ฉบับที่ 128 พลังงานไฟฟ้าผลิตมาเพื่อความสุขของใคร

 พอดีผู้เขียนได้มีโอกาสร่วมเวทีเสวนากับ อ.เดชรัตน์  สุขกำเนิด  อาจารย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์   ในหัวข้อเรื่อง พลังงานในประเทศไทย  มีการพูดคุยกันหลายเรื่อง แต่มีข้อมูลชุดหนึ่งที่น่าสนใจมาก คือการเปรียบเทียบสัดส่วนการใช้ไฟฟ้า  ระหว่างธุรกิจและประชาชนในหลายจังหวัดข้อมูลการใช้ไฟฟ้าปี 2549 ของ 3  ห้างใหญ่ในกรุงเทพฯ  เช่น ห้างสรรพสินค้าสยามพารากอน ใช้ไฟฟ้า 123  ล้านหน่วย  ห้างสรรพสินค้ามาบุญครองใช้ไฟฟ้า 81  ล้านหน่วย ห้างเซ็นทรัลเวิลด์ใช้ไฟฟ้า 75 ล้านหน่วย  รวม 3 ห้างใช้ไฟฟ้าไป 278 ล้านหน่วย(ข้อมูลจากการไฟฟ้านครหลวงปี 2549) หากเปรียบเทียบกับการใช้ไฟฟ้าของคนต่างจังหวัด เช่น  จังหวัดแม่ฮ่องสอนทั้งจังหวัดใน 1 ปี ใช้ไฟฟ้าเพียง 65 ล้านหน่วย จังหวัดมุกดาหาร 128 ล้านหน่วย  จังหวัดหนองบัวลำพูใช้ไฟฟ้า 148 ล้านหน่วย  จังหวัดนราธิวาสและจังหวัดระนองใช้ไฟฟ้าเท่ากันคือปีละ 278 ล้านหน่วย (ข้อมูลจาก พพ.รายงานการใช้ไฟฟ้าประจำปี 2549)เห็นข้อมูลเหล่านี้แล้วผู้เขียนตกใจมาก  เพราะสามารถชี้ให้เห็นการบริหารจัดการการใช้ไฟฟ้าที่ไม่เป็นธรรม  ภาคธุรกิจใช้ไฟฟ้ามากมาย  โดยไม่ต้องคำนึงเรื่องการอนุรักษ์พลังงาน ไม่ต้องรับผลกระทบอะไรเลย  แต่คนที่รับภาระกลับเป็นพี่น้องเราในหลายจังหวัดที่เป็นเป้าหมายของการก่อสร้างโรงไฟฟ้าที่จังหวัดราชบุรี ปัจจุบันมีโรงไฟฟ้าอยู่แล้ว 8  โรง มีกำลังการผลิต 5,800  เมกะวัตต์  จังหวัดราชบุรีใช้เพียง 400 เมกะวัตต์ แบ่งเป็นภาคครัวเรือน 100  ภาคอุตสาหกรรม 300    ที่หน้าตกใจคือยังมีนโยบายจะก่อสร้างอีกหลายโรงในราชบุรี(น่าจะตั้งชื่อว่าจังหวัดไฟฟ้ามหานครแทนราชบุรีนะเนี่ย...)คนราชบุรีถามผู้เขียนว่า เขาผิดอะไรทำไมเขาต้องมารับกรรม เรื่องมลภาวะด้านสุขภาพและการประกอบอาชีพเกษตรกรรม   ในขณะที่คนเมืองใช้ไฟฟ้ามาก ทำไมไม่สร้างโรงไฟฟ้าที่กรุงเทพฯ  แต่พอพวกเขารวมตัวกันเรียกร้องสิทธิกับถูกภาครัฐมองว่าเป็นพวกถ่วงความเจริญ  ทั้งที่ความเจริญที่ว่านั้นเป็นพิษภัยต่อพื้นที่ ที่ไม่ว่าโรงไฟฟ้านั้นจะใช้เชื้อเพลิงจากถ่านหินหรือก๊าซ หลายพื้นแค่เขารวมตัวกันคัดค้านด้วยเป้าหมายแค่ขอให้เขาได้อยู่อย่างที่เขาเคยอยู่ ไม่ได้เรียกร้องอะไรจากรัฐเพิ่มเลย  สิ่งที่ตอบแทนบางพื้นที่คือต้องมีคนเสียชีวิต เช่น คุณเจริญ  วัดอักษร  จังหวัดประจวบคีรีขันธ์เสียชีวิตจากการคัดค้านโรงไฟฟ้า  คุณทองนาก จังหวัดสมุทรสาคร คัดค้านการขนถ่ายถ่านหินที่เขียนเรื่องนี้ผู้เขียนแค่อยากจะบอกว่า ผู้บริโภคอย่างเราๆ มีอีกหลายเรื่องที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายที่ไม่เป็นธรรมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(ทั้งเอกชน/รัฐ)เช่น แผน PDP 2011 ของกฟผ. ระบุไว้ชัดเจนว่าต้องมีการก่อสร้างโรงไฟฟ้า นิวเคลียร์ 3 โรง และโรงไฟฟ้า ถ่านหินและก๊าซอีก 9 โรงใน 10 ปี  ซึ่ง อ.เดชรัตน์ ให้ข้อมูลเพิ่มอีกว่าหากมีการบริหารจัดการเรื่องการอนุรักษ์พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ จะสามารถลดการผลิตไฟฟ้าได้ 10,000  เมกะวัตต์ นั้นก็คือสามารยกเลิกการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ได้ 3 โรง และโรงไฟฟ้าถ่านหินและก๊าซอีก 9 โรง ภายใน10 ปีสรุปคือหากมีการบริหารจัดการไฟฟ้าที่ดี อีก 10 ปีประเทศไทยไม่ต้องสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มเลย  นี่เป็นข้อมูลที่ขัดแย้งกันอย่างสิ้นเชิงระหว่าง กฟผ.กับนักวิชาการ   ซึ่งยังหาข้อสรุปไม่ได้  เพราะไม่มีหน่วยงานใดมาเป็นเจ้าภาพในการหาข้อสรุปในปัญหาเหล่านี้  ทั้งที่เรามี กกพ.(สำนักงานกำกับกิจการพลังงาน) ที่มีหน้าที่โดยตรงเกี่ยวกับเรื่องนี้  แต่ยังแบะๆ ทำเป็นทองไม่รู้ร้อนอยู่เลย   ผู้บริโภคอย่างเราก็ไม่รู้จะพึ่งใครดี  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 127 อยากเห็นจิตสำนึกดารากับการโฆษณาหลอกลวง

 จากข่าวครึกโครมเรื่องคุณค่าทางอาหารของรังนก ที่เราๆ ท่านๆ เชื่อกันมาตลอดว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ช่วยฟื้นฟูผู้ป่วยและผู้สูงอายุ ให้กลับมามีพลังกระชุ่มกระชวยได้เร็วขึ้น ทำให้รังนกเป็นสินค้าที่มีคุณค่าและราคาแพง ที่ผู้คนส่วนใหญ่มักซื้อให้กับคนที่เรารักหรือเป็นของเยี่ยมผู้ป่วย  แต่ผู้เขียนมารู้สึกตกใจมากเมื่อได้ทราบข้อมูลจากสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่เปรียบคุณค่าโปรตีนของรังนกกับถั่วลิสง ที่น่าตกใจคือเรากินรังนก 1 ขวด 100 กว่าบาท  เราจะได้รับโปรตีนเท่ากับเรากินถั่ว 2 เมล็ด และที่น่าตกใจไปกว่าคือ ไข่ไก่ 1 ฟอง 4-5 บาท มีคุณค่าอาหารเท่ากับเราต้องกินรังนก 24 ขวด 3 พันกว่าบาท(พุทโธธัมโมสังโฆ)นี่ยังไม่รวมที่มีการโฆษณารังนก 100% แต่จริงๆ 1 ขวดมีรังนกเพียง 1 % เศษเท่านั้น   สังคมไทยของเราเป็นอะไรกันทำไมถึงปล่อยให้มีเรื่องหลอกลวงได้ยาวนานถึงเพียงนี้  ทั้งที่เรื่องนี้มีหน่วยงานเฉพาะดูแลอยู่ และที่น่าเจ็บใจไปกว่านั้นคือพอเปิดทีวีดูก็จะเห็นดาราที่เป็นพรีเซ็นเตอร์โฆษณาสรรพคุณอันเลอเลิศของรังนกอยู่เลย แค่นั้นยังไม่พอยังเอาความรักระหว่างแม่-ลูกมาโน้มน้าวให้ซื้อสินค้าอีก  คือหากรักแม่ต้องให้แม่กินรังนก  ตอนยังไม่รู้ข้อมูลก็ไม่รู้สึกอะไร แต่พอรู้ข้อมูลแล้วจึงมีความรู้สึกด้านอื่นเข้ามา  คือ พรีเซ็นเตอร์ที่โฆษณาสินค้านั้นๆส่วนใหญ่เป็นดาราและนักร้อง ซึ่งได้รับความรักและศรัทธาจากประชาชน แต่เพียงเพื่อรายได้ของตนเองที่ได้รับจากรับจ้างโฆษณา มองแค่รายได้สูงสุด ไม่มองถึงคุณภาพของสินค้า  ก็เท่ากับเอาความรักความศรัทธาที่ประชาชนมีให้มาใช้เป็นเครื่องมือหากิน  โดยไม่คำนึงถึงว่าการโฆษณานั้นหลอกลวงผู้บริโภคหรือไม่ ดังนั้นพวกเราในฐานะผู้บริโภคควรช่วยกันส่งเสียงเรียกร้องจิตสำนึกของเหล่าดารานักร้อง   ให้คำนึงว่าคุณกำลังร่วมมือกับผู้ประกอบการหลอกลวงประชาชนที่เขารักและสนับสนุนพวกคุณอยู่หรือไม่  อย่าเห็นแค่เพียงรายได้ของพวกคุณฝ่ายเดียว

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 127 ลูกค้าธนาคารออมสิน โวย มาตรการพักชำระหนี้ช่วยภัยน้ำท่วมไม่เป็นจริง

ในช่วงปลายปี 2553 เกิดภัยพิบัติน้ำท่วมใหญ่ในหลายท้องที่ของประเทศไทยรวมทั้งที่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยาธนาคารออมสินได้มีการประชาสัมพันธ์แถลงข่าวและส่งจดหมายมาถึงลูกหนี้แจ้งมาตรการบรรเทาผลกระทบของลูกค้าและประชาชน จากเหตุอุทกภัยครั้งใหญ่ให้พักชำระเงินต้น และดอกเบี้ย สำหรับลูกค้าสินเชื่อทุกประเภทเป็นเวลาครึ่งปีคุณบุษกร กู้เงินสินเชื่อเคหะจากธนาคารออมสิน สาขาเจ้าพรหม จ.พระนครศรีอยุธยาเพื่อมาปลูกสร้างบ้านใหม่หลังโดนภัยน้ำท่วมจนบ้านพังอยู่อาศัยไม่ได้ เมื่อเห็นประชาสัมพันธ์นี้เข้าก็คิดว่าดีได้หยุดพักชำระหนี้จะได้นำเงินไปทำอย่างอื่นที่จำเป็นบ้างเธอเข้าทำสัญญาพักชำระหนี้แก้ไขเพิ่มเติมต่อท้ายสัญญากู้เงินสินเชื่อเคหะของธนาคารออมสิน โดยตกลงกันที่จะผ่อนผันการพักชำระหนี้เงินต้นและหนี้ดอกเบี้ยเงินกู้ รวมเป็นเวลา 6 เดือน หรือ 6 งวด นับแต่เดือนธันวาคม 2553 โดยเข้าใจว่า ธนาคารจะระงับการคิดดอกเบี้ยในช่วงเวลาดังกล่าวเมื่อครบกำหนดพักชำระหนี้ 6 เดือนแล้ว คุณบุษกรจึงนำเงินไปชำระหนี้เงินกู้ตามสัญญาจำนวน 3,700 บาท ซึ่งเป็นอัตราชำระขั้นต่ำตามสัญญา ปรากฏว่า ถูกธนาคารคิดเป็นดอกเบี้ยทั้งหมด โดยไม่มีเงินต้นเลย เมื่อสอบถามกับพนักงานของธนาคารออมสิน สาขาเจ้าพรหม ก็อธิบายให้เข้าใจเป็นที่กระจ่างไม่ได้ว่า ทำไมจึงมีการเรียกเก็บดอกเบี้ยเป็นดอกเบี้ยย้อนหลังกลายเป็นดอกเบี้ยค้างชำระทบเข้ามา ทำให้ต้องรับภาระหนี้เพิ่มขึ้นไปอีก เมื่อเห็นว่าตนไม่ได้รับความเป็นธรรม จึงเขียนเรื่องร้องเรียนเข้าที่เว็บไซต์มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค www.consumerthai.org แนวทางแก้ไขปัญหาศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคได้สอบถามไปยังธนาคารออมสิน และได้รับหนังสือชี้แจงจากนายมนตรี   นกอินทร์ ผู้จัดการธนาคารออมสิน สาขาเจ้าพรหม จังหวัดพระนครศรีอยุธยาว่า การผ่อนผันการพักชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยเป็นเวลา 6 เดือนนั้น เป็นการหยุดเรื่องส่งชำระเงินต้นและดอกเบี้ยเท่านั้น ส่วนเรื่องของการคิดดอกเบี้ยในขณะผ่อนผัน ธนาคารจะคิดดอกเบี้ยสะสมไว้ รอลูกหนี้มาชำระหนี้เมื่อครบกำหนดสัญญาผ่อนผันการพักชำระหนี้เมื่อได้คำชี้แจงมาแบบนี้ ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เห็นว่า การให้ข้อมูลโฆษณาประชาสัมพันธ์ของธนาคารออมสิน เป็นการให้ข้อมูลที่ไม่ครบถ้วน และทำให้ผู้บริโภคเกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อน สับสน และก่อให้เกิดการตัดสินใจเลือกใช้บริการที่ผิดพลาดมีความเสียหายขึ้น ถือเป็นการละเมิดสิทธิผู้บริโภคที่สำคัญ  และเชื่อว่าน่าจะมีผู้ประสบภัยน้ำท่วมอีกหลายรายที่หลงเชื่อเข้าร่วมโครงการนี้ของธนาคารออมสิน จึงได้จัดเวทีแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2554 ที่ผ่านมาผลปรากฏว่า ธนาคารออมสินได้มีการประชุมพิจารณาปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นการเร่งด่วน และมีมติอนุมัติที่จะให้ปรับปรุงบัญชีดอกเบี้ยของ 6 เดือนที่หยุดชำระจำนวนประมาณ 14,000 บาทนั้นออกไปทั้งหมด ส่งผลให้สถานะบัญชีหนี้ของคุณบุษกรกลับมาเป็นปกติเหมือนเดิมอีกครั้ง “ขอบคุณคุณมูลนิธิเพื่อผู้บริโภครวมถึงผู้สื่อข่าวทุกๆ ท่านที่ให้การช่วยเหลือมากเลยนะคะ” คุณบุษกรกล่าวสำหรับการดำเนินการแก้ปัญหาที่รวดเร็วของผู้บริหารธนาคารออมสินนั้น มูลนิธิฯ ขอขอบคุณเป็นอย่างสูง และขอให้ดูแลลูกค้ารายอื่นให้มีมาตรฐานเดียวกันด้วย เพื่อให้สมกับเป็นธนาคารของประชาชน เพื่อประชาชนอย่างแท้จริง

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 127 การบินไทยช่วยผู้โดยสารหลีกภัยนิวเคลียร์?

