ฉบับที่ 172 ตะกั่วในสีทาบ้าน “ผู้ผลิตไทยลดการใช้ตะกั่วลง”

ปี 2553 และ ปี 2556 ทางมูลนิธิบูรณะนิเวศ* ได้สำรวจตลาดสีน้ำมันทาอาคาร  และส่งตัวอย่างสีเพื่อวิเคราะห์หาปริมาณสารตะกั่ว พบว่า ผู้ผลิตสีน้ำมัน ยังมีการใช้ตะกั่วในการผลิตสี โดยเฉพาะสีโทนสดใส ค่อนข้างสูง จากจำนวนตัวอย่าง 120 ตัวอย่าง ในปี 2556 พบว่า ร้อยละ 93 ของกลุ่มตัวอย่างโทนสีสดใสมีตะกั่วสูงกว่าค่ามาตรฐาน (100 ppm เป็นมาตรฐานแบบสมัครใจไม่ใช่มาตรฐานบังคับ) ในขณะที่ปริมาณตะกั่วในกลุ่มตัวอย่างโทนสีขาว พบว่า ร้อยละ 61 มีตะกั่วสูงเกินกว่า 100 ppm โดยทางนิตยสารฉลาดซื้อได้นำรายชื่อตัวอย่างสี ทั้ง 120 ตัวอย่างไว้ในฉบับที่ 151 กันยายน 2556    และในปี 2558 นี้ ทางมูลนิธิบูรณะนิเวศ ได้สำรวจตลาดสีน้ำมันทาอาคารเป็นครั้งที่สาม เพื่อติดตามสถานการณ์ ซึ่งภาพรวมพบว่า เป็นข่าวดี มีผู้ผลิตสีจำนวน 1 ใน 3 ลดใช้สารตะกั่วในการผลิตสีแล้ว แต่ก็ยังมีบริษัทใหญ่บางแห่งผลิตสีแบบสองมาตรฐาน โดยเลิกใช้ในบางยี่ห้อ แต่ยังคงใช้ในบางยี่ห้อ ส่วนเรื่องฉลากยังพบว่า บางผลิตภัณฑ์มีการหลอกลวงผู้บริโภคโดยระบุฉลากว่า ปราศจากตะกั่ว แต่ผลทดสอบกลับพบมีปริมาณตะกั่วสูงเกินค่ามาตรฐาน     การทดสอบในปี 2558 นี้ ทางผู้วิจัยได้เลือกสียี่ห้อเดียวกันกับตัวอย่างของ ปี 2553 และ 2556 โดย•    เลือกเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่ตรวจพบสารตะกั่วสูงกว่า 100 ppm •    เลือกเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นหลังกลุ่มตัวอย่างของปี 2553 และ 2556•    สียี่ห้ออื่นที่ผลิตโดยผู้ผลิตสีในกลุ่มตัวอย่างของ ปี 2553 และ 2556 รวมทั้งสิ้น 100 ตัวอย่าง(56 ยี่ห้อ จากผู้ผลิต 35 บริษัท) ซึ่งทางฉลาดซื้อจะขอนำเสนอเป็นสองส่วน โดยฉบับนี้จะลงรายชื่อผลิตภัณฑ์ที่พบปริมาณสารตะกั่วเกินค่า 100 ppm จำนวน 61 ตัวอย่าง และอีก 39 ตัวอย่างซึ่งพบปริมาณตะกั่วไม่เกิน 100 ppm จะนำเสนอในฉบับถัดไป         ทดสอบโดยห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ รับรองมาตรฐานโดยโครงการทดสอบความสามารถการวิเคราะห์สารตะกั่วในสิ่งแวดล้อม (Environmental Lead Proficiency Analytical Testing – ELPAT)  2 แห่ง •    ห้องปฏิบัติการ Certottica Scarl ประเทศอิตาลี •    ห้องปฏิบัติการ AIJU Research Center ประเทศสเปน วิธีวิเคราะห์ CPSC – CH – E1003.09.1 •    ขูดสีจากชิ้นไม้ และใช้กรดย่อยสารตะกั่วในสี•    วิเคราะห์สารตะกั่วในสารละลายด้วยเครื่อง ICP - AES *มูลนิธิบูรณะนิเวศ เป็นองค์กรไม่แสวงหากำไร ทำงานเพื่อความเป็นธรรมและความยั่งยืนทางสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยศึกษาและติดตามนโยบายเกี่ยวกับการพัฒนาอุตสาหกรรม สถานการณ์มลพิษอุตสาหกรรม และรูปแบบการบริโภคที่ไม่ยั่งยืน เน้นส่งเสริมความเป็นธรรมในการจัดการสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม ธรรมาภิบาล และความพร้อมรับผิดของหน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานระหว่างประเทศ โดยมุ่งเน้นที่ผลกระทบของสารเคมีอันตรายที่เกิดต่อระบบนิเวศน์ ชุมชน และสุขภาพของคนงานงานศึกษาครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการเพิกถอนสารตะกั่วจากสีในเอเชีย (Asian Lead Paint Elimination Project) เป็นความร่วมมือระหว่างเครือข่ายระหว่างประเทศเพื่อเพิกถอนสารพิษตกค้างยาวนานในสิ่งแวดล้อม (IPEN) และองค์กรภาคประชาสังคมใน 7 ประเทศทั่วเอเชีย ได้แก่ บังคลาเทศ อินเดีย ศรีลังกา เนปาล อินโดนีเชีย ฟิลิปปินส์ และไทย และได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสหภาพยุโรป ภายใต้โครงการส่งเสริมการผลิตและบริโภคอย่างยั่งยืน (Switch Asia)องค์การอนามัยโลกและสหประชาชาติได้กำหนดให้การเพิกถอนสารตะกั่วจากสีเป็นวาระเร่งด่วน โดยจัดตั้งเครือข่ายความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อเพิกถอนสารตะกั่วจากสี (Global Alliance to Eliminate Lead Paint - GAELP) และกำหนดเป้าหมายให้รัฐสมาชิกทุกประเทศออกกฎหมายห้ามใช้สารตะกั่วในการผลิตสีภายในปี 2563  ล่าสุด ประเทศเพื่อนบ้านเริ่มออกกฎหมายห้ามใช้สารตะกั่วในผลิตภัณฑ์สีแล้ว เช่น ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา และเนปาล โดยกรมการค้าต่างประเทศได้ออกแถลงการณ์เตือนผู้ประกอบการไทยให้ปฏิบัติตาม กฎหมายต่างประเทศอย่างเคร่งครัดและพัฒนาปรับปรุงคุณภาพสินค้าของตนอย่างต่อ เนื่องเพื่อไม่ให้เกิดอุปสรรคในการส่งออก เนื่องจากไทยมีมูลค่าการส่งออกสีทาและวานิชไปฟิลิปปินส์เฉลี่ยปีละ 616 ล้านบาท

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 165 เสื้อกัน UV (ต่อ) ทางเลือกใหม่ สำหรับคนชอบใช้ชีวิตกลางแจ้ง

ต่อเนื่องจากเล่มก่อนหน้า เราขอนำเสนอผลการทดสอบเสื้อและชุดว่ายน้ำป้องกันรังสีสำหรับเด็กที่องค์กรทดสอบระหว่างประเทศได้ทำไว้   สัดส่วนการให้คะแนนเป็นดังนี้ -   การป้องกันรังสียูวี  ร้อยละ 60 (ปัจจุบันยังมีหลายมาตรฐานในการวัดค่าการป้องกันรังสียูวี ผู้ผลิตต่างรายจึงใช้มาตรฐานต่างกัน แต่ในที่นี้จะวัดตามมาตรฐาน UV Standard 801) -  ฉลาก  ร้อยละ 30 (หมายถึง การให้ข้อมูลที่ชัดเจนแก่ผู้บริโภค มีการอ้างอิงว่าใช้มาตรฐานใด) -  การใช้สารเคมีร้อยละ 10                

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 164 เสื้อกัน UV ทางเลือกใหม่ สำหรับคนชอบใช้ชีวิตกลางแจ้ง

แม้จะอยู่ใต้ฟ้าแต่เราก็ไม่กลัวแสงแดด เพราะมีผลิตภัณฑ์มากมายที่ช่วยสกัดกั้นไม่ให้รังสีจากดวงอาทิตย์เข้ามาทำร้ายผิวเราได้ นอกจากครีมกันแดด หมวก และร่มแล้ว เรายังมีเสื้อป้องกันรังสียูวีที่ทำออกมาเอาใจผู้ชื่นชอบกีฬากลางแจ้งอีกด้วยนะ ฉลาดซื้อฉบับนี้นำผลทดสอบเสื้อกันรังสียูวี ที่องค์กรทดสอบระหว่างประเทศ ICRT ทำไว้ มาฝากสมาชิกกัน หลักๆ แล้วเขาต้องการดูค่าการป้องกันรังสีของผลิตภัณฑ์ดังกล่าว (ค่า UPF) และดูว่าสอดคล้องกับฉลากหรือไม่ และในกรณีของเสื้อหรือชุดเด็ก จะมีการตรวจหาสารเคมีที่อาจปนเปื้อนมาในเนื้อผ้า เช่น ฟอร์มัลดีไฮด์ โนนิลฟีนอล และพทาเลท ด้วย การทดสอบนี้เป็นไปตามมาตรฐานของเสื้อผ้าที่ป้องกันรังสียูวี UV Standard 801   ครั้งนี้เขาเน้นเสื้อผ้าเด็กเป็นพิเศษ เพราะคนยุโรปเน้นให้เด็กๆ ได้อยู่กลางแจ้งเพื่อรับแสงแดดที่มีไม่บ่อยนักในรอบปี และเสื้อผ้าเหล่านี้ก็เป็นทางออกสำหรับเด็กๆ ที่ไม่ชอบให้ทาครีมกันแดดซึ่งจะว่าไปแล้วก็อาจมีสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อเด็กด้วย สัดส่วนการให้คะแนนเป็นดังนี้ -          การป้องกันรังสียูวี           ร้อยละ 60 (ปัจจุบันยังมีหลายมาตรฐานในการวัดค่าการป้องกันรังสียูวี                                   ผู้ผลิตต่างรายจึงใช้มาตรฐานต่างกัน แต่ในที่นี้จะวัดตามมาตรฐาน UV                                  Standard 801) -          ฉลาก                            ร้อยละ 30 (หมายถึง การให้ข้อมูลที่ชัดเจนแก่ผู้บริโภค มีการอ้างอิง                                       ว่าใช้มาตรฐานใด) -          การใช้สารเคมี                ร้อยละ 10   ฉบับนี้เราขอลงผลทดสอบของเสื้อผู้ใหญ่ 7 รุ่น และเต็นท์สำหรับเด็กอีก 5 รุ่น มาให้ชมกันเป็นน้ำจิ้มก่อน ส่วนผลของชุดและเสื้อยืดเด็กนั้น คุณพ่อคุณแม่อย่าลืมติดตามกันในฉบับต่อไป --------------------------------------------------------------------------------------------------- ทำอย่างไรให้เนื้อผ้าป้องกันรังสียูวีได้? วิธีที่ผู้ผลิตนิยมใช้เพื่อเพิ่มคุณสมบัติการป้องกันแสงแดด ได้แก่ การใช้ผ้าที่ทอหนาและแน่นในการตัดเย็บ เพราะช่องว่างระหว่างเส้นใยที่น้อยลงจะช่วยลดแสงที่ผ่านเข้ามาด้วย การใช้สีย้อม เพราะสีย้อมบางชนิดที่ความเข้มข้นระดับหนึ่ง สามารถลดการส่งผ่านรังสียูวีได้ บางชนิดสะท้อนรังสีออกไปได้บางส่วน บางชนิดจะไม่รับรังสีเข้ามาเลย เช่น สีย้อมสีดำ ณ ปัจจุบัน เราไม่สามารถทราบได้ว่าเสื้อตัวดังกล่าวสามารถกันรังสีได้หรือไม่จากการดูด้วยตาเปล่า ต้องดูจากฉลากที่ระบุค่า UPF เท่านั้น เสื้อผ้าที่ออกแบบมาเพื่อการป้องกันรังสีอาจใช้สีย้อมระดับพรีเมียมซึ่งมีโมเลกุลที่สามารถสกัดรังสีได้ เมื่อใช้สีย้อมมากขึ้น ระดับความเข้มข้นของสีและการป้องกันยูวีก็จะเพิ่มขึ้นด้วย แต่ต้องย้ำว่าสีที่ใช้ (เหลือง แดง ฟ้า เขียว ฯลฯ) ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับค่าการป้องกันยูวี การเติมสารเคมีบางชนิดลงไป เช่น สารเพิ่มความสว่าง และสารต้านยูวี เช่น ไททาเนียมไดออกไซด์ ซิงค์โคไซด์ เบนโซไทรอาโซล ทินูวิน 312 เป็นต้น การเลือกชนิดของเส้นใย เช่นโพลีเอสเตอร์ สามารถต้านรังสีได้ดีมาก ไนลอนก็ทำได้ดี ไหมและขนแกะก็พอใช้ แต่เส้นใยธรรมชาติอย่างฝ้าย เรยอน แฟลกซ์ และปอ ป้องกันรังสีได้ไม่ดีนักถ้าไม่มีการเติมสารเคมีเพิ่มลงไป ที่สำคัญ ผ้าฝ้ายที่ไม่ผ่านการฟอกหรือผ้าสีธรรมชาติจะต้านรังสีได้ดีกว่าฝ้ายที่กัดสีแล้ว   หมายเหตุเพิ่มเติม: Ø เมื่อผ้าถูกยืดออกร้อยละ 10 ความสามารถในการต้านรังสีจะลดลงถึงร้อยละ 40 Ø เมื่อผ้าเปียกน้ำ ความสามารถในการต้านรังสีจะลดลงประมาณร้อยละ 30 - 50 Ø ผ้าเก่าหรือผ้าที่ซีดแล้วจะสามารถป้องกันยูวีได้น้อยลง ---------------------------------------------------------------------------------------------------   ก่อนลงทุนซื้อเสื้อ/ชุดป้องกันยูวี -          เลือกเสื้อผ้าที่มีการติดฉลากตามมาตรฐาน UV 801 -          ถ้าเป็นไปได้ เลือกชนิดที่ป้องกันยูวีโดยวิธีการทางกายภาพ ไม่ใช่ทางเคมี -          ควรเลือกเสื้อผ้าที่ปกปิดแขนทั้งหมดหรือส่วนใหญ่ของแขน และส่วนบนของขา -          ถ้าเป็นชุดเด็ก ค่าการป้องกันยูวี (UPF) ควรอยู่ระหว่าง 40-60 เพื่อให้เด็กได้รับการป้องกันอย่างเพียงพอ --------------------------------------------------------------------------------------------------- เสื้อผู้ใหญ่                                                                                                                                                                       ---- บ้านเรากับเสื้อป้องกันยูวี?   ในบรรดาสิ่งทอคุณสมบัติพิเศษนั้น ที่มาแรงที่สุดในบ้านเราคงไม่มีใครเกินสิ่งทอป้องกันแบคทีเรีย (ก็อากาศร้อน ช่วยขับเหงื่อผู้คนกันขนาดนี้) ส่วนเรื่องสิ่งทอป้องกันยูวีนั้นยังไม่เท่าไร เพราะเรามีจริตที่จะหลบแดดกันอยู่แล้ว ยกเว้นใครที่ต้องทำงานหรือชอบงานอดิเรกที่ต้องอยู่กลางแจ้งจริงๆ เช่นนักกีฬา หรือขาปั่นจักรยาน ที่อาจต้องพึ่งพาผลิตภัณฑ์นี้อยู่   แต่คุณรู้หรือไม่? บ้านเรามีสภาพอากาศและพื้นที่ที่เหมาะกับการปลูกพืชชนิดหนึ่ง ซึ่งเส้นใยของมันสามารถป้องกันรังสียูวีได้โดยธรรมชาติ แถมยังระบายกลิ่นอับได้ดี ประเทศในยุโรปรู้จักใช้ประโยชน์จากใยชนิดนี้มาระยะหนึ่งแล้ว เยอรมนีก็ใช้เพื่อผลิตหมวกป้องกันยูวีให้กับนักกีฬาด้วย พืชที่ว่านี้คือกัญชง (ถูกแล้ว มันเป็นญาติกับกัญชา) ซึ่งเคยมีสถานะเป็นยาเสพติดให้โทษ ประเภท 5 แต่กำลังจะถูกพิจารณาให้เกษตรกรสามารถปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจได้ ในเบื้องต้นสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) กำลังศึกษาวิจัยเพื่อให้ได้เมล็ดพันธุ์กัญชงที่มีระดับเตตร้าไฮโดรแคนนาบินอล (THC) ต่ำ เพื่อแจกจ่ายให้เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนปลูก แต่แม้จะมีการปลูกในภาคเหนือบ้างแล้ว ปริมาณวัตถุดิบก็ยังไม่เพียงพอต่อการผลิต เราจึงยังต้องนำเข้าจากประเทศลาวอีกเป็นจำนวนมาก ว่ากันว่าตอนนี้ราคาขายอยู่ที่กิโลกรัมละ 300 บาท และนอกจากจะนำมาทอผ้าแล้ว เปลือกและเมล็ดของมัน ยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อีกหลายอย่างด้วย   ขอบคุณข้อมูลจาก อ.ดร.ประเทืองทิพย์ ปานบำรุง สาขาวิศวกรรมเคมีสิ่งทอ คณะอุตสาหกรรมสิ่งทอ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ  

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 149 ชั้นในชายสีดำ

ฉลาดซื้อเคยเก็บตัวอย่างเสื้อชั้นในสตรีสีดำมาตรวจหาสารตกค้างจากสีย้อมไปแล้ว คราวนี้ถึงคราวกางเกงชั้นในของผู้ชายกันบ้าง เราทดสอบกางเกงชั้นในชายสีดำที่ทำจากเส้นใยฝ้าย จำนวน 11 ตัวอย่าง สนนราคาตั้งแต่ 25 ถึง 890 บาท มีทั้งที่ผลิตในประเทศไทย และนำเข้าจากต่างประเทศ (จีน ฮ่องกง และบังคลาเทศ) เราส่งตัวอย่างไปทดสอบในห้องปฏิบัติการของศูนย์วิเคราะห์ทดสอบสิ่งทอ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ  เพื่อตรวจหา สารเคมีในสีย้อมที่อาจก่อให้เกิดมะเร็ง ฟอร์มาลดีไฮด์ (สารป้องกันผ้ายับ/ย่น) ค่าความเป็นกรด-ด่าง ในการทดสอบคราวนี้เราไม่พบสารเคมีก่อมะเร็งที่มากับสีย้อมในกางเกงชั้นในชาย 11 ตัวอย่าง  แต่มีอยู่ 2 ตัวอย่างได้แก่ Body Basic และ ZEG ที่ตรวจพบฟอร์มัลดีไฮด์แต่ไม่เกินปริมาณที่มาตรฐานกำหนดไว้ที่ 75 มิลลิกรัม/กิโลกรัม นอกจากนี้ใน 4 ตัวอย่าง (Body Basic / ZEG / H&M และ F&F) ยังพบค่า pH สูงเกินเกณฑ์ด้วย ----------------------------------------------------------------------------------------------- ตลาดชุดชั้นในชายบ้านเรามีมูลค่าประมาณ 2,500 ล้านบาท เป็นตลาดบนร้อยละ 25 และตลาดล่างร้อยละ 75 ผู้ชายซื้อชั้นในปีละไม่เกิน 2 ครั้ง แต่ซื้อครั้งละ 3 – 4 ตัวหรือซื้อยกโหล (กัลยา กมลรัตน์ 2553 ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อชุดชั้นในชายในกรุงเทพมหานคร ) -----------------------------------------------------------------------------------------------   กางเกงใน Rosso รุ่น TC-701 ราคา 129 บาท   ชนิดเส้นใยที่ระบุบนฉลาก ฝ้าย สารก่อมะเร็งในสีย้อม ไม่พบ ฟอร์มัลดีไฮด์ ไม่เกินมาตรฐาน ค่าความเป็นกรดด่าง 7.02     กางเกงใน Body Basic รุ่น Half brief ราคา 159 บาท (แพค 3)   ชนิดเส้นใยที่ระบุบนฉลาก ฝ้าย สารก่อมะเร็งในสีย้อม ไม่พบ ฟอร์มัลดีไฮด์ < 15 มก/กก. ค่าความเป็นกรดด่าง 7.76     กางเกงใน ZEG รุ่น บิกินี ราคา 270 บาท (แพค 3)   ชนิดเส้นใยที่ระบุบนฉลาก ฝ้าย สารก่อมะเร็งในสีย้อม ไม่พบ ฟอร์มัลดีไฮด์ < 15 มก/กก. ค่าความเป็นกรดด่าง 8.12     กางเกงใน GUNMAN ราคา 25 บาท   ชนิดเส้นใยที่ระบุบนฉลาก ไม่ระบุ สารก่อมะเร็งในสีย้อม ไม่พบ ฟอร์มัลดีไฮด์ ไม่พบ ค่าความเป็นกรดด่าง 7.23     กางเกงใน APPLE รุ่น 704 ราคา 49 บาท   ชนิดเส้นใยที่ระบุบนฉลาก ฝ้าย สารก่อมะเร็งในสีย้อม ไม่พบ ฟอร์มัลดีไฮด์ ไม่พบ ค่าความเป็นกรดด่าง 7.26     กางเกงใน ADDER ราคา 129 บาท (แพค 3)   ชนิดเส้นใยที่ระบุบนฉลาก ไม่ระบุ สารก่อมะเร็งในสีย้อม ไม่พบ ฟอร์มัลดีไฮด์ ไม่พบ ค่าความเป็นกรดด่าง 7.29     กางเกงใน H&M รุ่น Trunks Cotton Stretch ราคา 699 บาท (แพค 3)   ชนิดเส้นใยที่ระบุบนฉลาก ฝ้าย สารก่อมะเร็งในสีย้อม ไม่พบ ฟอร์มัลดีไฮด์ ไม่พบ ค่าความเป็นกรดด่าง 8.07   กางเกงใน J. PRESS รุ่น 9127A ราคา 179 บาท (แพค 3)   ชนิดเส้นใยที่ระบุบนฉลาก ฝ้าย สารก่อมะเร็งในสีย้อม ไม่พบ ฟอร์มัลดีไฮด์ ไม่พบ ค่าความเป็นกรดด่าง 7.41     กางเกงใน UNIQLO รุ่น Knit Boxer Trunks ราคา บาท   ชนิดเส้นใยที่ระบุบนฉลาก ฝ้าย สารก่อมะเร็งในสีย้อม ไม่พบ ฟอร์มัลดีไฮด์ ไม่พบ ค่าความเป็นกรดด่าง 6.70     กางเกงใน Calvin Klein รุ่น Hip Brief ราคา 890 บาท   ชนิดเส้นใยที่ระบุบนฉลาก ฝ้าย สารก่อมะเร็งในสีย้อม ไม่พบ ฟอร์มัลดีไฮด์ ไม่พบ ค่าความเป็นกรดด่าง 7.45     กางเกงใน F&F รุ่น FF-ES09MD ราคา บาท   ชนิดเส้นใยที่ระบุบนฉลาก ฝ้ายผสม สารก่อมะเร็งในสีย้อม ไม่พบ ฟอร์มัลดีไฮด์ ไม่พบ ค่าความเป็นกรดด่าง 7.56 ----------------------------------------------------------------------------------------------- โดยทั่วไปผิวหนังคนเรามีความเป็นกรดเล็กน้อย (ค่า ph 5.5) ค่าความเป็นกรด-ด่างที่เป็นมิตรต่อผู้บริโภคสำหรับเสื้อผ้าที่สวมใส่ติดผิวหนัง ควรอยู่ระหว่าง 4 ถึง 7.5  ถ้าสูงกว่านั้นอาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองหรือเป็นผื่นได้ ตามมาตรฐานกางเกงชั้นในชาย ปริมาณฟอร์มัลดีไฮด์ซึ่งเป็นหนึ่งในสารก่อมะเร็งจะต้องไม่เกิน 75 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม --------------------------------------------------------------------------------------------------- พฤติกรรมการซื้อกางเกงชั้นในของผู้ชายสามารถชี้วัดความมั่นคงทางเศรษฐกิจได้ หลายปีก่อน อลัน กรีนสแปน อดีตประธานธนาคารกลางสหรัฐ เคยกล่าวไว้ว่าถ้ายอดขายกางเกงในชายเพิ่มขึ้นร้อยละ 2 -3 นั่นหมายความว่า เศรษฐกิจกำลังอยู่ในขาขึ้น นอกจากนี้บรรดาผู้สังเกตการณ์ด้านแฟชั่นของเว็บขายชั้นในชายแห่งหนึ่งในอังกฤษ ที่ทำสถิติยอดขายระหว่างในช่วงปี 2007 – 2011 ยังพบว่าในเวลาที่เศรษฐกิจดีผู้ชายจะซื้อกางเกงชั้นในที่มีสีสันมากขึ้น และในเวลาที่เศรษฐกิจตกต่ำพวกเขาจะกลับไปซื้อชั้นในสีขาว สีเทา และสีดำเหมือนเดิม ----------------------------------------------------------------------------------------------- ชั้นในมือสอง? ปี 2012 รัฐบาลประเทศซิมบับเว สั่งห้ามการขายหรือนำเข้าชั้นในในมือสอง เพื่อเป็นการปกป้องตลาดชุดชั้นในภายในประเทศและลดปัญหาด้านสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นกับประชากร ก่อนหน้านั้น ในปี 1994 ประเทศกานาก็ประกาศแบนชั้นในมือสองไปแล้วเช่นเดียวกัน ----------------------------------------------------------------------------------------------- จากผ้าเตี่ยวสู่กางเกงชั้นใน แฟชั่นไอเท็มชิ้นแรกของบรรพบุรุษมนุษย์ถ้ำคือผ้าเตี่ยว ซึ่งได้รับความนิยมต่อมาในอารยธรรมอิยิปต์และโรมันด้วย รายละเอียดเรื่องนี้ไม่ชัดเจน แต่จากการขุดค้นสุสานของกษัตริย์ตุตันคาเมน นักโบราณคดีเขาพบผ้าเตี่ยวหรือกางเกงชั้นในของตุตันคาเมนถึง 145 ตัวเลยทีเดียว กางเกงชั้นในแบบสวมเริ่มมีในศตวรรษที่ 13 และ “ชั้นใน” เริ่มมีพัฒนาการในหลายรูปแบบมากขึ้นในหมู่ชายไฮโซ (เช่น คอร์เซท ถุงน่อง) จนกระทั่งในศตวรรษที่ 18 เมื่อมีคนเรารู้จักนำลินินมาใช้ ชั้นในก็เริ่มมีบทบาททำให้ชาวบ้านทั่วไปที่ฐานะยากจนได้มีอายุขัยยืนยาวขึ้นด้วย เพราะการสวมชั้นในช่วยป้องกันไม่ให้ร่างกายต้องสัมผัสกับแบคทีเรียและเกิดการติดเชื้อง่ายเหมือนเมื่อก่อน พอถึงศตวรรษที่ 19 กางเกงชั้นในก็กลายเป็นไอเท็มจำเป็นของผู้คนทุกฐานะอาชีพไปในที่สุด ----------------------------------------------------------------------------------------------- ทำไมต้องสวมกางเกงในออกไปกู้โลก? การตูนเรื่องซูเปอร์แมนเล่มแรกออกวางขายในปี 1938 (หลังจากจ็อคกี้เปิดตัวกางเกงชั้นในรุ่นแรกได้ 3 ปี) คาแรคเตอร์นี้จะต้องสวมเสื้อผ้าเต็มตัว ในขณะเดียวกันก็ต้องโชว์กล้ามเนื้อของซูเปอร์ฮีโร่ตามแบบรูปปั้นคลาสสิก จะให้ฮีโร่ของเด็กๆ ดูโป้เปลือยมันก็กระไรอยู่ ผู้วาดจึงต้องสวมกางเกงให้เขาหนึ่งตัว แฟชั่นกูรูให้ความเห็นว่าสิ่งที่เขาสวมอยู่นั่นไม่ใช่กางเกงชั้นในอย่างที่เราคิดกัน ... ชั้นในที่ไหนจะมีเข็มขัดกันล่ะ ... มันเป็นกางเกงกีฬาว่ายน้ำต่างหาก

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 127 ยีนส์ไฮเอนด์เจ้าไหน ใส่ใจสังคมกว่ากัน

