ฉบับที่ 122 กระแสในประเทศ

  ประมวลเหตุการณ์เดือนมีนาคม 255410 มีนาคม 2554ขอระงับใช้มือถือชั่วคราว ต้องไม่เสียเงินสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.) เปิดเผยข้อมูล พบผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ขอระงับการใช้บริการชั่วคราว ยังคงถูกเรียกเก็บเงินค่ารักษาเลขหมายโดยไม่เป็นธรรม ทั้งที่ตามมาตรฐานสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 ข้อ 25 ระบุไว้ว่า ให้ความคุ้มครองผู้บริโภคในการระงับใช้บริการชั่วคราวได้ โดยแจ้งให้บริษัททราบล่วงหน้า 3 วัน โดยบริษัทจะกำหนดระยะเวลาขั้นต่ำสุดหรือสูงสุดที่ยินยอมให้ระงับการใช้บริการชั่วคราว ที่สำคัญคือ บริษัทไม่มีสิทธิเรียกเก็บค่าใช้จ่าย เพียงแต่ให้มีการระงับการให้บริการไปจนครบกำหนดตามเงื่อนไข เมื่อครบกำหนดแล้วบริษัทผู้ให้บริการจึงค่อยกลับมาเปิดให้บริการและคิดค่าบริการตามปกติ  จากการตรวจสอบข้อมูลของ สบท. พบว่า ในทางปฏิบัติ มีเพียงผู้ให้บริการรายเดียวที่เปิดให้ผู้บริโภคสามารถระงับบริการชั่วคราวได้ 2 ปี โดยไม่คิดค่าบริการใน 30 วันแรก หลังจากนั้นจะคิดค่ารักษาเลขหมายเดือนละ 60 บาท ขณะที่ผู้ให้บริการที่เหลือไม่ได้ให้สิทธิผู้บริโภคในการระงับบริการชั่วคราวตามกฎหมาย หากมีการระงับบริการชั่วคราวต้องจ่ายค่าบริการตามปกติ หรือสมัครใช้โปรโมชั่นที่ราคาต่ำสุด หรือ บางรายที่เป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์บ้านและมีบริการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วย ให้สิทธิในการระงับบริการชั่วคราวโทรศัพท์บ้านได้ แต่ต้องจ่ายค่ารักษาคู่สายโทรศัพท์ และกรณีสมัครใช้บริการอินเทอร์เน็ตไว้ด้วย ไม่สามารถระงับการใช้บริการชั่วคราวได้ต้องยกเลิกบริการเท่านั้น -------------------     19 มีนาคม 2554สคบ. เดินหน้า 6 นโยบายเชิงรุกเพื่อผู้บริโภคสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เตรียมผลักดันการดำเนินงานนโยบายการทำงานเชิงรุก 6 ข้อ เน้นที่ตรวจสอบเฝ้าระวังสื่อโฆษณาทุกช่องทาง ควบคู่กับการสร้างความรู้ความเข้าใจกับผู้บริโภค พร้อมประเดิมลงดาบกับบรรดาธุรกิจขายตรงที่ไม่มีความเคลื่อนไหว ซึ่งธุรกิจประเภทนี้มีแนวโน้มที่เพิ่มมากขึ้น หวั่นเป็นการตั้งบริษัทแบบไม่โปร่งใส โดยนโยบายเชิงรุกในการสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มความรู้ในงานคุ้มครองผู้บริโภคทั้ง 6 ข้อมีดังนี้  1. รายงานผลการ ดำเนินงานต่อคณะรัฐมนตรีทุกเดือน 2. แต่งตั้งเจ้าหน้าที่พนักงานข้าราชการสคบ.ประจำจังหวัด จำนวน 150 อัตรา เพื่อให้การทำงานมีความต่อเนื่อง เพราะปัจจุบันการทำงานเพื่อรับเรื่องร้องเรียนในต่างจังหวัดนั้น จะมีพนักงานลูกค้าอยู่ประจำ 2 คน ทำให้มีการลาออกจากตำแหน่งอย่างต่อเนื่อง เพราะไม่เห็นความก้าวหน้าในอาชีพ ซึ่งทาง สคบ.ได้ยื่นเรื่องเพื่อขออัตราตำแหน่ง เป็นกรณียกเว้น ตามมติครม. ที่มีคำสั่งไม่ให้เพิ่มจำนวนข้าราชการ 3. แต่งตั้งกองงานสำนักงานเพื่อดูแลธุรกิจขายตรงโดยเฉพาะ 4. ปรับปรุงเว็บไซต์ให้ผู้บริโภคค้นหาข้อมูลได้ง่ายขึ้น 5. มอบตราสัญลักษณ์ธุรกิจติดดาว เพื่อยกมาตรฐาน สินค้าและบริการให้กับธุรกิจต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจบ้านจัดสรร ร้านค้าทอง วัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้ผู้ประกอบการร่วมรับผิดชอบในการยกระดับมาตรฐานสินค้า และบริการ 6. เพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบโฆษณาเกินจริง โดยเฉพาะสื่อโฆษณาเคเบิลทีวีเนื่องจากที่ผ่านมาสคบ. ได้รับร้องเรียนจากผู้บริโภคถึงการอวดอ้าง สรรพคุณสินค้าและบริการที่เกินจริง ซึ่ง มีสินค้าและบริการที่เข้าข่ายอยู่ 4 กลุ่ม คือ เครื่องสำอาง เสริมอาหาร ยา และการพยากรณ์โชคชะตา การใบ้หวย----------------------------------------     21 มีนาคม 2554ห้าม! ธนาคารพาณิชย์จัดชิงโชคเรียกคนออมเงินธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกกฎเหล็กห้ามธนาคารพาณิชย์จัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาดด้วยวิธีการชิงโชคแจกรางวัลเพื่อหวังจะระดมเงินฝากจากลูกค้า เพราะบางครั้งการโฆษณาให้ฝากเงินเพื่อร่วมชิงโชคนั้น ทางธนาคารให้ข้อมูลที่ซับซ้อนและไม่สมบูรณ์เกี่ยวกับเรื่องอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก นายเกริก วณิกกุล รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ปัจจุบันสถาบันการเงินธนาคารพาณิชย์มีการจัดกิจกรรมทางการตลาดที่หลากหลาย เรื่องการจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาดและการแจกของรางวัลในการระดมเงินฝาก ดูเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม หากธนาคารต้องการกระตุ้นการฝากเงินจากผู้บริโภคหรือผู้ใช้บริการ ควรใช้วิธีการเพิ่มดอกเบี้ยเงิน ซึ่งเป็นวิธีที่จริงใจตรงไปตรงมา และตัวผู้บริโภคเองก็ได้รับประโยชน์มากที่สุด-------------------------------------------------------------   22 มีนาคม 2554หมวกกันน็อคไม่ได้คุณภาพกองบังคับการปราบปราม การกระทำผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริดภค (บก.ปคบ.) ได้ตรวจยึดสินค้าและจับกุมผู้ผลิต หมวกนิรภัยหรือหมวกกันน็อคสำหรับเด็กยี่ห้อ GUARDNER กว่า 1 พันใบ หลังจากตรวจสอบแล้วพบว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน ยืนยันจากผลการวิเคราะห์โดยผู้เชี่ยวชาญจากสำนักมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) แม้จะมีตรา มอก.ติดอยู่แต่ตัวหมวกนั้นดูเปราะบางกว่าที่ควรจะเป็น ซึ่งในปีนี้ทางภาครัฐได้ประกาศรณรงค์ให้เป็นปีส่งเสริมการสวมหมวกนิรภัยหรือหมวกกันน็อค 100 เปอร์เซ็นต์ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยบนท้องถนน โดยเฉพาะกับกลุ่มที่เสี่ยงต่อการบาดเจ็บและเสียชีวิต ได้แก่ เด็ก เยาวชน และผู้ใช้แรงงานที่มีรายได้ต่ำและขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเรื่องการใช้หมวกนิรภัย กองบังคับการปราบปราม การกระทำผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริดภค (บก.ปคบ.) จึงได้จัดทำโครงการ “ขับขี่ปลอดภัย ไปกับหมวกนิรภัย มอก.” โดยได้มีการลงพื้นที่ให้ความรู้แก่ประชาชนควบคู่กับการตรวจสอบมาตรฐานสินค้าประเภทหมวกนิรภัย  สำหรับที่พบเจอหรือสงสัยว่าสินค้าที่ซื้อมาไม่ได้มาตรฐาน สามารถแจ้งมายังเจ้าหน้าที่ บก.ปคบ.ได้ที่หมายเลข 1135    ฉลากขนมแบบสัญญาณไฟจราจร คำตอบที่ใช่ของสุขภาพเด็กไทยเครือข่ายผู้บริโภคเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหาร ยื่นหนังสือถึงรัฐมนตรีสาธารณสุข เพื่อขอให้ทบทวนการอนุมัติการใช้ฉลากขนมแบบ GDA เพราะยังเข้าใจยาก ไม่ได้บอกถึงข้อดีข้อเสียของขนมชนิดนั้นๆ อย่างตรงไปตรง พร้อมเสนอให้ใช้ฉลากแบบสัญญาณไฟจราจรซึ่งให้ข้อมูลต่างๆ ที่ดูเข้าใจง่ายกว่า ฉลากแบบสัญญาณไฟจราจรจะแสดงปริมาณสารอาหารทั้ง 4 ประเภท ได้แก่ พลังงาน ไขมัน น้ำตาล และโซเดียม ในรูปแบบของสีสัญญาณไฟจราจร 3 สี คือ สีเขียว หมายถึง สารอาหารดังกล่าวมีปริมาณน้อย สีเหลือง เท่ากับมีพอสมควรหรือปานกลาง ส่วนสีแดงหมายถึงมีมาก ทานเยอะไม่ดี ซึ่งฉลากแบบสัญญาณไฟจราจรจะช่วยให้เด็กๆ และรวมถึงพ่อ-แม่ ผู้ปกครอง เข้าใจได้ง่าย รวดเร็ว รู้ได้ทันทีว่าขนมที่ซื้อมาให้พลังงานหรือมีไขมัน น้ำตาล โซเดียม มากน้อยเพียงใด ช่วยทำให้การควบคุมการทานขนมให้เหมาะสมกับสุขภาพเป็นไปได้ง่ายขึ้น ซึ่ง พลังงาน ไขมัน น้ำตาล และโซเดียม แม้จะเป็นสารอาหารที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกาย แต่หากได้รับมากเกินไปก็เป็นอันตราย ทำให้เด็กเป็นโรคอ้วน ซึ่งเป็นต้นเหตุของโรคร้ายแรงอย่าง เบาหวาน หัวใจ ความดัน  ส่วนฉลากขนมแบบ GDA จะแสดงเพียงตัวเลขปริมาณของสารอาหารและเปอร์เซ็นต์ของปริมาณที่ควรทานต่อวัน มีสีเดียว ทำให้เห็นฉลากนี้ชัดเจนน้อยกว่าฉลากแบบอื่น จนบางครั้งกลืนไปกับบรรจุภัณฑ์ ผู้ประกอบการจึงมักใช้ฉลากแบบ GDA ที่มีสีเดียวเพื่อหลบเลี่ยงความสนใจจากผู้บริโภคในค่าสารอาหารที่ไม่มีประโยชน์แต่มีมากจนทำลายสุขภาพ  ซึ่งก่อนหน้านี้ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ เรื่องการจัดการปัญหาภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน ให้ใช้มาตรการลักษณะสีสัญญาณพร้อมคำเตือนในอาหารที่มีไขมัน หรือน้ำตาล หรือโซเดียม หากคณะกรรมการอาหารเห็นชอบให้ใช้ฉลากจีดีเอสีเดียว ก็ถือว่าขัดกับมติ ครม.อย่างชัดเจน  ...ถ้าผู้ใหญ่ในบ้านเรามีความจริงใจและห่วงใยสุขภาพเด็กๆ จริงๆ ก็คงไม่ต้องบอกว่าฉลากขนมแบบไหนที่ควรใช้มากกว่ากัน...--------------     “3 ระวัง! เพื่อรถโดยสารปลอดภัย”ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิเพื่อผู้บริโภค พร้อมอาสาสมัครผู้บริโภคจากเครือข่ายผู้บริโภค 24 จังหวัด จัดกิจกรรมเนื่องในวันสงกรานต์ “3 ระวัง! เพื่อรถโดยสารปลอดภัย” เชิญชวนประชาชนผู้ใช้บริการ ผู้ประกอบการรถโดยสาร รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันป้องกันภัยอันตรายจากการใช้บริการรถโดยสารที่ไม่เหมาะสม 1.ระวัง! รถผี รถเถื่อน เพราะช่วงเทศกาลเป็นช่วงที่มีคนต้องการเดินทางออกต่างจังหวัดกันเป็นจำนวนมาก แม้จะมีการจัดหารถโดยสารมาเสริมเพิ่มมากขึ้น แต่ก็ยังไม่พอกับความต้องการ ทำให้เกิดการให้บริการรถโดยสารผิดกฎหมายหรือที่เรียกว่า “รถผี รถเถื่อน” รถประเภทนี้จะไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบการเดินรถที่ บขส. ได้กำหนดไว้ มีการเรียกเก็บค่าโดยสารที่แพงเกินกำหนด เกิดอุบัติเหตุอยู่บ่อยครั้งมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก และเมื่อเกิดเหตุร้ายกับผู้โดยสารแล้ว มักจะหาผู้รับผิดชอบได้ยาก เราจึงไม่ควรเลือกใช้บริการพวก “รถผี รถเถื่อน” บขส.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเข้มงวดกวดขันเฝ้าระวังมิให้ผู้ใดมาชักชวนประชาชนไปใช้บริการรถโดยสารที่ผิดกฎหมายได้  2.ระวัง! ขับอันตราย สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุรถโดยสารส่วนใหญ่เกิดจากพนักงานขับรถขับรถด้วยความประมาท หรือร่างกายหย่อนความสามารถ ไม่พร้อม การแก้ไขปัญหา ผู้ประกอบการทั้ง บขส.และรถร่วมทุกบริษัท ต้องกำชับให้พนักงานขับรถปฏิบัติตามระเบียบและคู่มือการเดินรถของ บขส. อย่างเคร่งครัด เช่น ไม่ขับรถในเวลาที่ร่างกายหรือจิตใจหย่อนความสามารถ เช่น พักผ่อนไม่เพียงพอ และต้องปฏิบัติตามกฎหมายจราจรอย่างเคร่งครัด  3.ระวัง! ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย รถโดยสารสาธารณะโดยเฉพาะรถประจำทางปรับอากาศที่เดินทางระหว่างจังหวัดหรือข้ามจังหวัด ควรจัดให้มีเข็มขัดนิรภัยแก่ผู้โดยสารทุกที่นั่ง และควรให้พนักงานประจำรถแนะนำผู้โดยสารให้ใช้เข็มขัดนิรภัยทุกคน การที่ผู้โดยสารคาดเข็มขัดนิรภัยหากรถเกิดอุบัติเหตุขึ้นจะทำให้ร่างกายของผู้โดยสารไม่หลุดจากที่นั่งไปชนกระแทกกับผู้โดยสารคนอื่นหรือวัสดุสิ่งของต่างๆ ในรถได้ ซึ่งช่วยลดความสูญเสียที่เกิดจากการบาดเจ็บและเสียชีวิตได้เป็นอย่างดี  

อ่านเพิ่มเติม >

เพลิงไหม้มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค - กอง บก.ฉลาดซื้อ

มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคถูกไฟไหม้   ถึงทุกคน ก่อน อื่น ต้องขอบคุณทั้งโทรศัพท์ อีเมล์ SMS วันนี้ที่มีมาถึงทั้งสารี และน้องๆ ทุกคนของสำนักงานมูลนิธิ ฯ และขอบคุณพี่ ๆ เพื่อน  น้อง ๆ หลายคนที่มาช่วยเหลือที่สำนักงานของมูลนิธิในวันนี้ พวกเราทุกคนปลอดภัย ไม่มีใครได้รับอันตรายใด ๆ ขออนุญาต เล่าเรื่องราวโดยสรุปให้รับทราบกัน ตอน เช้ามืดวันที่ 2O เริ่มมีควันดูเหมือนจะออกมาทางสำนักงานของมูลนิธิ ฯ ได้ประสานงานกับกรุงเทพมหานครเพื่อดับเพลิง พวกเรามาถึงสำนักงานประมาณ 6.30 ได้เปิดประตูของสำนักงาน และวิ่งขึ้นไปบนอาคารชั้นสอง พบว่า กำแพงของมูลนิธิ ฯ ชั้นสองที่ติดกับอาคารเซ็นเตอร์วัน พังลงมา และมีไฟกำลังลุกลามเข้ามาในอาคารของมูลนิธิ  ก็ช่วยกันนำน้ำขึ้นไปดับบน อาคารก่อน หลังจากนั้นไม่นานเจ้าหน้าที่ดับเพลิงก็ได้เข้ามาเราขน ของได้จากชั้นหนึ่งของอาคารเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นเอกสารของศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค เป็นทั้งไฟล์ และ เอกสารข้อร้องเรียน คดีที่ให้การช่วยเหลือ สามารถนำ CPU ของเจ้าหน้าที่ชั้น 1 ออกมาได้บางส่วน ส่วนชั้นสองเป็นงานสนับสนุนองค์กรผู้บริโภค ส่วนสำนักงาน และชมรมเพื่อโรคไตไม่สามารถขนอะไรได้เลยเนื่องจากเจ้าหน้าที่ไม่อนุญาต เพราะไฟกำลังลุกลาม  รวมทั้งอุปกรณืเหล่านั้นถูกความร้อนหลอมละลายจนไม่ สามารถใช้งานได้แล้วชั้นสามส่วน นิตยสารฉลาดซื้อและรายการกระต่ายตื่นตัว เสียหายมากสุด น้อง ๆ ฝ่าควันไฟที่หนาพอควร ขึ้นไปพร้อมกับเจ้าหน้าที่ดับเพลิง ขนกล้องทีวี และฐานข้อมูล บางส่วนลงมาได้ชั้นสี่ไม่ สามารถขึ้นไปได้เลย การดับเพลิง ใช้เวลานานมาก และเป็นไปด้วยความยากลำบาก และเจ้าหน้าที่ไม่อนุญาตให้อยู่ในอาคารหลังจากขนของได้เพียงเล็กน้อยมูลนิธิ เพื่อผู้บริโภคได้ตัดสินใจให้เจ้าหน้าที่ดับเพลิงทุบผนังอาคารของตนเองส่วน ชั้น 3 และ 4 เพื่อให้สามารถดับเพลิงในเซ็นเตอร์วันให้ได้ เนื่องจากอาคารของเซ็นเตอร์วันเริ่มทรุดและแตกร้าวเพิ่มมากขึ้น ทำให้ทุกคนกังวลเรื่องการทรุดตัว และอาคารรอบด้านของมูลนิธิฯ เป็นบ้านไม้ จำนวน 5 หลัง และหากบ้านไม้เหล่านี้ได้รับเพลิงก็จะทำให้ไฟลุกลามได้ทั้งชุมชนและควบคุม ได้ยาก ไฟและควันที่ลุกลามฝั่งมูลนิธิเริ่มลดลงและสงบประมาณ 3 โมงเย็น แต่ฝั่งเซ็นเตอร์วันยังคุกรุ่นอยู่ (จนถึงขณะนี้)ความเสียหายครั้งนี้กระทบกับมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคในทุกด้าน ทั้งการให้บริการประชาชนทั่วไปที่มารับบริการขอคำแนะนำการละเมิดสิทธิผู้ บริโภคที่มูลนิธิ และข้อมูลจำนวนมากที่ขณะนี้ยังไม่ได้ตรวจสอบ งบประมาณการทำงานขององค์กร ความเสียหายด้านกายภาพประเมินโดยสรุปดังนี้ ขั้นหนึ่ง ไม่มีเพลิง แต่ได้รับผลกระทบจากน้ำ ที่ไหลลงมาจากชั้นบน ชั้นสอง เสียหายประมาณ 70 % ชั้นสาม เสียหายประมาณ 90% ชั้นสี่ ไม่สามารถประเมินได้ เพราะไม่สามารถขึ้นไปดูได้ อาคาร นี้ได้รับการปรับปรุงด้วยงบประมาณจากการบริจาคของคนที่มาร่วมงานระดมทุน เมื่อปี 2549 และเงินสะสมและเงินบริจาคของมูลนิธิ ฯ ไม่น้อยกว่า 17 ปี อาคารนี้ใช้งบประมาณในการปรับปรุง ไม่น้อยกว่า 6 ล้านบาท เครื่องใช้สำนักงานก็เป็นทรัพย์สินของมูลนิธิ ฯ ที่สะสมจากการทำงานมาพวก เราเข้ามาอยู่ในอาคารนี้ 2 ปีเต็ม ปัจจุบันมีเจ้าหน้าที่ของมูลนิธิ จำนวน 32 คน และชมรมเพื่อนโรคไตอีกประมาณ 4 คน(ไม่รวมอาสาสมัครที่เข้ามาเป็นบางวัน อีกประมาณ 6 คนมูลนิธิ ฯ มีงานสี่ส่วนที่สำคัญที่จะต้องเดินหน้า 1) การให้ความช่วยเหลือคนที่ถูกละเมิดสิทธิ และการติดตามคดีที่ให้การช่วยเหลือ แต่ละปี เราให้คำแนะนำช่วยเหลือฟ้องคดี ไม่น้อยกว่า 10,000 คน ผ่านระบบโทรศัพท์ 02-2483737 จำนวน 4 คู่สาย ซึ่งมีผู้โทรศัพท์มาขอใช้บริการทั้งวัน 2) งานสนับสนุนองค์กรผู้บริโภค ที่สนับสนุนองค์กรผู้บริโภคทั่วประเทศ และรณรงค์นโยบาย เช่น องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคตามรัฐธรรมนูญมาตรา 61 เป็นต้น 3) นิตยสารฉลาดซื้อ มีการทดสอบสินค้าและเปรียบเทียบเพื่อให้ข้อมูลผู้บริโภคในการเลือกซื้อสินค้า 4) รายการกระต่ายตื่นตัว รายการสิทธิผู้บริโภคสำหรับเด็กในทีวีไทย (TPBS) ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ เวลา 10.05 น. ความช่วยเหลือที่ต้องการตอนนี้ที่เร่งด่วน คงมีพอประมาณนี้ สถานที่ทำงานของเจ้าหน้าที่และอาสาสมัคร ประมาณ 36 คน คอมพิวเตอร์ สำหรับเจ้าหน้าที่ในการทำงาน เนื่องจากที่นำออกมาได้ เป็น CPU ของคอมพิวเตอร์บางเครื่อง อุปกรณ์สำนักงานที่จำเป็น เช่น Printer แรงงานช่วยเคลียร์ของและขนย้าย หลังจากมีการประเมินความเสียหายและความปลอดภัยของตึกเป็นที่เรียบร้อย หลังจากนั้นก็คงต้องระดมทุนเพื่อหาเงินซ่อมแซมอาคารของมูลนิธิ ฯ เพื่อให้สามารถกลับมาใช้งานได้อีก หากใครต้องการช่วยเหลือมูลนิธิ ฯ ติดต่อได้ที่คุณเตือนใจ รอดสกุล 08-4652-6105คุณรัสนา ฐิติวงษา 08-9661-9836หรือสามารถโอนเงินสนับสนุนงานการทำงานในภาวะวิกฤตของมูลนิธิและสามารถหักลดหย่อนภาษีรายได้ประจำปี ขอขอบพระคุณความห่วงใยและความช่วยเหลือมา ณ โอกาสนี้ ---------------------------------- บัญชี "มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค" ธนาคารกสิกรไทย สาขางามวงศ์วาน เลขที่บัญชี 058-2-86735-6บัญชี "มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค" ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขางามวงศ์วาน เลขที่บัญชี 319-2-62123-1บัญชี "มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค" ธนาคารกรุงไทย สาขางามวงศ์วาน เลขที่บัญชี 141-1-28408-9บัญชี "มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค" ธนาคารทหารไทย สาขางามวงศ์วาน เลขที่บัญชี 026-2-40760-4บัญชี "มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค" ธนาคารกรุงเทพ สาขาย่อยเดอะมอลล์งามวงศ์วาน เลขที่บัญชี 088-0-38742-8บัญชี "มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค" ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขาย่อยเดอะมอลล์งามวงศ์วาน เลขที่บัญชี 463-1-10884-6 ขอขอบพระคุณความห่วงใยและความช่วยเหลือมา ณ โอกาสนี้ สารี  อ๋องสมหวัง มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 111 กระแสในประเทศ

