีนถึง 30-60 เท่า และพบว่ามีปริมาณการปล่อยมากกว่า 40,000 ตัน หรือสองเท่าในทศวรรษที่ 80 และยังพบว่าปลดปล่อยจากแหล่งธรรมชาติ เช่น การเผาไหม้มวลชีวภาพถึง 30,000 – 50,000 ตัน/ปี และมากกว่าครึ่งของเมทิลโบรไมด์ที่ผลิตขึ้นจะถูกปล่อยสู่บรรยากาศ ในภาคเกษตร ใช้สำหรับป้องกันและกำจัดศัตรูพืชและสัตว์ โดยใช้รมควันในดิน ธัญพืช โกดัง และเรือ นอกจากนี้ยังใช้เป็นสารกำจัดไรและกำจัดวัชพืชด้วย ในภาคอุตสาหกรรม ใช้เป็นสารในการสังเคราะห์สารเคมีอื่นๆ สารตัวนี้ระเหยเข้าสู่บรรยากาศได้รวดเร็ว และแพร่กระจายสู่ชั้นบรรยากาศ แต่ในที่สุดก็จะกลับสู่พื้นโลกโดยมากับฝนหรือน้ำค้าง ส่วนใหญ่อันตรายต่อคนจะเกิดจากการหายใจเข้าไป ทำความระคายเคืองต่อปอด และเป็นพิษต่อระบบประสาท ทำให้เกิดการเสพติดได้ด้วย ค่ามาตรฐานที่ยอมรับได้ คือ 9 ไมโครกรัม/เดซิลิตร ความเป็นพิษในระยะสั้นจะมีอาการวิงเวียน คลื่นไส้ ปวดศรีษะ มองเห็นไม่ชัด พูดแบบลิ้นพันกัน ถ้าได้รับปริมาณเข้มข้นสูงภายใน 2-3 ชั่วโมงหรืออาจนานถึง 2-3 วัน จะมีอาการเจ็บหน้าอก ไอเป็นเลือด ผิวหนังเป็นผื่นพุพอง ถ้าได้รับระยะยาวระบบประสาทส่วนกลางจะถูกทำลาย มองเห็นไม่ชัด แขนขาชา อาจถึงกับหมดสติ เมื่อถูกผิวหนังจะเป็นแผลคัน หากกลืนกินจะกัดกระเพาะ ปัจจุบันอยู่ในสถานะ   ที่มา: ฐานความรู้เรื่องความปลอดภัยด้านสารเคมี ผู้เขียน รศ.สุชาตา ชินะจิตร 19 ก.ค. 2549  

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 148 20 เรื่องที่ไม่อยากให้คุณเป็นไทยเฉย

ไข่ไก่ 2013 คุณเคยสงสัยหรือไม่ว่าราคาไข่ไก่ มันสามารถสะท้อนความสามารถในการดูแลเศรษฐกิจของรัฐบาลได้จริงหรือ งานวิจัย*ที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างราคาไข่ไก่ (เบอร์ 3 เพราะเป็นขนาดที่คนนิยมบริโภคมากที่สุด) กับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน และอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ระหว่างเดือนมกราคม พ.ศ. 2542 ถึง เมษายน พ.ศ. 2554 และนำมาหาค่าความสัมพันธ์ระยะยาวด้วยวิธี Johansen Co-integration Test นั้น พบว่าไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทั้งสามเลย ส่วนสาเหตุที่ไข่ไก่นาทีนี้ราคาขึ้นไปถึงฟองละ 5 บาทนั้น ท่านว่ามีอยู่หลายอย่าง ตั้งแต่เรื่องที่คาดเดาได้ เช่น แพงเพราะต้นทุนเพิ่ม ไม่ว่าจะค่าแรง หรือราคาอาหารสัตว์ (ข่าวบอกว่าอาหารเลี้ยงไก่นั้นราคาสูงกว่าไข่ไก่ถึงร้อยละ 76) บ้างก็ว่าไข่ไก่แพงเพราะแม่ไก่อ่อนแอเป็นโรค จึงออกไข่ได้น้อยลง จากที่เคยทำได้ 300 ฟองต่อปี ก็ลดลงมาเหลือ 280 ฟองเท่านั้น  ไหนจะปัจจัยเรื่องลมฟ้าอากาศที่ทำให้แม่ไก่ร้อนอกร้อนใจ ไข่ไม่ค่อยออกอีก นอกจากนี้การที่เนื้อไก่อินเทรนด์เพราะราคาถูกกว่าเนื้อสัตว์ชนิดอื่นๆ ก็ทำให้แม่ไก่จำเป็นต้องเออลี่รีไทร์มาถูกขายเป็นไก่เนื้อเร็วขึ้น และการชะลอการนำเข้าพันธุ์ไก่ไข่เนื่องจากไข่ไก่ล้นตลาดเมื่อปีก่อนก็มีส่วนทำให้มีแม่ไก่ในกระบวนการผลิตน้อยลงเช่นกัน นี่ยังไม่นับไปถึงเรื่องของการมีอำนาจเหนือตลาดของผู้ประกอบการรายใหญ่เพียงไม่กี่รายและการเลี้ยงไก่ที่ทำในรูปแบบของเกษตรพันธะสัญญาที่อาจจะน่าวิตกกว่าเรื่องของราคาไข่ด้วยซ้ำ   เราลองข้ามโลกไปดูราคาไข่ไก่ที่ต่างประเทศกันบ้าง ที่อังกฤษนั้นไข่ไก่ก็ราคาสูงขึ้นถึงร้อยละ 40 เพราะผู้คนนิยมบริโภคไข่จากไก่ที่ไม่ได้เลี้ยงด้วยอาหารดัดแปรพันธุกรรม ประกอบกับข้อกำหนดการเลี้ยงไก่ของสหภาพยุโรปที่ให้มีการปรับปรุงสภาพกรงไก่ สำหรับไก่ไข่ยืนกรง จึงทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นด้วย ลืมบอกไปว่า ... เดือนกันยายนนี้เตรียมพบกับรายการไข่ไก่ซูเปอร์เซลกันได้ เพราะมีแนวโน้มว่าไข่ไก่จะล้นตลาดกันอีกแล้วพี่น้อง!! งานวิจัยปี 2554 โดย กิตติศักดิ์ เจิมสิทธิประเสริฐ ธนพร ศรียากูล และ ชยงการ ภมรมาศ   ไม่อ้วนเอาเท่าไหร่ เด็กไทยทุก 10 คน จะมีอย่างน้อย 1 คนที่เป็นโรคอ้วน ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เราได้เห็นความพยายามจากหลายฝ่ายในการช่วยกันหาวิธีจัดการกับปัญหาโฆษณาอาหารเด็ก วายร้ายที่มีส่วนทำลายสุขภาพเด็กไทย ความแรงของโฆษณาขนมขบเคี้ยว น้ำอัดลม ฟาสต์ฟู้ด สามารถสะกดจิตเด็กๆ ให้รบเร้าพ่อ – แม่จนต้องยอมควักตังค์ซื้อหามาเอาใจลูก และอาหารที่โฆษณาทางสื่อต่างๆ โดยเฉพาะหน้าจอทีวีนั้น ต่างอุดมไปด้วย น้ำตาล โซเดียม ไขมัน และพลังงาน ที่มากเกินพอดี ส่งผลเสียต่อสุขภาพเด็กทั้งฟันผุ เบาหวาน ความดันโลหิต แม้ประเด็นปัญหาโฆษณาอาหารสำหรับเด็กจะถูกยกให้เป็นเรื่องต้องจัดการเร่งด่วน แต่ในโลกของความจริง เด็กๆ ยังคงถูกกระตุ้นให้ตกเป็นทาสของอาหารทำร้ายสุขภาพอยู่ตลอดเวลา อย่างกรณีน้ำอัดลมที่มีผลสำรวจว่าร้อยละ 30ของเด็กอายุ 6 – 15 ปี ดื่มน้ำอัดลม 5 – 6 ขวดต่อสัปดาห์ และมีถึง ร้อยละ10 ที่ดื่มน้ำอัดลมทุกวัน สภาพปัญหาสะท้อนว่ามาตรการที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นการจำกัดปริมาณการโฆษณา การควบคุมช่วงเวลาการออกอากาศ ห้ามแจกของเล่นหรือชิงโชคในขนม ไม่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใดๆ ในทางที่ดีขึ้น สุดท้ายภาระก็คงตกอยู่ที่ผู้ปกครองที่ต้องดูแลลูกๆ หลานๆ อย่างใกล้ชิดแต่เพียงลำพังโดยขาดมาตรการสนับสนุนใดๆ จากรัฐ   BPA กับการเบี่ยงเบนทางเพศ การศึกษาวิจัยถึงอันตรายของ BPA ได้รับความสนใจและโต้เถียงกันยาวนานมาก กว่าจะเป็นที่ยอมรับในปี ค.ศ. 2009 ทำให้เกิดเสียงเรียกร้องถึงความปลอดภัยของผู้บริโภค เพราะ Bisphenol A (BPA) เป็นส่วนประกอบสำคัญของพลาสติกและเรซิน ชนิด polycarbonate ที่ใช้อย่างแพร่หลายในผลิตภัณฑ์ที่ใช้ประจำวัน ตั้งแต่เคลือบภายในกระป๋องอาหารจนถึงขวดนมทารก BPA เป็นสารรบกวนฮอร์โมนเพศ เอสโตรเจน ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อการทำงานของร่างกาย การได้รับสาร BPA จึงอาจส่งผลทำให้ฮอร์โมนทางเพศในร่างกายเกิดความผิดปกติก่อให้เกิดการเข้าสู่วัยรุ่นเร็วกว่าปกติ และส่งผลให้เกิดการเบี่ยงเบนทางเพศ โดยกลุ่มเสี่ยงสำคัญคือเด็กทารกและเด็กเล็ก ที่มีความสามารถในการกำจัด BPA ออกจากร่างกายได้ต่ำ หลายประเทศจึงสั่งห้ามผลิต นำเข้าและใช้ขวดนมที่ผลิตจากพลาสติกชนิด polycarbonate (PC) ไม่ว่าจะเป็นสหภาพยุโรป แคนาดา สหรัฐอเมริกา จีน มาเลเซีย แอฟริกาใต้ เกาหลีใต้ ยูเออี บางประเทศแม้ไม่ได้สั่งแบนแต่ผู้ผลิตพร้อมใจกันรับผิดชอบต่อสังคมโดยยกเลิกการผลิตและจำหน่ายขวดนมที่มีสาร BPA ได้แก่ ญี่ปุ่น ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ประเทศไทยหน่วยงานรับผิดชอบหลักอย่าง อย. สคบ. และสมอ. ยังศึกษาข้อมูลอยู่ โดยคุณแม่ไทยที่ต้องเลี้ยงลูกด้วยขวดนม ต้องใส่ใจใฝ่รู้กันเอาเอง เลี่ยงขวดนมพลาสติกได้ก็เลี่ยง เลี่ยงไม่ได้ให้ใช้ที่เขียนว่า BPA Free และรอมาตรการคุ้มครองผู้บริโภคจากภาครัฐอย่างมีความหวังต่อไป   จับได้...แต่ไล่ไม่ทัน  ใครที่บ้านติดเคเบิลทีวีหรือดูโทรทัศน์ผ่านจานดาวเทียม คงจะสงสัยเหมือนกันว่า ไอ้ช่องทีวีที่มีให้ดูเป็นร้อยๆ ช่อง ทำไมโฆษณาส่วนใหญ่ถึงได้มีแต่พวกอาหารเสริม ไม่แก้โรคสารพัด ก็เสริมความงาม หรือไม่ก็เสริมสมรรถภาพทางเพศ  เรียกว่าเปิดไปช่องไหนก็เจอ จากที่ไม่สนใจพอดูไปนานๆ อาจจะเคลิ้มเผลอตัวสั่งซื้อมาใช้ไม่รู้ตัว บ้านเรามีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องปัญหาโฆษณาอาหารเสริมที่เป็นปัญหาหลายฝ่าย ตั้งแต่ กสทช. สคบ. อย. สมาคมผู้ประกอบการเคเบิลทีวี และสมาคมโฆษณาไทย แต่การทำงานเหมือนจะยังประสานกันไม่ลงตัว เคเบิลทีวีจึงคงเป็นแหล่งทำเงินของพ่อค้าอาหารเสริม หนึ่งจุดสำคัญที่ทำให้บรรดาพ่อค้าผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพโม้สรรพคุณยังคงโฆษณาขายของกันอย่างคึกคัก ก็เพราะบทลงโทษผู้ทำผิดที่แสนจะน้อยนิด คือปรับแค่ 30,000 บาท สำหรับผลิตภัณฑ์ที่โฆษณาเกินจริง เมื่อปีที่แล้ว อย. ได้ตรวจจับสินค้าที่เข้าข่ายโฆษณาเกินจริงได้กว่า 1,000 รายการ มูลค่ามากกว่า 20 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นอาหารเสริมซึ่งขึ้นทะเบียนกับ อย. ถูกต้อง แต่ว่าพอไปทำโฆษณากับโอ้อวดสรรพคุณเกินจริง โม้กันไปใหญ่โต จริงๆ อย.เขาแค่ออกทะเบียนเพื่อรับรองว่ากินได้ไม่ตายเท่านั้นเอง เพราะฉะนั้นใครที่ยังปักใจเชื่อว่าอาหารเสริมที่มี อย. รับรองแล้วต้องเป็นของดี คงต้องคิดใหม่ทำใหม่   ทิ้งกันลง อีก 6 เดือนข้างหน้า  หากไทยเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีการออกอากาศโทรทัศน์จากระบบอนาล็อกไปสู่ระบบดิจิตอลได้ คาดว่าจะมีทีวี 20 ล้านเครื่อง ถูกทิ้งและกลายเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่อันตรายแก่ดาวโลก WEEE(Waste from Electrical and Electronic Equipments) เป็นศัพท์ที่หมายถึง ซากเครื่องใช้หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งใช้กระแสไฟฟ้าหรือสนามแม่เหล็กในการทำงานที่ไม่ได้ตามมาตรฐาน (off-spec) หรือหมดอายุการใช้งาน หรือล้าสมัย ซึ่งแบ่งเป็น 10 ประเภท ใหญ่ ๆ 1 ประเภทในนั้น ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ขยะจากทีวีเก่าเป็นสิ่งอันตรายมาก เพราะมีโลหะหนักทั้ง ตะกั่ว แคดเมียม ปรอท ฯลฯ ซึ่งหากได้รับการจัดการที่ไม่เหมาะสม อาจก่อให้เกิดการรั่วไหลสู่สิ่งแวดล้อมและกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ นอกจากขยะจากทีวีเก่า ขยะอิเล็กทรอนิกส์จากเครื่องใช้ไฟฟ้า หรือ แกดเจทยอดฮิต อย่าง โทรศัพท์ แทบเล็ต ก็ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของขยะที่เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วด้วย  เพราะผู้บริโภคมักเบื่อง่าย อะไรใหม่ก็รีบคว้าไว้ ทิ้งของเก่าให้เป็นขยะ ในยุโรปขยะอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มจำนวนขึ้นร้อยละ 3-5 ต่อปี  ซึ่งเพิ่มขึ้นรวดเร็วกว่าขยะประเภทอื่นถึง 3 เท่า เอเชียเองก็ไม่น้อยหน้าชาวโลก เพราะมีการทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ประมาณ 12 ล้านตันต่อปี ข้อมูล  : กรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ , ส่วนของเสียอันตราย, สำนักจัดการกากของเสียและสารอันตราย กรมควบคุมมลพิษ   ไม่มีสาย แต่มีเสี่ยง ข้อมูลล่าสุด ณ ปี ค.ศ. 2011 ระบุว่าร้อยละ 85 ของประชากรโลกมีโทรศัพท์มือถือใช้ (หกพันล้านเลขหมาย) และกำลังเพิ่มจำนวนขึ้นตลอดเวลา อันตรายจากการใช้โทรศัพท์มือถือนั้นเป็นที่ตระหนักกันมาได้ระยะหนึ่งแล้ว และที่มีหลักฐานชัดเจนที่สุดคือการเกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาวและเนื้องอกในสมองในเด็กเล็ก แต่ก็มีงานวิจัยที่ได้ข้อสรุปออกมาในทางตรงข้ามเช่น งานวิจัยของสมาคมโรคมะเร็งเดนมาร์คที่พบว่าอัตราการเกิดมะเร็งของกลุ่มตัวอย่างไม่เปลี่ยนแปลงจากช่วงก่อนมีการใช้โทรศัพท์มือถือ แม้ปัจจุบันมีมาตรการป้องกันอันตรายจากความร้อนที่ปล่อยออกมาจากเครื่องโทรศัพท์ เช่น มาตรฐาน ICNIRP (The International Commission on Non-Ionizing Radiation Protection) ที่ควบคุมระดับการแผ่คลื่นแม่เหล็กฯ จากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ให้อยู่ในระดับที่ไม่ทำให้เนื้อเยื่อของมนุษย์มีอุณหภูมิสูงขึ้น แต่ยังไม่มีมาตรการใดๆ ออกมารองรับ อันตรายอื่นๆที่อาจเกิดขึ้นในระดับดีเอ็นเอ และสิ่งที่น่ากลัวกว่าสัญญาณจากเครื่องโทรศัพท์ คือสัญญาณจากเสาส่งที่ถูกปล่อยออกมาตลอดเวลา แถมเสาสัญญาณเหล่านี้ อยู่ดีๆ ก็ผุดขึ้นมาแบบไม่ถามชาวบ้านชาวช่องเสียด้วย ถ้าจำกันได้ เมื่อต้นปีชาวบ้านที่พะเยาได้ออกมาเรียกร้องให้ผู้ประกอบการย้ายเสาสัญญาณออกไปตั้งห่างจากตัวหมู่บ้านอย่างน้อย 400 เมตร เรื่องจบลงที่ผู้ประกอบการถูกปรับ 9,000 บาท แต่ไม่มีการสั่งย้ายเสาแต่อย่างใด การดูแลจัดการเรื่องนี้ยังไม่ชัดเจน แต่ความต้องการสัญญาณคุณภาพ ความเร็วในการรับ/ส่งข้อมูล (ซึ่งเราเชื่อว่าจะมาพร้อมกับระบบ 3G) ก็ทำให้ผู้ประกอบการตอบสนองด้วยการเพิ่มจำนวนเสาสัญญาณขึ้นอีก ข้อมูลจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ระบุว่าขณะนี้มีจำนวนสถานีฐานของผู้ประกอบการเพื่อรองรับบริการ 3G ทั้งหมด 3,650 สถานีทั่วประเทศ แยกเป็น AIS 3,512 สถานี  DTAC 130 สถานี และTRUE Move H อีก 8 สถานี ว่าแต่เราสามารถลดการเพิ่มจำนวนเสาสัญญาณ ด้วยการให้ผู้ประกอบการใช้เสาสัญญาณร่วมกันเหมือนในบางประเทศได้หรือไม่? ที่ผ่านมาผู้ประกอบการให้เหตุผลเรื่องความคล่องตัว จึงต้องต่างคนต่างตั้ง แล้วใครจะช่วยไขข้อข้องใจผู้บริโภคได้บ้าง?   ค้าปลีก หลังจากยินข่าวว่าบริษัทเจ้าของกิจการร้านสะดวกซื้อรายใหญ่ของไทยเข้าซื้อกิจการห้างค้าส่งขนาดใหญ่แล้ว หลายคนอาจวิตกว่านี่อาจหมายถึงการใช้อำนาจผูกขาดที่ทำให้ทางเลือกของผู้บริโภคลดลง เพราะสองเจ้านี้รวมกันก็มียอดขายเกือบครึ่งหนึ่งของยอดขายจากกิจการค้าปลีกค้าส่งในประเทศแล้ว ข่าวดีคือคุณไม่จำเป็นต้องตกใจมากนัก เพราะเขาเป็นห้างคนละประเภทที่มีลูกค้าคนละกลุ่ม ข่าวร้ายคือทางเลือกของเราถูกจำกัดมานานแล้ว ปัจจุบันเรามีกิจการค้าปลีก 3 รายใหญ่ที่มีอำนาจต่อรองสูง และทั้งหมดถือว่าเข้าข่าย “มีอำนาจเหนือตลาด” ตาม พ.ร.บ.แข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 แต่ตามกฎหมายแล้วห้างเหล่านี้ยังไม่ได้กระทำความผิดใดๆ จนกว่าจะใช้อำนาจดังกล่าวกีดกันคู่แข่งไม่ให้เข้าสู่ตลาดได้ กระทรวงพาณิชย์จึงทำได้แค่จับตาดูอย่างใกล้ชิด สิ่งที่น่าห่วงไม่แพ้เรื่องของการผูกขาดคือ เรายังไม่ได้พูดถึงประเด็นเรื่องการค้าที่เป็นธรรมในขณะที่ห้างค้าปลีกเหล่านี้กำลังขยายสาขาออกไปอย่างต่อเนื่อง  ด้วยอำนาจการต่อรองสูง ผู้ประกอบการจึงสามารถกำหนดราคารับซื้อที่ต่ำมากๆ จากเกษตรกรหรือผู้ผลิตสินค้า ซึ่งอาจเป็นผลต่อความยั่งยืน เพราะบรรดาซัพพลายเออร์เหล่านี้อาจถูกบีบจนไม่สามารถทำธุรกิจต่อไปได้ หันไปดูรอบบ้านในอาเซียนกันบ้าง ข้อมูลจากธนาคารไทยพาณิชย์ระบุว่าประเทศไทยเราครองแชมป์ด้วยสถิติอัตราส่วนระหว่างจำนวนร้านค้าปลีกสมัยใหม่ 370 ร้านต่อประชากรในเขตเมือง 1 ล้านคน ในขณะที่สิงคโปร์และมาเลเซียตามมาติดๆ ที่ 293 และ 208 ร้าน  ส่วนเวียดนาม (ซึ่งมีประชากรมากกว่าไทย 1.2 เท่า) นั้นมีจำนวนร้านค้าปลีกสมัยใหม่น้อยกว่าไทยถึง 50 เท่า   แข่งกันขึ้นราคา ผ่านปี 2556 มาได้ครึ่งทาง สินค้าต่างๆ พาเหรดเดินหน้าขึ้นราคากันอย่างไม่บันยะบันยัง ไม่ว่าจะเป็นราคาน้ำมันเบนซิน แก๊สโซฮอล์ ที่ทยอยขึ้นมาแบบต่อเนื่อง ราคาตั๋วรถไฟฟ้า BTS ที่ปรับราคาขึ้นเมื่อวันที่ 1 มิ.ย. ที่ผ่านมา อ้อ ค่าทางด่วนด้วย ไม่นับรวมพวกสินค้าอุปโภคบริโภคอย่าง หมู เห็ด เป็ด ไก่ พืชผักผลไม้ ที่ขึ้นเอาๆ จนผู้บริโภคอย่างเราได้แต่นั่งมองตาปริบๆ ดูเงินหายไปจากกระเป๋าแบบทำอะไรไม่ได้ แถมแว่วๆ ว่าพอถึงเดือนกรกฎาคม ราคาก๊าซหุงต้มจะปรับเพิ่มขึ้นอีก กระทรวงพาณิชย์ออกมายอมรับตรงๆ ว่ามีเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับสินค้าราคาแพงเข้ามาที่หน่วยงานเป็นจำนวนมาก ขณะที่กรมการค้าภายในที่รับหน้าที่ดูแลราคาสินค้า ก็ถึงกับสะอึกเมื่อเห็นผลการสำรวจราคาสินค้า ที่ปรับขึ้นแทบจะทุกอย่าง โดยเฉพาะผักผลไม้ที่ราคาเขยิบขึ้นมากสุดที่ประมาณ 13.14% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว มองแง่ดี คราวนี้ล่ะเป็นโอกาสได้ผอมสมใจ ไม่ต้องเปลืองงบประมาณรณรงค์ลดอ้วนกันแล้ว   ปรับราคาก๊าซหุงต้ม รัฐบาลเอาแน่ หลังงึกๆ งักๆ กันมาได้ครึ่งปี 2556 นี้แล้ว กระทรวงพลังงานก็ประกาศเอาแน่ กรกฎาคมนี้ ราคาก๊าซหุงต้มต้องขึ้นแน่ๆ  จากที่ประกาศเสียงดังไว้ตั้งแต่ปีที่แล้ว โดยจะทยอยปรับขึ้นราคาก๊าซหุงต้มเดือนละ 50 สตางค์/กก. จากระดับปัจจุบันที่ 18.13 บาท/กก. ให้ขึ้นไปเท่ากับราคาก๊าซ LPG ในภาคขนส่งซึ่งอยู่ที่ระดับ 21.38 บาท/กก. แล้วค่อยพิจารณาการปรับขึ้นราคาทั้งภาคครัวเรือน และภาคขนส่งไปพร้อม ๆ กัน ให้ถึง 24.82 บาทต่อกิโลกรัม ถามว่ากระทบกับประชาชนไหม โถ จะถามทำไม? ไม่กระทบสิแปลก แม้รัฐจะพยายามหาวิธีช่วยบรรเทาปัญหาไม่ว่าจะเป็นการโอนเงินให้กับผู้ใช้ก๊าซ สูงสุดไม่เกินเดือนละ 36 บาท หรือใช้วิธีแจกบัตรส่วนลดเพื่อซื้อก๊าซหุงต้มในราคาเดิมให้กับพ่อค้าแม่ค้าหาบเร่-แผงลอย ก็คงช่วยอะไรไม่ได้มากเท่าไหร่ เพราะเป็นแค่มาตรการระยะสั้น หลอกให้สบายใจมากกว่า รัฐจะเอาเงินที่ไหนมาชดเชยให้ได้มากมาย ข่าวว่าทำโครงการอื่นขาดทุนไปหลายแสนล้านแล้ว ความจริงถ้าขึ้นราคาแล้วผลตอบแทนมันกลับมาช่วยคนส่วนใหญ่ในประเทศ คงไม่อึดอัดเท่ากับรู้ข้อมูลว่า ราคาก๊าซที่ปรับเพิ่มขึ้นทั้งหมดจะเป็นรายได้ของบริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) ในฐานะผู้ผลิตก๊าซรายใหญ่ที่สุดของประเทศ ผ่านทางธุรกิจโรงแยกก๊าซธรรมชาติและโรงกลั่นน้ำมันที่ ปตท. เข้าเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ เหมาะแล้วที่เขาออกมาตั้งคำถามกันมากมายว่า กระทรวงพลังงานไทยเพื่อใคร   นิยมเป็นหนี้ ? นอกจากเราจะได้มีโอกาสเป็นเจ้าของ “บ้านหลังแรก” และ “รถคันแรก” ของขวัญจากรัฐบาลชุดนี้แล้ว คนไทยยังได้ของแถมสุดพิเศษอีกหนึ่งชิ้น นั้นคือ “หนี้ก้อนแรก” ข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทยที่รวบรวมจากธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงินอื่นๆ เช่น สหกรณ์ออมทรัพย์ รายงานตัวเลข “หนี้ครัวเรือน” ของประเทศไทยในปี 2555 ภาระหนี้สินต่อครัวเรือนอยู่ที่ 439,490 บาท จากจำนวนครัวเรือนทั้งหมดราวๆ 20 ล้านครัวเรือน โดยหนี้สินครัวเรือนทั้งระบบคิดเป็นเงินถึง 8,818,217 ล้านบาท ตัวเลขหนี้ครัวเรือนนี้ขึ้นทุกปีและยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นได้อีกเรื่อยๆ แม้จะให้ภาพของการขยายตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศ ผู้บริโภคมีการใช้จ่ายมากขึ้น เข้าถึงแหล่งเงินทุนมากขึ้น แต่ก็เป็นไปในลักษณะการกู้ยืมกับสถาบันการเงิน เป็นการสร้างหนี้ และอาจส่งผลเสียหากไม่มีการบริหารจัดการหนี้ที่ดี ไม่สามารถชำระหนี้ที่เกิดขึ้นได้ ถ้าเป็นแบบนั้นระบบเศรษฐกิจทั้งระบบก็จะเจอปัญหา ผู้บริโภคขาดกำลังซื้อ หนี้ที่เกิดขึ้นก็จะกลายเป็นหนี้เสีย สำนักงานเศรษฐกิจการคลังได้แสดงตัวเลขสัดส่วนรายได้ทั้งประเทศและสินเชื่ออุปโภคบริโภคส่วนบุคคลในปี 2555 ที่ผ่านมา โดยรายได้ทั้งประเทศขยายตัวที่ 7.3% ขณะที่สินเชื่ออุปโภคบริโภคส่วนบุคคลขยายตัว 21.6% ชี้ให้เห็นว่าคนไทยเราก่อหนี้สูงกว่ารายได้ถึง 3 เท่า   TPP กับผู้บริโภค เดือนกรกฎาคมนี้ผู้แทนจาก 12 ประเทศในทวีปอเมริกาและเอเชียแปซิฟิก จะมีการเจรจาข้อตกลง  Trans-Pacific Partnership (TPP) หรือข้อตกลงความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจในภูมิภาคแปซิฟิก รอบที่ 18 กันที่ประเทศมาเลเซีย สหพันธ์ผู้บริโภคสากล (Consumers International) ได้แสดงความห่วงใยจากมุมมองของผู้บริโภคดังนี้ ทรัพย์สินทางปัญญา ข้อตกลงดังกล่าวจะยกระดับการคุมครองลิขสิทธิ์ให้เข้มกว่าที่องค์กรการค้าโลกยอมรับ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดการแข่งขันน้อยลง ในขณะที่ราคาสินค้าลิขสิทธิ์จะเพิ่มสูงขึ้น และงานสร้างสรรค์ที่มีความสำคัญต่อมนุษยชาติอาจไม่ได้รับการเผยแพร่ในเวลาอันควร ความเป็นส่วนตัว การลดระดับการคุ้มครองความเป็นส่วนตัวในการทำธุรกรรมทางอินเตอร์เน็ท หมายถึงผู้บริโภคมีสิทธิ์ที่จะถูกละเมิดความเป็นส่วนตัวมากขึ้น เพราะข้อมูลเหล่านี้อาจถูกนำไปเก็บไว้ในประเทศที่ไม่เข้มงวดเรื่องนี้ เช่นสหรัฐอเมริกา (ที่เพิ่งจะเป็นข่าวไปว่า แอบเก็บข้อมูลโทรศัพท์และการใช้อินเทอร์เน็ตของชาวบ้าน) เป็นต้น อาหารปลอดภัย ความตกลงนี้อาจมีผลต่อการควบคุมสารเคมีกำจัดศัตรูพืช อาหารดัดแปรพันธุกรรม ในประเทศต่างๆ เพราะมีตัวอย่างแล้วว่าข้อตกลงระหว่างประเทศเป็นอุปสรรคในการห้ามนำเข้าสินค้าที่ตนเองรู้สึกว่าไม่ปลอดภัย เช่นกรณีสหภาพยุโรปถูกองค์กรการค้าโลกลงโทษ เพราะห้ามนำเข้าเนื้อวัวปนเปื้อนฮอร์โมน เพราะยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ชี้ชัดถึงอันตรายจากการใช้ฮอร์โมนดังกล่าว นอกจากนี้บริษัทยังสามารถฟ้องร้องรัฐบาลได้ในศาลระหว่างประเทศ เช่นที่บริษัทฟิลลิป มอริส กำลังฟ้องรัฐบาลออสเตรเลีย ภายใต้ข้อตกลงการค้าระหว่างออสเตรเลียกับฮ่องกง กรณีที่ออสเตรเลียออกกฎหมายให้ซองบุหรี่ต้องเป็นซองที่ไม่มีสีสันดึงดูดใจ   หลัก(ไม่)ประกันสุขภาพ สุขภาพของคนไทยกว่า 50 ล้านคน ฝากไว้กับระบบหลักประสุขภาพถ้วนหน้า จากเดิมที่เป็นความหวังให้คนไทยที่ส่วนใหญ่เป็นคนที่มีรายได้น้อยให้มีโอกาสได้รับการรักษาพยาบาลอย่างมีมาตรฐานและเท่าเทียม แต่วันนี้ระบบหลักประสุขภาพถ้วนหน้ากำลังส่งสัญญาณที่ชวนให้ต้องเป็นห่วง กว่า 10 ปีที่ผ่านมา ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าต้องดำเนินงานโดยถูกปัญหาหลายอย่างรุมเร้า ที่ชัดที่สุดคือเรื่องเงิน ที่โรงพยาบาลของรัฐที่อยู่ในระบบหลักประกันถ้วนหน้าต่างต้องเจอกับภาวะขาดทุน เนื่องจากเงินกองทุนที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เป็นคนจ่าย ไม่เพียงพอกับภาระที่โรงพยาบาลต้องรับผิดชอบ แม้จะมีการให้ผู้เข้ารับการรักษากลับมาร่วมจ่าย 30 บาทอีกครั้งเมื่อปีที่แล้ว แต่ก็คงไม่ช่วยแก้ปัญหาได้มากนักเพราะเป็นการเรียกเก็บแบบสมัครใจ นอกจากนี้ยังมีปัญหาด้านคนทำงานที่ยังมีน้อยเมื่อเทียบกับจำนวนผู้เข้ารับบริการ รวมทั้งระบบข้อมูลสุขภาพที่ยังไม่ครอบคลุมทั่วถึง อีกปัญหาที่สำคัญคือความไม่โปร่งใสของผู้บริหารหลักประกันสุขภาพที่ส่งผลต่อการบริหารงานทำให้ระบบหลักประกันสุขภาพของคนไทยยังคงเต็มไปด้วยคำถามถึงความจริงใจจริงจังในการดูแลสุขภาพของคนไทย งานหนัก คนไข้มาก ยังเป็นอีกปัจจัยที่เร่งให้บุคลากรด้านสาธารณสุขในภาครัฐ หนีไปซบอกเอกชนที่จ่ายค่าตอบแทนสูง และงานหนักน้อยกว่า   การแพทย์เชิงท่องเที่ยว ช่วงเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมการแพทย์เชิงท่องเที่ยวของไทยเจริญเติบโตแบบก้าวกระโดดสุดๆ ถึงร้อยละ 13 ต่อปี จนอาจกล่าวได้ว่าไทยคือหนึ่งในผู้นำของธุรกิจนี้ จากข้อมูลประมาณการของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ระบุ จำนวนผู้ป่วยต่างชาติที่เข้ารับบริการการรักษาพยาบาลในประเทศไทย คือ 1.98 ล้านคน ปี 2553 และ 2.24 ล้านคน ปี 2554 ซึ่งเมื่อเทียบกับปี  2547 ที่มีประมาณ 1.1 ล้านคน นับว่าเพิ่มเป็นเท่าตัวในเวลาเพียงไม่นาน โดยร้อยละ 60 เป็นคนต่างชาติที่เข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศ และร้อยละ 30 เป็นกลุ่มที่ตั้งใจเดินทางมารับบริการทางการแพทย์โดยเฉพาะ การเติบโตนี้ส่วนหนึ่งเพราะรัฐบาลอำนวยความสะดวกเต็มที่  ล่าสุดคือการยกเว้นวีซ่าให้กับคนไข้และญาติที่จะเข้ามารักษาตัวในเมืองไทย สำหรับ 6 ประเทศในตะวันออกกลาง ได้แก่ คูเวต บาห์เรน โอมาน กาตาร์ ซาอุดีอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ด้วยเป็นลูกค้ากระเป๋าหนักและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ถ้าทำแล้วสำเร็จ รัฐยังเล็งเป้าเรื่องการยกเว้นวีซ่าให้กับประเทศที่มองว่าน่าจะเป็นกลุ่มลูกค้าชั้นดีอื่นๆ ด้วย จากการแพทย์เชิงท่องเที่ยวที่นำรายได้เข้าประเทศอย่างมากมายนี้ รัฐบาลจึงเร่งดำเนินโครงการเมดิคัลฮับอย่างต่อเนื่อง โดยเริ่มดึงเอาโรงเรียนแพทย์เข้ามาเปิดแข่งขันกับโรงพยาบาลเอกชนด้วย หลายฝ่ายเลยเกิดความกังวลขึ้นว่า ต่อไปประเทศไทยจะเกิดการรักษาสองมาตรฐานขึ้นหรือไม่ ระหว่างคนไทยที่ใช้ระบบประกันสุขภาพที่ยังมีปัญหา กับคนต่างชาติที่ได้รับการดูแลอย่างดีจากทรัพยากรทางการแพทย์ที่รัฐไทยและคนไทยเป็นผู้ลงทุน   “แคลิฟอร์เนีย ฟิตเนส” บทเรียนราคาแพง ผ่านมา 1 ปีกว่า การจัดการแก้ปัญหาเรื่องแคลิฟอร์เนีย ว้าว ฟิตเนส มาถึงตรงที่คณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ตรวจสอบแล้วว่าแคลิฟอร์เนีย ว้าว ฟิตเนส มีการกระทำที่เข้าข่ายกระทำความผิด ฐานฉ้อโกงประชาชน เพราะในช่วงเวลาที่กิจการมีปัญหาถูกประกาศล้มละลายจนต้องปิดให้บริการในหลายสาขา แต่ก็ยังพบว่าบริษัทได้โอนเงินออกไปต่างประเทศ โดยระหว่างที่ปิดให้บริการ แคลิฟอร์เนีย ว้าว ฟิตเนส ก็ไม่เคยออกมาแสดงความรับผิดชอบใดๆ ซ้ำยังมีการหักเงินค่าบริการผ่านบัตรเครดิตของลูกค้าอย่างต่อเนื่อง จากนี้ ป.ป.ง. ก็จะร่วมมือกับ สคบ. และกรมบังคับคดีเพื่อติดตามยึดทรัพย์นำมาเฉลี่ยชดเชยให้กับผู้เสียหายที่มีมากกว่า 1,700 ราย รวมความเสียหายแล้วสูงถึง 50 ล้านบาท กรณีแคลิฟอร์เนีย ว้าว ฟิตเนส ถือเป็นอุทาหรณ์ที่ดี สำหรับคนที่กำลังคิดจะทำสัญญาใช้บริการต่างๆ ที่ต้องมีการจ่ายเงินด้วยวงเงินสูงๆ และผูกพันสัญญากันระยะยาว เพราะเงินที่จ่ายไป ไม่ว่าจะด้วยความเชื่อมั่นในชื่อเสียงของเจ้าของบริการ หรือถูกชักจูงหว่านล้อมจนยอมจ่าย เงินของเราอาจหายไปในพริบตาหากเจอผู้ประกอบการที่ไร้จริยธรรม   แบนสารเคมีการเกษตร ความพยายามอยู่ที่ไหน ไทยเรานำเข้าสารเคมีการเกษตรสูงเท่ากับตึกใบหยก 2 หรือประมาณ 520,000 ตัน คิดเป็นเงินมากกว่า 2 หมื่นล้านบาท โดยสารเคมี 4 ชนิด คาร์โบฟูราน เมโทมิล ไดโครโตฟอส และ อีพีเอ็น ซึ่งจัดเป็นกลุ่มที่อันตรายร้ายแรงรวมอยู่ในนั้นด้วย จากความพยายามของกลุ่มนักวิชาการและเกษตรกรที่รวมตัวกันเพื่อเสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องยกเลิกการขึ้นทะเบียนสารเคมีเกษตรอันตราย 4 ชนิดข้างต้น ที่ผ่านมาเกือบใกล้จะเป็นความจริงแล้ว หากไม่ถูกคณะกรรมการวัตถุอันตรายที่มีปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นประธานบอก “ไม่รับรองการขอยกเลิกการขึ้นทะเบียน” ไปเสียก่อน ท่านคณะกรรมการฯ ผู้ทรงคุณวุฒิทั้งหลายท่านไม่เชื่อข้อมูลที่กรมวิชาการเกษตรจัดทำมาประกอบการเสนอให้ยกเลิก แถมยังให้มีการตั้งคณะทำงานขึ้นใหม่เพื่อให้ภาคเอกชนบริษัทนำเข้าสารเคมีนำข้อมูลมาแย้งกับข้อมูลของกรมวิชาการเกษตร แล้วมีหรือที่บริษัทนำเข้าสารเคมีจะทำข้อมูลเพื่อให้สินค้าของตัวเองถูกแบน เป็นเสมือนการเปิดช่องให้บริษัทสารเคมียังขายสินค้าได้ต่อไปในระหว่างที่ยังรอการนำเสนอข้อมูล เอาน่า ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น กลุ่มรณรงค์ยังคงต้องทำงานกันต่อไปเพื่อผลักดันให้เกิดการยกเลิกการขึ้นทะเบียนสารเคมีอันตราย ซึ่งถ้าการยกเลิกการขึ้นทะเบียนเป็นผลเมื่อไหร่ ก็หมายถึงผู้บริโภคจะได้รับประทานอาหารที่ปลอดภัยจากการปนเปื้อนสารเคมีมากขึ้นไปด้วย   แร่ใยหิน แม้ปัจจุบันไทยได้ยกเลิกการใช้แร่ใยหินชนิดต่างๆ ไปหมดแล้ว แต่ตัวที่ร้ายที่สุด คือแร่ใยหินชนิดไครโซไทล์ หรือ ไวท์ แอสเบสตอส ยังมีวางจำหน่ายอยู่ ซึ่งอาจจะมีคนไทยป่วยเป็นมะเร็งเยื่อหุ้มปอดอย่างน้อย 1,295 คนต่อปี จากแร่ใยหิน หากยังฝืนใช้กันต่อไป มีหลักฐานทางการแพทย์ชิ้นใหม่ๆ ออกมาสนับสนุนอยู่ตลอดเวลาว่า แร่ใยหิน ชนิดไครโซไทล์ (Chrysotile)  เป็นส

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 147 ชวนกันเตรียมความพร้อมเข้าสู่ยุคทีวีดิจิตอล

คาดว่าในระยะปีหรือสองปีต่อไปนี้ การรับชมโทรทัศน์ของคนไทยจะเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่อีกครั้ง จากที่เคยดูฟรีทีวี(ช่อง 3,5,7,9,11 และไทยพีบีเอส) ได้เพียง 6 ช่อง คนไทยจะสามารถดูฟรีทีวีได้ถึง 48 ช่อง ด้วยภาพและเสียงที่คมชัดในระบบดิจิตอล นับเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ อาจเทียบได้กับเมื่อครั้งที่เราเปลี่ยนจากการรับชมทีวีภาพขาวดำเป็นทีวีภาพสี ซึ่งการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้คือการก้าวเข้าสู่โลกของ “ทีวีดิจิตอล” นั่นเอง การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้ต้องนับว่าเร็วมาก จนหลายคนอาจจะตามไม่ทัน และเริ่มมีความกังวลกับ  "ทีวีที่บ้านของตัวเอง" ว่าจะยังรับชมรายการได้ตามปกติหรือเปล่า? แล้วจะซื้อทีวีใหม่ตอนไหน? แล้วทีวีดาวเทียมกล่อง Set top Box ที่มีอยู่เต็มบ้าน ถ้าเปลี่ยนเป็นระบบดิจิตอล จะดูได้หรือไม่ จะต้องเปลี่ยนอีกหรือเปล่า? หลากหลายคำถามที่เกิดขึ้น หลายคนก็ยังไม่รู้คำตอบ เอาเป็นว่า เรามาเตรียมความพร้อมไปกับฉลาดซื้อด้วยกันเลย   Time line การออกอากาศรายการโทรทัศน์ไทย เริ่มออกอากาศรายการโทรทัศน์ในระบบขาวดำเป็นครั้งแรกในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม พ.ศ. 2498 โดยใช้ชื่อว่า "สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 บางขุนพรหม" พัฒนาจากโทรทัศน์ระบบขาวดำมาสู่โทรทัศน์ระบบสี พ.ศ. 2510 คนไทยสามารถรับชมโทรทัศน์(ฟรี)ได้ 6 ช่อง ภายใต้ระบบสัมปทานผูกขาดยาวนาน โดยบริษัทและหน่วยงานรัฐไม่กี่หน่วยงาน เกิด กสทช. ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 47 ปี พ.ศ. 2550 ทำหน้าที่จัดสรรคลื่นโทรทัศน์เพื่อความเหมาะสมของประเทศ(ยกเลิกการผูกขาด) ปลายปี 2556 การออกอากาศรายการโทรทัศน์จะเริ่มเปลี่ยนจากสัญญาณระบบอนาล็อก(ภาพ-เสียงไม่คมชัด)เป็นสัญญาณระบบดิจิตอล(ภาพ-เสียงคมชัด) ปี 2558 จะสามารถรับชมรายการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลได้ถึง 48 ช่อง   อะไรคือ “ทีวีดิจิตอล” ที่ผ่านมาการรับชมรายการโทรทัศน์ผ่านช่องฟรีทีวี ไม่ว่าจะเป็น ช่อง 3,5,7,9,11 และไทยพีบีเอส โดยอาศัยเพียงการใช้เสาอากาศแบบก้างปลาหรือหนวดกุ้ง เราจะพบปัญหาเรื่องภาพและเสียงที่ไม่คมชัด บางทีภาพก็เป็นเงาซ้อนๆ กัน หรือเป็นเม็ดแตกพร่าบนหน้าจอโทรทัศน์ รวมทั้งเสียงที่ไม่ชัดเจน นั่นก็เป็นเพราะว่า การส่งสัญญาณของสถานีโทรทัศน์ทั้ง 6 ช่องนั้น ยังเป็นการส่งสัญญาณภาพและเสียงด้วยระบบเก่า(เทคโนโลยีเดิม) ที่เรียกว่า การส่งสัญญาณระบบอนาล็อก ซึ่งหากต้องการแก้ปัญหาเรื่องความไม่คมชัดของภาพและเสียง จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีใหม่ในการส่งสัญญาณที่เรียกว่า ระบบดิจิตอล หรือ โทรทัศน์ดิจิตอล การส่งสัญญาณด้วยระบบดิจิตอลไม่เพียงช่วยให้ภาพเสียงคมชัดเท่านั้น ยังทำให้สามารถเพิ่มช่องสำหรับการรับชมรายการโทรทัศน์ได้มากขึ้นด้วย ขนาดที่ว่าจากเคยทำได้แค่ 6 ช่อง สามารถเพิ่มได้สูงสุดถึง 48 ช่อง การส่งสัญญาณโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลนั้น ประเทศอื่นๆ ทั่วโลกเขาทำกันไปนานแล้ว ส่วนประเทศไทยเพิ่งเข้าที่เข้าทางและ กสทช. ได้ประกาศถึงการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้นเมื่อต้นปี 2555 และคาดว่าไทยพร้อมจะเข้าสู่ยุคทีวีดิจิตอลเต็มรูปแบบในปลายปีนี้หรือต้นปีหน้า (ตอนนี้สถานีไทยพีบีเอส สถานีโทรทัศน์ช่อง 5 ก็เริ่มทดลองส่งสัญญาณการออกอากาศในระบบดิจิตอลไปแล้ว)   ปัจจุบันภาคการส่งและรับสัญญาณรายการโทรทัศน์ในประเทศไทย มี 3 รูปแบบ คือ 1.ระบบแพร่ภาพภาคพื้นดิน (DVB-T the Digital Video Broadcasting - Terrestrial System) หรือการรับชมฟรีทีวี (ช่อง 3 5 7 9 11และไทยพีบีเอส) ในปัจจุบัน ซึ่งกำลังจะเปลี่ยนจากสัญญาณอนาล็อกเป็นดิจิตอล 2.ระบบแพร่ภาพผ่านสายเคเบิลทีวี (DVB-C the Digital Video Broadcasting - Cable System) รับชมรายการผ่านกล่องรับสัญญาณที่มาทางสายเคเบิล เป็นการให้บริการแบบบอกรับสมาชิก ผู้ชมต้องจ่ายค่าแรกเข้าและบริการรายเดือน 3.ระบบแพร่ภาพผ่านดาวเทียม (DVB-S The Digital Video Broadcasting - Satellite System) รับชมผ่านกล่องรับสัญญาณดาวเทียม โดยครั้งแรกจะต้องมีการติดตั้งจานดาวเทียมพร้อมกล่องรับสัญญาณ หรือปัจจุบันมีขายเฉพาะกล่องสัญญาณ(โดยผ่านจานดาวเทียมอะไรก็ได้ที่ติดตั้งไว้ก่อนแล้ว) ส่วนใหญ่เมื่อติดตั้งครั้งแรกแล้ว จะไม่มีค่ารายเดือนอีก เว้นแต่มี คอนเทนต์พิเศษ ที่ต้องเข้ารหัสเก็บเงินค่าดู     สิ่งที่ผู้บริโภคต้องเตรียมสำหรับการรับชมทีวีดิจิตอล เนื่องจากโทรทัศน์ในประเทศไทยใช้ระบบอนาล็อกมาโดยตลอด อุปกรณ์เครื่องรับโทรทัศน์ที่เราใช้จึงเป็นระบบอนาล็อกทั้งหมด เมื่อจะมีการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิตอล ไม่เพียงทางผู้ประกอบการหรือสถานีจะต้องเปลี่ยนระบบการส่งสัญญาณเท่านั้น เราในฐานะผู้บริโภคหรือผู้รับชมรายการก็จะต้องลงทุนเพิ่มด้วย ซื้อกล่องแปลงสัญญาณ กรณีที่ไม่อยากเปลี่ยนเครื่องรับโทรทัศน์ใหม่ เราต้องซื้อกล่องแปลงสัญญาณ หรือ Set top Box (หน้าตาคล้ายๆ กล่องเวลาดูโทรทัศน์ดาวเทียมหรือเคเบิล) เพื่อต่อกับเครื่องรับโทรทัศน์เก่าของเรา 1 กล่องต่อ 1 จุดรับชม(เครื่องรับ) ถ้าบ้านท่านมีทีวี 3 เครื่องก็ต้องซื้อ 3 กล่อง คาดว่า ราคาน่าจะไม่เกิน 800 บาท (ต้องจุดนี้ทาง กสทช. กำลังออกมาตรการมาช่วยเหลือผู้บริโภคโดยการออกคูปองส่วนลดเพื่อซื้อกล่อง Set top Box แต่ยังไม่ฟันธงแน่ชัด ต้องตามข่าวกันต่อไป) ซื้อโทรทัศน์เครื่องใหม่ที่รองรับการดูทีวีระบบดิจิตอลได้ กรณีนี้ก็ไม่ต้องหาซื้อกล่องแปลงสัญญาณ หรือ Set top Box มาเสริมให้ยุ่งยาก ซื้อเครื่องรับโทรทัศน์ใหม่เลย แต่ต้องเลือกที่มีระบบรองรับการดูทีวีดิจิตอลเท่านั้น   --------------------------------------------------------------------------------------------------------   การเลือกซื้อโทรทัศน์ใหม่เพื่อดูทีวีดิจิตอล ณ ปัจจุบันเครื่องรับโทรทัศน์ในบ้านเรายังไม่มีระบบรองรับสำหรับการดูทีวีดิจิตอล แต่เชื่อแน่ว่าเมื่อประเทศไทยเข้าสู่ยุคทีวีดิจิตอลเต็มรูปแบบ ผู้ผลิตก็พร้อมนำเทคโนโลยีใหม่ติดไว้ในเครื่องรับโทรทัศน์อย่างแน่นอน สำหรับระบบทีวีดิจิตอลบ้านเรา กสทช. ได้เลือกให้นำระบบของยุโรป หรือ “DVB-T2” มาเป็นมาตรฐานระบบโทรทัศน์ดิจิตอลภาคพื้นดินของประเทศ ดังนั้นหากจะเลือกซื้อโทรทัศน์ใหม่(ที่กำลังจะมาขายในอนาคต) ถ้าต้องการให้รับชมทีวีดิจิตอลได้เลย โดยไม่ต้องผ่านกล่อง Set top Box ต้องตรวจดูว่า โทรทัศน์เครื่องนั้นมีระบบ “DVB-T2” หรือเปล่า เครื่องรับโทรทัศน์ บ้านเราปัจจุบันมี 3 แบบ แบ่งออกเป็นของจำเป็นพื้นฐานกับของพิเศษ(คล้ายๆ กับ มือถือธรรมดากับสมาร์ทโฟน) ได้แก่ - ทีวี-จอแก้ว , จอพลาสม่า LCD , LED ทั่วไป ล้วนแต่มีภาครับเป็นระบบอนาล็อก ถ้าจะดูระบบดิจิตอลต้องมีกล่อง set-top-box มาต่อพ่วง - ทีวี.ดิจิตอล, จอพลาสม่า LCD  LED  ที่เปลี่ยนภาครับเป็นระบบดิจิตอลแล้ว (อีกไม่นานจะมาครองตลาด ราคาก็พอ ๆ กับ กลุ่มข้างบน) สองอันนี้จัดเป็นของจำเป็นพื้นฐาน - สมาร์ท-ทีวี อันนี้เป็นทีวีที่รวมความสามารถของสมาร์ทโฟน-แท็ปเล็ต-และทีวี เข้าด้วยกัน ถ้าจะดูทีวีดิจิตอลด้วย ก็ต้องมีระบบรองรับ  “DVB-T2”   ถ้าที่บ้านดูโทรทัศน์ผ่านเคเบิลหรือดาวเทียมอยู่แล้วต้องซื้อกล่องเพิ่มอีกไหม 12 ล้านครัวเรือนไทย ดูทีวีผ่านดาวเทียมกับเคเบิล ซึ่งเยอะกว่าคนที่รับชมฟรีทีวี ผ่านเสาหนวดกุ้ง ก้างปลาเพียงอย่างเดียวที่มีอยู่ประมาณ 10 ล้านครัวเรือน กลุ่มที่ดูผ่านเคเบิลหรือดาวเทียม ไม่จำเป็นต้องซื้อกล่องแปลงสัญญาณเพิ่มแต่อย่างใด ท่านสามารถรับชมรายการในกลุ่มฟรีทีวี 48 ช่องได้เลย อย่างไรก็ตามคุณภาพอาจไม่ดีเท่า เพราะทีวีดิจิตอลนั้นมีหลายช่องที่ออกอากาศด้วยระบบ HD แต่เมื่อชมผ่านดาวเทียมหรือเคเบิล คุณภาพอาจไม่ได้มาตรฐาน HD   ช่องหรือสถานีเดิม ช่อง 3,5,7,9,11 และไทยพีบีเอส จะยังดูได้อีกไหม ในช่วงแรกของการเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบดิจิตอลเราจะยังคงมีสถานีโทรทัศน์ช่องเดิมๆ  ที่เราดูอยู่ให้ติดตามต่อไปอีกหลายปี(ประมาณ 10 ปี) แต่สิ่งที่เราได้เพิ่มขึ้น คือ มีช่องใหม่ๆ รายการใหม่ๆ ให้เลือกรับชมมากกว่าเดิม โดยเมื่อก้าวเข้าสู่ยุคทีวีดิจิตอลแล้ว รายการโทรทัศน์ต่างๆ จะมีความหลากหลายขึ้น การออกอากาศรายการโทรทัศน์จะดำเนินควบคู่กันไปทั้งระบบอนาล็อก(6 ช่อง) และดิจิตอล(48 ช่อง) บ้านไหนไม่ต้องการซื้อกล่อง  Set top Box หรือซื้อทีวีใหม่ ก็สามารถรับชมรายการทั้ง 6 ช่องได้เหมือนเดิม แต่ถ้าได้รับชมทั้งสองแบบแน่นอนว่า ทีวีดิจิตอลที่คมชัดกว่า มีรายการให้เลือกมากกว่า ก็จะทำให้เกิดการเปรียบเทียบได้เอง   -------------------------------------------------------------------------------------------------------- เมื่อช่อง 3,5,7,9,11 และไทยพีบีเอส จะไม่ใช่ช่องเดิมอีกต่อไป กสทช. มีคลื่นโทรทัศน์สำหรับการออกอากาศด้วยระบบดิจิตอลอยู่จำนวน 48 ช่อง โดย กสทช. ต้องทำหน้าที่จัดสรรคลื่นให้กับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนนำไปใช้ประโยชน์ ตามแผนของ กสทช. ได้แบ่งสัดส่วนทั้ง 48 ช่องเป็น 3 ประเภท คือ ประเภทบริการสาธารณะ 12 ช่อง ประเภทบริการชุมชน 12 ช่อง และประเภทบริการธุรกิจ 24 ช่อง ช่อง 3,7,9 เดิมนั้น จะเข้าข่ายประเภทบริการธุรกิจ(เพราะขายโฆษณาหากำไรเป็นหลัก) ผู้ประกอบการทั้ง 3 ช่องนี้ต้องไปประมูลใบอนุญาตแข่งกับผู้ประกอบการรายอื่น ซึ่งถ้าประมูลได้(คงได้แหละ) ก็จะไม่ได้เลขช่องในเลข 3,7,9 เหมือนเดิมอีกแล้ว เพราะ กสทช. กำหนดช่องประเภทบริการธุรกิจให้เริ่มต้นที่ช่อง 13-36 (ใครประมูลสูงสุดได้เลือกก่อน) ส่วน ช่อง 5 ช่อง 11 และช่องไทยพีบีเอส ตามกฎหมายจะได้เข้าไปอยู่ในประเภทบริการสาธารณะโดยไม่ต้องไปแข่งกับใคร แต่ช่อง 5 กับ ช่อง 11 ต้องปรับผังรายการให้เข้ากับนิยามหรือเงื่อนไขของประเภทบริการสาธารณะ หลักๆ คือ ไม่มีโฆษณา ซึ่งช่องที่ได้รับการจัดสรรสำหรับโทรทัศน์ประเภทบริการสาธารณะคือ ช่อง 1-12 (ตอนนี้เดากันว่า ช่องไทยพีบีเอส คงได้เลข 1 ไปครอง) ทำไมต้องเปลี่ยนจากทีวีอนาล็อกเป็นทีวีดิจิตอล ถ้าประเทศไทยไม่รีบเป็นทีวีดิจิตอลภายในปีสองปีนี้ จะส่งผลกระทบอย่างน้อย 2 ประการคือ 1. ผู้ให้บริการ-ผู้รับบริการมีความเสี่ยงที่จะไม่มีอุปกรณ์คุณภาพดีใช้งานภาย หลังปี 2558 เนื่องจากทั่วโลกจะเริ่มยกเลิกการผลิตในระบบอนาล็อก ส่งผลให้อุปกรณ์มือสองจากทั่วโลกจะหลั่งไหลเข้ามาขายในไทยแต่อุปกรณ์มือหนึ่งจะหาได้ยากขึ้น 2. ทีวีดาวเทียมและเคเบิลทีวีจะเติบโตอย่างต่อเนื่องและมีการเข้าถึงผู้บริโภค ได้ถึง 90% ของครัวเรือนไทยภายในปี 2558 จากปัจจุบันที่มีอัตราการเข้าถึงผู้บริโภคอยู่ที่ 50-60% ทำให้ดิจิตอลทีวีที่เกิดขึ้นในภายหลังอาจไม่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภค และลดความน่าสนใจในการลงทุน   ทีวีดิจิตอลมีข้อเสียหรืออะไรที่ต้องระวัง ข้อเสียสำคัญคือ ผู้บริโภคต้องจ่ายเงินเพิ่ม เพราะเราต้องซื้อกล่องแปลงสัญญาณต่อกับทีวีเครื่องเก่าหรือซื้อทีวีเครื่องใหม่ ซึ่งเป็นต้นทุนเพิ่มเติมของผู้บริโภค ข้อที่ต้องระวังมากๆ คือ การมีทีวีระบบดิจิตอล ทำให้มีสถานี รายการ และเนื้อหาเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิมหลายเท่าตัว ยิ่งทำให้ยากในการกำกับดูแลไม่ให้เกิดการเอาเปรียบผู้บริโภค เช่น การโฆษณาผลิตภัณฑ์อันตราย ผลิตภัณฑ์หลอกลวง ต้องจุดนี้ต้องมีระบบการป้องกันและลงโทษที่เข้มแข็ง และผู้บริโภคต้องช่วยกันเฝ้าระวัง //

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 146 ผู้ป่วย คือผู้บริโภคใช่หรือไม่ ?