ยอมเปลี่ยนวันและเส้นทางบิน ปลอดค่าธรรมเนียมเหตุการณ์แผ่นดินไหวและการระเบิดของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ที่เมืองฟูกูชิมะ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อเดือนมีนาคม 2554 นอกจากจะสร้างความสูญเสียให้ชาวอาทิตย์อุทัยเกือบทั้งเกาะแล้ว ยังสร้างความเสียหายให้กับสองแม่ลูกที่ตั้งใจจะเดินทางไปเที่ยวชมประเทศญี่ปุ่นในช่วงนั้นอีกด้วย แม้จะเป็นความเสียหายที่ดูเล็กๆ เมื่อเทียบกับการเจ็บการตายและบ้านที่พังถล่มทลายของชาวเมืองซากุระ แต่เมื่อเป็นเรื่องเกี่ยวกับสิทธิของผู้บริโภค ทุกเรื่องที่เข้ามาที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคถือเป็นเรื่องสำคัญเท่าเทียมกัน คุณไปรยา(นามสมมติ) เป็นสมาชิกสะสมไมล์รอยัลออร์คิด พลัส ของสายการบินไทย อุตส่าห์ดีใจได้แลกรางวัลไมล์สะสมเพื่อเดินทางไปยังกรุงโตเกียวประเทศญี่ปุ่นพร้อมคุณแม่ โดยมีกำหนดเดินทางไปในวันที่ 31 ตุลาคม 2554 และกลับวันที่ 8 พฤศจิกายน 2554 ด้วยอากาศที่หนาว กับภาพหิมะที่ปลิวในสายลม เป็นช่วงการเดินทางที่ทำให้คนในเมืองไทยต้องอิจฉาแต่พอเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวเตาปฏิกรณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ระเบิดไปหลายเตา ภาพปุยหิมะขาวๆ ละลายเป็นน้ำไปทันที นั่ง นอน ค้นหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตก็มีแต่ข่าวไม่ดี การแก้ไขปัญหาไม่มีความคืบหน้า นึกเห็นแต่ภาพเหยื่อกัมมันตภาพรังสีที่น่าขนพองสยองขวัญ“ไม่เอาแล้วโตเกียวเราเปลี่ยนเป้าหมายไปกรุงโซล เกาหลีใต้ ดีกว่า โซนเดียวกัน หนาวเหมือนกัน” เธอบอกกับแม่ คุณไปรยา จึงแจ้งกับการบินไทยเพื่อจะขอเปลี่ยนการเดินทางไปกรุงโซลแทนในวันที่ 2 ธันวาคม และกลับในวันที่ 10 ธันวาคม 2554 การบินไทยบอกเปลี่ยนได้แต่ต้องเสียค่าธรรมเนียม 40 ดอลลาร์สหรัฐคิดเป็นเงินไทยตกราว  1,200 บาทคุณไปรยาจึงถามกลับไปว่าทำไมต้องคิดค่าธรรมเนียมด้วย ใจน่ะอยากไปญี่ปุ่นแต่กลัววิกฤตินิวเคลียร์จะมาทำร้ายสุขภาพร่างกายของฉันกับแม่ฉันน่ะ เข้าใจไหม และการเดินทางก็อยู่ในโซนเดียวกันทำไมต้องมาคิดค่าธรรมเนียมกันด้วย และถ้าจะรอให้การบินไทยมีนโยบายอนุญาตให้เปลี่ยนตั๋วได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ก็มักจะประกาศในช่วงเวลาใกล้ๆ การเดินทาง ถึงตอนนั้นก็อาจหาตั๋วไม่ได้แล้ว และต้องเสียสิทธิสะสมไมล์ในท้ายที่สุดฝ่ายหนึ่งขอไม่ให้เก็บเพราะเป็นเหตุการณ์พิเศษ การบินไทยน่าจะเห็นใจลูกค้า แต่การบินไทยแจ้งว่าต้องเก็บเพราะเป็นระเบียบ คุยกันไม่จบ...เรื่องจึงมาถึงมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคในท้ายที่สุด แนวทางแก้ไขปัญหา มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้มีจดหมายแจ้งไปถึงกรรมการผู้จัดการบริษัท การบินไทย จำกัด เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2554 เพื่อขอให้พิจารณายกเว้นค่าธรรมเนียมเป็นกรณีพิเศษให้กับผู้โดยสาร ต่อมาวันที่ 23  สิงหาคม 2554 คุณอมรา  ลีสวรรค์ ผู้จัดการกองบริการสมาชิกรอยัลออร์คิดพลัสของสายการบินไทย ได้มีหนังสือตอบกลับมา แจ้งว่า ทางการบินไทยได้พิจารณาอนุมัติให้เปลี่ยนแปลงวันเดินทางและเปลี่ยนแปลงเส้นทางบินเป็นกรุงเทพฯ – โซล – กรุงเทพฯ ตามที่ผู้โดยสารประสงค์ โดยไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม พร้อมทั้งชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติมว่า โดยปกติการเปลี่ยนเส้นทางใหม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการคืนไมล์ 3,750 บาท ต่อ 1 ฉบับ และทำบัตรโดยสารใหม่ในเส้นทางใหม่ และการเปลี่ยนวันเดินทางต้องเสียค่าธรรมเนียม 1,200 บาทต่อการเปลี่ยน 1 ครั้ง แต่ทั้งนี้การเปลี่ยนเส้นทางจะต้องทำการออกบัตรโดยสารใหม่ ซึ่งจะทำให้เกิดค่าภาษีน้ำมันเพิ่มขึ้น โดยอัตรานี้อาจจะเปลี่ยนแปลงได้ เพราะขึ้นอยู่กับราคาภาษีน้ำมันและวันที่ออกบัตรโดยสารใหม่ (โดยประมาณ 2,130 บาทต่อฉบับ) ซึ่งในส่วนนี้ผู้โดยสารจะต้องรับผิดชอบเอง เมื่อได้ทราบข้อมูลข้อเท็จจริงทั้งหมดแล้ว และได้ตรวจสอบสถานการณ์ปัญหาวิกฤตินิวเคลียร์ว่าคลี่คลายไปมากคุณไปรยาจึงเปลี่ยนใจขอไปโตเกียวเหมือนเดิม มูลนิธิฯ ขอขอบคุณการบินไทยที่ใส่ใจสิทธิของลูกค้าเป็นอย่างดี ขอให้คุณไปรยาและคุณแม่เดินทางโดยปลอดภัยและไม่เอานิวเคลียร์มาเป็นของฝากกันนะขอรับ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 127 แสนสิริแพ้คดีบ้านไม่ได้มาตรฐาน ชดใช้ค่าเสียหายกว่า 2 แสนบาท

 ที่มาที่ไปของเรื่องนี้เริ่มต้นเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2548ในวันนั้น ด้วยความชื่นชมหลงใหลในแบบบ้านและคำโฆษณาของโครงการบ้านเศรษฐศิริ-รามอินทรา ซึ่งรับประกันคุณภาพด้วยชื่อเสียงของบริษัท แสนสิริ จำกัด(มหาชน) คุณสุริยุ  และครอบครัวได้ตัดสินใจทำสัญญาซื้อบ้านหนึ่งหลังจากโครงการฯ ราคา 6,690,000 บาท พร้อมรับประกันการซ่อมแซม 1 ปีเมื่อรับโอนกรรมสิทธิบ้านกันเรียบร้อย คุณสุริยุก็ฮัมเพลง “บ้านคือวิมานของเรา” ขนข้าวของและพาสมาชิกครอบครัวเข้าพักอาศัยด้วยหัวใจอิ่มเอิบสมหวังแต่อยู่มาไม่นานสมาชิกของบ้านหลังนี้ก็ค่อยๆ พบว่า บ้านมีจุดชำรุดบกพร่องหลายแห่งผู้เสียหายได้พบว่า บ้านราคาเหยียบ 6.7 ล้านบาทหลังนี้มีความชำรุดบกพร่องหลายแห่งเวลาฝนตกหนักๆ น้ำรั่วเข้าห้องแม่บ้านทุกครั้ง ทำให้วอลเปเปอร์และเฟอร์นิเจอร์ในห้องได้รับความเสียหายเมื่อช่วยดูกันดีๆ พบว่าน้ำฝนรั่วเข้าทางวงกบประตูและหน้าต่าง ส่วนหลังคาด้านระเบียงบ้านชั้นล่างก็มีน้ำฝนรั่วซึม นอกจากนี้ยังมีการแตกร้าวของปูนตามผนังรอบตัวบ้าน ผนังบันไดและรั้วบ้าน มีการแตกร้าวของประตูห้องนอนและห้องน้ำ และยังพบว่าขนาดของประตูไม่มาตรฐานตามที่ใช้ในท้องตลาดต้องสั่งทำพิเศษ ส่วนชานบันไดชั้นสองช่างติดตั้งไม่ได้มาตรฐานเวลาเดินมีเสียงดังออดแอด พอขึ้นไปดูชั้นสอง พื้นชั้นสองปูด้วยไม้วีเนียร์ ปูไม่แน่นทำให้เวลาเดินพื้นจะยุบตัวลงและมีเสียงดัง ขณะที่ตามรายการวัสดุมาตรฐานท้ายสัญญาจะซื้อจะขายระบุว่าต้องเป็นพื้นไม้ปาร์เก้ แต่ที่เป็นเรื่องใหญ่ที่สุดซึ่งมาพบในภายหลัง คือ มีการก่อสร้างบ้านผิดแบบแปลนจากที่ได้ทำสัญญาตกลงกัน จึงทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ที่ว่ามา เนื่องจากแบบแปลนบ้านไม่ตรงนั่นเอง คุณสุริยุ จึงได้แจ้งให้บริษัทฯ เข้ามาซ่อมแซมและแก้ไข ซึ่งบางแห่งก็สามารถซ่อมแซมได้  แต่บางแห่งซ่อมแซมแล้วอาการยังเป็นเหมือนเดิม คุณสุริยุได้แจ้งบริษัทฯ มาตลอดเพื่อให้ซ่อมแซมอาการชำรุดให้แล้วเสร็จ แต่บริษัทฯไม่ดำเนินการแก้ไข  และพยายามผัดวันประกันพรุ่งมาตลอดท้ายสุด จึงตัดสินใจนำเรื่องยื่นฟ้องบริษัท แสนสิริฯ เป็นคดีผู้บริโภคที่ศาลแขวงมีนบุรีด้วยตนเอง เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน  2552   ฐานผิดสัญญา เรียกค่าเสียหายเป็นเงิน  258,448  บาท  และขอให้ศาลมีคำสั่งให้บริษัทฯ ต้องส่งมอบแปลนบ้านที่ถูกต้องให้ด้วย หรือหากส่งมอบไม่ได้ให้ชดใช้ราคาเป็นเงิน  20,000 บาทแทนฝ่ายบริษัทแสนสิริที่ตกเป็นจำเลย ได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดีปฏิเสธความรับผิด โดยอ้างว่าการก่อสร้างเป็นไปตามแบบแปลนและยกเรื่องอายุรับประกันบ้านขึ้นต่อสู้ว่าการรับประกันการซ่อมเนื่องจากการก่อสร้างนั้นมีกำหนดระยะเวลาถึงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2549  เท่านั้น และยังอ้างว่าบ้านชำรุดบกพร่องเกิดจากการใช้งาน หรือการเสื่อมสภาพตามธรรมชาติของวัสดุซึ่งเจ้าของบ้านมีหน้าที่ต้องดูแลระมัดระวังและบำรุงรักษาในระหว่างการใช้งาน จึงขอปฏิเสธค่าเสียหายที่เรียกมา ขอชดใช้ค่าเสียหายเพียง 30,000 บาทศาลแขวงมีนบุรีได้นัดไกล่เกลี่ย 3 ครั้ง ในช่วงเดือน มกราคม , มีนาคม และ พฤษภาคม 2553  ทั้งสองฝ่ายไม่สามารถตกลงกันได้ ศาลจึงนัดสืบพยานจำเลยและสืบพยานโจทก์ในวันที่ 24-25 กุมภาพันธ์ 2554แม้การฟ้องคดีผู้บริโภค ผู้บริโภคจะสามารถฟ้องคดีด้วยตนเองได้โดยไม่ต้องใช้ทนายความ แต่เมื่อถึงขั้นที่ต้องพิจารณาคดีมีการสืบพยานกัน ผู้บริโภคส่วนใหญ่ก็ไปไม่เป็นเหมือนกัน คุณสุริยุจึงร้องมาที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเพื่อขอความช่วยเหลือ แนวทางแก้ไขปัญหาเรื่องมาถึงขั้นนี้ จำเป็นต้องส่งผู้บริโภคให้ถึงฝั่ง มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคจึงต้องจัดหนักทนายความจากศูนย์ทนายความอาสาเพื่อผู้บริโภคของมูลนิธิฯ ได้เข้าช่วยเหลือผู้บริโภครายนี้ในการพิจารณาคดี  และมีการสืบพยานเสร็จสิ้นในวันที่ 1 เมษายน 2554 วันที่ 26 พฤษภาคม 2554 คือวันประกาศชัยของผู้บริโภคศาลนั่งบัลลังก์อ่านคำพิพากษาตัดสินให้บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้บริโภคเป็นเงิน 196,674.18 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี นับถัดจากวันที่ฟ้องเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2552 จนกว่าจะชำระเสร็จ และให้ส่งมอบแบบแปลนที่ถูกต้องให้แก่ผู้บริโภค  หรือถ้าไม่ส่งมอบก็ให้ใช้ราคาค่าจ้างเขียนแบบแปลนใหม่แทนจำนวน  20,000  บาท  พร้อมให้บริษัทจ่ายค่าทนายความจำนวน 5,000 บาท แทนผู้บริโภคด้วย ถือเป็นคำพิพากษาที่ค่อนข้างจัดหนักเช่นกัน บริษัท แสนสิริ ในฐานะจำเลยไม่อุทธรณ์  ยอมชดใช้ค่าเสียหายให้ผู้บริโภคทั้งหมดที่ศาลมีนบุรีในวันที่ 7 กันยายน 2554“รู้สึกพอใจคำพิพากษาอย่างมากที่ทำให้ผู้ประกอบการรู้ว่า  ไม่ควรเอาเปรียบผู้บริโภค  และคิดว่ากระบวนการทางกฎหมายเอื้อประโยชน์ให้กับผู้บริโภคใช้สิทธิได้อย่างเต็มที่  และขอบคุณมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคที่ให้ความช่วยเหลือด้านคดีโดยจัดหาทนายความให้  และสนับสนุนให้มีองค์กรที่เป็นประโยชน์ให้อยู่คู่กับผู้บริโภคต่อไป” คุณสุริยุกล่าวด้วยความซาบซึ้ง

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 126 คนไทยกับหมอดู

ผู้เขียนได้มีโอกาสไปร่วมเวทีพัฒนาเครือข่ายผู้บริโภคในจังหวัดภาคกลาง  ก็มีการพูดคุยกันหลายเรื่องมีอยู่เรื่องหนึ่งที่ฟังแล้วสะดุดใจ คือมีคุณพี่ท่านหนึ่งมาเล่าให้ฟังว่าตัวเองเป็นแม่บ้านอยู่บ้านคนเดียว (สามีและลูกไม่อยู่)ก็มีแขกมาเสนอขายมุ้ง  พี่แกก็บอกไปว่าไม่ซื้อ บ้านแกมีมุ้งอยู่แล้วและไล่ให้ไปที่อื่น    แขกขายมุ้งก็เปลี่ยนวิธีใหม่ โดยบอกว่าดูหน้าตาของคุณพี่ท่านนี้แล้วรู้สึกว่ามีสง่าราศรี  และขออนุญาตดูลายมือ  เอาล่ะซิคนไทยกับโชคลาภ และหมอดู มันเป็นอะไรที่บอกได้คำเดียวว่า “โดน”จากขับไล่อย่างแข็งขัน ก็กลายเป็นอ่อนลงทันที  และยินยอมให้แขกดูลายมือให้แขกดูแล้วก็บอกว่าเธอมีโชคจริงๆ  โดยมีข้อเสนอว่าให้คุณพี่คนนี้เขียนเลขตามที่ชอบใส่มือตัวเองแล้วกำไว้  หากแขกทายถูกว่าคุณพี่เธอเขียนเลขอะไร แสดงว่าคุณพี่เป็นผู้มีโชคลาภต้องซื้อมุ้งแขกในราคาหลังละ 600 บาท  เมื่อคุณพี่เธอได้ฟังเธอบอกว่าใจหนึ่งก็อยาก ลองของ ใจหนึ่งก็อยากได้เลข(ไปแทงหวย)  แกก็เลยตกลงว่าแล้ว เธอก็แอบไปเขียนโดยไม่ให้แขกเห็นแล้วกำมือไว้ในแน่นเลย  จากนั้นแขกก็บอกว่าหากเรา(แขกกับคุณพี่ท่านนี้)หากมีโชคร่วมกันจริง คงทายถูก  จากนั้นแขกก็แบมือเลขที่แขกเขียนมาเทียบกับที่คุณพี่เธอเขียน   สิ่งที่เกิดขึ้นคือเลขตรงกันพอดิบพอดี  คุณพี่บอกว่าตอนนั้นไม่ได้คิดเลยว่าถูกแขกหลอกเพราะกำลังดีใจว่าได้ตัวเลขในการแทงหวยงวดหน้าเลยจ่ายเงิน 600 บาทซื้อมุ้งตามที่ตกลงกันไว้   แขกบอกว่าหากถูกหวยอย่าลืมบอกแขกนะ  คุณพี่เธอก็บอกว่า จะบอกแขกได้อย่างไรแขกไม่ให้เบอร์โทร  แขกตอบกลับมาว่าไม่ต้องใช้เบอร์โทร แขกรู้ทางจิตคุณพี่ท่านนี้บอกว่า เธอไม่ได้เสียดายเงินเลย  รอวันหวยออกอย่างเดียว มารู้ว่าถูกหลอกก็ต่อเมื่อหวยออกแล้วไม่โดนเลยซักตัวเดียว เธอก็เลยรู้ว่าถูกหลอก  ที่เจ็บใจไม่ใช่แค่เสียเงินซื้อมุ้ง  แต่เสียเงินซื้อหวยมากกว่า  แจ้งความก็ไม่ได้เพราะแขกไปนานแล้ว  บอกใครก็ไม่ได้เพราะอายที่ถูกหลอก มันเหมือนกลืนไม่เข้าคายไม่ออก ได้แต่เจ็บใจอยู่คนเดียว ที่เขียนเรื่องนี้มาเล่าสู่กันฟัง เพียงเพื่อที่จะบอกว่า เดี๋ยวนี้มิจฉาชีพ มีวิธีแปลกๆ มาหลอกลวงผู้บริโภคอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะแม่บ้านตามต่างจังหวัด  ผู้เขียนไม่อาจตอบได้ว่าทำไมแขกทายเลขถูก  รู้แต่ว่าแขกจับจุดคนไทยได้ว่าเชื่อเรื่องดวงและชอบโชคลาภ  ใครได้อ่านบทความนี้ก็ช่วยกันบอกต่อกันหน่อย   เพราะไม่รู้จะพึ่งใคร นอกจากเราต้องพึ่งตนเอง  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 126 True Fitness ไม่อนุญาตให้โอนสมาชิกภาพ