ประมวลเหตุการณ์เดือนเมษายน 255323 เมษายน 2553 จับจริง! เครื่องดื่มอวดอ้างสรรพคุณลดอ้วนนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.สาธารณสุข แถลงข่าวการตรวจจับผลิตภัณฑ์อาหารในกลุ่มของเครื่องดื่มที่อวดอ้างสรรพคุณว่าดื่มแล้วสามารถลดน้ำหนักได้ ซึ่ง อย.ตรวจสอบแล้วพบมีความผิดหลายส่วนทั้งปลอมแปลงเลขสารบบอาหารของ อย. แสดงฉลากไม่ถูกต้อง แสดงสรรพคุณของส่วนประกอบที่ อย.ไม่อนุญาต ซึ่งมีผลทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิด ของกลางที่ตรวจยึดได้ประกอบด้วย ชามะนาวปรุงสำเร็จผสมคอลลาเจน ยี่ห้อ สลิมคัพ, โกโก้มอลต์ สูตรถั่วขาวและกระบองเพชร ยี่ห้อ ไวท์ เลเบิล, โกโก้ปรุงสำเร็จชนิดผง ยี่ห้อ สลิมคัพ, กาแฟปรุงสำเร็จชนิดผง ยี่ห้อคิงส์คอฟฟี่พลัส และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่เข้าข่ายความผิดรวมทั้งหมด 21 รายการ มูลค่ากว่า 9 ล้านบาท ซึ่งสินค้าของกลางทั้งหมดถูกตรวจยึดได้ที่ บริษัท บิ๊กเบนซ์ เฮลท์ โปรดักซ์ จำกัด เลขที่ 203/18 หมู่ 4 ถนนแจ้งวัฒนะ กทม. ----------------------------------------------------------------------------------------------------- 29 เมษายน 2553 สมอ.ปรับมาตรฐานเข็มขัดนิรภัยใหม่สมอ. ประกาศยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) เข็มขัดนิรภัยตาม มอก.721-2539 โดยได้ปรับปรุงมาตรฐานเข็มขัดนิรภัยใหม่ตาม มอก.721-2551 เพื่อให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการผลิตรถยนต์ โดยใช้แนวทางตาม ECE Regulation ซึ่งเป็นข้อกำหนดทางเทคนิคด้านยานยนต์ที่ยอมรับกันทั่วโลก มาตรฐานใหม่นี้ได้เพิ่มวิธีการทดสอบในการประกอบชิ้นส่วนเข็มขัดนิรภัยทั้งหมด ได้แก่ หัวเข็มขัด อุปกรณ์ปรับความยาว อุปกรณ์ยึด และอุปกรณ์ปรับความสูง มาทำการทดสอบโดยวิธีการจำลองการชนขณะเกิดอุบัติเหตุ มาตรฐานเข็มขัดนิรภัยใหม่นี้ จะมีผลให้ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้จำหน่าย ต้องปรับปรุงสินค้าให้เป็นไปตามมาตรฐานใหม่เท่านั้น โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 26 ก.พ.2554 เป็นต้นไป -------------------------------------------------------------------------------------- 30 เมษายน 2553 ผู้บริโภคไทยใส่ใจสิทธิมากขึ้นสำนักงานสถิติแห่งชาติ หรือ สสช. เปิดเผยผลสำรวจเนื่องในวันคุ้มครองผู้บริโภค 30 เมษายน พบว่าคนไทยให้ความสำคัญกับการคุ้มครองผู้บริโภคมากขึ้น จากตัวเลขของผู้ร้องเรียนที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 5,041 ราย ในปี 2551 เป็น 6,266 ราย ในปี 2552 ปัญหาส่วนใหญ่ที่ผู้บริโภคร้องเรียนเป็นเรื่องของสินค้าประเภทอาหาร เครื่องดื่ม เสื้อผ้า ร้อยละ 72.5 รองลงมาคือปัญหาจากบริการด้านรักษาพยาบาล ร้อยละ 58.5 ปัญหาจากบริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่และจานดาวเทียม ร้อยละ 39.4 และปัญหาจากการใช้สินค้าประเภท เครื่องใช้ไฟฟ้าและมือถือ ร้อยละ 36.2 ซึ่งปัญหาที่ผู้บริโภคร้องเรียนไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนั้น ได้รับการดูแลเพียงร้อยละ 50.9 โดยได้รับการแก้ไขแล้วร้อยละ 38.4 ที่เหลือร้อยละ 12.5 อยู่ในระหว่างดำเนินการ ขณะที่ผู้บริโภคร้อยละ 77.6 มีความคิดเห็นว่า ผู้ประกอบการธุรกิจในปัจจุบันมีความรับผิดชอบต่อผู้บริโภคดี แต่อีกร้อยละ 22.4 มองว่าผู้ประกอบธุรกิจไม่มีความรับผิดชอบ พร้อมทั้งเสนอแนะว่าควรมีบทลงโทษที่เด็ดขาดกับผู้ประกอบการที่เอาเปรียบผู้บริโภค อย่างไรก็ตาม พบว่ามีผู้บริโภคถึงร้อยละ 89.2 ที่ประสบปัญหาแล้วไม่ร้องเรียน เพราะคิดว่าเสียเวลา ไม่เกิดประโยชน์ ซึ่งต้องช่วยรณรงค์ให้ความรู้แก่ประชาชนเพื่อให้รักษาสิทธิของตนเอง ------------------------------------------------------------------------------------------------------ ทำงานหน้าคอมฯ นาน ระวังป่วยโรค “ซีวีเอส”กระทรวงสาธารณสุขเตือนผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์ติดต่อกันเป็นเวลานาน เสี่ยงต่อการเกิดโรคทางสายตาและระบบกล้ามเนื้อ หรือที่เรียกกันว่าโรค “ซีวีเอส” โรคซีวีเอส (CVS:Computer Vision Syndrome)เป็นอาการป่วยที่กระทบต่อการทำงานของ ตา เนื่องจากใช้มองคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน และกระทบต่อระบบกล้ามเนื้อและกระดูกซึ่งจะเกี่ยวกับท่านั่งขณะใช้คอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่มีอายุเกิน 40 ปีที่มีปัญหาเรื่องโรคต่างๆ เช่น โรคข้อ ระบบกล้ามเนื้อ มีโอกาสป่วยด้วยโรคนี้ค่อนข้างสูง หากใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานานและไม่ถูกวิธี นายแพทย์ฐาปนวงศ์ ตั้งอุไรวรรณ จักษุแพทย์ประจำโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า กล่าวว่า มีผลการวิจัยพบว่า เด็กที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน จะทำให้สายตาสั้นเพิ่มขึ้นร้อยละ 30 ปัจจุบันในประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี จีน ฮ่องกง พบว่ามีเด็กสายตาสั้นเพิ่มมากขึ้น และมีอาการคอเคล็ด ปวดไหล่ ปวดข้อ ในบางคนจะเป็นระยะยาว สาเหตุที่ทำให้เกิดกลุ่มอาการทางตา เกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานานเกิน 25 นาที และตั้งจอคอมพิวเตอร์ที่ปรับระดับไม่เหมาะสมกับสายตา หรือวางเม้าท์ที่ไม่ได้ระดับกับแขน ความสว่างของไฟ การนั่งเป็นเวลานาน ในการป้องกันปัญหาทางสายตาจากการใช้คอมพิวเตอร์ ควรกะพริบตาบ่อยๆ พักสายตาจากหน้าจอคอมพิวเตอร์บ้าง หรือใช้วิธีมองวิวนอกหน้าต่าง มุมห้อง หรือไปเดินเล่น หลังจากมีอาการเมื่อยล้า ปวดหัว ซึ่งเกิดจากการเครียด ปวดที่ไหล่ ข้อมือ หลัง ขา ซึ่งเป็นอาการทางระบบกล้ามเนื้อและข้อ ต้องไปพบแพทย์ การรักษาจะต้องใช้เวลานานต่อเนื่อง บางรายอาจต้องใช้ยากิน ยาหยอดตา เช่น น้ำตาเทียม บางรายต้องใช้กายภาพบำบัดควบคู่ไปด้วย เพื่อให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย----------------------------------------------------------------------------------------- สมัชชาผู้บริโภค เดินเครื่องนโยบาย 6 ประเด็นสิทธิผู้บริโภค ปูทางสู่องค์การอิสระฯการประชุมสมัชชาผู้บริโภค “บทบาทผู้บริโภคต่อวิกฤต การเมืองในปัจจุบัน” เรื่อง “เงินทองของเรา สิทธิของใคร (Your Money Your Rights) 10 บาท...เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค” ระหว่างวันที่ 26-27 เม.ย. 53 ณ โรงแรมริชมอนด์ ถือเป็นการประชุมที่เหล่าองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคหลากหลายหน่วยงาน ร่วมกันผลักดันข้อเสนอในประเด็นสิทธิผู้บริโภคที่หลากหลายที่สุด เป็นเหมือนการจำลอง “องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค” ในการให้ความเห็นและเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาเชิงนโยบายต่อประเด็นต่างๆ รวมทั้งสิ้น 6 ประเด็น เพื่อเตรียมความพร้อมขององค์กรผู้บริโภคจากทั่วประเทศให้มีความรู้ความเข้าใจและร่วมกันส่งเสริมการมีส่วนร่วมและสนับสนุนองค์การอิสระผู้บริโภค พร้อมทั้งติดตามความคืบหน้าร่างพระราชบัญญัติองค์การอิสระผู้บริโภคตามมาตรา 61 เพื่อสนับสนุนให้องค์กรผู้บริโภคได้ทำหน้าที่และบทบาทในฐานะผู้แทนผู้บริโภคตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ จากการประชุมทั้ง 6 ประเด็นนั้น มีข้อเสนอที่น่าสนใจดังนี้ กรณี 3 จี มีการเรียกร้องให้ทบทวนการกำหนดมาตรการที่เหมาะสมในการประมูล คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ต้องกระจายเปิดรับฟังความเห็นของประชาชนทั่วทั้งประเทศ กำหนดราคาและคุณภาพของผู้ประมูลให้ถูกต้องเหมาะสม ส่วนกรณีความเห็นการจัดการเรื่อง แร่ใยหิน (Asbestos) เสนอให้กระทรวงอุตสาหกรรมยกเลิกการผลิตการจำหน่ายสินค้าที่มีส่วนประกอบแร่ใยหินที่สามารถใช้วัตถุดิบอื่นทดแทนได้ภายใน 1 ปี กรณีนโยบาย ความปลอดภัยรถโดยสารสาธารณะ ให้ตั้งกองทุนคุ้มครองสิทธิผู้ใช้บริการรถโดยสารสาธารณะเพื่อช่วยเหลือผู้โดยสารที่ได้รับอุบัติเหตุเพิ่มเติมจากที่รัฐเคยอุดหนุน โดยแหล่งเงินมาจากค่าธรรมเนียมหรือค่าปรับผู้กระทำผิดของบริษัทขนส่ง รวมถึงภาษีรถยนต์ส่วนบุคคล พร้อมทั้งเสนอให้ลดอายุใบอนุญาตผู้ประกอบการเหลือ 3-5 ปีจากเดิม 7 ปี สร้างระบบอาสาสมัครเฝ้าระวังการให้บริการรถโดยสารสาธารณะ และขึ้นบัญชีผู้ให้บริการที่กระทำผิดซ้ำซากโดยไม่มีการแก้ไข ด้านนโยบาย ความปลอดภัยด้านอาหาร ต้องมีองค์การอิสระหรือตัวแทนภาคประชาชนเข้าร่วมในกลไกการควบคุมมาตรการต่างๆ ส่งเสริมสร้างความเข้มแข็งของผู้บริโภคผ่านการให้ความรู้ข้อมูลข่าวสาร พร้อมทั้งส่งเสริมเกษตรกรหรือผู้ผลิตที่ผลิตอาหารปลอดภัยให้มีบทบาทในตลาดอาหารของประเทศมากยิ่งขึ้น กรณีข้อเสนอต่อร่าง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ... สร้างกลไกสนับสนุนการคุ้มครองผู้บริโภคและการมีส่วนร่วมที่เป็นอิสระโดยให้ กสทช.จัดสรรงบประมาณ ให้กองทุนสื่อเพิ่มบทบาทเรื่องการให้ความรู้ที่ชัดเจนเรื่องการใช้สื่ออย่างปลอดภัย และสุดท้าย กรณีการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสื่อ เสนอให้ตั้งศูนย์ประสานงานซึ่งเป็นองค์กรที่ได้รับการยอมรับจากรัฐและเอกชนในการเป็นแหล่งรวบรวมปัญหาเกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคสื่อในประเด็นต่างๆ ทั้งโฆษณาแฝง sms การจัดเรตติ้ง

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 99 กระแสในประเทศ

ฉบับที่ 99 กระแสในประเทศประมวลเหตุการณ์เดือนเมษายน 25521 เมษายน 2552ผู้บริโภคโล่งใจ ถั่วพิสตาซิโออันตรายไม่มีขายในไทยจากการที่สำนักงานอาหารและยาสหรัฐฯ ประกาศเตือนประชาชนหลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารทุกชนิดที่มี ถั่วพิสตาซิโอ เป็นส่วนผสม หลังจากมีการตรวจสอบพบเชื้อแบคทีเรียซัลโมเนลลาในถั่วชนิดนี้ ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคทางเดินอาหาร งานนี้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. ของไทยจึงได้เร่งมือตรวจสอบ พร้อมประกาศให้คนไทยเราเบาใจได้ว่าไม่มีการตรวจพบถั่วพิสตาซิโอชนิดที่เป็นอันตรายแบบที่พบในสหรัฐฯ ในประเทศไทย ซึ่งจากตรวจสอบต้นต่อของถั่วพิสตาซิโอเจ้าปัญหา พบว่ามีผลิตมาจากบริษัท เซตตัน ฟาร์ม ในแคลิฟอร์เนีย ซึ่งประเทศไทยไม่มีการนำเข้าถั่วชนิดนี้จากบริษัทดังกล่าว แต่เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค อย. จึงทำการติดตามเฝ้าระวังและเก็บตัวอย่างถั่วชนิดดังกล่าว ไม่ว่าจะนำเข้าจากบริษัทใด หากพบว่ามีการปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลา จะรีบแจ้งให้ผู้บริโภคทราบทันที รวมทั้งเก็บผลิตภัณฑ์ดังกล่าวออกจากท้องตลาดและระงับการนำเข้าโดยด่วน 2 เมษายน 2552เพนต์ “เฮนนา” ระวัง!หายนะถามหาผิวภญ. วีรวรรณ แตงแก้ว รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. ออกโรงเตือนวัยรุ่นที่ชื่นชอบการตกแต่งลวดลายลงบนร่างกายด้วย “เฮนนา” อาจได้รับอาการแพ้ทางผิวหนังแถมมาพร้อมกับความสวยงาม สาเหตุจากการตรวจสอบพบว่ามีการลักลอบเติมสาร p-phenylenediamine (PPD) หรือพีพีดี ลงในเฮนนา เพื่อทำให้สีที่วาดมีความเข้มขึ้นและติดทนนานกว่าปกติ โดยจะเรียกกันว่า แบล็กเฮนนา (Black Henna) หรือบลูเฮนนา (Blue Henna) ซึ่งเฮนนาเป็นสารจากพืชชนิดหนึ่ง ให้สีน้ำตาลอมส้ม นิยมมาใช้ตกแต่งผิวหนังและนำมาย้อมผม สำหรับสารพีดีพีเป็นสารเคมีที่มีความเสี่ยงสูง อาจก่อให้เกิดอาการแพ้ได้ ซึ่ง อย. กำหนดให้ใช้สารพีพีดีได้เฉพาะในผลิตภัณฑ์ย้อมผมเท่านั้น โดยกำหนดอัตราส่วนสูงสุดไว้ไม่เกิน 6% และต้องระบุคำเตือนไว้บนฉลากผลิตภัณฑ์ตามที่กฎหมายกำหนด โดยเน้นย้ำให้ทราบว่าสารชนิดนี้มีฤทธิ์ระคายเคืองต่อผิวหนัง และก่อให้เกิดอาการแพ้ ที่สำคัญคือห้ามนำไปย้อมขนคิ้วหรือขนตาเด็ดขาด เพราะหากเข้าตาอาจเป็นอันตรายถึงขั้นตาบอดได้ 29 เมษายน 2552สคบ. เตรียมติดดาบยุบกิจการขายตรงนอกระบบเพราะผลจากการที่มีผู้ประกอบการธุรกิจขายตรงมาร่วมประชุมสัมมนาผู้ประกอบการขายตรง ในจำนวนไม่ถึงครึ่งจากจำนวนที่คาดการว่ามีธุรกิจขายตรงในระบบกว่า 500 บริษัท ซึ่งมีสาเหตุมาจากธุรกิจขายตรงบางบริษัทได้ปิดกิจการไปแล้ว แต่การปิดกิจการไม่ได้แจ้งนายทะเบียน ทำให้ยังคงความเป็นบริษัทขายตรงอยู่ ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่า มีมากกว่า 200 บริษัท ที่ไม่ได้ดำเนินกิจการ แต่ไม่มีการแจ้งปิดกิจการของธุรกิจขายตรงเหล่านั้น การประชุมสัมมนาครั้งนี้จัดโดยการสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เพื่อชี้แจงนโยบายและทำความเข้าใจในตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจขายตรงและตลาดแบบตรงไปแล้ว เมื่อช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ซึ่งผลจากการที่พบความคลุมเครือของสถานภาพทางบริษัทขายตรงกว่า 200 บริษัทดังที่กล่าวมา ทำให้สคบ.เตรียมศึกษาแก้ไขกฎหมายขายตรงและตลาดแบบตรง ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้กำกับและส่งเสริมธุรกิจขายตรง โดยการเสนอให้มีการเพิ่มอำนาจของนายทะเบียน ในการยุบ หรือเลิกธุรกิจขายตรงที่ไม่มีการดำเนินธุรกิจ เนื่องจากเกรงธุรกิจที่อยู่นอกระบบเหล่านี้จะอาศัยช่องทางกลายพันธุ์กลายเป็นแชร์ลูกโซ่ เด็กไทยจมน้ำตาย1,500คน/ปี สธ.จับเด็กเข้าคอร์สเอาชีวิตรอดกระทรวงสาธารณสุข นายมานิต นพอมรบดี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวในงาน "เปิดโครงการทดลองหลักสูตรว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด" ภายใต้การสนับสนุนขององค์การอนามัยโลก (WHO) โดยใช้เวลาเรียน 15 ครั้ง ครั้งละ 1 ชั่วโมง ว่า ขณะนี้การจมน้ำเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ทั่วโลกเสียชีวิตปีละ 230,000 คน มีจำนวนมากกว่าเด็กที่ตายจากโรคไอกรน โรคหัด โรคคอตีบ โรคอหิวาตกโรค โรคไข้เลือดออก และโรคไทฟอยด์รวมกัน ซึ่งมีไม่ถึงปีละ 200,000 คน และเป็นสาเหตุอันดับแรกของการเสียชีวิตในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศไทยมีเด็กเสียชีวิตจากการจมน้ำมากที่สุดเป็นอันดับ 1 เสียชีวิตปีละประมาณ 1,500 คน เฉลี่ยวันละ 4 คน โดยพบเด็กอายุ 5-9 ปี เสียชีวิตมากที่สุด โดยในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งเป็นช่วงที่เด็กปิดภาคเรียน มีเด็กเสียชีวิตจากการจมน้ำมากถึง 112 คนจากเด็กไทย 13 ล้านคน พบว่ามีเด็กว่ายน้ำเป็นเพียง 2 ล้านคนเท่านั้น จึงเป็นปัญหาที่ต้องเร่งแก้ไข เพื่อเป็นการป้องกันและลดจำนวนเด็กเสียชีวิตนายมานิตกล่าวว่า โดยในช่วงปิดภาคเรียนนี้ สธ.ได้ทำโครงการนำร่องจัดหลักสูตรฝึกสอนการว่ายน้ำให้กับเด็กอายุระหว่าง 4-7 ปี ในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ ราชบุรี สุรินทร์ เพชรบูรณ์ และนครศรีธรรมราช เนื่องจากเป็นจังหวัดที่มีเด็กจมน้ำเสียชีวิตมากที่สุดในแต่ละภาค คือ สุรินทร์ 45 ราย ราชบุรี 33 ราย เพชรบูรณ์ 29 ราย และนครศรีธรรมราช 19 ราย โดยให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ประสานกับเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อคัดเลือกโรงเรียนว่ายน้ำ และครูผู้ฝึกสอนที่ผ่านการอบรมแล้ว โดยจะสอนเรื่องการเอาชีวิตรอด พื้นฐานการว่ายน้ำ และความปลอดภัยทางน้ำ โดยตั้งเป้าภายใน 10 ปี เด็กอายุครบ 7 ปีจะมีทักษะในการว่ายน้ำเป็นครบทุกคน ซึ่งจะสามารถลดการเสียชีวิตจากการจมน้ำได้อย่างน้อยปีละ 100 คน ผลโหวตผลิตภัณฑ์ บริการ โฆษณายอดเยี่ยม ยอดแย่วารสารฉลาดซื้อเปิดผลโหวต “ผลิตภัณฑ์-บริการ-โฆษณา” ยอดเยี่ยมและยอดแย่ในความรู้สึกประชาชนทั่วประเทศ พบ “ปตท.-รถโดยสารสาธารณะ-โฆษณาขายตรงผ่านทีวี” ติดอันดับยอดแย่ โดยเฉพาะรถโดยสารเกิดอุบัติเหตุปีละ 3-4 พันครั้ง 26 เมษายน ในงานเปิดบ้าน “มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค” ที่ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ นายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานเปิดบ้านใหม่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวถึงสิทธิการคุ้มครองผู้บริโภคในปัจจุบันว่า ในโลกที่เป็นอยู่เราคงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะมีคนเอาเปรียบ ซึ่งคนที่มีความแข็งแรงในวิชาชีพ มีรายได้ ก็มักจะต่อสู้ได้ แต่สังคมไทยในปัจจุบันมีคนอยู่ในสภาพที่เรียกว่าหากไม่มีคนช่วยคงไม่สามารถรักษาสิทธิได้ จึงเกิดแนวคิดสร้างกระบวนการประชาสังคมเพื่อช่วยเหลือ “ผมรู้สึกดีใจที่ขณะนี้มีความตื่นตัวในการรักษาสิทธิผู้บริโภค แต่เรื่องสิทธิผู้บริโภคยังอีกไกล และต้องทำให้ประชาชนส่วนใหญ่รู้ในสิทธิของตนเอง เพราะตอนนี้เรายังไปไม่ถึงก้าวที่สองที่ทำให้ประชาชนรู้ตระหนักและรู้สิทธิของตนเอง” นายอานันท์ กล่าวต่อว่า อยากเห็นกระบวนการคุ้มครองผู้บริโภคที่เป็นปึกแผ่นโดยไม่ต้องอาศัยองค์กรนี้ และให้องค์กรนี้ทำหน้าที่เคียงข้างกับสภา เพราะปัญหาการเอารัดเอาเปรียบเกิดขึ้นได้เนื่องจากอาศัยช่องว่างของกฎหมาย หากนักการเมืองไม่ดูแลประชาชน ก็เป็นหน้าที่เรากันเองที่ต้องทำงานกับฝ่ายกฎหมายเพื่อแก้ไขความอยุติธรรมในสังคมไทยที่มีอยู่ หรือผลักดันกฎหมายใหม่ๆ เพื่อดูแลให้เรื่องสิทธิผู้บริโภคมีความมั่นคงและยังยืนยิ่งขึ้น ในงานดังกล่าว ยังมีการแถลงข่าว ผลโหวต “ผลิตภัณฑ์-บริการ-โฆษณา ยอดเยี่ยมและยอดแย่ประจำปี 2551” ด้วย โดย น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า จากที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคร่วมกับสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ทำการสำรวจผลิตภัณฑ์ บริการ และโฆษณายอดเยี่ยมและยอดแย่ในรอบปีที่ผ่านมา โดยสอบถามความเห็นประชาชนจำนวน 2,993 คน พร้อมเปิดให้มีการโหวตผ่านหน้าเว็บไซต์ของกรุงเทพธุรกิจออนไลน์ มูลนิธิเครือข่ายครอบครัว สถาบันวิจัยโภชนาการมหาวิทยาลัยมหิดล และเว็บไซต์ www.consumerthai.org วารสารฉลาดซื้อ รายการกระต่ายตื่นตัว สถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทยช่อง 11 ไปนั้นทางคณะกรรมการพิจารณารางวัล ได้กำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณา คือ ต้องเป็นสินค้าที่มีอยู่ทั่วประเทศ โดยในส่วนของการโหวตยอดเยี่ยม ต้องไม่มีชื่อโหวตอยู่ในอันดับยอดแย่ ไม่ทำร้ายสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ไม่มีการร้องเรียนการละเมิดสิทธิ และไม่เป็นที่ถกเถียงในสังคม ดังนั้นผลการโหวตที่เข้าหลักเกณฑ์ข้างต้น ได้แก่   ผลิตภัณฑ์ยอดเยี่ยม แป้งเด็กเบบี้มายด์ บริการยอดเยี่ยม บริการของธนาคารไทยพาณิชย์ โฆษณายอดเยี่ยม โฆษณาของบริษัทไทยประกันชีวิต ชุดแม่ต้อย ผลิตภัณฑ์ยอดแย่ แก๊สและน้ำมันของบริษัท ปตท บริการยอดแย่ บริการรถโดยสารสาธารณะ โฆษณายอดแย่ การโฆษณาขายตรงผ่านทีวี น.ส.สารี ยังกล่าวเพิ่มเติมด้วยว่า บริการรถโดยสารสาธารณะถือเป็นบริการยอดแย่ที่ได้รับการโหวตในอันดับต้นๆ และที่ผ่านมาจากงานวิจัยของศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) พบว่า ในแต่ละปีมีอุบัติเหตุรถโดยสารสาธารณะเฉลี่ยปีละ 3,000-4,000 ครั้ง ซึ่งทางมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคจะเข้าไปดูในเรื่องมาตรฐานความปลอดภัยของรถโดยสารสาธารณะทุกประเภท โดยเป็นแผนงานในปี 2553 นี้ เนื่องจากเป็นบริการที่มีประชาชนใช้บริการจำนวนมาก และมีปัญหาการร้องเรียนบ่อยครั้ง ซึ่งมูลนิธิฯ ไม่เพียงแต่จะเข้าไปดูในเรื่องมาตรฐานรถและบริการเท่านั้น แต่จะดูถึงผู้ให้บริการ คือ ผู้ขับรถโดยสารสาธารณะด้วย เนื่องจากพบว่ามักมีอารมณ์รุนแรง ฉุนเฉียว โดยเฉพาะรถสาธารณะที่เป็นบริการร่วมกับเอกชน เนื่องจากมีปัญหาในเรื่องรายได้ ต้องแข่งขัน ซึ่งรัฐบาลอาจต้องเข้ามาสนับสนุนในเรื่อง “รายการสุขภาพในทีวี” ให้ประโยชน์หรือหวังโฆษณา?โครงการศึกษาและเฝ้าระวังสื่อเพื่อสุขภาวะของสังคม (Media Monitor) โดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้แถลงผลการศึกษาในหัวข้อ "รายการสุขภาพในฟรีทีวี" โดยนายธาม เชื้อสถาปนศิริ ผู้จัดการกลุ่มงานวิชาการ โครงการศึกษาและเฝ้าระวังสื่อฯ ได้ทำการศึกษาพบว่า รายการที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับสุขภาพส่วนใหญ่ เลือกนำเสนอข้อมูลที่ไม่เป็นประโยชน์กับผู้ชมเท่าที่ควร คือนำเสนออาการเจ็บป่วยเพียงเล็กน้อยแต่นำไปสู่โรคร้ายแรง ทำให้ผู้ชมเกิดความกลัว วิตกกังวล ส่วนเนื้อหาที่เป็นการแนะนำให้ผู้ชมดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง ลดการพึ่งพาแพทย์กลับมีให้ชมในสัดส่วนที่น้อยมาก ขณะที่เนื้อหาเกี่ยวกับแพทย์ทางเลือกและเรื่องสิทธิประโยชน์ของผู้ป่วยแทบไม่มีให้เห็นนอกจากนี้ ผลการตรวจสอบการเฝ้าระวังทางสื่อ พบว่ามีโฆษณาอยู่ในรายการเป็นจำนวนมาก ทั้งการโฆษณาตรงและโฆษณาแฝงในรายการ ซึ่งสินค้าที่โฆษณาส่วนใหญ่เป็นผลิตภัณฑ์จำพวกอาหารเสริม ยา ผลิตภัณฑ์บำรุงร่างกาย สถานพยาบาลเอกชน ซึ่งแฝงอยู่ในรายการทั้งในรูปแบบ กราฟิกรายการ โลโก้บริการและสินค้า รองลงมาคือ สปอตโฆษณาสั้นๆ แฝงเนื้อหา แฝงวัตถุผลิตภัณฑ์ และแฝงบุคคลที่มีการสวมเสื้อที่มีตราสัญลักษณ์ผู้สนับสนุนรายการ ซึ่งรายการที่มีโฆษณาแฝงมากที่สุดคือ รายการตะลุยโรงหมอ (ปัจจุบันเป็นรายการ ชิดหมอ) และสโมสรสุขภาพ รองลงมาเป็น รายการชูรักชูรส รายการชีวิตชีวา Daily และ อโรคาปาร์ตี้ รศ.ดร.ปาริชาต สถาปิตานนท์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวเสริมว่า การมีรายการเพื่อสุขภาพมากขึ้น สะท้อนให้เห็นว่าคนในสังคมปัจจุบันใส่ใจสุขภาพเพิ่มมากขึ้น แต่การโฆษณาในรายการยังถือเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วง เพราะรายการประเภทนี้เป็นรายการที่มีลักษณะผ่อนคลายสมอง ทำให้เกิดการโน้มน้าวจิตใจคล้อยตามได้ง่าย ซึ่งการสอดแทรกการโฆษณาสินค้าและบริการเกี่ยวกับสุขภาพ อาจเป็นการสร้างพฤติกรรมการบริโภคสินค้าด้านสุขภาพที่ฟุ่มเฟือย และสินค้าหลายๆ ตัวยังเป็นในลักษณะชวนเชื่อ คือยังไม่มีการตรวจสอบรับรองถึงเรื่องประสิทธิภาพและความปลอดภัย น.พ.อิทธพร คณะเจริญ รองเลขาธิการแพทยสภา ย้ำถึงปัญหาการโฆษณาแฝงในรายการสุขภาพว่า เป็นเรื่องที่ทางแพทยสภากำลังจับตาดูอยู่ ซึ่งพบว่ามีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น แต่ทางแพทยสภามีอำนาจเพียงขอบเขตดูแลเฉพาะตัวแพทย์เท่านั้น ไม่รวมถึงสถานประกอบการที่เป็นหน้าที่ของกองการประกอบโรคศิลปะ กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งมีคณะกรรมการจริยธรรมควบคุมดูแลว่าการนำเสนอเนื้อหาเป็นไปในระดับใด ทั้งนี้การร้องเรียนที่เข้ามาส่วนใหญ่เป็นเรื่องของโฆษณาเรื่องจริยธรรมแพทย์ แต่มักเป็นการฟ้องร้องจากคู่แข่งทางการตลาดด้วยกันเองด้าน พ.ญ.พรรณพิมล หล่อตระกูล ผู้จัดการโครงการศึกษาและเฝ้าระวังสื่อฯ เสนอแนวคิดว่าควรมีการออกกฎหมายควบคุมการโฆษณาแฝง พร้อมทั้งจัดตั้งองค์กรเพื่อดูแลสิทธิผู้บริโภคด้านสื่อโดยเฉพาะ ซึ่งปัจจุบันมีการโฆษณาแฝงในรายการโทรทัศน์เป็นจำนวนมาก แม้แต่ในละครก็มักถ่ายภาพให้เห็นด้านหน้าหรือป้ายโรงพยาบาลอยู่ตรงหัวเตียงผู้ป่วยในเนื้อหาละคร ซึ่งถือเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค เป็นการยัดเยียดในสิ่งที่ผู้บริโภคไม่ต้องการ  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 97 กระแสในประเทศ