  เมื่อเร็วๆ นี้ มีผู้ตั้งข้อสงสัยว่า ผู้ป่วย เป็นผู้บริโภคหรือไม่  เพื่อประโยชน์ในทางวิชาการ ผมจึงได้แปลคำพิพากษาฎีกาของอินเดียมาให้พิจารณากัน  และอยากจะให้ผู้อ่านพิจารณากันว่า  ทุกวันนี้ เรามีโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่ให้บริการฟรีแก่ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นคนจนหรือคนรวยหรือไม่  ทุกวันนี้มีผู้ป่วยที่อยู่ในสวัสดิการของรัฐก็ดี ผู้ป่วยประกันสังคมก็ดี ผู้ป่วยประกันสุขภาพก็ดี  แม้ผู้ป่วยจะไม่ต้องจ่ายค่าบริการเอง แต่ก็มีผู้รับประกันจ่ายแทนให้ทั้งสิ้น  ดังนั้น ถ้าพิจารณาคำวินิจฉัยของศาลฎีกาอินเดียแล้ว  ผู้ป่วยในประเทศไทยย่อมเป็นผู้บริโภคทั้งสิ้น  ผมไม่แน่ใจว่า โรงพยาบาล สถานพยาบาล หรือคลินิกในประเทศอินเดีย ยังมีประเภทที่ให้บริการฟรีโดยสมบูรณ์ทั้งหมดแก่ประชากรทุกคนอยู่อีกหรือไม่  ผู้ที่เคยไปดูระบบบริการรักษาพยาบาลของอินเดีย (Health Care Service System) น่าจะได้อธิบายในเชิงวิชาการออกมาสู่ผู้อ่านบ้าง   ข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายอินเดียและคำพิพากษาฎีกาได้จากหนังสือ The Law of Medical Negligence ซึ่งแต่งโดย Dr. H.L. Chulani M.S., LL.B.  ผมได้รับอภินันทนาการจากโรงพยาบาลทรวงอกในเมืองบอมเบย์ ประเทศอินเดีย  ขอขอบคุณไว้ ณ ที่นี้   คำนิยาม ผู้บริโภค ในมาตรา 3 ของ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 และ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 ได้นิยมคำว่า ผู้บริโภค ไว้ดังนี้   “ผู้บริโภค” หมายความว่า ผู้ซื้อหรือผู้ได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจหรือผู้ซึ่งได้รับการเสนอหรือการชักชวนจากผู้ประกอบธุรกิจเพื่อให้ซื้อสินค้าหรือรับบริการ และหมายความรวมถึงผู้ใช้สินค้าหรือผู้ได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจโดยชอบ แม้มิได้เป็นผู้เสียค่าตอบแทนก็ตาม   “ซื้อ” หมายความรวมถึง เช่า เช่าซื้อ หรือได้มาไม่ว่าด้วยประการใด ๆ โดยให้ค่าตอบแทนเป็นเงินหรือผลประโยชน์อย่างอื่น   “สินค้า” หมายความว่า สิ่งของที่ผลิตหรือมีไว้เพื่อขาย   “บริการ” หมายความว่า การรับจัดทำการงาน การให้สิทธิใด ๆ หรือการให้ใช้หรือให้ประโยชน์ในทรัพย์สินหรือกิจการใด ๆ โดยเรียกค่าตอบแทนเป็นเงินหรือผลประโยชน์อื่น แต่ไม่รวมถึงการจ้างแรงงานตามกฎหมายแรงงาน   “ผู้ประกอบธุรกิจ” หมายความว่า ผู้ขาย ผู้ผลิตเพื่อขาย ผู้สั่งหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขายหรือผู้ซื้อเพื่อขายต่อซึ่งสินค้า หรือผู้ให้บริการ และหมายความรวมถึงผู้ประกอบกิจการโฆษณาด้วย   กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคของอินเดียชื่อ The Consumer Protection Act 1986 (No.68 of 1986) ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาของอินเดีย ลงวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2529 ก็ได้ให้นิยามคำว่า “ผู้บริโภค” ไว้ในมาตรา 2 ดังนี้   “ผู้บริโภค” หมายถึง บุคคลผู้ซึ่ง   (1) ซื้อสินค้าโดยจ่ายเงินแล้ว หรือสัญญาว่าจะจ่าย หรือจ่ายเงินบางส่วน หรือสัญญาว่าจะจ่ายเงินบางส่วน หรือการจ่ายภายใต้ระบบการผ่อนจ่าย และรวมถึงผู้ใช้สินค้าโดยมิได้เป็นผู้ซื้อดังกล่าว แต่การใช้สินค้าที่ได้รับความยินยอมจากผู้ซื้อดังกล่าว แต่ไม่รวมถึงบุคคลที่ได้สินค้ามาเพื่อขายต่อ หรือเพื่อประสงค์จะทำธุรกิจค้าขายหรือ   (2) จ้างหรือรับประโยชน์จากบริการใด ๆ ที่ได้จ่ายค่าจ้างไปแล้ว หรือสัญญาว่าจะจ่าย หรือจ่ายบางส่วน หรือสัญญว่าจะจ่ายบางส่วน หรือจ่ายภายใต้ระบบการผ่อนจ่าย และรวมถึงผู้รับประโยชน์จากบริการที่มิใช่ผู้จ่าย แต่ได้รับความยินยอมจากผู้จ่ายข้างต้นด้วย   “บริการ” หมายความว่า บริการใด ๆ ที่จะอำนวยความต้องการต่อผู้จะใช้บริการนั้น ๆ โดยรวมถึงวิธีการทำธุรกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับการธนาคาร การเงิน การประกัน การคมนาคมขนส่ง การจัดการต่าง ๆ การสร้างบ้าน การจ่ายค่ากระแสไฟฟ้าหรือพลังงาน การจัดการที่พักอาศัย หรือการเช่าบ้านหรือทั้งสองอย่าง บริการการบันเทิง การจัดการรื่นเริง หรือการส่งข่าวสาร หรือข้อมูลอื่น ๆ แต่ไม่รวมถึงการให้บริการที่ไม่เรียกเก็บค่าบริการ การบริการภายใต้สัญญาจ้างบุคคล (Contract of personal service) (ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของเรา บรรพ 3 เรียกว่า สัญญาจ้างแรงงาน ฉบับภาษาอังกฤษของโรงพิมพ์อักษรสาสน์ พ.ศ. 2505 แปลว่า Hire of service)   จะเห็นได้ว่า บทบัญญัติในกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคของอินเดียนั้น ใกล้เคียงหรือคล้ายกับบทบัญญัติในกฎหมายไทย  แต่ที่ต่างกันอยู่ที่วิธีเขียนกฎหมายเท่านั้น ซึ่งสรุปได้ว่า ผู้บริโภคคือบุคคล 2 กลุ่ม ได้แก่ 1. ผู้ซื้อ (รวมผู้เช่าและเช่าซื้อ) สินค้าหรือผู้ได้รับการเสนอหรือชักชวนให้ซื้อสินค้าจากผู้ประกอบธุรกิจ 2. ผู้รับบริการ หรือผู้ซึ่งได้รับการชักชวนให้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจ   เมื่อมีคดีระหว่างโรงพยาบาลกลาง (Cosmopolitan Hospital) กับ Vasantha Nair  ผู้พิพากษา Eradi วินิจฉัยว่า ผู้ป่วยที่ไปใช้บริการของผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์ ซึ่งเป็น “บริการ” ในความหมายตามนิยามในกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค และสั่งให้โรงพยาบาลต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนแก่ภรรยาผู้ตาย  เมื่อวันที่ 21 เมษายน 1992  ผลจากคำตัดสินดังกล่าว ทำให้เกิดความตึงเครียดขึ้นทั่วไปในวงการแพทย์  มีแพทย์กลุ่มเล็ก ๆ พยายามต่อต้านการนำกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค 1986 มาใช้กับการประกอบวิชาชีพแพทย์  และต่อมามีประเด็นโต้แย้งดังกล่าวไปยังศาลสูงของรัฐต่าง ๆ ทั่วประเทศอินเดีย  ต่อมาเมื่อศาลสูงของรัฐมัทราส (Madras High Court) วินิจฉัยให้เป็นประโยชน์กับวิชาชีพแพทย์  ในปี 1994 พฤติการณ์เริ่มคลี่คลายลง คำพิพากษาฎีกาข้างต้นนับว่าเป็นความเห็นที่เป็นที่ยุติ และนับว่าเป็นที่ยอมรับกัน   ต่อมา ก็มีคำพิพากษาศาลฎีกาของอินเดีย ปี 1995 ออกมา  ศาลฎีกาวินิจฉัยดังต่อไปนี้   คำพิพากษาศาลฎีกา (Supreme Court)  (คดีระหว่าง แพทยสมาคมอินเดีย ผู้อุทธรณ์ กับ ชันธา กับพวก) (V.P. Shanta and Others) ในพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (Consumer Protection Act 1986) มาตรา 2 (1) (o) คำว่า “บริการ” วิชาชีพแพทย์ (Medical Profession) ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม (Medical Practitioners) และโรงพยาบาล (Hospital)  สถานดูแลผู้ป่วย (Nursing Home) ต้องถือว่าเป็นการให้บริการ ตามความหมายของนิยามในมาตรา 2 (1) (o) แห่ง พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค 1980 ทั้งสิ้น  ดังจะได้อธิบายดังต่อไปนี้   A. ในประเด็นความรับผิดชอบของผู้ประกอบวิชาชีพ (Professional liability) ที่อ้างว่า ผู้ประกอบวิชาชีพแตกต่างจากผู้ประกอบอาชีพอื่น ๆ เพราะผู้ประกอบวิชาชีพปฏิบัติงานที่ไม่อาจคาดหมายถึงผลสำเร็จได้ในทุกกรณี และส่วนมาก ความสำเร็จหรือความล้มเหลวขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง  นอกเหนือความคาดหมายของผู้ประกอบวิชาชีพในฐานะมนุษย์จะควบคุมได้  การอ้างเหตุผลดังกล่าว ให้ผู้ประกอบวิชาชีพต้องให้ความคุ้มครองอย่างเคร่งครัด ขณะที่ปัจจัยต่าง ๆ ที่กล่าวข้างต้นยังคงมีอยู่นั้น  ศาลเห็นว่า ผู้ประกอบวิชาชีพก็ยังต้องมีความสามารถอย่างน้อยที่จะใช้ความระมัดระวังอย่างเหมาะสม (resonable care) ในการปฏิบัติหน้าที่ของตน   B. ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมไม่อาจจะยินดีต่อภูมิคุ้มกันใด ๆ ที่ตนจะถูกฟ้องกรณีผิดสัญญาหรือละเมิด เนื่องจากความบกพร่องในการใช้ความชำนาญจากการบริการอย่างเหมาะสม  ข้อเท็จจริงที่ว่า ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมนั้น อยู่ภายใต้กฎหมายว่าด้วยแพทยสภา (Medical Council Act) อยู่แล้ว และต้องถูกควบคุมทางจริยธรรม (disciplinary control) ของแพทยสภาแห่งอินเดีย หรือแพทยสภาของรัฐ (State Medical Council) แล้วแต่กรณีนั้น ก็ไม่ได้เป็นสิ่งที่ต้องชดใช้สินไหมทดแทนต่อผู้เสียหายที่ได้รับความเสียหายจากความประมาทเลินเล่อของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมแต่อย่างใด  สิทธิของบุคคลผู้ได้รับความเสียหายที่จะฟ้องคดีผู้บริโภคจึงไม่เสียไป   C. ไม่เป็นที่สงสัยเลยว่า บางครั้งปัญหาที่สลับซับซ้อนอาจเกิดขึ้น จำต้องนำพยานหลักฐานที่เป็นบันทึกของผู้ชำนาญประกอบการพิจารณาคำฟ้องเกี่ยวกับความบกพร่องในการให้บริการนั้น เป็นผลมาจากความประมาทเลินเล่อของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ให้บริการนั้นหรือไม่  แต่ประเด็นนี้ จะไม่จำเป็นต้องนำมาพิจารณาในทุกคดีที่มีการฟ้องร้อง  ประเด็นในคำฟ้องในคดีดังกล่าว ก็ควรจะใช้กระบวนวิธีพิจารณาที่รวดเร็ว ตามวิธีดำเนินการโดยองค์การพิจารณาคดีตามกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค (Consumer Dispute Redressal Agencies)  และไม่มีเหตุผลใดที่คำฟ้องที่เกี่ยวกับความบกพร่องของการให้บริการในกรณีดังกล่าว ไม่ควรได้รับการพิจารณาวินิจฉัยโดยองค์กรตามกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค  และแม้คำฟ้องที่มีปัญหาสลับซับซ้อน ที่ต้องการความเห็นของพยานผู้ชำนาญ ผู้ฟ้องคดีก็อาจขอร้องให้คดีไปสู่ศาลที่พิจารณาคดีแพ่งได้ตามความเหมาะสม (ตามกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคของอินเดียนั้น องค์กรที่เป็นผู้พิจารณาคดีผู้บริโภค ไม่ใช่ศาล แต่เป็นองค์กรที่มีชื่อว่า National Consumer Redressal Commission แต่งตั้งโดยรัฐบาลกลาง กับ District Forum แต่งตั้งโดยรัฐบาลแห่งรัฐ  รายละเอียดผู้เขียนเคยนำเสนอในวารสารนี้มาแล้ว [คลินิก 12; (5), 2539: 301-305)]   D. บริการที่ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่ให้คำปรึกษา การวินิจฉัยโรค การรักษาโรค ไม่ว่าจะโดยทางอายุรกรรมหรือศัลยกรรมต่อผู้ป่วย  ย่อมอยู่ในความหมายของ “การบริการ” ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภคทั้งสิ้น (เว้นแต่ แพทย์ที่ให้บริการโดยไม่คิดค่าบริการต่อผู้ป่วยทุกคน หรือให้บริการภายใต้สัญญาจ้างแรงงาน – contract of personal service)   E. สัญญาจ้างแรงงาน (Contract of personal service) ต่างจากสัญญาจ้างทำของ (Contract for personal service) เพราะผู้ป่วยกับผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างกันในฐานนายจ้างกับลูกจ้าง  บริการที่ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมให้กับผู้ป่วยได้คือ บริการตามสัญญาจ้างแรงงาน แต่บริการนั้นเป็นบริการที่ให้ภายใต้สัญญาจ้างทำของ (Contract for personal service)  จึงไม่เข้าข่ายข้อยกเว้นของคำว่า “บริการ” ตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค (ทำนองเดียวกัน ศาลฎีกาของไทยได้วินิจฉัยไว้ในฎีกาที่ 287/2507 ว่า กิจการสถานพยาบาลและผดุงครรภ์ที่ตั้งขึ้นเพื่อรับพยาบาลผู้เจ็บป่วย และทำคลอดบุตรให้แก่หญิงมีครรภ์ ลักษณะเป็นการจ้างทำของ)   F. คำว่า “สัญญาจ้างแรงงาน” (Contract of personal service) อาจรวมถึงสัญญาจ้างเจ้าหน้าที่แพทย์ (Medical officer) โดยมุ่งหมายที่จะให้แพทย์ผู้นั้นมาให้บริการแก่นายจ้าง  บริการที่เจ้าหน้าที่แพทย์ให้บริการแก่นายจ้างภายใต้สัญญาจ้างดังกล่าว ไม่อยู่ในขอบเขตของคำว่า “บริการ” ตามกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค   G. บริการที่ให้บริการโดยไม่คิดค่าบริการของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาล/สถานพยาบาล (Nursing home) ซึ่งบริการเหล่านั้นไม่ต้องเสียค่าบริการใด ๆ ต่อผู้ป่วยทุกคน ไม่ถือว่าเป็น “บริการ” แม้ว่าจะมีค่าลงทะเบียนกับโรงพยาบาล/สถานพยาบาลบ้าง ก็ยังไม่ถือว่าเป็น “บริการ”   H. บริการโดยโรงพยาบาล/สถานพยาบาลที่มิใช่เป็นของรัฐ (Non-Government)  ถ้าไม่ได้คิดค่าบริการจากผู้ใดเลย  ผู้ป่วยทุกคนไม่ว่าจะรวยหรือจน ไม่ต้องต้องจ่ายค่าบริการเลย  บริการเหล่านั้นถือว่า มิใช่ “บริการ” ตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค   I. บริการโดยโรงพยาบาล/สถานพยาบาลที่มิใช่เป็นของรัฐ โดยคิดค่าบริการ  การบริการนั้นถือเป็น “บริการ” ตามที่บัญญัติในกฎหมาย   บริการโดยโรงพยาบาล/สถานพยาบาลที่มิใช่เป็นของรัฐ โดยคิดค่าบริการจากบุคคลที่อยู่ในฐานะจะจ่ายค่าบริการได้ และผู้ที่ไม่อยู่ในฐานะที่จะจ่ายค่าบริการได้ ก็ไม่คิดค่าบริการ ก็ถือว่าอยู่ในข่ายของความหมายของ “บริการ” ตามกฎหมายทั้งสองกรณี   J. บริการของโรงพยาบาล/ศูนย์รับบริการ/ร้านยาของรัฐ ที่ไม่ได้คิดค่าบริการจากผู้ป่วย ไม่ว่ารวยหรือจน ไม่ถือว่าเป็น “บริการ” ตามกฎหมาย   บริการของโรงพยาบาล/ศูนย์รับบริการ/ร้านยาของรัฐ ซึ่งคิดค่าบริการจากผู้มาใช้บริการ  ขณะเดียวกันก็ไม่คิดค่าบริการต่อผู้มาใช้บริการบางกลุ่ม ก็ยังถือว่าเข้าข่าย “บริการ” ตามกฎหมาย โดยมิได้คำนึงถึงการที่มีผู้ใช้บริการฟรี   K. บริการของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมหรือโรงพยาบาล/สถานพยาบาล ไม่ถือว่าให้บริการโดยไม่คิดค่าบริการ  เมื่อผู้ใช้บริการเป็นผู้มีกรมธรรม์ประกันสุขภาพ  และบริษัทประกันเป็นผู้จ่ายค่าปรึกษา ค่าวินิจฉัย และค่ารักษา  บริการเหล่านั้นย่อมอยู่ในขอบเขตของคำว่า “บริการ” ตามกฎหมาย   L. ทำนองเดียวกัน ถ้าเงื่อนไขของการให้บริการ โดยนายจ้างเป็นผู้จ่ายค่ารักษาพยาบาลแทนลูกจ้างและครอบครัวของลูกจ้าง  ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมหรือโรงพยาบาล/สถานพยาบาล ที่ให้บริการแก่ลูกจ้างและครอบครัวของเขา ก็เข้าข่ายว่าเป็น “บริการ” ที่กฎหมายบัญญัติ   ผู้พิพากษา ได้แก่ Kuldip Singh, S.C. Aqarwal และ B.L. Hansaria (13 Nov. 1995)  

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 145 หนังสั้น เรื่องเล่า และเรา ผู้บริโภค

    มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคได้ร่วมกับแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สร้างอีกหนึ่งพลังในการจุดประกายให้เกิดการตื่นตัวเรื่องปัญหาผู้บริโภคในบ้านเรา ด้วยโครงการ “หนังสั้นเล่าเรื่องผู้บริโภค” ที่ถ่ายทอดปัญหาหลากหลายที่ผู้บริโภคไทยต้องพบเจอ ทุกข์ของผู้บริโภคที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข เรื่องราวจากชีวิตจริงที่หลายคนอาจไม่เคยรู้ แม้แต่หน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่ดูแลแก้ไขเองก็อาจจะมองข้าม ถึงเวลาที่เราต้องร่วมกันเปลี่ยนแปลงสังคมผู้บริโภคไทยให้เข้มแข็ง     เล่าเรื่อง (จริง) ผู้บริโภค ปัญหาของผู้บริโภคในบ้านเรานั้น มีมากมายหลายเรื่อง มีตั้งแต่เรื่องเจอของหมดอายุในร้านสะดวกซื้อราคาไม่กี่สิบบาท ไปจนถึงถูกโกงสัญญามูลค่าหลายสิบล้านจากการซื้อบ้านจัดสรร พูดง่ายๆ ว่าเรื่องปัญหาผู้บริโภคนั่นเป็นปัญหาครอบจักรวาล หลายปัญหาไม่เพียงแค่ต้องเสียเงิน เสียเวลา หรือเสียความรู้สึก แต่หลายครั้งความสูญเสียก็ยิ่งใหญ่เกินจะหาสิ่งใดมาทดแทน   ภาพยนตร์สั้นที่เข้าร่วมในโครงการ “หนังสั้นเล่าเรื่องผู้บริโภค” ประกอบด้วยหนังสั้น 5 เรื่อง และสารคดีอีก 1 หนึ่ง ซึ่งทั้งหมดเป็นผลงานที่ถูกเขียนบท กำกับ และถ่ายทำขึ้นใหม่ เพื่อนำเสนอในโครงการนี้โดยเฉพาะ โดยได้ความร่วมมือจากหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านภาพยนตร์ ได้แก่  สมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย  สมาพันธ์ศิลปินเพื่อสังคม  กลุ่มปลาเป็นว่ายทวนน้ำ บริษัท กู๊ด จ๊อบ โปรดักชั่น  จำกัด   ผลงานภาพยนตร์สั้นที่ร่วมโครงการประกอบด้วย “กรรมของจุ๊บแจง” ผลงานกำกับของ อาจารย์ไพจิตร  ศุภวารี ที่นำเสนอประเด็นปัญหายอดฮิตของผู้บริโภคไทย อย่างปัญหาหนี้บัตรเครดิต, “Heart Station” กำกับโดย คุณพิมพกา  โตวิระ เล่าเรื่องความเหมาะสมของการสร้างปั๊มแก๊ส LPG ในชุมชนเมือง เพื่อตอบสนองนโยบายรัฐบาล, “Priceless” กำกับโดย คุณมานุสส วรสิงห์ เล่าเรื่องปัญหาการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเมื่อเกิดอุบัติเหตุจากการใช้บริการรถโดยสาร, “กลับบ้าน” กำกับโดย คุณชาญ รุ่งเรืองเดชวัฒนา นำเสนอเรื่องราวสะท้อนปัญหาบริการรถตู้โดยสารสาธารณะ, “Disconnected” กำกับโดย คุณบุญส่ง นาคภู่ ที่พูดเรื่องปัญหาจากบริการโทรศัพท์มือถือที่ไม่เป็นธรรมกับผู้บริโภค และผลงานสารคดีเล่าเรื่องผู้บริโภค ผลงานกำกับของ คุณพัฒนะ จิรวงศ์   เรื่องราวที่ผู้กำกับแต่ละคนเลือกนำมาบอกเล่าในผลงานภาพยนตร์สั้นแต่ละเรื่องนั้น ล้วนแล้วแต่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากปัญหาที่ผู้บริโภคไทยหลายคนต้องประสบพบเจอในชีวิตจริง เป็นความทุกข์ที่ยังคงไม่มีทางออกที่ชัดเจน ซึ่งผู้กำกับทุกท่านต่างๆ ใช้ “ใจ” ที่อยากจะเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภคในสังคมไทย สร้างสรรค์ออกมาเป็นผลงานภาพยนตร์สั้นที่บอกเล่าเรื่องจริงของผู้บริโภค   “หนังสั้น” สื่อที่เรียบง่ายแต่แฝงพลังที่ยิ่งใหญ่ ความตั้งใจหนึ่งที่ถือได้ว่าเป็นภารกิจสำคัญของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ก็คือการที่จะสื่อสารข้อมูลดีๆ ที่ผู้บริโภคควรรู้ เพื่อให้ผู้บริโภคเท่าทันไม่ตกเป็นเหยื่อของสินค้าและบริการที่ไม่ได้มาตรฐาน ไม่หลงเชื่อผู้ประกอบการที่ไม่หวังดีกับผู้บริโภค โดยการเผยแพร่ข้อมูลต่างๆ นั้น ก็จะทำควบคู่กันไปกับการผลักดันและสร้างความเข้าใจให้กับผู้บริโภคทั่วไปในสังคมในเรื่องของกฎหมายองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค   แต่ในขณะที่เรายังต้องเผชิญกับการหลอกลวงจากบรรดาผู้ประกอบการผู้ไม่หวังดีที่ผลิตสินค้าและบริการที่ไม่ได้มาตรฐาน ผู้บริโภคอย่างเรากับมีข้อมูลความรู้ไว้สำหรับใช้ต่อกรหรือรู้เท่าทันการหลอกลวงต่างๆ น้อยมาก   นี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ทางมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคตั้งใจจะให้มีสื่ออย่าง “หนังสั้น” ในการบอกเล่าเรื่องราวปัญหาของผู้บริโภค เพื่อให้เป็นจุดเริ่มของแรงบันดาลใจ ขยายผลต่อไปสู่การเปลี่ยนแปลง ซึ่ง คุณดนัย หวังบุญชัย ผู้จัดการแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ ที่รับหน้าที่ดูแลโครงการและร่วมคัดสรรภาพยนตร์สั้นและผู้กำกับที่เข้าร่วมในโครงการครั้งนี้ ได้พูดถึงพลังของสื่ออย่างภาพยนตร์สั้นเอาไว้ว่า ภาพยนตร์สั้นนั้นก็คือสื่อศิลปะที่จะช่วยนำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์ สื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจให้กับผู้คนที่ได้รับชม บ่อยครั้งข้อมูลที่ดีๆ ที่ผู้คนควรรับรู้กลับถูกมองข้ามไม่ได้รับเผยแพร่หรือพูดถึง เพราะมันขาดความน่าสนใจขาดพลังดึงดูดให้ผู้คนหันมาดูหันมาสนใจ แต่เมื่อมันถูกบอกเล่าอย่างมีชั้นเชิงมีเรื่องราวอย่างในรูปแบบของภาพยนตร์สั้น บางครั้งเรื่องยากๆ ก็อาจเป็นเรื่องง่ายๆ ที่ใครก็เข้าใจได้ คุณดนัยและผู้กำกับที่ร่วมผลิตภาพยนตร์สั้นในครั้งนี้ยอมรับว่า การนำเสนอเรื่องราวของปัญหาผู้บริโภคและการผลักดันองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคของกลุ่มเครือข่ายผู้บริโภคออกมาเป็นภาพยนตร์สั้นนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย แต่เมื่อได้ลองทำความเข้าใจ ศึกษาข้อมูลที่มี ไปจนถึงการพูดคุยกับผู้ที่ประสบปัญหาจริงๆ ก็ทำให้เริ่มเห็นภาพที่จะนำมาสร้างสรรค์ผลงาน ที่สำคัญคือรู้สึกยินดีที่ได้เป็นส่วนร่วมในการบอกเล่าเรื่องราวที่เป็นประโยชน์แก่สังคม   ให้หนังสั้นจุดประกาย ขยายต่อสู่การเปลี่ยนแปลง แม้ด้วยความที่เป็นโครงการเล็กๆ และหนังที่ฉายเป็นหนังสั้น แต่ คุณดนัย ก็เชื่อว่าสิ่งเล็กๆ ก็สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ได้ หากคนที่ได้ชมภาพยนตร์แล้วได้ฉุกคิด ได้เห็นความสำคัญในประเด็นที่หนังนำเสนอ พร้อมทั้งนำไปบอกต่อ สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเรื่องสิทธิและการคุ้มครองผู้บริโภคให้กับคนรอบๆ ข้าง หากในสังคมมีคน 100 คน ขอแค่มีสัก 20 คน ลุกขึ้นมาผลักดันเปลี่ยนแปลงสังคม เชื่อว่าแค่นี้สังคมเราก็จะดีขึ้นแน่นอน   เรื่องปัญหาการคุ้มครองผู้บริโภคและการผลักดันกฎหมายองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ยังคงต้องการความเข้าใจและพลังของผู้คนในสังคมอีกมากที่จะมาช่วยกันทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง   แนะนำภาพยนตร์สั้นที่ร่วมฉายในโครง “หนังสั้นเล่าเรื่องผู้บริโภค” กรรมของจุ๊บแจง “จุ๊บแจง” สาวออฟฟิศที่ฝันอยากจะเป็นเจ้าของธุรกิจร้านขายของ เธอจึงต้องมองหาเงินลงทุน ซึ่งวิธีที่เธอเลือกคือการทำบัตรเครดิต ขณะที่ธุรกิจของเธอกำลังไปได้สวยและมองเห็นโอกาสรวยอยู่ไม่ไกล แต่เมื่อเกิดการชุมนุมทางการเมือง ทุกอย่างก็พลันหยุดชะงัก ทุกความฝันแทบพังทลาย เมื่อของขายไม่ได้ จากกำไรก็กลายเป็นขาดทุน เงินที่มีเริ่มไม่เพียงพอต่อการใช้จ่าย บัตรเครดิตที่เคยใช้ให้ทุนแต่ตอนนี้พลิกผันกลายเป็นสร้างหนี้ แถมที่แย่ยิ่งกว่าคือบรรดาเจ้าหนี้ที่คอยตามราวีไม่หยุดหย่อน ทั้งข่มขู่สารพัด ถูกหักเงินจากในบัญชีไปใช้หนี้โดยที่เธอไม่รู้ตัว สิ่งที่เธอจำเป็นต้องทำต่อจากนี้คือหาทางออกให้กับปัญหาที่เกิดขึ้น   เรื่องทั้งหมดนี้คือ “กรรม” ของเธอ หรือมาจาก “ความไม่ชอบธรรม” บางอย่างในสังคม   ผลงานการกำกับของ อาจารย์ไพจิตร  ศุภวารี อาจารย์ไพจิตร  ศุภวารี คร่ำหวอดอยู่ในวงการบันเทิงไทยมาอย่างยาวนาน ทั้งในด้านการอำนวยการสร้างและการกำกับภาพยนตร์ รวมถึงการสร้างนักแสดงฝีมือคุณภาพประดับวงการมากมาย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ สมัชชาศิลปินแห่งประเทศไทย และเป็นอาจารย์สอนด้านภาพยนตร์ตามมหาวิทยาลัยต่างๆ พร้อมไปกับการทำงานบันเทิงเพื่อสังคม   Heart Station จะเกิดอะไรขึ้น เมื่อชุมชนที่สงบสุขกำลังต้องรับการมาเยือนของแขกที่ไม่ได้รับเชิญอย่าง “ปั๊มแก๊ส LPG” นุ้ย เด็กสาวมัธยมปลาย ที่อาศัยอยู่กับแม่และน้า ภายในบ้านที่ถูกเปิดเป็นร้านขายของชำ ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของชุมชน เมื่อสิ่งที่หลายคนเรียกว่า “ความเจริญ” กำลังรุกคืบเข้ามา อย่างร้านสะดวกซื้อ ซึ่งแม้ตัวนุ้ยจะรู้สึกอยากให้ร้านของชำที่บ้านปรับเปลี่ยนให้ทันสมัยเป็นร้านสะดวกซื้อติดแอร์แบบเขาบ้าง แต่แม่กับน้าก็ยังพอใจและภูมิใจกับร้านชำเล็กๆ ที่มีข้าวของให้เลือกเต็มร้าน ยึดถือความซื่อตรงและใส่ใจลูกค้า   อีกหนึ่งความเจริญที่กำลังรุกคืบเข้าสู่ชุมชน คือการมาถึงของปั๊มแก๊ส LPG ที่เตรียมก่อสร้างติดกับบ้านของนุ้ย ซึ่งการมาอย่างลึกลับไร้ที่มาที่ไปของปั๊ม สร้างความวิตกกังวลให้กับคนในชุมชนถึงเรื่องความปลอดภัย เมื่อเริ่มรู้สึกว่าการสร้างปั๊มแห่งนี้มาพร้อมความไม่ถูกต้องและไม่ปลอดภัย การรวบรวมรายชื่อคนในชุมชนเพื่อคัดค้านการก่อสร้างโดยมีแม่และน้าของนุ้ยเป็นเกณฑ์นำจึงเริ่มขึ้น แต่ความจริงคือแม้จะได้เอกสารรายชื่อคัดค้านกว่า 500 รายชื่อไปยื่นให้กับสำนักงานเขตแต่ว่าการก่อสร้างก็ไม่ได้ถูกระงับ   แม้จะรู้สึกเศร้าใจกับการทำงานของหน่วยงานราชการ แต่แทนที่จะแค่ก่นด่าไปวันๆ ครอบครัวของนุ้ยได้เตรียมแผนการยับยั้งการสร้างปั้มแก๊สในแบบของตัวเองเอาไว้แล้ว เรียกว่างานนี้ “ถ้าไม่ได้ด้วยเล่ห์ ก็คงต้องเอาด้วยกล”   ผลงานการกำกับของ คุณพิมพกา  โตวิระ เป็นหนึ่งในกำลังสำคัญที่ช่วยบุกเบิกการสร้างภาพยนตร์อิสระในประเทศไทย เคยมีผลงานภาพยนตร์เรื่องยาวเรื่อง “คืนไร้เงา” เมื่อปี 2546 ซึ่งได้รับเชิญให้ไปฉายและเข้าประกวดในเทศกาลภาพยนตร์หลายประเทศทั่วโลก ทำให้ชื่อของ พิมพกา  โตวิระ กลายเป็นผู้กำกับหญิงไทยคนแรกที่เป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติ   นอกจากนี้ยังมีผลงานกำกับภาพยนตร์สารคดีเรื่อง “ความจริงพูดได้” (the truth be told) ที่ถ่ายทอดชีวิตของ สุภิญญา กลางณรงค์ เมื่อครั้งเป็นเลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส.) ที่ต้องต่อสู้เพื่อความถูกต้องหลังต้องตกเป็นจำเลยถูกบริษัทชินคอร์เปอเรชั่นฟ้องร้องในข้อหาหมิ่นประมาทจากการตีพิมพ์บทความของเธอที่ชื่อว่า“เอ็นจีโอประจาน 5 ปีรัฐบาลไทย ชินคอร์ปรวย” สมัยรัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร   Priceless การจากไปอย่างไม่มีวันกลับของลูกชายวัย 40 ปี จากอุบัติเหตุรถตู้โดยสารสาธารณะ ไม่ได้นำมาแค่ความเสียใจอย่างที่สุดแก่ผู้เป็นแม่เท่านั้น แต่ยังนำมาซึ่งปัญหาในเรื่องของการเรียกร้องเงินชดเชยค่าสินไหมทดแทนการเสียชีวิตของลูกชายจากบริษัทประกัน ด้วยความที่ก่อนตายลูกชายทำอาชีพอิสระ ไม่ได้มีที่ทำงานเป็นหลักแหล่ง รายได้ก็ไม่แน่นอน ซึ่งทั้งหมดกลายเป็นอุปสรรคที่ทำให้คุณแม่ในวัยเกษียณต้องปวดหัวในการทำเรื่องขอเงินชดเชย แม้สุดท้ายจะได้รับความช่วยเหลือจากเพื่อนบ้าน แต่ก็ใช่ว่าปัญหาต่างๆ จะคลี่คลาย เพราะแม้ว่าเธอจะรู้ว่าลูกชายทำงานอะไรและมีรายได้เท่าไร บริษัทประกันยินยอมจ่ายค่าชดเชย แต่เมื่อมองดูตัวเลขของเงินชดเชยที่ได้รับนั้น เทียบกันไม่ได้เลยกับชีวิตของลูกชายที่ต้องสูญเสียไปเพราะอุบัติเหตุ   ผลงานการกำกับของ คุณมานุสส วรสิงห์ ทำงานเบื้องหลังในส่วนของการตัดต่อภาพยนตร์ให้กับภาพยนตร์ไทยหลายเรื่อง โดยก็ยังทำงานกำกับภาพยนตร์สั้นควบคู่กันไปด้วย ซึ่งผลงานหลายเรื่องได้รับรางวัลจากเทศกาลภาพยนตร์ทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งยังได้รับเชิญให้เป็นวิทยากรในการอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการทำภาพยนตร์ให้กับหลากหลายหน่วยงาน เช่น สสส., กรมการศาสนา ฯลฯ   กลับบ้าน ในยุคที่หนุ่ม – สาวจากต่างจังหวัดต้องจากบ้านมาทำงานในกรุงเทพฯ การได้เดินทางกลับมาเยี่ยมบ้านในช่วงวันหยุดจึงถือเป็นช่วงเวลาสุดพิเศษของเหล่าหนุ่ม – สาวที่ต้องจากบ้านมาตามหาความมั่นคงในสังคมเมือง ยิ่งเดี๋ยวนี้มีการเดินทางให้เลือกหลากหลาย โดยเฉพาะ “รถตู้” ที่กลายเป็นทางเลือกที่หลายคนนิยม แม้ข่าวคราวเรื่องการเกิดอุบัติเหตุจะมีให้เห็นบ่อยครั้ง แต่รถตู้ก็ยังเป็นที่พึ่งของคนที่ต้องเดินทาง   เช่นเดียวกับสองหนุ่ม – สาวเพื่อนเก่าที่พบกันโดยบังเอิญ ตอนที่กลับมาเยี่ยมบ้าน ทั้งสองคนต่างแลกประสบการณ์ที่ไม่น่าจดจำจากการใช้บริการรถตู้โดยสาร ทั้งเรื่องความแออัดของที่นั่งโดยสาร และยังเรื่องพฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัยของพนักงานขับรถ   ไม่มีใครรู้ว่าวันหนึ่งรถตู้โดยสารอาจพาเรา “กลับไม่ถึงบ้าน” ก็ได้   ผลงานการกำกับของ คุณชาญ รุ่งเรืองเดชวัฒนา คนทำโฆษณาแถวหน้าของประเทศ นักเขียนเจ้างานเขียนหนังสือหลายเล่ม เช่น “ถนนวิทยุ”, “คัมภีร์วิทยายุทธ์”, “อเมริกากี่นั้ง” ฯลฯ แม้งานหลักจะเป็นการทำงานเชิงพาณิชย์ แต่ก็หลงใหลการทำงานสื่อเพื่อรับใช้สังคม ที่ผ่านมาก็ช่วยทำสื่อทั้งโฆษณาและหนังสั้นให้กับองค์กรทางสังคม พร้อมทั้งเป็นวิทยากรอบรมให้ความรู้แก่คนทำสื่อรุ่นใหม่ๆ   Disconnected โทรศัพท์มือถือเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้ผู้คนในสังคมได้ติดต่อใกล้ชิดกันได้อย่างสะดวกสบายมากขึ้น แต่เพราะความสะเพร่าหรือจงใจที่จะเอาเปรียบผู้บริโภคของบริษัทผู้ให้บริการสัญญาณโทรศัพท์มือถือ ก็อาจทำให้โทรศัพท์มือถือกลายเป็นเครื่องมือทำลายความสัมพันธ์ได้ในพริบตา   อย่างเช่นเรื่องราวของคุณพ่อวัยเฉียด 70 ปี ที่ต้องหมางใจกับลูกชาย หลังจากโทรศัพท์มือถือที่ลูกชายเป็นคนซื้อให้เกิดใช้งานไม่ได้ ซึ่งสาเหตุมาจากการที่ลูกชายเปลี่ยนจากระบบเติมเงินเป็นแบบจ่ายค่าบริการรายเดือน แล้วเกิดปัญหาโทรศัพท์มือถือที่ใช้อยู่โทรออกไม่ได้ ด้วยความไม่รู้ของผู้เป็นพ่อจึงทำให้หลงเข้าใจผิดคิดว่าลูกชายไม่รักเลยไม่อยากให้โทรหา พอพ่อ - ลูกเจอหน้ากันบรรยากาศก็เลยตึงเครียด ฝ่ายพ่อก็ต่อว่าลูกด้วยอาการน้อยใจ ฝ่ายลูกที่ไม่รู้เหตุผลที่มาที่ไปก็เริ่มไม่สบอารมณ์กับคำด่าว่าของพ่อ สุดท้าย 2 พ่อ – ลูกก็ไม่คุยกันเพราะความเข้าใจผิดเรื่องโทรศัพท์มือถือ   แม้ในที่สุดฝ่ายลูกชายจะรู้ถึงสาเหตุที่ทำให้พ่อโกรธ แต่กับต้องเจอปัญหาซ้ำซ้อนเรื่องค่าโทรเกินจริง ต้องกลายเป็นคนมีหนี้โดยที่ตัวเองไม่ได้เป็นคนก่อ เรียกว่าอยู่ดีๆ ชีวิตที่สงบสุขก็ต้องมาเจอเรื่องปวดหัวจากบริการที่ไม่ได้มาตรฐาน     ผลงานการกำกับของ คุณบุญส่ง นาคภู่ ผู้กำกับที่คลุกคลีอยู่ในวงการภาพยนตร์ทั้งขนาดสั้นและขนาดยาวมาอย่างยาวนาน  มีผลงานกำกับและเขียนบทภาพยนตร์สั้นมากว่า 25 เรื่อง ผลงานหลายเรื่องมีรางวัลการรันตี เช่นเรื่อง “ตากับหลาน”, “ชาวนากลับบ้าน” ฯลฯ ส่วนผลงานกำกับภาพยนตร์เรื่องยาวก็มีเช่น “191 ครึ่ง มือปราบทราบแล้วป่วน” และ ภาพยนตร์เรื่อง “หลอน” ในตอนที่ชื่อว่า “ปอบ”   ปัจจุบันได้ก่อตั้งกลุ่ม “ปลาว่ายทวนน้ำ” เพื่อสร้างภาพยนตร์อิสระอย่างจริงจัง ผลงานภาพยนตร์ที่ผ่านมา คือ “คนจนผู้ยิ่งใหญ่” (poor people the great) และ “สถานี 4 ภาค” (four stations) ที่ได้รับทุนสนับสนุนจากกระทรวงวัฒนธรรม ซึ่งตัวหนังได้รับเชิญให้ไปฉายในเทศกาลภาพยนตร์ตามประเทศต่างๆ นอกจากนี้คุณบุญส่ง นาคภู่ ยังเป็นอาจารย์พิเศษด้านภาพยนตร์ตามมหาลัยต่างๆ   ติดตามรายละเอียดการร่วมชมภาพยนตร์สั้นและกิจกรรมต่างๆ ภายใต้โครงการ “หนังสั้นเล่าเรื่องผู้บริโภค” ได้ที่ www.consumerthai.org, www.ฉลาดซื้อ.com และที่ facebook นิตยสารฉลาดซื้อ     //

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 144 Consumer Justice Now!

  แน่นอนอยู่แล้ว ... คนสำคัญอย่างพวกเราก็ต้องมีวันสำคัญระดับสากลเป็นของตัวเองกับเขาเหมือนกัน วันที่ 15 มีนาคมของทุกปีคือวันสิทธิผู้บริโภคสากล (World Consumer Rights Day) ที่องค์กรผู้บริโภคจากทั่วโลกและสหพันธ์ผู้บริโภคสากล หรือ Consumers International ใช้เป็นโอกาสร่วมกันรณรงค์เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคที่ดีขึ้น   ปีนี้เขาจัดใหญ่ สหพันธ์ผู้บริโภคสากลซึ่งมีสมาชิก 220 องค์กร จาก 115 ประเทศเขาเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับผู้บริโภค เรียกว่าถือโอกาสนี้เปิดโปงความเสียหายที่เกิดจากการขาดระบบการคุ้มครองผู้บริโภค หรือการคุ้มครองผู้บริโภคที่ยังไม่ดีพอ   เรื่องการคุ้มครองผู้บริโภคนั้นเป็นประเด็นระดับโลก (ที่มักถูกละเลยโดยรัฐบาลท้องถิ่น?) เสมอมา    สหประชาชาติเองก็กำลังปรับปรุงแนวทางการคุ้มครองผู้บริโภคที่เคยทำไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526  (ปรับปรุงครั้งล่าสุดเมื่อ พ.ศ. 2542) โดยมีเป้าหมายจะจัดทำให้เสร็จสิ้นในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2557  สหพันธ์ฯ จึงถือโอกาสนี้ทำข้อเสนอต่อสหประชาชาติ เพื่อเป็นการยกระดับการคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อสังคมในศตวรรษที่ 21 ที่ปลอดภัยและยุติธรรมขึ้น   ย้อนอดีต เป็นเวลา 10 ปีมาแล้วที่มีการจัดงานรณรงค์ในวันสิทธิผู้บริโภคสากล ประเด็นที่เคยรณรงค์ร่วมกันได้แก่ สิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม (GMOs) การทำการตลาดอย่างไร้จริยธรรม เช่นการโฆษณายา หรือโฆษณาอาหารขยะกับเด็ก ประเด็นร้อนแรงที่สุดในช่วง 3 ปีหลังเห็นจะเป็นเรื่องอื่นไปไม่ได้นอกจาก เรื่องบริการการเงินการธนาคาร มีตั้งแต่การเรียกร้องให้มีบริการที่เป็นธรรมขึ้น ค่าธรรมเนียมที่ถูกลง ไปจนถึงการเรียกร้องให้ธุรกิจธนาคารสร้างทางเลือกที่แท้จริงให้กับผู้บริโภค --------------------------------------------------------------------------------------   "Consumers by definition, include us all." - John F. Kennedy วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2505 นายจอห์น เอฟ เคเนดี้  ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในสมัยนั้น ได้เรียกร้องต่อสภาคองเกรสให้มีการยอมรับสิทธิพื้นฐาน 4 ประการของผู้บริโภค ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ สิทธิที่จะได้รับข่าวสารข้อมูลที่ถูกต้อง สิทธิที่จะได้เลือก และสิทธิที่จะเรียกร้องความเป็นธรรม   “ผู้บริโภคก็คือเราทุกคน เราคือกลุ่มเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุด ที่ส่งผลต่อและได้รับผลกระทบจากการตัดสินใจทางเศรษฐกิจโดยภาคธุรกิจและภาครัฐ แต่แทบจะไม่มีใครถามความเห็นของเราเลย”   เฮเลน แมคคอลัม ผู้อำนวยการสหพันธ์ผู้บริโภคสากล “การคุ้มครองผู้บริโภคที่ดีไม่ใช่แค่เรื่องของกฎหมาย มันยังสามารถสร้างความเป็นธรรม สร้างสังคมที่เท่าเทียมกันมากขึ้น และช่วยรักษาชีวิตของประชาชนได้ด้วย”   >>> 2015 ประเด็นที่สหพันธ์ฯ จะเคลื่อนไหวต่อไป ความมั่นคง ความปลอดภัยทางอาหาร และโภชนาการที่ดี บริการทางการเงินและการธนาคาร หนี้ ผู้บริโภคในยุคดิจิตัล เครือข่ายการสื่อสารที่ปลอดภัยไว้ใจได้ ในราคาที่เหมาะสม การใช้งานอันมีลิขสิทธิ์และการเข้าถึงความรู้   บ้านนี้เมืองนี้อยู่ยากขึ้นทุกวัน แล้วผู้บริโภคอย่างเราต้องทำตัวยังไง นายอันวาร์ ฟาซาล ประธานสหพันธ์ผู้บริโภคสากลในช่วงปี 1980 – 1989 ได้กล่าวถึงบทบาทหน้าที่ของผู้บริโภค 5 ประการไว้ดังนี้ Critical Awareness เราต้องตื่นตัวและตั้งข้อสงสัยเรื่องคุณภาพของสินค้าและบริการให้มากขึ้น >> จริงดิ? มีเครื่องดื่มที่ดื่มประจำแล้วทำให้เรียนเก่ง สอบติดคณะในฝัน? ทำไมรถเมล์ฟรีที่เขาเอาเงินภาษีเราไปจ่าย ถึงขับเร็ว ไม่จอดป้าย หรือจอดไม่ตรงป้าย ให้เราต้องวิ่งหน้ าตั้งด้วย (อย่าว่าแต่รถฟรีเลยนะ รถไม่ฟรีก็เหมือนกัน)   Involvement/Action เราต้องใช้สิทธิเพื่อให้ได้มา ซึ่งสินค้าหรือบริการที่เป็นธรรมในราคาที่เหมาะสม >> จ่ายค่าบริการอินเตอร์เน็ตรายเดือน แต่สัญญาณล่มไป 2 วัน เราขอไม่จ่าย 2 วันนั้นได้มั้ย? เขาคิดเราเป็นรายวันนี่นา เราเสียเงินซื้อตั๋วขึ้นรถไฟฟ้าแล้วยังไปเจอโฆษณาบนรถอีก อย่างนี้เขาน่าจะลดค่าโดยสารให้เราด้วยหรือเปล่า (โทรทัศน์ที่มีโฆษณา เขายังให้ดูฟรีเลย) Social responsibility เราต้องบริโภคอย่างรับผิดชอบต่อสังคม ด้วยการตระหนักถึงผลกระทบจากการกระทำของเราต่อสภาพเศรษฐกิจสังคมรอบตัวและต่อพลเมืองคนอื่นๆ >> เราต้องจับตาดู เดี๋ยวมีใครไปใช้แรงงานเด็กในประเทศด้อยพัฒนา แล้วมาแอ๊บขายสินค้าแบรนด์หรู ถ้ารู้แล้วจะได้ชวนกันบอยคอต   Ecological responsibility เราต้องตระหนักถึงผลกระทบจากทางเลือกของเราต่อสภาพแวดล้อม >> เราอาจจะไม่เลือกซื้อเฉพาะผักผลไม้ที่งดงามหมดจดอีกต่อไป เพราะรู้แล้วว่าการทำอย่างนั้นทำให้เกิด “ขยะสด” โดยไม่จำเป็น Solidarity เราต้องรวมตัวกันเพื่อให้เกิดพลังที่ยิ่งใหญ่พอที่จะทำให้รัฐบาลหรือผู้ประกอบการไม่อาจละเลยผลประโยชน์ของผู้บริโภคได้อีกต่อไป ... สามัคคีคือพลัง! >> เรามาร่วมกันติดตามตรวจสอบพฤติกรรมของผู้ประกอบการ อย่างที่คุณกำลั งทำอยู่ ด้วยการเป็นสมาชิก “ฉลาดซื้อ” นี่ไง   โปรตุเกส:  เมื่อผู้บริโภคไม่ยอมถูกหลอกขายน้ำมันแพงอีกต่อไป Portugal Petrol Test … เล่าเรื่องทดสอบน้ำมัน ราคาถูก/แพง   ปลายปีที่แล้วมีชาวโปรตุเกส 42,200 คน ร่วมกันลงชื่อเรียกร้องให้กระทรวงเศรษฐกิจ เข้มงวดกับการกำกับดูแลธุรกิจพลังงานให้มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของคุณภาพและความโปร่งใสในการตั้งราคาน้ำมันเชื้อเพลิง นอกจากนี้ยังขอให้ประกาศห้ามการกล่าวอ้างสรรพคุณของสินค้าถ้ายังไม่ได้พิสูจน์ด้วย เรื่องนี้สืบเนื่องจากก่อนหน้านี้ DECO นิตยสารผู้บริโภคขององค์กรผู้บริโภค EDI แห่งโปรตุเกสได้ทำการทดสอบเพื่อพิสูจน์ว่า น้ำมันดีเซลแบบพรีเมี่ยมที่อ้างว่าเผาไหม้ได้สมบูรณ์กว่า ประหยัดพลังงานกว่า ทำให้รถวิ่งได้แรงขึ้น (และขายในราคาแพงกว่า) แตกต่างจากน้ำมันดีเซลธรรมดาๆ หรือไม่   เพื่อทดสอบน้ำมันพรีเมี่ยม 2 ยี่ห้อ ได้แก่ G-Force  และ Hi Energy  และน้ำมันธรรมดา 2 ยี่ห้อคือ  Jumbo และ Intermarche  นิตยสาร DECO ซื้อรถ Renault Clio ใหม่เอี่ยมมา 4 คัน จ้างนักขับรถมืออาชีพ 4 คน และเช่าสนามแข่งรถแห่งหนึ่งเป็นเวลา 1 เดือน   ทีมงานจะเติมน้ำมันยี่ห้อใดยี่ห้อหนึ่งให้กับรถแต่ละคันเท่านั้น แต่จะมีนักขับมากกว่าหนึ่งคนมาทดลองขับรถแต่ละคันเป็นระยะทางรวม 12,000 กิโลเมตร โดยเส้นทางที่วิ่งก็มีทั้งช่วงที่ใช้ความเร็วได้ต่อเนื่องและช่วงที่ต้องขับๆ หยุดๆ เหมือนอยู่ในช่วงการจราจรติดขัด    ผลการทดสอบ (ซึ่งรวมถึงการถอดเครื่องยนต์ออกไปให้ห้องปฏิบัติการตรวจ) ปรากฏว่าไม่มีความแตกต่างกันในเรื่องการสึกหรอของเครื่องยนต์ สมรรถนะของรถ ประสิทธิภาพการใช้น้ำมัน หรือการปล่อยมลพิษของรถทั้ง 4 คันที่เติมน้ำมันคนละยี่ห้อ   แล้วผู้บริโภคจะจ่ายแพงกว่าไปทำไม?   หมายเหตุ: นิตยสาร DECO เป็นนิตยสารเพื่อผู้บริโภคของโปรตุเกส ที่มีสมาชิก 400,000 คน   Consumer Justice Now! In Thailand ปัญหาด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศไทยถือเป็นปัญหาใหญ่ที่ถูกมองข้าม ทั้งที่สังคมบ้านเราก็ดูเหมือนจะมุ่งมั่นเดินหน้าเข้าสู่สังคมบริโภคนิยมกันอย่างเต็มที่ ยิ่งบริโภคกันมากปัญหาจากการซื้อสินค้าหรือบริการต่างๆ ก็ย่อมมีมากตามไปด้วย แถมยิ่งพอเกิดปัญหาขึ้นแล้วจะเรียกร้องหาทางออกทางแก้ ก็เป็นเรื่องที่ยากแท้หยั่งถึง   แต่ก็ใช่ว่าผู้บริโภคไทยจะยอมทนอยู่กับปัญหา เพราะยังมีผู้บริโภคจำนวนไม่น้อยที่ออกมาปกป้องสิทธิของตัวเอง ลองมาดูกันว่าพลังของผู้บริโภคไทยสร้างความเปลี่ยนแปลงอะไรให้เกิดขึ้นบ้าง   พลังจากการรวมตัว ใครจะคาดคิดว่าสถานออกกำลังกายชื่อดังอย่าง “แคลิฟอร์เนียว้าว” ที่มีสาขาเปิดให้บริการเป็นจำนวนมากทั้งใน กทม. และต่างจังหวัด มีสมาชิกสมัครใช้บริการรวมทุกสาขามากกว่า 150,000 คน วันหนึ่งจะประสบปัญหาด้านการเงินจนต้องปิดให้บริการ ซึ่งกลายเป็นปัญหาส่งตรงถึงผู้บริโภคที่สมัครเป็นสมาชิก ทั้งไม่ได้ใช้บริการตามที่สัญญา ราคาค่าสมัครสมาชิกนั้นก็สูงลิ่วตั้งแต่หลักหมื่นจนถึงหลักแสน แถมที่น่าเจ็บใจยิ่งกว่าคือทั้งๆ ที่ไม่สามารถให้บริการได้ตามที่สัญญา แต่การหักเงินค่าสมาชิกที่จ่ายค่าผ่านบัตรเครดิตกลับยังคงดำเนินอยู่ต่อไป เรียกว่าบริการก็ไม่ได้ใช้ การช่วยเหลือชดเชยก็ไม่มี แต่ยังต้องมาเสียเงินซ้ำอีก มี่แหละคือความช้ำสุดๆ ที่ผู้ประกอบการใจร้ายทำกับผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางเพื่อทำให้เกิดการรวมตัวของสมาชิกฟิตเนส แคลิฟอร์เนียว้าวที่ได้รับความเสียหาย เพื่อร่วมกันเป็นหนึ่งพลังที่ยิ่งใหญ่ในการปกป้องสิทธิของผู้บริโภค ซึ่งมียอดผู้ร้องเรียนเข้ามายังศูนย์พิทักษ์สิทธิ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคถึง 587 ราย รวมมูลค่าความเสียหายกว่า 30 ล้านบาท การรวมตัวกันของผู้เสียหายจากการใช้บริการฟิตเนส แคลิฟอร์เนียว้าว ครั้งนี้ได้ดำเนินการอย่างเป็นขั้นเป็นตอนและต่อเนื่อง เริ่มตั้งแต่การทำความเข้าใจร่วมกันถึงการรักษาสิทธิในฐานะผู้บริโภค แนวทางในการต่อสู้เพื่อปกป้องสิทธิ ซึ่งมีทั้งการจัดเวทีเพื่อพูดคุยทำความเข้าใจทั้งกับผู้เสียหายและผู้บริโภคทั่วไปในเรื่องการขอยกเลิกสัญญาบริการฟิตเนส ซึ่ง สคบ. มีการกำหนดขอบังคับไว้ชัดเจน ก ารรวมกลุ่มผู้เสียหายเพื่อร่วมกันดำเนินการเอาผิดกับฟิตเนส แคลิฟอร์เนียว้าวตามขั้นตอนของกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการยื่นหนังสือกับรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐนมตรี เพื่อขอให้ทำหน้าที่ฟ้องคดีแพ่งและอาญาแทนผู้บริโภคที่ได้รับความเสียหาย การเข้าแจ้งความร้องทุกข์กับ กองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) เพื่อดำเนินคดีอาญา และการเข้าพบอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) เพื่อเสนอให้ดำเนินการเป็นคดีพิเศษ   แม้ว่าปัญหาจะยังไม่ถูกแก้ไขจนแล้วเสร็จ แต่การจับมือกันลุกขึ้นมาสู้ของเหล่าผู้เสียหายจากการใช้บริการฟิตเนส แคลิฟอร์เนียว้าวครั้งนี้ สร้างแรงสั่นสะเทือนอย่างมากในเรื่องการรวมตัวกันรักษาสิทธิของผู้บริโภคในประเทศไทย ทำให้ผู้บริโภคทั่วไปเห็นความสำคัญในการรักษาสิทธิ และเป็นการส่งสัญญาณเตือนกับบรรดาผู้ประกอบการว่าต้องให้ความเคารพไม่คิดละเมิดสิทธิของผู้บริโภค   จอดำ ทำกันได้ จะเกิดอะไรขึ้น เมื่อเรานั่งดูทีวีอยู่ดีๆ แต่กลับถูกละเมิดสิทธิแบบที่ไม่มีโอกาสเรียกร้อง   คำว่า “จอดำ” กลายเป็นคำที่ได้ยินบ่อยครั้งในช่วงการแข่งขันฟุตบอลยูโรเมื่อปี 2012 เมื่ออยู่ดีๆ โทรทัศน์ช่องฟรีทีวีอย่าง 3, 5, 7, 9 ของหลายๆ บ้านไม่สามารถรับชมการแข่งขันได้ทั้งๆ ที่กำลังมีการถ่ายทอดสด เนื่องจากปัญหาลิขสิทธิ์ เกิดเงื่อนไขที่ว่าต้องติดจานดาวเทียมหรือกล่องรับสัญญาณของเจ้านี้เท่านั้นถึงจะได้ดู ถ้าติดของอีกเจ้าก็หมดสิทธิ์ ทั้งๆ ที่ช่องที่กำลังถ่ายทอดคือช่องฟรีทีวี ซึ่งๆ ไม่ว่าใครก็ควรจะมีสิทธิที่ได้ชมขอแค่มีทีวีและอุปกรณ์รับสัญญาณ เรื่องนี้กลายเป็นเรื่องตลกร้ายที่กลุ่มธุรกิจแข่งขันกันเรื่องผลประโยชน์โดยไม่สนใจในสิทธิของผู้บริโภค   เครือข่ายผู้บริโภคภาคประชาชนและมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้ออกมาเรียกร้องให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งบริษัทผู้ถือลิขสิทธิ์ ผู้บริหารช่องฟรีทีวี และหน่วยงานที่มีหน้ากำกับดูแลอย่างสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เพื่อหาทางแก้ปัญหาทวงสิทธิของผู้บริโภคกลับคืนมา ซึ่งท้ายที่สุดได้มีการยืนฟ้องต่อศาลให้เข้ามาควบคลุมดูแล แต่แม้ว่าศาลจะยกคำร้องทำให้ฟรีทีวียังคงจอดำจนจบการแข่งขันฟุตบอลยูโร แต่การลุกขึ้นมารักษาสิทธิของผู้บริโภคโดยเครือข่ายผู้บริโภคภาคประชาชนและมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคในครั้งนี้ สร้างการตื่นตัวครั้งสำคัญในเรื่องของสิทธิในรับชมรายการถ่ายทอดสดโดยเฉพาะการแข่งขันกีฬาผ่านช่องฟรีทีวี ในยุคที่จานดาวเทียมและกล่องรับสัญญาณต่างๆ กำลังเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ   การออกมาแสดงพลังผู้บริโภคโดยเครือข่ายผู้บริโภคภาคประชาชนและมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเรื่องปัญหาจอดำ ทำให้ กสทช. ตื่นตัวทำงาน ด้วยการออกหลักเกณฑ์การเผยแพร่กิจการโทรทัศน์ที่ให้บริการเป็นการทั่วไป หรือ MUST CARRY RULE ที่มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2555 ซึ่งเป็นข้อกำหนดที่จะช่วยปกป้องสิทธิของผู้บริโภคที่รับชมโทรทัศน์ช่องฟรีทีวีให้สามารถรับชมได้อย่างทั่วถึง ในเนื้อหาเดียวกัน  ไม่มีการเปลี่ยนแปลงผังรายการหรือเนื้อหารายการ ไม่ว่าจะเป็นการรับชมผ่านช่องทางใด ผ่านจานหรือกล่องรับสัญญาณยี่ห้ออะไรก็แล้วแต่ ช่องฟรีทีวีต้องไม่จอดำ นอกจากนี้ยังมีการกำหนดเอาไว้ด้วยว่าการแข่งขันกีฬาระดับโลก 7 รายการ เช่น ซีเกมส์, เอเซียนเกมส์, โอลิมปิก ฯลฯ ต้องสามารถรับชมได้ผ่านช่องฟรีทีวี ห้ามจอดำ   ร้องเรียนสู่การเปลี่ยนแปลง บางครั้งหนึ่งเสียงเล็กๆ ของผู้บริโภค ที่มองเห็นปัญหาแล้วบอกต่อสู่สังคม ก็อาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ได้เหมือนกัน   คนไทยเราให้ค่ากับ “รังนก” ว่าเป็นของดีมีประโยชน์ เป็นของมากคุณค่าราคาแพง เราถูกบอกให้เชื่อตามที่ผู้ผลิตโฆษณา แต่ในทางวิชาการไม่ได้เป็นแบบนั้น ถ้าใครจำได้ เมื่อไม่นานมานี้เคยมีผลิตภัณฑ์รังนกสำเร็จรูปพร้อมดื่มยี่ห้อหนึ่งใช้คำโฆษณาว่า “รังนกแท้ 100%” ซึ่ง คุณเธียร ลิ้มธนากุล ผู้ที่ทำงานด้านโฆษณา มีความสงสัยในคำโฆษณาดังกล่าวจึงได้ส่งเรื่องร้องเรียนมายังมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงการโฆษณารังนกแท้ 100% ซึ่งเมื่อตรวจสอบแล้วก็พบว่าข้อความโฆษณาดังกล่าวสร้างความเข้าผิดให้กับผู้บริโภคอย่างชัดเจน เพราะในความเป็นจริงแล้ว รังนกสำเร็จรูปพร้อมดื่มที่วางขายอยู่ตามท้องตลาดทั่วไปมีรังนกเป็นส่วนประกอบอยู่เพียงแค่ 1% เท่านั้น   เครือข่ายผู้บริโภคและนักวิชาการด้านสื่อจึงเสนอไปยังสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ซึ่งตามปกติ อย.ไม่อนุญาตให้โฆษณาโดยใช้คำว่า 100% อยู่แล้ว ผลก็คือจากนี้ไปห้ามไม่ให้ผลิตภัณฑ์รังนกสำเร็จรูปใช้คำว่า “รังนกแท้ 100%” อีก ต้องตัดคำว่า 100% ออกไป ถ้าหากพบการทำผิดไม่ใช่แค่รังนกแต่รวมถึงผลิตภัณฑ์อาหารอื่นๆ ในลักษณะนี้จะต้องถูกลงโทษตามกฎหมาย   เห็นมั้ยว่า เราทุกคนสามารถเป็นผู้บริโภคที่ช่วยกันเปลี่ยนแปลงสังคมของเราได้   ใช้กฎหมายเป็นผู้ช่วย ตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นมา ผู้บริโภคไทยก็สามารถต่อสู้คดีจากการถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ประกอบการที่ไม่ประสงค์ดีได้อย่างมีประสิทธิภาพและสะดวกสบายมากขึ้น ด้วยการใช้ “พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค” ที่จะช่วยเป็นเครื่องมือในการใช้อำนาจจากศาล แต่เดิมที่ผู้บริโภคแทบจะไม่มีศักยภาพมากพอที่จะต่อสู้กันในชั้นศาลกับผู้ประกอบการ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความรู้ในทางคดี หรือทุนทรัพย์ในการดำเนินการ สุดท้ายผู้บริโภคก็มักจะเป็นฝ่ายแพ้คดีหรือไม่ก็ถูกผู้ประกอบการกล่อมให้ยอมความแล้วรับค่าชดเชยที่ไม่สมเหตุสมผล การมีกฎหมายวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคนั้นมีข้อดีที่เป็นประโยชน์กับผู้บริโภคหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการให้ผู้บริโภคสามารถยื่นคำฟ้องได้ด้วยวาจา ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการฟ้องคดี สามารถให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคฟ้องคดีแทนได้ มีกระบวนการไกล่เกลี่ย และให้ภาระการพิสูจน์ถูกผิดเป็นหน้าที่ของผู้ประกอบการ ซึ่งก็มีผู้บริโภคจำนวนมากได้รับความเป็นธรรมจากกฎหมายวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค เช่น อ.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ที่ฟ้องสายการบินนกแอร์เรื่องการละเลยการดูแลมาตรการรักษาความปลอดภัย หรือกรณีของ คุณสุภาภรณ์ ว่องวีรวัฒนกุล ที่พบปัญหาอากาศเป็นพิษภายในรถรถยนต์โตโยต้า อินโนว่า ซึ่งสุดท้ายศาลคดีผู้บริโภคก็ให้คุณสุภาภรณ์ชนะคดีและให้บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทยชดเชยค่าเสียหาย   แม้ว่ากฎหมายวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคจะยังคงมีปัญหาอยู่บ้าง แต่กฎหมายฉบับนี้ก็ถือเป็นหนึ่งในอาวุธชิ้นสำคัญที่จะทำให้ผู้บริโภคได้ใช้ปกป้องพิทักษ์รักษาสิทธิของตัวเองได้อย่างเข้มแข็ง   Timeline การคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศไทย 2522 – ประกาศใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค และจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.)   2526 – เกิด คณะกรรมการประสานงานองค์กรเอกชนเพื่อการสาธารณสุขมูลฐาน (คปอส.) เป็นองค์กรพัฒนาเอกชนสาธารณประโยชน์ ทำงานด้านสาธารณสุข จุดเริ่มต้นก่อนที่จะเป็นมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคในปัจจุบัน 2540 – มีการกำหนดให้มีองค์การอิสระผู้บริโภคในรัฐธรรมนูญไทยเป็นครั้งแรก มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคทั่วประเทศเริ่มต้นผลักดันให้เกิดองค์การอิสระผู้บริโภค   2548 – ปรากฏการณ์ “ทุบรถทวงสิทธิ” เมื่อ น.ส.เดือนเพ็ญ ศิลาเกษ ใช้ค้อนทุบรถยนต์ยี่ห้อฮอนด้า ซีอาร์วี ต่อหน้าสื่อมวลชน หลังสุดทนเจอปัญหาสารพัดแต่กลับไม่ได้รับการดูแลการบริษัทผู้ขาย   2548 – ขบวนการผู้บริโภคและภาคประชาชนยุติการแปรรูป การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)   2550 – ผ่านมา 10 มีการใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แต่องค์การอิสระผู้บริโภคก็ยังไม่เกิด มีการปรับเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค จากมาตรา 57 ในรัฐธรรมนูญปี 2540 เป็นมาตรา 61 ในรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคทั่วประเทศยังคงผลักดันกฎหมายนี้อย่างตัวเนื่อง   2551 – เริ่มใช้ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค   2556 – รัฐบาลยังไม่ยอมให้มี องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคทั่วประเทศก็ยังคงเดินหน้าผลักดันให้เกิดกฎหมายนี้ต่อไป //

