ฉบับที่ 137 กระเป๋าเดินทาง (อีกล่ะ)

ฉลาดซื้อฉบับเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เราได้นำเสนอผลทดสอบกระเป๋าเดินทางล้อลาก ที่ทำจากวัสดุโพลีเอสเตอร์ไปแล้ว คราวนี้เรามาดูผลทดสอบกระเป๋าเดินทางชนิดที่เป็น “กล่องแข็ง” ที่วัสดุภายนอกทำจากโพลีโพรพิลีน โพลีคาร์บอเนต หรือ ABS กันดูบ้าง ประเด็นการทดสอบและเกณฑ์การทดสอบที่ใช้กับกระเป๋ากลุ่มนี้เหมือนกับกลุ่มที่เราเคยนำเสนอ โดยคราวนี้เรานำเสนอเรื่องความปลอดภัยไว้ด้วย องค์กรทดสอบระหว่างประเทศ (International Consumer Research & Testing) เขาลองทดสอบหาสารเคมีอันตรายในกลุ่ม PAH (Polycyclic aromatic hydrocarbons โพลีไซคลิก อโรมาติก ไฮโดรคาร์บอน) และสารเคมีที่เป็นพลาสติไซเซอร์ จากส่วนที่เป็นหูหิ้ว และคันชักของกระเป๋าเหล่านี้ไว้ด้วย สารพวกนี้เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมและถ้าเราจับต้องมันบ่อยๆ ก็อาจจะซึมเข้าสู่ร่างกายเป็นสารก่อมะเร็งได้ กระเป๋าทั้ง 15 รุ่นนี้ ได้คะแนนรวมมากกว่า 65 คะแนน (จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน) ทั้งหมดขับเคลื่อน 4 ล้อ และมีคันชักที่ปลอดภัยจากสารเคมีอันตรายดังกล่าว แต่จะแตกต่างกันตรงหูหิ้วที่บางรุ่นยังตรวจพบสารเคมีเหล่านั้นในปริมาณค่อนข้างสูง   Samsonite Aeris Comfort             86 คะแนน ราคา 8,500 บาท แข็งแรงทนทาน                            5 ใช้งานสะดวก                               4 คุณภาพการผลิต                           5 หูหิ้วปลอดสารเคมีอันตราย             5 วัสดุภายนอก                   โพลีโพรพิลีน น้ำหนัก              4,480                กรัม ขนาด                 18.5x11x25        นิ้ว ความจุ               54                     ลิตร     Rimova Salsa Air                        81 คะแนน ราคา 15,200 บาท แข็งแรงทนทาน                            4 ใช้งานสะดวก                               4 คุณภาพการผลิต                           4 หูหิ้วปลอดสารเคมีอันตราย             5 วัสดุภายนอก                   โพลีคาร์บอเนต น้ำหนัก               2,890               กรัม ขนาด                 16.5x10x24.8     นิ้ว ความจุ               60.5                  ลิตร   Rimova Salsa Air                        81 คะแนน ราคา 15,200 บาท แข็งแรงทนทาน                            4 ใช้งานสะดวก                               4 คุณภาพการผลิต                           4 หูหิ้วปลอดสารเคมีอันตราย             5 วัสดุภายนอก                   โพลีคาร์บอเนต น้ำหนัก               2,890               กรัม ขนาด                 16.5x10x24.8     นิ้ว ความจุ               60.5                  ลิตร   Delsey Lite Gloss                       78 คะแนน ราคา 7,500 บาท แข็งแรงทนทาน                            5 ใช้งานสะดวก                               3 คุณภาพการผลิต                           4 หูหิ้วปลอดสารเคมีอันตราย             3 วัสดุภายนอก                   โพลีคาร์บอเนต น้ำหนัก               4,100               กรัม ขนาด                 17.3x11.4x23.2  นิ้ว ความจุ               57                     ลิตร   Samsonite Cubelite                     78 คะแนน ราคา 15,700 บาท แข็งแรงทนทาน                            4 ใช้งานสะดวก                               4 คุณภาพการผลิต                           4 หูหิ้วปลอดสารเคมีอันตราย             3 วัสดุภายนอก                   โพลีโพรพิลีน น้ำหนัก               3,230               กรัม ขนาด                 17.3x11x24        นิ้ว ความจุ               65.5                  ลิตร   Jump Dot-Drops customized        77 คะแนน ราคา 8,000 บาท แข็งแรงทนทาน                            4 ใช้งานสะดวก                               4 คุณภาพการผลิต                           4 หูหิ้วปลอดสารเคมีอันตราย             5 วัสดุภายนอก                   โพลีคาร์บอเนต น้ำหนัก               3,930               กรัม ขนาด                 17.7x10.4x22.8  นิ้ว ความจุ               47                     ลิตร     Epic Jetstream                           77 คะแนน ราคา 4,800 บาท แข็งแรงทนทาน                            4 ใช้งานสะดวก                               3 คุณภาพการผลิต                           4 หูหิ้วปลอดสารเคมีอันตราย             5 วัสดุภายนอก                   โพลีโพรพิลีน น้ำหนัก               4,170               กรัม ขนาด                 17.7x11.4x23.6  นิ้ว ความจุ               56                     ลิตร   TravelOne Palma                       73 คะแนน ราคา 8,000 บาท แข็งแรงทนทาน                            4 ใช้งานสะดวก                               4 คุณภาพการผลิต                           4 หูหิ้วปลอดสารเคมีอันตราย             1 วัสดุภายนอก                   เอ บี เอส / โพลีคาร์บอเนต น้ำหนัก               3,660               กรัม ขนาด                 16.5x10x24        นิ้ว ความจุ               54.5                  ลิตร   Samsonite Cosmolite                  72 คะแนน ราคา 14,800 บาท แข็งแรงทนทาน                            3 ใช้งานสะดวก                               4 คุณภาพการผลิต                           4 หูหิ้วปลอดสารเคมีอันตราย             5 วัสดุภายนอก                   โพลีโพรพิลีน น้ำหนัก               3,010               กรัม ขนาด                 17.7x11.4x24.8  นิ้ว ความจุ               68                     ลิตร   Manor Maddison             70 คะแนน ราคา 10,000 บาท แข็งแรงทนทาน                            3 ใช้งานสะดวก                               4 คุณภาพการผลิต                           4 หูหิ้วปลอดสารเคมีอันตราย             5 วัสดุภายนอก                   เอ บี เอส / โพลีคาร์บอเนต น้ำหนัก               5,070               กรัม ขนาด                 17.1x11.2x24.8  นิ้ว ความจุ               55.5                  ลิตร   Beverly Hills Polo Club                68 คะแนน ราคา 2,200 บาท แข็งแรงทนทาน                            3 ใช้งานสะดวก                               3 คุณภาพการผลิต                           4 หูหิ้วปลอดสารเคมีอันตราย             5 วัสดุภายนอก                   โพลีคาร์บอเนต น้ำหนัก              3,810                กรัม ขนาด                 17.5x11.6x24     นิ้ว ความจุ               64                     ลิตร

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 92 เครื่องวัดความดัน(โลหิต) อันไหนเจ๋งกว่ากัน

ฉลาดซื้อฉบับนี้อินเทรนด์กับการดูแลสุขภาพด้วยตนเองของผู้บริโภคยุคปัจจุบัน หลายคนอาจจะคิดอยากหาเครื่องมือวัดความดันโลหิตมาไว้ใช้เองที่บ้าน และผลิตภัณฑ์ดังกล่าวก็มีจำหน่ายอย่างแพร่หลายทั้งตามร้านจำหน่ายอุปกรณ์การแพทย์บริเวณใกล้ๆ โรงพยาบาล หรือแม้แต่ร้านค้าบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ท  เช่นเคยสิ่งที่เรานำมาฝากกันคือผลการทดสอบเครื่องวัดความดันทั้งแบบข้อมือและต้นแขน ที่องค์กรทดสอบระหว่างประเทศ (ICRT) ได้ทำไว้ทั้งหมด 22 รุ่น หลายๆ รุ่นยังไม่พบเห็นในตลาดบ้านเรา แต่ถ้าดูจากยี่ห้อก็พอจะเคยได้เห็นหรือได้ยินมาบ้าง สนนราคาโดยประมาณก็มีตั้งแต่ 600 ถึง 6,000 บาทฉลาดซื้อสงสัยเครื่องวัดความดันโลหิตแบบวัดตรงข้อมือ และแบบวัดที่ต้นแขน นี้มีความแตกต่างในประสิทธิภาพการใช้งานหรือไม่ อย่างไร และอุปกรณ์ชนิดนี้เป็นของจำเป็นที่เราต้องมีไว้ที่บ้านหรือไม่ มีคำตอบดังนี้ในปัจจุบัน ค่าการตรวจวัดความดันโลหิตบ้านเราใช้หลักของอเมริกา คือถ้าความดันน้อยกว่า 120/80 ถือว่าปกติ ควรวัดซ้ำทุก 2 ปีถ้าความดัน 120-139/80-89 ถือว่าไม่เป็นโรค แต่เกือบๆ จึงควรวัดซ้ำทุก 1 ปีถ้าความดันมากกว่า 140/90 ถือว่าเป็นโรค ควรปรึกษาแพทย์และต้องวัดซ้ำภายใน 2 เดือนดังนั้นถ้าเราไม่เป็นโรค ก็ไม่จำเป็นต้องวัดบ่อยๆ จึงไม่จำเป็นต้องซื้อเครื่อง แต่หากเป็นโรคแล้ว ข้อดีของการมีเครื่องวัดคือ ทำให้เราใส่ใจความดันตัวเอง และกินยาสม่ำเสมอ นอกจากนี้ บางคนเวลาไปวัดความดันที่สถานพยาบาลความดันจะสูงเกินจริง (whitecoat hypertension) ทำให้หลงรักษาผิดทาง แต่พอวัดที่บ้านกลับไม่ขึ้นหรือขึ้นน้อยถ้าจะถามว่าแบบไหนดี จริงๆ เป็นเรื่องละเอียดอ่อน เพราะข้อเท็จจริงความดันโลหิตเราวัดทางอ้อม (ถ้าวัดทางตรงต้องแทงแท่งวัดเข้าไปในเส้นเลือด) และเดิมใช้เครื่องวัดปรอทเป็นหลัก วัดตรงตำแหน่งต้นแขนเหนือข้อพับ เพราะในท่ายืนหรือนั่งจะอยู่ในระดับใกล้เคียงกับหัวใจ ดังนั้นข้อมูลการวิจัยเกือบทั้งหมดใช้การวัดเหนือข้อพับ และที่สถานพยาบาลก็ใช้วิธีเดียวกัน หากเราใช้ต่างวิธี อาจได้ค่าที่ไม่เหมือนกัน หรือไม่ควรนำค่ามาเปรียบเทียบกัน เพราะแม้แต่วัดที่เดียวกันหลายๆ ครั้ง แต่ละครั้งก็ไม่เท่ากัน ยิ่งคนละที่ ยิ่งไปกันใหญ่ วัดข้างขวามักจะสูงกว่าวัดข้างซ้าย เหล่านี้เป็นต้นดังนั้น โดยมาตรฐานแล้ววัดที่เหนือข้อพับเป็นหลัก แต่เครื่องวัดที่ข้อมือก็พยายามเทียบให้ได้ค่าใกล้เคียง แต่ก็ยังไม่นับเป็นมาตรฐาน และที่สำคัญถึงวัดที่ข้อมือ เวลาวัดก็ควรวางข้อมือให้อยู่ในระดับใกล้เคียงหัวใจด้วยเช่นกันไม่ได้สรุปว่าวัดที่ต้นแขนดีกว่า แต่เป็นมาตรฐานกว่าเท่านั้น เพราะในการปรับขนาดยา ในการทำนายโรค ในการวิจัย เขาวัดที่ต้นแขน ค่าความดันที่ต้นแขนจึงเป็นค่ามาตรฐานทั่วโลก ค่าที่ข้อมือพยายามทำให้ใกล้เคียงค่าที่ต้นแขน แต่จะใกล้เคียงแค่ไหนอยู่ที่คุณภาพของเครื่อง และค่าที่ต้นแขนเอง แต่ละยี่ห้อ ก็ต่างกัน เพราะอะไรหรือ เพราะจริงๆ แต่เดิมการวัดความดันต้องใช้หูฟังเสียงชีพจร แต่เครื่องสมัยใหม่ใช้การจับการสั่นสะเทือนของหลอดเลือดแทนเสียงชีพจร ดังนั้นโดยส่วนใหญ่ก็ไม่เท่ากับใช้หูฟัง เครื่องดีก็ใกล้เคียง เครื่องห่วยก็เข้ารกเข้าพงเหมือนกัน เทคนิคการวัดก็เกี่ยว เพราะใช้การจับการสั่นสะเทือน หากวัดในที่เสียงดังก็คลาดเคลื่อน หากขยับแขนก็คลาดเคลื่อน ดังนั้นมาตรฐานที่สุดใช้หูฟังครับ ใช้เครื่องอัตโนมัติก็ไม่มาตรฐาน แต่สะดวกกว่า เหมาะกับการวัดเองที่บ้าน เลยกลายเป็นกระแส ซึ่งก็ไม่เลว แต่ต้องดูฐานะและความจำเป็นด้วยผลการทดสอบเครื่องวัดความดันโลหิต

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 109 สำรวจบริษัทยักษ์ใหญ่ ให้รู้กันไปว่าใครแอ๊บเขียว

ฤดูการมอบรางวัลกลับมาอีกครั้ง บาฟต้าก็แจกกันไปแล้ว ออสการ์ก็ประกาศไปแล้ว องค์กรผู้บริโภคก็ไม่อยากตกเทรนด์ ขอประกาศรางวัลให้กับบริษัทที่ ”แสดงบทบาท” เป็นผู้ประกอบการรักโลกได้ยอดเยี่ยมที่สุดกับเขาด้วย หลายปีมานี้กระแสห่วงใยสิ่งแวดล้อมมาแรง เมื่อผู้บริโภคตระหนักถึงความรับผิดชอบที่จะเลือกซื้อ เลือกใช้สินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ธุรกิจต่างๆ ก็หันมาให้ความใส่ใจในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตสินค้าหรือบริการของตนด้วยเช่นกัน เรื่องนี้เป็นสถานการณ์ที่มีแต่ได้กับได้ อย่างไม่ต้องสงสัย แต่เราก็สงสัย... ว่าจะรู้ได้อย่างไรว่าไม่ใช่แค่คำอวดอ้างหรือการสร้างภาพเพื่อเพิ่มยอดขายให้กับตนเองสหพันธ์ผู้บริโภคสากล (Consumers International) ได้ทำการสำรวจความเห็นจากสมาชิกซึ่งเป็นองค์กรเพื่อผู้บริโภคจาก 225 ประเทศต่างๆ ทั่วโลก (มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคก็เป็นหนึ่งในสมาชิกด้วย) ว่าจะโหวตให้ใครได้รางวัล “แอ๊บเขียว” ยอดเยี่ยม ประจำปี พ.ศ. 2552 และผู้ประกอบการที่สมควรได้รับรางวัลดังกล่าว ได้แก่ ... (กลองรัว)-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------แอ๊บเขียว แล้วไง?นี่คืออีกระดับของการหลอกลวงผู้บริโภคซึ่งมีเจตนาจะเลือกบริโภคอย่างรับผิดชอบ เป็นการละเมิดสิทธิในการรับรู้ข่าวสารหรือข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากสินค้าหรือบริการที่ตนเองบริโภค นอกจากจะขัดขวางเป้าหมายในการสร้างสังคมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว มันยังทำลายความเชื่อถือของผู้บริโภคที่มีต่อบริษัทต่างๆ ด้วย ------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------ ค่ายรถยนต์ ออดี้ ได้รางวัลนี้ไปเป็นเจ้าแรก ด้วยการทำให้ผู้บริโภคเข้าใจว่ารถรุ่น AUDI A3 TDI เครื่องยนต์ดีเซล ของตนเองนั้นเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมพอๆ กับการปั่นจักรยานหรือการโดยสารรถประจำทางยังไงยังงั้น โฆษณาของออดี้ ที่ฉายในโทรทัศน์ในอเมริกาและในอินเตอร์เน็ตพยายามจะสื่อว่ารถออดี้รุ่นดังกล่าวสามารถใช้เชื้อเพลิงได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยวิ่งได้ถึง 42 ไมล์ต่อแกลลอน และยังปล่อยมลพิษออกมาน้อยกว่ารุ่นที่เป็นเบนซินด้วย แต่ที่ไม่ได้บอกไว้ในโฆษณาคือนาทีนี้บรรดารถประหยัดพลังงานหรือ “รถเขียว” เจ้าอื่นๆ สามารถวิ่งได้มากกว่า 50 ไมล์ต่อแกลลอนด้วยซ้ำ และแม้รถดีเซลรุ่นนี้จะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์น้อยกว่ารถรุ่นที่ใช้เบนซินถึงร้อยละ 25 แต่อีกร้อยละ 75 ก็ยังถูกปล่อยออกมาอยู่ดี มันคงไม่มีทางเหมือนการปั่นจักรยานไปได้ บริษัทน้ำมัน บีพี รับรางวัลนี้ไปเพราะพฤติกรรมไม่สอดคล้องกับการแถลงข่าว บีพีบอกว่าจะลงทุนกับการผลิตพลังงานทดแทน ถึงขั้นบอกกับสังคมว่า BP ชื่อของบริษัทนั้นหมายถึง Beyond Petroleum นั่นเอง บีพีเคยปลูกป่าในสก็อตแลนด์และประกาศว่าจะลงทุนไม่ต่ำกว่า 2.3 ล้านเหรียญในการปลูกต้นไม้ที่ออสเตรเลียเพื่อชดเชยการทำให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์ แต่เดี๋ยวก่อน สิ่งที่ไม่ได้เป็นข่าวครึกโครมเท่าคือบริษัทได้ยกเลิกการลงทุนในโครงการผลิตพลังงานลมในประเทศอังกฤษและอินเดีย รวมถึงโครงการพลังงานทดแทนอื่นๆ เช่นพลังงานแสงอาทิตย์ในสเปนและสหรัฐอเมริกา ในขณะที่ให้งบประมาณในการลงทุนสกัดน้ำมันจากทรายน้ำมันในแคนาดาไว้ถึง 5,800 ล้านเหรียญ  บีพีประกาศไว้เมื่อ 5 ปีก่อนว่าจะลงทุนปีละ 1,500 ล้านเหรียญเพื่อการพัฒนาพลังงานทางเลือก (บริษัทได้นับรวมก๊าซธรรมชาติไว้ในกลุ่มนั้นด้วย) แต่เมื่อปีที่ผ่านมาก็ประกาศลดงบประมาณดังกล่าวลงเหลือระหว่าง 500 ถึง 1,000 ล้านเหรียญเท่านั้น  สายการบินราคาประหยัด อีซี่เจ็ทมาดูสายการบินแอ๊บเขียวกันบ้าง เราพอรู้ๆ กันอยู่ว่าธุรกิจสายการบินนั้นเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้ยาก แต่อีซี่เจ็ทยังยืนยันว่าการบินกับอีซี่เจ็ทนั้นทำลายสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าการขับรถโตโยต้า พรีอุส โฆษณาดังกล่าวอ้างข้อมูลว่าผู้โดยสารหนึ่งของสายการบินจะทำให้เกิดการปล่อยคาร์บอน 95.7 กรัม ต่อ การเดินทาง 1 กิโลเมตร ในขณะที่ผู้ที่ขับขี่พรีอุสจะทำให้เกิดคาร์บอนถึง 104 กรัมในระยะทางเท่ากัน (แต่ในการคำนวณนั้นสายการบินคิดเฉลี่ยจากจำนวนที่นั่งทั้งหมดบนเครื่อง ในขณะที่มีผู้โดยสารเพียงหนึ่งคนในรถพรีอุส) นอกจากนี้ยังบอกว่าเครื่องบินรุ่นใหม่ๆ ของตนเองปล่อยคาร์บอนน้อยกว่าสายการบินเจ้าอื่นๆ ถึงร้อยละ 30 เมื่อคิดเป็นปริมาณคาร์บอนต่อผู้โดยสารหนึ่งคน ซึ่งความจริงแล้วเครื่องบินใหม่ที่ว่านั้นสามารถรองรับผู้โดยสารได้มากกว่าเดิมเลยทำให้มีตัวหารมากขึ้น ค่าคาร์บอนจึงน้อยลงนั่นเอง โฆษณาดังกล่าว ขณะนี้โดนองค์การมาตรฐานโฆษณาสั่งให้ถอนไปเรียบร้อยแล้ว  วินโดวส์ 7 เกือบพลาดรางวัลนี้ไปเหมือนกันสำหรับซอฟท์แวร์สีเขียวที่ช่วยลดรอยเท้าคาร์บอน เพราะมันทำให้เกิดการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าซอฟท์แวร์รุ่นก่อนๆฅ แต่ก็ยังได้ไปเพราะคำแนะนำที่บอกว่าควรซื้อคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่มาใช้ด้วย เพื่อให้ซอฟท์แวร์ดังกล่าวสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ความจริงแล้วกระบวนการผลิตและย่อยสลายคอมพิวเตอร์นั้นทำให้เกิดรอยเท้าคาร์บอนมากกว่าการใช้งานตัวมันหลายเท่า  แทนที่จะได้ใช้เครื่องเดิมต่อไปได้อีกหลายปี กลับต้องมาซื้อเครื่องใหม่เพื่อใช้วินโดวส์ 7 คำถามคือทำไมบริษัทถึงไม่สร้างซอฟท์แวร์ที่สามารถใช้กับเครื่องเดิมได้เลย หรือทำให้มัน “เขียว” ขึ้นด้วยการอัพเกรด สิ่งที่ผู้บริโภคพึงรู้คือการใช้คอมพิวเตอร์จนกระทั่งมันหมดอายุขัยไปจริงๆ คือทางออกที่ “เขียวกว่า” ที่สำคัญกว่านั้นคือไม่ต้องเสียเงินเพิ่มด้วย  องค์กรปริศนา “CO2 is Green” รายนี้เขาแปลกจริงๆ จะไม่ให้รางวัลไปก็กระไรอยู่ องค์กร “CO2 is Green” หรือ “คาร์บอนไดออกไซด์เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม” ได้รับการสนับสนุนจากอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิลในสหรัฐ ซึ่งกำลังพยายามทำให้เราเชื่อว่าการเพิ่มปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศนั้นเป็นเรื่องดีต่อสิ่งแวดล้อม ถึงขั้นทำโฆษณาทางโทรทัศน์ความยาวครึ่งนาทีเพื่อบอกกับผู้ชมว่ายังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ระบุว่าคาร์บอนไดออกไซด์เป็นสารพิษหรือสารที่ก่อมลภาวะ  แถมยังบอกด้วยว่าถ้ามีคาร์บอนไดออกไซด์มากๆ จะเป็นผลดีต่อระบบนิเวศน์ของโลก นอกจากนี้ยังรณรงค์ให้อเมริกันชนช่วยกันเรียกร้องให้วุฒิสมาชิกจากรัฐของตน ออกเสียงคัดค้านการออกกฎหมายที่จะจัดคาร์บอนไดออกไซด์ว่าเป็นมลพิษอีกต่างหาก โอ ... ช่างทำไปได้

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 133 เงินทองของมายา เปรียบเทียบปัญหาด้านการเงินจากทั่วโลก