สุมาลี พะสิม ประมวลเหตุการณ์เดือนกุมภาพันธ์ 255211 ก.พ. 52 5 ปีผ่านไป ยังพบสารห้ามใช้ในเครื่องสำอางเพียบ นิยายเรื่องยาวของเครื่องสำอางผิดกฎหมายยังไม่จบ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ยังตรวจวิเคราะห์พบเครื่องสำอางผิดกฎหมายเพียบตลอดช่วงปี 2547-2551 โดยสารห้ามใช้ที่ตรวจพบมากที่สุด คือ ปรอทแอมโมเนีย รองลงมา คือ สารไฮโดรควิโนนรวมกับกรดเรทิโนอิก และพบตัวอย่างที่มีสารไฮโดรควิโนนหรือพบกรดเรทิโนอิกอย่างเดียว รองลงมาตามลำดับ อย่างไรก็ตามขณะนี้มีกฎหมายใหม่ด้านเครื่องสำอางของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งสอดคล้องกับกฎหมายเครื่องสำอางอาเซียน กำหนดให้เครื่องสำอางทุกชนิดเป็นเครื่องสำอางควบคุม ดังนั้นผู้ประกอบการต้องแจ้งและจัดทำแฟ้มข้อมูลของผลิตภัณฑ์ต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) หรือสำนักงานสาธารณสุขหวัด (สสจ.) ก่อนผลิตหรือนำเข้า ซึ่งจะช่วยให้การติดตาม กำกับดูแลและแก้ปัญหาการใช้สารห้ามใช้ในเครื่องสำอางได้อย่างครอบคลุม สำหรับผู้บริโภคที่ต้องการชุดทดสอบเครื่องสำอางนั้นกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข โทรศัพท์ 0-2951-0000 ต่อ 99499, 99926 หรือ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ในส่วนภูมิภาคทั้ง 14 แห่งทั่วประเทศ รุมค้านประกาศสมุนไพร 13 ชนิดเป็นวัตถุอันตรายจากกรณีคณะกรรมการวัตถุอันตรายได้ประกาศให้ผลิตภัณฑ์จากชิ้นส่วนพืช ซึ่งไม่ผ่านกรรมวิธีที่ทำให้ เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี 13 ชนิด ประกอบด้วย สะเดา ตะไคร้หอม ขมิ้นชัน ขิง ข่า ดาวเรือง สาบเสือ กากเมล็ดชา พริก ขึ้นฉ่าย ชุมเห็ดเทศ ดองดึง และ หนอนตายยาก เป็นวัตถุอันตราย ชนิดที่ 1 บัญชี ข และมี ผลบังคับใช้แล้วนั้น นพ.ประพจน์ เภตรากาศ รองอธิบดี กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกกล่าวว่า การบังคับใช้ประกาศฉบับดังกล่าว ส่งผลกระทบต่อประเทศไทยอย่างมหาศาลแน่นอน เพราะพืชทั้ง 13 ชนิด เป็นพืชสมุนไพรไทยพื้นบ้านที่เป็นวิถีชีวิตของคนไทยมานาน หากมีการกำหนดเป็นวัตถุอันตรายแล้ว ถ้ามีครอบครอง หรือครอบครองไว้เพื่อจำหน่ายจะต้องมีการจดแจ้งหรือขออนุญาตให้ถูกต้อง ซึ่งส่วนนี้จะมีผลกระทบอย่างมาก โดยเฉพาะชาวบ้านที่ปลูกหรือขายพืชเหล่านี้ ตามตลาดสดต่างๆ รวมถึงภาคอุตสาหกรรมขนาดย่อม เช่น วิสาหกิจชุมชน ที่นำพืชสมุนไพรไทยมาดัดแปลงทำเป็นยาสมุนไพรด้วย 13 ก.พ. 2552 ก.สาธารณสุขขอให้ถอนประกาศพืช 13 ชนิดออกจากวัตถุอันตรายจากการประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นกรณีที่กระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศให้สมุนไพรไทย 13 ชนิด เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ซึ่งจัดโดยกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก โดยมีตัวแทนจากหน่วยที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมมากมายนั้น ต่างก็เห็นด้วยให้ถอนสมุนไพรทั้ง 13 ชนิดออกจากการเป็นวัตถุอันตราย นพ.นรา นาควัฒนานุกูล อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก กล่าวว่า “จากการรับฟังความเห็นต่างเห็นตรงกันว่า ควรมีการถอนประกาศที่ให้สมุนไพรไทย 13 ชนิดเป็นวัตถุอันตราย เนื่องจากมีผลกระทบ โดยเฉพาะการสร้างความกังวลในการใช้และบริโภคสมุนไพรดังกล่าว ทั้งในรูปแบบอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์อื่นๆ แม้ว่าการออกประกาศฉบับนี้ทำไปเพื่อเจตนาคุ้มครองผู้บริโภค แต่ที่ประชุมเห็นตรงกันว่า น่าจะใช้วิธีอื่นเพื่อแก้ไขปัญหาได้ตรงจุดกว่า เช่น การส่งเสริมเกษตรกรให้ใช้สมุนไพรในการควบคุมแมลงและศัตรูพืช การจัดตั้งกองทุนที่จัดเก็บภาษีจากการนำเข้าสารฆ่าแมลงเพื่อนำมาใช้ในการลดผลกระทบจากการใช้สารยาฆ่าแมลงรวมทั้งดูแลสุขภาพประชาชน ทางกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยฯ จะสรุปความเห็นจากที่ประชุมนี้เสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และปลัดกระทรวงสาธารณสุข เพื่อประสานไปยังกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงอุตสาหกรรมในการหาทางออกที่เหมาะสมต่อไป” ขณะที่ นางสาวทัศนีย์ วีระกันต์ ผู้ประสานงานเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก กล่าวว่า ในวันจันทร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ ทางเครือข่ายภาคประชาชน และเครือข่ายเกษตรกรรม จะเข้ายื่นหนังสือต่อคณะกรรมาธิการธรรมาภิบาล วุฒิสภา ซึ่งมีนางรสนา โตสิตระกูล สว.กทม. เป็นประธาน เพื่อให้มีการตรวจสอบวิธีการกระบวนการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการออกประกาศฉบับนี้ว่ามีความไม่ชอบพากลหรือไม่ เพราะสันนิษฐานว่าจะมีผลประโยชน์จากบริษัทผลิตสารเคมีกำจัดศัตรูข้ามชาติเข้ามาเกี่ยวข้อง อีกทั้งการที่กระทรวงอุตสาหกรรมออกมาชี้แจงเหตุผลโดยระบุว่าเกิดผิดพลาดนั้นไม่เพียงพอ ควรจะมีหน่วยงานอื่นเข้าไปตรวจสอบและหาผู้รับผิดชอบในเรื่องนี้ด้วย กรมวิชาการเกษตรยอมถอนประกาศพืช 13 ชนิด เป็นวัตถุอันตราย กรมวิชาการเกษตรยอมถอนประกาศพืช 13 ชนิดเป็นวัตถุอันตราย ขอปรับเนื้อหาใหม่ รับทำสังคมสับสน ยันหวังดี ป้องกันเกษตรกรถูกหลอกใช้สารสกัดปราบศัตรูพืชไม่มีคุณภาพ ส.ส.ปชป.เรียกร้องให้ยกเลิก เผย"อภิสิทธิ์-สุเทพ"หนุนให้ทบทวน นายสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมวิชาการเกษตร แถลงว่า “ผมจะทำหนังสือไปถึงคณะกรรมการวัตถุอันตราย เพื่อขอให้ถอนประกาศฉบับนี้ แล้วนำมาปรับปรุงแก้ไขข้อความบางส่วน อาทิ เพิ่มเติมชื่อสารนำหน้าชื่อพืชสมุนไพร พร้อมระบุว่าใช้สำหรับการผลิตสารปราบศัตรูพืชไว้ด้านหลัง เพื่อให้สังคมเข้าใจเรื่องนี้มากขึ้น และจะถอนร่างประกาศของกรมฯ ที่ระบุถึงรายละเอียดขั้นตอนการปฏิบัติตามประกาศฉบับนี้ มาพิจารณาปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกันด้วย" 16 ก.พ. 52สปสช.เสนอ ครม.ขยายสิทธิครอบคลุมคนไร้สัญชาตินพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสปสช. เปิดเผยว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบในหลักการให้ประชาชนประชาชนที่เกิดในประเทศไทยแต่ยังไม่สามารถพิสูจน์สัญชาติได้และอาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นเวลานานซึ่งมีอยู่ประมาณ 370,000 คน ให้มีหลักประกันสุขภาพ โดยจะเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขออนุมัติในหลักการให้ใช้งบประมาณเหมาจ่ายรายหัวครอบคลุมบุคคลกลุ่มดังกล่าว โดยเริ่มในงบเหมาจ่ายรายหัวที่ได้รับ ปี 2552 ในอัตรา 2,202 บาทต่อประชากร ซึ่งเป็นไปตามตามจำนวนที่มีการขึ้นทะเบียนจริง ที่ผ่านมา รพ.ในถิ่นทุรกันดารโดยเฉพาะจังหวัดที่มีพื้นที่ติดต่อประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ตาก แม่ฮ่องสอน ต้องรับภาระด้านงบประมาณคนกลุ่มนี้ ซึ่งเป็นการช่วยเหลือตามมนุษยธรรม โดยก่อนที่จะมีระบบหลักประกันสุขภาพยังพอมีงบประมาณช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยมาดูแล แต่ปัจจุบันสิทธิด้านการรักษาครอบคลุมคนไทยทุกคน คนที่รอการพิสูจน์สัญชาติจึงไม่มีงบใดๆ มาช่วยเหลือ และหากไม่ดูแลคนกลุ่มนี้ ก็จะทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคระบาด หรือเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ ทำให้สถานพยาบาลต้องรับภาระหนักขึ้นในการดูแล 26 ก.พ.52 เครื่องสำอางทำให้ขาวไม่มีสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย บรรยายพิเศษเรื่อง “ขาวอันตราย ...ขาวอย่างปลอดภัย” โดย รศ.นพ.ประวิตร อัศวานนท์ ประธานวิชาการ สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ปัจจุบันมีผู้ผลิตผู้ขายที่นำผงไข่มุก ไข่ปลาคาร์เวีย หรือน้ำลายหอยทาก ทั้งที่เป็นส่วนผสมของเครื่องสำอางและใช้โดยตรง โดยอ้างว่าเพื่อบำรุงผิวพรรณนั้น ขอยืนยันว่า ทางการแพทย์ ไม่พบว่ามีสรรพคุณในการบำรุงผิวพรรณแต่อย่างใด รวมถึงสารกลูตาไธโอนที่เป็นยารักษาโรคมะเร็ง แต่นิยมนำมาทำให้ผิวขาว ก็ยังไม่พบว่ามีการวิจัยทางการแพทย์ในมนุษย์ยืนยันสรรพคุณดังกล่าวเช่นกัน จึงไม่สามารถตอบได้ว่าได้ผลจริงหรือไม่ ดีหรือไม่ดี ในส่วนของทองคำ พบว่า มีงานวิจัยยืนยันว่ามีประสิทธิภาพในการสมานผิว ลดการอักเสบของผิวหนัง รวมถึงรักษาโรคปวดข้อ แต่สิ่งที่น่าห่วงคือ อนุภาพของเงินกับทองที่มีขนาดเล็กมาก อาจเข้าไปสะสมตามผิวหนังและอวัยวะต่างๆของร่างกายทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้ ส่วนที่มีการโฆษณามากๆ อีกอย่างหนึ่งคือ เรื่องของเซลล์ต้นกำเนิดหรือสเต็มเซลล์ โดยมีครีมที่อ้างว่าเป็นสเต็มเซลล์สำหรับทา เพื่อให้ผิวพรรณสดใสเปล่งปลั่ง ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่จริง เพราะสเต็มเซลล์จะใช้วิธีฉีดเท่านั้น อีกทั้งการใช้สเต็มเซลล์ทางการแพทย์รับรองแต่เพียงการใช้เพื่อการรักษาโรคทางโลหิตวิทยาเท่านั้น ดังนั้นเครื่องสำอางที่อ้างว่าเป็นสเต็มเซลล์นั้นไม่เป็นความจริง อย่างมากก็แค่มีสารในน้ำเลี้ยงสเต็มเซลล์เท่านั้น อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่า เรื่องสเต็มเซลล์อาจเป็นคำตอบของการรักษาในอนาคต วิธีที่ทำให้ผิวขาวทำได้แต่ก็คงไม่ขาวเกินกรรมพันธุ์ของแต่ละคน วิธีการคือ การหลีกเลี่ยงแสงแดด ไม่ว่าจะเป็นการกางร่ม ใส่แว่นดำ รวมถึงการใช้ครีมกันแดดที่มีค่าเอสพีเอฟเหมาะสม และมีการใช้ที่ถูกวิธี ผู้บริโภคยื่น 12,000 รายชื่อ เสนอ กม.องค์การอิสระผู้บริโภคต่อประธานรัฐสภา19 กุมภาพันธ์ 2552 เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคฟันธง...ร่างกฎหมายองค์การอิสระผู้บริโภคของรัฐบาลไม่ อิสระจริง เดินหน้า ยื่น 12,000 รายชื่อเสนอกฎหมายฉบับของประชาชนต่อประธานรัฐสภาและรัฐมนตรีที่กำกับดูแล สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อนำไปพิจารณาผลักดันให้เป็นกฎหมายของประชาชนเพื่อประชาชนอย่างแท้จริงนางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค พร้อมตัวแทนเครือข่ายองค์กรผู้บริโภค จากภาคกลาง ภาคตะวันตก ภาคตะวันออก เครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ กลุ่มคนคอนโด ชมรมเพื่อนโรคไต ชมรมหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล เครือข่ายผู้เดือดร้อนจากปัญหาที่อยู่อาศัย มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค รวมจำนวน 120 คน ได้เดินทางมาเข้าพบนายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา เพื่อยื่นรายชื่อของประชาชนจำนวน 12,208 รายชื่อเพื่อเสนอ (ร่าง) พ.ร.บ.องค์การอิสระผู้บริโภค พ.ศ.....ฉบับของภาคประชาชนเลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า จากการที่รัฐธรรมนูญของราชอาณาจักรไทยตั้งแต่ฉบับปี 2540 จนถึงฉบับปัจจุบันในมาตรา 61 ที่ได้บัญญัติให้มีองค์การคุ้มครองผู้บริโภคที่เป็นอิสระจากหน่วยงานของรัฐ ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนผู้บริโภค ทำหน้าที่ให้ความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาของหน่วยงานของรัฐในการตรา และการบังคับใช้กฎหมายและกฎ และให้ความเห็นในการกำหนดมาตรการต่าง ๆ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค รวมทั้งตรวจสอบและรายงานการกระทำหรือละเลยการกระทำอันเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค ทั้งนี้ ให้รัฐสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการขององค์การอิสระนี้ด้วย ซึ่งขณะนี้มี (ร่าง) พ.ร.บ.องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคของรัฐบาลอยู่อีก 1 ฉบับ ซึ่งนำเสนอโดยสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค(สคบ.) และอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคได้จัดประชุมพิจารณาสาระกฎหมายของรัฐบาลเปรียบเทียบกับร่างฉบับประชาชนไปเมื่อวันที่ 14 ก.พ.ที่ผ่านมา พบว่ามีหลายประเด็นที่แตกต่างกัน เช่น ร่างกฎหมายของรัฐบาลไม่ได้ให้คณะกรรมการองค์การอิสระทำงานอย่างเต็มที่เต็มเวลา แต่เน้นความสำคัญไปที่ผู้อำนวยการสำนักงานที่จะเป็นผู้ชงเรื่องส่งขึ้นไปให้ คณะกรรมการพิจารณา ซึ่งรูปแบบเช่นนี้ไม่ต่างจากโครงสร้างการทำงานของคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ที่ยังไม่สามารถทำงานเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคในปัญหาที่หลากหลายได้อย่างเต็มที่ ในขณะที่ร่างกฎหมายองค์การอิสระผู้บริโภคของภาคประชาชนนั้นจะให้ความสำคัญกับคณะกรรมการองค์การอิสระฯ โดยให้ทำงานในลักษณะเต็มเวลา และให้มีเลขาธิการสำนักงาน ทำหน้าที่เป็นเพียงเลขานุการของคณะกรรมการและบริหารกิจการในสำนักงานเท่านั้น ส่วนอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการในฉบับของภาคประชาชนนั้นจะเขียนอย่างชัดเจน ที่จะให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดองค์กรผู้บริโภคขึ้นอย่างน้อยในทุกจังหวัด และที่สำคัญคือการสนับสนุนการใช้มาตรการทางกฎหมายเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค รวมทั้งการฟ้องแทนผู้บริโภคเพื่อประโยชน์สาธารณะ ซึ่งร่างของรัฐบาลไม่มีในส่วนนี้ หรือการไม่เขียนอย่างชัดเจนว่า งบที่รัฐบาลจะส่งเสริมสนับสนุนเพื่อการดำเนินการขององค์การอิสระนั้นจะเป็นจำนวนเท่าไร แต่กลับปล่อยให้เป็นดุลยพินิจของรัฐบาล ซึ่งตรงนี้อาจจะเป็นจุดหนึ่งที่จะทำให้องค์การอิสระผู้บริโภคไม่อิสระอย่างแท้จริง เพราะถูกควบคุมกำกับด้วยงบประมาณ ในขณะที่ร่างกฎหมายของประชาชนนั้นจะกำหนดชัดเจนว่ารัฐจะต้องจัดสรรงบประมาณ ไม่น้อยกว่า 5 บาทต่อจำนวนประชากรทั้งประเทศต่อปี หรือตกปีละ 300-400 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นงบประมาณที่ไม่มากเมื่อเปรียบเทียบกับการกระจายงบของรัฐบาลตามโครงการต่างๆ ในปัจจุบันนอกจากนั้นนางสาวสารี คาดหวังว่ากฎหมายฉบับนี้จะช่วยให้ประชาชนผู้บริโภคมีที่ปรึกษา เป็นจุดให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ มีการทำงานเชิงรุกไม่ตามแก้ปัญหา เป็นกระบอกเสียงให้กับผู้บริโภคในการให้ความเห็นต่อการดำเนินการทั้งที่เป็นประโยชน์และเกิดผลกระทบต่อผู้บริโภค อย่างเช่น การออกประกาศวัตถุอันตรายที่เป็นสมุนไพร 13 รายการ การออกกฎกระทรวงยกเว้นยาและเครื่องมือแพทย์ที่ผลิตและใช้โดยผู้ประกอบวิชาชีพไม่เป็นสินค้าที่ไม่ปลอดภัย ตามพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 โดยไม่มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้บริโภคว่าคิดเห็นอย่างไรไม่น่าจะกระทำได้“พวกเราเล็งเห็นว่าหากปล่อยให้ร่างกฎหมายองค์การอิสระผู้บริโภคของรัฐบาลถูกนำมาบังคับใช้ในอนาคต เราก็อาจเห็นคณะกรรมการองค์การอิสระผู้บริโภค เป็นเพียงแค่คณะอนุกรรมการชุดหนึ่งเท่านั้นของคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งจะไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ที่รัฐธรรมนูญได้บัญญัติไว้ เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคจึงได้ช่วยกันรวบรวมรายชื่อประชาชนเพื่อเข้าชื่อ เสนอกฎหมายที่เป็นร่างของประชาชน โดยสามารถรวบรวมรายชื่อได้ทั้งหมด 12,208 รายชื่อ ซึ่งได้ยื่นให้ท่านประธานรัฐสภาและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกที่ดูแลรับผิดชอบ งานด้านคุ้มครองผู้บริโภคได้นำไปเข้าสู่กระบวนการพิจารณากฎหมายต่อไป และหวังว่าร่างกฎหมายองค์การอิสระของภาคประชาชนจะถูกบังคับใช้ในรัฐบาลสมัย นี้” นางสาวสารีกล่าว เครือข่ายผู้บริโภค ร้อง กทช.สะสางปัญหา 107 บาท12 กุมภาพันธ์ 2552 เครือข่ายผู้บริโภค 7 ภูมิภาค และมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเข้ายื่นหนังสือต่อ กทช.ให้ออกคำสั่งยกเลิกเงื่อนไขวันหมดอายุบัตรเติมเงิน และขอให้บังคับไม่ให้เรียกเก็บค่าต่อสัญญาณ 107 บาท จี้ให้ยกเลิกใบอนุญาตผู้ประการที่เรียกเก็บ 107 บาทด้วยเครือข่ายผู้บริโภคกว่า 200 คน นำโดยนางปฐมมน กันหา เครือข่ายผู้บริโภคภาคกลาง เดินขบวนจาก สถานีรถไฟฟ้า อารีย์ ไปยังสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กทช. เพื่อ ยื่นหนังสือเสนอให้คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ บังคับใช้ประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่องมาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 โดยยกเลิกบทเฉพาะกาล ข้อ 36 วรรคสุดท้าย เพราะเครือข่ายผู้บริโภคเห็นว่าเป็นช่องโหว่ที่ถูกนำมาอ้างว่าสัญญาใหญ่ยัง อยู่ระหว่างการพิจารณาของ กทช.พร้อมทั้งขอให้ทาง กทช.มีคำสั่งที่ชัดเจนให้ผู้ประกอบการยกเลิกเงื่อนไขวันหมดอายุของระบบบัตรเติมเงิน และยกเลิกการเก็บค่าเชื่อมต่อสัญญาณ ส่วนผู้ประกอบการที่เอาเปรียบผู้บริโภค และละเมิดสิทธิโดยการเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้บริการต่อบุคคลอื่น ขอให้ยกเลิกใบอนุญาต หรือกำหนดมาตรการการลงโทษขั้นเด็ดขาด รวมทั้งขอให้ กทช.เร่งดำเนินการคงสิทธิเลขหมาย โดยควบคุมการเรียกเก็บค่าบริการให้เกิดความเป็นธรรม