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 143 รถบัสลายการ์ตูน สวยงามหรืออันตราย!?

  เชื่อว่าใครที่สัญจรบนท้องถนนเป็นประจำ น่าจะเคยสะดุดตากับบรรดา “รถบัสลายการ์ตูน” ทั้งตัวการ์ตูนญี่ปุ่น การ์ตูนฝรั่ง การ์ตูนไทยก็มี สีสันแสบตา เรียกว่านับสีกันไม่ถูก แถมบางคันยังติดไฟพรึ่บพรั่บเป็นสิบๆ ดวง ดูแล้วออกจะรกหูรกตามากกว่าจะเรียกว่าเป็นความสวยงาม เชื่อว่าหลายคนที่พบเห็นคงมีคำถามอยู่ในใจว่า รถทัวร์ลายการ์ตูนและรถทัวร์ที่ติดไฟส่องสว่างเกินความจำเป็นพวกนี้ เป็นรถที่ได้รับอนุญาตถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ แล้วจะมีผลอย่างไรหรือไม่กับเรื่องของการขับขี่และที่สำคัญคือเรื่องของการเกิดอุบัติเหตุ เรามาร่วมกันไขปริศนาของเหล่าบรรดารถบัสลายการ์ตูนสีลูกกวาดที่กำลังออกอาละวาดบนท้องถนนว่าเหมาะสม? ถูกต้อง? ปลอดภัย? อันตราย? หรือขัดกับกฎหมายอะไรยังไงกันบ้าง?   ต้องทำเพื่อเอาใจลูกค้า? พวกรถบัสลายการ์ตูนมักจะมาในรูปของ “รถโดยสารไม่ประจำทาง” ซึ่งมักจะเป็นรถรับส่งพนักงาน หรือรถโดยสารเพื่อการท่องเที่ยว ซึ่งการเป็นรถเพื่อการท่องเที่ยวนี่แหละที่กลายเป็นคำกล่าวอ้างของผู้ประกอบการให้เช่ารถโดยสารไม่ประจำทางถึงเหตุผลที่ทำให้รถต้องถูกตกแต่งด้วยสีสันและลวดลายต่างๆ   ฉลาดซื้อได้สอบถามพนักงานขับรถและผู้ประกอบการให้เช่ารถโดยสารไม่ประจำทางแห่งหนึ่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งถือเป็นจังหวัดที่มีบริษัทผู้ประกอบการรถบัสโดยสารทั้งประจำทางและไม่ประจำทางหลายแห่ง เนื่องจากเป็นจังหวัดที่เป็นนิคมอุตสาหกรรม จึงทำให้มีรถบัสสำหรับรับ - ส่งพนักงานวิ่งให้บริการเป็นจำนวนมาก รวมทั้งรถที่เพนท์ลายการ์ตูน – แต่งไฟก็มีให้พบเห็นได้ไม่ยาก พนักงานขับรถและผู้ประกอบการได้อ้างถึงเหตุผลที่รถต้องมีการแต่งสีสันหรือวาดลายการ์ตูน รวมทั้งการที่ต้องมีการติดโคมไฟจำนวนมากไว้บริเวณหน้ารถหรือตามตัวรถว่า เป็นความต้องการของลูกค้าที่มาขอใช้บริการ เพราะลูกค้าที่ต้องการรถประเภทนี้ส่วนใหญ่ให้เหตุผลเรื่องความสนุก โดยคิดว่ายิ่งรถมีสีสันแต่งสวยก็จะยิ่งให้ความรู้สึกสนุกมากขึ้น ถึงขนาดที่ลูกค้าที่มาติดต่อเช่ารถเป็นฝ่ายขอมาเองเลยว่ารถต้องมีลวดลายเยอะๆ แต่งไฟเยอะๆ เครื่องเสียงก็ต้องดัง บางก็ว่าด้วยความที่รถมีลวดลายเฉพาะทำให้ง่ายต่อการจดจำเวลาที่รถไปจอดรอบตามที่ต่างๆ เช่น สถานที่ท่องเที่ยวหรือตามปั้มน้ำมัน ซึ่งมักจะมีรถบัสโดยสารลักษณะนี้จอดเป็นจำนวนมาก ทำให้คนที่โดยสารมาจดจำรถของตัวเองได้   สรุปคือ ผู้ประกอบการอ้างว่าการตกแต่งรถบัสด้วยสีสัน ลายการ์ตูน และดวงไฟที่มากมายเกินพอดีนั้น เป็นหนึ่งในเรื่องของการบริการ แต่บริการในลักษณะนี้อาจกำลังขัดกับเรื่องของกฎระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับรถโดยสาร รวมทั้งอาจส่งผลต่อเรื่องของความปลอดภัย ซึ่งตัวผู้ใช้บริการหรือผู้โดยสารเองอาจยังไม่ทราบข้อมูลที่ถูกต้อง ตัวผู้ประกอบการเองก็ละเลยที่จะเลือกปฏิบัติตามกฎระเบียบ และอาจจะรวมถึงหน่วยงานภาครัฐที่ทำหน้าที่กำกับดูแลที่หละหลวมในการควบคุม   สาเหตุหลักของการเกิดอุบัติเหตุมักเกิดจากความประมาทของพนักงานขับรถ เช่น ขับรถเร็ว ขับตัดหน้ากระชั้นชิด ขับผิดกฎหมาย ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆ อีกที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นกับรถโดยสารสาธารณะ ทั้งสภาพของถนนที่ยากต่อการขับและต้องอาศัยของชำนาญของผู้ขับ สภาพแวดล้อม เช่น ฝนตกหนัก ถนนลื่น   สภาพของรถก็มีผลต่อสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุเช่นกัน ทั้งในเรื่องการตรวจเช็คที่ไม่ได้มาตรฐาน อุปกรณ์ชำรุด ส่งผลต่อการควบคุมรถ และรวมถึงการตกแต่งต่อเติมสภาพรถเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ซึ่งกรมการขนส่งทางบกได้มีการกำหนดไว้ชัดเจนในกฎกระทรวงเรื่อง “กำหนดความปลอดภัยในการรับจ้างบรรทุกคนโดยสาร พ.ศ. 2555” ว่าไม่ให้มีการเปลี่ยนแปลงตัวรถหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของรถ หรือเพิ่มสิ่งหนึ่งสิ่งใดเข้าไป ซึ่งน่าจะเป็นอันตรายกับการขับรถและการโดยสาร   เพราะฉะนั้นบรรดารถโดยสารที่เพนท์สีสันหรือลายตัวการ์ตูนต่างๆ รอบตัวรถ และที่มีการติดไฟส่องสว่างไว้ที่หน้ารถนับสิบๆ ดวง ที่ดูแล้วน่าจะเป็นการตกแต่งดัดแปลงรถที่เกินความจำเป็นนั้น ถึงแม้ยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนว่ารถทัวร์ลายการ์ตูนและรถทัวร์ที่ติดไฟส่องสว่างเกินความจำเป็นนั้นมีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุมากน้อยแค่ไหน แต่กรมการขนส่งทางบกก็ได้มีการออกกฎหมายควบคุมในเรื่องนี้ เพราะถือว่าเป็นการกระทำที่สุ่มเสี่ยงต่อการทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นบนท้องถนน   สถิติการเกิดอุบัติเหตุของรถโดยสารสาธารณะช่วงระหว่างเดือนมกราคมถึงสิงหาคม 2555 พบว่ามีอุบัติเหตุเกิดขึ้นถึง 176 ครั้ง มีผู้เสียชีวิตถึง 181 คน บาดเจ็บ 1,857 คน ที่มา กรมการขนส่งทางบก   รถบัสแต่งสี – แต่งไฟ ระวังเข้าข่ายทำผิดกฎหมาย ข้อบังคับเรื่องการตกแต่งสีและลวดลายบนตัวถังรถ กรมการขนส่งทางบกได้ออกข้อบังคับเรื่องการตกแต่งสีสัน ลวดลาย และภาพวาด บนตัวถังรถยนต์ ไว้ในประกาศเรื่อง “ตัวอักษร ภาพ หรือเครื่องหมายที่ตัวถังรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร และรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ พ.ศ. 2555” ซึ่งมีข้อกำหนดดังนี้ รถโดยสารทั้งแบบประจำทางและไม่ประจำทาง สามารถตกแต่งภาพไว้บนตัวถังรถได้ แต่ต้องเป็นไปตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด และได้รับการขออนุญาตเสียก่อน โดยรูปภาพประจำรถหรือข้อความที่นำมาตกแต่งต้องไม่มีลักษณะดังนี้ 1.กระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เช่น รูปภาพล้อเลียนหรือข้อความที่ส่อไปทางดูหมิ่น ดูถูกผู้นำหรือประชาชนของประเทศอื่น เป็นต้น 2.กระทบต่อความมั่นคงของรัฐและเกียรติภูมิของประเทศไทยหรือขัดต่อแนวนโยบายแห่งรัฐ เช่น รูปภาพหรือข้อความที่สนับสนุนให้ล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย เป็นต้น 3.ขัดต่อกฎหมายอื่น เช่น รูปภาพหรือเครื่องหมายของเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เป็นต้น 4.ขัดต่อความสงบเรียบร้อย ศีลธรรม หรือวัฒนธรรมอันดีของประชาชน เช่น รูปภาพหรือข้อความที่ส่อไปในทางลามกอนาจาร 5.ขัดต่อลัทธิหรือความเชื่อทางศาสนา หรืออาจเป็นประเด็นขัดแย้งทางศาสนา เช่น  รูปภาพหรือข้อความล้อเลียนศาสดาหรือผู้นำทางศาสนา 6.ก่อให้เกิดอันตรายหรือก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัยแก่ผู้ใช้รถใช้ถนน เช่น รูปภาพหรือข้อความที่เป็นสีสะท้อนแสง เป็นต้น 7.ละเมิดหรือทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น เช่น รูปภาพหรือข้อความที่หมิ่นประมาทผู้อื่น เป็นต้น 8.มีข้อความหรือถ้อยคำที่ไม่เหมาะสม เช่น คำหยาบคาย คำผวน หรือคำแสลงที่สื่อความหมายในทางลามก อนาจาร เป็นต้น   ที่สำคัญคือ รูปภาพประจำรถต้องไม่ปิดทับเครื่องหมายของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง เครื่องหมายที่ต้องให้ปรากฏประจำรถ หมายเลขเส้นทาง ชื่อเส้นทาง หรือข้อความอื่นที่กฎหมายกำหนด เช่น ข้อความเกี่ยวกับการใช้ประตูฉุกเฉิน ทางออกฉุกเฉิน และต้องไม่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ของรถ เช่น ประตูฉุกเฉิน ประตูอัตโนมัติ จนเป็นเหตุให้ไม่สามารถใช้งานได้ตามปกติ โดยอนุญาตให้มีรูปภาพประจำรถได้แต่เฉพาะในตำแหน่งด้านข้างภายนอกตัวถังรถเท่านั้น และต้องไม่บดบังส่วนที่เป็นกระจกหรือบานหน้าต่าง หากกระทำผิดฝ่าฝืนกฎข้อบังคับจะถูกลงโทษปรับสูงสุด 50,000 บาท   แต่จากสภาพที่เห็นๆ กันอยู่ ว่าการตกแต่งตัวถังรถ ทั้งด้านข้าง ด้านหน้า และด้านท้ายตัวรถ ด้วยรูปภาพการ์ตูนหรือลวดลายต่างๆ โดยใช่สีสันหลากหลายสี จนยากที่จะจำแนกเจาะจงว่ารถคันดังกว่าเป็นสีอะไร ทำเป็นปัญหาอย่างมากต่อการจดจำหรือใช้เป็นข้อมูลเฉพาะของรถคันดังกล่าว แม้บางคนอาจอ้างว่ายิ่งรถตกแต่งลายการ์ตูนน่าจะช่วยให้จำง่ายด้วยซ้ำเพราะไม่ซ้ำกับรถคันอื่น แต่หากเป็นกรณีที่ผู้เสียหายหรือผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุจากรถบัสลายการ์ตูนดันดังกล่าว ไม่รู้จักตัวการ์ตูนตัวนั้นที่เป็นภาพวาดอยู่บนรถ ก็แทบจะระบุไม่ได้เลยว่าลักษณะสีของรสบัสคันดังกล่าวเป็นสีอะไร นอกจากนี้การใช้สีสันเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะสีสะท้อนแสง ก็จะยิ่งเป็นอันตรายกับผู้ใช้รถใช้ถนนคนอื่น เพราะสีสะท้อนแสงจะไปรบกวนการทัศนวิสัยการขับขี่ของรถคันอื่นได้   เรื่องของรูปภาพโฆษณาที่ติดข้างรถโดยสาร คนกทม.น่าจะคุ้นเคยกับบรรดารถเมล์ที่ด้านข้างตัวรถถูกปิดทับด้วยภาพโฆษณา ซึ่งประกาศเรื่อง “ตัวอักษร ภาพ หรือเครื่องหมายที่ตัวถังรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร และรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ พ.ศ. 2555” ก็มีผลบังคับกับรถประจำทางเหล่านี้ด้วยเช่นกัน แต่ก็มีข้อกำหนดเฉพาะเพิ่มเติม เช่น รูปภาพเพื่อการโฆษณาบริเวณส่วนตัวถังที่เป็นกระจกหรือบานหน้าต่าง ต้องทำด้วยวัสดุโปร่งแสงซึ่งสามารถทำให้ผู้โดยสารภายในรถมองเห็นสภาพภายนอกรถได้ดี และบุคคลภายนอกรถสามารถมองเห็นสภาพภายในรถได้ด้วย การติดรูปภาพเพื่อการโฆษณาที่ตัวถังรถ ต้องติดให้แนบแน่นกับตัวถังรถอย่างเรียบร้อย โดยต้องไม่มีส่วนใดยื่นออกนอกตัวถังรถ ข้อบังคับเรื่องโคมไฟส่องสว่าง ส่วนในเรื่องของโคมไฟนั้น ตามพระราชบัญญัติ การขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 กำหนดไว้ว่าให้มีได้เฉพาะในส่วนที่มีความจำเป็นเท่านั้น เช่น โคมไฟส่องสว่างด้านหน้า ไฟเลี้ยว ไฟจอด ไฟท้ายและไฟจอดแสงสีแดง ไฟส่องป้ายทะเบียน และไฟแสดงส่วนสูง ส่วนกว้างของรถ สำหรับไฟส่องสว่างที่อนุญาต คือ ไฟแสงสีขาวและสีเหลืองเท่านั้น โคมไฟอื่นนอกจากที่กล่าวมาแล้ว ถ้าจะนำมาใช้ต้องได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบกเสียก่อน สำหรับรถบัสที่ติดตั้งโคมไฟสปอร์ตไลท์ ที่มีลักษณะโคมไฟเรียงกันเป็นแถวยาวที่ด้านหน้าและด้านท้ายรถ ทั้งตามแนวตั้งและแนวนอนเป็นจำนวนมากหลายสิบดวง ซึ่งปิดบังทัศนะวิสัยในการมองบริเวณกระจกรถ รวมถึงการดัดแปลงแก้ไขโคมไฟต่างๆ เช่น โคมไฟส่องสว่าง โคมไฟเบรก โคมไฟเลี้ยวให้มีสีที่ผิดไปจากที่กฎหมายกำหนด หรือติดสติ๊กเกอร์ปิดบังทัศนวิสัยในการมองบริเวณกระจกหน้ารถ รวมถึงเปิดเสียงดังก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญและเป็นอันตรายแก่ผู้ใช้รถใช้ถนน ถือว่าเข้าข่ายกระทำผิดพระราชบัญญัติ ผู้ที่ทำผิดจะมีโทษปรับสูงสุด 50,000 บาท จากการที่ฉลาดซื้อได้สอบถามกับพนักงานขับรถบัสไม่ประจำทางคนหนึ่งถึงเรื่องของโคมจำนวนกว่าร้อยดวงที่ติดอยู่ด้านหน้ารถนั้น พนักงานขับรถยืนยันว่า “ทุกดวงสามารถเปิดใช้งานได้” ซึ่งแน่นอนหากมีการเปิดใช้โคมไฟเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด รวมถึงการนำไปใช้ผิดประเภทย่อมส่งผลต่อการขับขี่ของรถยนต์คันอื่นๆ (ใครที่พบเห็นรถโดยสารทั้งประจำทางและไม่ประจำทาง ที่มีการตกแต่งสี – ลวดลาย โคมไฟ หรือตกแต่งส่วนหนึ่งส่วนใดของตัวรถที่ดูแล้วไม่เหมาะสม ขัดกับกฎหมาย หรืออาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุ สามารถแจ้งไปได้ที่ “ศูนย์คุ้มครองผู้โดยสารรถสาธารณะ โทร. 1584”) ------------------------------------------------------- คำแนะนำในการเดินทางโดยรถโดยสารไม่ประจำทาง -เลือกผู้ประกอบการที่มีความน่าเชื่อถือ มีที่ตั้งสถานที่ประกอบการชัดเจน มีใบอนุญาตประกอบการจากกรมการขนส่งทางบก ตรวจสอบได้ -ได้ดูสภาพรถจริงๆ ก่อนที่จะตัดสินใจใช้บริการ เรามีสิทธิเลือกรถที่จะใช้ -เลือกเช่ารถที่มีอุปกรณ์ความปลอดภัยครบถ้วน ได้แก่ เข็มขัดนิรภัย มีค้อนทุบกระจก ถังดับเพลิง และควรมั่นใจว่าอุปกรณ์ต่างๆ ยังอยู่ในสภาพที่ใช้ได้จริง -เลือกรถโดยสารแบบชั้นเดียว เพราะปลอดภัยกว่ารถโดยสารที่เป็นแบบ 2 ชั้น -เลือกรถที่มีการทำประกันอุบัติเหตุ แบบประกันชั้น 1 -ถ้าเดินทางในระยะทางที่มากกว่า 400 กิโลเมตร ต้องมีพนักงานขับรถ 2 คน -พนักงานขับรถต้องมีใบอนุญาตสำหรับรถโดยสาร (ใบอนุญาตประเภท 2 ขึ้นไป) และต้องมีการแสดงข้อมูลพนักงานขับรถที่ถูกต้อง (ชื่อ – นามสกุล และ รูปถ่าย) ติดบริเวณด้านในของรถ ถ้ามีพนักงานขับ 2 คน ก็ต้องแสดงข้อมูลที่ถูกต้องทั้ง 2 คน -ควรมีการวางแผนเส้นทางการเดินทางและระยะเวลาร่วมกับพนักงานขับรถ เลือกเส้นทางที่ปลอดภัย และไม่ควรเดินทางด้วยความเร่งรีบเกินไป เพราะเสี่ยงต่ออันตราย -ระหว่างเดินทางอย่าลืมค่อยสังเกตพนักงานขับรถ ว่าอยู่ในสภาพที่พร้อมจะขับขี่หรือไม่ รวมทั้งต้องขับรถด้วยความสุภาพเรียบร้อย ไม่ขับรถประมาท หรือขับหวาดเสียว หากเห็นว่าไม่ปอลดภัยต้องรีบบอกกับพนักงานขับรถ หรือขอให้หยุดรถแล้วแจ้งบริษัทผู้ให้บริการ เจ้าหน้าตำรวจจราจร หรือกรมการขนส่งทางบก -เลือกรถที่มีสภาพถูกต้องตามกฎหมาย ไม่มีการตกแต่งลายหรือใช้สีสันฉูดฉาดหลายสี ไม่มีการติดโคมไฟหรือใช้แสงสีผิดจากที่กฎหมายกำหนด ---------------------------------------------------------------------     ปัจจุบันมีรถโดยสารจดทะเบียน จนถึง 31 ตุลาคม 2555 ทั้งสิ้นจำนวน 137, 153 คัน เป็นรถโดยสารประจำทาง จำนวน 88,962 คัน รถโดยสารไม่ประจำทาง จำนวน 36,962 คัน ที่มา : กรมการขนส่งทางบก

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 142 ราคา vs รายได้ ใครจ่ายมากกว่า

อยู่ดี กินดี ฉลาดซื้อฉบับส่งท้ายปีเก่าขอพาคุณไปตระเวนรอบโลกผ่านรายงานการสำรวจ “ราคาและรายได้” ประจำปี 2012 โดยบริษัทที่ปรึกษาทางการเงิน UBS ที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ในสวิตเซอร์แลนด์ รายงานซึ่งสำรวจกำลังซื้อของผู้คนใน 72 เมือง ได้สะท้อนให้เห็นความแตกต่างด้านคุณภาพชีวิตของประชากรในแต่ละเมืองอย่างเห็นได้ชัด  ผู้คนในเอเชียยังคงมีชั่วโมงทำงานนานกว่าคนยุโรป และราคาของสินค้าจำเป็นพื้นฐานอย่างข้าวหรือขนมปังในแต่ละเมืองยังต่างกันค่อนข้างมาก เนื่องจากเนื้อที่ของเรามีจำกัด ฉลาดซื้อ จึงขอเลือกมาเฉพาะบางประเด็น เน้นความจำเป็นพื้นฐานอย่างอาหาร ที่อยู่อาศัย เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม (น่าเสียดายที่การศึกษาครั้งนี้ไม่ได้ทำเรื่องยารักษาโรค) การเดินทาง และปัจจัยใหม่ล่าสุดอย่างอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น  นอกจากนี้ยังเน้นเมืองในกลุ่มประเทศอาเซียน ที่เข้าร่วมการสำรวจครั้งนี้เป็นหลัก (กรุงเทพมหานคร กัวลาลัมเปอร์ จาการ์ตา และมะนิลา)   ใคร ที่ไหน อยู่ดีกินดีกว่ากัน กว่าจะมีเงินพอซื้อข้าวสาร 1 กิโลกรัม หรือเบอร์เกอร์ บิ๊กแม็ค 1 ชิ้น ผู้คนในแต่ละเมืองต้องทำงานกี่ชั่วโมง   ข้าวสาร   จำนวนนาที ซูริค / ซิดนีย์ /นิวยอร์ค/ ไมอามี่ / มาดริด/ บาเซโลนา/ ลอสแองเจลิส /โคเปนเฮเกน 6 กรุงเทพฯ 20 กัวลาลัมเปอร์ 21 มะนิลา 28 จาการ์ตา 28 ไนโรบี 41 Big Mac   จำนวนนาที   โตเกียว 9 กัวลาลัมเปอร์ 26 กรุงเทพฯ 36 จาการ์ตา 62 มะนิลา 73 ไนโรบี 84 -          ถ้าเปรียบเทียบกันระหว่าง 4 เมืองในกลุ่มอาเซียน จะเห็นว่า มะนิลามีความแตกต่างระหว่างราคาบิ๊กแม็คกับราคาข้าวสาร มากที่สุด ในขณะที่กัวลาลัมเปอร์มีความแตกต่างของราคาสินค้า 2 ประเภทมากที่สุด จะซื้อ iPhone 4S (16GB) ได้ ผู้คนในแต่ละเมืองต้องทำงานกี่ชั่วโมง iPhone 4S (16GB)   จำนวนชั่วโมง ซูริค 22 กัวลาลัมเปอร์ 129 จาการ์ตา 348.5 กรุงเทพฯ 165 มะนิลา 435 *ปักกิ่ง (ไหนๆ ก็ทำในจีนอ่ะนะ) 184 หมายเหตุ ราคาทั้งหมดเป็นราคาโดยประมาณ (ปัดเศษขึ้น-ลง ให้ได้ตัวเลขกลมๆ) ราคาอาหารในแต่ละเมือง โดยรวมแล้วราคาอาหารโลกเพิ่มขึ้น ร้อยละ 11 เรามาดูกันว่า ค่าใช้จ่ายด้านอาหารของผู้คนแตกต่างกันอย่างไร   ราคา “ตะกร้าอาหาร”   ราคา ราคาเฉลี่ยของทั้ง 72 เมือง 13,000 โตเกียว (แพงที่สุด) 28,500 กรุงเทพฯ 13,000 จาการ์ตา 11,300 กัวลาลัมเปอร์ 10,600 มะนิลา 9,000 มุมไบ (ถูกที่สุด) 5,700   ในที่นี้คิดจาก “ตะกร้าอาหาร” ที่มีผลิตภัณฑ์อาหารจำเป็นสำหรับผู้คนในเมืองนั้นๆ จำนวน 39 รายการ ใน 4 ประเทศในกลุ่มอาเซียนที่ทำการสำรวจ กรุงเทพฯ ของเรามีราคาอาหารแพงที่สุด ในขณะที่ฟิลิปปินส์มีราคาอาหารต่ำสุด   ที่อยู่อาศัย ราคา “ค่าเช่าบ้าน” ต่อเดือน   ราคา นิวยอร์ค (แพงที่สุด) 102,900 กัวลาลัมเปอร์ 23,950 จาการ์ตา 20,600 กรุงเทพฯ 12,600 มะนิลา 5,800 ไคโร (ถูกที่สุด) 5,200   ราคา “บ้าน” ต่อตารางเมตร   ราคา เจนีวา (แพงที่สุด) 364,300 กรุงเทพฯ 87,800 มะนิลา 50,400 จาการ์ตา 49,450 กัวลาลัมเปอร์ 42,100 มุมไบ (ถูกที่สุด) 21,800   เสื้อผ้า ชาย ชุดสูท 1 ชุด + เสื้อแจ็คเก็ต + เสื้อเชิ้ต + กางเกงยีนส์ + ถุงเท้า 1 คู่ + รองเท้า 1 คู่ หญิง ชุดสูท 1 ชุด (เสื้อ-กระโปรง) + เสื้อแจ็คเก็ต + ชุดกระโปรงติดกัน + ถุงน่อง 1 คู่ + รองเท้า 1 คู่ เสื้อผ้าคุณภาพดี ซื้อในห้างสรรพสินค้า     ราคาเสื้อผ้าผู้หญิง ดูไบ (แพงที่สุด) 39,000 กรุงเทพฯ 12,300 กัวลาลัมเปอร์ 7,050 จาการ์ตา 5,800 มะนิลา (ถูกที่สุด) 4,300 *ปักกิ่ง 20,200     ราคาเสื้อผ้าผู้ชาย โตเกียว (แพงที่สุด) 57,700 กรุงเทพฯ 18,400 กัวลาลัมเปอร์ 16,600 จาการ์ตา 12,000 มะนิลา 8,300 *ปักกิ่ง 21,500   ทุกเมืองที่ทำการสำรวจ เสื้อผ้าผู้ชายมีราคาแพงกว่าเสื้อผ้าผู้หญิง ยกเว้นโรม ที่ราคาเสื้อผ้าผู้ชายถูกกว่า   อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน ตู้เย็น + โทรทัศน์ (LED) 40 นิ้ว + iPhone 4S (16GB) + กล้องดิจิตัล + เครื่องดูดฝุ่น + กระทะไฟฟ้า + ไดร์เป้าผม + คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ และคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค     ราคา คาราคัส  (แพงที่สุด) 859,500 มะนิลา 172,700 จาการ์ตา 136,800 กรุงเทพฯ 134,000 กัวลาลัมเปอร์ 131,900 ไมอามี่ 109,800 *ปักกิ่ง 134,000 การขนส่งมวลชน ค่าโดยสารรถเมล์/รถราง/รถไฟใต้ดิน เป็นระยะทาง 10 กิโลเมตร หรือ 10 ป้าย   ราคา ออสโล  (แพงที่สุด) 157 กรุงเทพฯ 23 กัวลาลัมเปอร์ 21 จาการ์ตา 12 มะนิลา 10 มุมไบ 4   ค่าโดยสารรถแท็กซี่ เป็นระยะทาง 5 กิโลเมตร ในเวลากลางวัน     ราคา ซูริค (แพงที่สุด) 900 จาการ์ตา 90 มะนิลา 88 กรุงเทพฯ 76 กัวลาลัมเปอร์ 75 ไคโร 46 ค่าโดยสารรถไฟ ชั้น 2 สำหรับการเดินทาง 200 กิโลเมตร     ราคา แฟรงค์เฟิร์ต (แพงที่สุด) 2,700 กัวลาลัมเปอร์ 220 มะนิลา 170 กรุงเทพฯ 106 จาการ์ตา 81 ชั่วโมงทำงาน และรายได้ วิศวกร วุฒิการศึกษาปริญญาตรีหรือปวส.ด้านวิศกรรมไฟฟ้า ประสบการณ์ทำงาน 5 ปี     ชั่วโมงทำงาน/สัปดาห์ รายได้สุทธิ/ปี ซูริค 41 2,813,000 กรุงเทพฯ 43 659,700 กัวลาลัมเปอร์ 40 552,300 จาการ์ตา 36 300,700 มะนิลา 43 224,000 เคียฟ 40 165,700   เลขานุการ/ ผู้ช่วย ผู้อำนวยการฝ่าย ประสบการณ์ทำงาน 5 ปี มีทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ และพูดภาษาต่างประเทศได้ 1 ภาษา)     ชั่วโมงทำงาน/สัปดาห์ รายได้สุทธิ/ปี ซูริค 42 1,666,000 กัวลาลัมเปอร์ 40 328,300 กรุงเทพฯ 47 230,000 จาการ์ตา 43 135,000 มะนิลา 48 98,200 มุมไบ 49 98,200 ไนโรบี 42 98,200   ภาษีเงินได้และเงินประกันสังคม   ร้อยละ จากรายได้ บรัซเซลส์ 43 โคเปนเฮเกน 41 ซูริค 21 มะนิลา 19 กัวลาลัมเปอร์ 18 จาการ์ตา 7 กรุงเทพฯ 6 มานามา 2 ดูไบ และ โดฮา 0

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 141 เที่ยวด้วยหัวใจสีเขียว

ถ้าให้นึกถึงความรู้สึกของการได้ออกเดินทางท่องเที่ยวไปยังสถานที่ต่างๆ ได้พบกับประสบการณ์แปลกใหม่ เชื่อว่าทุกคนต้องคิดถึงภาพช่วงเวลาแห่งความสุข การได้พักผ่อนท่ามกลางบรรยากาศของธรรมชาติซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยๆ ในชีวิตประจำวัน แค่คิดภาพตามก็ชักอยากจัดแจงแพ็คกระเป๋าเดินทางแล้วออกไปหาที่เที่ยวแบบธรรมชาติๆ บรรยากาศสบายๆ สักที่ แต่อย่างที่เคยมีใครบางคนบอกไว้ว่า ทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกนี้มักมีสองด้านเสมอ เพราะแม้การได้ออกเดินทางท่องเที่ยวจะสร้างความสนุกสุขใจให้กับเรา แต่ในทางตรงกันข้ามเราในฐานะนักท่องเที่ยวกลับกำลังทำลายธรรมชาติและโลกใบนี้ผ่านการทำกิจกรรมที่ทั้งทำร้ายและรบกวนทรัพยากรธรรมชาติไปอย่างน่าเสียดาย ยิ่งทุกวันนี้การท่องเที่ยวถูกผูกรวมเข้ากันกับเรื่องของธุรกิจ เศรษฐกิจ เลยไปถึงระบบอุตสาหกรรม การส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อสร้างรายได้ให้กับประเทศกลายเป็นดาบสองคม เพราะถึงแม้ประเทศเราจะร่ำรวยขึ้นแต่ทรัพยากรธรรมชาติก็เสื่อมถอยลงเรื่อยๆ “แล้วแบบนี้สถานที่ท่องเที่ยวอันสวยงามจะอยู่กับเราไปได้นานอีกสักแค่ไหน” ถึงเวลาต้องคิดใหม่ทำใหม่ ท่องเที่ยวอย่างใส่ใจ ไม่ทำร้ายธรรมชาติ เพื่อความยั่งยืนของแหล่งท่องเที่ยวในบ้านเรา   ท่องเที่ยวเทรนด์ใหม่ – รักษา สร้างสรรค์ และยั่งยืน “การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน” (sustainable tourism) ถ้าอธิบายให้เข้าใจง่ายๆ ก็คงต้องให้นึกถึงการท่องเที่ยวในเชิงของการอนุรักษ์ ซึ่งคงไม่มีใครปฏิเสธว่าสถานที่ท่องเที่ยวที่ขึ้นชื่อของประเทศไทยเราล้วนแล้วแต่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็น ทะเล ภูเขา ป่าไม้ และยังรวมไปถึงชุมชนต่างๆ ที่ยังคงมีวิถีชีวิตเชื่อมโยงเข้ากับธรรมชาติ เหล่านี้คือเสน่ห์ที่ดึงดูดใจนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกเดินทางมาสัมผัสของงดงาม แต่ธรรมชาติก็มีวันเสื่อมสลายไปตามเวลายิ่งเมื่อต้องรองรับการมาถึงของภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรม การจัดการดูแลเพื่อให้ทั้งการสร้างรายได้และความสมบูรณ์ของธรรมชาติสามารถจับมือเดินคู่กันไปได้อย่างสมดุล ประเทศไทยเราเริ่มจริงจังกับการส่งเสริมธุรกิจการท่องเที่ยวในประเทศครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2530 ซึ่งเป็นปีแรกที่มีการประกาศให้เป็นปีแห่งการท่องเที่ยว แม้ภาคการท่องเที่ยวในประเทศจะประสบความสำเร็จสามารถทำรายได้เข้าประเทศอย่างมหาศาล แต่ก็ต้องไม่ลืมว่าธุรกิจการท่องเที่ยวนั้นมีต้นทุนหลักก็คือ ทรัพยากรทางธรรมชาติ ซึ่งหากนักท่องเที่ยว ผู้ประกอบการ และประชาชนเจ้าของพื้นที่ ขาดจิตสำนึกที่จะดูแลรักษาธรรมชาติ สถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติทั้งหลายจะอยู่กับเราไปได้นานสักแค่ไหน? องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. เป็นหน่วยที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2546 เพื่อดำเนินงานด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโดยเฉพาะ มีหน้าที่ประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ทั้งรัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กับชาวบ้านในชุมชน เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ชุมชนท้องถิ่นของตนเอง ทั้งการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ บำรุงรักษาศิลปวัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งขณะนี้ อพท. ก็ได้ให้การสนับสนุนดูแล 5 แหล่งท่องเที่ยวสำคัญในประเทศ ให้เป็นพื้นที่ท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ประกอบด้วย -หมู่เกาะช้างและพื้นที่เชื่อมโยง -เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี -เมืองพัทยาและพื้นที่เชื่อมโยง -อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชร -จังหวัดเลย โดย อพท. จะเข้าไปทำงานร่วมกับผู้ประกอบการ ชาวบ้านในพื้นที่ และขอความร่วมมือจากนักท่องเที่ยว เพื่อช่วยกันทำให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ยั่งยืน อย่างในหมู่เกาะช้างและพื้นที่เชื่อมโยง ซึ่งมีปัญหาเรื่องของปริมาณขยะที่มีเป็นจำนวนมากยากต่อการจัดการ ซึ่งเกิดจากทั้งปริมาณนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นทุกปีและชาวบ้านในพื้นที่ที่ขาดความรู้ที่ถูกต้องในการจัดการ ที่สำคัญคือจิตสำนึกร่วมกันในดูแลรักษาสภาพแวดล้อม อพท. จึงได้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสร้างโรงงานคัดแยกขยะขึ้นบนเกาะช้างเมื่อปี 2549 ซึ่งไม่เพียงแต่ทำให้เกิดการจัดเก็บขยะอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นเท่านั้น ขยะมูลฝอยอินทรีย์ที่ได้ยังถูกแปรรูปไปเป็นพลังงานก๊าซชีวภาพเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าได้อีกด้วย แม้จะเป็นปริมาณไม่มากแต่ก็ถือเป็นการบริหารการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่ามากที่สุด ขณะที่เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี อพท. ได้นำพันธุ์สัตว์ป่าจากเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีนำไปเพราะพันธุ์ที่ห้วยทรายขาว จ.ลำพูน เพื่อเป็นการคืนธรรมชาติที่เหมาะสมให้กับพื้นป่าชุมชนห้วยทรายขาวซึ่งมีโอกาสพัฒนาเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ได้ในอนาคต ขณะที่เมืองพัทยาและพื้นที่เชื่อมโยงก็จะถูกปรับภาพลักษณ์ให้เป็นเมืองที่น่าท่องเที่ยวมากขึ้น พัฒนาการท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรม ส่วนอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชร ถือเป็นสถานที่ต้นแบบในการจัดทำพื้นที่ท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนด้านประวัติศาสตร์ ขณะที่ จ.เลย ถือเป็นพื้นที่สำคัญมีแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติจำนวนมากและเริ่มมีนักท่องมาเที่ยวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อพท. จึงเห็นเหมาะสมที่จะเริ่มวางแนวทางการท่องเที่ยวยั่งยืนตั้งแต่เนินๆ นอกจากทั้ง 5 แห่งที่กล่าวมาแล้วในอนาคตข้างหน้าก็จะมีอีกหลายพื้นที่หลายชุมชนที่พร้อมจะปรับเปลี่ยนการรูปแบบท่องเที่ยวสู่แนวทางการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (ศึกษาข้อมูลของพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนทั้ง 5 แห่งเพิ่มเติมได้ที่ www.dasta.or.th/th/Sustain/sub_sustain_area.php)   “การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์” (Creative Tourism) การท่องเที่ยวสร้างสรรค์จะเน้นให้นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้ในเรื่องศิลปะ วัฒนธรรม และเอกลักษณ์ของแต่ละสถานที่ ผ่านประสบการณ์ตรง ซึ่งแน่นอนว่าเจ้าบ้านอย่างผู้คนในท้องถิ่นเองก็ต้องทำหน้าที่เป็นผู้ถ่ายทอดสิ่งต่างๆ แก่นักท่องเที่ยว อย่างการทดลองทำอาหารขึ้นชื่อประจำท้องถิ่น การทดลองทำหัตถกรรม OTOP ทดลองทำเกษตรอินทรีย์ พักแบบ Home Stay ตลอดจนการทดลองใช้ชีวิตตามแบบอย่างผู้คนในชุมชน เพื่อให้เข้าใจถึงวัฒนธรรมอันมีเอกลักษณ์ของผู้คนและสถานที่นั้นๆ ผ่านประสบการณ์ตรง เรียกว่าเป็นเวทีการเรียนรู้แบบมีชีวิต การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ นอกจากจะดีกับนักท่องเที่ยวแล้ว ยังเป็นการท่องเที่ยวที่ช่วยสนับสนุนชุมชนท้องถิ่นอย่างแท้จริง เพราะเป็นการช่วยให้ชุมชนสำนึกรักในบ้านเกิดของตัวเอง รู้จักและเข้าใจในเอกลักษณ์หรืออัตลักษณ์ของตัวเองอย่างถ่องแท้ เพื่อจะได้นำมาใช้ถ่ายทอดต่อให้กับนักท่องเที่ยว เป็นการสร้างธุรกิจการท่องเที่ยวที่ทั้งสร้างสรรค์และยั่งยืน   “นักท่องเที่ยวสีเขียว” ใครๆ ก็เป็นได้ เตรียมตัวก่อนออกเที่ยว -ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยว ทั้งทรัพยากรในพื้นที่ ประเพณีวัฒนธรรม กิจกรรม รวมถึงปัญหาในพื้นที่ เพื่อเราในฐานะนักท่องเที่ยวจะได้ปฏิบัติตัวได้อย่างเหมาะสมและไม่ทำอะไรที่เป็นรบกวนสถานที่ที่เราไปเที่ยว -เวลาจัดกระเป๋าสัมภาระต้องจัดอย่างสร้างสรรค์ รับรองว่าช่วยลดโลกร้อนได้เหมือนกัน ง่ายๆ ด้วยการขนของที่จะใช้ไปเท่าที่จำเป็น ยิ่งกระเป๋าใบใหญ่ใส่ของแยะน้ำหนักเยอะก็ยิ่งสิ้นเปลืองพลังงานในการขนย้าย ยิ่งขนของไปเที่ยวมากๆ ก็มีสิทธิไปสร้างขยะทิ้งไว้ในสถานที่ที่เราไปเที่ยว -แต่ของใช้จำเป็นหลายๆ อย่างถ้านำไปเองได้ก็น่าจะช่วยลดการสร้างขยะ เช่นพวก สบู่ ยาสีฟัน ยาสระผม เพราะถ้าไปใช้ของที่โรงแรมที่พักเขาเตรียมไว้มักจะต้องเปลี่ยนให้ใหม่ทุกวัน แต่ของจะที่เอาไปขอให้เป็นแบบที่ชนิดเติมจะได้ไม่ต้องเพิ่มขยะขวดพลาสติก แถมการที่เรานำผลิตภัณฑ์เหล่านี้ไปเองก็ช่วยให้มั่นใจว่าเราจะเกิดอาการแพ้   เลือกการเดินทาง -ศึกษาเส้นทางให้ดีก่อนการเดินทาง ใช้เส้นทางที่มีระยะสั้น ประหยัดเวลา ใช้พลังงานน้อย -เลือกวิธีการเดินทางให้เหมาะสม หากเป็นการท่องเที่ยวในประเทศและพอมีเวลา แนะนำให้ลองใช้บริการสาธารณะอย่างรถไฟเพราะประหยัดพลังงาน มากกว่ารถทัวร์ เครื่องบิน หรือแม้แต่รถยนต์ส่วนตัว -เครื่องบิน เป็นวิธีการเดินทางที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศมากที่สุด -ถ้ารถส่วนตัวก็ควรเดินไปด้วยกันหลายๆ คน ไปกันเยอะๆ สนุกกว่า ประหยัดพลังงานกว่า -ถ้าไปกับบริษัทนำเที่ยวก็ควรเลือกโปรแกรมนำเที่ยวที่รบกวนต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด -การตรวจให้สภาพรถยนต์ให้สมบูรณ์พร้อมสำหรับการเดินทาง จะสามารถช่วยให้เรื่องของการประหยัดการใช้พลังงาน และที่สำคัญยังสามารถช่วยในเรื่องของความปลอดภัย -ไม่บรรทุกน้ำหนักมากเกินไป เพราะพาหนะที่ใช้เดินจะยิ่งต้องใช้พลังงานมากขึ้น   เลือกที่พักสไตล์คนรักษ์โลก -ลองพักแบบ โฮมสเตย์ (Home Stay) หรือรีสอร์ทชุมชน ทั้งใกล้ชิดธรรมชาติ ได้เรียนรู้วัฒนธรรม และเป็นการสร้างร้ายได้ให้กับชุมชนอย่างแท้จริง แถมที่พักแบบนี้มักเป็นที่พักขนาดเล็กๆ ไม่ใช้พลังงานเกินความจำเป็น -ทิ้งความคิดเดิมๆ ที่ว่า เวลาไปพักตามห้องพักหรือโรงแรม เมื่อเสียความเช่าไปแล้วต้องใช้ให้คุ้มค่า ด้วยการเปิดน้ำเปิดไฟเปิดเครื่องปรับอากาศแบบเต็มที่ 24 ชั่วโมง ซึ่งถือเป็นการใช้พลังงานอย่างสิ้นเปลืองโดยไม่จำเป็น หากเวลาที่ไม่ได้อยู่ในห้องก็ขอให้ปิดดีกว่า ใครที่รู้ตัวว่ามีพฤติกรรมแบบนี้รีบปรับเปลี่ยนโดยด่วน Green Leaf โรงแรมใบไม้เขียว เราสามารถเลือกพักในโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้ง่ายๆ ด้วยการเลือกที่พักที่มีตราสัญลักษณ์ “โรงแรมใบไม้เขียว” ซึ่งผ่านการคัดเลือกจากมูลนิธิใบไม้เขียว โดยเราสามารถหาข้อมูลโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อติดต่อจองห้องพักก่อนการไปเที่ยวได้ที่ www.greenleafthai.org/th/green_hotel/ กิจกรรมไม่ทำร้ายธรรมชาติ -เลือกซื้อสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น ผลิตภัณฑ์ที่สามารถย่อยสลายได้ธรรมชาติ สามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่ สินค้าประหยัดพลังงาน รวมทั้งเลือกสินค้าของฝากต่างๆ ที่ผลิตในท้องถิ่น สินค้าตามฤดูกาล ซึ่งช่วยลดพลังงานในการขนส่งและจัดเก็บ -อยากมักง่ายทิ้งขยะไม่เป็นที่เป็นทาง -ซื้อและบริโภคอาหารที่ผลิตในท้องถิ่น และพยายามทานแต่พอดี เพราะถ้าทานเหลือไม่ใช่แค่น่าเสียดายเท่านั้น สุดท้ายก็ต้องกลายเป็นขยะ -การท่องเที่ยวโดยการเดินหรือขี่จักรยาน สามารถช่วยรถการใช้พลังงานและการสร้างก๊าซเรือนกระจกได้อย่างมาก -ถ้าต้องการไกด์ควรเลือกไกด์ที่อยู่ในท้องถิ่น เพราะทั้งมีความรู้ความเชี่ยวชาญเรื่องราวในพื้นที่อย่างแท้จริง สนับสนุนการสร้างรายได้ให้กับชุมชน และประหยัดพลังงานเพราะเป็นไกด์ในท้องถิ่นไม่ต้องเดินทางไกล -หากไปเที่ยวในสถานที่ท่องเที่ยวธรรมชาติ ต้องไม่ทำอะไรที่เป็นการรบกวนสภาพแวดล้อม เช่น ไม่เก็บพวกต้นไม้ ซากพืชซากสัตว์ หรือแม้แต่เปลือกหอย กลับมาเป็นที่ระลึก เพราะสิ่งเหล่ามี่ผลต่อธรรมชาติทั้งสิ้น ต้นไม้เล็กๆ วันข้างหน้าก็อาจเติบโตเป็นไม้ใหญ่เป็นส่วนสำคัญของระบบนิเวศ ส่วนซากเปลือกหอยก็สามารถเป็นบ้านใหม่ของสัตว์เล็กสัตว์น้อย เช่น ปูเสฉวน -ถ้าไปเจอปลาในสถานที่ท่องเที่ยวตามธรรมชาติ เราไม่ควรให้อาหารปลาเหล่านั้น เพราะปลาในธรรมชาติหาอาหารเองได้ แถมอาหารที่เราให้จะไปทำให้น้ำเน่าเสียเปล่าๆ   องค์การท่องเที่ยวโลก (UNWTO) ได้ประมาณการการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมประเภทต่างๆ ของภาคการท่องเที่ยว ดังนี้ การคมนาคมทางอากาศ 40% การคมนาคมทางบก 32% การคมนาคมขนส่งอื่นๆ 3% ที่พัก 21% กิจกรรมท่องเที่ยว 4% ที่มา : องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) อยากเที่ยวหัวใจสีเขียว แต่ไม่รู้จะไปไหน ฉลาดซื้อมีมาแนะนำ รวบรวมจากแหล่งท่องเที่ยวรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย ครั้งที่ 8 ประจำปี 2553 แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ อุทยานแห่งชาติดอยฟ้าห่มปก ต.โป่งน้ำร้อน อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ ดอยฟ้าห่มปกเป็นยอดดอยที่มีความสูงเป็นอันดับสองของประเทศ มีพันธุ์ไม้หลากหลายสายพันธุ์ ทำให้มีนกนานาชนิดอาศัยเป็นจำนวนมาก แถมยังมีการแสดงทางวัฒนธรรมจากชุมชนชาวเขามาเอาใจนักท่องเที่ยว น้ำตกคลองลาน อุทยานแห่งชาติคลองลาน ต.คลองลานพัฒนา อ.คลองลาน จ.กำแพงเพชรอุทยานแห่งชาติคลองลาน เป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำของลำน้ำหลายสาย มีการจัดกิจกรรมร่วมกับชุมชนในเรื่องของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และกิจกรรมที่น่าสนใจอย่างการสำรวจแมลงและผีเสื้อ รวมถึงพันธุ์ไม้แห้งต่างๆ เพื่อนำมาศึกษาเป็นความรู้   แหล่งท่องเที่ยวประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ปราสาทสัจธรรม ต.นาเกลือ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี ปราสาทไม้ที่รวบรวม ความรู้ ปรัชญา และงานสถาปัตยกรรมงานไม้ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พิพิธภัณฑ์หนังใหญ่วัดขนอน ต.สร้อยฟ้า อ.โพธาราม จ.ราชบุรี พิพิธภัณฑสถานแสดงตัวหนังใหญ่ที่มีอายุกว่า 100  ปี เป็นทั้งสถานที่แสดง ศูนย์ฝึกหัดเยาวชนในท้องถิ่น แหล่งผลิตแกะสลักหนังใหญ่   แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ วิสาหกิจชุมชนเพลินไพรศรีนาคา ต.นาคา อ.สุขสำราญ จ.ระนอง ที่นี่มี “ดอกพลับพลึงธาร” ไม้น้ำหายาก ซึ่งพบได้แห่งเดียวในประเทศไทยที่คลองนาคา ซึ่งชาวชุมชนในพื้นที่ตั้งใจในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ศูนย์ศึกษาเรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลนสิรินาถราชินี ต.ปากน้ำปราณ อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ แหล่งเรียนรู้ด้านการฟื้นฟูป่าชายเลน ที่จากเดิมเมื่อ 10 ปีก่อนเคยเป็นนากุ้งร้าง จากนั้นจึงถูกพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นแหล่งนิเวศที่สมบูรณ์เหมาะกับการศึกษาและท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยวชุมชน กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านริมคลองโฮมสเตย์ ต.บ้านปรก อ.เมืองฯ จ.สมุทรสงคราม กลุ่มชาวบ้านที่เห็นคุณค่าของธรรมชาติวิถีชีวิตริมน้ำ รวบรวมและรื้อฟื้นเอกลักษณ์ท้องถิ่น นักท่องเที่ยวสามารถร่วมกิจกรรมชุมชน ในรูปแบบฐานการเรียนรู้จากภูมิปัญญาชุมชน ได้แก่ กลุ่มอนุรักษ์น้ำตาลมะพร้าว กลุ่มอนุรักษ์เรือพาย กลุ่มผลิตภัณฑ์เกษตรปลอดสารแบบพอเพียง กลุ่มอนุรักษ์ดนตรีไทย ชุมชนพอเพียง บ้านบางพลับ หมู่ 4 ต.บางพรม อ.บางคนที จ.สมุทรสงคราม ด้วยกิจกรรมที่คงความเป็นเอกลักษณ์และวิถีชีวิตชุมชนที่พร้อมเปิดต้อนรับนักท่องเที่ยว อาทิ ตักบาตรขนมครก การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งทุกกิจกรรมล้วนสอดคล้องไปกับธรรมชาติ แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรบ้านนาหมอม้า ต.นาหมอม้า อ.เมืองฯ จ.อำนาจเจริญ แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรผสมผสานและพอเพียง ให้นักท่องเที่ยวเข้ามาเรียนรู้หลักการทำการเกษตรรูปแบบต่างๆ และชมการผลิตงานฝีมือจากกลุ่มแม่บ้าน ซึ่งมีสินค้าขึ้นชื่ออย่างเสื่อกกลายมัดหมี่ ไร่องุ่นไวน์ งามล้ำยุค กราน-มอนเต้ ต.พญาเย็น อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา สวนเกษตรที่ผสมผสานระหว่างสถานที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตรและการปฏิบัติงานด้านองุ่นและไวน์ ไปชมกรรมวิธีการผลิตไวน์ที่มากพร้อมเทคโนโลยีอันทันสมัย   ------------------------------------------------------------------------------------- ท่องเที่ยวโดยไม่ดูแลธรรมชาติ...สักวันอาจไม่มีธรรมชาติให้ไปท่องเที่ยว เมื่อเราเดินทางท่องเที่ยว หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะเกิดกระบวนการการบริโภคทั้งที่จำเป็นและฟุ่มเฟือย (ส่วนใหญ่มักจะเป็นอย่างหลัง) ซึ่งเป็นตัวการสำคัญในการสร้างขยะซึ่งมีผลต่อสภาพสิ่งแวดล้อม และยังปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกสู่ชั้นบรรยากาศ ต้นเหตุสำคัญของการเกิดภาวะโลกร้อน สุดท้ายแล้วปัญหาทั้งหมดก็จะย้อนกลับมาทำลายอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสภาพอากาศที่แปรปรวนจนเป็นอุปสรรคต่อการท่องเที่ยว ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญๆ ของแหล่งท่องเที่ยวถูกทำลาย ทำให้ขาดเสน่ห์ดึงดูดใจนักท่องเที่ยว ที่เห็นได้ชัดคือเรื่องของภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งและรุนแรงมากขึ้น ซึ่งทั้งหมดเป็นสัญญาณเตือนที่โลกบอกให้รู้ว่า ถึงเวลาที่ผู้ที่รักการท่องเที่ยว รักธรรมชาติ และรักโลกใบนี้ทุกคน ต้องใส่ใจดูแลโลกของเราใบนี้อย่างจริงจังสักที จากการประเมินของคณะกรรมการของรัฐบาลนานาชาติว่าด้วยเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change – IPCC) ประเมินว่าภาคการท่องเที่ยวมีส่วนในการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์คิดเป็น 5% ของก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด แม้เป็นตัวเลขที่ไม่มาก แต่แนวโน้มของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่มีแต่จะขยายตัวเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ แถมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวยังมีเอี่ยวกับกิจกรรมอื่นๆ ที่เป็นตัวสร้างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยเฉพาะภาคการขนส่ง ที่มา : องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)   เที่ยวไหนก็ได้ถ้าหัวใจสีเขียว 7 Greens “ท่องเที่ยวสดใส ใส่ใจสิ่งแวดล้อม” การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้นำเสนอมุมมองใหม่ในการท่องเที่ยวที่ทั้งเป็นมิตรกับธรรมชาติ ลดการทำลายสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งซึมซับประสบการณ์ความสุขจากการท่องเที่ยวได้อย่างเต็มที่ ด้วยแนวคิด 7 Greens  ซึ่งประกอบด้วย 7 แนวคิดท่องเที่ยวสีเขียว Green Heart หัวใจสีเขียว : เที่ยวด้วยหัวใจ คือใส่ใจลงไปในการท่องเที่ยว ใส่ใจดูแลรักษาธรรมชาติที่ไปเที่ยวชม คิดเสมอว่าจะไม่ทำอะไรที่จะเป็นการทำร้ายธรรมชาติ Green Logistics การขนส่งสีเขียว : เลือกรูปแบบการเดินทางที่เป็นมิตรกับธรรมชาติ ประหยัดพลังงาน ใช้พลังงานทดแทน ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เลือกเดินทางโดยรถสาธารณะก่อนรถส่วนตัว Green Attraction เยือนแหล่งท่องเที่ยวสีเขียว : ท่องเที่ยวธรรมชาติ ด้วยใจที่รู้คุณค่า ดูแลรักษาเพื่อความยั่งยืน Green Activity กิจกรรมสีเขียว : เลือกทำกิจกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่รบกวนธรรมชาติ ลดการสร้างก๊าซเรือนกระจก Green Community ท่องเที่ยวชุมชนสีเขียว : เข้าใจในวัฒนธรรมประจำท้องถิ่น ในฐานะผู้เยือนที่ดีต้องเคารพรักษาเพื่อให้ความงดงามอันเอกลักษณ์ของแต่ละท้องที่ยังคงดำรงอยู่ต่อไปชั่วลูกชั่วหลาน Green Service บริการสีเขียว : เลือกใช้บริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สนับสนุนผู้ประกอบการสีเขียว Green Plus เพิ่มสีเขียว : คืนชีวิตให้ธรรมชาติ เริ่มง่ายๆ แค่ลงมือทำ ร่วมกิจกรรมท่องเที่ยวรักษ์สิ่งแวดล้อม อย่าง เก็บขยะตามริมชายหาด ปลูกป่า พร้อมบอกต่อสิ่งดีๆ เพื่อการท่องเที่ยวสีเขียวให้กับคนอื่นๆ ใครที่สนใจหลากหลายกิจกรรม หลากหลายแหล่งท่องเที่ยว “7 Greens ท่องเที่ยวสดใส ใส่ใจสิ่งแวดล้อม” ของ ททท.สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://7greens.tourismthailand.org