  เดี๋ยวจะหาว่าฉลาดซื้อไม่มีเรื่องตรงใจแฟชั่นนิสต้าเหมือนนิตยสารขายดีเล่มอื่นๆ คราวนี้เราเลยเอาใจบรรดาสาวกบลูยีนส์ กันด้วยการนำเสนอผลสำรวจความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทผู้ผลิตยีนส์เจ้าใหญ่ระดับอินเตอร์ที่คนไทยส่วนใหญ่ก็รู้จักกันดี (และอาจจะเคยควักกระเป๋า หรือแคะกระปุก อุดหนุนไปบ้าง) เช่น ลีวายส์ แรงเลอร์ ลี หรือดีเซล เป็นต้น   สมาชิกฉลาดซื้ออาจเคยได้ยินกันมาบ้างแล้วว่ากว่าจะได้กางเกงยีนส์หนึ่งตัวนั้น มันได้ทำให้เกิดการใช้สารเคมีมากมายเพียงใด ตั้งแต่ขั้นตอนการปลูกผ้าย มาจนถึงการกัด/ย้อมสี และการฟอก นี่ยังไม่นับกระบวนการทำให้ยีนส์ดูเหมือนผ่านการใช้งานอย่างสมบุกสมบัน ซึ่งต้องใช้แรงงานคนและเทคนิควิธีการที่ไม่ค่อยจะเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสักเท่าไร   แล้วสารเคมีที่ว่านี้ถูกจัดการอย่างไร ได้รับการบำบัดก่อนที่มันจะถูกปล่อยลงแหล่งน้ำหรือไม่ พนักงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทั้งหมดตั้งแต่การนำผ้าเดนิมม้วนมหึมามาตัดตามแบบ เย็บประกอบเป็นกางเกง รีดตะเข็บ ฟอก ย้อม ทำให้เก่า /ยับ/ ขาด (และอื่นๆ ตามความต้องการของดีไซเนอร์) ไปจนถึงการบรรจุส่งไปยังร้านค้าปลีกนั้น เขาได้รับการดูแลอย่างไร ได้หยุดพักผ่อนบ้างหรือไม่   ที่สำคัญบริษัทข้ามชาติที่ทำกำไรได้มากมายในแต่ละปีจากการจำหน่ายยีนส์มีราคาเหล่านี้มีความจริงใจที่จะรับผิดชอบต่อสังคม และเปิดเผยข้อมูลเหล่านี้ให้สังคมได้รับรู้มากน้อยเพียงใด คำตอบมีอยู่ในผลการสำรวจซึ่งจัดทำโดยองค์การทดสอบระหว่างประเทศ (International Consumer Research and Testing) ในหน้าถัดไป   การเก็บข้อมูลการสำรวจ รวมถึงการเยี่ยมชมโรงงานและสัมภาษณ์พนักงาน (สำหรับบริษัทที่ให้ความร่วมมือ)ครั้งนี้ทำในระหว่างเดือนมกราคมถึงกรกฎาคม 2554ทีมสำรวจส่งแบบสอบถามไปยังบริษัทผู้ผลิตยีนส์ทั้งหมด 15 แห่ง   มี 7 บริษัทที่ตอบกลับมาและยินดีให้เข้าเยี่ยมชมโรงงาน ได้แก่ คิก  ลีวายส์  นูดียีนส์  เอชแอนด์เอ็ม  แจ็คแอนด์โจนส์  จีสตาร์ รอว์  และซารายีนส์   อีก 8 บริษัทที่ไม่ส่งคำตอบกลับมาได้แก่  ดีเซล  ลี  แรงเลอร์  ฮิวโก้ บอส  ซาลซ่า  กูยิชิ (ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มการผลิตยีนส์จากฝ้ายออกานิก) ฟริตซ์ยีนส์ และเซเว่นฟอร์ออลแมนคายนด์ น้ำหนักในการให้คะแนนมีดังนี้ ร้อยละ 35 นโยบายด้านสังคม ในเรื่องสายการผลิต เช่นแรงงานสัมพันธ์  ชั่วโมงทำงาน การดูแลสุขภาพและความปลอดภัยของพนักงาน การไม่เลือกปฏิบัติ การไม่ใช้แรงงานเด็ก เป็นต้น ร้อยละ 25 นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม ในสายการผลิต เน้นการจัดการกับมลภาวะของบริษัทที่รับจ้างผลิต ร้อยละ 15 นโยบายของบริษัทโดยรวมเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม นโยบายและเงื่อนไขการจ้างผลิต ข้อปฏิบัติทางสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการผลิตยีนส์ ร้อยละ 15 ความโปร่งใส การเปิดเผยข้อมูลต่อสังคม ได้แก่การให้ความร่วมมือตอบแบบสอบถามและอนุญาตให้เยี่ยมชมโรงงานร้อยละ 5 การดูแลพนักงานภายในบริษัท        ร้อยละ 5 ผู้บริโภคและสังคม ในการสำรวจ ครั้งนี้ มีการเก็บตัวอย่างกางเกงยีนส์ของแต่ละยี่ห้อไปตรวจหาสารเคมีตกค้างด้วยเราพบสารหนูในปริมาณที่ไม่เป็นอันตรายใน ตัวอย่างกางเกงยีนส์จาก 3 ยี่ห้อ ได้แก่  ลี ลีวายส์ และเอชแอนด์เอ็มแต่พบทองแดงในปริมาณที่เกินมาตรฐานสำหรับเสื้อผ้าที่ต้องสัมผัสกับผิวหนังโดยตรง ซึ่งกำหนดไว้ว่าต้องไม่เกิน 50 มิลลิกรัม/กิโลกรัม สำหรับผู้ใหญ่ ในตัวอย่างกางเกงยีนส์ยี่ห้อแรงเลอร์ อาจจะเกิดจากการกำจัดไม่หมดในขั้นตอนการซัก  ทองแดงนั้นถ้าได้รับมากเกินไปจะเป็นอันตรายต่อตับ   แต่นี่คือการทดสอบจากยีนส์ที่ออกจากโรงงานมาแล้ว ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีการใช้สารเคมีในการผลิต ----  กว่าจะได้เป็นยีนส์ 1. การปลูก อย่างที่รู้กันว่าขั้นตอนนี้ต้องใช้น้ำ ปุ๋ยและยาฆ่าแมลงปริมาณไม่น้อย ร้อยละ 10 ของสารเคมีปราบศัตรูพืชที่ใช้ทั้งหมดในโลก ใช้ในการปลูกฝ้ายนั่นเอง   2. การขนส่ง ฝ้ายนั้นจัดเป็นนักเดินทางตัวยงเลยทีเดียว ตั้งแต่จากไร่ฝ้ายไปยังโรงปั่น โรงทอ โรงงานเย็บ จนเข้าไปเก็บตัวในโกดัง และอาจจะต้องขึ้นเครื่องบินหรือลงเรือข้ามประเทศ ไปพักในโกดังต่างชาติ จากนั้นไปโชว์ตัวในร้านค้าปลีก จนกระทั่งผู้บริโภครับกลับบ้านไปอยู่ด้วย   3. การปั่นด้าย ขั้นตอนนี้ก็มีการบริโภคพลังงานและทำให้เกิดมลภาวะซึ่งมีผลต่อชั้นโอโซน และการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ แถมยังต้องใช้สารเคมีปริมาณมากเพื่อทำความสะอาดเมล็ดฝ้ายให้สะอาดเอี่ยมไม่มีหญ้าหรือทรายปะปนแต่สิ่งทอมักมีการปนเปื้อนของ พาราฟิน ขี้ผึ้งหรือน้ำมัน และกาว ซึ่งเป็นตัวช่วยในการปั่นด้าย โดยทั่วไปมันควรหลุดออกไปเมื่อผ่านการซักล้างนอกจากนี้ยังต้องมีสารเคมีบางชนิดที่ต้องใส่ลงไปเพื่อช่วยให้ผ้านุ่มและติดสีได้ดีขึ้นอีกด้วย   4. การทอเป็นผืนผ้า ด้ายจะถูกย้อมเป็นสีครามด้วยสีสังเคราะห์ ขั้นตอนการย้อมนี้เองที่เป็นสิ่งที่ทำร้ายสิ่งแวดล้อมมากที่สุด แม่น้ำในเมืองทวากันในเม็กซิโกที่เคยเป็นศูนย์กลางการผลิตยีนส์ในยุค 90 นั้นได้กลายเป็นสีน้ำเงินไปแล้วการย้อมผ้านั้น มักทำในประเทศที่กฎหมายไม่ค่อยเข้มงวดในอัฟริกา อเมริกาใต้ และจีน น้ำเสียจากโรงงานมักจะถูกปล่อยลงในแม่น้ำโดยไม่ผ่านการบำบัดสีย้อมทำให้เกิดอาการแพ้ เป็นสารก่อมะเร็ง และในประเทศเหล่านี้คนที่ทำงานย้อมผ้ามักจะไม่มีอุปกรณ์ป้องกันที่ดีพอ   5. ขั้นตอนการเย็บประกอบขึ้นเป็นยีนส์ (รวมการตกแต่ง ตอกหมุด การทำซับในด้วย) ขั้นตอนนี้ก็ต้องใช้ทั้งไฟฟ้า น้ำและมีส่วนทำให้เกิดน้ำเสียได้เช่นกันการทำให้มันดูเก่า ซีด ยับ ถลอก ขาด หรือเปื้อน ล้วนแล้วแต่ต้องทำด้วยฝีมือมนุษย์เท่านั้น ขั้นตอนนี้จึงอาจเป็นอันตรายต่อตัวคนที่ทำหน้าที่ดังกล่าวด้วยเมื่อยีนส์มาถึงเราแล้ว เราก็ยังต้องใช้พลังงานในการซัก ปั่นแห้ง และรีดต่อไป นอกจากนี้เราก็มีส่วนในการสร้างมลภาวะด้วยการใช้ผงซักฟอกสำหรับเครื่องซักผ้าที่มักจะมีไนเตรตและฟอสเฟตซึ่งเป็นอาหารของเชื้อราที่เป็นอันตรายต่อพืชและสัตว์ในน้ำสุดท้าย เมื่อยีนส์หมดอายุขัย มันก็มักจะถูกนำไปเผาหรือนำไปถมดิน   การผลิตกางเกงยีนส์หนึ่งตัวใช้น้ำประมาณ 2,866 แกลลอน ซึ่งเป็นสองเท่าของปริมาณน้ำที่ใช้ในการซักยีนส์ตัวดังกล่าวเดือนละครั้งเป็นเวลา 5 ปี  - ข้อมูลจากหนังสือเรื่อง The Green Blue Book  โดย Thomas M. Kostigen   ปัจจุบันหลายแบรนด์ดังเริ่มหันมาใช้ฝ้ายที่ปลูกโดยไม่ใช้สารเคมี หรือที่เรียกกันว่าฝ้ายออกานิกเป็นวัตถุดิบในการผลิตเสื้อผ้าแล้ว ราคาไม่ถูกนักแต่ถือว่าเราได้แสดงความรับผิดชอบในส่วนของผู้บริโภค แทนที่จะมีหลายตัวเราก็อาจจะซื้อยีนส์จากฝ้ายออกานิกเพียงตัวเดียว เป็นต้น   เล็กๆน้อยๆ เพื่อความเก๋าอย่างพอเพียง  • เชิดใส่ ! ยีนส์ที่ดูเก่ายับเยินตั้งแต่อยู่ที่ร้าน เพราะคุณอยากเป็นคนทำให้มันเก่าไปเองมากกว่า และเพราะขั้นตอนการทำให้มันดูเซอร์นั้น ต้องขอบอกว่ามันไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเลยจริงๆ • ไม่ซื้อยีนส์ใหม่เพียงเพราะมันติดป้ายลดราคา คุณจะใส่ตัวเดิมจนกว่ามันจะเก่าไปพร้อมกับตัว เบื่อขึ้นมาก็เอาไปแลกกันใส่กับเพื่อน หรือบริจาคก็ได้• ใส่กางเกงยีนส์มากกว่าหนึ่งครั้งก่อนจะนำมันไปซัก• ซักยีนส์ที่อุณหภูมิไม่เกิน 30 องศา รวมกับกางเกงผ้าหนาอีกหลายตัวให้พอดีโหลดซักของเครื่องซักผ้า• ใช้ผงซักฟอก เน้นว่าผง เพราะมันเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าน้ำยาซักผ้าหรือผงซักฟอกสูตรน้ำ และไม่ใช้น้ำยาปรับผ้านุ่ม• ใช้ประโยชน์จากแสงอาทิตย์เสมอ เพราะมันทำให้กางเกงยีนส์ตัวเก่งทั้งแห้งและหอม• หาซื้อกางเกงยีนส์มือสองมาใส่ เพื่อจะได้ลุคเก่าๆ เซอร์ๆ เพราะมันถูกดีแถมนุ่มอีกด้วย • ซักเสื้อผ้าที่ซื้อมาใหม่ทุกครั้งก่อนสวมใส่ นอกจากจะไม่โดนเพื่อนล้อว่าบ้าเห่อแล้ว ยังจะไม่ต้องคันยุบยิบเพราะแพ้สารเคมีที่ยังติดค้างอยู่บนเนื้อผ้าด้วย ___   เศรษฐศาสตร์ยีนส์  เรามาดูโครงสร้างราคาของยีนส์กันใกล้ๆ ว่าเงินที่ออกจากกระเป๋าเรา ไปเข้ากระเป๋าใครบ้าง 50% > ร้านค้าปลีก และภาษีมูลค่าเพิ่ม 24%  > แบรนด์ การจัดการและการโฆษณา13%  > การขนส่ง บรรจุหีบห่อ12%  > ผ้าและโรงงานผลิต1% > แรงงาน----   ข่าวล่ามาเร็ว เขาบอกว่าด้วยค่าแรงที่สูงขึ้นและฝ้ายซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักนั้นหาได้ยากขึ้น จะทำให้ยีนส์มีราคาแพงขึ้น แม้แต่ของเมดอินไชน่าก็จะไม่ถูกเหมือนเดิม ผู้เชี่ยวชาญด้านยีนส์ที่ฮ่องกงให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ เดอะเทเลกราฟ ของอังกฤษว่า ราคาฝ้ายได้ถีบตัวขึ้นมาถึงปอนด์ละ 60 บาทเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา จากราคาปอนด์ละ 20 บาทในเดือนกรกฎาคมปีที่แล้ว  ----  ภูมิศาสตร์ยีนส์ ศูนย์กลางการผลิตยีนส์ของโลกอยู่ที่เมืองซินตัง เรียกว่าถ้ายีนส์ที่คุณสวมอยู่ไม่ได้ผลิตมาจากที่นี้ก็ต้องทำจากผ้าเดนิมที่ทอออกมาจากที่นี่อยู่ดี ที่นี่มีตั้งแต่อุตสาหกรรมครอบครัวไปจนถึงโรงงานที่ผลิตยีนส์ออกมาได้วันละ 60,000 ตัว แต่ละปีมีกางเกงยีนส์เดินทางออกจากเมืองนี้ไปไม่ต่ำกว่า 260 ล้านต้ว (ไม่มากมาย แค่ 1/3 ของยีนส์ที่ผลิตได้ทั้งหมดในโลกเท่านั้น)   ฉลาดซื้อได้มีโอกาสพูดคุยกับตัวแทนจากเครือข่ายแรงงานนอกระบบ 2 ท่าน เลยมีเกร็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆมาฝากกัน  --- คุณกุศล หนูเดช  อายุ 54 ปี อดีตคนเคยเย็บยีนส์ฟอก ในโรงงานย่านดินแดง ปัจจุบันรับงานเย็บเสื้อแบบขายประตูน้ำ เริ่มตั้งแต่สร้างแพทเทิร์น ตัดผ้า เย็บต้นแบบ และกระจายงานให้คนในซอย โรงงานของเถ้าแก่เป็นตึกแถวสองชั้น ชั้นล่างทำหน้าที่ตัดผ้าออกเป็นชิ้นส่วนต่างๆ ของยีนส์ คุณกุศลทำงานอยู่ชั้นสอง ทำหน้าที่เย็บประกอบให้เป็นตัวยีนส์ เคยเย็บได้ประมาณวันละไม่ต่ำกว่า 10 ตัว (ทำงานตั้งแต่ 8 โมงเช้าถึง 3 ทุ่ม) จากนั้นจะมีรถมารับไปที่โรงงานฟอก ซึ่งบางครั้งจะมีการส่งกลับมาซ่อมหูเข็มขัดอีกเพราะบางครั้งด้ายจะขาดหลังการฟอก  ปัจจุบันค่าตอบแทนในการเย็บกางเกงยีนส์หรือกางเกงนักศึกษา อยู่ที่ประมาณตัวละ 30 – 40 บาท   ผลข้างเคียงจากการทำงานคือมีอาการแพ้ตามมือบ้างจากฝุ่นผ้า แต่ที่หนักเลยคือสีจากผ้าจะติดตามมือตามเสื้อผ้าทำให้เขียวปี๋กันหมด ในฐานะคนเคยเย็บยีนส์ เชื่อว่าการลงทุนสำหรับยีนส์ที่ตัดเย็บดีๆ ผ้านุ่มๆ สักตัว น่าจะอยู่ที่ไม่เกิน 500 บาท ที่สำคัญ อย่าลืมดูตะเข็บ โดยเฉพาะตะเข็บเอวและส่วนที่เป็นหูเข็มขัดด้วยโดยส่วนตัวแล้วคุณกุศลไม่ชอบใส่ยีนส์เพราะรู้สึกอึดอัด เนื่องจากตัดเสื้อผ้าได้ เลยชอบตัดกางเกงใส่เองมากกว่า ขี้เกียจซักด้วย แต่ไฮไลท์มาอยู่ตรงลูกชายที่เป็นสาวกกางเกงยีนส์ และนิยมใส่หลายๆ เดือนก่อนซัก มีเรื่องเล่าว่ากางเกงที่ใส่ไม่ซักอยู่หลายเดือนนั้นมีร้านยีนส์ที่ตะวันนามาขอซื้อด้วยการแลกกับยีนส์ใหม่ 2 ตัวด้วย คุณสมชาย คำปรางค์   อายุ 61 ปี เคยดูแลการผลิตยีนส์ทุกขั้นตอนในโรงงานยีนส์สัญชาติไทยอยู่ 8 ปี ปัจจุบันทำธุรกิจครอบครัวซึ่งเคยรับผลิตเสื้อยีนส์แต่เปลี่ยนเป็นมาเป็นผ้ายืดแล้ว คุณลุงสมชายเคยทำเสื้อและแจ็คเก็ตยีนส์ ตั้งแต่ขั้นตอนการตัดผ้าและเย็บเสร็จเป็นตัวเสื้อ (แต่ส่งฟอกไปฟอกที่โรงงาน) เหตุที่เลิกเย็บผ้ายีนส์ไปเพราะมันหนัก ช่างที่บ้านไม่ค่อยถนัด เลยเปลี่ยนมาเป็นผ้ายืดดีกว่า ถามความเห็นเรื่องยีนส์ถูกจากจีนที่เข้ามาตีตลาดบ้านเรายีนส์จีนคุณภาพต่ำกว่า ลุงบอกว่าแบบอาจจะดูสวยแต่ต้องลองใส่ดูแล้วจะรู้ว่า ทรงไม่สวย เนื้อผ้า ด้ายทอ ไม่ดีเท่ายีนส์ไทย (แต่แกยอมรับยีนส์จากเกาหลี เพราะออกแบบได้ดี และ “ผ้าเขาดีกว่าเราจริงๆ” ยีนส์ขึ้นห้างโดยทั่วไป ต้นทุนค่าผ้ากับค่าแรง ตัวละไม่เกิน 350 บาท ยกเว้นยีนส์ที่เป็นของบริษัทต่างประเทศส่งวัตถุดิบเข้ามาตัดเย็บในเมืองไทย อาจจะมีต้นทุนไม่ต่ำกว่า 500 บาท  ไม่จำเป็นต้องราคาแพง แต่เวลาเลือกให้จับดูเนื้อผ้า ผ้ายีนส์ที่ดีจะต้องทอมาแน่น มีความละเอียดมาก ลองสวมดู ว่ากระชับ เข้ารูป เข้าทรงกับตัวเราดีหรือยัง   ลุงสมชายให้ข้อสังเกตว่า ยีนส์โรงงานเดียวกัน ถ้าทำมาคนละล็อตก็ไม่เหมือนกัน เพราะผ้าที่เข้าโรงงานมานั้นมากจากการทอคนละล็อตกัน บางล็อตทอมาแน่นดี บางล็อตพันด้ายมาหลวมไป บวกกับทอไม่ครบ 200 เส้นต่อหนึ่งตารางนิ้วอีก ซึ่งทำให้ยีนส์หดหลังการซักครั้งแรกนั่นเอง   ที่ลือกันมาว่ามียีนส์ปลอมนั้น เป็นเรื่องของ “ยีนส์ลดเกรด” คืออาจจะใช้แบรนด์เดิม แต่ในขั้นตอนต่างๆ มีการ “ลดต้นทุน” เช่น ลดเกรดของด้ายทอ จากฝ้ายร้อยเปอร์เซ็นต์ (Cotton 100%) ก็เปลี่ยนมาผสมโพลีเอสเตอร์ลงไปประมาณร้อยละ 20 - 30 หรือแทนที่จะทอด้วยเส้นใย 200 เส้นต่อตารางนิ้ว ก็ลดเหลือเพียง 180 เส้นหรือไม่เช่นนั้นก็ลดเกรดสีย้อม เป็นต้นส่วนขั้นตอนการใช้กระดาษทรายขัดให้ยีนส์ดูเก่านั้น ลุงบอกว่าเมื่อก่อนแถวบ้านก็มีแม่บ้านที่อยู่บ้านเฉยๆ รับงานมาทำกัน แต่ตอนนี้ก็เลิกไปหมดแล้วเพราะเขาทนฝุ่นกันไม่ไหว

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 170 สีใน “กะปิ”

“กะปิ” ถือเป็นอีกหนึ่งวัตถุดิบหลักในการปรุงอาหารทีแทบทุกบ้านจะต้องมีติดครัวเอาไว้ เพราะหลากหลายเมนูอาหารไทย ล้วนแล้วแต่ต้องเพิ่งพาความอร่อยจากรสชาติอันเป็นเอกลักษณ์ของกะปิ ด้วยว่าประเทศไทยเรามีพื้นที่หลายส่วนที่ติดกับทะเล เมื่อบวกเข้ากับภูมิปัญญาแบบชาวบ้านของคนรุ่นปู่รุ่นย่า ที่นำเอาสัตว์ทะเลตัวเล็กๆ อย่าง “เคย” นำมาหมักรวมเข้ากับเกลือ ตากแดดทิ้งไว้จนเนื้อเคยและเกลือทำปฏิกิริยาเข้าด้วยกัน ได้เป็นกะปิของดีของอร่อย เป็นเครื่องปรุงหลักทั้งในน้ำพริกและเครื่องแกงต่างๆ แม้ขั้นตอนการทำกะปิดูเหมือนจะไม่ซับซ้อนและใช้เพียงแสงแดดจากดวงอาทิตย์บวกกับกำลังคนคอยหมั่นพลิกเนื้อกะปิให้สัมผัสแดดโดยทั่วถึงกัน แต่ที่ผ่านมาเราก็ยังได้ยินข่าวเรื่องการปนเปื้อนของสารเคมีหรือสิ่งแปลกปลอมในกะปิที่วางขายตามท้องตลาดอยู่เสมอ โดยเฉพาะเรื่องการใส่ “สี” ซึ่งกฎหมายควบคุมชัดเจนว่า “ห้ามใส่สี” ในกะปิ ซึ่งสีสังเคราะห์ที่ใช้อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพของคนกิน ฉลาดซื้อฉบับนี้จึงของอาสาสุ่มตรวจตัวอย่างกะปิจากตลาดและซูเปอร์มาร์เก็ตในกทม. เพื่อดูว่ากะปิที่เรากินกันอยู่นั้น ปลอดภัยจากสีผสมอาหารมากน้อยแค่ไหน       **** Update (17 ธันวาคม 2558) กะปิระยอง  มีข้อชี้แจงมาด้านล่างครับ          ผลทดสอบ -พบตัวอย่างกะปิที่ใส่สีสังเคราะห์จำนวน 5 ตัวอย่าง ประกอบด้วย 1.กะปิดี ร้านเจ๊ติ่ง ตลาดสี่มุมเมือง พบสี Erythrosine E127 ปริมาณ 47.84 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (มก./ กก.), 2.กะปิตัวอย่างจากตลาดคลองเตย พบสี Erythrosine E127 ปริมาณ 18.84 มก./ กก., 3.กะปิระยอง ตราเรือใบ จาก ท๊อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต สาขาฟิวเจอร์ปาร์ค รังสิต พบสี Erythrosine E127 ปริมาณ 6.04 มก./ กก., 4.กะปิร้านน้อยกุ้งแห้ง ตลาดโชคชัย 4 พบสี Erythrosine E127 ปริมาณ 4.55 มก./ กก. และ 5.กะปิกุ้งใหญ่ชุมพร ตลาดห้วยขวาง พบสี Erythrosine E127 ปริมาณน้อยกว่า 1 มก./กก. -สี Erythrosine E127 หรือ เออร์โธรซีน เป็นสีสังเคราะห์กลุ่มสีแดง เป็นชนิดของสีที่พบในทุกตัวอย่างกะปิที่มีการพบการใส่สี -กะปิ ถือเป็นอาหารที่ห้ามมีการใส่สีทุกชนิด ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 281) พ.ศ. 2547 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร ซึงกำหนดเกณฑ์ตามมาตรฐานของโคเด็กซ์ หรือมาตรฐานอาหารสากล หรือตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ซึ่งเคยประกาศไว้ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 66 (พ.ศ.2525) เรื่องการใช้สีผสมอาหาร -การใส่สีลงไปในกะปิก็เพื่อให้กะปิมีสีที่ดูน่ารับประทานมากยิ่งขึ้น แต่สีสังเคราะห์ที่ใส่ลงไปอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ แม้จะมีปริมาณไม่มากแต่ก็อาจสะสมส่งผลเสียในระยะยาว ทางที่ดีควรเลือกรับประทานกะปิที่ไม่ใส่สีใดๆ จะดีที่สุด   คำแนะนำในการเลือกซื้อกะปิ -สีของกะปิต้องเป็นที่ดูเป็นธรรมชาติ เช่น สีชมพู สีแดงออกม่วง ไม่ออกคล่ำและดูสีสดเกินไป -เนื้อของกะปิต้องละเอียดเป็นเนื้อเดียวกัน มีความสม่ำเสมอ เหนียว ไม่แห้งหรือเปียกเกินไป -มีกลิ่นหอมตามธรรมชาติของกะปิ ไม่มีกลิ่นคาวปลา หรือกลิ่นฉุนคล้ายสารเคมี ไม่เหม็นอับ -รสชาติเค็มพอดี ไม่มีรสขม -ไม่มีสิ่งแปลกปลอม เช่น แป้ง กรวด ทราย ฯลฯ ไม่มีเม็ดเกลือเป็นก้อนๆ -บรรจุในภาชนะที่สะอาด แห้ง และปิดไว้สนิท   สีในกะปิ...ก่อนหน้านี้ก็เคยมีมาแล้ว เมื่อปี 2555 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข โดยศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 1 ตรัง ได้ทำการสุ่มตรวจตัวอย่างกะปิที่ผลิตใน 6 จังหวัดภาคใต้ ได้แก่ กระบี่ ตรัง พังงา ภูเก็ต ระนอง และสตูล  จำนวน 86 ตัวอย่าง เพื่อตรวจวิเคราะห์หาการปนเปื้อนของสี ผลที่ได้พบว่า 52.3% ของตัวอย่างกะปิมีการใส่สีสังเคราะห์ โดยชนิดของสีที่พบมีดังนี้ สีโรดามีน 50%, สีซันเซ็ต เย็ลโลว์ เอ็ฟซีเอ็ฟ 9.3%,  สีเอโซรูบีน 9.3%,  และสีปองโซ 4 อาร์  1.1% นอกจากนี้ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระนอง ก็เคยตรวจวิเคราะห์หาเชื้อจุลินทรีย์ในตัวอย่างกะปิ พบว่ามีเชื้อจุลินทรีย์สาเหตุโรคอาหารเป็นพิษหลายชนิด โดยเฉพาะกะปิที่เก็บเอาไว้นาน เพราะฉะนั้นเพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพ กะปิควรทำให้สุกทุกครั้งก่อนรับประทาน       ....ผู้ผลิตและจำหน่ายกะปิระยอง ตราเรือใบ ขอเรียนชี้แจงและยืนยันว่า บริษัทฯ มีกรรมวิธีการผลิตกะปิที่ได้มาตรฐาน GMP ไม่มีการใส่สีและไม่มีสารกันบูด แต่เมื่อทางฉลาดซื้อพบว่ามีการปนเปื้อนของสีในรุ่นการผลิตที่เก็บตัวอย่าง เดือนเมษายน ทางบริษัทจึงได้ทดสอบผลิตภัณฑ์ในรุ่นการผลิตอื่นๆ และปัจจุบันไม่พบว่า มีการปนเปื้อนของสีในผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค จึงเรียนมาเพื่อทราบ...ฉลาดซื้อขอขอบคุณที่บริษัทฯ ใส่ใจและเข้มงวดในเรื่องการควบคุมคุณภาพสินค้าให้มีมาตรฐาน เนื่องจากปริมาณสีที่พบในรุ่นการผลิตที่ฉลาดซื้อทดสอบมีปริมาณน้อย จึงอาจเป็นไปได้ว่า มีการปนเปื้อนมาในส่วนของวัตถุดิบ ซึ่งทางบริษัทคงได้เข้มงวดในจุดนี้มากขึ้นจึงไม่พบการปนเปื้อนของสีซ้ำ จึงขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ ที่บริษัทฯ เห็นความสำคัญของงานคุ้มครองผุ้บริโภค   