ช่วงที่ผ่านมา เว็บไซต์ www.consumerthai.org ของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค มีเรื่องร้องเรียนของผู้บริโภคเกี่ยวกับบริการของ True Fitness อยู่หลายราย ลองมาดูตัวอย่างกัน“ดิฉันสมัครสมาชิก True Fitness ที่สาขาแครายไว้ค่ะ” คุณยุพานามสมมติของผู้บริโภครายหนึ่ง เริ่มเรื่องตอนที่สมัครเซลล์แจ้งว่า ถ้าอนาคตไม่ต้องการใช้บริการต่อก็สามารถโอนหรือขายต่อสมาชิกภาพให้ผู้อื่นได้ ดิฉันจึงเซ็นสัญญาไปและชำระเงินค่าสมาชิกราย 2 ปีไปครบเรียบร้อยแล้วแต่เมื่อวานติดต่อไปที่ฟิตเนสเพื่อสอบถามเรื่องการโอนสมาชิกให้เพื่อน พนักงานปฏิเสธเสียงแข็งว่า "เดี๋ยวนี้" โอนไม่ได้แล้วค่ะ ดิฉันเถียงกลับไปว่าตอนสมัครทำไมเซลล์พูดว่าโอนได้ ขายได้ พนักงานก็ไม่ตอบคำถามนี้ พูดแต่เพียงว่า ปกติเราไม่อนุญาตให้โอนสมาชิกนอกจากจะมีเหตุผลด้านสุขภาพเท่านั้น ส่วนเหตุผลส่วนตัวอื่นๆ เช่น การย้ายที่อยู่ ติดภารกิจเรื่องงาน ฯลฯ ไม่สามารถนำมาเป็นข้ออ้างในการโอนได้ดิฉันลองดูในสัญญา ก็เขียนไว้แค่ว่า สมาชิกภาพนี้มีลักษณะพิเศษ ไม่สามารถโอนได้หากไม่ได้รับความยินยอมจากทางบริษัท ดิฉันสามารถดำเนินการอย่างไรได้บ้างคะ สิ่งที่เซลล์พูดก็เป็นเพียงคำพูดค่ะ ไม่ได้ระบุเป็นลายลักษณ์อักษร แต่มีสมาชิกหลายคนที่ได้รับข้อมูลจากเซลล์มาแบบเดียวกันว่าโอนให้คนอื่นได้ คำพูดของเซลล์ถือเป็นการเจตนาบิดพลิ้วสาระสำคัญของสัญญาได้ไหมคะ” ส่วนอีกรายก็เขียนร้องเรียนมาว่า “เจอปัญหาเดียวกันเลยค่ะ” “ตอนสมัครปีที่แล้วน้องเซลล์ก็พูดเป็นมั่นเป็นเหมาะ ว่าสามารถโอนสิทธิได้ แต่ว่าได้แค่ครั้งเดียว โดยมีค่าธรรมเนียม ซึ่งที่ผ่านมาเราก็รู้กันอยู่ว่าเขาโอนกันเยอะแยะ พอมาถึงตอนนี้ดิฉันกับเพื่อนต้องการโอนสิทธิให้คนอื่น กลับมาบอกเราว่าเมื่อก่อนโอนได้ เดี๋ยวนี้ไม่ให้โอนแล้ว ดิฉันไม่ได้มีความรู้เรื่องกฎหมายนะคะ แต่เห็นว่าถ้าตอนหลังจะยกเลิกเรื่องการโอน ก็ควรมีผลเฉพาะกับคนที่สมัครหลังจากออกกฎนี้หรือเปล่า และสัญญารุ่นใหม่ก็ควรระบุไปเลยว่าไม่ให้โอนสิทธิไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น” ปัญหาเป็นแบบนี้แนวทางการแก้ไขปัญหา จะต้องทำอย่างไร มาดูกัน แนวทางแก้ไขปัญหาขอตอบแบบในมุมของกฎหมายคดีผู้บริโภคเลยนะครับ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 11 ได้บัญญัติไว้ว่า ประกาศ โฆษณา คำรับรอง หรือการกระทำด้วยประการใดๆ ของผู้ประกอบธุรกิจซึ่งทำให้ผู้บริโภคเข้าใจได้ในขณะทำสัญญาว่าผู้ประกอบธุรกิจตกลงจะมอบให้ หรือจัดหาให้ซึ่งสิ่งของบริการ หรือสาธารณูปโภคอื่นใด หรือจะดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งให้แก่ผู้บริโภคเพื่อเป็นการตอบแทนที่ผู้บริโภคเข้าทำสัญญา หรือข้อตกลงใดๆ ที่ผู้ประกอบธุรกิจจะให้สิทธิประโยชน์แก่ผู้บริโภคเพิ่มเติมขึ้นจากที่ได้ทำสัญญาไว้ ให้ถือว่าข้อความ การกระทำหรือข้อตกลงดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบธุรกิจ ซึ่งผู้บริโภคสามารถนำสืบพยานบุคคล หรือพยานหลักฐานเกี่ยวกับข้อตกลงดังกล่าวได้ ถึงแม้ว่าการทำสัญญาเช่นว่านั้นกฎหมายจะกำหนดว่าต้องทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือและไม่ปรากฏข้อตกลงนั้นในหนังสือที่ได้ทำขึ้นก็ตามดังนั้น หากพบว่ามีลูกค้าหลายรายตกอยู่ในชะตากรรมเดียวกัน ก็สามารถชวนกันมาเป็นพยานพิสูจน์ข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ได้ว่า เซลล์ได้มีการสัญญาในเรื่องต่างๆ ตรงกันหรือไม่ ถ้าใช้แต่ตัวเองก็จะเป็นหลักฐานที่อ่อนไป ศาลอาจไม่เชื่อได้แต่ก่อนที่เรื่องจะไปศาลนั้น ควรทำหนังสือขึ้นมาฉบับหนึ่ง เรียนถึงกรรมการผู้จัดการบริษัท เรื่องขอโอนสมาชิกภาพ รายละเอียดก็ว่าไป...ว่าไม่ยอมให้มีการโอนโดยอ้างเรื่องสัญญา แต่สมาชิกคนอื่นๆ ต่างได้รับข้อเสนอจากพนักงานขายเป็นเสียงเดียวกันว่าสามารถโอนสมาชิกได้ จึงขอให้บริษัทพิจารณาดำเนินการโดยเร็วภายในกี่วันก็ว่าไป แล้วให้สำเนาท้ายจดหมายว่า เรียนถึงมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคจดหมายที่ส่งไปให้ผู้ประกอบธุรกิจนั้น ให้ส่งเป็นไปรษณีย์ตอบรับ เก็บสำเนาตัวจดหมายและใบตอบรับไว้เป็นหลักฐานเผื่อต้องฟ้องเป็นคดีผู้บริโภค ล่าสุดมีข่าวดีเพิ่มเติม...คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้ประกาศให้ธุรกิจการให้บริการออกกำลังกายเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา ซึ่งให้สิทธิการเลิกสัญญาของผู้โภคได้ในกรณีต่อไปนี้1. ผู้ประกอบธุรกิจไม่มีอุปกรณ์ออกกำลังกายหรือบริการอื่นๆ ให้ตามที่สัญญา หรืออุปกรณ์ออกกำลังกายมีการชำรุดบกพร่อง หรือให้บริการได้ไม่เหมาะสมและเพียงพอเมื่อเทียบกับจำนวนสมาชิกและพื้นที่ออกกำลังกาย โดยผู้ประกอบธุรกิจไม่จัดหาอุปกรณ์ออกกำลังกายหรือบริการที่ใกล้เคียงกันมาทดแทนได้ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากผู้บริโภค2. ผู้บริโภคมีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรจากแพทย์ยืนยันว่า การใช้บริการออกกำลังกายต่อไป อาจจะก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ หรือสภาพร่างกาย หรือทำให้จิตใจผิดปกติได้3. ผู้บริโภคได้รับบาดเจ็บเนื่องจากผู้ฝึกสอนของผู้ประกอบธุรกิจ ไม่มีความรู้ความชำนาญ หรืออุปกรณ์ออกกำลังกายที่ไม่มีคำเตือนว่า ชำรุดบกพร่องเพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจได้มีเวลาปรับปรุงคุณภาพการบริการให้เป็นไปตามสัญญาควบคุมฉบับนี้ คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคจึงกำหนดให้ประกาศฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้ได้นับแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2554 เป็นต้นไป

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 126 ถูกฟ้องศาลเพราะลิเบอร์ตี้ประกันภัยไม่ยอมจ่ายเงินให้คู่กรณี

คุณภูษิต หนุ่มวัย 39 ทำประกันภัยรถยนต์ประเภท 3 กับบริษัท ลิเบอร์ตี้ ประกันภัย จำกัด ซึ่งเขาไม่ทราบเลยว่าในขณะนั้นบริษัทประกันภัยรายนี้เริ่มมีภาวะการเงินที่ง่อนแง่น เหตุการณ์เริ่มขึ้นในวันที่ 4 มกราคม 2553 คุณภูษิตขับรถยนต์โตโยต้าคู่ใจไปทำธุระที่ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์ จนเวลาเกือบ 2 ทุ่มจึงขับรถเพื่อจะออกจากห้าง ขณะที่ขับรถมาตามถนนภายในห้างสรรพสินค้าที่มีอยู่ 2 ช่องทางการจราจรเพื่อออกถนนใหญ่ มุ่งหน้าไปแยกประตูน้ำ ด้วยความใจร้อน คุณภูษิตนั้นขับอยู่ช่องทางด้านขวาขนาบคู่มากับรถเก๋งอีกคันหนึ่ง ซึ่งมีคุณสุมาลีขับอยู่โดยวิ่งไปในทิศทางที่จะออกจากห้างเหมือนกัน เมื่อรถทั้งสองคันแล่นมาถึงบริเวณทางออกถนนหน้าห้าง แทนที่คุณภูษิตจะยอมให้รถคันซ้ายเลี้ยวออกไปก่อน กลับขับรถตัดหน้ารถของคุณสุมาลีทันที ผลของการขับรถ “ปาด” กัน ทำให้รถยนต์ของคุณสุมาลีทั้งไฟหน้า กันชนและบังโคลนมีรอยครูด ได้รับความเสียหาย คุณสุมาลีนั้นทำประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 ไว้กับบริษัท ประกันคุ้มภัย จำกัด (มหาชน) จึงเรียกพนักงานของบริษัทประกันภัยมาจัดการปัญหา ซึ่งคุณภูษิตหลังจากตั้งสติได้ก็ยอมทำบันทึกยอมรับผิดที่ตนเองไปขับรถปาดหน้าคู่กรณีให้กับบริษัท ประกันคุ้มภัยฯ โดยเข้าใจว่า เดี๋ยวบริษัทลิเบอร์ตี้ จะรับผิดชอบค่าเสียหายที่เกิดขึ้นแทนตามสัญญาประกันภัยรถยนต์ประเภทที่ 3 ที่ได้ทำไว้ ปรากฏว่าหนึ่งปีให้หลัง วันที่ 4 มกราคม 2554 คุณภูษิตถูกบริษัทประกันคุ้มภัยฯ ซึ่งรับช่วงสิทธิมาจากคุณสุมาลี ในฐานะผู้เสียหายตัวจริงฟ้องเรียกค่าซ่อมรถที่ประกันคุ้มภัยฯ จ่ายซ่อมในฐานะผู้รับประกันเป็นเงินประมาณ 11,000 บาทเศษ พอโดนฟ้องอย่างนี้คุณภูษิตต้องรีบมาถึงมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคร้องถามเสียงหลงว่า “ทำไมถึงทำกับผมได้” แนวทางแก้ไขปัญหา คุณภูษิตก็เหมือนลูกค้าลิเบอร์ตี้ประกันภัยอีกหลายราย ที่ไม่เคยทราบเลยว่าบริษัทประกันแห่งนี้มีปัญหาด้านการเงินไม่ต่างจากบริษัทสัมพันธ์ประกันภัย ซึ่งถูกสั่งปิดกิจการไปแล้ว เมื่อมีปัญหาด้านการเงินก็ไม่มีการบอกกับลูกค้า เอาแต่เงินเข้ากระเป๋ารับทำประกันอย่างเดียว แต่พอถึงเวลาเคลมไม่ยอมมาเคลมและปฏิเสธการจ่ายค่าสินไหมหลายรายที่ไม่รู้ช่องทางการร้องเรียน มูลนิธิฯ จึงได้แนะนำให้คุณภูษิตไปแจ้งเรื่องร้องเรียนกับสำนักงานส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย(คปภ.) ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยโดยตรง หลังจากนั้นไม่นานบริษัท ลิเบอร์ตี้ประกันภัย เมื่อได้รับเรื่องแล้วจึงได้ประสานกับทางฝ่ายกฎหมายของบริษัท ประกันคุ้มภัย เพื่อดำเนินการชดใช้ค่าสินไหมให้ เมื่อสองบริษัทประกันคุยกัน ท้ายที่สุดยอมยุติตกลงรับค่าสินไหมกันที่ 9,670 บาท จากที่ฟ้องมา 11,000 บาทเศษ และได้ทำการถอนฟ้องคุณภูษิตในท้ายที่สุด นับเป็นความรับผิดชอบของบริษัทประกันภัยชื่อดังที่ล่าช้าไปเป็นปี แต่ก็ยังดีที่มีความรับผิดชอบหลงเหลืออยู่บ้างทำให้คุณภูษิตรอดจากคำพิพากษาไปแบบหวุดหวิด สำหรับบริษัทลิเบอร์ตี้ประกันภัยนั้น กระทรวงการคลังได้ มีคำสั่ง ที่ 709 /2554 ลงวันที่ 6 มิถุนายน 2554 ให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย ไปเป็นที่เรียบร้อยโรงเรียน คปภ.แล้ว เนื่องจากบริษัทฯ มีฐานะการเงินดำรงเงินกองทุนไม่ครบถ้วนตามกฎหมาย โดยมีหนี้สินเกินกว่าทรัพย์สิน ณ วันที่ 30 กันยายน 2552 จำนวน 65.78 ล้านบาท

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 126 ร้องทรูมูฟโกงค่าบริการมือถือ