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 140 จับตาการจัดการปัญหา “คอนเทนต์ขยะ” จากทีวีดาวเทียม

หลังจากปล่อยให้คนไทยได้ลิ้มชิมรสชาติรายการจากทีวีดาวเทียมที่มี “คอนเทนต์ขยะ” (เนื้อหารายการแย่ๆ ทั้งขายสินค้าอันตราย สินค้าอวดอ้างสรรพคุณเกินจริง รายการขายเซ็กส์ ยาอวดอ้างสรรพคุณทางเพศ ฯลฯ) กันมาเนิ่นนานหลายปี ซึ่งมีคนเจ็บ ตายกันไปพอสมควรแล้ว ในที่สุด กสทช. ก็เตรียมคลอด ระเบียบการออกใบอนุญาตประกอบกิจการทีวีดาวเทียม เสียที ------------------------------------------------------------- เสพสื่อขยะกันมานาน...กว่ากลไกคุ้มครองจะมาถึง พฤติกรรมการเสพสื่อโทรทัศน์ในปัจจุบันเปลี่ยนไปจากอดีตมาก หลายรายการผู้ชมไม่ต้องรอเฝ้าหน้าจออีกแล้ว เพราะสามารถย้อนกลับมาดูได้ ด้วยการดูรายการย้อนหลังจากช่อง ยูทูป เพียงแค่มีอินเตอร์เน็ต และรายการยอดนิยมในปัจจุบันก็ไม่ได้จำกัดหรือผูกขาดเฉพาะแต่ในฟรีทีวีทั้ง 6 ช่องเท่านั้น แต่เป็นรายการโทรทัศน์ที่รับชมผ่านทีวีดาวเทียม (หรือเคเบิลทีวี ที่นำคอนเทนต์มาจากทีวีดาวเทียมอีกที)   ด้วยจำนวนช่องที่มีเป็นจำนวนมากถึง 200 ช่อง ทำให้ทีวีดาวเทียมต้อนรับผู้ผลิตรายการหน้าใหม่ที่เป็นใครก็ได้ โดยไม่จำกัดว่าต้องเป็น “ขาใหญ่” ในวงการเท่านั้น เรียกว่าใครๆ ก็สามารถสร้างคอนเทนต์เองได้ มีช่องรายการของตนเองได้ ซึ่งมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อดีคือ เกิดทางเลือกที่หลายหลายสำหรับผู้ชมรายการโทรทัศน์ เปิดโอกาสให้ผู้ชมได้รับชมรายการที่มีความแตกต่างจากฟรีทีวีปกติ รูปแบบรายการที่น่าสนใจ ใหม่ แนวและตรงกลุ่มเป้าหมาย แต่ขณะเดียวกันก็มีข้อเสีย ที่สำคัญคือ เปิดโอกาสผู้ชมเจอกับรายการที่ไม่เหมาะสม หลอกลวง ชวนเชื่อ งมงาย ตลอดจนรายการที่มุ่งแต่จะขายสินค้า และทำโฆษณาอย่างไร้จรรยาบรรณ  โดยรายการเหล่านี้สามารถออกอากาศซ้ำๆ (รีรัน) ได้มากกว่า 1 ครั้งในวันเดียวกันด้วย เรียกว่าเป็นสวรรค์สำหรับ รายการประเภทขายสินค้าหลอกลวงกันเลยทีเดียว ที่สำคัญไม่ต้องถูกควบคุมด้วยกฎ ระเบียบ ใดๆ ด้วย   หากมองจากฐานผู้ชมรายการโทรทัศน์ในปัจจุบัน คนไทยเปิดรับกับทีวีดาวเทียมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตัวเลขล่าสุด Penetration อัตราการเข้าถึงครัวเรือนไทยของจานดาวเทียมและเคเบิลทีวี จากการสำรวจของบริษัท AGB Nielsen ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมาสิ้นสุดเดือน ส.ค.2555 จากเดิมในเดือนส.ค.ปีที่แล้ว อัตราการเข้าถึงเฉลี่ยทั่วประเทศประมาณ 50% เท่ากับ 10.5 ล้านครัวเรือนไทย เพิ่มเป็นประมาณอัตราการเข้าถึงประมาณ 60% ของครัวเรือนไทย หรือประมาณ 12 ล้านครัวเรือนแล้ว คาดว่าอีกประมาณ 3-4 ปีข้างหน้าครัวเรือนไทยเกินกว่า 90% น่าจะติดตั้งเคเบิลทีวีและจานดาวเทียมเรียบร้อยแล้ว คนไทยนิยมชมชอบการเสพสื่อโทรทัศน์มากกว่าสื่ออื่นๆ จาก "รายงานประเมินผลกระทบการออก หลักเกณฑ์วิธีการอนุญาตให้บริการโครงข่ายการให้บริการ สิ่งอำนวยความสะดวกและการให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์" ซึ่งเผยแพร่อยู่ในเว็บไซต์ของ กสทช. ระบุว่า การเข้าถึงสื่อต่างๆ ของคนไทย ทีวีเป็นสื่อที่เข้าถึงได้สูงสุดถึง 98% หรือประมาณ 63 ล้านคน วิทยุ 40 ล้านคน หนังสือพิมพ์ 12 ล้านคน (การเข้าถึงสื่อโทรทัศน์ของครัวเรือนไทยสูงกว่าค่าเฉลี่ยในกลุ่มประเทศเอเชีย แปซิฟิก ที่อยู่ในระดับประมาณ 84% ของครัวเรือน แต่อัตราการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารผ่านสิ่งพิมพ์ของไทย ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศในเอเชียแปซิฟิกถึง 3 เท่า) เมื่อผนวกกับเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว การเข้าถึงทีวีดาวเทียมของผู้ชมจึงรุดหน้าไปก่อน “การกำกับควบคุม” ซึ่งอยู่ภายใต้ พรบ. การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ยังทำอะไรไม่ได้จนกว่าจะมี คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ที่เพิ่งเกิดเมื่อ 20 ธันวาคม 2553 แต่...กว่าจะได้ คณะกรรมการ กสทช. ตัวจริง 11 คน ก็เดือนกันยายน 2554 ดังนั้นในช่วงเวลาก่อนที่จะมี กสทช.ตัวจริง จึงเป็นช่วงเวลาที่เรียกว่า สุญญากาศ คือใครใคร่ทำอะไรก็ได้ บางคนก็เรียกช่วงเวลานั้นว่า ช่วงเวลาสื่อเถื่อนเกลื่อนเมือง ทั้งทีวีดาวเทียมเถื่อน เคเบิลทีวีเถื่อน และสถานีวิทยุเถื่อน (จนตอนนี้ กันยายน 2555 ก็ยังเถื่อนอยู่เพราะยังไม่มีการออกใบอนุญาตตามกฎหมาย ประกอบกิจการฯ พ.ศ. 2551) ความที่เป็นสุญญากาศนี้เอง ทำให้โฆษณาและรายการโทรทัศน์ที่สร้างความเชื่อผิดๆ ให้ชาวบ้านเบ่งบานเต็มที่ แม้ในบางผลิตภัณฑ์เช่น อาหาร ยา เครื่องสำอาง ที่มีหน่วยงานอย่างสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กำกับดูแลการโฆษณาอยู่ ก็ทำอะไรได้ไม่มาก สั่งจับ สั่งปรับไม่ทันผู้ประกอบการที่ไร้จรรยาบรรณ ทำได้แค่เตือนผู้บริโภค ที่ส่วนใหญ่ก็ไม่ค่อยจะฟัง อย.เท่าไหร่เพราะเชื่อผู้จัดรายการมากกว่า ก็แหม...คนดังในสังคมทั้งนั้น ทั้งทนายความที่อ้างตัวว่าทำเพื่อชาวบ้าน ดารานางแบบที่ออกมาสอนเพศศึกษากันอย่างเปิดเผยจนน่าหวาดเสียว ต่างก็ร่วมกันช่วยขายสินค้าที่อวดอ้างว่าดีต่อสุขภาพ ฟื้นฟูสุขภาพ รักษาได้ทุกโรค แก้เซ็กส์เสื่อม เพิ่มประสิทธิภาพให้อวัยวะเพศ ทั้งชาย หญิง ทำให้ผอมเพรียวได้ในสามวัน เจ็ดวัน และอีกสารพัดด้วยตรรกะที่เหนือธรรมชาติ ผู้ประกอบการบางรายมีช่องรายการเพื่อขายสินค้าผิดกฎหมายเหล่านี้ ได้ถึง 4-5 ช่อง ทั้งวันก็เวียนรายการซ้ำไปซ้ำมา เพื่อเชิญชวนให้ซื้อสินค้า ซึ่งราคาแพงทั้งสิ้น (เขาว่าถ้าตั้งราคาถูกเกินไป คนจะไม่เชื่อถือ ของดีต้องแพงว่างั้น) ทำให้ผู้ประกอบการต่างก็ร่ำรวยกันไปถ้วนหน้า แค่เอาเศษผัก ผลไม้มาป่นขาย ก็ทำให้มีเงินขนาดซื้อทีมสโมสรฟุตบอลระดับไทยพรีเมียร์ลีกได้ และสรรพคุณที่ตอกย้ำซ้ำซากมานานหลายปี ก็ทำให้ชื่อสินค้าติดตลาดไปเรียบร้อย โดยสามารถเอาชื่อไปออกสื่อฟรีทีวีได้โดยไม่ต้องบอกสรรพคุณอีกแล้ว เป็นการยกระดับสินค้าไปอีกขั้น โดยกฎหมายก็ตามไปเอาผิดอะไรไม่ได้ ------------------------------------------------------------- ทำให้ถูกกฎหมายจะได้จัดการได้เสียที หลังจากปล่อยให้ฟอนเฟะกันมาหลายปี ก็ได้เวลาสำหรับการจัดระเบียบแล้ว ล่าสุด(กันยายน 2554) คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้อนุมัติ ร่างประกาศกสทช. ที่เกี่ยวกับโครงข่ายกิจการบรอดแคสติ้ง, สิ่งอำนวยความสะดวก, กิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์และกล่องรับสัญญาณทีวีดาวเทียมฯ รวม 4 ฉบับ ที่คงจะลงราชกิจจานุเบกษาบังคับใช้ในอีกไม่นาน (หากไม่มีกรณีฟ้องร้องจากฝั่งผู้ประกอบกิจการเสียก่อน) โดยรูปแบบการออกใบ อนุญาตประกอบกิจการนั้น จะเริ่มด้วย  การออกใบอนุญาตฯ ชั่วคราว 1 ปีก่อน เพื่อเร่งให้ช่องรายการต่างๆ ทั้งเคเบิลทีวีกว่า 1,000 รายและทีวีดาวเทียมกว่า 200 รายเข้าสู่กระบวนการกำกับดูแลก่อน จากนั้นจึงออกใบอนุญาตระยะ 4-14 ปี “เพราะหากออกใบอนุญาตฯ ระยะยาวแก่ผู้ประกอบการ จะต้องพิจารณาอย่างละเอียดและใช้เวลากว่า 1เดือนต่อการออกใบอนุญาต 1 ใบ ทำให้ขั้นตอนการนำผู้ประกอบการเข้าสู่กระบวนการกำกับดูแลจะล่าช้ายิ่งขึ้น อาจใช้เวลานานหลายปี” สุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการ กสทช. สายบรอดแคสติ้ง กล่าวกับสื่อมวลชน โดยหลังให้ใบอนุญาตฯ ชั่วคราว 1 ปีแล้ว การออกใบอนุญาตระยะที่ 2 จะพิจารณาจากการร้องเรียนของผู้บริโภคเป็นเงื่อนไขในการออกใบอนุญาต ซึ่งหากมีผู้ร้องเรียนมาก ระยะเวลาของใบอนุญาตระยะที่ 2 ก็จะสั้นลงหรือเพิกถอนใบอนุญาตก็เป็นได้ ส่วนการกำหนดผังรายการทีวีดาวเทียมแบบไม่บอกรับสมาชิก จะผ่อนผันให้สามารถรายงานผังรายการยืดหยุ่นได้มากกว่าฟรีทีวีภาคพื้นดิน (กรุงเทพธุรกิจ 10 กันยายน 2555) สรุปว่านับจากนี้ไปจะไม่มี "ทีวีเถื่อน" หลังจากที่เถื่อนกันมานาน และนับจากนี้ไปก็คงต้อง “จับตา” ดูกันล่ะว่า เมื่อผู้ประกอบการทั้งหลายเข้าสู่กฎ ระเบียบ แล้ว จะยังมีรายการขยะ โผล่ออกมาให้ประชาชนได้เสพกันอยู่อีกหรือไม่ และคงได้วัดกันไปว่า หน่วยงานทั้งหลายจะมีน้ำยาพอที่จะคุ้มครองผู้บริโภคได้มากน้อยแค่ไหน ------------------------------------------------------------- ปัจจุบันการรับชมรายการโทรทัศน์ในประเทศไทย ทำได้ 3 รูปแบบ คือ 1.ฟรีทีวี (ช่อง 3 5 7 9 11และไทยพีบีเอส) โดยผ่านเสาอากาศทีวี(แบบหนวดกุ้งหรือก้างปลา) หรือรับชมผ่านกล่องรับสัญญาณของเคเบิลทีวี หรือทีวีดาวเทียม อีกที 2.เคเบิลทีวี รับชมรายการผ่านกล่องรับสัญญาณที่มาทางสายเคเบิล เป็นการให้บริการแบบบอกรับสมาชิก ผู้ชมต้องจ่ายค่าแรกเข้าและบริการรายเดือน 3.ทีวีดาวเทียม รับชมผ่านกล่องรับสัญญาณดาวเทียม โดยครั้งแรกจะต้องมีการติดตั้งจานดาวเทียมพร้อมกล่องรับสัญญาณ หรือปัจจุบันมีขายเฉพาะกล่องสัญญาณ(โดยผ่านจานดาวเทียมอะไรก็ได้ที่ติดตั้งไว้ก่อนแล้ว) ส่วนใหญ่เมื่อติดตั้งครั้งแรกแล้ว จะไม่มีค่ารายเดือนอีก เว้นแต่มี คอนเทนต์พิเศษ ที่ต้องเข้ารหัสเก็บเงินค่าดู ------------------------------------------------------------- “เจนิฟู้ด จะขายเสียอย่าง ใครจะทำไม” แม้ อย.จะออกแถลงข่าวเรื่องการลงดาบ เจนิฟู้ด ดังนี้ อย. สั่งเชือดโฆษณาผลิตภัณฑ์เอนไซม์เจนิฟู้ด หลังดื้อแพ่งโฆษณาทางสื่อโทรทัศน์ดาวเทียม และเคเบิลทีวีอย่างต่อเนื่อง ทั้งที่มีคำสั่งให้ระงับโฆษณา ส่อเจตนาฝ่าฝืนกฎหมาย และทำธุรกิจอย่างไร้จริยธรรม หลอกลวงผู้บริโภคให้หลงเชื่อ อย. เอาจริง ลงโทษหนัก ทั้งโฆษณาเป็นเท็จ มีโทษจำคุก และโฆษณาโดยไม่ได้รับอนุญาตซึ่งจะปรับทุกครั้งที่พบการโฆษณาทั้งผู้โฆษณาและ สื่อที่เผยแพร่ พร้อมเตือนประชาชนอย่าหลงเชื่อ เพราะเป็นการเสียเงินไปโดยเปล่าประโยชน์ จากการที่มีผลิตภัณฑ์อาหาร “เอนไซม์ เจนิฟู้ด” นำเข้าโดย บริษัท เบสไฟว์ อินเตอร์เทรด จำกัด ซึ่งขอขึ้นทะเบียนกับ อย. เป็นเครื่องดื่มพืชผักผลไม้ผสม (ตราเจนิฟู้ด) เลขสารบบอาหาร 10-3-10838-1-0001 มีการโฆษณาอ้างว่าเป็น “เอนไซม์” ทางสื่อโทรทัศน์ดาวเทียมและเคเบิ้ลทีวีกว่า 10 ช่อง โดยมีข้อความโฆษณาอวดอ้างรักษาได้สารพัดโรค เช่น ป้องกัน ยับยั้งต่อต้าน ทำลายโรคต่าง ๆ เป็นทางเลือกที่ได้ผลสูง , รักษาแผลกดทับเนื่องจากอัมพฤกษ์, ใช้โรยแผลที่มีเนื้อมะเร็งแผลบวม มีหนองจะช่วยดูดซับสารพิษทั้งหมด ฯลฯ โดยนำบทสัมภาษณ์ผู้ป่วย อาทิ ผู้ป่วยโรคกระดูกพรุน เบาหวาน ความดัน มะเร็ง ไขมันอุดตัน มะเร็งเต้านม หัวใจตีบ ฯลฯ ที่รับประทานผลิตภัณฑ์เอนไซม์ดังกล่าวแล้วอาการป่วยดีขึ้น หรือหายจากอาการป่วย หรือนำผู้ที่มีชื่อเสียง เป็นที่รู้จักในสังคมมาโฆษณา เพื่อจูงใจให้ตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์มาใช้ ซึ่ง อย. ได้มีคำสั่งระงับโฆษณาดังกล่าวแล้ว พร้อมทั้งแจ้งไปยังสถานีโทรทัศน์ดาวเทียมและเคเบิ้ลทีวีให้งดเผยแพร่ แต่จากการตรวจสอบพบว่า ยังมีการโฆษณาผลิตภัณฑ์อาหาร “เอนไซม์ เจนิฟู้ด” ทางสถานีโทรทัศน์ดาวเทียมและเคเบิลทีวีหลายช่อง ได้แก่ Home Channel, I Channel, OHO Channel, DooDee Channel, Nice Channel,MYTV, Thai Vision, เกษตร แชนแนล, MY MV5, Hi Channel, Star Channel และช่องลายไทย โดยการกระทำดังกล่าวถือว่าเจตนาละเมิดคำสั่งการระงับโฆษณา ซึ่ง อย. เตรียมดำเนินการอย่างเข้มงวด ตามนโยบายคุ้มครองความปลอดภัยผู้บริโภคของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โดยจะดำเนินคดีตามกฎหมายในข้อหาโฆษณาด้วยข้อความอันเป็นเท็จ หลอกลวงให้เกิดความหลงเชื่อโดยไม่สมควร มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 3 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โฆษณาคุณประโยชน์ คุณภาพ หรือสรรพคุณของอาหารโดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษปรับไม่เกิน 5 พันบาท และฝ่าฝืนคำสั่งระงับโฆษณา มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และปรับเป็นรายวันวันละไม่น้อยกว่า 500 บาท แต่ไม่เกิน 1,000 พันบาท ตลอดเวลาที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง นอกจากนี้ สื่อที่ทำการเผยแพร่โฆษณาดังกล่าว อันได้แก่ สถานีโทรทัศน์ดาวเทียมและเคเบิ้ลทีวี จะมีความผิดในข้อหาโฆษณาคุณประโยชน์ คุณภาพ หรือสรรพคุณของ ดังนั้นแม้ในความเป็นจริง ทั้ง อย.ได้สั่งลงโทษ และ กสทช.ได้มีคำสั่งแบนโฆษณา "เจนิฟู้ด" ไปแล้ว แต่ยังไม่มีผลในทางปฏิบัติ เพราะหาเจ้าภาพไปดำเนินการไม่ได้ ขณะเดียวกัน อาหารเสริม "เจนิฟู้ด" ได้เปิดช่องทีวีดาวเทียมทั้งระบบซีแบนด์ และเคยูแบนด์ 5 ช่องคือ เย็นใจ, เบาใจ, พอใจ, เพลินใจ และช่องทนายประมาณ ทำซีเอสอาร์ประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ของตัวเองต่อไป มิเพียงเท่านั้น "เจนิฟู้ด" ได้รับการประสานงานมาจากมูลนิธิมิราเคิล ออฟ ไลฟ์ฯ ให้เข้ามาช่วยเหลือสโมสรฟุตบอลสมุทรสงคราม เอฟซี โดยเปลี่ยนชื่อเป็น "เจนิฟู้ด สมุทรสงคราม เอฟซี" ซึ่งเวลานี้ "นายพล คนขอนแก่น" กลายเป็นคนดังในวงการไทยพรีเมียร์ลีกไปโดยปริยาย ------------------------------------------------------------- ปัจจุบันผู้บริโภคไทยมีจำนวน 21 ล้านครัวเรือน ซึ่งเป็นผู้บริโภคที่รับชมผ่านจานดาวเทียม 10 ล้านครัวเรือน แบ่งเป็น จานดำ 6 ล้านครัวเรือน จานแดง 1.5 ล้านครัวเรือน จานเหลือง 1.5 ล้านครัวเรือน และจานส้ม 1 ล้านครัวเรือน ส่วนอีก 11 ล้านครัวเรือน จะดูผ่านเคเบิลทีวีท้องถิ่น 4 ล้านครัวเรือน และอีก 7 ล้านครัวเรือน ที่รับชมโทรทัศน์ผ่านเสาก้างปลา  ทั้งนี้ ประเมินว่าจากแนวโน้มดังกล่าว คาดว่าภายใน 3-4 ปีข้างหน้า เสาก้างปลาจะหมดไปจากตลาดของประเทศไทย เพราะผู้บริโภคจะหันมาติดจานดาวเทียมแทน ขณะที่ราคาการติดจานเคเบิลทีวี ในปัจจุบัน เริ่มต้นที่ 1,200 บาทเท่านั้น ถือว่ามีราคาลดลงต่อเนื่องเช่นเดียวกัน ขณะที่ปีหน้าจะมีดาวเทียมไทยคม 6 เกิดขึ้น คาดว่าจะมีช่องเคเบิลทีวีเกิดขึ้นใหม่ประมาณ 150-200 ช่อง เพราะดาวเทียมไทยคมมีช่องรับสัญญาณจำนวนมาก ขณะที่เม็ดเงินลงทุนในธุรกิจดาวเทียมต่อปีจะอยู่ที่ 3,000 ล้านบาท ที่มา http://www.thaipost.net/node/53665 ------------------------------------------------------------- อันตราย! สินค้าหลอกลวงเกลื่อนเมืองสื่อดาวเทียมตัวแพร่ระบาด ในท้องตลาดตอนนี้มีผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอยู่มากมายและต่างก็มีกลเม็ดโฆษณา ทำการตลาดแตกต่างกันไป สิ่งที่เป็นจุดเดียวกันคือการมีสรรพคุณที่ดูดีเกินจริง โดยมักจะมีคำอธิบายในแบบของตัวเอง ซึ่งอาจสามารถแบ่งได้ 2 ประเภทใหญ่ๆ ด้วยกัน คือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่อวดอ้างสรรพคุณด้านความงามและเรื่องเพศ กับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่อวดอ้างสรรพคุณด้านสุขภาพหรือรักษาโรคเรื้อรัง ซึ่งผลของการใช้ผลิตภัณฑ์นั้นเป็นไปได้ที่ผู้ใช้ส่วนหนึ่งอาจได้ผลลัพธ์ที่พอใจ แต่ก็พบกรณีร้องเรียนมากมายถึงการโฆษณาอวดอ้างสรรพคุณซึ่งเป็นสิ่งที่ผิด กฎหมายไม่สามารถกระทำอวดอ้างได้ ทว่าปัญหาก็คือตอนนี้ยังไม่มีกลไกการลงโทษที่ทำให้โฆษณาเหล่านั้นหายไปเสียที คณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้รับการร้องเรียนมากกว่า 100 กรณีต่อ 1 เดือน ซึ่ง ภญ.ศรีนวล กรกชกร รองเลขาธิการ คณะกรรมการอาหารและยาเผยว่า จากข้อมูลที่แยกเป็นประเภทของลักษณะการทำผิดกฎของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารพบว่า การโฆษณาอวดอ้างถือเป็นกรณีที่มีการร้องเรียนมากที่สุด ประเด็นเรื่องโฆษณานี่เยอะที่สุด สำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เพราะอาหารไม่ใช่ยา เราไม่ให้โฆษณาสรรพคุณทางยา แต่ส่วนใหญ่แล้วทำขึ้นมาจะต้องโฆษณาสรรพคุณใช้ป้องกันรักษาได้ ซึ่งก็จะโอ้อวดเกินจริงทั้งสิ้น ทั้งนี้มาตรการในการดำเนินการลงโทษนั้นมีตั้งแต่ระงับโฆษณา และดำเนินคดีเปรียบเทียบปรับ ซึ่งหากไม่หยุดโฆษณาก็จะมีโทษที่หนักขึ้น โดยโฆษณาเหล่านี้จะพบเห็นบ่อยตามช่องทีวีดาวเทียม และเคเบิลทีวี(ซึ่งส่วนใหญ่ก็นำเนื้อหามาจากทีวีดาวเทียม) ในทางปฏิบัติก็มีการร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.) ในการควบคุม ทว่ากลับไม่มีอำนาจมากนัก เพราะยังคงพบการฝ่าฝืนอย่างต่อเนื่อง ในประเด็นการควบคุมลงโทษนั้น สารี อ่องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เผยว่า แม้ อย.ร่วมกับ กสทช.สั่งห้ามโฆษณาเหล่านี้ในสื่อทุกประเภท ทว่าในทางปฏิบัติอย่างการเผยแพร่สัญญาณนั้นจำเป็นจะต้องได้รับความร่วมมือ จากบริษัท ไทยคม จำกัดในการตัดสัญญาณเพื่อปิดสถานีที่ฝ่าฝืนกฎ “มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเคยร่วมกับเครือข่ายที่ทำเรื่องคุ้มครองผู้บริโภค 16 จังหวัด สำรวจการโฆษณาผลิตภัณฑ์อาหาร และเสริมอาหารทั้งหลายที่ไม่เหมาะสม ผิดกฎหมาย ไม่ขออนุญาตโฆษณา ซึ่งพบว่า มันมีปัญหาเยอะ และทาง กสทช. ได้สั่งให้ห้ามโฆษณาแล้ว แต่ก็ยังพบว่ายังมีการโฆษณากันอยู่ เพราะทางไทยคมไม่สั่งระงับสัญญาณ ต้องไปขอความร่วมมือที่ไทยคม แต่ไทยคมมีความรับผิดชอบต่อกรณีนี้น้อยเกินไป โดยอ้างว่าตัวเองทำอะไรไม่ได้ แต่ความจริงแล้วหากไทยคมพบว่า สถานีต่างๆ ยังมีการโฆษณาโดยไม่ขออนุญาต หรือโฆษณาที่ไม่เป็นจริง ก็สามารถให้ปิดรายการหรือปิดสถานีได้เลย ไทยคมต้องดำเนินการตามนั้น หากไทยคมจะอ้างว่าตัวเองได้สัมปทานจากไอซีทีไม่ต้องทำตามกฎหมาย มันไม่ได้ เพราะว่าไทยคมเป็นคนดูแลหรือควบคุมโฆษณาของพวกนี้ ผ่านพวกช่องดาวเทียมโดยตรง ขณะเดียวกัน กสทช. ก็จะบอกว่าขณะนี้ยังไม่ได้มีกติกาที่กำกับดูแลเกี่ยวกับเรื่องนี้ จริงๆ เขาได้มีความร่วมมือกับ อย. ดังนั้น เคเบิลทีวี ทีวีดาวเทียม ที่เป็นเท็จหลอกลวง มันทำไม่ได้อยู่แล้ว ฉะนั้นเราก็อยากให้ไทยคมร่วมมือ สิ่งที่สำคัญ คือ อย.กับ กสทช. ต้องมีเครื่องมือในการบังคับลงโทษ หากมีเพียงคำสั่งห้ามแต่ไม่มีกลไกที่ในการติดตาม การดำเนินการก็ไร้ผล และโฆษณาที่ชวนเชื่อเกินจริงก็ยังคงอยู่”   ที่มา หนังสือพิมพ์ ASTV ผู้จัดการรายวัน ------------------------------------------------------------- ทุกข์ล้นเหลือเหยื่อโฆษณา จากการที่กลไกการควบคุมโฆษณานั้นไม่มีประสิทธิภาพ รวมถึงผู้ที่จ้องฉกฉวยโอกาสทางธุรกิจ ทำมาหากินบนการหลอกลวงหนทางที่เปิดกว้างให้เห็นกำไร และความสำเร็จชนิดตีหัวเข้าบ้าน ทำให้โศกนาฏกรรมอย่างการกินอาหารเสริมที่เชื่อว่าจะรักษาโรค กลับยิ่งทำให้โรครุมเร้าหนักขึ้นอาจถึงขั้นเสียชีวิตเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ ลอย เจ้ขี้เกียจพิมพ์ แนบ พีดีเอฟไฟล์ มาให้ เอาหน้า 9-12 ลงที นะ เป็นตัวอย่างกรณีดื่มเจนิฟู้ด แล้วอันตราย ดาวน์โหลดเอกสารได้ที่ : www.thaidrugwatch.org/download/books/adsvictim.pdf

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 139 One bans. All ban.เมื่อความเสี่ยงของผู้บริโภคไม่ใช่ชะตากรรม

การที่อาเซียนมุ่งสู่แนวทางเสรีนิยมทางเศรษฐกิจ (Economic Liberalization) โดยจะเปิดกว้างต่อการค้าระหว่างประเทศ การลงทุน การเงิน และการเคลื่อนย้ายแรงงาน ซึ่งจะปรากฏชัดเจนเป็นรูปธรรมในปี พ.ศ. 2558 หรือที่เรียกว่า “ประชาคมอาเซียน” นั้น จะทำให้เกิดมีการหมุนเวียนหลั่งไหลของสินค้าและบริการต่างๆ เพิ่มขึ้นอย่างมากมาย ซึ่งก็เป็นไปได้มากว่า สินค้าและบริการส่วนหนึ่งจะเป็นสินค้าและบริการที่ด้อยคุณภาพ หน่วยงานทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคจึงเตรียมตัวกันเต็มที่เพื่อสกัดกั้นปัญหาดังกล่าว กลไกสำคัญหนึ่งคือ การตั้งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคอาเซียน (ASEAN Committee on Consumer Protection) ขึ้น ซึ่งมีสมาชิกจากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคจากทุกประเทศ ปัจจุบันประเทศฟิลิปปินส์ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการ โดยมีหน่วยแข่งขันทางการค้า กรมคุ้มครองผู้บริโภคและกรมทรัพย์สินทางปัญญาของเลขาธิการอาเซียนเป็นสำนักงานเลขานุการ คณะกรรมการฯ นี้จะทำหน้าที่สร้างระบบเตือน การเรียกคืนสินค้าและสินค้าอันตราย สร้างกลไกการแก้ไขปัญหาเยียวยาผู้บริโภค สร้างความเข้มแข็งของกลไก สร้างความตื่นตัวและพิทักษ์สิทธิผู้บริโภค ขณะเดียวกันยังมีกลไก องค์กรสภาผู้บริโภคอาเซียน Southeast Asian Consumer Council (SEACC) อีกหนึ่งแห่งที่เกิดขึ้นคู่ขนานกับทางภาครัฐ โดยก่อตั้งขึ้นที่เมืองบาหลี อินโดนีเซีย เมื่อปี 2549 สมาชิกก่อตั้งเป็นองค์กรผู้บริโภคชั้นนำจากประเทศ บรูไน อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ ไทยและเวียดนาม โดยการสนับสนุนของสหพันธ์ผู้บริโภคสากล ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวแทนรักษาผลประโยชน์ของผู้บริโภคในภูมิภาคอาเซียน   และเมื่อวันที่ 4-5 กันยายน ที่ผ่านมา “สภาผู้บริโภคอาเซียน” ได้จัดงานประชุมขึ้นที่กรุงเทพฯ เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียนในการรับมือกับสินค้า(ผลิตภัณฑ์) อันตราย ในหัวข้อ “เมื่อความเสี่ยงของผู้บริโภคไม่ใช่ชะตากรรม : ความจำเป็นในการสร้างความเข้มแข็งผู้บริโภคในประชาคมอาเซียน” ซึ่งฉลาดซื้อ ขอนำประเด็นสำคัญที่เกิดขึ้นในงานนี้มาเสนอเป็นความรู้พื้นฐานสำหรับผู้บริโภคในการเตรียมความพร้อมกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนต่อไป   องค์การอิสระผู้บริโภคต้องเกิดเสียที ในเวทีประชุมสภาผู้บริโภคอาเซียน ณ โรงแรมเอเชีย กรุงเทพฯ ตัวแทนสมาชิกของประเทศต่างๆ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์และสิงคโปร์ ได้นำเสนอข้อมูลในเรื่องอันตรายของผลิตภัณฑ์ที่หลายประเทศในอาเซียนได้สั่งห้ามยกเลิกการใช้และห้ามนำเข้าไปนานแล้ว แต่ยังพบในอีกหลายประเทศร่วมภูมิภาคอาเซียน นายเซีย เซ็งชุน (Mr. Seah Seng Choon) ผู้อำนวยการสมาคมผู้บริโภคแห่งสิงคโปร์  กล่าวว่า “ในสิงคโปร์การคุ้มครองผู้บริโภครุดหน้าไปมาก เมื่อสิบปีที่แล้วได้แบน แร่ใยหินหรือแอสเบสตอสไปแล้ว พอได้ฟังข้อมูลที่ประเทศไทยวันนี้ ที่กระทรวงอุตสาหกรรมเลื่อนการแบนไปอย่างน้อยห้าปี รู้สึกตกใจมากเพราะแม้ผลของโรคที่เกิดจากแร่ใยหินไม่ได้เห็นในเวลานี้ แต่ผลกระทบจากการสะสมเริ่มแล้วตั้งแต่วันนี้ ดังนั้นจึงเห็นด้วยว่าจะต้องแบนแร่ใยหินทันที เพราะจะได้ไม่มีผลร้ายมากขึ้นในอนาคต อย่างไรก็ตามในมุมมองเรื่องการแบนสินค้าที่เกิดขึ้นในประเทศของสิงคโปร์และประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเดียวกันนั้น หากขาดประเทศไทยที่เดียวที่ไม่มีการแบน ประเทศไทยก็ต้องเป็นแหล่งเดียวที่รับสินค้าอันตรายเช่นแร่ใยหินเข้าประเทศไทยแทนประเทศอื่นที่ได้สั่งแบนสินค้าไปแล้ว” นางสาวโมฮานา ปรียา (Ms. Mohana Priya) จากสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคมาเลเซีย กล่าวว่า “ในมาเลเซียนั้น สารบีพีเอ ถูกแบนโดยไม่ยากนักเพราะมีข้อมูลวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ยืนยันชัดเจนว่า สารบีพีเอในขวดนม มีผลกระทบต่อสุขภาพทารกและเด็ก ซึ่งทำให้รัฐบาลมาเลเซียตัดสินใจอย่างไม่ยากเย็นในการห้ามใช้สารบีพีเอในขวดนม เพราะว่าเป็นเรื่องสำคัญต่อสุขภาพของอนาคตของชาติที่จะละเลยมิได้” ในขณะที่ ดร.วิทยา กุลสมบูรณ์   ผู้จัดการแผนงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส.) กล่าวว่า “จากประสบการณ์การจัดการปัญหาสินค้าไม่ปลอดภัย หน่วยงานราชการเกี่ยงกันไปมา ไม่มีหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงเช่น กรณีของบีพีเอ หรือผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับแร่ใยหิน ทั้งที่มีหลักฐานทางวิชาการอย่างชัดเจนว่ามีอันตราย ดังนั้นจึงเห็นด้วยหากประเทศใดในอาเซียนแบนสินค้าใดสินค้าหนึ่ง ประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียนควรแบนด้วย ไม่เช่นนั้น สินค้าอันตรายที่ถูกประเทศอื่นยกเลิกแล้วจะเข้ามาทุ่มตลาดในประเทศที่ยังไม่มีมาตรการเกี่ยวกับสินค้านั้น” และนางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ให้ความเห็นปิดท้ายว่า“นายกรัฐมนตรีนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ควรเร่งผลักดันให้เกิดองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค เพราะร่างกฎหมายฉบับนี้ ต้องให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เห็นชอบอีกครั้งก่อนที่จะเป็นกฎหมาย ซึ่งองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคจะเป็นกลไกใหม่ในการรักษาผลประโยชน์ของผู้บริโภคและเป็นตัวแทนในประเด็นต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อผู้บริโภคในวงกว้างเช่น สินค้าอันตราย ไม่ว่าจะเป็นกรณีแร่ใยหิน หรือ สารบีพีเอในขวดนม ที่มีการยกเลิกการใช้ในหลายประเทศในอาเซียน ขณะที่ประเทศไทยไม่สามารถยกเลิกได้ เพราะไม่มีหน่วยงานที่อยากจะรับผิดชอบผู้บริโภคอย่างชัดเจนเบ็ดเสร็จได้” เมื่อจบการประชุมในวันแรก ตัวแทนจากองค์กรสภาผู้บริโภคอาเซียน ได้ร่วมในงานเลี้ยงต้อนรับที่ทางรัฐบาลจัดขึ้น ณ โรงแรม เดอะ สุโกศล จึงเป็นโอกาสอันดีที่ทางองค์กรผู้บริโภคอาเซียนเข้ายื่นจดหมายถึงนายกรัฐมนตรี  นางสาว ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ให้เร่งออก พรบ.  องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อเป็นกลไกใหม่ในการเพิ่มประสิทธิภาพการคุ้มครองผู้บริโภค พร้อมเรียกร้องหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค  ห้ามผลิต  และนำเข้าผลิตภัณฑ์อันตรายทั้งภูมิภาคอาเซียน   ถ้ามีการประกาศห้ามผลิต/นำเข้า ผลิตภัณฑ์ชนิดใดชนิดหนึ่งในประเทศสมาชิกอาเซียนด้วยกัน ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจะต้องถูกห้ามผลิต/นำเข้าในประเทศอื่นๆ ที่เป็นสมาชิกอาเซียนด้วยเช่นเดียวกัน เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวทั้งภูมิภาค   1 ประเทศแบน 10 ประเทศแบน One bans. All ban. ในส่วนการประชุมวันที่ 5 กันยายน 2555 องค์กรสภาผู้บริโภคอาเซียน ได้ประกาศ ปฏิญญากรุงเทพ โดยมีใจความสำคัญดังนี้ สภาผู้บริโภคอาเซียน ร่วมประกาศปฏิญญา SEACC กรุงเทพฯ 2555 “1 ประเทศแบน 10 ประเทศแบน” ปฏิญญา SEACC กรุงเทพฯ 2555 เพื่อเรียกร้องให้เกิดความร่วมมือในการทำงานคุ้มครองผู้บริโภคร่วมกันของรัฐบาลในอาเซียน เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กรผู้บริโภค ตัวแทนองค์กรผู้บริโภคต่างยืนยันที่จะร่วมมือกันคุ้มครองผลประโยชน์ ของผู้บริโภคในทุกภาคส่วน และเป็นตัวแทนของผู้บริโภคในกระบวนการตัดสินใจในเรื่องมาตรการและนโยบายที่มีผลกระทบต่อผู้บริโภคในอาเซียนให้มีมาตรฐานเดียวกัน   รองศาสตราจารย์ ดร. จิราพร ลิ้มปานานนท์ ประธานกรรมการอำนวยการสภาผู้บริโภคอาเซียน และประธานมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า “ปฏิญญาสภาผู้บริโภคอาเซียน กรุงเทพฯ 2555 ตกลงกันในการร่วมกันแบนสินค้า แอสเบสตอสและ บีพีเอ เช่นเดียวกับที่สิงคโปร์และมาเลเซียได้แบนสำเร็จแล้ว โดยยืนยันให้มีมาตรการอัตโนมัติที่ประเทศหนึ่งแบนสินค้าใด ประเทศอื่นในอาเซียนต้องแบนสินค้านั้นทันที ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีในการร่วมมือกันในครั้งนี้  การประชุมสภาอาเซียนผู้บริโภคนี้ ยังเป็นเวทีการแลกเปลี่ยนความรู้และความร่วมมือระหว่างกัน ดังเช่นที่ปฏิญญาได้ให้การสนับสนุนการเกิดขึ้นขององค์กรอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคในไทย นอกจากนี้ตัวแทนจากประเทศอินโดนีเซีย ก็ให้ความสนใจในประเด็นเรื่องข้อมูลผลกระทบ FTA ของไทย  และต้องการศึกษาผลกระทบในอินโดนีเซียเช่นกัน ก็สามารถร่วมมือกันได้ เพื่อหาวิธีร่วมกันในการจัดการปัญหาในระดับอาเซียน ซึ่งเป็นกลไกที่เสริมสร้างความเข้มแข็งให้ผู้บริโภคอย่างเท่าเทียมกัน”   นางสาวอินดา  สุขมานิวซิงค์ ประธานกรรมการบริหารสภาผู้บริโภคอาเซียน กล่าวต่อว่า “เมื่อค่ำวานนี้มีความยินดีที่ได้มีโอกาสพบตัวแทนรัฐบาลไทยซึ่งดูแลงานคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งตัวแทนรัฐบาลไทยได้ให้สัญญาณที่ดีในเรื่องที่จะทำงานร่วมกันเพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ผู้บริโภคร่วมกัน  ไม่ว่าจะเกิดปัญหากับผู้บริโภคในประเทศไหนในภูมิภาคอาเซียน เราทุกคนควรมองว่าเป็นปัญหาร่วมกันไม่ใช่ของประเทศใดประเทศหนึ่ง”   นายเซีย เซ็งชุน ผู้อำนวยการสมาคมผู้บริโภคแห่งสิงค์โปร์ กล่าวว่า “ความร่วมมือระหว่างองค์กร สำคัญมาก เช่น งานประชุมนี้เราก็ได้มีโอกาสแชร์ประสบการณ์ทำให้รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นในประเทศไทยไหนบ้างอยากให้มีผู้บริโภคมาร่วมกันมากกว่านี้เวลาที่ออกไปให้ความรู้ผู้บริโภคจะได้รู้ว่าพวกเขาพิทักษ์สิทธิ์ผู้บริโภคกันอย่างไร หรือได้รู้ว่ากฎหมายที่ออกมาเช่น LEMON LAW ของสิงคโปร์ เป็นกฎหมายที่ให้ความคุ้มครองผู้บริโภคจากผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน”   นางสาวโมฮานา ปรียา สหพันธ์องค์กรผู้บริโภคมาเลเซีย กล่าวว่า “เราจะมีการประสานงานระหว่างหน่วยงานรัฐและแลกเปลี่ยนเรื่องการตัดสินใจของหน่วยงานรัฐซึ่งจะทำให้ผู้บริโภคได้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจต่างๆ เพื่อให้เกิดความเท่าทันในการเท่าทันปัญหาได้อย่างทันสถานการณ์” --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- ขอแนะนำ 1 ในสมาชิกผู้ก่อตั้ง สภาองค์กรผู้บริโภค หน่วยงานนี้มีชื่อว่า Badan Perlindungan Konsumen Nasional หรือ(National Consumer Protection Agency เขาเป็นองค์กรของรัฐ ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค ประเทศอินโดนีเซีย วิสัยทัศน์ของ BPKN ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อ 11 ปีที่แล้วคือการเป็นองค์กรชั้นนำที่จะผลักดันให้ผู้ประกอบการมีความรับผิดชอบมากขึ้นพร้อมๆ กับการส่งเสริมให้ผู้บริโภคตระหนักในสิทธิของตัวเองมากขึ้นด้วย เขาเน้นการพัฒนาศักยภาพของผู้บริโภคผ่านหน่วยงาน ตั้งแต่กระทรวงต่างๆ ผู้ว่าการรัฐ สถาบัน/หน่วยงาน/คณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง/ สถาบันการศึกษา สถาบันวิจัย ภาคธุรกิจ หน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภคของภาครัฐ หน่วยงานจัดการข้อพิพาท องค์กรระหว่างประเทส องค์กรคุ้มครองผู้บริโภคในต่างประเทศ และภาคประชาสังคมที่ทำงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภค หน้าที่สำคัญของ BPKN ซึ่งประกอบด้วยหน่วยงาน 4 ฝ่าย (ฝ่ายวิจัยและพัฒนา ฝ่ายการศึกษาและสื่อสารสังคม ฝ่ายรับเรื่องร้องเรียน และฝ่ายสร้างความร่วมมือ) คือ ให้คำแนะนำแก่รัฐบาล ในการร่างนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค โดยเฉพาะในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ความปลอดภัย และความมั่นคง ของผู้บริโภค ศึกษาและประเมินกฎระเบียบต่างๆที่มีอยู่ในเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภค ทำวิจัยเรื่องความปลอดภัยของสินค้าและบริการ ส่งเสริมการจัดตั้งองค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภค เผยแพร่ข้อมูลการคุ้มครองผู้บริโภคผ่านสื่อ และส่งเสริมสิทธิของผู้บริโภค รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชน องค์กรพัฒนาเอกชน และ ภาคธุรกิจ ทำการสำรวจความต้องการของผู้บริโภคที่มีต่อสินค้าและบริการต่างๆ ตัวอย่าง งานด้านการศึกษาวิจัยของ BPKN ได้แก่ การศึกษามาตรฐานขั้นต่ำของบริการสายการบินสัญญามาตรฐาน  การทบทวนกฎหมายเรื่องมาตรวิทยา และการทบทวนกฎหมายการคุ้มครองผู้บริโภค BPKN ไม่เด่นในเรื่องการรับร้องเรียนเท่าไรนัก แต่ที่น่าสนใจคือการทำข้อเสนอต่อรัฐบาลอินโดนีเซียในเรื่องต่างๆ เช่น -          เสนอให้กระทรวงไอซีทีพิจารณาการห้ามส่งสแปมหรือ SMS ที่สร้างความรำคาญแก่ผู้บริโภค -          เสนอให้กระทรวงการคลังและการธนาคารควบคุมพฤติกรรมของบริษัททวงหนี้ -          เสนอให้กระทรวงศึกษาธิการดูแลให้สถาบันการศึกษาปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน -          และที่เป็นข่าวฮือฮาเมื่อต้นปีคือข้อเสนอต่อกระทรวงคมนาคมให้มีการออกกฎให้มีการตรวจหายาเสพติดในกัปตันและลูกเรือทุกคน และให้มีการดำเนินการทางกฎหมายกับสายการบินที่จ้างกัปตันที่ติดยาเสพติดไว้ในสังกัดด้วย ---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------   ผู้อ่านฉลาดซื้ออาจสงสัยว่าสังคมเป๊ะเวอร์อย่างสิงคโปร์เขามีมาตรการจัดการกับสินค้าไม่ปลอดภัยอย่างไร  จากคำบอกเล่าของคุณเซีย เซ็ง ชุน ผู้อำนวยการสมาคมผู้บริโภคแห่งสิงคโปร์  ที่นั่นเขามีองค์กรชื่อว่า SPRING Singapore ทำหน้าที่ดูแลจัดการกับสินค้าไม่ปลอดภัย โดยเป้าหมายคือการยกระดับคุณภาพการผลิตของธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กในประเทศไปพร้อมๆกับการคุ้มครองผู้บริโภคนั่นเอง แรกเริ่มเดิมที่มีผลิตภัณฑ์อันตรายทั้งหมด 45 ประเภท (ส่วนใหญ่เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์) ที่รัฐกำหนดให้มาขึ้นทะเบียนกับ SPRING เพื่อทดสอบความปลอดภัยก่อนจะได้รับอนุญาตให้วางขายได้ ปัจจุบัน กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคฉบับปรับปรุงใหม่กำหนดมีผลิตภัณฑ์ที่ต้องขึ้นทะเบียนกับ SPRING ถึง 15,000 รายการ (สินค้าที่เข้าข่าย ผลิตภัณฑ์อันตรายนี้ครอบคลุมตั้งแต่อาหารที่มีส่วนประกอบที่ผ่านการดัดแปรพันธุกรรม สารเคมีต่างๆ และสินค้าอุปโภคบริโภค) ค่าปรับของการขายผลิตภัณฑ์ที่ไม่ปลอดภัยนั้นอยู่ที่ 10,000 เหรียญสิงคโปร์ หรือประมาณ 250,000 บาท ใครยังจะกล้าขายก็ให้รู้กันไป ไหนๆ ก็แวะมาสิงคโปร์กันแล้ว จะไม่แถมเรื่อง Lemon Law ซึ่งสิงคโปร์ประกาศใช้ในเดือนกันยายนนี้ ก็ดูจะกระไรอยู่ กฎหมายนี้เราเคยเรียกร้องขอให้มีในกรณีของรถยนต์ เมื่อหลายปีก่อน (สมาชิกฉลาดซื้อคงยังจำกันได้ถึงเหตุการณ์ที่มีคุณผู้หญิงคนหนึ่งออกมาทุบรถออกสื่อ เพราะคับแค้นใจที่รถที่ทุ่มทุนซื้อมาหมาดๆ ดันเสียซ้ำเสียซ้อน แถมโชว์รูมก็ไม่ยอมเปลี่ยนคันใหม่ให้อีกต่างหาก) อิจฉากันได้เลย เพราะสิงคโปร์เขาล้ำหน้าไปถึงขั้นมีกฎหมายที่ระบุให้มีการเยียวยาให้กับผู้บริโภค เมื่อสินค้าที่ซื้อไปนั้นไม่เป็นไปตามสัญญา / โฆษณาที่ระบุไว้ขณะที่ซื้อ (ถ้าพบข้อบกพร่องของผลิตภัณฑ์ภายในเวลา 6 เดือนก็ให้ถือว่าเป็นความบกพร่องที่เกิดขึ้นในขณะที่ซื้อ) โดยผู้ขายจะต้องซ่อม เปลี่ยน คืนเงินทั้งหมด หรือบางส่วนให้กับผู้บริโภค ตามขั้นตอนคือให้ซ่อมหรือเปลี่ยนสินค้าบกพร่องนั้นก่อน ถ้าไม่สามารถทำได้ ผู้บริโภคมีสิทธิขอลดราคาสินค้านั้น หรือคืนสินค้าแล้วขอรับเงินคืน โดยผู้บริโภคต้องทำเรื่องร้องเรียนภายใน 6 เดือนหลังจากซื้อสินค้า ความจริงแล้วหลัง 6 เดือนก็ยังร้องเรียนได้ เพียงแต่ผู้บริโภคจะต้องรับภาระการพิสูจน์เอง และที่สำคัญ การติดป้ายว่า “สินค้านี้ซื้อแล้วไม่รับเปลี่ยนหรือคืน” ก็ไม่สามารถปกป้องผู้ขายจากความรับผิดชอบนี้ได้ ---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------   พฤติกรรมผู้บริโภคของประเทศอาเซียน (ASEAN-5) สิงคโปร์ • การตัดสินใจซื้อ: ด้วยกำลังซื้อที่ค่อนข้างสูง ทำให้ชาวสิงคโปร์มักนิยมเลือกซื้อสินค้าแบรนด์เนม เนื่องจากเป็นสินค้าที่มีชื่อเสียงและมีคุณภาพค่อนข้างสูง • รสนิยม: วัฒนธรรมไลฟ์สไตล์ทางตะวันตกมีอิทธิพลมากในสังคมสิงคโปร์ โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่น นอกจากนี้ พฤติกรรมผู้บริโภคยัง อ่อนไหวต่อกระแสนิยมและแฟชั่นในตลาดโลกสูง จนได้ชื่อว่าเป็นตลาดแฟชั่นที่ทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ • การบริโภค: ชาวสิงคโปร์ให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพมาก และนิยมทานอาหารเสริมเพื่อบำรุงร่างกาย นอกจากนี้ ผู้มีรายได้และ มีระดับการศึกษาสูงจะนิยมบริโภคอาหารออร์แกนิกมากขึ้น บรูไน • การตัดสินใจซื้อสินค้า: ชาวบรูไนมีกำลังซื้อค่อนข้างสูง และนิยมสินค้าแบรนด์เนม สินค้าหรูหรามูลค่าสูง และสินค้าฟุ่มเฟือย รวมทั้งให้ความสำคัญกับคุณภาพสินค้ามาก • รสนิยม: ชาวบรูไนมีข้อจำกัดจากทางด้านวัฒนธรรมและมีกฎระเบียบรวมถึงข้อห้ามที่เคร่งครัด ขณะเดียวกันมีรสนิยมที่ค่อนข้างทัน สมัยและอิงสไตล์ตะวันตก • การบริโภค: - พฤติกรรมการบริโภคสินค้าอาหารค่อนข้างใกล้เคียงกับมาเลเซีย โดยนิยมอาหารฮาลาลตามการยึดถือศาสนาอิสลาม - ชาวบรูไนค่อนข้างเชื่อถือคุณภาพสินค้า โดยเฉพาะสินค้าอาหาร จากสิงคโปร์และมาเลเซีย มาเลเซีย • การตัดสินใจซื้อ: ชาวมาเลเซียมีแนวโน้มเลือกซื้อสินค้าที่อำนวยความสะดวกสบายใน ชีวิตประจำวัน สินค้าฟุ่มเฟือยและสินค้าหรูหรามากขึ้น ขณะที่ กลุ่มวัยรุ่นค่อนข้างให้ความ สำคัญกับเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ สะท้อนจากการใช้จ่ายสินค้าไอทีที่มากเป็นอันดับแรกเมื่อเทียบกับการใช้จ่าย ด้านอาหารและการพักผ่อนอื่นๆ • รสนิยม: ผู้บริโภคมาเลเซียมีรสนิยมค่อนข้างหลากหลายตามกลุ่มเชื้อชาติ แต่กลุ่มผู้บริโภคที่มีระดับการศึกษาสูงและรายได้สูงมักมี รสนิยมอิงสไตล์ตะวันตก • การบริโภค: - ผู้บริโภคมาเลเซียนิยมบริโภคอาหารสด ขณะที่อาหารแปรรูปและอาหารบรรจุถุงมีแนวโน้มได้รับความนิยมมากขึ้นจากความ เร่งรีบในชีวิตประจำวัน - ชาวมาเลเซียรับประทานอาหารวันละ 3 ครั้ง และระหว่างวันจะมีช่วงพักดื่มน้ำชา และนิยมทานขนมขบเคี้ยว/บิสกิตเป็นอาหารว่างควบคู่ไปด้วย - ชาวมาเลเซียในวัยแรงงานนิยมบริโภคสินค้า Functional Food เช่น เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ/ให้พลังงาน อินโดนีเซีย • การตัดสินใจซื้อ: ชาวอินโดนีเซียยังมีช่องว่างทางรายได้ค่อนข้างสูง และผู้บริโภคส่วน ใหญ่ยังค่อนข้างอ่อนไหวกับราคาสินค้า ทำให้ไม่ค่อยนิยมสินค้านำเข้าที่ราคาแพงหรือสินค้าที่มี บรรจุภัณฑ์ราคาสูง • รสนิยม: ผู้บริโภคที่มีรายได้ปานกลางขึ้นไปนิยมบริโภคสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ ทั้งสินค้านำเข้าจากเอเชียและประเทศตะวัน ตก • การบริโภค: - ชาวอินโดนีเซียมีการใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าอาหารค่อนข้างสูง (สัดส่วนประมาณร้อยละ 51 ของรายได้ทั้งหมด) - ชาวอินโดนีเซียนิยมใช้เวลาพักผ่อนร่วมกับเพื่อนและครอบครัวโดยการออกมารับประทานอาหารนอกบ้าน - พฤติกรรมการซื้อสินค้าอาหารเปลี่ยนจากซื้อวันต่อวันมานิยมซื้ออาหารสำเร็จ รูป อาหารพร้อมปรุง และอาหารพร้อมรับประทาน ที่เก็บไว้ได้นานขึ้น ขณะที่สินค้า กลุ่ม Cereal ยังเป็น อาหารหลักสำหรับทุกกลุ่มรายได้ นอกจากนี้ยังนิยมอาหารรสจัด - มีแนวโน้มใส่ใจกับการดูแลสุขภาพเพิ่มขึ้น ฟิลิปปินส์ • การตัดสินใจซื้อ: แม้ปัจจุบันกระแสไอทีได้เข้ามามีอิทธิพลต่อสังคมโลกมากขึ้น แต่ชาว ฟิลิปปินส์ไม่นิยมการซื้อสินค้าออนไลน์ แต่นิยมเดินเลือกซื้อสินค้าด้วยตนเอง (ยกเว้นสินค้า กลุ่มสื่อบันเทิง) นอกจากนี้ ชาวฟิลิปปินส์ส่วนใหญ่ไม่ค่อยยึดติดกับสินค้าแบรนด์เนม แต่นิยมสินค้า Private Label มากกว่า • รสนิยม: มีรสนิยมค่อนข้างหลากหลาย โดยทั่วไปเน้นความเรียบง่าย สะดวกและเหมาะสมกับระดับรายได้ • การบริโภค: - ชาวฟิลิปปินส์ใส่ใจกับการดูแลสุขภาพ และการดูแลความสวยงามและผิวพรรณ - ชาวฟิลิปปินส์ค่อนข้างผูกพันกับตราสินค้าเดิมที่เคยใช้และไม่เปลี่ยนตราสินค้าบ่อย - ชาวฟิลิปปินส์นิยมรับประทานอาหารนอกบ้านเป็นหลัก - เช่นเดียวกับผู้บริโภคในประเทศอาเซียนอื่นที่มีรายได้สูงขึ้น ชาวฟิลิปปินส์นิยมซื้อสินค้าที่อำนวยความสะดวกสบายมากขึ้น โดยเฉพาะรถยนต์และอุปกรณ์มือถือ   พฤติกรรมผู้บริโภคของประเทศอาเซียน (CLMV)   เวียดนาม พม่า / สปป.ลาว / กัมพูชา • การตัดสินใจซื้อ: พฤติกรรมชาวเวียดนามแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ของประเทศ กลยุทธ์การเข้าถึงตลาดจำเป็นต้องชัดเจนและ เหมาะสม อาทิ ทางตอนใต้พิจารณามูลค่าสินค้า เป็นสำคัญ ขณะที่ทางตอนกลางให้ความสำคัญกับคุณภาพสินค้า ส่วนทางเหนือจะค่อนข้างมัธยัสถ์และพิจารณาประโยชน์และความคงทนเป็นสำคัญ • รสนิยม: ผู้บริโภคชาวเวียดนามมีรสนิยมการบริโภคเปลี่ยนไปในทิศทางที่ต้องการสินค้าระดับกลางถึงบนมากขึ้น นอกจากนี้ กลุ่มวัย แรงงานของเวียดนามค่อนข้างอ่อนไหวต่อ กระแสความนิยมในตลาดโลก • การบริโภค: - ชาวเวียดนามในเมืองใหญ่มักนิยมสินค้าแฟชั่น สินค้าไอทีและการสื่อสารที่ทันสมัย - อาหารสไตล์ตะวันตกได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะอาหารฟาสฟู้ดที่เข้ามาในรูปแบบธุรกิจแฟรนไชส์ - ชาวเวียดนามนิยมอาหารสด ผักสดเป็นหลัก ขณะที่ความนิยมอาหารสำเร็จรูป อาหารพร้อมปรุงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และมีพฤติกรรมการจับจ่ายสินค้าประมาณ อาทิตย์ละครั้ง - พฤติกรรมทางสังคมที่มีการพบปะทางธุรกิจและสังสรรค์มากขึ้น ประกอบกับความสะดวกสบายและไม่เสียเวลาทำอาหารเอง ทำให้นิยมรับประทานอาหารนอก บ้านมากขึ้น - ระดับรายได้ที่สูงขึ้นทำให้ชาวเวียดนามนิยมซื้อสินค้าตกแต่งบ้าน/เครื่องใช้ ในบ้านมากขึ้น โดยยังนิยมสินค้าที่มีราคาไม่สูงนัก • การตัดสินใจซื้อ: ผู้บริโภคในพม่า/ สปป.ลาว / กัมพูชา ส่วนใหญ่ยังมีกำลังซื้อไม่สูงนัก ทำให้ การตัดสินใจซื้อส่วนใหญ่เน้นพิจารณาจากประโยชน์ของสินค้าเป็นสำคัญ และมักซื้อ สินค้าเท่าที่จำเป็น อย่างไรก็ดี สำหรับกลุ่มวัยรุ่นชาวลาว พบว่า กระแสแฟชั่นสมัยใหม่เข้ามามีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อสินค้าค่อนข้างมาก โดยเฉพาสินค้าด้าน เครื่องแต่งกายและการ ดูแลสุขภาพ • รสนิยม: ประเทศเพื่อนบ้านทั้ง 3 มีรสนิยมค่อนข้างคล้ายคลึงกับไทย จากประเพณีและวัฒนธรรม และพรมแดนที่อยู่ติดกัน ทั้งยังนิยม เลียนแบบการบริโภคสินค้าผ่านสื่อโทรทัศน์ ของไทย • การบริโภค: - สินค้าจากประเทศเพื่อนบ้านมีอิทธิพลค่อนข้างมากในตลาดพม่า สปป.ลาว และกัมพูชา - สินค้าอุปโภคบริโภคในตลาดกลุ่มนี้ยังไม่หลากหลายนัก ส่วนใหญ่เป็นสินค้าจากไทย จีน และเวียดนาม - ผู้บริโภคทั้ง 3 ประเทศ ส่วนใหญ่ยังเน้นบริโภคสินค้าจำเป็นในชีวิตประจำวัน ขณะที่สินค้าฟุ่มเฟือยหรือสิ่งอำนวยความสะดวกยังได้รับความนิยมในวงจำกัด เฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้สูง / นักการเมือง - ชาวลาวได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมทางอาหารจากฝรั่งเศสมาพอสมควร อย่างไรก็ดี อาหารท้องถิ่นของชาวลาวยังคงเป็นที่นิยมโดยทั่วไป   ที่มา ”พฤติกรรมผู้บริโภคในอาเซียน”...ตัวแปรสำคัญที่ SMEs ไทยควรรู้ก่อนก้าวสู่ AEC ศูนย์วิจัยกสิกรไทย กรกฎาคม 2554