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 169 “ไอศกรีม” เช็คปริมาณ “สี” และ “สารกันบูด"

ฉลาดซื้อขอต้อนรับหน้าร้อน ด้วยผลทดสอบที่จะทำให้ทุกคนเย็นชุ่มฉ่ำชื่นใจ กับผลทดสอบ “ไอศกรีม” เมนูโปรดของหลายๆ คน ฉลาดซื้อจะมาพิสูจน์ดูว่าไอศกรีมที่วางขายมากมายหลากหลายยี่ห้อในบ้านเรามีการใช้ “สี” และ “สารกันบูด” มากน้อยแค่ไหน เราเลือกสุ่มสำรวจไอศกรีมจำนวน 14 ยี่ห้อ โดยเลือก 1 ในไอศกรีมรสชาติยอดฮิตตลอดกาลอย่างรส “ช็อกโกแลต” ไปดูกันสิว่าไอศกรีมรสช็อกโกแลตยี่ห้อดังๆ มีการใช้สีและสารกันบูดหรือเปล่า                         สรุปผลการทดสอบ   -ไอศกรีมรสช็อกโกแลตทั้ง 14 ตัวอย่าง ไม่พบสารกันบูด -มีไอศกรีมรสช็อกโกแลต 3 ตัวอย่างที่พบการใช้สีสังเคราะห์ คือ 1.Walls 3 in 1 ทริปเปิล ช็อกโกแลต, 2.Melt Me Hokkaido Chocolate & Healthy Gelato และ 3. F & N Magnolia Double Choc ซึ่งปริมาณสีสังเคราะห์ที่พบอยู่ในเกณฑ์ตามมาตรฐาน สีผสมอาหารที่ใช้ก็เป็นสีที่ได้รับการอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุข แฟนฉลาดที่รักการกินไอศกรีม ก็ยังคงกินกันได้อย่างสบายใจ ปลอดภัย ไร้ปัญหา -          ข้อสังเกต สีสังเคระห์ที่พบในการทดสอบครั้งนี้มีทั้งหมด 5 ชนิด ได้แก่ สีในกลุ่มสีแดง คือ เออริโธรซีน (Erythrosine E127) และ คาร์โมอีซีนหรือเอโซรูบีน (Carmoisine or Azorubine E122) สีในกลุ่มสีเหลือง คือ ซันเซต เยลโลว์ เอฟซีเอฟ (Sunset yellow FCF E110) และ ตาร์ตราซีน (Tartazine E102) สุดท้ายคือสีในกลุ่มสีน้ำเงิน คือ บริลเลียนต์บลู เอฟซีเอฟ (Brillian blue FCF E133) ซึ่งตัวอย่างไอศกรีมที่พบปริมาณสีมากที่สุดในการทดสอบครั้งนี้คือ Walls 3 in 1 ทริปเปิล ช็อกโกแลต พบว่ามีใช้สี 3 ชนิดจากสีถึง 3 กลุ่ม ขณะที่อีก 2 ตัวอย่างที่พบการใช้สีสังเคราะห์ พบว่าใช่แค่ตัวอย่างละ 1 ชนิดสีเท่านั้น         “ไอศกรีม” ที่ดีต้องเป็นแบบไหน? หลายคนอาจยังไม่รู้ ว่า “ไอศกรีม” ถือเป็นอาหารที่มีการควบคุมคุณภาพและมาตรฐาน เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค ซึ่งไอศกรีมที่ดีจะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ -ไอศกรีมนม ต้องมีมันเนยเป็นส่วนผสมไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของน้ำหนัก และมีธาตุน้ำนม ไม่รวมมันเนยไม่น้อยกว่าร้อยละ 7.5 ของน้ำหนัก - ไอศกรีมดัดแปลง ต้องมีไขมันทั้งหมดไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของน้ำหนัก -ไม่มีกลิ่นหืน -ใช้วัตถุที่ให้ความหวานแทนน้ำตาลหรือใช้ร่วมกับน้ำตาล โดยวัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาลที่ใช้ต้องเป็นไปตามมาตรฐานอาหารที่ อย. รับรอง -ใส่วัตถุแต่งกลิ่น รส และสีได้ -ไม่มีวัตถุกันเสีย -มีแบคทีเรีย (Bacteria) ได้ไม่เกิน 600,000 ต่ออาหาร 1 กรัม -ต้องตรวจไม่พบมีแบคทีเรีย ชนิด อี.โคไล (Escherichia coli) -ไม่มีสารเป็นพิษจากจุลินทรีย์ในปริมาณที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ และไม่พบจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ที่มา : ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 354) พ.ศ. 2556 เรื่อง ไอศกรีม   --------------------------------------------------------------- เมื่อปี 2550 ที่ประเทศอังกฤษ กลุ่มนักวิชาการได้ออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลออกข้อบังคับกับผู้ผลิตอาหาร โดยเฉพาะในกลุ่มอาหารเด็ก ขนมหวาน เครื่องดื่ม  ให้ยกเลิกการใช้สีสังเคราะห์ 6 ชนิด ได้แก่ ซันเซต เยลโลว์ เอฟซีเอฟ (Sunset yellow FCF E110), ตาร์ตราซีน (Tartazine E1022), ปองโซ 4 อาร์ (Ponceau 4 R), ควิโนลีนเยลโลว์ (Quinoline Yellow E104), คาร์โมอีซีน (Carmoisine E122) และ อัลลูราเรด Allura red (E129) เนื่องจากมีงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่าสารจากสีสังเคราะห์เหล่านี้ส่งผลให้เด็กป่วยด้วยโรคสมาธิสั้น นอกจากนี้สีสั้งเคระห์เหล่านี้ไม่มีความจำเป็นต่อการนำมาเป็นส่วนประกอบในอาหาร เพราะไม่ได้เพิ่มคุณค่าทางอาหาร มีแต่จะสร้างผลเสียต่อสุขภาพเท่านั้น ซึ่งการออกมาเรียกร้องครั้งนี้แม้ทางภาครัฐจะยังไม่ได้มีการรับรองอย่างเป็นทางการแต่ก็สามารถทำให้เกิดการตื่นตัวของทั้งผู้บริโภค พ่อ-แม่ผู้ปกครอง รวมถึงบริษัทผู้ผลิตอาหารทั้งในอังกฤษเอง ประเทศในยุโรปประเทศอื่นๆ และอเมริกา ก็เริ่มปรับปรุงสูตรผลิตภัณฑ์ของตัวเองให้มีการใช้สังเคราะห์อาหารลดลง

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 168 สีสังเคราะห์ ใน “ไข่กุ้ง”

แฟนๆ “ฉลาดซื้อ” คงยังจำกันได้ว่าเราเพิ่งนำเสนอผลทดสอบ “สารกันบูดในไข่กุ้ง” ไปเมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ซึ่งผลจากการทดสอบก็ทำให้คนที่ชอบกินไข่กุ้งชอบกินซูชิพอจะมีความสุขได้ เพราะไข่กุ้งที่เรานำมาทดสอบปลอดภัยไร้สารกันบูด แต่ผลทดสอบสารกันบูดที่ผ่านมาเป็นเพียงแค่น้ำจิ้มเท่านั้น ของจริงคือผลทดสอบที่ฉลาดซื้อตั้งใจจะนำเสนอต่อจากนี้ กับเรื่องที่ใครๆ ก็สงสัย ว่าไข่กุ้ง (หรือแท้ที่จริงก็คือไข่ปลานั่นแหละ) ที่สีสันสดใสสะดุดตา เห็นแล้วห้ามใจไม่ให้กินไม่ไหว มีเบื้องลึกเบื้องหลังยังไง ใส่สีลงไปมากน้อยแค่ไหน กินเข้าไปแล้วจะส่งผลเสียต่อสุขภาพหรือเปล่า ไปติดตามกันว่า ผลวิเคราะห์ที่ได้จะเป็น “ข่าวร้าย” หรือ “ข่าวดี” ของคนชอบกินไข่กุ้ง   สีผสมอาหารที่พบจากการตรวจวิเคราะห์ สำหรับสีผสมอาหารชนิดสีสังเคราะห์ที่ฉลาดซื้อพบจากการตรวจวิเคราะตัวอย่างไข่กุ้งในครั้งนี้ จำนวน 9 ตัวอย่าง พบว่ามีการใช้สีผสมอาหารทั้งหมด 6 ชนิด ประกอบด้วย สีสังเคราะห์ในกลุ่มสีเหลือง 1. Sunset yellow FCF E110 2. Tartazine E102 สีสังเคราะห์ในกลุ่มสีแดง 3. Ponceau 4 R E124 4. Azorubine (Carmoisine) 5. Erythrosine E127 และ 6. Allura Red E129   สีทั้ง 6 ชนิดที่ตรวจพบมีอยู่ 3 ชนิดที่ “โคเด็กซ์” มีการกำหนดค่ามาตรฐานเอาไว้ ในกลุ่มของ “คาร์เวียร์และผลิตภัณฑ์จากไข่ปลาชนิดอื่นๆ” (Salmon substitutes, caviar, and other fish roe products) คือ Allura Red E129 พบได้ไม่เกิน 300 มิลลิกรัม ต่อ ปริมาณอาหาร 1 กิโลกรัม Ponceau 4 R E124 พบได้ไม่เกิน 500 มิลลิกรัม ต่อ ปริมาณอาหาร 1 กิโลกรัม Sunset yellow FCF E110 พบได้ไม่เกิน 300 มิลลิกรัม ต่อ ปริมาณอาหาร 1 กิโลกรัม ส่วน Erythrosine E127 ไม่พบเกณฑ์มาตรฐานในกลุ่ม “คาร์เวียร์และผลิตภัณฑ์จากไข่ปลาชนิดอื่นๆ” ในเกณฑ์ในกลุ่มผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ทั้งชิ้นหรือตัดแต่งที่กำหนดไว้ไม่เกิน 30 มิลลิกรัม ต่อ ปริมาณอาหาร 1 กิโลกรัม ส่วน Azorubine (Carmoisine) และ Tartazine E102 โคเด็กซ์ไม่ได้มีการระบุเกณฑ์มาตรฐานไว้ แต่ในประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 66 (พ.ศ.2525) มีการระบุเกณฑ์การใช้สีผสมอาหารชนิด Azorubine (Carmoisine) ไว้ไม่เกิน 100 มิลลิกรัม ต่อ ปริมาณอาหาร 1 กิโลกรัม ส่วน Tartazine E102 พบได้ไม่เกิน 200 มิลลิกรัม ต่อ ปริมาณอาหาร 1 กิโลกรัม ----------------------------------------------------------------------------------   ผลการวิเคราะห์ปริมาณสีสังเคราะห์ในไข่กุ้ง                     สรุปผลทดสอบ ทั้ง 9 ตัวอย่างที่ส่งทดสอบ มีการใส่สีสังเคราะห์ทุกตัวอย่าง มีตัวอย่างไข่กุ้งจำนวน 3 ตัวอย่างที่การใส่สีสังเคราะห์เกินค่ามาตรฐาน ได้แก่ 1.ไข่กุ้งยี่ห้อ “โชกุน ไข่ปลาแคปลินปรุงรส” เป็นตัวอย่างที่พบปริมาณสีสังเคราะห์มากที่สุดคือ พบปริมาณสีสังเคราะห์รวมถึง 555.77 มิลลิกรับต่อกิโลกรัม (มก./กก.) จากปริมาณสีสังเคราะห์ 3 ชนิดรวมกัน คือ Tartazine E102 ปริมาณ 159.21 มก, Sunset yellow FCF E110 ปริมาณ 339.21 มก. และ Allura Red E129 ปริมาณ 57.35 มก./กก. ซึ่งปริมาณของสีชนิด Sunset yellow FCF E110 มีปริมาณสูงกว่าค่ามาตรฐานของโคเด็กซ์ที่ให้พบได้ไม่เกิน 300 มก./กก. ที่สำคัญคือเมื่อนำปริมาณปริมาณสีทั้งหมดมารวมกันแล้ว สูงกว่าเกณฑ์ที่ให้พบได้สูงสุดถึงเกือบ 1 เท่าตัวเลยทีเดียว 2. “ไข่กุ้งปรุงรส ยี่ห้อไคเซนมารุ” พบมีการใช้สีเพียง 1 ชนิด คือ Sunset yellow FCF E110 แต่ปริมาณที่พบสูงถึง 434.91 มก./กก. ซึ่งเกินกว่าค่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ไม่เกิน 300 มก./กก. 3.ไข่กุ้งยี่ห้อ “กรูเมท์ มาร์เก็ต ไข่กุ้งส้ม” พบมีการใช้สีเพียง 1 ชนิดเช่นกัน คือ Sunset yellow FCF E110 ปริมาณ 426.79 มก./กก. ไข่กุ้งอีก 6 ตัวอย่างที่เหลือ คือ TSR ไข่กุ้งส้ม (จากวิลล่ามาร์เก็ต), ฟูจิ, ฟูดแลนด์ ไข่กุ้งส้ม, ไข่กุ้ง Kinda ,ไข่กุ้ง โทคุเซน และพรานทะเล พบว่ามีการใส่สีเฉลี่ยอยู่ประมาณ 100 – 237 มก./กก. โดยตัวอย่างที่พบการใส่สีน้อยที่สุดคือ ฟูดแลนด์ ไข่กุ้งส้ม พบสีที่ใช้คือ Tartazine E102 ปริมาณ 84.72  มก./กก. และ Allura Red E129 ปริมาณ 10.99 มก./กก. รวมแล้วมีปริมาณเท่ากับ 95.71 มก./กก.   อันตรายของสีผสมอาหาร สีสังเคราะห์ที่เรารับประทานเข้าไปหากได้รับในปริมาณไม่มาก ร่างกายของเราสามารถกำจัดออกได้เองโดยการขับถ่าย แต่ถ้าหากได้รับในปริมาณที่สูงก็จะส่งผลเสียต่อร่างกาย โดยเฉพาะกับระบบทางเดินอาหาร กระเพาะอาหาร เพราะสีสังเคราะห์ส่วนใหญ่เป็นโลหะหนัก เมื่อเข้าสู่ร่างกายไปสู่กระเพาะอาหารก็จะไปเกาะตัวอยู่ตามผนังกระเพาะ ทำให้เกิดปัญหาต่อระบบดูดซึมอาหาร ทำลายระบบน้ำย่อยในกระเพาะ นอกจากนี้บางชนิดหากสะสมมากเป็นระยะเวลานานก็อาจเป็นเหตุของโรคมะเร็ง ทำร้ายตับ ไต บางชนิดก็แสดงผลแบบเฉียบพลันออกมาทางผิวหนัง ทำให้เกิดผื่นคัน หรือไม่ก็ทำให้เกิดอาการวิงเวียน คลื่นไส้ ปริมาณสีสังเคราะห์ที่อยู่ในเกณฑ์ปลอดภัยที่ร่างกายของเราสามารถรับได้คือ ไม่เกิน 1 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักร่างกาย 1 กิโลกรัม ต่อ 1 วัน สีสังเคราะห์ที่ผสมลงในอาหารนั้นมีหน้าที่เพียงทำให้อาหารมีสีสันที่สดใสเพิ่มขึ้นเท่านั้น ไม่ได้มีสารอาหารใดๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย และอาจนำโทษมาสู่ร่างกายของเราได้หากได้รับมากเกินไป จึงควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่ผสมสีสังเคราะห์ ซึ่งนอกจากไข่กุ้งแล้ว ยังมีอาหารประเภทอื่นๆ ที่พบว่ามีการใช้สีสังเคราะห์ในปริมาณค่อนข้างสูง เช่น  ขนมหวานต่างๆ เยลลี่ ลูกอม รวมถึงน้ำอัดลม น้ำผลไม้บรรจุขวดพร้อมดื่ม ชาโบราณ และอาหารอื่นๆ ที่มีสีสันฉูดฉาด  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 163 ยาสีฟันที่ทำให้ฟันขาวทำได้จริงหรือ

ยาสีฟันที่โฆษณาว่าทำให้ฟันขาวได้นั้นจะต้องใส่สารบางอย่างเพิ่มเติมขึ้นไปจากยาสีฟันปกติ การที่จะตอบได้ว่าทำให้ฟันขาวได้จริงหรือไม่นั้น จะต้องพิจารณาว่าสารเคมีที่ใส่ในยาสีฟันนั้นคืออะไรและมีผลอย่างไรกับสีของฟัน สารสำคัญที่พบคือ   สารขัดฟัน ยาสีฟันไวท์เทนนิ่งทุกยี่ห้อจะใส่สารขัดฟันที่มีความหยาบแตกต่างกัน สารขัดฟันนี้จะช่วยขจัดคราบสีต่างๆบนตัวฟันทำให้ฟันขาวขึ้นได้จริง แต่จะขาวเท่ากับสีฟันเดิมของเรา ถ้าฟันเดิมเหลืองก็จะเหลืองเหมือนเดิม ทั้งนี้เป็นเพราะวิธีการนี้เป็นการขัดเอาคราบที่ติดอยู่ภายนอกผิวฟันออกไป ไม่ได้เข้าไปเปลี่ยนสีภายในของเนื้อฟัน ถ้าฟันเดิมของเราสีออกเหลือง ถ้ามีคราบสีจากอาหาร น้ำชา กาแฟ บุหรี่ ฯลฯมาเกาะสีฟันก็จะเข้มขึ้น เมื่อใช้ยาสีฟันที่มีสารขัดฟันเหล่านี้คราบก็จะออกจนหมดกลับมาเป็นฟันเหลืองตามปกติที่ควรจะเป็น ขอย้ำนะครับว่าสารขัดฟันไม่ได้ทำให้ฟันขาวขึ้นจากสีธรรมชาติเดิมของฟัน สารขัดฟันที่มีใช้ในยาสีฟันไวท์เทนนิ่งที่นิยมใช้ได้แก่สารกลุ่มซิลิกา (Hydrate Silica, Silica dioxide, Perlite ที่มี 70-75% silica dioxide) สารกลุ่มอลูมิน่า (Alumina oxide) สารกลุ่ม แคลเซียม ( Calcium pyrophosphate,Calcium Carbonate, Dicalcium phosphate dihydrate)  และสารกลุ่มอื่นๆ เช่น เบกิ้งโซดา (Sodium Bicarbonate) และ Mica เป็นต้น ปัญหาที่พบของสารขัดฟัน ก็คือ ถ้าสารขัดฟันมีความสามารถในการขัดฟันมาก (หรือพูดง่ายๆว่า สารขัดฟันหยาบมาก) ก็จะกำจัดคราบสีต่างๆได้ดีและรวดเร็ว ในขณะเดียวกันก็จะทำให้เคลือบฟันถูกกำจัดออกไปด้วย ทำให้เคลือบฟันบางลง เมื่อใช้ต่อเนื่องไปนานๆ เคลือบฟันจะบางลงจนเห็นเนื้อฟันที่มีสีเหลืองกว่าอยู่ข้างใต้ การใช้ยาสีฟันไวท์เทนนิ่งต่อเนื่องนานๆอาจทำให้ฟันเหลืองขึ้นกว่าเดิม และจะมีอาการเสียวฟันตามมาอีกด้วย ในทางกลับกัน ถ้าสารขัดฟันมีความสามารถในการขัดฟันน้อย การกำจัดคราบสีก็จะทำได้ช้าๆค่อยเป็นค่อยไป แต่จะไม่ทำอันตรายเคลือบฟันเท่าใดนัก ผู้บริโภคไม่มีทางรู้ได้เลยว่า สารขัดฟันที่ยาสีฟันแต่ละยี่ห้อนั้นมีความสามารถในการขัดฟันเท่าใด ในยาสีฟันปกติ จะใส่สารขัดฟันที่มีค่าความสามารถในการขัดฟัน (RDA, Realtive Dentine Abrasivitiy) อยู่ที่ 40-80 หน่วย ซึ่งเป็นค่าที่ปลอดภัยไม่ทำอันตราบเคลือบฟัน  ส่วนในยาสีฟันไวท์เทนนิ่งส่วนใหญ่จะมีค่า RDA มากกว่า 100 หน่วย เพื่อให้ขัดคราบฟันได้ดี ทั้งนี้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาได้กำหนดเพดานค่า RDA ไว้ไม่เกิน 200 หน่วย เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค สารเคมีช่วยขจัดคราบฟัน ในยาสีฟันไวท์เทนนิ่งบางยี่ห้ออาจมีการเพิ่มสารเคมีบางตัวเช่น  enzymes, Sodium Citrate, Sodium Pyrophosphate, Sodium tripolyphosphate หรือ hexametaphosphate ซึ่งสารเหล่านี้มีคุณสมบัติในการช่วยขจัดคราบบนตัวฟันออกและช่วยป้องกันให้คราบสีมาเกาะติดกับฟันยากขึ้น สารเคมีเหล่านี้มักจะคุณสมบัติในการย่อยโปรตีนได้ดี ซึ่งคราบที่ติดฟันนั้นก็มีองค์ประกอบของโปรตีนอยู่ เนื่องจากโดยทั่วไปเรามักจะแปรงฟันได้ไม่สะอาดบริเวณคอฟันและซอกฟัน ดังนั้นผู้ผลิตยาสีฟันไวท์เทนนิ่งบางยี่ห้อจึงคาดหวังให้สารเคมีเหล่านี้ไปช่วยกำจัดคราบบริเวณคอฟันและซอกฟัน ซึ่งเป็นบริเวณที่สารขัดฟันไม่ได้เข้าไปทำความสะอาด แต่จากรายงานการวิจัยพบว่า สารเคมีเหล่านี้มีส่วนช่วยได้เล็กน้อยมาก การกำจัดคราบสีต่างๆยังต้องพึ่งสารขัดฟันเป็นหลัก   สารสีฟ้า ยาสีฟันไวท์เทนนิ่งอีกกลุ่มหนึ่ง นอกจากสารขัดฟันแล้วยังใช้ สีสะท้อน Optical agents เช่น การใช้สีฟ้า ( Blue Covarine หรือ CI74160 Pigment Blue) ผสมลงในยาสีฟัน เมื่อแปรงฟันสารสีฟ้าเหล่านี้จะไปเกาะที่ฟัน เวลามองสะท้อนแสงก็จะเห็นฟันขาวขึ้น ดังนั้นเมื่อใช้เพียงครั้งเดียวก็จะเห็นว่าฟันขาวขึ้นทันที เปรียบเทียบง่ายๆกับถ้าเราต้องการให้ผ้ามีสีขาว เราก็ไปย้อมให้เป็นสีคราม เมื่อเป็นการย้อมสี ดังนั้นข้างหลอดยาสีฟันจะมีคำเตือนว่า “ยาสีฟันอาจทำให้เสื้อผ้าเลอะได้” การใช้สารสีฟ้าเคลือบฟันไว้จะได้ชั่วคราวเท่านั้น สารสีฟ้าจะติดฟันได้ไม่นานนัก เมื่อมีการรับประทานอาหาร สีเหล่านี้ก็จะหลุดลอกออก ทำให้กลับไปเป็นสีฟันเดิมของเรา   ข้อแนะนำ ยาสีฟันไวท์เทนนิง สามารถใช้ได้เพื่อกำจัดคราบฟันที่ติดอยู่ที่ผิวฟันออกได้ จะเห็นว่าฟันขาวขึ้นกว่าเดิม แต่จะขาวได้เท่ากับสีของฟันเดิมของเราเท่านั้น จะขาวขึ้นกว่าเดิมไม่ได้ ยาสีฟันไวท์เทนนิ่งที่มีสารสีฟ้า เป็นการใช้เทคนิคการสะท้อนสีฟ้าเพื่อทำให้ฟันดูขาวขึ้น แต่สีฟ้าจะหลุดออกเมื่อรับประทานอาหาร ฟันจะกลับมาเป็นสีเดิม ไม่ควรใช้ยาสีฟันไวท์เทนนิ่งติดต่อกันต่อเนื่อง ทั้งนี้สารขัดฟันของยาสีฟันไวท์เทนนิ่งจะมีความหยาบมากกว่า ซึ่งจะทำให้เคลือบฟันบางลงเมื่อใช้ติดต่อกันอย่างต่อเนื่อง และเมื่อใช้กับแปรงสีฟันขนแปรงแข็ง แปรงฟันแรงเกิน ก็จะทำให้เคลือบฟันบางลงได้เร็ว แนะนำให้ซื้อใช้เพียงหลอดเดียวเท่านั้น เมื่อรู้สึกว่าฟันเริ่มมีคราบมาติดใหม่ ก็กลับมาใช้ใหม่ได้เป็นระยะๆ ควรใช้แปรงสีฟันขนอ่อนนุ่มและแปรงฟันโดยใช้แรงพอประมาณ สังเกตุได้จากหากใช้แปรงสีฟันขนแปรงอ่อนนุ่มแล้วแปรงควรจะปานใน 3 เดือน หากแปรงบานเร็วก่อนกำหนดแสดงว่าเราแปรงฟันแรงเกินไป   หมายเหตุ ยาสีฟันไวเทนนิ่งเป็นกลุ่มยาสีฟันที่ขจัดคราบภายนอกฟันเท่านั้น มียาสีฟันอีกกลุ่มหนึ่ง คือ ยาสีฟันฟอกสีฟัน ซึ่งเป็นความพยายามที่จะไปฟอกสีฟันภายในเนื้อฟัน โดยใช้สารเคมีที่จะซึมผ่านเคลือบฟันและเนื้อฟันเข้าไปสลายโมเลกุลของสีในเนื้อฟันเพื่อทำให้ฟันขาวขึ้น โดยปกติแล้วสารเคมีที่ใช้จะเป็นไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ 1% หรือ แคลเซียมเปอร์ออกไซด์ 0.5-0.7% ซึ่งความเข้มข้นที่ใช้ถือว่าน้อยมาก จากงานวิจัยพบว่า ในความเข้มข้นที่น้อยและเวลาที่สัมผัสฟันตอนแปรงฟันสั้นๆ ไม่กี่นาทีนั้น ไม่สามารถฟอกสีฟันให้ขาวขึ้นได้แต่อย่างใด การไปพบทันตแพทย์เพื่อฟอกสีฟันจะใช้สารเคมีตัวเดียวกันซึ่งมีความเข้มข้นสูงกว่ามาก และใช้เวลาสัมผัสฟันนานเป็นชั่วโมง สีของฟันจึงจะเปลี่ยนได้ ซึ่งมีข้อเสียตามมามากมายหลายอย่าง ผมอยากชวนให้คิดว่า ฟันสีเหลืองธรรมชาติของคนไทยเรามีเสน่ห์และเหมาะกับสีผิวและใบหน้าของคนไทย การที่มีฟันขาวจนเกินพอดีนั้น น่าจะดูแปลกๆ ไม่เป็นธรรมชาตินะครับ   ส่วนประกอบอื่น ของยาสีฟัน Titanium Dioxide หรือ CI 77891 เป็นสารที่ทำให้ยาสีฟันมีสีขาว หรือทำให้มีความขุ่น Cocamidopropyl Betaine เป็นสารลดแรงตึงผิว ทำให้สารต่างในยาสีฟันแทรกซึมสัมผัสกับฟันได้ง่ายขึ้น Sodium Lauryl Sulfate เป็นสารทำให้เกิดฟอง Sodium Saccharin ขัณฑสกร​ เป็นสารให้ความหวาน Sorbitol, Xylitol เป็นน้ำตาลโพลิออล ให้ความหวานและยังทำให้ชุ่มชื้นอีกด้วย Glycerin ทำให้ชุ่มชื้น Sodium Hydroxide โซดาไฟ ใช้ดูดความชื้น ทำให้คงตัวและปรับความเป็นกรดด่าง Carrageenan สารเพิ่มความหนืดที่เป็นเจลใส Xanthan Gum, Cellulose Gum, PEG-12 (Polyethylene Glycol) เป็นสารที่ให้ความหนึดแบบทึบ Methylparaben, Butylparaben  สารกันเสีย (สารกันบูด) Spearmint, peppermint, Eucalyptus, Mentol  เป็นสารแต่งกลิ่นและรส ------------------------------------------------------------------------------------------------------------------ ยาสีฟัน ยาสีฟันในท้องตลาดมีมากมายหลายยี่ห้อ และราคาก็แตกต่างกันมากมาย  ทั้งนี้เพราะผู้ผลิตเติมสารต่างๆ เพื่อหวังผลบางอย่างเข้าไปมากมาย จนบางทีก็ดูเกินกว่าหน้าที่ของยาสีฟันแต่เดิม ที่มีวัตถุประสงค์เพียงแค่ช่วยเสริมประสิทธิภาพการแปรงฟัน ให้มีการกำจัดเอาแผ่นคราบจุลินทรีย์ออกได้ง่ายขึ้น กลุ่มของยาสีฟันแยกตามวัตถุประสงค์ 1.กลุ่มยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ เป็นยาสีฟันที่เหมาะสำหรับทุกคน โดยเฉพาะในเด็กหรือผู้ใหญ่ที่มีฟันผุหรือเกิดฟันผุได้ง่าย ในทางวิชาการเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลกว่า สามารถป้องกันฟันผุ ได้ และองค์การอนามัยโลกก็ให้คำแนะนำประชาชนใช้ยาสีฟันฟลูออไรด์เป็นหลัก ปริมาณฟลูออไรด์ในยาสีฟันสำหรับผู้ใหญ่ จะมีอยู่ 1,000 ส่วนในล้านส่วน หรือ 1,000 พีพีเอ็ม. และ 500   พีพีเอ็ม. สำหรับเด็ก เหตุผลที่ยาสีฟันเด็กมีปริมาณความเข้มข้นเพียงครึ่งเดียว เพื่อลดความเสี่ยงที่เด็กจะกลืนยาสีฟันทำให้ได้รับฟลูออไรด์เกิน 2.กลุ่มยาสีฟันที่ผสมสารฆ่าเชื้อโรคที่เป็นสารเคมีหรือสารสมุนไพร เช่น ไตรโคลซาน ไทมอล น้ำมันกานพลู คาโมไมล์ พิมเสน การบูร ชะเอมเทศ  สารเหล่านี้จะมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรค ลดการอักเสบ สมานแผล ในคนที่เป็นโรคเหงือกอักเสบใช้แล้วจะรู้สึกว่า เหงือกกระชับแน่นขึ้น ไม่อักเสบบวมแดงอย่างที่เคยเป็น 3.กลุ่มยาสีฟันที่ลดอาการเสียวฟัน จะมีการใส่สารเคมีบางตัว เช่น สตอนเทียมคลอไรด์ หรือ โพแทสเซียมไนเตรท เพื่อไปปิดรูเล็ก ๆ ที่เนื้อฟัน ทำให้ลดอาการเสียวฟันได้ชั่วคราว แต่ควรต้องหาสาเหตุที่ทำให้เกิดเสียวฟันร่วมด้วย จึงจะแก้ที่ต้นเหตุได้จริง 4.กลุ่มยาสีฟันที่ทำให้ฟันขาว มีการใช้ผงขัดที่หยาบเพื่อให้ขจัดเอาคราบสีต่าง ๆ ที่ติดอยู่บนตัวฟันออก รวมทั้งอาจมีการใช้สารเคมีที่มีฤทธิ์ฟอกสีฟันอ่อนๆ ซึ่งการใช้ผงขัดที่หยาบผสมลงในยาสีฟันอาจทำให้มีการขัดเอาผิวฟันออกมากเกินไป ทำให้เคลือบฟันสึกและบางลง รวมทั้งสารเคมีที่มีฤทธิ์ฟอกสีฟันอ่อนๆ อาจมีอาการระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อในช่องปากได้ จึงควรเลือกใช้ด้วยความระมัดระวัง 5.กลุ่มที่มีการโฆษณาว่า เป็นยาสีฟันที่ลดกลิ่นปาก หรือใช้กลางคืนเพื่อลดกลิ่นปากตอนเช้า จากรายงานทางวิชาการที่มีอยู่ในขณะนี้ ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าลดกลิ่นปากได้จริงหรือไม่ การใส่สารเคมีหรือสารสมุนไพรต่างๆ ที่คาดหวังว่าจะฆ่าเชื้อโรคที่ทำให้เกิดกลิ่นปากนั้นไม่น่าจะเป็นไปได้ เพราะว่าเชื้อโรคที่ทำให้เกิดกลิ่นปากนั้นทนต่อสารเคมีหรือสมุนไพรที่ฆ่าเชื้อได้ดี ในคนที่มีกลิ่นปากจำเป็นที่จะต้องตรวจวิเคราะห์ว่า มีกลิ่นปากจริงหรือไม่ สาเหตุมาจากอะไร  