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 174 เหมือนถูกลืม (ปฏิรูป)

เดือนที่เขียนบทความนี้คือ มิถุนายน 2558 ซึ่งเมื่อพลเมืองไทย (ตามความหมายที่กำหนดไว้ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใกล้คลอด) เปิดโทรทัศน์ดูข่าวไม่ว่าช่องไหน จะได้รับการรายงานข่าวซ้ำซากอยู่สามสี่ข่าวคือ การแก้ร่าง(ก่อนได้ใช้)รัฐธรรมนูญ การค้ามนุษย์ชาวโรฮีนจา บ่อนการพนันเสรี และคดียู(ถูก)ฟันสำหรับข่าวประเด็นหลังนี้เป็นเรื่องที่น่าสนใจ เพราะมันสื่อให้เห็นว่า คนไทยไม่เคยนำเรื่องที่เคยเกิดขึ้นในอดีตมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันเลย เพราะพื้นฐานของการโกงเงินประชาชนส่วนใหญ่มักเป็นการหลอกลวงในลักษณะแชร์ลูกโซ่ ซึ่งเหล่าอาชญากรทำการชักจูง หว่านล้อม หรือกระตุ้นพลเมืองผู้ที่อยากลงทุนให้เกิดความต้องการด้านรายได้ หรือสร้างจิตวิทยาให้เกิดความคาดหวังหรือมีแรงจูงใจที่ผิดเช่น อยากรวยเร็ว มีรายได้สูงและสวัสดิการดี อยากมีบ้านหลังใหญ่และมีรถหรูขับถ้า (หลงผิดพอที่จะ) ร่วมลงทุนกับเหล่าอาชญากรเหล่านั้นในอดีตเรามีแชร์ค่าโง่อยู่หลายคดีเช่น แชร์แม่ชม้อย แชร์แม่นกแก้ว แชร์ชาร์เตอร์ เป็นต้น ซึ่งแชร์เหล่านี้ไม่เน้นการขายสินค้าหรือบริการ แต่จะมุ่งเน้นการหาสมาชิกใหม่เพื่อสร้างเครือข่ายหรือระดมทุนเพียงอย่างเดียว มีการจ่ายผลตอบแทนมากขึ้นเป็นเงาตามตัวตามจำนวนสมาชิกที่หามาได้ในทุกระดับชั้น ส่วนสินค้าที่อ้างถึงมักไม่มีการซื้อขายจริงหรือซื้อขายกันเพียงกระดาษ คดียูถูกฟันนั้นมีการออกหมายจับมากมายและกว้างขวางนัก ขนาดว่าแค่ไปรับงานเป็นพิธีกร หรือเป็นเซเลบเรียกความสนใจผู้คนในการประชาสัมพันธ์งานหรืออื่น ๆ ที่ปรกติมีการทำกันเป็นประจำ ต้องกลายเป็นข่าวว่า อาจพัวพันกับคดีนี้ ตัวอย่างเช่น www.thairath.co.th/content/500839 รายงานข่าวว่า ผู้ประกาศข่าวและพิธีกรรายการโทรทัศน์คนหนึ่งต้องเข้าให้ปากคำตำรวจในฐานะพยาน หลังพบหลักฐานร่วมเป็นพิธีกรภายในงานของเครือข่ายยูถูกฟัน ซึ่งพิธีกรดังกล่าวได้ให้ข้อมูลว่า มีดารานักแสดงตบเท้าเข้าร่วมงานคับคั่ง โดยตำรวจจะตรวจสอบสคริปต์ของพิธีกรที่ใช้ภายในงานเพื่อขยายผล หากพบหลักฐานว่ากระทำผิดจะขออนุมัติศาลออกหมายจับเพิ่มเติมนอกจากนี้ก็ยังมีนักร้อง นักแสดง และอื่นๆ ที่ต้องถูกเรียกตัวไปให้ปากคำและอาจถูกตั้งข้อหาสนับสนุนการทำธุรกิจของยูถูกฟัน พูดง่าย ๆ คือ ไปช่วยโฆษณาทำให้คนถูกหลอกมากขึ้น ความจริงประเด็นการช่วยเหลือให้ประชาชนถูกหลอกโดยผู้มีชื่อเสียงหรือเซเลบนั้น เกิดมานานแล้ว ตั้งแต่เรามีโทรทัศน์ซึ่งแพร่สัญญาณครอบคลุมทั่วประเทศไทย ทั้งนี้เพราะการใช้โทรทัศน์ในกิจการชักชวนให้คนหันมาใช้สินค้าของผู้ประกอบการนั้น เป็นวิธีการที่ได้ผลมากที่สุดกับคนไทย (ซึ่งไม่รวมผู้เขียนเพราะไม่เคยดูโฆษณาเลย เนื่องจากโทรทัศน์ที่ซื้อมามีรีโมทรวมมาด้วย จึงสามารถหนีการหลอกลวงที่เผยแพร่ทางโทรทัศน์ได้ดี) ดังนั้นกรณีของเซเลบที่เข้าไปพัวพันคดียูถูกฟันนั้น ถ้าเกิดมีความผิด มันน่าจะเป็นกระตุ้นให้มีการเปิดใต้พรมปูพื้นประเทศนี้ออกมาให้เห็นว่า มีการกวาดฝุ่นไปซ่อนมานานแค่ไหนแล้ว เพราะการแนะนำสินค้าต่างๆ ของเซลเลบส่วนใหญ่นั้นมักโอ้อวดคุณภาพของสินค้า ซึ่งสินค้าบางกลุ่มเช่น อาหารและเครื่องสำอางนั้น พิสูจน์ให้เห็นจริงว่าได้ผลนั้น.....ยากมาก สำหรับท่านที่อ่านวารสารฉลาดซื้อเป็นประจำ อาจพอระลึกได้ว่า ในฉบับประจำเดือนพฤศจิกายน 2557 นั้น ผู้เขียนได้เขียนบทความเรื่อง โฆษณากับศีลข้อสี่ ซึ่งมีข้อมูลที่อ้างถึงรายงานของหนังสือพิมพ์ Yangtse Evening News ที่นานจิงว่า ผู้บริหารของจีนแผ่นดินใหญ่ได้มองประเด็นการที่เซเลบต่างๆ ออกมาบอกผู้บริโภคว่า สินค้าของบริษัทที่ตนรับสตางค์ (ผ่านบริษัทครีเอตีฟทั้งหลาย) ดีอย่างนั้นดีอย่างนี้ โดยไม่เคยใช้สินค้านั้นเลยนั้นเป็นพฤติกรรมที่ไม่ดี จึงสมควรทำร่างกฎหมายเพื่อแก้รัฐบัญญัติเกี่ยวกับการโฆษณาเสนอแก่ Standing Committee of the National People's Congress ครั้งที่ 10 เพื่อให้มีการลงโทษเซเลบที่ผิดศีลข้อสี่เมื่อสินค้านั้นก่อปัญหาประเด็นการผิดศีลข้อสี่ของเซเลบนั้น ก่อให้เกิดข้อถกเถียงในลักษณะเดียวกันในประเทศอินเดีย โดยประเด็นนั้นเป็นข่าวเกี่ยวกับบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ซึ่งเริ่มจากปัญหาเกี่ยวกับสารปนเปื้อน จากนั้นจึงลามไปถึงเซเลบที่เป็นผู้รับโฆษณาบะหมี่รายนี้ www.scmp.com ได้รายงานหัวข้อข่าว India bans popular XXX instant noodles after finding excessive lead เมื่อวันศุกร์ที่ 5 มิถุนายน 2012 และเว็บ news.sky.com ได้รายงานต่อมาในหัวข้อข่าว XXX Noodles Off Shelves Over Lead Scare โดยมีข้อมูลสรุปว่า หน่วยงานที่ทำหน้าที่เหมือน อย. ของไทยคือ The Food Safety and Standards Authority of India (FSSAI) ได้ตรวจพบว่า บะหมี่ดังกล่าวซึ่งขายดีมากในอินเดียมีตะกั่ว 17.2 พีพีเอ็ม (ในห่อเครื่องปรุง) เกินกำหนดมาตรฐาน (0.1-2.5 พีพีเอ็ม) ที่จำยอมให้มีได้ นอกจากนี้ยังพบว่าในห่อบะหมี่นั้นมีผงชูรสคือ โมโนโซเดียมกลูตาเมทผสมอยู่ ทั้งที่ไม่ได้แจ้งไว้ในฉลากด้วย(ทางผู้ผลิตออกข่าวต่อมาว่า ไม่ได้มีการเติมผงชูรสลงไปในระหว่างการผลิต เหตุที่ตรวจพบคงเป็นผงชูรสตามธรรมชาติ ซึ่งพบได้ในองค์ประกอบของอาหาร) ทางหน่วยงานราชการจึงได้สั่งห้ามจำหน่ายและให้หยุดการผลิตทันที (แต่ผู้ผลิตก็ได้ออกข่าวอีกว่า เราจะกลับมาในไม่ช้าหลังจากได้จัดการปัญหาเสร็จ) ผลร้าย(ที่มีต่อบริษัทผู้ผลิต) นั้นค่อนข้างสำคัญ เพราะบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปดังกล่าวนั้นขายดีมานานกว่า 30 ปีแล้ว มีส่วนแบ่งของตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปถึงร้อยละ 80 และเป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่เป็นที่พึ่งของคนไกลบ้านต่างๆ ทั้งนักเรียน นักศึกษา กรรมกร เป็นต้น เนื่องจากปรุงกินง่ายเสมือนแกะห่อโรตีเข้าปาก ที่สำคัญกว่าคือ หุ้นของบริษัทในตลาดหุ้นเมืองบอมเบย์รูดลงไปถึงร้อยละ 10 ของมูลค่าเดิม ประเด็นหลังนี้น่าจะเจ็บแสบกว่าประเด็นแรกสำหรับผู้บริหารบริษัทและแล้วสิ่งที่ตามมาเนื่องจากผลที่บะหมี่นั้นขายดีเนื่องจากการโฆษณาดีเยี่ยมคือ ในเว็บ www.ft.com/cms ได้มีบทความเรื่อง Bollywood star in hot water over XXX noodle row ซึ่งมีเนื้อข่าวโดยสรุปว่า Ms. Madhuri Dixit ผู้มีอายุ 48 ปี และเป็น Bollywood stars (ในช่วงปี 1990) ที่รับจ๊อบโฆษณาสินค้าดังกล่าว กำลังถูกจับจ้องจากทางการว่า ควรรับผิดชอบกับเรื่องดังกล่าวนี้หรือไม่ เพราะคนอินเดียนั้นก็คงเหมือนคนในหลาย ๆ ประเทศที่ซื้อสินค้าตามคำแนะนำของดาราที่ตนชื่นชอบ (ซึ่งอาจไม่เคยกินหรือใช้สินค้านั้น) โดยแอบหวังว่าเมื่อใช้สินค้านั้นแล้วอาจมีสภาพเหมือนดารา (ทั้งร่างกาย จิตใจซึ่งน่าจะรวมถึงสติปัญญา) ข่าวในเน็ทกล่าวว่า ดาราสาวดังกล่าวคงมีความรู้สึกร้อนรุ่ม เหมือนตกลงไปในน้ำซุบบะหมี่ที่ เธอโฆษณาว่าดีเลิศประเสริฐศรีทางโภชนาการสำหรับเด็กเป็นแน่แท้จากข้อมูลดังกล่าวซึ่งเป็นเพียงส่วนน้อยที่มีในอินเตอร์เน็ทนั้น ผู้เขียนหวังเพียงแต่ว่า ในช่วงเวลาที่ประเทศไทยอยู่ระหว่างการปฏิรูป ซึ่งการคุ้มครองผู้บริโภคนั้นเป็นประเด็นหลักประเด็นหนึ่ง ที่ถูกหยิบขึ้นมาจากใต้พรมเพื่อปัดฝุ่นให้มันถูกต้องเสียทีนั้น เรื่องเกี่ยวกับการโฆษณาสินค้าโดยใช้ผู้ที่ขาดความรู้และประสบการณ์ในสินค้าที่ตนทำการโฆษณาควรได้รับการเหลียวมองเสียที เพราะประเด็นดังกล่าวนี้เป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวผู้บริโภคมากที่สุด(นะสารี) เนื่องจากมันถูกเห็นอยู่ในจอโทรทัศน์ซึ่งมีทั้งเสียงและภาพกล่าวกรอกหูซ้ายทะลุหูขวาอยู่ทุกวัน

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 145 ไทยพีบีเอส ขายตรง และผู้บริโภค

  บางประเทศมีการออกกฎหมายเกี่ยวกับการปฏิบัติตนของผู้ขายตรงว่า เมื่อเอาสินค้าให้ผู้บริโภคทดลองใช้แล้ว ห้ามไปยุ่งกับผู้บริโภคเลยภายใน 15 วัน เพื่อให้ผู้บริโภคใช้วิจารณญาณในการซื้อสินค้าว่า ควรซื้อหรือไม่   ผู้เขียนเป็นนักดูโทรทัศน์ที่ชอบสถานีไทยพีบีเอสมาก เพราะไม่มีโฆษณา ยกเว้นการแจ้งว่ามีรายการอะไรที่จะออกอากาศวันเวลาใด ซึ่งก็ดี เพราะหลายครั้งผู้เขียนก็จำไม่ได้ว่า บางรายการยังออกอากาศอยู่หรือไม่ เนื่องจากไทยพีบีเอสมักประพฤติตนประหลาดๆ ที่ย้ายบางรายการที่ผู้เขียนกำลังติดตามอยู่ดีๆ ไปออกอากาศเสียดึก ทำให้ไม่ได้ดูเพราะผู้เขียนต้องเข้านอนประมาณสี่ทุ่ม หรือบางที่ก็สลับวันโดยไม่ได้บอกเหตุผลที่ชัดเจน   แต่มีรายการหนึ่งของไทยพีบีเอสที่คนในครอบครัวลงความเห็นว่า น่ารำคาญมาก คือ รายการ เปิดบ้านไทยพีบีเอส ในวันเสาร์-อาทิตย์หลังข่าวค่ำ ที่ดูเป็นรายการสำหรับการแก้ตัวของสถานีเวลาที่ไทยพีบีเอสถูกผู้ชมทักท้วงถึงความไม่ถูกต้องของบางรายการ ซึ่งบางครั้งการแก้ตัวก็ฟังขึ้น แต่ส่วนใหญ่มักจะทำให้คนในบ้านหงุดหงิด เช่น นานมาแล้วมีนักวิชาการด้านสัตววิทยาทักท้วงประมาณว่า มีรายการหนึ่งพูดถึงแมลงชนิดหนึ่งผิดไป เนื่องจากคนแปลบทพากษ์เข้าใจผิด จึงส่งจดหมายอธิบายความทางวิชาการให้เพื่อความถูกต้อง แต่คนของไทยพีบีเอสออกมาแก้ตัวแบบฟังแล้ว นักวิชาการส่วนใหญ่คงคิดเหมือนผู้เขียนว่า ปล่อยมันไปเถอะ และปรากฏการณ์ลักษณะนี้เกิดหลายครั้ง จนทำให้คนในครอบครัวผู้เขียนตัดปัญหารำคาญใจไม่ดูรายการนี้ ย้ายไปดูช่องอื่นแล้วคำนวณเวลาว่า รายการเปิดบ้านไทยพีบีเอสจบหรือยังจึงกลับไปดูไทยพีบีเอสต่อ เนื่องจากชอบดูรายการ ทันโลก ของคุณชัยรัตน์ ถมยา   แต่เมื่อ 27 มกราคม 2556 นี้ที่ผู้เขียนกดรีโมทเปลี่ยนหนีรายการ เปิดบ้านไทยพีบีเอสไม่ทัน เลยรับฟังการแก้ตัวเกี่ยวกับการที่มีผู้ชมติชมไปยังไทยพีบีเอสว่า ไม่ควรเอาเรื่องเกี่ยวกับการขายตรงมาลบหลู่ เพราะกระเทือนใจผู้ประกอบอาชีพนี้เป็นอย่างยิ่ง   รายการที่ชาวขายตรงกล่าวถึงนั้นคือ ลูกไม้หลายหลายต้น ซึ่งเป็นรายการเกี่ยวกับครอบครัว ซึ่งดูในภาพรวมแล้วค่อนข้างดี บ่อยครั้งที่ผู้เขียนหลงไปดูอยู่เหมือนกัน และสำหรับตอนที่ถูกชาวขายตรงอ้างถึงว่าลบหลู่วิชาชีพนั้น ผู้เขียนก็ดูผาดๆ คือ ไม่สนใจมากนัก แต่ในใจก็นึกชมคนผลิตรายการว่า เอาซะบ้างก็ดี เพราะในเรื่องนั้นเป็นการสอนให้เยาวชนรู้จักความแตกต่างระหว่าง การขายตรงและแชร์ลูกโซ่   ในรายการเปิดบ้านไทยพีบีเอสวันนั้น ผู้ชี้แจงได้พยายามอธิบายความว่า สองเรื่องนั้นมันต่างกัน โดยตีประเด็นตรงๆ ว่า แชร์ลูกโซ่นั้นเป็นการหลอกลวง เพราะผู้เข้าร่วมวงการนี้ต้องหาสมาชิกมาต่อยอดให้ได้ เนื่องจากเงินที่จ่ายให้สมาชิกเก่าจะมาจากสมาชิกใหม่ ถ้าขาดสมาชิกใหม่เมื่อใด แชร์จะล้มลงทันทีและทำให้สมาชิกใหม่แทบฆ่าตัวตายมานักต่อนักแล้ว   ส่วนการขายตรงนั้นเป็นธุรกิจขายสินค้า ซึ่งไม่ได้เปิดเป็นร้านจริงจังแต่มีความเป็นบริษัท มีสินค้าจริง ขึ้นแต่ว่าสินค้านั้นจะดีหรือไม่ดีอย่างไร ดังนั้นคนขายตรงจึงมีหลายประเภทคละกัน คือ ทั้งดีและไม่ดีตามประเภทสินค้า ความรู้เกี่ยวกับการขายตรงและแชร์ลูกโซ่นั้น ท่านผู้อ่านสามารถหาความรู้ได้จาก ขายตรงแอบแฝงแบบแชร์ลูกโซ่ (www.youtube.com/watch?v= sxGYVcsuZ1Q) และ แชร์ลูกโซ่หลอกครูอีสาน (www.youtube.com/watch?v=Jub7sJRbNzg) ทำไมการขายตรงจึงยังเป็นที่รังเกียจของคนหลายคน เหตุผลหาได้ไม่ยากเพราะ ถ้าใครเจอคนที่มีอาชีพขายตรงแล้ว มักเจอปัญหาในลักษณะที่ว่า ตื้อเท่านั้นที่จะครองโลก จึงทำให้ในบางประเทศมีการออกกฎหมายเกี่ยวกับการปฏิบัติตนของผู้ขายตรงว่า เมื่อเอาสินค้าให้ผู้บริโภคทดลองใช้แล้ว ห้ามไปยุ่งกับผู้บริโภคเลยภายใน 15 วัน เพื่อให้ผู้บริโภคใช้วิจารณญาณในการซื้อสินค้าว่า ควรซื้อหรือไม่ ถ้าผู้เขียนจำไม่ผิด กฎหมายนี้เป็นของประเทศมาเลเชีย   ผลิตภัณฑ์ที่ผู้ขายตรงในปัจจุบันอาจทำให้ผู้บริโภคเกิดปัญหาคือ การขายตรงผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร โดยผู้ขายเองก็ไม่รู้ว่า ผลิตภัณฑ์นั้นจริง ๆ แล้ว กินดีหรือไม่ รู้แต่ว่า ถ้าขายได้ ก็ได้ค่านายหน้าเท่านั้นเอง ปรากฏการณ์นี้เป็นสิ่งที่ผู้ทำหน้าที่ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคหวั่นใจมาก เนื่องจากเป็นธุรกิจมูลค่ามหาศาล   ในสหรัฐอเมริกา ดร. Joan E. DaVanzo และคณะได้ทำรายงานเรื่อง The Economic Contribution of the Dietary Supplement Industry: Analyses of the Economic Benefits to the U.S. Economy ให้แก่ Natural Products Foundation’s Dietary Supplement Information Bureau (DSIB) ซึ่งเป็นองค์กรอิสระที่ไม่ค้ากำไรเมื่อ 7 พฤษภาคม  ปี 2009 ว่า ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนั้นมีมูลค่าการค้าต่อปีมากกว่าสองหมื่นล้านเหรียญตั้งแต่ปี 2004 ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 25 ของมูลค่าผลิตภัณฑ์ด้านอาหารและโภชนาการที่ขายในสหรัฐอเมริกา โดยมีอัตราการเจริญเติบโตราวร้อยละ 6 ต่อปี ซึ่งเป็นคุณต่อสภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา   ในรายงานฉบับเดียวกันได้ให้เหตุผลหลักๆ ว่าคนอเมริกันกินผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพราะมีความสนใจในสุขภาพแบบองค์รวมเพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ กระตุ้นระบบภูมิต้านทาน ลดความเสื่อมในการมองเห็น มีกระดูกแข็งแรง หรือป้องกันไม่ให้เด็กที่คลอดออกมาพิการ โดยคิดว่าผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนั้นปลอดภัยกว่ายา อย่างไรก็ดี ในปี 2011 มูลค่าการค้าขายในประเทศของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารได้ตกลงเหลือแค่ 5 พันกว่าล้านเหรียญเท่านั้น ซึ่งคงเป็นเพราะเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาแย่กว่าเดิมมากนัก   สำหรับแนวทางในการบริโภคอาหารที่เหมาะสม หรือ Dietary Guidelines for Americans ที่กระทรวงสาธารณสุขสหรัฐอเมริกันออกมาเมื่อปี 2010 นั้นไม่ถึงกับปฏิเสธผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเสียทีเดียว เพียงแต่บอกว่า ในบางกรณีการกินอาหารที่มีเติมสารอาหารเฉพาะเพิ่มลงไปหรือกินผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบางชนิด อาจจำเป็นในคนที่กินสารอาหารบางชนิดไม่มากเท่าที่ทางกระทรวงสาธารณสุขแนะนำ   ประเด็นสำคัญคือ สถานการณ์อย่างไรที่ใครสักคนจะตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารกิน เราจะพบว่าส่วนใหญ่ผู้บริโภคที่ซื้อผลิตภัณฑ์ประเภทนี้กินมักตัดสินใจบนพื้นฐานการชักชวน แนะนำหรือโฆษณาทั้งสิ้น อาจมีส่วนน้อยที่ผู้บริโภคได้รับคำแนะนำจากบุคคลากรสาธารณสุข ซึ่งถ้าเป็นกรณีหลังนี้ควรเป็นผู้บริโภคที่ได้รับการตรวจร่างกายอย่างละเอียดและได้รับการซักถามถึงพฤติกรรมการบริโภคอาหารว่า อยู่ในสถานะที่ต่ำกว่ามาตรฐานที่มนุษย์กินกัน ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบางชนิด เช่น วิตามิน จึงถูกแนะนำ   การบริโภควิตามินในกลุ่มคนไทยที่บางครั้งก็ตอบไม่ได้ว่า กินเข้าไปทำไม เพราะส่วนใหญ่นักเรียน นักศึกษาจะรู้ว่าวิตามินมีประโยชน์ก็จากโฆษณาทางโทรทัศน์ที่บอกว่า แก้อาการผอมแห้งแรงน้อย ทำให้อยากอาหาร ซึ่งความจริงแล้วไม่ใช่เลย   วิตามินนั้นทำงานในร่างกายเราในลักษณะเหมือนน้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์ กล่าวคือ ต้องมีอาหารเข้าไปในร่างกายก่อน วิตามินจึงทำงานร่วมกับเอนไซม์ในการทำให้อาหารนั้นเกิดประโยชน์ เช่น คาร์โบไฮเดรตและไขมันกลายเป็นพลังงาน โปรตีนถูกเปลี่ยนเป็นกรดอะมิโนซึมเข้าร่างกายไปสู่เซลล์เฉพาะแล้วถูกสร้างขึ้นเป็นโปรตีนใหม่ที่ร่างกายต้องการ เป็นต้น ดังนั้นการกินวิตามินเข้าไปมาก ๆ แต่ขาดสารอาหาร การทำงานของวิตามินก็ไม่เกิดขึ้น   ดังนั้นจึงไม่เป็นการเกินเลยไปนักที่ บางรายการของไทยพีบีเอสจะให้ความรู้และการกล่าวเตือนให้ผู้บริโภคที่ขาดโอกาสมีความรู้เกี่ยวกับอาหารที่ถูกต้อง สามารถยั้งคิดได้เมื่อถูกชักชวนให้หาอาชีพเสริมซึ่งบางกรณีเป็นอาชีพที่ทำให้ให้เป็นที่รำคาญของบุคคลรอบข้างได้เช่นกัน

