ฉบับที่ 148 คำถามสำคัญก่อนที่จะซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

คำถามที่ผู้เขียนได้รับเป็นประจำเกี่ยวกับโภชนาการสำหรับนักวิ่ง และนักออกกำลังกายต่างๆ   ไม่น้อยไปกว่ารายละเอียดการบริโภคเมนูอาหารธรรมชาติที่เป็นประโยชน์  ก็คือ “อาหารเสริม  หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารตัวนั้น , ตัวนี้   เป็นประโยชน์จริงหรือไม่?” ถือผู้ถามอยากรู้ว่า   ถ้ามีประโยชน์จริง   จะได้ซื้อกิน   จึงอยากถามความเห็นผู้เขียน ในแง่มุมของผู้เขียน   การที่ผู้ถามเลือกที่จะถามเรา   รู้สึกตัวเองเป็นตรายาง  รับประกันผลิตภัณฑ์   ถ้าพูดอย่างไรไป  หรือตอบไปในทิศทางไหน   อาจถูกตำหนิได้ง่ายๆ  จากช่องโหว่ของคำแนะนำ   ที่เกิดขึ้นได้ไม่ยาก ทั้งๆ ที่ใครก็ตามที่จะสามารถกล่าวคำแนะนำอย่างนี้ได้   ต้องเข้าถึงองค์ความรู้รอบด้าน   ไม่เพียงแต่ต้องติดตามรับรู้ผลวิจัยโภชนาการและเภสัชวิทยาใหม่ๆ เท่านั้น   แต่ยังต้องติดตามกระแสสังคม  และไหวทันเล่ห์กลของบริษัทการค้าให้ทันด้วย ที่ผมยอมรับว่า   สุดวิสัยที่จะทำได้   มันเป็นการยากมากที่ผู้บริโภคปัจเจก หรือ  Exercises Instructor  คนหนึ่งที่มีเครื่องมือแค่อินเตอร์เน็ต  จะไปติดตามความเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้หากินกับผลิตภัณฑ์คาบเกี่ยวระหว่างสุขภาพและผลประโยชน์เหล่านี้   ที่มีแหล่งทุนมหาศาลจ้างทีมงาน  ทั้งเภสัช   ทั้งแพทย์   และเครื่องไม้เครื่องมืออย่างห้องแล็บที่เป็นของตัวเอง   ตลอดจนนักจิตวิทยาการค้า  Creators   และนักภาษาศาสตร์ กับถ้อยคำชี้นำให้เกิดความสำคัญผิดในสาระสำคัญ   โดยปราศจากข้อที่จะเอาผิดได้ทางด้านกฎหมาย   แต่เราแน่ใจได้อยู่อย่างว่า   ผลิตภัณฑ์เหล่านี้  แต่เดิม มุ่งเป้าหมายผู้ที่อยู่ใต้ระดับโภชนาการมาตรฐาน   ปัจจุบัน   ได้เบนเข็มมุ่งเป้าหมายชนชั้นที่ใฝ่ใจสุขภาพและประชาคมออกกำลังกาย ค่าที่ว่าพวกเขาวิจัยออกมาแล้วว่ากลุ่มเป้าหมายใดที่น่าจะเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่มีอำนาจซื้อสูง   และพวกเรานักออกกำลังกายจึงถูกผลิตภัณฑ์จากบริษัทเหล่านี้  มองกระเป๋าสตางค์  ตาเป็นมัน เนื่องจากธรรมชาติอีกอย่างหนึ่ง   ของกลุ่มผู้ออกกำลัง ก็คือ   เป็นกลุ่มผู้มีแนวโน้มมีระดับการศึกษาเฉลี่ยกลางค่อนข้างสูง  และฐานะทางการเงินก็เป็นเช่นเดียวกัน   จึงมีความจำเป็นจะต้องใช้ผลวิจัยออกมาเป็นเหยื่อล่อให้เกิดความน่าเชื่อถือ  จะได้แหวกกระเป๋าสตางค์สำเร็จ บ่อยครั้งที่แม้จะเป็นความจริงทางวิทยาศาสตร์   จะเป็นเช่นที่บริษัทการค้ากล่าว   แต่ในทางปฏิบัติในระดับของการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์   มันกลับไกลจากผลลัพธ์ด้านคุณที่ตั้งความปรารถนาไว้ตั้งแต่ต้นอย่างลิบลับจนมองไม่เห็นเลย   หรือไม่ก็ได้รับน้อยมากๆๆๆๆ แทนที่ผู้เขียนจะตอบคำถามเหล่านี้ทีละราย   อธิบายผลิตภัณฑ์ทีละตัว   ผู้ถามต่างหากควรจะหาคำตอบเอาเองจากคำถามที่ผมตั้งไว้  ดังต่อไปนี้ 1   มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ใดบ้างกล่าวถึงประเด็นที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์? 2   มีการศึกษาที่เป็นวิทยาศาสตร์ใดบ้าง?   ที่สอดคล้องกับคำโฆษณา 3  โดยใคร?.......สถาบันที่บริษัทอ้างถึงนั้น   มีความน่าเชื่อถือทางสาธารณะขนาดไหน?     เป็นเพียงสถาบันที่มีแต่ชื่อหรูๆ  หรือผ่านควอลิฟายด์จากใคร? 4  นักวิจัยเหล่านั้นดำรงสภาพผลประโยชน์ทางการเงินหรือผลประโยชน์แลกเปลี่ยนกับบริษัทหรือไม่? 5  ผลงานวิจัยที่กล่าวอ้างมา  เราจะเชื่อเลยโดยอัตโนมัติเลยหรือ?   โดยเราจะเอาเครื่องมือใดตรวจสอบ   ผลงานวิจัยเหล่านั้นถูกตีพิมพ์ที่ไหน? 6  ผลวิจัยเหล่านั้นมีเนื้อหารายงานฉบับเต็มๆ   ไม่ใช่บางส่วนว่าอย่างไร 7   มีผลวิจัยอื่นคัดค้าน หรือ แสดงผลลัพธ์ไปคนละทิศละทางกับผลิตภัณฑ์ที่บริษัทกล่าวอ้างหรือไม่?    และจากสถาบันใดที่มีควอลิฟายด์เช่นกัน 8  เหล่าผู้เชี่ยวชาญในสาขาที่เป็นประเด็นนี้   มีความเห็นเช่นไร 9  ใครคือผู้เชี่ยวชาญ  และใครเรียกเขาว่า  “ผู้เชี่ยวชาญ” จะบอกอะไรให้ครับ   ธรรมชาติอย่างหนึ่งของผู้เชี่ยวชาญคือ  มีความขัดแย้งกันเองมาก  เห็นกันไปคนละทาง  อันเป็นลักษณะปัญญาชน  อยู่ที่เรารู้จักเลือกพิจารณา 10  ที่สำคัญผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้  มีผลประโยชน์ติดปลายนวม  ในทางไม่เปิดเผยกับผลิตภัณฑ์หรือไม่? 11  ถ้าคำกล่าวอ้างโฆษณาจากผลิตภัณฑ์เหล่านั้นเป็นความจริง   น่าสนใจว่า   ก่อนหน้าที่ผลิตภัณฑ์จากมานำเสนอ   ถามว่า  ทำไมเรายังดำเนินสภาพความเป็นปกติสุขได้ในชีวิตความเป็นอยู่  ในการออกกำลังกาย   โดยไม่ได้รับอันตรายใดๆ   ตรงกันข้าม   ความผิดปกติต่างๆถูกนำมาขยายจนเราเห็นภาพน่ากลัว  จูงใจให้เปลี่ยนพฤติกรรมภายหลังจากที่เราพบตัวแทนขาย ความสามารถที่จะมีชีวิตอยู่ที่ดี  ไม่เพียงแต่ต้องอาศัยสุขภาพที่ดีเท่านั้น   แต่ยังต้องยึดกุมเงื่อนไขให้รอบคอบ  อย่างมีบุคลิกตรวจตรา  ใส่ใจ  และกลั่นกรองอีกด้วย

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 181 ระวังผลิตภัณฑ์กำจัดเห็บหมัด เถื่อน

สิ่งมีชีวิตเล็กๆ ที่คอยดูดเลือดและแฝงตัวอยู่กับน้องหมาอย่างเห็บหมัด ล้วนเป็นสิ่งที่ผู้เลี้ยงน้องหมาทุกคนไม่อยากเจอ ทำให้มีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ใช้กำจัดเห็บหมัดอย่างกว้างขวาง ซึ่งเราจะแน่ใจได้อย่างไรว่ายาดังกล่าวจะทำให้เห็บหมัดหายไป หรือมีความปลอดภัยต่อน้องหมาและเราจริงๆเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อผู้ร้องได้เห็นข่าวจากกองควบคุมอาหารและยาสัตว์ ที่ออกมาเตือนถึงผลิตภัณฑ์กำจัดเห็บหมัดเถื่อน ซึ่งสามารถทำให้เกิดอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงได้ เขาจึงต้องการให้ศูนย์พิทักษ์สิทธิ์ช่วยเป็นอีกหนึ่งในผู้เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้รับมาตรฐานดังกล่าว ซึ่งทางนิตยสารฉลาดซื้อเห็นว่า น่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้รักสัตว์ทั้งหลาย จึงค้นข้อมูลเพื่อนำมาเผยแพร่ต่อไปแนวทางการแก้ไขปัญหาภายหลังได้รับเรื่องศูนย์ฯ ก็ได้หาข้อมูลเพิ่มเติม และพบข่าวการแจ้งเตือนดังกล่าวว่า นายสัตวแพทย์อยุทธ์ หรินทรานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ เตือนผู้เลี้ยงสัตว์อย่าหลงเชื่อผู้ผลิตหรือผู้ขายยาสัตว์อวดอ้างสรรพคุณ เพราะใช้แล้วอาจมีพิษต่อตับ ไต ระบบประสาท และการทำงานของหลอดเลือดหัวใจ อาจทำให้สัตว์เลี้ยงของท่านพิการและตายได้ ซึ่งหากร้านใดมีการขายยาสัตว์จะต้องได้รับใบอนุญาต หากฝ่าฝืนก็จะมีโทษทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้สำหรับหลักการเบื้องต้นในการสังเกตว่าผลิตภัณฑ์กำจัดเห็บหมัดยี่ห้อไหนได้รับมาตรฐาน เราสามารถตรวจสอบได้ดังนี้ 1. ยาแท้ต้องมีชื่อยา: โดยมีทั้งชื่อทางการค้า (ยี่ห้อ) และชื่อสามัญทางยาหรือสารออกฤทธิ์สำคัญ2. ยาแท้ต้องมีเลขทะเบียนยา: โดยจะสังเกตเห็นข้อความว่าทะเบียนยา เลขทะเบียนยา หรือ Reg. No. หรือเลขทะเบียนวัตถุอันตราย ซึ่งจะสังเกตเห็นข้อความ “อย. วอส.” ในกรอบสัญลักษณ์เช่น วอส. 1266/25543. ยาแท้ต้องระบุปริมาณ: หรือขนาดบรรจุของยา เช่น มียากี่เม็ด มียากี่หลอด และแต่ละหลอดบรรจุปริมาณเท่าใด เป็นต้น4. ยาแท้ต้องระบุเลขที่ผลิต: หรืออักษรแสดงครั้งที่ผลิต หรือครั้งที่วิเคราะห์ ซึ่งมักใช้คำย่อเป็นภาษาอังกฤษ เช่น Lot No. Cont. No. หรือ Batch No. แล้วตามด้วยเลขแสดงครั้งที่ผลิต5. ยาแท้ต้องมีการระบุวันเดือนปีที่ผลิต: ซึ่งจะใช้อักษรย่อว่า Mfd. หรือ Mfd. Date ตามด้วยวันเดือนปีที่ผลิต และระบุวันเดือนปีที่หมดอายุ โดยมีคำย่อว่า Exp. Date แล้วตามด้วยวันเดือนปีที่หมดอายุ6. ยาแท้ต้องมีชื่อและสถานที่ผู้ผลิต: มีชื่อและสถานที่ผู้นำเข้ามาจำหน่ายระบุไว้อย่างละเอียดด้วย7. ยาแท้ต้องมีวิธีใช้: รวมถึงคำเตือน ข้อควรระวังและวิธีการเก็บรักษา ระบุไว้อย่างชัดเจน8. หากเป็นยาพิเศษจะมีข้อความระบุด้วยอักษรสีแดงชัดเจน: เช่น ยาสำหรับสัตว์ ยาอันตราย ยาควบคุมพิเศษ ยาใช้ภายนอก ยาใช้เฉพาะที่ แล้วแต่ว่าจะเป็นยาอะไรนอกจากนี้ยังมีหลัก 5 สอ เพื่อป้องกันพิษภัยจากยาฆ่าเห็บหมัดในสุนัข คือ1. ศึกษา: ควรศึกษาผลิตภัณฑ์ก่อนใช้ทุกครั้ง โดยอ่านจากเอกสารกำกับยาหรือฉลากยา ซึ่งภายในนั้นจะชี้แจงรายละเอียดให้ทั้งหมด2. สอบถาม: ควรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากสัตวแพทย์หรือผู้รู้ให้ดีก่อนนำยามาใช้ อย่าเชื่อจากคำบอกเล่าโดยไม่มีข้อมูลอ้างอิงทางวิชาการ3. สวมใส่: ควรสวมถุงมือและหน้ากากเพื่อป้องกันการรับสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย ส่วนตัวน้องหมาให้สวมปลอกคอกันเลียหรือสวมเสื้อไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้เลียสารพิษเข้าสู่ร่างกาย4. สัมผัส: หลักเลี่ยงการสัมผัสลูบคลำตัวน้องหมาที่เพิ่งใส่ยา หยอดยา ทายา หรือพ่นยาตามตัวมา ที่สำคัญควรเก็บยาที่เหลือใช้ให้พ้นมือเด็ก5. สังเกต: ให้สังเกตอาการน้องหมาหลังได้รับยาด้วยว่า มีอาการแพ้หรือเกิดผลข้างเคียงจากยาที่ใช้หรือไม่ ถ้ามีให้รีบปฐมพยาบาล แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาลต่อไปอ้างอิงข้อมูล: กรมปศุสัตว์ http://secretary.dld.go.th/index.php/informationdld/newsdld/1491-19-12-58 และ Doglike.com/สังคมอบอุ่นของน้องหมาสุดรัก

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 110 แพ้ผลิตภัณฑ์ของยูนิซิตี้

“ที่ยูนิซิตี้ ไทยแลนด์ เราทำให้ ชีวิตดีขึ้น ด้วยการช่วยเหลือคนให้ ดูดีขึ้น รู้สึกดีขึ้น และมี ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น"เป็นคำโฆษณาสวยหรู ที่ธุรกิจขายตรงผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอย่าง บริษัท ยูนิซิตี้ มาร์เก็ตติ้ง(ไทยแลนด์) ซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกสมาคมขายตรงไทย นำมาใช้รับประกันสร้างความมั่นใจให้กับสมาชิกขายตรงและลูกค้าของตนแต่สำหรับนันทาลูกค้าที่หลงซื้อผลิตภัณฑ์ “เอนจูวิเนทพลัส” ของยูนิซิตี้ในราคากระปุกละ 4,950 บาทจากสมาชิกขายตรงมารับประทานกลับไม่รู้สึกดีขึ้นเหมือนคำโฆษณานั้นแต่อย่างไร“ดิฉันมีปัญหาเรื่องริ้วรอยตีนกา ตัวแทนจำหน่ายยูนิซิตี้บอกกับดิฉันว่าทานเอนจูวิเนทพลัส ริ้วรอยตีนกาที่ดิฉันมีอยู่จะหายภายในหนึ่งเดือน คือทานหนึ่งกระปุกค่ะ เขาบอกว่าถ้าไม่ได้ผลยูนิซิตี้รับประกันยินดีคืนเงินเต็มจำนวน 4,950 บาท”นันทาตกลงซื้อเอนจูวิเนทพลัสมาทาน แต่ทานไปได้แค่หนึ่งอาทิตย์ก็ต้องรีบกดโทรศัพท์ไปสอบถามกับตัวแทนเพราะเกิดอาการข้างเคียง คือเวลาทานผลิตภัณฑ์ตัวนี้แล้วจะมีอาการคอแห้ง หูอื้อ แสบร้อนที่ตาและยุบยิบตามข้างกระพุ้งแก้ม“อุ๊ยตาคุณพี่ขา นั่นแหละค่ะมันเริ่มได้ผลแล้วนะคะ ทานต่อไปเลยค่ะ ทานให้หมดกระปุก” สมาชิกขายตรงฉอเลาะ “คุณน้องคะ แต่พี่ไม่ไหวแล้วค่ะ มันยุบยิบ ๆ ไปหมดทั้งหน้าทั้งตา พี่ไม่ทานต่อแล้วนะคะขอคืนสินค้าแล้วก็เงินคืนด้วยค่ะ”“ไม่ได้นะคะคุณพี่ อย่างนี้มันผิดเงื่อนไข คุณพี่ต้องทานให้หมดก่อนนะคะ บริษัทถึงจะคืนเงินให้คุณพี่ได้”เพราะความอยากได้เงินเกือบห้าพันบาทคืน นันทาจึงต้องกล้ำกลืนฝืนทนทานผลิตภัณฑ์ดังกล่าวต่อไปจนกว่าจะหมดกระปุก แต่เมื่อทานทุกครั้งอาการข้างเคียง คอแห้ง แสบร้อนที่ตา หูอื้อ และยุบยิบที่ข้างกระพุ้งแก้มก็ไม่ได้ลดหย่อนผ่อนหายลงไปอดทนทานจดหมดกระปุกครบเวลาหนึ่งเดือนตามสัญญา นันทาส่องกระจกตรวจดูริ้วรอยตีนกาบนใบหน้า“มันยังอยู่กันครบเลยค่ะ เคยมีกี่ริ้วกี่รอยก็ยังอยู่เหมือนเดิม”“คุณน้องขา เห็นหน้าพี่อย่างนี้แล้วคุณน้องจะคืนเงินให้พี่ได้หรือยังคะ”“ใจเย็น ๆ ค่ะคุณพี่มันต้องรอดูผลสักพัก ลูกค้าคนอื่นเขาทานแล้วหน้าใสปิ๊งหลายรายค่ะ แต่ให้มั่นใจหนูแนะนำให้พี่ซื้อให้ครบ 3 กระปุกเลยค่ะ”นันทาโกรธสุดๆ ไม่คุณพี่ไม่คุณน้องกันแล้ว แหม...ใช้ไม่ได้ผลแล้วยังจะด้านขายของกันอีก จึงยื่นคำขาดไปที่ตัวแทนและบริษัทให้คืนเงินค่าสินค้าและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลในท้ายที่สุดแนวทางแก้ไขปัญหาสิ่งที่ผู้บริโภคควรรู้คือ การขายผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีการโฆษณาสรรพคุณว่าสามารถรักษา หรือบำบัดอาการต่างๆ ได้เหมือนยานั้นเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย และผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไม่มีความน่าเชื่อถือและไม่ควรซื้อมาใช้หรือมารับประทานเป็นอย่างยิ่งปัญหาหน้าเหี่ยวหน้าย่นมีปัจจัยหลายอย่างเกี่ยวข้อง อาทิ เรื่องของวัย สภาพอารมณ์ สภาพการทำงานหรือการพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ ซึ่งผลิตภัณฑ์หรือยาวิเศษที่ดีที่สุดทีได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในวงการทางการแพทย์ปัจจุบันคือ การทานอาหารให้ครบห้าหมู่ การออกกำลังกายที่เหมาะสม การทำจิตใจให้เบิกบานและการพักผ่อนที่เพียงพอ นั่นเองสำหรับความเสียหายที่คุณนันทาได้รับนั้น สามารถเรียกร้องให้ผู้ประกอบธุรกิจชดใช้ค่าเสียหายได้ ทั้งราคาค่าสินค้า เงินค่ารักษาพยาบาล รวมไปถึงความเสียหายทางด้านจิตใจ ดังนั้นธุกริจขายตรงถ้าไม่อยากโดนข้อหาหลอกขายสินค้าแก่ผู้บริโภค จึงควรแสดงความรับผิดชอบโดยการจ่ายชดเชยความเสียหายแก่ผู้บริโภคโดยเร็วที่สุด