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 163 “กาน่าฉ่าย” เมนูเสี่ยงน้ำมันทอดซ้ำ

ถึงช่วงเทศกาลกินเจทีไร อาหารจำพวกพืชผักต่างๆ ก็ได้เวลาคึกคัก ซึ่งหนึ่งในเมนูผักๆ ที่ขาดไม่ได้ในช่วงเทศกาลกินเจ ก็คือ “กาน่าฉ่าย” เมนูชื่อแปลกที่หลายคนอาจไม่คุ้นหู แต่ก็เป็นเมนูสุดโปรดของใครหลายๆ คน โดยเฉพาะคนที่เชื้อสายจีนรับรองว่าต้องรู้จักกันเป็นอย่างดี อ่านมาถึงตรงนี้แฟนๆ ฉลาดซื้อคงเริ่มอยากรู้แล้วว่า เราจะทดสอบอะไรในกาน่าฉ่าย ซึ่งฉลาดซื้อได้รับข้อมูลมาว่าในการทำกาน่าฉ่ายนั้นมีการใช้น้ำมันเป็นส่วนประกอบ ทำให้เรามีข้อสงสัยว่ากาน่าฉ่ายอาจเสี่ยงปัญหาน้ำมันทอดซ้ำ ฉลาดซื้อจึงสุ่มเก็บตัวอย่างกาน่าฉ่ายที่ขายอยู่ตามแหล่งจำหน่ายอาหารเจและตลาดยอดนิยมที่ขายสินค้าอาหารของคนไทยเชื้อสายจีน ไม่ว่าจะเป็น ตลาดเยาวราช ตลาดท่าดินแดง และตลาดสามย่าน  เพื่อมาทดสอบดูว่ากาน่าฉ่ายที่วางขายอยู่เสี่ยงน้ำมันทอดซ้ำมากน้อยแค่ไหน   สูตรไม่ลับ กาน่าฉาย กาน่าฉ่าย ทำจากผักกาดดองที่บีบน้ำดองออกแล้วส่วนหนึ่ง เพื่อไม่ให้รสชาติเปรี้ยวหรือเค็มจัดเกินไป จากนั้นนำมาสับ นำลงผัดกับลูกสมอดอง หรือที่ชาวจีนเรียกว่า กาน่าซั่ม บางเจ้าบางสูตรจะมีการเติมเห็ดหอมลงไปด้วย เมื่อผัดได้ที่ก็จะเติมน้ำเพิ่มลงไป  ตั้งไฟตุ๋นทิ้งไว้ 5-8 ชั่วโมง กาน่าฉ่ายก็จะกลายเป็นสีดำ หน้าตาอาจจะไม่ค่อยน่ากิน แต่รสชาติอร่อยถูกใจ หลายคนบอกว่าแค่กินคู่กับข้าวต้มหรือข้าวสวยร้อนๆ ก็อร่อยสุดๆ หรือจะนำไปดัดแปลงไปผัดกับเนื้อสัตว์ ผัดกับผักอื่นๆ หรือเติมลงในข้าวผัดก็อร่อยไปอีกแบบ ขั้นตอนการปรุงเมนูกาน่าฉ่าย จำเป็นต้องมีการใช้น้ำมันในขั้นตอนของการผัด ซึ่งน้ำมันที่นิยมใช้กันคือน้ำมันพืชอย่าง น้ำมันปาล์ม, น้ำมันถั่วเหลือง หรือ น้ำมันงา ร้านค้าส่วนใหญ่เวลาที่เขาผัดกานาฉ่ายขายแต่ละทีเขาทำขายกันทีละหลายกิโล น้ำมันที่ใช้จึงมีปริมาณมาก โอกาสที่จะมีการใช้น้ำมันซ้ำๆ ในการผัดเพื่อเป็นการลดต้นทุนจึงอาจเกิดขึ้นได้   ผลทดสอบน้ำมันทอดซ้ำในกาน่าฉ่าย ฉลาดซื้อได้สุ่มเก็บตัวอย่าง กาน่าฉ่าย จากตลาดและซูเปอร์มาร์เก็ตชื่อดังในกรุงเทพฯ จำนวน 13 ตัวอย่าง ส่งไปยังศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 8 จ.อุดรธานี เพื่อวิเคราะห์หาปริมาณสารโพลาร์ สารที่เกิดจากน้ำมันทอดซ้ำเสื่อมสภาพ ในตัวอย่างกาน่าฉ่าย โดยการใช้ชุดทดสอบน้ำมันทอดซ้ำ ซึ่งให้ผลที่แม่นยำเป็นที่ยอมรับ ได้ผลดังนี้     สรุปผลการทดสอบ การวิเคราะห์โดยใช้ชุดทดสอบนั้น จะใช้วิธีการหยดสารละลายโพลาร์ลงในตัวอย่าง ตัวสารจะทำปฏิกิริยากับตัวอย่างทำให้เกิดเป็นสีชมพู ตั้งแต่สีจางไปจนถึงเข้ม สำหรับตัวอย่างที่มีปริมาณสารโพลาร์ไม่เกิน 25% ของน้ำหนัก แต่หากตัวอย่างที่นำมาวิเคราะห์ไม่เปลี่ยนเป็นสีชมพู หรือกลายเป็นสีเหลืองแสดงว่าตัวอย่างนั้นมีปริมาณสารโพลาร์เกินกว่า 25% - ตัวอย่างกาน่าฉ่าย ที่อยู่ในเกณฑ์ดีใช้ได้ พบว่ามีเพียง 3 ตัวอย่างเท่านั้น (จากทั้งหมด 13 ตัวอย่าง) คือมีปริมาณสารโพลาร์อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด ได้แก่ 1.กาน่าฉ่าย ร้านพลังบุญ จากสันติอโศก 2.กาน่าฉ่าย แม่จินต์ จากโลตัส สาขาสุขสวัสดิ์ และ 3.กาน่าฉ่ายเห็ดหอม สูตรคุณตี๋ จากตลาดสามย่าน สารโพลาร์อยู่ในช่วงปริมาณ 9-20% ถือเป็นน้ำมันที่อยู่ในเกณฑ์ที่ดี - กาน่าฉ่ายอีก 10 ตัวอย่างที่เหลือ ตรวจวิเคราะห์พบปริมาณสารโพลาร์ปนเปื้อนเกินค่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ คือมากกว่า 25% ของน้ำหนักอาหาร ซึ่งจากการทดสอบด้วยชุดทดสอบพบว่า ตัวอย่างเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเข้ม คิดเป็นสารโพลาร์ที่อยู่ในช่วง 27% ของน้ำหนักอาหาร ซึ่งถือเป็นน้ำมันที่เสื่อมสภาพแล้ว ไม่ควรนำมาใช้ประกอบอาหาร - จากตัวอย่างที่ส่งวิเคราะห์ พบว่า มากกว่า 70% มีการปนเปื้อนของสารโพลาร์เกินค่ามาตรฐาน การรับประทานกาน่าฉ่าย จึงมีความเสี่ยงต่ออันตรายจากน้ำมันทอดซ้ำ ใครที่ชอบซื้อรับประทานบ่อยๆ อาจจะต้องเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้น รับประทานแต่พอดี หรือพยายามเลือกร้านที่มั่นใจว่าเปลี่ยนน้ำมันในการทำอยู่เสมอ สังเกตดูกาน่าฉ่ายที่ต้องไม่ดูเก่าเกินไป สีของน้ำมันไม่เป็นสีดำ ไม่มีกลิ่นเหม็นหืน - น้ำมันปรุงอาหารจะเสื่อมคุณภาพ เมื่อถูกความความร้อนสูง และมีความชื้น จะทำปฏิกิริยากับออกซิเจน เกิดสารโพล่าร์ (Polar compounds) เครื่องปรุงต่างๆ เช่น เกลือ ถือเป็นตัวเร่งให้เกิดสารสารโพลาร์เพิ่มขึ้น โดยปกติน้ำมันปรุงอาหารใหม่จะมีสารโพลาร์อยู่ระหว่าง 3-8 % ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 283) พ.ศ. 2547 เรื่องกำหนดปริมาณสารโพลาร์ในน้ำมันที่ใช้ทอดหรือประกอบอาหารเพื่อจำหน่าย ให้มีปริมาณสารโพลาร์ได้ไม่เกิน 25% ของน้ำหนัก ผู้ประกอบการอาหารที่ใช้น้ำมันทอดอาหารที่มีค่าปริมาณสารโพลาร์เกินมาตรฐานทีกำหนดและจำหน่ายอาหารผิดมาตรฐาน ฝ่าฝืนมาตรา 25(3) พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ระวางโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท   อันตรายของน้ำมันทอดซ้ำ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ระบุว่า ในน้ำมันทอดซ้ำมีสารอันตรายอยู่ 2 กลุ่ม คือ สารโพลาร์ ซึ่งเป็นกลุ่มที่ก่อให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง และอีกกลุ่มคือสารโพลีไซคลิก อะโรมาติก ไฮโดรคาร์บอน หรือ PAH ซึ่งเป็นกลุ่มสารก่อมะเร็ง น้ำมันทอดซ้ำ หรือน้ำมันที่เสื่อมคุณภาพ มีผลทำลายสุขภาพ ทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจและสมองตีบ โรคหัวใจวาย โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต ภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งลำไส้หรือกระเพาะอาหาร นอกจากนี้ไอของน้ำมันที่เสื่อมจะมีกลุ่มสารก่อมะเร็ง ทำให้ผู้ที่ทอดอาหารเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอดจากการสูดดม   กานาฉ่าย ไม่ได้เสี่ยงแค่น้ำมันทอดซ้ำแต่ยังต้องระวังเรื่องสารกันบูด ช่วงเทศกาลกินเจ นอกจากผักที่คนกินเจนิยมบริโภคกันมากแล้ว อาหารจำพวกหมักดองก็เป็นที่นิยมมากเช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็น ผักกาดดอง หัวไช้โป้ว เกี่ยมฉ่าย และรวมถึง กาน่าฉ่าย ซึ่งอาหารเหล่านี้มักมีการใช้วัตถุกันเสียเพื่อยืดอายุของอาหาร ที่นิยมใช้อย่างแพร่หลาย คือ กรดเบนโซอิก (benzoic acid) และ กรดซอร์บิก (sorbic acid) ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 281) พ.ศ. 2547 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร อนุญาตให้ใช้วัตถุกันเสียกรดเบนโซอิกและกรดซอร์บิก ในผักดอง ผักปรุงสุก ได้ไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อ 1 กิโลกรัม เพื่อเฝ้าระวังความปลอดภัยของอาหารช่วงเทศกาลกินเจปี 2557 สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้เก็บตัวอย่าง กาน่าฉ่าย ไช้โป้ว หัวผักดอง และ ยำเกี่ยมฉ่าย รวม 30 ตัวอย่าง เพี่อตรวจวิเคราะห์หาวัตถุกันเสียทางห้องปฏิบัติการ พบว่ามีตัวอย่างที่ใช้วัตถุกันเสียถึง 29 ตัวอย่าง ไม่พบเพียง 1 ตัวอย่าง โดยพบตัวอย่างใช้วัตถุกันเสียทั้ง 2 ชนิด จำนวน 6 ตัวอย่าง ในจำนวนนี้พบกรดเบนโซอิก เกินมาตรฐาน 22 ตัวอย่างคิดเป็นร้อยละ 73.3 โดยพบปริมาณสูงสุด 5,995 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมในตัวอย่าง กาน่าฉ่าย ส่วนกรดซอร์บิกพบในตัวอย่าง ไช้โป้ว/ไช้โป้วฝอย อยู่ในช่วง 50 - 418 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม แม้ว่ากรดเบนโซอิกจะมีความเป็นพิษต่ำ แต่ถ้าได้รับในปริมาณที่สูงมากอาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย ที่มา: รายงานประจำปี 2556 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 151 ผลทดสอบปริมาณสารตะกั่วในสีน้ำมันทาอาคาร

ดาวน์โหลดตารางรายละเอียดการทดสอบ >>>  กดโหลด ** หมายเหตุ: ตัวอย่างสีที่ทดสอบนั้นอาจจะยังไม่ครอบคลุมยี่ห้อหลักๆ ที่มีในตลาดบ้านเราทั้งหมด แต่ไม่ต้องห่วงเรากำลังส่งตัวอย่างเพิ่ม ได้ผลเมื่อไร ฉลาดซื้อจะนำมาลงให้สมาชิกได้ทราบทันที ดังนั้นเพื่อทำตามคำมั่นสัญญา และเพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรม “สัปดาห์ป้องกันภัยจากพิษตะกั่ว” ที่จะจัดขึ้นพร้อมกันในหลายประเทศทั่วโลก รวมทั้งที่ประเทศไทย ในระหว่างวันที่ 20-26 ตุลาคมนี้ โดยการนำขององค์การอนามัยโลกและสหประชาชาติ เพื่อรณรงค์ให้สิ่งแวดล้อมและผู้บริโภค โดยเฉพาะเด็กๆ ปลอดภัยจากสารตะกั่ว มูลนิธิบูรณะนิเวศและฉลาดซื้อจึงขอเสนอผลการวิเคราะห์สีทาอาคาร 120 ตัวอย่าง รวม 68 ยี่ห้อ เพื่อให้เป็นทางเลือกสำหรับผู้บริโภค ที่มีสิทธิจะได้รับข้อมูลข่าวสารอย่างรอบด้าน มีสิทธิในการเลือกและมีสิทธิในการได้รับสินค้าที่ปลอดภัย   ทำไมต้องตรวจตะกั่วในสีน้ำมันทาอาคาร ตะกั่วเป็นโลหะหนักอันตรายอย่างหนึ่งที่พบในผลิตภัณฑ์สี เนื่องจากผู้ผลิตนิยมเติมสารตะกั่วบางประเภทเข้าไปเป็นส่วนประกอบของเม็ดสี เพื่อทำให้สีสดใส เช่น สีเหลืองเติมตะกั่วโครเมต สีแดงเติมตะกั่วออกไซด์ สีขาวเติมตะกั่วคาร์บอเนต เป็นต้น นอกจากนี้ตะกั่วยังเป็นสารเร่งแห้งที่ทำให้สีแห้งไวเท่ากันทั่วพื้นผิว และทำให้สีมีความคงทนยิ่งขึ้น การผลิตสีน้ำ ที่เรียกว่าสีพลาสติกหรือสีอคริลิกในหลายๆ ประเทศ ส่วนใหญ่เลิกใช้ตะกั่วเป็นส่วนผสมแล้ว ขณะที่สีน้ำมันที่ผลิตและจำหน่ายอยู่ในประเทศกำลังพัฒนาส่วนมากยังมีการใช้ตะกั่วเป็นส่วนผสมสำคัญ การวิเคราะห์ตัวอย่างสีครั้งนี้จึงเน้นเฉพาะสีตกแต่งหรือสีทาอาคารที่เป็นสีน้ำมัน ประเทศไทยมีการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่จำหน่ายภายในประเทศ โดยการกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมขึ้นมาบังคับใช้ สำหรับผลิตภัณฑ์กลุ่มสีทาอาคาร สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก) ได้กำหนดมาตรฐานปริมาณตะกั่วไว้ในสีบางประเภทแบบสมัครใจ คือไม่มีผลบังคับทางกฎหมาย โดยมาตรฐานปริมาณตะกั่วในแต่ละผลิตภัณฑ์มีทั้งที่เหมือนกันและต่างกัน สำหรับสีน้ำมันทาอาคารประเภทที่ใช้แอลคีด (alkyd) เป็นสารยึดเกาะ   ไม่ว่าจะเป็นสีเคลือบเงาแอลคีด (มอก.327-2553) หรือสีเคลือบด้านแอลคีด (มอก.1406-2553) ต้องมีสารตะกั่วไม่เกิน 100 ppm การศึกษาสถานการณ์การปนเปื้อนสารตะกั่วในสีน้ำมันทาอาคารครั้งนี้ ดำเนินการโดยมูลนิธิบูรณะนิเวศ ในฐานะที่เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างองค์กรภาคประชาชน 7 ประเทศในภูมิภาคเอเชีย ได้แก่ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ศรีลังกา บังคลาเทศ เนปาล อินเดีย และไทย โดยการสนับสนุนจากโครงการ EU SWITCH-Asia และเครือข่ายระหว่างประเทศว่าด้วยการกำจัดสารพิษตกค้างยาวนานในสิ่งแวดล้อม (International POPs Elimination Network - IPEN) เพื่อสร้างความตื่นตัวถึงอันตรายจากสารตะกั่วในผลิตภัณฑ์สี และส่งเสริมให้ผู้บริโภค ภาครัฐ และภาคเอกชน ร่วมมือกันปกป้องเด็กๆ จากทุกมุมโลกให้ปลอดภัยจากพิษตะกั่ว   สำรวจยี่ห้อทั่วไปก่อนเก็บตัวอย่าง ขั้นตอนแรกสุดของการศึกษามูลนิธิบูรณะนิเวศได้ประสานความร่วมมือกับเครือข่ายผู้บริโภคและทีมวิจัยฉลาดซื้อสำรวจผลิตภัณฑ์สียี่ห้อต่างๆ ในตลาดสีน้ำมันทาอาคารที่วางจำหน่ายทั่วไป โดยสำรวจตามร้านค้า 3 ประเภทในภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลาง และภาคตะวันออก ได้แก่ ร้านค้าขนาดใหญ่ที่มีหลายสาขาทั่วประเทศ  ร้านค้าขนาดกลางที่เป็นร้านค้าส่งและค้าปลีก ซึ่งเป็นที่นิยมของผู้รับเหมาก่อสร้าง และร้านค้าขนาดเล็กที่ขายปลีกผลิตภัณฑ์สีในย่านชุมชน เมื่อกำหนดยี่ห้อที่จะตรวจสอบได้แล้ว ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม 2556 ทีมวิจัยของมูลนิธิบูรณะนิเวศจึงตระเวนซื้อตัวอย่างสียี่ห้อต่างๆ จากร้านค้าทั้ง 3 ประเภท ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียง ได้แก่ นนทบุรี สมุทรปราการ ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา และฉะเชิงเทรา รวมถึงผลิตภัณฑ์อีกบางยี่ห้อที่สำรวจพบเพิ่มเติมภายหลัง รวมแล้วมีผลิตภัณฑ์สีที่นำมาตรวจวิเคราะห์ทั้งหมด 120 ตัวอย่าง จาก 68 ยี่ห้อ ซึ่งแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มโทนสีสด ได้แก่ สีเหลือง แดง น้ำเงิน ฯลฯ มี 68 ตัวอย่าง จาก 64 ยี่ห้อ และกลุ่มโทนสีขาวจำนวน 52 ตัวอย่าง จาก 51 ยี่ห้อ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นยี่ห้อเดียวกันในทั้งสองกลุ่ม การวิเคราะห์ตัวอย่างสีครั้งนี้ทำโดยห้องปฏิบัติการ Certottica ประเทศอิตาลี ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการที่ผ่านการรับรองโดยโครงการทดสอบความสามารถการวิเคราะห์ตะกั่วในสิ่งแวดล้อม (ELPAT) โดยใช้เครื่อง Inductively Coupled Plasma-Atomic Emission Spectrophotometer (ICP-AES) และใช้วิธีวิเคราะห์ตามมาตรฐานสากลสำหรับการทดสอบปริมาณสารตะกั่วในสี   ก่อนตีพิมพ์ผลการทดสอบเรื่องปริมาณสารตะกั่วในครั้งนี้ ทางมูลนิธิบูรณะนิเวศ ได้จัดส่งผลการทดสอบให้กับบริษัทผู้ผลิตต่างๆ เพื่อผลในการปรับปรุงและดูแลผลิตภัณฑ์ให้มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค  และเมื่อวันที่ 13 กันยายน ที่ผ่านมา ทางมูลนิธิบูรณะนิเวศและนิตยสารฉลาดซื้อ ยังได้ประชุมร่วมกันกับตัวแทนบริษัทผู้ผลิตสีหลายบริษัท ตัวแทนสมาคมผู้ผลิตสีไทย โดยมีตัวแทนจากศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก ร.พ. รามาธิบดี วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และผู้แทนจาก สมอ. เข้าร่วมด้วย ในการประชุมดังกล่าว ทางตัวแทนบริษัทและทางสมาคม มีข้อเสนอและร้องขอให้ทางผู้วิจัยและฉลาดซื้อ อย่านำเสนอผลการวิจัยต่อสาธารณะในลักษณะที่เปิดเผยชื่อยี่ห้อและชื่อบริษัท ฯลฯ ด้วยเกรงจะกระทบต่อผู้ผลิต อย่างไรก็ตาม เพื่อยืนยันถึงการใช้สิทธิของผู้บริโภค ที่ควรจะต้องมีทางเลือกในการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการด้วยข้อมูลที่ชัดเจน ทางผู้วิจัยและนิตยสารฉลาดซื้อจึงได้ขอสงวนสิทธิการตัดสินใจในการลงเผยแพร่ เพราะเห็นว่าการเปิดเผยผลทดสอบจะเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะมากกว่าการปกปิดข้อมูล และโดยที่ผลการตรวจสอบพบว่ามีทั้งสินค้าที่มีปริมาณตะกั่วสูง และสินค้าที่มีปริมาณตะกั่วเป็นไปตามมาตรฐาน ซึ่งข้อมูลนี้จะช่วยให้ผู้บริโภคสามารถใช้เป็นคู่มือในการตัดสินใจได้ “ในเมื่อท่านตัดสินใจประกาศผลทดสอบ ท่านก็อาจต้องระวังว่าทางผู้ผลิตที่ได้รับผลกระทบ ดำเนินการฟ้องร้องท่านแน่นอน”  อันนี้ถือเป็นคำเตือน คำขู่ หรือไม่ อย่างไร ก็คงต้องดูกันต่อไปว่า ตกลงเรื่องนี้ใครกันเป็นคนทำผิด      ผลทดสอบ ผลจากการวิเคราะห์พบว่า กลุ่มตัวอย่างโทนสีสดใสมีการใช้สารตะกั่วสูงกว่ากลุ่มโทนสีขาว โดยพบว่า ร้อยละ 93 ของกลุ่มตัวอย่างโทนสีสดใสมีตะกั่วสูงกว่าค่ามาตรฐานแบบสมัครใจของไทย (100 ppm) ในขณะที่ปริมาณตะกั่วในกลุ่มตัวอย่างโทนสีขาว พบว่า ร้อยละ 61 มีตะกั่วสูงเกินกว่า 100 ppm เมื่อมองในภาพรวมตามเกณฑ์มาตรฐานของสารตะกั่วแบบสมัครใจในไทย พบว่า ร้อยละ 79 ของตัวอย่างทั้งหมดมีตะกั่วเกิน 100 ppm ปริมาณสารตะกั่วในสีที่พบต่ำสุดจากตัวอย่างสีโทนสีสดใสคือ 26 ppm และปริมาณสูงสุดที่พบคือ  95,000 ppm ส่วนปริมาณตะกั่วต่ำสุดในตัวอย่างโทนสีขาวคือ น้อยกว่า 9 ppm และปริมาณสูงสุดคือ 9,500 ppm รายละเอียดดังแสดงในตาราง   ผลวิเคระห์ปริมาณตะกั่วในตัวอย่างสีน้ำมันทาอาคาร ประเภทตัวอย่างสี จำนวนตัวอย่าง ค่ามาตรฐานแบบ สมัครใจตาม มอก. (ตะกั่วไม่เกิน 100 ppm)   ค่าตะกั่วต่ำสุด (ppm) ค่าตะกั่วสูงสุด (ppm) สีน้ำมันทาอาคาร 120 ร้อยละ 79 (95 ตัวอย่าง) น้อยกว่า 9 95,000 โทนสีสดใส (ส่วนใหญ่เป็นสีเหลือง) 68 ร้อยละ 93 (63 ตัวอย่าง)   26   95,000 โทนสีขาว 52 ร้อยละ 62 (32 ตัวอย่าง) น้อยกว่า 9 9,500     ข้อมูลบนฉลากแสดงปริมาณตะกั่วไม่ตรงตามจริง จากการสำรวจครั้งนี้ยังพบว่า สีบางยี่ห้อมีการให้ข้อมูลสารตะกั่วบนฉลากเพื่อจูงใจผู้บริโภคให้เลือกซื้อ โดยผลสำรวจพบว่ามีสีน้ำมัน 29 ตัวอย่างจาก 120 ตัวอย่าง ที่ติดฉลากให้ข้อมูลแก่ผู้บริโภคในแบบต่างๆ  เช่น  “ไม่ผสมสารปรอท ไม่ผสมสารตะกั่ว” (No Added Mercury No Added Lead),  “ปราศจากสารปรอทและตะกั่ว”  (Mercury and Lead Free),  “ไม่ผสมสารตะกั่วและปรอท” (No Added Lead and mercury) และ “ปราศจากสารตะกั่ว 100% ปราศจากสารปรอท 100%”  (100% Lead Free 100% Mercury Free)  เป็นต้น แต่เมื่อพิจารณาปริมาณตะกั่วที่ตรวจพบในตัวอย่างสีที่มีข้อความบนฉลากดังกล่าว พบว่า มีสีน้ำมัน 17 ตัวอย่างจาก 29 ตัวอย่าง ที่มีสารตะกั่วสูงเกินกว่า 100 ppm จึงเห็นได้ว่า ข้อมูลบนฉลากและปริมาณตะกั่วที่ตรวจพบไม่ตรงกัน  เรื่องนี้ผู้บริโภคจึงควรระวัง เนื่องจากไม่สามารถวางใจข้อมูลบนฉลากได้ทั้งหมด   ตัวอย่างข้อมูลฉลากและปริมาณตะกั่วในสี     ปริมาณสารตะกั่ว 56,000 ppm สียี่ห้อ เด็นโซ่ ผลิตโดย ไทยโตอา อุตสาหกรรม ปริมาณสารตะกั่ว  53,000 ppm สียี่ห้อ เบ็นโทน ผลิตโดย บี เอ็น บราเธอร์   ปริมาณสารตะกั่ว 49,000 ppm สียี่ห้อ ซีสโต้ ผลิตโดย ซีซั่นเพ้นท์     ปริมาณสารตะกั่ว 48,000 ppm สียี่ห้อ เบเยอร์ชิลด์ ผลิตโดย บี เอ็น บราเธอร์ ปริมาณสารตะกั่ว 43,000 ppm สียี่ห้อ เบเยอร์ดีไลท์ไททาเนียมผลิตโดย บี เอ็น บราเธอร์     ปริมาณสารตะกั่ว 34,000 ppm สียี่ห้อ คินโซ่ ผลิตโดย ไทยโตอา อุตสาหกรรม ปริมาณสารตะกั่ว 28,000 ppm สียี่ห้อ โทรา ผลิตโดย ไทยโตอา อุตสาหกรรม     ปริมาณสารตะกั่ว 18,000 ppmสียี่ห้อ ร็อกเก็ต ผลิตโดย ทีเพ้นท์ ปริมาณสารตะกั่ว 2,600 ppm สียี่ห้อ ซันเก ผลิตโดย โกลเด้นท์แอร์โร โค๊ทติ้ง     ปริมาณสารตะกั่ว 640 ppm สียี่ห้อ ซุปเปอร์มาเท็กซ์ ผลิตโดย ทีโอเอเพ้นท์ ปริมาณสารตะกั่ว 230 ppm สียี่ห้อ ทีโอเอ กลิปตั้น ผลิตโดย ทีโอเอเพ้นท์   ปริมาณสารตะกั่ว 390 ppm สียี่ห้อ กัปตัน ผลิตโดย กัปตันโคตติ้ง (กิจการร่วมกับ ทีโอเอ เพ้นท์)   และด้วยเหตุที่ฉลากบนกระป๋องสีมีรูปแบบและข้อความที่หลากหลาย ดังนั้นการปรับปรุงแก้ไขให้ฉลากมีมาตรฐานเดียวกัน น่าจะช่วยให้ข้อมูลบนฉลากมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น รวมถึงควรเพิ่มข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค เช่น อันตรายของสารตะกั่ว และข้อควรระวังในการขูดลอกสีเก่า เป็นต้น   คำแนะนำสำหรับการเลือกสีทาบ้าน 1. เลือกสีทาอาคารชนิดที่ปลอดสารตะกั่ว ทุกชีวิตในบ้านจะได้ปลอดภัย โดยเฉพาะสีน้ำมัน เฉดสีสด เหลือง ส้ม แดง ควรหลีกเลี่ยง สีน้ำมันทาอาคารเหมาะกับไม้และโลหะ ไม่ควรนำไปทาบนผิวปูนซีเมนต์ โดยในขณะที่ยังไม่มีมาตรฐานบังคับ ผู้บริโภคควรหลีกเลี่ยง เพื่อเป็นการลดเรื่องความเสี่ยงจากการปนเปื้อนของสารตะกั่ว ซึ่งพบว่าเป็นปัญหามากที่สุดในปัจจุบัน 2. สีทาบ้านมีหลายเกรด ราคาก็ต่างกัน จึงต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมเพื่อจะได้งานที่มีคุณภาพดีในราคาประหยัด อย่าผูกใจเชื่อไปเองว่า สีที่ราคาแพงจะมีคุณภาพดีและปลอดภัยกว่า 3. การเลือกใช้สีว่าจะใช้ของยี่ห้อใดนั้น ให้เปรียบเทียบที่รุ่นสินค้าของแต่ละยี่ห้อ แทนการมั่นใจในตัวยี่ห้อสินค้า เพราะเมื่อนำมาเปรียบเทียบรุ่นต่อรุ่นแล้ว จะพบว่าคุณสมบัติไม่ต่างกันมากนัก 4. อ่านฉลากให้ละเอียด แต่อย่าเพิ่งเชื่อทั้งหมด ลองศึกษารายละเอียดผลทดสอบทั้งหมดตามที่เสนอไว้ใน “ฉลาดซื้อ” ฉบับนี้ หากพบข้อมูลที่ข้ดแย้งกัน ให้ละเว้นการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีฉลากหลอกลวงไปเลย 5. เลือกใช้สีให้เหมาะสมกับงาน โดยหาความรู้เพิ่มเติมหรือปรึกษาช่าง เช่น  ปูนทาสีน้ำ เหล็ก/ไม้ทาสีน้ำมัน เป็นต้น จากนั้นก็ประเมินตัวเองว่า อยากได้สีแบบไหน สีกันร้อน สีเช็ดได้ สีปกปิดรอยแตกลายงา สียืดหยุ่นได้ สีกันคราบน้ำมัน ฯลฯ และต้องการสีที่มีอายุงานกี่ปี 2 ปี 4 ปี 5 ปี หรือ 10 ปี เมื่อประเมินได้แล้วจึงค่อยหาแคตตาล็อกของบริษัทผู้ผลิตสีมาเปรียบเทียบรุ่นต่อรุ่น เพื่อให้ได้สีตามที่ต้องการในราคาที่ถูกใจ 6. ก่อนลงมือทาสีจริง ควรทดลองทาสีด้วยการเอาสีขนาดบรรจุเล็กๆ มาทาก่อน ถ้าชอบใจค่อยไปซื้อมาเป็นถังใหญ่เพื่อทาจริง เพราะสีจริงจะเพี้ยนไปจากแคตตาล็อกนิดหน่อย อาจจะเพราะรองพื้นหรือสภาพพื้นผิวที่เราจะทา 7. กรณีจ้างช่างทาสี ควรระบุความต้องการของท่านให้ชัด โดยเลือกใช้สีที่ไม่มีสารตะกั่ว เรื่องราคาไม่ใช่ประเด็นหลัก เพราะจากการทดสอบที่ได้นำเสนอไป พบว่า ท่านสามารถเลือกใช้สีที่ปลอดภัยจากสารตะกั่วได้ ในราคาเหมาะสม ไม่แพงเกินไป   คำแนะนำในการทาสีบ้าน การขูดลอกสีเก่าเพื่อทาสีใหม่ ควรระมัดระวังมิให้ฝุ่นสีฟุ้งกระจายและควรหลีกเลี่ยงการสูดดมหรือสัมผัสฝุ่นสี ทำความสะอาดพื้นผิวด้วยการถูพื้นหรือเช็ดเปียก นอกเหนือจากการกวาด เนื่องจากฝุ่นตะกั่วไม่อาจมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า อันนี้เท่ากับจะนำเสนอยี่ห้อที่มีตะกั่วอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ซึ่งก็ควรเขียนหัวข้อให้ชัด ที่สำคัญกว่าคือคงต้องเขียนหมายเหตุให้ชัดว่า อันนี้เป็นผลจากการตรวจ 120 ตัวอย่างเท่านั้น ซึ่งแม้ว่าจำนวนดังกล่าวจะครอบคลุมยี่ห้อต่างๆ ถึง 68 ยี่ห้อ แต่ก็อาจมีบางยี่ห้อที่ไม่อยู่ในการทดสอบนี้

