ฉบับที่ 127 อยากเห็นจิตสำนึกดารากับการโฆษณาหลอกลวง

 จากข่าวครึกโครมเรื่องคุณค่าทางอาหารของรังนก ที่เราๆ ท่านๆ เชื่อกันมาตลอดว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ช่วยฟื้นฟูผู้ป่วยและผู้สูงอายุ ให้กลับมามีพลังกระชุ่มกระชวยได้เร็วขึ้น ทำให้รังนกเป็นสินค้าที่มีคุณค่าและราคาแพง ที่ผู้คนส่วนใหญ่มักซื้อให้กับคนที่เรารักหรือเป็นของเยี่ยมผู้ป่วย  แต่ผู้เขียนมารู้สึกตกใจมากเมื่อได้ทราบข้อมูลจากสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่เปรียบคุณค่าโปรตีนของรังนกกับถั่วลิสง ที่น่าตกใจคือเรากินรังนก 1 ขวด 100 กว่าบาท  เราจะได้รับโปรตีนเท่ากับเรากินถั่ว 2 เมล็ด และที่น่าตกใจไปกว่าคือ ไข่ไก่ 1 ฟอง 4-5 บาท มีคุณค่าอาหารเท่ากับเราต้องกินรังนก 24 ขวด 3 พันกว่าบาท(พุทโธธัมโมสังโฆ)นี่ยังไม่รวมที่มีการโฆษณารังนก 100% แต่จริงๆ 1 ขวดมีรังนกเพียง 1 % เศษเท่านั้น   สังคมไทยของเราเป็นอะไรกันทำไมถึงปล่อยให้มีเรื่องหลอกลวงได้ยาวนานถึงเพียงนี้  ทั้งที่เรื่องนี้มีหน่วยงานเฉพาะดูแลอยู่ และที่น่าเจ็บใจไปกว่านั้นคือพอเปิดทีวีดูก็จะเห็นดาราที่เป็นพรีเซ็นเตอร์โฆษณาสรรพคุณอันเลอเลิศของรังนกอยู่เลย แค่นั้นยังไม่พอยังเอาความรักระหว่างแม่-ลูกมาโน้มน้าวให้ซื้อสินค้าอีก  คือหากรักแม่ต้องให้แม่กินรังนก  ตอนยังไม่รู้ข้อมูลก็ไม่รู้สึกอะไร แต่พอรู้ข้อมูลแล้วจึงมีความรู้สึกด้านอื่นเข้ามา  คือ พรีเซ็นเตอร์ที่โฆษณาสินค้านั้นๆส่วนใหญ่เป็นดาราและนักร้อง ซึ่งได้รับความรักและศรัทธาจากประชาชน แต่เพียงเพื่อรายได้ของตนเองที่ได้รับจากรับจ้างโฆษณา มองแค่รายได้สูงสุด ไม่มองถึงคุณภาพของสินค้า  ก็เท่ากับเอาความรักความศรัทธาที่ประชาชนมีให้มาใช้เป็นเครื่องมือหากิน  โดยไม่คำนึงถึงว่าการโฆษณานั้นหลอกลวงผู้บริโภคหรือไม่ ดังนั้นพวกเราในฐานะผู้บริโภคควรช่วยกันส่งเสียงเรียกร้องจิตสำนึกของเหล่าดารานักร้อง   ให้คำนึงว่าคุณกำลังร่วมมือกับผู้ประกอบการหลอกลวงประชาชนที่เขารักและสนับสนุนพวกคุณอยู่หรือไม่  อย่าเห็นแค่เพียงรายได้ของพวกคุณฝ่ายเดียว

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 120 ไม่มีให้ซื้อตามโฆษณา ก็ต้องฟ้องสิจ้ะ

วันที่ 30 ธันวาคม 2553 ได้มีโอกาสหยิบหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ขึ้นมาอ่าน และได้เห็นการโฆษณาของห้างโลตัส เป็นภาพสีคู่ 2 หน้า และแสดงภาพสินค้าราคาขายอย่างชัดเจน มีทั้งสินค้าลดราคา ซื้อ 1 แถม 1 ตั้งแต่วันที่ 30 ธ.ค. 2553 ถึง 2 มกราคม 2554 พร้อมคำบรรยายว่าซื้อแล้วจะได้สิทธิคูณ แต้ม 3 เท่าในคลับการ์ด และมีข้อความตัวเล็กๆ ด้านล่างของกรอบโฆษณา ถึงข้อจำกัดการซื้อ เช่น กรณีสินค้าขาดตลาด จำหน่ายหมดก่อนกำหนดหรือปฏิบัติตามคำสั่งราชการ โดยไม่มีการระบุว่าสินค้ามีจำนวนจำกัดเมื่ออ่านข้อมูลครบถ้วน ผู้เขียนได้ชวนพี่สาวและหลานๆ เดินทางไปที่ห้างโลตัสสมุทรสงคราม เวลาประมาณ 10.40 น. เพื่อไปซื้อสินค้าตามโฆษณา ไปถึงชั้นวางของปรากฏว่าไม่มีของตามที่โฆษณาวางอยู่ ผู้เขียนจึงไปสอบถามเจ้าหน้าที่ ได้คำตอบว่า ของหมดแล้ว(ฮ้า....นี่เพิ่งวันแรกแต่เช้าหมดแล้วเหรอ..) เอ้า...หมดก็หมด ผู้เขียนเตรียมกลับบ้าน หันมาเจอพี่สาวและหลานๆ เห็นซื้อของกันมาเต็มมือก็เลยถามว่าอ้าว...ของที่ตั้งใจมาซื้อไม่มีแล้วซื้ออะไรกันมา ก็ได้คำตอบว่าไหนๆ ก็เสียเวลามาแล้ว ก็ซื้อๆไปเถอะ (อ้าว...อีกครั้ง)ผู้เขียนเริ่มรู้สึกว่าการโฆษณาของเขาได้ผล เพราะเมื่อผู้บริโภคเห็นโฆษณาก็อยากจะมาที่ห้าง มาแล้วไม่เจอของที่ตั้งใจซื้อ ก็ต้องซื้อสินค้าอื่นๆ เพื่อไม่ให้เสียเวลา ซึ่งตรงนี้หรือเปล่า คือเป้าของการโฆษณา แต่คิดอีกที เออ..สินค้าเขาคงหมดจริงๆจนถึงวันที่ 1 มกราคม 2554 หลังเสร็จภารกิจส่วนตัวประจำวันผู้เขียนได้เดินทางไป ที่ห้างโลตัสอีกครั้ง ก่อนเที่ยง ปรากฏว่าก็ไม่มีสินค้าอีก เอาละอันนี้เริ่มชัด(อะไรว่ะ....มากี่ทีก็ไม่มีของ..) ผู้เขียนจึงไปแจ้งเจ้าหน้าที่ว่าต้องการคุยกับผู้จัดการ รอสักพักผู้จัดการ(หรือเปล่าไม่รู้) ก็มาคุยและแจ้งว่าสินค้าหมดแล้วจริงๆ ผู้เขียนจึงได้นำหนังสือพิมพ์ที่โฆษณาของห้างไปแสดงและชี้ให้เห็นว่า ไม่มีข้อความไหนบอกว่า สินค้ามีจำนวนจำกัด และไม่ได้บอกว่าต้องมาซื้อสินค้าเวลาไหนจึงจะซื้อสินค้าตามที่โฆษณาได้ เป็นการให้ข้อมูลไม่ครบถ้วนผิดกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค ขณะที่มีการเจรจาก็มีผู้บริโภครายอื่นๆ มายืนฟังด้วย(ที่น่าเศร้าใจที่สุดคือ..มีผู้บริโภคบางคนพูดว่า...ของมันหมดแล้วมาโวยทำไม หมดก็ซื้ออย่างอื่นซิ..กลายเป็นว่าคนใช้สิทธิเป็นคนผิดอีก..แส้นนนน....ดี...จริงผู้บริโภคไทย) ผู้จัดการบอกว่าขอเบอร์โทรไว้แล้วกันหากสินค้ามาและจะโทรบอก อันนี้ล่ะ..ที่ผู้เขียนรับไม่ได้ พอใครโวยก็ให้สินค้าใครไม่โวยก็หลอกลวงกันเรื่อยๆไป โดยเฉพาะบริษัทต่างชาติที่เข้ามากอบโกยรายได้จากผู้บริโภคไทย ด้วยการใช้เทคนิคทางการตลาด นำสินค้าชิ้น 2 ชิ้น มาโฆษณาเป็นเหยื่อล่อ หลอกลวงให้หลงเชื่อ เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าไปที่ห้างของตนนั้น เป็นเทคนิคการตลาดที่ขาดจริยธรรมอย่างสิ้นเชิง(จริงๆ) ผู้เขียนได้โทรไปที่สายด่วนผู้บริโภค มีเสียงอัตโนมัติตอบกลับมาว่า ผู้ให้บริการติดบริการรายอื่นอยู่โปรดรอสักครู่ จนสายถูกตัด แต่ก็พยายามโทรอีกหลายครั้งใช้เวลาเกือบครึ่งชั่วโมง ก็ไม่สามารถติดต่อได้ เลยต้องโทรหาท่านเลขา สคบ.ท่านก็รับเรื่องแล้วบอกว่าจะดูแลให้ แต่เมื่อคิดอีกทีไปแจ้งความไว้เพื่อเป็นหลักฐานในการดำเนินคดี ก็คงดีก็เลยไปแจ้งความไว้ที่โรงพักเพื่อที่จะได้ดำเนินการฟ้อง พรบ.วิธีพิจารณาความผู้บริโภค เพื่อสร้างบรรทัดฐานต่อไป และในวันเดียวกันก็มีผู้บริโภครายอื่นโทรมาร้องเรียนว่าถูกหลอกเช่นกัน โดยดูทีวีมีการโฆษณาว่ามีกล้องโซนี่ ซื้อ 1แถม 1 ไปซื้อจริงๆไม่มีสินค้าเช่นกัน จึงแนะนำให้ไปแจ้งความไว้อีกคดี กลายเป็นว่าผู้บริโภคได้ร่วมกันให้ของขวัญปีใหม่กับห้างโลตัสไปแล้วโดยไม่ตั้งใจ ที่เขียนเรื่องนี้เพราะผู้เขียนมั่นใจว่าหลายห้างใช้เทคนิคนี้เช่นกัน ไม่อยากจะฝากหน่วยงานแล้วเพราะฝากไปก็เหนื่อยเปล่า ผู้บริโภคอย่างเราๆต้องร่วมมือกันเมื่อเจอเหตุช่วยกันแจ้งความ เพื่อผลักดันให้ธุรกิจเหล่านี้มีจริยธรรมในการประกอบธุรกิจ พลังของเราจะเป็นพลังที่ขับเคลื่อนสังคมไปสู่การลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรมในสังคมได้จริง

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 117 สื่อลามกกับ 3G เอาไงกันดี