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 119 เชื่อหรือไม่ นิสัยกำหนดได้ด้วยอาหาร

  ท่านผู้อ่าน “ฉลาดซื้อ” คงเคยตั้งคำถามถามตัวเองว่า ทำไมคนบางคนถึงมีพฤติกรรมได้สุดๆ อย่างไม่น่าเชื่อ เช่น พูดอะไรออกมาทางโทรทัศน์ผู้ชมจะต้องผรุสวาทด่าทอกลับไปทันที หรือหนักกว่านั้นอาจทำร้ายโทรทัศน์ของตนเองฐานไม่รู้จักดูดเสียงเหมือนเวลาเราดูละครน้ำเน่า อีกตัวอย่างคือ มีนักข่าวชาวอาหรับคนหนึ่งที่ถอดรองเท้าขว้างใส่อดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา แล้วตามต่อมาด้วยการทำรองเท้า ทำเสื้อ ทำของที่ระลึกถึงวีรเวรการขว้างรองเท้าออกมาขาย จนสุดท้ายท่านอาจถามตัวเองอีกว่า แล้วคนที่ซื้อของที่ระลึกประเภทนี้ คิดได้อย่างไรจึงซื้อ การที่คนมีพฤติกรรมแปลกออกไปจากส่วนใหญ่ของสังคมนี้ ท่านผู้อ่านอาจรู้สึกประหลาดใจถ้าผู้เขียนจะบอกว่า สงสัยแม่เขากินไม่ดีตอนท้องเขา ทั้งนี้เพราะปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ค่อนข้างมั่นใจแล้วว่า การแสดงออกของคน และสัตว์ต่างๆ เป็นไปตามสิ่งแวดล้อมบางประการที่กำหนดให้ยีนทำงาน และที่สำคัญอาจกำหนดตั้งแต่เขาผู้นั้นอยู่ในท้องแม่   นิสัยจะดีหรือร้ายกำหนดได้ตั้งแต่ในท้องแม่   ในปัจจุบันมีการศึกษาเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ที่ผสมผสานระหว่างวิชาด้านพันธุศาสตร์และวิชาด้านอาหารจนเกิดเป็นศาสตร์ที่เรียกว่า nutrigenomic ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ในอนาคต นอกจากนี้วิทยาศาสตร์ได้ก้าวหน้าไปถึงขั้นหนึ่งที่บอกว่า การทำงานของยีนที่แสดงออกมาในรูปพฤติกรรมต่างๆ ของร่างกาย ซึ่งรวมไปถึงสุขภาพและการเกิดโรคต่างๆ นั้น มีปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งรวมถึงอาหารและสารพิษ เป็นตัวกำหนดการแสดงของยีนได้ ศาสตร์ในเรื่องนี้เรียกรวมกันว่า epigenetics คำว่า epi เป็นคำแสดงถึงลักษณะที่เป็นปัจจัยที่มีผลโดยอ้อม (epi มีรากศัพท์เดิมมาจากความหมายที่ว่า อยู่เหนือขึ้นไปหรืออยู่ข้างบน) ไม่ได้เกี่ยวเนื่องโดยตรงต่อสิ่งที่ถูกกระทบ ส่วนคำว่า genetic นั้นหมายถึง ยีน รวมคำนี้เป็น epigenetic ซึ่งมีความหมายถึง ผลจากภายนอกที่กระทบต่อการทำงานของยีน จากความรู้ด้านพันธุกรรมนั้น ลักษณะที่แสดงออกซึ่งทำให้สิ่งมีชีวิตชั้นสูงทั้งพืชและสัตว์มีลักษณะต่างกันนั้นมีคำรวมที่เรียกว่า ฟีโนไทป์ (phenotype) ซึ่งถูกกำหนดการแสดงออกด้วยลักษณะจำเพาะของยีนที่เราเรียกว่า จีโนไทป์ (genotype) ที่อยู่บนดีเอ็นเอในนิวเคลียสของแต่ละเซลล์ ในการทำงานของยีนที่เป็นส่วนจีโนไทป์นั้นเราอาจใช้คำว่า เป็นการเปิดยีน ซึ่งแต่ละยีนนั้นจะเปิดความเป็นลักษณะเด่นหรือด้อยขึ้นอยู่ว่าได้ยีนใดจากพ่อและแม่ ดังที่เราเคยเรียนกันมาแล้วว่า ในการผสมพันธุ์ดอกไม้ ถ้าสีชมพูเป็นลักษณะเด่นจริงและสีขาวเป็นลักษณะด้อยจริง ลูกรุ่นแรกจะเป็นสีของลักษณะเด่นคือ ชมพู ทั้งหมด แต่ถ้าเอาลูกที่เป็นสีชมพูมาผสมกัน โอกาสที่จะได้ลูกเป็นสีชมพูต่อขาวคือ 3:1 ตามกฏของเมนเดล  แต่กฏของเมนเดลซึ่งเสนอโดยนักบวชชาวออสเตรียนั้น ปัจจุบันไม่ได้ตรงไปตรงมาอย่างที่ผู้เขียนเรียนเมื่อราว 40 ปี ที่แล้ว เพราะการแสดงออกของหน่วยพันธุกรรมคือ ยีน บนดีเอ็นเอนั้น ถูกกำหนดให้ปิดหรือเปิดด้วยอาหารที่แม่กินตอนท้อง ที่ซ้ำร้ายมีผู้กล่าวว่าขนาดยายกินอะไรตอนท้องแม่ส่งผลไปถึงแม่ตอนท้องหลานด้วยซ้ำ ในความรู้ด้าน epigenetic นั้น นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการศึกษาในสัตว์ทดลองให้เห็นชัดว่า การกินอาหารขาดไวตามินบางชนิดคือ กรดโฟลิก (ซึ่งต้องทำงานร่วมกับไวตามินบี6 และไวตามินบี12 ในร่างกายสิ่งมีชีวิตชั้นสูง) นั้น การแสดงออกของยีนในสัตว์ที่มีหน่วยพันธุกรรมเหมือนกันกลับต่างกัน มีหนูทดลองประเภทหนึ่งที่นักวิทยาศาสตร์เรียกว่าเป็นหนู agouti มีความพิเศษที่เมื่อหนูประเภทนี้ท้องแล้วนักวิทยาศาสตร์สามารถใช้สารอาหารกำหนดสีขนของลูกหนูที่กำเนิดได้ คำว่า agouti นั้นเป็นคำอธิบายลักษณะสีขนของสัตว์ไม่ว่าจะเป็น หนู แมว สุนัข ม้า ฯลฯ ที่มีลักษณะสีขนถูกควบคุมด้วยลักษณะพันธุกรรมมากกว่าหนึ่งยีน และสามารถแสดงผลออกมาให้เห็นเป็นสีขนที่ต่างกันได้ ความแตกต่างของสีขนนี้อาจเป็นสีเดียวทั้งตัวที่ต่างกัน หรือหลายเฉดสีในตัวเดียวกัน เช่น ม้า ที่นำรูปมาให้ดู ในกรณีแม่หนู agouti นั้น ถ้าช่วงที่ท้องได้กินอาหารที่มีกรดโฟลิกน้อยหรือไม่มีเลย จะออกลูกมามีขนสีเหลืองทอง แต่ถ้าแม่หนูกินอาหารมีกรดโฟลิกครบ จะออกลูกมีขนสีน้ำตาลเข้ม   สำหรับอีกการทดลองหนึ่งได้เปลี่ยนจากกรดโฟลิกเป็นสารเจ็นนิสตีนซึ่งพบในถั่วเหลืองผสมในอาหารหนูก็ได้ผลเหมือนกันคือ ถ้าแม่หนูได้กินเจ็นนิสตีน ลูกออกมาจะมีขนสีน้ำตาลปรกติ ทั้งที่แม่ไม่ต้องกินกรดโฟลิก  และอีกตัวอย่างหนึ่งที่มีการศึกษาให้หนูท้องได้กินอาหารผสมสารพิษคือ บิสฟีนอลเอ (ซึ่งเป็นสารที่ใช้ในอุตสาหกรรมพลาสติกชนิดโพลีคาร์บอเนต ซึ่งเป็นพลาสติกแข็งใส นิยมทำภาชนะบรรจุอาหารรวมไปถึงขวดนมเด็กทารกนั้น) ก็ปรากฏว่า ลูกหนูที่ออกมามีขนสีเหลืองทองเช่นกัน เพราะสารบิสฟีนอลเอนั้นไปออกฤทธิ์ทำให้เสมือนแม่หนูที่ตั้งท้องนั้นไม่ได้รับกรดโฟลิกเพียงพอ ซึ่งทำให้นักวิทยาศาสตร์สรุปถึงความสำคัญของกรดโฟลิกในการแสดงออกของยีนสีขน ที่สำคัญ หนู agouti ที่มีขนสีเหลืองนี้ จะมีอาการที่เป็นผลพลอยได้จากการมีขนสวยคือ เป็นเบาหวานแต่กำเนิด และมีอัตราการตายด้วยมะเร็งสูงมากกว่าหนูขนสีน้ำตาลปรกติ อาการแทรกซ้อนของการขาดกรดโฟลิกในสัตว์นั้น เป็นสิ่งที่เกิดในคนเช่นกันแต่เป็นคนละอาการ   กรดโฟลิกกับมะเร็ง เป็นที่ทราบกันดีว่าถ้าแม่ท้องแล้วกินอาหารขาดกรดโฟลิกหรือได้ต่ำเกินไป ลูกที่ออกมาจะมีความเสี่ยงต่ออาการที่เรียกว่า NTD หรือ neural tube defect เช่น อาการกระโหลกปิดไม่สนิท ซึ่งเรียกตามภาษาแพทย์ว่า Anencephaly หรืออาการที่เรียกว่า Spina bifida ซึ่งมีอาการโดยรวมเหมือนมีหางออกมาจากปลายกระดูกสันหลัง  ส่วนใหญ่ทารกที่เกิดดังกล่าวนี้อาจพิการหรือตายคลอด ขึ้นกับความรุนแรงของอาการที่ยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน เพียงแต่ทราบว่าการขาดกรดโฟลิกนั้นเพิ่มความเสี่ยงต่อการพิการนี้   ปัจจุบันนี้เราค่อนข้างจะมั่นใจว่า การขาดกรดโฟลิกนั้นส่งผลในการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งโดยรวม เนื่องจากกรดโฟลิก(หรือบางครั้งเรียกว่า โฟเลท) นั้นเป็นไวตามินที่มีความสำคัญต่อการแบ่งเซลล์และการซ่อมแซมหน่วยพันธุกรรมเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้การทำงานของกรดโฟลิก ไวตามินบี 6 และไวตามินบี 12 นั้นช่วยให้การทำงานของยีนในร่างกายเราดำเนินไปอย่างปรกติ ไม่เพี้ยนจนเป็นมะเร็ง ในต่างประเทศโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาให้ความสำคัญเกี่ยวกับกรดโฟลิกมาก และอยู่ในระหว่างการพิจารณาว่า ต้องแนะนำให้ประชาชนเน้นการบริโภคอาหารที่มีกรดโฟลิกเป็นประจำเพื่อป้องกันมะเร็งหรือไม่  กรดโฟลิกนั้นมีมากในเนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ ผลไม้หลายชนิด ผักใบเขียว เมล็ดดอกทานตะวันและถั่วเมล็ดแห้งต่าง ๆ เป็นต้น ไวตามินนี้ต้องทำงานร่วมกันกับไวตามินบี 6 และไวตามินบี 12 ในการชลอความเสื่อมสภาพของร่างกายซึ่งเป็นไปตามวัย ได้แก่ ความแก่ โรคหัวใจ และมะเร็ง เป็นต้น  การทำวิจัยเพื่อให้ได้สารอาหารที่ช่วยให้สุขภาพยีนในเซลล์ดีนั้นเป็นเรื่องสำคัญ เพราะถ้าในอนาคตเราสามารถหาสารอาหารที่ทำให้เด็ก (ซึ่งเป็นไม้อ่อนดัดได้) มีโอกาสได้รับสารอาหารที่กำหนดให้ยีนการเป็นคนดี สุภาพ มีศีลธรรม เข้าใจหน้าที่ของตนว่า เมื่อได้รับเลือกให้ทำอะไร ก็ทำหน้าที่นั้นอย่างดีให้สมบูรณ์แบบ ไม่เหมือนคนบางอาชีพที่อยู่ดี ๆ ก็ถอดเกือกที่ใส่เพื่อแสดงความทรงเกียรติมาวางบนโต๊ะ เสมือนเตรียมขว้างหน้าฝ่ายตรงข้าม หรือให้นักข่าวถ่ายรูปไปลงหนังสือพิมพ์เพื่อแสดงความ โหด มัน ฮา

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 99 ผู้บริโภค คือผู้ร่วมผลิต

เรื่องเรียงเคียงจานนก อยู่วนา รุ่งเช้าของวันหลังฝนตก อากาศสดชื่น ต้นไม้น้อยใหญ่ในสวนมีหยดน้ำเกาะพราว หลังจากนั้นอีกสามสี่วันก็จะมียอดอ่อน ดอกตูมๆ ของต้นไม้แตกออกมาให้ได้ชื่นใจ หลังจากฉันชื่นชมอยู่ได้พักใหญ่ ยอดผักสารพัดชนิดก็มาวางเรียงรายเต็มถาดเพื่อเตรียมนำมาปรุงกิน ระหว่างจัดแต่งผักเพื่อเตรียมถ่ายรูป เพื่อนบ้านตะโกนถามว่าทั้งหมดที่วางกองรวมๆ อยู่นี่มาจากสวนในบ้านเหรอ ? ฉันบอก...เปล่า แต่อยากจะให้มันเป็นอย่างนั้นสักวันหนึ่ง ซึ่งยังอยู่บนเส้นทางการทดลอง และความพยายาม ระหว่างทางความพยายามฉันเก็บเกี่ยวความสุขไปพร้อมๆ กับผลผลิต ซึ่งสวนเล็กๆ ได้บอกเล่าเรื่องราวผ่านการสังเกตจากสิ่งที่ได้เห็นอยู่ซ้ำๆ แต่เป็นความจำเจที่มีเสน่ห์อย่างประหลาด นอกเหนือไปจากความประหยัดที่ลดเวลา ความถี่และค่าใช้จ่ายในการไปซื้อของจากร้านพุ่มพวงหน้าสโมสร หรือตลาดสดใกล้บ้านแล้ว ความสุขจากการเลือกเก็บเลือกกินผักที่งอกเงยจากน้ำพักน้ำแรงตัวเอง และการเฝ้าเห็นรอบของการเจริญเติบโตของผัก ก็เป็นมูลค่าเพิ่มที่ได้จากการไม่ซื้อ ...แต่ลงมือทำเอง ขณะนี้ฉันเองเพิ่งเข้าใจวิถี slow food ได้ลึกซึ้งถึงคำว่า “ผู้บริโภค คือผู้ร่วมผลิต” ก็ต่อเมื่อลงมือปลูก และเรียนรู้ปัญหาจากหนอน แมลงและสารพัดสัตว์ที่เขามามีส่วนแบ่งในพืชผักที่ลงมือปลูก รวมไปถึงสภาวะ แดดร้อนไป ดินไม่ดี เมล็ดอันนี้หว่านหน้านี้ไม่ขึ้น หรือแม้แต่การเลือกเล็งว่าจะขุดหลุมปลูกอะไรตรงไหนให้เหมาะเจาะถูกใจคนปลูกและต้นไม้ก็ชอบด้วย ส่วนเมนูอาหารที่จะทำกินเองแต่ละครั้ง แทนที่จะนึกว่าอยากกินอะไรเป็นตัวตั้งอย่างแต่ก่อน ฉันปรับมาดูว่าในสวนตอนนี้มีอะไรให้กินแล้วจึงค่อยไปหาซื้อผักอื่นๆ ที่ในสวน(ยัง)ไม่มีมาเพิ่มเติม อย่างแกงเลียงวันนี้ น้ำพริกแกง มีหอมแดง พริกไทย กระชาย และกุ้งแห้ง เหมือนเดิมจะมีผักบางชนิดจะดูแปลกตาท่านผู้อ่านไปบ้าง แต่รับรองว่าหากสนใจจะปลูกแล้วสามารถปลูกเองได้ และนำไปปรุงอาหารประเภทอื่นๆ ได้เช่นกัน ผักอื่นๆ เช่น อ่อมแซ่บ ผักที่ฉันเพิ่งรู้จักจากการลงไปดูชาวนาปรับปรุงพันธุ์ข้าวที่ยโสธร มันเป็นไม้ยืนต้นพุ่มขนาดเล็กมีดอกหลายสีปลูกตกแต่งตามบ้านเรือน มีรสจืด ยอดและใบ ยังนำมารับประทานสดกับส้มตำ ลาบ หรือน้ำพริกได้ ยำ หรือนำไปต้มจืด ใส่ไข่แล้วเจียว รองก้นห่อหมก ซึ่งแล้วแต่จะปรับแปลงวิธีการ ส่วนวิธีปลูกแค่ตัดกิ่งปักชำไว้ในร่มรำไรสัก 15 - 20 วัน ก็เอามาปลูกในกระถาง แดดดีน้ำดี ก็แตกใบงาม ตัดกินได้เรื่อยๆ หรือจะปล่อยให้ออกดอกบ้างเพื่ออาหารใจก็ย่อมได้ ผักเหมียงหรือผักเหลียง เคยได้กินแกงผักเหมียงกับกุ้งแม่น้ำที่บ้าน บ.ก. ฉลาดซื้อ อร่อยมาก ทำให้มุมครึ้มใต้ร่มมะม่วงของบ้านฉันกลายเป็นที่อยู่และเติบโตของผักเหมียง 2 ต้น พอฝนตกดีๆ เหมียงก็แตกใบแดงๆ ออกมาให้กิน เก็บไปก็นึกไปว่าคงต้องหามาปลูกเพิ่มอีกสักหน่อย ผักเหมียงถ้าปล่อยให้ต้นโตใหญ่ก็ได้ แต่ถ้าหมั่นเก็บกินเป็นช่วงๆ ก็จะมีทรงพุ่มไม่ใหญ่มากนัก คล้ายๆ ผักหวานป่า ส่วนผักหวานบ้าน ต้องแดดดีๆ น้ำชุ่มแต่ไม่แฉะขัง จึงจะงาม บวบเหลี่ยม อันนี้ปลูกง่ายแต่ที่แกงอยู่ฉันไปซื้อมาพร้อมกับน้ำเต้าจากป้าในหมู่บ้านที่แกปลูกแล้วเอามาขายเอง ส่วนยอดบวบที่ฉันลงเม็ดที่ได้มาจากชาวบ้านที่ปลูกและเก็บพันธุ์เองนั้นถูกหอยทากอัฟริกาเลื้อยไต่มาจากคลองที่ติดอยู่กับด้านนอกกำแพงหมู่บ้าน รบกันมันไม่ชนะแม้จะพยายามเก็บมันไปทิ้งอยู่หลายรอบ ยอดถั่วพุ่ม และผักอีกหลายชนิด หรือแม้แต่มะละกอต้นโตสูงกว่าศอกยังเคยถูกมันกินเรียบมาแล้ว มีแต่มะเขือส้มนี่แหละที่มันไม่แยแสจนกว่าจะมีลูกสุกแดงปลั่ง ... อืมมันช่างฉลาดเลือกกินเชียวแหละ ผักโขม ฉันได้เมล็ดจากซองที่เขาขายทั่วไป นำมาปลูกแล้วปล่อยให้โตสักพักก็เด็ดยอดกิน มันก็แตกยอดใหม่ๆ ออกมาเรื่อย มีอยู่ต้นหนึ่งปล่อยให้ต้นโตใหญ่และรอเมล็ดแก่ ให้ร่วงกระจายเพื่อจะได้เก็บรุ่นหลังๆ ไว้กินต่อ แกงเลียงหม้อนี้ ฉันตั้งใจโขลกน้ำพริกแกงจากหอมแดงอินทรีย์ เพื่อนที่สุรินทร์โทรมาบอกและความอยากได้ของดีมากินจึงต้องเที่ยวโทรถามเพื่อนๆ รวบรวมจำนวนที่ต้องการแล้วให้ส่งมาทางรถไฟ ถามว่าลำบากไหม ก็ใช่.. ลำบากกว่าไปซื้อกินตามตลาด แต่ตามตลาดหาหอมอินทรีย์กินยาก และในแปลงฉันเองยังปลูกไม่ได้นี่นา ส่วนคนที่โทรมาถามไม่ได้เดือดร้อนเรื่องหาคนมาซื้อไหม? ไม่ คือคำตอบ เพราะเขาสามารถขายให้กับลูกค้าที่ยอมจ่ายราคาที่สูงกว่าฉันจ่ายได้อยู่แล้ว เพราะเป็นราคาจ่ายที่ลูกค้าเหล่านั้นจ่ายแล้วรู้สึกคุ้มค่ากว่าการได้อาหารดีอย่างเดียว แต่เพื่ออุดหนุนให้มีอาหารอินทรีย์ที่เป็นที่ยอมรับว่าเป็นวิธีการผลิตอาหารที่รักโลก รักคนปลูกและคนกิน แกงเลียงหม้อนี้จึงอร่อยเป็นพิเศษ เพราะอิ่มทั้งกายและใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของผู้ร่วมผลิตมากกว่าการเป็นแค่ผู้บริโภคเพียงอย่างเดียว

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 164 ตาดีได้ ตาร้ายอย่าให้เสียของ

เมื่อผู้บริโภคตัดสินใจซื้อสินค้า ความคาดหวังในคุณภาพสินค้าย่อมเกิดขึ้น แต่เมื่อกลับมาบ้านและพบว่าสินค้าที่ตนเสียสตางค์ซื้อมานั้น มีคุณภาพไม่เป็นดังที่หวัง อารมณ์ของผู้บริโภคยามนั้นคงเหมือนโลกาจะวินาศ ยิ่งในยุคปัจจุบันที่มีช่องทางมากมายในการร้องเรียนและผู้บริโภคเองก็มีความตื่นตัวในเรื่องการเรียกร้องสิทธิ เรื่องราวการทวงสิทธิของผู้บริโภคด้วยวิธีต่างๆ จึงเพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แต่วิธีการที่มาแรงแซงโค้งคือการเล่าเรื่องราวของตนที่ถูกกระทำ เพื่อฟ้อง(หรือประจาน) ผ่านทางโซเชียลมีเดีย เช่น เฟซบุ๊ค ไลน์ หรือเว็บไซต์ต่างๆ หลังจากนั้นก็จะมีผู้มาแสดงความเห็น หรือแชร์ส่งต่อกันเป็นทอดๆ เพียงไม่กี่นาที เรื่องราวก็กระจายไปอย่างรวดเร็วยิ่งกว่าจรวดเสียอีก ผู้เขียนมีประสบการณ์ล่าสุดเมื่อไม่นานมานี้ มีผู้แชร์คลิปสั้นๆ ผ่านทางเฟซบุ๊ค ในคลิปแจ้งว่า “ซื้อปลาทูจากดอนหอยหลอด เมืองแม่กลอง แล้วพบว่า ปลาทูในกล่อง ซึ่งผู้ขายซ้อนเป็นสองชั้นนั้น ชั้นบนเป็นปลาทูแม่กลองหน้างอ คอหัก เนื้อสวย ผิวเต่ง แต่เมื่อพลิกดูชั้นล่างกลายกลับเป็นปลาทูเก่า หน้าไม่งอ คอไม่หักแล้ว แต่ดันเป็น หน้าแก่ ท้องทะลัก ซะนี่” ผู้เขียนเข้าใจว่าตอนซื้อมานั้น ผู้บริโภคคงไม่เห็น เพราะปลาทูชั้นบนคงบังชั้นล่างอยู่ ในฐานะคนทำงานคุ้มครองผู้บริโภคในจังหวัด ได้มีโอกาสร่วมกับสำนักงานพาณิชย์จังหวัด ลงไปติดตามตรวจสอบข้อมูลสถานที่จำหน่ายในบริเวณดอนหอยหลอด แต่ก็พบว่าช่างยากลำบากในการติดตามตรวจสอบ จนผู้เขียนแทบจะหน้างอพอๆ กับปลาทูแม่กลอง เพราะมันแทบไม่มีข้อมูลที่จะติดตามขยายผลได้เลย ทราบจากคลิปเพียงว่า ซื้อมาจากดอนหอยหลอดเท่านั้น แต่ไหนๆ ก็ไปตรวจสอบแล้ว เพื่อไม่ให้เสียเที่ยว ก็เลยถือโอกาสแนะนำ กำชับกับทางผู้ขายให้รักษามาตรฐานให้ดี อย่าให้เสียชื่อจังหวัด และได้ประสานกับผู้ขายและผู้เกี่ยวข้องในพื้นที่ให้คอยสอดส่องดูแลด้วย หากพบข้อมูลใดๆ ขอให้รีบแจ้งให้ทราบด้วย เลยขอเอาประสบการณ์ตรงจากเหตุการณ์นี้ มาแนะนำว่า ไหนๆ เราก็พลาด ตาดีได้ ตาร้ายเสีย จนต้องลุกขึ้นมาเรียกร้องสิทธิแล้ว อย่าให้เสียของนะครับ ผู้เขียนมีคำแนะนำง่ายๆ สำหรับการแชร์ข้อมูลหรือนำเสนอข้อมูลเพื่อเรียกร้องสิทธิผ่านทางโซเชียลมีเดียว่า ถ้าเป็นไปได้ ขอให้บอกเล่ารายละเอียดให้มากพอที่เจ้าหน้าที่จะทำงานได้อย่างต่อเนื่องด้วย เช่น เกิดเหตุการณ์อะไรที่ไหน ใครทำอะไร อย่างไร ถ้าสามารถมีบุคคลยืนยันได้ยิ่งดี เพราะในหลายกรณีที่ผ่านมา เมื่อผู้เขียนได้ทราบข้อมูล ก็มักจะตามรอยข้อมูลที่แชร์ เพื่อพยายามติดตามไปยังแหล่งต้นตอว่ามาจากที่ใด เมื่อเจอแล้วก็จะส่งข้อความไปสอบถามเพื่อขอรายละเอียดเพิ่มเติมเป็นทอดๆ จนกว่าจะพบต้นตอตัวจริง แต่ก็พบว่าหลายครั้งที่เมื่อตามไปเรื่อยๆ ก็มักจะพบว่าข้อมูลเหล่านี้แชร์ต่อๆ กันมาเป็นทอดๆแต่ไม่ทราบว่าต้นตอมาจากไหน สุดท้ายผู้เขียนก็ต้องหยุดการติดตามเพราะหาอะไรไม่เจอ ดังนั้นหากใครจะแชร์เรื่องราวต่างๆ อย่าลืมนะครับ ช่วยบอกแหล่งที่มาให้ชัดเจนหรือมากเท่าที่พอจะมากได้ก็จะยิ่งดี เพราะจะทำให้เจ้าหน้าที่ทำงานได้เร็วขึ้นและได้ผล คาหนังคาเขา มิฉะนั้นการเรียกร้องสิทธิของเรามันจะเสียของโดยเปล่าประโยชน์นะครับ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 162 เตรียมพร้อมให้ดี...อย่าให้ผีมารังควาน