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 171 ประสิทธิภาพเครื่องปั่นและเครื่องบดไฟฟ้า

เครื่องปั่นอาหาร หรือเบลนเดอร์ เป็นอุปกรณ์เครื่องครัวที่จำเป็นพอสมควร เพราะเป็นเครื่องทุ่นแรงชั้นดีของคุณแม่บ้าน พ่อบ้านที่ชมชอบการทำอาหาร  ด้วยความสามารถในการปั่นอาหารให้เป็นชิ้นเล็กละเอียด แทนการสับด้วยมีด ซึ่งต้องออกแรงมาก และใช้ทำน้ำผลไม้ปั่น (ปั่นรวมกับน้ำแข็ง) หรือสมูทตี้ได้อีกด้วย             ในตลาดบ้านเราก็มีผลิตภัณฑ์เครื่องปั่น เครื่องบดไฟฟ้า อยู่หลายยี่ห้อ ฉลาดซื้อจึงเลือกซื้อผลิตภัณฑ์จำนวน 9 ตัวอย่าง ซึ่งเลือกซื้อจากห้างสรรพสินค้าและห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ ส่งให้เครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค ได้ทดสอบในเรื่องประสิทธิภาพ การปั่นและการบด จากผลการทดสอบมีรุ่นที่แนะนำอยู่สองตัว ติดตามได้ในหน้าถัดไป                         ฉลาดซื้อแนะ 1.      เครื่องปั่น Philips รุ่น HR 2115 และ 7 Otto รุ่น BE-126 ได้คะแนนการทดสอบรวม เกินครึ่ง คือ 12 คะแนน และ 11 คะแนนตามลำดับ (จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน) 2.      จากการทดสอบการใช้งานของเครื่องปั่นและเครื่องบด สามารถสรุปได้ว่า เครื่องปั่นที่ผ่านการทดสอบ ทุกการทดสอบ คือ Otto รุ่น BE-126 เป็นเครื่องปั่นอเนกประสงค์ที่สามารถปั่นและบดได้ 3.      ในการปั่นน้ำผลไม้ ที่ต้องใช้น้ำแข็งก้อน แนะนำเครื่องปั่น Philips รุ่น HR 2115 4.      ในการใช้เครื่องปั่นและเครื่องบด นั้น โดยทั่วไป ในการปั่นผักผลไม้ และการบดเนื้อ ผู้บริโภคสามารถตัดหรือ ซอย ผัก ผลไม้ และเนื้อให้มีขนาดเล็กลงได้ ซึ่งจะทำให้ความสามารถในการปั่นหรือบด เพิ่มขึ้น แน่นอนว่า ก็เป็นภาระที่ยุ่งยาก และเพิ่มขึ้นอีกด้วยเช่นกัน ยิ่งกำลังไฟฟ้า มีขนาดเล็กเท่าไหร่ ผู้บริโภคก็มีภาระในการ ตัดและ ซอย ให้มีขนาดเล็กลง เพิ่มมากขึ้น เพื่อให้ได้ความละเอียดในการปั่นและบดเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับ เครื่องปั่นที่มีกำลังไฟฟ้าสูงกว่า แต่อย่างไร ก็ตามจากผลการทดสอบจะเห็นว่า เครื่องปั่นที่มีกำลังสูงสุดในการทดสอบครั้งนี้ ก็ไม่ได้เป็นสิ่งที่ประกันว่า ความสามารถในการปั่นและการบด จะสูงขึ้นตามกำลังไฟฟ้าที่ระบุไว้   ข้อสังเกต ผลการทดสอบปั่นน้ำแข็ง Philips รุ่น HR 2115 สามารถปั่นน้ำแข็งก้อน ได้ละเอียดมากที่สุด(คะแนน ดีมาก) รองลงมาคือ Electrolux รุ่น CRUZO Serie EBR 2601 SHARP รุ่น EM-ICE POWER และ Panasonic รุ่น  MX-900 M สามารถปั่นน้ำแข็งก้อน ได้ละเอียดมาก(คะแนน ดี) ส่วน Otto รุ่น BE-126 และ Tefal  รุ่น BL 233 สามารถปั่นน้ำแข็งก้อน ได้(คะแนน ผ่านการทดสอบ) สำหรับ HW รุ่น CH1  และ Tefal  รุ่น BL 3001 ไม่สามารถปั่นก้อนน้ำแข็งให้ละเอียดได้เลย และเป็นที่น่าสังเกตว่า กำลังไฟฟ้าของเครื่องปั่น HW รุ่น CH1  ที่มีกำลังสูงสุด คือ 750 วัตต์ ตามที่ระบุไว้นั้น ไม่ได้มีผลต่อความสามารถในการปั่นน้ำแข็ง เมื่อเปรียบเทียบกับเครื่องปั่นที่มีกำลังไฟฟ้าต่ำกว่า และหากพิจารณาถึงความดังของเครื่องปั่น ในการปั่นน้ำแข็ง จะเห็นว่า Philips AJ SHARP และ Panasonic   มีเสียงดังเกินกว่า 90 เดซิเบล ซึ่งเป็นระดับความดังที่ค่อนข้างสูง   ข้อสังเกต ผลการทดสอบปั่นแครอท การทดสอบนี้ ไม่มีเครื่องปั่นหมายเลขใดเลยที่สามารถปั่นแครอท ให้หมดชิ้นได้ ซึ่งคณะผู้ทดสอบจึงให้คะแนนเพียงแค่ผ่านการทดสอบหรือไม่ผ่านการทดสอบ เท่านั้น เครื่องปั่นที่ผ่านการทดสอบได้แก่ Philips รุ่น HR 2115  Electrolux รุ่น CRUZO Serie EBR 2601 HW รุ่น CH1   และ  Otto รุ่น BE-126 (คะแนนผ่านการทดสอบ) นอกนั้นไม่ผ่านการทดสอบ   ข้อสังเกต ผลการทดสอบปั่นสับปะรด เครื่องปั่น SHARP รุ่น EM-ICE POWER   Panasonic  รุ่น  MX-900 M และ  Tefal  รุ่น BL 233 สามารถปั่นได้ละเอียดมากที่สุด (คะแนน ดีมาก) เครื่องปั่น HW รุ่น CH1  และ  Otto รุ่น BE-126 สามารถปั่นได้ละเอียดพอสมควร (คะแนน ผ่านการทดสอบ) ส่วนเครื่องปั่นที่เหลือ ไม่สามารถปั่นได้เลย ชิ้นงานสับปะรดติดคาใบมีด (ดูรูปที่ 1 ประกอบ)   ข้อสังเกต ผลการทดสอบบดหนังหมู เครื่องบด Philips รุ่น HR 2115 AJ รุ่น BL 001 HW รุ่น CH1  และ Otto รุ่น BE-126 สามารถบดได้ละเอียดมากที่สุด (คะแนน ดีมาก) ส่วนเครื่องบดรุ่นที่เหลือ ไม่สามารถบดได้ละเอียดซึ่งจะเห็นชิ้นของหนังหมู คงอยู่เป็นชิ้นใหญ่ (คะแนน ไม่ผ่าน)

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 176 BB Cream หน้าสวยเนียนใสในหลอดเดียว...แล้วเราจะซื้อหลอดไหน?

ก่อนที่สมาชิกทั้งสาวเล็กสาวใหญ่จะน้อยใจเพราะฉลาดซื้อว่างเว้นจากการนำเสนอผลทดสอบผลิตภัณฑ์ความงามมาพักใหญ่ เรารีบเอาใจคุณด้วยผลทดสอบ Beauty Balm หรือ Blemish Balm หรือ บีบีครีม แถมด้วย Color Correcting Cream หรือ ซีซีครีมด้วย แรกเริ่มเดิมที บีบีครีมถูกพัฒนาขึ้นโดยแพทย์ผิวหนังในเยอรมนีสำหรับคนไข้ที่เข้ารับการรักษาด้วยเลเซอร์ ต่อมาครีมนี้ได้รับความนิยมอย่างสูงด้วยกระแสในประเทศเกาหลี ที่ทำให้มันเป็นที่รู้จักกันไปทั่วเอเชีย แล้วย้อนกลับไปฮิตในยุโรปและอเมริกาในที่สุด  ผลิตภัณฑ์นี้เป็นที่นิยมเพราะมัน (เคลมว่า) ทำได้หลายอย่างในเวลาเดียวกัน ตั้งแต่บำรุงผิว ปรับสภาพผิวก่อนแต่งหน้า รองพื้น ปกปิดจุดด่างดำ และป้องกันแดด ฉบับนี้เรานำเสนอบีบีครีมและซีซีครีมจำนวน 24 ผลิตภัณฑ์ ที่มีขายในประเทศไทยทั้งตามเคานท์เตอร์และที่นิยมสั่งซื้อทางอินเตอร์เน็ท จากทั้งหมด 34 ผลิตภัณฑ์ที่สมาชิกขององค์กรทดสอบระหว่างประเทศ (International Consumer Research & Testing) ได้ส่งไปทดสอบยังห้องปฏิบัติการ Institutes Dr. Schrader ในเยอรมนี คะแนนที่ให้นั้นเน้นคุณสมบัติในการบำรุงผิวให้ชุ่มชื้นเป็นหลัก (เพราะสามารถตรวจวัดได้ด้วยเครื่องมือในห้องปฏิบัติการ) รวมถึงคุณสมบัติในการป้องกันแสงแดด และป้องกันรังสี UVA ส่วนที่เหลือเป็นเรื่องของความพึงพอใจของอาสาสมัครที่ทดลองใช้โดยไม่ทราบชื่อผลิตภัณฑ์ มาดูกันเลยดีกว่า ว่าคุณควรเลือกตัวไหนไว้เติมคอลเลคชั่นเมคอัพ นี่เป็นอีกครั้งที่เราพบว่าราคาแพงอาจไม่รับรองคุณภาพหรือความพึงพอใจเสมอไป และเนื่องจากทีมทดสอบเขาหักคะแนนครีมที่มีส่วนประกอบที่อาจก่ออาการแพ้หรือมีสารรบกวนฮอร์โมนด้วย จึงทำให้ครีมบางตัวได้คะแนนรวมน้อย แม้จะได้คะแนนด้านคุณสมบัติและความพึงพอใจของผู้ใช้มากก็ตาม     เครื่องสำอางก็ “เจ” ได้นะ     ในขณะที่เครื่องสำอางจากต่างประเทศที่จะมาวางตลาดในประเทศจีนจะต้องส่งตัวอย่างให้ทางการจีนทดสอบกับสัตว์เช่น หนู หรือกระต่าย เพื่อรับรองว่าจะไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ ในหลายๆประเทศได้ประกาศห้ามการกระทำดังกล่าว (เช่นกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป อินเดีย และอิสราเอล) อีกหลายประเทศยังที่ไม่มีการบังคับแต่ก็ไม่ได้ห้ามการทดสอบดังกล่าว แต่เรามักเห็นป้าย “ไม่ทดลองกับสัตว์” ที่ดูเหมือนเป็นจุดขายของเครื่องสำอางหลายแบรนด์ ทั้งนี้เพราะมีเทคโนโลยีใหม่ๆที่ทำให้สามารถทดสอบได้โดยไม่ต้องเบียดเบียนสัตว์อีกต่อไป (เช่น การคำนวณด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การใช้ตัวอย่างเนื้อเยื่อหรือเซลล์ที่มีผู้บริจาคให้ หรือแม้แต่การใช้อาสาสมัคร เป็นต้น)   ถ้าอยากมั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ที่คุณเลือก “เจ” จริงๆ ให้สังเกตตราสัญลักษณ์จากองค์กรเหล่านี้:  Choose Cruelty Free   The Leaping Bunny และ PETA เป็นต้น หรือไม่ก็มองหาฉลากที่ระบุว่าไม่ทดลองกับสัตว์ "not tested on animals" หรือ "against animal testing" บนกล่องก็ได้เช่นกัน                                  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 147 เพราะคุณไม่คู่ควร