ขณะที่ผู้เขียนนั่งเขียนบทความนี้ เรื่องที่ศาลมีคำสั่งว่า กทช. ไม่มีอำนาจจัดประมูลคลื่นความถี่ 3G  อันเป็นเหตุให้การประมูล 3G เป็นอันชะงักไป  และทำให้แฟนคลับที่รอคอย ฝันค้างไปตามๆ กัน  เพราะหลายคนคิดว่าประเทศไทยเสียโอกาสในการพัฒนาการสื่อสารให้เท่าเทียมนานาอารยะประเทศไปอย่างน่าเสียดาย ซึ่งผู้เขียนก็เห็นด้วย  แต่...มีวันหนึ่งผู้เขียนนำรถเข้าซ่อมที่ศูนย์รถบริษัทหนึ่ง และมีโอกาสหยิบหนังสือดารา(ไม่เคยอ่านหนังสืออย่างนี้)ที่ชื่อทีวีพูลมาอ่าน  อ่านไปๆ ก็ไม่มีอะไรมีแต่เรื่องราวของดาราก็อ่านไปเพลินๆ จนถึงท้ายเล่ม  เห็นแล้วรู้สึกตกใจมาก  เฮ้ย...นี่มันอะไรกัน เพราะหลายแผ่นด้านหลังซึ่งเป็นภาพสี่สีสวยงาม มีแต่การโฆษณาเชิญชวนให้โหลดคลิปโป๊ มีทั้งภาพพร้อมคำบรรยาย เร่าร้อนประกอบ ทั้งคลิปร่วมเพศ ชายรักชาย หญิงกับหญิง ชาย-หญิง ภาพโป๊เปลือยมากมาย ทั้งภาพจริงภาพการ์ตูน เห็นแล้วตกใจมากนี่เขาเล่นกันอย่างนี้เลยหรืออดไม่ไหวเลยไปหยิบอีกหลายเล่มมาดู ทั้งหนังสือกอสซิป ดาราภาพยนตร์ และอื่นๆ ที่เกี่ยวกับดารามากมาย ฯลฯ ไม่เว้นแม้แต่ คู่สร้าง- คู่สม  และการ์ตูนขายหัวเราะเชื่อว่าการ์ตูนอื่นๆ ก็น่าจะมี(ขออภัยหนังสือที่เอ่ยชื่อไปคือที่เห็น ณ วันนั้น)   นี่มันอะไรกัน...หนังสือเหล่านี้ ส่วนใหญ่ตลาดของหนังสือเหล่านี้อยู่ที่กลุ่มเยาวชนทั้งนั้น หนังสือเหล่านี้เขาต้องการสื่อสารอะไรกับเยาวชนเนี้ย...ตอนที่เห็นครั้งแรกบอกตรงๆ ว่ารู้สึกโกรธหน่วยงานที่มีหน้าที่ดูแลเรื่องนี้มาก...  โดยเฉพาะเจ้าของหนังสือที่เราขอประณามว่า “ขาดจิตสำนึกของคำว่าสื่ออย่างสิ้นเชิง”   เพราะการลงโฆษณาเยี่ยงนี้ ไม่เกิดผลดีกับฝ่ายใดเลย  มีแต่ส่งผลร้ายต่อเยาวชนและสังคม  จึงกลับมาคิดว่าการประมูล 3G ยังไม่เกิดก็ดีเหมือนกัน  เพราะประเทศไทย ไม่เคยเตรียมความพร้อมในเรื่องการป้องกันใดๆ เลยมีแต่จะตะลุยไปข้างหน้า ตามข้ออ้างต้องให้ทันประเทศเพื่อนบ้าน  แต่การออกมาตรการมาป้องกัน  “ไม่มี” เยาวชนซึ่งเป็นอนาคตของประเทศถูกทำร้ายถูกมอมเมาด้วยเรื่องเหล่านี้อนาคตของประเทศจะเป็นอย่างไร ทั้งๆ ที่เรามีหน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องมากมาย     หลายคนบอกว่าตนเองเป็นเครือข่ายพ่อ-แม่  เป็นเครือข่ายพัฒนาการศึกษา เครือข่ายเฝ้าระวังสื่อ  สมาคมสื่อ  แต่กลับละเลยปล่อยให้มีการโฆษณาสิ่งเหล่านี้เกลื่อนตลาดหาซื้อได้ง่ายกว่าลูกอมเสียอีก  กระทรวงวัฒนธรรมก็เที่ยวได้ทำอะไรไม่รู้ ดีแต่ลุกขึ้นมาพูดเรื่องการใช้ภาษาของเยาวชนกลัวจะใช้ไม่ถูกต้อง หรือตามแบนละครหนังก็ว่าไปตามเรื่อง   แต่กลับปล่อยให้มีการโฆษณาเว็บโป๊เว็บลามกอนาจารบนหน้าผาก(ปลายจมูกมันน้อยไป) จนเกิดคดีทางเพศในกลุ่มเยาวชนมากมาย  แต่ถ้าให้ยุติธรรมจริงจะโทษหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเดียวก็ไม่ได้ ประชาชนผู้บริโภคอย่างเราๆ ก็ควรมีส่วนช่วยแจ้งเบาะแส ไม่ใช่เห็นแล้วเฉยๆ กันอย่างนี้   เขียนเรื่องนี้แล้วทั้งเหนื่อยและสะท้อนใจจริงๆ ฉันจะฝากใครดี

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 107 “ไฮสปีดกลายเป็นโลว์สปีด”

ปัญหาของอินเตอร์เน็ตที่มีการร้องเรียนจากผู้บริโภคมากที่สุดในขณะนี้คือ เน็ตช้า ความเร็วไม่เป็นไปตามที่โฆษณา อารมณ์สะเทือนใจของชาวเน็ตเป็นอย่างไรบ้างลองอ่านดูกันครับ“ที่บ้านดิฉันใช้บริการอินเตอร์เน็ต แบบ 3Mb ค่ะ ใช้มาสองปีแล้ว แต่เพิ่งเปลี่ยนแพคเกจเป็น 3MB เมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมาและเมื่อเปลี่ยนแล้ว ความเร็วไม่เต็มสปีดสักเท่าไหร่ ที่สำคัญ หลุดบ่อยมากค่ะ โดยเฉพาะเวลาที่ฝนตก และตอนกลางคืนใช้ได้ 5-10 นาที เน็ตก็ตัดแล้วทำอะไรไม่ได้เลยโทรศัพท์ไปแจ้งกับทางศูนย์บริการก็รับเรื่องแบบแกนๆ เคยโทรไปหลายครั้งแล้วรอสายนานมาก แต่ก็ไม่ได้รับการแก้ไขสักทีตอนนี้ใช้งานที่ราชบุรีค่ะ ศูนย์บริการปิดตอนห้าโมงเย็น แต่ปัญหาเกิดตอนกลางคืนค่ะ เคยโทรไปฝากเรื่องตอนกลางคืน เพราะอินเตอร์เน็ตใช้ไม่ได้ตอนเช้าพนักงานเพิ่งจะโทรมา ปัญหาก็หายไปแล้ว ทำแบบนี้ก็ไม่ได้แก้ไขปัญหาอะไรจริงมั้ยคะ?? จ่ายเต็มราคาทุกครั้งแต่เจอสภาพอินเตอร์เน็ตแบบนี้สมควรเรียกร้องมั้ยล่ะคะ”หรืออีกกรณีหนึ่ง“ผมทำสัญญาใช้บริการอินเตอร์เน็ตรายเดือน ความเร็ว 3 เม็ก แต่ความเร็วจริงต่างกับที่โฆษณาเอาไว้มากครับน่าจะโฆษณาว่าเน็ต 2.5 เม็กมากกว่า ต้องจ่ายเงินให้ทีโอทีทุกเดือน แต่ก็มีความรู้สึกเหมือนโดนเอาเปรียบอยู่ทุกเดือน ต่างกับของ ทีทีแอนด์ที มากครับ 3 เม็กเต็ม บางวันก็จะตกมาอยู่ที่ 2.9 หรือ 2.8 ดาวน์โหลดทุกอย่างเร็วทันใจ ผมใช้เน็ตของทีโอทีดาวน์โหลดไฟล์ให้ลูกค้า บางไฟล์ ต้องรอถึงสามวันกว่าจะโหลดเสร็จ ทั้งๆ ที่ เคยใช้ของทีทีแอนด์ทีใช้เวลาแค่ 8 ชั่วโมง เก็บค่าใช้บริการเท่ากันแท้ๆ แต่ทีโอทีกลับเอาเปรียบผู้บริโภคไม่ดีเลยครับ” “ดูหนัง ฟังเพลงได้ช้ามากๆ กระตุกหยุดโหลดทุกสามวินาที ทั้งที่เป็น 3 เม็ก เช็คความเร็วดูปรากฏว่าไม่ถึง 3 เม็ก โทรไปร้องเรียนที่ 1100 คอนแทคเซ็นเตอร์ก็ไม่มีเจ้าหน้าที่รับสาย โทรไปกี่ครั้งก็ไม่มีเจ้าหน้าที่รับสาย มีแต่เสียงตอบรับอัตโนมัติว่าคู่สายบริการเต็มให้โทรมาใหม่เสียความรู้สึกมากๆ รบกวนช่วยรับเรื่องร้องเรียนของฉันด้วยค่ะ มันไม่ยุติธรรมเลยที่ต้องเสียค่าบริการเต็ม แต่ได้รับบริการห่วยๆแบบนี้” ฯลฯ “มีปัญหาสัญญาณหลุดบ่อย อีกทั้งมีความล่าช้าในการแก้ไข และไม่ได้รับความเร็วตามที่กำหนด 3 เม็กแต่ใช้งานได้เพียงไม่ถึง 1 เม็ก แต่ก็ยังเก็บค่าบริการรายเดือนเต็มจำนวนอีกด้วยทุกเดือน โดยที่ปัญหายังไม่ได้รับการแก้ไขให้เสร็จสมบูรณ์”แนวทางแก้ไขปัญหาบรรดาสารพันปัญหาอินเตอร์เน็ตล่าช้า ไม่เป็นไปตามสัญญา สามารถดำเนินการได้ 4 แนวทางนะครับ 1. สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.) ได้จัดทำโครงการทดสอบความเร็วอินเตอร์เน็ตของผู้ให้บริการร่วมกับ สมาคมผู้ดูแลเว็บไทย บนเว็บไซต์ www.speedtest.or.th ให้ไปเช็คความเร็วอินเตอร์เน็ตและแจ้งไว้เป็นหลักฐานที่นี่ ปกติแล้วถ้าได้ความเร็วสัก 80% ขึ้นไปก็ถือว่าเป็นคุณภาพที่พอรับได้ครับ2. ถ้าโทรแจ้งที่คอลเซนเตอร์แล้วไม่ได้ผล ผู้บริโภคทำหนังสือร้องเรียนโดยตรงที่บริษัทผู้ให้บริการ โดยเรียนถึงกรรมการผู้จัดการ เรื่องขอให้แก้ไขปรับปรุงคุณภาพมาตรฐานการบริการ และขอให้คืนเงินค่าบริการในช่วงที่ไม่ได้ใช้งานไปหักลบกลบหนี้ของบิลรอบเดือนถัดไป ดังนั้นควรระบุให้ชัดเจนว่าเน็ตช้ามากในช่วงไหนถึงไหนจากหลักฐานที่เราได้เช็คจากwww.speedtest.or.th3. หากผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตไม่แก้ไขปัญหา หรือยังไม่ยอมคืนเงินในช่วงที่ไม่ได้ใช้บริการหรือใช้บริการแล้วแต่ได้ความเร็วไม่เป็นไปตามโฆษณาหรือสัญญา ให้ทำหนังสือร้องเรียนพร้อมแนบสำเนาบัตรประชาชนส่งถึงผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม หรือ สบท. ส่งไปที่สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.) 404 อาคารพหลโยธินเซนเตอร์ ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 โทร.02-2790250 โทรสาร 02-2790251 หรือจะเดินทางไปร้องเรียนด้วยตนเองก็ได้4. การร้องเรียนมาที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค สิ่งที่เราจะดำเนินการให้คือ ออกจดหมายเรียกร้องให้บริษัทปรับปรุงคุณภาพบริการ หากยังไม่มีการดำเนินการใดๆ อีก คุณสามารถขอให้มูลนิธิฯ ดำเนินการเขียนคำฟ้องเพื่อฟ้องเรียกค่าเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นคดีผู้บริโภคได้ครับ ความผิดของผู้ให้บริการคือ การให้บริการที่ไม่มีคุณภาพมาตรฐานไม่เป็นไปตามที่โฆษณาหรือสัญญาไว้ครับ  

อ่านเพิ่มเติม >


ฉบับที่ 98 โฆษณาในรายการเด็ก เยอะไปไหม???