ยุคนี้เหมือนยุคทองของพลเมืองดี ผู้บริโภคหลายรายเมื่อพบเห็นการถูกละเมิดสิทธิจากสินค้าต่างๆ เช่น พบสินค้าหมดอายุหรือไม่ได้คุณภาพ มักจะนำข้อมูลเหล่านี้ไปเผยแพร่ในโซเซียลมีเดีย แต่พบว่าผู้บริโภคหลายรายที่พยายามจะเป็นพลเมืองดีกลับถูกผู้ประกอบการที่กระทำผิดย้อนกลับมาข่มขู่ อันที่จริงการข่มขู่เจ้าหน้าที่หรือประชาชน จากผู้ประกอบการที่กระทำผิดมีมานานแล้ว มีหลายรูปแบบ เริ่มต้นอาจแค่ให้คนอื่นมาโน้มน้าวให้ยุติเรื่องโดยมาคุยโดยตรง หรือมาคุยกับคนใกล้ชิดแทน หรือไม่ก็ส่งจดหมายหรือโทรศัพท์มาข่มขู่ มาด้อมๆ มองๆ ให้เห็นเพื่อให้เกิดความหวาดกลัว หรืออย่างรุนแรงถึงขนาดใช้กำลังประทุษร้ายหรือไปแจ้งความข้อหาหมิ่นประมาทก็โดนกันมาแล้ว น้องๆ เภสัชกร ที่เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ก็โดนกันหลายราย “ถ้าเป็นแบบนี้ผู้บริโภคที่พร้อมจะเป็นพลเมืองดีจะทำอย่างไร?” “หากตั้งใจจะทำดี อย่าหวั่นไหวครับ” แต่สิ่งแรกที่เราต้องยึดให้แม่นคือ “ข้อมูลที่เราได้พบเห็นหรือรับรู้มานั้นต้องเป็นข้อเท็จจริง” หลายครั้งที่พลเมืองดีได้ข้อมูลไม่ครบถ้วน แล้วผลีผลามรีบไปดำเนินการ กว่าจะรู้ว่าข้อมูลที่ได้มานั้น มันมีส่วนจริงบ้างไม่จริงบ้างก็ถลำลงไปเยอะแล้ว อันดับแรกขอให้ตรวจสอบให้ชัดว่า ผลิตภัณฑ์อะไร เกิดกับใคร เกิดอันตรายอย่างไร ถ้ารู้จักกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขยิ่งดี ให้เขาช่วยกันตรวจสอบให้ชัดว่าอันตรายที่เกิดขึ้นนั้นมันมาจากผลิภัณฑ์นี้จริงหรือไม่ และพยายามรักษาสภาพเดิมของสินค้าให้มากที่สุด เผื่อบางทีเจ้าหน้าที่จำเป็นต้องส่งตัวอย่างผลิตภัณฑ์ไปวิเคราะห์ เจ้าของสินค้าเขาจะอ้างไม่ได้ว่ามีการสลับเปลี่ยนตัวอย่าง (หรือหากจะส่งพิสูจน์เองควรให้มีเจ้าหน้าที่หรือคนกลางเป็นพยานรับรู้เห็นด้วย) โดยปกติ เมื่อเจ้าหน้าที่ได้รับข้อมูลและพบว่า ผลิตภัณฑ์นั้นๆ อาจจะเกิดอันตราย ก็จะออกประกาศเตือนภัยให้ประชาชนรู้ แต่ผู้บริโภคบางรายหากอยากจะเตือนประชาชนด้วยตัวเองก็สามารถกระทำได้ แต่ขอให้เป็นการแจ้งข้อมูลเพื่อเตือนภัยจากสิ่งที่ตนเองพบ โดยอาจใช้ข้อความในลักษณะว่า “พบผลิตภัณฑ์สินค้าที่แสดงฉลากแบบนี้” ไม่ถูกต้องตามกฎหมายหรือพบว่าทำให้ได้รับความเสี่ยงหรืออันตราย พยายามเลี่ยงข้อความที่ไประบุว่า “ผลิตภัณฑ์ยี่ห้อนั้นทั้งหมด” มันเลวหรืออันตราย เพราะข้อมูลที่พบคือสิ่งที่เราเจอตรงหน้าเท่านั้น “หากเป็นพลเมืองดีแล้วโดนขู่” ขอให้ตั้งสติให้ดี ระลึกไว้เสมอว่าผู้ผลิตสินค้าที่ผิดกฎหมายมักไม่กล้าแสดงตัว เพราะหากแสดงตัวว่าเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์เมื่อไร ก็จะถูกเจ้าหน้าที่ดำเนินคดีแน่นอน เมื่อตั้งสติได้แล้ว ขอให้ไปแจ้งความลงบันทึกประจำวัน พร้อมทั้งเตรียมข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สินค้าที่น่าจะเป็นมูลเหตุที่ทำให้ถูกขู่ไปด้วย เพื่อจะได้มีการบันทึกข้อมูลให้เห็นความเชื่อมโยงกัน หลังจากนั้นให้ไปแจ้งข้อมูลให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคทราบด้วย (เช่น โรงพยาบาลชุมชน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด หรือสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา) เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหา แต่หากไม่ประสงค์จะแสดงตัว จะฝากคนอื่นๆ ไปแจ้งข้อมูลแทนตนเอง ขอให้มีข้อมูลที่ละเอียด ชัดเจนครบถ้วน เพื่อที่เจ้าหน้าที่จะได้ดำเนินงานได้อย่างรวดเร็ว ให้กำลังใจพลเมืองดีทุกคนครับ “ถ้ามั่นใจในเจตนาดี อย่าให้ผีมารังควาน”

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 156 คู่มือนักร้อง (เรียน) ตอนที่ 1

คอลัมน์เรื่องเล่าเฝ้าระวัง ได้นำเสนอข้อมูลผลิตภัณฑ์ที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพมาหลายฉบับแล้ว และเป็นข่าวดีที่ผู้เขียนทราบว่า ผู้บริโภคที่ติดตามอ่านคอลัมน์นี้หลายท่าน ได้ลุกขึ้นมาเป็นหูเป็นตาในการเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์ที่ไม่ปลอดภัยในท้องตลาด  โดยแจ้งข้อมูลผลิตภัณฑ์อันตรายที่ตนพบเห็นไปให้หน่วยงานราชการดำเนินการต่อ แต่เนื่องจากข้อมูลที่ส่งต่อบางชิ้นมีรายละเอียดไม่มากพอ เจ้าหน้าที่จึงไม่สามารถนำข้อมูลไปดำเนินการต่อได้ทันที ทำให้ต้องไปเริ่มต้นหาข้อมูลกันใหม่อีกรอบ เพื่อให้ประชาชน ผู้บริโภค และเครือข่ายต่างๆ สามารถรวบรวมข้อมูล หลักฐานต่างๆ ได้อย่างครบถ้วน ผู้เขียนขอนำเสนอวิธีง่ายๆ ในการดำเนินการรวบรวมข้อมูลก่อนส่งเรื่องร้องเรียน โดยมีคาถาง่ายๆ ที่ควรท่องให้ขึ้นใจดังนี้ ข้อมูลพร้อมพรรค -  หลักฐานครบถ้วน – เรื่องด่วนส่งทัน – ช่วยกันบอกต่อ  ก่อนที่เราสวมวิญญาณจะเป็นพลเมืองดี นำข้อมูลมาร้องเรียนกับเจ้าหน้าที่นั้น  เราควรตรวจสอบข้อมูลต่างๆ ที่เรามีว่าครบถ้วน สมบูรณ์หรือไม่ เพราะถ้าข้อมูลที่เราส่งต่อให้เจ้าหน้าที่นั้นครบถ้วนหรือเพียงพอ เจ้าหน้าที่ก็จะสามารถนำไปดำเนินการได้ทันที แต่ถ้าข้อมูลที่เราร้องเรียนไม่ครบถ้วน ขาดข้อมูลที่สำคัญ เจ้าหน้าที่ก็ไม่สามารถนำไปดำเนินการได้ และจะทำให้เจ้าหน้าที่ต้องเสียเวลาในการรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติม จนอาจทำให้เรื่องที่เราร้องเรียนล่าช้าไม่ทันเหตุการณ์ มี 4 ขั้นตอนง่ายๆ ให้เราตรวจสอบความพร้อมในการร้องเรียนดังนี้   1. ข้อมูลพร้อมพรรค ในขั้นตอนนี้ ขอให้เราตรวจสอบข้อมูลที่เราจะนำไปร้องเรียนว่าครบถ้วน หรือเพียงพอหรือไม่ จากประสบการณ์พบว่า ข้อมูลที่ครบถ้วนจะประกอบด้วยประเด็นหลักๆ ดังนี้ 1) ชื่อผู้ร้องเรียน หรือผู้บันทึกข้อมูล ตลอดจนที่อยู่ หรือเบอร์โทรศัพท์เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถติดต่อได้ หากต้องการข้อมูลรายละเอียดต่างๆ เพิ่มเติมในภายหลัง 2) ควรตรวจสอบหน่วยงานที่เราจะร้องเรียนให้ถูกต้อง  เช่น ร้องเรียนเรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพ(อาหาร ยา เครื่องสำอาง ฯลฯ) ให้ร้องเรียนที่ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล กรณีที่เป็นการโฆษณาผ่านสื่อโทรทัศน์และวิทยุสามารถร้องเรียนไปยังสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ 3) ระบุสื่อที่พบการโฆษณาและข้อมูลเกี่ยวกับสื่อดังกล่าวให้ชัดเจนที่สุด เช่น วัน เวลาที่พบการโฆษณา พื้นที่ที่พบโฆษณา คลื่นความถี่/ช่องรายการ  ชื่อสถานี ชื่อรายการ  ชื่อผู้จัดรายการ 4) รายละเอียดข้อมูลผลิตภัณฑ์ที่โฆษณา เช่น ชื่อผลิตภัณฑ์ และถ้าทราบว่าผลิตภัณฑ์นั้นเป็นยา อาหาร เครื่องสำอาง เครื่องมือแพทย์ วัตถุอันตรายให้ระบุไปด้วย  นอกจากนี้ หากเป็นไปได้ให้ตรวจสอบด้วยว่าโฆษณานั้นมี เลขที่โฆษณาผลิตภัณฑ์ หรือไม่ ทั้งนี้ต้องไม่สับสนระหว่างเลขที่อนุญาตโฆษณา กับเลขทะเบียนผลิตภัณฑ์ เช่น เลขทะเบียนตำรับยา หรือเลขทะเบียนตำรับอาหาร หรือเลขที่จดแจ้งเครื่องสำอาง 5) รายละเอียดวิธีการโฆษณา เช่น การจัดรายการ มีผู้เล่าประสบการณ์ สปอตโฆษณา หรืออื่น ๆ 6) ประเด็นที่เราสงสัยว่าไม่ถูกต้องหรือไม่ปลอดภัย  เช่น การอวดอ้างสรรพคุณอย่างเกินจริง หรือมีการรับรองสรรพคุณอย่างไม่น่าจะเป็นไปได้ เราสามารถตรวจสอบเบื้องต้นได้เองโดยเปรียบเทียบกับข้อกฎหมายในกฎหมายยา อาหาร หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (ต่อฉบับหน้า)   //

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 144 องค์การอิสระเพื่อผู้บริโภค… อีกนิดเดียวจะเป็นจริง(?)

เคยได้ยินหรือมีประสบการณ์ประมาณนี้กันไหมครับ…   ทางด่วนขึ้นราคาจาก 55 บาท เป็น 85 บาท หรือรัฐวิสาหกิจขึ้นราคาพลังงาน เรากลับทำอะไรไม่ได้ ตรวจสอบความเป็นเหตุเป็นผลของการขึ้นราคาก็ไม่ค่อยได้   ฟรีทีวีจอดำก็ต้องปล่อยให้ดำต่อไป เว้นแต่ต้อง “ซื้อกล่อง” มาติด   ถอยรถป้ายแดง ต้องซ่อมแล้วซ่อมอีก หน่วยราชการก็ไร้น้ำยาที่จะช่วยเหลือ   หากรถโดยสารสาธารณะที่นั่งไปเกิดอุบัติเหตุ กลับต้องไปฟ้องศาลเรียกค่าเสียหายกันเอง เพราะรถโดยสารเหล่านั้นไม่ได้ถูกบังคับจากหน่วยราชการที่กำกับดูแลให้ต้อง ซื้อประกันภัยชั้น 1 แถมบางคันก็เป็น “รถตู้เถื่อน”   อาหารที่กินเข้าไปจะมีผลต่อสุขภาพหรือไม่ ก็ยากที่จะทราบได้ เพราะข้อความในฉลากมักจะกำกวม อ่านไม่ค่อยรู้เรื่อง   หรืออยากกินอาหารที่ปลอดการตัดต่อทางพันธุ กรรม (จีเอ็มโอ) หรือปลอดสารเคมีก็เลือกไม่ได้ เพราะไม่ได้มีระเบียบให้ผู้ผลิตต้องทำฉลากอาหารที่ชัดเจนเพื่อแจ้งผู้บริโภค …สถานการณ์ข้างต้นน่าจะคลี่คลายไปได้มากโข เพราะคาดกันว่าเดือนกุมภาพันธ์นี้ สภาจะพิจารณาร่าง พ.ร.บ.องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ที่ผ่านการพิจารณาของกรรมาธิการร่วมสองสภามาเรียบร้อยแล้ว   หากสภาผ่านร่างกฎหมายดังกล่าว จะทำให้ประเทศไทยมี “องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค” เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ และเป็นที่สองในอาเซียนรองจากสิงคโปร์   เอาเข้าจริงแล้ว การผลักดันร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้มีมานานกว่า 15 ปี นับจากรัฐธรรมนูญ 2540 (มาตรา 57) และรัฐธรรมนูญ 2550 (มาตรา 61) ซึ่งต่างก็บัญญัติให้มีการจัดตั้งองค์การอิสระขึ้น เพื่อตรวจสอบมาตรการการคุ้มครองผู้บริโภคของหน่วยงานต่างๆ เพื่อทำให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงข้อเท็จจริง เข้าถึงการร้องเรียนที่เป็นธรรม และได้รับการเยียวยา   เหตุการณ์สำคัญที่ควรจารึกไว้ก็คือ ในที่สุดเมื่อ 6 ตุลาคม 2553 ที่ประชุม ส.ส.สมัยนายชัย ชิดชอบ มีมติรับหลักการร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว ซึ่งมี 7 ร่าง ทั้งร่างของ ครม. พรรครัฐบาล พรรคฝ่ายค้าน (ในขณะนั้น) และภาคประชาชน 11,230 คนที่ลงชื่อเสนอกฎหมาย   ระหว่างที่ร่างกฎหมายอยู่ที่การพิจารณาของ คณะกรรมาธิการวิสามัญวุฒิสภา รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ประกาศยุบสภาเมื่อ 10 พฤษภาคม 2554 มีผลให้ร่างนี้ต้องตกไปโดยปริยาย แต่ ครม.ของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้มีมติขอดึงร่างกฎหมายนี้กลับมาให้สภาพิจารณาต่อ โดยไม่ยอมปล่อยให้ตกไป   แสดงให้เห็นว่า ไม่ว่ารัฐบาลนายอภิสิทธิ์ รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ และพรรคการเมืองต่างๆ ล้วนให้ความสำคัญต่อร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ ซึ่งเป็นนิมิตหมายอันดีว่านักการเมืองในช่วงหลังๆ เริ่มให้ความสำคัญต่อสิทธิผู้บริโภค ซึ่งก็คือสิทธิของคนทุกคน   ทีนี้หากจะถามว่า ในเมื่อเรามีหน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภคอยู่แล้ว เช่น สำนักงานอาหารและยา (อย.) สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) กรมการค้าภายใน กรมการขนส่งทางบกฯลฯ แต่ทำไมจึงต้องมีองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคขึ้นมาอีก คำตอบมีดังนี้ ประการแรก องค์การอิสระเป็นหน่วยงานที่มีความเป็นอิสระอย่างแท้จริง ไม่ใช่หน่วยงานราชการที่ถูกกำกับโดยฝ่ายการเมือง (ที่บางทีอาจเกรงใจฝ่ายธุรกิจ) อีกทั้งกฎหมายองค์การอิสระบัญญัติให้รัฐจัดสรรเงินไม่น้อยกว่า 3 บาทต่อหัวประชากรต่อปี ให้องค์การอิสระฯใช้ไปทำงาน (เท่ากับ 3 บาท X 64 ล้านคน ตกราวๆ 192 ล้านบาท ขึ้นไปต่อปี) จึงทำให้มีเงินไปทำงานคุ้มครองผู้บริโภคได้ตามสมควร การกำหนดว่ารัฐต้องจัดสรรอย่างน้อย 3 บาทต่อหัว ถือว่าเป็นการเขียนกฎหมายที่ก้าวหน้ามาก เพราะหากเขียนว่า “ให้รัฐจัดสรรเงินให้อย่างพอเพียงทุกปี” ก็อาจทำให้รัฐจ่ายเท่าไรก็ได้ตาม “ดุลพินิจ” ซึ่งอาจมีผลต่อความเป็นอิสระขององค์การได้ นอกจากนี้ ที่มาของกรรมการ 15 คน ก็จะมาจากการคัดเลือกกันเองของผู้บริโภคและมาจากกรรมการสรรหา ซึ่งจะปลอดจากฝ่ายราชการและการเมือง จึงทำให้องค์การอิสระ มีอิสระกว่าหน่วยราชการอื่นๆ ที่ทำงานคุ้มครองผู้บริโภคมาโดยตลอด   ประการที่สอง ความเป็นอิสระขององค์การทำให้ตรวจสอบหน่วยงานของรัฐได้เต็มที่ เช่น ตรวจสอบหน่วยราชการว่าทำไมจึงยังปล่อยให้มีแร่ใยหินอยู่ในสินค้า (เช่นกระเบื้องมุงหลังคา) ทั้งๆ ที่หลายๆ ประเทศมีคำสั่งห้ามไปแล้ว หรือตรวจสอบการขึ้นราคาทางด่วน หรือการปรับราคาพลังงาน ว่าเป็นการขึ้นราคาที่สมเหตุสมผลหรือไม่ หรือเป็นการขึ้นราคาที่ไม่โปร่งใส เป็นไปเพื่อเอื้อประโยชน์แก่คนบางกลุ่มบางพวก   ประการที่สาม องค์การอิสระมีอำนาจตามกฎหมายเปิดเผยรายชื่อสินค้าและบริการที่ทำให้ผู้ บริโภคเสียหาย เพื่อเตือนให้สาธารณะได้รับรู้ เช่น มีสมาชิกร้องเรียนหน่วยราชการตั้งแต่ปี 2552 ว่าฟิตเนสแห่งหนึ่งไม่ได้ให้บริการตามสัญญา แต่หน่วยราชการแห่งนั้นกลับไม่เคยเตือนประชาชน ทำให้มีผู้บริโภคไปสมัครเป็นสมาชิกรายใหม่ จนในที่สุดมีผู้เสียหายถึง 1.5 แสนคน ฯลฯ ซึ่งการออกมาเตือนจะช่วยยับยั้งการลุกลามของปัญหาได้   ประการที่สี่ องค์การอิสระจะทำงานแบบเบ็ดเสร็จในจุดเดียว (one stop service) ว่ากันว่าหน่วยราชการที่ทำงานด้านอาหารปลอดภัยมีถึง 13 หน่วยงานใน 11 กระทรวง ดังนั้น หากผู้บริโภคมีความต้องการ เช่น ต้องการให้มีฉลากอาหารที่ระบุว่าอาหารนั้นมีจีเอ็มโอ หรือต้องการทำฉลากอาหารให้อ่านได้ง่ายขึ้น เช่น หากอาหารมีน้ำตาลมาก หรือมีโซเดียมมาก ก็จะติด “สีแดง” บนฉลากเพื่อเตือนผู้บริโภค หรือกรณีขวดนมเด็กที่มีส่วนผสมของพลาสติกที่เป็นสารก่อมะเร็ง หรือกรณีมีสารเคมีตกค้างในผักผลไม้เนื้อสัตว์ ฯลฯ องค์การอิสระฯก็จะมีความเห็นทางวิชาการเพื่อผลักดันหน่วยราชการต่างๆ ให้มีมาตรการบังคับฝ่ายธุรกิจให้ทำฉลากเตือนตามที่ผู้บริโภคต้องการ หากหน่วยราชการเหล่านั้นไม่ยอมทำตามความ เห็นขององค์การอิสระฯ ก็ต้องแถลงเหตุผลต่อประชาชนว่าทำไมจึงทำไม่ได้ เท่ากับทำให้หน่วยราชการอยู่ภายใต้อำนาจของประชาชน จะทำงานเช้าชามเย็นชาม หรือให้อำนาจเงินอยู่เหนือสาธารณะไม่ได้อีกต่อไป มิฉะนั้น หากเข้าสู่อาเซียนแล้วแต่งานคุ้มครองผู้บริโภคยัง “ประสานงา” และอ่อนแออย่างทุกวันนี้ ไทยก็จะกลายเป็นตลาดที่รองรับสินค้าที่ไม่มีคุณภาพอย่างแน่นอน   ประการที่ห้า องค์การอิสระสามารถฟ้องคดีสาธารณะแทนผู้บริโภคได้ โดยร้องผ่านอัยการสูงสุด   เช่น ผู้บริโภคมีเงินเหลือในโทรศัพท์ 10 บาท แต่ถูกริบเพราะบัตรเติมเงินหมดอายุ ทั้งๆ ที่ระเบียบกำหนดไว้ว่าห้ามกำหนดวันหมดอายุ มิฉะนั้นจะต้องชดเชยให้ผู้บริโภค 5 เท่าของเงินที่ริบไป กรณีเช่นนี้ผู้บริโภคคงไม่อยากเสียเวลาไปฟ้องศาลเพื่อเรียกร้องเงิน 50 บาท (5 เท่าของ 10 บาท) แต่องค์การอิสระฯสามารถฟ้องคดีแทนผู้บริโภคทั้งหมดที่ถูกริบเงินได้ ซึ่งจะทำให้ผู้ให้บริการต้องจ่ายเงินค่าปรับให้ผู้บริโภคทุกคน และคงไม่กล้าฝ่าฝืนระเบียบเรื่องห้ามกำหนดวันหมดอายุในบัตรเติมเงินอีก   ประการสุดท้าย สิ่งที่หน่วยราชการที่ทำงานคุ้มครองผู้บริโภคไม่ค่อยทำ แต่องค์การอิสระมีหน้าที่ต้องทำ คือสร้างความเข้มแข็งให้ผู้บริโภค เช่น ส่งเสริมการรวมตัวกันของผู้บริโภค ในลักษณะที่ฝ่ายธุรกิจทำมาก่อน อาทิ การรวมตัวเป็นหอการค้า สภาอุตสาหกรรม ฯลฯ ผู้บริโภคจะได้เข้มแข็ง สามารถถ่วงดุลกับเอกชนได้   ทั้งหมดทั้งปวงนี้ คาดว่าสภาจะมีการผ่านร่าง พ.ร.บ.ในต้นเดือนกุมภาพันธ์นี้ ดังนั้น 15 ปีที่รอคอยกันมา จึงใกล้จะเป็นจริงแล้ว