  เนื่องในโอกาสวันผู้บริโภคสากล 15 มีนาคม เราขอพาคุณเปลี่ยนบรรยากาศไปทัวร์ 1 วัน 10 ประเทศ อัพเดทเรื่องเงินๆทองๆ รอบโลกกัน ผู้บริโภคชั้นแนวหน้าอย่างพวกเรา รู้จัก “สิทธิในการเลือก” เป็นอย่างดี แต่เราอาจลืมสังเกตไปว่า ในบรรดาสิทธิผู้บริโภคทั้ง 8 ข้อ(แบบสากล) นั้น “สิทธิในการเลือก” ของเราถูกละเมิดโดยบริการการเงินการธนาคารมากที่สุด แม้ค่าธรรมเนียมจะแพงสักเท่าไร บริการจะแย่สักแค่ไหน เราก็ (ยินดี?) ทนกันต่อไป จะมีสักกี่คนที่อยากจะเป็นธุระเปลี่ยนไปใช้บริการจากธนาคารเจ้าใหม่ เพราะรู้สึกไม่พอใจกับเจ้าเดิม หรือเพราะเห็นข้อเสนอของเจ้าใหม่ที่ดีกว่า  เรื่องของเรื่อง ... ดูไม่ออกจริงๆ ว่าใครให้บริการหรือข้อเสนอที่ดีกว่ากัน ฝรั่งเศส ที่นี่เขามีสถิติยืนยันว่า ใน 100 คน มีถึง 15 คน ที่ “อยาก” จะเปลี่ยนธนาคาร แต่ “เปลี่ยน” จริงๆแค่ 5 คนเท่านั้นข่าวบอกมาว่า ที่นี่มีจำนวนผู้ประกอบการค่อนข้างจำกัด แถมยังมีค่าบริการแพงเป็นอันดับต้นๆของยุโรป แต่คนฝรั่งเศสกลับมีการรับรู้เรื่องการเปลี่ยนธนาคารน้อยมาก (ยืนยันโดยงานสำรวจเมื่อ 2 ปีก่อน โดยองค์กรผู้บริโภค UFC-Que Choisir) บรรดาธนาคารที่นี่ไม่มีการอำนวยความสะดวกใดๆ ให้แก่ผู้ที่ต้องการจะย้ายบัญชีเงินฝากไปอยู่กับเจ้าใหม่ ในขณะเดียวกันก็ไม่สนใจจะรับลูกค้าที่เปลี่ยนจากเจ้าอื่นมาที่ตนเองเช่นกัน หลักๆ แล้วเขาเน้นการขายผลิตภัณฑ์ทางการเงินเพิ่มเติมให้กับลูกค้าเก่ามากกว่า  นอกจากนี้เขายังคิดค่าธรรมเนียมสำหรับบริการที่มีคู่แข่งน้อย เช่น บัตรเดบิต สูงมากด้วย   สหรัฐอเมริกา เมื่อเดือนตุลาคม ปีที่แล้ว Bank of America ประกาศจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมรายเดือน เดือนละ 5 เหรียญ (ประมาณ 150 บาท) จากผู้ใช้บัญชีเงินฝากที่รองรับบัตรเดบิต ตั้งแต่เดือนมกราคม ปี 2012 เป็นต้นไป โดยมีธนาคารอีก 3 แห่ง (JP Morgan Chase / Wells Fargo และ Sun Trust) ตั้งท่าว่าจะทำเช่นเดียวกัน อเมริกันชนฟังแล้วขมขื่น เป็นลูกค้ากันมาก็นาน แล้วทำไมถึงยังต้องเสียเงินเพื่อเข้าไปใช้เงินในบัญชีเงินฝากของตัวเองอีก ว่าแล้วผู้บริโภคกว่า 40,000 คน ก็ร่วมกันเขียนอีเมล์ถึงสภาคองเกรส ร้องขอให้มีการตรวจสอบว่าการกระทำดังกล่าวนั้นเป็นธรรมต่อผู้บริโภคหรือไม่ ในที่สุดแผนการนี้ล้มเลิกไปในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา  ------------------------------------------------------------------------------------------------------- สถิติความอัดอั้นตันใจ อังกฤษ   ครึ่งหลังของปี พ.ศ. 2553 มีเรื่องร้องเรียนบริการการเงิน/ธนาคาร กว่า 1,700,000 เรื่อง อินเดีย  ระหว่าง ปี พ.ศ. 2552 – 2553 มีเรื่องร้องเรียนบริการการเงิน/ธนาคาร เกือบ 80,000 เรื่อง จีน  มากกว่าร้อยละ 40 ของผู้ใช้บริการธนาคาร ไม่พอใจกับค่าธรรมเนียมอัตราปัจจุบันบราซิล  เรื่องร้องเรียนยอดฮิตอันดับสอง ของ “สคบ.” ที่นั่นคือ บริการการเงิน/ธนาคาร-------------------------------------------------------------------------------------------------------เปลี่ยน ... วันนี้เธอแค่เปลี่ยน  ลองมาดูสถิติการ “เปลี่ยน” ของผู้บริโภคในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป ระหว่างปี พ.ศ. 2550 – 2551 ร้อยละ 25  “เปลี่ยน” ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตร้อยละ 22  “เปลี่ยน” ผู้ให้บริการประกันรถยนต์ร้อยละ 9  “เปลี่ยน” ผู้ให้บริการธนาคาร -------------------------------------------------------------------------------------------------------   สวีเดน ที่นี่เขาเท่จริงไรจริง มีการคงสิทธิหมายเลขบัญชีธนาคารด้วยระบบที่ชื่อว่า BankGiro ที่ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถเลือกที่จะไปใช้บริการของธนาคารไหน เมื่อไรก็ได้ ถ้าพบผลิตภัณฑ์หรือข้อเสนอที่น่าสนใจกว่า ด้วยการอ้างอิงหมายเลขบัญชีเดิม แต่เดี๋ยวก่อน องค์กรผู้บริโภคของสวีเดน Sveriges Konsumenter บอกว่าผู้ที่ใช้ประโยชน์จากระบบ BankGiro นี้ส่วนใหญ่เป็นองค์กรธุรกิจ ส่วนผู้บริโภคทั่วไปนั้นยังมีความเชื่อว่าการเปลี่ยนไปใช้บริการจากธนาคารอื่นนั้นเป็นเรื่องยุ่งยาก แถมสุ่มเสี่ยงอีกต่างหาก ทั้งๆ ที่มีระบบรองรับแต่คนก็ยังไม่ “เปลี่ยน” เรื่องนี้สะท้อนถึงความไม่เชื่อมั่นในระบบธนาคารของคนสวีเดน มีสถิติยืนยันว่าความเชื่อมั่นในสถาบันการเงินนั้นลดลงอย่างฮวบฮาบในระหว่างปี พ.ศ. 2552 – 2553 -------------------------------------------------------------------------------------------------------ความจริงแล้วคณะกรรมาธิการอุตสาหกรรมธนาคารแห่งยุโรป ได้ประกาศใช้แนวปฏิบัติในการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้บริโภคที่ต้องการโอนย้ายบัญชีเงินฝากของตนไปอยู่กับธนาคารอื่นในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปทั้งหมด รวมถึงนอร์เวย์ มาตั้งแต่เมื่อสามปีก่อน แต่จนทุกวันนี้ก็ยังไม่สามารถจัดการได้ลงตัวในทางปฏิบัติ-------------------------------------------------------------------------------------------------------   เนเธอร์แลนด์ ด้วยระบบ OVERSTAPSERVICE ที่มีใช้กันมาตั้งแต่ปี 2548 ที่กำหนดให้ธนาคารเดิมโอนประวัติการจ่ายเงินในช่วงเวลาย้อนหลัง 13 เดือน ไปยังบัญชีของผู้บริโภคที่ทำไว้กับธนาคารเจ้าใหม่ ทำให้คนที่นี่สามารถใช้สิทธิในการเลือกของตนเองได้สะดวกกว่าที่อื่น งานสำรวจขององค์กรผู้บริโภค Consumentenbond พบว่าผู้มีบัญชีธนาคารกว่า 1,900 คน มีการใช้บริการนี้ประมาณ 80,000 – 100,000 ครั้งต่อปี และผู้บริโภคมีความพึงพอใจต่อบริการธนาคารโดยรวมเพิ่มขึ้น จากที่เคยให้ 7 เต็ม 10 เมื่อปี 2549 ก็เพิ่มเป็น 8.5 เต็ม 10 ในปี 2554 แม้จะย้ายกันได้สะดวก แต่ก็ยังไม่สามารถใช้หมายเลขบัญชีเดิมได้อยู่นั่นเอง   ออสเตรเลีย ตั้งแต่เดือนมกราคมปีนี้เป็นต้นมา สถาบันการเงินที่ให้บริการรับจำนองบ้าน จะต้องมีข้อมูลให้กับผู้บริโภคในรูปแบบที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยต้องแจกแจงข้อมูลต่อไปนี้ในภาษาที่เข้าใจได้ง่าย ให้จบภายใน 1 หน้ากระดาษ • เงื่อนไขเงินกู้ / จำนวนงวดที่ต้องผ่อนชำระ• อัตราดอกเบี้ย • จำนวนเงินที่ต้องจ่ายทั้งหมด เมื่อจ่ายจนครบทุกงวด• ค่าธรรมเนียมต่างๆ ที่ธนาคารจะเรียกเก็บ -------------------------------------------------------------------------------------------------------ธนาคารใหญ่ขึ้น ทางเลือกผู้บริโภคน้อยลงอังกฤษ ธนาคารใหญ่ 5 อันดับแรก ยึดครองส่วนแบ่งตลาดถึงร้อยละ 87  แค่ Lloyds ธนาคารเดียวก็คุม 1 ใน 4 ของบัญชีเงินฝากทั้งประเทศแล้ว อีกร้อยละ 20 ของลูกค้าที่กู้ซื้อบ้านก็อยู่กับธนาคารนี้เช่นกันฝรั่งเศส  ร้อยละ 90 ของบัญชีเงินฝาก ร้อยละ 80 ของบัญชีเงินกู้ และร้อยละ 60 ของกรมธรรม์ประกันชีวิต อยู่กับธนาคาร 6 อันดับแรก อเมริกา ส่วนแบ่งการตลาดของ 50 ธนาคารอันดับต้นในปี  2553 เท่ากับส่วนแบ่งการตลาดของธนาคาร 150 อันดับแรก ในปี 2551ออสเตรเลีย ธนาคาร 4 อันดับต้น มีส่วนแบ่งร้อยละ 78 ของบัญชีเงินฝาก และมากกว่าร้อยละ 80 ของบัญชีเงินกู้บราซิล  ร้อยละ 75 ของบัญชีเงินฝาก อยู่กับธนาคาร 5 อันดับแรกเยอรมนี ร้อยละ 78 ของบัญชีเงินฝาก อยู่กับธนาคาร 6 อันดับแรก  -------------------------------------------------------------------------------------------------------   อังกฤษ คงจำกันได้ว่าที่นี่เขาพยายามกอบกู้ธนาคารขนาดใหญ่ที่อาการเข้าขั้นโคม่า ด้วยเงินภาษีของประชาชน นอกจากเสียงวิพากษ์วิจารณ์ถึงความไม่เป็นธรรม (แต่จำเป็น) ในเรื่องนี้แล้ว ขณะนี้เริ่มมีเสียงเรียกร้องให้มีการแยกให้ชัดเจนระหว่างธนาคารทั่วไป และธนาคารเพื่อการลงทุน เพราะระดับความเสี่ยงมันต่างกันลิบลับ เมื่อธนาคารเพื่อการลงทุน (ซึ่งสมควรเป็นผู้เชี่ยวชาญ) เก็งกำไรผิด ตัดสินใจพลาดเอง รัฐก็สมควรปล่อยให้ล้มไปเอง ไม่ต้องนำเงินสาธารณะเข้าไปอุ้มการลงทุนส่วนบุคคล -------------------------------------------------------------------------------------------------------ทำงานแทบตาย หายไปกับค่าโอนในแต่ละปี เงินจำนวนไม่ต่ำกว่า 4 แสนล้านเหรียญสหรัฐ จะถูกโอนจากแรงงานข้ามชาติไปยังประเทศบ้านเกิด (ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศกำลังพัฒนา) เพื่อจุนเจือคนในครอบครัว เป็นค่าซ่อมบ้าน ค่าเล่าเรียนลูก เป็นต้น โดยเฉลี่ยแล้วคนเหล่านี้จะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมการโอนมากกว่าร้อยละ 10 ของจำนวนเงินที่โอน บางครั้ง มากกว่าร้อยละ 20 ด้วยซ้ำ ผู้บริโภคมีทางเลือกที่ค่อนข้างจำกัดเพราะไม่มีข้อมูล ในขณะที่ธนาคารก็ยังไม่มีความโปร่งใสในมาตรฐานการตั้งราคาด้วยเช่นกัน แม้แต่ ธนาคารโลก World Bank เองก็เคยบอกว่า ถ้าธนาคารลดค่าธรรมเนียมการโอนให้ร้อยละ 5   จะมีเงินกลับไปสู่ครอบครัวในประเทศกำลังพัฒนาเพิ่มขึ้น 15,000 ล้านเหรียญต่อปีเลยทีเดียว-------------------------------------------------------------------------------------------------------   เนื่องในโอกาสวันคุ้มครองผู้บริโภคสากล World Consumer Rights Day ซึ่งตรงกับวันที่ 15 มีนาคม ของทุกปี สหพันธ์ผู้บริโภคสากลและองค์กรสมาชิก 220 องค์กรใน 115 ประเทศ (มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ของเราก็เป็นสมาชิกอยู่ด้วย) จะร่วมกันรณรงค์เรียกร้องให้เกิดบริการทางการเงินการธนาคารที่หลากหลาย โปร่งใส และเป็นธรรมต่อผู้บริโภคมากขึ้น

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 144 น้ำตาลสังเคราะห์

  เมื่อน้ำตาลได้รับเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นผู้ร้ายที่ถูกส่งมาทำลายหุ่นอันผอมเพรียวและไม่เหมาะสำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน เลยต้องมีการคิดค้นและพัฒนาสารอะไรสักอย่างขึ้นมาเพื่อเป็นวัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาลที่เราคุ้นเคย สำหรับคนที่ อดหวาน ไม่ได้   ฉลาดซื้อฉบับนี้จึงขอพาคุณมารู้จักกับ “ความหวาน” แบบพลังงานต่ำหรือไม่ให้พลังงาน ซึ่งมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า วัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาล(Sweetener) ซึ่งเทรนด์ตลาดวัตถุให้ความหวานในเมืองไทย เมื่อปีที่ผ่านมามีมูลค่ารวมประมาณ 300-400 ล้านบาท และมีแนวโน้มเติบโตขึ้นเรื่อยๆ เมื่อดูจากปัจจุบันที่มีสินค้ากลุ่มนี้วางจำหน่ายอยู่หลายยี่ห้อและวางบนชั้นวางของห้างค้าปลีกทั่วไป     วัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาล จากการสำรวจตลาดพบว่า มีผลิตภัณฑ์ที่วางจำหน่ายอยู่ 6 กลุ่ม ได้แก่ 1.น้ำตาลฟรุคโตส(fructose) 2.กลุ่มที่ใช้แอสปาร์แทม 3.กลุ่มที่ใช้ซูคราโลส 4.กลุ่มที่ใช้สเตวิโอไซด์(หญ้าหวาน) 5.กลุ่มที่ใช้อะเซซัลเฟม-เค ร่วมกับแอสปาร์แทม 6.กลุ่มที่ใช้ซูโครสเป็นหลักร่วมกับสารให้ความหวานอื่นๆ   1.น้ำตาลฟรุคโตส(Fructose) เป็นน้ำตาลที่พบได้ในผลไม้และน้ำผึ้งตามธรรมชาติ ให้พลังงานเท่ากับน้ำตาลทรายคือ 4 กิโลแคลอรี่ต่อกรัม แต่น้ำตาลฟรุคโตสมีความหวานมากกว่าน้ำตาลทรายถึงเท่าตัว ดังนั้นจึงสามารถใช้ในปริมาณที่น้อยลงกว่าครึ่งเมื่อต้องการความหวานที่เท่ากัน    2.แอสปาร์แทม(Aspartame) แอสปาร์แทม เป็นผลึกสีขาว ไม่มีกลิ่น ให้ความหวานประมาณ 200 เท่าของน้ำตาลทราย แอสปาร์แทมให้พลังงานเท่ากับน้ำตาลทรายคือ 4 กิโลแคลอรี่ต่อกรัม แต่ใช้เพียงนิดก็หวานมากแล้ว ดังนั้นแอสปาร์แทมจึงให้แคลอรี่ที่น้อยกว่ามากเมื่อผสมลงในอาหาร ตัวอย่างเช่น น้ำอัดลมแคลอรี่ต่ำ ข้อเสียที่สำคัญของแอสปาร์แทมในเรื่องรสชาติคือ แอสปาร์แทมไวต่อความร้อน ดังนั้นเครื่องดื่มที่ผสมแอสปาร์แทมอาจมีรสชาติที่เปลี่ยนไปเมื่อสัมผัสกับความร้อน จึงไม่เหมาะจะนำไปใช้กับเครื่องดื่มหรืออาหารที่ต้องใช้ความร้อนในการปรุง คำเตือนอีกอย่างหนึ่งคือ ไม่เหมาะกับผู้ป่วยเฟนิลคีโตนูเรีย   เพราะว่าใช้แอสปาร์แทมเพียงจำนวนน้อยก็หวานมากแล้ว ดังนั้นผู้ผลิตจึงต้องเติมสารเพิ่มปริมาณ คือ แลคโตส ที่มีความหวานเพียง 0.2 เท่าของน้ำตาลในเปอร์เซ็นต์ที่สูงกว่า แต่ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่ อให้เป็นตัวหลักแค่ต้องการเพิ่มปริมาณบรรจุเท่านั้น แลคโตสนี้อาจมีปัญหาทำให้ท้องอืดได้สำหรับคนที่ไม่มีเอนไซม์ที่ใช้ย่อยแลคโตส   3.ซูคราโลส(Sucralose) ซูคราโลสนี้หวานกว่าน้ำตาลทรายถึง 600 เท่า ข้อดีของซูคราโลสคือ รสชาติ ที่ใกล้เคียงน้ำตาล ไม่มีรสขม และทนต่อความร้อน จึงมีการนำไปใช้ในอาหารหลากหลายชนิด เช่นเดียวกับแอสปาร์แทม เนื่องจากซูคราโลสมีความหวานมากกว่าน้ำตาลทรายถึง 600 เท่า การนำมาใช้จึงอยู่ในปริมาณที่น้อยมากๆ ดังนั้นเพื่อให้มีน้ำหนักเพิ่มจึงผสมกับน้ำตาลกลุ่มน้ำตาลแอลกอฮอล์ ได้แก่ มอลทิทอลและเออริทริทอล ซึ่งสองตัวนี้มีความหวานน้อยกว่าน้ำตาลทรายและให้พลังงานไม่มาก แต่ถ้ารับประทานมากไปอาจกระทบกับระบบทางเดินอาหารทำให้ท้องเสียได้   4.สเตวิโอไซด์(หญ้าหวาน) หญ้าหวาน หรือ ต้นสตีเวีย(Stevia rebaudiana Bertoni) เป็นพืชพันธุ์ตามธรรมชาติ โดยสารที่สกัดออกมาคือ สเตวิโอไซด์ หวานมากกว่าน้ำตาลทราย 300 เท่า ไม่ให้พลังงาน มีความคงตัวที่อุณหภูมิสูง สเตวิโอไซด์ ยังไม่ได้รับการยอมรับจากองค์การอาหารและยาของอเมริกาให้ใช้เป็นสารให้ความหวานแต่อนุญาตให้ใช้ผงแห้งและสารสกัดจากใบในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร   5.ใช้อะเซซัลเฟม-เค ร่วมกับแอสปาร์แทม อะเซซัลเฟม-เค (Acesulfame-K) เป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาลที่หวานกว่าน้ำตาลทรายประมาณ 200 เท่า ข้อดีคือให้รสหวานที่รับรู้รสได้เร็วแต่บางครั้งก็จะมีรสขมเมื่อใช้ในปริมาณสูง ไม่ให้พลังงานและทนความร้อนได้ดี ผู้ผลิตนิยมใช้อะเซซัลเฟม-เคร่วมกับแอสปาร์แทม เพื่อลดจุดด้อยของกันและกัน และเลี่ยงการเกิดรสขมเมื่อใช้ในปริมาณสูง     6.ใช้น้ำตาลทราย(Sucrose) ร่วมกับสารให้ความหวานอื่นๆ กลุ่มนี้เป็นวัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาลที่มีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมแคลอรีมากกว่าใช้ในผู้ป่วยเบาหวาน เพราะส่วนประกอบหลักยังคงเป็นน้ำตาลทรายมากกว่า 90% แต่เพิ่มสารให้ความหวานเข้าไปเพื่อลดปริมาณการใช้ลงมา ดังนั้นรสชาติจะเหมือนน้ำตาลปกติและแต่ค่าพลังงานจะต่ำลงมาเพราะปริมาณการใช้ที่น้อยลง     ---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- น้ำตาลเป็นอาหารคาร์โบไฮเดรตชนิดหนึ่ง เป็นหน่วยย่อยที่เล็กที่สุดของคาร์โบไฮเดรต ชื่อของน้ำตาลมักจะใช้คำลงท้ายว่า “โอส” (“ose”) อาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตเป็นอาหารที่เราทราบกันดีว่าได้แก่อาหารจำพวกแป้งและน้ำตาล คาร์โบไฮเดรตมีรากศัพท์มาจากคำว่า “คาร์บอน”รวมกับ”ไฮเดรท” แปลว่าเป็นสารประกอบที่มีโครงสร้างที่มีน้ำจับอยู่กับทุกๆ อะตอมของคาร์บอน   ---------------------------------------------------------------------------------------------------- วัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาลแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม วัตถุให้ความหวานที่ให้พลังงาน ได้แก่ ฟรุคโตส(น้ำตาลจากผลไม้) มอลทิทอล เออริทริทอลและไซลิทอล สารให้ความหวานกลุ่มนี้ ไม่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักและผู้ป่วยโรคเบาหวาน วัตถุให้ความหวานที่ไม่ให้พลังงานหรือให้พลังงานต่ำ ได้แก่ ซูคราโลส หญ้าหวาน แอสปาร์แทม อะเซซัลเฟม-เค สารให้ความหวานกลุ่มนี้ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักและผู้ป่วยโรคเบาหวาน ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------   ข้อมูล 1.เป็นเบาหวาน เลือกอะไรใส่กาแฟแทนน้ำตาล. รศ.วิมล ศรีสุข คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/thai/knowledgeinfo.php?id=100 2.สารให้ความหวานแทนน้ำตาล ศูนย์วิทยาศาสตร์บริการ http://elib.fda.moph.go.th/library/default.asp?page2=subdetail&id_L1=27&id_L2=15566&id_L3=565

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 134 ฉลากอาหารกับความเข้าใจของผู้บริโภค

“ฉลากอาหาร” เปรียบเสมือนหน้าต่างของผลิตภัณฑ์ที่ทำให้สามารถมองเห็นผลิตภัณฑ์ภายในภาชนะบรรจุได้ โดยเป็นเครื่องมือของผู้ประกอบการในการสื่อสารข้อมูลแก่ผู้บริโภคและเป็นส่วนหนึ่งในการเพิ่มมูลค่าแก่ผลิตภัณฑ์ เป็นเครื่องมือของหน่วยงานรัฐในการติดตามตรวจสอบคุณภาพอาหารและให้ข้อมูลความรู้ที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน อย่างไรก็ตาม ข้อมูลจากการดำเนินงานของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคพบว่า มีการละเมิดสิทธิผู้บริโภคจากกรณีการแสดงฉลากอาหารไม่ถูกต้องอยู่พอสมควร เช่น การไม่แสดงวันผลิต-วันหมดอายุ หรือแสดงแล้วแต่หาไม่เจอ ไม่แสดงชื่อผู้ผลิต-ผู้จำหน่าย การใช้ข้อความกล่าวอ้างคุณค่าให้เข้าใจผิดในสรรพคุณไปจากความเป็นอาหาร และการใช้คำแสดงส่วนประกอบที่ทำให้เข้าใจผิดถึงส่วนประกอบของอาหาร เป็นต้น ซึ่งปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ทำให้เห็นถึงความจำเป็นที่น่าจะต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบฉลากอาหารโดยทำให้เป็นมิตรต่อผู้บริโภคโดยทำให้เห็นชัด น่าอ่าน อ่านง่าย และเข้าใจง่ายมากขึ้น แต่ก่อนที่จะมีการปรับปรุงรูปแบบฉลากอาหารได้จะต้องมีการสำรวจข้อมูลการแสดงฉลากอาหารในปัจจุบันกันเสียก่อน ฉลาดซื้อฉบับนี้จึงได้นำข้อมูลผลการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อฉลากอาหารมาฝากคุณผู้อ่านกัน   ข้อมูลการสำรวจ ฉลาดซื้อได้ร่วมกับโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งกลไกการคุ้มครองความปลอดภัยด้านอาหารโดยผู้บริโภคดำเนินการสำรวจการรับรู้และความเข้าใจของผู้บริโภคที่มีต่อฉลากอาหารในสามประเด็น 1. รูปแบบฉลากโภชนาการ 2. วันผลิต/วันหมดอายุของอาหาร และ 3. ประเด็นการโฆษณาบนฉลากอาหาร การสำรวจนี้ได้รับความร่วมมือในการตอบแบบสอบถามจากผู้บริโภคจำนวน 474 คนในทุกช่วงอายุ คละกลุ่มอาชีพและคละฐานการศึกษาจากแปดจังหวัดในสี่ภูมิภาคคือ กรุงเทพฯ สมุทรสงคราม ขอนแก่น เชียงใหม่ พะเยา สุราษฎร์ธานี สงขลา และสตูล ระหว่างช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนตุลาคม 2554   ผลการสำรวจ 1 การรับรู้ฉลากโภชนาการ ร้อยละ 83.5 ต้องการให้อาหารทุกประเภทต้องแสดงฉลากโภชนาการ ฉลากโภชนาการ คือ การแสดงข้อมูลคุณค่าทางอาหารของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ บนฉลากในรูปของชนิด และปริมาณของสารอาหารรวมไปถึงการใช้ข้อความ กล่าวอ้างทางโภชนาการ เช่น โปรตีนสูง เสริมวิตามินซี เป็นต้น การใช้ฉลากโภชนาการในปัจจุบันอยู่ในลักษณะการแสดงโดยสมัครใจสำหรับอาหารทุกชนิดทั่วไป แต่จะบังคับให้ อาหารที่มีการกล่าวอ้าง ต้องแสดงฉลากโภชนาการ ซึ่งหมายความว่า ไม่ใช่อาหารทุกชนิดต้องมีฉลากโภชนาการ เราถามผู้บริโภคเกี่ยวกับความเข้าใจฉลากโภชนาการ (ข้อมูลแสดงคุณค่าของอาหาร) ในสามรูปแบบคือ แบบการแสดงตัวเลขเป็นร้อยละโดยมีสีเดียวที่ อย. เพิ่งนำมาใช้ (Guideline Daily Amount: GDA)     แบบสีสัญญาณไฟจราจร เขียว เหลือง แดง (Traffic Light Labeling) และ แบบตารางแสดงคุณค่าโภชนาการตามปกติ   ผลการสำรวจพบว่า ผู้บริโภคร้อยละ 49.6 มีความพอใจในฉลากโภชนาการแบบ GDA ขณะที่ความพอใจที่มีต่อฉลากสีสัญญาณไฟจราจรนั้นอยู่ที่ร้อยละ 84.8 และเมื่อถามเปรียบเทียบระหว่างการใช้ฉลากทั้งสองรูปแบบพบว่าร้อยละ 24.3 ชื่นชอบ GDA ร้อยละ 64.8 ชื่นชอบแบบสีสัญญาณไฟจราจร และร้อยละ 5.7 ไม่ชอบทั้งสองแบบ โดยให้ข้อเสนอแนะว่าน่าจะนำทั้งสองรูปแบบมารวมกัน(มีผู้ไม่ตอบในข้อนี้อีกจำนวนร้อยละ 5.3) เมื่อถามว่าถ้ามีการใช้รูปแบบฉลากโภชนาการแบบใหม่ไม่ว่าจะเป็น GDA หรือ สีสัญญาณไฟจราจรแล้วจะต้องใช้รูปแบบฉลากโภชนาการแบบเดิมหรือไม่ ได้รับคำตอบว่าจำเป็น แต่ต้องปรับรูปแบบให้เข้าใจง่ายขึ้นจำนวนร้อยละ 62.2 และมีผู้ที่ตอบว่าไม่จำเป็นจำนวนร้อยละ 33.5 โดยให้เหตุผลสองข้อคือ 1) เพราะไม่เคยอ่านฉลากโภชนาการรูปแบบเดิม จำนวนร้อยละ 67.5 และ 2) เพราะอ่านฉลากโภชนาการแบบเดิมไม่รู้เรื่องจำนวนร้อยละ 32.5 คำถามสุดท้ายในประเด็นนี้ ได้ถามถึงความจำเป็นในการแสดงฉลากโภชนาการในอาหาร พบว่า ร้อยละ 83.5 ต้องการให้อาหารทุกประเภทต้องแสดงฉลากโภชนาการ ร้อยละ 10.3 ให้แสดงเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่กล่าวอ้างคุณค่าทางโภชนาการ และ ร้อยละ 1 ต้องการให้แสดงในผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก โดยที่มีผู้ไม่ตอบในข้อนี้อีกจำนวนร้อยละ 5.7   2 ความเข้าใจเรื่องการโฆษณาบนฉลากอาหาร ร้อยละ 76.8 ตอบว่า โฆษณาบนฉลากมีผลต่อการตัดสินใจซื้อ โดยทั่วไป พรบ. อาหาร พ.ศ. 2522 ได้กำหนดให้ผู้ประกอบการที่ประสงค์จะโฆษณาคุณประโยชน์ของผลิตภัณฑ์อาหารของตนจะต้องขออนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาทุกครั้งแต่สำหรับการโฆษณาบนฉลากอาหารนั้นกลับไม่มีการบังคับทางกฎหมายว่าต้องส่งให้ อย. ตรวจสอบแต่อย่างใด ทำให้ผู้ประกอบการบางส่วนใช้ช่องว่างนี้ในการโฆษณาผลิตภัณฑ์ของตนซึ่งบางครั้งก็เป็นข้อความที่เกินจริง โอ้อวดสรรพคุณ ทำให้เข้าใจผิดไปจากความเป็นอาหาร อีกทั้งยังเป็นการสิ้นเปลืองเนื้อที่บนฉลากทำให้ตัวหนังสือในส่วนอื่น ๆ ของฉลากที่มีความสำคัญมากกว่า เช่น วันผลิต-วันหมดอายุ ตารางโภชนาการ มีขนาดเล็กทำให้ไม่น่าอ่าน ดังนั้นหากมีการควบคุมดูแลด้านฉลากอาหารที่ดี โดยตัดเนื้อหาการโฆษณาที่ไม่จำเป็นเหล่านี้ออกไปก็จะทำให้มีเนื้อที่บนฉลากมากขึ้นเพียงพอที่จะทำให้ฉลากอาหารน่าอ่านและอ่านง่าย   เมื่อส่งผลิตภัณฑ์ให้กับผู้ตอบแบบสอบถามและให้หาโฆษณาบนฉลากอาหาร ร้อยละ 24.5 ตอบว่าไม่มีโฆษณา ขณะที่ร้อยละ 71.3 ตอบว่ามี อย่างไรก็ตาม จากการให้ผู้ตอบแบบสอบถามเขียนคำโฆษณาที่ตนเห็นลงในแบบสอบถามด้วย พบว่า กว่าครึ่งเข้าใจได้ถูกต้องถึงสิ่งที่ตนเขียนมา ขณะที่อีกกลุ่มใหญ่ไม่เข้าใจว่าการโฆษณาบนฉลากอาหารคืออะไร โดยที่กว่าครึ่งของผู้ที่ตอบว่ามีโฆษณาบนฉลากเข้าใจว่าการใช้คำกล่าวอ้างทางโภชนาการตามที่ อย. อนุญาต คือการโฆษณา บ้างคิดว่าชื่ออาหารเป็นโฆษณา และบางส่วนสับสนระหว่างการแสดงส่วนประกอบของอาหารกับการโฆษณา เมื่อถามว่าโฆษณาที่เห็นมีผลต่อการตัดสินใจซื้อหรือไม่ ร้อยละ 76.8 ตอบว่ามี ร้อยละ 18.6 ตอบว่าไม่มีผล และร้อยละ 4.6 ไม่แสดงความคิดเห็น ซึ่งหมายความว่าคำบรรยายต่าง ๆ ที่เห็นบนฉลากไม่ว่าจะเป็นการกล่าวอ้างทางโภชนาการทั้งที่ถูกต้องและไม่ถูกต้อง และทั้งการโฆษณาโดยตรงบนฉลาก มีผลต่อการตัดใจของผู้บริโภคค่อนข้างสูง คำถามสุดท้ายของประเด็นว่าเห็นด้วยกับการมีโฆษณาบนฉลากอาหารหรือไม่ ร้อยละ 69 ตอบว่า เห็นด้วย และ ร้อยละ 26.8 ตอบว่า ไม่เห็นด้วย อย่างไรก็ตามจากเหตุผลของผู้ที่เห็นด้วยที่บอกว่าการโฆษณาทำให้รู้สรรพคุณและส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์นั้นทำให้สามารถเข้าใจได้ว่าผู้ที่ตอบว่าเห็นด้วยบางส่วนนั้นยังคงมีความสับสนและไม่สามารถแยกแยะได้ว่าอะไรคือคำกล่าวอ้างทางโภชนาการที่ อย. อนุญาต และอะไรคือการโฆษณาซึ่งเป็นสิ่งที่มิได้ระบุไว้ให้แสดงตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องฉลาก 3 การรับรู้ของผู้บริโภคที่มีต่อการแสดงวันผลิต-วันหมดอายุ ร้อยละ 49.2 อยากเห็นฉลากอาหารแสดงทั้งวันผลิตและวันหมดอายุ --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- “ในทางกฎหมายคำว่า “วันหมดอายุ” ถือเป็นสัญญาที่ผู้ประกอบการให้กับผู้บริโภค ส่วนคำว่า “ควรบริโภคก่อน” ถือเป็นคำแนะนำของผู้ประกอบการที่มีต่อผู้บริโภค” นายอิฐบูรณ์  อ้นวงษา หัวหน้าศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------   เมื่อถามผู้ตอบแบบสอบถามว่าเห็นวันผลิต-วันหมดอายุของผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในมือหรือไม่ ร้อยละ 57.6 ตอบว่าเห็น ร้อยละ 7.4 ตอบว่า ไม่เห็น ร้อยละ 30.6 ตอบว่า เห็นแต่ใช้เวลาในการหานาน และส่วนที่เหลือไม่แสดงความคิดเห็น ซึ่งสัดส่วนที่ไม่ต่างกันมากของทั้งสามคำตอบและเมื่อรวมผู้ที่ตอบว่าไม่เห็นกับผู้ที่ตอบว่าเห็นแต่ใช้เวลาในการหานานแล้วนั้นสัดส่วนขยับมาเป็นร้อยละ 57.6 ต่อ ร้อยละ 38 สำหรับคำถามที่ว่าพอใจกับการแสดงวันผลิต-วันหมดอายุที่เห็นอยู่แค่ไหน ได้รับคำตอบว่า พอใจ ร้อยละ 52.7 ไม่พอใจ ร้อยละ 42.8 และไม่แสดงความคิดเห็นอีกร้อยละ 4.4 จากการตอบแบบสอบถาม แสดงว่าการแสดงวันผลิต-วันหมดอายุบนบรรจุภัณฑ์ในปัจจุบันค่อนข้างมีปัญหา และควรที่จะมีการปรับปรุงรูปแบบ ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อถามความเข้าใจเรื่องวันหมดอายุว่า คำว่า “วันหมดอายุ” เหมือนหรือต่างอย่างไรกับคำว่า “ควรบริโภคก่อน” พบว่า ร้อยละ 47.3 ตอบว่า เหมือนกัน ร้อยละ 48.1 ตอบว่า ต่างกัน และร้อยละ 4.6 ไม่ตอบ ซึ่งชี้ให้เห็นว่าความเข้าใจเรื่องวันผลิต-วันหมดอายุของผู้บริโภคยังคงเป็นปัญหาและตามมาซึ่งคำถามว่าปัญหานี้เกิดจากอะไร ระหว่าง การใช้คำที่สร้างความสับสนให้เหมือนว่าใช้แทนกันได้ทั้งที่ควรจะมีการบังคับทางกฎหมายต่างกัน หรือความเข้าใจพื้นฐานของผู้บริโภคน้อย หรือ ระบบไม่ต้องการให้คนเข้าใจได้ กันแน่ ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงรูปแบบการแสดงวันผลิต-วันหมดอายุที่อยากเห็น เราได้รับคำตอบว่า ร้อยละ 49.2 อยากเห็นการแสดงทั้งวันผลิตและวันหมดอายุโดยให้มีแต่คำว่า “วันหมดอายุ” เพียงอย่างเดียว โดยไม่ต้องมีคำว่า “ควรบริโภคก่อน” มาเป็นตัวเลือกของผู้ประกอบการ ขณะที่ร้อยละ 29.5 ต้องการแบบเดียวกับข้อแรกแต่ให้เปลี่ยนจากคำว่า “วันหมดอายุ” มาเป็น “ควรบริโภคก่อน” แต่อย่างเดียว ซึ่งจากสัดส่วนที่ออกมาเห็นได้ชัดเจนว่าผู้บริโภคไม่อยากเห็นการแสดงคำที่สร้างความสับสนอย่างคำว่าว่า “วันหมดอายุ” และ “ควรบริโภคก่อน” ไว้ด้วยกันโดยให้เป็นตัวเลือกของผู้ประกอบการ หากแต่ต้องการความชัดเจนอย่างใดอย่างหนึ่งไปเลย --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- ความหมายและความสำคัญของฉลากอาหาร “ฉลากอาหาร” คืออะไร? บางคนตอบว่ากระดาษ/พลาสติกที่มีตัวหนังสือพิมพ์ติดอยู่ข้างขวด บ้างก็ตอบว่าลวดลายและตัวอักษรที่ติดอยู่บนซองขนม และอีกหลายคนตอบว่าข้อความบรรยายสรรพคุณของอาหาร ซึ่งคำตอบของคำถามนี้ คือ ถูกทุกข้อ โดยตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ให้คำนิยามไว้ว่าคือ “รูป รอยประดิษฐ์ เครื่องหมาย หรือข้อความใด ๆ ที่แสดงไว้ที่อาหาร ภาชนะบรรจุอาหารหรือหีบห่อของภาชนะบรรจุอาหาร” และตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 194 พ.ศ. 2543 เรื่องฉลากอาหารได้กำหนดให้อาหารทุกชนิดที่ผู้ผลิตไม่ได้เป็นผู้ขายอาหารนั้นให้กับผู้บริโภคโดยตรงต้องแสดงฉลากบนภาชนะบรรจุ โดยกำหนดให้แสดงข้อมูลที่สามารถแบ่งกลุ่มตามวัตถุประสงค์การแสดงได้เป็น 4 กลุ่มได้แก่ ข้อมูลความปลอดภัย ประกอบด้วย วันที่ผลิต/หมดอายุ วิธีการเก็บรักษา วิธีปรุง และคำเตือนต่างๆ ข้อมูลความคุ้มค่า ประกอบด้วย ชื่อ/ประเภทของอาหาร ส่วนประกอบซึ่งเรียงลำดับตามปริมาณที่ใช้จากมากไปน้อย และปริมาณอาหาร (น้ำหนักหรือปริมาตร) ในภาชนะบรรจุ ข้อมูลเพื่อการโฆษณา ได้แก่ รูปภาพและข้อความกล่าวอ้างต่าง ๆ  และ ข้อมูลเพื่อแสดงความเชื่อมั่น ได้แก่ ยี่ห้ออาหาร ชื่อและที่อยู่ของผู้ผลิต ผู้จำหน่ายหรือผู้นำเข้า เครื่องหมาย อย.  และตราสัญลักษณ์ต่าง ๆ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 119 โด…นัทกันมาหวาน