เมื่อกลางเดือนพฤศจิกายน 2553 โทรศัพท์มือถือของคุณโอภาส ได้รับข้อความเชิญชวนว่าเป็นผู้โชคดีให้เข้ารับโทรศัพท์มือถือยี่ห้อแบล็ค เบอร์รี่ มีเงื่อนไขง่ายๆ ว่า เพียงพิมพ์ตัวอักษร TA แล้วส่ง SMS มาที่หมายเลข 420XXXX X เสียค่าส่งข้อความ 3 บาท เท่านั้นก็มีสิทธิจะเป็นผู้โชคดีแล้วไม่ต้องใช้เวลาคิดนาน เสียแค่ 3 บาทเพื่อลุ้นมือถือราคาเป็นหมื่น คุณโอภาสกดส่งข้อความ TA ไปยังหมายเลขที่ได้รับแจ้งทันที แต่ส่งไปแล้วเงียบฉี่ ไม่มีการตอบรับข้อความแต่อย่างใด“เออ ก็แค่ถูกหลอกเสียเงิน 3 บาท ไม่ได้อะไร” คุณโอภาสคิดในใจแต่หลังจากนั้นไม่นานสักประมาณสี่โมงเย็นของวันเดียวกัน ปรากฏว่ามีข้อความเกี่ยวกับความรักส่งมาที่โทรศัพท์มือถือของคุณโอภาส ซึ่งเป็นเบอร์จดทะเบียนจ่ายเงินรายเดือนของค่ายทรูมูฟ นับจากครั้งนั้นคุณโอภาสจะได้รับข้อความ SMS ลักษณะนี้วันละสองข้อความด้วยความงงๆ ว่า “มันส่งมาทำไม”คุณโอภาสไม่เคยส่งข้อความตอบกลับเลยสักครั้งเรื่องที่ไม่เป็นเรื่อง มาเป็นเรื่องเอาตอนที่บริษัท ทรูมูฟ ส่งใบแจ้งหนี้รายเดือนมา คุณโอภาสจึงทราบว่าข้อความ ”รัก รัก” ที่ส่งมานั้น เขาจะต้องเป็นผู้ชำระเงิน เมื่อสอบถามไปที่ทรูมูฟก็เจอคำตอบเหมือนผู้บริโภคอีกหลายรายว่า ข้อความที่มีการส่งมานั้นไม่เกี่ยวข้องกับบริษัท ทรูมูฟแต่อย่างใด แต่ขอให้ผู้บริโภคจ่ายเงินมา “ผมมีข้อสงสัยจากพฤติการณ์ของบริษัท ทรูมูฟ ว่าเป็นการฉ้อโกงประชาชนหรือไม่ เพราะมีการหลอกลวงผู้ใช้บริการด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และการหลอกลวงนั้นก็อาจทำให้ได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวง โดยการใช้อุบายในการส่งข้อความเชิญชวนให้ประชาชนที่เป็นผู้ใช้บริการหลงเชื่อทาง SMS แล้วอ้างว่าเป็นการกระทำของผู้อื่น โดยที่บริษัทไม่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยเลย” คุณโอภาสถามมา แนวทางแก้ไขปัญหา จะเข้าข่ายฉ้อโกงหรือไม่ก็ต้องมาดูกันที่องค์ประกอบในการกระทำผิด หากเป็นการหลอกลวงด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง ถ้าผู้ถูกหลอกลวงหลงเชื่อและส่งมอบทรัพย์หรือยอมให้ทรัพย์สินนั้นไปด้วยความเต็มใจ ถือเป็นความผิดฐานฉ้อโกง ในกรณีนี้ ข้อเท็จจริงมีว่า มีการส่งข้อความเชิญชวนให้ประชาชนทั่วไปที่เป็นกลุ่มผู้ใช้บริการหมายเลขโทรศัพท์แบบเหมาจ่ายรายเดือนเท่านั้น แล้วจึงมีการเรียกเก็บค่าบริการในภายหลัง ถ้ารายไหนไม่ทักท้วงยินยอมจ่ายไปโดยดีแล้วมารู้ตัวภายหลังว่าถูกหลอก ตรงนี้ก็อาจจะไปแจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษกับผู้ประกอบการที่ส่ง SMS มาเชิญชวน และผู้ให้บริการมือถือที่มีส่วนได้รับประโยชน์จากการรับและส่ง SMS ในข้อหาฉ้อโกงประชาชนได้ ส่วนผลคดีจะเป็นอย่างไรก็ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเขาสืบสวนกันต่อไป แต่ที่แน่ๆ ผู้ให้บริการมือถือจะต้องคืนเงินที่เรียกเก็บไปแล้วในส่วนของการรับส่ง SMS ที่ไม่พึงประสงค์นี้โดยทันทีแต่หากยังไม่มีการชำระค่าใช้จ่ายตามบิลที่เรียกเก็บมา ผู้บริโภคสามารถทักท้วงได้ว่า บริการ SMS ดังกล่าว ตนมิได้มีความประสงค์ที่จะสมัครใช้บริการแต่เกิดจากการหลอกลวง ขอให้บริษัทผู้ให้บริการมือถือระงับการเรียกเก็บค่าบริการดังกล่าวโดยทันที แต่หากจะยังบังคับขืนใจให้ต้องจ่าย เช่น ขู่ว่าหากไม่จ่ายจะถูกตัดสัญญาณระงับการให้บริการ แล้วผู้บริโภคต้องจำยอมจ่าย มาถึงตรงนี้ก็จะเข้าองค์ประกอบความผิดของการกรรโชกทรัพย์ได้เพื่อป้องกันปัญหาด้านคดีความที่อาจจะเกิดขึ้น ผู้ให้บริการมือถือควรทราบถึงหน้าที่ของตนเอง เมื่อผู้บริโภคได้แจ้งว่าไม่ได้ประสงค์ที่จะใช้บริการ SMS ดังกล่าว ควรที่จะระงับการบริการนั้นทันทีและห้ามมิให้มีการเรียกเก็บเงินค่าบริการกับผู้บริโภค หรือหากมีการเรียกเก็บเงินไปแล้วจะต้องคืนให้กับผู้บริโภคทันทีโดยช่องทางใดทางหนึ่ง เช่น เป็นส่วนลดในรอบบิลถัดไป เป็นต้น

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 126 เจ็บใจอยากฟ้องบริษัทลิสซิ่ง สงสัยแกล้งขายรถทอดตลาดราคาต่ำ

ทั้งที่ตัดสินใจถวายรถคืนบริษัทเช่าซื้อไปแล้ว ก็ยังต้องถูกฟ้องให้ชดใช้หนี้ค่าเช่าซื้อที่ขาดอีก และมาชีช้ำซ้ำอีกครั้ง ที่บังเอิญไปเจอรถยนต์ตัวเองถูกขายต่อให้คนอื่นในราคาที่สูงกว่าราคาขายทอดตลาดเกือบแสนคุณภูวดล เขียนจดหมายมาถึงมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคด้วยความขมขื่นใจเป็นล้นพ้นว่า เมื่อกลางปี 2551 ตนได้เช่าซื้อรถยนต์ฮอนด้าแอคคอร์ดมือสองกับบริษัท ราชธานี ลิสซิ่ง จำกัด(มหาชน) ในราคารวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วเป็นเงิน 475,000 บาทเศษ ผ่อน 48 งวด งวดละ 9,911 บาท(ในจดหมายไม่ได้บอกว่าผ่อนไปได้กี่งวด แต่เมื่อตรวจดูคำฟ้องที่บริษัทฟ้องเรียกค่าเสียหายกับคุณภูวดล ได้ความว่ามีการส่งค่างวดไปเพียงแค่สองงวดเท่านั้น จากนั้นก็ไม่ได้ส่งอีกเลย)หลังจากถูกติดตามทวงถามยึดรถคืนตั้งแต่ปลายปี 2551 ท้ายสุดคุณภูวดลตัดสินใจบอกบริษัทฯ ไม่ต้องส่งคนมายึดรถแล้ว เดี๋ยวจะเป็นคนส่งมอบรถยนต์คืนให้เอง ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2552 คุณภูวนัยส่งมอบรถยนต์คืนให้บริษัทลิสซิ่ง ต่อมาวันที่ 9 มีนาคม ปีเดียวกัน บริษัทฯ มีหนังสือบอกกล่าวการขายทอดตลาดรถยนต์คันที่ส่งคืนมาถึงคุณภูวดลด้วยจดหมายลงทะเบียนตอบรับ และได้นำรถออกขายทอดตลาดในวันที่ 13 มีนาคม 2552 หรืออีก 4 วันต่อมา ในราคา 300,000 บาท ให้กับบุคคลภายนอกรายหนึ่งไปจากนั้นบริษัทฯ ได้นำเงินในส่วนที่ขายรถได้มาหักลบกลบหนี้ค่าเช่าซื้อที่ขาดอยู่ ปรากฏว่าก็ยังขาดอยู่อีก 141,000 บาท บริษัทฯ จึงยื่นฟ้องคุณภูวดลเรียกค่าเสียหายในส่วนนี้ และมีลูกตามน้ำคือ ค่าติดตามทวงถาม 7,200 บาท ค่าขาดประโยชน์นับแต่วันที่ผิดนัดค่างวดจนถึงวันที่ได้รถคืนเป็นเวลา 5 เดือนอีก 45,000 บาท รวมเป็นเงินค่าเสียหายที่คุณภูวดลถูกฟ้อง 193,200 บาทเมื่อถูกฟ้องคุณภูวดลก็ไม่รู้ว่าจะต่อสู้คดียังไง ศาลจึงมีคำพิพากษาให้เขาชดใช้ค่าเสียหายให้กับบริษัทลิสซิ่งแห่งนี้ ในท้ายที่สุด แต่ที่ทำให้คุณภูวดลชีช้ำกะหล่ำปลีเพิ่มขึ้นก็คือ วันหนึ่งคุณภูวดลบังเอิญไปเจอรถยนต์คันที่ตัวเองเคยเช่าซื้ออยู่บนถนน ก็ตามไปจนได้พูดคุยกับผู้ที่ครอบครองรถอยู่ ผู้ครอบครองรถได้ให้สำเนาหนังสือสัญญาซื้อขายรถมาให้ดูพบว่า มีการขายในราคา 393,000 บาท เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2552 คุณภูวดลถึงกับอึ้งและคิดว่าการขายทอดตลาดเมื่อ 13 มีนาคม 2552 นั้นมีการฮั้วราคากันระหว่างบริษัทลิสซิ่งกับคนซื้อ จึงเขียนจดหมายมาถึงมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเมื่อกุมภาพันธ์ 2554 สอบถามว่า จะฟ้องบริษัทลีสซิ่งแห่งนี้เป็นคดีผู้บริโภคได้หรือไม่ที่ขายรถทอดตลาดได้ในราคาถูกเกินไป ทำให้ตนได้รับความเสียหายต้องชดใช้หนี้ส่วนต่างที่สูงเกินสมควร แนวทางแก้ไขปัญหา ต้องบอกว่าผู้บริโภคท่านนี้ตื่นตัวช้าไปนิดนะขอรับ เหตุเกิดเมื่อปี 52 แต่มาเขียนถามกันในปี 54 เจออย่างนี้ก็ต้องบอก “อย่างนี้ก็มีด้วย” ก็คงให้ได้แต่คำแนะนำและชี้จุดบกพร่องผิดพลาดให้ทราบไว้เป็นบทเรียนสำหรับท่านอื่นๆ ครับ จุดที่หนึ่ง การที่ผู้เช่าซื้อรถยนต์จะขอบอกเลิกสัญญา และคืนรถที่เช่าซื้อนั้น ควรมีการตรวจสอบสภาพรถและประเมินราคารถก่อนทำการคืนเพื่อใช้เป็นหลักฐานจุดที่สอง การนำรถที่ยึดมาไปขายให้แก่บุคคลอื่นนั้น จากข้อเท็จจริงที่ได้รับทราบ พอที่จะบอกได้ว่าบริษัทลิสซิ่งแห่งนี้มีการกระทำที่ผิดสัญญาต่อผู้บริโภค คือระยะเวลาในการบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นหนังสือกับระยะเวลาที่นำรถออกขายทอดตลาดห่างกันแค่ 4 วันเท่านั้น อันนี้เป็นข้อพิรุธ ในขณะที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้กำหนดสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ รถจักรยานยนต์เป็นสัญญาควบคุมและกำหนดให้ระยะเวลาการบอกกล่าวก่อนนำรถออกขายจะต้องไม่น้อยกว่า 7 วัน เพื่อให้ผู้เช่าซื้อใช้สิทธิซื้อได้ตามมูลค่าหนี้ส่วนที่ขาดอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อ จุดที่สาม เมื่อมีการนำรถออกขายทอดตลาด ผู้เช่าซื้อควรเข้าไปดูการประมูลด้วยตนเองว่า เป็นการประมูลขายทอดตลาดที่เหมาะสมหรือไม่ ทั้งนี้เนื่องจากสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ รถจักรยานยนต์ ที่คณะกรรมการคุมครองผู้บริโภคควบคุมนั้นได้ระบุอย่างชัดเจนว่า การที่ผู้เช่าซื้อและผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดส่วนที่ขาดนั้น ก็เฉพาะกรณีการขายโดยวิธีประมูลหรือขายทอดตลาดที่เหมาะสมเท่านั้น ซึ่งหากผู้เช่าซื้อสามารถพิสูจน์ได้ว่าการประมูลหรือขายทอดตลาดรถเป็นไปในลักษณะที่ไม่เหมาะสม ละเมิดสัญญากับผู้เช่าซื้อตามที่ว่ามา ศาลก็อาจจะพิจารณายกฟ้องก็เป็นได้แต่เมื่อผู้บริโภคไม่ได้ทำอะไรเลยทั้งในขั้นตอนการตรวจสอบการประมูลหรือเข้าต่อสู้ในชั้นศาล ศาลก็จะพิพากษาไปตามข้อเท็จจริงที่ได้รับจากฝ่ายบริษัทฯ เท่านั้น และเป็นการยากที่จะดำเนินการฟ้องใหม่และอาจจะถูกพิจารณาว่าเป็นการรื้อร้องฟ้องซ้ำไม่มีประโยชน์ใดๆ เพราะไม่ได้เข้าไปค้านในเวลาที่บริษัทฯ ขายทรัพย์ และไม่ได้เข้าต่อสู้คดีเมื่อถูกฟ้องนั่นเอง ส่วนผู้ที่มาซื้อรถในการขายทอดตลาดโดยซื้อในราคาถูกเพื่อไปขายเอากำไรในภายหลังก็สามารถทำได้โดยชอบ ดังนั้นผู้บริโภคที่ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ รถจักรยานยนต์ หากพบว่าตนเองจะไม่สามารถผ่อนค่างวดรถต่อไปได้ และยังเหลือค่างวดอีกบานตะไท การขายดาวน์รถอาจเป็นทางเลือกหนึ่งแต่จะต้องไม่ทำการซื้อขายกันเองเด็ดขาด เพราะผู้ซื้อรถต่ออาจไม่ส่งค่างวดกับบริษัทเช่าซื้อตามที่รับปากก็ได้ ทางที่ดี...ควรจะจูงมือกันไปที่ไฟแนนซ์เปลี่ยนชื่อของผู้เช่าซื้อและผู้ค้ำประกันในสัญญาเช่าซื้อให้เป็นชื่อและผู้ค้ำประกันของผู้ซื้อรถรายใหม่เสียให้เรียบร้อย อย่างนี้ปลอดภัยไม่โดนฟ้องร้องในภายหลังครับ  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 125 ทำอย่างไรจะเข้าใจภาษา “พยากรณ์อากาศ”