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 183 การติชมโดยสุจริตเพื่อป้องกันส่วนได้เสียของผู้บริโภค ไม่ถือเป็นความผิด

เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2559 ที่ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ศาลนัดอ่านคำพิพากษาในคดีที่บริษัท แพล็ททินัม มอเตอร์เซลส์ จำกัด ผู้จำหน่ายรถตู้ยี่ห้อโฟตอน จากประเทศจีน เป็นโจทก์ยื่นฟ้องผู้บริโภคจำนวน 20 ราย ซึ่งเป็นผู้ซื้อรถตู้โฟตอน จำนวน 19 ราย  และเจ้าหน้าที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคอีก 1 ราย เป็นจำเลยในความผิดฐานหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณาและแจ้งความเท็จ  หลังผู้บริโภคซื้อรถตู้ดังกล่าวมาใช้แล้วเกิดปัญหา ได้รับความเสียหาย และบริษัทฯ ไม่รับผิดชอบต่อความชำรุดบกพร่องของรถ จึงนำข้อเท็จจริงมาเปิดเผยกับสาธารณชน  และแจ้งร้องเรียนขอความช่วยเหลือกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) และมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) นั้น ที่สุดศาลได้ตัดสินยกฟ้องผู้บริโภคทุกราย เนื่องจากเห็นว่า การเปิดเผยข้อมูลดังกล่าว เป็นการติชมโดยสุจริต เพื่อป้องกันส่วนได้เสียของตน จึงไม่มีความผิด พิพากษายกฟ้อง        กรณีนี้ถือเป็นคดีตัวอย่างอีกหนึ่งคดี ที่จะทำให้ผู้บริโภคท่านอื่นที่กำลังเผชิญปัญหาจาการถูกละเมิดสิทธิ   มีกำลังใจที่จะเดินหน้าในการพิทักษ์สิทธิของตนเองได้ เพราะถ้าเราสามารถยืนยันและให้ข้อมูลตามข้อเท็จจริงได้อย่างละเอียดชัดเจน ปัญหาก็จะได้รับการแก้ไขได้ในที่สุด  ฉลาดซื้อฉบับนี้จึงจะพาไปพบกับตัวแทนของผู้บริโภคกลุ่มคดีรถตู้โฟตอน ว่าพวกเขาต้องฝ่าฟันกับเรื่องใดมาบ้างนายบังเอิญ  เม่นน้อย  “สมัยก่อนผู้บริโภคไม่กล้าส่งเสียงเพราะกลัวว่าจะถูกฟ้อง  แต่ตอนนี้อยากให้ผู้บริโภคมั่นใจว่า การออกมาใช้สิทธิคือสิ่งที่สมควรกระทำอย่างยิ่ง เพราะหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการคุ้มครองผู้บริโภคมีกระบวนการดูแลไม่เคยทอดทิ้งให้เราต่อสู้เพียงลำพัง”ปลายปี 2551 ผมเห็นโฆษณาประชาสัมพันธ์ของ บริษัท แพล็ททินัม มอเตอร์เซลล์ จำกัด ว่ามีบริษัท เงินทุนกรุงเทพธนาทร จำกัด (มหาชน) และ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย  เป็นผู้ให้เช่าซื้อ มีบริษัท กมลประกันภัย จำกัด เป็นผู้รับประกันภัยทั้งภาคบังคับ(พ.ร.บ.)และประกันภัยภาคสมัครใจ (ชั้น 1) ที่สำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับรถยนต์ตู้ยี่ห้ออื่นก็ราคาไม่สูง จึงตัดสินใจเข้าทำสัญญาเช่าซื้อโดยคาดหวังว่าจะยึดอาชีพพนักงานขับรถตู้โดยสารสาธารณะ เพื่อเป็นรายได้หลักเลี้ยงครอบครัวช่วงแรกได้ให้พ่อตาเป็นคนขับ แต่ก็พบปัญหาหลังจากซื้อมาได้ไม่ถึง 15 วัน คือ ไม่สามารถเหยียบครัช หรือเข้าเกียร์ได้ตามปกติ มีปัญหาของเครื่องยนต์ ต้องเปลี่ยนยกเครื่องใหม่ในเวลาไม่ถึง 3 เดือน พ่อตาไม่สามารถขับต่อไปได้ ผมจึงได้ตัดสินใจลาออกจากงานประจำในบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งมาขับเอง แต่ก็เป็นการขับไปซ่อมไป “แทนที่จะมีรายได้เลี้ยงครอบครัวตามที่ตั้งใจไว้ก็กลายเป็นว่า ครอบครัวของเราต้องเป็นหนี้จากการกู้ยืมเงินมาซ่อมรถ ผมและภรรยาจึงตกลงกันว่าเราจะนิ่งเฉยไม่ได้ ต้องพิทักษ์สิทธิของตัวเองโดยการร้องทุกข์ไปที่หน่วยงานที่ไว้ใจ เชื่อใจได้ เลยตกลงมาที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และพยายามรวบรวมกลุ่มเพื่อนผู้เสียหายได้ประมาณ 30 คน จนในที่สุดก็เป็นกลุ่มก้อนที่เข้มแข็งมาร่วมกับเรียกร้องความถูกต้องให้ตัวเอง ”นางประทิน  ซื่อเลื่อม“ป้าซื้อรถตู้คันนี้ด้วยเงินสด ที่เก็บหอมรอบริบมาเกือบทั้งชีวิต เพราะหวังว่าจะยึดเป็นอาชีพในบั้นปลาย แต่ที่ไหนได้ซื้อมายังไม่ทันได้สามเดือนรถพัง แถมไม่มีอะไหล่เปลี่ยนให้อีก กัดฟันซ่อมแทบจะวันเว้นวัน สุดท้ายไม่ไหวต้องตัดสินใจขายต่อให้คนอื่น ได้เงินคืนไม่ถึง 10 เปอร์เซ็นต์ ”ป้าซื้อรถยนต์ประเภทรถตู้ ยี่ห้อ โฟตอน รุ่น VIP 14 ที่นั่ง ราคาประมาณ 1,365,000 บาท  เริ่มใช้งานรถตู้ประมาณ 1 เดือน จึงเริ่มเกิดปัญหาของคุณภาพที่ไม่ได้มาตรฐาน และความชำรุดบกพร่องของอุปกรณ์ต่างๆ เช่น คอมเพรสเซอร์แอร์เสีย  ท่อแอร์รั่ว ไดชาร์ทเสีย คันเร่งค้าง เข้าเกียร์ไม่ได้  ประตูรถเสีย  เลี้ยวแล้วพวงมาลัยมีเสียงดัง    รวมทั้งระบบโครงสร้างที่ไม่มั่นคงแข็งแรงสังเกตจากช่วงหน้าฝน มักมีน้ำหยดผ่านหลังคาเข้ามาในรถสร้างความเดือดร้อน รำคาญให้กับผู้โดยสารเป็นประจำ มีความพยายามแก้ไขตามขั้นตอน ทั้งติดต่อไปที่บริษัทเพื่อส่งเข้าศูนย์ซ่อมแต่ก็ไม่มีบริการ มีเพียงแห่งเดียว ช่างชำนาญงานก็ไม่มี อะไหล่ก็ไม่มี ต้องแบกรับภาระค่าซ่อมรายวัน จนในที่สุดต้องตัดสินใจขายในราคาที่ถูกมาก และเข้ามาร้องเรียนกับทางมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เพราะต้องการเรียกค่าเสียหายกับทางบริษัท ที่เหมือนว่าจงใจนำรถที่ไม่ได้คุณภาพมาขาย แต่ท้ายที่สุดก็ถูกฟ้องเป็นจำเลยที่ 19“ที่ต้องสู้ต่อเพราะป้าคิดว่าตัวเองไม่ได้ทำอะไรผิด พูดความจริงทุกอย่าง ไม่เคยแจ้งความเท็จกับหน่วยงานไหน ที่สำคัญถ้าป้าไม่ลุกขึ้นมาสู้เพื่อตัวเอง ใครเขาจะมาช่วยป้าได้ ”นางสาวนภัสนันท์  ปิ่นหอมระหว่างการต่อสู้ทางคดีจำเป็นต้องมีผู้ค้ำประกัน เพื่อทำสัญญากับ กรมคุ้มครองสิทธิกระทรวงยุติธรรม เธอจึงตัดสินใจยอมเป็นผู้ค้ำประกันให้กับจำเลยทั้ง 20 ราย ทั้งที่สามีของเธอคือ คุณบังเอิญ ก็เป็นจำเลยที่ 3 ในคดีนี้“ รู้สึกเศร้าใจไม่คิดว่าผู้ประกอบการจะเอาเปรียบผู้บริโภคขนาดนี้  พวกเขาเดือดร้อนกันจริงๆ  ไม่เคยคิดกลั่นแกล้งใคร เงินที่ลงทุนซื้อรถไปก็อยากมีอาชีพ เลี้ยงดูตัวเองได้ สาเหตุที่ตัดสินใจเป็นนายประกันให้จำเลยทั้งยี่สิบคนก็เพราะไม่มีอะไรจะเสียแล้ว และเชื่อมั่นว่าต่อสู้ร่วมกันมาขนาดนี้ อะไรที่ช่วยกันได้ก็อยากจะช่วย เพื่อนย่อมไม่ทอดทิ้งกันแน่นอน ” ---------------------------------------------------------------------------------------------ตลอดระยะเวลาการต่อสู้ที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2555 ถึง ปี 2559 นั้น ยอมรับว่าอาจจะมีความเครียดบ้างในส่วนของการดูแลความรู้สึกของผู้บริโภคที่ถูกฟ้องคดี เพราะเราต้องทำความเข้าใจกับกลุ่มผู้ร้องว่า ไม่ใช่เรื่องการตัดสินใจผิดพลาดที่มาใช้สิทธิร้องเรียนแล้วต้องถูกฟ้องร้องทางคดี แต่นี่คือความกล้าหาญที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เป็นการแสดงพลังของคนเล็กคนน้อยให้ผู้ประกอบการเห็นว่าเราไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคปัญหา และพร้อมที่จะเผชิญหน้าในการเรียกร้องความยุติธรรมให้กับตัวเองนางสาวสวนีย์  ฉ่ำเฉลียวหลังจากรับเรื่องร้องเรียน ในฐานะเจ้าหน้าที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคก็ได้ทำการตรวจสอบข้อเท็จจริงจนได้ความว่า ผู้ร้องเดือดร้อนจริงจากการเช่าซื้อรถยนต์ตู้จากบริษัท แพล็ททินัม มอเตอร์เซลล์ จำกัด มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้พากลุ่มผู้ร้องฯ ไปยื่นหนังสือร้องเรียนกับ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี  ขอให้พิจารณาช่วยเหลือผู้บริโภค กรณีได้รับความเสียหายจากการซื้อรถตู้ยี่ห้อ โฟตอน แล้วพบปัญหาชำรุดบกพร่อง และพาไปร่วมออกรายการโทรทัศน์ ช่องเนชั่นทีวีผ่านทาง “รายการระวังภัย 24 ชั่วโมง” ในหัวข้อ ซื้อรถไม่ได้ใช้ แต่ต้องใช้หนี้   นำรถไม่มีคุณภาพเข้ามาจำหน่ายและไม่รับผิดชอบต่อความชำรุดบกพร่องของรถ สวนีย์  ฉ่ำเฉลียว(จำเลยที่ 20) รับหน้าที่เป็นพิธีกรร่วมในรายการ และได้ทำหน้าที่ให้ข้อมูลสถานการณ์ปัญหาที่ทางมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้ร้อง รวมทั้งซักถามในประเด็นปัญหาต่าง ๆ กับทางผู้ร้องร่วมกับพิธีกรในรายการอีกท่าน การปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวถือว่า อยู่ในความรับผิดชอบในฐานะเจ้าหน้าที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และ พิธีกรร่วมในรายการ ไม่ได้มีเจตนาสร้างความเสียหายให้กับโจทก์ หรือมีความโกรธแค้นโจทก์เป็นการส่วนตัวแต่อย่างใด เป็นข้อมูลความเป็นจริงที่เกิดขึ้นทั้งสิ้น“ตลอดระยะเวลาการต่อสู้ที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2555 ถึง ปี 2559 นั้น ยอมรับว่าอาจจะมีความเครียดบ้างในส่วนของการดูแลความรู้สึกของผู้บริโภคที่ถูกฟ้องคดี เพราะเราต้องทำความเข้าใจกับกลุ่มผู้ร้องว่า ไม่ใช่เรื่องการตัดสินใจผิดพลาดที่มาใช้สิทธิร้องเรียนแล้วต้องถูกฟ้องร้องทางคดี แต่นี่คือความกล้าหาญที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เป็นการแสดงพลังของคนเล็กคนน้อยให้ผู้ประกอบการเห็นว่าเราไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคปัญหา และพร้อมที่จะเผชิญหน้าในการเรียกร้องความยุติธรรมให้กับตัวเอง เพราะเราเชื่อว่า หน่วยงานของเรา คือ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เป็นที่พึ่งสุดท้ายของพวกเขาแล้ว และภารกิจของมูลนิธิก็คือ รับเรื่องร้องเรียน แก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภค อยู่แล้ว การที่ดิฉันในฐานะเจ้าหน้าที่ถูกฟ้องจึงไม่ใช่เรื่องที่น่าตกใจ หรือแปลกประหลาด แต่ถือว่าเป็นการย้ำจุดยืนของหน่วยงานว่า เป็นอิสระจริง และทำงานจริงไม่ใช่แค่เสือกระดาษ” ---------------------------------------------------------------------------------------------ในช่วงปลายปี 2551 บริษัท แพล็ททินัม มอเตอร์เซลล์ จำกัด ซึ่งเป็นตัวแทนนำเข้ารถตู้ ยี่ห้อ “ โฟตอน ” จากประเทศจีน เข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย  โดยโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านสมาคมรถตู้โดยสารต่างจังหวัดแห่งประเทศไทย  เพื่อเชิญชวนให้สมาชิกเข้ามาทำสัญญาเช่าซื้อ  โดยมีเอกสารแผ่นพับ  แสดงรูปแบบรายละเอียด พร้อมราคาตัวรถตู้ คันละ 1,365,000 บาท (หนึ่งล้านสามแสนหกหมื่นห้าพันบาทถ้วน)  ซึ่งมีบริษัท เงินทุนกรุงเทพธนาทร จำกัด (มหาชน) และ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย เป็นผู้ให้เช่าซื้อ และบริษัท กมลประกันภัย จำกัด เป็นผู้รับประกันภัยเมื่อผู้เช่าซื้อไม่สามารถชำระค่าเช่าซื้อรถตู้คันดังกล่าวได้ เช่น รถหาย รถชำรุดบกพร่อง เป็นต้น  สมาชิกที่เข้าทำสัญญาในคราวเดียวกันนี้มีทั้งสิ้นกว่า 70  ราย หลังจากสมาชิกเข้าทำสัญญาเช่าซื้อรถตู้โดยสารยี่ห้อดังกล่าวแล้วกลับพบว่า เกิดความชำรุดบกพร่องนับแต่ใช้งาน คือขณะขับรับส่งผู้โดยสารเครื่องยนต์ดับกะทันหัน เครื่องยนต์ไม่มีกำลัง ระบบความร้อน ระบบแอร์ รวมถึงระบบเครื่องยนต์ มีปัญหาไม่ทำงานบ่อยครั้ง รวมทั้งระบบโครงสร้างที่ไม่มั่นคงแข็งแรงสังเกตจากช่วงหน้าฝน มักมีน้ำหยดผ่านหลังคาเข้ามาในรถสร้างความเดือดร้อน รำคาญให้กับผู้โดยสารเป็นประจำ  รวมทั้งปัญหาด้านการบริการซึ่งก่อนเช่าซื้อทางบริษัทฯได้โฆษณาว่า  จะมีศูนย์บริการหรืออู่ให้การบริการซ่อมอยู่ทั่วประเทศ  แต่ในความเป็นจริงกลับมี 1 แห่ง และไม่มีอะไหล่ของบริษัทโฟตอนโดยตรงเป็นอู่ซ่อมรถทั่วไป  ดังนั้นผู้เสียหายแต่ละรายจึงต้องแบกรับภาระค่าซ่อมรถ ค่างวดเช่าซื้อรถ โดยมิได้ใช้ประโยชน์จากตัวรถเต็มที่ บางรายต้องจอดทิ้งไว้ที่อู่เพราะไม่มีเงินจ่ายค่าซ่อม ภายหลังจากพบปัญหาผู้ร้องได้ติดต่อ สอบถามไปยังผู้ให้เช่าซื้อคือ บริษัทเงินทุนกรุงเทพธนาทร จำกัด(มหาชน) และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย เพื่อขอคืนรถยนต์ตู้โดยสารคันดังกล่าวแต่ได้รับการปฏิเสธโดยต่อมาทางผู้ให้เช่าซื้อได้ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายข้อหาผิดสัญญาเช่าซื้อกับผู้ร้องกว่า 10 ราย มีเพียงบางส่วนได้ทำการคืนรถให้กับทางผู้ให้เช่าซื้อก่อนที่จะมีการฟ้องร้องดำเนินคดีผู้ร้องจำนวน 20 ราย จึงติดต่อมาที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) เพื่อขอคำปรึกษา ร้องเรียน ให้ช่วยแก้ไขปัญหาให้ โดยความเสียหาย แบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน คือ ค่าเช่าซื้อรถและค่าซ่อมแซม มูลค่ากว่าสามสิบล้านบาท แต่ภายหลังปรากฏว่าทาง บริษัท แพล็ททินัมฯ ได้ยื่นฟ้องต่อศาลอาญา ฐานความผิด ร่วมกันหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา, แจ้งความเท็จ จำนวนทุนทรัพย์ 5,000,000.-บาท (ห้าล้านบาทถ้วน) กับจำเลยจำนวน 20 ราย เป็นผู้ร้องเรียน 19 ราย และเจ้าหน้าที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค 1 ราย  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 99 เปิดบ้านใหม่เพื่อผู้บริโภค

Who 99สุมาลี พะสิม /เรียบเรียง   งานคุ้มครองผู้บริโภคที่ใครๆ อยากเห็นวันที่ 26 เมษายน 2552 ที่ผ่านมามูลนิธิเพื่อผู้บริโภคได้ทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ทุกคนมีสิทธิเล่มนี้จึงขอเก็บบรรยากาศมาฝากสมาชิกค่ะ พร้อมนำเสนอทรรศนะต่างๆ ของกัลยาณมิตรทั้งหลายมาฝากค่ะ       รสนา โตสิตระกูล สมาชิกวุฒิสภา กรุงเทพมหานคร“สิ่งที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคทำนั้นก็คือว่าทำเรื่องคุณประโยชน์มาพอสมควร สิ่งที่จะต้องทำต่อไปก็คือต้องพยายามสร้างเครือข่ายคนที่จะมาคุ้มครองผู้บริโภคด้วยตัวเขาเองให้มากขึ้น กระจายตัวมากขึ้น แล้วก็จะมีความหลากหลายมากขึ้น ซึ่งอาศัยมูลนิธิฯ อย่างเดียวก็ค่อนข้างลำบากที่ต้องทำทุกเรื่องสำหรับการเปิดบ้านใหม่หลังนี้ก็ขอแสดงความยินดีด้วย อย่างน้อยก็คือว่าเราก็มีส่วนร่วมเล็กน้อยที่ร่วมระดมทุน “เดี่ยวไมโครโฟน” หาทุนให้มูลนิธิฯ ซึ่งจะทำให้เป็นที่ทำงานที่กว้างขวางต่อไป”   บุญยืน ศิริธรรม เครือข่ายผู้บริโภคจังหวัดสมุทรสงคราม“เราอยากให้มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคขับเคลื่อนเรื่องการสนับสนุนเครือข่ายผู้บริโภคให้เข้มแข็งมากขึ้น สนับสนุนด้านข้อมูลและด้านอื่นๆ เพื่อที่จะทำให้ผู้บริโภคลุกขึ้นมาปกป้องสิทธิของตัวเองได้ และผู้บริโภคจะเป็นอิสระมากขึ้น พ้นจากอุ้งมือของทุนนิยม ซึ่งเราเชื่อว่าการคุ้มครองผู้บริโภคนั้นไม่มีใครคุ้มครองผู้บริโภคได้ดีเท่ากับตัวของผู้บริโภค ต้องทำให้ตัวผู้บริโภคลุกขึ้นมาสู้ให้ได้มูลนิธิฯ ควรจะเป็นพี่เลี้ยงและเป็นสื่อกลางไม่ว่าเครือข่ายต้องการอะไรก็น่าจะให้ได้ และอยากให้ทำงานเชิงรุกไม่ใช่แค่ตั้งรับอยู่ในกรุงเทพฯ แต่อยากให้ลงไปที่พื้นที่และเชื่อมร้อยในพื้นที่ต่างๆ ด้วย โดยเฉพาะศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคส่วนหนึ่งรับเรื่องร้องเรียนก็จริง แต่ก็อีกด้านหนึ่งก็คือจะทำอย่างไรให้เกิดศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคในทุกภูมิภาค เมื่อผู้บริโภคเดือดร้อนก็ประสานงานกับจังหวัดนั้นได้เลยโดยมีมูลนิธิเป็นผู้สนับสนุนข้อมูล”   นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ผอ.สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม“สิ่งที่อยากให้มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคทำต่อไปก็คือการประสานเครือข่าย นอกจากประสานงานเครือข่ายผู้บิรโภคแล้วก็อยากให้ประสานงานเครือข่ายข้อมูลที่ติดตามเรื่องเหล่านั้น ดังนั้นไม่ว่าเรื่องยากแค่ไหนเมื่อมีผู้เชี่ยวชาญแล้วก็จะสามารถแก้ไขได้ เพราะถ้ามีผู้เชี่ยวชาญ 1 คนเข้าใจ ประชาชนที่เหลือก็จะเข้าใจได้ และก็จะรวมเป็นพลังเพื่อการขับเคลื่อนต่อไปได้การเปิดบ้านใหม่ที่อนุสาวรีย์ชัยฯ จะทำให้ผู้บริโภคเข้าถึงได้ง่ายขึ้นเพราะเป็นจุดศูนย์กลางของกรุงเทพมหานคร ซึ่งมูลนิธิฯ จะต้องทำหน้าที่ในการประสานงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคที่มากขึ้นทั้งให้ภาคประชาชน ภาครัฐ นักวิชาการ ให้เข้าถึงได้ง่ายขึ้น แล้วก็มีส่วนร่วมเป็นแกนกลางในการขับเคลื่อน”   ณาตยา แวววีรคุปต์ สื่อมวลชน“มองในฐานะของความเป็นสื่อมวลชน มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคถือว่าเป็นศูนย์กลางของข้อมูลในเรื่องสิทธิผู้บริโภคและการใช้สิทธิของผู้บริโภค ซึ่งเป็นประโยชน์มากในการนำมาย่อยและเผยแพร่ต่อ ในการนำเสนอสิ่งต่างๆ ที่ถูกมองว่าเป็นปัญหาให้เห็นออกมาเป็นรูปธรรม และง่ายที่สื่อจะนำมาเผยแพร่ต่อ แต่ก็ไม่ใช่แค่ว่าจะนำเอาแค่เรื่องร้องเรียนมาเท่านั้น ยังมีความรู้ด้วย ยังมีข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาความคิดในการคุ้มครองสิทธิต่อผู้บริโภคได้ด้วยตัววารสารฉลาดซื้อก็มีประโยชน์ค่ะ อ่านทุกเล่ม ต้องบอกว่าอ่านเกือบทุกหน้า ซึ่งหนังสือพยายามสะท้อนให้เราเห็นว่าการใช้สิทธิของผู้บริโภคไม่ใช่เรื่องไกลตัว จริงๆ แล้วมันเกี่ยวกับทุกคน แต่จะมีสักกี่คนที่ใช้สิทธิ พอเราได้เห็นเรื่องราวๆ ต่างๆ ที่ฉลาดซื้อนำมาเผยแพร่ ทำให้เราได้เห็นว่ายังมีคนลุกขึ้นมาทำเรื่องพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภคไม่ใช่แค่กับตัวเองเท่านั้น แต่สิ่งที่เขาทำแล้วถูกนำมาเผยแพร่ต่อมันส่งผลต่อผู้บริโภคคนอื่นๆ ให้เกิดความเชื่อมั่นด้วยว่ามาใช้สิทธิเถอะนะถ้าหากว่าถูกละเมิด ไม่ต้องไปบ่นอย่างเดียวซึ่งฉลาดซื้อก็สื่อออกมาได้และง่ายในการทำความเข้าใจ แล้วก็เป็นฐานในการที่จะหยิบมาทำงานด้านสื่อต่อไปได้”   ดำรง พุฒตาล อดีตสมาชิกวุฒิสภา กรุงเทพมหานคร“ขอแสดงความยินดีกับมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคด้วยที่เปิดบ้านใหม่ใจกลางเมือง ผู้บริโภคจะได้มาร้องเรียนได้ง่ายขึ้น แต่ค่าใช้จ่ายก็คงเพิ่มขึ้นแน่นอน สำหรับใครที่จะร่วมบริจาคให้กับมูลนิธินี้ก็เชิญได้ครับ แนวทางในการทำงานที่ทำอยู่ถือว่าถูกทางแล้วที่เปิดรับเรื่องร้องทุกข์ ทำหนังสือฉลาดซื้อซึ่งก็เป็นสื่อตัวหนึ่งที่มีประโยชน์ ผมเองก็เป็นแฟนคลับคนหนึ่งที่อ่าน แล้วก็ดึงบางส่วนไปเป็นข้อมูลให้กับหนังสือคู่สร้างคู่สมของผมด้วย ก็ฝากไว้ว่าให้ตามเรื่อง พ.ร.บ.องค์การอิสระผู้บริโภคต่อไป พอมี พ.ร.บ.ตัวนี้แล้วก็คิดว่าคงจะทำงานสะดวกขึ้น ช่วยเหลือคนได้เยอะขึ้น ขอให้กำลังใจทุกคนครับ” จอน อึ๊งภากรณ์ อดีตสมาชิกวุฒิสภา กรุงเทพมหานคร“มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเดินมาไกลแล้วนะ แต่ก็ต้องเดินต่อไปในการสร้างสังคมที่เป็นธรรมสำหรับประชาชนทุกส่วน และขอให้มูลนิธิฯ ทำงานต่อไปในการสร้างและเปลี่ยนแปลงสังคมไทย ในการปฏิรูปสังคม ในการสร้างระบบความเป็นธรรมให้กับผู้บริโภคไม่ว่าจะเป็นเรื่องสิทธิบัตรยาที่ทำไปแล้ว ก็ขอให้ทำเพื่อความเป็นธรรมของผู้บริโภคต่อไม่ว่าจะเป็นเรื่องบัตรเครดิต เรื่องสิทธิต่างๆ ให้กับประเทศของเราต่อไป”   ปรีดา เตียสุวรรณ์ นักธุรกิจ“ทุกวันนี้เราอยู่ภายใต้ระบบทุนนิยมก็จำเป็นต้องมีองค์กรที่จะต้องคอยดูแล แต่ก็ไม่แปลกที่เราจะใช้กลไกของทุนนิยมเพื่อกำหนดผลงาน แต่ผลสุดท้ายของงานเราต้องหักตัวเองออกจากทุนนิยมเข้าสู่สังคมนิยมได้ก็โดยการนำเงินที่ได้มาบางส่วนให้องค์กรสาธารณะกุศลแบบผมทำ ที่เราจำเป็นต้องทำแบบนี้ก็เพราะเราอยู่ในระบบทุนนิยม อยากให้มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคลองพิจารณาสร้างผลกำไรขึ้นจากการปฏิบัติงานเพราะดูแล้วกำไรไม่ใช่สิ่งที่น่าเกลียดเพราะว่าถ้ามูลนิธิฯ สามารถลงไว้เป็นความเห็นขององค์กรว่า กำไรที่ได้มาจะมอบให้กับกิจการสาธารณะกุศล ไม่ได้แจกจ่ายให้พนักงาน เพราะว่าอะไรรู้ไหม เพราะว่าพอมีกำไรขึ้นก็จะมีการสร้างการวัดผลของการทำงานของแต่ละฝ่ายขึ้นมา ทำให้เกิดมีเป้าหมายขึ้นมา แต่ต้องกำหนดระยะกำไรที่เหมาะสมขึ้นมา แล้วกำไรที่ได้ก็ไม่ได้ไปไหนจะคืนกลับให้กับสังคมต่อไป