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 138 เราพบอะไรในชุดชั้นในสีดำ

หลายคนอาจเคยได้ยินข่าวว่าในต่างประเทศมีการทดสอบเสื้อชั้นในสีดำและพบสารก่อมะเร็งในปริมาณสูง และอาจสงสัยว่าเสื้อชั้นในสีดำที่ขายอยู่ในบ้านเรามีสารดังกล่าวหรือไม่ ฉลาดซื้อเก็บตัวอย่างเสื้อในชั้นสีดำทั้งจากตลาดบน ตลาดกลาง และตลาดล่าง* ทั้งหมด 10 ตัวอย่าง (ราคาตั้งแต่ 50 - 790 บาท ทั้งหมดผลิตในประเทศไทย ยกเว้นยูนิโคล่ รุ่นไวร์เลส ที่ผลิตจากประเทศจีน) ในช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา แล้วส่งเข้าทดสอบในห้องปฏิบัติการของศูนย์วิเคราะห์ทดสอบสิ่งทอ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ เพื่อไขข้อข้องใจในประเด็นเหล่านี้ ชนิดของเส้นใยที่ใช้เป็นไปตามที่แจ้งบนฉลากหรือไม่ มีฟอร์มาลดีไฮด์ (สารที่ใช้เพื่อป้องกันผ้าย่น หรือยับ) หรือไม่ ค่าความเป็นกรด-ด่างเกินมาตรฐานหรือไม่ สารเคมีในสีย้อมที่อาจก่อให้เกิดมะเร็ง จากผลทดสอบในภาพรวม เสื้อชั้นในส่วนใหญ่ผลิตจากเส้นใยตามที่ได้แจ้งไว้ มีเพียงยี่ห้อ Princess ที่ระบุบนฉลากว่าเป็น “ฝ้าย 100%” แต่ทดสอบแล้วพบว่าเป็นเส้นใยโพลีเอสเตอร์ ส่วนชุดชั้นในอีก 3 ยี่ห้อที่ไม่ระบุเส้นใยที่ใช้ก็เป็นโพลีเอสเตอร์ หรือโพลีเอสเตอร์ผสมฝ้าย ซึ่งเรื่องของเส้นใยนั้นต้องแล้วแต่ความชอบของผู้บริโภคแต่ละคน ใครเน้นสวมใส่สบาย ระบายอากาศดีก็เลือกที่เป็นเส้นใยจากฝ้าย แต่ถ้าใครเน้นซักง่ายแห้งเร็วก็คงจะเลือกเส้นใยโพลีเอสเตอร์ สำคัญตรงที่ผู้ผลิตมีการแจ้งต่อต่อผู้บริโภคอย่างตรงไปตรงมาเพื่อการพิจารณานั่นเอง ------------------------------------------------------------------------------- ตลาดชุดชั้นในสตรีในบ้านเราซึ่งมีมูลค่าการตลาดไม่ต่ำกว่า 12,000 ล้านบาท แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ : ข้อมูลจากงานวิจัยปี พ.ศ. 2552 โดย ผุสดี ใจแก้วทิ  เรื่อง กลยุทธ์ธุรกิจและกลยุทธ์ทางการตลาดซึ่งสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเลือกซื้อชุดชั้นในสตรีของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร: กรณีศึกษา บริษัท ไทยวาโก้ จำกัด (มหาชน) ลิขสิทธิ์มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ------------------------------------------------------------------------------- จากงานวิจัยเดียวกัน สีเสื้อชั้นในที่ได้รับความนิยมสูงสุดคือสีเนื้อ (ร้อยละ 37.5) ตามด้วยสีขาว (ร้อยละ 32) สีชมพู (ร้อยละ 13.5) และสีดำ (ร้อยละ 10.5) -------------------------------------------------------------------------------   เสื้อชั้นใน Ne’s bra รุ่น 8802 ราคา 50 บาท ชนิดเส้นใยที่ระบุบนฉลาก ไม่ระบุ ชนิดเส้นใยที่ทดสอบได้             โพลีเอสเตอร์ ค่าความเป็นกรดด่าง 6.52 สารก่อมะเร็งในสีย้อม ไม่พบ     เสื้อชั้นใน Princess รุ่น 191 ราคา 79 บาท ชนิดเส้นใยที่ระบุบนฉลาก Cotton 100% ชนิดเส้นใยที่ทดสอบได้             โพลีเอสเตอร์ ค่าความเป็นกรดด่าง 6.72 สารก่อมะเร็งในสีย้อม ไม่พบ     เสื้อชั้นใน Sister hood รุ่น Sport 072 ราคา 89 บาท ชนิดเส้นใยที่ระบุบนฉลาก ไม่ระบุ ชนิดเส้นใยที่ทดสอบได้             โพลีเอสเตอร์ / ฝ้าย ค่าความเป็นกรดด่าง 7.09 สารก่อมะเร็งในสีย้อม ไม่พบ     เสื้อชั้นใน Jintana รุ่น Jina Teen JB 2850 ราคา 260 บาท ชนิดเส้นใยที่ระบุบนฉลาก ไม่ระบุ ชนิดเส้นใยที่ทดสอบได้             ไนลอน ค่าความเป็นกรดด่าง 7.16 สารก่อมะเร็งในสีย้อม ไม่พบ     เสื้อชั้นใน Sabina รุ่น SBN Sport SBB 374 BK ราคา 440 บาท ชนิดเส้นใยที่ระบุบนฉลาก ฝ้าย ชนิดเส้นใยที่ทดสอบได้             ฝ้าย ค่าความเป็นกรดด่าง 7.44 สารก่อมะเร็งในสีย้อม ไม่พบ     เสื้อชั้นใน POP line รุ่น WL 1799 ราคา 450 บาท ชนิดเส้นใยที่ระบุบนฉลาก ไนลอน ชนิดเส้นใยที่ทดสอบได้             ไนลอน ค่าความเป็นกรดด่าง 6.10 สารก่อมะเร็งในสีย้อม ไม่พบ     เสื้อชั้นใน Wacoal รุ่น WH 2M03 T-Shrunk ราคา 550 บาท ชนิดเส้นใยที่ระบุบนฉลาก ฝ้าย ชนิดเส้นใยที่ทดสอบได้             ฝ้าย ค่าความเป็นกรดด่าง 7.95 สารก่อมะเร็งในสีย้อม 4-chloroaniline 15.35 มก./กก.     เสื้อชั้นใน Elle รุ่น LB 8502 ราคา 650 บาท ชนิดเส้นใยที่ระบุบนฉลาก ไนลอน ชนิดเส้นใยที่ทดสอบได้             ไนลอน ค่าความเป็นกรดด่าง 7.16 สารก่อมะเร็งในสีย้อม ไม่พบ     เสื้อชั้นใน UNIQLO รุ่น Wireless Bra Light ราคา 790 บาท ชนิดเส้นใยที่ระบุบนฉลาก โพลีเอสเตอร์ ชนิดเส้นใยที่ทดสอบได้             โพลีเอสเตอร์ ค่าความเป็นกรดด่าง 6.85 สารก่อมะเร็งในสีย้อม ไม่พบ     เสื้อชั้นใน Triumph รุ่น Sloggi Organic Cotton ราคา 790 บาท ชนิดเส้นใยที่ระบุบนฉลาก ฝ้าย ชนิดเส้นใยที่ทดสอบได้             ฝ้าย ค่าความเป็นกรดด่าง 6.84 สารก่อมะเร็งในสีย้อม 4-chloroaniline 15.09 มก./กก.   ------------------------------------------------------------------------ ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ชุดชั้นในสตรี มผช. 837/ 2554 กำหนดไว้ว่า ปริมาณฟอร์มาลดีไฮด์ ต้องน้อยกว่า 75 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ค่าความเป็นกรด-ด่าง ต้องอยู่ระหว่าง 5 ถึง 7.5 สีเอโซที่ให้แอโรแมติกแอมีน 24 ตัว ต้องไม่เกิน 30 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ผลการวิเคราะห์ ในการทดสอบคราวนี้เราไม่พบฟอร์มาลดีไฮด์ในทั้ง 10 ตัวอย่าง และค่าความเป็นกรดด่างของเสื้อชั้นในส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ ยกเว้นวาโก้ WH 2M03 T-Shrunk ที่มีค่า pH สูงเกินเกณฑ์ไปเล็กน้อย   นอกจากนี้เรายังพบสาร 4-คลอโรแอนิลีน (4-chloroaniline) ในชุดชั้นใน 2 รุ่นได้แก่ วาโก้ WH 2M03 T-Shrunk และ ไทรอัมพ์ Sloggi Organic Cotton ในปริมาณ 15.35 มิลลิกรัม/ กิโลกรัม และ 15.09 มิลลิกรัม/ กิโลกรัม ตามลำดับ ปริมาณดังกล่าวถือว่าไม่เกินมาตรฐานที่ประเทศไทย หรือเกณฑ์เบื้องต้นของยุโรปกำหนดให้มีได้ไม่เกิน 30 มิลลิกรัม/ กิโลกรัม)   อย่างไรก็ตาม สารดังกล่าวเป็นหนึ่งในสารอะโรแมติกแอมีน ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง ถ้าอ้างอิงเกณฑ์ของฉลากสิ่งแวดล้อมต่างๆ ของยุโรป จะต้องไม่มีสารดังกล่าวในผลิตภัณฑ์   ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งทอ ผศ.ดร.จันทร์ทิพย์ ซื่อสัตย์ ภาควิชาวิทยาการสิ่งทอ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้ความเห็นว่า “สีย้อมประเภทเอโซเป็นสีกลุ่มที่แตกตัวให้สาร Aromatic amine เมื่อย้อมติดบนผลิตภัณฑ์ ไม่ควรก่อให้เกิดสาร Aromatic amine ชนิดที่อยู่ในข่ายสามารถก่อให้เกิดความผิดปกติในมนุษย์ ในปริมาณเกินกว่า 30 ppm สำหรับสาร 4-chloroaniline ที่ตรวจพบในผลิตภัณฑ์เสื้อชั้นในข้างต้น เป็นสารที่ห้ามใช้หรือไม่ควรพบตกค้างในผลิตภัณฑ์สิ่งทอเลยเนื่องจากเป็นสารอันตราย ดังนั้นจึงถือว่าผลิตภัณฑ์เสื้อชั้นในที่ตรวจพบสารดังกล่าวอยู่ในข่ายที่สามารถก่ออันตรายต่อผู้บริโภคได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผลิตภัณฑ์ที่สัมผัสผิวหนังโดยตรงเช่นนี้”   วลัยพร มุขสุวรรณ รองผู้อำนวยการมูลนิธิบูรณะนิเวศ และผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการสารเคมี ระบุว่า “ตามเอกสารขององค์การอนามัยโลกและกฎหมายของสหภาพยุโรปที่ออกตามกฎหมาย REACH นั้น สหภาพยุโรปจำกัดการใช้สีย้อมประเภทเอโซ (ซึ่งสาร 4-chloroaniline รวมอยู่ในกลุ่มนี้ด้วย) คือห้ามใช้สีย้อมเอโซที่อาจปล่อยสารแอมีนซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งออกมาจากผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะเข้าสู่ผู้ใช้ได้ แต่ถ้าเป็นเอโซที่ไม่ปล่อยสารแอมีน จะยอมให้มีในแต่ละส่วนประกอบได้ไม่เกิน 30 พีพีเอ็ม สำหรับเอโซที่ปล่อยสาร 4-chloroaniline ออกมานั้นอยู่ในรายการห้ามใช้เลย ------------------------------------------------------------------------   เรื่องจากคนเย็บชุดชั้นใน -          ปัจจุบันนี้ เสื้อชั้นในหนึ่งตัว มีชิ้นส่วนประมาณ 20 ชิ้น และมีขั้นตอนการเย็บประมาณ 50 ขั้นตอน -          ถ้าเป็นเสื้อชั้นในแบบธรรมดาๆ พนักงาน 50 คน จะสามารถเย็บได้ วันละ 2,000 ตัว แต่ปัจจุบันเริ่มมีชิ้นงานแบบหรูหรา ที่ขายปลีกตัวละ 7,000 – 8,000 บาท พนักงานกลุ่มเดิมสามารถเย็บได้เพียงวันละไม่เกิน 400 ตัว -          ชิ้นงานสีดำหรือสีเข้มอื่นๆ ค่อนข้างลำบากต่อคนทำงาน เพราะมองไม่ค่อยเห็น จึงต้องส่องไฟเพิ่มซึ่งทำให้เกิดแสงสะท้อนเข้าตา -          ก่อนหน้านี้เคยมีผู้บริโภคร้องเรียนว่าพบปลายเข็มในเสื้อชั้นใน ซึ่งน่าจะเกิดจากเข็มที่หักในขั้นตอนการตัดเย็บ ในสายการผลิตจึงมีข้อกำหนดว่าจะต้องหาปลายเข็มที่หักให้เจอก่อนเสมอเมื่อเกิดกรณีที่เข็มหัก นอกจากนี้ยังห้ามไม่ให้พนักงานนำโลหะชิ้นเล็กๆ เช่นลวดเย็บ หรือดินสอกด เข้าไปบริเวณที่ทำงาน -          ขั้นตอนที่มีความเสี่ยง ขั้นตอนการประกอบลูกไม้/ผ้า เข้ากับฟองน้ำด้วยเครื่องพ่นกาว การขึ้นรูปผ้ากับฟองน้ำให้เป็นรูปโค้งตามขนาดคัพ ของเสื้อชั้นใน -          ครึ่งหนึ่งของราคาชุดชั้นในที่เราจ่าย คือค่าแบรนด์ -          เสื้อชั้นในที่เราเห็นนำมาลดราคาตามห้างนั้น ความจริงแล้วก็เป็นไปตามราคาขั้นต่ำที่เขากำหนดไว้แต่แรก บางครั้งการลดราคาก็เพื่อเคลียร์พื้นที่ให้กับรุ่นใหม่ๆ ที่กำลังจะผลิตออกมา หรือของค้างที่เก็บไว้ก็มีแต่จะเสื่อมราคาจึงต้องรีบขายออกไป อีกกลุ่มที่นำมาลดราคาคือสินค้าที่มีขนาดไม่ครบนั่นเอง -          ส่วนเสื้อชั้นในที่นำมาขายลดราคาให้กับพนักงงานในโรงงานนั้นอาจมาจากสินค้าตกเครื่องบิน (หรือตกเรือ) เพราะส่งไม่ทันเวลา บางครั้งเป็นสินค้ามีตำหนิ หรือสินค้าตัวอย่าง หรือสินค้าที่ไม่ผ่านคุณภาพส่งออก (เช่นมีสารก่อมะเร็ง) เป็นต้น ขอบคุณ คุณจิตรา คชเดช และคุณวิภา มัจฉาชาติ ผู้ประสานงานและผู้จัดการฝ่ายผลิตชุดชั้นในทางเลือก Try Arm ผู้ให้ข้อมูล  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 135 สินค้าเด็กไทย ปลอดภัยหรือยัง

ความปลอดภัยและพัฒนาการของลูก เป็นสิ่งที่พ่อแม่ทุกคนต้องการ หลายคนซื้อสินค้าอย่าง หัวนมหลอก ยางกัด รถหัดเดิน หรือแม้แต่เก้าอี้สูง มาให้ลูกใช้โดยหารู้ไม่ว่าอาจจะกำลังเพิ่มความเสี่ยงให้กับเด็กๆ เพราะปัจจุบันในบ้านเรายังไม่มีมาตรฐานควบคุมการผลิตสินค้าเหล่านี้ ว่าแล้วก็เริ่มสงสัยว่าทุกวันนี้ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กปลอดภัยพอแล้วหรือไม่   เพื่อตอบคำถามดังกล่าวฉลาดซื้อขอนำผลการวิจัยโดยพญ. ประภาศิริ สิงห์วิจารณ์  รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ เรื่อง “การประเมินความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์เด็กที่มีใช้ในเด็กช่วงอายุ 6 ถึง 18 เดือน” มาเล่าสู่กันฟัง   งานวิจัยดังกล่าวเก็บข้อมูลเกี่ยวกับชนิดของผลิตภัณฑ์ที่มีจำหน่ายในปัจจุบัน จากร้านค้าและห้างสรรพสินค้าทั่วไปในกรุงเทพมหานคร  ผลิตภัณฑ์ 12 ประเภทที่พบได้แก่   กรุ๊งกริ๊ง หัวนมหลอก รถเข็นเด็ก ยางกัด เตียงเด็ก เปลคอก เปลไกว รถหัดเดิน เก้าอี้สูง เก้าอี้นั่งโยก เก้าอี้กระโดด เป้อุ้มเด็ก   จากนั้นสัมภาษณ์เก็บข้อมูล จาก “ผู้ดูแลหลัก” ของเด็กที่เกิดที่โรงพยาบาลรามาธิบดี 203 คน ที่มีอายุระหว่าง 6 – 18 เดือน โดยใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์เพื่อวิเคราะห์ว่าผลิตภัณฑ์ที่มีใช้อยู่นั้นมีความเสี่ยงในการก่อให้เกิดการบาดเจ็บหรือไม่   *หมายเหตุ: แบบสอบถามดังกล่าวออกแบบโดยอ้างอิงข้อมูลความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์เด็ก ของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคของประเทศสหรัฐอเมริกา เอกสารมาตรฐานจาก American Society for Testing and Materials และมาตรฐานของ ISO รวมถึงข้อมูลการบาดเจ็บที่เคยเกิดขึ้นจากการใช้ผลิตภัณฑ์ของเด็ก -------------------------------------------------------------------------------------------------------   สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคของประเทศสหรัฐอเมริกา ระบุว่า ในปี ค.ศ. 2008 มีเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี จำนวน 63,700 ราย ต้องเข้ารับการรักษาพยาบาลในห้องฉุกเฉินเนื่องจากอาการบาดเจ็บที่เกี่ยวข้องกับการใช้ผลิตภัณฑ์อย่าง รถเข็นเด็ก พาหนะเด็ก เตียงเด็กและเก้าอี้เสริม ------------------------------------------------------------------------------------------------------- 5 ผลิตภัณฑ์ยอดนิยม ผลิตภัณฑ์เด็กที่มีอัตราการใช้สูงสุด 5 อันดับแรก ในเด็กอายุ 12 เดือน ได้แก่ กรุ๊งกริ๊ง           (ร้อยละ 85.2) รถหัดเดิน           (ร้อยละ 82) ยางกัด            (ร้อยละ 71.3) รถเข็นเด็ก        (ร้อยละ 68) เปลไกว           (ร้อยละ 53.3) ---   10 อันดับ ผลิตภัณฑ์ความเสี่ยงสูง (เรียงลำดับจากความเสี่ยงมากไปความเสี่ยงน้อย) รถหัดเดิน เตียงเด็ก รถเข็นเด็ก กรุ๊งกริ๊ง เก้าอี้สูง เปลไกว เก้าอี้นั่งโยก เปลคอก พาหนะอุ้มเด็ก จุกนมหลอก   ------------------------------------------------------------------------------------------------------- 4 ผลิตภัณฑ์อันตราย งานวิจัยครั้งนี้พบว่า มากกว่าร้อยละ 50 ของผลิตภัณฑ์ประเภทกรุ๊งกริ๊ง รถหัดเดิน รถเข็นเด็ก และเปลไกว มีความเสี่ยงในการก่อให้เกิดการบาดเจ็บหลักได้ -------------------------------------------------------------------------------------------------------   ความเสี่ยงจากผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน ผลิตภัณฑ์ กรุ๊งกริ๊ง ความเสี่ยง/การบาดเจ็บ      ด้านปลายของกรุ๊งกริ๊งทิ่มเข้าคอเด็ก ตัวกรุ๊งกริ๊งกระแทกกับศีรษะและใบหน้า หนีบนิ้วมือ มีแผลถลอก/บาด จากขอบแหลมคม   ควรเลือก                                   ผลิตภัณฑ์ที่มีด้านปลายที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 4.2 เซนติเมตร         ผลิตภัณฑ์ จุกนมหลอก ความเสี่ยง/การบาดเจ็บ               สายคล้องคอรัดคอ และจุกนมอุดกั้นทางเดินหายใจ   ควรเลือก                                   ผลิตภัณฑ์ที่มีเชือกคล้องคอหรือแป้นที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 4.2 เซนติเมตร     ผลิตภัณฑ์    รถเข็นเด็ก ความเสี่ยง/การบาดเจ็บ               เด็กตกจากรถเข็นเนื่องจากไม่มีเข็มขัดนิรภัยที่เหมาะสม ล้มกระแทกจากการปีนรถ หรือรถลื่นไถลเสียหลักจนพลิกคว่ำ ควรเลือก                                   รถเข็นที่สายรัดนิรภัยที่มีตำแหน่งยึด 5 จุด คือ ยึดระหว่างขา รอบเอว และไหล่ทั้งสองข้าง  และมีระบบห้ามล้อ           ผลิตภัณฑ์ ยางกัด ความเสี่ยง/การบาดเจ็บ               ยางกัดแตกเป็นชิ้นเล็กๆ หรืออาจอุดกั้นทางเดินหายใจ   ควรเลือก                                   ผลิตภัณฑ์มีที่ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 4.2 เซนติเมตร       ผลิตภัณฑ์ เตียงเด็ก ความเสี่ยง/การบาดเจ็บ            เด็กตกเตียงหรือลอดทะลุช่องแล้วศีรษะติดค้าง ทำให้เกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจ   ควรเลือก                                   เตียงที่ราวกันตกและผนังเตียงด้านศีรษะและเท้ามีช่องห่างไม่เกิน 6 เซนติเมตร หรือจากขอบบนของเบาะที่นอนถึงราวกันตกด้านบนมีความสูงมากกว่า 65 เซนติเมตร         ผลิตภัณฑ์ เปลคอก ความเสี่ยง/การบาดเจ็บ            การอุดกั้นทางเดินหายใจ ในกรณีที่มุ้งกั้นด้านข้างมีรูรั่วหรือฉีกขาด หรือเคยมีการยุบตัวของโครงสร้าง         ผลิตภัณฑ์ เปลไกว ความเสี่ยง/การบาดเจ็บ               เด็กพลิกคว่ำตกจากเปล หรือลอดทะลุช่องแล้วศีรษะติดค้าง ทำให้เกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจ   ควรเลือก                                   ตัวเปลที่มีราวกันตกและผนังเตียงด้านศีรษะและเท้าที่มีช่องห่างไม่เกิน 6 เซนติเมตร และมีฐานที่มั่นคง       ผลิตภัณฑ์ รถหัดเดิน ความเสี่ยง/การบาดเจ็บ               รถลื่นไถลเสียหลักจนพลิกคว่ำหรือเคลื่อนที่ไปสู่สิ่งแวดล้อมที่เป็นอันตราย   ควรเลือก                                   รถหัดเดินชนิดที่ไม่มีล้อ   -------------------------------------------------------------------------------------------------------   รถหัดเดิน X รถช่วยพยุงตัว / เขาศึกษากันมาแล้วว่า “รถหัดเดิน” นั้นไม่ช่วยในการหัดเดินแต่อย่างใด แถมยังมีความเสี่ยงที่เด็กจะได้รับบาดเจ็บถึงร้อยละ 90  ขณะนี้อเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ประกาศห้ามขายห้ามใช้แล้ว   สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ของเรา ออกกฎหมายให้ผู้ผลิตเปลี่ยนชื่อผลิตภัณฑ์ จาก “รถหัดเดิน” เป็น “รถช่วยพยุงตัว” และให้ติดฉลากคำเตือนที่ตัวรถว่า “อุปกรณ์ชิ้นนี้ไม่ได้ช่วยหัดเดิน” -------------------------------------------------------------------------------------------------------   ผลิตภัณฑ์ เก้าอี้สูง และเก้าอี้นั่งโยก ความเสี่ยง/การบาดเจ็บ               การบาดเจ็บจากการตกจากที่สูงได้   ควรเลือก                                   เก้าอี้สูงที่มีเข็มขัดรัดระหว่างเอวและง่ามขา       ผลิตภัณฑ์ เป้อุ้มเด็ก ความเสี่ยง/การบาดเจ็บ               การหลุดรอดตกลงมาจากเป้   ควรเลือก                                   เป้อุ้มเด็กที่มีสายรัดระหว่างเป้กับคนอุ้มแข็งแรง และมีช่องใส่ขาเด็กที่ขนาดไม่ใหญ่จนเกินไป