 ท่ามกลางสภาพปัญหาการเปลี่ยนแปลงของลมฟ้าอากาศ ซึ่งส่งผลกระทบ กับคนทั่วโลก ทั้งเรื่องน้ำท่วม ฝนแล้ง แผ่นดินไหว ดินโคลนถล่ม ฯลฯ โดยเฉพาะสภาพอากาศที่มีความเปลี่ยนแปลงสูงมากอย่างที่เราๆ ท่านๆ เห็นอยู่ ไม่ใช่หน้าหนาวมันก็หนาว ไม่ใช่หน้าฝน ฝนก็มา เรียกได้ว่ามันกลับตาลปัตรไปหมดนั้นหลายคนได้รับความเดือดร้อนเสียหายอย่างตั้งตัวไม่ทัน หลายคนอยู่ในอาการตื่นตระหนกกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ และที่ใกล้ตัวที่สุดคือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย แต่ยังดีที่สังคมไทยของเราเป็นสังคมที่ไม่ทอดทิ้งกัน แม้จะช่วยไม่ได้ทั้งหมดแต่ก็ช่วยบรรเทาเบื้องต้นได้บ้าง และด้วยการเกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่ผิดเพี้ยนไปจากที่เคยเป็น สิ่งเดียวที่จะทำให้เรารู้การเปลี่ยนแปลงนั้นคงหนีไม่พ้น การรอฟังพยากรณ์อากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่คอยเตือนประชาชนให้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงของ ลมฟ้าอากาศคำว่าพยากรณ์ แปลง่ายๆ ก็คือการทำนายทายทักล่วงหน้านั่นเอง แต่เขาทาย(คำนวณ)บนข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ และความทันสมัยของเทคโนโลยีในปัจจุบัน จึงเป็นการทำนายที่ค่อนข้างถูกต้องเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นการออกมาให้ข้อมูลการพยากรณ์อากาศจึงเป็นเรื่องที่ประชาชนให้ความสำคัญ แต่ปัญหาของคำพยากรณ์ในบ้านเราคือการใช้ภาษาสื่อสารที่ทำให้ชาวบ้านฟังแล้วเข้าใจยากหรือไม่เข้าใจเลย วันก่อนผู้เขียนนั่งฟังเองแล้วก็งง..เอง เช่น “วันนี้มีฟ้าหลัวตอนกลางวัน” ฟังแล้วงง..ฟ้าหลัวคืออะไร หลัวแล้วเป็นยังไง? ถ้าไม่หลัวแล้วจะเกิดอะไร? ผู้เขียนก็พยายามไปสืบค้นหาคำตอบแล้วก็ได้มาว่า ฟ้าหลัวตอนกลางวันหมายความว่า มีหมอกกลางแดดหรือที่เรียกกันว่า “หมอกแดดนั่นเอง” ซึ่งไม่ได้ทำให้อากาศเปลี่ยนแปลงอะไร (อ้าว....แล้วมาบอกเราทำไม?) อีกหลายคำคือ “ความชื้นสัมพัทธ์กี่ %” “ฝนตกกี่มิลลิเมตร” ฟังแล้วไม่เข้าใจว่าเขากำลังสื่อสารอะไรกับเรา... แล้วหากความชื้นมากจะเกิดอะไร? ความชื้นน้อยจะเกิดอะไร? ฝนตกกี่มิลลิเมตรจึงเรียกว่าปกติ และกี่มิลลิเมตรที่ต้องระวัง กี่มิลลิเมตรที่มีอันตราย?... (และยังมีภาษาที่ฟังแล้วไม่เข้าใจอีกหลายส่วน) ที่ผู้เขียน เขียนถึงเรื่องนี้เพราะข้อมูลเหล่านี้มีความสำคัญอย่างยิ่งกับประชาชน ไม่ใช่แค่มาพูดตามหน้าที่ให้เสร็จๆ ไป และไม่ใช่ให้เรามีหน้าที่แค่ฟัง...แต่เราไม่รู้ว่าอุตุกำลังบอกอะไรเรา...เพราะการสื่อสารของอุตุฯ เกือบๆ จะเรียกได้ว่าเป็นภาษาเฉพาะของคนที่มีความเชี่ยวชาญด้านนี้เท่านั้นที่ฟังแล้วเข้าใจ ไอ้ชาวบ้านอย่างเราๆ ก็แค่ฟังให้มันผ่านๆ หูไปเท่านั้นที่เล่ามาก็แค่อยากส่งเสียงดังๆ ไปถึงผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง ว่าคำพยากรณ์ของท่านมีความสำคัญต่อประชาชนมากนะ... ได้โปรดช่วยใช้ภาษาสื่อสารที่ทำให้ชาวบ้านเขาฟังแล้วเข้าใจง่ายๆ หน่อยได้ไหม..ว่าสภาพฝนฟ้าอากาศกำลังจะเกิดอะไรขึ้น พวกเราจะได้เตรียมตัวได้ทันและรู้ข้อมูลไปพร้อมๆ กัน หนักจะได้กลายเป็นเบา การสื่อสารที่ประชาชนส่วนใหญ่ฟังไม่เข้าใจมันก็เหมือนไม่มีการสื่อสาร เราคิดว่าอุตุฯ ทำได้ ให้กำลังใจนะ เรารอภาษาที่ฟังแล้วรู้เรื่องอยู่จ้ะ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 125 ร้องหมอผ่าตัดทำเสียดวงตา

คุณปภาวี วัย 49 ปี มีอาชีพรับราชการพยาบาลที่โรงพยาบาลรัฐแห่งหนึ่งในจังหวัดพิษณุโลกคุณปภาวี มีอาการเจ็บป่วยทางสายตาทั้งสองข้าง และต่อมาได้เข้ารับการรักษาผ่าตัดรักษาจอประสาทตา ทั้งหมด 4 ครั้งเป็นการผ่าตัดจอประสาทตาขวาที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ 1 ครั้ง เมื่อ 6 สิงหาคม 2552 อีก 3 ครั้งเป็นการผ่าตัดจอประสาทตาซ้ายโดยแพทย์ของโรงพยาบาลรามาธิบดี ผ่าตัดในวันที่ 4 มีนาคม, 4 เมษายน และ 28 เมษายน 2553คุณปภาวีได้ให้ข้อมูลว่า การผ่าตัดตาทั้งสองข้าง ทำการรักษาโดยการยิงเลเซอร์  ผ่าตัดเปลี่ยนน้ำวุ้นในตาและอัดแก๊สไว้ นอนคว่ำนาน 1 เดือนครึ่งทุกครั้ง “ดิฉันได้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์เหมือนกันทุกครั้ง”ผลการรักษาที่ได้รับคือ จอประสาทตาด้านขวากลับมามองเห็นได้หลังการผ่าตัด ส่วนตาข้างซ้ายหลังการผ่าตัดถึง 3 ครั้ง ตากลับมืดบอดสนิทมองไม่เห็นอะไรเลยคุณปภาวีบอกถึงสาเหตุที่มาเข้ารับการรักษาที่ ร.พ. รามาธิบดีว่า เนื่องจาก ร.พ.จุฬาลงกรณ์ เครื่องยิงเลเซอร์เสีย แพทย์จึงได้เขียนใบส่งตัวให้ไปรักษาต่อที่อื่น“ดิฉันจึงไปที่ ร.พ.รามาฯ ซึ่งอยู่ใกล้กัน คิดว่าแพทย์คงจะชำนาญในการรักษาเช่นเดียวกัน แต่ผลที่ได้กลับตรงกันข้ามทั้งที่ทำการผ่าตัดรักษาเหมือนกัน แต่แพทย์เข้ามาชี้แจงว่า ตำแหน่งจอตาฉีกขาดนั้นต่างกัน คือตาขวาเป็นด้านบนจะติดง่ายกว่า ส่วนตาซ้ายเป็นด้านล่าง”ด้วยความที่มีอาชีพเป็นพยาบาลคุณปภาวี มีความเห็นว่าการผ่าตัดที่ ร.พ.รามาธิบดี อาจมีข้อบกพร่อง เช่น“ผ่าตัดครั้งแรกกับนายแพทย์.......ซึ่งดิฉันไม่ทราบว่ามีความชำนาญพร้อมเพียงพอที่จะทำการรักษาหรือไม่ เพราะได้ยินพยาบาลห้องผ่าตัดพูดกับแพทย์คนนี้ว่า ไม่เป็นไรหรอกหมอ..... อีกเดือนเดียวก็จะจบแล้ว” “การผ่าตัด(ตาข้างซ้าย)ครั้งแรก ใช้เวลานานมากคือ 3 ชั่วโมงกว่า (ขณะที่ร.พ.จุฬาฯ ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง) ดิฉันปวดมากจนต้องขอฉีดยาชาเพิ่ม”หลังรู้ผลการผ่าตัดตาข้างซ้ายของตนว่า ตามืดบอด คุณปภาวี จึงได้ไปตรวจที่ ร.พ.ศิริราช จักษุแพทย์ได้บอกว่า ทำอะไรไม่ได้แล้วเพราะจอตาเป็นแผลเป็น ลักษณะก้อนแข็งกลม ถ้าแผ่เป็นแผ่นบางๆ ก็อาจจะทำได้“ดิฉันถามว่าทำไมถึงเป็นอย่างนั้น แพทย์บอกว่ามันเป็นภาวะแทรกซ้อนซึ่งเกิดขึ้นได้”หลังจากนั้นคุณปภาวีจึงได้ไปทำบันทึกข้อความร้องเรียนไว้ที่สำนักผู้อำนวยการโรงพยาบาลรามาธิบดี และต่อมาผู้อำนวยการโรงพยาบาลแห่งนี้ ได้เรียกคุณปภาวีเข้าไปคุยบอกว่า “โรงพยาบาลไม่มีนโยบายจะจ่ายเงินชดเชย เพราะท่านไม่มีอำนาจไม่ใช่คณบดี ได้แต่บอกว่า จะช่วยผ่าตัดตาขวาซึ่งมีต้อกระจกให้”คุณปภาวีปฏิเสธข้อเสนอดังกล่าว เพราะเห็นว่าตนได้รับความเดือดร้อนมาก เนื่องจากจะไม่ได้รับเงินเพิ่มค่าตอบแทนพิเศษในอาชีพของตนเองจากที่เคยได้รับเดือนละ 2,000 บาท“ตาที่มองไม่ชัดทำให้ทำคลอดไม่ได้ เย็บแผลไม่ได้ ทำหัตถการต่างๆ ไม่ได้เลย ตอนนี้ก็ช่วยสรุปเขียนแฟ้มประวัติผู้ป่วยกลับบ้าน ส่งแฟ้มคืนห้องบัตร ทำเรื่องเกี่ยวกับเอกสารต่างๆ มากกว่า”“ดิฉันอยากเรียกร้องค่าเสียหายจากทางโรงพยาบาลรามาฯ ไม่ทราบว่าจะได้หรือไม่” คุณปภาวีทิ้งคำถามสำคัญ แนวทางแก้ไขปัญหาหลังจากได้รับเรื่องร้องเรียน เจ้าหน้าที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง และทำจดหมายขอเข้าพบเพื่อรับทราบคำชี้แจงเกี่ยวกับมาตรฐานการรักษาพยาบาลกับผู้อำนวยการโรงพยาบาลรามาธิบดี เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2554 และในวันที่ 1 มีนาคม 2554 ผู้บริหารของโรงพยาบาลรามาธิบดีจึงได้นัดเจรจากับคุณปภาวีพร้อมครอบครัว และเจ้าหน้าที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเพื่อหาข้อยุติกรณีร้องเรียน จากการเจรจาในวันนั้น โรงพยาบาลรามาธิบดียินดีจ่ายเงินช่วยเหลือให้กับผู้เสียหาย เป็นเงินทั้งสิ้น 278,500 บาท ประกอบด้วยค่าพาหนะ ค่าที่พัก ค่าอาหาร และค่าสูญเสียรายได้ต่อมาในวันที่ 29  มิถุนายน 2554 ที่ผ่านมาคุณปภาวีพร้อมกับเจ้าหน้าที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้เข้าพบเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลรามาธิบดี ตามนัด และรับเงินช่วยเหลือตามจำนวนดังกล่าวเป็นที่เรียบร้อย“การรักษาดวงตานั้นมีความเสี่ยงสูง  โรงพยาบาลไม่ควรจะให้นักศึกษาแพทย์หรือแพทย์ฝึกหัดมาทำการรักษา เพราะอาจเกิดความผิดพลาดกับผู้ป่วยได้เพราะยังไม่มีความชำนาญในการรักษา และอยากจะให้เรื่องของดิฉันเป็นตัวอย่างหรืออุทาหรณ์เตือนใจทั้งแพทย์และการแสดงความรับผิดชอบของโรงพยาบาลว่าไม่ควรจะเกิดเหตุการณ์แบบนี้อีก” คุณปภาวีกล่าว

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 125 True Fitness ไม่อนุญาตให้โอนสมาชิกภาพ

ช่วงที่ผ่านมา เว็บไซต์ www.consumerthai.org ของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค มีเรื่องร้องเรียนของผู้บริโภคเกี่ยวกับบริการของ True Fitness อยู่หลายราย ลองมาดูตัวอย่างกัน“ดิฉันสมัครสมาชิก True Fitness ที่สาขาแครายไว้ค่ะ” คุณยุพานามสมมติของผู้บริโภครายหนึ่ง เริ่มเรื่องตอนที่สมัครเซลล์แจ้งว่า ถ้าอนาคตไม่ต้องการใช้บริการต่อก็สามารถโอนหรือขายต่อสมาชิกภาพให้ผู้อื่นได้ ดิฉันจึงเซ็นสัญญาไปและชำระเงินค่าสมาชิกราย 2 ปีไปครบเรียบร้อยแล้วแต่เมื่อวานติดต่อไปที่ฟิตเนสเพื่อสอบถามเรื่องการโอนสมาชิกให้เพื่อน พนักงานปฏิเสธเสียงแข็งว่า "เดี๋ยวนี้" โอนไม่ได้แล้วค่ะ ดิฉันเถียงกลับไปว่าตอนสมัครทำไมเซลล์พูดว่าโอนได้ ขายได้ พนักงานก็ไม่ตอบคำถามนี้ พูดแต่เพียงว่า ปกติเราไม่อนุญาตให้โอนสมาชิกนอกจากจะมีเหตุผลด้านสุขภาพเท่านั้น ส่วนเหตุผลส่วนตัวอื่นๆ เช่น การย้ายที่อยู่ ติดภารกิจเรื่องงาน ฯลฯ ไม่สามารถนำมาเป็นข้ออ้างในการโอนได้ดิฉันลองดูในสัญญา ก็เขียนไว้แค่ว่า สมาชิกภาพนี้มีลักษณะพิเศษ ไม่สามารถโอนได้หากไม่ได้รับความยินยอมจากทางบริษัท ดิฉันสามารถดำเนินการอย่างไรได้บ้างคะ สิ่งที่เซลล์พูดก็เป็นเพียงคำพูดค่ะ ไม่ได้ระบุเป็นลายลักษณ์อักษร แต่มีสมาชิกหลายคนที่ได้รับข้อมูลจากเซลล์มาแบบเดียวกันว่าโอนให้คนอื่นได้ คำพูดของเซลล์ถือเป็นการเจตนาบิดพลิ้วสาระสำคัญของสัญญาได้ไหมคะ”ส่วนอีกรายก็เขียนร้องเรียนมาว่า “เจอปัญหาเดียวกันเลยค่ะ” “ตอนสมัครปีที่แล้วน้องเซลล์ก็พูดเป็นมั่นเป็นเหมาะ ว่าสามารถโอนสิทธิได้ แต่ว่าได้แค่ครั้งเดียว โดยมีค่าธรรมเนียม ซึ่งที่ผ่านมาเราก็รู้กันอยู่ว่าเขาโอนกันเยอะแยะ พอมาถึงตอนนี้ดิฉันกับเพื่อนต้องการโอนสิทธิให้คนอื่น กลับมาบอกเราว่าเมื่อก่อนโอนได้ เดี๋ยวนี้ไม่ให้โอนแล้ว ดิฉันไม่ได้มีความรู้เรื่องกฎหมายนะคะ แต่เห็นว่าถ้าตอนหลังจะยกเลิกเรื่องการโอน ก็ควรมีผลเฉพาะกับคนที่สมัครหลังจากออกกฎนี้หรือเปล่า และสัญญารุ่นใหม่ก็ควรระบุไปเลยว่าไม่ให้โอนสิทธิไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น”ปัญหาเป็นแบบนี้แนวทางการแก้ไขปัญหา จะต้องทำอย่างไร มาดูกัน แนวทางแก้ไขปัญหาขอตอบแบบในมุมของกฎหมายคดีผู้บริโภคเลยนะครับ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 11 ได้บัญญัติไว้ว่า ประกาศ โฆษณา คำรับรอง หรือการกระทำด้วยประการใดๆ ของผู้ประกอบธุรกิจซึ่งทำให้ผู้บริโภคเข้าใจได้ในขณะทำสัญญาว่าผู้ประกอบธุรกิจตกลงจะมอบให้ หรือจัดหาให้ซึ่งสิ่งของบริการ หรือสาธารณูปโภคอื่นใด หรือจะดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งให้แก่ผู้บริโภคเพื่อเป็นการตอบแทนที่ผู้บริโภคเข้าทำสัญญา หรือข้อตกลงใดๆ ที่ผู้ประกอบธุรกิจจะให้สิทธิประโยชน์แก่ผู้บริโภคเพิ่มเติมขึ้นจากที่ได้ทำสัญญาไว้ ให้ถือว่าข้อความ การกระทำหรือข้อตกลงดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบธุรกิจ ซึ่งผู้บริโภคสามารถนำสืบพยานบุคคล หรือพยานหลักฐานเกี่ยวกับข้อตกลงดังกล่าวได้ ถึงแม้ว่าการทำสัญญาเช่นว่านั้นกฎหมายจะกำหนดว่าต้องทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือและไม่ปรากฏข้อตกลงนั้นในหนังสือที่ได้ทำขึ้นก็ตามดังนั้น หากพบว่ามีลูกค้าหลายรายตกอยู่ในชะตากรรมเดียวกัน ก็สามารถชวนกันมาเป็นพยานพิสูจน์ข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ได้ว่า เซลล์ได้มีการสัญญาในเรื่องต่างๆ ตรงกันหรือไม่ ถ้าใช้แต่ตัวเองก็จะเป็นหลักฐานที่อ่อนไป ศาลอาจไม่เชื่อได้แต่ก่อนที่เรื่องจะไปศาลนั้น ควรทำหนังสือขึ้นมาฉบับหนึ่ง เรียนถึงกรรมการผู้จัดการบริษัท เรื่องขอโอนสมาชิกภาพ รายละเอียดก็ว่าไป...ว่าไม่ยอมให้มีการโอนโดยอ้างเรื่องสัญญา แต่สมาชิกคนอื่นๆ ต่างได้รับข้อเสนอจากพนักงานขายเป็นเสียงเดียวกันว่าสามารถโอนสมาชิกได้ จึงขอให้บริษัทพิจารณาดำเนินการโดยเร็วภายในกี่วันก็ว่าไป แล้วให้สำเนาท้ายจดหมายว่า เรียนถึงมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคจดหมายที่ส่งไปให้ผู้ประกอบธุรกิจนั้น ให้ส่งเป็นไปรษณีย์ตอบรับ เก็บสำเนาตัวจดหมายและใบตอบรับไว้เป็นหลักฐานเผื่อต้องฟ้องเป็นคดีผู้บริโภคล่าสุดมีข่าวดีเพิ่มเติม...คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้ประกาศให้ธุรกิจการให้บริการออกกำลังกายเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา ซึ่งให้สิทธิการเลิกสัญญาของผู้โภคได้ในกรณีต่อไปนี้1. ผู้ประกอบธุรกิจไม่มีอุปกรณ์ออกกำลังกายหรือบริการอื่นๆ ให้ตามที่สัญญา หรืออุปกรณ์ออกกำลังกายมีการชำรุดบกพร่อง หรือให้บริการได้ไม่เหมาะสมและเพียงพอเมื่อเทียบกับจำนวนสมาชิกและพื้นที่ออกกำลังกาย โดยผู้ประกอบธุรกิจไม่จัดหาอุปกรณ์ออกกำลังกายหรือบริการที่ใกล้เคียงกันมาทดแทนได้ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากผู้บริโภค2. ผู้บริโภคมีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรจากแพทย์ยืนยันว่า การใช้บริการออกกำลังกายต่อไป อาจจะก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ หรือสภาพร่างกาย หรือทำให้จิตใจผิดปกติได้3. ผู้บริโภคได้รับบาดเจ็บเนื่องจากผู้ฝึกสอนของผู้ประกอบธุรกิจ ไม่มีความรู้ความชำนาญ หรืออุปกรณ์ออกกำลังกายที่ไม่มีคำเตือนว่า ชำรุดบกพร่องเพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจได้มีเวลาปรับปรุงคุณภาพการบริการให้เป็นไปตามสัญญาควบคุมฉบับนี้ คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคจึงกำหนดให้ประกาศฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้ได้นับแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2554 เป็นต้นไป