  ฉบับนี้ขอเกาะกระแส “คริสปี้ครีม ฟีเวอร์” โดนัทยี่ห้อดังจากอเมริกา ที่มาสร้างปรากฏการณ์ มีคนไปต่อแถวรอซื้อยาวเป็นกิโลฯ ทนร้อน ทนเมื่อยตั้งเกือบ 3 ชั่วโมง เพื่อรอซื้อโดนัท (!?) ยังไงก็อย่ามั่วเพลิดเพลินกับรสชาติจนลืมห่วงใยสุขภาพเพราะโดนัทชิ้นหนึ่ง(40 กรัม) ให้พลังงานสูงถึง 168 กิโลแคลอรี อุดมด้วยไขมันและน้ำตาลแบบนี้ถ้ารับประทานมากไปหวาน มันเข้าเลือดแน่ๆ   ฉลาดซื้อส่งทีมงานไปเข้าแถวรอซื้อ คริสปี้ครีม 3 ชั่วโมงและตระเวนซื้อโดนัท จากร้านแฟรนไชส์อื่นอีกหลายร้าน รวม 5 ยี่ห้อ แล้วก็รีบนำส่งสถาบันโภชนาการ ม.มหิดล เพื่อเช็คค่าพลังงานและความหวาน รวมทั้งแอบดูเรื่อง สารกันบูดด้วย เผื่อเอาไว้เป็นคู่มือให้กับคนที่ชอบรับประทานโดนัทแต่ก็ยังห่วงใยสุขภาพ   ฉลาดซื้อทดสอบ โดนัทที่นำมาทดสอบทั้งหมด 9 ตัวอย่าง ประกอบด้วย ดังกิ้นโดนัท รสคลาสสิค เกรซ (โดนัทเคลือบน้ำตาล) และรสดับเบิ้ลช็อค (เนื้อแป้งช็อคโกแลตเคลือบช็อคโกแลต), มิสเตอร์โดนัทรสฮันนี่ดิป (โดนัทเคลือบน้ำตาล) และรสดับเบิ้ลช็อค, คริสปี้ ครีมรสดั้งเดิม (เคลือบน้ำตาล), แดดดี้ โด รสคลาสสิค เกรซ และรสดับเบิ้ลช็อค, และบัพเพิล รสแคลิฟอร์เนียอัลมอนด์ (เคลือบช็อคโกแลตขาวโรยหน้าด้วยอัลมอนด์) และรสช็อคโคโฮลิค (เนื้อแป้งโดนัทใส่ใส้ครีมช็อคโกแลต) มาดูผลทอดสอบกัน1.ค่าพลังงาน ปริมาณพลังงานที่แนะนำให้บริโภคต่อวันสำหรับคนไทยอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไปคือวันละ 2,000 กิโลแคลอรี ฉลาดซื้อขอทดสอบเพื่อดูกันว่าโดนัทรสใดของค่ายใดที่ให้พลังงานสูง-ต่ำ แค่ไหนกันบ้าง ผลการทดสอบในภาพรวมพบว่า   ค่าพลังงานเฉลี่ยของโดนัททุกค่ายอยู่ที่ 420.7 กิโลแคลอรี/100 กรัม ซึ่งเท่ากับ ร้อยละ 21 ของพลังงานที่ควรได้รับต่อวัน   และหากพิจารณาที่หนึ่งหน่วยบริโภคโดยเฉลี่ย 1 ชิ้น = 40 กรัม ค่าพลังงานที่ได้รับจะเท่ากับ 168.3 กิโลแคลอรี่/40 กรัมคิดเป็นร้อยละ 8 ของค่าพลังงานที่ต้องการต่อวัน ซึ่งตัวอย่างที่มีค่าพลังงานต่อชิ้นมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ 1. ดังกิ้นโดนัท รสดับเบิ้ลช็อค (1 ชิ้น หนักประมาณ 60 กรัม) ให้พลังงานอยู่ที่ 247.8 กิโลแคลอรี 2. มิสเตอร์โดนัท รสดับเบิ้ลช็อค (1 ชิ้น หนักประมาณ 50 กรัม) ให้พลังงาน 226.5 กิโลแคลอรี 3. บัพเพิล โดนัท รสช็อคโกโฮลิค (1 ชิ้น หนักประมาณ 50 กรัม) ให้พลังงาน 208 กิโลแคลอรี รู้ผลโดนัทที่มีพลังงานมากไปแล้ว มาดูโดนัทที่ให้พลังงานน้อยกันบ้าง ตัวอย่างโดนัทที่ให้พลังงานต่อชิ้นน้อยที่สุดในตัวอย่างที่เราสุ่มทดสอบครั้งนี้ คือ 1. มิสเตอร์โดนัท รสฮันนี่ดิป (1 ชิ้น หนักประมาณ 30 กรัม) ให้พลังงาน 121.5 กิโลแคลอรี 2. แดดดี้โด รสคลาสสิคเกรซ (1 ชิ้น หนักประมาณ 30 กรัม) ให้พลังงาน 135.3 กิโลแคลอรี 3. คริสปี้ครีม รสออริจินอล (1 ชิ้น หนักประมาณ 40 กรัม) ให้พลังงาน 138.8 กิโลแคลอรี   2.ปริมาณไขมัน ไขมันทำหน้าที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย เป็นแหล่งกรดไขมันที่จำเป็นและเป็นตัวช่วยการดูดซึมของวิตามินที่ละลายในไขมันคือ วิตามินเอ ดี อี และเค ส่วนที่ไม่ดีของไขมันคือถ้าร่างกายได้รับไขมันอิ่มตัวและโคเลสเตอรอลสูงจะเป็นสาเหตุของภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง ซึ่งนำไปสู่โรคหลอดเลือดหัวใจ ข้อมูลทางโภชนาการจากกองโภชนาการ กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า ใน 1 วันไม่ควรได้รับไขมันเกิน 65 กรัม  สำหรับผลการทดสอบไขมันรวม (Total Fat) ในโดนัททั้ง 9 ตัวอย่างพบว่าปริมาณไขมันเฉลี่ยที่หน่วยบริโภค 100 กรัมเท่ากับ 23.4 กรัม คิดเป็นร้อยละ 36 และเมื่อคิดเฉลี่ยต่อหนึ่งหน่วยบริโภคที่ 40 กรัม พบว่ามีปริมาณเท่ากับ 9.8 กรัม/ชิ้น คิดเป็นร้อยละ 15 สำหรับ ปริมาณไขมันสูงสุดต่อ 1 ชิ้น 3 อันดับแรก ได้แก่ 1. มิสเตอร์โดนัท รสดับเบิ้ลช็อค (1 ชิ้น หนักประมาณ 50 กรัม) มีปริมาณไขมัน 13.3 กรัม 2. ดังกิ้นโดนัท รสดับเบิ้ลช็อค (1 ชิ้น หนักประมาณ 60 กรัม) มีปริมาณไขมัน 11.88 กรัม 3. บัพเพิล โดนัท รสแคลิฟอร์เนียอัลมอนด์ (1 ชิ้น หนักประมาณ 50 กรัม) มีปริมาณไขมัน 11.84 กรัม   ส่วน 3 อันดับ ที่มีปริมาณไขมันรวมต่ำสุด ได้แก่ 1. มิสเตอร์โดนัท รสฮันนี่ดิป (1 ชิ้น หนักประมาณ 30 กรัม) มีปริมาณไขมัน 6.2 กรัม2. ดังกิ้นโดนัท รสคลาสสิคเกรซ (1 ชิ้น หนักประมาณ 40 กรัม) มีปริมาณไขมัน 6.7 กรัม3. แดดดี้โด รสคลาสสิคเกรซ (1 ชิ้น หนักประมาณ 30 กรัม) มีปริมาณไขมัน 8.0 กรัม 3.ปริมาณไขมันทรานส์ การบริโภคอาหารที่มีกรดไขมันทรานส์มากเกินไป อาจก่อให้เกิดสภาวะที่ผิดปกติกับร่างกาย เช่น น้ำหนักและไขมันส่วนเกินเพิ่มมากขึ้น มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดหัวใจตีบโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด รวมทั้งเป็นอันตรายต่อตับด้วย   มีข่าวดีจากการทดสอบไขมันทรานส์ เพราะไม่มีตัวอย่างใดที่มีปริมาณไขมันทรานส์สูงเกินว่า 0.5 กรัมต่อหน่วยบริโภค(1 ชิ้น) ซึ่งเป็นมาตรฐานที่องค์การอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริกากำหนดไว้ โดยค่าเฉลี่ยของไขมันทรานส์ที่พบต่อชิ้นอยู่ที่ 0.045 กรัม นอกจากนั้นเกินกว่าครึ่งของตัวอย่างทั้งหมดได้แก่ยี่ห้อคริสปี้ครีม แดดดี้โด และบัพเพิล ยังตรวจไม่พบไขมันทรานส์เลยอีกด้วย 4.ปริมาณน้ำตาล น้ำตาล 1 กรัมให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรี ข้อแนะนำในการรับประทานน้ำตาล คือ จำกัดไว้ที่ 5-10% ของพลังงานที่ได้รับทั้งหมดในหนึ่งวัน ซึ่งตามหลักโภชนาการแนะนำให้กินน้ำตาลในปริมาณน้อยเช่นเดียวกับไขมันและเกลือ สำหรับคนไทยกองโภชนาการแนะนำว่าไม่ควรกินน้ำตาลเกิน 6 ช้อนชาต่อวัน (ราว ๆ 24 กรัม)  ผลการทดสอบน้ำตาลในโดนัทพบว่าระดับน้ำตาลเฉลี่ยจากทั้ง 9 ตัวอย่างเท่ากับ 12.6 กรัม/ 100 กรัม คิดเป็นร้อยละ  52.5 และเท่ากับ 5.5 กรัม/หนึ่งชิ้น (40 กรัม) คิดเป็นร้อยละ 23 ของปริมาณสูงสุดที่ควรบริโภคต่อวัน โดยมีปริมาณน้ำตาลในโดนัทต่อชิ้นสูงสุด 3 อันดับแรกดังนี้   1. ดังกิ้นโดนัท รสดับเบิ้ลช็อค (1 ชิ้น หนักประมาณ 60 กรัม) มีปริมาณน้ำตาล 13.9 กรัม2. มิสเตอร์โดนัท รสดับเบิ้ลช็อค (1 ชิ้น หนักประมาณ 50 กรัม) มีปริมาณน้ำตาล 6.5 กรัม3. แดดดี้โด รสดับเบิ้ลช็อค (1 ชิ้น หนักประมาณ 40 กรัม) มีปริมารน้ำตาล 5.5 กรัม สำหรับปริมาณน้ำตาลต่ำสุด 3 อันดับแรก ได้แก่1. แดดดี้โด รสคลาสสิคเกรซ (1 ชิ้น หนักประมาณ 30 กรัม) มีปริมาณน้ำตาล 3.0 กรัม2. บัพเพิล โดนัท รสแคลิฟอร์เนียอัลมอนด์ (1 ชิ้น หนักประมาณ 40 กรัม) มีปริมาณน้ำตาล 3.4 กรัม3. มิสเตอร์โดนัท รสฮันนี่ดิป (1 ชิ้น หนักประมาณ 30 กรัม) มีปริมาณน้ำตาล 3.5 กรัม   5.สารกันบูดสารกันบูดหรือวัตถุกันเสียทั้ง กรดเบนโซอิค และกรดซอร์บิค ถ้าได้รับในปริมาณไม่มากร่างกายสามารถขับออกเอง แต่หากได้รับในปริมารมากเกินไปก็จะเป็นอันตราย ตั้งแต่ท้องเสีย โรคกระเพาะ ทำร้ายตับและไต และอาจรุนแรงถึงขั้นเป็นอัมพาต  จากการทดสอบถึงแม้จะพบสารกันบูดชนิดกรดเบนโซอิคในโดนัทกว่า 5 ตัวอย่างจาก 9 ตัวอย่างที่ทดสอบแต่ปริมาณที่พบอยู่ในเกณฑ์ที่น้อยมากจนไม่ก่อให้เกิดอันตราย ส่วนสารกันบูดชนิดกรดซอร์บิคนั้นพบเพียงแค่ตัวอย่างเดียวและตัวอย่างที่พบก็มีปริมาณที่ตรวจพบน้อยมากจนถึงน้อยที่สุด ดังนั้นจึงเป็นอีกหนึ่งข่าวดีของคอโดนัทที่อย่างน้อยก็ไม่ต้องกังวลเรื่องสารกันบูด   สรุปจากผลการทดสอบ โดนัทหนึ่งชิ้นที่น้ำหนักประมาณ 40 กรัม จะให้พลังงาน 168.3 กิโลแคลอรี่ คิดเป็นร้อยละ 8 ของความต้องการพลังงานต่อวัน ไขมัน 9.8 กรัม คิดเป็นร้อยละ 15 ของความต้องการไขมันต่อวัน และน้ำตาล 5.5 กรัม คิดเป็นร้อยละ 23 ของปริมาณน้ำตาลที่แนะนำให้บริโภคได้สูงสุดต่อวัน   ฉลาดซื้อแนะนำนักโภชนาการจัดให้โดนัทอยู่ในกลุ่มอาหารที่ให้พลังงานสูง หากรับประทานมากเกินไป จะทำให้อ้วนและเสี่ยงต่อการมีไขมันในเส้นเลือดสูง รวมถึงโรคอื่นๆ ที่จะตามมาเช่น โรคหัวใจ เบาหวาน เพราะส่วนประกอบหลักในโดนัทคือ คาร์โบไฮเดรตและไขมันจาก แป้ง นม เนย และน้ำตาล นอกจากนี้ยังมีไขมันจากน้ำมันที่ใช้ทอดโดนัทอีกต่างหาก ดังนั้นจึงควรอร่อยกันในปริมาณน้อย และนานๆ ครั้ง อย่ารับประทานทุกวัน -----------------------------------------------------------------------------------------------------   กาลครั้งหนึ่ง...โดนัท ว่ากันว่า โดนัท เป็นสูตรขนมหวานดั้งเดิมของชาวดัตช์ ซึ่งมีลักษณะเป็นขนมปังที่ทอดในน้ำมันมีชื่อเรียกว่า Olykoek  (เป็นภาษาดัตช์ที่ตรงกับภาษาอังกฤษว่า oil cake หรือ เค้กที่ทอดในน้ำมันหรือไขมัน) ช่วงปี ค.ศ. 1800 ชาวอเมริกันก็ได้รู้จักโดนัทจากชาวดัตช์ที่อพยพเข้ามา แม้ในช่วงแรกจะมีรูปร่างเป็นแค่ขนมปังก้อนธรรมดา   บ้างก็ว่าเป็นแป้งที่มีลักษณะเป็นเกลียวๆ เพราะเกิดจากการบิดฉีกแป้งโดลงไปทอด ซึ่งก็เป็นที่มาของคำว่าโดนัท ที่เพี้ยนมาจากคำว่า ว่า“โดน็อต” (dough knots) จากลักษณะแป้งที่เป็นเกลียวๆ คล้ายน็อตนี่แหละ บางแหล่งข้อมูลก็บอกว่าคำว่าโดนัทมาจากคำง่ายๆ อย่าง “dough nuts” ซึ่งหมายถึงแป้งโดที่มีการเติมถั่วลงไปนั่นเอง จนในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ร้านโดนัทแบบแฟรนไชส์ก็เกิดขึ้น โดยมีการใช้เครื่องจักรมาช่วยในการผลิตโดนัท เพื่อรองรับความต้องการที่มีมากขึ้น   ทำไมโดนัทต้องมีรู แฮนสัน เกรกอรี (Hansen Gregory) ได้รับการบันทึกว่าเป็นคนแรกของโลกที่ทำให้โดนัทมีรูตรงกลาง เรื่องเกิดขึ้นในปี1847 เมื่อเขาใช้กระปุกพริกไทยมากดแป้งโดนัทให้เป็นรูตรงกลางก่อนจะนำไปทอด เพื่อจะแก้ปัญหาแป้งตรงกลางไม่สุก และขยายพื้นที่แป้งเพื่อเวลาทอดจะได้ไม่อมน้ำมัน ซึ่งใครที่ได้กินโดนัทมีรูของ แฮนสัน เกรกอรี ต่างก็ชื่นชอบชื่นชมเป็นเสียงเดียวกัน จนในที่สุดโดนัทมีรูก็เป็นที่นิยมและยอมรับไปทั่วอเมริกา  คริสปี้ครีม ไม่ได้ฮิต ทุกที่กระแสการต่อแถวยาวเป็นกิโลฯ เพื่อรอซื้อโดนัท “คริสปี้ครีม” ไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในบ้านเราเท่านั้น แต่หลายๆ ประเทศที่เจ้าโดนัทสัญชาติอเมริกันที่มีอายุร่วม 70 ปีร้านนี้ไปเปิด ก็เกิดกระแสเข้าแถวรอเหมือนบ้านเรา เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี แต่ก็มีอีกหลายประเทศที่คริสปี้ครีมไม่ได้รับความนิยม ทั้งใน ฮ่องกง ออสเตรเลีย หรือแม้แต่ในอเมริกาบ้านเกิด สาเหตุมาจากการขยายสาขาที่เร็วและมากเกินไป รวมทั้งการที่คนเริ่มหันมาห่วงใยเรื่องสุขภาพกันมากขึ้น โดนัทจึงถูกเมินจากคนรักสุขภาพทำให้ร้านคริสปี้ครีมจึงต้องปิดตัวลงไปหลายสาขาในเวลาไม่กี่ปี     ตารางแสดงผลทดสอบคุณค่าทางโภชนาการในโดนัท ชื่อตัวอย่าง ราคา / ชิ้น (บาท) น้ำหนัก / 1 ชิ้น (โดยประมาณ) ผลทดสอบ / 100 กรัม ผลทดสอบเทียบ / 1 ชิ้น พลังงาน (กิโลแคลอรี) ไขมัน (กรัม) ไขมันทรานส์ (กรัม) น้ำตาล(กรัม) เบนโซอิค(มิลลิกรัม/กิโลกรัม) ซอร์บิค(มิลลิกรัม/กิโลกรัม) พลังงาน (กิโลแคลอรี) ไขมัน (กรัม) ไขมันทรานส์ (กรัม) น้ำตาล(กรัม) เบนโซอิค(มิลลิกรัม/กิโลกรัม) ซอร์บิค(มิลลิกรัม/กิโลกรัม) ดังกิ้น โดนัท คลาสสิค เกรซ 22 40 ก. 369 16.8 0.07 11.9 ไม่พบ ไม่พบ 147.6 6.7 0.03 4.7 ไม่พบ ไม่พบ ดังกิ้น โดนัท ดับเบิลช็อค 22 60 ก. 413 19.8 0.11 23.6 4.12 5.88 247.8 11.88 0.06 13.9 2.4 3.4 มิสเตอร์ โดนัท ฮันนี่ ดิป 10 30 ก. 405 20.7 0.09 11.6 36.24 ไม่พบ 121.5 6.2 0.03 3.5 10.9 ไม่พบ มิสเตอร์ โดนัท ดับเบิลช็อค 12 50 ก. 453 26.6 0.12 13.0 ไม่พบ ไม่พบ 226.5 13.3 0.06 6.5 ไม่พบ ไม่พบ ครีสปี้ ครีม ออริจินัล 27 40 ก. 347 21.0 0 12.4 ไม่พบ ไม่พบ 138.8 8.4 0 4.9 ไม่พบ ไม่พบ แดดดี้ โด คลาสสิค เกรซ 22 30 ก. 451 26.4 0 9.8 6.54 ไม่พบ 135.3 8.0 0 3.0 2.0 ไม่พบ แดดดี้ โด ดับเบิลช็อค 22 40 ก. 460 26.1 0 13.7 ไม่พบ ไม่พบ 184 10.44 0 5.5 ไม่พบ ไม่พบ บัพเพิล โดนัท แคลิฟอร์เนีย อัลม่อน 26 40 ก. 473 29.6 0 8.4 5.02 ไม่พบ 189.2 11.84 0 3.4 2.0 ไม่พบ บัพเพิล โดนัท ช็อคโคโฮลิค 26 50 ก. 416 23.5 0 9.0 13.70 ไม่พบ 208 11.75 0 4.5 6.8 ไม่พบ รายงานผลเฉพาะที่ส่งตรวจเท่านั้นทดสอบโดย : สถาบันโภชนาการ มหาลัยมหิดล   เปรียบเทียบพลังงานของโดนัทที่ทดสอบกับอาหารชนิดต่าง ๆ ขนิดของอาหาร พลังงาน (กิโลแคลอรี/ 100 กรัม) ไขมัน (กรัม) กลุ่มของหวาน เค้กปอนด์ โดนัท ฟรุ้ตเค้ก คุกกี้เนย บราวนี่ ไอศกรีมวานิลา 2 ก้อน ฝอยทอง ทองหยอด ขนมชั้น ลูกชุบ วุ้นกะทิ   473 420 380 458 485 280 423 337 273 268 133   29.5 23.4 15.3 17.0 31.5 ไม่มีข้อมูล 25.8 16.4 8.2 8.2 5.4