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 128 ยังต้องระวัง ไส้กรอกสีสด

  มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคยังทำหน้าที่เฝ้าระวังเกี่ยวกับความปลอดภัยของอาหารอย่างต่อเนื่อง ปีที่แล้วถ้าจำกันได้ เราตรวจหาสีและวัตถุกันเสียในไส้กรอกหมูและไส้กรอกไก่ ทำให้รู้ว่า หลายยี่ห้อใส่วัตถุกันเสีย(สารกันบูด) เกินมาตรฐาน   ผ่านไปปีกว่าๆ  ฉลาดซื้อและมูลนิธิฯ เลยขอตามติดใกล้ชิดไส้กรอกกันอีกสักรอบว่า สถานการณ์ดีขึ้นหรือแย่ลง โดยเก็บตัวอย่างไส้กรอกกลุ่มพรีเมี่ยมทั้งแบบบรรจุถุงและแบบตักแบ่งขาย (ยี่ห้อเดิมที่เคยเก็บเท่าที่หาซื้อได้) จากห้างค้าปลีกสมัยใหม่ และตัวอย่างไส้กรอกสำหรับตลาดล่างจากตลาดสด รวมทั้งสิ้น 19 ตัวอย่าง แบ่งเป็นไส้กรอกหมู 9 ตัวอย่าง ไส้กรอกไก่ 6 ตัวอย่าง และไม่ระบุประเภทเนื้อที่ใช้ 4 ตัวอย่าง   ชื่อผลิตภัณฑ์ ผู้ผลิต / จำหน่าย ว.ด.ป. ผลิต / หมดอายุ ส่วนประกอบที่ระบุ การระบุฉลากเรื่องวัตถุกันเสีย ผลทดสอบ เบนโซอิค (มก./กก.) ซอร์บิค (มก./กก.) ไนเตรท* (มก./กก.) ไนไตรท์* (มก./กก.) สี (มก./กก.) ซีพี – แฟรงค์เฟริตเตอร์ บ.กรุงเทพโปรดิ้วส์ จำกัด (มหาชน) จำหน่าย ซีพีเอฟ เทรดดิ้ง 26/7/54 25/8/54 เนื้อสัตว์ น้ำตาล เกลือ เครื่องเทศ ไม่ระบุ ไม่พบ ไม่พบ - - ไม่พบ หมูตัวเดียว ไส้กรอกหมูคอกเทล บ.บางกอกแฮมโปรดักส์ ซิฟฟลาย จำกัด 22/7/54 22/8/54 เนื้อหมู เครื่องเทศ น้ำตาล ไม่ระบุ ไม่พบ ไม่พบ - - ไม่พบ S&P ไส้กรอกคอกเทล บ.S&P ซินดิเคท จำกัด (มหาชน) 14/7/54 28/8/54 เนื้อหมู เครื่องปรุงรส น้ำ เครื่องเทศ ไม่ระบุ (บอกว่าไม่ใส่สีไม่ใส่ผงชูรส) ไม่พบ ไม่พบ - - ไม่พบ TGM ไส้กรอกเวียนนาหมู บ.ไทยเยอรมันมีทโปรดักท์ จำกัด จำหน่าย บ.ไทยซอสเซส มาร์เก็ตติ่ง จำกัด 20/7/54 19/8/54 เนื้อหมู 80% น้ำ 15% เครื่องปรุงรส 5%   ระบุ (ใช้โมโนโซเดียมกลูตาเมต) ไม่พบ ไม่พบ - - ไม่พบ คุ้มค่า tesco คอกเทลหมู บ.ซีพีเอฟ ผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด 22/7/54 3/8/54 เนื้อหมู น้ำตาล เกลือ เครื่องเทศ ไม่ระบุ   ไม่พบ ไม่พบ - - ไม่พบ หมู 2 ตัว คอกเทลหมู บ.ไทยเยอรมันมีทโปรดักท์ จำกัด 27/7/54 3/8/54 ไม่ระบุ ไม่ระบุ ไม่พบ ไม่พบ - - ไม่พบ หมู 2 ตัว ไส้กรอกไก่ (ตักขาย) บ.ไทยเยอรมันมีทโปรดักท์ จำกัด (โลตัส บางประกอก) 31/7/11 7/8/11 - - ไม่พบ ไม่พบ - - ไม่พบ หมูตัวเดียวคอกเทลไก่ (ตักขาย) ซื้อที่ โลตัส บางประกอก 31/7/11 7/8/11 - - ไม่พบ ไม่พบ - - ไม่พบ ซีพี คอกเทลไก่ (ตักขาย) ซื้อที่ โลตัส บางประกอก 31/7/11 7/8/11 - - ไม่พบ ไม่พบ - - ไม่พบ เทสโก้ ไส้กรอกเวียนนาหมู บ.กรุงเทพโปรดั๊กส์ จำกัด  (มหาชน) ผลิตให้เฉพาะเทสโก้ 24/7/11 17/8/11 เนื้อสัตว์ เครื่องเทศ เครื่องปรุงรส ใช้ผลชูรส ใช้วัตถุกันเสีย ไม่พบ ไม่พบ - - ไม่พบ BK Products ฮอทดอก กริลไก่ บ.กรุงเทพโปรดั๊กส์ จำกัด  (มหาชน) ซีพี เทรดดิ้ง จำกัด จัดจำหน่าย   27/7/54 11/8/54 เนื้อไก่ น้ำ เครื่องเทศ, เครื่องปรุงรส มีส่วนผสมของกลูเตนจากข้าวสาลี โปรตีนจากถั่วเหลือง แป้งมันสำปะหลังดัดแปลง ใช้วัตถุกันเสีย ไม่พบ ไม่พบ - - ไม่พบ PF foods (ไม่ได้แจ้งว่าเป็นไส้กรอกอะไร) บ.ฟลายฟูดส์ จำกัด 99/9 ม.3 ตำบลนาดี อ.เมืองสมุทรสาคร จ.สมุทรสาคร ไม่แจ้ง - -   ไม่พบ ไม่พบ - - ไม่พบ บีลัคกี้ เวียนนาหมู หจก.บีลัคกี้ 15/7/54 13/8/54 เนื้อหมู 80% น้ำ 15% เครื่องเทศ 5% ระบุว่าไม่ใส่สารกันบูด และไม่ใส่สี ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ แหลมทอง แฟรงค์ไก่ บ.แหลมทองโปรตีนฟู้ด จำกัด วันหมดอายุ 6/8/54 เนื้อไก่ เครื่องเทศ เครื่องปรุง ไม่ใช้วัตถุกันเสีย ไม่พบ ไม่พบ 0.77 0.173 ไม่พบ ซีพี มินิคอกเทล (ไม่แจ้งว่าเป็นเนื้ออะไร บ.กรุงเทพโปรดิ๊วส์ จำกัด (มหาชน) 30/7/54 11/8/54 เนื้อสัตว์ น้ำตาล เกลือ เครื่องเทศ - 742.61 339.90 - - ไม่พบ JPM ไส้กรอกหมู บ.เจพีเอ็ม ซอสเซส จำกัด 23/7/54 23/8/54 เนื้อหมู 83% ไขมัน  10% เครื่องปรุง 4% แป้ง 2% น้ำแข็ง 1%     ไม่ระบุ 895.68 ไม่พบ - - ไม่พบ M A ไส้กรอกเวียนนาหมู บ.เจ แอนด์ โอ โปรเซสซิ่ง จำกัด 23/7/11 23/8/11 เนื้อสัตว์ น้ำตาล เกลือ เครื่องเทศ - 977.90 ไม่พบ - - ไม่พบ Better food ไส้กรอกเวียนนารมควัน บ.อาหารเบทเทอร์ จำกัด   14/7/54 13/8/54 เนื้อสัตว์อนามัย ไขมัน น้ำตาล เกลือ เครื่องเทศ ไม่ระบุ ไม่พบ 648.54 - - ไม่พบ Better Food ไส้กรอกนม (ไส้กรอกไก่) บ.อาหารแบทเบอร์ จำกัด 27/7/11 16/8/11 เนื้อไก่ 78% เครื่องปรุงรส+เครื่องเทศ 5% น้ำแข็ง 10% แป้ง 4% หางนม 3% - ไม่พบ 1,953.99 - - 3.79   ผลทดสอบไส้กรอก ยังพบว่ามีการใช้วัตถุกันเสียที่เกินมาตรฐานในบางยี่ห้อ (บางยี่ห้อซ้ำเดิมกับที่เคยพบเมื่อครั้งก่อน)  ในบางยี่ห้อที่ตรวจพบวัตถุกันเสียโดยที่ ไม่มีการแสดงฉลากระบุว่า มีการใช้วัตถุกันเสีย ซึ่งถือเป็นการแสดงฉลากที่ไม่ถูกต้อง  จากการทดสอบในครั้งนี้ (19 ตัวอย่าง) พบว่า กลุ่มวัตถุกันเสียที่ใช้เป็นกลุ่มเบนโซอิคและซอร์บิค โดยกติกาของ อย. ยอมรับให้ใส่วัตถุกันเสียในกลุ่มเบนโซอิคได้ ไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม แต่ต้องขออนุญาตก่อน ส่วนซอร์บิคนั้น ไม่ได้รับการยอมรับให้นำมาใช้ในผลิตภัณฑ์ประเภทเนื้อสัตว์ จึงอาจเข้าข่ายผิดกฎหมาย  ผลทดสอบวัตถุกันเสีย กลุ่มเบนโซอิคและซอร์บิค1. ไม่พบผลิตภัณฑ์ไส้กรอกที่ใส่กรดเบนโซอิคเกินมาตรฐาน แค่เฉียดๆ คือ M A ไส้กรอกเวียนนาหมู 977.90  มิลลิกรัม/กิโลกรัม (เกือบไป)  2. พบกรดซอร์บิคในตัวอย่าง 3 ยี่ห้อจาก 19 ยี่ห้อที่ส่งทดสอบ ได้แก่ Better Food ไส้กรอกนม(ไส้กรอกไก่) 1,953.99 มิลลิกรัม/กิโลกรัม, Better food ไส้กรอกเวียนนารมควัน 648.54 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และซีพี มินิคอกเทล(ไม่ระบุประเภทเนื้อสัตว์)  339.90  มิลลิกรัม/กิโลกรัม  3. พบผลิตภัณฑ์ที่ใช้ทั้งกรดเบนโซอิคและกรดซอร์บิคร่วมกันจำนวน 1 ตัวอย่าง คือ ไส้กรอกซีพี มินิคอกเทล ปริมาณรวมที่พบคือ 1,082.51 มิลลิกรัม/กิโลกรัม แบ่งเป็นกรดเบนโซอิค 742.61 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และกรดซอร์บิค 339.90 มิลลิกรัม/กิโลกรัม  4. วัตถุกันเสีย กลุ่มไนเตรทและไนไตรท์ พบไนเตรทและไนไตรท์ ในแหลมทอง แฟรงค์ไก่ ในปริมาณน้อยมาก คือ 0.77 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และ 0.173 มิลลิกรัม/กิโลกรัม  การใช้สีผสมในอาหาร (ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ไส้กรอกห้ามใส่สี)  5. พบการใช้สีสังเคราะห์ใน Better Food ไส้กรอกนม (ไส้กรอกไก่)   3.79   มิลลิกรัม/กิโลกรัม   สรุป โดยภาพรวมต้องถือว่า ไส้กรอกในระดับยี่ห้อพรีเมี่ยม มีระดับความปลอดภัยจากเรื่องวัตถุกันเสีย และสี ค่อนข้างสูง จากการเฝ้าระวังในครั้งนี้ ต้องขอบคุณผู้ผลิตทุกรายที่รักษาคุณภาพมาตรฐานในผลิตภัณฑ์ของตน และหวังว่าจะทำได้ดีตลอดไป  ไส้กรอก เป็นเทคนิคการถนอมอาหารที่เก่าแก่อย่างหนึ่ง นับถอยหลังไปได้ถึง สมัยบาบิโลเนีย หรือเมื่อประมาณ 3,500 ปีมาแล้ว กุนเชียง ไส้อั่ว หมูยอ หม่ำ และไส้กรอกอีสาน ก็นับเป็นไส้กรอกชนิดหนึ่งเช่นกัน   ไส้กรอกอย่างฝรั่ง เรียกว่า sausage มีรากศัพท์จากภาษาละติน “salsus" หมายถึง เนื้อสัตว์ที่มีการเก็บรักษาโดยใช้เกลือ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 110 ชาโบราณยี่ห้อไหนใส่สีมากเกินไป

เสน่ห์ของ ชาโบราณ ที่มัดใจใครหลายๆ คนให้หลงใหล คงหนีไม่พ้นเรื่องของรสชาติที่สะดุดลิ้นกับกลิ่นหอมที่ดึงดูดใจ และคงรวมไปถึงสีสันที่เป็นเอกลักษณ์ ฉูดฉาดบาดใจ แต่นักดื่มชาโบราณทั้งหลายเคยสงสัยกันหรือไม่ว่า สีของชาเย็น ชาดำเย็นที่เราดื่มนั้นมันเป็นสีจากธรรมชาติหรือมาจากการเติมแต่งเข้าไป “ฉลาดซื้อ” ฉบับนี้มีความจริงเรื่อง “สีในชา” ที่น่าตกใจมาเปิดเผยให้ทุกคนได้รู้กัน ชาโบราณ จัดเป็นผลิตภัณฑ์ประเภทชาปรุงสำเร็จพร้อมดื่ม ที่ทางการอนุญาตให้ใส่สีได้ โดยต้องมาจดแจ้งขออนุญาตกันก่อน เพื่อจำกัดปริมาณสีที่ผสมเข้าไปไม่ให้มากจนอาจเกิดอันตรายแก่ผู้บริโภค ดังนั้น “ฉลาดซื้อ” ได้ตระเวนเก็บตัวอย่างชาผงสำเร็จรูป แบบที่นำมาชงเป็นชาดำเย็นหรือชาเย็นใส่นมที่หลายๆ คนชอบซื้อดื่มจากร้านหรือรถเข็นขายชา-กาแฟทั่วๆ ไป ซึ่งชาชนิดนี้มีชื่อเรียกหลายๆ แบบ ไม่ว่าจะเป็น ชาโบราณ ชาแดง ชาซีลอน ชาดำ ---------------------------------------------------------------------------------------------------- ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 196) พ.ศ. 2543 ระบุเอาไว้ว่า ชาผงสำเร็จรูป ต้องมีคุณภาพและมาตรฐานดังนี้ คือ (1) มีความชื้นไม่เกินร้อยละ 6 ของน้ำหนัก (2) มีเถ้าทั้งหมดไม่เกินร้อยละ 20 ของน้ำหนักชาผงสำเร็จรูปแห้ง (3) มีกาเฟอีน (caffeine) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 4.0 ของน้ำหนัก เว้นแต่ชาผงสำเร็จรูปที่สกัดเอากาเฟอีนออกแล้ว ให้มีกาเฟอีนได้ในปริมาณที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และข้อที่ (4) ที่สำคัญมากๆ คือ เรื่อง สี ซึ่งในประกาศระบุไว้ว่า “ไม่ให้ใส่สี” แม้จะแต่งกลิ่นและรสได้ แต่ห้ามใส่สีเด็ดขาดทั้งในชาผงสำเร็จรูปและใบชา จะยกเว้นก็เฉพาะชาปรุงสำเร็จพร้อมดื่มที่ไม่ได้ระบุเรื่องการห้ามใส่สีเอาไว้ ---------------------------------------------------------------------------------------------------- ผลทดสอบ “สี” ในชาผงปรุงสำเร็จ- ในการทดสอบครั้งนี้ “ฉลาดซื้อ” ได้เก็บตัวอย่างชาผงปรุงสำเร็จทั้งหมด 13 ยี่ห้อ ซึ่งเลือกจากการบอกเล่าของแม่ค้า พ่อค้า ที่ขายชาโบราณว่า นิยมใช้ยี่ห้อใดในการขาย โดยฉลาดซื้อได้เก็บตัวอย่างของชาเขียว 1 ตัวอย่าง คือ ตรามือ สำหรับชงชาเขียวนม เพิ่มเติม นอกนั้นเป็นชาดำ ทั้งหมด - การทดสอบตัวอย่างชาผงปรุงสำเร็จทั้ง 13 ยี่ห้อ พบว่ามีเพียงแค่ 1 ตัวอย่างเท่านั้นที่ไม่พบการใส่สีสังเคราะห์เพิ่มเติม คือ Yoku ซึ่งที่ข้างซองไม่ได้แจ้งรายละเอียดใดๆ ไว้เลย แจ้งเพียงแค่ ใบอนุญาตนำหรือสั่งอาหารเข้ามาในราชอาณาจักรเลขที่ 10-3-13-13446 - สีผสมอาหารที่พบในการทดสอบครั้งนี้คือ ซันเซ็ต เย็ลโลว์ (Sunset yellow) และ ตาร์ตราซีน (Tartrazine) ซึ่งเป็นกลุ่มสีที่ให้สีเหลือง, ปองโซ 4 อาร์ (Ponceau 4R) และ คาร์โมอีซีน (Carmoisine) กลุ่มสีที่ให้สีแดง และ บริลเลียนท์ บลู (Brilliant blue) กลุ่มสีที่ให้สีน้ำเงิน ซึ่งทั้งหมดเป็นสีผสมอาหารที่เป็นสีสังเคราะห์ - ซันเซ็ต เย็ลโลว์ เป็นสีที่พบในทุกตัวอย่าง (ยกเว้น Yoku ที่ไม่พบสีผสมอยู่เลย) ตัวอย่างที่พบมากที่สุดคือ ยี่ห้อ ตราแพะ (ชาซีลอน) ซึ่งมีถึง 7356.70 มิลลิกรัมต่อ 1 กิโลกรัม ซึ่งในการชงชาดื่ม 1 แก้ว ปริมาณชาผงปรุงสำเร็จที่ใช้ชงจะอยู่ที่ 2 ช้อนชา หรือประมาณ 10 กรัม เมื่อคำนวณดูแล้ว ปริมาณสีสังเคราะห์ต่อการดื่มชาตราแพะ (ชาซีลอน) 1 แก้ว จะอยู่ที่ประมาณ 73.56 มิลลิกรัม ซึ่งถือเป็นปริมาณที่สูง เพราะโดยทั่วไปแล้วปริมาณที่ให้ใช้โดยปลอดภัยกำหนดไว้ไม่เกิน 1 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักร่างกาย 1 กิโลกรัม ต่อ 1 วัน (จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก. ภัยมืดจากสารพิษ. เชษฐ สตูดิโอ แอน กราฟิคดีไซน์ จำกัด : กรุงเทพฯ. 2537) - ตัวอย่างอื่นๆ ที่ตรวจพบสีในปริมาณที่สูงรองลงมา คือ ตรามังกรบิน (5091.60 มิลลิกรัม/ 1 กิโลกรัม), Racehorse (ตราม้าแข่ง) (4338.03 มล./ 1 กก.), ตรางูเห่า สูตรเข้มข้น (4012.31 มล./ 1 กก.) และ ตราเทพพนม (3191.35 มล./ 1 กก.) - Racehorse (ตราม้าแข่ง), ตราเทพพนม, ตรามือ สำหรับชงชาเขียวนม, ตราสามแพะ และ Kapak (ใบชาตราขวาน) ตรวจพบสีสังเคราะห์ปนเปื้อนมากกว่า 1 ชนิด คือ พบทั้ง ซันเซ็ต เย็ลโลว์ กับ ตาร์ตราซีน ซึ่งเป็นสีในกล่มสีเหลือง และ ปองโซ 4 อาร์ กับ คาร์โมอีซีน ซึ่งเป็นสีในกลุ่มสีแดง ยกเว้น ตรามือ สำหรับชงชาเขียวนม ที่ไม่ใส่สีสังเคราะห์ในกลุ่มสีแดง แต่พบสีในกลุ่มสีน้ำเงินคือ บริลเลียนท์ บลู - ชาโบราณ Finest Ceylontea Dust 999, ชาโบราณ Finest Ceylon Tea Dust 666 และ Racehorse (ตราม้าแข่ง) เป็นผลิตภัณฑ์ชาผงปรุงสำเร็จที่นำเข้ามาจากประเทศมาเลเซีย ซึ่งเมื่อหลายปีก่อนเคยมีข่าวว่า อย. เก็บตัวอย่างของทั้ง 3 ยี่ห้อมาทดสอบแล้วก็พบการเติมสีสังเคราะห์ในปริมาณสูงเช่นกัน ซึ่งแม้ อย. จะออกมาตรการคุมเข้มการนำเข้าสินค้าไม่มีคุณภาพ แต่ก็ยังมีสินค้าเหล่านี้เล็ดรอดเข้ามาได้อยู่ดี - ชาผงปรุงสำเร็จ ตรามือ สำหรับชงชาเขียวนม และ ตรามือ ฉลากแดง (ชนิดเติม) มีการระบุไว้ที่ฉลากว่า เจือสี ซึ่งทั้ง 2 ตัวอย่างมาจากผู้ผลิตเดียวกัน - นอกจากเรื่องสีผสมอาหารแล้ว ในการทดสอบชาผงปรุงสำเร็จครั้งนี้ “ฉลาดซื้อ”  ได้เลือกวิเคราะห์หาสารอะฟลาท็อกซิน (Aflatoxin) ด้วย ซึ่งผลที่ออกมาน่าจะทำให้ผู้บริโภคสบายใจขึ้นบ้าง เพราะไม่พบการปนเปื้อนสารอะฟลาท็อกซินในทุกตัวอย่างที่ทำการทดสอบ ฉลาดซื้อแนะ1.ตัวอย่างชาผงปรุงสำเร็จที่เรานำมาทดสอบในครั้งนี้ ส่วนใหญ่เป็นชนิดที่ร้านขายชา – กาแฟโบราณ ซื้อจากตลาดหรือร้านค้าส่งขนาดใหญ่ เพื่อไปต้มชงขายอีกที ซึ่งปกติเราก็ไม่ค่อยได้ทราบกันอยู่แล้วว่าร้านที่เราซื้อเขาใช้ชาแบบไหนมาชงให้เรา แบบนี้การหลีกเลี่ยงสีสังเคราะห์ที่อยู่ในชาก็เป็นเรื่องยาก นอกจากจะลดการดื่มชา ทั้งชาดำเย็นและชานมเย็น เพราะตอนนี้เรารู้แล้วว่าสีส้มสวยๆ ของชา มาจากสีสังเคราะห์ซึ่งถ้าเราได้รับเข้าสู่ร่างกายมากๆ ก็อาจเป็นอันตราย2.แต่ถ้าหากอยากดื่มชา แนะนำว่าให้ซื้อมาชงกินเอง โดยเลือกซื้อชาผงสำเร็จรูปที่มีบรรจุภัณฑ์สะอาดเรียบร้อย มีเลขที่อย.ถูกต้อง มีการแจ้งชื่อ-ที่อยู่ผู้ผลิต วันที่ผลิต วันหมดอายุ และส่วนประกอบต่างๆ ซึ่งนอกจากจะลดความเสี่ยงในการได้รับสีสังเคราะห์มากเกินไปแล้ว เรายังสามารถควบคุมเรื่องความหวานจากน้ำตาลและนมได้ด้วย---------------------------------------------------------------------------------------------------- สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้มีการกำหนดปริมาณสีที่อนุญาตให้ใช้ผสมในอาหารประเภท เครื่องดื่ม ไอศกรีม ลูกกวาด และขนมหวาน ดังนี้สีที่ใช้ได้ปริมาณไม่เกิน 70 มิลลิกรัมต่ออาหารในลักษณะที่ใช้บริโภค 1 กิโลกรัม * สีแดง ได้แก่ - เอโซรูบีน , เออริโทรซิน * สีเหลือง ได้แก่ - ตาร์ตราซีน , ซันเซ็ตเย็ลโลว์ เอ็ฟ ซี เอ็ฟ * สีเขียว ได้แก่ - ฟาสต์ กรีน เอ็ฟ ซี เอ็ฟ * สีน้ำเงิน ได้แก่ - อินดิโกคาร์มีน หรือ อินดิโกตินสีที่ใช้ได้ปริมาณไม่เกิน 50 มิลลิกรัมต่ออาหารในลักษณะที่ใช้ บริโภค 1 กิโลกรัม * สีแดง ได้แก่ - ปองโซ 4 อาร์ * สีน้ำเงิน ได้แก่ - บริลเลียนห์บลู เอ็ฟ ซี เอ็ฟ www.fda.moph.go.th/fda-net/html/product/.../candy.htm - ---------------------------------------------------------------------------------------------------- อันตรายของสีผสมอาหาร1.การรับประทานสีสังเคราะห์ในปริมาณมากร่างกายอาจได้รับอันตราย สีสังเคราะห์เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะไปเคลือบเยื่อบุกระเพาะอาหารและลำไส้ ทำให้น้ำย่อยอาหารทำงานไม่ปกติ ทำให้เกิดอาการท้องอืด ท้องผูก และยังมีผลทำให้การดูดซึมอาหารถูกขัดขวาง ซึ่งทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารไม่เต็มที่ ทำให้ร่างกายอ่อนแอ น้ำหนักลด อ่อนเพลีย และอาจส่งผลต่อการทำงานของไตและตับ 2.ในสีสังเคราะห์มักจะมีสารตกค้างอื่นๆ ปะปนมา ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสารประเภทโลหะหนัก เช่น แคดเมียม  ตะกั่ว สารหนู ปรอท พลวง  โครเมียม เป็นต้น ซึ่งสารเหล่านี้แม้จะได้รับในปริมาณเล็กน้อยแต่ก็จะสะสมอยู่ในร่างกาย ปล่อยไว้นานเข้าก็จะเป็นอันตรายต่อร่างกาย ---------------------------------------------------------------------------------------------------- ตารางแสดงผลทดสอบสีผสมอาหารในชาผงปรุงสำเร็จ     ผลวิเคราะห์เฉพาะตัวอย่างที่ส่งตรวจเท่านั้น วิเคราะห์ผลโดย สถาบันโภชนาการ ม.มหิดล