เรื่องทดสอบ 3 กองบรรณาธิการ พ่อแม่หลายคนคงไม่ปฏิเสธว่า ทุกวันนี้ทีวีได้กลายมาเป็นเสมือนเพื่อนที่แสนดีของลูกๆ ของเรา เด็กๆ หลายคนใช้เวลาอยู่หน้าจอทีวีมากกว่าอ่านหนังสือหรือทำกิจกรรมอื่นๆ ซึ่งช่วงเวลาที่เด็กดูทีวีส่วนใหญ่คือช่วงเวลาหลังเลิกเรียน ตั้งแต่เวลาประมาณ 5 โมงเย็น จนถึง 2 ทุ่ม ของวันจันทร์ – วันศุกร์ และเกือบตลอดทั้งวัน ในวันเสาร์ – วันอาทิตย์ เนื่องจากเป็นวันหยุด โดยรายการที่เด็กๆ ชอบดูมากที่สุดหนีไม่พ้น การ์ตูน รองลงมาคือ เกมส์โชว์ ซึ่งทุกรายการจะมีผลิตภัณฑ์ขนมและอาหารสำหรับเด็กเป็นผู้สนับสนุน ดังนั้นเด็กจึงได้เห็นขนมยี่ห้อต่างๆ ตลอดการชมรายการโปรด ซึ่งมาทั้งในรูปแบบโฆษณาขั้นเวลาระหว่างรายการและโฆษณาแฝง หลายคนอาจยังไม่รู้ถึงกลไกในการดำเนินธุรกิจทีวี สาเหตุที่เราได้ดูทีวีฟรีในช่องฟรีทีวีอย่าง 3 5 7 9 เป็นเพราะมีคนจ่ายเงินค่าเวลาให้กับเรา ซึ่งก็คือบรรดาเจ้าของสินค้าและผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ลงเงินไปกับค่าโฆษณาที่ออกอากาศสลับกับรายการต่างๆ ตลอดทั้งวัน ซึ่งแน่นอนว่าในรายการทีวีสำหรับเด็กก็ไม่มีข้อยกเว้น บรรดาสินค้าพวกขนมนมเนยทั้งหลายต่างก็รู้ว่าผู้ชมรุ่นเยาว์กำลังนั่งชมรายการโปรดของพวกเขา และนั่นก็คือช่วงเวลานาทีทองที่เหล่าสินค้าเอาใจคุณหนูๆ ทั้งขนมขบเคี้ยว หมากฝรั่ง ลูกอม นมผง นมกล่อง อาหารเช้า น้ำผลไม้ น้ำอัดลม และอะไรต่อมิอะไรอีกหลายอย่าง จะสร้างภาพจำและนำเสนอสินค้าให้เป็นที่ต้องตาต้องใจของคุณหนูๆ ที่นั่งดูตาใสใส่ใจกับจอทีวี ซึ่งพร้อมที่จะซึมซับทุกอย่าง แน่นอนว่าเมื่อเขาลงทุนไปกับค่าโฆษณาสิ่งที่เขาหวังได้คืนกลับมาก็คือยอดขายของสินค้าและผลิตภัณฑ์ ซึ่งกลุ่มลูกค้ารุ่นเยาว์เหล่านี้ยังคงมีความสามารถในการตัดสินใจแยกแยะในระดับต่ำตามอายุและวุฒิภาวะ จึงไม่น่าแปลกใจที่สินค้าจำพวกขนมขบเคี้ยว ลูกกวาดสีสันสดใส หรือแม้กระทั้งฟาสต์ฟู้ดทั้งหลาย เจาะจงเลือกใช้กลุ่มลูกค้าที่เป็นเยาวชน โฆษณาอาหารในรายการทีวี ทำเด็กวันนี้เป็นผู้ป่วยในวันหน้าผลเสียจริงๆ ไม่ได้เกิดจากการที่เด็กๆ นั่งชมโฆษณา แต่เกิดจากการที่เด็กๆ เลือกรับประทานอาหารจากการที่เขาได้เห็นจากในโฆษณา ซึ่งโฆษณาส่วนใหญ่มักทำออกมาในภาพลักษณ์ที่เหนือความเป็นจริง ทั้งเรื่องความรสชาติ รูปร่างลักษณะ หรือแม้แต่คุณค่าทางอาหาร โฆษณาอาหารหรือขนมสำหรับเด็กหลายตัวตั้งใจใช้สีสันที่ดูสดใสสะดุดตาเกินกว่าความเป็นจริง เช่น บรรดาลูกอม ลูกกวาด เยลลี่ และขนมขบเคี้ยว ซึ่งสีสันเหล่านี้ไปกระตุ้นเร้าให้เด็กๆ เกิดความสนใจ และอยากลิ้มลองหาซื้อมารับประทาน ขณะที่ผลิตภัณฑ์จำพวก นม อาหาร เช้า รวมทั้งซุปไก่สกัด ที่ขายภาพลักษณ์ของอาหารที่ให้ประโยชน์ต่อร่างกาย ก็สร้างภาพที่สื่อออกมาเกินจริง ด้วยการให้เด็กๆ หรือตัวละครในภาพยนตร์โฆษณามีความสามารถ เก่ง และฉลาดขึ้นได้อย่างรวดเร็วเพียงแค่ได้ทานผลิตภัณฑ์นั้นๆ ส่วนโฆษณาของร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดก็มักใช้ของเล่นมาเป็นจุดขายหลัก ขายพร้อมคู่ไปกับชุดอาหาร ซึ่งของเล่นที่นำมาใช้ล่อใจเด็กๆ ก็มาจากการ์ตูนหรือภาพยนตร์ที่เด็กๆ รู้จักเป็นอย่างดี ซึ่งตัวอย่างกลยุทธ์ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ดูแล้วไม่ใช่เรื่องยากเลยที่จะหลอกล่อให้เด็กเกิดความสนใจในตัวโฆษณา ต่อด้วยการรู้จักและจดจำตัวสินค้า ซึ่งสุดท้ายก็จะส่งผลร้ายไปยังพฤติกรรมการบริโภคของเด็กๆ ขนมกับผลเสียต่อสุขภาพเด็กผลวิจัยหลายๆ ตัวชี้ให้เห็นว่า เด็กไทยมีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วนสูงขึ้น ขณะที่การเจริญเติบโตทางร่างกายค่อนข้างต่ำ ซึ่งมาจากการที่เด็กมีพฤติกรรมการรับประทานขนมขบเคี้ยวและน้ำอัดลม ซึ่งเป็นอาหารที่ไม่มีความจำเป็นต่อร่างกายมากเกินความพอดี ผลสืบเนื่องมาจากการรับข้อมูลข่าวสารที่ไม่ถูกต้องจากการโฆษณา อีกทั้งการที่ผู้ปกครองหลายๆ คนเองก็เชื่อตามคำบอกกล่าวในโฆษณาว่าผลิตภัณฑ์เหล่านี้มีประโยชน์ต่อร่างกายของบุตรหลาน อาทิเช่น ผลิตภัณฑ์จำพวกอาหารเช้าซีเรียล ซึ่งในหลายยี่ห้อมีปริมาณน้ำตาลค่อนข้างสูง นอกจากนี้ในการตรวจสอบดูปริมาณน้ำตาล ไขมัน และโซเดียม ที่ให้ไว้ในฉลากข้อมูลโภชนาการบนบรรจุภัณฑ์ของแต่ละผลิตภัณฑ์พบว่า มีขนมหลายยี่ห้อที่มี่ส่วนผสมของ น้ำตาล ไขมัน และโซเดียม สูงเกินกว่าเกณฑ์ที่หน่วยงานที่รับผิดชอบด้านมาตรฐานอาหารของประเทศอังกฤษ (UK Food Standards Agency) กำหนดไว้ เมื่อเด็กมีภาวะโภชนาการที่ไม่เหมาะสมจากการรับประทานขนมที่มี น้ำตาล ไขมัน และโซเดียม มากเกินความพอดี จนทำให้เด็กมีภาวะการณ์เจริญเติบโตบกพร่องเกิดเป็นโรคอ้วนแล้ว ผลเสียของสุขภาพที่จะตามมาเมื่อเด็กโตขึ้นคือโรคภัยไข้เจ็บมากมายหลากหลายโรค ไม่ว่าจะเป็นความดัน เบาหวาน โรคหัวใจ โรคกระดูกเสื่อม โรคระบบทางเดินหัวใจ นอกจากนี้ยังอาจส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจ เช่น เด็กบางคนติดที่จะรับประทานขนมจนไม่ทานข้าว ซึ่งก็ส่งผลเสียต่อร่างกาย ทำให้กลายเป็นเด็กผอม สุขภาพไม่แข็งแรง เด็กบางคนมีนิสัยก้าวร้าวเมื่อไม่ได้ทานขนม ซึ่งแน่นอนว่าเรื่องของโภชนาการที่ดีย่อมมีผลต่อการพัฒนาของไอคิวและอีคิว ***การแถมของเล่นไปพร้อมกับอาหารชุดสำหรับเด็กเคยทำอันตรายให้กับเด็กๆ มาแล้ว เมื่อปี 2001 มีรายงานว่าเด็กชาวอเมริกาและแคนาดาจำนวนหนึ่ง ได้กลืนชิ้นส่วนของเล่นที่หักแล้วไปติดอยู่ในลำคอ ซึ่งของเล่นที่ว่าคือ แมคโดนัลด์ แฮปปี้มีลล์ ชุด "สกูตเตอร์บั๊ก" *** เมื่อปี 2007 รัฐบาลได้เสนอข้อบังคับใช้ในการควบคุมโฆษณาที่ออกฉายในรายการทีวีสำหรับเด็กอายุระหว่าง 3 – 12 ปี รวมทั้งรายการทีวีอื่นๆ ที่มีกลุ่มผู้ชมส่วนใหญ่เป็นเยาวชน- สถานีโทรทัศน์สามารถโฆษณาในรายการสำหรับเด็กได้ไม่ 12 นาทีต่อรายการความยาว 1 ชั่วโมง โดยต้องเป็นโฆษณาที่ส่งเสริมสุภาพและพฤติกรรมการกินที่ดีสำหรับเด็ก- สินค้าชนิดเดียวกันสามารถโฆษณาซ้ำได้ไม่เกิน 4 ครั้งต่อรายการความยาว 1 ชั่วโมง และไม่ซ้ำกันเกิน 2 ครั้งในระยะเวลา 30 นาที- ห้ามโฆษณาในลักษณะส่งเสริมการขายทุกรูปแบบ ทั้งการเล่นเกมชิงรางวัล แถม แจกของขวัญ ของเล่น- ห้ามนำเสนอเนื้อหาหรือข้อมูลที่ดูเกินจริง ทั้งเรื่องภาพและเสียง ไม่เชิญชวนให้เด็กอยากซื้อหรืออยากรับประทานจนเกินขอบเขต ไม่แสดงคุณประโยชน์ ความเร็ว ขนาด สี ที่สร้างความเย้ายวนใจจนเกิดความเข้าใจผิด- ต้องมีคำเตือนที่ออกโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาปรากฏหน้าจอขณะโฆษณา โดยกำหนดขนาดตัวอักษรไว้ที่ 1 ใน 25 ส่วนของภาพ และแช่ภาพคำเตือนไว้ 3 – 5 วินาที- ห้ามใช้ตัวการ์ตูน บุคคล ตัวละครที่เด็กรู้จักหรือปรากฏในรายการสำหรับเด็กเพื่อการขายหรือแนะนำสินค้า โฆษณา…จะเยอะไปไหนตารางแสดงผล 20 อันดับภาพยนตร์โฆษณาผลิตภัณฑ์อาหารนี้ เป็นภาพยนตร์โฆษณาที่ออกอากาศทางโทรทัศน์มากที่สุดในช่วงเวลารายการสำหรับเด็ก (สำรวจในช่วงวันพุธที่ 25 – วันศุกร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา 17.00 น. – 19.00 น. และวันเสาร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ – 1 มีนาคม 2552 เวลา 08.00 น. – 12.00 น. ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 3, 7 และ 9) โดยตลอดช่วงเวลาที่มีการสำรวจมีจำนวนภาพยนตร์โฆษณาออกอากาศทั้งหมด 1,242 เรื่อง เป็นภาพยนตร์โฆษณาที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อาหารจำนวน 408 เรื่อง หรือ 32.85% เป็นยี่ห้อของผลิตภัณฑ์อาหารจำนวน 123 ยี่ห้อ ซึ่งผลิตภัณฑ์อาหารที่มีภาพยนตร์โฆษณาออกอากาสมากที่สุดคือ ผลิตภัณฑ์ประเภทขนมขบเคี้ยว มันฝรั่งทอด ข้าวกรอบ ข้าวโพดกรอบ 16.4% รองลงมาคือ ผลิตภัณฑ์จำพวก ลูกอม หมากฝรั่ง เยลลี่ 15.2% อันดับสามคือ ผลิตภัณฑ์นม 9.3% ตามมาด้วยร้านอาหารฟาสต์ฟู้ด 9% และเครื่องดื่ม น้ำอัดลม ชา น้ำผลไม้ 7.8% โดยผลิตภัณฑ์ที่มีความถี่ในการออกอากาศมากที่สุดคือ โอวัลติน ที่อยู่ในกลุ่มผลิตภัณฑ์นม ซึ่งยังมีผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้ติดอยู่ใน 20 อันดับอีกถึง 6 ยี่ห้อ คือ แลคตาซอย,ไวตามิลด์, เอส 26 โปรเกรสโกลด์, เอนฟาโกรว เอ+, โฟร์โสท์ และดีน่า ซึ่งผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้มักนำเสนอการโฆษณาที่บอกเล่าเรื่องของสุขภาพ เช่น ดื่มแล้วแข็งแรง สามารถทำสิ่งที่ดูเป็นไปไม่ได้ให้เป็นไปได้ หรือทานแล้วอิ่มเหมือนรับประทานข้าว ขณะที่ผลิตภัณฑ์ที่มีจำนวนความถี่ในการออกอากาศมากเป็นอันดับสองคือ แบรนด์ ซึ่งข้อมูลที่นำเสนอในโฆษณาใกล้เคียงกับกลุ่มผลิตภัณฑ์นม คือขายเรื่องสุขภาพ เสริมเรื่องความเก่งและฉลาด โดยใช้กลวิธีให้บุคคลที่มีชื่อเสียงมาเป็นพรีเซนเตอร์นำเสนอขายสินค้า ขณะที่อันดับ 3 คือโฆษณาร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดอย่าง แมคโดนัลด์ ซึ่งมักเป็นการโฆษณาอาหารชุดแฮปปี้มีลล์ที่ใช้ของเล่นมาเป็นของแถมจูงใจ ชื่อผลิตภัณฑ์ ความถี่ของการโฆษณา น้ำหนักสุทธิ ปริมาณน้ำตาล ปริมาณน้ำตาลต่อ 100 กรัม ปริมาณไขมัน ปริมาณไขมันต่อ 100 กรัม ปริมาณโซเดียม ปริมาณโซเดียมต่อ 100 กรัม 1.โอวัลติน 20 180 มิลลิลิตร 14 กรัม 7.7 2 กรัม 1.1 140 มิลลิกรัม 0.07 2.แบรนด์ 16 42 มิลลิลิตร ไม่มีข้อมูล 3.แมคโดนัลด์* 13 171 กรัม 8 กรัม 4.6 28 กรัม 16.37 730 มิลลิกรัม 0.42 4.ทิวลี่ เมจิก ทวิน 12 15 กรัม 3 กรัม 20 3 กรัม 20 55 มิลลิกรัม 0.36 5.แลคตาซอย 10 300 มิลลิลิตร 28 กรัม 9.3 11 กรัม 3.6 160 มิลลิกรัม 0.05 6.ไวตามิลค์ 10 250 มิลลิลิตร 23 กรัม 9.2 8 กรัม 3.2 45 มิลลิกรัม 0.018 7.เนสท์เล่ โกโก้ครั้นช์ 9 25 กรัม 9 กรัม 36 1 กรัม 4 50 มิลลิกรัม 0.2 8.เอส 26 โปรเกรส โกลด์ 8 200 มิลลิลิตร 15 กรัม 7.5 7 กรัม 3.5 95 มิลลิกรัม 0.047 9.เดอะ พิซซ่า คัมปานี 7               10.โค้ก 6 325 มิลลิลิตร 31 กรัม 9.5 0 0 20 มิลลิกรัม 0.006 11.นมพร้อมดื่ม เอนฟาโกรว เอ+ 6 180 มิลลิลิตร 8 กรัม 4.4 6 กรัม 3.3 70 มิลลิกรัม 0.03 12.โฟร์โมสท์ 6 225 มิลลิลิตร 9 กรัม 3.9 3 กรัม 1.3 120 มิลลิกรัม 0.05 13.เคลลอกซ์ คอร์นฟรอสตี้ 6 30 กรัม 9 กรัม 30 0 0 170 มิลลิกรัม 0.56 14. เพียงริคุ ? 6 350 มิลลิลิตร น้ำตาลทราย6.80% + กลูโคสไซรัป 4.00% 10.8 0 0 0 0 15.พิซซ่า ฮัท** 5 118 กรัม 3 กรัม 0.71 13 กรัม 11 630 มิลลิกรัม 0.53 16.ปาร์ตี้ 5 40 กรัม 12 กรัม