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 114 เฟรนช์ฟราย จานด่วน อันตราย

  เฟรนช์ฟราย ของอร่อยที่มากับความน่ากลัว (รึเปล่า) หากพูดถึงร้านอาหารจานด่วนหรือร้านฟาสต์ฟู้ด ผมมั่นใจได้ว่าเฟรนช์ฟรายจะมาเป็นลำดับต้น ๆ ของรายการอาหารในร้านอาหารจานด่วนที่ท่านผู้อ่านจะนึกถึง เฟร้นช์ฟรายหรือมันฝรั่งแท่งทอดมีต้นกำเนิดมาจากประเทศเบลเยียมในปี ค.ศ. 1680 ภายหลังได้แพร่กระจายไปหลายประเทศในยุโรปจนมาถึงประเทศสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1856 โดยพ่อครัวชาวฝรั่งเศสท่านหนึ่งทำอาหารชนิดนี้และนำไปเสิร์ฟให้กับประธานาธิบดีโธมัส เจฟเฟอร์สัน และได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในประเทศสหรัฐอเมริกาในเวลาต่อมา ในชื่อสั้น ๆ ว่า ฟราย (Fries) และกลายเป็นรายการอาหารหลักในร้านฟาสต์ฟู้ด จัดว่าเป็นหนึ่งในอาหารที่ทำกำไรได้มากที่สุดของร้านอาหารจานด่วนต่างๆ ทั่วโลกรวมไปถึงประเทศไทย   เพื่อทดสอบความปลอดภัยของเฟรนช์ฟรายที่บริโภคกันอยู่ในปัจจุบัน ทางโครงการพัฒนากลไกการ เฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารของผู้บริโภคจึงได้เก็บตัวอย่างเฟรนช์ฟราย จำนวน 30 ตัวอย่าง ในการเก็บตัวอย่างจำนวน 3 ครั้ง ครั้งแรกเดือนพฤศจิกายน 2552 เก็บตัวอย่างจากร้านอาหารจานด่วน หรือฟาสต์ฟู้ดเฟรนไชส์ใหญ่ จำนวน 6 ยี่ห้อ ได้แก่ เคเอฟซี แมคโดนัลด์ เชสเตอร์กริลล์ เบอร์เกอร์คิง เอแอนด์ดับบลิว และมอสเบอร์เกอร์ ในกรุงเทพมหานคร กับ ร้านเคเอฟซี จำนวน 2 สาขาในจังหวัดสมุทรสงคราม นอกจากนี้ยังได้เก็บตัวอย่างเฟรนช์ฟรายจากร้านอาหารจานด่วนขนาดเล็ก อีก 2 ร้าน คือร้านยูเฟรนและร้านอีสานคลาสสิคในจังหวัดสมุทรสงคราม การเก็บตัวอย่างครั้งที่ 2 ได้ดำเนินการเก็บตัวอย่างเมื่อเดือนมีนาคม 2553 จากร้านอาหารจานด่วนเฟรนไชส์ขนาดใหญ่ จำนวน 4 ยี่ห้อ ได้แก่ เคเอฟซี แมคโดนัลด์ เชสเตอร์กริลล์ และเบอร์เกอร์คิง ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร กับ ร้านเคเอฟซี จำนวน 2 สาขาในจังหวัดสมุทรสงคราม การเก็บตัวอย่างครั้งที่ 3 เก็บตัวอย่างซ้ำของครั้งที่ 1 และ 2 ในเดือนเมษายน 2553 ดำเนินการเก็บตัวอย่างจากร้านอาหารจานด่วนเฟรนไชส์ขนาดใหญ่จำนวน 6 ยี่ห้อที่เก็บเมื่อการเก็บตัวอย่างครั้งแรกเดือนพฤศจิกายน 2552 รวม 9 ตัวอย่าง ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และตัวอย่างจากร้านเคเอฟซีอีก 2 สาขา จำนวน 4 ตัวอย่าง กับตัวอย่างจากร้านยูเฟรน และร้านทีสเต็ก รวม 4 ตัวอย่าง ในจังหวัดสมุทรสงคราม โดยตรวจหาปริมาณเกลือ (Salt) ไขมันทรานส์ (Trans fat) และค่าของกรด (Acid Value) ผลการทดสอบ(3 ครั้ง) พบว่า• เกลือหรือโซเดียมยังสูง...น่าห่วงการทดสอบปริมาณเกลือหรือโซเดียมในเฟรนช์ฟรายขนาดใหญ่ที่เก็บเมื่อเดือนมีนาคม 2553 นั้นทั้ง 6 ตัวอย่างของเฟรนช์ฟรายที่ทดสอบ มีปริมาณเกลือในระดับที่สูงและจัดว่ามีความเสี่ยงที่อาจจะก่อให้เกิดอันตรายต่อไตได้หากมีการบริโภคติดต่อกันในระยะยาว โดยมีปริมาณเฉลี่ยอยู่ที่ 1.48 กรัม/100 กรัม เทียบน้ำหนักต่อห่อของเฟรนช์ฟรายจะพบว่า 1 ห่อมีน้ำหนักอยู่ที่ 150 – 200 กรัม ซึ่งหากใช้ปริมาณเฉลี่ยที่ตรวจพบเป็นฐานคิดจะพบว่าในการบริโภคเฟรนช์ฟราย 1 ห่อจะได้รับเกลือเข้าร่างกายประมาณ 2.2 กรัม – 2-9 กรัม/หน่วยบริโภค ซึ่งเกือบจะเทียบเท่าหรือสูงกว่าปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคต่อวันสำหรับคนไทย(Thai RDI) ที่ระบุไว้ว่าควรบริโภคโซเดียมน้อยกว่า 2,400 มิลลิกรัมหรือ 2.4 กรัมต่อวัน   • ไขมันทรานส์ ต่ำกว่าเกณฑ์เป็นอันตรายการทดสอบไขมันทรานส์ (Trans fat) ที่เป็นตัวเพิ่มระดับโคเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL: low-density lipoprotein) ในเลือดและลดระดับโคเลสเตอรอลชนิดดี (HDL: high-density lipoprotein) ในเลือด อันก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดนั้น พบว่าอยู่ในระดับที่ปลอดภัยในการบริโภค โดยพบไขมันทรานส์ในทั้ง 10 ตัวอย่างที่สุ่มตรวจในการเก็บตัวอย่างเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2552 ด้วยอัตราเฉลี่ย เท่ากับ 0.09 กรัม/100 กรัม หรือเท่ากับ 0.14 – 0.18 กรัม/หน่วยบริโภคที่ 150 – 200 กรัม ในการเก็บตัวอย่างครั้งที่ 2 เมื่อเดือนมีนาคม 2553 พบไขมันทรานส์ในตัวอย่างจำนวน 5 จาก 6 ตัวอย่างที่ทดสอบด้วยอัตราเฉลี่ยเท่ากับ 0.04 กรัม/100 กรัม หรือเท่ากับ 0.06 – 0.08 กรัม/หน่วยบริโภค 150 – 200 กรัมซึ่งค่าเฉลี่ยของไขมันทรานส์ที่พบในการทดสอบทั้งสองครั้งนั้นต่ำกว่าค่ามาตรฐานการบริโภคไขมันทรานส์ที่องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริการแนะนำให้บริโภคไม่เกิน 0.7 กรัม/หน่วยบริโภคอยู่อย่างน้อยกว่า 3 เท่า     • น้ำมันทอดซ้ำ ยังเข้าข่ายเฝ้าระวังการทดสอบค่าของกรด (Acid Value) [จำนวนมิลลิกรัมของโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ ที่ทำปฏิกิริยาเป็นกลาง (Neutralize) พอดีกับกรดไขมันอิสระที่มีอยู่ในน้ำมันหรือไขมัน 1 กรัม] ซึ่งค่าของกรดจะเป็นเครื่องชี้วัดคุณภาพของน้ำมันที่ใช้ในการทอดอาหาร โดยหากค่าของกรดต่ำหมายความว่าน้ำมันที่ใช้มีคุณภาพดีและหากค่าของกรดสูงหมายความว่าน้ำมันที่ใช้ผ่านการใช้ซ้ำมาแล้วหลายครั้ง จากการทดสอบพบว่า มีค่าเฉลี่ยของค่าของกรดจากการทดสอบครั้งที่ 3 เดือนเมษายน 2553 เท่ากับ 2.06 มิลลิกรัมโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ต่อน้ำมัน 1 กรัม (mgKOH/g oil) โดยมีตัวอย่างจำนวน 2 ตัวอย่าง จาก 15 ตัวอย่างส่งตรวจ ที่พบค่าของกรดสูงกว่า 3 มิลลิกรัมโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ต่อน้ำมัน 1 กรัม (mgKOH/g oil) [อ้างอิงโดยอนุโลมจากค่ามาตรฐานตามกฎหมายสาธารณสุขด้านอาหารของประเทศญี่ปุ่น (Japan Food Sanitation Act) เรื่อง น้ำมันในอาหารซึ่งสกัดออกจากอาหารของบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป]       ได้แก่ ตัวอย่างจากร้าน เคเอฟซี สาขาเซ็นทรัลลาดพร้าวที่ปริมาณ 5.44 มิลลิกรัมโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ต่อน้ำมัน 1 กรัม (mgKOH/g oil) และตัวอย่างจากร้านเบอร์เกอร์คิง สาขามาบุญครอง ที่ปริมาณ 4.47 มิลลิกรัมโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ต่อน้ำมัน 1 กรัม (mgKOH/g oil) นอกจากนั้นยังมีตัวอย่างอีก 3 ตัวอย่างที่มีปริมาณค่าของกรดใกล้เคียงกับมาตรฐาน (สูงกว่า 2 แต่ไม่ถึง 3 mgKOH/g oil โดยอ้างอิงเกณฑ์พึงระวังจากมาตรฐานกลางหรือโคเด็กซ์ - Codex Commodity Standard) คือตัวอย่างจากร้านแมคโดนัลด์ สาขาเซ็นทรัลลาดพร้าว ที่ปริมาณ 2.52 มิลลิกรัมโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ต่อน้ำมัน 1 กรัม (mgKOH/g oil) ในการเก็บตัวอย่างเดือนมีนาคม 2553 ตัวอย่างจากร้านเคเอฟซี สาขาเซ็นเตอร์วัน อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ที่ปริมาณ 2.3 มิลลิกรัมโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ต่อน้ำมัน 1 กรัม (mgKOH/g oil) และ ตัวอย่างจากร้านแมคโดนัลด์ สาขาเซ็นเตอร์วัน อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ที่ปริมาณ 2.22 มิลลิกรัมโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ต่อน้ำมัน 1 กรัม (mgKOH/g oil) ในการเก็บตัวอย่างเดือนพฤศจิกายน 2552         บริโภคแต่น้อย เพื่อสุขภาพที่ดีเมื่อดูภาพรวมหลังการทดสอบ การบริโภคเฟรนช์ฟรายขนาดใหญ่อย่างต่อเนื่อง จะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคไตอันเนื่องมาจากได้รับโซเดียมเกินความต้องการของร่างกาย นอกจากนี้ยังเพิ่มความเสี่ยงจากการเป็นโรคมะเร็ง ความดันโลหิต และหลอดเลือดหัวใจอันเนื่องมาจากการบริโภคน้ำมันทอดซ้ำ แต่ถ้ายังรู้สึกว่า ชีวิตจะไร้สีสันไปสักนิดหากงดบริโภคไปเลย ก็มีข้อแนะนำดังนี้  • ควรหลีกเลี่ยงการบริโภคเฟรนช์ฟรายที่ขายในร้านอาหารจานด่วนทั้งหลาย โดยเฉพาะเฟรนช์ฟรายขนาดใหญ่ เพราะโอกาสที่จะกินให้หมดเนื่องจากเสียดายมีสูง • หากจะบริโภคจริงๆ ก็เลือกขนาดเล็ก กินให้น้อยและไม่ควรบริโภคติดต่อกันเป็นประจำ ถ้าเป็นไปได้ก็ขอให้เจ้าของร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดเปลี่ยนน้ำมันที่ใช้ทอดอาหารในร้านบ่อยๆ และใส่เกลือลงในเฟรนช์ฟรายให้น้อยลง • ทำกินเองที่บ้านก็ดีนะครับ เพราะสามารถควบคุมปริมาณเกลือที่จะใช้และอุณหภูมิในการทอดและคุณภาพของน้ำมันที่ใช้ทอดได้------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------  “น้ำมันทอดซ้ำ” น้ำมันทอดซ้ำ ถือเป็นภัยใกล้ตัวคนไทย เพราะบ้านเรามีพวกอาหารทอดๆ ขายเยอะแยะเต็มไปหมด น้ำมันทอดซ้ำก็คือน้ำมันที่ผ่านการทอดมาหลายครั้งจนเสื่อมคุณภาพและเกิดการแตกตัวเป็นสารโพลาร์ ซึ่งทำให้น้ำมันเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล มีกลิ่นเหม็นหืน และเป็นต้นเหตุทำให้เกิดมะเร็งในกระเพาะอาหาร ทำให้ตับเสื่อม นอกจานี้ยังก่อให้เกิดอนุมูลอิสระ ทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด วิธีที่จะเลี่ยงภัยเสี่ยงจากน้ำมันทอดซ้ำ ก็ต้องพยายามสังเกตน้ำมันที่ร้านค้านั้นใช้ ต้องไม่มีกลิ่นเหม็นหืน หรือมีสีดำคล้ำ เวลาทอดต้องไม่มีฟองกับควันมากเกินไป เพราะนั้นแสดงว่าน้ำมันใช้มานาน ส่วนใครที่ทำกับข้าวกินเองที่บ้าน มีหลายวิธีหลีกหนีจากภัยน้ำมันทอดซ้ำ เช่น ไม่ควรใช้น้ำมันทอดอาหารซ้ำเกิน 2 ครั้ง หรือหากจำเป็นต้องใช้จริงๆ ให้เทน้ำมันเก่าทิ้ง 1 ใน 3 แล้วเติมน้ำมันใหม่ลงไปแทน ไม่ควรทอดไฟแรงเกินไป อุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ที่ประมาณ 160 – 180 องศาเซลเซียส หรือซับน้ำส่วนที่เกินบริเวณผิวหน้าอาหารดิบก่อนทอด ก็ช่วยชะลอการเสื่อมสลายตัวของน้ำมันได้ เฟรนช์ฟราย จานด่วน อันตราย!โดย นายพชร แกล้วกล้าผู้ประสานงานโครงการพัฒนากลไกการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารของผู้บริโภค

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 112-113 กุ้งแห้ง แดงนี้อาจมีปัญหา

เมนูยอดฮิตอย่าง ส้มตำ ผัดไทยและยำรสเด็ด กุ้งแห้งตัวแดงๆ นี้ถือเป็นส่วนประกอบที่ขาดไม่ได้เชียว เพราะมันทั้งช่วยเพิ่มรสชาติและสีสันให้อาหารชวนรับประทานมากยิ่งนัก กุ้งแห้งที่เรารับประทานกันทุกวันนี้มีหลายไซด์หลายราคา เกรดดีเกรดไม่ดี ก็แล้วแต่กำลังทรัพย์ ยิ่งกุ้งตัวใหญ่อ้วนท้วนสมบูรณ์ราคาก็จะสูงตามไปด้วย กุ้งแห้งที่ขายกันอยู่ในตลาดนั้นมีราคาตั้งแต่กิโลกรัมละร้อยกว่าบาทไปจนถึงพันบาท ปัจจัยในการซื้อไม่เพียงแค่เรื่องราคา ขนาด ความสะอาดและแหล่งผลิตแล้ว เราต้องไม่มองข้ามเรื่อง “สี” นะครับเพราะกุ้งแห้งที่ดีไม่ควรผสมสีใดๆ ลงไปทั้งสิ้น ผลการทดสอบที่นำมาเสนอนี้เป็นการเก็บตัวอย่างอาหารครั้งที่ 3 ของโครงการพัฒนากลไกการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารของผู้บริโภคเช่นเคยครับ มีจำนวนตัวอย่างที่เก็บทั้งสิ้นจำนวน 8 ตัวอย่าง เมื่อเดือนมกราคม 2553 จากพื้นที่ดำเนินงานโครงการ ใน 8 จังหวัดจาก 4 ภูมิภาค ดังนี้ ภาคกลาง ได้แก่ กรุงเทพฯ และจังหวัดสมุทรสงคราม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดขอนแก่นและจังหวัดมหาสารคาม ภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดพะเยา และภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดสงขลาและจังหวัดสตูล กุ้งแห้งที่นำมาทดสอบเป็นกุ้งแห้งขนาดเล็กไม่แกะเปลือกสำหรับใช้ประกอบอาหาร และมีสิ่งที่ต้องการทดสอบคือตรวจหาสิ่งปนเปื้อนในอาหาร 3 ชนิดได้แก่ สารพิษจากเชื้อรา-อะฟลาทอกซิน สีปรุงแต่งอาหาร และสารเคมีทางการเกษตรกลุ่มไพรีทอยด์   ผลการทดสอบ - ข่าวดี ไม่พบการปนเปื้อนของสารพิษจากเชื้อรา-อะฟลาทอกซินในทุกตัวอย่างที่ทดสอบ (8 ตัวอย่าง) - ข่าวร้าย พบสีสังเคราะห์ในตัวอย่างจำนวน 2 ตัวอย่าง จาก 8 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 25 ของตัวอย่างทั้งหมดที่เก็บ โดยตัวอย่างที่เก็บจากร้านเจ๊รัตนา ในตลาดสดจังหวัดมหาสารคามพบสีตระกูลสีส้ม ซึ่งไม่ใช่สีสังเคราะห์ที่กฎหมายอนุญาตให้ใส่ในอาหาร และตัวอย่างที่เก็บจากตลาดสดจังหวัดพะเยา พบสีสังเคราะห์ชนิดสีแดง-ปองโซ 4 อาร์ และชนิดสีเหลือง-ซันเซ็ตเยลโลว์ เอฟซีเอฟ อันนี้อนุญาตให้ใช้กับอาหารแต่ไม่อนุญาตในกุ้งแห้งครับ   - พบการปนเปื้อนของสารเคมีทางการเกษตรกลุ่มไพรีทอยด์ในตัวอย่างจำนวน 4 ตัวอย่างจาก 8 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 50 ของตัวอย่างทั้งหมดที่เก็บ คือ 1. กุ้งแห้งใหญ่ ยี่ห้อ BDMP ของบริษัทบางกอกดีไฮเดรทมารีนโปรดักส์ จำกัด เก็บตัวอย่างจากห้างสยามพารากอน กรุงเทพฯ พบแลมบ์ดาไซแฮโลทริน (Lambda cyhalothrin )ที่ปริมาณ 0.098 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และพบไซเปอร์เมทริน (cypermethrin) ที่ปริมาณ 0.131 มิลลิกรัม/กิโลกรัม2. กุ้งแห้งจากร้านเจ๊ดม ณ ตลาดเทศบาลเมืองสมุทรสงครามพบแลมบ์ดาไซแฮโลทริน (Lambda cyhalothrin ) ที่ปริมาณ 0.052 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และพบไซเปอร์เมทริน (cypermethrin) ที่ปริมาณ 0.235 มิลลิกรัม/กิโลกรัม3. กุ้งแห้งที่เก็บตัวอย่างจากตลาดเมืองใหม่ จังหวัดเชียงใหม่พบแลมบ์ดาไซแฮโลทริน (Lambda cyhalothrin ) ที่ปริมาณ 0.031 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และพบไซเปอร์เมทริน (cypermethrin) ที่ปริมาณ 0.061 มิลลิกรัม/กิโลกรัม 4. กุ้งแห้งนำเข้าจากประเทศจีนที่เก็บตัวอย่างจากตลาดสดจังหวัดพะเยา พบแลมบ์ดาไซแฮโลทริน (Lambda cyhalothrin ) ที่ปริมาณ 0.048 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และพบไซเปอร์เมทริน (cypermethrin) ที่ปริมาณ 0.33 มิลลิกรัม/กิโลกรัม   ข้อสังเกต• ตัวอย่างที่เก็บจากตลาดสดจังหวัดพะเยา พบการปนเปื้อนทั้งสีสังเคราะห์สีแดงและสีเหลืองและพบการปนเปื้อนของสารเคมีทางการเกษตรกลุ่มไพรีทอยด์ (ยาฆ่าแมลง) • ผลิตภัณฑ์ที่ทำการทดสอบกว่าร้อยละ 90 ไม่ระบุยี่ห้อ ไม่ทราบวันผลิตและวันหมดอายุ และไม่ทราบผู้ผลิต ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98 (พ.ศ.2529) เรื่อง มาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน ข้อ 4 (2) ระบุว่าให้พบการปนเปื้อนของ อฟลาทอกซิน ได้ไม่เกิน 20 ไมโครกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม สาระน่ารู้เกี่ยวกับสิ่งปนเปื้อนที่พบในกุ้งแห้ง สีผสมอาหาร นิยมใส่ในอาหารเพื่อทำให้อาหารมีสีสันสดใสดึงดูดใจให้รู้สึกอยากรับประทาน ซึ่งสีที่ใส่ในอาหารมีทั้งสีจากธรรมชาติและสีที่สังเคราะห์ขึ้นมา แน่นอนสีผสมอาหารไม่มีคุณค่าทางอาหารแถมถ้าสะสมอยู่ในร่างกายในปริมาณมากๆ ก็อาจเป็นอันตรายต่อตัวเราได้ โดยเฉพาะกับระบบการทำงานของกระเพาะอาหาร เพราะสีผสมอาหารจะเข้าไปเคลือบกระเพาะอาหารการดูดซึมสารอาหารก็จะมีปัญหา และอาจลุกลามไปกระทบต่อการทำงานของไตด้วย สำหรับวิธีง่ายๆ เพื่อจะดูว่ากุ้งแห้งที่เราจะซื้อใส่สีหรือเปล่า แม่ค้าอาหารทะเลแห้งจากตลาดมหาชัยแนะนำว่าให้ดูที่ท้องกุ้ง ถ้ากุ้งแห้งไม่ใส่สีท้องกุ้งจะขาว แต่ถ้าเกิดเป็นสีแดงหรือส้มก็ให้สงสัยได้เลยว่าใส่สี สารเคมีทางการเกษตรกลุ่มไพรีทอยด์ เป็นสารเคมีในกลุ่มยาจำกัดแมลงซึ่งสารพิษชนิดนี้จะทำอันตรายกับคนเราไม่มาก แต่ก็ไม่ควรให้ร่างกายสัมผัสหรือหายใจเข้าไป ยิ่งถ้าหากเข้าสู่ร่างกายโดยการดื่มกินเข้าไปก็ต้องระวัง โดยเฉพาะคนที่เป็นและเคยเป็นโรคหอบหืด เพราะจะทำให้อาการหอบหืดปรากฏขึ้นมาได้ อาการเบื้องต้นก็มีทั้ง คลื่นไส้ อาเจียน ไปจนถึงชีพจรเต้นช้า หายใจติดขัด ผิวหนังซีด เหงื่อออก กล้ามเนื้อกระตุก ซึ่งเหตุผลที่สารเคมีกำจัดศัตรูพืชมาปนเปื้อนอยู่ในกุ้งแห้งก็เพราะพ่อค้า-แม่ค้าบางคนนำเจ้าสารเคมีดังกล่าวมาฉีดลงบนกุ้งแห้งเพราะไม่อยากให้มีแมลงวันมาตอมกลัวจะดูไม่ดีลูกค้าไม่มาซื้อ อะฟลาทอกซิน เป็นสารพิษที่เกิดจากเชื้อราซึ่งมักเกิดกับพืชตระกูลถั่ว ข้าว และอาหารแห้งต่างๆ โดยเฉพาะยิ่งเมื่ออยู่ในสภาพอาการที่ร้อนชื้น สำหรับพิษของอะฟลาทอกซินจะไปทำอันตรายกับตับ คือทำให้เกิดโรคต่างๆ ที่เกี่ยวกับตับ ไม่ว่าจะเป็นมะเร็งตับ ตับอักเสบ ตับแข็ง รวมทั้งอาจทำให้เกิดอาการสมองอักเสบ วิธีหลีกเลี่ยงสารอะฟลาทอกซินอย่างแรกก็คือ ไม่ทานอาหารที่มีเชื้อราขึ้น สังเกตง่ายๆ ก็คือถ้ามีรอยสีดำหรือสีเขียวเข้มๆ เกิดที่อาหาร ให้สงสัยได้เลยว่าเป็นเชื้อรา วิธีทำกุ้งแห้ง บ้านเราแดดจัดดี ถ้าพอมีพื้นที่โล่ง ทำกุ้งแห้งกินเองก็ดีนะครับ กุ้งที่นิยมนำมาทำกุ้งแห้งคือกุ้งทะเลเปลือกบางครับ นำมาต้มหรือนึ่งจนสุก โดยเคล้าเกลือพอให้มีรสเค็ม จากนั้นก็นำไปตากแดด ถ้าแดดดี ๆ แค่วันเดียวก็แห้งใช้ได้แล้วครับ จากนั้นก็หาถุงผ้าใส่กุ้งลงไปแล้วบุบหรือทุบด้วยไม้ตีพริก จะทำให้เปลือกร่อนออกมา แกะส่วนเปลือกทิ้งไป เราก็จะได้กุ้งแห้งอย่างดี รสชาติอร่อย ไม่ปนเปื้อนสารเคมีครับ อ้อสำหรับบ้านที่ไม่มีพื้นที่สำหรับตากแดด ลองนำกุ้งสดหรือกุ้งแช่แข็ง(ละลายก่อนนะครับ) เคล้าเกลือแล้วอบด้วยเตาอบไฟฟ้า ก็พอจะเป็นกุ้งแห้งแบบบ้านๆ ได้แล้วครับ กุ้งขนาดกลาง 1 กิโลกรัม พอตากแดดแห้งแล้วจะเหลือน้ำหนักประมาณ 250 กรัมครับ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 281( พ.ศ.2547) เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร ระบุว่า เนื้อสัตว์ทุกชนิด ที่ปรุงแต่ง รมควัน ทำให้แห้ง ห้ามใส่สี ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่288 (พ.ศ. 2548) เรื่องอาหารที่มีสารพิษตกค้าง ไม่ระบุว่าอนุญาติให้มีการปนเปื้อนของสารเคมีทางการเกษตรในอาหารทะเลแห้ง ดังนั้นจึงไม่ควรมีปนเปื้อนมาในอาหาร (ผลรายงานเฉพาะตัวอย่างที่ส่งวิเคราะห์เท่านั้นโดย สถาบันโภชนาการ ม.มหิดล ภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร คณะเทคโนโลยี ม.ขอนแก่น คณะอุตสาหกรรมการเกษตร ม.สงขลานครินทร์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ ม.เชียงใหม่)

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 106 อาหารในประเทศปลอดภัยแล้วหรือยัง?