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 138 เพิ่มค่าให้ “ขยะ” ด้วยภารกิจ “รีไซเคิล”

ใครที่ยังมอง “ขยะ” ว่าเป็นแค่ของไร้ค่าไม่มีราคา ทิ้งลงถังไปแล้วก็แล้วกัน ใครที่คิดแบบนั้นคงไม่ใช่ผู้บริโภค “ฉลาดซื้อ” ตัวจริง ถึงเวลาที่ต้องเปลี่ยนความคิดใหม่ อย่าปล่อยให้ขยะเป็นแค่ของที่ถูกทิ้งเพียงเพราะเราไม่ได้ใช้ประโยชน์ เพราะประโยชน์ของขยะยังมีอีกมากแต่เราเองกลับมองข้ามหรืออาจไม่เคยรู้มาก่อน ถึงเวลาที่ผู้บริโภคยุคใหม่ ต้องลุกขึ้นมาปฏิวัติ ปรับทัศนคติในการใช้ คิดใหม่ก่อนทิ้ง เติมคุณค่าให้ขยะ ไม่สร้างภาระให้โลก   สิ่งเล็กๆ ที่เรียกว่า “ขยะ” แต่สร้างปัญหาใหญ่ยักษ์ระดับโลก เราเคยถามตัวเองกันมั้ยว่า “แต่ละวันเราได้สร้างขยะทิ้งไว้บนโลกใบนี้มากน้อยแค่ไหน?” “เราได้ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าแล้วหรือยัง?” “เรากังวลเรื่องภัยธรรมชาติ เฝ้าบ่นเรื่องปัญหาโลกร้อน แต่ตัวเราเองได้ลงมือช่วยดูแลโลกใบนี้บ้างหรือเปล่า?”   หลายคนยังคงคิดว่าขยะก็เป็นเพียงแค่ขยะไม่ได้มีค่าหรือมีความหมายอะไร เป็นแค่ของที่ถูกทิ้ง ไม่มีอะไรให้ต้องคิดถึง แต่เรื่องขยะไม่คิดไม่ได้ เพราะขยะถือเป็นปัญหาใหญ่ระดับโลก ยิ่งทุกวันนี้เราทิ้งขยะกันมากจนน่าเป็นห่วง ขยะยิ่งมากก็ยิ่งส่งผลเสียต่อธรรมชาติ ทั้งการสูญเสียทรัพยากรหลายอย่างในการจัดการกับขยะ ทั้งสิ้นเปลืองพลังงานในการเก็บรวบรวมและขนย้ายขยะมาไว้ในสถานที่ที่เหมาะสม หรือการเข้าไปรุกรานเบียดเบียนพื้นที่ของชาวบ้านชนบทเพื่อกองสุมขยะที่ยังไม่สามารถจัดการได้อย่างเหมาะสม ที่สำคัญแม้ขยะจำนวนหนึ่งถูกจัดเก็บไป แต่ยังมีขยะอีกจำนวนมากที่ตกหล่นไม่ได้รับการจัดเก็บไปไว้ในที่ที่เหมาะสม ซึ่งขยะเหล่านี้จะยิ่งก่อปัญหาลุกลามใหญ่โต ทั้งภาพที่ชวนรังเกียจและกลิ่นที่สุดทน รวมทั้งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของสัตว์แมลงและเชื้อโรคที่ก่ออันตราย “ไม่เห็นเป็นไร ทุกวันก็มีพนักงานเก็บขยะอยู่แล้วนี่” หลายคนอาจคิดแบบนี้ เราไม่เห็นต้องทำอะไรก็ได้ ปล่อยให้พนักงานเขาเป็นคนจัดการไป แต่เรื่องจริงที่ควรรู้คือ ปริมาณขยะในบ้านเรามีเยอะมาก ไม่ว่าหน่วยงานไหน ก็ไม่สามารถจัดการเก็บขยะพร้อมทำลายได้อย่างสมบูรณ์ กรมควบคุมมลพิษ รายงานข้อมูลปริมาณขยะมูลฝอยที่ทางหน่วยงานดำเนินการจัดเก็บรวมทั่วทั้งประเทศเมื่อปี 2554 คือ 16 ล้านตัน ในจำนวนนี้มีเพียง 4.10 ล้านตันเท่านั้นที่ถูกนำกลับมาใช้ประโยชน์(ถูกนำไปรีไซเคิล 3.39 ล้านตัน ที่เหลือนำไปหมักทำปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพ ก๊าซชีวภาพ ประมาณ 0.59 ตัน ส่วนอีกแสนกว่าตันถูกนำไปผลิตพลังงานไฟฟ้าและเชื้อเพลิงทดแทน) ส่วนขยะที่เหลืออีกราว 12 ล้านตันยังกองเป็นภูเขาขยะที่ยังไม่ได้รับการจัดการ จากตัวเลขจะเห็นว่ามีขยะที่ถูกนำกลับไปใช้ประโยชน์ค่อนข้างน้อยมาก คือแค่ 26% ของปริมาณขยะทั้งหมดเท่านั้น ซึ่งเคยมีการตั้งเป้ากันไว้ว่าอย่างน้อยน่าจะมีขยะสัก 50% ที่เข้าสู่กระบวนแปรรูปเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ สำหรับเหตุผลที่การรีไซเคิลขยะในบ้านเรายังอยู่ในเกณฑ์ที่น่าเป็นห่วง คงเป็นเพราะพฤติกรรมการบริโภคของคนไทยที่ให้ค่าขยะว่าเป็นสิ่งของไร้ค่า ทิ้งแล้วก็แล้วกัน ไม่ให้ความสำคัญกับการแยกขยะหรือมองเรื่องการรีไซเคิลว่าเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการสำคัญของการช่วยกันดูแลสิ่งแวดล้อม ทั้งๆ ที่การแยกขยะเพื่อการรีไซเคิลเป็นเรื่องง่ายๆ ซึ่งทุกคนทำได้   8,939 ตัน คือปริมาณขยะต่อวันในกรุงเทพฯ 1,800 ตัน คือปริมาณขยะที่เป็นพลาสติก ซึ่งต้องใช้เวลาย่อยสลายมากกว่า 450 ปี 3 เท่า คือพื้นที่ที่ขยะพลาสติกใช้ในการฝั่งกลบมากกว่าขยะชนิดอื่นๆ 100 กิโลกรัม คือปริมาณขยะที่คนกรุงเทพฯ สร้างภายในเวลาแค่ 1 วินาที 7,000,000,000 (เจ็ดพันล้าน) กิโลกรัม คือปริมาณขยะมูลฝอยเฉลี่ยต่อปี ที่จะเกิดขึ้นในกรุงเทพฯ ในอีก 14 ปีข้างหน้า ถ้าหากคนกรุงเทพฯยังไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสร้างขยะ 10% คือปริมาณขยะจริงๆ ที่ต้องจัดการด้วยการเผาหรือฝังกลบ ที่เหลือสามารถคัดแยกเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ใหม่หรือนำกลับมารีไซเคิลได้ ที่มา: เอกสาร “กรุงเทพฯเมืองสวรรค์” สำนักงานกรุงเทพมหานคร “รีไซเคิล” หนึ่งในวิธีการจัดการปัญหาการเพิ่มขึ้นของขยะ รู้กันหรือเปล่าว่าขยะแต่ละวันที่เราทิ้งกันนั้น กว่า 30% สามารถนำกลับมารีไซเคิล (Recycle) ได้ ขยะที่สามารถนำกลับมารีไซเคิลได้หลักๆ ก็จะเป็นขยะ 4 ชนิดที่เราคุ้นเคยกันดี คือ กระดาษ ขวดแก้ว พลาสติก และโลหะ “การสร้างนิสัยในการแยกขยะ” จึงเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคธรรมดาๆ อย่างเราทุกคนสามารถลงมือทำได้ทันทีและควรทำอย่างยิ่ง “การสร้างนิสัยในการแยกขยะ” เพราะขยะมีหลายประเภท แน่นอนขยะบางอย่างก็ไม่เหมาะนำกลับมาใช้ใหม่ หรือการนำไปรีไซเคิล เพราะฉะนั้นเราจึงต้องรู้จักที่จะแยกขยะที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ออกจากขยะชนิดอื่นๆ และถ้าจะให้ยิ่งดีก็ควรแยกขยะที่จะนำไปรีไซเคิลตามประเภทของขยะ เช่น กระดาษก็แยกรวมไว้ส่วนหนึ่ง ขวดแก้วก็รวมไว้อีกส่วนหนึ่ง ซึ่งขยะรีไซเคิลที่เราแยกไว้สามารถนำไปขาย เปลี่ยนขยะเป็นเงินได้ จะขายให้กับคนที่เขามารับซื้อตามบ้าน หรือจะไปขายเองโดยตรงกับร้านที่เขารับซื้อของเก่าก็ได้ หลายๆ คนอาจยังมีทัศนคติด้านลบเกี่ยวกับการขายขยะ ทั้งๆ ที่การแยกขยะเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็น เรื่องของเงินที่ได้จากการขายขยะที่สามารถรีไซเคิลได้นั้นเป็นเพียงแค่ผลพลอยได้เท่านั้น สิ่งที่เป็นหัวใจจริงๆ คือเราได้ช่วยลดขยะบนโลกใบนี้ ได้ทำหน้าที่ของผู้บริโภคที่ดี รู้จักที่จะใช้ รู้จักที่จะช่วย ใช้อย่างคุ้มค่า ใช้อย่างพอเพียง การแยกขยะทำให้ขยะแต่ละประเภทได้เดินทางต่อไปยังที่ที่มันควรจะเป็น ไม่ใช่ถูกทิ้งไว้เฉยๆ ไม่ถูกปล่อยให้เป็นเพียงแค่ภาระของโลก ซึ่งท้ายสุดก็จะกลายเป็นปัญหากลับมาหาเราทุกคนอยู่ดี ในถังขยะ 1 ใบ มีอะไรบ้าง 50% ขยะย่อยสลายได้ – พวกเศษอาหาร กิ่งไม้ใบไม้ 30% วัสดุรีไซเคิล – กระดาษ แก้ว โลหะ พลาสติก 19% ขยะทั่วไป – ขยะที่ย่อยสลายยาก เช่น ถุงพลาสติก โฟม เศษวัสดุก่อสร้าง อิฐ หิน 1% ขยะมีพิษ/ขยะอันตราย – ถ่านไฟฉาย หลอดไฟ แบตเตอรี่ ที่มา: “การใช้ประโยชน์จากขยะอย่างรู้ค่า พัฒนาคุณภาพชีวิต” กองนโยบายและแผนงาน สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร เปลี่ยนขยะเป็นเงินด้วยการคัดแยกขยะ ขวดแก้ว การแบ่งชนิดของขวดแก้วเพื่อการคัดแยกนำไปรีไซเคิล จะแบ่งโดยดูองค์ประกอบหลักๆ 2 อย่าง คือ สีของขวดแก้ว กับ ชนิดของสิ่งที่บรรจุอยู่ในขวด เช่น เป็นขวดซอส ขวดยา ขวดเครื่องดื่ม ซึ่งการรีไซเคิลถ้าหากขวดยังอยู่ในสภาพดีไม่มีรอยแตกบิ่นเสียหาย ก็จะถูกนำไปล้างทำความสะอาดเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ (Reuse) ส่วนที่เป็นเศษแก้วแตก จะถูกนำไปบดให้ละเอียด กัดสีออก ล้างทำความสะอาด จากนั้นก็นำไปหลอมใหม่เพื่อผลิตเป็นขวดแก้ว กระดาษ กระดาษเป็นขยะที่ย่อยสลายได้ง่าย หากต้องจัดเก็บเพื่อนำไปรีไซเคิลก็ควรจัดเก็บในที่ที่ไม่เสี่ยงต่อการเปียกน้ำหรือความชื้น การแบ่งชนิดของกระดาษก่อนส่งรีไซเคิล นอกจากจะเพิ่มราคาในกรณีที่นำไปขายแล้ว ยังช่วยให้ง่ายต่อการนำรีไซเคิล การแบ่งตามชนิดของกระดาษและรูปแบบการใช้งาน เช่น กระดาษหนังสือพิมพ์ การดาษกล่องแข็งสีน้ำตาล กระดาษที่เป็นพวกนิตยสาร กระดาษที่ใช้พิมพ์เอกสารต่างๆ ฯลฯ พลาสติก ขยะพลาสติกถือว่ามีความหลากหลายค่อนข้างมาก บางชนิดไม่สามารถนำกลับมารีไซเคิลได้ อย่างเช่น ถุงพลาสติกหรือภาชนะและอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีความแข็งตัวสูง ทนต่อความร้อน ซึ่งยากต่อการนำมาหลอมเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ โลหะ เป็นขยะที่มีความหลากหลายเช่นเดียวกับพลาสติก ซึ่งส่วนใหญ่สามารถนำกลับมารีไซเคิลได้ ไม่ว่าจะเป็น เหล็ก ทองเหลือง ทองแดง สแตนเลส ตะกั่ว ซึ่งการรีไซเคิลจะใช้วิธีนำไปหลอมเพื่อผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ   ขยะอื่นๆ ที่สามารถรีไซเคิลได้ ยังมีของอีกหลายอย่างที่เรามองว่าเป็นขยะ แต่สามารถนำไปขายเป็นสินค้ารีไซเคิลได้ เช่น ยางรถยนต์ อะลูมิเนียม น้ำมันพืชเก่า เศษน้ำตาเทียน แผ่นซีดี เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ฯลฯ   4 ขั้นตอนในการแยกขยะก่อนนำไปขาย เรารู้แล้วว่าขยะที่ขายได้หลักๆ มีอยู่ 4 ชนิด คือ กระดาษ ขวดแก้ว ขวดพลาสติก และ โลหะกับอลูมิเนียม ที่นี้เรามาลงมือแยกขยะไว้ขายเพื่อให้มันถูนำไปรีไซเคิลกันได้เลย ขั้นแรก หาถังหรือถุงขยะที่ไว้สำหรับแยกขยะทั้ง 4 ชนิดออกจากขยะชนิดอื่นๆ เพื่อเตรียมไว้สำหรับขายโดยเฉพาะ ขั้นที่สอง ต้องใส่ใจดูแลขยะที่เราจะขายด้วย พยายามให้อยู่ในสภาพดีที่สุดเพราะราคาก็จะดีด้วย เช่น กระดาษก็อย่าทิ้งให้เปียกหรือชื้น หรือถ้าเป็นขวดแก้วก็ต้องไม่รอยแตกรอยร้าว ที่สำคัญคือ ขยะในบ้านที่เรารวบรวมไว้สำหรับรีไซเคิลส่วนใหญ่จะเป็นพวกภาชนะบรรจุต่างๆ พวกน้ำดื่มบ้าง ซอสปรุงรสต่างๆ บ้าน หากล้างทำความสะอาดก่อนได้ก็จะดีมาก เพราะเมื่อนำไปขายราคาก็จะดีขึ้น แถมยังป้องกันไม่ให้เกิดกลิ่นหรือเชื้อโรค หากต้องเก็บไว้ปริมาณมากๆ หรือเป็นเวลานานๆ ขั้นที่สาม แม้จะเป็นขยะชนิดเดียวกันแต่ราคาไม่เหมือนกัน เช่น ขวดแก้ว ถ้าเป็นขวดใสก็ราคาหนึ่งขวดขุ่นก็อีกราคาหนึ่ง เทคนิคเพิ่มราคา เราจึงควรแยกตามลักษณะของขยะแต่ละชนิดด้วยเวลาที่เราจะนำไปขาย ขวดใสก็ขายรวมกับขวดใส ขวดขุ่นก็ขายรวมกับขวดขุ่น อย่าขายปนกัน ถ้าเป็นกระดาษก็ต้องแยกตามชนิด กระดาษหนังสือพิมพ์ กระดาษขาว A4 กระดาษลัง กระดาษนิตยสาร พวกนี้ราคาแตกต่างกันหมด ส่วนขวดน้ำพลาสติกก็ต้องแยกฝากับขวดออกจากกัน เพราะเป็นพลาสติกคนละชนิด คนละราคา ขั้นที่สี่ พอเราเก็บรวบรวมขยะได้ในปริมาณพอสมควรแล้ว ก็นำไปขายให้กับร้านรับซื้อของเก่า หรือบางที่อาจมีซาเล้งหรือรถกระบะขับมารับซื้อถึงหน้าบ้าน แต่ถ้าจะให้ดีก็ลองขอเบอร์คนที่เขารับซื้อขยะแล้วนัดหมายกันให้เขามารับซื้อในวันเราแยกเก็บขยะไว้ได้ในปริมาณที่พอจะขายก็สะดวกดี แค่นี้เราก็สามารถเปลี่ยนขยะธรรมดาให้กลายเป็นของมีค่าได้แล้ว แถมยังได้ช่วยดูแลโลกของเราอีกด้วย   (*เราสามารถดูราคากลางรับซื้อขยะรีไซเคิล ได้ที่เว็บไซต์ของสถาบันการจัดการบรรจุภัณฑ์และรีไซเคิลเพื่อสิ่งแวดล้อม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย www.tipmse.or.th และเว็บไซต์ของร้านรับซื้อขยะรีไซเคิลวงษ์พาณิชย์ www.wongpanit.com หรือสอบถามโดยตรงกับหน่วยรับซื้อใกล้บ้าน)   ----------------------------------------------------------------------------------- เปลี่ยนขยะเป็นทองคำ “มูลนิธิพุทธฉือจี้” ที่ไต้หวัน ถือเป็นหนึ่งในองค์กรสาธารณกุศลระดับโลกที่ให้ความสำคัญและมองเห็นคุณค่าของการรีไซเคิล ที่นี่สามารถเปลี่ยนขยะให้เป็นทองได้จริงๆ เรามาลองดูตัวอย่างความสำเร็จขององค์กรแห่งนี้กัน ขยะเลี้ยงทีวี" ความสำเร็จของฉือจี้ ในโลกยุคปัจจุบันนี้ มีองค์กรศาสนาขนาดใหญ่ของโลกองค์กรหนึ่ง ทำโครงการ"ขยะเลี้ยงทีวี" ได้สำเร็จ นั่นคือมูลนิธิฉือจี้ ขององค์กรพุทธฉือจี้ ในประเทศไต้หวัน สามารถนำรายได้จากขยะ มาเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจการของสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมต้าอ้าย ภายใต้คำขวัญ เปลี่ยนขยะเป็นทองคำ สร้างทีวีคุณธรรมนำสังคม เดิมที ขยะเป็นปัญหาใหญ่ของไต้หวัน แต่ฉือจี้มองทะลุว่า หากเข้ามาบริหารจัดการด้านขยะ นอกจากจะช่วยแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมของไต้หวันแล้ว ยังจะเป็นแหล่งรายได้มหาศาล เมื่อรวบรวมพลังมหาชนมาตั้งใจทำแล้ว จะกลายเป็นขุมทรัพย์มหึมาทันที ดังนั้นโครงการขยะเลี้ยงทีวี จึงเริ่มเกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2533 ภายใต้การคิด และพานำทำของท่านธรรมจารย์เจิ้งเหยียน ผู้นำสูงสุดขององค์กรพุทธฉือจี้ กับภิกษุณี และฆราวาสอีกไม่กี่คนเท่านั้น สมัครเข้ามาเป็นสมาชิกจิตอาสา ช่วยกันทำงานด้านขยะ ช่วงแรกๆ มีรายได้จากขยะเพียงวันละ 200-300 บาท ต่อมามีสมาชิกจิตอาสาเข้าร่วมอุดมการณ์มากขึ้น จึงมีการขยายศูนย์รับบริจาคขยะที่เป็นวัสดุรีไซเคิล รวมทั้งของใช้ที่ผู้บริจาคไม่ใช้แล้วเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จวบจนถึงปัจจุบันกว่า 20 ปี จากวันเริ่มก่อตั้งโครงการ"ขยะเลี้ยงทีวี" ขณะนี้มีศูนย์รับบริจาคและสาธิตการแยกขยะของฉือจี้ กระจายอยู่ทั่วไต้หวัน 5,000 กว่าแห่ง มีการฝึกอบรมจนมีอาสาสมัครเป็นจิตอาสาทำงานด้านพิทักษ์สิ่งแวดล้อม ประมาณ 60,000 คน มีรายได้จากขยะมาเลี้ยงสถานีโทรทัศน์ต้าอ้าย ประมาณเดือนละ 20-50 ล้านบาท และยังมีเงินเหลือไปใช้ในกิจการการกุศลด้านอื่นๆ อีกหลายด้านด้วย(ข้อมูลจาก http://www.ioewm.blogspot.com/2009/08/tzuchi-success.html) ซึ่งกิจกรรมรีไซเคิลเพื่อสังคมของมูลนิธิพุทธฉือจี้ สร้างแรงบันดาลใจให้กับคนทั่วโลกที่ได้ไปเยี่ยมชมดูงานหรือรับรู้เรื่องราวดีๆ เช่นนี้ ในประเทศไทยเองก็หลายคนหลายองค์กรที่มีปณิธานแนวแน่เรื่องการจัดการกับปัญหาขยะเพราะมี “มูลนิธิพุทธฉือจี้” เป็นแม่แบบในดวงใจ รู้จักมูลนิธิพุทธฉือจี้ในไทยได้ที่ www.tzuchithailand.org/th/ หรือ ฉลาดซื้อ ฉบับที่ 135 พฤษภาคม 2555 -----------------------------------------------------------------------------------   ขยะที่กรุงเทพมหานครเก็บรวบรวมจากบ้านเรือนประชาชน จะถูกส่งต่อไปที่โรงงานกำจัดขยะซึ่งในกรุงเทพฯ มีอยู่ด้วยกัน 3 แห่ง คือ อ่อนนุช สายไหม และหนองแขม ซึ่งจะได้ขยะส่วนที่สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้ กับส่วนที่ต้องนำไปฝั่งกลบ โดยเฉลี่ยแต่ละวันมีขยะที่ถูกนำไปฝั่งกลบถึง 8,700 ตัน ซึ่งจะถูกนำไปฝั่งในพื้นที่อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา กับอำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม มีขยะเพียงแค่ 1,100 ตันต่อวันเท่านั้น ที่จะถูกนำเข้าโรงคัดแยกเพื่อนำกลับมาใช้ประโยชน์ โดยในจำนวนนี้จะเป็นขยะอินทรีย์หรือขยะเศษอาหารประมาณ 600 ตัน เป็นขยะที่ไม่ย่อยสลายที่ต้องนำไปหมักต่อเพื่อรอคัดแยกเป็นปุ๋ยหมักอีกประมาณ 400 ตัน ส่วนขยะที่สามารถคัดแยกเพื่อนำไปสู่กระบวนการรีไซเคิลนั้นมีแค่ประมาณ 100 ตันเท่านั้น ที่มา: เอกสาร “กรุงเทพฯเมืองสวรรค์” สำนักงานกรุงเทพมหานคร

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 137 คลอดเหมาจ่าย เลือกยังไงให้ถูกใจคุณแม่

ฉลาดซื้อฉบับนี้มาพร้อมกับบรรยากาศอบอุ่นไอรักรับช่วง “วันแม่” ด้วยข้อมูลดีๆ สำหรับคนที่กำลังเตรียมตัวจะเป็นคุณแม่ กับการเลือกใช้บริการ “แพ็คเก็จคลอดเหมาจ่าย”   แพ็คเก็จคลอดเหมาจ่ายสำคัญอย่างไร การคลอดแบบเหมาจ่าย ถือเป็นบริการที่ช่วยให้คุณแม่รู้สึกสบายใจคลายกังวลเรื่องการคลอด เพราะทางโรงพยาบาลจะรวบรวมการบริการที่จำเป็นสำหรับการคลอดมาไว้ในแพ็คเก็จ ที่สำคัญคือมีการระบุราคาเอาไว้ให้เรียบร้อย ทำให้คุณแม่สามารถวางแผนค่าใช้จ่ายได้ตั้งแต่เนิ่นๆ ซึ่งปัจจุบันเกือบทุกโรงพยาบาลมีให้บริการการคลอดแบบเหมาจ่าย (โดยเฉพาะโรงพยาบาลเอกชน) ซึ่งแน่นอนว่าทุกที่ต่างแข่งขันกันเรื่องบริการและราคา ฉลาดซื้อจึงอยากนำเสนอคำแนะนำง่ายๆ สำหรับคุณแม่มือใหม่ที่กำลังตัดสินใจเรื่องใช้บริการแพ็คเก็จคลอดเหมาจ่าย สิ่งที่คุณแม่ต้องได้รับจากบริการคลอดแบบเหมาจ่าย 1.แพทย์ ซึ่งต้องเป็น สูติแพทย์ กุมารแพทย์ และวิสัญญีแพทย์ กรณีผ่าตัดคลอดแล้วมีการใช้ยาสลบ ซึ่งในบางโรงพยาบาล เราสามารถเลือกแพทย์ที่จะทำการคลอดได้ด้วย   2.ยาและเวชภัณฑ์ต่างๆ ที่จำเป็นในการคลอด ซึ่งในส่วนนี้คุณแม่ต้องดูรายละเอียดให้ดี เพราะบางโรงพยาบาลก็จัดยาและเวชภัณฑ์เฉพาะที่ใช้ภายในห้องคลอดหรือเกี่ยวกับการคลอดเท่านั้น หากเป็นยาอื่นๆ เช่น ยาแก้ปวด ยาลดไข้ อาจจะมีการคิดราคาเพิ่มนอกเหนือจากราคาที่ระบุไว้ในแพ็คเก็จ 3.ห้องคลอด ซึ่งรวมถึงเจ้าหน้าที่ที่คอยทำงานอยู่ในห้อง พยาบาล แพทย์ ผู้ช่วย อุปกรณ์ เครื่องไม้ เครื่องมือต่างๆ ซึ่งในบางโรงพยาบาลจะมีการพาคุณแม่ไปชมห้องคลอดก่อนการตัดสินใจเลือกใช้บริการ 4.ค่าห้องพักทั้งของคุณแม่และคุณลูก ซึ่งในแพ็คเก็จจะมีการแจ้งระยะเวลาเอาไว้ชัดเจน เช่น 2 หรือ 3 คืน หากพักเกิน ทางโรงพยาบาลจะคิดค่าบริการเพิ่มตามจำนวนวันที่เกินมา นอกจากนี้ด้วยความที่โรงพยาบาลเอกชนแข่งขันกันเรื่องบริการ การจัดทำห้องพิเศษต่างๆ ก็ถือเป็นเงื่อนไขอย่างหนึ่งที่ใช้จูงใจคุณแม่ที่อยากได้ความสะดวกสบาย ความมั่นใจ หรือความเป็นส่วนตัว เรียกว่าห้องพักโรงพยาบาลเอกชนเดี่ยวนี้ก็ไม่ต่างจากห้องพักตามโรงแรม 5 ดาว ซึ่งแน่นอนว่าความแตกต่างของห้องพักมีผลต่อความแตกต่างของราคา 5.การตรวจพื้นฐาน เช่น สุขภาพของคุณแม่ทั้งก่อนคลอดและหลังคลอด สุขภาพของลูกในท้องสภาวะการเต้นของหัวใจ ตรวจสุขของเด็กหลังคลอด ความผิดปกติทางสมอง การตรวจเลือด เพื่อหาระดับฮอร์โมนสัมพันธ์ธัยรอยด์ การตรวจหาเชื้อซิฟิลิส 6.การให้วัคซีนป้องกันโรคแก่ทารกแรกเกิด ซึ่งประกอบด้วย วัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบบี วัคซีนป้องกันวัณโรค วิตามินเค รวมทั้งการยาหยอดตาเพื่อป้องกันตาอักเสบ และการตรวจคัดกรองการได้ยิน   แพ็กเก็จคลอดเหมาจ่าย ตารางแสดงตัวอย่างราคาแพ็คเก็จการคลอดของโรงพยาบาลต่างๆ โรงพยาบาล คลอดแบบธรรมชาติ ผ่าตัดคลอด ค่าคลอดธรรมชาติ จ่ายเพิ่มกรณีฉีดยาที่ไขสันหลัง (ลดการเจ็บปวด) เวลาที่ได้พักในโรงพยาบาล ค่าผ่าตัดคลอด เวลาที่ได้พักในโรงพยาบาล เกษมราษฎร์ บางแค   22,900 6,000 2 คืน 37,900 3 คืน ทักษิณ จ.สุราษฎร์ธานี 21,000 ตามค่าใช้จ่ายจริง 2 คืน 33,500 3 คืน บำรุงราษฎร์ 49,900 10,000 2 คืน 69,900 3 คืน ปิยะเวท 29,900 8,000 2 คืน 49,900 3 คืน พญาไท 37,000 6,000 2 คืน 51,000 3 คืน พระรามเก้า 39,000 6,000 2 คืน 59,000 3 คืน รามคำแหง 36,000   2 คืน 48,000 3 คืน ราษฎร์บูรณะ   20,000 4,000 2 คืน 34,000 3 คืน วิภาวดี 28,900 3,500 2 คืน 43,900 3 คืน นนทเวช 32,000 ตามค่าใช้จ่ายจริง 2 คืน 46,500 3 คืน ลาดพร้าว 29,900 ไม่ต้องจ่ายเพิ่ม 2 คืน 39,900 3 คืน เวชธานี 36,900 10,000 2 คืน 49,900 3 คืน สมิตเวช สรีนครินทร์ 44,900 ตามค่าใช้จ่ายจริง 2 คืน 68,700 3 คืน หัวเฉียว 39,000 ตามค่าใช้จ่ายจริง 3 คืน 50,000 4 คืน รามาธิบดี 4,000 – 5,000 ตามค่าใช้จ่ายจริง 2 คืน 8,000 – 10,000 3 คืน   *สำรวจเมื่อเดือนมิถุนายน 2555 *ราคาอาจมีการเปลี่ยนแปลงควรสอบถามไปยังโรงพยาบาลก่อนใช้บริการ *ตามค่าใช้จ่ายจริง คือค่าบริการมาตรฐานปกติของโรงพยาบาล ควรสอบถามราคาและเงื่อนไขก่อนใช้บริการ   รู้ไว้ก่อนใช้บริการคลอดแบบเหมาจ่าย -ราคาค่าบริการต่างๆ ที่ระบุไว้ในแพ็คเก็จ โรงพยาบาลอาจปรับเปลี่ยนได้โดยไม่ต้องแจ้งล่วงหน้า -คุณแม่ที่สามารถใช้บริการได้ต้องเป็นคุณแม่ที่มีสุขภาพแข็งแรง มีอายุครรภ์อย่างน้อย 36 สัปดาห์ ไม่มีภาวะแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์ -คุณแม่ที่คลอดลูกแฝดหมดสิทธิใช้แพ็คเก็จ -ทางโรงพยาบาลมักจะขายพ่วงบริการอื่นๆ แถมไปกับแพ็คเก็จคลอด เช่น การทำหมัน ผ่าตัดไส้ติ่ง ซึ่งถ้าจะใช้บริการก็ต้องมีการจ่ายเพิ่มตามราคาที่แต่ละโรงพยาบาลกำหนด -หากหลังจากคลอดแล้วไม่ว่าจะแม่หรือเด็กเกิดภาวะแทรกซ้อนต้องได้รับการรักษาพยาบาลเพิ่มเติม ค่าบริการก็จะถูกบวกเพิ่มตามแต่อาการเจ็บป่วยและวิธีการรักษา ในบางโรงพยาบาลก็ใช้วิธีคิดค่าใช้จ่ายแยก เช่น หากในกรณีที่คลอดแล้วคุณแม่ปกติแต่ลูกมีภาวะแทรกซ้อน ก็ใช้วิธีคิดค่าบริการเฉพาะของแม่แล้วหักของลูกออก โดยจะนำไปคิดค่าใช้จ่ายรวมกับการรักษาพยาบาลในส่วนความผิดปกติที่เกิดขึ้นหลังคลอด -บางโรงพยาบาลมีการกำหนดเรื่องของเวลา เช่น หากคุณแม่เจาะจงเลือกคลอดบางช่วงเวลาก็ไม่สามารถใช้ราคาแพ็คเก็จได้ เช่น โรงพยาบาลนนทเวช แจ้งไว้ว่าหากคุณแม่คนไหนต้องการคลอดช่วง 21.00 - 07.00 น. จะไม่สามารถใช้แพ็คเก็จผ่าคลอดได้ ---------------------------------------------------------------------------------------   สิทธิที่เกี่ยวกับการคลอด สิทธิประกันสังคม สำหรับคุณแม่ที่ใช้สิทธิประกันสังคม จะได้รับเงินค่าคลอดบุตรจำนวน 13,000 บาท โดยสามารถใช้สิทธิได้ 2 ครั้ง (แต่ถ้าคุณพ่อก็ใช้ประกันสังคมเหมือนกันก็จะได้รับสิทธิเพิ่มอีก 2 ครั้ง) โดยสามารถฝากคลอดกับโรงพยาบาลใดก็ได้ นอกจากนี้คุณแม่คนใหม่ยังจะได้รับเงินชดเชยการหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร โดยจะได้รับในอัตรา 50% ของเงินเดือนเฉลี่ย 90 วัน สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) ใช้สิทธิคลอดบุตรได้ 2 ครั้ง โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในโรงพยาบาลที่แจ้งสิทธิไว้ โดยสามารถขอรับบริการด้านสุขภาพการตั้งครรภ์ทั้งก่อนและหลังคลอด สิทธิข้าราชการ นอกจากจะสามารถเบิกค่าคลอดในโรงพยาบาลของรัฐ และโรงพยาบาลเอกชนบางแห่งได้แล้ว คุณแม่ยังมีสิทธิลาคลอดได้อีก 90 วัน และที่ตากต่างจากสิทธิ์อื่นๆ คือคุณพ่อที่เป็นข้าราชการยังสามารถลาไปช่วยคุณแม่เลี้ยงลูกได้ 15 วัน นอกจากนี้ใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ได้กำหนดไว้ลูกจ้างหญิงสามารถลาคลอดได้ 90 วัน โดยยังได้รับค่าจ้าง 45 วัน How to คุณแม่มือใหม่ เพราะการตั้งครรภ์ถือเป็นเรื่องยิ่งใหญ่ในชีวิตของลูกผู้หญิง แม้จะเป็นเรื่องที่น่าดีใจแต่ก็มีเรื่องที่ทำให้คุณแม่มือใหม่ (หรือแม้แต่คุณแม่มืออาชีพที่เคยมีประสบการณ์มาแล้ว) ต้องหนักใจด้วยเช่นกัน กลัวไปสารพัดอย่าง ดังนั้นขอเอาใจคนใกล้เป็นแม่ หรือเตรียมตัวเป็นคุณแม่ ด้วยเรื่องราวที่ควรรู้เบื้องต้น ดังต่อไปนี้ 1.การฝากครรภ์ ถือเป็นจุดเริ่มต้นสู่การเตรียมความพร้อมสำหรับการเป็นคุณแม่ ซึ่งในการฝากครรภ์กับสถานพยาบาลต่างๆ คุณหมอหรือแพทย์ที่ดูแลจะให้ทั้งคำแนะนำในการดูแลครรภ์ การดูแลคุณแม่ไม่ให้เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนทั้งทางร่างกายและจิตใจที่อาจส่งผลต่อสุขภาพครรภ์ ที่สำคัญคือการตรวจสุขภาพของคุณแม่ว่ามีภาวะเสี่ยงที่อาจเป็นอันตรายต่อลูกในท้องหรือแม้แต่ตัวคุณแม่เองหรือไม่ ซึ่งหากตรวจพบความผิดปกติตั้งแต่ในระยะต้นก็อาจจะช่วยรักษาหรือหาทางแก้ไขที่อาจจะเกิดขึ้นได้ สำหรับระยะเวลาในการฝากครรภ์ที่เหมาะสม คือ ไปฝากครรภ์ทันทีเมื่อรู้ตัวว่าตั้งครรภ์ โดยในช่วงอายุครรภ์ 7 เดือนแรก (28 สัปดาห์) จะต้องมีการนัดพบกับคุณหมอผู้ดูครรภ์อย่างน้อยทุกๆ 4 สัปดาห์ หรือเดือนละครั้ง ในช่วงเดือนที่ 8 ให้เพิ่มเป็น 2 อาทิตย์ต่อครั้ง พออายุครรภ์ครบ 9 เดือน ต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากคุณหมออย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง จนกว่าจะถึงกำหนดคลอด   2.เลือกสถานพยาบาล สิ่งที่คุณแม่มือใหม่ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญและน่าจะเป็นคำถามลำดับแรกๆ ในใจของหลายๆ คนก็คือ “การเลือกโรงพยาบาลสำหรับฝากครรภ์” ฉลาดซื้อมีคำแนะนำง่ายๆ ให้คุณแม่นำไปใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจเลือกโรงพยาบาลเพื่อการคลอด   -ดูที่ความสะดวกในการไปใช้บริการ แน่นอนว่าการคลอดลูกเป็นเรื่องใหญ่เรื่องสำคัญ คุณแม่ทุกคนอยากให้ลูกที่จะคลอดออกมาได้รับการบริการและดูแลอย่างดีที่สุด คุณแม่ส่วนใหญ่ก็อยากจะไปฝากครรภ์กับโรงพยาบาลชื่อดังเพราะมั่นใจเรื่องการบริการ แต่ก่อนเลือกก็อย่าลืมดูเรื่องความเหมาะสม โดยเฉพาะเรื่องการเดินทาง ถ้าหากการไปพบหมอแต่ละครั้งนำมาซึ่งความยากลำบาก ยิ่งเมื่อคุณแม่ท้องใหญ่ขึ้นการเดินเหินไปไหนมาไหนก็ไม่ใช่เรื่องที่น่าสนุกแต่อย่างใด เพราะฉะนั้นหากจะเลือกโรงพยาบาลเพื่อฝากครรภ์ก็อย่าลืมช่างใจระหว่างโรงพยาบาลที่ไว้วางใจกับโรงพยาบาลที่เดินทางไปได้สะดวก เวลาที่เกิดเหตุฉุกเฉินคุณแม่จะได้ไปพบแพทย์ได้ทันท่วงที   -เปรียบเทียบค่าบริการ เรื่องของค่าบริการน่าจะเป็นเงื่อนไขในการตัดสินใจเรื่องแรกๆ ของหลายๆ คน ซึ่งถ้าหากจะเปรียบเทียบเรื่องของราคาให้เห็นภาพได้ง่ายที่สุด ก็ต้องแบ่งประเภทของโรงพยาบาลออกเป็น โรงพยาบาลของรัฐ กับ โรงพยาบาลของเอกชน ซึ่งแน่นอนว่าเรื่องของราคาจะมีความแตกต่างกันมาก ในโรงพยาบาลของรัฐค่าบริการเรื่องการคลอดก็จะอยู่ในหลักพันบาทจนไปถึงหมื่นต้นๆ แต่หากเป็นของโรงพยาบาลเอกชนก็จะขยับสูงขึ้นไปถึงระดับหลายหมื่นบาท เรียกว่าแตกต่างกันค่อนข้างมาก แน่นอนว่าความแตกต่างของราคาก็ย่อมมีผลกับเรื่องของการให้บริการ ในโรงพยาบาลของรัฐซึ่งจะผู้มาใช้บริการมากกว่าในโรงพยาบาลเอกชน การเข้าไปใช้บริการก็อาจต้องมีการรอคิวอยู่บ้าง คุณหมอที่มาตรวจก็อาจมีการสลับสับเปลี่ยนกันไป เพราะคุณหมอในโรงพยาบาลรัฐมักไม่ใช่คุณหมอที่อยู่ประจำ แต่ก็สามารถติดต่อนัดเป็นพิเศษได้ แต่หากเป็นในโรงพยาบาลของเอกชนเราสามารถเลือกที่จะตรวจกับคุณหมอที่เราต้องการได้ สามารถเลือกห้องที่ต้องการได้ ไม่ต้องรอคิว ส่วนความเชื่อที่ว่าโรงพยาบาลของเอกชนรักษาดีกว่าโรงพยาบาลของรัฐนั้น อาจไม่จริงเสมอไป เพราะเดี๋ยวนี้ทั้งบุคลากรทางการแพทย์และเครื่องมือเครื่องไม้ต่างๆ ที่ใช้อยู่ในโรงพยาบาลก็ไม่ได้มีความแตกต่างกันมากนัก เพราะฉะนั้นราคาที่แพงกว่าอาจไม่ได้เป็นเครื่องยืนยันว่าจะได้รับการบริการทีดีกว่า เอาเป็นว่าขอให้เป็นเรื่องของความสบายใจ ใครที่พอจะมีเงินอยู่บ้างแล้วรู้สึกว่าการคลอดโรงพยาบาลเอกชนน่าจะอุ่นใจสบายใจกว่าก็คงไม่เป็นปัญหาที่จะเลือกใช้บริการ แต่ถ้าใครไม่มีทุนทรัพย์มากพอหรืออยากใช้เงินอยากประหยัดจะเลือกใช้บริการของโรงพยาบาลของรัฐก็ไม่ต้องกังวลใจ ขอแค่ให้ศึกษาเรื่องบริการต่างๆ ให้เข้าใจ คำนวณค่าใช้จ่ายให้เหมาะสมอยู่ในเกณฑ์ที่รับได้ เมื่อเลือกแล้วก็ขอให้ทำจิตใจให้สบาย ปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณหมอ ดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง เพียงแค่นี้ก็รับรองได้ว่าการคลอดก็จะเป็นไปอย่างปลอดภัยทั้งคุณแม่และลูกน้อย   -ศึกษารายละเอียดการให้บริการของแต่ละโรงพยาบาล ปัจจุบันนี้บรรดาโรงพยาบาลต่างๆ (โดยเฉพาะโรงพยาบาลของเอกชน) ได้จัดทำแพ็คเก็จการคลอดแบบเหมาจ่ายมาให้คุณแม่ได้เลือกใช้บริการ ซึ่งแน่นอนว่าจุดเด่นของโรงพยาบาลเอกชนก็คือเรื่องของการบริการ ดังนั้นหากคิดจะเลือกใช้บริการการคลอดแบบเหมาจ่ายกับโรงพยาบาลเอกชน คุณแม่ก็ต้องศึกษารายละเอียดบริการต่างๆ ที่จะได้รับให้ดี เพราะแต่ละที่ราคาไม่เท่ากัน (แถมราคาก็สูงมากด้วย) แม้บริการหลักๆ คือการทำคลอดเหมือนกัน แต่ในรายละเอียดปลีกย่อยอาจแตกต่างกัน เช่น ระยะเวลาในการพักรักษาตัวในโรงพยาบาล ประเภทของห้องที่พัก บริการเสริมอื่นๆ ที่บางโรงพยาบาลอาจมีการเพิ่มเข้าไป อย่างการอบรมการเลี้ยงลูกให้กับคุณแม่ เทคนิคการให้นมแม่ การฉีดวัคซีนป้องกันโรคต่างๆ ให้กับทารก ฯลฯ เพราะฉะนั้นคุณแม่ควรศึกษาเปรียบเทียบดูหลายๆ โรงพยาบาล เพื่อให้ได้รับการบริการที่คุ้มค่าคุ้มราคา ตรงตามความต้องการของคุณแม่ มั่นใจและปลอดภัยมากที่สุด   -สอบถามข้อมูลจากคนที่มีประสบการณ์ เป็นธรรมดาที่คุณแม่ท้องแรกหรือคุณแม่มือใหม่ จะมีความกังวลใจเรื่องการคลอด การสอบถามพูดคุยกับผู้มีประสบการณ์ถือเป็นตัวช่วยที่ดีที่จะทำให้คุณแม่มือใหม่คลายความสงสัยและคลายความกังวลใจ