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 140 กาเฟอีนในชาพร้อมดื่ม

เราทราบกันดีว่าเครื่องดื่มผสมกาเฟอีน (เครื่องดื่มชูกำลัง) เป็นเครื่องดื่มที่มีคำเตือน “ห้ามดื่มเกินวันละ 2 ขวด เพราะหัวใจจะสั่น นอนไม่หลับ เด็กและสตรีมีครรภ์ไม่ควรดื่ม ผู้ป่วยปรึกษาแพทย์ก่อน” อยู่บนฉลาก อีกทั้ง ด้วยเป็นเครื่องดื่มที่ผสมสารเสพติด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จึงได้ควบคุมปริมาณกาเฟอีนที่เป็นส่วนผสมไว้ว่าห้ามเกิน 50 มิลลิกรัม ต่อขวดหรือกระป๋อง (หน่วยบรรจุ) นอกจากนี้ ยังมีการควบคุมเรื่องการโฆษณาอีกต่างหากเพื่อให้ผู้บริโภคไม่เกิดความเข้าใจที่ขาดเคลื่อนเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ เช่น ต้องมีการระบุคำเตือนในสปอตโฆษณาทุกครั้ง และต้องไม่โฆษณาในลักษณะการแถมพก หรือให้รางวัลด้วยการเสี่ยงโชคหรือมีการให้ของแถม เป็นต้น อย่างไรก็ดี เรื่องที่ฉลาดซื้อจะนำข้อมูลมาให้ท่านผู้อ่านได้ทราบกันไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวข้างต้นหากแต่เป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีกาเฟอีนเหมือนกันแต่เป็นกาเฟอีน (Caffeine) ตามธรรมชาติ ซึ่งก็คือ ชาเขียว และกาแฟพร้อมดื่ม ด้วยเหตุผลที่ว่า มันไม่มีคำเตือน! และไม่ได้รับการควบคุมครับพี่น้อง   ด้วยกระแสความนิยมชาที่มีมาอย่างต่อเนื่อง (โดยเฉพาะชาเขียว) กับ กระแสกาแฟที่อ้างว่ากินแล้วหุ่นดี ไม่อ้วน ทำให้ผู้บริโภคหลายคนลืมไปว่าสิ่งที่ตนจะดื่มมีสารเสพติดเป็นส่วนผสมอยู่ด้วย (ถึงแม้จะมีการบังคับให้แสดงปริมาณกาเฟอีนบนฉลาก ชา – กาแฟ ก็ตาม) ผู้บริโภคบางคนถึงขนาดเคยพูดให้ผู้เขียนฟังว่า “ดื่มน้ำอัดลมไม่ดี ดื่มชา (เขียว) ดีกว่า ดีกับสุขภาพด้วย” ฉลาดซื้อฉบับนี้จึงขออาสาเอาฉลากชา แต่ละยี่ห้อ จำนวน 23 ตัวอย่าง (13 ยี่ห้อ) ทั้งชาเขียว ชาขาว ชาดำ ฯลฯ และปิดท้ายด้วยกาแฟกระป๋อง โดยนำฉลากกาแฟจำนวน 3 ตัวอย่างบวกกับฉลากเครื่องดื่มชูกำลังจำนวน 4 ตัวอย่าง มากางเห็นกันอย่างชัดเจนว่า ผลิตภัณฑ์ของเจ้าใด มีกาเฟอีน มากน้อยต่างกันเพียงใด นอกจากนี้ เรามีสมนาคุณพิเศษแถมข้อมูลน้ำตาลบนฉลาก กับการแสดงฉลากโภชนาการ มาให้ท่านผู้อ่านได้ยลกันอีกด้วย     ภาพรวมจากการเปรียบเทียบฉลาก ชาสำเร็จรูปพร้อมบริโภคทั้งหมดที่สุ่มมาจะมีส่วนประกอบหลัก 2 ประการคือ น้ำชาและน้ำตาล (หรือสารอื่นที่ให้ความหวานแทนน้ำตาล) โดยในน้ำชานั้นจะมีกาเฟอีนอยู่ระหว่าง เกือบ 7 ถึง 20 มิลลิกรัม ต่อ 100 มิลลิลิตร ขณะที่กาแฟกระป๋องมีกาเฟอีนอยู่ที่ 40 – 80 มล.ต่อ 100 มิลลิกรัม หากคำนวณเป็นปริมาณกาเฟอีนต่อภาชนะบรรจุแล้วจะพบว่าอยู่ในช่วง ประมาณ 23 ถึง 101 มิลลิกรัมต่อภาชนะบรรจุ ส่วนกาแฟกระป๋องจะมีกาเฟอีนอยู่ที่ 98 – 144 มิลลิกรัมต่อกระป๋อง และเครื่องดื่มผสมกาเฟอีนทั้งหมดจะมีกาเฟอีนอยู่ที่ 50 มิลลิกรัม/ขวด สำหรับการแสดงฉลากโภชนาการ สัดส่วนอยู่ที่ 1 ต่อ 3 โดยมีการแสดง 1 ส่วน ขณะที่ อีก 2 ส่วนไม่มีการแสดงซึ่งทำให้ผู้บริโภคที่ใช้ฉลากเพื่อการตัดสินใจจะพบความลำบากเมื่อต้องการทราบปริมาณน้ำตาลว่ามีอยู่เท่าไร บทวิเคราะห์ ชาพร้อมดื่ม(ทุกประเภท) เป็นเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีนตามธรรมชาติในปริมาณต่อหน่วยบรรจุภัณฑ์ที่ไม่ต่างกันกับเครื่องดื่มผสมกาเฟอีน นอกจากนี้ยังมีน้ำตาลสูง ยิ่งไปกว่านั้นด้วยมีการบังคับแสดงคำเตือน ว่า “ห้ามดื่มเกินวันละ 2 ขวด เพราะหัวใจจะสั่น นอนไม่หลับ เด็กและสตรีมีครรภ์ไม่ควรดื่ม ผู้ป่วยปรึกษาแพทย์ก่อน” สำหรับเครื่องดื่มผสมกาเฟอีน ดังนั้นชาพร้อมดื่มจึงไม่ใช่เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพตามที่ผู้ประกอบการทำให้เราเข้าใจแต่อย่างใด การบริโภคชาพร้อมดื่มเกินกว่าวันละ 2 ขวดคู่กับการดื่มกาแฟวันละ 1 – 2 แก้ว หรืออาหารอื่นที่มีกาเฟอีนเป็นส่วนประกอบ อาจจะนำมาซึ่งอาการติดกาเฟอีน (Caffeinism) ได้ (การได้รับกาเฟอีนเกินกว่า 250 มก./วันนำมาซึ่งอาการติดกาเฟอีน : อาการหงุดหงิด ทำงานไม่ได้ จนกว่าจะเพิ่มปริมาณคาเฟอีนในกระแสเลือดก่อน) อีกทั้งยังอาจนำมาซึ่งโรคอ้วนและโรคเบาหวาน (จากการได้รับน้ำตาลมากเกินไป – เกณฑ์น้ำตาลต่อวันที่นักโภชนาการแนะนำคือ 6 ช้อนชา หรือ 24 กรัมต่อวัน) หน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการแสดงฉลากอาหาร หรือ อย. จึงควรมีการบังคับให้มีฉลากคำเตือนแบบเดียวกันกับที่มีในเครื่องดื่มผสมกาเฟอีนอื่นๆ ด้วยเช่นกัน ฉลาดซื้อแนะนำ 1. ถ้าต้องการดื่มชาเพื่อสุขภาพ ขอแนะนำให้ชงชาดื่มเองเพราะไม่ได้ยุ่งยากอะไรแค่ใส่ใบชาลงในน้ำร้อน ทิ้งไว้ไม่เกิน 3 นาที (เกินกว่านี้ สารแทนนินจะออกมามากทำให้มีรสขม) 2. อย่าเข้าใจว่า ชาเขียวพร้อมดื่มดีต่อสุขภาพ เพราะในระหว่างกระบวนการผลิตชาพร้อมดื่มที่ต้องใช้ความร้อนสูงในการฆ่าเชื้อโรค ทำให้สารที่เป็นประโยชน์ในชาหายไปจนเกือบหมดแล้ว 3. สำหรับผู้ชื่นชอบชาพร้อมดื่ม เราขอแนะนำให้ดื่มไม่เกินวันละ 2 ขวด (แบบไม่มีน้ำตาล) โดยเด็กและสตรีมีครรภ์ไม่ควรรับประทาน และผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์ก่อน 4. สำหรับท่านที่ชอบดื่มชาปกติ (มีน้ำตาล) ฉลาดซื้อแนะว่า ขวดเดียวต่อวันก็เกินพอครับ (หวานเกิ๊น )