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 43 Heavy boy น้ำหวานตกมาตรฐาน

ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ อุบลราชานี ตรวจพบน้ำหวานเข้มข้นตรา Heavy boy กลิ่นสละ อาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค เนื่องจากมีสีสังเคราะห์ผสมอยู่เกินมาตรฐานกำหนด อากาศร้อนอบอ้าวอย่างที่เราเจอกันอยู่นี้ ถ้าได้เครื่องดื่มเย็น ๆ สักแก้วสองแก้วก็ช่วยคลายร้อนได้เยอะ แต่ในยุคเศรษฐกิจฝืดเคืองเงินทองทุกบาทก็ย่อมมีค่า น้ำอัดลมก็กลายเป็นของแพงไปเสียแล้ว จะไปซื้อหาผลไม้มาคั้นมาปั่นราคาก็ไม่ใช่ถูก ๆ แถมได้ปริมาณไม่มาก น้ำหวานเข้มข้นจึงเป็นที่พึ่งยามยากของหลาย ๆ ครอบครัว น้ำหวานเข้มข้นขวดหนึ่งก็สามารถผสมกับน้ำสะอาดทำเป็นน้ำหวานได้มากถึง 4 เท่า แถมยังมีให้เลือกหลายรสชาติตามแต่จะต้องการ แม้จะมีข้อดีในเรื่องของการประหยัดสตางค์ในกระเป๋า แต่น้ำหวานเข้มข้นก็ยังมีเรื่องที่ต้องระวังเช่นกัน เนื่องจากน้ำหวานเข้มข้นส่วนใหญ่หรือเกือบจะทั้งหมดล้วนใช้สีสังเคราะห์เป็นส่วนผสมด้วยกันทั้งนั้น และสีสังเคราะห์นี้หากผู้ผลิตเขาใส่มากเกินไปก็อาจจะเกิดอันตรายจากการสะสมของสารพิษที่อยู่ในสีสังเคราะห์นั้นได้ ฉลาดซื้อและเครือข่ายองค์กรผู้บริโภค 5 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย , ขอนแก่น , บุรีรัมย์ , สุราษฎร์ธานี และสงขลา จึงได้ร่วมกันสำรวจตลาดและเก็บตัวอย่างน้ำหวานเข้มข้นในพื้นที่ของตน และได้ส่งไปให้ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ เขต 7 อุบลราชธานี ทำการตรวจวิเคราะห์หาปริมาณของสีสังเคราะห์ที่ผสมอยู่ในน้ำหวานเข้มข้นยี่ห้อต่าง ๆ ยี่ห้อน้ำหวานเข้มข้นที่สำรวจพบมีทั้งหมด  12 ยี่ห้อ คือ 1.Heavy boy 2.โกลเด้นแพน 3.แคนดี-เคน 4.แคนดี้บอย 5.ซันนี่บอย 6.ท็อปส์ 7.เมาเทนเบส 8.วินนี่ บราวน์ 9.วินบอย 10.ออคิด 11.ฮอร์น บอย 12.เฮลซ์บลูบอย ส่วนกลิ่นและสีของน้ำหวานเข้มข้นที่สำรวจพบมีอยู่ 8 ชนิดด้วยกัน คือ 1.สับปะรด 2.ส้ม  3.สละ 4.องุ่น  5.ครีมโซดา  6.สตรอเบอรี่  7.ซาสี่  8.กุหลาบ กลิ่นและสีเหล่านี้เกิดจากการใช้สีสังเคราะห์มาเป็นส่วนผสมในกระบวนการผลิตน้ำหวานเข้มข้น กลิ่นและสีบางอย่างก็เกิดจากการผสมสีสังเคราะห์ 2 ชนิดในสัดส่วนที่เหมาะสม อย่างกลิ่นครีมโซดาเกิดจากการผสมกันระหว่างสีสีตาร์ตราซีนและสีบริลเลียนท์บลู FCF เป็นต้น ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ เขต 7 ได้ทำการตรวจวิเคราะห์น้ำหวานเข้มข้นรวมทั้งสิ้น 52 ตัวอย่างจาก 12 ยี่ห้อดังกล่าว พบน้ำหวานเข้มข้นที่อาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค 1 ตัวอย่างคือ น้ำหวานเข้มข้นตรา Heavy boy กลิ่นสละ ในฉลากไม่ระบุชื่อผู้ผลิต ระบุเพียงสถานที่ผลิตคือ เลขที่ 456 ถ.ริมทางรถไฟสายปากน้ำ ต.คลองเตย อ.พระโขนง กรุงเทพฯ เลขทะเบียน อย./ฉผด. 98/36 เนื่องจากมีสีสังเคราะห์ผสมอยู่เกินมาตรฐานกำหนด(สีเอโซรูบีน 92.34 มิลลิกรัม/กิโลกรัม) นอกจากนี้จากการสำรวจยังพบน้ำหวานเข้มข้นที่ทำผิดกฎหมายว่าด้วยเรื่องการแสดงฉลาก คือ ไม่มีการแสดงวันที่ผลิตหรือวันหมดอายุ ได้แก่ 1.Heavy boy แหล่งผลิตเลขที่ 456 ถ.ริมทางรถไฟสายปากน้ำ ต.คลองเตย อ.พระโขนง กรุงเทพฯ 2.Horn boy แหล่งผลิตโรงงาน ส.วัฒนา 43/20 หมู่ 7 ซ.วัดกำแพง เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ 3.Win boy แหล่งผลิตโรงงานน้ำหวานสมชัย 68 หมู่ 1 ถ.สุขาภิบาล 2 ต.คลองขวาง อ.ไทรน้อย จ.นนทบุรี นอกจากน้ำหวานเข้มข้นตรา Heavy boy กลิ่นสละ ที่มีสีสังเคราะห์เกินมาตรฐานแล้ว นอกนั้นถือว่ามีการใช้สีสังเคราะห์ผสมเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด ตารางที่นำมาแสดงนี้จะเรียงตามปริมาณสีสังเคราะห์ตัวหลักจากน้อยไปมากและจะจัดเป็นกลุ่มตามกลิ่นของน้ำหวาน ชอบใจน้ำหวานรสหรือกลิ่นไหนก็เลือกกันได้เลย แต่อย่าลืมว่า น้ำหวานนั้นมีส่วนประกอบของน้ำตาลอยู่ค่อนข้างมาก ดื่มน้ำหวานมากระวังโรคอ้วนจะถามหา เดี๋ยวจะหาว่าไม่เตือน วิธีการเลือกซื้อ เลือกดื่มน้ำหวานเข้มข้น1. ไม่จำเป็นต้องเลือกซื้อน้ำหวานเข้มข้นที่มีราคาแพง 2. แม้น้ำหวานเข้มข้นส่วนใหญ่จะมีปริมาณสีสังเคราะห์เป็นไปตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด แต่เพื่อหลีกเลี่ยงการรับสีสังเคราะห์เข้าสู่ร่างกาย ควรเลือกซื้อน้ำหวานที่มีปริมาณสีสังเคราะห์ที่มีปริมาณน้อยไปจนถึงปานกลาง(ของแต่ละตาราง) 3. ในการทำน้ำหวานให้เจือจางควรปฏิบัติตามฉลากที่แสดงคือ ผสมน้ำหวาน 1 ส่วน กับน้ำสะอาด 4 ส่วน เพื่อไม่ให้ร่างกายได้รับความหวาน และปริมาณสีสังเคราะห์มากเกินไป(แม้ว่าจะมีปริมาณสีสังเคราะห์อยู่ในเกณฑ์ก็ตาม) 4. ผู้ป่วยโรคเบาหวานไม่ควรบริโภคน้ำหวาน เพราะร่างกายของผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน จะมีน้ำตาลในเลือดมากเกินกว่าที่ตนเองจะใช้ได้หมดอยู่แล้ว เพราะฉะนั้น ไม่ว่าจะเป็นน้ำตาลในรูปของอาหารประเภทใดก็ตาม งดได้ควรงด 5. เตือนตัวเองตลอดเวลาว่า น้ำที่ดีที่สุดสำหรับร่างกายคือน้ำดื่มสะอาด(น้ำเปล่า) ไม่ควรดื่มน้ำหวานบ่อย ๆ อาจจะทำให้เกิดปัญหาโรคอ้วนได้(และจะมีโรคอื่น ๆ ตามมาอีกหลายโรค) เกณฑ์การควบคุมปริมาณสีที่ใช้เติมลงไปในน้ำหวานเข้มข้นกลุ่มสีแดง -สีปองโซ 4 อาร์  เติมได้ไม่เกิน 50 มิลลิกรัมต่ออาหารที่จะใช้บริโภค 1 กิโลกรัม-สีเอโซรูบีน เติมได้ไม่เกิน 70 มิลลิกรัมต่ออาหารที่จะใช้บริโภค 1 กิโลกรัม กลุ่มสีเหลือง-สีตาร์ตราซีน , สีซันเซ็ต เย็ลโล FCF เติมได้ไม่เกิน 70 มิลลิกรัมต่ออาหารที่จะใช้บริโภค 1 กิโลกรัม กลุ่มสีเขียว-สีฟาสต์กรีน FCF  เติมได้ไม่เกิน 70 มิลลิกรัมต่ออาหารที่จะใช้บริโภค 1 กิโลกรัม กลุ่มสีน้ำเงิน-สีอินดิโกร์คาร์มีน  เติมได้ไม่เกิน 70 มิลลิกรัมต่ออาหารที่จะใช้บริโภค 1 กิโลกรัม-สีบริลเลียนท์บลู FCF เติมได้ไม่เกิน 50 มิลลิกรัมต่ออาหารที่จะใช้บริโภค 1 กิโลกรัม กรณีที่น้ำหวานมีสีผสมกันอย่างน้อย 2 ชนิดขึ้นไป -ต้องมีปริมาณรวมของสีทุกชนิดไม่เกินปริมาณของสีที่กำหนดให้ใช้ได้น้อยที่สุด เช่น น้ำหวานที่มีสีตาร์ตราซีนและสีบริลเลียนท์บลู FCF ผสมกันอยู่ ต้องมีปริมาณรวมของสี 2 ชนิด ไม่เกิน 50 มิลลิกรัมต่ออาหารที่จะใช้บริโภค 1 กิโลกรัม อันเป็นเกณฑ์ของสีบริลเลียนท์บลู FCF ที่กำหนดให้ใช้ได้น้อยที่สุดนั่นเอง อันตรายของสีสังเคราะห์1.พิษของสีในระยะยาว สีส้ม (ซันเซ็ต เย็ลโล FCF) ถ้ารับประทานเกิน 0.5 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม จะทำให้ท้องเดินและน้ำหนักตัวลด 2.พิษที่เกิดจากโลหะที่ปนมากับสีผสมอาหาร ตะกั่ว ทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดศีรษะ และโลหิตจาง อาการต่อมาคือเป็นอัมพาตตามแขนขา สมองไม่ปกติ ชักกระตุก เพ้อคลั่ง และหมดสติ สารหนู ทำอันตรายต่อระบบส่วนกลาง ระบบทางเดินอาหาร ทำให้ตับอักเสบ และมีอันตรายต่อวงจรโลหิตที่ไปเลี้ยงหัวใจ อาจทำให้หัวใจวายได้ • โครเมียม ทำให้เวียนศีรษะ กระหายน้ำอย่างรุนแรง ปวดท้อง อาเจียนจนหมดสติ และเสียชีวิตเนื่องจากปัสสาวะเป็นพิษ   ผลการวิเคราะห์น้ำหวานเข้มข้น โดยศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์เขต 7 อุบลราชธานี(เรียงตามปริมาณสีสังเคราะห์จากน้อยไปหามาก)   ชื่อสินค้า กลิ่น สถานที่เก็บ ผลการตรวจวิเคราะห์* (มิลลิกรัม/กิโลกรัม) สีตาร์ตราซีน สีบริลเลียนท์บลู FCF สีเอโซรูบีน สีซันเซ็ต เย็ลโล FCF 1 เมาเทนเบส กุหลาบ กรุงเทพฯ - - 12.32 - 2 เฮลซ์บลูบอย กุหลาบ กรุงเทพฯ - - 39.31 - 3 เฮลซ์บลูบอย กุหลาบ เชียงราย - - 39.63 -   ชื่อสินค้า กลิ่น สถานที่เก็บ ผลการตรวจวิเคราะห์ (มิลลิกรัม/กิโลกรัม) สีตาร์ตราซีน สีบริลเลียนท์บลู FCF สีเอโซรูบีน สีซันเซ็ต เย็ลโล FCF 1 วินนี่ บราวน์ ครีมโซดา เชียงราย 7.35 1.96 - - 2 โกลเด้นแพน ครีมโซดา สุราษฎร์ธานี 8.37 0.72 - - 3 โกลเด้นแพน ครีมโซดา กรุงเทพฯ 9.76 1.43 - - 4 ท็อปส์ ครีมโซดา สงขลา 10.14 1.46 - - 5 ท็อปส์ ครีมโซดา กรุงเทพฯ 10.15 0.85 - - 6 ออคิด ครีมโซดา กรุงเทพฯ 16.73 1.30 - - 7 ออคิด ครีมโซดา บุรีรัมย์ 18.14 1.25 - - 8 เมาเทนเบส ครีมโซดา กรุงเทพฯ 18.65 1.16 - - 9 แคนดี-เคน ครีมโซดา เชียงราย 19.51 1.35 - - 10 เฮลซ์บลูบอย ครีมโซดา บุรีรัมย์ 20.03 2.24 - - 11 แคนดี้บอย ครีมโซดา สุราษฎร์ธานี 21.12 1.50 - - 12 ซันนี่บอย ครีมโซดา สงขลา 23.63 3.74 - - 13 แคนดี้บอย ครีมโซดา กรุงเทพฯ 24.88 2.37 - - 14 ซันนี่บอย ครีมโซดา กรุงเทพฯ 26.25 3.62 - - 15 เฮลซ์บลูบอย ครีมโซดา กรุงเทพฯ 28.10 2.07 - - 16 Heavy boy ครีมโซดา ขอนแก่น 36.50 2.25 - -   ชื่อสินค้า กลิ่น สถานที่เก็บ ผลการตรวจวิเคราะห์ (มิลลิกรัม/กิโลกรัม) สีตาร์ตราซีน สีบริลเลียนท์บลู FCF สีเอโซรูบีน สีซันเซ็ต เย็ลโล FCF 1 เฮลซ์บลูบอย ซาสี่ กรุงเทพฯ ตรวจไม่พบสีสังเคราะห์ 2 เมาเทนเบส ทับทิม กรุงเทพฯ 14.07 - 25.04 - 3 วินบอย เพียเรด บุรีรัมย์ 22.96 2.03 - - 4 เฮลซ์บลูบอย สตรอเบอรี่ กรุงเทพฯ - - 42.39 -   ชื่อสินค้า กลิ่น สถานที่เก็บ ผลการตรวจวิเคราะห์ (มิลลิกรัม/กิโลกรัม) สีตาร์ตราซีน สีบริลเลียนท์บลู FCF สีเอโซรูบีน สีซันเซ็ต เย็ลโล FCF 1

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 96 ทดสอบ ระวังสีสวยๆ ในแหนม

แหนมกับหมูยอเป็นของขายคู่กัน ฉบับก่อนว่าด้วยเรื่องหมูยอไป ฉบับนี้เลยตามประกบด้วยเรื่อง แหนม ของฝากของดีจากถิ่นอีสานและย่านเมืองเหนือ แหนมมีหลากรูปแบบทั้งแหนมเนื้อหมู แหนมหูหนู แหนมซี่โครง แต่ทั้งหมดล้วนเป็นอาหารดิบ ที่เกิดจากการนำเนื้อสัตว์หมักกับข้าว น้ำตาล เกลือ ดินประสิว (โปตัสเซียมไนเตรท) โดยรสเปรี้ยวของแหนมจะมาจากเชื้อจุลินทรีย์กลุ่มแล็กโตบาซิลลัส (Lactobacillus) เห็นคำว่า ดินประสิว อย่าไปนึกโยงว่าทำระเบิดแต่อย่างเดียว มันยังเป็นวัตถุที่นำมาใช้ในอุตสาหกรรมอาหารด้วยเช่นกัน ในธุรกิจอาหารเขาใช้ดินประสิวเป็นสารกันบูดและสารถนอมสีเนื้อสัตว์ให้ดูสดอยู่เสมอ จริงๆ แล้วผลของการกันบูดนั้น มาจากอนุพันธ์ไนเตรทนั่นเอง นอกจากไนเตรทแล้ว ยังมีสารอีกชนิดหนึ่งที่คนชอบใช้เป็นสารกันบูดก็คือ ไนไตรท์ วัตถุกันเสียตระกูลนี้ป้องกันเชื้อแบคทีเรียได้หลายชนิดและช่วยในเรื่องของสีสันสดใสของเนื้อสัตว์ ดังนั้นจึงนิยมกันมากแต่ต้องใช้ในปริมาณที่กฎหมายกำหนดไว้เท่านั้น เพราะเป็นสารที่มีอันตรายสูง เรียกว่า กินเข้าไปมากๆ เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งได้ ฉลาดซื้อเห็นสีสวยๆ ของแหนมแล้วก็เลยอดไม่ได้อยากรู้ว่า แหนมจะมีปริมาณไนเตรท ไนไตรท์มากน้อยแค่ไหน เลยไปหยิบเอาแหนมในตลาดวโรรสมาได้ 2 เจ้าดัง ได้แก่ แหนมป้าย่นและแหนมหม้อกระเทียมร้านศรีพรรณ และอีก 10 ยี่ห้อจากห้างสรรพสินค้าและร้านสะดวกซื้อ ได้แก่ 1.วนัสนันท์ แหนมหูหมูไบโอเทค 2.แหนมสุนิสา 3.สุทธิลักษณ์ แหนมฉายรังสี 4.ส.ขอนแก่น แหนมแท่งกลาง 5.จีรศักดิ์ แหนมแท่งใบมะยม 6.สามเหรียญทอง แหนมฉายรังสี 7.หมูดี แหนมตุ้มจิ๋ว 8.แหนมรสทิพย์ เจ๊หงษ์ 9.เจ้าสัว เตีย หงี่ เฮียง 10.แหนมแซ่บ เจ๊หงษ์ รวม 12 ตัวอย่างส่งสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ผลทดสอบ1. พบว่า มีปริมาณไนเตรทสูงถึง 1259.81 มิลลิกรัม/กิโลกรัมในแหนมศรีพรรณ แหนมหม้อกระเทียม ซึ่งจัดว่า เกินว่าเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดคือ สารไนเตรทมีได้ไม่เกิน500มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมและรองลงมาได้แก่ 309.91 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ในยี่ห้อวนัสนันท์ แต่ก็ถือว่าผ่านเกณฑ์ 2. ไม่พบสารไนไตรท์เกินเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ มีได้ไม่เกิน 125 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ในทุกผลิตภัณฑ์ "โปตัสเซียมไนเตรท" หรือ ดินประสิว ลักษณะเป็นผงสีขาว ละลายน้ำได้ดี ไม่มีกลิ่น มีรสเค็มเล็กน้อยหรือแทบจะไม่มีรสอะไร มีความคงตัวดี แต่อาจมีการเปลี่ยนรูประหว่างไนเตรทกับไนไตรท์กลับไปมาได้ ขึ้นอยู่กับสภาวะแวดล้อมสารไนเตรท/ไนไตรท์ มีการรายงานว่าเมื่อรวมกับโปรตีนชนิดทุตติยภูมิ และตติยภูมิสามารถเปลี่ยนเป็นไนโตรซามีนซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งได้ ฉลาดซื้อ 1. เลือกซื้อแหนมที่สีไม่แดงจัดจนผิดธรรมชาติ แหนมที่ทำไว้นานเกินไป จะมีกลิ่นเปรี้ยวมากและมีเมือกไม่น่ารับประทาน เลือกที่เนื้อมีลักษณะไม่เปื่อยยุ่ย หรือมีน้ำเยิ้มจากก้อนเนื้อ ไม่มีสิ่งปนเปื้อน2. แหนมฉายรังสีก็เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้บริโภค ควรเลือกที่ผ่านเกณฑ์การรับรองจาก อย. ซึ่งปัจจุบันมีหลายยี่ห้อ แต่ราคาจะแพงกว่าแหนมธรรมดา3. แหนมอย่างไรก็เป็นอาหารดิบ อาจมีพยาธิและแบคทีเรียก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้จึงควรปรุงให้สุกก่อนรับประทาน 4. แหนมโดยปกติแล้ว ถ้าเก็บที่อุณหภูมิห้องจะมีอายุการเก็บประมาณ 1 สัปดาห์ แต่ถ้าเราเก็บไว้ในตู้เย็นจะสามารถเก็บไว้ได้ประมาณ 1 เดือน ตารางทดสอบ Nitrite ในผลิตภัณฑ์แหนม รายชื่อผลิตภัณฑ์ น้ำหนัก (กรัม) ราคา (บาท) ผู้ผลิต วันผลิต-วันหมดอายุ ปริมาณ Nitrate ที่ตรวจพบ (มก/กก.) ปริมาณ Nitrite ที่ตรวจพบ (มก./กก.) 1.วนัสนันท์ แหนมหูหมูไบโอเทค 200 60 บ.แหนมไบโอเทค จำกัด เชียงใหม่ 05-11-51 05-01-52 309.91 4.34 2.แหนมสุนิสาดอนเมืองแหนมแท่ง 60 17 บ.ผลิตภัณฑ์อาหารสุนิสา จำกัด กรุงเทพฯ 29-10-51 14-12-51 3.42 2.52 3.สุทธิลักษณ์แหนมฉายรังสี 120 40 บ.สุทธิลักษณ์ อินโนฟู้ด จำกัด กรุงเทพฯ 16-10-51 15-12-51 - 2.87 4.ส.ขอนแก่นแหนมแท่งกลาง 130 49 บ.อุตสาหกรรมอาหาร ส.ขอนแก่น จำกัด(มหาชน) กรุงเทพฯ 18-11-08 28-12-08 2.94 2.92 5.จีรศักดิ์แหนมแท่งใบมะยม 120 35 บ.จีรศักดิ์ โปรดักส์ จำกัด สมุทรปราการ 08-10-08 08-12-08 - 4.26 6.สามเหรียญทองแหนมฉายรังสี 180 66 บ.อุตสาหกรรมอาหาร ส.ขอนแก่น จำกัด(มหาชน) กรุงเทพฯ 14-11-08 24-12-08 15.85 3.71 7.หมูดีแหนมตุ้มจิ๋ว 70 25.25 โรงงานเจ๊หงษ์ นครราชสีมา 03-11-08 03-12-08 - 3.72 8.แหนมรสทิพย์ เจ๊หงษ์ 180 32 หจก.ดีฟู้ด มาร์เก็ตติ้ง 2008 นครราชสีมา 20-11-51 20-02-52 - 5.10 9.เจ้าสัวเตีย หงี่ เฮียง 155 54 บ.เตียหงี่เฮียง(เจ้าสัว) จำกัด นครราชสีมา 07-11-08 06-01-09 5.41 4.65 10.แหนมแซ่บ เจ๊หงษ์ 100 16 โรงงานเจ๊หงษ์ นครราชสีมา 20-11-51 20-02-52 3.04 3.10 11.ป้าย่น*แหนมชีวภาพ 250 35 บ.อุ๊ยย่น จำกัด เชียงใหม่ ไม่มีซื้อที่ตลาดวโรรส เชียงใหม่ 25/11/51 50-2-06645-2-0004 0.78 3.70 12.ร้านศรีพรรณ*แหนมหม้อกระเทียม - 35 053-422550 ไม่มีซื้อที่ตลาดวโรรส เชียงใหม่ 25/11/51 ไม่มีอย. 1259.81 7.53 * สินค้าขายในตลาดสด ไม่มีการระบุวันผลิต วันหมดอายุ คงเนื่องจากผลิตและจำหน่ายวันต่อวัน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 165 ทรายสีเพลิง : ชาตินี้ที่รัก เราคงรักกันไม่ได้