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 136 A to Z

ว้าว !! ฉลาดซื้อ ขึ้นปีที่ 19 แล้ว สาวสะพรั่งกันทีเดียว โอกาสดีแบบนี้ เราเลยขอทบทวนเรื่องราวข่าวสารในแวดวงงานคุ้มครองผู้บริโภคที่ฉลาดซื้อและมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคหยิบจับ มาร้อยเรียงผ่านตัวอักษรภาษาอังกฤษทั้ง 26 ตัว เพื่อเป็นอภินันท์แก่ทุกท่านนะคะ         Asbestos-แร่ใยหิน แร่ใยหินชนิดไครโซไทล์ ในกลุ่มแร่ใยหินสีขาว คือตัวที่ 50 ประเทศทั่วโลกได้เลิกใช้ไปแล้ว แต่ประเทศไทยยังมีใช้กันอยู่ แร่ใยหินชนิดไครโซไทล์ เป็นองค์ประกอบสำคัญในสินค้าชนิดต่างๆ ที่ผู้เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมการก่อสร้าง เช่น กระเบื้องมุงหลังคา กระเบื้องปูพื้น ท่อซีเมนต์ และยังผสมในผ้าเบรกรถยนต์ ตลอดจนอุปกรณ์ทนไฟต่างๆ ด้วย ปัญหาที่ทำให้แร่ใยหินถูกห้ามในหลายประเทศคือ อนุภาคของแร่ใยหินสามารถฟุ้งกระจายสู่ปอด ทำให้เกิดโรคร้ายแรงต่างๆ ที่เกี่ยวกับปอด เช่น โรคปอดอักเสบจากแอสเบสตอส โรคมะเร็งปอด โรคมะเร็งเยื่อหุ้มปอด เมโสเทลีโอมา (Mesothelioma) ซึ่งเป็นโรคที่มีสาเหตุจากแร่ใยหินอย่างเจาะจง ถือเป็นภัยเงียบที่แฝงตัวมิดชิดอยู่ในบ้านเรือนของเรา   กรณีประเทศไทยยังต่อสู้กันอยู่ระหว่างฝ่ายผู้ผลิตที่พยายามให้ข้อมูลว่า การใช้แอสเบสตอสปลอดภัยกับกลุ่มนักวิชาการและเครือข่ายผู้บริโภคที่พยายามผลักดันให้เกิดนโยบายยุติการใช้และห้ามนำเข้าแร่ใยหิน จนเป็นเหตุให้ฝ่ายผู้ได้รับความเสียหายในเชิงธุรกิจจ้องจะฟ้องร้องนักวิชาการที่ทำงานเพื่อสังคม นับเป็นภัยอีกรูปแบบหนึ่งจากแร่ใยหินเช่นกัน   BMTA Bangkok Mass Transit Authority- องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ (ขสมก.) เว็บไซต์ของ ขสมก. ระบุว่าเขาเป็นรัฐวิสาหกิจประเภทกิจการสาธารณูปโภค ภายใต้กระทรวงคมนาคม ที่เน้นให้ความช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยด้วยการจัดเก็บค่าโดยสารในราคาต่ำกว่าทุน เช่น รถเมล์ขาวแดง ต้นทุนต่อเที่ยวของเขาอยู่ที่ 933 บาท ก็เก็บเราแค่คนละ 6.50 บาท (หรืออาจไม่ต้องเสียเลย ถ้าเรี่ยวแรงและข้อเข่าดีพอที่จะไล่ตาม “รถเมล์ฟรี วิ่งหนีประชาชน” ได้ทัน) แต่ทั้งนี้ผู้มีรายได้น้อยจะต้องมีบ้านเรือนอยู่ในเส้นทางที่เขาจัดรถเมล์ให้ มิเช่นนั้นจะต้องนั่งรถตู้ที่ราคาไม่ต่ำกว่า 20 บาทต่อเที่ยว กรุงเทพฯ มี “มวลชน” ที่ต้องได้รับการขนส่งเกือบ 6 ล้านคน แต่การสำรวจ Asia Green City Index ซึ่งเป็นการประเมินเรื่องความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของเมืองใหญ่ในเอเชีย เมื่อปีที่แล้ว โดย the Economist Intelligence Unit พบว่ากรุงเทพฯ ถูกจัดอยู่ในกลุ่มเมืองหลวงที่มีถนนหนทางและสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการขนส่งมวลชนอยู่ในระดับ “ต่ำกว่ามาตรฐาน” ในขณะที่กัวลาลัมเปอร์ และสิงคโปร์เพื่อนบ้านของเราถูกจัดไว้ในกลุ่ม “สูงกว่ามาตรฐาน” เดียวกับกรุงโซล และฮ่องกงซึ่งถือได้ว่ามีระบบขนส่งมวลชนที่ดีที่สุดในโลกไปแล้ว   Copyright ดีแน่ แต่ต้องสมดุล สหพันธ์ผู้บริโภคสากล หรือ Consumers International ได้ทำการสำรวจกฎหมายว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญาใน 30 ประเทศ เมื่อต้นปี 2012 เพื่อตามหาประเทศที่ส่งเสริมให้เกิดการเข้าถึงความรู้ในงานอันมีลิขสิทธิ์มากที่สุด ผลการสำรวจพบว่า แชมป์ใหม่ปีนี้ได้แก่ อิสราเอล ซึ่งขยับขึ้นจากเดิม 3 อันดับ ตามด้วยเพื่อนบ้านของเราอินโดนีเซีย ที่ขยับขึ้นมา 5 อันดับจากปีก่อนหน้า และอินเดียซึ่งรั้งตำแหน่งที่ 3 เหมือนเดิม ตามด้วยนิวซีแลนด์และอาร์เจนตินา ประเทศเหล่านี้มีการตีความคำว่า “การใช้อย่างเป็นธรรม” ได้กว้างขวาง และเอื้อให้เกิดการเข้าถึงข้อมูลความรู้มากที่สุด ส่วนประเทศไทยของเราที่แข็งขันเรื่องการปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์นั้น ปีนี้ได้ที่ 4 จากท้าย (ตกจากเดิมลงมา 1 อันดับ) แต่ยังดีกว่าอังกฤษ อาร์เจนตินา และจอร์แดน   Disaster-ภัยพิบัติ หลังจากเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่เมื่อปลายปี 2554 ที่ผ่านมา เชื่อว่าหลายๆ คนคงมีมุมมองต่อภัยธรรมชาติที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะกับคน กทม. ที่อาจจะเคยคิดว่าภัยธรรมชาติเป็นเรื่องไกลตัว แต่ตอนนี้ทุกคนรับรู้แล้วว่ามันอยู่ใกล้ซะยิ่งกว่าใกล้ (ก็เล่นท่วมถึงห้องนอนไม่เรียกใกล้มากๆ แล้วจะเรียกว่าอะไร) ปีนี้ก็ยังคงต้องลุ้นกันอยู่ว่าน้ำจะมาอีกมั้ย ขณะที่การจ่ายเงินชดเชยเยียวยาผู้ประสบภัยก็ยังมีปัญหาอย่างที่เห็นเป็นข่าว   แต่ไม่ว่าจะยังไงเราทุกคนก็ควรเตรียมตัวเตรียมใจพร้อมรับกับภัยธรรมชาติที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งตอนนี้ก็มีเว็บไซต์ไว้ให้เราสามารถติดตามเฝ้าระวังหรือหาข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับภัยธรรมชาติที่จะเกิดขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็น ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ (www.ndwc.go.th), ศูนย์ข้อมูลเพื่อการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (www.thaiflood.com), มูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ (www.paipibut.org) และ ระบบสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับอุทกภัย (www.flood.rmutt.ac.th)   Eco Design-ดีไซน์เพื่อสิ่งแวดล้อม ผลิตภัณฑ์ Eco Design  (Economic & Ecological Design) หรือผลิตภัณฑ์ที่ถูกออกแบบมาให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ถือเป็นนวัตกรรมที่ถูกคิดค้นเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาโลกร้อนที่กำลังเป็นปัญหาใหญ่ของมวลมนุษยชาติ Eco Design เป็นสินค้าที่พึ่งพาหรือรบกวนสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ทั้งลดการใช้พลังงาน ใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับธรรมชาติหรือได้จากขบวนการรีไซเคิล เป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถใช้งานด้านอย่างคุ้มค่า ง่ายต่อการดูแลรักษาและซ่อมบำรุง ซึ่งหลายประเทศก็เริ่มให้การสนับสนุนผลิตภัณฑ์ Eco Design  กันมากขึ้น เพราะนอกจากจะดีต่อโลกของเราแล้ว ความเป็น Eco Design  ยังเป็นการช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีให้กับบรรดาผู้ผลิตด้วยเช่นกัน สำหรับบ้านเราสินค้า Eco Design อาจยังไม่มีให้เห็นหรือเป็นที่รู้จักมากนัก แต่ก็มีความพยายามในการส่งเสริม อย่างเช่นการจัดการประกวด Thailand Eco Design Award   โดยศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) ซึ่งถือเป็นหน่วยงานที่พร้อมให้ความรู้และคำแนะนำเรื่อง Eco Design แก่บรรดาผู้ผลิตที่อยากช่วยโลก   Ft-ค่าไฟฟ้าผันแปร เดือน มิ.ย -ส.ค 55 จะเก็บเพิ่ม 30 ส.ต./หน่วย ค่าเอฟทีในบิลค่าไฟเคยสังเกตกันไหม ถ้าไม่มีอะไรเปลี่ยนก็หมายความว่า เราต้องจ่ายค่าไฟเพิ่มกันนะพี่น้อง บ้านใครใช้กี่หน่วยก็เอา 0.3 คูณเข้าไป นั่นคือราคาที่ต้องจ่ายเพิ่ม เช่นใช้ไฟอยู่ 300 หน่วย ก็จ่ายเพิ่มจากเดิมอีก 90 บาท ค่าเอฟทีคืออะไร ขอเรียกมันง่ายๆ ว่าการคิดกำไรสองชั้นของ(พ่อค้า)ไฟฟ้า ปกติเวลาใครจะขายสินค้าอะไรส่วนใหญ่เขาก็เอาต้นทุนคือพวกวัตถุดิบต่างๆ มาบวกกับค่าประกอบการ เช่น ราคาทุน 10 บาท ค่าประกอบการ 3 บาท แล้วขายในราคา 15 บาท คือเป็นกำไรสุทธิ 2 บาท แต่เอฟทีคือ เอาค่าประกอบการมาคิดใหม่ ให้ผันแปรไปได้ตามสถานการณ์ เช่น ราคาทุน 10 บาท กำไรสุทธิ 2 บาท แต่ค่าประกอบการ 3 บาทอาจไม่ใช่แล้ว เพราะจะผกผันไปได้ตลอด ดังนั้นราคาขายจริง อาจเป็น 15 บาท 16 บาท หรือ 18 บาทก็ได้ ถือเป็นกำไรชั้นที่สอง เรียกว่าพ่อค้าไม่ต้องรับผิดชอบอะไรกับค่าประกอบการเลย สินค้าอื่นทำแบบนี้ไม่ได้หรอก แต่กิจการไฟฟ้ามันถูกผูกขาดทำได้สบายอยู่แล้ว ค่าเอฟทีในบิลค่าไฟจะผันแปรไปตามต้นทุนของเชื้อเพลิงที่นำมาผลิตไฟฟ้า ซึ่งตอนนี้ ร้อยละ 70 เป็นก๊าซธรรมชาติ ที่ต้องซื้อจาก ปตท. เท่านั้นผูกขาดกันไปอีกชั้น ซื้อถูกก็ไม่ได้ เห็นแต่ซื้อแพงตลอด แต่การไฟฟ้าเขาไม่สนใจหรอกเพราะภาระตรงนี้มันส่งต่อมาที่ผู้บริโภคในรูปแบบของค่าเอฟทีแล้วไง แว่วว่าเดือน ก.ย. 55 ก็จะปรับเพิ่มอีก 8 สตางค์ ซ้ำเติมกันให้เต็มที่ท่าน อย่าได้เกรงใจ   GMO-พืชดัดแปรพันธุกรรม พืชดัดแปรพันธุกรรม หรือ จีเอ็มโอ (Genetically Modified Organisms- GMO) ประเทศไทยเราไม่อนุญาตตามกฎหมายให้มีการปลูกทดสอบในพื้นที่เปิดและผลิตจีเอ็มโอเชิงพาณิชย์ แต่การสำรวจ ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2554 ถึงเดือนเมษายน 2555 ทั้งหมด 319 ตัวอย่าง ก็ยังพบการปะปนพืชจีเอ็มโอในฝ้าย 9 ตัวอย่าง ในมะละกอ 29 ตัวอย่าง ซึ่งเมล็ดพันธุ์พืชจีเอ็มโอยังถูกผูกขาดโดยบรรษัทข้ามชาติ ถ้าเมล็ดพันธุ์เหล่านี้หลุดออกไปอยู่ในมือเกษตรกรโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เจ้าของสิทธิบัตรย่อมมีสิทธิฟ้องร้องเกษตรกรได้ เรื่องฉลากจีเอ็มโอของกระทรวงสาธารณสุข  ได้กำหนดให้อาหารสำเร็จรูปที่มีถั่วเหลืองหรือข้าวโพดอยู่ใน 3 ส่วนประกอบแรกและถั่วเหลืองหรือข้าวโพดนั้นมีน้ำหนักตั้งแต่ 5% ของน้ำหนักผลิตภัณฑ์ขึ้นไป ถ้าตรวจพบจีเอ็มโอตั้งแต่ 5% ขึ้นไปถึงจะต้องแสดงฉลาก แต่บ้านเราต้องตาดีมากๆ ถึงจะเห็นฉลาก วันหนึ่งจีเอ็มโออาจจะเป็นม้าโทรจันเข้ามายึดครองทรัพยากรชีวภาพการเกษตร และความมั่นคงทางทางอาหารของไทย เราจึงต้องสร้างการเรียนรู้ร่วมกันของทุกฝ่าย   HPV-วัคซีนมะเร็งปากมดลูก ไวรัสก่อโรคมะเร็งปากมดลูกมีหลายร้อยสายพันธุ์ แต่ที่พบบ่อยนั้น มีสองสายพันธุ์ที่เขาทำวัคซีนออกมาใช้และได้ผลค่อนข้างดี ปัญหาคือ ถ้าจะฉีดควรฉีดตั้งแต่เด็กๆ ก่อนจะมีประสบการณ์ทางเพศสัมพันธ์ ถ้าโตแล้วและผ่านการมีเพศสัมพันธ์มาก่อน ผลในการป้องกันจะน้อยลงไป ปัญหาคือ เวลาเขาโฆษณาให้ฉีดเพื่อป้องกัน เจ้าของวัคซีนหรือโรงพยาบาลบางแห่ง มักสร้างข้อมูลผิดๆ คือ ทำให้เชื่อว่าป้องกันได้ผล 100% และตลอดชีวิต ซึ่งไม่จริง วัคซีนสองตัวที่ว่าดีข้างบนนั้นก็เพิ่งเก็บข้อมูลกันไปสิบกว่าปีเท่านั้น ตอนนี้ข่าวว่า ท่านรัฐมนตรีสาธารณสุขจะซื้อวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกมาฉีดให้เด็กไทย ซึ่งดูเหมือนจะใจเร็วด่วนได้ไปนิด เทียบกันแล้วอาจได้ไม่คุ้มราคาเพราะบริษัทเสนอราคาแพงเกินไป และใช่ว่าผู้หญิงทุกคนจะต้องเป็นมะเร็งปากมดลูก อีกทั้งท่านรัฐมนตรีก็ให้ข่าวชวนสร้างความเข้าใจผิดว่า ฉีดแล้วจะป้องกันได้ตลอดชีวิต คงต้องระวังหน่อยนะท่าน เกิดฉีดไปแล้วเป็นขึ้นมาภายหลังล่ะก็ ได้ฟ้องกันวุ่นวายแน่ เพราะโอกาสติดเชื้อจากไวรัสสายพันธุ์อื่นที่ไม่ใช่ตัวที่เป็นวัคซีนก็เยอะเช่นกัน   ดังนั้นใครเคยฉีดวัคซีนไปแล้วอย่าเพิ่งวางใจ ควรไปตรวจหาเซลล์มะเร็งปากมดลูกด้วยวิธีแป็ปสเมียร์ (pap smear) เช่นเดิมเพราะยังมีโอกาสอีกในการเกิดมะเร็งปากมดลูก   Instagram-อินสตาแกรม ภาพหนึ่งภาพมีค่าเท่ากับกี่ล้านคำพูดนั้นยังไม่สามารถระบุได้ชัดเจน แต่ที่แน่ๆ หนึ่งโปรแกรมแชร์ภาพถ่ายนั้น มีมูลค่าถึง 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ ภายในระยะเวลาไม่ถึง 2 ปีตั้งแต่อินสตาแกรมเปิดตัวมา โปรแกรมนี้มีผู้ใช้งานแล้วกว่า 31 ล้านคน แรกก็ใช้กันเฉพาะในหมู่ผู้มีไอโฟน แต่ต่อมาก็ขยายไปยังโทรศัพท์อื่นๆ ที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ว่ากันว่าโปรแกรมนี้ใช้ง่าย  แถมได้ภาพถ่ายสวยงามประหนึ่งผลงานมืออาชีพ ปลอดโฆษณาและการอัพเดทสถานะ ที่สำคัญเขาเคยได้ตำแหน่ง แอพออฟเดอะเยียร์ มาแล้ว เรียกว่าเติบโตเร็วจนยักษ์ใหญ่อย่างเฟสบุ๊ครู้สึกร้อนๆหนาวๆ จนต้องรีบควักกระเป๋าซื้อหามาครอบครองให้ได้ก่อนใคร ด้วยราคาสูงถึง 30,000 ล้านบาท สาวกดั้งเดิมของอินสตาแกรม เริ่มวิตกว่าพื้นที่จัดแสดงภาพถ่ายฝีมือประณีตของตัวเอง อาจถูกโฆษณาเข้ามาบุกรุก หรืออาจจะเป็นแขกรับเชิญรายการ “ล้วงลับตับแตก” โดยไม่รู้ตัว หรือแย่ไปกว่านั้นคือกลัวว่าเฟสบุ๊คจะปิดการใช้โปรแกรมดังกล่าวไปดื้อๆ นั่นเอง   Jeans-ยีนส์ ฉลาดซื้อเคยลงบทความเรื่อง CSR กางเกงยีนส์ยี่ห้อดัง ที่นำเสนอเรื่องราวกว่าจะเป็นกางเกงยีนส์สักตัวต้องผ่านหลากหลายขั้นตอน ใช้ทั้งทรัพยากรธรรมชาติ ใช้ทั้งพลังงาน  ใครจะคิดว่าการผลิตกางเกงยีนส์ก็ส่งผลให้เกิดสภาวะโลกร้อนด้วยเหมือนกัน งานนี้กางเกงยีนส์เลยต้องขอทำหน้าที่กู้โลกกะเขาบ้าง ด้วยการแปลงโฉมเป็น “Eco Jean” หรือ “กางเกงยีนส์รักษ์โลก” เมื่อ ลีวายส์ (Levi’s) แบรนด์กางเกงยีนส์ชื่อดัง ผลิตกางเกงยีนส์รุ่นเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยควบคุมทุกขั้นตอนการผลิตให้รบกวนธรรมชาติน้อยที่สุด เริ่มตั้งแต่การใช้ฝ้ายที่ปลูกแบบเกษตรอินทรีย์มาผลิตกางเกง ใช้เปลือกมะพร้าวมาทำกระดุม สีที่ใช้ตกแต่งก็เป็นสีธรรมชาติ ส่วนป้ายที่บอกข้อมูลและราคาสินค้าแน่นอนว่าทำมาจากกระดาษรีไซเคิล ถึงเวลาเหล่าแฟชั่นตัวแม่แสดงพลังแก้ปัญหาโลกร้อนแล้ว...   Korea Fever-เคป็อป “เบื่อมั้ย?...เกาหลี” คำถามนี่อาจจะทั้งโดนใจและขัดใจหลายๆ คน แต่ก็ต้องยอบรับว่า “เกาหลีฟีเวอร์” มีอิทธิพลกับผู้บริโภคไทยในระดับที่มากถึงมากที่สุด ไม่ใช่แค่เพลงกับละครเท่านั้น ความเป็นเกาหลียังแพร่กระจายอยู่ในหลากหลายรูปแบบ ทั้งเรื่องอาหารการกิน เรื่องความสวยความงาม หรือแม้แต่การท่องเที่ยว แถมไม่ใช่แค่สินค้าจากเกาหลี (หรือแอบอ้างว่าเป็นเกาหลี) เท่านั้นที่ได้รับความนิยม เพราะเดี๋ยวนี้สินค้าไทยแท้ๆ ยังต้องจ้างดารา – นักร้องเกาหลีมาเป็นพรีเซนเตอร์ หวังเกาะกระแสเกาหลีฟีเวอร์ ทั้งๆ ที่สินค้าเหล่านั้นทำออกมาขายคนไทย แต่ทำไมต้องให้ดาราหรือนักร้องเกาหลีมาการันตีความดีของสินค้าเหล่านั้นก็ไม่เข้าใจเหมือนกัน ไม่ใช่จะมาบอกว่าดาราหรือสินค้าเกาหลีไม่ดี แต่อยู่ที่เราเลือกมองเลือกใช้อย่างไรมากกว่า ฝากถึงผู้ผลิตหรือคนที่นำเข้าสินค้า อย่าใช่แค่คำว่าเกาหลีมาเป็นจุดขาย เพราะของจะดีหรือไม่ดีเขาดูกันที่คุณภาพ Labeling – ฉลาก เป็นด่านหน้า ที่จะทำให้ผู้บริโภคได้รับข้อมูลที่จำเป็นของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ แบ่งประเภทของฉลากตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคได้เป็นสองกลุ่มคือ กลุ่มฉลากสินค้าทั่วไป และ กลุ่มฉลากยา อาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพ ฉลากอาหารกลุ่มแรกอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ขณะที่กลุ่มที่สองอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) โดยมีจุดร่วมทางกฎหมายคือได้กำหนดให้เป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ประกอบธุรกิจที่จะต้องให้ข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้าเพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคที่จะได้รับทราบข้อมูลข่าวสาร รวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้านั้น ๆ โดยผู้บริโภคสามารถใช้เป็นข้อมูลประกอบในการพิจารณาเลือกซื้อหรือใช้สินค้าได้อย่างปลอดภัย เป็นธรรม และประหยัด ดังนั้นข้อความที่ปรากฏในฉลาก จึงต้องตรงต่อความจริง ไม่มีข้อความที่อาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้า และจะต้องเป็นภาษาไทย   Made in China-เมดอินไชน่า กว่าร้อยละ 50 ของรองเท้า เสื้อผ้า เครื่องใช้ในบ้าน ของเล่น เฟอร์นิเจอร์ หรือแม้แต่ของประดับต้นคริสต์มาส ล้วนแล้วแต่เดินทางออกจากประเทศจีนทั้งสิ้น แต่ร้อยละ 89 ของสินค้าไฮเทคที่จีนส่งออกไปขายต่างประเทศนั้น ผลิตจากโรงงานที่เจ้าของเป็นนายทุนต่างชาติ (มีไม่น้อยที่เป็นคนเกาหลีและไต้หวัน) แม้แรงงานจีนจะมีงานทำ มีรายได้ แต่ผลกำไรส่วนใหญ่นั้นตกอยู่ที่คนอื่น เช่น ไอโฟน 4S เครื่องหนึ่งที่มีต้นทุนชิ้นส่วนและการประกอบไม่เกิน 6,000 บาท (ค่าแรงในการประกอบต่อหนึ่งเครื่องอยู่ที่ไม่เกิน 50 บาท) แต่เมื่อมาถึงมือผู้บริโภค รวมค่าลิขสิทธิ์ซอฟท์แวร์ ค่าโฆษณา ฯลฯ แล้ว ก็อยู่ที่ประมาณ 20,000 บาท ทั้งนี้หลังจากตกเป็นข่าวบ่อยๆ เพราะมีคนงานฆ่าตัวตายอยู่เนืองๆ โรงงานฟอกซ์คอน (ซึ่งเจ้าของคือมหาเศรษฐีชาวไต้หวัน) ผู้ผลิตอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์ให้กับแบรนด์ชั้นนำต่างๆ รวมถึง Apple ประกาศว่ากำลังพิจารณาขึ้นค่าแรงจากปัจจุบัน 2,200 หยวน เป็น 4,400 หยวน (ประมาณ 22,000 บาท) ต่อเดือน ในปีหน้าด้วย อันนี้ไม่รู้ว่าพูดเป็นนัยๆ ให้ทราบโดยทั่วกันว่าต่อไปผลิตภัณฑ์พวกนี้จะราคาแพงขึ้นด้วยหรือเปล่า   19 -ฉลาดซื้อขึ้นปีที่ 19 ตั้งแต่พิมพ์ฉบับแรกเมื่อมิถุนายน 2537 ฉลาดซื้อเราลงเรื่องซ้ำไม่มาก เพราะปัญหาผู้บริโภคบ้านเรามันเกิดได้กับทุกสินค้า ส่วนเรื่องที่ลงซ้ำก็มักมีพัฒนาการปัญหาใหม่ๆ ให้วุ่นวายชี้แจงแถลงไขกันไม่หยุด อย่างขนมเด็กที่มีปัญหาเรื่องฉลากมาตั้งแต่เริ่มฉลาดซื้อ ผ่านไปสิบแปดปี ก็ยังมีปัญหาฉลากเหมือนเดิม พร้อมๆ กับการเติบโตของเทคโนโลยี สินค้าหลายชนิดถูกยกระดับการผลิตให้ดีขึ้น ขณะเดียวกันเทคโนโลยีก็ถูกใช้เป็นเครื่องมือหลอกหากินกับผู้บริโภคได้อย่างน่าเชื่อถือมากขึ้นด้วย ดังนั้นแล้วจะซื้ออะไรก็ขอให้ใส่ใจหาความรู้ให้มาก รู้ให้ทัน อย่าใจเร็วด่วนได้ ฉลาดซื้อกันนะคะ Olympic-โอลิมปิก มีใครก็ไม่รู้บอกว่า “โอลิมปิกเป็นกีฬาของมวลมนุษยชาติ” ในเมื่อโอลิมปิกเป็นกีฬาของทุกคนบนโลก มหานครลอนดอนจึงมีมาตรการสีเขียว แบบว่าจัดเต็มไม่น้อยหน้าครั้งที่ผ่านๆ มา ประมาณการว่ามหกรรมโอลิมปิก 2012 ในช่วง 17 วันของการแข่งขัน จะมีผู้เข้าชมการแข่งขันราว 6.5 ล้านคน ซึ่งจะก่อให้เกิดขยะจากบรรจุภัณฑ์ใส่อาหารถึง 3,300 ตันจะก่อให้เกิดขยะ 8,250 ตัน และมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ 1.1 ล้านตัน คณะกรรมการจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิค 2012 ได้ตั้งเป้าว่าในช่วง 6 สัปดาห์ของการแข่งขันกีฬาโอลิมปิคจะต้องไม่มีขยะที่ต้องนำไปฝังกลบ และขยะที่ถูกทิ้งอย่างน้อย 70% จะต้องสามารถนำไป reuse หรือ recycle หรือต้องย่อยสลายได้ ส่วนบริษัทน้ำดำ สปอนเซอร์รายใหญ่ถึงกับให้คำมั่นสัญญาว่า ขวดพลาสติกแบบ PET ทุกใบที่ขายในการแข่งขัน ซึ่งคาดว่าจะมีจำนวนราว 80 ล้านใบ จะถูกนำมา recycle เป็นขวดใบใหม่    นอกจากนี้บรรจุภัณฑ์ใส่อาหาร ไม่ว่าจะเป็นถ้วยกระดาษใส่เครื่องดื่ม กระดาษห่ออาหารประเภท Fast Food และกล่องใส่แซนวิช จะต้องสามารถย่อยสลายได้   ก็ลองดูกันต่อไปว่าหลังจบการแข่งขันจะเป็นอย่างไร  …..ให้กำลังใจเจ้าภาพมา ณ โอกาส นี้   Photoshop-โฟโต้ชอป เดี๋ยวนี้มีเครื่องสำอางที่โฆษณาว่าช่วยดูแลผิวหน้า ลบเลือนริ้วรอย คืนความอ่อนเยาว์ เพิ่มความขาวกระจ่างใส ฯลฯ ถึงจะอยากสวยอยากใสแค่ไหน สาวๆ ฉลาดซื้อก็อย่าได้ปักใจเชื่อเด็ดขาด เพราะสิ่งที่เห็นในโฆษณาอาจเป็นเพียงภาพมายา เดี๋ยวนี้อะไรๆ ก็ถูกทำให้ดูดีได้ด้วยเทคนิคของโปรแกรมตกแต่งภาพยอดนิยมอย่าง “โฟโต้ชอป” (Photoshop) รอยย่น รอยตีนกา สิว ฝ้า จุดด่างดำ ของนางแบบในโฆษณา ถูกทำให้หายไปในพริบตา ไม่ใช่เพราะสรรพคุณของตัวผลิตภัณฑ์ แต่เป็นเพราะความมหัศจรรย์ของโฟโต้ชอปล้วนๆ ที่ประเทศอังกฤษ หน่วยงานมาตรฐานการโฆษณาของสหราชอาณาจักร เคยสั่งแบนโฆษณาแป้งรองพื้น ลังโคม (Lancome) ของเครื่องสำอางยี่ห้อดังอย่าง ลอริอัล (L’oreal) เพราะนักแสดงสาว จูเลีย โรเบิร์ต ซึ่งเป็นพรีเซนเตอร์ให้กับผลิตภัณฑ์ดังกล่าว มีใบหน้าที่เรียบเนียนเกินจริงดูแล้วไม่สมวัยซึ่งเกิดจากการรีทัชลบริ้วรอยออกไป แล้วแบบนี้ยังจะเชื่ออยู่มั้ยว่าใช้แล้วสวยสาวขาวใส ก็ขนาด จูเลีย โรเบิร์ต ยังต้องพึ่งโฟโต้ชอป!!!   Queue-คิว การเข้าคิวก็เหมือนการสื่อสารอย่างหนึ่ง ผู้คนพร้อมจะเข้าไปยืนในคิวก่อนที่จะรู้ด้วยซ้ำว่ากำลังจะมาซื้อสินค้าอะไร  ถ้าเป็นของกินแล้วคิวยาว แปลว่าของร้านนี้เขาคงอร่อยมากแน่ๆ คุณรู้หรือไม่ คนที่ไหนชอบเข้าคิวมากที่สุด  เฉลยว่าเป็นคนรัสเซีย ซึ่งว่ากันว่าสนุกกับการเข้าคิวมากกว่าการซื้อของเสียอีก เมื่อร้านฟาส์ตฟู้ดแห่งหนึ่งเปิดตัวที่มอสโควในปี 1990 นั้นมีคนมาเข้าคิวรอล่วงหน้านานกว่าคอนเสิร์ตเลดี้ กาก้า ที่บ้านเราอีก มีผลการสำรวจที่ระบุว่า รัสเซียเป็นที่ ที่คิวยาวที่สุดและขยับช้าที่สุดในยุโรป โดยเฉลี่ยแล้วคิวที่นี่ใช้เวลารอประมาณ 27 นาที ตามด้วยอันดับ 2 คืออิตาลี ที่ต้องเข้าคิวกัน 14 นาที ส่วนที่แทบจะไม่ต้องรอกันเลยคือ สวีเดน ที่เวลาเฉลี่ยในการเข้าคิวอยู่ที่ 2 นาทีเท่านั้น คนรัสเซียเขาเลยนิยมเทครัวกันไปซื้อของ ไม่ใช่เพราะต้องการความอบอุ่น แต่เพื่อจะได้กระจายกำลังกันไปเข้าคิวอื่นๆ เป็นการประหยัดเวลานั่นเอง เหตุที่คิวต่างๆ ยาวขึ้นนั้นเพราะภาวะเศรษฐกิจที่แย่ลง ทำให้สถานประกอบการต่างๆ ลดพนักงาน เพื่อลดต้นทุนนั่นเอง โดยเฉพาะสถานประกอบการของรัฐ ที่ทำการไปรษณีย์ ธนาคาร ที่ขายตั๋วรถไฟ และร้านรวงทั่วไป   Rich-ความร่ำรวย คนไทยส่วนใหญ่เป็นคนจน เชื่อมั้ย?? ถ้าดูจากจำนวนผู้ที่มีรายได้ที่ต้องแสดงแบบเพื่อเสียภาษี เมื่อปี 2554 มีเพียง 11.7 ล้านคน แต่จ่ายภาษีจริงหลังหักลดหย่อนเหลือแค่ 2.3 ล้านคน  (รายงานผลสำรวจของสำนักงานสถิตแห่งชาติในปี 2553 บอกว่าแรงงานของไทยทั้งหมดมีประมาณ 38 ล้านคน เป็นมนุษย์เงินเดือน 17 ล้านคน และกลุ่มอาชีพอิสระ เช่น หมอ วิศวกร ก่อสร้าง เกษตรกร แท็กซี่ หาบเร่แผงลอยอีก 21 ล้านคน) มองง่ายๆ มนุษย์ที่มีเงินเดือนเกิน 20,000 บาทขึ้นไปถึงเข้าข่ายเสียภาษี คือ 2.3 ล้านคนเท่านั้น เลยมีหลายคนให้ข้อสังเกตว่า อุตสาหกรรมหลายอย่างที่จับกลุ่มคนชั้นกลางจะไม่เติบโตมากในประเทศนี้ แต่กลุ่มอุตสาหกรรมที่สร้างเงินมหาศาลให้กับเจ้าของกิจการจะเป็นสินค้าสำหรับคนรากหญ้าหรือผู้ใช้แรงงาน ได้แก่ อุตสาหกรรมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และเครื่องดื่มชูกำลัง ลองนึกถึงเศรษฐีอันดับต้นๆ ในประเทศนี้สิ ไม่ว่าจะเป็นคุณเฉลียว อยู่วิทยา(ที่เพิ่งเสียชีวิตไป) หรือคุณเจริญ สิริวัฒนภักดี ทั้งสองล้วนได้รับแรงสนับสนุนอย่างดีจากคนส่วนใหญ่ของประเทศนี้ จนติดอันดับเศรษฐีไม่เฉพาะของไทยแต่ของโลกเลยทีเดียว ดังนั้นถ้าอยากรวยรู้แล้วใช่ไหมว่าต้องขายอะไรกับใคร Sport-กีฬา 1 ในหลายรสชาติของการเชียร์กีฬาอย่างมีสีสัน  และสนุกไปกับเกม เสมือนเข้าไปนั่งเชียร์อัพให้กำลังใจทีมโปรดในสนาม ก็คือ การมีส่วนร่วม ไม่ว่าจะเป็นการฝึกร้องเพลงประจำทีม หรือการซื้อหาชุดกีฬาทีมมาสวมใส่ ในศึกยูโร 2012  ก็เช่นกันหลายๆ คนที่ซื้อหาเสื้อทีมชาติที่โปรดปรานมาครอบครองไว้แล้ว อาจจะร้อนๆ หนาวๆ ถ้ารู้ข่าวที่องค์กรคุ้มครองผู้บริโภคของยุโรป(บีอียูซี)  ออกมาแฉผลศึกษาเสื้อทีมฟุตบอล ในศึกยูโร 2012 ว่าเต็มไปด้วยสารเคมีอันตรายต่อมนุษย์  โดยมีเสื้อทีมฟุตบอล 9 ชาติ มีส่วนผสมของสารเคมีที่ใช้ในการผลิตอยู่ในระดับน่าเป็นห่วง และมี 6 ชาติ   จากจำนวนนั้น มีสารตะกั่วและโลหะหนักผสมอยู่ โดยในเสื้อทีมสเปน และ เยอรมนี มีสารตะกั่วสูงมากกว่าที่กฎหมายกำหนด ในเสื้อทีมชาติสเปนและอิตาลี  พบสาร โนลิเฟโนล ซึ่งส่งผลต่อระบบต่อมไร้ท่อ และถูกแบนจากการใช้ในกระบวนการบำบัดน้ำเสียเพราะมีอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ส่วนเสื้อทีมโปรตุเกสและเนเธอร์แลนด์ มีสารนิคเกิล อยู่ด้วย ขณะที่เสื้อทีมโปแลนด์ เจ้าภาพร่วมอาการหนักกว่าเพื่อน เนื่องจาก มีส่วนผสมของ ออร์แกโนติน สารเคมีที่มีผลต่อระบบประสาท ในระดับสูงกว่าที่กฎหมายกำหนด จนองค์กรเพื่อผู้บริโภคของยุโรป เห็นว่า ควรจะถูกแบนจากร้านค้าโดยเด็ดขาด แฟนฟุตบอลจำนวนมาก ต้องจ่ายเงินมากกว่า 90 ยูโร หรือประมาณ 3,600 บาท ในการซื้อหาเสื้อทีมโปรดมาสวมใส่  เลยไม่รู้จะจะดีใจแทนคนไทยหรือไม่ที่ไม่ต้องเสี่ยงสารพิษ   แถมจ่ายเงินน้อยกว่าเพราะซื้อเสื้อบอลก็อปเกรดเอ จากร้านข้าง ๆ สนามศุภฯ ดี   Traffic Light Labeling – ฉลากโภชนาการแบบสีสัญญาณไฟจราจร เป็นฉลากโภชนาการแบบที่มีต้นกำเนิดจากประเทศอังกฤษ พิสูจน์แล้วว่า ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถตัดสินใจเลือกอาหารที่ตนต้องการได้อย่างรวดเร็วเพียงการมองแค่ครั้งเดียวสำหรับผู้บริโภคทุกกลุ่มโดยเฉพาะเด็กและผู้ปกครองเด็ก ฉลากโภชนาการชนิดนี้ได้กำหนดให้แสดงคุณค่าสารอาหารจากกลุ่มสารอาหารที่มักก่อให้เกิดปัญหาต่อร่างกายเมื่อได้รับในปริมาณมากเป็นประจำ 5 รายการ ได้แก่ ค่าพลังงาน (Energy/ Calories) ไขมัน (Fat) ไขมันอิ่มตัว (Saturates Fat) น้ำตาล (Sugar) และ เกลือ (Salt) บนส่วนหน้าของฉลากอาหาร และกำหนดให้แสดงค่าสารอาหารโดยระบุปริมาณพร้อมใช้สีของสัญญาณไฟจราจร ได้แก่ สีเขียว สีเหลือง และสีแดง เป็นสัญลักษณ์ หมายถึงคุณค่าทางโภชนาการ ต่ำ ปานกลาง สูง  เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าใจ เครือข่ายผู้บริโภคเราก็เคยเคลื่อนไหวให้ อย. เอาฉลากเขียวเหลืองแดงมาใช้กับขนม แต่ไปๆ มาๆ กลายเป็นฉลากจีดีเอ ทรงกระบอกข้าวหลามที่เข้าใจยากกว่าไปได้   Used-มือสอง ข้อมูลของกรมควบคุมมลพิษ ปี 2553 ระบุ ประเทศไทยของเรามีขยะเกิดขึ้นมากถึงวันละ 41,532 ตัน ต้องใช้ทั้งกำลังคนและงบประมาณในการจัดเก็บเป็นจำนวนมาก ซึ่งมองย้อนกลับไปดูสถิติที่ผ่านมา 5 ปี ปริมาณขยะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี แถมขยะหลายชนิดก็ยากแก่การย่อยสลาย ทั้ง กระป๋องอะลูมิเนียม ถุงพลาสติก โฟม ขยะเหล่านี้จะอยู่คู่โลกของเราไปอีกหลายร้อยปี ถึงเวลาแล้วที่เราทุกคนต้องช่วยกันลดปริมาณขยะ เริ่มง่ายๆ ด้วยการใช้ของทุกอย่างที่เราซื้อมาอย่างคุ้มค่ามากที่สุด ซื้อเท่าที่จำเป็น รู้จักนำกลับมาใช้ใหม่ ใช้ซ้ำ อันไหนถ้าไม่ใช้แล้วจริงๆ ก็แบ่งปันให้คนอื่น แปรเป็นของมือ 2 หรือเอาไปเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล ทำให้ของทุกอย่างมีค่ามากกว่าการเป็นแค่ขยะ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 135 พุทธฉือจี้ ต้นแบบขบวนการทำความดี

“ฉือจี้” คำนี้เริ่มกลายเป็นคำคุ้นชินของบุคลากรทั้งในแวดวงการศึกษา ศาสนา สุขภาพ หรือแม้แต่องค์กรภาคเอกชนในประเทศไทยมากขึ้นทุกที ในฐานะองค์กรการกุศลที่มีชื่อเสียงโด่งดังระดับนานาชาติในนามเต็มว่า  “มูลนิธิพุทธฉือจี้” (Tzu Chi Foundation) องค์การกุศลที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของไต้หวัน เมื่อเอ่ยนามไต้หวัน หลายๆ คนคงนึกออกแค่ภาพหมู่เกาะเล็กๆ ที่มีประชากรเชื้อสายจีนอาศัยอยู่ โดยมีลักษณะการปกครองที่เป็นตัวของตัวเองไม่ได้ขึ้นกับจีนแผ่นดินใหญ่  แต่ถึงแม้จะเล็ก ระดับความเจริญทางเศรษฐกิจและเสรีภาพในการเลือกนับถือศาสนาที่นี่ไม่น้อยหน้าชาติใดในโลก   ถ้ามีโอกาสไปไต้หวันคุณจะเห็นภาพนักบวช(ทั้งสตรีและบุรุษ) เดินปะปนไปกับผู้คนทั่วไปอย่างกลมกลืน รวมทั้งวัดจำนวนมากมายที่ไม่ได้จำกัดเพียงแค่วัดพุทธ เต๋าหรือขงจื้อ แต่ยังมีโบสถ์ของคริสต์และมัสยิดของอิสลามรวมอยู่ด้วย เพราะรัฐธรรมนูญของไต้หวันให้เสรีภาพกับประชาชนในการนับถือศาสนาโดยไม่มีองค์กรกลางด้านศาสนามากำกับดูแล ทำให้ความเชื่อและแนวปฏิบัติหลากหลายเติบโตได้อย่างเต็มที่ในดินแดนนี้ ที่จะต้องกล่าวถึงเป็นพิเศษคือ การให้โอกาสผู้หญิงบวชเป็น “พระภิกษุณี” ได้เท่าเทียมกับผู้ชาย ประมาณกันว่าพระในพระพุทธศาสนา(นิกายมหายาน) เป็นพระภิกษุ(ชาย) ราวร้อยละ 30 และภิกษุณี(หญิง) ร้อยละ 70 ซึ่งศาสนาพุทธนิกายมหายานเป็นที่ยอมรับมากที่สุด โดยมีประชากรราว 8 ล้านคนในไต้หวันเป็นศาสนิก เหตุที่ต้องเอ่ยถึงลักษณะพิเศษที่ประเทศนี้มีภิกษุณีจำนวนมาก ด้วยว่าเราจะเอ่ยถึงมูลนิธิพุทธฉือจี้ไม่ได้เลย หากไม่เอ่ยนามภิกษุณีท่านหนึ่ง ท่านธรรมาจารย์เจิ้งเหยียน ผู้ที่เป็นผู้นำสูงสุดทางจิตวิญญาณและเป็นผู้ก่อตั้งมูลนิธิพุทธฉือจี้   เริ่มจากเงินออมวันละ 50 เซนต์ มูลนิธิพุทธฉือจี้ ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2509 โดยท่านธรรมาจารย์เจิ้งเหยียน ร่วมกับลูกศิษย์ และผู้ร่วมอุดมการณ์ราว 30 คน ซึ่งได้แก่แม่บ้านที่อาศัยอยู่โดยรอบวัดจิงเส้อ ที่เมืองฮวาเหลียน เมืองทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของไต้หวัน ถือว่าเป็นดินแดนที่มีความทุรกันดารมากแห่งหนึ่ง งานเริ่มแรกของมูลนิธิพุทธฉือจี้คือการสงเคราะห์ผู้ตกทุกข์ ด้วยหลักธรรมแห่งพุทธมหายานนั้น มุ่งเน้นที่การช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยากหรือบรรดาสรรพสัตว์ต่างๆ ให้หลุดพ้นจากห้วงกรรมเสียก่อน หรือพูดให้ง่ายก็คือ ต้องช่วยเหลือคนอื่นก่อน โดยเฉพาะคนยากไร้ คนที่ถูกทอดทิ้งไร้ที่พึ่งพิง กิจกรรมแรกของท่านธรรมาจารย์คือ ขอให้ลูกศิษย์ประหยัดค่ากับข้าวคนละ 50 เซนต์(เทียบแบบง่ายๆ ก็คือ 50 สตางค์) ต่อวัน โดยเก็บออมไว้ในกระบอกไม้ไผ่เพื่อนำมาช่วยเหลือสงเคราะห์ผู้คน  โดยเมื่อแรกก่อตั้งนั้นอาจช่วยเหลือผู้คนได้ไม่มาก แต่ปัจจุบันไม่น่าเชื่อว่า มูลนิธิพุทธฉือจี้สามารถช่วยเหลือผู้คนไม่เพียงในไต้หวันเท่านั้นแต่เป็นผู้คนทั่วโลกได้มากมายหลายล้านคน ในขณะเดียวกันผู้เข้าร่วมอุดมการณ์ฉือจี้ก็มีจำนวนไม่น้อยกว่า 10 ล้านคนทั้งในไต้หวันและต่างประเทศ ------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------ ภารกิจ 8 ประการของมูลนิธิพุทธฉือจี้ (1) งานการกุศล สงเคราะห์ผู้ยากไร้ (2) บรรเทาอุบัติภัย ทั้งระดับท้องถิ่นและสากล (3) บำบัดความเจ็บป่วยด้วยการแพทย์เปี่ยมจริยธรรม (4) การศึกษาที่ทำให้คนเป็นคนที่สมบูรณ์ มีความละเมียดละไมในการใช้ชีวิต (5) การสร้างสรรค์สังคมคุณธรรม (6) การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (7) ศูนย์ข้อมูลไขกระดูก (8) อาสาสมัครชุมชน ------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------   รูปธรรมของการขับเคลื่อนภารกิจทั้ง 8 ประการของมูลนิธิพุทธฉือจี้ ได้แก่ โรงพยาบาลฉือจี้ ที่มีมากถึง 7 แห่งในไต้หวัน ให้บริการการแพทย์ที่ทันสมัยและเปี่ยมด้วยหัวใจแห่งความเป็นมนุษย์ สถาบันการศึกษา ได้แก่ โรงเรียนแพทย์ มหาวิทยาลัย โรงเรียนมัธยม ประถมและอนุบาล ที่พร้อมปลูกฝังคุณธรรมและความเป็นผู้มีจิตเมตตา สถานีโทรทัศน์ต้าอ้าย สถานีโทรทัศน์น้ำดีที่ได้รับการโหวตจากผู้ชมชาวไต้หวันให้เป็นสถานีโทรทัศน์ที่ทรงอิทธิพลต่อผู้ชมมากที่สุด สถานีแยกขยะ(รีไซเคิลขยะ) ซึ่งตั้งอยู่ในชุมชนต่างๆ เพื่อจัดการกับขยะที่ดูเหมือนไร้ค่าให้กลายเป็นทองคำ งานบรรเทาทุกข์ผู้ประสบภัย ทั้งในประเทศและระดับสากล ด้วยคำขวัญไปถึงก่อนและกลับทีหลัง(เข้าไปเป็นกลุ่มแรกๆ และกลับออกมาเป็นกลุ่มสุดท้าย)  ธนาคารไขกระดูก เพื่อช่วยเหลือคนที่เป็นมะเร็งเม็ดเลือด งานสงเคราะห์ผู้ตกทุกข์ได้ยากและงานอาสาสมัครชุมชน  เพื่อขัดเกลาให้ชาวฉือจี้ได้ทำงานจิตอาสาอย่างสม่ำเสมอ พร้อมทั้งบ่มเพาะเมล็ดพันธุ์แห่งความดีในจิตใจให้งอกงาม ลดอัตตาและความเห็นแก่ตัวลง ปี 2553) มูลนิธิพุทธฉือจี้ได้รับสถานะ ที่ปรึกษาพิเศษ (special consultative status) ของคณะมนตรีเศรษฐกิจและสงคมแห่งสหประชาชาติ Economic and Social Council (ECOSOC) ขณะที่ท่านธรรมาจารย์เจิ้งเหยียนก็ได้รับรางวัลนานาชาติ เช่น เหรียญไอเซน ฮาวร์ (Eisenhower Medallion) และได้รับการเสนอชื่อเพื่อรับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ   เหตุแห่งความสำเร็จของมูลนิธิพุทธฉือจี้ 1.ความเป็นมืออาชีพ ไม่ว่าจะเป็นงานด้านใด ชาวฉือจี้จะมีระบบในการทำงานที่มีประสิทธิภาพ มีการวางแผนการทำงานอย่างเป็นขั้นตอน และมีวินัยอันเยี่ยมยอด 2.เป้าหมายร่วมที่เป็นหนึ่งเดียวกัน ชาวฉือจี้มุ่งมั่นในการทำความดีเพื่อประโยชน์สุขของผู้อื่น โดยละวางตัวตน ทำให้ไม่เกิดความท้อแท้เบื่อหน่ายเมื่อต้องเผชิญกับอุปสรรค 3.ศรัทธาอันแรงกล้าต่อผู้นำองค์กร ท่านธรรมาจารย์มีวัตรปฏิบัติที่สงบ งาม เป็นแบบอย่างอันดีให้แก่ชาวฉือจี้  สิ่งที่ท่านสอนเป็นสิ่งที่ท่านทำอย่างสม่ำเสมอมิเคยขาด ทำงานหนัก อยู่ง่าย กินง่าย เบียดเบียนผู้อื่นและโลกน้อยที่สุด 4.กิจกรรมทันสมัยไม่หนีห่างจากโลก กิจกรรมที่ชาวฉือจี้ปฏิบัติเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่และท้าทาย ทุกคนสามารถทำได้ เข้าถึงได้ ไม่มีใครที่เข้าร่วมขบวนการฉือจี้แล้วไม่มีอะไรทำ หรือรู้สึกสูญเปล่า 5.สมาชิกมีคุณภาพและเครือข่ายเข้มแข็ง ฉือจี้เน้นการปฏิบัติธรรมเป็นกลุ่ม บรรลุเป็นทีม ดังนั้นจะมีแนวทางหรือหลักสูตรที่ช่วยเพิ่มพูนประสิทธิภาพการทำงานให้กับสมาชิกและอาสาสมัคร 6.มีเงินทุนเป็นของตนเอง ทุกๆ เม็ดเงินที่มีผู้บริจาคเข้ามา หรือรายได้ที่เกิดจากกิจกรรมต่างๆ ทั้งการรีไซเคิลขยะ ขายของมือสอง ของที่ระลึก เงินทั้งหมดบริหารจัดการโดยมูลนิธิฯ ด้วยความโปร่งใสมากจนเป็นที่เชื่อถือของคนทั่วไป ทำให้แต่ละปีมีผู้บริจาคเงินเป็นจำนวนมาก เงินมาใช้ทำกิจกรรมต่างๆ อย่างมากมายไม่รู้จบสิ้น ประมาณการกันว่า เงินบริจาคที่มูลนิธิฯ ได้รับน่าจะมีมูลค่ารวมเป็นหมื่นเป็นแสนล้านเหรียญ 7.วัดไม่ยุ่งเกี่ยวกับเรื่องเงินบริจาค ในส่วนของวัดท่านธรรมาจารย์จะไม่ยุ่งเกี่ยวกับเงินบริจาคเลย ท่านธรรมาจารย์และลูกศิษย์ ถือคติ วันไหนไม่ทำงาน วันนั้นไม่กิน มาตั้งแต่เริ่มก่อตั้งวัด อาหารการกินมาจากแปลงผักในบริเวณวัดนี้เอง ผักเหล่านี้ภิกษุณีและอาสาสมัครฉือจี้จะช่วยกันปลูก เก็บ และนำมาประกอบอาหารเลี้ยงกันเองในวัด รวมทั้งเลี้ยงผู้มาเยือนซึ่งมีมาตลอดเวลา รวมทั้งการผลิตสินค้าอย่างเทียนไข รองเท้าสานจำหน่ายเพื่อเป็นรายได้ให้แก่ทางวัด การทำงานทั้งหมดนี้ถือว่าเป็นการปฏิบัติธรรม ดังนั้นจึงยิ่งสร้างศรัทธาให้แก่ผู้คน 8.การสื่อสารประชาสัมพันธ์ที่ต่อเนื่อง โดยมีรูปธรรมความสำเร็จที่ชัดเจน เช่น งานโรงพยาบาล งานวิทยาลัยแพทย์ งานบรรเทาทุกข์ ทำให้คนจำนวนมากสนใจและเข้าร่วมกิจกรรมมากมาย หรือแม้แต่การศึกษาดูงาน อาจกล่าวได้ว่า ถ้าไปไต้หวันใครๆ ก็อยากไปดูงานฉือจี้ 9.การสร้างคนรุ่นใหม่ ด้วยการปลูกฝังคุณธรรมให้กับนักเรียน นักศึกษาสถาบันการศึกษาของฉือจี้เอง รวมทั้งการถ่ายทอดเรื่องราวคุณธรรมต่างๆ ผ่านสถานีโทรทัศน์ที่ไม่เพียงสื่อสารกับคนในไต้หวันแต่ยังรวมถึงชาวจีนทั่วโลกด้วย 10.การสร้างพลังใจให้กับคนทำงาน มีการเก็บภาพข่าว ภาพกิจกรรม ความรู้ ประสบการณ์จากอดีตมาเสริมสร้างพลังใจในการทำงานอย่างต่อเนื่อง แม้เรื่องเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ก็ไม่ถูกมองข้าม การสื่อสารองค์กร ทำให้เกิดการเรียนรู้ในความสำเร็จและชื่นชมในความดีความงามของสมาชิกและอาสาสมัครตั้งแต่รุ่นแรกๆ จนถึงปัจจุบัน ช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ชาวฉือจี้ได้เป็นอย่างดี   การเข้าเป็นอาสาสมัครฉือจี้ การเข้าเป็นอาสาสมัครฉือจี้นั้นเป็นการมาโดยสมัครใจ  ไม่มีใครบังคับและทำการทุกอย่างด้วยความสมัครใจตามอรรถภาพที่แต่ละคนมีอยู่ และเปิดกว้างให้กับคนทุกชาติ  ศาสนา  เพราะการช่วยเหลือของมูลนิธิพุทธฉือจี้ เป็นการ ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ทุกคนที่ตกทุกข์ได้ยากโดยไม่เลือกชาติ  ศาสนาหรือชนชั้น  เพศ  วัย  โดยถือว่าทุกคนในโลกใบนี้เป็นคนในครอบครัวเดียวกันเมื่อตกทุกข์ได้ยากก็ต้องช่วยเหลือกัน อาสาสมัครของฉือจี้มีหลายประเภท 1.อาสาสมัครชุดน้ำเงินขาว ผ่านการอบรมอย่างน้อย 2 ปี เพื่อพัฒนาขึ้นไปเป็นอาสาสมัครโรงพยาบาลและอาสาสมัครพ่อแม่อุปถัมภ์ 2.อาสาสมัครการศึกษา ผ่านการอบรมแนวคิดการเป็นครูแบบฉือจี้อย่างน้อย 2 ปี เพื่อพัฒนาขึ้นไปเป็นอาสาสมัครสมาคมครู 3.อาสาสมัครพิทักษ์สิ่งแวดล้อม ผ่านการอบรมอย่างน้อย 1 ปี ประจำอยู่ตามหน่วยสาธิตการเก็บแยกขยะทั่วเกาะไต้หวัน 4.อาสาสมัครแพทย์ฉือจี้ระหว่างประเทศ และยังมีอาสาสมัครในอาชีพอื่นๆ อีก เช่น ตำรวจ เป็นต้น   ทำความดีแบบฉือจี้ไม่มีเบื่อ หลายๆ คนอาจเคยได้ลองสัมผัสงานจิตอาสา โดยเฉพาะปลายปีที่แล้วที่บ้านเราพบเจอกับสถานการณ์น้ำท่วมใหญ่ภาคกลาง ในท่ามกลางความงดงามของความมีน้ำจิตน้ำใจที่คนหันมาช่วยเหลือกัน แต่ก็มีภาพและเสียงสะท้อน ที่บอกถึงความไม่เป็นมืออาชีพในการทำงานจิตอาสา หลายคนบ่นท้อแท้ หลายคนไม่ชอบใจที่ไปความตั้งใจดีแต่กลับพบความไม่มีระบบระเบียบในการดูแลเรื่องข้าวของบริจาค หรือถูกต่อว่าต่อขานโดยคนที่ตนเองเข้าไปช่วยเหลือ ฯลฯ อาจเพราะพวกเรายังใหม่ ส่วนใหญ่ก็มีแต่ใจที่อยากจะช่วย การมีแต่ใจแต่ขาดการจัดการ ส่วนใหญ่แล้วจะทำให้บั่นทอนกำลังใจลงไปเสียมาก จนหลายคนไม่อยากทำ หรือเบื่อหน่ายที่จะทำความดี รู้สึกว่าอยู่เฉยๆ ดีกว่า หรือบางคนก็มีศักยภาพที่สูงมากกว่าที่จะมานั่งแพ็กของ แพ็กกระสอบทราย แต่ที่ฉือจี้ อย่างที่ได้กล่าวไป ที่นี่ทำงานแบบมืออาชีพ งานอาสาสมัครหรือจิตอาสาของฉือจี้ ทำแล้วไม่มีเบื่อ ส่วนหนึ่งก็เพราะ 1.ทำด้วยความเข้าใจ พากเพียรไม่ลดละ 2.ผ่อนคลาย สมดุลทั้งกายและใจ 3.ให้เกียรติผู้ที่เข้าไปช่วยเหลือและละวางตัวตน 4.ได้รับการดูแลจากพี่เลี้ยง ไม่ปล่อยให้ทำงานลำพัง 5.ไม่หักโหม มีขั้นตอน มีพักผ่อน มีช่วงลงแรงแข็งขัน การทำงานอาสาสมัครของฉือจี้ จะเริ่มจากเรื่องง่ายๆ ใกล้ตัว นานๆ เข้าก็เลื่อนขั้นสูงขึ้น ได้ทำงานที่ได้ฝึกฝนตนเองมากขึ้น มีการดูแลจากพี่เลี้ยงไม่มีการทำเกินกำลัง จึงมีเวลาบ่มเพาะความเข้มแข็งทีละน้อย โดยไม่ต้องรู้สึกฝืนตัวตน จริงๆ ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญ อาจเป็นเป็นข้อแรกเลยก็คือ ทุกคนมีความศรัทธาในตัวท่านธรรมาจารย์เจิ้งเหยียน จึงพร้อมละวางตัวตนได้อย่างง่ายดายและมีท่านเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติตัว ท่านธรรมาจารย์สอนให้ชื่นชมผู้อื่น ไม่เน้นวิจารณ์หรือตำหนิติเตียน เพราะทั้งสองนี้เป็นที่มาของความขัดแย้ง ความไม่สบายใจและความแตกแยก ที่ฉือจี้สอนว่า หากเห็นผู้อื่นมีข้อบกพร่อง ก็จะยกให้กับกฎแห่งกรรมเป็นผู้ลงโทษ แล้วจะคิดไปในเชิงบวก “รู้จักพอเพียง เคร่งครัดที่ตน ผ่อนปรนผู้อื่น” เห็นความสำคัญของการให้เกียรติกันและให้อภัย ทำให้ความขัดแย้งทั้งภายนอกและภายในใจลดน้อยลง ในการให้ความช่วยเหลือ แม้เปี่ยมด้วยเมตตา แต่ก็ต้องใช้ปัญญากำกับเสมอ การดำเนินงานจึงจะถูกต้อง เช่น ครั้งหนึ่งเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ในไต้หวัน นอกจากอาสาสมัครจะได้ออกไปช่วยเหลือบรรเทาทุกข์เพื่อผ่อนคลายความเดือดร้อนเฉพาะหน้าแล้ว ฉือจี้ยังสร้างอาคารเรียนหลังใหม่ให้แก่ชุมชนใหม่ถึง 51 แห่ง โดยกำหนดเป้าหมายสร้างอย่างแข็งแรงและทนแรงแผ่นดินไหวได้ถึง 7 ริกเตอร์เพื่อไม่ให้โรงเรียนพังลงมาทับเด็กจากเหตุแผ่นดินไหวอีก ทั้งที่ตอนที่พังลงมานั้นมีความแรงไม่ถึง 7 ริกเตอร์ แสดงให้เห็นถึงการมองถึงอนาคตเพื่อผู้ที่ได้รับความช่วยเหลือได้รับสิ่งที่ดีที่สุด ที่สำคัญทุกขั้นตอนมีการวางแผนบริหารจัดการอย่างดี การให้ความช่วยเหลือของฉือจี้จะเริ่มด้วยการประเมินสถานการณ์ก่อน ประเมินความต้องการ ดูเรื่องการขนส่ง การเข้าถึง การคำนึงถึงผู้ประสบภัยว่าต้องการสิ่งใดบ้าง เพื่อให้ของที่ไปถึงมือผู้รับไม่สูญเปล่าและตรงกับความต้องการ และมีการติดตามผล(ฉือจี้ไม่มีการนำข้าวสารไปให้ในพื้นที่ ที่ไม่สามารถหุงหาอาหารได้ ฉือจี้มีข้าวกึ่งสำเร็จรูปที่แค่แช่น้ำก็กินได้ นอกจากนั้นยังมีข้าวของจำเป็นอีกหลายอย่างที่ชาวฉือจี้พัฒนาขึ้นภายหลังการเรียนรู้จากการเข้าไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยทุกครั้ง) สนใจข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับมูลนิธิพุทธฉือจี้ สามารถเข้าไปดูเพิ่มเติมได้ที่ http://www.tzuchithailand.org   ข้อมูล วิชัย โชควิวัฒน์. ไปไหว้พระโพธิสัตว์ที่ไต้หวัน.สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ.กรุงเทพ,2553. พระเดิมแท้ ชาวหินฟ้า.พุทธฉือจี้ พุทธที่ไม่เคยเห็นมาก่อน.กองทุนสื่อพุทธฉือจี้,2551.   ------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------ ท่านธรรมาจารย์เจิ้งเหยียนผู้เป็นประมุขของชาวฉือจี้นั้น เกิดเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2480 ที่ตำบลชิงสุ่ย เมืองไทจุง ซึ่งอยู่ตอนกลางของไต้หวัน พ่อแม่ยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของอา จึงนับถืออาเป็นเหมือนพ่อแม่ที่แท้จริง เมื่ออายุได้ 15 ปี แม่ป่วยด้วยโรคกระเพาะอาหาร ท่านอาจารย์ได้ตั้งจิตอธิษฐานขอให้มารดาหายป่วย โดยขอลดอายุของตนเองลง 12 ปี และจะกินมังสวิรัติเพื่อเป็นการสร้างกุศล แต่เมื่ออายุได้ 20 ปี บิดาของท่านก็ล้มป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงและเสียชีวิตลงอย่างกะทันหัน ท่านอาจารย์มีความสะเทือนใจมาก ในที่สุดก็ตัดสินใจปลงผมตนเองถือบวช เร่ร่อนไปทางแถบตะวันออกของไต้หวันซึ่งเป็นเขตทุรกันดาร ผู้คนยากจนมาก ท่านไม่ออกรับบิณฑบาตจากชาวบ้านเพราะไม่ต้องการให้ชาวบ้านเดือดร้อน ดำรงชีวิตอย่างเรียบง่ายด้วยการเก็บถั่วลิสงและมันเทศที่หลงเหลือจากการเก็บเกี่ยวของชาวบ้านมาเป็นอาหาร จนกระทั่งปี พ.ศ. 2504 ท่านได้เดินทางมาพำนักที่เมืองฮวาเหลียน และได้พบกับพระอาจารย์ยิ่นซุ่นซึ่งรับเป็นพระอุปัชฌาย์บวชให้ โดยได้สั่งสอนหลักสั้นๆ ว่า “เมื่อบวชแล้ว จงทำทุกอย่างเพื่อพุทธศาสนาและมวลมนุษย์” หลังจากนั้นท่านธรรมาจารย์และผู้ร่วมอุดมการณ์ ได้มาสร้างกระท่อมเล็กๆ หลังวัดผู่หมิงที่ฮวาเหลียนเป็นที่พำนัก โดยมีศิษย์ไม่กี่คนติดตามมาด้วย ท่านอาจารย์และสานุศิษย์ทุกคนต้องทำงานอย่างหนัก ต่อสู้กับภัยธรรมชาติทุกรูปแบบ อยู่แบบอดมื้อกินมื้อ ตามกฎที่ท่านตั้งไว้ว่า “วันใดไม่ทำงาน วันนั้นจะไม่กิน” กล่าวคือ นอกจากจะปลูกผักไว้กินเองแล้ว ยังทำสินค้าออกจำหน่ายเพื่อหาเงินมาประทังชีวิตด้วย เช่น นำด้ายจากโรงงานที่เขาทิ้งแล้วมาถักเป็นเสื้อกันหนาว ถักรองเท้าเด็กขาย เย็บถุงสำหรับใส่อาหารสัตว์ เป็นต้น ปี พ.ศ. 2509 ท่านธรรมาจารย์ประสบเหตุอันทำให้กระทบกระเทือนใจอย่างรุนแรง เมื่อไปเยี่ยมอุบาสกผู้หนึ่งที่เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลเอกชนที่ฟงหลิน ท่านไปพบกองเลือดกองใหญ่นองอยู่บนพื้น สอบถามได้ความว่าเป็นกองเลือดของผู้หญิงชนบทแท้งลูก ญาติพามาโรงพยาบาลใช้เวลาเดินทาง 7-8 ชั่วโมง แต่ต้องพากลับไปรักษาที่อื่นเพราะไม่มีเงิน 8,000  เหรียญสำหรับจ่ายค่ามัดจำก่อนที่แพทย์จะลงมือผ่าตัดช่วยชีวิต เหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้ท่านอาจารย์ตั้งปณิธานแน่วแน่ว่าจะต้องทำงานเพื่อหาทางช่วยเหลือผู้ยากไร้ที่ขาดที่พึ่งพิง และในที่สุดก็เกิดความคิดที่จะรวบรวมชาวพุทธเข้าด้วยกันเพื่อร่วมกันสร้างกุศลกรรมโดยการช่วยเหลือผู้ยากไร้อย่างเป็นรูปธรรมด้วยความเมตตากรุณาและไม่หวังผลประโยชน์ตอบแทน ซึ่งหากทำได้ ทุกคนก็จะเป็นพระโพธิสัตว์ได้ทันที ไม่ต้องรอสวดมนต์อ้อนวอนภาวนาต่อเจ้าแม่กวนอิมเพื่อให้ได้เป็นพระโพธิสัตว์ ความทุกข์ยากในสังคมและในโลกก็จะบรรเทาเบาบางลงไปได้ นพ. อำพล จินดาวัฒนะ http://www.sarakadee.com/web/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=660