สวัสดีครับท่านผู้อ่านนิตยสารฉลาดซื้อทุกท่าน ผมในฐานะผู้ประสานงานโครงการ พัฒนากลไกการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารของผู้บริโภค ซึ่งเป็นโครงการที่ทางมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค จัดดำเนินการขึ้นเพื่อเฝ้าระวังเกี่ยวกับความปลอดภัยของอาหารในช่วงระยะเวลาหนึ่ง (มิถุนายน 2552 – พฤษภาคม 2553) เพื่อจะได้รายงานผลแก่ผู้บริโภคและเตรียมนำเสนอในเชิงนโยบายต่อไป ตามรายละเอียดในโครงการฯ เราจะดำเนินการเก็บตัวอย่างอาหารกัน 4 ครั้งครับ ได้แก่ ช่วงเดือน กันยายนและพฤศจิกายน ปี 52 เดือนมกราคมและมีนาคม ปี 53 ซึ่งอาหารที่เราเลือกเก็บตัวอย่างนั้นมีด้วยกันหลากหลายประเภท โดยเครือข่ายภาคประชาชนจะเป็นผู้เก็บตัวอย่างอาหารชนิดต่างๆ แล้วส่งให้ห้องทดสอบจากมหาวิทยาลัยชั้นนำเป็นผู้ทำการวิเคราะห์ครับ ถ้าจำกันได้บทความ "ซูชิ” เสน่ห์ข้าวปั้นญี่ปุ่นใน นิตยสารฉลาดซื้อ ฉบับที่ 105 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2552 ก็เป็นผลงานหนึ่งในโครงการนี้ครับ คราวนี้ผมมีผลสำหรับการเก็บตัวอย่างครั้งที่ 1 ตั้งใจจะมานำเสนอเป็นชุดใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น ไส้กรอกหมู (มีไส้กรอกไก่แถมมาด้วยเล็กน้อย) แอปเปิ้ล ส้ม ผักคะน้า บรอคโคลี่ เห็ดหอม เห็ดหูหนูขาว สาหร่ายแกงจืด สาหร่ายที่เป็นขนมอบกรอบ แล้วยังมีอาหารท้องถิ่นอย่าง ไส้กรอกอีสาน แหนม เนื้อหมูดิบในร้านหมูกะทะ กุ้งแห้ง กะปิ น้ำดื่มบรรจุขวดและน้ำดื่มตู้หยอดเหรียญ และที่มาแรงสำหรับปีนี้คือ นมโรงเรียน มานำเสนอพร้อมกันทีเดียว แต่ว่า… ท่านบก.ที่เคารพก็เตือนมาว่าถ้ามีเรื่องอยากบอกท่านผู้อ่านเยอะขนาดนี้ไปออกหนังสือของตนเองขายจะดีกว่า อย่ากระนั้นเลยครับ ผมขอตัดมารายงานผลกันสักสองเรื่องก่อนนะครับ แล้วก็ขอจองเป็นหนังชีวิตเรื่องยาวในฉลาดซื้อกันต่อไป ผลทดสอบไส้กรอกหมูยังพบว่ามีการใช้วัตถุกันเสียที่เกินมาตรฐานและใส่สีในหลายผลิตภัณฑ์ และในทุกผลิตภัณฑ์ที่ตรวจพบวัตถุกันเสีย ไม่มีการแสดงฉลากระบุว่า มีการใช้วัตถุกันเสีย ซึ่งเป็นการแสดงฉลากที่ไม่ถูกต้อง เราเก็บตัวอย่างไส้กรอกหมูกันในพื้นที่เครือข่าย 7 จังหวัดได้แก่ กรุงเทพฯ สมุทรสงคราม ขอนแก่น มหาสารคาม เชียงใหม่ พะเยา และสงขลา ได้จำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 26 ตัวอย่าง จาก 23 ยี่ห้อ ส่วนใหญ่เลือกเก็บในห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่และตลาดสดขนาดใหญ่ของจังหวัด ที่ผู้คนนิยมมาจับจ่ายสินค้า ผลทดสอบวัตถุกันเสีย กลุ่มเบนโซอิคและซอร์บิค1. พบกรดเบนโซอิคเกิน 1,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม จำนวน 3 ตัวอย่างจาก 23 ยี่ห้อ ได้แก่ หมู 5 ดาว ปริมาณสูงถึง 3,428.79 มิลลิกรัม/กิโลกรัม MA ปริมาณ 1,150 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และ JPM ปริมาณ 1,109.57 มิลลิกรัม/กิโลกรัม อีกจำนวน 10 ยี่ห้อ พบกรดเบนโซอิคในปริมาณต่ำกว่า 1,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ได้แก่ ซุปเปอร์เซฟ SSP JPM BKP CPF PPF สหฟาร์ม คุ้มค่า ดีนิ และ ARO ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องวัตถุเจือปนอาหาร นั้น ห้ามมิให้มีการใส่กรดเบนโซอิค เว้นแต่ขอ อนุญาตจาก อย. 2. พบกรดซอร์บิค 4 จาก 23 ยี่ห้อที่ส่งตรวจ (มีผลิตภัณฑ์ 10 ยี่ห้อ ที่ไม่ได้ทำการวิเคราะห์หากรดซอร์บิค) ผลิตภัณฑ์ทั้ง 4 ยี่ห้อได้แก่ หมูสองตัว 236.8 มิลลิกรัม/กิโลกรัม หมูตัวเดียว 234.58 มิลลิกรัม/กิโลกรัม S&P 204.12 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และ TGM 203.31 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ซึ่งตามกฎหมายห้ามมิให้ใช้ซอร์บิคในอาหารประเภทเนื้อสัตว์ทุกชนิด เว้นแต่ขออนุญาตจาก อย. วัตถุกันเสีย กลุ่มไนเตรทและไนไตรท์3. พบสารไนเตรท ในผลิตภัณฑ์ทั้งหมด 15 จาก 23 ยี่ห้อ อย่างไรก็ตามปริมาณสารไนเตรทที่พบมีปริมาณน้อยมากคือไม่เกิน 30 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ยกเว้นยี่ห้อ หมู 5 ดาวที่พบ ไนเตรท สูงถึง 100.62 มิลลิกรัม/กิโลกรัม แต่ก็ยังไม่เกินปริมาณไนเตรทที่กฎหมายกำหนดคือไม่เกิน 500 มิลลิกรัม/กิโลกรัม4. ไม่พบสารไนไตรท์เกินเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ มีได้ไม่เกิน 125 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ในทุกผลิตภัณฑ์5. มีผลิตภัณฑ์อยู่ 1 ยี่ห้อ ที่มีการใช้ทั้งไนเตรทและไนไตรท์ ผสมกันเกินกว่าเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดคือ 125 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ได้แก่ยี่ห้อ หมู 5 ดาว ที่เก็บตัวอย่างมาจากตลาดเทศบาลเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม ข้อสังเกต ผลิตภัณฑ์ตัวเดียวกันนี้ยังพบการใช้กรดเบนโซอิคในปริมาณที่สูงถึง 3,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัมดังได้แจ้งไว้ในข้อ 1 อีกด้วย การใช้สีผสมในอาหาร6. พบการใช้สีสังเคราะห์ในอาหารซึ่งตามกฎหมายห้ามมิให้ใส่จำนวน 4 ยี่ห้อ ได้แก่ ARO ของบริษัท ซีพีเอฟ พบสี poceau 4R บีวัน ของ บริษัทอาหารเบทเทอร์ จำกัด พบสี Erythrosine BKP ของบริษัทกรุงเทพโปรดิวส์ จำกัด พบสี Erythrosine และ Poncoau4R และ CPF ของบริษัทซีพีเอฟ ผลิตภัณฑ์อาหาร พบสี Erythrosine&Tartrazine ซึ่งตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขห้ามใส่สีในอาหารประเภทนี้ 7. พบ อี โคไล ในปริมาณที่สูงเกินกว่าเกณฑ์ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์แนะนำคือ น้อยกว่า 3 เอ็มพีเอ็นต่อกรัม จำนวน 1 ยี่ห้อ คือ ยี่ห้อคุ้มค่า เทสโก้โลตัสที่เก็บตัวอย่างจากโลตัสสาขารัชดา ซึ่งพบอี โคไล ที่ 3.6 เอ็มพีเอ็นต่อกรัม ไส้กรอก เป็นเทคนิคการถนอมอาหารที่เก่าแก่อย่างหนึ่ง นับถอยหลังไปได้ถึง สมัยบาบิโลเนีย หรือเมื่อประมาณ 3,500 ปีมาแล้ว กุนเชียง ไส้อั่ว หมูยอ หม่ำ และไส้กรอกอีสาน ก็นับเป็นไส้กรอกชนิดหนึ่งเช่นกันไส้กรอกอย่างฝรั่ง เรียกว่า sausage มีรากศัพท์จากภาษาละติน “salsus" หมายถึง เนื้อสัตว์ที่มีการเก็บรักษาโดยใช้เกลือ ในการผลิตไส้กรอก มักจะมีการเติมสารไนเตรทเพื่อใช้เป็นวัตถุกันเสีย หรือแต่งให้สีแดงสวย ซึ่งนอกจากมีในไส้กรอกแล้ว ยังมีการเติมในสารไนเตรท แฮม เบคอน แหนม กุนเชียง หรือแม้กระทั่งไส้กรอกอีสานด้วยเช่นกัน การเติมสารไนเตรทเกินมาตรฐานที่กำหนด จะก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย เนื่องจากไนเตรทเป็นสารตั้งต้นของสารก่อมะเร็ง ที่รู้จักในชื่อไนโตรซามีน (Nitrosamine) ดังนั้นการเลือกบริโภคอาหารประเภทนี้ ควรเลือกซื้อจากผู้ผลิตที่เรามั่นใจ มีรายละเอียดบนฉลากที่ชัดเจน ครบถ้วน และที่สำคัญคือให้สังเกตสีของผลิตภัณฑ์เหล่านี้ ต้องไม่แดงจัดผิดปกติ เพราะสีก็ห้ามใส่ในอาหารประเภทนี้ด้วยเช่นกัน  เรื่องน่ารู้ : วัตถุกันเสีย กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดปริมาณสูงสุดที่อนุญาตให้ใช้วัตถุเจือปนอาหารในอาหารหลายชนิด แต่ไม่ครอบคลุมผลิตภัณฑ์อาหารทั้งหมด ดังนั้นอาหารที่จำเป็นต้องใช้วัตถุกันเสียเพื่อเก็บรักษาและถนอมอาหารควรใช้เท่าที่จำเป็น การใช้เกินความจำเป็นอาจทำให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคได้ วัตถุกันเสียที่นิยมใช้ในอาหาร- กรดเบนโซอิคพบได้ตามธรรมชาติในผลไม้มีคุณสมบัติในการทำลายยีสต์และแบคทีเรีย- กรดซอร์บิคเป็นวัตถุกันเสียใช้ยับยั้งการเจริญของยีสต์และรา นิยมใช้ในอาหาร เช่น เหล้า ไวน์ อาหารหมักดองและน้ำผลไม้ - องค์การอนามัยโลกได้กำหนดค่า ADI ของกรดเบนโซอิค และซอร์บิค เท่ากับ 5 และ 25 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน- เมื่อคิดค่าเฉลี่ยน้ำหนักผู้บริโภคคนไทย คือ 50 กิโลกรัม ปริมาณสูงสุดที่ควรบริโภค (เบนโซอิคและซอร์บิค) คือไม่เกิน 250 มิลลิกรัมต่อวัน และ 1250 มิลลิกรัมต่อวัน ดาวโหลดตารางผลการทดสอบ ผลวิเคราะห์เฉพาะตัวอย่างที่ทดสอบเท่านั้น ร่วมวิเคราะห์ผลโดย สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะอุตสาหกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 103 ขาว ใช่ว่าจะดีเสมอไป

เรื่องทดสอบ 3 คงไม่มีใครที่อยากเสี่ยงกับการปนเปื้อนของสารพิษในอาหาร โดยเฉพาะกรณีจงใจใส่ลงไปทั้งๆ ที่รู้ว่าเป็นอันตรายกับผู้บริโภค แต่ผู้ค้าหลายรายก็ยังคง เล่นไม่ซื่อ กับลูกค้าตาดำๆ ดังนั้นจึงต้องมีการเฝ้าระวังอันตรายจากการปนเปื้อนของสารพิษในอาหารอยู่เสมอ ฉลาดซื้อฉบับนี้ ไปเดินสำรวจตลาดแล้วแวะซื้อถั่วงอกกับขิงซอย มาตรวจหาสารฟอกขาว หรือ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ โดยสุ่มตัวอย่างจากตลาดสด 4 แห่ง และซูเปอร์มาร์เก็ต 3 แห่ง ได้แก่ ตลาดบางแค ตลาดคลองเตย ตลาดยิ่งเจริญและตลาดเทวราช ส่วนซูเปอร์มาร์เก็ต 3 แห่ง คือ คาร์ฟู บางแค โลตัส อ่อนนุช และเดอะมอลล์ งามวงศ์วาน ถั่วงอกสด คนนิยมบริโภคกันมาก เพราะเป็นผักที่นิยมกินกันดิบๆ โดยจะกินเป็นเครื่องเคียงของอาหารคาวชนิดต่างๆ เช่น ก๋วยเตี๋ยวน้ำตก ขนมจีนน้ำพริก-น้ำยา ผัดไท ก๋วยเตี๋ยวหลอด หรือนิยมนำมาผัดกับเต้าหู้ ที่เป็นเมนูโปรดของหลายคน ส่วนขิงซอย แม้จะบริโภคในปริมาณไม่มากเท่าถั่วงอกเพราะมีรสเผ็ดร้อน แต่ก็ได้รับความนิยมไม่แพ้กัน เดิมอาจไม่ค่อยมีปัญหาเพราะเราซื้อกันเป็นแง่งมาปอกเปลือกและหั่นฝอยเอง แต่เดี๋ยวนี้ส่วนใหญ่แม่ค้าที่ต้องใช้ขิงซอยประกอบอาหาร สามารถซื้อแบบซอยสำเร็จรูปแล้ว มาปรุงอาหารได้เลย แน่นอนว่า ขิงนั้นปล่อยไว้สักระยะก็จะมีสีคล้ำดำ จนไม่น่ารับประทาน จึงนิยมนำสารฟอกขาวมาผสมเพื่อให้ขาวเรียกความสนใจได้นานๆ ผลทดสอบจากการทดสอบ สินค้าที่เป็นแบรนด์ของห้าง ไม่พบการปนเปื้อนของสารฟอกขาว ทั้งในถั่วงอกและขิงซอย แต่แบรนด์ที่ไม่ใช่ของห้างแต่นำมาวางขายในห้าง คือ ถั่วงอกยี่ห้อ วีพีเอฟ ซึ่งเก็บจากเดอะมอลล์ งามวงศ์วาน พบการปนเปื้อนของสารฟอกขาวหรือ ซัลเฟอร์ไฮดรอกไซด์ 11.47 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ในขณะที่ยี่ห้อ วีพีเอฟที่เก็บตัวอย่างจาก คาร์ฟู บางแค ไม่พบการปนเปื้อน ในส่วนของขิงซอย ที่พบมากน่าเป็นห่วงคือ ขิงซอยจากตลาดยิ่งเจริญ พบสารฟอกขาว 204.58 มิลลิกรัม/กิโลกรัม รองลงมาได้แก่ ขิงจากตลาดเทวราช พบ 48.45 มิลลิกรัม/กิโลกรัม กินถั่วงอก ขิงหั่นฝอยให้หายห่วง 1.ซื้อถั่วงอก ขิงซอย ที่ไม่ดูขาวจนเกินไป ผิดธรรมชาติ โดยเฉพาะขิงซอย เมื่อไม่มีเปลือกมันจะมีสีคล้ำตามธรรมชาติเนื่องจากการสัมผัสกับอากาศ ถ้าขาวก็ถือว่าผิดปกติ ส่วนถั่วงอก ตามธรรมชาติ เมื่อเด็ดหางออกบริเวณที่มีรอยฉีกขาดจะมีสีคล้ำขึ้น 2.ถั่วงอก ถ้าให้ล้างพิษจากสารฟอกขาวได้เด็ดขาด ต้องลวกในน้ำเดือด เพื่อที่จะทำลายสารตกค้าง 3.หาโอกาสเพิ่มทางเลือก ด้วยการปลูกหรือเพาะถั่วงอกเอง เพื่อรับประทานภายในครัวเรือน ผลทดสอบ ถั่วงอก สถานที่เก็บตัวอย่าง สารฟอกขาว (ซัลเฟอร์ไดออกไซด์)มิลลิกรัม/กิโลกรัม ตลาดบางแค ไม่พบ ตลาดคลองเตย ไม่พบ โฮม เฟรช มาร์ท (เดอะมอลล์ งามวงศ์วาน) ไม่พบ ถั่วงอก วีพีเอฟ (ห้างคาร์ฟู บางแค) ไม่พบ ตลาดเทวราช 3.79 ตลาดยิ่งเจริญ 5.79 ถั่วงอก วีพีเอฟ (จากเดอะมอลล์ งามวงศ์วาน) 11.47 ผลทดสอบ ขิงหั่นฝอย สถานที่เก็บตัวอย่าง สารฟอกขาว (ซัลเฟอร์ไดออกไซด์) มิลลิกรัม/กิโลกรัม ตลาดบางแค ไม่พบ ตลาดคลองเตย ไม่พบ ซีโอเอฟ (เดอะมอลล์ งามวงศ์วาน) ไม่พบ ซีโอเอฟ (คาร์ฟู บางแค) ไม่พบ เทสโก ไฮจีนิก (โลตัส อ่อนนุช) ไม่พบ เดอะมอลล์ งามวงศ์วาน ไม่พบ ตลาดเทวราช 48.45 ตลาดยิ่งเจริญ 204.58 สารฟอกขาว เป็นสารเคมีที่มีการนำไปใช้อย่างแพร่หลายในการผลิตอาหารหลายประเภท ทั้งในอาหารที่อนุญาตและไม่อนุญาตให้ใส่สารฟอกขาว โดยพบการตกค้างในปริมาณสูงในอาหารหลายชนิด จึงถูกจัดเป็นสารเคมีชนิดหนึ่งที่ต้องมีการเฝ้าระวังในการใช้ในผลิตภัณฑ์อาหารอย่างใกล้ชิด สารฟอกขาวที่นิยมใช้ในอาหารบ้านเราส่วนใหญ่เป็นกลุ่มของสารประกอบซัลไฟต์ ซึ่งเป็นชื่อรวมของก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และเกลืออนินทรีย์ของกรดซัลฟูรัสซึ่งแตกตัวให้ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ องค์การอนามัยโลกได้กำหนดค่าความปลอดภัยต่อการบริโภคในชีวิตประจำวันของสารกลุ่มนี้ไม่ควรบริโภคเกิน 0.7 มิลลิกรัมซัลเฟอรไดออกไซด์ ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ต่อ 1 วัน และประเทศไทยได้อนุญาตให้สารซัลไฟต์เป็นสารฟอกขาวใช้ในอุตสาหกรรมอาหารหลายประเภท เช่น การผลิตน้ำตาล วุ้นเส้น เส้นหมี่ ก๋วยเตี๋ยว ลูกเกด และอาหารทะเลเยือกแข็ง เป็นต้น

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 180 กระแสต่างแดน

เมนูนี้ต้องไม่มียาปฏิชีวนะ!วันผู้บริโภคสากล (15 มีนาคม) ปีนี้ ผู้บริโภคทั่วโลกจะร่วมกันเรียกร้องให้ผู้ประกอบการร้านอาหารที่มีสาขาทั่วโลกอย่าง แม็คโดนัลด์ เคเอฟซี ซับเวย์ ฯลฯ ยกเลิกการใช้เนื้อสัตว์ที่ผ่านการใช้ยาปฏิชีวนะโดยไม่จำเป็น ประมาณร้อยละ 50 ของยาปฏิชีวนะหรือยาฆ่าเชื้อที่ผลิตขึ้นในโลก ถูกใช้ในภาคการเกษตร แม้ว่ายานี้จะมีไว้เพื่อหยุดยั้งการติดเชื้อในสัตว์ แต่ฟาร์มเลี้ยงสัตว์เพื่อการค้าในปัจจุบันกลับนิยมใช้เพื่อป้องกัน (ไม่ใช่รักษา) การติดเชื้อ ที่แย่ไปกว่านั้นคือการใช้ในปริมาณต่ำร่วมกับฮอร์โมนเพื่อเร่งการเจริญเติบโต วิถีปฏิบัติแบบนี้ทำให้เกิดปัญหาการดื้อยา หลายๆ ประเทศประสบปัญหานี้ในระดับร้ายแรงแล้ว องค์การอนามัยโลกเตือนว่าถ้านานาประเทศยังไม่ร่วมกันแก้ไขเรื่องนี้ เราก็จะเข้าสู่โลกยุคหลังยาปฏิชีวนะ นั่นหมายความว่ายาที่มีอยู่จะไม่สามารถรักษาโรคได้และการเจ็บป่วยเพียงเล็กน้อยก็อาจทำให้เราเสียชีวิตได้ แม้จะมีความกังวลในเรื่องนี้มาระยะหนึ่ง แต่ก็ยังไม่มีแนวโน้มว่าการใช้ยาปฏิชีวนะจะลดลง ข้อมูลจากสหพันธ์ผู้บริโภคสากลระบุว่าเมื่อถึงในปีค.ศ. 2030 (พ.ศ. 2573) การใช้ยาฆ่าเชื้อจะเพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 70 ที่ผ่านมาผู้ประกอบการหลายรายประกาศว่าจะยกเลิกการใช้วัตถุดิบเนื้อสัตว์ที่ผ่านการเร่งโตด้วยยาปฏิชีวนะ แต่การสำรวจร้านอาหารฟาสต์ฟูด 25 แบรนด์ในอเมริกาครั้งล่าสุดในปี 2558 โดยองค์กรผู้บริโภค พบว่ามีถึง 20 รายที่ยังไม่มีนโยบายงดซื้อเนื้อสัตว์ที่ปนเปื้อนยาปฏิชีวนะเลยนางสาวอมานดา ลอง ผู้อำนวยการสหพันธ์ผู้บริโภคสากลกล่าวว่าธุรกิจอาหารขนาดใหญ่สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้อย่างกว้างขวาง เป็นกำลังสำคัญในการรณรงค์ และเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับธุรกิจอื่นๆ ผู้บริโภคเองก็เป็นกำลังสำคัญเช่นกัน มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค หนึ่งในองค์กรสมาชิกของสหพันธ์ผู้บริโภคสากลจึงขอเชิญชวนผู้อ่านฉลาดซื้อ ร่วมเรียกร้องให้ร้านฟาสต์ฟู้ดยกเลิกเมนูที่มีเนื้อสัตว์ปนเปื้อนยาปฏิชีวนะ ด้วยการถ่ายรูปตัวเองขณะถือป้าย #AntibioticsOffTheMenu (เมนูนี้ต้องไม่มียาปฏิชีวนะ) หน้าร้านฟาสต์ฟู้ด โพสต์ลงในเฟสบุ้คแล้วติดแฮชแท็ก #AntibioticsOffTheMenu ก่อนวันที่ 15 มีนาคม 2559 นี้   ทีพีพี ที่ไม่พอเพียงเกษตรกรญี่ปุ่นส่วนหนึ่งกำลังหวั่นวิตกว่าแผนเข้าร่วมเป็นหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก (TPP) ของนายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ จะทำให้วิถีชีวิตแบบเรียบง่ายของพวกเขาเปลี่ยนไป   เพื่อเพิ่มความสามารถทางการแข่งขันในเวทีโลก นายอาเบะเสนอให้ญี่ปุ่นทำการเกษตรเชิงรุก โดยเกษตรกรรายเล็กจะได้รับการส่งเสริมให้ขยายกิจการ หลายคนมองว่าแผนนี้หมายถึงการเผชิญความเสี่ยงมากขึ้น ทั้งจากสภาพอากาศและราคาน้ำมันที่ผันผวนตลอดเวลา โซอิจิ ยามาชิตะ เกษตรกรวัย 79 ปี เป็นหนึ่งในเกษตรกรรายย่อยที่ไม่ต้องการรวยจากการทำเกษตรเชิงเดี่ยว  ด้วยพื้นที่ประมาณ 25 ไร่ ในแต่ละปีครอบครัวยามาชิตะผลิตข้าวได้ 2.5 ตัน ส้ม 7 ตัน มะนาวเหลือง 500 กิโลกรัม พลัมและผักหลากหลายชนิดอีก 200 กิโลกรัม พวกเขารู้สึกเพียงพอแล้วสำหรับการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ ชาวสวนผลไม้ในญี่ปุ่นยังไม่ลืมความล้มเหลวของนโยบายส่งเสริมการปลูกส้มของรัฐบาลในช่วงปี 70 ที่ส่งผลให้ผลผลิตส้มล้นตลาดในช่วงปี 80 ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับการเปิดเสรีทางการค้าที่ทำให้ส้มจากต่างประเทศสามารถเข้ามาตีตลาดในญี่ปุ่นด้วย ผู้ดีกินดี นิสัยการกินของคนอังกฤษกำลังเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น เรื่องนี้ยืนยันโดยงานสำรวจ National Food Survey ของรัฐบาลอังกฤษ ในสองสามทศวรรษที่ผ่านมา คนอังกฤษหันมาบริโภคนมพร่องมันเนย ขนมปังโฮลวีท และผลไม้สดกันมากขึ้น ผลไม้ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดได้แก่กล้วย ด้วยสถิติการบริโภคคนละ 221 กรัมต่อสัปดาห์ ตามด้วยแอปเปิ้ล (131 กรัม) และส้ม (48 กรัม) แม้แต่การดื่มน้ำอัดลมก็หันมาเลือกดื่มชนิดที่มีแคลอรี่ต่ำกันมากกว่าเดิม คนอังกฤษมีนิสัยการกินดีขึ้นทั้งๆ ที่มีการใช้จ่ายด้านอาหารลดลง เมื่อ 40 ปีก่อนพวกเขาใช้จ่ายร้อยละ 24 ของรายได้เพื่อซื้ออาหารแต่ปัจจุบันการใช้จ่ายดังกล่าวมีเพียงร้อยละ 11 เท่านั้น ในทางกลับกันเขาพบว่าการบริโภคชาของชาวเมืองผู้ดีลดลงครึ่งหนึ่งจากช่วงปี 70 จากที่เคยดื่มสัปดาห์ละ 23 ถ้วย ปัจจุบันเหลือเพียงสัปดาห์ละ 8 ถ้วยเท่านั้น และแม้ว่าชาจะเป็นเครื่องดื่มร้อนที่นิยมมากที่สุด คนอังกฤษกลับมีรายจ่ายไปกับกาแฟมากกว่า งานสำรวจนี้เก็บข้อมูลจาก 150,000 ครัวเรือน ระหว่างปีค.ศ.1974 ถึง ค.ศ. 2014