กล่าวกันว่า ทุกครั้งที่สังคมมีการเปลี่ยนผ่านอำนาจจากยุคหนึ่งไปสู่อีกยุคหนึ่ง มักจะปรากฏให้เห็นภาพความขัดแย้งและการต่อสู้ช่วงชิงผลประโยชน์กันอย่างเข้มข้น โดยเฉพาะความขัดแย้งของกลุ่มคนที่มีอำนาจหรือที่เรียกกันว่า “ชนชั้นนำ” ที่เป็นกลุ่มอำนาจเก่ากับกลุ่มอำนาจใหม่ เพื่อฉายให้เห็นภาพรอยต่อของการเปลี่ยนผ่านทางสังคม และความขัดแย้งที่ปะทุกันระหว่างกลุ่มผลประโยชน์เก่ากับใหม่เช่นนี้ เราก็อาจจะวินิจวิเคราะห์ได้จากตัวอย่างความสัมพันธ์ของตัวละครอย่าง “ทราย” (หรือ “ศรุตา”) กับ “เสาวนีย์” ในละครโทรทัศน์เรื่อง “ทรายสีเพลิง” ความขัดแย้งระหว่างทรายกับเสาวนีย์เริ่มต้นมาตั้งแต่รุ่นของ “ดวงตา” ผู้เป็นมารดาของทราย ที่แม้ด้านหนึ่งจะเป็นเด็กหญิงที่ถูกชุบเลี้ยงไว้ในเรือนของ “คุณหญิงศิริ พรหมาตร์นารายณ์” แต่ด้วยเหตุผลที่ว่าคุณหญิงต้องการผูกมัดดวงตาให้อยู่เป็นข้ารับใช้ตนตลอดไป คุณหญิงจึงรู้เห็นเป็นใจให้ดวงตาคบหาเป็นภรรยาลับๆ ของบุตรชายหรือ “ศก” จนกระทั่งเธอตั้งท้องลูกสาวซึ่งก็คือทรายนั่นเอง และในเวลาเดียวกัน ในวันที่ดวงตาไปคลอดลูกที่โรงพยาบาล ก็เป็นวันเดียวกับที่คุณหญิงศิริวางแผนให้ศกกับเสาวนีย์ได้แต่งงานจดทะเบียนสมรส เพื่อกำหนดสถานะความเป็นอนุภรรยาให้กับดวงตาที่ต้องอยู่ใต้อาณัติของคุณหญิงและเสาวนีย์ในเวลาต่อมา จากความขัดแย้งตั้งแต่ในรุ่นของมารดา ยังผลให้เกิดความโกรธแค้นในรุ่นของลูกสาว เมื่อทรายเองก็ถูกเสาวนีย์กลั่นแกล้งตั้งแต่เด็ก โดยเฉพาะกับการกล่าวโทษว่าทรายพยายามจะฆ่าน้องสาวต่างมารดาอย่าง “ลูกศร” ให้ตกน้ำจนเกือบจะเสียชีวิต เป็นเหตุให้สองแม่ลูกมีอันต้องตัดสินใจเก็บกระเป๋า ระเห็จออกจากบ้านตระกูลพรหมาตร์นารายณ์ไป เมื่อวันเวลาผันผ่าน ทรายที่ไปเติบโตอยู่ในสหรัฐฯ ก็ได้กลายมาเป็นผู้ที่มั่งคั่งในฐานะทางเศรษฐกิจสังคม เธอจึงตัดสินใจเดินทางกลับมาเมืองไทย เพื่อร่วมงานศพของคุณหญิงศิริ และเพื่อดึงเสาวนีย์ให้กลับเข้าสู่เกมของการแก้แค้น จนนำไปสู่โศกนาฏกรรมการเสียชีวิตของลูกศรในท้ายที่สุดของเรื่อง   ด้วยพล็อตเรื่องที่กล่าวถึงการกลับมาแก้แค้นอันเป็นผลสืบเนื่องมาแต่คนรุ่นก่อน แม้ดูผิวเผินจะไม่ใช่เนื้อเรื่องที่ใหม่นักในละครโทรทัศน์บ้านเรา แต่หากเราเชื่อว่าภาพความขัดแย้งดังกล่าว เป็นการฉายให้เห็นการต่อสู้ช่วงชิงอำนาจของชนชั้นนำในห้วงที่สังคมกำลังเปลี่ยนผ่านแล้ว โครงเรื่องทำนองนี้ก็มีความน่าสนใจอยู่ไม่น้อย สำหรับสังคมไทยในยุคดั้งเดิม หรืออาจเรียกเป็นอีกนัยได้ว่ายุคศักดินานั้น ชนชั้นนำเองก็คงมีทัศนะไม่ต่างจากตัวละครอย่างคุณหญิงศิริหรือเสาวนีย์เท่าใดนัก กล่าวคือ ในสังคมศักดินา อำนาจเกิดแต่บารมีและการบริหารจัดการผู้คนที่อยู่ภายใต้บารมีนั้นๆ ซึ่งก็คล้ายกับคุณหญิงศิริ ที่ด้วยฐานานุรูปและฐานันดรศักดิ์ เธอก็เลือกที่จะขอเด็กหญิงดวงตาจากพ่อแม่ชาวสวนมาอุปถัมภ์เลี้ยงดูจนเติบโต แต่ภายใต้ระบบอุปถัมภ์แบบศักดินานั้น คุณหญิงได้ใช้กลวิธีซื้อใจให้ดวงตายอมอยู่ใต้อาณัติ ด้วยการส่งเสียให้เธอเรียนพยาบาล เพื่อที่ว่ามารดาของทรายจะยอมสวามิภักดิ์ และ “อาสาเจ้าจนตัวตาย อาสานายจนพอแรง” โดยไม่สนใจว่าลึกๆ แล้ว มนุษย์ที่เป็นแรงงานภายใต้ระบบอุปถัมภ์ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของความไม่เท่าเทียมดังกล่าว จะมีความรู้สึกนึกคิดเช่นไร แบบเดียวกับที่คุณหญิงเคยกล่าวกับศกเพื่อให้ทรายได้ยินด้วยว่า “ดวงตามันเลี้ยงไม่เชื่อง มันเป็นคนทะเยอทะยาน ถ้ามันไม่รักไม่หวังในตัวลูกอยู่ล่ะก็ มันคงไม่อยู่ให้แม่ใช้จนป่านนี้หรอก แม่ถึงบอกให้...ร้อยมันไว้ใช้เถิด ไม่เสียหายอะไรหรอก...” แต่ทว่า เมื่อสังคมศักดินาเริ่มอ่อนอำนาจลง ทุนทรัพย์ที่ได้สั่งสมมาก็มีแนวโน้มจะถูกนำไปใช้เพื่อรักษาบารมีและฐานานุรูปเอาไว้ เหมือนกับที่ตระกูลพรหมาตร์นารายณ์ก็ต้องขายสมบัติชิ้นแล้วชิ้นเล่าจนเกือบหมดตัว เพียงเพื่อรักษาสุขภาพ(และหน้าตา)ของคุณหญิงศิริในช่วงบั้นปลายชีวิต ในทางกลับกัน ตัวละครอย่างทรายก็ไม่ต่างไปจากภาพตัวแทน “the rise” ของระบบทุนนิยมใหม่ในท่ามกลาง “the fall” ของกลุ่มอำนาจเก่าที่กำลังร่วงโรยและอ่อนกำลังลง สำหรับชนชั้นนำในระบบทุนนิยมใหม่นั้น มักเน้นการสั่งสมทุนในหลายๆ แบบ เฉกเช่นทรายที่ไม่เพียงแต่เป็นตัวแทนของทุนไทยที่ไปประสานผลประโยชน์กับทุนนิยมตะวันตก (เหมือนตัวละครที่บัดนี้ได้กลายไปเป็นลูกเลี้ยงของนายทุนอเมริกันอย่าง “ดอน”) เท่านั้น เธอยังสั่งสมทุนความรู้จากต่างประเทศด้วยการจบมหาวิทยาลัยชื่อดังของสหรัฐฯ สั่งสมทุนชื่อเสียงเกียรติยศในแวดวงสังคมชั้นสูง รวมถึงบริหารจัดการเสน่ห์และเรือนร่างให้กลายเป็นทุนอีกชนิดหนึ่งเช่นกัน และในขณะที่ชนชั้นนำเดิมเลือกใช้วิธีการ “ร้อย” คนเอาไว้ใช้เป็นแรงงาน ระบบทุนนิยมแบบใหม่กลับเลือกใช้ทุนเป็นอำนาจเพื่อขูดรีดผู้คนและตอบโต้กับกลุ่มชนชั้นนำเก่า เหมือนกับที่ทรายเคยกล่าวไว้เป็นนัยกับมารดาว่า “แม่บอกทรายเสมอว่าเราสองไม่ต่างจากกรวดหินดินทรายในบ้านเขา แม่ถึงตั้งชื่อทรายว่าทรายเพื่อเตือนใจเรา” เพราะฉะนั้น “…ทรายจะเอาคืนทุกอย่างที่ควรเป็นของทราย” ดังนั้น เมื่อทุนเป็นเครื่องมือนำมาซึ่งอำนาจ ทรายจึงเริ่มบริหารทุนของเธอ ตั้งแต่ใช้เสน่ห์ยั่วยวน “พัชระ” คู่หมั้นของน้องสาว จนเขาถอนหมั้นกับลูกศรในที่สุด ใช้เม็ดเงินซื้อคฤหาสน์ของตระกูลพรหมาตร์นารายณ์ในช่วงที่ศกกำลังร้อนเงิน หรือแม้แต่หลอกใช้ผู้ชายที่ภักดีต่อเธอยิ่งอย่าง “ฌาน” เพื่อให้เป็นเพียงหมากตัวหนึ่งในเกมการแก้แค้นกับเสาวนีย์ บนสงครามระหว่างอำนาจเก่ากับกลุ่มทุนใหม่เช่นนี้ ฉากสุดท้ายก็มักจะนำไปสู่โศกนาฏกรรมของผู้คนที่แม้จะไม่ได้เป็นคู่สงครามในสมรภูมิ แต่ก็มักกลายเป็นผู้สูญเสียด้วยเช่นกัน เฉกเช่นตัวละครอย่างฌาน พัชระ หรือแม้แต่น้องสาวที่ใสซื่อไร้เดียงสาอย่างลูกศรผู้ที่ต้องจบชีวิตลงในตอนท้ายเรื่อง แม้ในบทสรุปของ “ทรายสีเพลิง” ตัวละครต่างๆ จะได้บทเรียนว่า ความขัดแย้งของกลุ่มอำนาจนั้น จะคลี่คลายได้ก็เพียงแต่ขั้วอำนาจที่ต่อสู้ขัดแย้งกันยินยอมจะ “ขอโทษ” และ “อโหสิกรรม” ให้กันและกัน หรือแม้ “บุรี” ผู้ชายที่ทรายแอบรักมาตั้งแต่วัยเยาว์จะกล่าวเป็นอุทาหรณ์เตือนใจว่า “ชีวิตมันไม่เหมือนจิ๊กซอว์ จะหยิบชิ้นไหนมาต่อผิดต่อถูกโดยไม่ต้องคิดก็ได้ เพราะถึงต่อผิด ก็มีโอกาสเลือกชิ้นใหม่มาต่อ แต่ชีวิต...ถ้าพลาดแล้วก็พลาดเลย ไม่มีโอกาสเปลี่ยนมาเริ่มต้นทำใหม่ได้อีกครั้ง” แต่คำถามก็คือ ความขัดแย้งที่เป็นเกมอำนาจในชีวิตจริงนั้น คำว่า “ขอโทษ” และ “อโหสิกรรม” จะเป็นคำตอบได้เพียงไร หรือในสงครามของคู่ความขัดแย้งในช่วงการเปลี่ยนผ่านทางสังคมแบบนี้ ทั้งสองฝ่ายจะยังเดินหน้าร้องครวญเป็นเพลงต่อไปว่า “ชาตินี้ที่รัก เราคงรักกันไม่ได้...”

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 101 กระแสต่างแดน

น้ำขวดหรือจะสู้น้ำประปา บริษัทที่ขายน้ำดื่มในอเมริกานั้นทำกำไรได้ปีละหลายล้านเหรียญจากความเชื่อที่ว่าน้ำดื่มบรรจุขวดนั้นสะอาดบริสุทธิ์กว่าน้ำประปาบ้านๆ แต่หารู้ไม่ว่าการผลิตน้ำขวดดังกล่าวมีการควบคุมดูแลน้อยกว่าน้ำประปาด้วยซ้ำ รายงานที่นำเสนอในสภาคองเกรสของสหรัฐระบุว่าองค์การอาหารและยาของสหรัฐมีอำนาจน้อยมากในการกำกับดูแลความปลอดภัยของน้ำดื่มบรรจุขวด ในขณะที่ในบางมลรัฐที่พอจะมีอำนาจจัดการอยู่บ้างก็ให้ความสำคัญกับการควบคุมการผลิตน้ำประปามากกว่า บาร์ท สตูพัค ผู้แทนจากรัฐมิชิแกนบอกว่า คนอเมริกันยินดีจ่ายเงินซื้อน้ำบรรจุขวด ซึ่งมีราคามากกว่าน้ำจากก๊อกถึง 1,900 เท่า และใช้พลังงานมากกว่า 2,000 เท่าในการผลิตและการขนส่ง ในขณะที่มีน้ำดื่มบรรจุขวดถูกเรียกคืนเพราะมีการปนเปื้อนของสารหนู โบรเมท เชื้อรา และแบคทีเรีย อยู่เป็นระยะๆ ในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา   แม้แต่เดือนเมษายนที่ผ่านมาก็มีรายงานข่าวว่ามีเด็กนักเรียนนับสิบรายที่ป่วยหลังจากดื่มน้ำบรรจุขวดที่ซื้อจากตู้ขายน้ำอัตโนมัติ รายงานดังกล่าวยังระบุว่าองค์การอาหารและยาของสหรัฐไม่ได้ควบคุมปริมาณของสารประกอบ DEHP (ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพ) ในน้ำดื่มบรรจุขวด ในขณะที่หน่วยงานที่ดูแลด้านสิ่งแวดล้อมมีการควบคุมปริมาณสารดังกล่าวในน้ำประปา แต่ทางสมาคมผู้ผลิตน้ำบรรจุขวดบอกว่า มีความเป็นไปได้น้อยมากที่จะมีสารนี้ในน้ำดื่มบรรจุขวดซึ่งผ่านการควบคุมมาหลายขั้นตอนแล้ว สมาคมฯ บอกว่าในปีที่ผ่านมา คนอเมริกันนั้นดื่มน้ำกันไปทั้งหมด 8,700 ล้านแกลลอน หรือ ประมาณคนละ 28.5 แกลลอน รายได้จากการขายน้ำดื่มบรรจุขวดในปีดังกล่าวสูงถึง 11,200 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณกว่า 380,000 ล้านบาท) ที่นี่ไม่มีน้ำขวดคราวนี้ข้ามทวีปมาที่ออสเตรเลียกันบ้าง มาดูปรากฏการณ์น่าสนใจที่เมืองบันดานูน ทางตะวันตกเฉียงใต้ของซีดนีย์ ประชากร (ซึ่งมีทั้งหมดประมาณ 2,500 คน) ของเมืองท่องเที่ยวแห่งนี้เห็นร่วมกันว่าควรจะกำจัดสิ่งที่เรียกว่า “น้ำดื่มบรรจุขวด” ออกไปจากเมืองเสียที เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากขั้นตอนการบรรจุขวดและการขนส่ง แต่ไม่ต้องกลัวว่าไปเที่ยวเมืองนี้แล้วจะไม่มีน้ำดื่มดับกระหายนะพี่น้อง เขามีขวดเปล่าเอาไว้ให้รองน้ำจากตู้กดน้ำที่ตั้งไว้ทั่วไปตามท้องถนนเอาไว้ดื่มกันให้เปรม ส่วนกับทางร้านค้านั้น เขาก็ไม่ได้บังคับขืนใจให้หยุดขายน้ำดื่มบรรจุขวดแต่อย่างใด ปล่อยให้เป็นความสมัครใจของร้านค้าต่างๆ ซึ่งมีอยู่ประมาณ 50 ร้าน การรณรงค์ครั้งนี้เกิดขึ้นเพราะมีบริษัทที่ชื่อว่า นอร์เล็กซ์ โฮลดิ้ง จะมาตั้งโรงงานเพื่อสูบเอาน้ำจากเมืองนี้แล้วส่งเข้าไปบรรจุขวดในโรงงานที่ซีดนีย์ ซึ่งอยู่ห่างออกไป 120 กิโลเมตร ผู้คนที่เมืองนี้คัดค้านแผนการดังกล่าว และขณะนี้บริษัทฯ ก็ยังอยู่ในระหว่างการอุทธรณ์ต่อศาล เป็นใครก็คงรับไม่ได้ ถ้าจะมีคนมาสูบน้ำไปจากบ้านเราแล้วเอาไปใส่ขวดกลับมาขายเราอีก การรณรงค์ของชาวเมืองบันดานูนนี้ถือว่าได้ผลทีเดียวเพราะรัฐนิวเซาท์เวลส์ก็รับลูกทันที ผู้ว่าการรัฐออกมาประกาศว่าต่อไปนี้ห้ามหน่วยงานของรัฐใช้เงินไปกับการซื้อน้ำดื่มบรรจุขวดเด็ดขาด คนออสซี่ก็ใช้เงินไปกับการซื้อน้ำดื่มบรรจุขวดไม่น้อย ถึงปีละ 500 ล้านเหรียญออสเตรเลีย (ประมาณ 13,000 กว่าล้านบาท) เลยทีเดียว ผู้หญิงเชิญตู้อื่น... นะครับใครจะไปนึกว่าวันหนึ่งคุณสุภาพบุรุษชาวญี่ปุ่นเขาจะออกมาเรียกร้องขอรถไฟตู้พิเศษสำหรับชายล้วน ในช่วงเวลาเร่งด่วนที่ต้องมีการเบียดเสียดกัน ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่ใช่เพราะว่ากลัวจะโดนผู้หญิงแต๊ะอั๋งหรอกนะ แต่เป็นเพราะไม่อยากถูกกล่าวหาว่าไปลวนลามคุณสุภาพสตรีมากกว่า ก็รถมันแน่นซะขนาดนั้น จะทำตัวล่องหนก็วิทยายุทธ์ยังไม่แก่กล้าพอ จากข้อมูลของตำรวจญี่ปุ่น ในปี พ.ศ. 2550 มีคุณผู้ชายถูกจับข้อหาลวนลามสตรีเพศถึง 2,000 คนเลยทำให้บริษัทที่จัดการเรื่องรถไฟต้องมีการกำหนดให้ตู้โดยสารบางตู้เป็นเขตปลอดผู้ชาย ที่นี้เลยทำให้เกิดไอเดียสุดเจ๋งตามมา คือมีการขอตู้โดยสารสำหรับชายล้วนๆ บ้าง ผู้ที่เสนอไอเดียเรื่องตู้โดยสารสำหรับชายล้วนนี้ได้แก่ผู้ถือหุ้นจำนวนสิบคน (ข่าวไม่ได้ระบุว่าเป็นผู้ชายหรือผู้หญิง) ของบริษัทเซบุ โฮลดิ้ง ซึ่งเป็นผู้ประกอบการรถไฟในเขตโตเกียว ที่เสนอทางออกในการแก้ปัญหาหลังจากที่บริษัทได้รับเรื่องร้องเรียนจากคุณผู้หญิงจำนวนมากว่าถูกลวนลาม และในขณะเดียวกันก็ได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้ชายที่ถูกกล่าวหาว่าไปลวนลามคนอื่นๆ ทั้งที่จริงแล้วไม่ได้ทำด้วย ว่าแล้วก็เลยเสนอว่าน่าจะจัดตู้พิเศษสำหรับชายล้วนด้วยมันถึงจะเท่าเทียม แต่คณะกรรมการเขาลงมติไม่รับข้อเสนอนี้ โดยให้เหตุผลว่าจนถึงขณะนี้มีผู้โดยสารชายออกมาโวยวายน้อยมาก ก็เลยต้องขอรบกวนให้นั่งตู้เดียวกับคุณผู้หญิงต่อไป งานนี้ไม่รู้ใครกลัวใครแล้ว ผิดด้วยหรือที่ไม่อยากโชว์แขน ร้านเสื้อผ้ายี่ห้อดัง อะเบอร์ครอมบี้แอนด์ฟิทช์ (Abercrombie & Fitch) ถูกพนักงานขายฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายเป็นเงิน 25,000 ปอนด์ หรือประมาณ 1.4 ล้านบาท โทษฐานที่เลือกปฏิบัติต่อเธอ พนักงานขายคนนี้ชื่อ เรียม ดีน เป็นนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยลอนดอน เธออายุ 22 ปีและใช้แขนเทียมมาตั้งแต่อายุ 3 ขวบ ตอนแรกที่รับเธอเข้าทำงานในตำแหน่งพนักงานขายนั้น ทางร้านอะเบอร์ครอมบี้ ในย่านหรูของลอนดอน อนุญาตให้ดีนใส่เสื้อแขนยาวเพื่อปกปิดแขนเทียมไว้ในขณะให้บริการลูกค้าได้ แต่ผ่านไปไม่กี่วันทางร้านก็บอกกับเธอว่าเธอต้องถอดเสื้อคลุมแขนยาวนั้นออกให้เหลือแต่เสื้อยืดตัวในเหมือนพนักงานคนอื่นๆ เมื่อเธอปฏิเสธที่จะทำเช่นนั้น จึงเท่ากับว่าเธอฝ่าฝืนนโยบายเรื่องการแต่งกายของบริษัท เธอจึงถูกย้ายเข้าไปทำงานในห้องเก็บสินค้า ทั้งนี้ผู้ใหญ่ของบริษัทให้เหตุผลว่าควรให้ดีนทำงานอยู่หลังร้านไปจนกว่าจะถึงฤดูหนาวที่พนักงานทุกจะได้ใส่เสื้อแขนยาวได้โดยไม่ผิดระเบียบ เมื่อมีข่าวเรื่องนี้ออกมา ทางร้านก็ปฏิเสธเสียงแข็งว่าดีนคงเข้าใจอะไรผิดไปแน่ๆ เพราะความจริงแล้วทางบริษัทมีนโยบายต่อต้านการเลือกปฏิบัติอย่างแข็งขันเลยทีเดียวนะ แต่ดีนอาจจะเข้าใจถูกก็ได้ เพราะในปี พ.ศ. 2547 เพียงปีเดียว บริษัทนิว อัลบานี เจ้าของแบรนด์ดังกล่าว ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่รัฐโอไฮโอ สหรัฐอเมริกา ก็เคยถูกฟ้องร้องเพราะการเลือกปฏิบัติ และต้องจ่ายเงินชดเชยให้กับพนักงานเป็นจำนวนถึง 50 ล้านเหรียญ (ประมาณ 1,700 ล้านบาท) มาแล้ว อัจฉริยะที่ไม่ค่อยฉลาดภายในปี พ.ศ. 2555 กว่า 1.3 ล้านครัวเรือนในนิวซีแลนด์ จะต้องติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าอัจฉริยะ เพื่อช่วยให้เกิดการสื่อสารระหว่างผู้อยู่อาศัยกับบริษัทที่ให้บริการไฟฟ้า และช่วยให้ผู้บริโภคสามารถประหยัดเงินค่าไฟได้ นี่ย่อมเป็นเรื่องดีเห็นๆ แต่ปัญหามันอยู่ที่รัฐบาลปล่อยให้บรรดาผู้ให้บริการไฟฟ้า (ซึ่งในนิวซีแลนด์มีอยู่ถึง 11 บริษัท) เป็นผู้ที่รับผิดชอบติดตั้งมิเตอร์เหล่านี้กันเอง โดยไม่มีการควบคุมดูแล แจน ไรท์ กรรมาธิการด้านสิ่งแวดล้อมของรัฐสภานิวซีแลนด์ออกมาเปิดเผยว่า ขณะนี้บรรดาผู้ประกอบการเหล่านั้น พยายามหลีกเลี่ยงการตั้งการทำงานของมิเตอร์ดังกล่าวในทางที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค ซึ่งคุณไรท์ก็บอกว่าไม่น่าแปลกใจ เพราะการใช้ไฟมากขึ้นย่อมหมายถึงผลกำไรที่เพิ่มขึ้นสำหรับผู้ประกอบการนั่นเอง ความจริงแล้วมิเตอร์อัจฉริยะที่ว่านี้นอกจากจะทำให้บริษัทสามารถรู้ปริมาณการใช้ไฟของแต่ละครัวเรือนโดยไม่ต้องส่งคนมาเดินจดแล้ว ยังช่วยให้ผู้บริโภคประหยัดเงินและสามารถใช้ไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยการแจ้งให้ผู้บริโภคทราบว่าอัตราค่าไฟในขณะนั้นเป็นเท่าไร และช่วงไหนเป็นช่วงที่มีการใช้ไฟฟ้ากันมาก โดยไมโครชิพในมิเตอร์จะทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าแบบอัจฉริยะที่จะมีออกมาจำหน่ายในอนาคตอันใกล้นี้ มิเตอร์ที่ว่าจะปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าอัจฉริยะได้โดยอัตโนมัติ ในช่วงที่มีการใช้ไฟสูง แต่บริษัทกลับไม่ได้ใส่ไมโครชิพที่ว่าให้กับมิเตอร์ที่กำลังติดตั้งกันอยู่ในขณะนี้ให้กับ 800,000 ครัวเรือน และมิเตอร์เหล่านั้นก็ไม่มีระบบแสดงข้อมูลตามเวลาจริงเพื่อช่วยในการตัดสินใจของผู้บริโภคด้วย เช่น บางคนอาจจะยังเปิดเครื่องทำน้ำอุ่นในสระว่ายน้ำไว้เพราะไม่รู้ตัวว่าค่าไฟได้ขึ้นราคาไปแล้ว เป็นต้น คุณไรท์ตั้งคำถามว่า ถ้าไม่ติดตั้งไมโครชิพที่ว่านี้ ก็ไม่รู้ว่าจะทำอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าอัจฉริยะออกมาขายทำไม และถ้าจะติดตั้งเพิ่มในภายหลังก็จะมีค่าใช้จ่ายอีกถึง 60 ล้านเหรียญนิวซีแลนด์ (ประมาณ 1,300 ล้านบาท) อีกด้วย สรุปว่าถ้ารัฐบาลยิ่งปล่อยให้เป็นไปอย่างนี้ ก็จะยิ่งทำให้ผู้บริโภคต้องติดตั้งมิเตอร์อัจฉริยะที่ไม่ค่อยฉลาดกันไปโดยไม่รู้ตัว

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 170 เช็คเดินทางหาย แต่ผู้เสียหายมีส่วนผิดด้วย ผลจะเป็นอย่างไร

คดีนี้เป็นเรื่องผู้บริโภคซื้อเช็คเดินทางของโจทก์ 50 ฉบับ สั่งจ่ายเงินรวม 50,000 ดอลลาร์สหรัฐ จากตัวแทนของโจทก์ โดยมีเงื่อนไขว่าจำเลยต้องลงลายมือชื่อในเช็คทุกฉบับที่ช่องด้านล่างทันทีที่ได้รับเช็ค หากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าวโจทก์จะไม่คืนเงินให้ ต่อมาจำเลยแจ้งโจทก์ว่าเช็คเดินทางทั้งหมดหายไปโดยจำเลยลงลายมือชื่อในเช็คทุกฉบับที่ช่องด้านล่างไว้แล้ว โจทก์คืนเงินให้แก่จำเลยไป ต่อมามีผู้นำเช็คเดินทางดังกล่าวทั้งหมดไปขึ้นเงินกับธนาคารและสถาบันการเงินหลายแห่งโดยปรากฏว่าจำเลยมิได้ลงลายมือชื่อในเช็คเดินทางดังกล่าวไว้ตามที่แจ้งความเท็จแก่โจทก์ โจทก์จึงมาฟ้องศาลให้บังคับจำเลยให้คืนเงิน 50,000 ดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นเงินไทย 1,287,500 บาท พร้อมดอกเบี้ยตามกฎหมาย และเรียกค่าเสียหายอีก 100,000 บาท ศาลฎีกาโดยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6235/2555 ได้วินิจฉัยว่า “...การที่มีการซื้อเช็คเดินทางซึ่งต้องยอมเสียเงินซื้อในอัตราร้อยละหนึ่ง ก็เพราะมีความปลอดภัยกว่าการนำเงินสดติดตัวไป และถ้าเช็คหายไปก็สามารถแจ้งให้ธนาคารระงับการจ่ายเงินตามเช็คได้ แต่เหตุที่มีผู้นำเช็คเดินทางของโจทก์ที่จำเลยซื้อ ไปเบิกเงินต่อธนาคารตามเช็คและธนาคารตามเช็คได้จ่ายเงินไป ทั้งๆ ที่จำเลยแจ้งโจทก์แล้วว่าเช็คเดินทางหายไปและโจทก์ได้จ่ายเงินจำนวนตามเช็คคืนให้จำเลยแล้วนั้น เป็นเพราะโจทก์ไม่ได้แจ้งธนาคารตามเช็คจึงเป็นความบกพร่องของโจทก์นั่นเอง  ส่วนเงื่อนไขการซื้อเช็คเดินทางที่กำหนดให้ผู้ซื้อเช็คลงลายมือชื่อผู้ถือที่ข้างล่างด้านซ้ายของเช็คแต่ละฉบับทันทีที่ได้รับเช็คนั้น เป็นเพียงเงื่อนไขที่จะทำให้ผู้ที่ได้รับเช็คดังกล่าวโดยไม่ชอบไม่สามารถเบิกเงินไปได้โดยง่าย เพราะจะมีการตรวจสอบเปรียบเทียบลายมือชื่อด้วย ดังนั้น แม้จำเลยจะไม่ได้ลงลายมือชื่อตามเงื่อนไขดังกล่าว โจทก์ก็ไม่อาจยกเป็นเหตุมาปฏิเสธไม่จ่ายเงินคืนจำเลยตามเงื่อนไขการซื้อเช็คไม่ได้ อย่างไรก็ตามการที่จำเลยไม่ได้ลงรายมือชื่อผู้ถือที่ข้างล่างด้านซ้าย แต่กลับแจ้งโจทก์ว่าลงลายมือชื่อแล้วย่อมเป็นเหตุให้โจทก์คาดว่าจะไม่มีใครนำเช็คดังกล่าวไปเบิกเงิน จึงไม่ได้แจ้งธนาคารให้ระงับการจ่ายเงินตามเช็ค และจำเลยทิ้งเช็คไว้ในกระเป๋าใส่กล้องถ่ายรูปซึ่งวางไว้ในรถเข็นกระเป๋าเดินทางหน้าห้องน้ำที่สนามบินสุวรรณภูมิโดยไม่นำติดตัวไปด้วยจึงทำให้หายไปถือได้ว่าจำเลยมิได้ระมัดระวังมิให้เช็คสูญหายหรือถูกลักขโมยเช่นเดียวกับที่จักต้องกระทำต่อเงินสดของตน ตามเงื่อนไขการซื้อในกรณีขอคืนเงิน จำเลยจึงมีส่วนก่อให้เกิดความเสียหาย จึงต้องร่วมรับผิดในความเสียหายด้วย โดยเห็นสมควรให้ร่วมรับผิดกึ่งหนึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 442  ประกอบมาตรา 223” คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินให้โจทก์ 947,000 บาท  พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์แสดงว่าพอใจในความเสียหายดังกล่าว จำเลยจึงต้องใช้เงินให้แก่โจทก์ครึ่งหนึ่งของค่าเสียหายดังกล่าวคิดเป็นเงิน 473,500 บาท พิพากษากลับว่า ให้จำเลยชำระเงิน 473,500 บาทพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้อง (วันที่ 23 มิถุนายน 2540)เป็นต้นไป จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลให้เป็นพับ

อ่านเพิ่มเติม >