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 125 กสิกรไทยหาดใหญ่ ชุ่ย ยอมให้เด็กเก้าขวบถอนเงินเอง

คุณวราภรณ์ เข้ามาร้องเรียนที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคว่า เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2553 ตนได้ไปเปิดบัญชีเงินฝากประจำกับธนาคารกสิกรไทย สาขาคาร์ฟูร์หาดใหญ่ให้กับลูกชาย 2 คนคนหนึ่งอายุ 9 ขวบ อีกคนอายุ 6 ขวบ เปิดเป็นบัญชีเงินฝากทวีทรัพย์ ระยะเวลาฝาก 24 เดือน เดือนละ 5,000 บาท เป็นยอดรวมเงินฝากทั้งสิ้น 120,000 บาท คุณวราภรณ์ผู้เป็นแม่เปิดบัญชีให้ลูกคนละบัญชี โดยใช้ชื่อของลูกชายทั้งสองคนเป็นชื่อเจ้าของบัญชี และมีเงื่อนไขการถอนเงินจากบัญชีว่าให้ลงลายมือชื่อของลูกที่เป็นเจ้าของบัญชีนั้นเพียงคนเดียว“ตลอดมาดิฉันได้มอบหมายให้นางกาญจนา เส้งสุข พี่เลี้ยงของเด็กเป็นผู้ดูแลนำเงินเข้าฝากให้ทุกเดือน จนเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2554 ดิฉันพบว่านางกาญจนา ได้ยักยอกเงินส่วนหนึ่งของดิฉันแล้วหนีหายไปไม่สามารถติดต่อได้อีกเลย ดิฉันได้แจ้งความดำเนินคดีแล้วเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2554”คุณวราภรณ์ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ต่อมาเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2554 ลูกชายคนโตอายุ 9 ขวบได้พูดเปรยขึ้นมาว่า นางกาญจนาเคยให้ตนกับน้องไปเซ็นเอกสารบางอย่างที่ธนาคาร“จึงเอะใจขึ้นมาค่ะ พอตรวจสอบไปที่ธนาคารปรากฏว่าได้มีการถอนเงินปิดบัญชีเงินฝากของเด็กทั้งสองคนไปเรียบร้อยแล้วค่ะ ตั้งแต่วันที่ 9 และ 10 กุมภาพันธ์ 2554”“ดิฉันได้สอบถามกับพนักงานธนาคารและผู้จัดการ(ธนาคารกสิกรไทย สาขาคาร์ฟูร์หาดใหญ่) ก็ได้รับคำตอบว่าได้ทำถูกต้องตามระเบียบธนาคารแล้ว เพราะเด็กเจ้าของบัญชีเป็นคนมาเซ็นชื่อถอนเงินเอง โดยหลักฐานที่พี่เลี้ยง(นางกาญจนา)นำมาด้วยมีเพียงสำเนาบัตรประชาชนของแม่และสำเนาทะเบียนบ้านของเด็ก ผู้จัดการสาขาให้คำแนะนำแค่ว่าให้เข้าแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ และหากต้องการให้ธนาคารรับผิดชอบก็ให้ดำเนินการตามกฎหมาย เพื่อให้เป็นไปตามขั้นตอนของธนาคาร” คุณวราภรณ์เล่าด้วยอารมณ์เซ็งสุดขีดที่เห็นธนาคารปัดความรับผิดชอบออกมาแบบนั้น “ดิฉันขอร้องเรียนมาเพื่อขอความเป็นธรรมแทนเด็กทั้งสองเพราะได้รับความเสียหายที่เกิดจากความประมาทของพนักงานธนาคารที่ให้เด็กยังไม่บรรลุนิติภาวะทำธุรกรรมการเงินได้โดยไม่มีผู้ปกครองที่ถูกต้องตามกฎหมายไปให้ความยินยอมด้วย และขอให้ธนาคารแสดงความรับผิดชอบต่อการกระทำของพนักงานด้วย” แนวทางแก้ไขปัญหาเจ้าหน้าที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคได้สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมทราบว่า มีการเบิกถอนเงินของลูกอายุ 9 ขวบเป็นเงิน 50,123.57 บาท และลูกคนเล็กของคุณวราภรณ์เป็นเงิน 50,124.57 บาท จากนั้นจึงได้นำเรื่องปรึกษาในข้อกฎหมายกับศูนย์ทนายความอาสาเพื่อผู้บริโภคของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และท้ายสุดได้มีข้อแนะนำให้คุณวราภรณ์ทำจดหมายแสดงเจตนาบอกล้างนิติกรรมการฝากถอนเงิน เนื่องจากการปิดบัญชีเงินฝากและเบิกถอนเงินของเด็กทั้งสองที่ธนาคารยินยอมให้เด็กผู้เยาว์ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะกระทำไปนั้น เป็นการกระทำที่ปราศจากความยินยอมของบิดามารดา ทำให้บิดามารดาในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมและบุตรผู้เยาว์ทั้งสองได้รับความเสียหาย และขอให้ธนาคารคืนเงินพร้อมดอกเบี้ยภายใน 7 วันนับแต่วันที่ได้รับจดหมายฉบับนี้ ซึ่งหากพ้นกำหนดคุณวราภรณ์และสามีซึ่งเป็นบิดามารดาโดยชอบด้วยกฎหมายสามารถดำเนินคดีกับธนาคารได้ตามกฎหมายต่อมาในเดือนเมษายน มูลนิธิฯ ได้ทราบความคืบหน้าจากคุณวราภรณ์ว่า ได้รับเงินคืนเต็มตามจำนวนทั้งหมด 100,274.72 บาท โดยธนาคารขอให้ผู้ร้องเซ็นหนังสือสัญญาว่าจะไม่ติดใจเอาความใดๆกับธนาคารฯ คุณวราภรณ์เห็นว่าตนได้รับเงินคืนครบตามจำนวนที่หายไป และธนาคารฯ รับปากว่าจะตามหาพนักงานที่กระทำผิดมาลงโทษ คุณวราภรณ์จึงขอยุติเรื่องร้องเรียนไว้แต่เพียงเท่านี้เรื่องนี้นับเป็นบทเรียนสำคัญกับผู้บริโภคทุกคนว่า อย่าไว้ใจทาง อย่าวางใจคน และต้องเพิ่มด้วยว่า “อย่าวางใจธนาคาร” ด้วยเช่นกัน  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 125 จองรถป้ายแดงดาวน์ถูก ระวังจะเสียรู้นายหน้า

เรื่องนี้เกิดขึ้นสดๆ ร้อนๆ ไม่นานมานี้เองสายของวันที่ 23 มิถุนายน 2554 คุณพงศ์วรัฐและคุณภูวนาถ เดินทางเข้ามาที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคด้วยสีหน้าบอกบุญไม่รับ“เมื่อสามวันที่แล้วผมสองคนเพิ่งไปทำสัญญาจองรถกับบริษัทสปอร์ต คาร์มา เป็นรถฮอนด้าซีวิคกับรถโตโยต้า วีโก้ ป้ายแดงทั้งคู่ครับ” คุณพงศ์วรัฐเริ่มเรื่อง“แล้วรู้จักมักจี่กับบริษัทนี้ยังไงคะถึงเข้าไปจองรถกับเขาได้” เจ้าหน้าที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคถาม“ก้อญาติของผมน่ะสิครับ เขาเพิ่งไปวางเงินจองรถนิสสัน มาร์ชกับเต๊นท์นี้มาเมื่อเดือนที่ผ่านมานี่เอง แต่เขายังไม่ได้รถนะครับ” คุณพงศ์วรัฐหมายถึงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาด้วยข้อเสนอจ่ายเงินดาวน์เพียง 15,000 บาท โดยวางเงินจอง 5,000 บาท  และจ่ายที่เหลือในวันรับรถอีก 10,000 บาท  แล้วออกรถได้เลย ทำให้คุณพงศ์วรัฐและคุณภูวนาถสองเพื่อนซี้ตาโต ควักเงินคนละ 5,000 บาทวางจองรถคันที่ต้องการทันทีในวันนั้น แม้จะผิดสังเกตและทักท้วงไปกับนายหน้าขายรถ ตรงที่ใบสัญญาจอง แทนที่จะระบุว่าเป็นสัญญาจองรถยนต์กับเขียนหัวกระดาษเป็นใบรับเงินค่าบริการที่มีข้อความว่าจะต้องเสียค่าบริการ 3,000 บาท ถ้าผู้จองรถไม่ได้รับการอนุมัติสินเชื่อจากไฟแนนซ์ แต่ก็คิดว่าไม่เป็นอะไรเพราะตนเองไม่มีปัญหาด้านหนี้ที่เกี่ยวข้องกับสถาบันการเงินต่างๆ อยู่แล้ว“ผมได้ทักท้วงไปเหมือนกัน แต่เซลล์บอกว่าไม่มีปัญหา เพราะถ้าไฟแนนซ์ผ่าน เงินที่จ่ายมาก็เป็นค่าดาวน์ที่ต้องนำไปหักอยู่แล้ว” คุณพงศ์วรัฐว่า ทำสัญญาจองรถไปเพียงแค่วันเดียววันรุ่งขึ้น วันที่ 21 มิถุนายน  คุณพงศ์วรัฐได้รับโทรศัพท์สายหนึ่งอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่ไฟแนนซ์แจ้งว่า เขาไม่ผ่านไฟแนนซ์ เพราะติดแบล็คลิสต์กับบริษัทบัตรเครดิต“ผมก็เอะใจล่ะครับ เพราะผมไม่เคยทำบัตรเครดิตหรือสินเชื่ออะไรจะติดแบล็คลิสต์ได้ยังไง” คุณพงศ์วรัฐจึงแจ้นไปปรึกษากับคุณภูวนาถและญาติซึ่งทั้งคู่ก็บอกว่าโดนแจ้งว่าไฟแนนซ์ไม่ผ่านเพราะติดแบล็คลิสต์เหมือนกัน ทั้งสามก็เลยต้องร่วมมือกันวางแผนที่จะตรวจสอบข้อมูลที่ได้รับแจ้งมาว่าจริงเท็จแค่ไหนเริ่มแรก คุณพงศ์วรัฐให้ญาติและคุณภูวนาถขอชื่อบริษัทไฟแนนซ์จากเต๊นท์รถ เซลล์แจ้งว่าได้ส่งข้อมูลขอสินเชื่อของญาติของคุณพงศ์วรัฐไปที่บริษัท เซนเตอร์ ลิสซิ่ง และของคุณภูวนาถส่งไปที่บริษัท เอเซียลิสซิ่ง  ญาติของคุณพงศ์วรัฐจึงได้ทำทีโทรศัพท์ไปสอบถามขอสินเชื่อกับบริษัทเอเซีย ลิสซิ่ง พนักงานบริษัทดังกล่าวแจ้งว่า เป็นเพียงเต๊นท์รถที่รับไถ่ถอนรถถูกยึด และรับจัดไฟแนนซ์เฉพาะรถมือสองเท่านั้น ไม่มีตัวแทนหรือนายหน้า ผู้ที่ใช้บริการต้องมาที่บริษัทเอง ส่วนนายภูวนาถก็สอบถามไปที่บริษัทเซนเตอร์ลิสซิ่งสลับกัน ก็ได้ข้อมูลทำนองเดียวกันว่าไม่รู้เรื่องการติดต่อขอสินเชื่อจากเต๊นท์รถที่ไปวางเงินมัดจำจองรถเลย คุณพงศ์วรัฐ  จึงรู้ว่าถูกหลอกแน่และรีบเข้ามาร้องเรียนกับมูลนิธิฯ เพื่อขอความช่วยเหลือเรียกเงินจองรถคืนทันที แนวทางแก้ไขปัญหาทันทีที่ได้รับเรื่องร้องเรียนในวันที่ 23 มิถุนายน 2554 เจ้าหน้าที่ของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคได้พาผู้เสียหายทั้งสาม เข้าแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในท้องที่เกิดเหตุทันที หลังจากร้อยเวรได้สอบสวนข้อเท็จจริงเรียบร้อย จึงลงบันทึกประจำวันรับแจ้งความไว้และขอให้ใช้วิธีเจรจาไกล่เกลี่ยกันก่อน ร้อยเวรได้ประสานไปที่สายตรวจให้เข้าไปที่เต๊นท์รถและแจ้งว่ามีผู้เสียหายมาแจ้งความและให้มาที่โรงพัก หลังจากนั้นประมาณ 14.00 น.ของวันเดียวกัน ตัวแทนของเต๊นท์รถจึงรีบแจ้นเดินทางมาที่โรงพักและขอคืนเงินทั้งหมดแก่ผู้เสียหายทั้ง 3 ราย รวมเป็นเงินจำนวน 15,000 บาทในทันที“คนมีรายได้น้อยอย่างพวกเรา แต่อยากได้รถยนต์เห็นดาวน์ถูกก็เลยตกเป็นเหยื่อ  แต่ถ้ารู้ตัวแล้วรีบแจ้งความเพื่อเอาผิดกับมิจฉาชีพพวกนี้ เราก็จะไม่สูญเสียทรัพย์สินไป อยากฝากเตือนไปถึงคนอื่นที่ต้องการมีรถ ขอให้ไปที่ตัวแทนจำหน่ายโดยตรงดีกว่า”คุณพงศ์วรัฐกล่าว

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 124 เครื่องหมายสัญลักษณ์ แห่งความอร่อย ใช้ได้จริงหรือ...