ฉลาดซื้อฉบับนี้ขอพาคุณย่ำยุโรปเพื่อสังเกตการณ์การทดสอบหาสารเคมีรบกวนฮอร์โมน ที่เป็นส่วนประกอบของเครื่องสำอางยอดนิยมของคนแถวนั้นดูบ้าง โครงการนี้เป็นความร่วมมือขององค์กรผู้บริโภคในยุโรป European Environment and Health Initiative (EEHI) และองค์กรทดสอบสากล (International Consumer Research & Testing) เขาอยากรู้ว่าในบรรดาสารเคมีต่างๆที่เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางนั้น ความจริงแล้วมีในปริมาณเท่าใด แต่ละตัวเกินเกณฑ์มาตรฐานหรือไม่ และถ้าคิดรวมๆกันแล้วผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดมีสารที่เพิ่มความเสี่ยงให้กับผู้บริโภคในปริมาณเท่าใด ผลทดสอบที่ได้จะเป็นข้อมูลสนับสนุนข้อเรียกร้องให้คณะกรรมาธิการยุโรป ทบทวนนโยบายการจัดการกับสารรบกวนฮอร์โมนและการนำมาใช้ในเครื่องสำอางนั่นเอง งานนี้ใช้ต้นทุนในการทดสอบ (ค่าซื้อสินค้าและค่าห้องปฏิบัติการ) ไปถึง 45,500 ยูโร (ประมาณ 1,700,000 บาท) การทดสอบครั้งนี้ดำเนินการระหว่างเดือนสิงหาคม 2555 ถึง เดือนกุมภาพันธ์ 2556 โดยเก็บตัวอย่างจากเครื่องสำอางขายดีในอังกฤษ ฝรั่งเศส เดนมาร์ก และสวิตเซอร์แลนด์ รวมทั้งหมด 66 ผลิตภัณฑ์ซึ่งประกอบด้วยแชมพู ครีมอาบน้ำ สบู่ ยาสีฟัน ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นตัว ครีมทาหน้า ครีมทาผิว รองพื้น ยาทาเล็บ ลิปสติก ครีมกันแดด ทีมทดสอบเลือกผลิตภัณฑ์สำหรับผู้หญิงเป็นหลัก เพราะผู้หญิงมีแนวโน้มจะใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้บ่อยครั้งกว่าและยังมีความเสี่ยงจากการใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ในช่วงตั้งครรภ์ด้วย -------------------------------------------------------------------------------------------------   โดยเฉลี่ยแล้ว ผู้บริโภคใช้เครื่องสำอางวันละ 10 - 20 ชนิด แต่ละผลิตภัณฑ์ก็ประกอบขึ้นด้วยส่วนผสมของสารเคมีจำนวนไม่น้อย แม้จะมีหลักฐานเพิ่มขึ้นว่าการได้รับสารเคมีบางตัวอย่างต่อเนื่องอาจทำให้ระบบการทำงานของต่อมไร้ท่อถูกรบกวน  แต่ทุกวันนี้ยังไม่งานวิจัยว่าด้วยผลกระทบต่อสุขภาพหรือต่อสิ่งแวดล้อมจากการได้รับสารเคมีเหล่านี้เข้าไปพร้อมๆกัน อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน นั่นหมายความว่า แม้ผลิตภัณฑ์ชนิดนั้นจะมีสารเคมีรบกวนฮอร์โมนแต่ละตัวในปริมาณที่ไม่เกินกฎหมายกำหนด แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะปลอดภัย 100% ------------------------------------------------------------------------------------------------- ตัวอย่างสารเคมีที่มีหลักฐานยืนยันว่าส่งผลต่อการทำงานของฮอร์โมน คุณสมบัติ 1. ไซโคลเตตราไซโลเซน (ซิลิโคน) เป็นตัวทำละลาย ปรับสภาพผิว/ผม 2. โพรพิลพาราเบน สารกันเสีย 3. บิวทิลพาราเบน สารกันเสีย 4. ไอโซโพรพิลพาราเบน สารกันเสีย 5. ไอโซบิวทิลพาราเบน สารกันเสีย 6. บิวทิล ไฮโดรไซยานิโซล (BHA) สารต้านอนุมูลอิสระ 7. เอททิลเฮ็กซิล เมทโทไซซินนาเมท สารกรอง/ดูดซับรังสียูวี 8. เบนโซฟีโนน-1 สารกรอง/ดูดซับรังสียูวี 9. เบนโซฟีโนน-2 สารกรอง/ดูดซับรังสียูวี 10. เบนโซฟีโนน-3 สารกรอง/ดูดซับรังสียูวี 11. เบนโซฟีโนน-4 สารกรอง/ดูดซับรังสียูวี 12. ไตรโคลซาน สารกันเสีย/ดับกลิ่น หมายเหตุ: เอททิลพาราเบน และ เมททิลพาราเบน กฎหมายกำหนดให้ใช้ในปริมาณต่ำมาก จึงไม่น่าจะเป็นอันตราย ผลทดสอบในภาพรวม ย้ำอีกทีว่า สารรบกวนฮอร์โมนไม่ได้มีอยู่ในเครื่องสำอางทุกชนิด เพราะฉะนั้นผู้หญิงไม่จำเป็นต้องหยุดสวย แต่ต้องไม่ลืมเรายังมีความเสี่ยงที่จะได้รับสารรบกวนฮอร์โมนจากแหล่งอื่นรอบๆตัวได้อีก ในการทดสอบผลิตภัณฑ์ทั้ง 66 ผลิตภัณฑ์นั้น ไม่พบผลิตภัณฑ์ที่มีสารเคมีรบกวนฮอร์โมนในปริมาณที่เกินกว่ากฎหมายของยุโรปกำหนดเลย แต่จากการทดสอบและคำนวณปริมาณการใช้เฉลี่ยในแต่ละวันของผู้บริโภค (ซึ่งใช้ผลิตภัณฑ์วันละมากกว่าหนึ่งชนิด) พบว่ามีความเป็นไปได้ที่ร่างกายจะได้รับสารเคมีดังกล่าวมากพอที่จะส่งผลรบกวนฮอร์โมนในร่างกายได้  โดยสารที่ต้องระวังให้มากคือ เอททิลเฮ็กซิล เมทโทไซซินนาเมท และโพรพิลพาราเบน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณสาวๆที่ใช้ทั้งเครื่องสำอางร่วมกับครีมกันแดด สารที่พบมากที่สุดได้แก่ เมททิลพาราเบน ซึ่งพบใน 40 ผลิตภัณฑ์ ตามด้วยโพรพิลพาราเบน ใน 38 ผลิตภัณฑ์ ในขณะที่สารเคมียอดฮิตอันดับ 3 และ 4 ได้แก่ ฟีโนซีเอทานอล และ บีเอชที (BHT)  ในขณะที่ไตรโคลซานดูเหมือนจะได้รับความนิยมน้อยลง พบเพียงใน 2 ผลิตภัณฑ์เท่านั้น เราพบสารเคมีที่อยู่ผิดที่ผิดทางด้วยเช่นกัน เช่น สารกรองแสงยูวี  เอททิลเฮ็กซิล เมทโทไซซินนาเมท พบใน 18 ผลิตภัณฑ์ (ซึ่งในนั้นมีสบู่ และโรลออนด้วย) แต่ที่น่าสนใจคือผลิตภัณฑ์ที่ใช้สารนี้มากที่สุดกลับเป็นครีมบำรุงผิวหน้า ไม่ใช่ครีมกันแดด บางครั้งเราพบสารเคมีที่ไม่ได้ระบุไว้บนฉลาก เช่น พบฟีโนซีเอทานอล ใน Dettol nettoyant savon liquide pour les mains และ  Nivea Diamond Touch และพบบิวทิลพาราเบนใน Max factor ageless elixir 2 in 1  และบางครั้งก็ไม่พบสารที่ระบุไว้บนฉลาก เป็นต้น รองพื้น ครีมทาผิวกาย และครีมบำรุงผิวหน้า เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีสารดังกล่าวหลายตัวด้วยกันเป็นส่วนประกอบ รองพื้นและครีมบำรุงผิวหน้า มักจะมีทั้งสารกันเสียและสารกรองรังสียูวี ที่เป็นสารรบกวนฮอร์โมน -------------------------------------------------------------------------------------------------   ห้ามรบกวน DO NOT DISTURB! แม้ฮอร์โมนจะเป็นสิ่งที่ร่างกายต้องการและผลิตขึ้นในปริมาณเพียงน้อยนิด (บางครั้งเพียง 1 ส่วนใน 1,000,000 ส่วน เท่านั้น) แต่มันมีหน้าที่อันยิ่งใหญ่ในการรักษาสมดุลทางเคมีที่ละเอียดอ่อนมากๆ ในร่างกาย จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องไม่มีอะไรไปรบกวนมัน แต่โชคร้ายที่เราถูกแวดล้อมด้วยสารเคมีหลายตัวที่ผ่านการพิสูจน์แล้วว่ามีผลต่อการทำงานของต่อมไร้ท่อ บางตัวอาจส่งผลกระทบต่อร่างกายได้แม้จะได้รับเพียงปริมาณเล็กน้อย ที่สำคัญคือมีหลักฐานว่าการได้รับสารดังกล่าวในวัยเด็ก (ซึ่งเป็นช่วงที่ร่างกายกำลังเกิดพัฒนาการ) แม้ในปริมาณไม่มากก็อาจทำให้เกิดผลเสียร้ายแรงได้ และผลของสารรบกวนฮอร์โมนสามารถถูกถ่ายทอดจากพ่อแม่ไปสู่รุ่นลูกได้ด้วย อันตรายของมันอาจไม่แสดงออกอย่างเฉียบพลัน แต่การได้รับสารดังกล่าวอาจทำให้เกิดปัญหาด้านการเรียนรู้ การพัฒนาสมอง ทำให้เด็กสมาธิสั้น มีความผิดปกติของร่างกาย เช่น แขน ขา  หรือการเบี่ยงเบนทางเพศ และการเกิดโรคมะเร็ง เป็นต้น ล่าสุดมีการศึกษาความสัมพันธ์ของการได้รับสารเหล่านี้กับการเกิดโรคอ้วน และโรคเบาหวานด้วย สารเหล่านี้ บางตัว “รบกวน” การทำงานของฮอร์โมน บางตัว “เลียนแบบ” ฮอร์โมน และบางตัวก็ “ขัดขวาง” การทำงานของฮอร์โมน บางตัวสามารถย่อยสลายไปเองอย่างรวดเร็วและชนิดที่ไม่ยอมสลายไปโดยง่าย และสารเหล่านี้ไม่ได้มีอยู่ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางเท่านั้น -------------------------------------------------------------------------------------------------   พาราเบนส์ในเครื่องสำอาง เมื่อ 3 ปีก่อน ฉลาดซื้อ ร่วมกับองค์กรผู้บริโภคประเทศอื่นๆ ในแถบเอเชียแปซิฟิกอีก 12 ประเทศ (มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม ศรีลังกา  อินเดีย บังคลาเทศ มองโกเลีย จีน เกาหลีใต้ อาร์เมเนีย ฟิจิ และออสเตรเลีย) ทำการสำรวจฉลากเพื่อดูส่วนประกอบของเครื่องสำอางที่มีขายในประเทศเหล่านั้น เราพบว่ามากกว่าร้อยละ 70 ของเครื่องสำอาง (ทั้งหมด 259 ตัวอย่าง) มีพาราเบนส์เป็นส่วนประกอบ ซึ่งพาราเบนส์เป็นสารที่องค์การอาหารและยาในประเทศต่างๆ อนุญาตให้ใช้ เพราะร่างกายสามารถกำจัดได้ ------------------------------------------------------------------------------------------------- ฉลาดซื้อ TIPS -     ในฐานะผู้บริโภค คุณมีสิทธิเลือกที่จะใช้ หรือไม่ใช้ ผลิตภัณฑ์ใดๆก็ได้ -         อย่าลืมให้ความสนใจเป็นพิเศษกับผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้ล้างออก เช่น ครีมทาผิว ครีมทาหน้า ฯลฯ -        ถ้าต้องการหลีกเลี่ยงสารรบกวนฮอร์โมน เลือกผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีโพรพิลพาราเบน (propylparaben) และบิวทิลพาราเบน (butylparaben) และถ้าคุณไม่ได้ต้องเผชิญแสงแดดก็ไม่จำเป็นต้องใช้ครีมบำรุงผิวหน้าหรือรองพื้นที่มีสารกรองแสง เป็นต้น -         หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ทาผิวหลายๆ ชนิดในวันเดียวกัน (เช่น ครีมกันแดด ครีมทาผิว ครีมบำรุงผิวหน้า) -         ถ้าไม่จำเป็นจริงๆ ไม่ควรนำผลิตภัณฑ์สำหรับผู้ใหญ่ไปใช้กับเด็ก -         แม้ผลิตภัณฑ์นั้นจะระบุว่า “ปราศจากสาร ..xx..” แต่เราก็ควรอ่านดูส่วนผสมให้ละเอียด เพราะอาจมีสารที่เราต้องการหลีกเลี่ยงอยู่ในรายการส่วนประกอบบนฉลากด้านหลังของผลิตภัณฑ์   ตัวอย่างของครีมทาผิวกาย ครีมบำรุงผิวหน้า และครีมรองพื้น ที่มีพาราเบนเป็นส่วนประกอบ (ตัวเลขที่แสดงมีหน่วยเป็นกรัม/กิโลกรัมของเอสเทอร์ของกรดเบนโซอิก) แต่ละผลิตภัณฑ์จะมีการใช้พาราเบนส์ร่วมกันมากกว่าหนึ่งตัวซึ่งเป็นเรื่องปกติ แต่ที่น่าสนใจคือบางครั้งผู้ผลิตก็ใช้ทั้งพาราเบนส์และสารทดแทนพาราเบนด้วย   Body Lotion Nivea Lait hydratant douceur - peaux très sèches - Smooth milk เมททิลพาราเบน               2.43 เอททิลพาราเบน             

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 93 ทดสอบประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์กันแดด

ฉลาดซื้อฉบับนี้มีผลทดสอบผลิตภัณฑ์กันแดดทั้งประเภทครีม โลชั่น และสเปรย์ ที่องค์กรทดสอบระหว่างประเทศ ICRT ได้ทำไว้เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา มาฝากผู้อ่านกัน แต่ต้องย้ำกันตรงนี้ว่าผลิตภัณฑ์ที่ทำการทดสอบเหล่านี้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีขายในยุโรป และส่งเข้าทดสอบโดยองค์กรผู้บริโภคในยุโรปนั่นเอง  การทดสอบครั้งนี้จุดประสงค์อยู่ที่การสำรวจว่าในบรรดาผลิตภัณฑ์ที่มีจำหน่ายอยู่ในท้องตลาดนั้น แท้จริงแล้วมีค่า SPF และประสิทธิภาพในการกันน้ำ ตามที่ได้แจ้งไว้บนฉลากหรือในโฆษณาหรือไม่ โดยมีอาสาสมัครเป็นผู้ลงทุนอุทิศแผ่นหลังเพื่อการทดสอบ ประมาณ 10 – 14 คน ต่อหนึ่งผลิตภัณฑ์ ในการทดสอบครั้งนี้มีผลิตภัณฑ์ที่ถูกส่งเข้าทดสอบทั้งหมด 55 ผลิตภัณฑ์ แต่เราขอนำมาลงเฉพาะแบรนด์ที่พอจะพบเห็นกันได้ในบ้านเราเพียง 15 ผลิตภัณฑ์ จากการทดสอบพบว่า•    ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่มีค่า SPF ใกล้เคียงกับที่แจ้งไว้บนฉลาก หรือไม่ก็มากกว่า (มีอยู่ 3 ผลิตภัณฑ์ที่เรานำเสนอในครั่งนี้ที่มีค่า SPF น้อยกว่าที่แจ้ง หนึ่งในนั้นมีไม่ถึงครึ่งของค่าที่แจ้งไว้ด้วย) •    ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ยังเหลือประสิทธิภาพในการกันแดด มากกว่าร้อยละ 50 หลังจากที่ผิวหนังสัมผัสกับน้ำ (เกณฑ์ที่ระบุไว้สำหรับผลิตภัณฑ์ที่สามารถระบุที่ฉลากว่ากันน้ำได้ คือร้อยละ 50)-----ฉลาดซื้อสำรวจ การใช้ผลิตภัณฑ์กันแดด•    ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ (ร้อยละ 84) เคยใช้ผลิตภัณฑ์กันแดด โดยเหตุผลที่ใช้คือ เพื่อป้องกันผิวเสีย ริ้วรอย และป้องกันปัญหาสุขภาพผิว•    เกือบร้อยละ 50 ใช้ผลิตภัณฑ์กันแดดทุกวัน ไม่ว่าสภาพอากาศจะเป็นอย่างไร•    มากกว่าร้อยละ 30 ของผู้บริโภคที่ตอบแบบสอบถาม ซื้อผลิตภัณฑ์กันแดดประมาณ 5 ครั้งต่อปี•    แต่ทั้งนี้ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 62) ยังคงมีความกังวลเกี่ยวกับอันตรายของสารเคมีในผลิตภัณฑ์กันแดด•    มีถึงร้อยละ 16 ที่เคยได้รับผลข้างเคียงจากผลิตภัณฑ์กันแดด และร้อยละ 94 ของผู้ที่เคยได้รับผลข้างเคียงเชื่อว่าสาเหตุคือสารเคมีในผลิตภัณฑ์  •    ร้อยละ 86.5 ของผู้ตอบแบบสอบถาม อ่านฉลากก่อนซื้อ•    ร้อยละ 87 เห็นด้วยว่าค่า SPF ในผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดจะแตกต่างกันไป ตามแต่ลักษณะการใช้ •    แหล่งข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์กันแดด อันดับหนึ่งได้แก่โฆษณาจากสื่อต่างๆ ตามด้วยเพื่อนหรือบุคคลใกล้ชิด•    ปัจจัยในการเลือกซื้ออันดับหนึ่งคือประสิทธิภาพในการป้องกันแดด ตามด้วยราคา และสภาพผิว(* สำรวจในช่วงเดือนกันยายนที่ผ่านมา ในเขตกรุงเทพมหานคร มีผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 100 คน เป็นผู้หญิง 60 คน ผู้ชาย 40 คน)•    ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดการณ์ว่าตลาดครีมกันแดดในประเทศไทยในปี 2551 จะมีมูลค่าประมาณ 750 ถึง800 ล้านบาท -----•    อย่าลืมอุปกรณ์ป้องกันแสงแดดใกล้ๆตัว แบบใช้แล้วใช้ซ้ำได้ เช่นเสื้อ กางเกงขายาว หมวก หรือแว่นกันแดด (ยอมรับกันเถอะพี่น้อง ว่าคนทั่วไปที่ไม่ใช่ดาราที่ต้องคอยระวังปาปารัซซี่แอบถ่าย ก็ใส่ได้)  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 58 ร้านยาไซเบอร์ มหันตภัยยุคออนไลน์