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 105 กระแสต่างแดน

มือถือรุ่นสกัดบริการเสริมปัญหาเรื่องค่าธรรมเนียมบริการเสริมในโทรศัพท์มือถือนี่ไม่ใช่มีแต่ในเมืองไทยกันนะพี่น้อง ผู้บริโภคชาวออสซี่เขาก็สุดทนกับรายจ่ายอันไม่คาดฝันที่โผล่มาพร้อมบิลค่าบริการโทรศัพท์มือถือเหมือนกันล่าสุดทางการเขาก็คิดทางเลือกกันขึ้นมาสองทาง หนึ่งคือออกข้อบังคับให้เครื่องรับโทรศัพท์ทุกเครื่องถูกตั้งมาให้ไม่สามารถรับบริการเสริม (ที่คิดเงินเพิ่ม) จนกว่าเจ้าของจะไปแจ้งว่าตนเองต้องการใช้บริการดังกล่าว หรืออย่างที่สอง คือ ไม่ต้องไปทำอะไรกับเครื่องโทรศัพท์ แต่ให้ผู้บริโภคเป็นฝ่ายแจ้งมาเองถ้าต้องการให้เครื่องรับของตนเองบล็อกบริการสิ้นเปลืองดังกล่าวท้ายสุดคณะกรรมาธิการการแข่งขันและคุ้มครองผู้บริโภคแห่งออสเตรเลีย (Australian Competition and Consumer Commission: ACCC) เห็นด้วยอย่างยิ่งกับทางเลือกที่หนึ่งที่จะมีโทรศัพท์ชนิดที่ “ไม่รับ” บริการเสริมออกมาจำหน่าย และถ้าผู้บริโภคสนใจบริการเสริมใดๆ ก็โทรไปแจ้งขอเปิดรับบริการ ซึ่งจะดีอย่างยิ่งสำหรับผู้ปกครองที่ต้องการควบคุมค่าใช้จ่ายและการเข้าถึงสื่อของลูกๆACCC ฟันธงแล้วว่าจะนำเสนอรูปแบบนี้ต่อคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคม ในขณะที่วิจารณ์ว่าทางเลือกที่สองนั้นค่อนข้างจะอ่อนไปหน่อย เพราะผู้บริโภคส่วนใหญ่อาจไม่รู้ว่าพวกเขาสามารถโทรไปขอให้มีการบล็อคโทรศัพท์ได้   เมื่อขยะเดินทางไกลปัจจุบันขยะอิเล็กทรอนิกส์ในยุโรปนิยมเดินทางไปต่างประเทศกันมากขึ้น ทำให้ธุรกิจขนส่งขยะอิเล็กทรอนิกส์ไปยังปลายทางอย่าง จีน อินเดีย อินโดนีเซีย หรืออัฟริกา นั้นเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วเหตุที่ขยะเหล่านั้นต้องเดินทางกันมากขึ้นก็เพราะกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวดมากขึ้นของยุโรปนั่นเอง ตั้งแต่การรีไซเคิลหรือการกำจัดอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งถือเป็นภาคบังคับ การเก็บภาษีการเผาขยะ (ซึ่งแพงมากๆ) ไปจนถึงการห้ามเด็ดขาดเรื่องการเอาขยะไปถมที่ยกตัวอย่างเช่น การเผาขยะในเนเธอร์แลนด์นั้น แพงกว่าการส่งขยะลงเรือไปประเทศจีนถึง 4 เท่า นี่คิดเทียบกับการส่งออกขยะแบบถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น ความจริงแล้วสามารถถูกลงกว่านั้นได้อีกถ้าเป็นการดำเนินการแบบใต้ดิน (หรือจะเรียกว่าใต้น้ำดี) ที่คุณสามารถส่งขยะของคุณไปยังประเทศอันห่างไกลแล้วทำให้มันสาบสูญไร้ร่องรอยไปโดยไม่ต้องใช้ทุนมากข่าวบอกว่าในบรรดาขยะที่ส่งออกไปจากยุโรปนั้น มีถึงร้อยละ 16 ที่เป็นการส่งไปแบบผิดกฎหมาย แต่ขยะที่ไม่มีทั้งพาสปอร์ตและวีซ่าเหล่านี้สามารถผ่านออกไปได้ฉลุยเพราะท่าเรือส่วนใหญ่ไม่ค่อยเข้มงวดกับสินค้าที่ส่งออกมากเท่ากับสินค้านำเข้า ที่สำคัญยังมีเรือที่นำเสื้อผ้าราคาถูกเข้ามาส่งในยุโรปแล้วไม่อยากกลับบ้านเรือเปล่าอีกจำนวนไม่น้อยด้วยปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ในยุโรปนั้นลดลงมากกว่าครึ่งจากที่คาดการณ์ไว้ แต่องค์กรด้านสิ่งแวดล้อมของยุโรป (European Environment Agency) บอกว่า ดูท่าแล้วคงจะลดลงเพราะถูกลักลอบส่งออกไปมากกว่าปัจจุบันท่าเรือร็อตเตอร์ดัม ซึ่งเป็นท่าเรือที่จอแจที่สุดในยุโรป ทำหน้าที่เป็นชุมทางเรือบรรทุกขยะไปโดยปริยาย ขยะกระดาษ พลาสติก หรือโลหะจากยุโรปจะถูกส่งไปยังประเทศจีน ในขณะที่ขยะอิเล็กทรอนิกส์จะไปที่ปลายทางในอัฟริกาที่ กาน่า อียิปต์ และไนจีเรียณ ประเทศปลายทางของเรือที่ออกจากท่านี้จะมีเด็กๆ คอยทำหน้าที่แยกชิ้นส่วนต่างๆ (ซึ่งเป็นไปได้อย่างยิ่งที่จะมีสารพิษ) ที่สามารถนำกลับไปใช้ได้ ส่วนขยะอีกจำนวนหนึ่ง (ที่กฏหมายยุโรประบุว่า ต้องนำไปรีไซเคิล) ก็จะถูกเผาหรือปล่อยไว้ให้ผุพังไปตามอัธยาศัยที่ท่าเรือร็อตเตอร์ดัมนั้นมีการใช้เครื่องเอ็กซ์เรย์ และการวิเคราะห์ด้วยคอมพิวเตอร์เพื่อหาตู้สินค้าน่าสงสัยและจัดการปรับผู้กระทำผิด และส่งขยะเหล่านั้นกลับไปยังประเทศต้นตอ แต่ฝ่ายที่แอบส่งขยะไปประเทศที่สามอย่างผิดกฎหมายนี้มองว่าค่าปรับแค่ 22,000 เหรียญ (เจ็ดแสนกว่าบาท) นั้นถือว่าคุ้มมาก ซึ่งยังถือว่าเป็นอัตราที่ผู้ลักลอบส่งขยะเหล่านั้นมองว่าน่าเสี่ยงไปไม่พ้น จีเอ็มโอผู้บริโภคทั่วโลกนั้นชัดเจนมานานแล้วว่าไม่ต้องการอาหารที่ผ่านการดัดแปรพันธุกรรม แต่ดูเหมือนว่า แม้ในประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่ปฏิเสธอาหารดัดแปรพันธุกรรมอย่างเป็นทางการไปเมื่อ 10 ปีที่แล้วอย่างประเทศอังกฤษก็กำลังเผชิญกับปัญหา หนีไม่พ้นจีเอ็มโอปัจจุบันสองในสามของถั่วเหลือง 2.6 ล้านตันที่อังกฤษนำเข้านั้น เป็นถั่วเหลืองที่ดัดแปรพันธุกรรมที่ส่วนใหญ่ส่งมาจากประเทศในทวีปอเมริกาและระบุว่าใช้เพื่อเป็นอาหารสัตว์ นอกจากนี้น้ำมันจากถั่วเหลืองที่ดัดแปรพันธุกรรม ก็ใช้กันแพร่หลายในธุรกิจอาหารในประเทศด้วยเมื่อดูจากปริมาณการนำเข้าแล้วก็ดูจะเชื่อได้ยากเหลือเกินว่าอาหารที่วางขายอยู่ทั่วไปในอังกฤษนั้นจะปลอดจากพืชดัดแปรพันธุกรรม และการตรวจสอบต้นตอที่มาของมันก็ยากขึ้นทุกที เจ้าหน้าที่ระดับสูงคนหนึ่งให้สัมภาษณ์ว่าถ้านำอาหารพวกนั้นไปตรวจก็มีความเป็นไปได้อย่างยิ่งที่จะพบพืชดัดแปรพันธุกรรมเป็นส่วนผสมปัญหาอีกอย่างหนึ่งของพืชพันธุ์จีเอ็มโอก็คือ การผูกขาดเมล็ดพันธุ์ จะว่าไปแล้ว อำนาจของธุรกิจในการควบคุมเมล็ดพันธุ์เพื่อการค้าและการผลิตสารเคมีการเกษตรไม่เคยมากเท่านี้มาก่อน ปัจจุบันร้อยละ 82 ของเมล็ดพันธุ์ในตลาดโลกเป็นเมล็ดพันธุ์ที่ “มีเจ้าของ” ที่สำคัญเกือบครึ่งหนึ่งของเมล็ดพันธุ์อันมีลิขสิทธิ์ในตลาดโลกซึ่งมีมูลค่าถึง 22,000 ล้านเหรียญสหรัฐนั้น ถูกยึดครองโดยสามบริษัทใหญ่ ได้แก่ มอนซานโต และดูปองท์ จากสหรัฐฯ และ ซินเจนต้าจากสวิตเซอร์แลนด์ เท่านั้นและสามบริษัทที่กล่าวมารวมกับ Bayer BASF และ DowAgro Sciences ก็ครองตลาดสารเคมีการเกษตรไปถึง 3 ใน 4 ของโลกแล้วเช่นกัน เอาอะไรมาแลก ก็ไม่ยอมสองในสามของผู้บริโภคชาวอเมริกัน ไม่เห็นด้วยกับการถูกบริษัทโฆษณาเฝ้าติดตามพฤติกรรมออนไลน์ แม้ว่ามันจะหมายถึงการได้คูปองส่วนลดหรือการได้รับข่าวสารเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่ตนเองสนใจก่อนใครโดยอัตโนมัติก็ตามการสำรวจครั้งนี้พบว่าร้อยละ 66 ของผู้ตอบคำถาม (ซึ่งได้แก่ผู้ใช้อินเตอร์เน็ท ที่อยู่ในวัยระหว่าง 18 ถึง 24 ปี ทั้งหมด 1,000 คน) ไม่เห็นด้วยกับการที่บริษัทต่างๆ ส่งโฆษณามาให้ โดยอ้างอิงจากพฤติกรรมการใช้อินเตอร์เน็ทในการหาข้อมูลของตนเองก่อนหน้านั้น และเมื่อได้ทราบถึงวิธีการต่างๆ ที่เว็บไซต์ใช้ในการติดตามเก็บข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง ทั้งทางออนไลน์ และออฟไลน์ (เช่น ณ จุดขาย) อัตราส่วนของผู้ที่ไม่เห็นด้วยกลุ่มผู้ใช้อินเตอร์เน็ทเหล่านี้ ก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วยเรื่องนี้ค้านกับข้อสรุปของนักการตลาดที่ทึกทักเอาว่าการติดตามพฤติกรรมผู้บริโภคทางอินเตอร์เน็ทเป็นสิ่งที่ทำได้ไม่ต้องเกรงใจ เพราะบรรดาวัยรุ่นใน Facebook นั้นไม่มีปัญหากับการเปิดเผยข้อมูลของตนเองให้คนทั่วไปได้รับรู้แต่อย่างใด และโฆษณานี่แหละคือสิ่งที่ทำให้ผู้บริโภคสามารถหาข้อมูลได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายประมาณร้อยละ 70 ของผู้ตอบบอกว่าเห็นด้วยกับการมีกฎหมายที่ให้สิทธิกับผู้ใช้อินเตอร์เน็ทได้รับรู้ว่าเว็บไซต์รู้อะไรเกี่ยวกับพวกเขาบ้าง ในขณะที่มีเสียงอีกท่วมท้น (มากกว่าร้อยละ 90) บอกว่าน่าจะมีกฎหมายที่ระบุให้ทางเว็บไซต์ลบข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับบุคคลใดบุคคลหนึ่งทันทีที่ได้รับการร้องขอที่สำคัญการสำรวจครั้งนี้ยังพบว่า มีผู้ตอบแบบสอบถามน้อยกว่าครึ่งที่เข้าใจถูกต้องว่าถึงแม้เว็บไซต์จะมีสิ่งที่เรียกว่า “นโยบายเรื่องความเป็นส่วนตัว” แต่ก็ยังสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลของเว็บตัวเองกับบริษัทอื่นๆ ได้อยู่ดี 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 97 กระแสต่างแดน