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 134 เมื่อข้าวถุงขึ้นราคา...อย่าคิดว่าไม่สำคัญ

คนที่ชอบรับประทานข้าวหอมมะลิอาจจะต้องเตรียมใจ เมื่อ นายสมเกียรติ มรรคยาธร นายกสมาคมผู้ประกอบการข้าวถุงไทย ออกมาบอกว่าจำเป็นต้องปรับขึ้นราคาข้าวหอมมะลิชนิดบรรจุถุงเพิ่มขึ้นอีกถุงละประมาณ 10 บาท หลังสงกรานต์ปีนี้ เนื่องจากต้นทุนต่างๆ ในการผลิตปรับตัวสูงขึ้น ทั้งค่าวัตถุดิบ ค่าแรงงาน ค่าขนส่ง รวมทั้งนโยบายของภาครัฐซึ่งส่งผลกระทบในมุมของต้นทุนการผลิตด้วยเช่นกัน แม้ในยุคนี้หลายคนจะติดพฤติกรรมการกินข้าวนอกบ้านมากกว่าหุงข้าวกินเอง แต่ยังไงซะข้าวสารก็ยังเป็นของสำคัญที่ต้องมีไว้ในครัวที่บ้าน การที่ข้าวสารหอมมะลิบรรจุถุงปรับขึ้นราคานั้น แม้จะเป็นจำนวนเงินที่ไม่มากหากคิดในแง่ของปริมาณ ยิ่งเมื่อเทียบว่าข้าวถุงส่วนใหญ่วางขายอยู่ในตลาดนั้นจะมีความจุอยู่ที่ 5 กิโลกรับต่อถุง ซึ่งหนึ่งถุงนั้นหลายๆ ครอบครัวสามารถซื้อเก็บไว้กินได้นานเป็นเดือนๆ ก็อาจมองได้ว่าไม่น่าจะเป็นผลกระทบกับเราในฐานะผู้บริโภคมากนัก แต่เราในฐานะที่เราเป็นคนไทย ประเทศเกษตรกรรมซึ่งเกษตรกรมากกว่าครึ่งหนึ่งปลูกข้าวทำนา และที่สำคัญคือไม่ว่าจะยังไงข้าวก็ยังเป็นอาหารหลักของคนไทย สถานการณ์ต่างๆ ที่จะเกิดกับข้าวไทยของเราจึงเป็นเรื่องที่เราไม่ควรละเลย ----------------------   ข้าวถุงบุกทุกครัว!!! คุณแม่บ้าน คุณพ่อบ้านคนไหนที่เคยไปเลือกซื้อข้าวสารถุงตามห้างค้าปลีกขนาดใหญ่หรือแม้แต่ในร้านโชว์ห่วย น่าจะสังเกตเห็นว่าเดี๋ยวนี้มีข้าวถุงยี่ห้อต่างๆ วางขายแข่งขันกันอยู่เป็นจำนวนมาก เฉพาะข้าวหอมมะลิก็มีให้เลือกหลากหลายพันธุ์ เช่น ข้าวหอมสุรินทร์ ข้าวหอมแปดริ้ว ข้าวหอมสุพรรณ ข้าวหอมปทุม ฯลฯ ยังไม่รวมถึงการแบ่งตามลักษณะของข้าว ไล่ตั้งแต่ ข้าวหอมมะลิขัดขาว ข้าวหอมมะลิกล้อง และข้าวหอมมะลิอินทรีย์ ส่วนเรื่องราคาก็แตกต่างกันไป ข้าวสารถุง 5 กิโลกรัม ราคาก็มีตั้งแต่ 100 กว่าบาทไปจนถึง 200 กว่าบาท ตามคุณภาพของข้าว หลายคนคงคุ้นเคยกับการซื้อข้าวชนิดบรรจุถุง ทั้งขาวธรรมดาและข้าวหอม ด้วยความที่สะดวกหาซื้อง่ายเพราะมีวางขายตามร้างค้าปลีกทั่วไป บางคนก็คิดว่าข้าวสารบรรจุถุงน่าจะสะอาดและได้ข้าวที่คุณภาพดีกว่าข้าวสารที่แบ่งขายจากกระสอบ แต่ถ้าคิดในแง่ของราคา ข้าวสารแบบตวงขายจะถูกกว่าเมื่อดูจากรายงานราคาข้าวเปลือกและข้าวสารของกรมการค้าภายในเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2555 ที่แจ้งราคาข้าวหอมมะลิ 100% แบบตวงขายอยู่ที่กิโลกรัมละ 35 - 38 บาท ขณะที่ข้าวหอมมะลิบรรจุถุง คิดราคาเฉลี่ยต่อ 1 กิโลกรัม จะอยู่ที่ 36 – 40 บาท ซึ่งก็ถือว่าเป็นราคาที่แตกต่างกันไม่มาก แต่ด้วยภาพลักษณ์ การโฆษณา บวกกับการออกแบบแพ็กเก็จที่ดูสวยงาม ทำให้ข้าวสารถุงถือเป็นตัวเลือกที่หลายครอบครัวนิยมมากกว่า แม้แต่ในต่างหวัดที่เคยนิยมซื้อข้าวแบบตวงขายมากกว่า ก็หันมาให้ความสนใจข้าวสารบรรจุถุงมากขึ้น เนื่องจากมีข้าวยี่ห้อใหม่ออกมาตีตลาดเป็นจำนวนมาก เหตุผลหนึ่งเป็นเพราะว่าการแข่งขันของข้าวในตลาดต่างประเทศมีความยากมากขึ้น ผู้ผลิตจึงหันกลับมาทำตลาดในประเทศไทย โดยเฉพาะตลาดในต่างจังหวัดที่ยังเปิดกว้าง หลายจังหวัดเกิดการปรับเปลี่ยนจากแต่ก่อนที่พื้นที่ส่วนใหญ่ทำการเกษตรปลูกข้าว ส่วนหนึ่งเอาไว้ขายอีกส่วนก็เก็บไว้กินเอง ปัจจุบันภาคอุตสาหกรรมรุกคืบเข้าไปแทนที่ภาคการเกษตร ทำให้ผู้บริโภคต้องเปลี่ยนพฤติกรรมหันมาซื้อข้าวไว้รับประทาน (แต่จากการสำรวจราคาข้าวหอมมะลิถุงที่ขายอยู่ในท้องตลาด พบว่าความจริงแล้วมีหลายยี่ห้อที่ขายสูงกว่าราคาที่กรมการค้าภายในสำรวจ แถมจากเดิมที่ข้าวถุงนิยมขายในปริมาณ 5 กิโลกรัมต่อ 1 ถุง แต่เดี๋ยวนี้มีการปรับขนาดเป็นแบบ 2 กิโลกรัมออกมาเป็นตัวเลือกให้ผู้บริโภค ซึ่งราคาของข้าวหอมถุงแบบ 2 กิโลกรัมจะอยู่ที่ 80 – 100 บาทต่อถุง ซึ่งถ้าคำนวณเป็นปริมาณ 5 กิโลกรัม ราคาก็จะสูงเกิน 200 บาทตามที่กรมการค้าภายในสำรวจมาแน่นอน) ตลาดข้าวถุงในประเทศมีมูลค่าอยู่ที่ประมาณ 1.5 แสนล้านบาท มีสินค้าอยู่ในตลาดกว่า 250 แบรนด์ โดยมี “ข้าวตราฉัตร” เป็นผู้นำส่วนแบ่งการการตลาดที่ 10% รองลงมาคือ “ข้าวมาบุญครอง” “ข้างหงส์ทอง” และ “ข้าวตราเกษตร” ที่มีส่วนแบ่งอยู่ที่ 6 – 7% ที่มา : สยามรัฐ แบรนด์บรรษัท ฉบับวันที่ 27-28 มิถุนายน 2554 -------------------------------------------------------------------------------   นโยบายรับจำนำข้าวกับการเปลี่ยนแปลงของราคา เรื่องของราคาข้าวนั้น ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการปรับขึ้นราคาไม่ได้มีเพียงเฉพาะสภาวะต้นทุนการผลิตต่างๆ ที่ปรับตัวสูงขึ้นเท่านั้น แต่ยังมีสิ่งที่สำคัญยิ่งกว่า ที่สามารถชี้เป็นชี้ตายเรื่องของราคาข้าวรวมถึงเรื่องของผลกำไรรายได้ที่เกษตรกรจะได้ตอบแทนจากการทำนา คนที่มีอำนาจตัดสินชะตาชีวิตของชาวนาและราคาข้าวที่ผู้บริโภคอย่างเราต้องจ่ายไม่ใช่ใครที่ไหนไกล หน่วยงานใหญ่ที่มีหน้าที่ดูแลทุกความเคลื่อนไหวของประเทศอย่าง “รัฐบาล” นโยบาย ณ ปัจจุบันนี้ที่ภาครัฐนำมาใช้ในการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวก็คือ “นโยบายการรับจำนำข้าว” ซึ่งภาครัฐตั้งใจให้นโยบายนี้ช่วยเหลือเรื่องรายได้ให้กับเกษตรกร ซึ่งราคาจำนำข้าวที่รัฐบาลจ่ายถือว่าสูงมาก คือ หากเป็นข้าวเปลือกหอมมะลิจะอยู่ที่ 1 ตัน หรือ 1,000 กิโลกรัมเท่ากับ 20,000 บาท ส่วนข้าวชนิดอื่นๆ อย่าง ข้าวหอมจังหวัด ข้าวเจ้า ข้าวเหนียว ราคาก็จะแตกต่างลดหลั่นกันไปตามคุณภาพของข้าว   ตารางเปรียบเทียบราคารับจำนำข้าวเปลือกนาปี – นาปรังของรัฐกับราคาซื้อขายข้าวเปลือกเฉลี่ยในตลาดทั่วประเทศ ชนิดของข้าว *ราคารับจำนำข้าวเปลือกนาปี – นาปรังของรัฐ (บาท/ตัน) **ราคาซื้อขายข้าวเปลือกเฉลี่ยในตลาดทั่วประเทศ (บาท/ตัน) ข้าวเปลือกหอมมะลิ (42 กรัม) 20,000 15,651 ข้าวเปลือกหอมจังหวัด (40 กรัม) 18,000 14,875 ข้าวเปลือกปทุม (42 กรัม) 16,000 - ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดยาว 16,000 12,882 ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดสั้น 15,000 - ข้าวเปลือกเจ้า 100% 15,000 - ข้าวเปลือกเจ้า 5% 14,800 10,050 ข้าวเปลือกเจ้า 10% 14,600 10,064 ข้าวเปลือกเจ้า 15% 14,2 00 - ข้าวเปลือกเจ้า 25% 13,800 9,300   *ราคารับจำนำของรัฐปรับเพิ่ม – ลดจากราคาข้างต้นตามจำนวนกรัม ในอัตรากรัมละ 200 บาท **ข้อมูลจากศูนย์บริหารจัดการโครงการรับจำนำสินค้าเกษตร กรมการค้าภายใน เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2555   จริงที่ราคาจำนำข้าวที่รัฐจ่ายให้เกษตรกรนั้นเป็นตัวเลขที่สูงและน่าจะช่วยให้เกษตรกรมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น แต่การที่เปิดรับจำนำข้าวในราคาสูงกว่าราคาตลาดทั่วไป ซึ่งราคาเฉลี่ยของข้าวหอมมะลิในตลาดทั่วไปเฉลี่ยอยู่ที่ตันละ 15,000 บาทเท่านั้น (*ข้อมูลจากกรมการค้าภายใน เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2555) ทำให้ชาวนาส่วนใหญ่เลือกขายข้าวให้กับรัฐบาล ขณะที่พ่อค้าข้าวรายอื่นไม่สามารถให้ราคาแข่งกับรัฐบาลได้ จึงไม่มีข้าวขายต่อ หรือถ้าต้องการข้าวเพื่อนำมาส่งขายก็ต้องจ่ายในราคาสูงในระดับใกล้เคียงกับที่รัฐบาลจ่าย ซึ่งบรรดาพ่อค้าข้าวรายย่อยส่วนใหญ่คือผู้ค้าที่นำข้าวมาขายต่อให้กับผู้บริโภคในประเทศ ขณะที่ข้าวที่รัฐบาลรับจำนำไว้จะเป็นข้าวที่ไว้สำหรับส่งขายในต่างประเทศ แน่นอนว่าเมื่อข้าวถูกอัพราคาขึ้นด้วยนโยบายรับจำนำข้าวของรัฐบาล ทางออกของผู้ค้าข้าวรายย่อยคือต้องยอมซื้อข้าวจากเกษตรกรในราคาสูง ต้นทุนเพิ่มขึ้น นำไปสู่การปรับขึ้นราคาข้าวถุง โดยเฉพาะในส่วนของข้าวหอมมะลิถุงที่ตามข่าวบอกว่าเตรียมขึ้นราคาหลังสงกรานต์ ส่วนข้าวขาวธรรมดายังพอที่จะคงราคาเดิมไว้ได้ เนื่องจากเดือนเมษายน-พฤษภาคมเป็นช่วงเก็บเกี่ยวข้าวนาปรัง ทำให้ยังมีผลผลิตออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก ไม่ใช่เพียงแต่นโยบายรับจำนำข้าวของรัฐบาลเท่านั้นที่ส่งผลให้เกิดการปรับราคาขึ้นของข้าวหอมถุง แต่ยังรวมถึงปัจจัยอื่นๆ ที่ภาครัฐมีส่วนเกี่ยวข้องซึ่งส่งผลต่อต้นทุนการผลิตเช่นเดียวกับสินค้าประเภทอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นราคาน้ำมันที่สูงขึ้นซึ่งมีผลต่อค่าขนส่ง และรวมถึงนโยบายการกำหนดค่าแรงขั้นต่ำรายวันที่ 300 บาท ที่เริ่มประกาศใช้เมื่อวันที่ 1 เมษายน ที่ผ่านมา แม้จะเป็นข้อกำหนดกับแรงงานเฉพาะในภาคอุตสาหกรรม ไม่นับรวมภาคเกษตรกรรม แต่ในภาพรวมย่อมส่งผลกระทบต่อเนื่องอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะการทำนาปลูกข้าวแรงงานยังเป็นสิ่งที่สำคัญ โดยเฉพาะในเกษตรกรรายเล็กๆ ที่มีพื้นที่ปลูกข้าวไม่มาก ยังไม่มีทุนมากพอที่จะใช้เครื่องจักรมาช่วยในการปลูกข้าวและเก็บเกี่ยว ในกรณีของเกษตรกรรายเล็กๆ ปัญหาของราคาน้ำมันและการปรับขึ้นค่าแรง อาจส่งผลกระทบมากถึงขนาดที่ราคาจำนำข้าวที่ตันละ 20,000 บาทของรัฐบาลยังได้ไม่คุ้มกับการลงทุน เพราะการรับจำนำข้าวของรัฐบาลเกษตรกรต้องดำเนินการด้วยตัวเอง ตั้งแต่ยื่นเรื่องลงทะเบียน ไปจนถึงนำข้าวไปยังจุดรับจำนำ ซึ่งเกษตรกรที่มีข้าวจำนวนไม่มาก เมื่อหักค่าการจัดการต่างๆ เงินที่ได้จากการจำนำข้าวก็อาจเหลือเป็นกำไรไม่มาก จึงทำให้เกษตรกรโดยเฉพาะรายเล็กๆ ยังเลือกที่ขายข้าวให้กับโรงสีที่ไม่ได้เข้าร่วมกับรัฐบาลหรือพ่อค้าข้าวรายอื่นๆ แม้จะได้ราคาต่ำกว่า แต่ตัดปัญหาต้นทุนค่าจัดการค่าขนส่ง เพราะโรงสีและพ่อค้าเหล่านี้ยินดีที่จะมารับซื้อข้าวถึงที่ คิดทบต้นทบดอกแล้วได้กำไรคุ้มค่ากว่า ---------------------------------------------------------------------------------------------------------------   เครื่องหมายรับรองมาตรฐานรูปมือพนม เป็นเครื่องหมายที่รับรองคุณภาพของข้าวหอมมะลิบรรจุถุงโดยกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ เพื่อเป็นช่วยการันตีให้ผู้บริโภคได้มีความมั่นใจถึงคุณภาพของข้าวหอมมะลิ โดยข้าวหอมมะลิที่ผ่านการตรวจสอบมาตรฐานและได้รับโลโก้รูปมือพนมจากกรมการค้าภายในมี 8 ชนิด ได้แก่ ข้าวขาวหอมมะลิ 100% ข้าวขาวหอมมะลิ 10% ข้าวหอมมะลิ 5% ข้าวขาวหักหอมมะลิเอวันเลิศ ข้าวขาวหักหอมมะลิเอวันเลิศพิเศษ ข้าวกล้องหอมมะลิ 100% ข้าวกล้องหอมมะลิ 10% และ ข้าวกล้องหอมมะลิ 5% โดยเครื่องหมายรับรองมาตรฐานรูปมือพนมจะอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือ “แบบรับรองมาตรฐานทั่วไป” กับ “แบบรับรองมาตรฐานดีพิเศษ” 78 ล้านไร่ คือ พื้นที่โดยประมาณที่ใช้ในการเพราะปลูกข้าวทั้งหมดในประเทศไทย 31ล้านตัน คือ ผลผลิตข้าวที่ได้ 458 กิโลกรัม คือ ปริมาณข้าวที่ได้ต่อไร่ 12,801 บาท คือ ราคาขายข้าวต่อ 1 ตันที่เกษตรกรได้รับ 400 ล้านบาท คือ มูลค่าของข้าวทั้งหมด ที่มา : ข้อมูลสถิติการเกษตรของประเทศไทย ในส่วนของข้าว ปี 2554 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ---------------------------------------------------------------------------------------------------------------   คำแนะนำง่ายๆ ในการเลือกซื้อข้าวหอมมะลิ -ต้องมีกลิ่นหอมตามธรรมชาติ (กลิ่นของข้าวหอมจะคล้ายๆ กลิ่นของใบเตย) -ไม่มีแมลงปนเปื้อนอยู่ในข้าว -สังเกตที่ฉลากบรรจุภัณฑ์ ต้องแสดงข้อมูลที่สำคัญ เช่น ชนิดของข้าว ระดับคุณภาพของข้าว น้ำหนักสุทธิ ข้อมูลผู้ผลิต วัน เดือน ปี ที่ผลิต คำแนะนำในการหุงต้ม ฯลฯ -สังเกตเครื่องหมายรับรองมาตรฐานต่างๆ -------------------------------   ข้าวพื้นบ้าน(ต้อง)ช่วยกันรักษา เพราะประเทศไทยของเราเป็นประเทศเกษตรกรรมมาตั้งแต่ไหนแต่ไร ทำนาปลูกข้าวกันมาช้านาน พันธุ์ข้าวที่ปลูกกันมาก็มีหลากหลายสายพันธุ์ นับๆ รวมแล้วมีมากกว่า 5,000 สายพันธุ์ ซึ่งข้าวพื้นบ้านล้วนแล้วแต่มากด้วยคุณค่าทางอาหาร มีสรรพคุณป้องกันโรคได้ด้วยอีกต่างหาก แต่น่าเสียดายที่ในปัจจุบันข้าวที่วางขายตามตลาดทั่วไปมีข้าวให้เราเลือกกินอยู่ไม่กี่สายพันธุ์ แต่ก็ใช่ว่าเราจะหาข้าวพื้นบ้านกินกันไม่ได้ซะเลยทีเดียว เพราะยังมีหน่วยงานต่างๆ หลายกลุ่มหลายองค์กร ทั้งภาครัฐและเอกชน ที่พยายามรักษาพันธุ์พื้นบ้านเอาไว้ บางคนอาจจะเคยได้ยินหรือเคยกินข้าวพื้นบ้านอย่าง ข้าวสังข์หยด ข้าวหอมมะลิแดง ข้าวหอมนิล ฯลฯ ซึ่งเป็นเพราะยังมีเกษตรกรที่พร้อมจะรักษาข้าวพื้นบ้านซึ่งเป็นเหมือนสมบัติของชาติให้ยังคงอยู่ต่อไป เราในฐานะผู้บริโภคก็เป็นหนึ่งแรงสำคัญที่จะช่วยให้ข้าวพื้นบ้านยังคงดำรงอยู่ต่อไป ด้วยการช่วยกันสนับสนุนข้าวพื้นบ้านจากกลุ่มเกษตรกรทางเลือกตามจังหวัดต่างๆ หรือติดต่อสอบถามที่มูลนิธิขวัญข้าว จ.สุพรรณบุรี โทร. 035-597193 http://www.khaokwan.org/ , มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย)  โทร. 02-591-1195 http://sathai.org/ (***หาอ่านข้อมูลผลการเปรียบเทียบคุณค่าทางโภชนาการของข้าวพื้นบ้านพันธุ์ต่างๆ ได้ในฉลาดซื้อ ฉบับที่ 97) ----------------------------------------------------------------------------------------   ข้าวอินทรีย์ ทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม หลายคนน่าจะเคยเห็น เคยได้ยิน หรืออาจจะได้ลองกิน “ข้าวอินทรีย์” กันอยู่บ้าง แต่ก็คงมีหลายคนเช่นกันที่ยังไม่รู้ว่าที่บอกว่าเป็นข้าวอินทรีย์นั้นแตกต่างจากข้าวทั่วไปยังไง ข้าวอินทรีย์ก็เป็นเช่นเดียวกันกับเกษตรอินทรีย์อื่นๆ คือ ข้าวที่มาจากกระบวนการผลิตที่ไม่มีการใช้สารเคมีสังเคราะห์ใดๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยเคมี สารเคมีกำจัดศัตรูพืช รวมถึงในขั้นตอนการแปรรูป การสี การบรรจุ การเก็บรักษา ซึ่งการทำเกษตรอินทรีย์นอกจากจะปลอดภัยกับผู้บริโภคแล้ว ยังดีต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ รักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน ซึ่งตอนนี้ผู้บริโภคบ้านเราก็เริ่มให้ความสนใจเลือกรับประทานข้าวอินทรีย์กันมากขึ้นและเริ่มมีเกษตรกรปลูกข้าวอินทรีย์ออกมาสู่ตลาดเพิ่มขึ้นด้วย แต่ข้าวอินทรีย์ที่ปลูกในเมืองไทยส่วนใหญ่ถูกส่งขายไปต่างประเทศ คิดเป็น % มากกว่า 90% ซึ่งประเทศไทยเราถือเป็นประเทศที่ส่งออกข้าวอินทรีย์มากเป็นอันดับหนึ่งของโลก สาเหตุที่เกษตรกรผู้ปลูกข้าวอินทรีย์ต้องพึ่งพาตลาดต่างประเทศเป็นหลักเพราะในบ้านเรากลุ่มผู้บริโภคที่นิยมรับประทานข้าวอินทรีย์รวมสินค้าเกษตรอินทรีย์อื่นๆ ยังมีจำนวนไม่มาก ด้วยว่าสินค้าเกษตรอินทรีย์ยังไม่มีจำหน่ายแพร่หลายและด้วยราคาที่สูงกว่าสินค้าเกษตรทั่วๆ ไป เกษตรอินทรีย์ทำไมต้องแพง -แม้ฟาร์มเกษตรอินทรีย์มีขนาดเล็ก แต่ใช้แรงงานต่อหน่วยในการผลิตมากกว่าฟาร์มทั่วไป -สินค้ายังมีจำนวนจำกัดเมื่อเทียบกับความต้องการของผู้บริโภค -ปริมาณของสินค้าเกษตรอินทรีย์ค่อนข้างน้อย ทำให้ค่าใช้จ่ายในการกระจายสินค้าออกสู่ตลาดสูงกว่าผลผลิตทั่วไป -เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรให้มีได้รายได้ที่เป็นธรรมและพอเพียง พร้อมทั้งสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรรายใหม่ๆ หันมาทำเกษตรอินทรีย์มากยิ่งขึ้น   ใน 1 ปี คนไทยกินข้าวอยู่ที่ประมาณ 2 ล้าน 6 แสนตัน ที่มา : หนังสือ “เรื่อง ข้าว ข้าว ที่เข้าปาก” แผนงานฐานทรัพยากรอาหาร มูลนิธิชีววิถี ขอขอบคุณข้อมูลจาก คุณวิฑูรย์ ปัญญากุล กรรมการและเลขาธิการ  มูลนิธิสายใยแผ่นดิน คุณวัลลภ พิชญ์พงศา  รองกรรมการผู้จัดการ บ.นครหลวงค้าข้าว จำกัด คุณธวัชชัย  โตสิตระกูล  ผู้เชี่ยวชาญเรื่องโรงสีชุมชน    รองประธานมูลนิธิสายใยแผ่นดิน

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 133 เทคนิค...เลือกรถโดยสารให้ปลอดภัย

  ก่อนเข้าสู่เทศกาล สงกรานต์ ปีนี้ ฉลาดซื้อขอนำเรื่อง รถโดยสารประจำทาง มาย้ำเรื่องความปลอดภัยกันอีกครั้ง จะโดยสารรถทัวร์ รถตู้หรือแม้แต่การเหมารถ ขอได้โปรดพิจารณาให้รอบคอบก่อนตัดสินใจ ซึ่งเรามีวิธีการดีๆ มาฝาก และอย่างไรเสียหากเกิดปัญหาถูกละเมิด เราก็มีทางออกมานำเสนอด้วย ทั้งนี้เพื่อให้ผู้โดยสารหรือกำลังจะโดยสารทุกคน ได้เดินทางอย่าง “ปลอดภัย”   ฉลาดซื้อแนะ เมื่อจะใช้บริการรถโดยสารสาธารณะ 1.อย่าใช้บริการ รถผี รถเถื่อน ในช่วงเทศกาลความต้องการของผู้ใช้บริการมีสูง แต่จำนวนรถที่ให้บริการอาจมีไม่เพียงพอ จึงกลายเป็นช่องทางให้ผู้ที่ไม่หวังดีนำรถโดยสารที่ผิดกฎหมายไม่ได้รับการรับรองจากบริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) มาเปิดให้บริการ ผู้โดยสารที่ถูกล่อลวงให้ไปกับบริการรถผีและรถเถื่อนเหล่านี้ ก็มีทั้งแบบที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ คือไม่รู้ว่าเป็นรถผิดกฎหมาย กับแบบที่รู้ทั้งรู้แต่ก็ยอมเลือกใช้บริการ เพราะจำเป็นต้องเดินทางและหารถโดยสารที่ถูกต้องตามกฎหมายไม่ได้แล้วจริงๆ ปัญหาที่คุณจะต้องเจอคือ การเรียกเก็บค่าเดินทางแพงเกินกว่ารถที่ให้บริการปกติ  และหากเกิดอุบัติเหตุก็ยากที่ได้รับการชดเชยช่วยเหลือ เพราะไม่รู้ที่มาที่ไปว่าใครเป็นคนรับผิดชอบ ใครเป็นเจ้าของรถหรือบริษัทผู้ดูแลเป็นใคร ปัญหานี้ทาง บขส. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็พยายามเร่งกวดขันจัดการรถผีที่แอบลักลอบให้บริการ พร้อมๆ กับการเพิ่มจำนวนรถโดยสารเพื่อรองรับการใช้บริการที่มากขึ้นในช่วงเทศกาล แต่อย่างไรก็แล้ว “ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน” เวลาที่ไปใช้บริการรถโดยสารตามสถานีขนส่งต่างๆ อย่าหลงเชื่อหากมีใครมาชักชวนให้ใช้รถที่ไม่น่าไว้วางใจหรือมาจากบริษัทผู้ให้บริการที่ตรวจสอบไม่ได้ 2.ไม่เลือกเก้าอี้เสริม หรือตั๋วเสริม ซึ่งก็ถือเป็นเรื่องอันตรายไม่แพ้การใช้บริการรถผี รถเถื่อน ถ้าหากรถเกิดอุบัติเหตุขึ้นผู้โดยสารที่นั่งในตำแหน่งเก้าอี้เสริม จากสถิติพบว่า จะได้รับบาดเจ็บมากกว่าคนที่นั่งในตำแหน่งปกติ เพราะที่นั่งเสริมไม่มีอุปกรณ์ป้องกันอย่างเข็มขัดนิรภัย ซึ่งรถโดยสารที่มีการเพิ่มเก้าอี้เสริม หรือตั๋วเสริมเกินจำนวนที่นั่งที่กฎหมายกำหนดนั้น ถือว่าผิดกฎหมาย 3.รถโดยสารที่เลือกใช้บริการ ต้องอยู่ในสภาพดี ไม่มีอุปกรณ์ชำรุดบกพร่อง ดูแล้วปลอดภัยไม่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ สามารถโดยสารได้ด้วยความมั่นใจ ไร้กังวล นอกจากนี้อย่าลืมตรวจสอบข้อมูลสำคัญต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเลขทะเบียนรถ ชื่อพนักงานขับรถ เวลารถออก เวลาถึงจุดหมายปลายทาง เส้นทางที่รถวิ่ง จุดพักรถ ฯลฯ 4.เฝ้าระวังคนขับรถอันตราย ปฏิเสธไม่ได้ว่าสาเหตุส่วนใหญ่ของการเกิดอุบัติเหตุ มาจากความประมาทของพนักงานขับรถ ทั้งจากการที่พนักงานขับรถขาดความระมัดระวัง ขับรถด้วยความเร็วสูง หรือสมรรถภาพร่างกายไม่พร้อมสำหรับการขับรถ ในฐานะผู้ใช้บริการเราอาจไม่มีความสามารถขนาดที่จะรู้ล่วงหน้าหรือเลือกได้ว่าพนักงานคนไหนขับรถดีพนักงานคนไหนขับรถไม่ดี แต่อย่างน้อยเราก็สามารถสังเกตพฤติกรรมต่างๆ ของพนักงานขับรถในระหว่างที่เราโดยสารอยู่บนรถได้ ไม่ว่าจะเป็นการขับรถที่ปฏิบัติถูกต้องตามกฎจราจร มีการนำรถออกจากสถานีขนส่งตรงตามเวลาที่แจ้งไว้ มีการหยุดพักรถหรือเปลี่ยนพนักงานขับตามเวลาที่กฎหมายกำหนด (พนักงานขับรถสามารถขับติดต่อกันได้ไม่เกินสี่ชั่วโมง เว้นแต่ได้พักติดต่อกันเป็นเวลาไม่น้อยกว่าครึ่งชั่วโมง) ฯลฯ หากเราพบเห็นข้อสงสัยหรือเริ่มรู้สึกกังวลไม่ไว้ใจกับพฤติกรรมการขับรถของพนักงานประรถโดยสาร อันดับแรกควรพูดคุยสอบถามกับพนักงานผู้ดูแลบนรถ หากยังรู้สึกไม่มั่นใจในความปลอดภัย ให้โทรแจ้งไปยัง ศูนย์คุมครองผู้โดยสารรถสาธารณะ กรมการขนส่งทางบก โทร. 1584 5.อย่าลืมคาดเข็ดขัดนิรภัย เข็มขัดนิรภัยถือเป็นอุปกรณ์ตัวช่วยสำคัญ ที่ทำให้ความรุนแรงที่เกิดจากอุบัติเหตุลดลงได้มาก หากไม่ได้คาดเข็มขัดนิรภัยเมื่อเกิดอุบัติเหตุตัวของผู้โดยสารจะกระเด็นออกจากที่นั่งไปกระแทกกับผู้โดยสารคนอื่นหรือวัสดุต่างๆ ที่อยู่บนรถ หรือไม่ก็อาจกระเด็นหลุดออกนอกรถ ซึ่งยิ่งทำให้บาดเจ็บหนักและเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูง ข้อมูลจากกรมขนส่งทางบกบอกว่า แรงกระแทกของรถที่เกิดอุบัติเหตุขณะวิ่งด้วยความเร็ว 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จะเท่ากับรถที่ตกจากที่สูงแล้วกระแทกพื้นในระยะประมาณ 14 เมตร หรือความสูงของตึก 5 ชั้น ยิ่งรถวิ่งด้วยความเร็วมากขึ้นแรงกระแทกที่จะเกิดขึ้นเมื่อรถประสบอุบัติเหตุหรือเบรกกะทันหันก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้น การคาดเข็มขัดนิรภัยจึงมีส่วนสำคัญอย่างมากในการลดการบาดเจ็บที่เกิดจากแรงกระแทกขณะรถเกิดอุบัติเหตุ แถมเข็มขัดนิรภัยยังช่วยลดความรุนแรงของการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้นบริเวณอวัยวะสำคัญอย่าง ศีรษะ ใบหน้า ลำคอ และทรวงอก เมื่อคาดเข็มขัดนิรภัยอวัยวะต่างๆ ที่กล่าวจะไม่ไปกระทบกับวัสดุที่อยู่ด้านหน้า ไม่ว่าจะเป็น พวงมาลัย กระจก หรือเบาะที่นั่งด้านหน้า 6.อย่ามองข้ามอุปกรณ์นิรภัยสำหรับใช้ในเหตุฉุกเฉิน ไม่ว่าจะเป็น ถังดับเพลิง และค้อนทุบกระจก เมื่อขึ้นไปนั่งอยู่บนรถแล้วเรียบร้อย อย่าลืมมองหาดูว่าอุปกรณ์สำคัญเหล่านี้ถูกจัดวางไว้อยู่ส่วนไหนของรถ และที่สำคัญก็คือต้องให้แน่ใจว่าอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน อย่างน้อยๆ การที่เราได้รู้ว่ามีอุปกรณ์ช่วยเหลือต่างๆ เตรียมพร้อมไว้ใช้ในกรณีฉุกเฉิน น่าจะช่วยทำให้เรารู้สึกอุ่นใจในการเดินทางเพิ่มขึ้นได้อีกเยอะ 7.ที่สำคัญที่สุดก็คือเราต้องรู้หน้าที่ของตัวเอง ต้องนึกถึงเรื่องความปลอดภัยเป็นอันดับแรก ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำเพื่อความปลอดภัย เช่น คาดเข็มขัดนิรภัย ไม่นั่งในที่นั่งอื่นๆ นอกเหนือบริเวณที่นั่งของผู้โดยสาร ถ้าพบอุปกรณ์ชำรุดหรือความผิดปกติจากรถที่เราโดยสารอยู่ ต้องแจ้งให้พนักงานประจำรถทราบ และเรามีสิทธิ์ที่จะไม่ใช้บริการถ้าหากรู้สึกถึงความไม่ปลอดภัยหรือได้รับการบริการไม่ตรงตามที่ได้แจ้งหรือตกลงกันไว้   เมื่อเจอปัญหาต้องกล้ารักษาสิทธิ์ เบอร์โทรสำหรับร้องเรียนปัญหาจากบริการรถโดยสาร1584 ศูนย์คุมครองผู้โดยสารรถสาธารณะ184 ศูนย์รับร้องเรียนขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ1508 แจ้งร้องทุกข์เกี่ยวกับรถโดยสารของ บขส. และรถร่วม1193 ตำรวจทางหลวง02 - 248 – 3737 ศูนย์พิทักษ์สิทธิ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค   ปี 2554 มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นกับรถโดยสารขนาดใหญ่ทั่วประเทศทั้งหมด  991 ครั้ง ส่วนอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับรถตู้โดยสารอยู่ที่ 916 ครั้งที่มา: สำนักงานตำรวจแห่งชาติ   อุบัติเหตุรถโดยสารเกิดจากอะไร? -พนักงานขับรถขับรถด้วยความประมาท หรือไม่ชำนาญเส้นทาง-พนักงานขับรถด้วยความเร็วสูง เมื่อเกิดอุบัติเหตุทำให้ไม่สามารถควบคุมรถได้ -โครงสร้างรถไม่มีความแข็งแรงพอ เมื่อเกิดอุบัติเหตุถูกชนหรือพลิกคว่ำ โครงสร้างของรถจะทำให้ผู้ที่โดยสารได้รับบาดเจ็บ เช่น ตัวรถฉีกขาดทำให้ผู้โดยสารกระเด็นออกจากรถ หรือส่วนประกอบของรถหลุดมากระแทกผู้โดยสาร-เบาะนั่งไม่ได้มาตรฐาน เมื่อเกิดอุบัติเหตุทำให้หลุดออกจากตัวรถ -สภาพเส้นทางเป็นโค้งลงเขาลาดชันวกไปมา ไม่เหมาะกับรถโดยสารที่มีขนาดสูง เช่นรถ 2 ชั้น-สภาพของถนนที่ไม่พร้อมใช้งาน พื้นถนนชำรุด ไม่มีป้ายแจ้งเตือน ไม่มีไฟส่องสว่าง ฯลฯ-สภาพอุปกรณ์ประกอบข้างทาง เช่น เครื่องกั้นไม่ได้ออกแบบมาสำหรับสำหรับรถขนาดใหญ่ซึ่งมักมีความสูงของจุดศูนย์ถ่วงเกินจากแนวกั้นทำให้ไม่สามารถป้องกันรถขนาดใหญ่ได้-หลายคนอาจจะชอบเลือกนั่งรถโดยสารที่มีกระจกกั้นไว้ตลอดแนวยาว เพราะดูสวยงามหรือดูแล้วรู้สึกโล่งๆ ไม่อึดอัด แต่ถ้าพูดถึงเรื่องความปลอดภัยรถโดยสารที่เป็นกระจกรอบด้านย่อมปลอดภัยน้อยกว่ารถที่เน้นโครงสร้างที่เป็นเหล็ก เพราะเมื่อเกิดอุบัติเหตุกระจกแตก ผู้โดยสารจะหลุดออกมานอกรถทำให้ได้รับบาดเจ็บหนัก ข้อมูลโดย: ผศ.ดร. สมประสงค์ สัตยมัลลี “ยกระดับคุณภาพ: รถโดยสารสาธารณะ”-----------   ความหวัง (?) ของคนไทยเรื่องความปลอดภัยของรถโดยสาร -กรมการขนส่งทางบกกำลังศึกษาเพื่อออกแบบโครงสร้างชิ้นส่วนของตัวรถโดยสารทั้งแบบ 1 ชั้น และ 2 ชั้น โดยจะเน้นเรื่องคุณภาพของโครงสร้างของตัวรถ ทดสอบจุดศูนย์ถ่วงเมื่อต้องวิ่งบนพื้นลาดเอียง และการกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยของที่นั่ง โดยจะทำการสร้างต้นแบบเครื่องทดสอบที่นั่งประจำรถโดยสารที่ได้มาตรฐาน ซึ่งการทดสอบที่นั่งจะมีผลบังคับใช้กับรถโดยสารทุกบริษัทต้องนำเก้าอี้เข้ามาทดสอบการดึงสำหรับรถที่จดทะเบียนใหม่เริ่มวันที่ 1 มกราคม 2556 -รถโดยสารประจำทางทุกมาตรฐานจะต้องติดตั้งเข็มขัดนิรภัยได้มาตรฐานตามที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) โดยรถโดยสารประจำทางทุกมาตรฐานมีผลบังคับใช้วันที่ 1 ม.ค. 2556 ขณะที่รถตู้โดยสารประจำทางมีดีเดย์บังคับใช้ 1 เม.ย. 2555 นี้แล้ว -ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน. (ศวปถ.) ภายใต้มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) ได้จัดเวทีสาธารณะเพื่อหาข้อเสนอเชิงนโยบายเรื่องความปลอดภัยและมาตรฐานของรถโดยสาร โดยมีทั้งภาครัฐ ผู้ประกอบ และภาคประชาชนเข้าร่วม โดยได้ข้อเสนอที่น่าสนใจเพื่อความปลอดภัยของรถโดยสารที่ยั้งยืน แบ่งเป็นข้อๆ ดังนี้ 1.ต้องมีการกำหนดมาตรฐานเข็มขัดนิรภัยและบังคับใช้อย่างจริงจัง  2.มีการฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพของพนักงานขับรถและกำหนดให้มีการออกใบประกอบวิชาชีพเฉพาะสำหรับพนักงานขับรถโดยสาร กำหนดเวลาการทำงานของพนักงานขับรถให้เหมาะสม 3.ควรมีการกำหนดความเร็วเฉพาะของรถโดยสารสาธารณะและกวดขันบังคับใช้จริงจัง (อัตราความเร็วของรถตามพ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 กำหนดความเร็วรถโดยสารไว้ที่ไม่เกิน  60  กม./ ชม. ขณะวิ่งในเมือง ถ้าวิ่งนอกเมืองไม่เกิน  80 กม./ชม.)4.ภาครัฐต้องให้ความสำคัญกับเรื่องความปลอดภัยของผู้ใช้บริการรถโดยสารอย่างจริงจังมากขึ้น โดยรัฐต้องช่วยส่งเสริมให้ผู้ประกอบการหันมาใช้รถโดยสารที่ปลอดภัยได้มาตรฐาน พร้อมไปกับการให้ข้อมูลกับผู้บริโภคให้รู้จักเลือกรถโดยสารที่ปลอดภัย คำนึงถึงชีวิตของตัวเองเป็นสำคัญ และต้องรู้ถึงสิทธิของตัวเอง-----------------------------------------------------------------   เหมารถทัวร์ อย่างไรให้ปลอดภัยที่สุดรถโดยสารไม่ประจำทางหรือรถโดยสารแบบเช่าเหมาคันเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับคนที่นิยมเดินทางท่องเที่ยวกันเป็นหมู่คณะ ยิ่งในช่วงเทศกาลวันหยุดยาวยิ่งไม่ต้องพูดถึง มีคนติดต่อขอใช้บริการเป็นจำนวนมากแน่นอน  แต่การใช้บริการรถโดยสารเช่าเหมาคันแบบนี้ การระมัดระวังเรื่องความปลอดภัยก็ไม่แตกต่างจากรถโดยสารประจำทางทั่วไป เพราะที่ผ่านมาอุบัติเหตุที่เคยเกิดขึ้นกับรถประเภทนี้ก็มีให้เห็นกันเป็นประจำ เพราะฉะนั้นการเลือกใช้บริการก็ต้องมีเทคนิคที่ควรรู้เช่นกัน ก่อนทำสัญญา 1.การเลือกบริษัทรถ ต้องเลือกบริษัทที่เป็นนิติบุคคล ไม่ควรเลือกบริษัทรถที่เป็นตัวบุคคลรายเดี่ยว เพราะหากเป็นนิติบุคคลจะได้รับการดูแลจากสมาคมผู้ประกอบการรถโดยสารไม่จำทาง (สสท.) 2.รายละเอียดในการทำสัญญาต้องมีความชัดเจน ประกอบไปด้วย-ต้องระบุเส้นทางการเดินทาง ต้นทาง-ปลายทาง-หมายเลขทะเบียนรถคันที่จะให้บริการ-ชื่อพนักงานขับรถ ในกรณีที่ระยะทางเกิน 400 กิโลเมตรจะต้องมีพนักงานสับเปลี่ยนกัน 2 คน หรือหากมีพนักงานขับรถเพียงคนเดียวก็ต้องมีการระบุถึงจุดพัก หรือระยะเวลาการจอดพักรถไม่น้อยกว่า 30 นาทีทุก 4 ชั่วโมง-พนักงานขับรถต้องได้รับใบอนุญาตขับขี่จากกรมขนส่งทางบก ให้ขับรถประเภทรถสาธารณะ เท่านั้น-แนบใบตรวจสภาพรถยนต์จากกรมการขนส่งทางบกกับสัญญาว่าจ้างด้วย ซึ่งระยะเวลาที่ระบุไม่ควรเกิน 2 เดือน ภายหลังการตรวจสภาพ -แนบเอกสาร กรมธรรม์ทั้งภาคบังคับ ภาคสมัครใจ ของรถคันที่ว่าจ้าง ซึ่งผู้ว่าจ้างต้องตรวจสอบว่าถูกต้อง ตรงกับเลขทะเบียนรถหรือไม่ 3.สภาพของรถโดยสาร  ผู้ว่าจ้างต้องไปตรวจสอบสภาพรถด้วยตนเองว่ามีความเหมาะสม ปลอดภัยในการเดินทางหรือไม่ โดยที่ควรใช้งานต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้-ต้องเป็นรถโดยสารชั้นเดียว-ต้องมีเข็มขัดนิรภัยทุกที่นั่ง-ต้องเป็นเบาะที่นั่งยึดโยงกับที่ ไม่เป็นแบบสไลด์ หรือถอดเข้าออกเพื่อเพิ่มปริมาณที่นั่ง-มีอุปกรณ์นิรภัยติดตั้งบนรถ เช่น ค้อนทุบกระจก ถังดับเพลิง เป็นต้น  ก่อนเดินทาง ต้องตรวจสอบว่าผู้รับจ้างปฏิบัติตรงกับที่ทำสัญญาหรือไม่ หากพบว่ามีสิ่งหนึ่งประการใดไม่เป็นไปตามข้อตกลง เช่น ไม่ใช้รถยนต์คันที่ตกลงในสัญญา ผู้ว่าจ้างสามารถยกเลิกสัญญาได้ทันที และสามารถเรียกร้องให้ผู้รับจ้างชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นได้ด้วย  ระหว่างเดินทาง หากพบว่ามีการขับรถหวาดเสียว ขับเร็ว ขาดความระมัดระวัง หรือรู้สึกถึงความผิดปกติอื่นใดในตัวรถ ให้ทำการเตือนกับพนักงานขับรถ  หากไม่เชื่อฟังหรือไม่แก้ไข ผู้โดยสารควรแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือรีบแจ้งกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่น ศูนย์คุ้มครองผู้โดยสารรถสาธารณะ 1584 หรือสายด่วนกองบังคับการตำรวจทางหลวง 1193 หรือกับบริษัทรถที่ว่าจ้าง โดยทันที กรณีที่เกิดเหตุ สำหรับผู้เสียหายสามารถเรียกร้องการชดเชย เยียวยากับ พนักงานขับรถ เจ้าของบริษัทรถโดยสารคันที่เกิดเหตุ และบริษัทประกันภัย ทั้งค่ารักษาพยาบาล ค่าปลงศพในกรณีที่เสียชีวิต ความเสียหายของทรัพย์สิน ที่นำติดตัวไปในการเดินทาง  ขาดโอกาสหรือสูญเสียโอกาสในการทำงาน ขาดไร้ผู้อุปการะ  หรือตลอดจนความเสียหายทางด้านจิตใจ------------------------------------------------------------------------------------   รถตู้โดยสาร...ทางเลือกที่ต้องระวัง รถตู้ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการเดินทางที่กำลังมาแรงทั้งกระแสในความต้องการของผู้บริโภค และเรื่องราวของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนต้องมีการตั้งคำถามถึงความเหมาะในการนำรถตู้มาใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร แต่ ณ วันนี้ถ้าจะให้หยุดการให้บริการของรถตู้โดยสารคงเป็นเรื่องที่แทบจะพูดได้เต็มปากเลยว่าเป็นไปไม่ได้ เพราะรถตู้กลายเป็นตัวเลือกหลักในการเดินทางของหลายๆ คนไปซะแล้ว เพราะฉะนั้นสิ่งที่ควรทำอย่างเร่งด่วนในเวลานี้ก็คือ การดูแลเรื่องความปลอดภัยในการใช้รถตู้โดยสาร โดยตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 55 เป็นต้นไป กรมการขนส่งทางบกจะดำเนินการติดตั้งเทคโนโลยี rfid (radio frequency identification) ในการตรวจจับความเร็วรถตู้โดยสารสาธารณะ หากตรวจพบรถตู้โดยสารสาธารณะที่ขับเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดจะถูกปรับทันที 5,000 บาท และหากพบการกระทำผิดซ้ำจะปรับ 10,000 บาท พร้อมกับไม่อนุญาตให้ใช้รถคันนั้นในการรับส่งผู้โดยสารอีก ใครที่อยากได้รับความคุ้มครองความปลอดภัยจากเจ้าเทคโนโลยีตรวจจับความเร็ว rfid ก็ต้องเลือกใช้บริการรถตู้ที่มีป้ายทะเบียนสีเหลืองเท่านั้น ส่วนด้านข้างรถก็ต้องมีเครื่องหมายแสดงการเข้าร่วมกับ ขสมก. หรือ บขส. พร้อมบอกชื่อเส้นทาง รถตู้ที่มีป้ายทะเบียนสีอื่นนอกจากสีเหลืองถือเป็นรถตู้โดยสารผิดกฎหมาย เสี่ยงอุบัติเหตุแถมยังยากต่อการติดตามตรวจสอบหากเกิดเหตุร้ายถ้าอยู่ๆ คนขับรถตู้กลายมาเป็นมิจฉาชีพ นอกจากนี้ วันที่ 1 เม.ย. กรมการขนส่งทางบก ก็เตรียมออกประกาศบังคับให้รถตู้ที่จดทะเบียนใหม่ทุกคัน ต้องติดตั้งเข็มขัดนิรภัยทุกที่นั่ง แต่น่าเสียดายที่ยังไม่มีกฎหมายออกมาบังคับให้ผู้โดยสารทุกที่นั่งต้องคาดเข็มขัดนิรภัย ก็ได้แต่หวังกันต่อไปว่าวัฒนธรรมการคาดเข็มขัดนิรภัยทุครั้งเมื่อใช้บริการรถตู้โดยสารจะเกิดขึ้นในบ้านเราได้สักที--------------------------------------------------------------------------------------------------------------- เรื่องต้องรู้  การคุ้มครองเมื่อเกิดอุบัติเหตุ เรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งที่เราทุกคนควรรู้ หากเราประสบอุบัติเหตุจากการใช้บริการรถโดยสาร ก็คือ เรามีสิทธิ์ได้รับการชดเชยค่าเสียหาย ค่ารักษาพยาบาล จากพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ซึ่งเราจะได้รับเป็นค่ารักษาพยาบาลรายละไม่เกิน 5 หมื่นบาท แต่ถ้าเป็นในกรณีเสียชีวิตหรือทุพพลภาพ จะได้เงินชดเชยสูงสุด 2 แสนบาท  นอกจากนี้ยังได้รับชดเชย 200 บาทต่อวัน รวมกันไม่เกิน 20 วัน สำหรับกรณีเข้ารักษาในสถานพยาบาลในฐานะคนไข้ใน สำหรับการขอรับสิทธิ์นั้น ตัวผู้ที่ได้รับความเสียหาย หรือทายาทจะต้องยื่นคำร้องขอรับค่าความเสียหายต่อบริษัทประกันภัย บริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด หรือสำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย ภายใน 180 วัน นับจากวันที่เกิดเหตุ

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 132 พลิกแฟ้มประวัติศาสตร์ 10 ปี กับ “คดีฟ้อง” ของผู้บริโภค