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 159 กระแสต่างแดน

สเปนจะเริ่มสปาย รัฐบาลสเปนเตรียมแผนเก็บข้อมูลบัญชีธนาคารของชาวสเปนทั้งหมด 34 ล้านบัญชี เพื่อจัดการขั้นเด็ดขาดกับขบวนการคอรัปชั่น การฟอกเงินและการก่อการร้าย และแผนนี้ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกฤษฎีกาและหน่วยงานที่ดูแลด้านการคุ้มครองข้อมูลแล้ว ตามแผนที่ว่า ธนาคารต่างๆ จะต้องส่งข้อมูลบัญชีออมทรัพย์ กระแสรายวัน และบัญชีฝากประจำ ทั้งของบุคคลและนิติบุคคลให้กับหน่วยงานของรัฐ เพื่อให้สรรพากร กองทัพ ศาล และหน่วยสืบราชการลับสามารถเข้ามาตรวจสอบได้สะดวก ใครที่โอนเงินมากกว่า 1,000 ยูโร (ประมาณ 44,500 บาท) และดูมีพิรุธจะถูกจับตา ส่วนการโอนมากกว่า 30,000 ยูโร (ประมาณ 1,335,500 บาท) จะถูกตรวจสอบทุกกรณี และถ้าใครมียอดเงินโอนมากกว่า 3,000 ยูโรต่อเดือนก็จะถูกตรวจสอบ นอกจากนี้การทำธุรกรรมของนักการเมืองและข้าราชการระดับสูงจะถูกจับตาดูอย่างใกล้ชิด แต่ใช่ว่าทุกคนจะเห็นด้วย บรรดาธนาคารต่างๆ ยังไม่มั่นใจเรื่องการรั่วไหลของข้อมูลลูกค้า ด้านผู้พิพากษาก็ให้ความเห็นว่าข้อมูลดังกล่าวอาจถูกนำไปใช้เพื่อผลทางการเมืองได้ และในการสืบสวนคดีที่เกี่ยวข้องกับการเลี่ยงภาษี ถ้ามีคำสั่งศาลก็สามารถขอข้อมูลการเงินจากสรรพากรได้อยู่แล้ว องค์กรผู้บริโภคมองว่าไม่น่าจะมีอะไรเปลี่ยนแปลง เพราะบริษัทใหญ่ๆ ของสเปนก็พากันไปตั้งบริษัทย่อยในดินแดนปลอดภาษีกันหมดแล้ว คงไม่เจออะไรในบัญชีที่มีอยู่ในสเปนหรอก ที่สำคัญใครจะเป็นคนรับประกันว่าหน่วยสืบราชการลับจะไม่ร่วมมือกับรัฐบาลหาประโยชน์จากข้อมูลของผู้บริโภค     อีเวนท์ที่ต้องเว้น โศกนาฎกรรมเรือเซวอล ที่มีผู้เสียชีวิตกว่า 300 คนซึ่งส่วนใหญ่เป็นเด็กนักเรียนนั้นส่งผลกระทบอย่างมากต่อการบริโภคของประชากรเกาหลี แม้แต่กิจกรรมการตลาดเพื่อเกาะกระแสบอลโลกในเดือนมิถุนายนที่เตรียมกันไว้ก็ยังมีอันต้องพับไป ผู้เชี่ยวชาญฟันธงว่า ถ้าใครบังอาจจัดงานรื่นเริงตอนนี้ จะได้ผลในทางตรงกันข้ามต่อแบรนด์ของตัวเองแน่นอน แม้แต่ฮุนไดมอเตอร์ ผู้สนับสนุนอย่างเป็นทางการของสหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศ (FIFA) ที่เตรียมจัดงานส่งเสริมการตลาดมากมายเช่น เกมส์ชิงรางวัลตั๋วฟรีไปดูนัดที่เกาหลีใต้ลงแข่ง การแจกลูกฟุตบอล หรือผลิตภัณฑ์ที่มีตราสัญลักษณ์ World Cup ก็ต้องงดไปหลายงาน โฆษณาของฮุนไดที่ทำออกมาเป็นแนวขำขันเพื่อสร้างความคึกคักในช่วงเทศกาลบอลโลกและเป็นความหวังของบริษัทที่จะกระตุ้นยอดขายในวันที่รถเกาหลีกำลังถูกรถจากต่างประเทศเข้ามาแย่งตลาด ก็ยังถูกเลื่อนการออกอากาศไปโดยไม่มีกำหนด บริษัทโทรคมนาคมรายใหญ่อันดับสองของเกาหลี K2 ซึ่งเป็นสปอนเซอร์หลักของทีมฟุตบอลโสมขาว ยักษ์ใหญ่อย่างซัมซุงอิเล็กทรอนิกส์ และแฟรนไชส์ร้านกาแฟ Caffe Bene ก็เช่นกัน ผู้เชี่ยวชาญบอกว่าโศกนาฏกรรมครั้งนี้ส่งผลต่อการบริโภคมากกว่าเหตุการณ์ครั้งใดๆ ที่ผ่านมา เป็นปัจจัยที่ทำให้ผู้คนไม่ต้องการจับจ่ายใช้สอย มีส่วนร่วมในกิจกรรมบันเทิง หรือเดินทางท่องเที่ยว เห็นได้จากยอดใช้บัตรเครดิตก็ลดลงอย่างเห็นได้ชัดในช่วงวันที่ 16 ถึง 22 เมษายน และคงจะเป็นเช่นนี้ไปถึงไตรมาสที่สาม รุ่นใหม่ประหยัดไฟกว่า ในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา นิวซีแลนด์ต้องเผชิญกับสถานการณ์ไฟฟ้าดับเป็นเวลานานอยู่หลายครั้ง จากการเกิดภัยธรรมชาติ แต่ผลการสำรวจพบว่าผู้คนยังไม่ตื่นตัวเท่าที่ควรในการเตรียมรับมือสถานการณ์ดังกล่าว การสำรวจของผู้ให้บริการไฟฟ้า Canstar Blue พบว่า ชาวเมืองโอคแลนด์มีการเตรียมพร้อมน้อยที่สุด ร้อยละ 43 ยังไม่ได้เตรียมระบบไฟสำรองไว้ใช้ เช่นเดียวกับเมืองเวลลิงตันและเมืองแคนเทอบรี ที่ร้อยละ 35 และร้อยละ 29 ของประชากรก็ยังไม่พร้อมรับมือกับเหตุฉุกเฉินเช่นกัน ผลสำรวจที่น่าสนใจอีกอย่างคือ การเปลี่ยนเจ้าผู้ให้บริการไฟฟ้าของผู้บริโภค เพื่อหาเจ้าที่คุ้มค่าและเหมาะกับการใช้ของตัวเองมากที่สุด (นิวซีแลนด์มีผู้ประกอบการหลายเจ้า และมีหลายโปรโมชั่น คล้ายๆ กับโทรศัพท์มือถือ) ไม่ได้เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วมากนัก มีร้อยละ 30 คิดอยากจะเปลี่ยนแต่ยังไม่ลงมือทำจริงๆ และปีนี้ก็มีคนคลิ๊กเข้าไปใช้เครื่องมือในอินเตอร์เน็ทเพื่อเปรียบเทียบราคาค่าไฟของผู้ประกอบการแต่ละเจ้าน้อยลงด้วย แต่เดี๋ยวก่อนข่าวดียังมีอยู่ ... เขาพบว่าชาวกีวีที่อยู่ในเจนวาย (อายุระหว่าง 18 – 29 ปี) เป็นกลุ่มที่มีแนวโน้มจะใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัดที่สุด และเป็นกลุ่มที่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมมากกว่ากลุ่มอายุอื่นๆ ด้วย   ผู้บริโภคเตรียมรับเละ ใครมีแผนจะไปซื้อทัวร์ในบราซิลโปรดฟังทางนี้ หลังจากผลักดันกันมากว่า 12 ปี ร่างกฎหมายกำกับดูแลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในบราซิลฉบับใหม่ผ่านการพิจารณาในเบื้องต้นแล้ว เหลือเพียงการรับรองโดยประธานาธิบดีเท่านั้น กฎหมายอันว่าด้วยความรับผิดชอบของบริษัททัวร์ที่มีต่อลูกค้า มีทั้งหมด 28 มาตรา มีมาตราหนึ่งระบุว่าถ้าการส่งมอบบริการซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแพคเก็จท่องเที่ยว เช่น โรงแรม สายการบิน โปรแกรมทัวร์ชมเมือง ไม่เป็นที่พอใจของลูกค้า ค่าใช้จ่ายในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวจะถือเป็นภาระของผู้บริโภค ไม่บอกคุณก็คงรู้ว่าร่างนี้ผลักดันโดยสมาคมผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวแห่งบราซิล (เขาอ้างว่าที่ผ่านมาไม่ว่าจะเป็นความผิดของใคร บริษัทก็ต้องเป็นคนจ่ายทุกที อย่างนี้ขาดทุนซ้ำซาก ลืมตาอ้าปากไม่ได้ซักที) แม้ผู้บริโภคจะยังมีสิทธิที่จะนำเรื่องฟ้องศาลเพื่อการเรียกร้องค่าเสียหาย แต่ก็ต้องเป็นฝ่ายพิสูจน์ให้ได้ว่าความเสียหายนั้นเกิดจากความผิดพลาดของบริษัท (แล้วใครจะอยากฟ้องล่ะนี่) ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายผู้บริโภคบอกว่า ถ้ากฎหมายนี้ผ่านจริง นี่จะเป็นหนึ่งในอุปสรรคที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในงานคุ้มครองผู้บริโภค ที่สำคัญมันขัดต่อกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคและรัฐธรรมนูญที่ระบุไว้รัฐมีหน้าที่ส่งเสริมการคุ้มครองผู้บริโภค   กังหันลมประจำบ้าน ข่าวดีสำหรับชาวดัทช์ เดี๋ยวนี้เขาสามารถซื้อกังหันลมขนาดเล็กมาติดหลังคาบ้าน (แบบเดียวกับที่เราติดจานดาวเทียมบนหลังคานั่นแหละ) เพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าไว้ใช้เองในครอบครัว บริษัทอาคิมิดิส ผู้ผลิตกังหัน Liam F1 Wind บอกว่ากังหันหนึ่งตัวสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ประมาณครึ่งหนึ่งของความต้องการใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนทั่วไปและมันจะไม่ทำเสียงดังสร้างความรำคาญให้ผู้อยู่อาศัย ด้วยสนนราคา 4,000 ยูโร (ประมาณ 180,000 บาท) จุดคุ้มทุนจะอยู่ที่ประมาณ 8 – 15 ปี บริษัทบอกว่าเจ้ากังหันมินิที่มีความสูง 1.5 เมตร หนัก 75 กรัม จะมีหลายสีให้เลือกเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่ต้องการอุปกรณ์ประหยัดไฟที่ช่วยสร้างสีสันให้กับบ้านไปพร้อมๆ กัน ข่าวบอกว่าเขาจะทำสีทองไปขายในตะวันออกกลางด้วยนะ แต่ข่าวไม่ได้บอกว่าเขาจะทำมาขายเมืองไทยหรือไม่ รู้กันไว้ให้น้ำลายไหลเล่นๆ ในวันที่บ้านเรายังไม่มีการพูดถึงการพึ่งพาตัวเองด้านพลังงานของแต่ละครัวเรือน  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 130 กระแสต่างแดน

  โนซอง ... โนเซอร์วิสเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา โรงพยาบาลใหญ่ๆ 5 แห่ง ในเวียดนามออกประกาศห้ามเจ้าหน้าที่ “รับซอง” จากคนไข้ เพราะการกระทำดังกล่าวชักจะกลายเป็นเรื่องปกติขึ้นทุกวัน หน่วยงานหนึ่งของกระทรวงสุขภาพเวียดนาม ได้ทำการศึกษาเรื่องนี้ไว้ เขาบอกว่า ภายใน 1 ปี เจ้าหน้าที่สาธารณสุขของรัฐ จะกลายเป็นโรค “ติดซอง” เรื่องนี้พูดไปก็เหมือนปัญหาไก่กับไข่ไม่รู้อะไรมันเริ่มก่อนกัน ฝ่ายเจ้าหน้าที่ก็บอกว่าคนไข้ต้องหยุด “เสนอซอง” ให้พวกตนได้แล้ว ส่วนคนไข้ก็แย้งว่าถ้าไม่เตรียมซองมาให้เจ้าหน้าที่ ก็มีหวังได้รับบริการแบบแย่ๆ แน่นอน รองผู้อำนวยการของโรงพยาบาลเค ซึ่งเป็นหนึ่งใน 5 โรงพยาบาลที่ว่า บอกว่าคนเวียดนามมีนิสัยอยู่อย่างหนึ่ง คือต้องการจะเป็นคนแรกเสมอ เวลามาโรงพยาบาลก็อยากจะได้รับการตรวจก่อนใคร และนั่นเป็นที่มาของวัฒนธรรมให้ซอง ในขณะที่หน่วยงานเจ้าภาพการสำรวจครั้งนี้บอกว่า ปัญหามันอยู่ที่ “3 ไม่” ของบริการสาธารณสุขในเวียดนาม อันได้แก่ ไม่โปร่งใส ไม่ยุติธรรม และไม่มีประสิทธิภาพ (นี่ยังไม่ได้นับว่าเงินเดือนสำหรับหมอและพยาบาล ไม่ค่อยจะพอยังชีพอีกด้วย) จากการสำรวจความพึงพอใจของผู้ป่วยที่มีต่อบริการสาธารณสุข เขาพบว่า ร้อยละ 45 ของผู้มารับบริการ รู้สึกไม่พอใจกับการทำงานของเจ้าหน้าที่ และหงุดหงิดกับขั้นตอนกระบวนการต่างๆ ที่พวกเขาต้องเจอในโรงพยาบาลของรัฐ ว่าแล้วก็เสนอทางออกว่าเวียดนามควรจะมีระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และแยกระบบสาธารณสุขออกเป็น 3 ส่วน คือส่วนที่รับผิดชอบโดยรัฐบาล ทำหน้าที่หลักคือป้องกันโรค ส่วนที่รับผิดชอบโดยเอกชนซึ่งมีหน้าที่ในการรักษา และมูลนิธิที่คอยช่วยเหลือผู้ป่วยด้อยโอกาส สำนักข่าวเวียดนามเน็ทก็เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “ความกลัวของคนไปโรงพยาบาล” เช่นกัน เขาพบว่าสิ่งที่คนเวียดนามกลัวเป็นอันดับแรก คือการถูกเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลดุว่า ตามด้วยความกังวลว่าจะไม่ได้รับความเอาใจใส่จากแพทย์ อันดับต่อมาคือกลัวต้องรอนาน และท้ายสุดคือกลัวจะไป “ทำเปิ่น” ที่โรงพยาบาล ป่วยได้ แต่ไม่อยากเปิ่นน่ะ เข้าใจมั้ย   จอดได้อีกเนื่องจากเวียดนามกำลังมีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว จึงทำให้ทุกวันนี้มีรถราออกมาวิ่งกันมากขึ้น แต่พื้นที่จอดรถมันไม่ได้เพิ่มขึ้นตามไปด้วย จึงทำให้เกิดปัญหาการจราจรตามมา ปัจจุบันฮานอยมีรถยนต์ 372,000 คัน มอเตอร์ไซค์อีก 3,800 ล้านคัน ในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมา มีผู้จอดรถผิดกฎหมายกว่า 4,000 ราย โดนยึดรถไป 200 ราย ที่เหลืออีก 3,800 รายโดนยึดใบขับขี่ ยิ่งไปกว่านั้นในช่วงเวลาดังกล่าวมีเหตุการณ์รถติดมโหฬารอย่างน้อย 25 ครั้ง ซึ่งสาเหตุล้วนมาจากการจอดรถผิดที่ผิดทางทั้งสิ้น ในแต่ละปี จำนวน “รถส่วนตัว” ในเวียดนามเพิ่มขึ้น ร้อยละ 10 – 15 ในขณะที่ข้อหาจอดรถผิดกฎหมาย (ที่มีค่าปรับครั้งละประมาณ 1,000 บาท) เพิ่มขึ้นร้อยละ 20 และกว่าร้อยละ 70 ของรถที่ทำผิดกฎจราจร คือรถที่จอดบนทางเท้านั่นเอง กรมการขนส่งของเวียดนามบอกว่า ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 เป็นต้นมา บรรดาสำนักงานเขตต่างๆ ในฮานอยต้องบริหารจัดการเพิ่มที่จอดรถ ด้วยการอนุญาตให้มีการใช้พื้นที่ทางเท้าในการจอดรถได้ แต่ทำไปทำมาตอนนี้ “พื้นที่จอดรถ” มันเพิ่มมากขึ้นจนเป็นปัญหากับคนเดินเท้าเสียแล้ว ต่อไปนี้เขตจะไม่ออกใบอนุญาตให้มีการใช้พื้นที่ทางเท้าเป็นที่จอดรถอีกต่อไป แต่ที่เคยได้ใบอนุญาต ไปแล้ว เขาก็บังคับให้เหลือเนื้อที่อย่างน้อย 1.5 เมตร เอาไว้ให้คนเดินด้วย ที่เวียดนามเขารู้กันหรือยัง ว่าถ้าหมดที่จอดบนถนนก็ขึ้นไปจอดบนสะพาน บนทางด่วนกันบ้างก็ได้   ขาดทุนแต่ได้ใจนอกจากจะมีโอกาสซื้อรถยนต์ และคอมพิวเตอร์มือถือที่ราคาถูกที่สุดในโลกแล้ว ผู้บริโภคชาวอินเดียยังจะได้ซื้อรองเท้าผ้าใบรีบอคในราคาที่ถูกที่สุดในโลกอีกด้วย บริษัทอาดิดาส ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของรีบอค ประกาศว่าจะทำร้องเท้าผ้าใบยี่ห้อดังกล่าวออกมาขายในราคาคู่ละ 1 เหรียญ (ประมาณ 30 บาท) เท่านั้น จากที่ขายกันอยู่ประมาณคู่ละ 1,500 – 3,000 บาท เรื่องนี้ต้องเล่าย้อนไป 3 ปีก่อน เมื่อศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์ชื่อดังคนหนึ่งของบังคลาเทศได้เสนอแนวคิดรองเท้าเอื้ออาทรนี้กับซีอีโอของอาดิดาส ว่าน่าจะลองทำรองเท้าราคาถูกออกมาให้คนบังคลาเทศได้สวมใส่กันบ้าง ถามว่าทำอย่างไรให้ถูก ก็ตอบว่าทำได้ด้วยการผลิตเป็นจำนวนมากๆ โดยใช้วัสดุและแรงงานในท้องถิ่น และที่สำคัญที่สุดคือต้องทำใจ เปลี่ยนเป้าหมายจากการทำธุรกิจเพื่อผลกำไร มาเป็นการสร้างธุรกิจเพื่อสังคม พูดง่ายๆ คืออาจจะต้องยอมขาดทุนกันบ้าง อย่างที่บังคลาเทศเขาก็ต้องยอมขายขาดทุนกันไปคู่ละประมาณ 150 บาท (ต้นทุน 195 บาท ขาย 45 บาท) แต่อย่างน้อยๆ ก็ทำให้คนมีงานทำ มีรายได้ และมีคนอีก 5,000 คน ที่ไม่ต้องเดินเท้าเปล่าอีกต่อไป (ข่าวเขาบอกว่า ทำยอดได้ 5,000 คู่) แต่ผู้บริหารรีบอคมั่นใจว่าปัจจัยการผลิตที่อินเดียน่าจะทำให้รองเท้าดังกล่าวมีราคาถูกลงได้อีก บริษัทบอกว่าสิ่งที่ได้กลับมาจากการขายถูกคือการที่แบรนด์ของตนเป็นที่รู้จักในท้องถิ่นมากขึ้น เพราะดูเหมือนวิธีนี้จะเป็นการตลาดที่ได้ผลที่สุดแล้วสำหรับลูกค้ากลุ่มที่ไม่แคร์แม้แต่จะใส่รองเท้าแตะ คุณผู้อ่านคงจะสงสัยว่าจะไปหาซื้อแถวไหน ก็ต้องบอกว่าเขาทำขายเฉพาะในชนบทของอินเดีย และเขาจะส่งขายผ่านเครือข่ายชุมชนเท่านั้น ไม่มีในห้างร้านทั่วไปนะจ๊ะ ... อินิ เสียใจด้วย นะจ๊ะนายจ๋า   ซื้อขายแบบไร้กระดาษเชื่อมั่นว่าผู้บริโภคที่ดีอย่างเราจะต้องเก็บใบเสร็จรับเงินไว้เสมอ และเชื่อมั่นในโชคชะตาที่ชอบเล่นตลกกับเราเช่นกัน ที่ทำให้เราหาของที่เก็บไว้ไม่เจอในเวลาที่ต้องการใช้จริงๆ คาดว่าที่อังกฤษเขาก็มีปัญหาคล้ายๆ กัน จึงเกิดความคิดที่จะใช้ใบเสร็จแบบดิจิตัลกันขึ้นมา (แบบเดียวกับที่ร้าน Apple ใช้อยู่) เรียกว่าซื้อของเสร็จแล้วคุณจะได้รับใบเสร็จรับรองการซื้อขายทางเมล์อิเลคทรอนิกส์นั่นแหละ เพียงแต่เขาจะไม่ได้ส่งไปที่บัญชีจดหมายส่วนตัวของเรา ไม่เช่นนั้นจะเปลี่ยนจากใบเสร็จเต็มกระเป๋ามาเต็มกล่องจดหมายออนไลน์ของเราจนได้ บริษัท Paperless Receipts ที่ใช้เทคโนโลยีของค่ายไอบีเอ็มเขาจะส่งใบเสร็จไปฝากไว้ที่เว็บตู้ไปรษณีย์ ที่ลูกค้าต้องการเปิดดูเมื่อไรก็เรียกดูได้ทันที ตอนนี้บรรดาห้างค้าปลีกที่อังกฤษกำลังศึกษาความเป็นไปได้ของระบบที่ว่านี้อยู่ ภายใน 5 ปี ประมาณร้อยละ 70 ของห้างค้าปลีกที่นั่นจะใช้ระบบที่ว่านี้ ก็น่าจะสะดวกดี สำหรับผู้บริโภคที่มีหนทางเข้าถึงอินเตอร์เน็ทได้ แต่สงสัยว่าเขาจะยังมีระบบไว้สำหรับบรรดาผู้สูงอายุ หรือผู้ที่ไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีนี้ได้หรือเปล่าน่ะซิ   ปลอดภัยแต่ไม่ส่วนตัว?นานจิง ซึ่งเป็นเมืองหลวงของจังหวัดเจียงซู ประเทศจีน เขาออกกฎให้รถแท็กซี่ทุกคันติดตั้งกล้องวงจรปิด และอุปกรณ์บันทึกเสียง เพื่อความปลอดภัยของทั้งคนขับและผู้โดยสาร เครื่องบันทึกเสียงนั้นจะทำงานตลอด 24 ชั่วโมง ส่วนกล้องวิดีโอนั้นจะเริ่มบันทึกภาพเมื่อคนขับกดปุ่ม “ฉุกเฉิน” โดยภาพที่บันทึกไว้ด้วยความเร็ว 8 ภาพต่อนาทีจะถูกส่งตรงไปยังศูนย์ควบคุม ที่สำนักงานตำรวจ และกรมขนส่ง นั่นเอง มาตรการนี้ก็มีทั้งคนที่ชอบและไม่ชอบเป็นธรรมดา คนที่ชื่นชมก็บอกว่ามันน่าจะทำให้ประสบการณ์การนั่งรถแท็กซี่รื่นรมย์ขึ้นไม่น้อย เพราะคนขับจะต้องพูดจาและให้บริการดีขึ้นเมื่อรู้ว่าสิ่งที่ตนเองพูดออกมาจะถูกบันทึกไว้ อีกฝ่ายยังข้องใจอยู่ว่ามันจะเป็นการละเมิดความเป็นส่วนตัวของผู้บริโภคหรือไม่ เพราะอุตส่าห์กระโดดขึ้นแท็กซี่ทั้งทีก็ต้องการจะคุยกันส่วนตัวบ้าง ไรบ้าง เกรงว่าจะเผลอพูดอะไรแล้วโดนบันทึกลงไปด้วย สาวๆ บางคนยังวิตกว่าถ้าโชคร้ายบังเอิญกระโปรงเปิดในขณะที่กล้องบันทึกภาพอยู่จะทำยังไง ทางการเขาให้การรับรองว่าภาพและเสียงที่ว่านี่จะรับชมรับฟังกันในหมู่คนกันเอง เอ๊ย.. ในหมู่ผู้มีอำนาจหน้าที่ซึ่งก็จะต้องได้รับอนุญาตอย่างเป็นทางการเวลาที่มีเรื่องร้องเรียนเข้ามาเท่านั้น รับรองว่าไม่มีรั่วไหลเด็ดขาด นานจิงมีแท็กซี่ทั้งหมด 9,000 คัน ติดตั้งระบบที่ว่านี้ไปแล้วกว่า 6,000 คัน ผลจะเป็นอย่างไรต้องรอติดตามกันต่อไป