กระแสต่างแดน 97 ศศิวรรณ ปริญญาตร บทต้องห้ามเมื่อเร็วๆ นี้รัฐบาลจีนออกประกาศห้ามไม่ให้นักแสดงหรือบุคคลอื่นที่ไม่มีคุณวุฒิ มารับบทเป็นแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญในภาพยนตร์โฆษณายาทางโทรทัศน์อย่างเด็ดขาด ที่ประเทศจีนนั้นโทรทัศน์ทุกช่องต่างก็อุดมไปด้วยโฆษณายาหรือผลิตภัณฑ์สุขภาพ และผู้ผลิตสินค้าเหล่านั้น จะนิยมใช้ “แพทย์” หรือ “นักวิชาการ” เป็นผู้นำเสนอสินค้าของตน เพื่อทำให้ผู้บริโภคเกิดความเชื่อถือแต่ความมาแตกเอาเมื่อมีคนพบว่าบรรดา “ผู้รู้” ที่ว่านี้ ทั้งที่เป็นคนๆ เดียวกันกลับมีหลายชื่อแซ่ และมีความเชี่ยวชาญแตกต่างกันไป เรื่องนี้จุดประกายโดยผู้ชมโทรทัศน์รายหนึ่งที่บังเอิญจำได้ว่า คุณหมอกูโปฉิน ที่อยู่ในโฆษณายารักษาโรคเบาหวานนั้นเป็นคนเดียวกันกับนายซุนยุน “ผู้เชี่ยวชาญ” ด้านธนบัตรหายากในโฆษณาอีกชิ้นหนึ่ง และแถมยังเป็น “อาจารย์มหาวิทยาลัย” นามว่าลูซิง ในโฆษณาอีกชิ้นด้วย ว่าแล้วเขาก็นำภาพจากโฆษณาสามชิ้นนั้นไปโพสต์ไว้ในอินเตอร์เน็ต จึงทำให้เกิดกระแสการติดตามสืบเสาะหา “ผู้เชี่ยวชาญในการแสดงเป็นผู้รู้” เหล่านี้ขึ้น และพบว่ามีผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ตัวปลอมปรากฏตัวอยู่บนจอโทรทัศน์อย่างน้อย 12 คน บรรดามหาวิทยาลัยและโรงพยาบาลต่างๆ ก็ต้องคอยจับตาดูโฆษณาว่ามีใครมาแอบอ้างว่าเป็น “ผู้เชี่ยวชาญ” ที่ประจำการอยู่ในหน่วยงานของตนบ้าง เพื่อจะได้รีบออกมาปฏิเสธความเกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าว และช่วยหยุดยั้งกระบวนการหลอกลวงผู้บริโภคได้ทันการ ลืมบอกไปว่าโทษจากการฝ่าฝืนประกาศดังกล่าวจะทำให้บริษัทถูกเพิกถอนใบอนุญาตโฆษณา และถูกระงับการขายผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเป็นระยะเวลาหนึ่งด้วย เมื่อความจนกลายเป็นจุดขายรีอาลิตี้ โชว์ก็ดูกันมาแล้ว ลองไปเที่ยวรีอาลิตี้ทัวร์กันดูบ้าง กระแสการตอบสนองความอยากรู้อยากเห็นของมนุษย์ ในเรื่องต่างๆ ในแบบที่มันเกิดขึ้นจริง โดยปราศจากการตระเตรียมหรือแต่งเติม ได้ทำให้เกิดการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่กันไปเป็นที่เรียบร้อย รูปแบบการท่องเที่ยวที่กำลังมาแรงแข่งกับทัวร์แนวหรูที่พาคุณไปดูแต่ของสวยๆงามๆ ได้แก่ ทัวร์ที่พานักเดินทางไปสัมผัสกับชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนแออัดตามเมืองใหญ่ๆ หรือที่หลายคนเรียกว่าพัวริซึ่ม (poorism) แหล่งท่องเที่ยวยอดฮิตขณะนี้ได้แก่ ย่านชุมชนแออัดในเมืองริโอ เดอจาเนโร ของบราซิล ย่านทาราวีในเมืองมุมไบของอินเดีย และเขตมูคูรูในกรุงไนโรบี เมืองหลวงของเคนยา ว่ากันว่านักท่องเที่ยวสนใจทัวร์ประเภทดังกล่าว เพราะมันทำให้พวกเขาได้มีโอกาสพูดคุยกับคนในชุมชน ได้เห็นสภาพความเป็นอยู่ที่แท้จริงของคนแถวนั้น แต่คนในท้องถิ่นก็มีทั้งที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับการท่องเที่ยวแบบนี้เพราะถึงแม้มันจะเป็นโอกาสในการสร้างเศรษฐกิจชุมชน แต่มันก็หมายถึงการถูกรุกล้ำความเป็นส่วนตัวไปพร้อมๆ กันด้วย ถ้ารักจะเที่ยวทัวร์แบบนี้กันจริงๆ เขาก็มีคำแนะนำว่าให้นักท่องเที่ยวเลือกสนับสนุนเฉพาะทัวร์ที่จัดอย่างรับผิดชอบต่อสังคมด้วย อย่าไปกับทัวร์แชะ ประเภทเอารถตู้ไปจอดประชิดบ้านเขาแล้วให้นักท่องเที่ยวถ่ายรูปตามใจชอบเด็ดขาด ทัวร์ที่น่าสนใจก็เป็นประเภทเดินเท้า หรือทัวร์จักรยานที่จะให้โอกาสคุณได้สัมผัสชีวิตผู้คนพูดคุยกับชาวบ้าน ซื้อสินค้าจากงานฝีมือเขาบ้าง ที่ใช้นโยบายห้ามใช้กล้องโดยเด็ดขาด ก็มีให้เลือกไม่น้อย ข่าวบอกมาด้วยว่า ภาพยนตร์เรื่อง Slumdog Millionaire ที่เพิ่งจะได้รับรางวัลไปเป็นหอบ ก็มีส่วนทำให้กระแสความนิยมในการท่องเที่ยวแบบนี้เป็นที่นิยมกันมากขึ้นด้วย ผู้ดียืนยันไม่เอาโฆษณาแฝงในรายการโทรทัศน์ บรรดาผู้ผลิตสินค้าทั้งหลายต่างก็ผิดหวังคอตกกันไปตามๆ กันเมื่อในที่สุดรัฐบาลอังกฤษก็ยังคงไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาแฝงในรายการโทรทัศน์ เราอาจจะเห็นโฆษณาแฝงกันจนชิน ทั้งในบ้านเราเองและในรายการโทรทัศน์จากฝั่งอเมริกา แต่ที่ประเทศอังกฤษนั้น เรื่องนี้เป็นสิ่งที่ทำไม่ได้ ที่เป็นประเด็นขึ้นมาเพราะช่วงหลังๆ นี้รายได้ของบรรดาสถานีโทรทัศน์ในอังกฤษนั้นตกลงอย่างฮวบฮาบ เพราะทั้งคนดู ทั้งโฆษณาต่างก็พากันไปนัดพบกันในที่แห่งใหม่ซึ่งได้แก่ อินเตอร์เน็ตอย่างที่เรารู้กัน ทางสมาคมบริษัทโฆษณาก็เลยเสนอว่า ทำไมไม่ลองผ่อนปรนกฎเกณฑ์เรื่องการห้ามโฆษณาแฝงดู เพราะมันจะช่วยกระตุ้นให้เกิดรายได้กับสถานีโทรทัศน์ถึง 72 ล้านปอนด์ (3,600 ล้านบาท) ทีเดียว แต่รัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรมเขาก็ยืนยันว่า ยังไม่มีหลักฐานชัดเจนจากที่ไหนเลยว่าการอนุญาตให้มีโฆษณาแฝงจะส่งผลดีต่อภาวะการเงินของทางสถานี ในขณะที่เรื่องของการผ่อนผันกฎเกณฑ์เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ ที่ส่งผลกระทบกับคนเป็นจำนวนมาก ผู้บริหารสูงสุดของสถานีโทรทัศน์ช่อง 4 ของอังกฤษบอกว่า “เขาก็เห็นด้วยกับการตัดสินใจของรัฐบาล เพราะการปล่อยให้มีโฆษณาแฝงนั้นจะทำให้สถานีขาดความน่าเชื่อถือ ในขณะที่จะได้ผลตอบแทนเป็นตัวเงินเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งคิดแล้วไม่คุ้มกันเลย” ยินดีกับผู้บริโภคในประเทศอังกฤษด้วย แต่ไม่แน่ใจว่าจะดีใจกันไปได้อีกนานแค่ไหนเพราะข่าวบอกว่าเขาจะมีการทบทวนเรื่องนี้กันอีกครั้งในอีกสองปีข้างหน้า อยากดำเสี่ยงก็ยอม ในขณะที่สาวๆ บ้านเรานิยมฉีดกลูตาไธโอนให้ผิวขาวผ่อง คนที่ขาวผ่องอยู่แล้วกลับพยายามทำให้ตัวเองดูผิวคล้ำขึ้นด้วยวิธีการฉีดสารเมลาโนแทนเข้าผิวหนังบริเวณท้อง (ช่างกล้ากันจริงๆ) ว่ากันว่าที่ประเทศอังกฤษนั้น เทรนด์นี้มาแรงมากๆ แม้ว่าทางการจะออกมาเตือนแล้วเตือนอีกว่าสารดังกล่าวเป็นอันตรายต่อระบบภูมิคุ้มกันและการทำงานของหัวใจ ตามด้วยความเสี่ยงจากการใช้เข็มฉีดยาร่วมกันอีก แต่กลับมีรายงานจากหน่วยงานที่ให้บริการเข็มฉีดยา ว่ามีคนโทรมาขอเข็มฉีดยาไปใช้ฉีดสารนี้กันมากขึ้น หน่วยงานที่ดูแลเรื่องนี้ พยายามรณรงค์ให้ร้านต่างๆ หยุดขายสารเมลาโนแทนให้กับผู้บริโภค ซึ่งการขายสารดังกล่าวถือเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย เพราะยังไม่ได้ขึ้นทะเบียน (และยังไม่ผ่านการตรวจสอบยืนยันเรื่องความปลอดภัย) แต่อุปกรณ์ชุดทำผิวแทนด้วยตนเองนี้กลับมีขายกันทั่วไปตามร้านเสริมสวย สถานออกกำลังกาย และในอินเตอร์เน็ต ที่สนนราคา 25 ปอนด์ (1,300 บาท) ประกอบด้วยเข็มฉีดยา ผงเมลาโนแทน และน้ำบริสุทธิ์อีกหนึ่งขวด ให้หนุ่มสาวเดนตายทั้งหลายซื้อไปใช้กัน สารเมลาโนแทนนี้คิดค้นขึ้นมาโดยบริษัทแห่งหนึ่งในออสเตรเลียเพื่อใช้รักษาความผิดปกติของผิวหนัง ชื่ออย่างเป็นทางการของมันคือ CUV 1647 ที่ยังไม่อนุญาตให้ใช้ได้ในคน แต่ใช้ในการวิจัยได้ แต่แล้ววันหนึ่งมีมือดีมาขโมยสารดังกล่าวไป แล้วมันก็มาโผล่ในตลาดมืดอย่างที่บอก บาร์โค้ดในซูเปอร์มาเก็ตก็โกงได้ คุณไว้ใจเครื่องสแกนบาร์โค้ดในซูเปอร์มาเก็ตแค่ไหน ที่อื่นยังไม่ทราบแต่ที่นิวซีแลนด์นั้นเขาทำวิจัยออกมาแล้วว่าอัตราความผิดพลาดนั้นสูงถึงร้อยละ 4 ทีเดียว ความผิดพลาดที่ว่านั้น ได้แก่ การลืมเปลี่ยนราคาจากราคาเต็มเป็นราคาโปรโมชั่น หรือการใส่ราคาผิดจากขนาดของผลิตภัณฑ์ เป็นต้น จึงมีบ่อยครั้งที่ผู้บริโภคเข้าใจว่าตนเองกำลังซื้อสินค้าราคาพิเศษ โดยไม่รู้ตัวเลยว่าตนเองก็จ่ายราคาเต็มอยู่ หรือซื้อเครื่องดื่มขนาดเล็กแต่จ่ายราคาของขวดขนาดใหญ่นั่นเอง พอล พิคเคอริง อาจารย์ภาควิชาธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีโอ้คแลนด์ตั้งสมมุติฐานไว้ว่าอัตราความผิดพลาดนั้นอย่างต่ำก็ร้อยละ 4 (หรือจากสินค้าที่สแกนทุกๆ 25 ชิ้นนั้นจะมี 1 ชิ้นที่ตั้งราคาผิด) และความผิดพลาดมักเกิดขึ้นกับกรณีห้างใหญ่ๆ เพราะผู้คนนิยมจับจ่ายซื้อของเป็นจำนวนมากชิ้น พอลบอกอีกว่า มีผู้บริโภคชาวกีวี่ไม่ถึงร้อยละ 50 ที่ตรวจสอบใบเสร็จของตนเอง ว่าแต่เมื่อเกิดความผิดพลาดขึ้นแล้วผู้บริโภคเรียกร้องให้แก้ไข แล้วทางร้านแก้ตัวทันทีหรือเปล่า ผลการสำรวจระบุว่า นักช้อปมักเจอกับพนักงานที่ทำท่าเบื่อหน่ายเวลาที่เข้าไปติดต่อขอเงินคืน บ้างก็ต้องกรอกแบบฟอร์มยืดยาวกว่าจะได้เงินคืนมา 2 เหรียญ และมีบ้างที่เจอเงื่อนไขว่าจะได้คืนเป็นเงินสดต่อเมื่อจ่ายเงินไปด้วยบัตรเครดิตเท่านั้น อย่างไรก็ตามกฎหมายที่นี่ก็เข้มงวด เพราะเมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้วห้างทาร์เก็ต ถูกปรับเป็นเงินถึง 1.7 ล้านเหรียญสหรัฐ (60 ล้านบาท) โทษฐานที่แสดงราคาสินค้าที่ไม่อัพเดทและถูกกว่าราคาจริงที่ลูกค้าต้องจ่าย เมืองไทยจะมีโอกาสได้ปรับใครเป็นชิ้นเป็นอันแบบนี้บ้างไหมหนอ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 155 เมื่อรำคาญกับโฆษณา ในเฟซบุ๊ก ทำอย่างไร