  ในขณะที่หลายคนยังงงสับสนอยู่ว่าทิศทางการขายยาตามรูปแบบกฎหมายยาฉบับใหม่จะไปทางไหน แพทย์จะขายยาได้อีกหรือเปล่า จะให้นั่งเขียนใบสั่งยาอย่างเดียวแล้วคลินิกที่เปิดจะอยู่ได้อย่างไร เภสัชกรจะวินิจฉัยโรคและสั่งยาได้เก่งกว่าแพทย์แค่ไหน ก็ปรากฏว่าโลกของการขายยาในยุคปัจจุบันไปไกลกว่าที่เราคาดถึงเสียแล้ว เมื่อร้านขายยาถูกยกระดับเป็นร้านขายยาไซเบอร์ขายกันทางออนไลน์ ซื้อขายกันได้ข้ามโลก คำถามคือว่ากฎหมายที่เรามีอยู่หรือแม้แต่กำลังจะออกมาใหม่จะคุ้มครองผู้บริโภคได้แค่ไหนกัน ...................................................ฉลาดซื้อฉบับนี้ได้ทำการรวบรวมข้อมูลของปัญหาที่เกิดขึ้นจากร้านขายยาทางอินเทอร์เน็ตที่เกิดขึ้นใน 2 ประเทศ หนึ่งคือสหรัฐอเมริกาเจ้าแห่งโลกออนไลน์และเจ้าแห่งบริโภคนิยม สองคือประเทศไทย ประเทศที่มีประชากรใช้ยาในปริมาณที่ประเทศใหญ่ ๆ อย่างสหรัฐอเมริกายังอายและกำลังเดินเข้าหาโลกออนไลน์อย่างไม่ครั่นคร้าม พฤติกรรมการซื้อการขายยาของทั้งสองประเทศอาจจะมีจุดแตกต่าง แต่เมื่อพิจารณาให้ดีก็จะเห็นแนวทางอันตรายที่มีแนวโน้มไปในทางเดียวกันมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งผู้มีหน้าที่ที่เกี่ยวข้องต้องขบคิดว่าจะจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างไร ในขณะที่ผู้บริโภคเองก็ต้องตระหนักให้ทันว่าร้านยาไซเบอร์คือความก้าวหน้าหรือมหันตภัยของชีวิตและสุขภาพของตัวเองกันแน่   เหตุเกิดที่ประเทศไทย ในปัจจุบันคนไทยมีความเสี่ยงที่จะได้รับยาด้อยคุณภาพอยู่แล้วในหลายลักษณะ เช่น ยาผิดมาตรฐาน ยาปลอม หรือยาเสื่อมคุณภาพ ทั้งจากทางบุคลากรทางการแพทย์ จากร้านขายยา หรือร้านขายของชำต่าง ๆ และเมื่อโลกออนไลน์สำหรับคนไทยขยายตัวกว้างขึ้น ใหญ่ขึ้น สภาพปัญหาที่เกิดจากการซื้อยาผ่านทางร้านยาอินเทอร์เน็ตก็มีมากขึ้นตามลำดับปัญหาที่เกิดจากการขายยาผ่านทางอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย มีการขายยาแผนปัจจุบัน ระบุชื่อการค้า และสรรพคุณ บางเว็บไซต์มีการโฆษณารูปภาพแสดงความทุกข์ทรมานและมีการลด แถม ให้ของสัมมนาคุณ มีการขายยาที่อ้างว่าเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ โดยขึ้นทะเบียนเป็นยาแผนโบราณและมีสรรพคุณเป็นยาบำรุง มีการขายยาโดยอ้างว่าเป็นการขายแบบธุรกิจสู่ธุรกิจ แต่ผู้บริโภคทั่วไปก็สามารถเข้าถึงได้โดยมีการขายยาอันตราย ยาควบคุมพิเศษ มีการโฆษณายาโดยบุคลากรวิชาชีพ ผู้ประกอบวิชาชีพใช้ชื่อของตนและอธิบายคุณประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ โดยระบุชื่อการค้า โดยเฉพาะการโฆษณายาเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ เหตุเกิดที่สหรัฐอเมริกา ในสหรัฐอเมริกาผู้บริโภคจำนวนหนึ่งได้เปลี่ยนพฤติกรรมการซื้อยาจากร้านยามาเป็นซื้อยาผ่านทางอินเทอร์เน็ต เว็บไซต์จำนวนนับร้อยมีบริการจำหน่ายยาโดยไม่ต้องใช้ใบสั่งแพทย์ ทั้งที่โดยกฎหมายของสหรัฐอเมริกาแล้ว ยาเหล่านี้จะขายให้แก่ผู้ป่วยได้จะต้องมีการตรวจวินิจฉัยโรคก่อนโดยแพทย์และจะต้องมีใบสั่งยา ปรากฏการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเพราะ ผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยมองไม่เห็นข้อเสียของการซื้อยาผ่านทางอินเทอร์เน็ตเปรียบเทียบกับวิธีเดิมที่ต้องไปพบแพทย์และไปรับยากับเภสัชกรที่ร้านยา เหตุผลที่สำคัญไม่แพ้กันที่ทำให้ผู้บริโภคหันไปใช้บริการร้านยาทางอินเทอร์เน็ตคือรู้สึกว่าได้รับความสะดวก ไม่ต้องเสียเวลา และให้ความเป็นส่วนตัว ทั้งยังคิดว่าน่าจะเชื่อถือได้เนื่องจากเว็บไซต์หลายแห่งมีการระบุ สถานที่ และที่ติดต่อให้ไว้ อย่างไรก็ดีปัญหาจากการซื้อยาผ่านทางอินเทอร์เน็ตก็มีแนวโน้มสูงขึ้นจนนำไปสู่การเรียกร้องให้ฝ่ายบริหารของรัฐบาลกลางของสหรัฐอเมริกาดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ปัญหาที่เกิดจากการซื้อยาผ่านทางอินเทอร์เน็ต การขายยาให้ผู้ป่วยโดยไม่ผ่านการตรวจวินิจฉัยโดยแพทย์ หรือการให้ผู้ป่วยกรอกแบบสอบถามแล้วจ่ายยาให้ การขายยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ รวมทั้งเครื่องมือตรวจวินิจฉัย และให้การบำบัดรักษาทางการแพทย์ที่โอ้อวดเกินจริง มีการขายยาบางชนิดที่เข้าข่ายวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทหรือสารเสพติด ลักษณะของร้านขายยาไซเบอร์Cybermedicine หรือ Cyberpharmacy เป็นชื่อที่ถูกใช้เรียกเว็บไซต์ขายยาในสหรัฐอเมริกา ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม 1.    PHARMACY BASED SITES เว็บไซต์ขายยากลุ่มนี้มีแบบแผนเช่นเดียวกับร้านยาปกติโดยทั่วไปเพียงแต่ย้ายมาตั้งบนเว็บไซต์ เว็บไซต์เหล่านี้จะขายยาให้แก่ผู้ป่วยที่มีใบสั่งแพทย์เท่านั้น ร้านขายยากลุ่มนี้จึงไม่ได้สร้างปัญหาในเรื่องความพยายามที่จะขายยา ปัญหาที่พบในทางกฎหมายจะเป็นในลักษณะที่บางเว็บไซต์ไม่มีใบอนุญาตจำหน่ายยาจากรัฐที่เว็บไซต์ดำเนินธุรกิจขายยาอยู่2.    PRESCRIBING BASED SITES ในสหรัฐอเมริกามีเว็บไซต์จำนวนนับพันแห่งที่มีแพทย์และเภสัชกรบริการให้คำแนะนำทางการแพทย์หรือให้ข้อมูลทางสุขภาพโดยไม่ได้จ่ายยาให้กับผู้ป่วยซึ่งนับเป็นเรื่องดี แต่กับ PRESCRIBING BASED SITES เว็บไซต์กลุ่มนี้จะให้ผู้ป่วยปรึกษากับแพทย์ทางอินเทอร์เน็ต (online doctor visit) โดยผู้ป่วยอาจจะตอบแบบสอบถามที่จัดไว้ให้ในเว็บไซต์ หรืออาจใช้รูปแบบของ Video Conference ระหว่างแพทย์กับผู้ป่วย คิดค่าบริการให้คำปรึกษาอยู่ระหว่าง 30 - 150 เหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 1,200 - 6,000 บาท) เมื่อให้คำปรึกษาแล้วแพทย์ก็จะสั่งจ่ายยาผ่านทางเว็บไซต์ขายยา หรือ online pharmacy ซึ่งอาจจะไม่เป็นที่เดียวกันกับที่ตั้งของแพทย์ผู้ให้คำปรึกษา แพทย์ ร้านยา และผู้ป่วยอาจจะอยู่กันคนละรัฐก็ได้ ข้อเสียสำคัญคือ เนื่องจากเว็บไซต์ขายยาระบบนี้จะให้ผู้ป่วยตอบแบบสอบถามผ่านเว็บไซต์เท่านั้น แพทย์จึงไม่ได้พบผู้ป่วยเพื่อตรวจร่างกาย และอาจจะไม่พบโรคของผู้ป่วยเพราะโรคบางโรคจะพบได้ก็จะต้องมีการตรวจร่างกาย การรับบริการผ่านทาง PRESCRIBING BASED SITES ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการที่แพทย์จะตรวจโรคได้ไม่ครอบคลุมทั่วถึง พฤติกรรมของเว็บไซต์ขายยากลุ่มนี้ก่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางในสหรัฐอเมริกาว่าเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสมละเมิดจริยธรรมและวิธีปฏิบัติของการประกอบวิชาชีพของแพทย์3. Online drug shop  เป็นร้านขายยาบนอินเทอร์เน็ตที่ผิดกฎหมายอย่างชัดเจน กลุ่มร้านยาออนไลน์เหล่านี้เน้นการขายยาอย่างเดียวไม่มีการตรวจร่างกาย ไม่มีการให้คำปรึกษาหรือแม้แต่การกรอกแบบสอบถามผู้ป่วย ยาที่ขายมีทั้งยาควบคุมพิเศษ , ยาอันตรายที่ต้องการใบสั่งแพทย์ และขายยาที่ไม่ผ่านการอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา ผู้ซื้อสามารถเลือกยาอะไรก็ได้ที่ต้องการโดยจ่ายเงินผ่านทางเครดิตการ์ด เว็บไซต์เหล่านี้ส่วนใหญ่จะอยู่นอกประเทศสหรัฐอเมริกาและสร้างปัญหาอย่างมากในการควบคุมให้เป็นไปตามกฎหมาย ผู้บริโภคที่ซื้อยาจากร้านยาไซเบอร์กลุ่มนี้มักไม่รู้ว่าร้านยาเหล่านี้กระทำการละเมิดกฎหมายโดยตรง รัฐบาลสหรัฐฯถือว่าเว็บไซต์ในกลุ่มนี้คือกลุ่มที่มีปัญหามากที่สุด เนื่องจากเว็บไซต์เหล่านี้ไม่เปิดเผยที่อยู่และมักจะตั้งอยู่นอกประเทศ ดังนั้นการจัดการทางกฎหมายเพื่อให้เว็บไซต์เหล่านี้หยุดขายยานับเป็นเรื่องยากมาก แม้จะมีการปิดเว็บไซต์เหล่านี้ได้แต่เพียงไม่กี่วันก็จะเปิดขึ้นใหม่อีกโดยใช้ชื่อหรือที่อยู่ที่แตกต่างไปจากเดิม ผลเสียจากการขายยาผ่านทางอินเทอร์เน็ต เป็นการทำลายระบบคุ้มครองสุขภาพที่ผู้ป่วยควรจะได้รับจากการให้บริการของแพทย์หรือเภสัชกร ผู้ป่วยอาจได้รับอันตรายจากยาที่ได้รับ เนื่องจากไม่มีการตรวจสอบของเภสัชกรในระหว่างการจ่ายยา ยาจากเว็บไซต์ที่ไม่ระบุสถานที่แน่นอน อาจเป็นยาปลอม อาจมีสารปนเปื้อนที่เป็นอันตราย เป็นยาที่หมดอายุ หรือไม่ได้มาตรฐาน การซื้อยาผ่านทางอินเตอร์เน็ตทำให้ผู้ป่วยอาจไม่ได้รับการวินิจฉัยอย่างถูกต้อง และไม่น่าจะได้รับยาที่ถูกต้องตรงตามโรค   เว็บไซต์ขายผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ควรหลีกเลี่ยง โลกออนไลน์เป็นโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การหวังว่าจะได้รับการคุ้มครองเป็นอย่างดีจากมาตรการต่าง ๆ ของรัฐคงจะเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยากและอาจจะช้าเกินการณ์ การหมั่นศึกษาหาความรู้อยู่ตลอดเวลาจึงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับผู้บริโภคในยุคออนไลน์ ในที่นี้ฉลาดซื้อขออนุญาตแนะนำหลักในการพิจารณาเว็บไซต์ขายยารวมถึงผลิตภัณฑ์สุขภาพอื่น ๆ ที่ควรหลีกเลี่ยงเพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของท่าน เว็บไซต์ที่ไม่ให้ความสำคัญกับการพบแพทย์เพื่อการตรวจวินิจฉัยโรค เว็บไซต์ขายยาที่ไม่ได้รับการอนุมัติจาก อย. หรือพยายามเชื่อมโยงให้ซื้อยาขากเว็บไซต์อื่น เว็บไซต์ที่มีแต่เพียงเบอร์โทรศัพท์ ชื่อบุคคลสมมติ ไม่มีที่อยู่ที่เป็นหลักแหล่งแสดงไว้อย่างชัดเจน เว็บไซต์ที่ขายผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ใช่ยา แต่อวดอ้างสรรพคุณรักษาโรคต่าง ๆ ได้มากมายข้อมูลจาก"สถานการณ์ แนวโน้ม และการแก้ไขปัญหาการขายยาผ่านทางอินเทอร์เน็ตในสหรัฐอเมริกา" โดย ภก.ดร.วิทยา  กุลสมบูรณ์ หน่วยปฏิบัติการวิจัยเภสัชศาสตร์สังคม คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 184 ผลิตภัณฑ์ช็อกโกแลตแบรนด์ปนเปื้อนสารก่อมะเร็ง จาก foodwatch

จากกรณีข่าว องค์กรเอกชนในเยอรมัน (foodwatch.org) ชี้ผลิตภัณฑ์ช็อกโกแลตแบรนด์ดังปนเปื้อนสารก่อมะเร็ง  ที่สำนักข่าวต่างๆได้ลงไปนั้นทางนิตยสารฉลาดซื้อขอนำผลทดสอบทั้งหมด มาลงไว้ให้เป็นข้อมูล ทั้งนี้ท่านสามารถกดโหลดข้อมูล ฉบับเต็มของแหล่งข้อมูลได้ที่นี่ครับ >>>> 2016-07-04_Mineraloele_in_Schokolade_und_Chips.pdf

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 183 อาหารเม็ดสำหรับแมวโตเต็มวัย

ได้เวลาเอาใจคนรักสัตว์กันแล้ว คราวนี้ฉลาดซื้อมีผลทดสอบเปรียบเทียบอาหารสำเร็จรูปแบบแห้งสำหรับแมว ที่องค์กรทดสอบระหว่างประเทศทำร่วมกับห้องปฏิบัติการของสถาบันสัตวแพทย์แห่งชาติสวีเดน (http://www.sva.se/en)  อาหารเหล่านี้ทั้งยี่ห้อที่วางตัวเป็นผลิตภัณฑ์ (และราคา) พรีเมียม และยี่ห้อธรรมดาทั่วไป ต่างก็อวดอ้างสรรพคุณทางโภชนาการกันทั้งนั้น ถึงเวลาต้องรู้ให้ได้ว่าสูตรใครดีที่สุดสำหรับแมวของเราแล้วสิ่งที่ตรวจหาในการเปรียบเทียบคุณภาพอาหารแมวครั้งนี้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม: 1.    กลุ่มที่ควรมีให้น้อยเข้าไว้ ได้แก่ ไมโคทอกซิน T-2 และ HT-2 เนื่องจากสารเหล่านี้อาจเป็นอันตรายต่อแมว สหภาพยุโรปจึงกำหนดให้มีได้ไม่เกิน 50 ไมโครกรัม/กิโลกรัมในอาหารแมว ซึ่งยี่ห้อ Best Friend Bilanx มีมากถึง 180 ไมโครกรัม/กิโลกรัมไฟเบอร์ ซึ่งไม่จำต้องมีก็ได้เพราะแมวเป็นสัตว์กินเนื้อ หากตรวจพบมากกว่าร้อยละ 1 หมายความว่าผู้ผลิตอาจใส่เพิ่มลงไปเพื่อลดต้นทุน การทดสอบครั้งนี้พบว่าทุกยี่ห้อมีเกินร้อยละ 1 แมกนีเซียม แม้จะยังไม่มีเกณฑ์กำหนดแต่ก็อาจทำให้แมวเป็นนิ่วในไตได้หากได้รับมากไป 2.    กลุ่มที่ยิ่งมีมากยิ่งดี ได้แก่ โปรตีน ไขมัน แคลเซียม ฟอสฟอรัส และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทอรีน (กรดอะมิโนจำเป็นที่ร่างกายแมวไม่สามารถผลิตเองได้ หากได้รับน้อยเกินไปอาจทำให้แมวตาบอด ขนหรือฟันร่วงก่อนเวลาอันควร รวมถึงมีความปกติของระบบสืบพันธุ์) เราพบว่ายี่ห้อที่มีทอรีนมากที่สุด 3 อันดับแรกได้แก่ N&D / Royal Canin / และ Orijenการสำรวจคราวนี้ครอบคลุมอาหารแมว 35 ตัวอย่างที่เก็บจากตลาดในยุโรปเป็นหลัก (ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในการทดสอบอยู่ที่ประมาณ 16,000 บาทต่อหนึ่งตัวอย่าง) แต่ด้วยเนื้อที่อันจำกัดเราจึงขอนำเสนอเพียง 20 ผลิตภัณฑ์ รับรองว่ามียี่ห้อที่จำหน่ายในบ้านเราด้วย ... มาดูกันเลยว่ามีปริมาณสารอาหารเท่าไรในอาหารแมว 100 กรัมของแต่ละยี่ห้อ ... สูตรของใครจะตรงใจคุณและน้องแมวกว่ากัน                              

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 181 สารในโรลออนเสี่ยงมะเร็งเต้านมจริงหรือ?