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 104 ประมูล 3 G อย่างไรผู้บริโภคได้ประโยชน์

ตื่นเต้นไปตามๆ กันเมื่อทุกคนเริ่มเห็นว่า ประเทศไทยน่าจะมีโอกาสประมูลให้ใบอนุญาต 3 G ทั้งๆ ที่ไม่ค่อยเข้าใจกันนักว่าเจ้า 3G นี้แตกต่างจากระบบปัจจุบันที่เป็น 2 G อย่างไร  ฟังแนวทางจากคณะกรรมการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) หรือแม้แต่นายกรัฐมนตรีก็บอกว่าไม่อยากให้ประมูลราคาสูงมาก เพราะจะเป็นภาระแก่ผู้บริโภคประมูลสูงเป็นภาระผู้บริโภคจริงเหรอ ?? ลองดูรูปข้างล่างเรื่องนี้กันเล่นๆ แล้วให้ทายว่า มีความแตกต่างกันอย่างไร เหตุที่มูลค่าการประมูลที่ราคาสูงไม่เกี่ยวข้องกับภาระกับผู้บริโภคในกรณีนี้เนื่องจาก หากราคาประมูล 3 G ได้ไม่เกิน 6,500 ล้านบาท หรือถึงแม้จะสูงแต่หากยังไม่เกินมูลค่าการจ่ายสัมปทานให้กับรัฐ (ระบบ 2 G) แสดงว่าค่าใช้จ่ายบริษัทลดลง เพราะเดิมค่าใช้จ่ายส่วนนี้คงที่ตลอดอายุสัญญาสัมปทานและหากประมูลใบอนุญาต 4 ใบจริง ผู้ให้บริการแทบจะไม่ต้องแข่งขันเพราะปัจจุบันมีเจ้าใหญ่ 3 ราย หากรวมทศท. และกสท. เป็น 5 ราย แต่หากทศท.ไม่ได้รับอนุญาตให้ประมูลก็จะเหลือเพียง 4 ราย ทุกบริษัทก็จะได้รับใบอนุญาตกันถ้วนหน้า เพราะกติกากำหนดไว้ว่าบริษัทหนึ่งจะได้รับใบอนุญาตไม่เกิน 1 ใบ โอกาสฮั้วให้ประมูลไม่สูงเกินราคาที่ตั้งไว้ ย่อมน่าจะเป็นไปได้จริงหรือไม่  การประมูลในครั้งนี้หากจะให้รัฐได้ประโยชน์ก็ควรตั้งราคาที่จะทำให้รายได้รัฐไม่ลดไปจากเดิมมากนัก หรือไม่อย่างนั้นก็ต้องรับประกันคุณภาพและราคาให้กับผู้บริโภคว่า ระบบ 3 G ราคาต้องไม่สูงกว่าระบบ 2 G ในปัจจุบัน หรือห้ามคิดเกินนาทีละบาท ทั้งเสียง ข้อความและภาพ ซึ่งก็มีกำไรมากกว่าระบบเดิมแล้ว

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 169 ถึงเวลาต้องปฏิรูปการเข้าถึงอาหารปลอดภัย

15 มีนาคม ของทุกปี  คือวันคุ้มครองผู้บริโภคสากล  เป็นวันที่ผู้บริโภคทั่วโลกลุกขึ้นมาเรียกร้องสิทธิขั้นพื้นฐาน  จากการที่ถูกละเมิดสิทธิโดยผู้ประกอบการที่ไร้ธรรมาภิบาล  โดยรัฐบาลของแต่ละประเทศมีหน้าที่กำหนดนโยบายเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคแท้จริงแล้ว  ประเทศไทยมีการพูดถึงสิทธิผู้บริโภคมาก่อนปี 2520  และผลักดันจนทำให้เกิด พ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งมีผลบังคับใช้มาตั้งแต่ปี 2522  โดยกำหนดสิทธิผู้บริโภคไว้ถึง 5 ประการ  คือ สิทธิที่จะได้รับข่าวสารรวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าและบริการ/สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกสินค้าและบริการ/สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา/สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าและบริการ/สิทธิจะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย   (ยังมีสิทธิผู้บริโภคสากลอีก 3 ข้อ)และให้มี สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค  ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ  มาเป็นผู้กำกับดูแลงานด้านคุ้มครองผู้บริโภคของประเทศไทย  และมีการขยายงานคุ้มครองผู้บริโภค ออกไปอีกหลายหน่วยงานในแต่ละด้านแต่รัฐก็คือรัฐ งานทุกเรื่องเป็นไปอย่างล่าช้า   ไม่ทันเล่ห์เหลี่ยมผู้ประกอบการที่ไร้จริยธรรม  แม้ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค มีผลบังคับใช้มากว่า 35 ปีแต่ก็ยังไม่สามารถทำให้ผู้บริโภคได้รับการคุ้มครองอย่างจริงจัง!งานสมัชชาผู้บริโภคที่จัดขึ้นวันที่ 15 มีนาคม ปีนี้   เน้นไปที่เรื่องการเข้าถึงอาหารปลอดภัย  เพื่อกระตุ้นให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  จริงจังกับเรื่องอาหารปลอดภัยเพิ่มขึ้น  ไม่ใช่บริโภคอาหารตามที่โฆษณา เช่น  กินชาเขียว(น้ำตาลเยอะ)แล้วได้รถเบนซ์  กินเครื่องดื่มชูกำลังแล้ว ได้เงิน 10 ล้าน  คนก็ระดมกินกันมากมายเพื่อหวังรวย  มิได้กินเพื่อเป็นอาหาร  ยกตัวอย่าง เช่น บริษัทเครื่องดื่มชูกำลัง มักชอบไปจัดงานอีเว้น  ในต่างจังหวัดโดยมีสิ่งล่อใจ ด้วยของขวัญของรางวัล และเชิญดารานักร้องดังไปปรากฏตัว  แต่มีข้อแม้ใครจะเข้างานต้องมีฝาขวด 10 ฝา  บางคนก็เตรียมมาจากบ้าน  คนที่ไม่ได้เตรียมมาก็ซื้อได้เลยหน้างาน สิ่งที่น่าเศร้าใจที่สุดคือ เด็กประมาณ 11 ขวบ ยืนกินเครื่องดื่มชูกำลังตรงนั้นรวดเดียว 10 ขวด  เพียงแค่อยากเข้าไปสัมผัสใกล้ชิดกับดาราที่ชื่นชอบ  โดยที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่มีใครเสนอตัวเข้ามาเป็นเจ้าภาพจัดการ       ยังไม่รวมถึงการโฆษณาอาหารเสริม  ให้เข้าใจผิดว่าเป็นยารักษาโรค   การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพที่สำคัญ  มี  2 ส่วน ต้องมีการกำกับการโฆษณาอาหารมิให้เกิดการโฆษณาเกินจริง และใช้การพนันมาสร้างแรงจูงใจให้ซื้อสินค้า   ควบคุมความหวานในอาหาร และกำหนดห้ามดื่มเกินวันละ กี่ขวด   เพราะ “ปากคือประตูสู่โรคภัย”  ไม่ควบคุมวันนี้ อนาคตเด็กไทย  จะเป็น “คนอมโรค” ซึ่งจะส่งผลกระทบกับเศรษฐกิจ  และความมั่นคงของประเทศ   ดังนั้นการทำให้ผู้บริโภคเท่าทัน!  ก่อนหยิบอะไรใส่ปากจึงเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่ง!  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 167 สรุปสถานการณ์ปัญหาของผู้บริโภคในรอบปี 2557

สถานการณ์ ปัญหาที่ผู้บริโภคร้องเรียนเข้ามาที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และเครือข่ายองค์กรผู้บริโภค 6 ภูมิภาคในปี 2557 มีจำนวนทั้งสิ้น 2,665 รายปัญหาที่ร้องเรียนมากที่สุดคือ  ด้านบริการสุขภาพและสาธารณสุข 849 ราย  ซึ่งปัญหาจะอยู่ในส่วนภูมิภาค ได้แก่  การใช้สิทธิฉุกเฉิน, แพทย์ผ่าตัดผิดพลาด, ค่ายาและค่าบริการโรงพยาบาลเอกชนแพง สิทธิการรักษา ในระบบประกันสังคม เช่น โรคไต  เป็นต้น  รองลงมาคือด้านการเงินการธนาคาร 468 ราย  ยังคงเป็นปัญหาเรื่อง หนี้สิน เช่น บัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล  ประกัน ฯลฯ  ตามมาด้วยปัญหาด้านสื่อโทรคมนาคม 410 ราย  ลักษณะปัญหา ได้แก่ การตั้งเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์ในชุมชน การได้รับ SMS รบกวนและถูกหักสตางค์ เป็นต้น  ส่วนอันดับที่สี่เป็นปัญหาด้านสินค้าและบริการทั่วไป จำนวน 284 รายสิ่งที่น่ากังวลที่สุดคือ ปัญหาการถูกละเมิดสิทธิส่วนใหญ่นั้น ถูกเพิกเฉยจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวพันต่อเนื่อง“ยกตัวอย่าง กรณีปัญหาสินค้าประเภทรถยนต์นั้น  เนื่องจากเป็นสินค้าที่มีราคาสูง ผู้บริโภคซื้อรถยนต์ป้ายแดงคาดหวังว่าจะใช้รถได้เต็มประสิทธิภาพ แต่กลับชำรุดบกพร่องจนต้องซ่อมแล้วซ่อมอีก ซึ่งบริษัทผู้ผลิตมักอ้างว่ารถปกติ ผู้บริโภคกังวลไปเอง เช่น กรณีรถยนต์ยี่ห้อเชฟโรเลต รุ่น ครูซ  ที่เป็นข่าวฟ้องร้องกันและเคยนำเสนอใน “เสียงผู้บริโภค” อย่างต่อเนื่อง จากปัญหาเรื่องระบบส่งกำลัง เกียร์ชำรุด  เร่งไม่ขึ้น  รถดับขณะขับขี่ ทำให้ผู้บริโภคที่ซื้อรถต้องร้องเรียนให้หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอให้ช่วยตรวจสอบความชำรุดบกพร่องว่าเป็นเรื่องที่บริษัทควรรับผิดชอบ เพราะมิใช่เกิดจากความผิดของผู้บริโภคหรือเป็นเรื่องกังวลไปเอง แต่เป็นความผิดพลาดในการผลิต ซึ่งเมื่อหน่วยงานรัฐทำการตรวจสอบและพบความชำรุดบกพร่องจริงตามที่ผู้บริโภคร้องเรียน  แต่ปัญหากลับยังคงนิ่งสนิท โดยหน่วยงานรัฐได้มีการดำเนินการใดๆ กับบริษัทผู้ผลิต  หรือออกมาเผยแพร่ข้อมูลใดๆ ให้ประชาชนทั่วไปรับทราบ  หรือมีมาตรการจัดการกับบริษัทผู้ผลิตแต่อย่างใดและปัจจุบันยังพบว่า ค่ายรถยนต์รายอื่นก็ทยอยมีปัญหาในลักษณะเดียวกัน  ดังที่เป็นข่าวดังก่อนช่วงปีใหม่ ซึ่งถือว่าเป็นปัญหาที่เกิดซ้ำๆ  เมื่อหน่วยงานมิได้มีมาตรการที่ออกมาบังคับใช้อย่างจริงจัง ปัญหาจึงไม่ถูกแก้ไขทั้งระบบ      หากเป็นกรณีที่เกิดในประเทศที่ระบบการคุ้มครองผู้บริโภคมีความเข้มแข็ง หน่วยงานจะออกมาตรการให้มีการเรียกรถที่เกิดปัญหาคืนทันที เพื่อกลับมาตรวจสอบอาการผิดปกติ แต่ในเมืองไทยกลับไม่พบว่ามีการเรียกรถมาตรวจสอบเหมือนในต่างประเทศทั้งที่เป็นรถรุ่นเดียวกัน” นางนฤมล เมฆบริสุทธิ์ หัวหน้าศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคคนทำงานผู้บริโภค จึงหวังที่จะเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด และต้องการให้มีองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคเกิดขึ้นโดยไว เพราะหนึ่งในหน้าที่สำคัญของ องค์การอิสระฯ คือ การทำหน้าที่รายงานสถานการณ์ปัญหาการชำรุดบกพร่องในสินค้าและบริการเพื่อให้ผู้บริโภคได้ใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการตัดสินใจได้อย่างเหมาะสม และทันสถานการณ์ไม่ต้องตกเป็นเหยื่อของผู้ผลิตและผู้ประกอบการที่ไม่รับผิดชอบต่อสังคม

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 165 “สิทธิ” ของผู้ใช้ไฟฟ้าที่ต้องเดินหน้าชน

ผ่านไปกับงานสุขภาพดีวิถีไทย 24-27 กรกฎาคม 57 จัดขึ้นเพื่อคนรักสุขภาพ ที่เมืองทองธานี   งานนี้มีผู้ที่สนใจดูแลสุขภาพมาหาซื้อสินค้ากันอย่างเนืองแน่น  ศูนย์พิทักษ์สิทธิมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคได้มีโอกาสไปตั้งบูธรับเรื่องร้องเรียนด้วย  ได้รับความสนใจจากประชาชนที่มีปัญหาเดินมาปรึกษาอยู่ตลอด  โดยเฉพาะผู้ร้องที่ชื่อ คุณนิรภา ที่แกเห็นบูธเราก็ตรงเข้ามาซักถามปัญหาที่แกหนักอกหนักใจที่ไม่รู้จะหาทางออกยังไง“ฉันโสดอยู่ตัวคนเดียวในคอนโดมิเนียมที่มีพื้นที่จำกัด   มีของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่จำเป็น  เช่น  ตู้เย็น  โทรทัศน์  พัดลม  เตารีด เป็นต้น ค่าไฟฟ้าต่อเดือนอยู่ที่ประมาณ 250-280  บาทไม่เกินนั้น เมื่อประมาณเดือนมิถุนายน 57 ได้รับบิลค่าไฟฟ้า จากการไฟฟ้านครหลวงเขตนนทบุรี  เป็นยอดค่าใช้ไฟของเดือนพฤษภาคมที่เรียกเก็บสูงถึง 512 บาท  ฉันตกใจมาก คิดไปก่อนว่าสงสัยตู้เย็นที่ใช้เก่ามากแล้วคงกินไฟ   แล้วกังวลว่าเดือนต่อไปค่าไฟคงสูงเป็นหลักพันแน่  จึงตัดสินใจซื้อตู้เย็นใหม่  หลังจากซื้อตู้เย็นใหม่   เดือนต่อมาก็เกิดอาการงง  เพราะไม่มีบิลค่าไฟฟ้ามาเรียกเก็บ  จึงโทรติดต่อไปที่ Call Center1130  เพื่อสอบถาม เจ้าหน้าที่ตรวจสอบแล้วบอกว่า  เดือนนี้ค่าไฟฟ้าของฉันเป็น 0.00 บาท  ด้วยความงุนงง เดินไปดูมิเตอร์ก็พบว่าหมุนตามปกติ  ต่อมา บิลค่าไฟเดือนกรกฎาคม เป็นปกติอีก”    เอาละซิ  เกิดอะไรขึ้น ?คราวนี้คุณนิรภา เลยโทรไปถามเจ้าหน้าที่    การไฟฟ้าฯ อีกครั้ง ก็ได้รับเพียงคำตอบว่าจะตรวจสอบให้   หายเงียบไปอีก 7 วันก็ได้รับการติดต่อจากเจ้าหน้าที่ว่า  “จดมิเตอร์ผิด” ปริ๊ดแตกทันที  อารมณ์โกรธขึ้นสมอง แล้วทำไมไม่แจ้งกันสักคำ  เวลาค้างชำระยังส่งใบเตือนจะตัดไฟ ที่จดผิดกลับไม่แจ้ง  ถ้าไม่โทรไปถามก็ไม่ทราบ  คิดในใจว่าใครจะยอม เสียเวลา เสียเงินตั้งหลายพันบาท    เลยโทรติดต่อกลับไปใหม่ แจ้งให้การไฟฟ้าชดใช้ค่าเสียหาย เป็นค่าตู้เย็นที่ซื้อใหม่  และค่าไฟเดือนพฤษภาคม ที่เก็บเกินไปทั้งหมดคืน แต่การไฟฟ้าก็บ่ายเบี่ยงมาโดยตลอด  เลยต้องมาปรึกษาศูนย์พิทักษ์สิทธิ เจ้าหน้าที่ศูนย์พิทักษ์ฯ  ได้ฟังปัญหา   และขอรายละเอียดการใช้ไฟย้อนหลังตั้งแต่มกราคม 57 จนถึงเดือนกรกฎาคม 57 มาตรวจสอบ  พบว่าไม่มีการเรียกเก็บค่าไฟเดือนมิถุนายนจริง  อีกทั้ง บิลเรียกเก็บค่าไฟเดือนกรกฎาคม  เริ่มจดเลขมิเตอร์ไฟโดยใช้เลขมิเตอร์ล่าสุดที่จดผิดจากเดือนพฤษภาคม  ทำให้ค่าไฟในเดือนกรกฎาคมนั้นถูกกว่าทุกเดือนที่ผู้ร้องใช้ปกติ    จึงอธิบายให้ผู้ร้องเข้าใจ   แต่ผู้ร้องยังยืนยันว่าการไฟฟ้าต้องรับผิดชอบค่าตู้เย็น  หากการไฟฟ้าไม่จดผิด  ตนเองก็ไม่เข้าใจผิด             ปวดหัวล่ะซิ  เรื่องนี้คนกลางอย่างเราคงจัดการลำบาก  แต่ในฐานะผู้ร้องซึ่งเป็นสามารถใช้สิทธิได้เต็มที่อยู่แล้ว  เลยแนะนำให้ทำหนังสือถึงการไฟฟ้าเพื่อให้รับผิดชอบเรื่องดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษร  ส่งเป็นไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับจนต้นเดือนตุลาคม  ศูนย์พิทักษ์สิทธิได้รับโทรศัพท์จากผู้ร้องแจ้งว่า  หลังจากที่ทำหนังสือส่งไปถึงการไฟฟ้าฯ  ตั้งแต่ต้นเดือนสิงหาคม   ผู้ร้องติดตามเป็นระยะ  ด้วยวิธีการ โทรศัพท์ไปถามความคืบหน้าและหาก ไปชำระค่าไฟจะสอบถามกับเจ้าหน้าที่    ทุกครั้งจะได้รับคำตอบว่า  แจ้งให้ผู้บริหารรับทราบแล้วน่าจะกำลังพิจารณาเรื่องนี้อยู่  ล่าสุดทนไม่ไหว  เลยขอเข้าพบผู้จัดการ  ชื่อคุณสัมฤทธิ์  ได้เจรจากัน   การไฟฟ้าฯ อ้างว่าได้แก้ไขปัญหาแล้ว  จะให้เยียวยาความเสียหายเท่ากับเงินค่าตู้เย็นใหม่นั้น คงทำไม่ได้   ขอช่วยเหลือที่จำนวนเงิน  1,600  บาทเป็นค่าตู้เย็นเก่าแล้วกัน   ผู้ร้องเห็นว่าไม่อยากยืดเยื้อจึงยอมตกลง    และขอบคุณเจ้าหน้าที่ศูนย์ที่ให้คำแนะนำและช่วยเหลือ รายนี้   ต้องยอมยกนิ้วให้คุณผู้ร้องจริงๆ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 165 กล่องโฟม เลิกได้ไหม

ทำดีต้องชม     ก่อนอื่นขอชื่นชมการทำงานของ อย.  ณ  ยุคสมัยนี้  ที่กล้าหาญ  ออกมาประกาศชื่อสินค้าไม่ปลอดภัยกว่า 20  รายการ  นับว่ามีกระบวนการพัฒนาการทำงานที่สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคได้ระดับหนึ่ง   แต่ปัญหาเรื่องอาหารปลอดภัย  ยังมีเรื่องราวอีกมากมาย ที่รอการแก้ไขทั้งการโฆษณาหลอกลวง ทั้งกระบวนการผลิต ที่ผู้ผลิตขาดความรู้ความเข้าใจและอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคโดยที่ผู้ผลิตเองก็มิได้ตั้งใจต้นเดือน พฤศจิกายน  2557  ผู้เขียนได้เดินทางไปร่วมประชุมกับเครือข่ายผู้บริโภคจังหวัดหนึ่ง ที่อยู่ใกล้ๆกับกรุงเทพฯ  น้องๆ บอกว่า  วันนี้อาหารว่างเป็นขนมไทย(อุ้ยดีใจ..ของชอบของเราเลย) ถึงเวลาน้องๆ ก็เอาขนมมาเสิร์ฟ    เห็นแล้วว่าเป็นขนมตะโก้เผือกอยู่ในกล่องโฟม   ไม่ทันดูให้ละเอียดตักกินเลย   คำแรกถึงกับอึ้ง  เพราะขนมที่กินเข้าไป กลิ่นโฟมฉุนมาก  เลยก้มไปดูในกล่อง   บอกตรงๆ เห็นแล้วตกใจ  เพราะไม่ใช่ขนมชิ้นๆ ตักใส่กล่องมาอย่างที่เคยเห็น    แต่เป็นการเอาขนมใส่นึ่งมาในกล่องเลยเราเชื่อว่าแม่ค้าคงเน้นความสะดวกเป็นหลัก  คงไม่ทันนึกว่าทำเช่นนี้ จะเกิดอันตรายต่อคนกินอย่างไร     แต่เรื่องนี้ในฐานะคนทำงานด้านสิทธิผู้บริโภค  เห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องออกมาเตือนกัน   ไม่อย่างนั้นจะเกิดวัฒนธรรมเลียนแบบ   และจะก่อให้เกิดอันตรายต่อคนกินในวงกว้างมากขึ้นเรื่อยๆ งานนี้บอกตรง   หากใครจะใช้สิทธิ ร้องเรียน  น่าลำบากมากในการเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องออกมาดูแล  เพราะไม่รู้หน่วยงานไหนกันแน่ที่ดูแลเรื่องนี้     ถ้าเป็นอาหาร(ในบรรจุภัณฑ์สำเร็จรูป มีหีบห่อ) ก็รู้อยู่ว่า   อย. ดูแล  แต่ถ้าเป็นบรรจุภัณฑ์(ที่เป็นโฟม) สมอ. และ สคบ. ดูแล   แต่พอเอาอาหารมาใส่กล่องโฟม  เลยยุ่งๆ ไม่รู้ใครกันแน่ที่ต้องดูแลเรื่องนี้  เอาเป็นว่าหน่วยงานไหนก็ได้ ช่วยออกมาส่งเสียงเตือนทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค   ถึงอันตราย  ที่เรามองเห็นแต่ “ไม่รู้” ให้ได้รู้เพื่อป้องกันต่อไป  

อ่านเพิ่มเติม >