 พูดถึงความอร่อย...ท่านผู้อ่านคงรู้แล้วสินะว่า ผู้เขียนต้องเขียนเรื่องเกี่ยวกับอาหารแน่นอน ใช่ !คุณทายถูก วันนี้เราจะคุยกันเรื่องอาหารอร่อย(หรือเปล่า?)ว่าไปประเทศไทยของเราเป็นประเทศที่โชคดี   เพราะเรามีภูมิประเทศที่ดี มีความอุดมสมบูรณ์ และเป็นประเทศที่เป็นแหล่งผลิตอาหาร เราจึงรอดพ้นปัญหาการขาดแคลนอาหารอย่างที่หลายประเทศกำลังประสบอยู่ในปัจจุบัน    นอกจากไม่ขาดแคลนแล้วเรียกได้ว่ามีกินอย่างเหลือเฟืออีกต่างหาก  การที่มีมากเช่นนี้ทำให้เกิดการแข่งขันสูงมากเช่นกัน  ดังนั้นยุทธศาสตร์การโฆษณาสินค้า(อาหาร)ทั้งกลวิธี ยุทธวิธีที่ทันสมัยจึงถูกนำมาใช้สื่อสารกับประชาชนแบบท่วมท้นทะลักทลาย ทั้งนี้ก็เพื่อแข่งขันกันหาลูกค้าเพื่อความอยู่รอดของธุรกิจและผลกำไรวันก่อนมีคุณพี่คนหนึ่ง เป็นผู้ผลิตอาหารทะเลแปรรูป(ปลาหยอง) อันเป็นกลุ่มอาชีพในจังหวัดสมุทรสงคราม ได้มาคุยให้ฟังว่า   มีคนโทรมาติดต่อและแนะนำตัวว่าเป็นเจ้าของสัญลักษณ์สินค้าอร่อย.. ชื่อ “ช้อนทองชวนทาน” แล้วบอกว่าได้ซื้อสินค้าปลาหยองจากร้านค้าร้านหนึ่งในกรุงเทพฯ ไปรับประทาน แล้วบอกว่าอร่อยมาก  ต่อจากนั้นก็ได้บอกต่ออีกว่า “ช้อนทองชวนทาน” ของเธอนั้นได้จดทะเบียนไว้กับพาณิชย์(เขาหมายถึงกระทรวงพาณิชย์) มาสิบหกปีแล้ว   ถ้าใครเอาสัญลักษณ์ของเธอไปติดสินค้า สินค้านั้นจะขายดีขึ้น  หากตกลงเธอจะรีบส่งตราสัญลักษณ์มาให้แต่มีข้อแม้ว่าผู้ผลิตต้องจ่ายเงินค่าตราสัญลักษณ์นั้นให้เจ้าของตราสินค้าก่อน    คุณพี่ผู้ผลิตของเราเขาไหวพริบดีเลยตอบกลับไปว่า เอ๊ะ! ก็คุณบอกเองว่าปลาหยองของเราอร่อยอยู่แล้ว   และเราก็ได้ อย. และมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนแล้ว ทำไมต้องเสียเงินเพื่อซื้อสัญลักษณ์ของคุณ   เจ้าของสัญลักษณ์ก็เลยวางสายไป ที่นำเรื่องนี้มาเล่าสู่กันฟังเพื่ออยากจะสื่อสารกับผู้บริโภคว่า ไอ้เจ้าตราสัญลักษณ์ต่างๆ ที่มีทั้งแม่นั่นชิม แม่นี่รำต่างๆ มันน่าเชื่อถือแค่ไหน? หากมีการนำตราสัญลักษณ์เหล่านี้มาซื้อ-ขายในเชิงธุรกิจ โดยไม่ต้องคำนึงถึงคุณภาพ   เช่นรายที่เล่าให้ฟังนี้บอกขายสัญลักษณ์กันตรงๆ เลย โดยไม่ต้องลงไปตรวจแหล่งผลิต ไม่ต้องดูกรรมวิธีการผลิตใดๆ ชิมแล้วอร่อยบอกขายตราสัญลักษณ์กันเลยอย่างนี้   ถ้าเจ้าช้อนทองชวนทานนี้ มีกระทรวงพาณิชย์รับรองจริงอย่างที่กล่าวอ้าง ก็วานกระทรวงพาณิชย์ช่วยดูแลหน่อยเถอะ ชาวบ้านจะได้ไม่ต้องเหนื่อยใจ ผู้บริโภคอย่างเราๆ มันยิ่งหาที่พึ่งยากเสียด้วย  โน่น...คงต้องรอองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ที่กำลังถูกแช่อยู่ในชั้นวุฒิสภา(เมื่อประกาศยุบสภาการพิจารณากฎหมายต้องหยุดจนกว่าจะมีสภาใหม่) ก็ได้แต่หวังไว้เพียงว่ารัฐบาลใหม่เข้ามาคงจะยืนยันกฎหมายฉบับนี้ให้สามารถเดินหน้าต่อไปและมีผลบังคับใช้โดยเร็วรอลุ้นกันนะว่าใคร พรรคใดจะมาสานต่อเรื่องนี้ที่เรารอมา 14 ปี

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 124 โนเกียราคาเป็นหมื่น ซื้อใช้แค่ 11 วัน เจ๊ง!

คุณบุญเลิศ ฉลองปีใหม่ให้กับตัวเองด้วย โนเกีย C7-00 มือถือหน้าจอสัมผัส ซื้อด้วยเงินสดในราคา 13,950 บาทวันที่ไปซื้อนั้นเป็นวันที่ 2 มกราคม 2554 หลังวันขึ้นปีใหม่หนึ่งวัน โดยไปซื้อจากร้านจำหน่ายมือถือของบริษัท ทีจี เซลลูล่าร์เวิลด์ จำกัด ซึ่งมีสาขาอยู่บนชั้น 3 ของห้างเซ็นทรัล ปิ่นเกล้า แต่คุณบุญเลิศมีโอกาสใช้งานมือถือเครื่องนี้ได้เพียงแค่ 11 วันเท่านั้น เพราะในวันที่ 13 มกราคม ปรากฏว่าเครื่องเปิดใช้งานไม่ได้ จอภาพดับสนิทคุณบุญเลิศ จึงเดินทางออกจากบ้านพักที่คลองหลวง ปทุมธานี มาที่ร้านที่ซื้อมือถือมาซึ่งอยู่ที่ห้างเซ็นทรัล ปิ่นเกล้า“เอ่อ...เครื่องมันจอดับเลยครับ ขอเปลี่ยนเครื่องใหม่ได้มั้ยครับ” คุณบุญเลิศถามด้วยน้ำเสียงเกรงใจเหมือนกับว่าไปยืมมือถือเขามาใช้“เอ่อ ไม่ได้หรอกค่ะ เพราะพี่ซื้อไปใช้เกิน 7 วันแล้ว เกินระยะเวลาที่เรารับประกันการเปลี่ยนคืนสินค้านะคะ” พนักงานขายยิ้มละไม ตอบอย่างชัดถ้อยชัดคำหลังจากนับนิ้วดูจำนวนวันแล้ว“แล้วอย่างนี้ จะทำอะไรได้บ้างครับ มือถือราคาเหยียบหมื่นสี่ แต่ใช้งานได้แค่ 10 วันเอง”“ก้อส่งซ่อมสิคะ พี่ติดต่อที่ศูนย์โนเกียได้เลย” พนักงานขายตอบ ก่อนหันไปคุยกับลูกค้าคนใหม่ ปล่อยคุณบุญเลิศที่ยืนกำมือถือจอดับให้ตัดสินใจว่าจะพาชีวิตไปทางไหนต่อไปเอาเองคุณบุญเลิศนั้นเป็นผู้บริโภคกลุ่มใหญ่ของเมืองไทย คือ “ว่านอนสอนง่าย” มาตั้งแต่เกิดอยู่แล้ว หลังบรรลุว่าถูกร้านขายมือถือปัดความรับผิดชอบแน่นอน ก็ไม่ได้โวยวายตีโพยตีพายอะไร ยอมทำตามคำแนะนำที่ไร้เยื่อขาดใย พามือถือไปส่งซ่อมที่ศูนย์บริการของโนเกียที่ห้างฟิวเจอร์ปาร์ค รังสิต ในทันที พนักงานที่ศูนย์บริการโนเกียได้ตรวจสอบแก้ไขเครื่องในวันนั้น ไม่นานก็บอกว่าใช้ได้แล้ว คุณบุญเลิศถามด้วยความสงสัยว่าเครื่องเสียเพราะเหตุอะไร ช่างซ่อมบอกด้วยความมั่นใจสมเป็นช่างผู้เชี่ยวชาญประจำศูนย์มือถือที่ได้มาตรฐานว่า “ไม่ทราบสาเหตุเหมือนกันครับ”คุณบุญเลิศรับมือถือกลับมาใช้งานด้วยอาการงงๆ แต่ก็ดีใจว่ามือถือไม่เป็นอะไรมากคิดในใจว่า “ช่างนี่เก่งจริงๆ ซ่อมมือถือได้ ทั้งๆ ที่ไม่รู้สาเหตุ”จะเป็นเพราะความไม่รู้สาเหตุที่เครื่องเสียหรือเปล่าไม่ทราบแน่ เพราะต่อมาวันที่ 6 กุมภาพันธ์ มือถือเกิดอาการจอดับ หลับสนิท ขึ้นมาอีก คุณบุญเลิศต้องพาเครื่องมือถือไปที่ศูนย์โนเกียอีกครั้ง แต่ครั้งนี้เป็นการซ่อมที่ยาวนานเหมือนจะนานนิรันดร์สำหรับคุณบุญเลิศ เพราะนับแต่วันที่ 6 กุมภาพันธ์เรื่อยมา เรื่องราวข่าวคราวการซ่อมมือถือโนเกียราคาเกือบหมื่นสี่ไม่มีความคืบหน้าเลยเป็นเวลาเกือบสองอาทิตย์จึงต้องนำเรื่องมาร้องเรียนกับมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเพื่อขอความช่วยเหลือ แนวทางแก้ไขปัญหากรณีที่สินค้าที่ซื้อมานั้นเกิดความชำรุดบกพร่อง ไม่สามารถใช้งานได้ตามปกติโดยที่มิใช่ความผิดของผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าไปใช้งาน ไม่ว่าความชำรุดบกพร่องนั้นผู้ขายสินค้าจะรู้มาก่อนหรือไม่ก็ตาม ผู้ขายสินค้าต้องรับผิดชอบในสินค้าที่ชำรุดบกพร่องนั้น จะซ่อม จะเปลี่ยนคืน หรือคืนเงินให้กับลูกค้าก็ว่ากันไปแต่หากผู้ขายสินค้าไม่สนใจใยดี ห้ามผู้บริโภคปล่อยเรื่องนิ่งเฉยยาวนานเกินหนึ่งปี เพราะจะไม่สามารถฟ้องคดีบังคับให้ผู้ขายสินค้ารับผิดชอบได้ ตรงนี้เป็นข้อกฎหมายสำคัญที่ควรทราบกันดังนั้นแม้ผู้ขายสินค้าจะอ้างว่า ได้แปะป้ายแจ้งให้กับลูกค้าทราบอย่างแจ่มแจ้งแดงแจ๋แล้วว่าจะรับผิดชอบเปลี่ยนคืนสินค้าให้แค่ภายใน 7 วันนับแต่วันที่ซื้อสินค้าไป แต่เมื่อพบว่าสินค้าที่ซื้อมานั้น เสียใช้งานไม่ได้ ซ่อมแล้ว แล้วก็ต้องซ่อมอีก เป็นอย่างนี้ ผู้บริโภคยังมีสิทธิที่จะขอเปลี่ยนสินค้าได้แม้จะเกิน 7 วันไปแล้วก็ตามเราได้แนะนำให้คุณบุญเลิศมีจดหมายไปถึงบริษัทโนเกียสำนักงานใหญ่ เพื่อเสนอทางเลือก 3 ทางคือ ให้รับผิดชอบซ่อมแก้ไขสินค้าโดยเร็ว หากซ่อมไม่ได้ให้เปลี่ยนสินค้าใหม่ หรือหากเปลี่ยนสินค้าให้ใหม่ไม่ได้ให้คืนเงินค่ามือถือโดยทันที มิเช่นนั้นผู้บริโภคอาจฟ้องเป็นคดีผู้บริโภคได้ ซึ่งสามารถเรียกค่าเสียหายได้ทั้งราคาค่าสินค้า และค่าขาดโอกาสในการใช้มือถือดังกล่าวไม่นานหลังจากที่ได้ทำหนังสือตามคำแนะนำไป เราได้รับแจ้งจากคุณบุญเลิศว่า โนเกียได้ซ่อมสินค้าจนสามารถใช้งานได้เป็นปกติแล้ว โดยการเปลี่ยนชุดเมนบอร์ดของเครื่องใหม่ให้“ขอขอบพระคุณมูลนิธิฯ ที่ได้ให้คำแนะนำและติดตามเรื่องอย่างต่อเนื่อง ขอโทษที่ไม่ได้โทรมาแจ้งตอนนี้ มือถือใช้งานได้เป็นปกติมากว่า 2 เดือนแล้วครับ” คุณบุญเลิศกล่าวด้วยความสบายใจ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 124 กู้แบงค์ผ่าน แต่คุณภาพบ้านไม่ผ่าน อยากบอกเลิกสัญญาขอเงินค

  เป็นปัญหาเรื่องบ้านๆ ที่ฉีกไปอีกมุม แต่น่าสนใจไม่แพ้ในหลายเรื่องที่เคยนำเสนอไปคุณสุปราณี ส่งแฟกซ์ขอคำปรึกษามาที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเมื่อประมาณต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2554 ที่ผ่านมาเธอเล่าว่า เมื่อประมาณวันที่ 27 พฤศจิกายน 2553 ได้เข้าไปดูตัวอย่างบ้านที่โครงการโฮมการ์เด้นวิลล์-บายพาส ของบริษัท อิมเมจ พร็อพเพอร์ตี้ ทู จำกัด ซึ่งตั้งสำนักงานขายอยู่ที่ถนนรัตนพิธาน อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมาดูแบบบ้านตัวอย่าง เห็นรายการของแถมต่างๆ พิจารณาราคาบ้านและที่ดินตก 1.6 ล้าน แถมโครงการยังมีสัญญาที่มีเงื่อนไขว่า หากกู้ธนาคารไม่ผ่าน 90% ของราคาบ้านและที่ดิน โครงการยินดีคืนเงินจองเงินทำสัญญาให้ลูกค้าทันทีคุณสุปราณีเธอปิ๊งทันทีครับ เห็นสัญญาและเงื่อนไขแบบนี้ จึงตกลงวางเงินจองเงินทำสัญญารวม 40,000 บาทในวันนั้นทันทีคุณสุปราณี คงเป็นคนที่มีเครดิตดีมากในสายตาของธนาคาร เพราะผลการอนุมัติเงินกู้จากธนาคารผ่านเกิน 90% ของราคาบ้านและที่ดิน จึงโทรไปแจ้งโครงการเพื่อนัดโอนบ้านในช่วงบ่ายของวันที่ 27 มกราคม 2554 และไม่ลืมแจ้งกับโครงการว่าจะขอเข้าตรวจเช็คสภาพความเรียบร้อยของบ้านก่อนในช่วงเช้าของวันที่นัดหมายโอนบ้านการขอดูความเรียบร้อยของบ้านก่อนโอนถือเป็นความรอบคอบที่คุ้มค่ามาก ในวันที่ 25 มกราคมก่อนถึงวันโอนบ้าน 2 วัน คุณสุปราณีไปเซ็นสัญญาเงินกู้กับธนาคารเพื่อเตรียมจ่ายเช็คให้กับโครงการตามวันที่นัดไว้ แต่พอได้ไปดูสภาพบ้านในช่วงเช้าของวันโอน ก็ต้องร้องโอย...เพราะสภาพบ้านยังไม่เรียบร้อย ช่างไม่มีการเก็บงานและยังไม่ติดตั้งของแถมให้ตามเงื่อนไข ตัดสินใจเซย์โนไม่โอนบ้านทันที วันรุ่งขึ้นโทรศัพท์ไปแจ้งเซลล์ว่าขอยกเลิกไม่โอนบ้าน วันที่ 2 กุมภาพันธ์ เดินทางเข้าไปเซ็นเอกสารขอเงินค่าทำสัญญาคืน แต่พอถึงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ เซลล์โทรมาแจ้งว่าบ้านเสร็จเรียบร้อยแล้ว และไม่คืนเงินทั้งหมดให้คุณสุปราณีจึงส่งเรื่องมาขอคำปรึกษาว่าจะทำอย่างไรดี เพราะเสียความรู้สึกไปตั้งแต่ทีแรกแล้วกับการดำเนินการของโครงการ แนวทางแก้ไขปัญหาการที่ผู้ประกอบธุรกิจเป็นฝ่ายผิดสัญญา ไม่สามารถสร้างบ้านให้เสร็จเรียบร้อยได้ในระยะเวลาที่กำหนดกันไว้ตามสัญญา แม้จะหลุดไปเพียงแค่วันหรือสองวัน ผู้บริโภคมีสิทธิใน 2 ทางเลือก คือ จะรับโอนบ้านหรือยืนยันบอกเลิกสัญญาขอเงินจองเงินทำสัญญาคืนก็ได้เข้าใจว่า คุณสุปราณี เธอคงไม่แน่ใจในคุณภาพบ้านว่าจะเรียบร้อยจริงหรือเปล่าตามที่เซลล์บอกมา และไม่อยากเสียเวลากับโครงการ จึงยืนยันเจตนาที่จะขอบอกเลิกสัญญาและขอเงินค่าทำสัญญาคืน เราจึงแนะนำให้ทำจดหมายบอกเลิกสัญญาขอเงินคืนแจ้งถึงกรรมการผู้จัดการฝั่งผู้ประกอบธุรกิจไปให้ชัดแจ้ง พร้อมเขียนท้ายจดหมายว่าสำเนาถึงมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค โดยไม่ต้องไปส่งด้วยตัวเอง แต่ให้ใช้วิธีส่งเป็นจดหมายลงทะเบียนตอบรับไปไม่นาน...คุณสุปราณีก็ได้รับเงินคืนตามข้อเรียกร้องเป็นที่เรียบร้อย ถือเป็นบทเรียนสำคัญสำหรับฝั่งผู้ประกอบธุรกิจว่า “สัญญาต้องเป็นสัญญา” ถ้าไม่รักษาสัญญากับผู้บริโภคที่มีความฉลาดขึ้น รับประกันว่าขายสินค้าไม่ได้แน่นอน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 124 เขียนจดหมายสองฉบับ ช่วยสร้างบ้านให้เสร็จได้