เพราะเหงื่อมักออกมากในบริเวณใต้วงแขนหรือรักแร้ ซึ่งเอื้อต่อการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ ทำให้เราต้องเผชิญกับปัญหากลิ่นตัวที่ไม่พึงประสงค์ คนส่วนใหญ่จึงเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยระงับเหงื่อหรือกลิ่นกายอย่าง “โรลออน” เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว แต่ในทุกครั้งที่เราปาดหรือทาลงใต้วงแขน เรามั่นใจหรือเปล่าว่าจะไม่มีสารที่อาจก่อให้เกิดอันตรายอย่างมะเร็งเต้านมได้ แม้ว่าการถกเถียงหรือความสงสัยในประเด็นนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะที่ผ่านมาเคยมีข่าวว่าสารอลูมิเนียมคลอไฮเดรท (Aluminum chlorohydrate) ที่เป็นส่วนประกอบหลักในผลิตภัณฑ์ดังกล่าวอาจจะทำให้เกิดมะเร็งเต้านม โดย รศ.ดร.ภญ.พิมลพรรณ พิทยานุกุล ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เคยระบุไว้ในคอลัมน์สวยอย่างฉลาด นิตยสารฉลาดซื้อว่า กลไกการระงับเหงื่อของสารดังกล่าวคือ ตัวสารจะเข้าไปอุดรูขุมขนเพื่อไม่ให้เหงื่อไหล ซึ่งหากมีการใช้ผลิตภัณฑ์เป็นประจำ จะมีผลทำให้เกิดการสะสมและตกค้างของสารในบริเวณใต้วงแขนเป็นจำนวนมาก ทำให้เห็นเป็นรอยด่างดำ และจากงานวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ พบว่า สารตกค้างเหล่านี้อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับสาเหตุที่เกิดมะเร็งเต้านมในหญิงหรือชายบางรายได้ เนื่องจากท่อและต่อมต่างๆ ของบริเวณเต้านมมีส่วนเชื่อมต่อกับต่อมเหงื่อและรูขุมขนใต้วงแขน โดยเฉพาะเกลือโลหะหนักอลูมิเนียมจะไปจับกับดีเอ็นเอ (DNA) ของเซลล์ทำให้เกิดความผิดปกติ และมีการตรวจพบสารตกค้างของอลูมิเนียมในเนื้อเยื่อมะเร็งจากเต้านมของคนไข้ ซึ่งต่อมาภายหลังได้มีหลายสถาบันที่วิจัยเกี่ยวกับด้านมะเร็ง ออกโรงคัดค้านงานวิจัยนี้ โดยย้ำว่าการใช้เครื่องสำอางระงับกลิ่นกายไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านม อย่างไรก็ตามเมื่อไม่นานมานี้ได้มีกรณีที่น่าสนใจของสุภาพสตรี จากเมืองเซนต์หลุยส์ รัฐมิสซูรี สหรัฐอเมริกา ที่ใช้แป้งเด็กยี่ห้อจอห์นสันทาบริเวณจุดซ่อนเร้นมาตลอดกว่า 30 ปีแล้วตรวจพบภายหลังว่าเธอเป็นมะเร็งรังไข่ โดยแพทย์ระบุสาเหตุว่ามาจากแป้งดังกล่าวที่มีส่วนประกอบของแร่หินชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ทัลค์ (Talc) หรือเรียกว่า "แป้งทัลคัม" (Talcum Powder) ซึ่งเป็นสารที่อาจก่อให้เกิดมะเร็งได้ ภายหลังการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย ทางบริษัทแป้งดังกล่าวก็ยินดีจ่ายเงินชดเชยให้ พร้อมยังคงโฆษณาขายผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของแร่ทัลก์ต่อไป และยืนยันว่าส่วนผสมที่ใช้มีความปลอดภัย ฉลาดซื้อฉบับนี้จึงขอพาผู้อ่านร่วมเฝ้าระวัง สารอลูมิเนียมคลอไฮเดรทในโรลออนกันอีกครั้ง ซึ่งถึงตรงนี้เราอาจยังมีข้อสงสัยในสารดังกล่าวว่า มีหรือไม่มีความเกี่ยวข้องกับภาวะมะเร็งเต้านม ฉลาดซื้อจึงขออาสาพาไปดูฉลาก “ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นใต้วงแขน” ทั้งหมด 20 ยี่ห้อ ว่ายี่ห้อไหนมีส่วนประกอบของสารอลูมิเนียมคลอไฮเดรท บ้าง *หมายเหตุ ราคาอาจแตกต่างกันตามแหล่งซื้อต่างๆ**เก็บตัวอย่าง กุมภาพันธ์ - มีนาคม 2559   ผลทดสอบฉลาก   "ไม่มีบนฉลาก"  คือ ไม่แสดงว่ามีส่วนผสมหรือไม่"ไม่แจ้งส่วนประกอบ" คือ ไม่มีรายละเอียดบนขวดว่าผสมอะไร"มีแสดงบนฉลาก" คือ แสดงส่วนประกอบว่ามีสารดังกล่าว ทั้งนี้  "ไม่มีบนฉลาก" และ  "ไม่แจ้งส่วนประกอบ"  ทางเราไม่สามารถบอกได้ว่ามีหรือไม่มี เพราะการเสนอครั้งนี้เราสำรวจจากฉลาก ที่เป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยผู้บริโภคตัดสินใจในซื้อมาใช้ และการมีฉลากที่แจ้งข้อมูลก็จะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค ผลจากการเปรียบเทียบฉลาก- โรลออนทุกยี่ห้อเกือบทุกยี่ห้อที่สำรวจมีสารอลูมิเนียมคลอไฮเดรทเป็นส่วนประกอบ แต่มี 3 ยี่ห้อ คือ Nivea Rexona และ Dove ที่ไม่ระบุส่วนประกอบบนฉลาก- สารส้มแบบแท่งและแบบโรลออน ไม่มีส่วนประกอบของสารดังกล่าว- ทุกยี่ห้อจะมีคำโฆษณาคล้ายกัน โดยเน้นเรื่องการระงับเหงื่อ ให้กลิ่นกายหอมสดชื่นยาวนาน และบางยี่ห้ออาจเพิ่มเติมว่าปราศจากแอลกอฮอล์ รู้จักสารอลูมิเนียมคลอไฮเดรทกันอีกสักหน่อยสารอลูมิเนียมคลอไฮเดรท มีชื่อพ้องหรือชื่อเรียกอื่นที่อาจพบได้อีกคือ Aluminum hydroxychloride, Aluminium chlorhydroxide, Aluminium chloride basic, Aluminium chlorohydrol, Polyaluminium chloride เมื่อนำมาใช้เป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกายอย่างโรลออน จะสามารถช่วยลดเหงื่อหรือทำให้เหงื่อออกน้อยลงได้ เพราะทำให้ผิวหนังและรูขุมขนในบริเวณที่ทาหดตัว ผลิตภัณฑ์ระงับเหงื่อและกลิ่นกาย มักจะมีส่วนประกอบของสารอะลูมิเนียมคลอไฮเดรท ที่เข้มข้นสูงถึง 30-50% เมื่อใช้ไปเรื่อยๆ จึงเป็นผลให้เกิดเป็นรอยด่างดำที่ใต้วงแขนเนื่องมาจากการสะสมของสารชนิดนี้ แม้ในส่วนโรลออนที่เป็นแบบไวท์เทนนิ่ง (whitening) หรือช่วยให้ผิวใต้วงแขนดูกระจ่างใสขึ้น ก็พบว่ามีสารตัวนี้เป็นองค์ประกอบอยู่ด้วยเช่นกัน แต่จะมีสารตัวอื่นๆ ผสมเข้ามาเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดรอยด่างดำที่เป็นผลมาจากสารอะลูมิเนียมคลอไฮเดรท

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 181 ผลิตภัณฑ์เพื่อวงแขนที่แห้งสบายไร้กลิ่น

ฉลาดซื้อฉบับรับหน้าร้อนเล่มนี้ขอนำเสนอผลการทดสอบผลิตภัณฑ์สำหรับควบคุมเหงื่อและกลิ่นใต้วงแขน ที่องค์กรผู้บริโภคของประเทศฝรั่งเศสส่งเข้าทดสอบร่วมกับองค์การทดสอบระหว่างประเทศ ICRT ในปีที่ผ่านมา มีทั้งผลิตภัณฑ์สำหรับคุณผู้หญิงและคุณผู้ชายทั้งในรูปแบบของลูกกลิ้งและสเปรย์   การทดสอบครั้งนี้ใช้งบประมาณไม่ต่ำกว่า 70,000 บาทต่อผลิตภัณฑ์ เขาเน้นการวัดประสิทธิภาพที่อวดอ้างในโฆษณา -- ความสามารถในการระงับกลิ่น ความสมารถในการระงับเหงื่อ และการไม่ทิ้งคราบขาวบนเสื้อ นอกจากนั้นก็ยังสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้ (เช่นกลิ่น ความรู้สึกแห้งสบาย) และให้คะแนนการติดฉลากแจ้งข้อมูลแก่ผู้บริโภคด้วย   คะแนนเต็มแต่ละด้านอยู่ที่ 100 และคะแนนด้านประสิทธิภาพสูงที่สุด 80 คะแนนเป็นของ REXONA MEN COBALT DRY MOTION SENSE SYSTEM ในขณะที่ VICHY DEODORANT ANTITRANSPIRANT 48H รั้งท้ายด้วยคะแนนประสิทธิภาพเพียง 49 คะแนนเท่านั้นติดตามรายละเอียดในหน้าถัดไปว่าผลิตภัณฑ์ไหนจะคู่ควรกับพื้นที่ใต้วงแขนของคุณมากที่สุด ...           ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------- มนุษย์ทุกคนไม่ได้เกิดมาตัวเหม็น ...บางคนโชคร้าย ไม่สามารถผลิตสารเคมีที่เป็นอาหารอันโอชะของแบคทีเรีย เหงื่อของคนพวกนี้จึงไม่สามารถสร้างกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ได้ และการสำรวจพบว่าคนจำนวนมากยังไม่ตระหนักเรื่องนี้ จากการสัมภาษณ์ผู้หญิงที่ “ไม่สามารถมีกลิ่นตัว” จำนวน 117 คน นักวิจัยของมหาวิทยาลัยบริสตอล ในอังกฤษพบว่า ร้อยละ 75 ของพวกเธอใช้ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกายเป็นประจำ หัวหน้าคณะวิจัยให้ความเห็นว่า เหตุที่พวกเธอใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวทั้งๆ ที่ไม่จำเป็นนั้น คงเป็นเพราะความกดดันทางสังคม -----------------------------------------------------------------------------------------------------------------เหตุผลที่เราไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกายเป็นประจำอาจมีหลายเรื่องที่ยังพิสูจน์ไม่ได้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์พวกนี้ แต่ที่ยืนยันได้คือ การหยุดใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าว หลังจากใช้อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน จะทำให้แบคทีเรียตัวร้ายใต้วงแขนฟื้นคืนชีพและเติบโตได้เร็วกว่าเดิมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยนอร์ทคาโรไลนาเซ็นทรัล พบว่าผลิตภัณฑ์เหล่านี้ (ทั้งแบบระงับเหงื่อ และระงับกลิ่น) จะไปเปลี่ยนแปลงสภาพ “ชุมชน” ของจุลินทรีย์ต่างๆ ที่อาศัยอยู่ใต้วงแขนเรา ด้วยการกำจัดแบคทีเรียฝ่ายธรรมะออกไป เท่ากับเป็นการเปิดโอกาสให้แบคทีเรียฝ่ายอธรรมได้รุ่งเรืองเฟื่องฟู -----------------------------------------------------------------------------------------------------------------ตกงานแล้วไม่แคร์กลิ่นตัวการสำรวจโดย The Grocer วารสารวงการค้าปลีกของอังกฤษเมื่อ 3 ปีก่อนพบว่า ภาวะว่างงานมีผลต่อการใช้ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกายของหนุ่มเมืองผู้ดี นักวิเคราะห์มองว่าการใช้ผลิตภัณฑ์นี้หมายถึงการ “เตรียมพร้อมสำหรับวันทำงาน” เมื่อไม่มีงาน ผลิตภัณฑ์นี้จึงไม่จำเป็นสำหรับพวกเขาย้อนไปในปี 2013 ปัญหาการว่างงานเป็นเรื่องใหญ่ของอังกฤษ ด้วยสถิติ 1 ใน 10 ของบัณฑิตหางานทำไม่ได้ในช่วง 6 เดือนหลังจบการศึกษา และผู้ชายมีความเสี่ยงที่จะว่างงานมากกว่าผู้หญิง

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 169 สารเคมีในผลิตภัณฑ์สำหรับทารก

ฉลาดซื้อฉบับนี้พาคุณไปดูสถานการณ์ความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สำหรับทารกกันบ้าง งานนี้เป็นความร่วมมือขององค์กรผู้บริโภคใน 8 ประเทศได้แก่ UFC Que Choisir (ฝรั่งเศส) Forbrugerradet Taenk (เดนมาร์ก) Altroconsumo (อิตาลี) DECO (สเปน) OCU (โปรตุเกส) Test‐Achats (เบลเยี่ยม) Consumentenbond (เนเธอร์แลนด์) และ D‐Test (สาธารณรัฐเช็ค) ที่ส่งผลิตภัณฑ์ยอดนิยมสำหรับเด็กในวัย 0 – 3 ปี เข้ามารับการตรวจวัดปริมาณสารเคมีที่เป็นอันตราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลิตภัณฑ์ที่เด็กนำเข้าปากหรือมีการสัมผัสกับผิวหนังเด็กเป็นเวลานาน ได้แก่ จุกนมหลอก ผ้าอ้อมสำเร็จรูป ชุดเด็ก แผ่นรองนั่ง/นอน (แบบผืนและแบบจิ๊กซอว์) รวม 61 ผลิตภัณฑ์ สารเคมีที่ใช้ในผลิตภัณฑ์แต่ละประเภทจะแตกต่างกันไป สารเคมีในกลุ่มพทาเลต (DEHP, DIDP, DIBP) ในเสื้อผ้าเด็ก แผ่นรองนั่งจิ๊กซอว์ แผ่นปูรองนอน สารประกอบไฮโดรคาร์บอน โพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (PAHs) ในผ้าอ้อมสำเร็จรูป สาร Bisphenol A (หรือ BPA) ในจุกนมหลอก และอื่นๆ เช่น สีย้อม Azo  ฟอร์มัลดีไฮด์ รวมถึงโลหะหนัก เช่น นิเกิล แคดเมียม และดีบุก อันตรายของสารเคมีเหล่านี้มีตั้งแต่ทำให้เกิดอาการแพ้หรือระคายเคือง รบกวนการทำงานของระบบฮอร์โมนและเป็นสารก่อมะเร็ง ยุโรปมีกฎค่อนข้างเคร่งครัดอยู่แล้วเรื่องปริมาณสารเคมีตกค้างในผลิตภัณฑ์ แต่องค์กรผู้บริโภคในยุโรปยังมองว่าผู้บริโภคควรได้รับความคุ้มครองที่ดีขึ้นในเรื่องนี้ ที่ผ่านมาองค์กรเหล่านี้ได้รณรงค์เรื่องการงดใช้สารเคมีอันตรายในผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กเล็กมาอย่างต่อเนื่อง และเคยประสบความสำเร็จในการผลักดันให้ห้ามใช้สารพทาเลทในของเล่นเด็ก การทดสอบครั้งนี้ใช้งบประมาณไม่ต่ำกว่า 3 ล้านบาท จากการลงขัน ขององค์กรที่กล่าวมาแล้ว เพื่อให้ได้ข้อมูลเพื่อสนับสนุนการรณรงค์และการสร้างความรับรู้ในหมู่ผู้บริโภคทั้งในยุโรปและที่อื่นๆ ทั่วโลก  ขอบอกเลยว่าสินค้าเหล่านี้มีความปลอดภัยค่อนข้างสูง มีส่วนน้อยมากที่ยังมีสารเคมีปนเปื้อนแต่ก็ไม่เกินกำหนด รายละเอียดติดตามได้ในหน้าถัดไป                              

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 156 รู้ เลือก น้ำยาล้างห้องน้ำ

  แค่ราดทิ้งไว้ แป๊บเดียวก็สะอาด เป็นคำที่คุ้นๆ กันดีในโฆษณาผลิตภัณฑ์น้ำยาล้างห้องน้ำ ซึ่งมีให้เลือกหลากหลายยี่ห้อมาก และในแต่ละยี่ห้อยังมีหลายสูตรให้เลือกอีกด้วย เล่นเอา งง เวลาไปเลือกที่ชั้นวาง ฉลาดซื้อเลยหยิบผลิตภัณฑ์ที่รู้จักกันค่อนข้างกว้างขวางมาแกะรอย “สารเคมี” ที่ใช้ในแต่ละผลิตภัณฑ์ เพื่อจะได้เลือกใช้งานกันได้อย่างเหมาะสม ไม่เอะอะๆ ก็ราดไปเรื่อย เพราะบางผลิตภัณฑ์ราดทิ้งไว้ก็ไม่ออกนะจะบอกให้ ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดห้องน้ำและเครื่องสุขภัณฑ์ที่จำหน่ายอยู่ในท้องตลาด สามารถแบ่งกลุ่มของสารเคมีที่ใช้ได้ใหญ่ 2 กลุ่ม คือ กรดและด่าง ตอนนี้ในตลาดส่วนใหญ่จะเป็น กรดเกลือ หรือชื่อทางเคมีว่ากรดไฮโดรคลอริก (hydrochloric acid) กรดนี้มีฤทธิ์กัดกร่อนสูง และสูงขึ้นเรื่อยๆ ตามความเข้มข้นที่นำมาผลิต ในผลิตภัณฑ์ล้างห้องน้ำพบกรดเกลือความเข้มข้นตั้งแต่ 8% - 20% ข้อดี คือ พลังกำจัดคราบรอยเปื้อนสูง โดยเฉพาะคราบฝังแน่น ข้อเสีย คือ กลิ่นฉุนแสบจมูกจากไอของกรด ใช้บ่อยครั้งจะกัดยาแนวกระเบื้อง ทำให้ผิวหน้าของพื้นห้องน้ำผุกร่อน ขรุขระ (ยิ่งทำให้สะสมคราบสกปรกเพิ่มขึ้น) ไอของน้ำยายังทำให้อุปกรณ์บางชิ้นในห้องน้ำเป็นสนิมด้วย   กรดอีกตัวที่ใช้คือ กรดซิตริก(citric acid) มีฤทธิ์กัดกร่อนพอตัว แต่ไม่รุนแรงเท่ากรดเกลือ และกลิ่นไม่ฉุนมาก ส่วนสารออกฤทธิ์ที่เป็นด่าง มียี่ห้อไม่หลากหลายเท่ากรดเกลือ ตัวที่นิยมใช้เป็นกลุ่มเดียวกับพวกสารฟอกขาว (Chlorine Bleach) ที่เรารู้จักดีในผลิตภัณฑ์ซักผ้า ได้แก่ โซเดียมไฮโปคลอไรท์ (sodium hypochlorite) และกลุ่มคลอรีน บีช ที่กลายมาเป็นผลิตภัณฑ์ล้างห้องน้ำตัวล่าสุดคือ ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (hydrogen peroxide) คุ้นๆ ใช่ไหม ตัวเดียวกับที่เคยใช้เป็นยาล้างแผลนั่นเอง แต่ในผลิตภัณฑ์ล้างห้องน้ำจะมีความเข้มข้นสูงกว่า คือ 5% ข้อดีและเป็นจุดขายสำคัญของกลุ่มคลอรีน บีช คือ การกำจัดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัสและตัวที่สร้างปัญหาในห้องน้ำมากสุดคือ เชื้อรา ข้อเสีย มีฤทธิ์กัดกร่อนสูงไม่แพ้กรดเกลือ(ระดับฟอกผ้าขาวได้) และมีข้อต้องระวังในการใช้หลายอย่าง เช่น โซเดียมไฮโปคลอไรท์ ห้ามเจอกรด(หรือใช้ร่วมกับน้ำยาที่เป็นกรด)และสารประกอบแอมโมเนียเด็ดขาด เพราะจะกลายเป็นก๊าซพิษ(ก๊าซคลอรีน) ก่อให้เกิดอันตรายจากการสูดดมไอพิษ ทั้งกรดและด่างที่นำมาใช้เป็นสารเคมีตั้งต้นในผลิตภัณฑ์ล้างห้องน้ำ ส่วนใหญ่จะไม่มาเพียวๆ แต่จะผสมพวกสารลดแรงตึงผิว (Surfactant)   เพื่อช่วยในการแทรกซึมของน้ำยาเข้าสู่พื้นผิวได้อย่างทั่วถึง สารลดแรงตึงผิวที่นิยมได้แก่ Diethylene glycol butyl ether  , Linear Alkylbenzene Sulfonate,  Linear Alkylbenzene Sulfonate , Sodium Salt  ,  Ethoxylate Alcohol  ( 7 EO ) แต่ถ้าไม่ชอบพวกกรดและด่างที่มีฤทธิ์กัดกร่อนสูง แพ้หรือกลิ่นแสบจมูก ให้เลี่ยงมาใช้ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มที่ใช้แต่เฉพาะ  ตัวทำละลายอินทรีย์(Organic Solvent)และสารลดแรงตึงผิวแทน ต่อไปความต้องการผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดห้องน้ำของผู้บริโภคจะยิ่งมีมากขึ้น ทำให้ผู้ผลิตต้องมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดในรูปแบบใหม่ๆ แต่โดยทั่วไปแล้วผลิตภัณฑ์ต่างๆ เหล่านี้จะใช้สารเคมีตั้งต้นที่คล้ายๆ กัน ในกระบวนการผลิต แตกต่างกันในส่วนของสารเติมแต่งต่างๆ ซึ่งล้วนเป็นสารเคมีสังเคราะห์ทั้งสิ้น สารเคมีบางอย่างก็มีอันตรายต่อร่างกายทั้งในลักษณะของการแพ้อย่างเฉียบ พลันหรืออาจสะสมความเป็นพิษในร่างกายได้ ดังนั้นการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจึงต้องพิจารณาส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ ตลอดจนชนิดและปริมาณที่ใช้ เพื่อให้เหมาะกับสภาพการใช้งานและมีความปลอดภัย   ฉลาดซื้อแนะ 1.เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ล้างห้องน้ำให้ตรงกับสภาพความสกปรกของพื้นผิวและลักษณะของพื้นผิว(วัสดุที่ใช้เป็นพื้นห้องน้ำหรือตัวสุขภัณฑ์ เช่น กระเบื้อง เซรามิก หินอ่อน หินขัด) 2. คราบสกปรกที่ล้างออกได้ง่าย เช่น คราบสบู่ คราบสกปรกทั่วไป ไม่ควรใช้ส่วนผสมของกรดหรือด่างที่มีฤทธิ์กัดกร่อนสูง ใช้แค่สูตรที่เป็นสารลดแรงตึงผิวก็เพียงพอในการกำจัดคราบ 3.พวกมีฤทธิ์กัดกร่อนสูง ควรใช้เฉพาะกับคราบฝังแน่นเท่านั้น 4.กรดที่ผสมในผลิตภัณฑ์ล้างห้องน้ำมีให้เลือกหลายชนิดตามความเข้มข้น อาจเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของกรดที่มีความเข้มข้นต่ำก็จะปลอดภัยกว่าชนิดเข้มข้นสูง 5.สามารถใช้ผลิตภัณฑ์กลุ่มน้ำยาซักผ้าขาว(ไฮเตอร์ ไฮยีน) ล้างห้องน้ำแทนสูตรโซเดียมไฮโปคอลไรท์ได้ โดยเฉพาะการกำจัดเชื้อรา เนื่องจากมีราคาถูกกว่ามาก 6..อ่านวิธีการใช้และคำเตือนให้ละเอียด เพื่อป้องกันอันตรายจากการใช้งานผิดพลาดหรือเผอเรอ   ผลิตภัณฑ์น้ำยาล้างห้องน้ำ                   //