  “ฟ้องร้อง” “ขึ้นโรงขึ้นศาล” ... แน่นอนว่า สำหรับประชาชนคนเดินดินธรรมดาๆ ย่อมไม่มีใครอยากข้องแวะกับเรื่องแบบนี้ ไม่ว่าจะในสถานะ “โจทก์” หรือ “จำเลย” ก็ตามที แต่เชื่อหรือไม่ว่า ในปีที่ผ่านมา “คดีผู้บริโภค” มีมากกว่า 3 แสนคดี!!! อะไรหรือที่ทำให้ผู้บริโภคอดรนทนไม่ได้จนต้องลุกขึ้นมา “ฟ้อง”? โจทย์ตั้งต้นที่ต้องไข ”ไฉนจึงต้องฟ้อง”? เมื่อไม่ได้รับความเป็นธรรม คนส่วนใหญ่มักเลือกที่จะเก็บเงียบไว้ บ่นกับเพื่อน หรือหากคิดว่าถ้าดำเนินการแล้วไม่คุ้มก็จะเลิกดำเนินการ การฟ้องคดี มักเป็นหนทางสุดท้ายที่ผู้บริโภคใช้เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้กับตนเอง  หลังจากที่เริ่มต้นจากการคุยกับผู้ประกอบการ การร้องเรียนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยคาดหวังว่าหน่วยงานรัฐที่ทำหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคจะเป็นตัวกลางในการเจรจา และช่วยเหลือให้ปัญหาถูกแก้ไขได้โดยเร็ว รวมทั้งพัฒนามาตรการในการป้องกันปัญหาเหล่านี้ แต่หลายครั้งกลับพบว่าหน่วยงานรัฐที่ทำหน้าที่ดูแลกำกับการใช้กฎหมายเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคไม่สามารถทำหน้าที่ปกป้องผู้บริโภคได้อย่างเต็มที่ ต้องประนีประนอมมากกว่าการจัดการขั้นเด็ดขาด การเจรจาแก้ไขปัญหาส่วนใหญ่จึงไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร หรือหากมีผลสำเร็จ ผู้บริโภคก็ต้องทนยอมรับมากกว่าจะต่อสู้เพื่อให้ได้สิ่งที่ดีที่สุดกลับมา นอกจากนี้ การให้องค์กรผู้บริโภคช่วยเหลือ มีหลายครั้งที่เจรจาไกล่เกลี่ยไม่สำเร็จ สภาพเหล่านี้นำมาซึ่งการตัดสินใจฟ้องร้องดำเนินคดีในที่สุด   ----------------------------------------------------------------------------------------------   “สิทธิสุดขอบฟ้า” มี...แต่คว้าไม่ถึง แม้ผู้บริโภคมีสิทธิได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย แต่การตัดสินใจฟ้องคดีกับการคลี่คลายปมไม่เป็นธรรมนั้นมีเส้นทางที่ห่างไกลกันอย่างยิ่ง ข้อมูลจากประสบการณ์รับเรื่องร้องทุกข์ของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค สะท้อนให้เห็นว่า เมื่อผู้บริโภคลุกขึ้นมาใช้สิทธิร้องเรียน ส่วนใหญ่จะต้องเจอกับอุปสรรคหลายประการ  จนทำให้การทวงถามความเป็นธรรมจากระบบยุติธรรมเป็นไปอย่างยากลำบาก ยากลำบากเพียงไร...ค้นหาคำตอบบางส่วนได้จากเรื่องจริงที่เกิดขึ้นกับ บังอร มีประเสริฐ ที่สรุปอย่างย่นย่อได้ดังนี้ ต้นเดือนเมษายน 2545 บังอร มีอาการอึดอัด แน่นท้อง และท้องโตขึ้นเรื่อยๆ  แต่เนื่องจากกินยาคุมกำเนิดอย่างต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลาประมาณ 9 ปีเศษ โดยไม่มีประจำเดือนตลองช่วงเวลานั้น จึงไม่คิดว่าตนเองตั้งครรภ์ได้ สถานีอนามัยได้ตรวจวินิจฉัยโรคเบื้องต้น แต่เนื่องจากไม่มีอุปกรณ์ตรวจปัสสาวะเพื่อทดสอบการตั้งครรภ์ จึงใช้การคลำท้อง พบก้อนเนื้อ ซึ่งไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นเนื้องอกหรือตั้งครรภ์ จึงแนะนำให้ไปตรวจที่โรงพยาบาลให้ทราบผลแน่ชัด ที่โรงพยาบาล แพทย์ตรวจปัสสาวะ ตรวจปากมดลูก เอกซเรย์ปอด แล้ววินิจฉัยว่า เป็นเนื้องอก จึงนัดมาผ่าตัด เมื่อถึงวันผ่าตัด กลับพบว่า “ก้อนเนื้องอก” ในท้องเป็นทารกแฝด จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น บังอร ได้ร้องต่อกระทรวงสาธารณสุข ขอความเป็นธรรมให้ชดเชยความเสียหายที่ถูกผ่าท้องฟรี ตามสิทธิในพระราชบัญญัติความรับทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 โดยกระทรวงสาธารณสุขตั้งคณะกรรมการวินิจฉัย จำนวน 6 คน ซึ่งลงความเห็นและมีคำสั่งในขั้นสุดท้ายว่า “การผ่าท้องเป็นการวินิจฉัยโรค” หลังจากนั้น เธอฟ้องต่อศาลปกครองกลาง 2 ประเด็น ประเด็นแรกคือ การผ่าท้องเป็นการกระทำละเมิด ขอให้กระทรวงสาธารณสุขเยียวยาความเสียหาย ประเด็นที่สอง คือ ขั้นตอนที่กระทรวงสาธารณสุขพิจารณาข้อร้องเรียนไม่ให้โอกาสผู้เสียหายได้ชี้แจงและมีส่วนร่วมในกระบวนการ ผลคือ บังอรแพ้คดี เนื่องจากศาลปกครองมีคำสั่งว่า กระบวนการที่กระทรวงสาธารณสุขวินิจฉัยเรื่องนี้ดีแล้ว แต่ไม่ได้พิจารณาว่า เป็นการกระทำละเมิดหรือไม่ ต่อมา บังอร ได้อุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด โดยยืนยันว่า ความเสียหายที่เกิดขึ้นเกิดจากการกระทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่    โดยศาลปกครองสูงสุด พิพากษาว่า คดีนี้เป็นการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่จริง แต่เรื่องนี้ไม่อยู่ในอำนาจศาลปกครอง ให้โอนคดีไปที่ศาลยุติธรรมหรือจังหวัดสมุทรสงครามแทน ขั้นตอนเพื่อพิสูจน์ว่าการผ่าตัดฟรีเป็นการกระทำละเมิดหรือไม่ ใช้เวลาถึง 7 ปี นับตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนลูกแฝดไปโรงเรียนชั้นประถม และภาระต่างๆ ในการการพิสูจน์ความเสียหาย การหาข้อมูล หาพยานผู้เชี่ยวชาญ เพื่อปกป้องสิทธิอันพึงมีพึงได้ของผู้รับบริการจากระบบบริการสาธารณสุข ตกเป็นของบังอรแต่ผู้เดียว สภาพเช่นที่เกิดขึ้นกับบังอรเป็น “เรื่องธรรมดาสามัญ” ที่พบได้ในแฟ้มคดีผู้บริโภค นั่นคือ ก่อนฟ้องคดีมักเริ่มต้นจากไม่ได้รับความเป็นธรรมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เมื่อฟ้องแล้ว ยังพบมีขั้นตอนมากมาย และใช้ระยะเวลานาน...โดยไม่เกิดอะไรขึ้นเลย นี่คือเหตุสำคัญอันนำไปสู่ผลที่สอดคล้องกับงานวิจัยของ สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม ที่พบว่า การใช้สิทธิของผู้บริโภคมีเพียง ร้อยละ 2 เท่านั้น ที่มีการดำเนินการจนถึงกระบวนการสุดท้ายของการใช้สิทธิอันพึงมีพึงได้ของตน ---------------------------------------------------------------------------------------------- ถามหาความเป็นธรรม เส้นทางแสนทุรกันดาร ความทุกข์ของผู้บริโภคในการใช้ “สิทธิอันพึงมีพึงได้” นั้นมีอยู่มากมายหลายด้าน ซึ่งศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค ของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้ประมวลและสรุปออกมาได้ 5 ข้อหลัก ดังนี้ • ไม่รู้จะไปร้องที่ไหน ระบบการคุ้มครองผู้บริโภคที่เป็นมีหลายหน่วยงานรับผิดชอบ หรือแม้แต่หน่วยงานรับเรื่องร้องเรียนที่มีจำนวนมาก จนยากที่ผู้บริโภคธรรมดาจะรู้เท่าทันว่าจะต้องใช้สิทธิกับหน่วยงานใด • ไม่ใส่ใจนำพา ความไม่โปร่งใส ความไม่เป็นธรรม และไม่มีประสิทธิภาพของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการให้การช่วยเหลือเมื่อผู้บริโภคถูกละเมิดสิทธิ • ไม่มีปัญญาเดินเรื่อง การเข้าไม่ถึงกระบวนการยุติธรรมเนื่องจากภาระค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ และระยะเวลาในขั้นตอนต่าง ๆ ที่ล่าช้า ภาระในการพิสูจน์ความผิดความเสียหาย การเข้าถึงข้อมูลของผู้ผลิตและผู้ให้บริการ รวมทั้งขาดพยานผู้เชี่ยวชาญ (ก่อนมีพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551) • ไม่ได้รับการชดเชยความเสียหาย ถึงแม้จะชนะคดีก็ยังพบปัญหานี้บ่อยๆ  เช่น เมื่อซื้อบ้านแล้วเจ้าของโครงการล้มละลายบ้านนั้นถูกขายทอดตลาด นับว่ามีโอกาสน้อยมากที่ผู้บริโภคจะได้รับการชดเชยแถมบางคนถูกไล่ออกจากบ้านของตนเอง สามีติดคุกเพราะตนเองดื้อเพ่งที่จะอยู่บ้านที่ซื้อมากับมือ • ไม่ถือประโยชน์ผู้บริโภคใหญ่ ปัญหาความทุกข์ ความเสียหายของผู้บริโภคในปัจจุบัน มาจากหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจมากกว่าการคุ้มครองผู้บริโภค เช่น รัฐคุ้มครองผู้ประกอบธุรกิจบริษัทสัมพันธ์ประกันภัยมากกว่าผู้บริโภค ทำให้ผู้บริโภคที่เสียหายจากบริษัทสัมพันธ์ประกันภัยจำกัดไม่น้อยกว่าล้านคน และเกิดผลต่อเนื่องทั้งผู้บริโภคทุกฝ่าย อู่คู่สัญญา และกลุ่มพนักงานบริษัท   “ฟ้องแทนผู้บริโภค” บทบาทอีกด้านของ มพบ. เมื่อปี 2544 ได้เกิดปัญหาและข้อร้องเรียนของผู้บริโภค กรณีการควบรวมกิจการของธุรกิจเคเบิ้ลทีวี 2 รายใหญ่ คือ บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล บรอดคาสติ้ง คอเปอร์เรชั่น จำกัด หรือ “ไอบีซี” และ บริษัทยูทีวี เคเบิ้ล เน็ตเวิร์ค จำกัด (มหาชน) หรือ “ยูทีวี” ได้รวมตัวเป็น กลุ่มบริษัท ยูไนเต็ด บรอดคาสติ้ง คอเปอร์เรชั่น จำกัด หรือ “ยูบีซี” ทำให้เกิดปัญหาข้อร้องเรียนเรื่องคุณภาพบริการ ราคาแพง และมีโฆษณาในผังรายการเหมาจ่ายรายเดือน มูลนิธิ ฯ จึงร่วมมือกับ โครงการสื่อสันติภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร้องเรียนต่อ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และต่อมา เมื่อมีการจัดตั้งศาลปกครอง สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ก็ได้ส่งต่อข้อร้องเรียนนี้ไปยังศาลปกครองกลาง ข้อร้องเรียนกล่าวถึง องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อสมท.) ทำให้เกิดผู้ให้บริการรายเดียว และ อสมท.ได้ประโยชน์จากการอนุมัติให้ขึ้นราคา เพราะได้ส่วนแบ่งรายได้โดยไม่ต้องหักค่าใช้จ่าย ข้อร้องเรียนนี้ ขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการปรับเพิ่มราคาค่าสมาชิกของ อสมท. แม้ท้ายที่สุดศาลได้มีคำพิพากษาว่า เป็นอำนาจที่ อสมท.สามารถทำได้ และโจทย์เป็นฝ่ายแพ้คดี แต่ศาลปกครองกลางก็ได้พิพากษาให้มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเป็นผู้เสียหายในการฟ้องคดีแทนผู้บริโภคได้ กรณีที่เกิดขึ้นนี้คือจุดเริ่มต้น ที่ทำให้มูลนิธิฯ เริ่มต้นเดินหน้าในการ “ฟ้องคดีเพื่อผู้บริโภค” อย่างจริงจังมาจนถึงวันนี้ หรืออาจกล่าวได้ว่า คดีปฐมบท “พ่ายแพ้” แต่กลายเป็น “อิฐก้อนแรก”   404 คดี ประสบการณ์ที่ทรงคุณค่าหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา มูลนิธิฯ “ฟ้องคดีเพื่อผู้บริโภค” เป็นจำนวน 404 คดี แม้ดูเหมือนเป็นจำนวนไม่น้อย แต่หากพิจารณาคดีผู้บริโภคทั้งหมดที่มีอยู่ประมาณ 336,549 คดี  ในปีที่ผ่านมาของศาลแล้ว คดีที่มูลนิธิฯฟ้องแทนผู้บริโภค จำนวน 404 คดี คิดเป็นเพียง 0.1 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น! การดำเนินการฟ้องคดีแทนผู้บริโภคโดยส่วนใหญ่ของมูลนิธิฯ เกี่ยวข้องกับ ปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้บริโภคจำนวนมาก เช่น กรณีการถูกเรียกเก็บเงิน 107 บาท จากบริษัทโทรคมนาคม เมื่อผู้บริโภคไม่จ่ายค่าบริการโทรศัพท์ติดต่อกันสองเดือน อันจะทำให้ถูกตัดสัญญาณโทรศัพท์ ต่อเมื่อไปจ่ายค่าบริการและขอใช้บริการใหม่จะถูกเรียกเก็บเงินเพิ่มทันทีจำนวน 107 บาท ทั้งๆ ที่ประกาศมาตรฐานสัญญาในการให้บริการของ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) เดิม ระบุไว้ชัดเจนว่า บริษัทฯ ไม่สามารถเก็บเงินเพื่อการนี้ได้ นอกจากนี้ มูลนิธิฯ ยังฟ้อง คดีที่เกี่ยวข้องกับการรณรงค์ปัญหาสาธารณะ อีกหลายต่อหลายคดี เช่น กรณีการรณรงค์เรื่องความปลอดภัยของบริการรถโดยสารสาธารณะ เพื่อสร้างความตื่นตัวให้แก่ผู้บริโภคจำนวนมากที่ยังไม่รับรู้สิทธิของตนเองในฐานะผู้ใช้บริการ และเมื่อเกิดปัญหา แทนที่จะได้รับการเยียวยาหรือชดเชยอย่างเป็นธรรม กลับมักถูกผู้ให้บริการรถโดยสารข่มขู่หรือหาทางปิดคดีโดยเร็ว รวมทั้ง การฟ้องคดีเพื่อให้ปรับปรุงมาตรการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค หรือยกระดับการคุ้มครองผู้บริโภค อีกทั้งยังมีการฟ้อง คดีสาธารณะเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของผู้บริโภค เช่น การอนุญาตให้เอกชนขึ้นค่าทางด่วนจาก 50 บาทเป็น 85 บาท โดยไม่ต้องขออนุญาตจากรัฐ หรือการฟ้องคดีเพื่อสนับสนุนการทำงานของขบวนการทำงานขององค์กรผู้บริโภคและเครือข่ายผู้ป่วย เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวีเอดส์ องค์กรพัฒนาเอกชนด้านเอดส์ในการกรณีการผลักดันการเข้าถึงยาจำเป็นต่อชีวิต เช่น การฟ้องศาลปกครองกลางกรณีคำสั่งสำนักงานแข่งขันทางการค้า กระทรวงพาณิชย์ ที่มีมติว่า การกระทำของบริษัท แอ๊บบอต ลาบอแรตอรีส จำกัด (มหาชน)(ABBOTT) จากสหรัฐอเมริกา ที่ได้ขอให้บริษัทในประเทศถอนทะเบียนยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพจำนวน 10 รายการจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ไม่ขัดต่อกฎหมายแข่งขันทางการค้า เนื่องจากบริษัทไม่พอใจที่รัฐบาลไทยใช้มาตรการใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตร ทำให้สามารถมียาราคาถูกในบัญชียาหลักแห่งชาติเพิ่มขึ้น จึงเป็นเหตุในการถอนทะเบียนยา ปัจจัยในการฟ้องคดีต่างๆ ข้างต้น เกิดจากการละเมิดสิทธิผู้บริโภคโดยธุรกิจข้ามชาติ ผู้ประกอบธุรกิจขนาดใหญ่ หรือแม้แต่ผู้ประกอบธุรกิจในประเทศ แต่อีกส่วนหนึ่งเป็นข้อพิพาทของผู้บริโภค ที่ได้รับผลกระทบหรือได้รับความเสียหายจากนโยบายและการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานรัฐ ซึ่งกระทบต่อสาธารณประโยชน์ ทำให้มีผู้ได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก ประกอบกับข้อพิพาทส่วนใหญ่มีความสลับซับซ้อน ยากที่ผู้บริโภคที่ได้รับความเสียหายจะมีโอกาสและความสามารถเข้าถึงข้อเท็จจริงได้ด้วยตนเอง บางกรณีเป็นเรื่องผลกระทบที่เกิดจากผลประโยชน์ทางนโยบายของรัฐ นักการเมือง หรือภาคเอกชน ที่มีอำนาจและอิทธิพลเหนือผู้บริโภค และเป็นฝ่ายที่มีความรู้และสถานะที่เหนือกว่าในเรื่องข้อมูลข่าวสารและความเชี่ยวชาญ รวมถึงการพิสูจน์ข้อเท็จจริงแห่งคดี มากกว่าผู้บริโภค   “แพ้ชนะ” ไม่ใช่เป้าหมายสิ่งที่ได้คือก้าวไปข้างหน้า เมื่อถอดบทเรียนของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคในเรื่องของการฟ้องคดีของผู้บริโภค พบว่า ผลคดีไม่ว่าลงเอยด้วยการแพ้หรือชนะก็ตาม ได้สั่งสมเป็นคลังประสบการณ์ ที่ส่งผลในภาพรวมให้ขบวนการผู้บริโภคไทยก้าวไปข้างหน้าในหลายด้าน ที่เห็นได้ชัดคือ สามารถหยุดกระบวนการที่ทำให้รัฐและสาธารณะประโยชน์เสียหาย หรือเกิดผลเสียต่อผู้บริโภค รวมทั้งปกป้องรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติ สาธารณะและประชาชน เช่น กรณีการฟ้องการแปลงสภาพการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ที่สามารถหยุดการกระจายหุ้น กฟผ.ในตลาดหลักทรัพย์ และทำให้ต้องยกเลิกนำการไฟฟ้าเข้าจำหน่ายในตลาดหลักทรัพย์ หรือการมีคำสั่งให้ บริษัท ปตท. แบ่งแยกทรัพย์สินที่ใช้อำนาจมหาชน รอนสิทธิ เวนคืนหรือใช้เงินลงทุนของรัฐคืนให้กับกระทรวงการคลัง ประการต่อมาคือ ทำให้สิทธิของผู้บริโภคได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายเป็นจริงมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการได้รับการชดเชยความเสียหาย เช่น สิทธิของคนเล็กคนน้อยที่ใช้บริการรถโดยสารสาธารณะมักจะไม่รู้ว่าตนมีสิทธิ หรือหากลุกขึ้นมาใช้สิทธิก็จะต้องยุ่งยาก ที่สำคัญอย่างยิ่ง คือ เกิดบรรทัดฐานในการคุ้มครองผู้บริโภค ในกรณีที่ได้รับความเสียหายแบบเดียวกัน สำหรับผู้บริโภค นอกจากนี้ ยังทำให้ ผู้บริโภคเท่าทันข้อมูลและมาตรการที่เป็นประโยชน์กับผู้บริโภคถูกบังคับใช้อย่างเป็นรูปธรรม และไม่ถูกละเมิดสิทธิ เช่น การเก็บเงิน 107 บาท ในการต่อสัญญาณโทรศัพท์ หรือการรับรู้ว่าการขึ้นรถโดยสารสาธารณะเป็นผู้บริโภคสามารถฟ้องคดีโดยใช้กฎหมายวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค และตัวอย่างของการฟ้องคดีที่ประสบความสำเร็จ ภายใต้ พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 ยังทำให้ผู้บริโภคที่ถูกละเมิดสิทธิ กล้าที่จะลุกขึ้นหรือใช้สิทธิหรือใช้การฟ้องคดีในการดำเนินการเพื่อให้ได้รับการเยียวยาเพิ่มขึ้น เพราะขั้นตอนและการใช้สิทธิไม่ยุ่งยาก ไม่ต้องพิสูจน์ความเสียหาย ไม่ต้องใช้เงินในวางศาล และไม่จำเป็นต้องใช้ทนาย ส่งผลให้ผู้บริโภคเกิดความมั่นใจและมีความกล้าในการพิทักษ์สิทธิตนเอง ผลด้านอื่นๆ ก็คือ บทบาทในการตรวจสอบเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานรัฐ ทำให้เกิดความระมัดระวังในการดำเนินงานของข้าราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น การฟ้องคดีปกครองกรุงเทพมหานคร และที่ไม่อาจมองข้ามได้ คือ บทเรียนการฟ้องคดีสาธารณะในหลายกรณี นำมาซึ่งการยกระดับนโยบาย มาตรการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค และการมีส่วนร่วมในการผลักดันให้เกิดมาตรการหรือกลไกการคุ้มครองผู้บริโภคอย่างเหมาะสมจริงจัง เช่น กรณีการฟ้องคดีเพื่อให้ปรับปรุงมาตรการการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นเมื่อได้รับความเสียหายจากบริการสาธารณสุข หรือกรณีการถอนทะเบียนยาของบริษัท แอ๊บบอต ลาบอแรตอรีส จำกัด เป็นต้น   ประมวลอุปสรรคที่ผ่านมาเมื่อ “ฟ้องคดีแทนผู้บริโภค” การดำเนินการฟ้องคดีของมูลนิธิฯ แทนผู้บริโภค เป็นการพิจารณาของคณะกรรมการมูลนิธิ ฯ ดำเนินการโดยอาศัยความร่วมมือของเครือข่ายผู้บริโภค เครือข่ายองค์กรผู้บริโภค เครือข่ายนักวิชาการ นักกฎหมายและกลุ่มต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ที่ผ่านมา ประมวลปัญหา อุปสรรค เพื่อใคร่ครวญยกระดับงานด้านนี้ เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงความเป็นธรรมได้มากกว่าที่เป็นอยู่ได้ดังนี้ • แม้ว่ามูลนิธิเพื่อผู้บริโภคจะมีบทบาทต่อสังคม ในฐานะองค์กรสาธารณะประโยชน์ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ที่ดำเนินการปกป้องสิทธิผู้บริโภคในทุกๆด้าน รวมถึงการฟ้องคดีสาธารณะแทนผู้บริโภคได้อย่างชัดเจนและเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง แต่ในทางกฎหมายของพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522  มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคก็ยังไม่เป็นองค์กรที่สามารถฟ้องคดีได้แทน ตามมาตรา 40 ให้เป็นองค์กรหรือสมาคมให้มีสิทธิและอำนาจฟ้องคดีได้ตามมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติเดียวกันหรือตามพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดจากสินค้าไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 เป็นต้น • ขาดนักกฎหมายหรือทนายความที่ปฏิบัติงานภายในองค์กร มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค มีเจ้าหน้าที่ประจำไม่น้อยกว่า 20 คน แต่ไม่มีนักกฎหมายและทนายความในระดับเจ้าหน้าที่ ความเชี่ยวชาญด้านกฎหมาย เป็นระบบอาสาสมัครที่เข้ามาสนับสนุนการฟ้องคดีของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ทำให้เกิดความจำกัดในการดำเนินคดีด้วยตนเอง รวมทั้งขาดความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านในการดำเนินคดี เช่นการเงินการธนาคาร บริการสาธารณะ สื่อและโทรคมนาคม ผลิตภัณฑ์สุขภาพ บริการสุขภาพ เป็นต้น เพื่อสนับสนุนการดำเนินคดีให้ประสบความสำเร็จ • งบประมาณที่ไม่เพียงพอ เนื่องจากเป็นงบประมาณโครงการ ที่ไม่ต่อเนื่อง แต่ขณะที่การดำเนินคดีใช้ระยะเวลาที่ยาวนาน ถึงแม้มูลนิธิฯ จะใช้ระบบทนายอาสาที่ใช้ระบบค่าตอบแทนที่เป็นเพียงค่าตอบแทนวิชาชีพ แต่ต้องใช้งบประมาณจำนวนมากต่อปีในการดำเนินการ ไม่ว่าจะเป็นค่าตอบแทนวิชาชีพ การสืบค้นข้อมูลในการดำเนินคดี การคัดถ่ายเอกสาร ค่าพาหนะที่เกี่ยวข้อง รวมถึงขั้นตอนในการดำเนินคดี การวางแผนการประชุมผู้เชี่ยวชาญ และหากเป็นการดำเนินคดีสาธารณะ หรือผู้บริโภคที่ยากจนก็ต้องรับภาระในส่วนนี้แทนทั้งหมด • นโยบาย กฎหมาย และมาตรการต่างๆ ในการคุ้มครองผู้บริโภคที่ก้าวหน้าและทันสมัยยังขาดความเข้าใจและรับรู้โดยหน่วยงาน หรือบุคคลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง  อาทิ พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 ที่มุ่งหมายจะก่อให้เกิดระบบการคุ้มครองผู้บริโภคที่สมบูรณ์ทั้งในด้านการป้องกันความเสียหาย และเยียวยาความเสียหาย เช่น การระงับการจำหน่ายสินค้าอันตราย ตลอดจนการมีส่วนร่วมในการคุ้มครองตนเองของผู้บริโภค การเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ไม่ต้องใช้ทนาย ไม่ต้องจ่ายค่าวางศาล การพิจารณาคดีเชิงลงโทษ ความสะดวกรวดเร็วในการดำเนินคดี แต่ข้อเท็จจริงในทางปฏิบัติกลับยังมีข้อติดขัดหลายประการ ที่ยังไม่สามารถใช้ได้จริงตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ หรือพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดจากสินค้าไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 ถูกคัดค้านจากผู้ประกอบวิชาชีพ จนกระทั่งต้องออกพระราชกฤษฎีกายกเว้นการบังคับใช้กฎหมาย หรือรวมถึงปัญหาการยอมรับและการร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐหรือองค์กรเอกชนต่างๆ และการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารในการสนับสนุนข้อมูลหรือข้อเท็จจริงต่อการแก้ไขปัญหาผู้บริโภค ซึ่งล้วนแต่เป็นปัจจัยสำคัญในการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคนับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน   แปลงปัญหา สู่ ปัญญานำพาพลังแห่งการ “ฟ้อง” จากประสบการณ์ การประมวลบทเรียนที่ผ่านมา และการวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคที่มีอยู่ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มีข้อเสนอแนะต่อการฟ้องคดีสาธารณะเพื่อผู้บริโภคในอนาคต ดังนี้ ประการแรก เร่งให้เกิดองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 61 บัญญัติไว้ว่า “ สิทธิของบุคคลซึ่งเป็นผู้บริโภคย่อมได้รับความคุ้มครองในการได้รับข้อมูลที่เป็นจริง และมีสิทธิร้องเรียนเพื่อให้ได้รับการแก้ไขเยียวยาความเสียหาย รวมทั้งมีสิทธิรวมตัวกันเพื่อพิทักษ์สิทธิผู้บริโภค ให้มีองค์การเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคที่เป็นอิสระจากหน่วยงานรัฐ ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนผู้บริโภค ทำหน้าที่ให้ความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาของหน่วยงานของรัฐ ในการตราและบังคับใช้กฎหมายและกฎ และให้ความเห็นในการกำหนดมาตรการต่างๆ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภครวมทั้งตรวจสอบและรายงานการกระทำหรือละเลยการกระทำอันเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค ทั้งนี้ให้รัฐสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการขององค์การอิสระด้วย ประการที่สอง องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคควรมีอำนาจในการฟ้องคดี เนื่องจากปัจจุบันการดำเนินคดีโดยผู้บริโภค องค์กรผู้บริโภค ยังขาดแคลนทั้งความเชี่ยวชาญ ทรัพยากรบุคคล และงบประมาณ    ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงจำเป็นที่จะต้องมีองค์การอิสระที่ทำหน้าที่คุ้มครองสิทธิผู้บริโภค ในการเยียวยาความเสียหาย ที่เป็นอิสระจากหน่วยงานรัฐหรือเอกชน ไม่อยู่ภายใต้ข้อจำกัดของหน่วยงานรัฐ ภาคเอกชน หรือนักการเมือง ที่จัดตั้งขึ้น และสามารถดำเนินการได้อย่างสะดวกรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ  และมีบทบาทในการดำเนินคดีแทนผู้บริโภคได้อย่างโปร่งใส และมีความเป็นธรรมแก่ผู้บริโภคได้อย่างแท้จริง เพื่อแก้ไขปัญหาการดำเนินคดีแทนผู้บริโภคที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์และการบังคับใช้ตามที่กฎหมายกำหนดไว้  และเป็นการยกระดับการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคให้มีสามารถคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคและผลประโยชน์ของสาธารณะได้จริง ไม่ใช่เป็นหน่วยงานที่ไม่มีอำนาจในการดำเนินการใด ๆ ประการที่สาม หน่วยงานรัฐสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการทำคดีผู้บริโภค ข้อเสนอระยะสั้น รัฐมีมาตรการที่ชัดเจนว่า หากมีการดำเนินคดีเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานใดๆ ของรัฐ เช่น สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ฯลฯ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับคดีนั้นควรสนับสนุนงบประมาณให้แก่ องค์กรผู้บริโภค หรือองค์กรสาธารณประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับการช่วยผู้บริโภคดำเนินการฟ้องร้องคดี ในอัตราที่เหมาะสม เพื่อสนับสนุนให้ผู้บริโภคได้รับการคุ้มครองสิทธิอันพึงมีพึงได้ และสนับสนุนให้องค์กรผู้บริโภคเกิดความเข้มแข็งและช่วยเหลือฟ้องคดีสาธารณะแทนผู้บริโภคที่ได้รับความเสียหาย ประการที่สี่ เร่งอุดช่องโหว่ปัญหาการบริหารกิจการของรัฐโดยไม่ตอบสนองประโยชน์สาธารณะอย่างแท้จริง จากกรณีคดีตัวอย่างที่กล่าวมาทั้งหมดสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาด้านมาตรการหรือนโยบายของรัฐ การกำกับดูแล และการใช้กฎหมายที่ถูกละเลย รวมถึงการไม่ให้ความสำคัญกับประโยชน์สาธารณะ ทั้งจากภาครัฐและเอกชน ที่มุ่งเน้นประโยชน์ของคนบางกลุ่มหรือผลประโยชน์กับธุรกิจบางประเภท   โดยที่หลายคดีทำให้เกิดความเสียหายต่อรัฐและประชาชนในประเทศอย่างมหาศาล   หรือเป็นคดีที่มีผลกระทบต่อคนบางกลุ่มบางประเภท แต่ภาพโดยรวมของความเสียหายแล้วเกิดได้กับคนทุกคน จะเห็นได้ว่า ปัญหาหรือข้อพิพาทต่างๆ ล้วนเกิดขึ้นจากการละเมิดสิทธิผู้บริโภค โดยองค์กรของรัฐเอง และส่งผลต่อระบบธรรมาภิบาลของการบริหารราชการแผ่นดิน และมีผลต่อทุกภาคส่วนในสังคมอย่างแท้จริง ไม่ว่าจะเป็นผลทางตรงหรือทางอ้อม ที่เป็นผลจากนโยบาย หรือการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐ ที่ละเลยการใช้กฎหมาย ที่มุ่งแต่ผลประโยชน์ส่วนตนมากกว่าประโยชน์สาธารณะ ประการสุดท้าย เผยแพร่บทเรียนสู่สังคมอย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายร่วมกันเผยแพร่บทเรียน ความสำเร็จในคดีสำคัญเพื่อช่วยสร้างความเข้มแข็งของผู้บริโภค เครือข่ายผู้บริโภค ให้เกิดความเข้าใจ ปลุกกระแสความตื่นตัว เป้าหมายปลายทาง คือ เพื่อให้เกิดความเท่าทันในการคุ้มครองตนเอง และให้ทุกๆ ฝ่ายมองเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบ และร่วมกันตรวจสอบ นโยบายและการดำเนินการของรัฐ และหยุดการดำเนินการที่เกิดความเสียหายต่อสาธารณะ รวมถึง การยกระดับคุณภาพการให้บริการของภาคเอกชนที่มีผลต่อประโยชน์สาธารณะด้วย

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 131 ปัญหาราคาพลังงาน ความจริงที่ไม่เท่ากัน

  พลังงานราคาแพง ในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 1.ปรับขึ้นราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (เอ็นจีวี) อัตรา 50 สตางค์ต่อกิโลกรัมต่อเดือน ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคมถึงธันวาคม 2555 รวม 6 บาทต่อกิโลกรัม ทำให้ราคาเอ็นจีวีสิ้นปีจะอยู่ที่ 14.50 บาทต่อกิโลกรัม จากปัจจุบัน 8.50 บาทต่อกิโลกรัม (เท่ากับปรับขึ้นสูงถึง 70%) 2. ปรับขึ้นราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว (แอลพีจี) อัตรา 75 สตางค์ต่อกิโลกรัม ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคมถึงธันวาคม 2555 หรือราคาหน้าโรงกลั่น รวม 9 บาทต่อกิโลกรัม ทำให้ราคาแอลพีจีสิ้นปีจะอยู่ที่ 27.13 บาทต่อกิโลกรัม จากปัจจุบัน 18.13 บาทต่อกิโลกรัม3. ปรับขึ้นราคาน้ำมันเบนซินทั้งระบบอัตรา 1 บาทต่อลิตร ทำให้เบนซิน 91 อยู่ที่ 31.09 บาทต่อลิตร เบนซิน 95 อยู่ที่ 42.42 บาทต่อลิตร แก๊สโซฮอล์ 91 อยู่ที่ 35.44 บาทต่อลิตร แก๊สโซฮอล์ 95 จะอยู่ที่ 37.19 บาทต่อลิตร และอี 20 อยู่ที่ 34.44 บาทต่อลิตร และราคาน้ำมันดีเซล อัตรา 60 สตางค์ต่อลิตร อยู่ที่ 31.09 บาทต่อลิตร เพื่อส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) โดยน้ำมันทั้ง 2 ชนิดปรับขึ้นตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2555 ส่วนการปรับขึ้นครั้งต่อไป กระทรวงพลังงานระบุว่าจะพิจารณาอัตราที่เหมาะสมและเสนอ กพช. พิจารณาอีกครั้ง ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- เมื่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ภายใต้การนำของ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีมติเห็นชอบตามมติ กพช. ให้ปรับขึ้นราคาขายปลีกก๊าซเอ็นจีวีและแอลพีจี ด้วยเหตุผลเพื่อให้ราคาจำหน่ายสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง คำถามก็คือ ต้นทุนที่แท้จริง เป็นความจริงของใคร ต้นทุนพลังงานที่แท้จริง ?? จากผลการศึกษาและจากการจัดประชุมสัมมนาหลายครั้งที่ผ่านมาของคณะกรรมาธิการศึกษา ตรวจสอบเรื่องการทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา พบว่า นโยบายการลอยตัวเชื้อเพลิงทุกประเภทของรัฐบาล ซึ่งรวมถึงการประกาศให้ปรับขึ้นราคาก๊าซ LPG และ NGV ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงทางเลือก โดยอ้างถึงความต้องการให้ราคาเชื้อเพลิงสะท้อนถึงต้นทุนที่แท้จริงนั้น  ข้อเท็จจริงคือ รัฐบาลใช้ฐานข้อมูลที่ไม่ครบถ้วนรอบด้าน  และขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน ทั้งที่เรื่อง พลังงานแพงจะส่งผลกระทบต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนอย่างใหญ่หลวง ฉลาดซื้อฉบับนี้จึงขอนำ รายงานการศึกษา ของคณะกรรมาธิการฯ มาสรุปสาระสำคัญ เพื่อให้ประชาชนได้รับรู้ข้อมูลอีกด้าน ที่ไม่ค่อยมีสื่อใดจะนำไปเปิดเผย   รายงานศึกษาตรวจสอบ เรื่อง “ธรรมาภิบาลในระบบพลังงานของประเทศ” ของคณะกรรมาธิการศึกษา ตรวจสอบเรื่องการทุจริต และเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา   1.ประเทศไทยเป็นหนึ่งในกลุ่มประเทศที่มีแหล่งก๊าซธรรมชาติและน้ำมันดิบขนาดใหญ่หลายแหล่ง และมีการผลิตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา   ปัจจุบันประเทศไทยมีการขุดเจาะก๊าซธรรมชาติและน้ำมันดิบทั่วประเทศแล้วกว่า 5,000 หลุม  โดยมีแปลงสัมปทานทั้งสิ้น 81 แปลง แท่นผลิต 225 แท่น     เดือนมิถุนายนปี 2553 ไทยสามารถขุดเจาะน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติเหลวได้ 40 ล้านลิตรต่อวัน และก๊าซธรรมชาติ (เทียบเท่าน้ำมันดิบ) ปริมาณ 105 ล้านลิตรต่อวัน จากเอกสารรายงานประจำปี 2552 ของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน ระบุว่าปริมาณการขายปิโตรเลียมของประเทศไทยตั้งแต่ปี 2524 ถึงสิ้นปี 2552 รวมเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 2,628,647.50 ล้านบาท4 โดยกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ จัดเก็บค่าภาคหลวงได้เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 329,729.26 ล้านบาท เท่ากับร้อยละ 12.54 และตั้งแต่ปี 2528 ถึงปี 2551 มีการจัดเก็บภาษีเงินได้เป็นจำนวนเงิน 429,212.28 ล้านบาท5 หากรวมค่าภาคหลวงและภาษีเงินได้ที่จัดเก็บตั้งแต่ปี 2524-2552 โดยเทียบกับมูลค่าปิโตรเลียมที่ผลิตได้จากพื้นแผ่นดินไทย รายได้ที่รัฐจัดเก็บได้จากทรัพยากรปิโตรเลียมในประเทศเท่ากับร้อยละ 28.87 ของมูลค่าเท่านั้น ซึ่งจัดว่าต่ำมากเมื่อเทียบกับประเทศที่มีทรัพยากรปิโตรเลียมอื่น ๆ ในภูมิภาคเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศไทยมีสถิติในการผลิตปิโตรเลียมเพิ่มขึ้นทุกปี นับตั้งแต่ปี 2529 จนถึงปัจจุบัน  แผนภูมิปริมาณการผลิตน้ำมันดิบ  ก๊าซธรรมชาติ  และก๊าซธรรมชาติเหลว (เทียบเท่าน้ำมันดิบ)จำนวนล้านลิตรต่อปี (พ.ศ. 2529-2553) ที่มา : กระทรวงพลังงานจากฐานข้อมูลของสถาบัน Energy Information Administration (EIA) ของรัฐบาลสหรัฐฯ ในปี 2552 ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติอันดับ 23 และเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำมันดิบ1อันดับ 35 จากจำนวน 217 ประเทศของโลก2  ขณะที่กลุ่มโอเปค หรือ Organization of the Petroleum Exporting Countries (OPEC) ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของกลุ่มผู้ผลิตพลังงานปิโตรเลียมขนาดใหญ่ของโลกจำนวน 12 ประเทศ จัดอยู่ในผู้ผลิตน้ำมันดิบอันดับที่ 31 แรกของโลก  ข้อมูลดังกล่าวของสถาบัน EIA จึงเป็นหลักฐานสำคัญที่ยืนยันว่า ประเทศไทยจัดอยู่ในกลุ่มประเทศผู้ผลิตพลังงานได้ปริมาณมาก แม้ว่าไทยจะไม่มีศักยภาพมากเท่าประเทศซาอุดิอาระเบียก็ตาม การผลิตปิโตรเลียมของไทยยังมีแนวโน้มดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง และด้วยมูลค่าของปิโตรเลียมที่สูงนี้เองทำให้ประเทศไทยมีความเสี่ยงสูงที่ต้องเผชิญกับปัญหาการบริหารจัดการรายได้จากทรัพยากรที่ไม่เหมาะสม การทุจริตคอร์รัปชั่นของเจ้าหน้าที่ระดับสูง การใช้อำนาจโดยมิชอบ และความขัดแย้งในสังคม   2. การขึ้นราคาก๊าซ NGV เป็นธรรมกับประชาชนหรือไม่ ?     บริษัท ปตท จำกัด(มหาชน) ได้ประชาสัมพันธ์ถึงต้นทุนที่แท้จริงของ NGV อยู่ที่ 14.96 บาท/ กิโลกรัมการขาย NGV ในราคา 8.50 บาท/กิโลกรัม จึงทำให้ ปตท ขาดทุน และต้องการให้รัฐบาลขึ้นราคา NGV   โครงสร้างราคา NGV ของ ปตท ต้นทุนเนื้อก๊าซ 8.39 บาท + ¬¬¬ค่าบริหารจัดการและขนส่ง 5.56 บาท + ภาษีมูลค่าเพิ่ม,ภาษีค่าการตลาด 1.01 บาท  รวม 14.96 บาท/กิโลกรัม   2.1 ต้นทุนเนื้อก๊าซ 8.39 บาท เป็นราคาที่สูงเกินจริง? โฆษณาของ ปตท. ระบุว่า “ต้นทุนเนื้อก๊าซที่ 8.39 บาท/ ก.ก. เป็นราคาเดียวกับที่ขายให้โรงไฟฟ้า” แต่ ปตท. ไม่เคยสดงข้อมูลต่อสาธารณะเลยว่า ราคาเนื้อก๊าซที่ ปตท. ซื้อจากปากหลุมก๊าซในอ่าวไทยนั้นราคาเท่าไหร่?  ซึ่งถือว่าเป็นต้นทุนที่แท้จริงโดยตรง คณะอนุกรรมาธิการเสริมสร้างธรรมาภิบาลด้านพลังงาน ในคณะกรรมาธิการศึกษา ตรวจสอบเรื่องการทุจริต และเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา พบข้อมูลว่า ปตท. ซื้อก๊าซจากปากหลุมก๊าซในอ่าวไทย ในราคาต่ำกว่าราคาตลาดโลกเกือบ 45-50% เช่น ในปี 2551 ราคาก๊าซธรรมชาติในตลาดสหรัฐ  ที่แหล่ง Henry Hub อยู่ที่ 8.79 เหรียญสหรัฐ/ล้านบีทียู แต่ราคาปากหลุมก๊าซในอ่าวไทย ปตท.ซื้ออยู่เพียง 4.85 เหรียญสหรัฐ/ล้านบีทียู (รายละเอียดตามตารางด้านล่าง) ปัจจุบัน (ตุลาคม 2554)  ราคาก๊าซธรรมชาติตลาดโลกถูกลงอย่างมาก ในแหล่ง Henry Hub ราคาอยู่ที่ 3.63 เหรียญสหรัฐ/ล้านบีทียูหรือเท่ากับ 4 บาท/กิโลกรัมเท่านั้น (คิดเทียบจากค่าความร้อน NGV จาก ปตท = 35,947 บีทียู/ก.ก.) ข้อมูลดังกล่าว เป็นข้อมูลที่รัฐบาลและ ปตท. ไม่มีการเปิดเผยต่อสาธารณชน ดังนั้น ประชาชนจึงต้องตั้งคำถามกับ รมต.พลังงานและรัฐบาลว่า ได้เคยตรวจสอบหรือไม่ว่า ปตท. มีต้นทุนค่าซื้อก๊าซจากปากหลุมในอ่าวไทยในราคา 2 บาท/กิโลกรัม จริงหรือไม่ ถ้าใช่ย่อมแสดงว่า ราคาเนื้อก๊าซ 8.39 บาท/กิโลกรัม ที่ ปตท. โฆษณาประชาสัมพันธ์และนำไปเสนอขอปรับขึ้นราคากับรัฐบาลนั้น ย่อมเป็นข้อมูลที่เป็นเท็จ และสูงกว่าราคาต้นทุนที่แท้จริงถึง 4 เท่าตัว 2.2 ต้นทุนปั๊ม NGV และค่าขนส่ง 5.56 บาท/กิโลกรัม  ต้นทุนที่สะท้อนถึงความไร้ประสิทธิภาพของ ปตท ? ก๊าซธรรมชาติที่ประเทศไทยผลิตได้ ส่วนใหญ่ใช้โดยตรงเป็นเชื้อเพลิงสำหรับผลิตกระแสไฟฟ้าในโรงไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(ปตท.)และโรงไฟฟ้าเอกชน และเมื่อนำไปอัดใส่ถังด้วยความดันสูงสามารถนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์ได้ (NGV) เนื่องจาก NGV เป็นก๊าซที่มีคุณสมบัติเบากว่าอากาศ และมีน้ำหนักเบากว่า LPG หลายเท่าตัวจึงมีแรงดันมหาศาล การขนส่งไปให้ถึงสถานีบริการอย่างปลอดภัยจึงเป็นปัญหาสำคัญ เพราะ NGV ไม่สามารถบรรจุลงถังเหล็กขนาดใหญ่แบบรถบรรทุกก๊าซ LPG ได้ จึงต้องใช้วิธีส่งตามท่อส่งก๊าซหรือบรรจุลงในถังก๊าซที่มีความแข็งแรงทนทานเป็นพิเศษเท่านั้น และจะมีสถานีบริการ NGV ทำหน้าที่จ่ายก๊าซ NGV ให้กับผู้ใช้รถยนต์ NGV ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2554 มีสถานีบริการ NGV จำนวน 453 สถานี จำหน่ายก๊าซ NGV 6,895 ตันต่อวัน และ สถานีบริการ NGV ที่มีอยู่แบ่งได้ 2 ลักษณะ คือ สถานีบริการ NGV แนวท่อส่งก๊าซฯ และสถานีบริการ NGV นอกแนวท่อส่งก๊าซฯ ข้อมูลจาก ปตท ณ วันที่ 30 กันยายน 2554 พบว่า มีสถานีบริการ NGV แนวท่อส่งก๊าซฯ เพียง 104 แห่งทั่วประเทศ (มีการใช้งานอยู่เพียงร้อยละ 54 ของกำลังการผลิตเท่านั้น)  ดังนั้นจึงมีสถานีบริการ NGV นอกแนวท่อส่งก๊าซฯมากถึงเกือบ 350 สถานี การตั้งสถานีบริการ NGV นอกแนวท่อส่งก๊าซฯ จำนวนมาก เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการขาดทุนของก๊าซ NGV เนื่องจากสถานีบริการ NGV นอกแนวท่อฯ ส่วนใหญ่ตั้งอยู่บริเวณใกล้ชุมชนที่ไม่มีแนวท่อก๊าซธรรมชาติผ่าน จึงต้องพึ่งพารถบรรทุกพ่วง(Trailer) ขนส่ง NGV จากสถานีจ่ายก๊าซฯ หลัก ซึ่งการขนส่ง NGV ในแต่ละเที่ยวจะขนส่งในสถานะที่เป็นก๊าซจึงบรรจุได้ในปริมาณน้อย มีระยะเวลาที่ใช้ในการขนส่งนาน มีค่าใช้จ่ายที่สูง ทำให้สถานีบริการ NGV นอกแนวท่อฯ นี้มีปริมาณ NGV สำหรับบริการแก่ผู้ใช้รถ NGV ไม่ต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงที่ความต้องการใช้สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ และผู้ใช้ NGV จะต้องรอจนกว่ารถ Trailer รอบถัดไปจะมาถึง สถานีบริการ NGV แนวท่อฯ เป็นสถานีฯ ที่ตั้งอยู่ตามแนวท่อส่งก๊าซฯ ซึ่งรับก๊าซธรรมชาติจากท่อส่งก๊าซฯ โดยตรง และสามารถจำหน่ายให้กับผู้ใช้รถ NGV ได้โดยตรง ดังนั้น สถานีบริการฯ ประเภทนี้จึงไม่ต้งพึ่งพารถ Trailer ในการขนส่ง NGV ทำให้ไม่มีข้อจำกัดเรื่องความต่อเนื่องของปริมาณก๊าซฯ สำหรับให้บริการผู้ใช้รถ NGV จึงได้รับความสะดวกในการเติม NGV ที่สถานีบริการ NGVตามแนวท่อฯ ด้วยเหตุผลทั้งหมดนี้ สถานีบริการ NGV จึงควรจะอยู่ตามแนวท่อส่งก๊าซ ซึ่งจะทำให้ไม่ต้องมีการบริหารสินค้าคงคลัง(Inventory) และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการขนส่งทางรถบรรทุก เพราะก๊าซถูกส่งไปตามแนวท่ออยู่แล้ว แต่หากเพิ่มสถานีบริการ NGV นอกแนวท่อฯให้มีมากขึ้น ต้นทุนของค่าขนส่งก็จะสูงตามไปด้วย แทนที่ ปตท. จะแก้ปัญหาด้วยการเพิ่มสถานีบริการ NGV  แนวท่อฯ ให้มากขึ้น กลับแก้ปัญหาด้วยการปรับขึ้นราคาผลักภาระมาให้ผู้ใช้ก๊าซ NGV แทน จึงไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาที่ถูกต้องและไม่เป็นธรรมกับผู้ใช้รถยนต์ NGV ทั้งหมดเป็นอย่างยิ่ง เมื่อคิดเทียบต้นทุนค่าปั๊ม ค่าขนส่งก๊าซที่ ปตท. แสดงอยู่ที่ 5.56 บาท/กิโลกรัม (ซึ่งไม่ควรจะสูงขนาดนี้หากเป็นสถานีบริการ NGV แนวท่อฯ) รวมกับราคาเนื้อก๊าซ NGV ที่ ปตท ใส่เข้ามาอีก 8.39 บาท/กิโลกรัม จะพบว่าต้นทุนค่าปั๊มและค่าขนส่งก๊าซมีสัดส่วนสูงถึง 40% ของราคาก๊าซทั้งหมดที่ยังไม่รวมภาษี แต่หากคิดเทียบจากต้นทุนราคาเนื้อก๊าซที่แท้จริงซึ่งซื้อจากหลุมก๊าซในอ่าวไทยที่ 2 บาท/กิโลกรัม จะพบข้อมูลที่น่าตกใจยิ่งกว่าว่า สัดส่วนของต้นทุนค่าปั๊ม ค่าขนส่งสูงถึง 73% ของราคาก๊าซทั้งหมดยังไม่รวมภาษี ใครที่ทำธุรกิจคงรู้ดีว่า...ถ้าต้นทุนค่าขนส่งมีสัดส่วนสูงขนาดนี้ หากไม่มีวิธีแก้ไขทางอื่น การเลิกทำธุรกิจน่าจะเป็นความคิดที่ดีที่สุด เพราะธุรกิจทั่วไปไม่สามารถผลักภาระขนาดนี้มาให้กับผู้บริโภคได้อย่างแน่นอน   3. การขึ้นราคาก๊าซ LPG เป็นธรรมกับประชาชนหรือไม่ ? ก๊าซ LPG เป็นก๊าซที่ผลิตได้จากโรงแยกก๊าซธรรมชาติและโรงกลั่นน้ำมัน โดยการนำเอาก๊าซโพรเพนกับก๊าซบิวเทนซึ่งเป็นส่วนประกอบของก๊าซธรรมชาติมาผสมกัน อัดใส่ถังก็จะเป็นก๊าซปิโตรเลียมเหลว (Liquefied Petroleum Gas - LPG) หรือที่เรียกว่า ก๊าซหุงต้ม สามารถนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในครัวเรือน เชื้อเพลิงของรถยนต์ และนำไปใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมบางประเภทได้อีกด้วย ความจริงที่ควรรู้คือ รถยนต์ LPG ไม่ใช่ต้นเหตุที่ทำให้ก๊าซ LPG ขาด และต้องเสียเงินนำเข้า จึงไม่ใช่เหตุผลที่รัฐบาลจะใช้เพื่อการปรับขึ้นราคา LPG ในปี 2553 ประเทศไทยสามารถผลิตก๊าซ LPG ได้ 4.4 ล้านตัน พบว่าภาคครัวเรือนใช้อยู่ที่ 2.4 ล้านตัน และรถยนต์ใช้ 6.8 แสนตัน รวมแล้วเท่ากับ 3.1 ล้านตันเท่านั้น ยังเหลือให้ภาคอุตสาหกรรมได้ใช้ถึง 1.3 ล้านตันโดยไม่ต้องนำเข้า สาเหตุสำคัญที่ทำให้ก๊าซ LPG ไม่พอเพียง เป็นเพราะกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมีซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นกลุ่มบริษัทในเครือของ ปตท. มีการใช้ LPG ในปริมาณที่สูงมากขึ้นอย่างต่อเนื่องจนทำให้ LPG ที่ผลิตได้ในประเทศไม่เพียงพอ ในปี 2551-2553 การใช้ก๊าซ LPG ของกลุ่ม อุตสาหกรรมปิโตรเคมีอยู่ที่ 9 แสนตัน , 1.28 ล้านตัน และ 1.59  ล้านตัน เรียงตามลำดับ เป็นปริมาณการใช้ที่เพิ่มสูงขึ้นโดยตลอด แม้แต่ข้อมูลที่กระทรวงพลังงานเสนอต่อที่ประชุม กพช. เพื่อขอปรับราคา LPG ที่ผ่านมา ยังแสดงให้เห็นว่า ภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมีมีสัดส่วนการใช้ LPG สูงเพิ่มขึ้นถึงเกือบ 68% ของปริมาณที่ประชาชนทั้งประเทศใช้ นี่จึงเป็นสาเหตุแท้จริงที่ทำให้ก๊าซ LPG ไม่เพียงพอ และเกิดภาระ การชดเชยจากการนำเข้าจาก ต่างประเทศ ตั้งแต่เดือนเมษายน 2551 – กันยายน 2554 คิดเป็นเงินประมาณ 57,339 ล้านบาท แทนที่รัฐบาลจะไปจัดเก็บเงินค่าก๊าซกับกลุ่มปิโตรเคมีเพิ่มขึ้น กลับกำหนดให้อุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่ใช้ก๊าซเป็นวัตถุดิบ ส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ เพียงกิโลกรัมละ 1 บาทเท่านั้น ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่ใช้ก๊าซ LPG ต้องจ่ายเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมัน ในอัตรากิโลกรัมละ 8 - 11 บาท (ในช่วงปี 2555 เป็นต้นไป) และยังผลักภาระมาให้ประชาชนด้วยการขึ้นราคา LPG อีก   ที่มา: สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน ข้อขี้แจงของ ปตท. ต่อกรณีต้นทุนราคาก๊าซเอ็นจีวี ปตท. ยืนยันว่าต้องปรับราคาก๊าซเอ็นจีวีขึ้นตามแผนที่วางไว้ เนื่องจากราคาก๊าซเอ็นจีวีที่ 8.50 บาท ต่อกิโลกรัม ต่ำกว่าต้นทุนมาก โดยราคากลางที่สถาบันปิโตรเลียมทำการศึกษาอยู่ที่ 15 บาท ต่อกิโลกรัม ซึ่งการที่ภาครัฐอุดหนุนราคามาโดยตลอดเป็นการบิดเบือนกลไกราคา ไม่สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง ทำให้ขณะนี้มีประชาชนออกรถใหม่ที่ใช้เอ็นจีวีเป็นเชื้อเพลิงมาวิ่งบนท้องถนนเพิ่มถึงวันละ 300 คัน ซึ่งสุดท้ายจะมาแย่งการเติมก๊าซเอ็นจีวีจากรถบรรทุกและรถขนส่ง ซึ่งหากปล่อยให้สถานการณ์เป็นเช่นนี้ จะทำให้ก๊าซเอ็นจีวีขาดแคลน และ ปตท.ต้องนำเข้าเพิ่มขึ้น และหากไม่ขึ้นราคาก็ต้องเข้าไปอุดหนุน โดยที่ผ่านมาตลอด 9 ปี ปตท. ขาดทุนสะสมแล้วกว่า 40,000 ล้านบาท การนำราคาก๊าซแอลเอ็นจีในสหรัฐฯมาอ้างอิงกับราคาของปตท. และพบว่าราคาที่สหรัฐฯถูกกว่า นั้น เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง ไม่สามารถมาอ้างอิงได้ เนื่องจากเป็นคนละแหล่งกับที่ ปตท.นำเข้า ซึ่ง ปตท.นำเข้ามาจากพม่า จีน และยังต้องมีต้นทุนค่าขนส่งในระดับสูง นอกจากนี้ราคาก๊าซที่สหรัฐฯ ต่ำ เนื่องจากเป็นนโยบายภายในประเทศของรัฐบาลสหรัฐฯ นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด มหาชน   ต่อกรณีต้นทุนราคาก๊าซแอลพีจี ปตท. บริษัทที่กำลังจะถูกแปรรูปอีกครั้งได้ชี้แจงถึงราคาต้นทุกก๊าซแอลพีจีว่า  การคำนวณราคาก๊าซที่ทำโดยสถาบันปิโตรเลียม ซึ่งได้ประมาณการต้นทุนราคาแอลพีจีแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ  ต้นทุนโรงแยกก๊าซอยู่ที่ 14.10 บาท กิโลกรัม มีราคาขายปลีกจะอยู่ที่ 21.80 บาท กิโลกรัมซึ่งรัฐบาลยังไม่ได้ให้เงินชดเชยราคาก๊าซส่วนนี้ ทำให้ผู้ผลิตต้องรับภาระ 3.50 บาท กิโลกรัม หรือ 612 ล้านบาทต่อเดือน ส่วนที่สองต้นทุนโรงกลั่นอยู่ที่ 23.33บาท กิโลกรัม ซึ่งรัฐบาลจ่ายเงินชดเชย 12.88 บาท กิโลกรัม หรือ 955ล้านบาท/เดือน ส่วนที่สามคือ ต้นทุนการนำเข้าอยู่ที่ 29.28บาท กิโลกรัม ซึ่งรัฐบาลจ่ายชดเชย 19.22บาท กิโลกรัม หรือ 2,153 ล้านบาทต่อเดือน และจากโครงสร้างราคาก๊าซแอลพีจี และขอยืนยันว่าราคาขายปลีกก๊าซแอลพีจีปัจจุบันยังต่ำกว่าต้นทุนที่แท้จริงอยู่มาก และปัจจุบันรัฐบาลต้องนำเงินจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมาชดเชยการนำเข้าก๊าซแอลพีจีถึง 2 หมื่น 6 พันล้านบาท และชดเชยราคาให้โรงกลั่นน้ำมันอีก 1หมื่นล้านบาท นายวัชระ คุณาวัฒนาวุฒิ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ฝ่ายวางแผนหน่วยธุรกิจก๊าซ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) )   โครงสร้างราคาที่อิงประโยชน์ผู้ขาย โครงสร้างราคาก๊าซแอลพีจีกับเอ็นจีวียึดราคาที่ต่างกัน ขณะที่แอลพีจีไปยึดราคาตลาดโลกแต่เอ็นจีวียึดตลาดในประเทศ นอกจากนี้ยังพบว่าลูกค้ารายใหญ่ที่ซื้อก๊าซแอลพีจีคือการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ต้องซื้อก๊าซในราคาที่สูงกว่าสหรัฐอเมริกาถึง 4 เท่าตัว  เมื่อราคาแอลพีจีสูงก็ไปยึดหลักอิงตามราคาตลาดโลก หลักอิงนี้จะได้ประโยชน์ต่อผู้ขายอย่างเดียว แต่เมื่อเป็นก๊าซเอ็นจีวีราคาตลาดโลกต่ำกว่า 3-4 เท่า เราไม่อิงตลาดเขาแต่ยึดตลาดในประเทศ (แสดงว่าจะใช้ราคาอะไรก็ได้ใช่หรือไม่)   นางสาวรสนา โตสิตระกูล ส.ว.กทม. รายชื่อผู้ถือหุ้นใหญ่10 อันดับแรกของ ปตท. ณ วันที่ 9 กันยายน 2554 ลําดับที่ รายชื่อ จํานวนหุน รอยละของจํานวน หุนทั้งหมด 1. กระทรวงการคลัง 1,459,885,575 51.145 2. กองทุนรวม วายุภักษ หนึ่ง โดย บลจ. เอ็มเอฟซี จํากัด (มหาชน) 217,900,000 7.634 3. กองทุนรวม วายุภักษ หนึ่ง โดย บลจ. กรุงไทย จํากั ด (มหาชน) 217,900,000 7.634 4. บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร จํากัด 88,919,503 3.115 5. CHASE NOMINEES LIMITED 42 72,840,201 2.552 6. HSBC (SINGAPORE) NOMINEES PTE LTD 57,254,742 2.006 7. STATE STREET BANK AND TRUST COMPANY 41,235,271 1.445 8. NORTRUST NOMINEES LTD 31,371,462 1.099 9. สํานักงานประกันสังคม (2 กรณี) 25,794,700 0.904 10. STATE STREET BANK EUROPE LIMITED ที่มา http://ptt-th.listedcompany.com/shareholdings.html   กําไรและที่มาของรายได้ของปตท.วิเคราะห ผลการดําเนินงาน แยกตามกลุมธุรกิจ ป กําไรกอนหัก ดอกเบี้ยและ ภาษี (ลานบาท) กําไรก่อนหัก ภาษีและดอก เบี้ย หนวยธุรกิจ กาซธรรมชาติ (ลานบาท) กําไรจาก ธุรกิจการ สํารวจ และผลิต ปโตรเลี่ยม (ปตท สผ) (ลานบาท) กําไร (ขาดทุน) จากธุรกิจ น้ำมัน (ลานบาท) จากการคา ระหวางประเทศ (ลานบาท) คาใชจายในการบริหาร (ลานบาท) คาตอบแทน กรรมการ (ลานบาท) กําไรสุทธิทั้งป (ลานบาท) กําไรตอหุน(บาท) 2551 109,882.83 48,505 74,643 (1,720) 4,310 18,190 389 66,535 18 2552 102,004.71 32,921 51,570 9,000 2,016 22,322 508 68,690 21 2553 139,037.13 37,617 64,348 9,402 2,338 24,196 697 99,930 29 2554 ถึง ก.ย. 54 137,367.382 เกาเดือนแรก 21,052 465 101,772 มค-กย 54 31 อ้างอิงจาก รายงาน 56-1 ประจําปี 2553 หน้า 306 , 311 รอบปีงบประมาณ 2554 (1 ต.ค. 2553 - 30 ก.ย. 2554) ปตท.ใช้งบประมาณว่าจ้างหน่วยงาน องค์กรเอกชน โฆษณาประชาสัมพันธ์โครงการและกิจกรรมต่างๆ รวม 44 รายการ วงเงินรวม 651.1 ล้านบาท เมื่อเทียบกับงบประมาณ 2553 ปตท.ได้ใช้เงินประชาสัมพันธ์ ผ่านบริษัทต่างๆ 34 รายการ รวมเม็ดเงิน 687.2 ล้านบาท รวม 2 ปี ปตท.หว่านเม็ดเงินเพื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์สูงเกือบ 1,400 ล้านบาท

อ่านเพิ่มเติม >