“เหนือกว่า...ด้วยประสบการณ์”สโลแกนรับจ้างสร้างบ้านของซีคอนโฮมที่ดำเนินการโดยบริษัท ซีคอน จำกัด น่าจะสร้างความประทับใจให้กับคนอยากมีบ้านหลังงามบนที่ดินของตัวเองหลายคน และสองแม่ลูกอย่างคุณชไมพรและคุณแม่เพียงพร ก็น่าจะรวมอยู่ในคนจำนวนนั้นด้วย ย้อนหลังไปเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2551 คุณชไมพรพร้อมคุณแม่ได้ไปทำสัญญารับเหมาก่อสร้างบ้านกับบริษัท ซีคอน จำกัด ให้สร้างบ้านหนึ่งหลังบนที่ดินของตัวเองเนื้อที่ 52 ตารางวาเศษ โดยซีคอนตกลงจะก่อสร้างบ้านให้แล้วเสร็จภายใน 360 วัน คิดค่าวัสดุอุปกรณ์ ค่าแรง รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม เบ็ดเสร็จแล้วอยู่ที่ 5.1 ล้านบาทเศษๆสองแม่ลูกต้องวางเงินในวันทำสัญญาจำนวน 7 แสนบาทเศษ ส่วนที่เหลืออีก 4.3 ล้านบาท สัญญากันว่าจะแบ่งจ่ายเป็นงวดๆ อีก 6 งวดตามความก้าวหน้าของเนื้องานก่อสร้าง และหากบริษัทฯ ทำงานไม่แล้วเสร็จตามกำหนดโดยที่มิใช่ความบกพร่องของผู้ว่าจ้าง หรือเหตุสุดวิสัย บริษัทฯ ยินยอมให้ปรับได้วันละ 1 พันบาทเศษต่อมาผู้รับเหมาก่อสร้างของบริษัทฯ ได้ทำการสร้างบ้าน และมีการชำระเงินตามงวดสัญญาเรื่อยมา แม้บางช่วงจะเจอปัญหาผู้รับเหมาทิ้งงาน แต่บริษัทซีคอนก็ได้จัดหาผู้รับเหมารายใหม่มาดำเนินการแก้ไขและสร้างบ้านต่อไปได้ ต่อมาคุณชไมพรเริ่มพบปัญหาการก่อสร้างเกิดขึ้นในหลายๆ จุด ทั้งงานโครงสร้าง งานผนัง งานสี งานไม้ ที่มีรอยแยก รอยแตก รอยปูด รอยบวม เห็นแล้วให้กลุ้มใจ จึงต้องแจ้งให้บริษัททราบและให้ผู้รับเหมาแก้ไข ในขณะที่ผู้รับเหมาทำบ้านไปซ่อมไปนั้น บริษัทฯ ก็ร้องขอให้คุณแม่ของคุณชไมพรชำระค่างวดตามสัญญาเรื่อยมาจนถึงงวดที่ 6 งวดสุดท้าย คุณแม่ของคุณชไมพรก็เห็นใจผู้รับเหมาที่ต้องได้เงินไปจ่ายลูกน้อง จึงชำระเงินงวดที่ 6 แล้วเซ็นชื่อรับงานให้ไป โดยยังมีเงินค่างวดค้างอยู่อีก 26,900 บาท กะว่าจะจ่ายเมื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่แจ้งไปก่อนหน้านั้นให้เรียบร้อย ซึ่งต่อมาได้มีหนังสือมาจากบริษัทฯ แจ้งว่าแม้พ้นระยะเวลาการมอบบ้านไปแล้ว บริษัทฯ ยังยินดีที่จะแก้ไขงานให้เป็นกรณีพิเศษ แต่ปรากฏว่าแทนที่จะมีการแก้ไขงานให้เรียบร้อยกลับถูกบริษัทฯ ยื่นจดหมายทวงเงินที่ค้าง หากไม่จ่ายจะส่งเรื่องให้กฎหมายดำเนินการต่อไปพอคุณชไมพรได้รับจดหมายดังกล่าวก็ตกใจ รีบเดินทางมาปรึกษาหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคทันที แนวทางแก้ไขปัญหาการว่าจ้างก่อสร้างบ้าน มักจะทำสัญญาแบ่งจ่ายเงินกันเป็นงวดๆ โดยใช้ความคืบหน้าของงานเป็นตัววัดผลว่าจะต้องจ่ายงวดต่อไปหรือไม่ ดังนั้นผู้ว่าจ้างจึงต้องติดตามความคืบหน้าของงานตามงวดสัญญาอย่างละเอียด หากพบว่างานส่วนไหนไม่เรียบร้อยจะต้องแจ้งรายละเอียดของปัญหาให้ผู้รับเหมาทราบและแก้ไขทันที โดยทำเป็นลายลักษณ์อักษรเท่านั้น เอกสารนี้จะใช้เป็นหลักฐานคุ้มครองผู้ว่าจ้างในกรณีที่ไม่ชำระเงินค่างวด และทำให้ผู้รับเหมาต้องดำเนินการก่อสร้างให้เรียบร้อยตามสัญญาเพื่อจะได้รับเงินค่างวดตามสัญญาต่อไปแม้คุณแม่คุณชไมพรจะเซ็นรับงานและชำระเงินงวดสุดท้ายไปส่วนหนึ่งแล้ว แต่เมื่องานยังไม่เรียบร้อยและยังมีหนังสือจากบริษัทฯ รับรองว่าจะแก้ไขงานให้เป็นกรณีพิเศษ เราจึงแนะนำให้คุณชไมพรทำหนังสือทักท้วงแจ้งไปที่บริษัทฯ เพื่อขอให้มาแก้ไขงานให้เรียบร้อยก่อนที่จะชำระเงินที่เหลือกันหลังได้รับคำแนะนำคุณชไมพรจึงได้ทำหนังสือทักท้วงทวงถามงานแก้ไขส่งไปที่บริษัทฯ ทันที ไม่นานเราก็ได้รับข่าวดีแจ้งจากคุณชไมพรว่า “วันนี้ผู้คุมงานมาพร้อมช่างเพื่อเก็บงานต่อค่ะ และบอกว่าจะมาอีกในวันอังคารหน้า คำแนะนำและร่างจดหมายฉบับนี้และฉบับก่อนหน้า ช่วยปกป้องสิทธิผู้บริโภคได้มากเลยค่ะ ขอบพระคุณมากๆ ค่ะ”ถามว่า ถ้าไม่มีการส่งจดหมายทักท้วงเอาแต่โวยวายกันทางโทรศัพท์ ใส่ด้วยอารมณ์ล้วนๆ ก็จะเข้าทางผู้รับเหมาทันทีว่า บ้านนั้นสร้างเสร็จเรียบร้อยได้มาตรฐานดีแล้วเพราะคุณชไมพรและคุณแม่ไม่ได้เขียนตอบจดหมายทักท้วงกลับมา กลายเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่ชำระหนี้ที่ค้างอยู่ อย่างนี้บ้านก็ไม่ได้ซ่อม ตัวเองก็ถูกฟ้อง และเงินก็ต้องจ่ายเต็มๆในท้ายที่สุด

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 124 ไอเสียรั่วในรถโตโยต้า อินโนว่า ศาลสั่งเปลี่ยนรถใหม่ให้ผู้บริโภค

 ศาลแพ่งธนบุรีพิพากษาสั่ง โตโยต้าเปลี่ยนรถใหม่ให้ผู้บริโภค เหตุเชื่อว่ารถมีความบกพร่องก่อนส่งมอบให้ผู้บริโภค คิดเป็นมูลค่าความเสียหายเป็นเงิน 759,850 บาท หลังฟ้องศาลผู้บริโภค 1 ปีเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน คุณสุภาภรณ์ ว่องวีรวัฒนกุล กับบุตร 3 คน เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง บริษัท โตโยต้า ธนบุรี จำกัด เป็นจำเลยที่ 1 บริษัท โตโยต้า ทีบีเอ็น จำกัด เป็นจำเลยที่ 2 และ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศ ไทย จำกัด เป็นจำเลยที่ 3 เป็นคดีผู้บริโภค เรียกค่าเสียหาย 5 ล้านบาท สาเหตุที่ฟ้องร้องกันเนื่องจาก คุณสุภาภรณ์ได้ซื้อรถยนต์โตโยต้า รุ่นอินโนว่า แต่ปรากฏว่ามีไอเสียจากเครื่องยนต์รั่วเข้ามาในห้องโดยสารทำให้คุณสุภาภรณ์และบุตรซึ่งใช้รถคันนี้ไปรับส่งลูกที่โรงเรียนเป็นประจำมีสุขภาพย่ำแย่ไปตามๆ กันจุดเริ่มต้นของเรื่องเกิดขึ้น เมื่อประมาณเดือนธันวาคม พ.ศ.2547 คุณสุภาภรณ์ไปเที่ยวงานมหกรรมรถยนต์ที่ศูนย์แสดงสินค้าเมืองทองธานี และได้ตกลงซื้อรถยนต์โตโยต้า อินโนว่า ใช้เชื้อเพลิงน้ำมันดีเซลกับบริษัท โตโยต้า ธนบุรี จำกัด ต่อมาได้รับโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์คันดังกล่าวมาเป็นที่เรียบร้อย ก็ได้ใช้งานตามปกติวิสัยรวมทั้งใช้รับส่งลูกทั้งสามไป-กลับโรงเรียนเช้า-เย็นตั้งแต่จันทร์-ศุกร์ เท่ากับว่าคุณสุภาภรณ์กับลูกๆ ต้องอยู่ในรถยนต์คันดังกล่าววันละประมาณ 5-6 ชั่วโมงหลังจากนั้นไม่นาน คุณสุภาภรณ์เริ่มรู้สึกว่า มีกลิ่นคล้ายกลิ่นจากท่อไอเสียเข้ามาในห้องโดยสาร จึงได้แจ้งกับพนักงานขายของบริษัท โตโยต้า ธนบุรีฯ พนักงานก็แจ้งว่าเป็นเรื่องปกติของรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซล ซึ่งคุณสุภาภรณ์ไม่เคยใช้รถยนต์เครื่องยนต์ดีเซลมาก่อน จึงไม่ทราบว่าว่าเป็นเรื่องปกติหรือไม่ คุณสุภาภรณ์ใช้รถยนต์คันนี้ (ร่วมกับกลิ่นท่อไอเสีย) จนครบระยะ 50,000 กิโลเมตร เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ.2549 จึงได้นำรถยนต์เข้าตรวจเช็คกับศูนย์บริการซ่อมรถยนต์ของโตโยต้า โดยแจ้งกับพนักงานว่า มีกลิ่นควันคล้ายกลิ่นท่อไอเสียเข้ามาในห้องโดยสาร พนักงานแจ้งว่า เป็นเรื่องปกติของรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลและแนะนำให้คุณสุภาภรณ์ติดตั้งเครื่องฟอกอากาศ ติดตั้งเครื่องฟอกอากาศไปแล้วแต่กลิ่นดังกล่าวก็ยังไม่หายไป และเริ่มมีคราบเขม่าเข้ามาในห้องโดยสาร จึงได้นำรถกลับไปให้ศูนย์ดูอีกหลายครั้งก็ได้รับคำตอบเหมือนเดิมว่า “ไม่เป็นไร เป็นธรรมดาของรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซล”ยิ่งใช้รถไปรอยคราบเขม่าในห้องโดยสารยิ่งชัดยิ่งมากขึ้นเรื่อยๆ ต่อมาในเดือนตุลาคม พ.ศ.2552 จึงได้มีการนัดตรวจรถยนต์คันนี้ โดยมีเจ้าหน้าที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและอาจารย์จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีเข้าร่วมเป็นสักขีพยานในการตรวจสอบว่ามีควันพิษของท่อไอเสียรั่วไหลอยู่ในห้องโดยสารของรถจริงหรือไม่ โดยทำการตรวจวัดประมาณ 1 ชั่วโมง ใช้วิธีขับรถยนต์รอบอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ โดยนำรถยนต์อีกยี่ห้อหนึ่งมาเปรียบเทียบกับรถของคุณสุภาภรณ์ ผลปรากฏว่า พบค่าก๊าซคาร์บอนมอนอกไซค์ในห้องโดยสารรถยนต์ของคุณสุภาภรณ์สูงถึง 16 พีพีเอ็ม ส่วนรถยนต์ยี่ห้อที่นำมาเปรียบเทียบตรวจไม่พบก๊าซดังกล่าวคุณสุภาภรณ์ มาทราบภายหลังว่า รถยนต์ที่ซื้อมาตั้งแต่ปี 2547 มีก๊าซอันตรายและเขม่าจากไอท่อไอเสียเข้ามาในห้องโดยสาร และเป็นอันตรายต่อสุขภาพของตนและลูกทั้งสาม จึงหยุดใช้รถยนต์คันนี้ตั้งแต่วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2552 และได้ยื่นฟ้องเป็นคดีผู้บริโภคในเวลาต่อมา ผลของคำพิพากษาวันที่ 25 พฤษภาคม 2554 ศาลแพ่งธนบุรีออกนั่งบัลลังก์อ่านคำพิพากษาในคดี ซึ่งได้ศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานการนำสืบของฝั่งผู้บริโภคและผู้ประกอบธุรกิจแล้ว เห็นว่า จำเลย(โตโยต้า)ไม่สามารถพิสูจน์ถึงข้อเท็จจริงและสาเหตุของปัญหาไอเสียเครื่องยนต์ที่รั่วเข้ามาในห้องโดยสารได้ว่า เหตุของไอเสียเกิดจากสภาพการใช้งานของผู้บริโภคไม่ได้เกิดจากปัญหาการผลิต ทำให้เชื่อได้ว่า รถยนต์คันพิพาทมีความชำรุดบกพร่องมาตั้งแต่บริษัทโตโยต้า ธนบุรี จำเลยที่ 1 ส่งมอบรถยนต์ให้แก่คุณสุภาภรณ์ และไม่ได้เกิดจากการใช้งานของคุณสุภาภรณ์แต่อย่างใด ดังนั้นบริษัทโตโยต้า ธนบุรี จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จำหน่าย และ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ประเทศไทย จำเลยที่ 3 ในฐานะผู้ผลิต นำเข้า จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ ในความชำรุดบกพร่องของสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานพิพากษาให้บริษัททั้งสอง เปลี่ยนรถยนต์คันใหม่ที่เป็นรุ่นเดียวกับที่ขายให้กับคุณสุภาภรณ์ หรือไม่ก็ซื้อรถยนต์คันที่มีปัญหาคืน ในราคา 759,850 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีจนกว่าจะดำเนินการเสร็จสิ้น และยังสั่งให้จ่ายค่าเสียหายแก่ผู้บริโภคอีก 50,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตรา 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 6 ตุลาคม 2552 หรือวันที่คุณสุภาภรณ์รู้ว่าในรถมีควันพิษและหยุดใช้รถ“รู้สึกพอใจกับคำพิพากษามากและรู้ว่าความยุติธรรมมีอยู่จริง ซึ่งกฎหมายผู้บริโภคเอื้อประโยชน์ให้กับผู้บริโภคให้เข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้ จึงอยากฝากบอกกับผู้บริโภคที่มีปัญหาว่าให้ลุกขึ้นมาต่อสู้ตามกระบวนการทางกฎหมายเหมือนดิฉัน” คุณสุภาภรณ์กล่าว  

อ่านเพิ่มเติม >