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 135 สินค้าเด็กไทย ปลอดภัยหรือยัง

ความปลอดภัยและพัฒนาการของลูก เป็นสิ่งที่พ่อแม่ทุกคนต้องการ หลายคนซื้อสินค้าอย่าง หัวนมหลอก ยางกัด รถหัดเดิน หรือแม้แต่เก้าอี้สูง มาให้ลูกใช้โดยหารู้ไม่ว่าอาจจะกำลังเพิ่มความเสี่ยงให้กับเด็กๆ เพราะปัจจุบันในบ้านเรายังไม่มีมาตรฐานควบคุมการผลิตสินค้าเหล่านี้ ว่าแล้วก็เริ่มสงสัยว่าทุกวันนี้ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กปลอดภัยพอแล้วหรือไม่   เพื่อตอบคำถามดังกล่าวฉลาดซื้อขอนำผลการวิจัยโดยพญ. ประภาศิริ สิงห์วิจารณ์  รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ เรื่อง “การประเมินความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์เด็กที่มีใช้ในเด็กช่วงอายุ 6 ถึง 18 เดือน” มาเล่าสู่กันฟัง   งานวิจัยดังกล่าวเก็บข้อมูลเกี่ยวกับชนิดของผลิตภัณฑ์ที่มีจำหน่ายในปัจจุบัน จากร้านค้าและห้างสรรพสินค้าทั่วไปในกรุงเทพมหานคร  ผลิตภัณฑ์ 12 ประเภทที่พบได้แก่   กรุ๊งกริ๊ง หัวนมหลอก รถเข็นเด็ก ยางกัด เตียงเด็ก เปลคอก เปลไกว รถหัดเดิน เก้าอี้สูง เก้าอี้นั่งโยก เก้าอี้กระโดด เป้อุ้มเด็ก   จากนั้นสัมภาษณ์เก็บข้อมูล จาก “ผู้ดูแลหลัก” ของเด็กที่เกิดที่โรงพยาบาลรามาธิบดี 203 คน ที่มีอายุระหว่าง 6 – 18 เดือน โดยใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์เพื่อวิเคราะห์ว่าผลิตภัณฑ์ที่มีใช้อยู่นั้นมีความเสี่ยงในการก่อให้เกิดการบาดเจ็บหรือไม่   *หมายเหตุ: แบบสอบถามดังกล่าวออกแบบโดยอ้างอิงข้อมูลความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์เด็ก ของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคของประเทศสหรัฐอเมริกา เอกสารมาตรฐานจาก American Society for Testing and Materials และมาตรฐานของ ISO รวมถึงข้อมูลการบาดเจ็บที่เคยเกิดขึ้นจากการใช้ผลิตภัณฑ์ของเด็ก -------------------------------------------------------------------------------------------------------   สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคของประเทศสหรัฐอเมริกา ระบุว่า ในปี ค.ศ. 2008 มีเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี จำนวน 63,700 ราย ต้องเข้ารับการรักษาพยาบาลในห้องฉุกเฉินเนื่องจากอาการบาดเจ็บที่เกี่ยวข้องกับการใช้ผลิตภัณฑ์อย่าง รถเข็นเด็ก พาหนะเด็ก เตียงเด็กและเก้าอี้เสริม ------------------------------------------------------------------------------------------------------- 5 ผลิตภัณฑ์ยอดนิยม ผลิตภัณฑ์เด็กที่มีอัตราการใช้สูงสุด 5 อันดับแรก ในเด็กอายุ 12 เดือน ได้แก่ กรุ๊งกริ๊ง           (ร้อยละ 85.2) รถหัดเดิน           (ร้อยละ 82) ยางกัด            (ร้อยละ 71.3) รถเข็นเด็ก        (ร้อยละ 68) เปลไกว           (ร้อยละ 53.3) ---   10 อันดับ ผลิตภัณฑ์ความเสี่ยงสูง (เรียงลำดับจากความเสี่ยงมากไปความเสี่ยงน้อย) รถหัดเดิน เตียงเด็ก รถเข็นเด็ก กรุ๊งกริ๊ง เก้าอี้สูง เปลไกว เก้าอี้นั่งโยก เปลคอก พาหนะอุ้มเด็ก จุกนมหลอก   ------------------------------------------------------------------------------------------------------- 4 ผลิตภัณฑ์อันตราย งานวิจัยครั้งนี้พบว่า มากกว่าร้อยละ 50 ของผลิตภัณฑ์ประเภทกรุ๊งกริ๊ง รถหัดเดิน รถเข็นเด็ก และเปลไกว มีความเสี่ยงในการก่อให้เกิดการบาดเจ็บหลักได้ -------------------------------------------------------------------------------------------------------   ความเสี่ยงจากผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน ผลิตภัณฑ์ กรุ๊งกริ๊ง ความเสี่ยง/การบาดเจ็บ      ด้านปลายของกรุ๊งกริ๊งทิ่มเข้าคอเด็ก ตัวกรุ๊งกริ๊งกระแทกกับศีรษะและใบหน้า หนีบนิ้วมือ มีแผลถลอก/บาด จากขอบแหลมคม   ควรเลือก                                   ผลิตภัณฑ์ที่มีด้านปลายที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 4.2 เซนติเมตร         ผลิตภัณฑ์ จุกนมหลอก ความเสี่ยง/การบาดเจ็บ               สายคล้องคอรัดคอ และจุกนมอุดกั้นทางเดินหายใจ   ควรเลือก                                   ผลิตภัณฑ์ที่มีเชือกคล้องคอหรือแป้นที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 4.2 เซนติเมตร     ผลิตภัณฑ์    รถเข็นเด็ก ความเสี่ยง/การบาดเจ็บ               เด็กตกจากรถเข็นเนื่องจากไม่มีเข็มขัดนิรภัยที่เหมาะสม ล้มกระแทกจากการปีนรถ หรือรถลื่นไถลเสียหลักจนพลิกคว่ำ ควรเลือก                                   รถเข็นที่สายรัดนิรภัยที่มีตำแหน่งยึด 5 จุด คือ ยึดระหว่างขา รอบเอว และไหล่ทั้งสองข้าง  และมีระบบห้ามล้อ           ผลิตภัณฑ์ ยางกัด ความเสี่ยง/การบาดเจ็บ               ยางกัดแตกเป็นชิ้นเล็กๆ หรืออาจอุดกั้นทางเดินหายใจ   ควรเลือก                                   ผลิตภัณฑ์มีที่ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 4.2 เซนติเมตร       ผลิตภัณฑ์ เตียงเด็ก ความเสี่ยง/การบาดเจ็บ            เด็กตกเตียงหรือลอดทะลุช่องแล้วศีรษะติดค้าง ทำให้เกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจ   ควรเลือก                                   เตียงที่ราวกันตกและผนังเตียงด้านศีรษะและเท้ามีช่องห่างไม่เกิน 6 เซนติเมตร หรือจากขอบบนของเบาะที่นอนถึงราวกันตกด้านบนมีความสูงมากกว่า 65 เซนติเมตร         ผลิตภัณฑ์ เปลคอก ความเสี่ยง/การบาดเจ็บ            การอุดกั้นทางเดินหายใจ ในกรณีที่มุ้งกั้นด้านข้างมีรูรั่วหรือฉีกขาด หรือเคยมีการยุบตัวของโครงสร้าง         ผลิตภัณฑ์ เปลไกว ความเสี่ยง/การบาดเจ็บ               เด็กพลิกคว่ำตกจากเปล หรือลอดทะลุช่องแล้วศีรษะติดค้าง ทำให้เกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจ   ควรเลือก                                   ตัวเปลที่มีราวกันตกและผนังเตียงด้านศีรษะและเท้าที่มีช่องห่างไม่เกิน 6 เซนติเมตร และมีฐานที่มั่นคง       ผลิตภัณฑ์ รถหัดเดิน ความเสี่ยง/การบาดเจ็บ               รถลื่นไถลเสียหลักจนพลิกคว่ำหรือเคลื่อนที่ไปสู่สิ่งแวดล้อมที่เป็นอันตราย   ควรเลือก                                   รถหัดเดินชนิดที่ไม่มีล้อ   -------------------------------------------------------------------------------------------------------   รถหัดเดิน X รถช่วยพยุงตัว / เขาศึกษากันมาแล้วว่า “รถหัดเดิน” นั้นไม่ช่วยในการหัดเดินแต่อย่างใด แถมยังมีความเสี่ยงที่เด็กจะได้รับบาดเจ็บถึงร้อยละ 90  ขณะนี้อเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ประกาศห้ามขายห้ามใช้แล้ว   สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ของเรา ออกกฎหมายให้ผู้ผลิตเปลี่ยนชื่อผลิตภัณฑ์ จาก “รถหัดเดิน” เป็น “รถช่วยพยุงตัว” และให้ติดฉลากคำเตือนที่ตัวรถว่า “อุปกรณ์ชิ้นนี้ไม่ได้ช่วยหัดเดิน” -------------------------------------------------------------------------------------------------------   ผลิตภัณฑ์ เก้าอี้สูง และเก้าอี้นั่งโยก ความเสี่ยง/การบาดเจ็บ               การบาดเจ็บจากการตกจากที่สูงได้   ควรเลือก                                   เก้าอี้สูงที่มีเข็มขัดรัดระหว่างเอวและง่ามขา       ผลิตภัณฑ์ เป้อุ้มเด็ก ความเสี่ยง/การบาดเจ็บ               การหลุดรอดตกลงมาจากเป้   ควรเลือก                                   เป้อุ้มเด็กที่มีสายรัดระหว่างเป้กับคนอุ้มแข็งแรง และมีช่องใส่ขาเด็กที่ขนาดไม่ใหญ่จนเกินไป

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 125 SUNSCREEN UPDATE!