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 117 กระแสต่างแดน

ถ้าจะรับ ช่วยขยับมาอีกนิดไปรษณีย์เดนมาร์คเขาบอกว่าเดี๋ยวนี้ปริมาณจดหมายที่จะต้องจัดส่งน้อยลงอย่างฮวบฮาบ แล้วจะต้องทำอย่างไรถึงจะได้ไปต่อในโลกที่ใครๆก็ใช้แต่จดหมายอิเลคทรอนิกส์ หรือไม่ก็บีบีหากันแทบจะทุกนาทีอยู่แล้ว ก่อนหน้านี้กิจการเขาก็ดีอยู่ สถิติบอกว่า ในปีค.ศ. 1999 ชาวแดนิชเขาส่งจดหมายกันคนละ 272 ฉบับ  อีก 10 ปีต่อมา จำนวนจดหมายลดลงเหลือ 181 ฉบับต่อคนต่อปี เขาคาดว่ากว่าจะถึงปีค.ศ.  2019 ตัวเลขนี้ก็จะลดลงเหลือง เพียง 70 เท่านั้น (นี่น้อยของเขาแล้วนะ) คิดไปคิดมา Post Denmark ก็ตัดสินใจขึ้นค่าธรรมเนียมการส่งจดหมายเสียเลย จากเดิมที่เคยคิดค่าส่งจดหมายธรรมดาฉบับละ 5.5 โครเนอร์ (ประมาณ 30 บาท) ก็ขึ้นเป็น 8 โครเนอร์ (ประมาณ 44 บาท)  ข่าวว่ามาตรการอัพราคานี้จะทำให้ Post Denmark มีรายได้เพิ่มขึ้น 100 ล้านโครเนอร์ ยังมีเด็ดกว่านั้น เขาตั้งเป้าจะลดค่าใช้จ่ายในการขนส่งด้วยการขอความร่วมมือจากประชากรกว่า 100 ครัวเรือน ให้ย้ายกล่องรับจดหมายจากหน้าประตูบ้านตนเองออกมาให้ใกล้ถนนให้มากที่สุดด้วย ... นะ ช่วยๆกัน   รับบริการตรวจความดันเพิ่มไหมครับ ต่อไปคุณผู้ชายที่ไปใช้บริการร้านตัดผมในรัฐเท็กซัส อเมริกา ก็อาจจะได้รับบริการเสริมเป็นการตรวจวัดความดันให้ด้วยทั้งนี้เพราะมีผลการวิจัยออกมาแล้วว่าถ้าทางร้านตัดผมเสนอบริการดังกล่าวให้ทุกครั้งที่ลูกค้าเข้าไปตัดผม จะทำให้ลูกค้าชายเหล่านั้นมีแนวโน้มในการไปพบแพทย์เพื่อจัดการกับปัญหาความดันโลหิตสูงมากขึ้น และทำให้คนเหล่านั้นให้กลับมามีความดันระดับปกติในที่สุด งานวิจัยที่ลงพิมพ์ในวารสารวิชาการ Archives of Internal Medicine เขาทดลองให้ร้านตัดผม 17 ร้าน ในรัฐเท็กซัสในเขตดัลลัส เคาน์ตี้ ซึ่งเป็นเขตที่มีผู้อยู่อาศัยเป็นอเมริกันชนผิวสี ลองเสนอบริการเสริมที่ว่านั้น โดยแยกการบริการออกเป็นสองระดับ ร้านกลุ่มแรก (8 ร้าน) แจกแผ่นพับให้ความรู้กับลูกค้าที่มีความดันโลหิตสูงเกินปกติ ร้านกลุ่มที่สอง (อีก 9 ร้านที่เหลือ) ทั้งแจกแผ่นพับและตรวจวัดความดันให้ลูกค้าทุกครั้งที่มาใช้บริการ พร้อมกับให้ช่างผมคะยั้นคะยอให้ลูกค้าไปพบแพทย์ ข่าวบอกว่าถ้าลูกค้ามีผลการตรวจจากแพทย์มาแสดง ก็จะได้ตัดผมฟรีอีกด้วย ผลปรากฏว่า ลูกค้าร้านตัดผมเกินกว่าครึ่งหนึ่งสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตของตนเองได้ ทั้งนี้มีลูกค้าถึงร้อยละ 20 ในกลุ่มที่ได้รับบริการตรวจเช็คความดันทุกครั้งที่ไปใช้บริการในช่วงเวลา 2 ปี กลับมามีความดันโลหิตในระดับปกติด้วย ... เป็นบริการเสริม (สุขภาพ) ที่เข้าท่าดีเหมือนกันนะนี่   คูปองลดความอ้วน สมาชิกที่ติดตามช่วงกระแสต่างแดน คงจำกันได้ว่าเมืองนิวยอร์กนั้นเขาช่างมุ่งมั่นสร้างสุขภาพให้ชาวเมืองอยู่เนืองๆ คราวนี้นายกเทศมนตรีนายไมเคิล บลูมเบิร์ก สร้างกระแสอีกครั้งด้วยการเสนอให้มีการตั้งกฎห้ามใช้คูปองอาหารเพื่อแลกซื้อน้ำอัดลมหรือเครื่องดื่มผสมน้ำตาลชนิดอื่นๆ ซึ่ง ณ ปัจจุบัน คูปองดังกล่าวซึ่งแจกให้กับผู้มีรายได้น้อย เช่น ผู้อพยพ ผู้สูงอายุ หรือผู้พิการฯ ก็ไม่สามารถใช้แลกซื้อบุหรี่ เครื่องดื่มอัลกอฮอล์ หรืออาหารสำเร็จรูปได้ เขาว่าเจตนาของมาตรการดังกล่าวคือการลดจำนวนผู้เป็นโรคอ้วนและโรคเบาหวานในเมืองนิวยอร์ก แต่หลายคนมองว่ามันเป็นการกล่าวหาผู้มีรายได้น้อยว่าพวกเขาเลือกซื้ออาหารไม่เป็น บางคนเสนอว่าแค่จัดโปรแกรมให้ความรู้เรื่องโทษของการดื่มน้ำอัดลมก็น่าจะเพียงพอ บลูมเบิร์กบอกว่าขอทดลองห้ามสักสองปีก่อน เพื่อดูว่าจำนวนผู้ป่วยเบาหวานจะลดลงหรือไม่ ถ้าคำตอบคือใช่ ก็อาจจะห้ามตลอดไป เครื่องดื่มที่อยู่ในข่ายถูกห้ามซื้อด้วยคูปองได้แก่ เครื่องดื่มที่ให้พลังงานสูงกว่า 10 คาลอรี่ต่อ 8 ออนซ์ ข้อเสนอดังกล่าวได้รับการรับรองจากรัฐนิวยอร์กแล้วและกำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของกระทรวงเกษตร ซึ่งเป็นผู้ดูแลเรื่องคูปองอาหารของอเมริกา คุณบลูมเบิร์กแกคงต้องลุ้นตัวโก่ง เพราะเมื่อปีค.ศ. 2004 กระทรวงเกษตรเคยปฏิเสธข้อเสนอของรัฐมินิโซตา ที่ต้องการให้ห้ามนำคูปองดังกล่าวไปซื้ออาหารขยะมาแล้ว เหตุที่เมืองนี้เขาจริงจังกันมากเรื่องการลดน้ำตาลก็เพราะมีสถิติอย่างเป็นทางการว่า 1 ใน 8 ของผู้ใหญ่ที่นั่นเป็นโรคเบาหวาน และเกือบร้อยละ 40 ของนักเรียนโรงเรียนรัฐบาลในระดับอนุบาลถึงมัธยมศึกษาปีที่สอง มีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน และอัตราการเป็นโรคอ้วนในย่านที่ผู้อยู่อาศัยมีรายได้น้อยนั้นจะสูงกว่า ในขณะเดียวกันก็พบว่าอัตราการบริโภคเครื่องดื่มที่เติมน้ำตาลในเขตรายได้ต่ำนั้นจะสูงกว่าด้วย เทศบาลเมืองนิวยอร์กเคยเสนอให้มีการเก็บภาษีจากน้ำอัดลมมาแล้ว แต่ก็ถูกแรงต้านจากอุตสาหกรรมเครื่องดื่มและบรรดาร้านขายของชำไม่น้อย โฆษกสมาคมเครื่องดื่มแห่งอเมริกาออกมาโต้ตอบข้อเสนอของนายกเทศมนตรีว่า “นี่เป็นอีกครั้งที่รัฐบาลพยายามจะเข้ามากำหนดว่าคนนิวยอร์กจะดื่มจะกินอะไร” ก็... นะ สำนักอนามัยเขาประเมินไว้ว่าการดื่มน้ำอัดลมปริมาณ 12 ออนซ์ซึ่งให้พลังงานสูงถึง 150 คาลอรี่ ทุกวัน จะทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นปีละ 15 ปอนด์  ซึ่งก็ไม่น่าจะใช้สิ่งที่คนนิวยอร์กต้องการอยู่แล้ว   ฉลากใหม่ลดขยะ ญี่ปุ่นเขาก็มีปัญหาเรื่องฉลากกับเขาเหมือนกัน แต่รู้สึกว่าจะเป็นคนละแนวกับบ้านเรา เคยเห็นแต่ปัญหาอาหารหมดอายุแล้วยังวางขายอยู่ แต่ที่นี่บรรดาร้านค้าปลีกเขารีบเก็บอาหารสำเร็จรูปออกจากชั้นก่อนจะถึงวันหมดอายุจริง ซึ่งทำให้อาหารที่ยังรับประทานได้อยู่ต้องกลายเป็นขยะไปโดยไม่จำเป็น  องค์กรผู้บริโภคของญี่ปุ่นเลยต้องลงมือทำอะไรสักอย่างเพื่อลดปริมาณขยะจากอาหารสำเร็จรูปซึ่งกระทรวงเกษตรของญี่ปุ่นประเมินไว้ว่ามีปริมาณ 5 ล้าน ถึง 9 ล้านตันต่อปี  ว่าแล้วก็เสนอให้รัฐบาลออกคำแนะนำเรื่องการติดฉลากอาหารพวกนี้ ก่อนที่จะประกาศใช้มาตรการติดฉลากแบบแจ้งเวลาที่เหมาะที่สุดในการรับประทาน (best-by date) โดยให้ผู้ผลิตอาหารเพิ่มข้อความเพื่อแจ้งผู้บริโภคว่าอาหารเหล่านั้นยังสามารถรับประทานได้แม้จะผ่านช่วงเวลา “ที่ดีที่สุด” ไปแล้วก็ตาม  ข่าวบอกว่าระบบฉลากที่แสดง best-by date นั้นจะเริ่มใช้ในเดือนมีนาคมปีหน้า ปัจจุบันประเทศญี่ปุ่นยังใช้ระบบฉลากที่แสดงว่าควรบริโภคก่อนวันที่เท่าไร (use-by date) แต่ก็อย่างที่บอกไป บรรดาร้านค้าต่างก็ไม่ยอมเสี่ยงขายอาหารสำเร็จรูปที่เก็บไว้เกินหนึ่งในสามของเวลาระหว่างวันผลิตจนถึงวันหมดอายุ เรียกว่าเสียของข้าไม่ว่า ... เสียหน้าข้ายอมไม่ได้   ดูไบเข้มงานคุ้มครองผู้บริโภคฉลาดซื้อขอพาคุณผู้อ่านไปเยือนรัฐดูไบ ของประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์กันบ้าง ทุกท่านคงทราบอยู่แล้วว่าที่นั่นมีแต่ของแพง ของมีระดับ คราวนี้ดูไบบอกว่าเขาต้องการสร้างชื่อในการเป็นแหล่งช็อปปิ้งและท่องเที่ยวระดับเวิร์ลด์คลาสด้วยการยกระดับการคุ้มครองผู้บริโภคด้วย ว่าแล้วก็เริ่มจากการกำหนดให้ร้านค้าต่างๆ ติดประกาศแจ้งสิทธิของผู้บริโภคบริเวณหลังเคานท์เตอร์คิดเงิน ให้สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน ขนาดตัวอักษรนั้นเขาก็กำหนดไว้ทางอ้อมด้วยการทำประกาศสำเร็จรูปไว้ให้ร้านต่างๆเข้าไปดาวน์โหลดจากเว็บไซต์ของหน่วยงาน แล้วสั่งพริ๊นท์บนกระดาษขนาด A4 เป็นอย่างต่ำ ใครอยากพิมพ์เองให้สวยกว่านั้น เขาก็ระบุไว้ว่าขนาดตัวอักษรต้องไม่เล็กไปกว่าฉบับที่เตรียมไว้สำเร็จรูปนั้นแล นอกจากนี้ยังต้องแจ้งให้ทราบด้วยว่าถ้าผู้บริโภคถูกละเมิดสิทธิ จะต้องติดต่อที่ไหน อย่างไร ข่าวบอกว่าเขาจะมีผู้ตรวจการจากส่วนงานคุ้มครองผู้บริโภค กระทรวงพัฒนาเศรษฐกิจ มาคอยสอดส่องดูแล ใครไม่ติดประกาศที่ว่า ก็จะถูกตักเตือนหนึ่งครั้ง เตือนแล้วยังไม่ติดก็จะต้องเสียค่าปรับประมาณ 81,000 บาท หรืออาจจะถูกสั่งปิดร้านชั่วคราวไปเลย การแจ้งให้ผู้บริโภคได้ทราบถึงสิทธิของตนเองนั้นครอบคลุมไปถึงธุรกิจอื่นๆ อย่างอสังหาริมทรัพย์ หรือบริการการเงินการธนาคารด้วย  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 108 กระแสต่างแดน

เรื่องเท้าของสาวอังกฤษ ไม่ใช่มีแต่สาวจีนเท่านั้นที่นิยมการมีเท้าเล็ก ข้อมูลงานวิจัยของสมาคมแพทย์โรคเท้าแห่งอังกฤษระบุว่าในช่วงมหกรรมลดราคารองเท้าประจำหน้าร้อนเมื่อปีก่อน มีสาวเมืองผู้ดีร้อยละ 37 ซื้อรองเท้าที่เล็กกว่าขนาดเท้าจริงของพวกเธอ (ข่าวบอกว่าปัจจุบันขนาดเท้าโดยเฉลี่ยของสาวอังกฤษเท่ากับ เบอร์ 6)งานวิจัยครั้งนี้สำรวจผู้หญิงอังกฤษจำนวน 2,000 คน โดยสมาคมดังกล่าวยังพบอีกว่าร้อยละ 80 ของผู้หญิงกลุ่มนี้มีปัญหาเกี่ยวกับเท้า เช่น นิ้วเท้าผิดรูป เล็บขบ เป็นต้น แต่มีเพียงร้อยละ 40 เท่านั้นที่ไปพบแพทย์ ร้อยละ 73 ของสาวๆ เหล่านี้ ใส่รองเท้าที่มีส้นสูงเกินห้านิ้วอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง โดยแต่ละครั้งจะสวมเป็นเวลาประมาณ 6 ชั่วโมง มีเพียงร้อยละ 4 เท่านั้นที่สวมรองเท้าที่มีส้นสูงไม่เกินสองนิ้วที่น่าเป็นห่วงคือแม้บรรดาผู้เชี่ยวชาญจะออกมาแนะนำว่าไม่ควรใส่รองเท้าส้นสูงเกินอาทิตย์ละหนึ่งครั้ง แต่ก็ยังมีจำนวนไม่น้อยที่ใส่ส้นสูงกันห้าวันต่อสัปดาห์ผู้เชี่ยวชาญบอกว่าความจริงแล้วปัญหาเท้านั้นแก้ไขได้ง่ายๆ ด้วยการใส่รองเท้าที่เป็นมิตรต่อเท้า แต่ที่ยากคือจะทำอย่างไรให้สาวๆ ยอมเลิกใส่รองเท้าส้นสูงซึ่งใครๆ ก็บอกว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่จะเสริมลุคให้ดูดีนั่นเอง ก็ไม่แน่นักเพราะแม้แต่วิคตอเรีย เบคแฮม ที่เคยให้สัมภาษณ์ว่าถ้าเธอไม่ได้ใส่ส้นสูงแล้วจะคิดอะไรไม่ออก ก็ยังเปลี่ยนมาใส่รองเท้าส้นแบนสลับกับรองเท้ากีฬาเวลาที่เธอไปไหนมาไหน เหตุผลน่ะหรือ ก็เพราะเธอคือหนึ่งในสาวอังกฤษที่เป็นโรคนิ้วเท้าผิดรูปนั่นเอง +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ ต้องการอาสาสมัครเปิดเผยข้อมูลการใช้โทรศัพท์ถ้าเราใช้โทรศัพท์มือถือบ่อยๆ เราจะมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคระบบประสาท เนื้องอก โรคซึมเศร้า หรือโรคนอนไม่หลับ มากกว่าคนที่ไม่ค่อยใช้หรือไม่ งานวิจัยชิ้นล่าสุดโดยองค์กรที่ดูแลเรื่องความปลอดภัยของนิวเคลียร์และรังสีของประเทศฟินแลนด์ (STUK) กำลังจะหาคำตอบนี้ให้ได้ ด้วยงานวิจัยแบบที่ยังไม่มีใครกล้าทำมาก่อน การสำรวจที่เกิดจากการผลักดันขององค์การอนามัยโลกครั้งนี้จะเป็นการขอข้อมูลการใช้โทรศัพท์ของผู้ใช้โทรศัทพ์มือถือโดยตรงจากผู้ให้บริการ เหตุที่เลือกทำงานสำรวจดังกล่าวที่ฟินแลนด์ก็เพราะที่นั่นมีการใช้โทรศัพท์มือถือกันมานานกว่าที่ใดๆ ในโลก (คนที่นั่นเขาใช้มือถือมาตั้งแต่ช่วงปี 80 แล้ว) ในปีที่ผ่านมาผู้วิจัยได้สุ่มหมายเลขโทรศัพท์ขึ้นมา 30,000 เลขหมาย และส่งเอกสารไปยังเจ้าของเบอร์เหล่านั้น เพื่อให้ลงชื่อแสดงความยินยอมให้ผู้ให้บริการมือถือของตนเปิดเผยข้อมูลการใช้โทรศัพท์ (หมายเลข และเวลา) กับองค์กร STUKใครที่ยินดีเข้าร่วมงานวิจัยก็ให้ลงชื่อและส่งกลับมา จากนั้นพวกเขาก็จะได้รับแบบสอบถามเกี่ยวกับสุขภาพและพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์ของตนเอง ข่าวไม่ได้บอกว่าเขาต้องการผู้เข้าร่วมกี่คน แต่บอกว่าการสุ่มหมายเลขหาอาสาสมัครนี้จะยังดำเนินการต่อไปในปีนี้และปีหน้าด้วย ก็ได้แต่หวังว่าคนประเทศนี้เค้าจะไม่มีกิ๊กกันมากนัก ไม่เช่นนั้นคงต้องรอกันนานกว่าจะได้อาสาสมัครที่ยอมเปิดเผยข้อมูลการใช้โทรศัพท์มือถือตามจำนวนที่นักวิจัยเขากำหนด และอาจจะไม่เสร็จภายในเวลาห้าปีตามแผน +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ อวตาร VS ขงจื้อ รัฐบาลจีนเขาใช้มาตรการเด็ดขาดในการลดคู่แข่งให้กับภาพยนตร์ชีวประวัติของขงจื้อซึ่งจะเข้าฉายในช่วงวันหยุดตรุษจีนที่เพิ่งผ่านไป เรื่องนี้ทำได้ไม่ยากแค่ประกาศยกเลิกการฉายภาพยนตร์แอนิเมชั่นอวตาร ในแบบสองมิติในโรงหนังทั่วประเทศจีนเท่านั้นเอง ถ้าใครอยากดูจริงๆ ก็ต้องไปดูในแบบสามมิติที่ยังมีฉายอยู่ตลอดเดือนกุมภาพันธ์ ทางผู้ประกอบการโรงภาพยนตร์ UME ของจีนเขาบอกว่าไม่น่าจะมีผลกระทบใดๆ (ก็คงจะไม่มีจริงๆ นั่นแหละเพราะร้อยละ 90 ของโรงหนังค่ายนี้เป็นโรงหนังสามมิติหรือไม่ก็โรงหนังไอแม็กซ์) และการถอนโปรแกรมเรื่องอวตารซึ่งทำยอดขายตั๋วได้สูงที่สุดในประเทศจีน (ได้ไปแล้วไม่ต่ำกว่า 300 ล้านหยวน หรือ 1,500 ล้านบาท) ออกไปจะทำให้มีโรงสำหรับฉายภาพยนตร์เรื่องขงจื้อมากขึ้น แต่ผู้บริโภคนี่สิ ถ้าอยากดูก็ต้องจ่ายค่าตั๋วหนังแพงขึ้น ในขณะที่ตั๋วหนังธรรมดาใบละไม่เกิน 40 หยวน (200 บาท) ถ้าเป็นตั๋วหนังสามมิติก็ไม่ต่ำกว่า 60 หยวน (300 บาท) โรงไอแม็กซ์ก็ไม่ต่ำกว่า 130 หยวน (650 บาท) ที่ประเทศจีนมีโรงภาพยนตร์ธรรมดาทั้งหมด 4,500 โรง โรงหนังสามมิติ 800 โรง และโรงหนังไอแม็กซ์อีก 10 กว่าโรง ++++++++++++++++++++++++++++++++++++ อินเดียหยุดแผนปลูกมะเขือดัดแปรพันธุกรรมเมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้วรัฐบาลอินเดียประกาศอนุญาตให้มีการปลูกมะเขือม่วงดัดแปรพันธุกรรมพันธุ์ BT bringal เพื่อการค้าได้ หลังจากที่การปลูกในแปลงทดลองเป็นผลสำเร็จในปีก่อนหน้านั้น แต่วันนี้นายใจราม ราเมช รัฐมนตรีกระทรวงสิ่งแวดล้อมของอินเดีย ออกมาประกาศว่าอินเดียจะระงับการปลูกพืชดังกล่าวไว้ก่อน จนกว่าจะมีผลการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมอีกว่ามันปลอดภัยต่อผู้คนและสิ่งแวดล้อม เรื่องนี้กำลังเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันอย่างรุนแรงในอินเดีย ข่าวระบุว่าคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับการปลูกพืชดัดแปรพันธุกรรมชนิดนี้มีอยู่อย่างละเท่าๆ กัน เกษตรกรส่วนหนึ่งมองว่านี่คือทางรอดของพวกเขาเพราะทุกวันนี้ต้องใช้สารเคมีปริมาณมากในการควบคุมวัชพืชให้กับมะเขือม่วง พวกเขาหวังว่าเจ้า BT bringal ที่คิดขึ้นมาโดย บริษัท Mahyco ซึ่งเป็นหุ้นส่วนของมอนซานโต ในอินเดียนั้นจะเป็นคำตอบ ในขณะที่อีกฝ่ายยังไม่เชื่อว่ามะเขือม่วงแบบดัดแปรพันธุกรรมนั้นจะสามารถช่วยเกษตรกรประหยัดค่าใช้จ่ายสำหรับสารเคมีได้จริง เพราะพวกเขาเห็นมาแล้วว่าฝ้ายดัดแปรพันธุกรรม BT cotton ที่ปลูกกันมาได้ระยะหนึ่งแล้วนั้นไม่ได้ช่วยลดการใช้สารเคมีหรือเพิ่มผลผลิตต่อไร่แต่อย่างใด อินเดียคือผู้ผลิตมะเขือม่วงรายใหญ่ที่สุดในโลก และมีมะเขือชนิดนี้มากกว่า 4,000 พันธุ์ ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ เลิกสะสมแต้มกันเถอะบัตรสะสมแต้มของห้างค้าปลีกไม่ได้ช่วยให้คุณจับจ่ายได้อย่างคุ้มค่าขึ้นแต่อย่างใด งานวิจัยโดยนิตยสารเพื่อผู้บริโภค Choice ของออสเตรเลียเขายืนยันว่าอย่างนั้น Choice พบว่าในปีที่ผ่านมาคนออสซี่ใช้จ่ายเงินในห้างค้าปลีกสัปดาห์ละ 156 เหรียญ (ประมาณ 4,600 บาท) ถ้าคิดจากอัตรานี้ ผู้บริโภคที่เป็นเจ้าของบัตรสมาชิกห้างค้าปลีกจะต้องใช้เวลา 7 ปีถึงจะสะสมแต้มได้เพียงพอสำหรับแลกตั๋วเครื่องบินไปกลับซิดนีย์ – เมลเบิร์น (ไม่รวมภาษีและค่าธรรมเนียม) แต่ปัญหาคือเจ้าคะแนนสะสมที่ว่านั้นมีอายุแค่ 3 ปีเท่านั้น นอกจากนี้เขายังพบอีกว่าสมาชิกห้างโคลหรือวูลเวิร์ธ ต้องใช้จ่ายไม่ต่ำกว่า 15,000 หรือ 11,000 เหรียญ (442,000 หรือ 324,000 บาท) ตามลำดับ ถึงจะแลกคูปองราคา 50 เหรียญ (1,400 บาท) ซึ่งคิดแล้วก็เท่ากับการได้ส่วนลดไม่เกิน 70 เซ็นต์ (20 บาท) ต่อการซื้อของในหนึ่งสัปดาห์ ซึ่งเราสามารถประหยัดเงินจำนวนเท่านั้นได้ทันทีด้วยด้วยการซื้อของให้น้อยลงหนึ่งชิ้น หรือเลือกยี่ห้อที่ราคาถูกกว่า หรือถ้าจะให้ดีก็ไปซื้อจากร้านที่เขาขายถูกกว่านั้นเสียเลย ไม่จำเป็นต้องรักเดียวใจเดียว คนที่ได้ประโยชน์ไปเต็มๆ จากบัตรสมาชิกเหล่านี้ก็มีแต่ทางห้างที่ออกบัตรนั่นเอง เพราะนอกจากยอดขายจะเพิ่มขึ้นเห็นๆ (มีสถิติที่ระบุว่าลูกค้าทั่วไปของห้างแห่งหนึ่งใช้จ่ายเฉลี่ยปีละประมาณ 23,500 บาท ในขณะที่ลูกค้าที่มีบัตรสมาชิกของห้างจะใช้จ่ายเฉลี่ยมากกว่านั้นอีกประมาณ 800 บาท) ทางห้างยังได้ข้อมูลส่วนตัวพร้อมพฤติกรรมการจับจ่ายของลูกค้าไปวางแผนการตลาดได้อีก ร้านวอลมาร์ทในอเมริกาก็เคยพบว่า ในช่วงบ่ายวันศุกร์กลุ่มลูกค้าผู้ชายที่อายุระหว่าง 25–35 ปี จะซื้อผ้าอ้อมสำเร็จรูปพร้อมๆ กับเบียร์ ก็เลยย้ายเบียร์มาวางไว้ที่ชั้นใกล้ๆ กับชั้นผ้าอ้อมสำเร็จรูปเสียเลย ผลคือยอดขายเพิ่มขึ้นถล่มทลาย นอกจากนี้บัตรสมาชิกที่ให้สะสมแต้มพวกนี้ยังดึงดูดให้ลูกค้ากลับมาจับจ่ายที่ร้านนั้นๆ อีกด้วย เพราะว่ากันว่าโดยธรรมชาติแล้วผู้บริโภคมักจะหลายใจ(งานวิจัยเรื่องพฤติกรรมผู้บริโภคพบว่ามีลูกค้าเพียงแค่ร้อยละ 10 เท่านั้นที่จะซื้อของจากร้านเดียว) Choice บอกว่าถ้าผู้บริโภคต้องการจะประหยัดก็อย่าไปหวังพึ่งโปรโมชั่นสะสมแต้มพวกนี้ แค่เปลี่ยนไปจับจ่ายในห้างค้าปลีกที่ใกล้บ้านเดือนละครั้ง(อย่างน้อยๆ ก็ประหยัดค่าน้ำมันรถได้ทันที) และเลือกสินค้าแบบเปรียบเทียบราคาต่อหน่วย และถ้าต้องการซื้อของเพียงไม่กี่ชิ้นก็อุดหนุนร้านโชว์ห่วยแถวบ้านดีกว่า