  เพื่อเป็นการลดความสับสนให้กับผู้บริโภคเวลาที่เลือกซื้อผลิตภัณฑ์กันแดด องค์การอาหารและยาของสหรัฐฯ ประกาศกฎใหม่สำหรับฉลากผลิตภัณฑ์กันแดดที่จะบังคับใช้ภายใน 1 ปี ดังนี้  •  ผลิตภัณฑ์ที่จะติดฉลากว่าเป็น ซันสกรีน (Sunscreen) ได้นั้นจะต้องสามารถป้องกันได้ทั้งรังสียูวีเอ และยูวีบี (UVA/UVB)  • ถ้าจะมีคำว่า “Broad spectrum” บนฉลาก ผลิตภัณฑ์นั้นจะต้องมีประสิทธิภาพในการป้องกันรังสีทั้งสองประเภทได้พอๆ กัน (ไม่ใช่ป้องกันรังสียูวีเอได้มากแต่ป้องกันรังสียูวีบีได้เพียงเล็กน้อย เป็นต้น)  • ต่อไปนี้ห้ามใช้คำว่า “กันน้ำ” (Waterproof/ water resistance) หรือ “กันเหงื่อ” (Sweatproof) โดยอนุญาตให้ระบุเป็นเวลาที่ยังมีประสิทธิภาพในการกันแดดหลังจากโดนน้ำได้เท่านั้น อย่างที่เห็นในผลทดสอบ ว่าประสิทธิภาพในการป้องกันรังสีของผลิตภัณฑ์กันแดดส่วนใหญ่มักลดลงเมื่อผิวหนังเราสัมผัสกับน้ำ บางยี่ห้อเหลืออยู่ประมาณร้อยละ 30 เท่านั้น  • ที่สำคัญ ผลิตภัณฑ์นั้นจะต้องมีค่า SPF ไม่ต่ำกว่า 15 จึงจะสามารถอ้างว่า “สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งผิวหนัง หรือป้องกันผิวแก่ก่อนวัยได้”  • ถ้าผลิตภัณฑ์นั้นมีค่า SPF ระหว่าง 2 ถึง 14 จะต้องมีคำเตือนให้ผู้ใช้ทราบว่า ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไม่สามารถช่วยป้องกันมะเร็งผิวหนังหรือการเกิดริ้วรอยก่อนวัยได้ ---- ข้องใจ ... ทำไมไม่แบน?กฎเกณฑ์ใหม่ที่ออกมาได้รับการชื่นชมจากบรรดาผู้ที่ทำงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภค แต่มีอยู่หนึ่งเรื่องที่ยังเป็นที่คาใจของประธานมูลนิธิมะเร็งผิวหนังแห่งอเมริกา  เขาบอกว่ารู้สึกผิดหวังมากที่ อย.สหรัฐยังไม่ประกาศห้ามการอ้างว่ามี SPF สูงกว่า 50 ซึ่งยังไม่ได้รับการพิสูจน์ว่าจะช่วยป้องกันรังสีอันตรายได้นานขึ้นจริงหรือไม่  เพราะการปล่อยให้มีการขายผลิตภัณฑ์ที่อ้างว่ามีค่า SPF มากกว่า 50 ทำให้ผู้บริโภคได้รับสารเคมีที่อาจก่อความระคายเคืองในปริมาณที่มากขึ้น โดยไม่มีผลทางการป้องกันแดดเพิ่มขึ้น --- เพื่อเป็นการตอบรับมาตรการใหม่ในการควบคุมฉลากผลิตภัณฑ์กันแดด ฉลาดซื้อฉบับนี้ขอนำผลทดสอบจากองค์กรทดสอบสากลมาฝากกันอีกครั้ง คราวนี้เขาเลือกทดสอบเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่มีค่า SPF 15 และ SPF 20 เท่านั้น ผลิตภัณฑ์ที่ส่งเข้ามาทดสอบจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ซื้อจากฝรั่งเศสและเยอรมนี ดังนั้นเราจึงเลือกมาเฉพาะแบรนด์ที่มีจำหน่ายในบ้านเราเท่านั้น   เราพบว่า• ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่มีค่า SPF สูงกว่าที่แจ้งไว้บนฉลาก ยกเว้น อัลตราซัน Ultrasun professional protection sports clear gel formula วิชี่ Vichy Laboratoires Capital Soleil Sonnschutz-Gel-Milch Körper  การ์นีเย่ Garnier Ambre Solaire ที่มีค่าการป้องกันรังสี UVB หรือค่า SPF ที่วัดได้จริงเพียง 15 แต่แจ้งบนฉลากว่ามีค่า SPF 20 • ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่มีค่าการป้องกันรังสี UVA ไม่ต่ำกว่า 1 ใน 3 ของค่าการป้องกันรังสี UVB ยกเว้น คลาแรงส์ Clarins Sun Care Cream และ อีโค คอสเมติกส์ Eco Cosmetics Sonnencreme • ผลิตภัณฑ์กันแดดชนิดที่อ้างว่าใช้สารสกัดจากธรรมชาติหรือออร์กานิกนั้นยังไม่สามารถป้องกันรังสี UVA ที่เป็นตัวการทำให้ผิวหนังเกิดริ้วรอย เช่น อีโค คอสเมติกส์ Eco Cosmetics Sonnencreme นีเวีย Nivea Sun Pflegende Sonnenmilch SPF 20 ค่า SPF ที่วัดได้จริง  SPF 23ประสิทธิภาพในการกันแดดหลังจากผิวหนังเปียกน้ำ ร้อยละ 69 ค่าการป้องกันรังสี UVA ไม่ต่ำกว่า 1 ใน 3 ของค่าการป้องกัน UVB  ประสิทธิภาพในการให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง 1 ความพึงพอใจของผู้ใช้เกลี่ยง่าย  2ซึมลงสู่ผิวรวดเร็ว 2.5ไม่รู้สึกเหนอะหนะ 1.5  อีฟ โรเช่ Yves Rocher Protectyl Végétal Feuchtigkeitsspendende Sonnenschutz-Milch SPF 15ค่า SPF ที่วัดได้จริง  SPF 29ประสิทธิภาพในการกันแดดหลังจากผิวหนังเปียกน้ำ ร้อยละ 66ค่าการป้องกันรังสี UVA ไม่ต่ำกว่า 1 ใน 3 ของค่าการป้องกัน UVB  ประสิทธิภาพในการให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง 1 ความพึงพอใจของผู้ใช้เกลี่ยง่าย  2ซึมลงสู่ผิวรวดเร็ว 2ไม่รู้สึกเหนอะหนะ 2.5   การ์นิเย่ Garnier Ambre Solaire Ultra-feuchtigkeitsspendende Sonnenschutz-Milch SPF 20ค่า SPF ที่วัดได้จริง  SPF 21ประสิทธิภาพในการกันแดดหลังจากผิวหนังเปียกน้ำ ร้อยละ 63 ค่าการป้องกันรังสี UVA ไม่ต่ำกว่า 1 ใน 3 ของค่าการป้องกัน UVB  ประสิทธิภาพในการให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง 1 ความพึงพอใจของผู้ใช้เกลี่ยง่าย  2ซึมลงสู่ผิวรวดเร็ว 2.5ไม่รู้สึกเหนอะหนะ 2   ลอรีอัล L`Oréal Paris Solar Expertise SPF 20ค่า SPF ที่วัดได้จริง  SPF 27ประสิทธิภาพในการกันแดดหลังจากผิวหนังเปียกน้ำ ร้อยละ 58 ค่าการป้องกันรังสี UVA ไม่ต่ำกว่า 1 ใน 3 ของค่าการป้องกัน UVB  ประสิทธิภาพในการให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง 1 ความพึงพอใจของผู้ใช้เกลี่ยง่าย  2ซึมลงสู่ผิวรวดเร็ว 2ไม่รู้สึกเหนอะหนะ 2   ลาโรช โพเซ่ย์ La Roche-Posay Anthelios Spray für empfindliche Haut SPF 20ค่า SPF ที่วัดได้จริง  SPF 35ประสิทธิภาพในการกันแดดหลังจากผิวหนังเปียกน้ำ ร้อยละ 56 ค่าการป้องกันรังสี UVA ไม่ต่ำกว่า 1 ใน 3 ของค่าการป้องกัน UVB  ประสิทธิภาพในการให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง 2 ความพึงพอใจของผู้ใช้เกลี่ยง่าย  1.5ซึมลงสู่ผิวรวดเร็ว 2ไม่รู้สึกเหนอะหนะ 2    นีเวีย Nivea Sun Light Feeling Transparentes Spray SPF 20 ค่า SPF ที่วัดได้จริง  SPF 24ประสิทธิภาพในการกันแดดหลังจากผิวหนังเปียกน้ำ ร้อยละ 54 ค่าการป้องกันรังสี UVA ไม่ต่ำกว่า 1 ใน 3 ของค่าการป้องกัน UVB  ประสิทธิภาพในการให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง 1 ความพึงพอใจของผู้ใช้เกลี่ยง่าย  2ซึมลงสู่ผิวรวดเร็ว 2ไม่รู้สึกเหนอะหนะ 1.5   นีเวีย Nivea Sun  Sun Spray 20 mediumค่า SPF ที่วัดได้จริง  SPF 24ประสิทธิภาพในการกันแดดหลังจากผิวหนังเปียกน้ำ ร้อยละ 51 ค่าการป้องกันรังสี UVA ไม่ต่ำกว่า 1 ใน 3 ของค่าการป้องกัน UVB  ประสิทธิภาพในการให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง 1 ความพึงพอใจของผู้ใช้เกลี่ยง่าย  2ซึมลงสู่ผิวรวดเร็ว 2ไม่รู้สึกเหนอะหนะ 2   เอวอน Avon sun medium SPF 20ค่า SPF ที่วัดได้จริง  SPF 34ประสิทธิภาพในการกันแดดหลังจากผิวหนังเปียกน้ำ ร้อยละ 51ค่าการป้องกันรังสี UVA ไม่ต่ำกว่า 1 ใน 3 ของค่าการป้องกัน UVB  ประสิทธิภาพในการให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง 3 ความพึงพอใจของผู้ใช้เกลี่ยง่าย  2.5ซึมลงสู่ผิวรวดเร็ว 2ไม่รู้สึกเหนอะหนะ 1    วิชี่ Vichy Capital Soleil SPF 20ค่า SPF ที่วัดได้จริง  SPF 25ประสิทธิภาพในการกันแดดหลังจากผิวหนังเปียกน้ำ ร้อยละ 50 ค่าการป้องกันรังสี UVA ไม่ต่ำกว่า 1 ใน 3 ของค่าการป้องกัน UVB  ประสิทธิภาพในการให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง 3 ความพึงพอใจของผู้ใช้เกลี่ยง่าย  1.5ซึมลงสู่ผิวรวดเร็ว 2ไม่รู้สึกเหนอะหนะ 1.5   ชิเซโด Shiseido Sun Protection Lotion SPF 15ค่า SPF ที่วัดได้จริง  SPF 29ประสิทธิภาพในการกันแดดหลังจากผิวหนังเปียกน้ำ ร้อยละ 40 ค่าการป้องกันรังสี UVA ไม่ต่ำกว่า 1 ใน 3 ของค่าการป้องกัน UVB  ประสิทธิภาพในการให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง 2 ความพึงพอใจของผู้ใช้เกลี่ยง่าย  2ซึมลงสู่ผิวรวดเร็ว 2.5ไม่รู้สึกเหนอะหนะ 1.5  ลอรีอัล L`Oreal Solar Expertise, icy protection SPF 20ค่า SPF ที่วัดได้จริง  SPF 20ประสิทธิภาพในการกันแดดหลังจากผิวหนังเปียกน้ำ ร้อยละ 40 ค่าการป้องกันรังสี UVA ไม่ต่ำกว่า 1 ใน 3 ของค่าการป้องกัน UVB  ประสิทธิภาพในการให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง 1 ความพึงพอใจของผู้ใช้เกลี่ยง่าย  1.5ซึมลงสู่ผิวรวดเร็ว 2ไม่รู้สึกเหนอะหนะ 1.5  ยูเซอริน Eucerin Sun Protection Sun Spray SPF 20ค่า SPF ที่วัดได้จริง  SPF 35ประสิทธิภาพในการกันแดดหลังจากผิวหนังเปียกน้ำ ร้อยละ 32 ค่าการป้องกันรังสี UVA ไม่ต่ำกว่า 1 ใน 3 ของค่าการป้องกัน UVB  ประสิทธิภาพในการให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง 1 ความพึงพอใจของผู้ใช้เกลี่ยง่าย  2ซึมลงสู่ผิวรวดเร็ว 2ไม่รู้สึกเหนอะหนะ 2   อัลตราซัน Ultrasun professional protection sports clear gel formula SPF 20ค่า SPF ที่วัดได้จริง  SPF 15ประสิทธิภาพในการกันแดดหลังจากผิวหนังเปียกน้ำ ร้อยละ 61 ค่าการป้องกันรังสี UVA ไม่ต่ำกว่า 1 ใน 3 ของค่าการป้องกัน UVB  ประสิทธิภาพในการให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง 3 ความพึงพอใจของผู้ใช้เกลี่ยง่าย  1.5ซึมลงสู่ผิวรวดเร็ว 1.5ไม่รู้สึกเหนอะหนะ 1   วิชี่ Vichy Laboratoires Capital Soleil Sonnschutz-Gel-Milch Körper SPF 20ค่า SPF ที่วัดได้จริง  SPF 15ประสิทธิภาพในการกันแดดหลังจากผิวหนังเปียกน้ำ ร้อยละ 51 ค่าการป้องกันรังสี UVA ไม่ต่ำกว่า 1 ใน 3 ของค่าการป้องกัน UVB  ประสิทธิภาพในการให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง 1 ความพึงพอใจของผู้ใช้เกลี่ยง่าย  1ซึมลงสู่ผิวรวดเร็ว 2ไม่รู้สึกเหนอะหนะ 2   การ์นีเย่ Garnier Ambre Solaire SPF 20ค่า SPF ที่วัดได้จริง  SPF 15ประสิทธิภาพในการกันแดดหลังจากผิวหนังเปียกน้ำ ร้อยละ 37 ค่าการป้องกันรังสี UVA ไม่ต่ำกว่า 1 ใน 3 ของค่าการป้องกัน UVB  ประสิทธิภาพในการให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง 3 ความพึงพอใจของผู้ใช้เกลี่ยง่าย  1.5ซึมลงสู่ผิวรวดเร็ว 2ไม่รู้สึกเหนอะหนะ 1.5  คลาแรงส์ Clarins Sun Care Cream SPF 20ค่า SPF ที่วัดได้จริง  SPF 52ประสิทธิภาพในการกันแดดหลังจากผิวหนังเปียกน้ำ ร้อยละ 42 ค่าการป้องกันรังสี UVA ไม่ต่ำกว่า 1 ใน 3 ของค่าการป้องกัน UVB ×ประสิทธิภาพในการให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง 3 ความพึงพอใจของผู้ใช้เกลี่ยง่าย  2ซึมลงสู่ผิวรวดเร็ว 2.5ไม่รู้สึกเหนอะหนะ 2   อีโค คอสเมติกส์ Eco Cosmetics, Sonnencreme SPF15ค่า SPF ที่วัดได้จริง  SPF 24ประสิทธิภาพในการกันแดดหลังจากผิวหนังเปียกน้ำ ร้อยละ 67 ค่าการป้องกันรังสี UVA ไม่ต่ำกว่า 1 ใน 3 ของค่าการป้องกัน UVB ×ประสิทธิภาพในการให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง 1 ความพึงพอใจของผู้ใช้เกลี่ยง่าย  3ซึมลงสู่ผิวรวดเร็ว 3ไม่รู้สึกเหนอะหนะ 2.5

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 92 เมลามีน ที่ไม่ได้อยู่แค่ในจาน

นอกจาก อย.ที่เก็บตัวอย่างอาหารเพื่อตรวจหา “เมลามีน” ปนเปื้อนกันวันต่อวันแล้ว ฉลาดซื้อก็นำตัวอย่างสินค้าบางรายการที่แอบสงสัยว่า มีเมลามีนปะปนอยู่หรือไม่ เข้าทดสอบที่ ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด ด้วยเช่นกัน ซึ่งผลที่ออกมา…เป็นข่าวดี ถึงตอนนี้ “เมลามีน” คงเป็นคำที่คุ้นเคยกันแล้ว  แต่ขอกล่าวถึงสักหน่อยล่ะกันเผื่อใครยังค้างใจอยู่ เมลามีนเป็นสารที่ใช้ทำพลาสติกและปุ๋ย มีสารฟอร์มาลดีไฮด์เป็นองค์ประกอบสำคัญ เมลามีนบริสุทธิ์ยังมีองค์ประกอบของไนโตรเจนสูงมาก 66.67% คิดเป็นปริมาณโปรตีนได้ 416.66% ดังนั้นเมื่อนำเมลามีนมาผสมในน้ำนมหรือนมผงก็ทำให้ผลการตรวจพบเปอร์เซ็นต์ไนโตรเจนสูงขึ้นด้วย ทำให้เข้าใจผิดได้ว่า ผลิตภัณฑ์ที่ตรวจนั้นมีโปรตีนสูง คุณภาพดีได้มาตรฐานด้วย (ทั้งนี้ก็เพราะการตรวจหาปริมาณโปรตีนในนมผงปัจจุบันยังไม่สามารถทำได้โดยตรง แต่จะทำทางอ้อมด้วยการตรวจหาปริมาณไนโตรเจนแทน เนื่องจากโปรตีนมีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบเช่นเดียวกัน) กรณีนมผงปนเปื้อนเมลามีนนี้เป็นนวัตกรรมใหม่ล่าสุดของอาหารปลอมปน ที่แม้แต่คนในแวดวงอุตสาหกรรมนมยังงงๆ กันอยู่ เนื่องจากไม่มีใครคาดคิดว่าจะมีคนนำมาใส่ในอาหารได้ โดยเฉพาะนม เลยไม่จัดเป็นสารต้องห้ามที่ต้องตรวจสอบในขั้นตอนควบคุมคุณภาพตามปกติ กระทรวงสาธารณสุขไทยก็เพิ่งออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ฉบับที่ 311 พ.ศ. 2551 เมื่อวันที่ 8 ต.ค. 2551เรื่องควบคุมอาหารปนเปื้อนสารเมลามีน โดยห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 10 ต.ค.2551 จริงๆ เมื่อสองปีที่แล้ว ก็มีข่าวพบเมลามีนในอาหาร แต่เป็นอาหารของน้องแมว น้องหมา ที่ทางการสหรัฐตรวจพบในอาหารสัตว์ที่มาจากประเทศจีน เนื่องจากมีหมาแมวจำนวนมากในสหรัฐฯ ที่เจ็บป่วย ตายจากภาวะไตวาย ทำนองเดียวกัน สารเมลามีน ที่ปนอยู่ในอาหารหากเรารับประทานเข้าไป ร่างกายจะไม่ย่อยสลาย แต่จะถูกขับออกมาทางปัสสาวะ หากกรณีสารเมลามีนเข้าไปในร่างกายปริมาณมากจึงจะก่อให้เกิดพิษ โดยเฉพาะที่ไต กรณีทารกเสียชีวิต 4 คนที่ประเทศจีน ก็เกิดจากสาเหตุไตวายเฉียบพลัน ทั้งนี้เพราะอาหารหลักของเด็กทารกคือ นม ขณะที่ผู้ใหญ่จะรับประทานอาหารหลากหลายกว่า โอกาสได้รับสารเมลามีนเข้าไปจึงมีปริมาณไม่มาก ในสหรัฐอเมริกากำหนดค่าการได้รับสัมผัสหรือการกิน เท่ากับ 0.63 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัวหนึ่งกิโลกรัมต่อวัน และสหภาพยุโรปกำหนดไว้ที่ 0.5 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัวหนึ่งกิโลกรัมต่อวัน ต่อไปก็ไม่รู้ว่าจะมีการนำสารตัวอื่นที่เป็นอันตรายมาปลอมปนกับอาหารในทำนองเดียวกับเมลามีนอีกหรือไม่ ดังนั้นคงถึงเวลาแล้วที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องมาคุยกันเรื่องระบบเฝ้าระวังอาหารที่ปลอดภัยและรัดกุม เพื่ออย่างน้อยก็ให้สามารถควบคุมสถานการณ์ได้อย่างทันท่วงที ฉลาดซื้อทดสอบ ในวันประชุมกองบรรณาธิการเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2551 ฉลาดซื้อสนใจข่าวเรื่องเมลามีนอย่างมาก โดยเราไม่ค่อยเชื่อมั่นว่า บรรดานมผงสำหรับเด็กแม้ว่าจะมาจากประเทศอื่นที่ไม่ใช่เมืองจีน จะปลอดจากสารเมลามีน หรือผลิตภัณฑ์ที่มีนมเป็นส่วนผสมภายในประเทศหลายตัว เราก็กังวลว่าอาจมีการนำนมจากเมืองจีนมาใช้  ประกอบกับมีหลายคนโทรศัพท์มาถามที่ฉลาดซื้อกันมาก ว่ายี่ห้อนั้นยี่ห้อนี้เป็นอย่างไรบ้าง ปลอดภัยไหม (ส่วนใหญ่เป็นยี่ห้อดังๆ ที่นำเข้านมผงจากประเทศอื่นที่ไม่ใช่จีน) เผอิญว่าเรามีผลิตภัณฑ์นมผงที่นำมาวิเคราะห์ฉลาก (เรื่องเด่นฉบับนี้) ซึ่งเป็นลอตการผลิตที่เข้าข่ายต้องสงสัย จึงทยอยส่งห้องทดสอบพร้อมๆ กับสินค้าอาหารหลายรายการที่เก็บจากห้างสรรพสินค้า (เก็บตัวอย่างวันที่ 23 กันยายน)  เพื่อส่งตรวจหาเมลามีนพร้อมๆ กัน ผลทดสอบปรากฏว่า ไม่มีผลิตภัณฑ์ใดที่ปนเปื้อนสารเมลามีนหรือสารในกลุ่มเดียวกัน เป็นอันว่าปลอดภัยและเชื่อมั่นได้ อย่างที่ผู้ผลิต โดยเฉพาะกลุ่มสมาชิกผลิตภัณฑ์อาหารนมไทย ระบุว่า ผลิตภัณฑ์นมของพวกเขาปลอดภัยจากสารเมลามีน รวมทั้ง อย.เองก็ขยันขันแข็ง ยิ่งช่วงอาทิตย์สุดท้ายของเดือนกันยายน อย.ตรวจสินค้าอาหารกันวันต่อวันมากกว่า 90 รายการ ซึ่งไม่พบการปนเปื้อนแต่อย่างใด เว้นนมผงนำเข้าจากจีนของบริษัทดัชมิลล์บางรายการที่พบ แต่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ซึ่ง อย.บอกว่าสกัดไว้ได้ทันก่อนนำมาผลิตเป็นอาหารวางจำหน่าย ผลทดสอบรายชื่อผลิตภัณฑ์ที่ทดสอบการปนเปื้อนเมลามีน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 56 รายชื่อผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพที่ละเมิดสิทธิของผู้บริโภค

การโฆษณาโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นความผิดส่วนใหญ่ที่บริษัทผู้ผลิต ผู้จำหน่าย และผู้โฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ถูกดำเนินคดีซึ่งมีระวางโทษเพียงแค่ปรับไม่เกิน 5,000 บาท (ส่วนใหญ่มักถูกปรับเพียง 2,000 - 4,000 บาทเท่านั้น แม้บางครั้งจะมีการกระทำผิดไว้หลายที่หลายสถานก็ตาม) การมีบทลงโทษที่เบาบางยิ่งกว่าปุยนุ่นเมื่อเทียบกับเม็ดเงินค่าโฆษณา เทียบกับรายรับที่ได้จากการจำหน่าย ซ้ำยังไม่มีการพิสูจน์ต่อเนื่องไปอีกว่า เนื้อหาการโฆษณาที่ไม่ได้รับอนุญาตนั้นเข้าข่ายการโฆษณาเป็นเท็จหรือเป็นการหลอกลวงผู้บริโภคหรือไม่ (ซึ่งหากพบว่ามีความผิดจะมีระวางโทษสูงขึ้นอีกหลายเท่าตัวคือ จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ) ด้วยช่องโหว่ของกฎหมายในลักษณะนี้ เด็กอมมือก็ยังตอบได้ว่า ถ้าบังเอิญจะต้องฝ่าฝืนกฎหมายแล้วจะเลือกรับโทษแบบไหนดีกว่ากัน ..................................................................... ผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพที่ถูกสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.)สั่งปรับฐานละเมิดกฎหมาย ช่วงปี 2545-2546ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 52 รายชื่อผลิตภัณฑ์ปรุงแต่งรสอาหารที่มีผงชูรสหรือสารเคมีอื่น ๆ

รายชื่อผลิตภัณฑ์ปรุงแต่งรสอาหารที่มีผงชูรสหรือสารเคมีอื่นๆ เด็ก สตรีมีครรภ์ และผู้ป่วยอย่าไปเลือก แม้ข้อถกเถียงเรื่องอันตรายของผงชูรสจะยังไม่ลงตัว ณ เวลานี้ แต่จากข้อมูลที่ฉลาดซื้อได้นำเสนอไปในเรื่องเด่นของฉบับนี้ ก็ทำให้เห็นถึงความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นได้ต่อสุขภาพของคนเราโดยเฉพาะ เด็ก สตรี และผู้ป่วย การใช้เกณฑ์ปลอดภัยไว้ก่อนจึงเป็นเรื่องเหมาะสมสำหรับสุขภาพของเราในยุคที่มีสารพิษอยู่รอบตัวเต็มไปหมด การหลีก การเลี่ยงผงชูรสจึงเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้บริโภคยุคใหม่ ยุคที่เรารักและห่วงสุขภาพ และไม่อยากให้ภัยใด ๆ มาแย่งชิง ............................................................. จากข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) ที่ฉลาดซื้อได้ไปเก็บมาพบว่ามีผู้ประกอบการขอขึ้นทะเบียนเพื่อการจำหน่ายวัตถุที่ใช้ปรุงแต่งรสอาหารมากถึง 190 เลขทะเบียน รายชื่อ 89 เลขทะเบียนที่ฉลาดซื้อนำมาเสนอนี้ส่วนใหญ่เป็นผงชูรส มีส่วนน้อยที่อาจเป็นสารเคมีเพื่อใช้ในการปรุงรสชนิดอื่น ๆ แต่ทั้งหมดถูกใช้ในวงการอุตสาหกรรมอาหารและจำหน่ายตามท้องตลาดทั่วไป ผงชูรส หรือโมโนโซเดียมกลูตาเมต วัตถุเคมีที่กระทรวงสาธารณสุขอนุญาตให้ใช้เป็นวัตถุปรุงแต่งรสอาหารได้ แต่จัดอยู่ในกลุ่มอาหารควบคุมเฉพาะ ซึ่งผู้ผลิต-ผู้นำเข้า จะต้องได้รับใบอนุญาตผลิต/นำเข้า และขอขึ้นทะเบียนตำรับอาหาร โดยต้องมีคุณภาพมาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อประกันความปลอดภัยให้กับผู้บริโภค นั่นย่อมหมายถึงว่าผงชูรสไม่ใช่สิ่งที่ปลอดภัยเต็มร้อย แม้แต่กระทรวงสาธารณสุขเองก็เคยมีประกาศให้ผงชูรสต้องกำหนดคำเตือนบนซองผงชูรสว่า "ไม่ควรใช้ผสมอาหารสำหรับทารกหรือหญิงมีครรภ์"  แต่คำเตือนนี้ได้สูญหายไปในช่วงเวลาที่ยอดขายของผงชูรสเติบโตขึ้นมาแทนที่ คำเตือนจึงเหลือเพียงแต่การโฆษณาสรรพคุณ และชื่อยี่ห้อที่เต็มไปด้วยคำโอ้อวดว่าทำให้รสชาติของอาหารอร่อยอย่างล้ำเลิศ การหลีกเลี่ยงผงชูรสหรือหยุดบริโภคจึงเป็นสิทธิโดยชอบธรรมของผู้บริโภค และไม่เกิดความเสียหายใด ๆ ต่อสุขภาพหรือรสชาติอาหารแบบไทย ๆ ของเรา ความหมายอักษรย่อของเลขทะเบียนวัตถุที่ใช้ปรุงแต่งรสอาหาร

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 178 กระแสต่างแดน

ผลิตภัณฑ์/บริการยอดแย่แห่งปี Shonkys 2015มาถึงปีที่ 10 แล้วสำหรับการประกาศผลรางวัลผลิตภัณฑ์/บริการยอดแย่แห่งปี 2015 โดยสมาคมคุ้มครองผู้บริโภคแห่งออสเตรเลียซึ่งเป็นผู้จัดพิมพ์นิตยสาร CHOICE รางวัลนี้ได้มาไม่ยาก คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเขาคัดเลือกจากสินค้าและบริการที่ละเมิดสิทธิผู้บริโภคอย่างหน้ามึน ตั้งแต่การกล่าวอ้างที่ไม่เป็นจริง ตัวสินค้า/บริการตกมาตรฐาน หรือการดำเนินงานโดยปราศจากความโปร่งใส เป็นต้น … มาดูกันเลยดีกว่า ว่าปีนี้ใครได้รางวัลนี้ไปเชยชมกันบ้าง   “บัตรเครดิตดอกเบี้ยต่ำ” (ที่ดอกเบี้ยสูงมาก) ผู้บริโภคพึงสังวร อย่าได้หลงเชื่อคำว่า “ดอกเบี้ยต่ำ” ของธนาคารรายใหญ่อย่าง National Australia Bank หรือ NAB เด็ดขาด ในภาพรวมนั้นอัตราดอกเบี้ยของออสเตรเลียลดลงจากร้อยละ 4.75 เมื่อ 4 ปีก่อน ลงมาเหลือเพียงร้อยละ 2 ในปัจจุบัน แต่พฤติกรรมของ NAB กลับสวนกระแส ใช้ช่วงชุลมุนเพิ่มอัตราดอกเบี้ยต่อปีของบัตรเครดิตจากร้อยละ 12.99 เป็นร้อยละ 13.99 จะว่าไปเขาก็สามารถทำได้ ไม่ผิดกฎหมาย แต่มันสร้างความคับข้องใจให้กับผู้บริโภคนี่สิ ... อัตราดอกเบี้ย “ต่ำ” ของเขานี่มันต่ำยังไง เมื่อธนาคารเจ้าเล็กๆเขาคิดไม่เกินร้อยละ 10 คุณต้องทำใจนะ ถ้าอยากอยู่กับเจ้าใหญ่ที่ถือเป็นบิ๊กโฟร์ (อีก 3 ธนาคารได้แก่ Westpac Commonwealth Bank และ Australia and New Zealand Banking Group) เพราะเฉลี่ยแล้วดอกเบี้ยของหนี้จากบัตรเครดิตของธนาคารทั้ง 4 นี้ สูงถึงร้อยละ 18.98 เลยเชียว     หลอกคุณพ่อคุณแม่แน่นอนกว่า ขนมขบเคี้ยวที่คุณจะเลือกให้ลูกน้อยต้องมีความดีงามตามสมควรใช่หรือไม่ แล้วถ้าเรามีบิสกิตพร้อมตรา “รับรองโดยโรงอาหารของโรงเรียน” มันก็น่าจะไม่มีทางผิดพลาด ... รึเปล่า?!! ตราที่ว่านี้พบได้บนซองขนมไทนี่ เทดดี้ ของอาร์น็อต บริษัทอ้างว่าตรานี้จะช่วยให้พ่อแม่ตัดสินใจเลือกซื้อได้ง่ายขึ้น แต่คำถามคืออาร์น็อตไปได้การรับรองนี้จากที่ไหน? ไม่มีหลักฐานว่าโรงอาหารของโรงเรียนใดให้การรับรองที่ว่าเลย ที่มีแน่ๆ คือคำแนะนำเรื่องการจัดอาหารในโรงเรียนที่ระบุว่า ขนมทุกชนิดรวมถึงช็อคโกแล็ตชิพและขนมเคลือบช็อคโกแลตนั้นให้ถือว่าเป็นของหวาน ซึ่ง “ไม่แนะนำให้มีในเมนูอาหารของโรงเรียน” เรื่องนี้ถึงหูหน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภค ACCC แล้ว ล่าสุดอาร์น็อตประกาศว่าจะยกเลิก ตราประทับเก๊ๆ ดังกล่าวภายในกลางปี 2016   รีดเลือดกับปู เมื่อเงินไม่พอใช้ คนออสซี่บางคนเลือกใช้บริการบริษัทเงินกู้ แต่ค่าธรรมเนียม ดอกเบี้ย และค่าโน่นนี่สารพัด มันไม่ช่วยกอบกู้สถานการณ์การเงินเอาเสียเลย ถ้าเรายืมเงิน 250 เหรียญ ระยะเวลายืม 2 สัปดาห์ เราจะต้องใช้คืนพร้อมดอกเบี้ยที่คิดเป็นอัตราร้อยละ 742 ต่อปี เอิ่ม ... แล้วจะกู้มาให้ปวดหัวทำไม โชคดีที่รัฐบาลประกาศห้ามการคิดดอกเบี้ยแบบนี้แล้ว ตั้งแต่มีนาคม 2013 เป็นต้นมาออสเตรเลียประกาศห้ามการให้กู้ในวงเงินไม่เกิน 2,000 เหรียญ ที่มีระยะเวลาจ่ายคืนภายใน 15 วัน และให้จำกัดค่าธรรมเนียมที่ไม่เกินร้อยละ 20 ของจำนวนเงินที่กู้ รวมถึงการคิดดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 4 ต่อเดือน แต่ผู้ประกอบการใช่จะยอมถอยไปง่ายๆ อัจริยะทางการเงินเหล่านี้หันมาให้กู้ 100 เหรียญ ในระยะเวลา 16 วัน ซึ่งเมื่อคำนวณดูแล้ว คุณยังต้องใช้คืนถึง 124 เหรียญ   ลูกบอลขยัน แต่มันไม่ช่วยขยี้CHOICE ฟันธง! ลูกบอลนาโนสมาร์ตที่อ้างว่าจะมา “ปฏิวัติวิธีซักผ้าของคุณ” และปลดแอกคุณจากเทคโนโลยีแสนโบราณอย่างผงซักฟอกและน้ำยาปรับผ้านุ่มนั้น ... มันไม่เวิร์คการทดสอบโดยห้องปฏิบัติการของ CHOICE พบว่า มันทำอะไรไม่ได้เลย ... ยิ่งกว่านั้น เมื่อเทียบกันแล้วเขาพบว่า ผ้าที่ซักด้วยเครื่องซักผ้าที่มีเพียงน้ำเปล่า ยังสะอาดกว่าตอนที่ใส่ลูกบอลราคา 50 เหรียญนี้ลงไปเสียอีก แล้วเจ้า “ไบโอเซรามิกส์” ในลูกบอลมันไปทำอะไรอยู่ที่ไหน ไม่มาปล่อยแสงอินฟราเรด หรือยิงประจุลบลดขนาดโมเลกุลของน้ำให้มันเล็กจนชอนไชไปจัดการคราบสกปรกในเนื้อผ้าได้ … ดังที่โฆษณา   เครื่องซักผ้าไฟแรงรู้กันหรือยัง ว่าเครื่องซักผ้าอาจทำให้ไฟไหม้บ้านได้ ก่อนซื้อย่าลืมตรวจสอบว่ารุ่นที่คุณสนใจนั้นอยู่ในรายชื่อที่ถูกเรียกคืนหรือเปล่า แต่ถ้าบริษัทไม่ยอมประกาศเรียกคืนสินค้า แล้วผู้บริโภคอย่างเราจะทำอย่างไร ที่แน่ๆ CHOICE ขอมอบรางวัลเยี่ยมแย่ให้กับซัมซุง โทษฐานที่อิดออดเป็นนานกว่าจะยอมเรียกคืนเครื่องซักผ้าฝาบนที่มีความเสี่ยงเกิดไฟไหม้จำนวน 144,000 เครื่องออกจากตลาดออสเตรเลีย จะว่าไม่รู้ก็คงไม่ใช่ นับถึงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา เกิดปัญหากับเครื่องซักผ้าของซัมซุง 224 ครั้ง ในจำนวนนั้นบริษัทระบุว่าเป็นปัญหาไฟไหม้ถึง 76 ครั้ง ... เอิ่ม .. แต่เขากลับไม่ได้แจ้งต่อผู้บริโภคในช่องทางที่จะทำให้เกิดการรับรู้อย่างแพร่หลาย แถมยังผลักภาระค่าซ่อม ค่าอะไหล่กลับมาที่ผู้บริโภคอีกด้วย สุดท้าย หน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภค ACCC ใช้อำนาจบังคับให้บริษัทรับซื้อเครื่องซักผ้าไฟแรงพวกนั้นคืนไป   หนังที่ไม่ใช่หนังถ้าคุณดูแคตาล็อคเฟอร์นิเจอร์ของอิเกีย หมวด “เฟอร์นิเจอร์หนัง” คุณจะพบว่ามีไม่น้อยเลยที่ทำจากวัสดุโพลีเอสเตอร์หรือโพลียูรีเทน เฉลยนั้นมีอยู่เป็นตัวเล็กๆ ภายใต้หัวข้อ “ข้อมูลผลิตภัณฑ์” ตัวอย่างเช่น โซฟารุ่นหนึ่งระบุว่า “สินค้ารุ่นนี้ทำจากวัสดุผ้าเคลือบที่มีความทนทาน ที่มีรูปลักษณ์และผิวสัมผัสคล้ายหนัง” หลังจากได้ทราบว่าตนเองเข้าข่ายผู้ประกอบการที่ได้รับรางวัลยอดแย่ บริษัทก็ได้ปรับปรุงข้อมูลในเว็บไซต์ให้เป็นไปตามข้อเท็จจริงแล้ว   มันต้องลดโค้กสิปีที่แล้ว โคคา โคลา ออสเตรเลีย มีกำไรลดลงจากสองปีก่อนหน้า ทำให้บริษัทต้องลงมือกอบกู้สถานการณ์โดยด่วน และนั่นอาจเป็นเหตุผลที่บริษัทเข้าไปเป็นผู้สนับสนุน “เครือข่ายความสมดุลในการใช้พลังงาน” Global Energy Balance Network (GEBN) ที่อุทิศตนเพื่อหยุดยั้งภาวะโรคอ้วน ... แต่ไม่ใช่ด้วยการทำให้ผู้คนเลิกนิสัยการกินที่ไม่ดี (เช่น บริโภคเครื่องดื่มรสหวานมากเกินไป) หรอกนะ เขารณรงค์เรื่องการใช้พลังงานให้สมดุลกับสิ่งที่บริโภคเข้าไป ทำนองว่ากินหวาน กินมากไม่เป็นไร แค่ต้องใช้แรงออกไปให้มากพอกันเป็นใช้ได้ เ พื่อเห็นแก่ “วิทยาศาสตร์” แบบเข้าข้างตัวเอง CHOICE เลยแจกรางวัลนี้ให้   กดไม่ลง พอเข้าใจได้ถ้าคุณจะทิ้งทิชชูเปียกสำหรับเด็กลงชักโครก เพราะฉลากของคลีเน็กซ์เขาระบุว่า “สามารถกดลงชักโครกได้” คือ ... คุณจะทิ้งก็ได้ แต่บอกเลยว่ามันไม่ได้เกิดมาเพื่อสิ่งนั้น และมันจะสร้างความขุ่นเคืองให้ช่างประปาแถวบ้านคุณมิใช่น้อย ทิชชูเปียกพวกนี้ นอกจากจะไม่เป็นมิตรต่อท่อน้ำทิ้งแล้ว มัยยังไม่เป็นมิตรกับผู้บริโภคที่เสียเงินซื้อสินค้าชนิดกดลงชักโครกได้ ที่ไม่ควรนำมากดลงชักโครก แล้วถ้าท่อเกิดตันขึ้นมา ใครจะเป็นคนจ่ายเงินค่าเรียกช่าง? คนออสซี่ส่วนใหญ่ก็ยังไม่รู้ว่าผลิตภัณฑ์พวกนี้ทำให้พวกเขาเสียเงินไม่ต่ำกว่า 15 ล้านเหรียญ  

อ่านเพิ่มเติม >