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 98 กระแสต่างแดน

กระแสต่างแดนศศิวรรณ ปริญญาตรเชื่อโค้กซิ ถ้ามีคนบอกคุณว่าน้ำอัดลมโค้กไม่ทำให้คุณอ้วนหรือฟันผุ คุณก็คงไม่เชื่อ แต่เชื่อเถอะนะว่า บริษัทโคคา โคล่า เซาท์ แปซิฟิก เขากล้าโฆษณาให้คุณเชื่ออย่างนั้นจริงๆ   โฆษณาทางโทรทัศน์ชิ้นดังกล่าวมีดารายอดนิยมของออสเตรเลีย เคอรี่ อาร์มสตรอง เป็นพรีเซ็นเตอร์ เคอรี่ซึ่งแต่งงานแล้วและมีลูกชายสามคนพูดกับผู้ชมว่า “ตอนนี้ดิฉันรู้แล้วว่าอะไรจริง อะไรไม่จริง ดีจังที่ได้รู้ว่าเราสามารถดื่มเครื่องดื่มสุดโปรดของครอบครัวต่อไปได้อย่างสบายใจ”   ซึ่งก่อนหน้านั้นเนื้อหาในโฆษณาได้พูดถึง “ข่าวลือ” เกี่ยวกับเครื่องดื่มโค้ก ในทำนอง “เขาว่ากันว่า กินโค้กแล้วอ้วน ... กินโค้กแล้วฟันผุ” จากนั้นก็จบลงด้วยการฟันธงว่า เรื่องเหล่านี้เป็นเพียงแค่ข่าวลือเท่านั้น ก็เท่ากับบอกคนดูว่า เครื่องดื่มโค้กไม่ใช่สาเหตุที่ทำให้เด็กมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น หรือฟันผุ นั่นเอง   โฆษณาชิ้นนี้จึงถูกคณะกรรมการเพื่อผู้บริโภคและการแข่งขันทางการค้าของออสเตรเลียเบรกเข้าอย่างจัง คณะกรรมการฯ สั่งให้โคคา โคล่าออกมาชี้แจงข้อเท็จจริงในโฆษณาดังกล่าวต่อผู้บริโภคโดยด่วน เนื่องจากข้อความในโฆษณาของโค้กนั้นถือว่าอุกอาจอย่างยิ่ง เพราะมันทำให้ผู้บริโภคเกิดความเข้าใจผิดว่าโค้กนั้นไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพเด็ก เรื่องนี้จบลงที่บริษัทโคคา โคล่า ยินยอมซื้อเนื้อที่ในหน้าหนังสือพิมพ์รายวันทั่วทุกรัฐในออสเตรเลีย เพื่อชี้แจงสิ่งที่ตนเองได้โมเมไปก่อนหน้านี้ รวมถึงการชี้แจงในเว็บไซต์ของบริษัทเองด้วย แต่ยังไม่หมด คณะกรรมการฯ ออกคำสั่งให้บริษัทชี้แจงเรื่องปริมาณคาเฟอีนด้วย เนื่องจากบริษัทเคยบอกกับผู้บริโภคเป็นทำนองว่า โค้กไม่ได้มีคาเฟอีนในปริมาณที่มากมายอย่างที่เข้าใจกัน ไดเอทโค้กขนาด 250มล. นั้น มีคาเฟอีนปริมาณเท่ากับครึ่งหนึ่งของชาในปริมาณ 250 มล. เท่านั้น แต่ความจริงแล้ว (ในข้อมูลที่บริษัทได้แก้ไขแล้ว) โค้กมีคาเฟอีนถึง 2/3 ของชาในปริมาณเดียวกัน อยากประหยัด ต้องลดน้ำหนักก่อนบินขณะนี้ในอเมริกานั้นมีการคิดค่าโดยสารเครื่องบินตามน้ำหนักตัวผู้โดยสารมาได้ระยะหนึ่งแล้ว ล่าสุดสายการบินยูไนเต็ดก็ออกมาประกาศว่า ผู้โดยสารที่ตัวใหญ่เกินกว่าที่นั่งในชั้นประหยัดนั้น อาจจะต้องถูกขอร้องให้ซื้อตั๋วสองที่นั่งหรือไม่ก็เพิ่มเงินเพื่อเปลี่ยนเป็นตั๋วชั้นธุรกิจซึ่งที่นั่งมีขนาดใหญ่กว่าแทน สายการบินดังกล่าวบอกว่าเหตุที่ต้องมีนโยบายดังกล่าวขึ้นมาก็เพราะเมื่อปีที่แล้วมีผู้โดยสารไม่ต่ำกว่า 700 คน ที่มาร้องเรียนกับทางบริษัทว่าได้รับความอึดอัดเป็นอย่างยิ่งตลอดการเดินทางเพราะผู้โดยสารที่นั่งข้างๆ นั้นตัวใหญ่เกินไป ในยุคที่สายการบินกำลังประสบปัญหาด้านการเงิน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะหลีกเลี่ยงการถูกฟ้องร้องจากผู้โดยสาร เรื่องนี้เคยเกิดขึ้นแล้วกับสายการบินเวอร์จิน แอตแลนติก ที่ต้องจ่ายค่าเสียหายถึง 13,000 ปอนด์ (ประมาณ 660,000 บาท) ให้กับบาร์บาร่า ฮิวสัน ซึ่งถูกผู้โดยสารที่นั่งข้างๆ เบียดจนได้รับบาดเจ็บอย่างรุนแรงที่กล้ามเนื้อขา (ข่าวบอกว่าทุกวันนี้เธอยังคงต้องใช้ไม้เท้าช่วยในการเดิน) ทางฝั่งอังกฤษก็มีสายการบินไรอันแอร์ ที่ดูเหมือนจะเป็นผู้บุกเบิกในการนำนโยบายดังกล่าวมาใช้บ้าง สายการบินได้ทำการสำรวจความเห็นผู้บริโภคว่า บริษัทควรเก็บเงินจากผู้โดยสารที่มีความต้องการพิเศษหรือไม่ ขณะนี้มีคนโหวตเข้ามาแล้ว 45,000 คน และเกือบร้อยละ 50 เห็นด้วยกับการคิดเงินเพิ่มจากผู้โดยสารที่มีน้ำหนักเกิน (เสียงโหวตยอดนิยมอันดับสองได้แก่ การคิดเงินเพิ่มจากคนที่เข้าไปสูบบุหรี่ในห้องน้ำบนเครื่องบิน) ความจริงเรื่องการคิดเงินเพิ่มจากผู้โดยสารที่มีน้ำหนักเกินนี้เป็นสิ่งที่สายการบินต่างๆ คิดมานานแล้วแต่ไม่มีใครกล้าทำจริงๆ แต่ไรอันแอร์บอกว่าคราวนี้เป็นเสียงเรียกร้องจากผู้โดยสารเอง แต่ข่าวเขาไม่ได้บอกนะว่า จะลดค่าโดยสารให้กับผู้โดยสารที่มีน้ำหนักตัวต่ำกว่ามาตรฐานด้วยหรือเปล่า โปรดิวเซอร์ภาพยนตร์สีเขียว คุณก็เป็นได้ หลายคนอาจเคยได้ยินข่าวเรื่องการเปิดตัวภาพยนตร์เพื่อสิ่งแวดล้อมเรื่อง The Age of Stupid เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมาแล้ว เหตุการณ์เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 2055 เมื่อโลกเข้าสู่ภาวะล่มสลาย ตัวเอกซึ่งเป็นชายชราคนหนึ่งมองกลับไปยังอดีตของเขา แล้วถามตนเอง (ถามคนดูด้วย) ว่าเหตุใดมนุษย์จึงไม่ลงมือทำอะไรในขณะที่พวกเขายังมีโอกาส ภาพยนตร์เรื่องนี้มีสิ่งที่น่าสนใจหลายอย่าง นอกจากจะมีดารานำที่เคยได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์มาแล้ว และมีผู้กำกับคือ แฟนนี่ อาร์มสตรอง ก็เคยที่ทำภาพยนตร์เรื่อง McLibel เมื่อปี 2005 ซึ่งเป็นภาพยนตร์เกี่ยวกับนักต่อสู้เพื่อสิ่งแวดล้อมสองคนที่เคยยืนหยัดต่อต้านยักษ์ใหญ่ฟาสต์ฟู้ดอย่างแมคโดนัลด์มาแล้ว อีกแง่มุมหนึ่งที่น่าสนใจคือที่มาของเงินทุนที่ใช้ในการสร้างหนังเรื่องดังกล่าวผู้อำนวยการสร้างหนังเรื่องนี้มีทั้งหมด 228 ราย (ในนี้มีทีมฮ็อคกี้ และศูนย์สุขภาพด้วย) ซึ่งก็คือคนกลุ่มหนึ่งที่ยินดีบริจาคเงินให้กับทีมผู้สร้าง ด้วยการลงหุ้น (ในที่นี้น่าจะเป็นลงขัน) กันคนละตั้งแต่ 500 ถึง 35,000 ปอนด์ รวมๆ แล้วเป็นทุนสร้างทั้งหมด 450,000 ปอนด์ (ประมาณ 23 ล้านบาท) ที่ทีมงานสามารถนำไปสร้างหนังได้โดยไม่มีการแทรกแซงแต่อย่างใด แฟนนี่บอกว่า สาเหตุที่มีคนจำนวนถึง 25 ล้านคนได้รับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับแมคโดนัลด์ ทั้งๆ ที่หนังเรื่อง McLibel ของเธอถูกห้ามฉายในโรงภาพยนตร์ ก็เพราะว่ามันเป็นหนังที่เธอเป็นเจ้าของเอง และเธอสามารถให้สิทธิการฉายกับช่องเคเบิลที่ติดต่อเข้ามา และการที่เธอไม่ได้รับสปอนเซอร์จากบริษัทใดๆ ก็หมายความว่าเธอสามารถนำเสนอเรื่องราวได้อย่างตรงไปตรงมา ไม่ต้องตัดบางตอนออกเพราะเกรงใจใครด้วย ส่วนการฉายรอบปฐมทัศน์ของหนังเรื่องนี้ก็แหวกแนวเล็กน้อย แทนที่จะเป็นการจำกัดเฉพาะนักข่าวบันเทิงหรือคนดังที่ดูอยู่ที่โรงภาพยนตร์แห่งหนึ่งในลอนดอน ผู้จัดได้ฉายพร้อมๆ กัน ในโรงหนัง 60 โรงทั่วประเทศอังกฤษ รวมถึงในอินเตอร์เน็ตด้วย ที่เก๋ไปกว่านั้นคือ ผู้กำกับบอกด้วยว่าในการถ่ายทำหนังเรื่องนี้ มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกสร้างขึ้นตลอดเวลาการถ่ายทำเป็นปริมาณทั้งหมด 94 ตัน ซึ่งก็เท่ากับปริมาณก๊าซดังกล่าวที่คนอเมริกัน 4 คน หรือคนอังกฤษ 8 คน จะสร้างขึ้นในเวลา 1 ปี นั่นเอง เพื่อน .. เราหลอกนายว่ะเราควรจะดีใจที่มีสินค้ามากมายในท้องตลาดที่ “เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม” เพราะมันทำให้ผู้บริโภคอย่างเราๆ รู้สึกว่าได้มีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสภาพแวดล้อม แต่…เราดีใจไม่ออกเสียแล้ว เพราะความจริงคือ มีเพียงร้อยละ 2 ของผลิตภัณฑ์เหล่านี้เท่านั้นที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจริงๆ นี่คือผลการสำรวจโดยองค์กร TerraChoice Environmental Marketing ซึ่งเป็นองค์กรของรัฐบาลแคนาดา ที่มีหน้าที่สอดส่องดูแลการเรื่องฉลากแสดงความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ องค์กรดังกล่าวบอกว่ามีจำนวนผลิตภัณฑ์ที่อ้างว่า “เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม” เพิ่มขึ้นอย่างมากมายในช่วงสองปีที่ผ่านมาและผู้ผลิตก็เริ่มใช้เทคนิคการตลาดที่หลากหลายขึ้น ความจริงแล้วก็เป็นเรื่องดี เพราะนั่นหมายความว่าผู้บริโภคกำลังให้ความสนใจต่อเรื่องของสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และบริษัทก็พยายามจะสนองตอบความต้องการนั้นๆ แต่ข่าวร้ายคือ เมื่อทำการสำรวจดูสินค้าในซูเปอร์มาร์เกตในอเมริกาและแคนาดาทั้งหมด 2,219 ชิ้น (องค์กรดังกล่าวบันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ คำโฆษณา ข้อมูลสนับสนุน และการให้ข้อมูลจากบริษัท แล้วนำมาเปรียบเทียบกับเกณฑ์ขององค์กรรัฐที่ควบคุมดูแลเรื่องการค้าที่เป็นธรรม ทั้งอเมริกาแคนาดา ออสเตรเลีย หรือแม้แต่ ISO) กลับพบว่ามีถึงร้อยละ 98 ของผลิตภัณฑ์ ที่เข้าข่าย “แอบอ้าง” ว่าเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ที่แย่ไปกว่านั้นคือเขาพบว่าผู้ผลิตเหล่านี้มีการอุปโลกน์เครื่องหมายรับรองปลอมๆ จากองค์กรด้านสิ่งแวดล้อมขึ้นมา เพื่อหลอกลวงผู้บริโภคอีกด้วย สถานที่ราชการ กรุณางดตั้งเป็นชื่อบุหรี่องค์กรต่อต้านการสูบบุหรี่แห่งหนึ่งในจีน ลุกขึ้นมาเรียกร้องให้รัฐบาลสั่งห้ามไม่ให้ใช้ชื่อ “จงหนานไห่” เป็นยี่ห้อบุหรี่อีกต่อไป วู ยี ชุน รองผู้อำนวยการขององค์กรพัฒนาเอกชน Think Tank Research Center for Health Development บอกว่าการยินยอมให้มีบุหรี่ยี่ห้อดังกล่าวอยู่ในท้องตลาดต่อไป เท่ากับเป็นการส่งเสริมการสูบบุหรี่ทางอ้อม เธอบอกว่าชื่อ “จงหนานไห่” (ซึ่งเป็นชื่อทำเนียบรัฐบาลของจีน) อาจจะทำให้ผู้บริโภคเกิดความเข้าใจผิดว่าบุหรี่ยี่ห้อดังกล่าวได้รับการรับรองจากรัฐบาล บุหรี่จงหนานไห่ เป็นหนึ่งในบุหรี่ยี่ห้อดังๆ ที่มีขายในประเทศจีน ซึ่งมีมูลค่าการตลาดถึงเจ็ดหมื่นแปดพันล้านหยวน (ประมาณ 40,000 ล้านบาท) นักกฎหมายหลายคนบอกว่าการใช้ชื่อดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายเครื่องหมายการค้า เพราะในมาตรา 10 ของกฎหมายฉบับดังกล่าวระบุว่าห้ามนำชื่อของสถานที่ราชการมาใช้เป็นชื่อยี่ห้อสินค้า แต่ทั้งนี้เมื่อสามปีก่อน สำนักงานเครื่องหมายการค้าแห่งปักกิ่งได้อนุญาตให้บริษัทโรงงานยาสูบปักกิ่งใช้ชื่อ “จงหนานไห่” ได้ต่อไปจนถึงปี ค.ศ. 2017 นี่ไม่ใช่ความพยายามครั้งแรกที่จะให้รัฐบาลห้ามใช้ชื่อของสถานที่ราชการมาตั้งเป็นยี่ห้อสินค้า แต่ที่ผ่านมาก็ยังไม่เคยมีใครประสบความสำเร็จ บริษัทต้องพยายามทุกวิถีทางที่จะเก็บชื่อเดิมไว้ เพราะว่ากันว่าถ้าต้องเปลี่ยนชื่อจริงๆ บริษัทนี้จะต้องสูญเสียเงินเป็นจำนวนหลายร้อยล้านหยวน นอกจากนี้ บุหรี่จงหนานไห่ ยังมีประเด็นที่ไม่เข้าตากรรมการอีกสองเรื่องคือ หนึ่ง บริษัทบอกกับผู้บริโภคว่า ส่วนหนึ่งของรายได้จากการขายบุหรี่ดังกล่าวจะมอบให้กับองค์กรการกุศลที่ทำงานด้านเด็กและเยาวชน สองคือบริษัทสื่อสารให้ผู้สูบบุหรี่เข้าใจว่า บุหรี่ที่มีน้ำมันดินเป็นส่วนประกอบในปริมาณต่ำจะเป็นอันตรายต่อร่างกายน้อยลง ซึ่งไม่เป็นความจริง

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 179 เจ้าของโครงการคนใหม่จะต้องรับผิดต่อผู้บริโภคที่ซื้อคอนโดจากเจ้าของโครงการเดิมอย่างไร

เดิมผู้บริโภคได้ทำสัญญาจะซื้อจะซื้อจะขายห้องชุดจากเจ้าของโครงการคนเดิม  ต่อมาเจ้าของโครงการคนเดิมได้ขายโครงการให้แก่เจ้าของโครงการคนใหม่สองราย ต่อมาผู้บริโภคได้มีหนังสือทวงถามให้เจ้าของโครงการรายใหม่ทั้งสองรายให้โอนห้องชุดให้แก่ตน แต่เจ้าของโครงการรายใหม่ทั้งสองรายไม่ยอมโอนให้โดยอ้างว่า ยังไม่ได้เปลี่ยนสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดเป็นชื่อของเจ้าของโครงการคนใหม่ทั้งสองราย   ผู้บริโภคจึงได้เป็นโจทก์ยื่นฟ้องต่อศาลโดยฟ้องเจ้าของโครงการเดิมเป็นจำเลยที่ 1 เจ้าของโครงการคนใหม่เป็นจำเลยที่ 2 และ 3 ตามลำดับ โดยขอให้ศาลบังคับให้จำเลยทั้งสามให้โอนห้องชุดพิพาทให้แก่โจทก์ หากจำเลยทั้งสามไม่ยอมปฏิบัติก็ขอให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสาม หรือหากโอนไม่ได้ก็ให้ร่วมกันใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ มาดูกันว่าศาลฎีกาจะว่าอย่างไร    คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1412/2557 ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภควินิจฉัยว่า สัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดพิพาทระหว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นสัญญาต่างตอบแทน ฐานะของโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างเป็นทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ซึ่งกันและกัน ไม่มีฝ่ายใดเป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้แต่ฝ่ายเดียว เมื่อต่อมาจำเลยที่ 1 จะขายที่ดินพร้อมอาคารชุด ซึ่งรวมถึงห้องชุดพิพาทด้วยแก่จำเลยที่ 2 และ 3 และจะโอนหนี้ที่เกิดจากสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์ไปยังจำเลยที่ 2 และที่ 3 ด้วย ก็จะใช้วิธีการแบบโอนสิทธิเรียกร้องธรรมดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 หาได้ไม่ แม้จะฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้ดำเนินการเปลี่ยนสัญญากับลูกค้าผู้จองซื้อห้องชุดกับจำเลยที่ 1 ภายในเวลาที่กำหนดไว้แม้แต่รายเดียว ก็มีผลเพียงแค่จำเลยที่ 1 ไม่หลุดพ้นจากความรับผิดเพราะหนี้เดิมมิได้ระงับไปเท่านั้น  แต่ข้อตกลงให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 รับโอนที่ดินพร้อมอาคารชุดพิพาทไปทั้งโครงการรวมทั้งสิทธิเรียกร้องและภาระหนี้ตามสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดในโครงการที่จำเลยที่ 1 มีต่อลูกค้าทุกรายรวมทั้งโจทก์ ก็ยังเข้าเป็นลักษณะเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกรวมอยู่ด้วย การที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 ไม่ได้คัดค้านการโอนที่ดินพร้อมอาคารชุดตลอดทั้งโอนสิทธิและหน้าที่ภาระผูกพันต่างๆ ที่มีต่อลูกค้าผู้จองซื้อห้องชุดระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 และโจทก์มีพฤติการณ์ว่า เข้าถือเอาประโยชน์โดยการทวงถามให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ชำระหนี้แก่ตนด้วยการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดให้ตามสัญญาจะซื้อจะขายแล้ว กรณีจึงต้องตามบทบัญญัติ มาตรา 374  แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 ปฏิเสธไม่โอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาทให้แก่โจทก์ภายในกำหนดเวลาที่โจทก์บอกกล่าวทวงถาม ย่อมเป็นการผิดสัญญา จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะยกเรื่องที่ยังไม่ได้เปลี่ยนสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดเป็นชื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นผู้จะขายมาปฏิเสธความรับผิดไม่ได้ โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสามรับผิดตามสัญญาจะซื้อจะขาย จำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้การต่อสู้ว่าขาดอายุความตามสัญญาจะซื้อจะขาย ซึ่งตามสัญญาดังกล่าวไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เป็นการเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193(30) คดีนี้ก่อนครบ 10 ปี นับแต่จำเลยที่ 1 ผิดนัดก่อสร้างอาคารชุดไม่แล้วเสร็จคือ ปี 2535 จำเลยที่ 1 มีหนังสือลงวันที่ 24 มิถุนายน 2541  ถึงโจทก์ยืนยันว่าจำเลยที่ 1 จะทำโครงการให้แล้วเสร็จ หากจำเลยที่ 1 แก้ไขปัญหาการเงินให้ลุล่วงแล้ว ถือว่าจำเลยที่ 1 กระทำการใดๆ อันปราศจากข้อสงสัย แสดงให้เห็นเป็นปริยายว่า ยอมรับสภาพหนี้ เป็นผลให้อายุความสะดุดหยุดลง ตามมาตรา 193/14(1)  ต้องเรามีการนับอายุความใหม่ ตั้งแต่เวลานั้น ตามมาตรา 193/15 คือวันที่ 24 มิถุนายน 2541  โจทก์ฟ้องวันที่ 28 สิงหาคม 2549 คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ สรุป จำเลยต้องสามต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 140 วิธียื่นฎีกาต่อศาลฎีกาในคดีผู้บริโภค

ตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 ได้เปลี่ยนแปลงระบบการฎีกาสำหรับคดีผู้บริโภคโดยให้ศาลฎีกามีอำนาจกลั่นกรองเฉพาะคดีผู้บริโภคที่มีความสำคัญหรือเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะขึ้นสู่ศาลฎีกาเท่านั้น เป็นการเปลี่ยนแปลงระบบการฎีกาจากเดิมในคดีแพ่งสามัญ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ป.วิ.พ.)มาตรา 248 ที่ใช้ “ ระบบสิทธิ” ซึ่งถือหลักว่า การฎีกาเป็นสิทธิของคู่ความ การห้ามฎีกาเป็นข้อยกเว้นมาเป็น “ ระบบอนุญาต “ ซึ่งถือว่า การฎีกาเป็นสิ่งที่กฎหมายห้าม คู่ความจะสามารถฎีกาได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา เหตุผลก็เนื่องจากระบบการฎีกาแบบเดิมคู่ความที่แพ้คดีมักใช้สิทธิฎีกาเป็นช่องทางในการประวิงคดี ทั้งๆ ที่คดีนั้นไม่เป็นสาระอันควรขึ้นสู่ศาลฎีกา ทำให้การพิจารณาพิพากษาของศาลฎีกาเกิดความล่าช้าโดยไม่จำเป็นและก่อให้เกิดความเดือดร้อนเสียหายแก่คู่ความที่สุจริต ดังนั้น มาตรา 51 แห่ง พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคฯ จึงได้กำหนดให้คู่ความที่ประสงค์จะยื่นฎีกาต้องขออนุญาตจากศาลฎีกาก่อนคดีนั้นจึงจะขึ้นสู่ศาลฎีกาได้ ส่วนวิธีการยื่นฎีกาต่อศาลฎีกานั้นจะต้องทำอย่างไรนั้นก็ศึกษาได้จากกรณีศึกษาดังนี้   คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5344/2554 พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคฯ ได้บัญญัติไว้ในหมวด 4 ว่าด้วยฎีกา และข้อกำหนดของประธานศาลฎีกาว่าด้วยการดำเนินกระบวนพิจารณาและปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานคดีในคดีผู้บริโภคฯ ได้บัญญัติไว้ในหมวด 8 ว่าด้วยฎีกา ไว้เป็นการเฉพาะ ดังนั้น ในการยื่นฎีกาคดีผู้บริโภคจึงต้องอยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติเหล่านั้น บทบัญญัติใน มาตรา 248 แห่ง ป.วิ.พ. จึงไม่อาจนำมาใช้บังคับในคดีผู้บริโภคได้ และตาม พ.ร.บ.ดังกล่าว มาตรา 51 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติให้คดีที่ศาลอุทธรณ์แผนกคดีผู้บริโภคและศาลอุทธรณ์ภาคแผนกคดีผู้บริโภคได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งแล้วคู่ความอาจยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่อขออนุญาตฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงในคดีที่มีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาเกินสองแสนบาทหรือในปัญหาข้อกฎหมายภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์แผนกคดีผู้บริโภคและศาลอุทธรณ์ภาคแผนกคดีผู้บริโภค โดยในวรรคสองได้บัญญัติไว้อีกว่า การยื่นคำร้องตามวรรคหนึ่ง ให้คู่ความยื่นฎีกาไปพร้อมกับคำร้องนั้นด้วย โดยยื่นต่อศาลชั้นต้นที่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งในคดีนั้นแล้วให้ศาลชั้นต้นรีบส่งคำร้องพร้อมฎีกาดังกล่าวไปยังศาลฎีกาเพื่อพิจารณาโดยเร็ว กับมาตรา 52 บัญญัติว่า ศาลฎีกาอาจอนุญาตให้ฎีกาตาม มาตรา 51 ได้ เมื่อเห็นว่าปัญหาตามฎีกานั้นเป็นปัญหาซึ่งเกี่ยวพันกับประโยชน์สาธารณะ หรือเป็นปัญหาสำคัญอื่นที่ศาลฎีกาควรวินิจฉัย จากบทบัญญัติดังกล่าวหมายความว่า เมื่อศาลอุทธรณ์แผนกคดีผู้บริโภคและศาลอุทธรณ์ภาคแผนกคดีผู้บริโภคมีคำพิพากษาหรือคำสั่งแล้ว คู่ความจะยื่นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ คดีนั้นต้องมีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาเกินกว่าสองแสนบาทหากทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินกว่าสองแสนบาท คู่ความก็ไม่อาจฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้เลย ส่วนฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายนั้น ไม่ว่าคดีนั้นจะมีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาเพียงใดก็ตาม คู่ความสามารถยื่นฎีกาได้เสมอ ไม่มีข้อจำกัดห้ามฎีกาแต่อย่างใด แต่ทั้งนี้คดีที่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่สามารถยื่นฎีกาได้ คู่ความที่ฎีกาต้องยื่นคำร้องเพื่อขอให้ศาลฎีกาพิจารณาอนุญาตให้ฎีกาพร้อมกับฎีกาด้วย ศาลชั้นต้นจะด่วนมีคำสั่งรับฎีกาของคู่ความโดยที่คู่ความมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าวเสียก่อนให้ครบถ้วนหาได้ไม่ คดีนี้แม้โจทก์จะฎีกาอ้างว่าเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงและในปัญหาข้อกฎหมายโดยทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาเกินกว่าสองแสนบาทก็ตาม แต่เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาดังกล่าวโดยที่โจทก์มิได้ยื่นคำร้องเพื่อขอให้ศาลฎีกาพิจารณาอนุญาตให้ฎีกาพร้อมกับฎีกา จึงเป็นกรณีที่โจทก์ฎีกาโดยมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าว การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์จึงเป็นการรับฎีกาที่ไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย หมายเหตุ ต่อมามีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5359/2554 วินิจฉัยในทำนองเดียวกัน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 120 แอบทำผิด แต่ไม่ยอมรับ ยังไงก็ต้องรับผิด (2)

  เรื่องผู้บริโภคซื้อห้องชุดโดยเชื่อว่าเป็นโครงการในเครือของบริษัทใหญ่ที่มีชื่อเสียงน่าเชื่อถือ แต่เวลาทำสัญญาผู้บริโภคกลับต้องทำสัญญากับบริษัทฯ โนเนม อีกบริษัทหนึ่ง เมื่อเกิดปัญหาห้องชุดสร้างไม่เสร็จ ผู้บริโภคจะสามารถฟ้องเรียกเงินที่ชำระไปแล้วคืนจากบริษัทใหญ่ที่ไม่ได้เป็นคู่สัญญาได้หรือไม่นั้น มาตามต่อกันเลยครับ   “...จำเลยที่ 2 นำสืบว่าจำเลยที่ 2 เป็นเพียงผู้บริหารการขายซึ่งรับค่าจ้างจากจำเลยที่ 1 โดยทำหน้าที่ชักชวนประชาชนให้มาซื้อห้องชุดในโครงการเท่านั้น ใบโฆษณาเอกสารหมาย จ.18 จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดทำ จำเลยที่ 2 เพียงมีหน้าที่รับไปแจกจ่ายเท่านั้น (ศาล)เห็นว่า ตามใบโฆษณาเอกสารหมาย จ.9 มีข้อความว่า “ บริษัท แผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด(มหาชน) (จำเลยที่ 2) ได้เล็งเห็นถึงความเจริญเติบโตทางธุรกิจที่ขยายตัวเพิ่มมากขึ้นในย่านประตูน้ำจึงพัฒนาแนวคิดทางด้านการจัดศูนย์รวมการค้าขาย ทั้งประเภทการค้าส่งและการค้าปลีกเป็นรูปแบบใหม่ให้เข้ามารวมอยู่ในจุดเดียวกันในชื่อโครงการว่า “ โครงการประตูทองพลาซ่าและคอนโดมิเนียม “ โดยมอบหมายให้บริษัทโกลเด้น เกท พลาซ่า จำกัด “ ซึ่งเป็นบริษัทในเครือเข้ารับผิดชอบเป็นเจ้าของโครงการ และเอกสารโฆษณาหมาย จ.18 แผ่นที่ 5 มีข้อความว่า “ ...รับประกันโดยบริษัทแผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด(มหาชน)  ซึ่งเป็นบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยทั้งหมดเป็นหลักประกันความสำเร็จที่ชัดเจนสำหรับธุรกิจในอนาคตของคุณ”  และในแผ่นที่ 15 และ 21 มีข้อความว่า “ เจ้าของโครงการและกรรมสิทธิ์ที่ดินบริษัทโกลเด้น เกท พลาซ่า จำกัด ทุนจดทะเบียน 10,000,000  บาท บริหารโครงการโดยบริษัทแผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด(มหาชน) (บมจ.474 )ทุนจดทะเบียน 750,000,000 บาท(ชำระเต็มมูลค่า) ประธานกรรมการคุณหญิงศศิมา  ศรีวิกรม์ กรรมการผู้จัดการ นายประภา  สมุทรโคจร...” ซึ่งสอดคล้องกับคำเบิกความของพยานโจทก์ และข้อความดังกล่าวย่อมทำให้พยานโจทก์และประชาชนทั่วไปที่พบเห็นข้อความดังกล่าวเข้าใจว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันดำเนินธุรกิจโครงการประตูทองพลาซ่าและคอนโดมิเนียม โดยเฉพาะจำเลยที่ 2 มีทุนจดทะเบียนสูงถึง 750,000,000 บาท ขณะที่จำเลยที่ 1 มีทุนจดทะเบียนเพียง 10,000,000 บาท  และในเอกสารดังกล่าวมีข้อความย้ำหลังข้อความเกี่ยวกับทุนจดทะเบียนของจำเลยที่ 2 ว่า “ ชำระเต็มมูลค่า“ ประกอบด้วย  ย่อมจูงใจให้ผู้พบเห็นข้อความนี้เชื่อถือโครงการดังกล่าวจากฐานะความมั่นคงของจำเลยที่ 2  ประกอบกับนางสาว ป. พยานโจทก์ซึ่งเป็นผู้บริโภคที่ซื้อห้องชุดในโครงการดังกล่าวคนหนึ่งเบิกความว่า ก่อนตกลงซื้อพยานหนังสือเชิญชวนจากจำเลยที่ 2 ให้ซื้ออาคารและห้องชุดของจำเลยที่ 2 และบริษัทในเครือรวมทั้งโครงการประตูทองพลาซ่าและคอนโดมิเนียมด้วย  ซึ่งเป็นการยืนยันว่าโครงการประตูทองพลาซ่าและคอนโดมิเนียมเป็นโครงการหนึ่งในเครือของจำเลยที่ 2 ข้ออ้างที่ว่าจำเลยที่ 2 เป็นเพียงผู้บริหารโครงการทำหน้าที่ขายและไม่รู้เห็นในการจัดทำเอกสารโฆษณาหมาย จ.18 ทั้งเหตุที่ต้องระบุชื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้บริหารโครงการเพื่อเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามที่ กฎกระทรวงฉบับที่ 4 ที่ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 นั้น ไม่สมเหตุสมผล จึงไม่มีน้ำหนักรับฟังหักล้างพยานหลักฐานโจทก์  แม้ตามสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดเอกสารหมาย จ.2 จ.3 จ.7 จ.10 และ จ.19 เป็นการทำสัญญาระหว่างผู้บริโภคทั้ง 21 ราย ในคดีนี้กับจำเลยที่ 1 ก็ตาม  แต่จากข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ของจำเลยทั้งสองดังกล่าวย่อมฟังได้โดยแจ้งชัดว่า จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ได้ร่วมกันดำเนินธุรกิจโครงการประตูทองพลาซ่าและคอนโดมิเนียมโดยต่างมีประโยชน์ร่วมกันในโครงการดังกล่าว จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อผู้บริโภคทั้ง 21 ราย ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 นั้นชอบแล้ว ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภคเห็นพ้องด้วยในผล ฎีกาข้อนี้ของจำเลยที่ 2 ฟังไม่ขึ้น “   แอบชักใยเบื้องหลัง ก็โดนครับ  

อ่านเพิ่มเติม >