โดย ดร.ไพบูลย์ ช่วงทอง เครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค ประธานอนุกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านสินค้าและบริการปัจจุบันนี้โปรแกรมโซเชียลมีเดีย เช่น เฟซบุ๊ก ได้เข้ามามีอิทธิพลต่อผู้คนในสังคมไทยเป็นอย่างมาก หลายๆ คนนิยมติดต่อ สื่อสาร แสดงสถานะของตนเอง ตลอดจนเปิดเผยข้อมูลที่ ทางผู้ประกอบการนิยมนำมาใช้ในการโฆษณาสินค้า และบริการ สินค้าบางชนิด ก็เป็นสินค้าที่นอกจากจะสร้างความรำคาญให้กับเราแล้ว สินค้าและบริการบางประเภท ก็อาจทำให้เกิดความรู้สึกตะขิดตะขวงใจ และบางครั้งก็อาจสร้างความอับอาย หากเพื่อนๆ ที่อยู่ในรายชื่อของเฟซบุ๊ก เราสามารถแวะเวียนเข้ามาดูได้ ไม่ว่าจะเป็นชุดชั้นใน บริการบางชนิดที่สุ่มเสี่ยงต่อการค้าประเวณี ยาเพิ่มและลดสมรรถภาพทางเพศ ยาที่โฆษณาชวนเชื่อว่าสามารถทำให้อกฟู รูฟิต ซึ่งก็เป็นที่น่าสงสัยว่า โฆษณาเหล่านี้ แวะเวียนผ่านเข้ามาในเฟซบุ๊กของเราได้อย่างไร วันนี้ผมขอแนะนำวิธีการ บล็อคโฆษณาที่แวะเวียนเข้ามารบกวนเรา ที่น่าจะมีประโยชน์กับผู้บริโภค ที่ปัจจุบันเฟซบุ๊กเข้ามายุ่งเกี่ยวกับชีวิตของเรามากทีเดียว   ขั้นตอนที่ 1 หลังจากที่เรา log in เข้าเฟซบุ๊กของเราเรียบร้อยแล้ว ก็เข้าไปคลิกที่รูปเฟืองเกียร์ รูปที่ 1ด้านขวามือบน หลังจากนั้นก็ เลือก “account setting” หลังจากนั้น graphic จะปรากฎขึ้นมา ให้เลือก “ads” ทางด้านซ้ายมือ (รูปที่ 2) หลังจากนั้น จะปรากฎ graphic ให้เลือก คลิก “edit” ของ Ads and Friends (รูปที่ 3) เมื่อ graphic ของ “Pair my social action with ads for No one” ในช่องสี่เหลี่ยม ตามรูปที่ 4 และอย่าลืม คลิก Save change เพื่อยืนยัน ขั้นตอนที่ 2 หลังจากนั้นใช้เม้าส์ เลื่อนขึ้นไปที่ “Third Party Sites” คลิกที่  “edit” ตามรูปที่ 5 และทำตามเช่นเดียวกับขั้นตอนที่ 1 เลือก ในช่อง “If we allow this in the future, show my information to No one” และ คลิก Save change เพื่อยืนยันอีกครั้ง ขั้นตอนที่ 3 ให้ คลิกไปที่ “opt out” ในช่อง “Website and Mobile App Custom Audiences” ตามรูปที่ 6 เมื่อ กราฟิกตามรูปที่ 7 ปรากฎขึ้น ให้คลิกไปที่ “opt out” อีกครั้ง ให้ปฏิบัติตามขั้นตอนที่ 1- 3 ในทุกเว็บ browser และในทุกอุปกรณ์สื่อสารทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ส่วนตัว สมาร์ตโฟน และแทบเล็ต จะเห็นว่าการป้องกันโฆษณาในเฟสบุค ยุ่งยากกว่า การ unfriend เพื่อนของเราที่หลายๆ ท่านคงจะได้ทำการ unfriend ออกไปจากรายชื่อของเฟซบุ๊กไปแล้ว ทุนนิยมสามานย์ สร้างความยุ่งยากให้กับชีวิตของเราได้มากกว่า ความสัมพันธ์ส่วนบุคคลมากกว่าที่เราเคยคิด สำหรับคนไทยก็คงต้องทนอยู่กันต่อไป เพราะเราคงไม่คิดจะเนรเทศตัวเองไปอยู่ต่างประเทศ เหมือนนักการเมืองที่ได้สร้างปัญหาไว้ และทิ้งให้เราเองต้องกลับมาแก้ปัญหาในระยะยาว สวัสดีปีม้า 2557 นะครับ   //

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 148 20 เรื่องที่ไม่อยากให้คุณเป็นไทยเฉย

ไข่ไก่ 2013 คุณเคยสงสัยหรือไม่ว่าราคาไข่ไก่ มันสามารถสะท้อนความสามารถในการดูแลเศรษฐกิจของรัฐบาลได้จริงหรือ งานวิจัย*ที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างราคาไข่ไก่ (เบอร์ 3 เพราะเป็นขนาดที่คนนิยมบริโภคมากที่สุด) กับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน และอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ระหว่างเดือนมกราคม พ.ศ. 2542 ถึง เมษายน พ.ศ. 2554 และนำมาหาค่าความสัมพันธ์ระยะยาวด้วยวิธี Johansen Co-integration Test นั้น พบว่าไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทั้งสามเลย ส่วนสาเหตุที่ไข่ไก่นาทีนี้ราคาขึ้นไปถึงฟองละ 5 บาทนั้น ท่านว่ามีอยู่หลายอย่าง ตั้งแต่เรื่องที่คาดเดาได้ เช่น แพงเพราะต้นทุนเพิ่ม ไม่ว่าจะค่าแรง หรือราคาอาหารสัตว์ (ข่าวบอกว่าอาหารเลี้ยงไก่นั้นราคาสูงกว่าไข่ไก่ถึงร้อยละ 76) บ้างก็ว่าไข่ไก่แพงเพราะแม่ไก่อ่อนแอเป็นโรค จึงออกไข่ได้น้อยลง จากที่เคยทำได้ 300 ฟองต่อปี ก็ลดลงมาเหลือ 280 ฟองเท่านั้น  ไหนจะปัจจัยเรื่องลมฟ้าอากาศที่ทำให้แม่ไก่ร้อนอกร้อนใจ ไข่ไม่ค่อยออกอีก นอกจากนี้การที่เนื้อไก่อินเทรนด์เพราะราคาถูกกว่าเนื้อสัตว์ชนิดอื่นๆ ก็ทำให้แม่ไก่จำเป็นต้องเออลี่รีไทร์มาถูกขายเป็นไก่เนื้อเร็วขึ้น และการชะลอการนำเข้าพันธุ์ไก่ไข่เนื่องจากไข่ไก่ล้นตลาดเมื่อปีก่อนก็มีส่วนทำให้มีแม่ไก่ในกระบวนการผลิตน้อยลงเช่นกัน นี่ยังไม่นับไปถึงเรื่องของการมีอำนาจเหนือตลาดของผู้ประกอบการรายใหญ่เพียงไม่กี่รายและการเลี้ยงไก่ที่ทำในรูปแบบของเกษตรพันธะสัญญาที่อาจจะน่าวิตกกว่าเรื่องของราคาไข่ด้วยซ้ำ   เราลองข้ามโลกไปดูราคาไข่ไก่ที่ต่างประเทศกันบ้าง ที่อังกฤษนั้นไข่ไก่ก็ราคาสูงขึ้นถึงร้อยละ 40 เพราะผู้คนนิยมบริโภคไข่จากไก่ที่ไม่ได้เลี้ยงด้วยอาหารดัดแปรพันธุกรรม ประกอบกับข้อกำหนดการเลี้ยงไก่ของสหภาพยุโรปที่ให้มีการปรับปรุงสภาพกรงไก่ สำหรับไก่ไข่ยืนกรง จึงทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นด้วย ลืมบอกไปว่า ... เดือนกันยายนนี้เตรียมพบกับรายการไข่ไก่ซูเปอร์เซลกันได้ เพราะมีแนวโน้มว่าไข่ไก่จะล้นตลาดกันอีกแล้วพี่น้อง!! งานวิจัยปี 2554 โดย กิตติศักดิ์ เจิมสิทธิประเสริฐ ธนพร ศรียากูล และ ชยงการ ภมรมาศ   ไม่อ้วนเอาเท่าไหร่ เด็กไทยทุก 10 คน จะมีอย่างน้อย 1 คนที่เป็นโรคอ้วน ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เราได้เห็นความพยายามจากหลายฝ่ายในการช่วยกันหาวิธีจัดการกับปัญหาโฆษณาอาหารเด็ก วายร้ายที่มีส่วนทำลายสุขภาพเด็กไทย ความแรงของโฆษณาขนมขบเคี้ยว น้ำอัดลม ฟาสต์ฟู้ด สามารถสะกดจิตเด็กๆ ให้รบเร้าพ่อ – แม่จนต้องยอมควักตังค์ซื้อหามาเอาใจลูก และอาหารที่โฆษณาทางสื่อต่างๆ โดยเฉพาะหน้าจอทีวีนั้น ต่างอุดมไปด้วย น้ำตาล โซเดียม ไขมัน และพลังงาน ที่มากเกินพอดี ส่งผลเสียต่อสุขภาพเด็กทั้งฟันผุ เบาหวาน ความดันโลหิต แม้ประเด็นปัญหาโฆษณาอาหารสำหรับเด็กจะถูกยกให้เป็นเรื่องต้องจัดการเร่งด่วน แต่ในโลกของความจริง เด็กๆ ยังคงถูกกระตุ้นให้ตกเป็นทาสของอาหารทำร้ายสุขภาพอยู่ตลอดเวลา อย่างกรณีน้ำอัดลมที่มีผลสำรวจว่าร้อยละ 30ของเด็กอายุ 6 – 15 ปี ดื่มน้ำอัดลม 5 – 6 ขวดต่อสัปดาห์ และมีถึง ร้อยละ10 ที่ดื่มน้ำอัดลมทุกวัน สภาพปัญหาสะท้อนว่ามาตรการที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นการจำกัดปริมาณการโฆษณา การควบคุมช่วงเวลาการออกอากาศ ห้ามแจกของเล่นหรือชิงโชคในขนม ไม่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใดๆ ในทางที่ดีขึ้น สุดท้ายภาระก็คงตกอยู่ที่ผู้ปกครองที่ต้องดูแลลูกๆ หลานๆ อย่างใกล้ชิดแต่เพียงลำพังโดยขาดมาตรการสนับสนุนใดๆ จากรัฐ   BPA กับการเบี่ยงเบนทางเพศ การศึกษาวิจัยถึงอันตรายของ BPA ได้รับความสนใจและโต้เถียงกันยาวนานมาก กว่าจะเป็นที่ยอมรับในปี ค.ศ. 2009 ทำให้เกิดเสียงเรียกร้องถึงความปลอดภัยของผู้บริโภค เพราะ Bisphenol A (BPA) เป็นส่วนประกอบสำคัญของพลาสติกและเรซิน ชนิด polycarbonate ที่ใช้อย่างแพร่หลายในผลิตภัณฑ์ที่ใช้ประจำวัน ตั้งแต่เคลือบภายในกระป๋องอาหารจนถึงขวดนมทารก BPA เป็นสารรบกวนฮอร์โมนเพศ เอสโตรเจน ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อการทำงานของร่างกาย การได้รับสาร BPA จึงอาจส่งผลทำให้ฮอร์โมนทางเพศในร่างกายเกิดความผิดปกติก่อให้เกิดการเข้าสู่วัยรุ่นเร็วกว่าปกติ และส่งผลให้เกิดการเบี่ยงเบนทางเพศ โดยกลุ่มเสี่ยงสำคัญคือเด็กทารกและเด็กเล็ก ที่มีความสามารถในการกำจัด BPA ออกจากร่างกายได้ต่ำ หลายประเทศจึงสั่งห้ามผลิต นำเข้าและใช้ขวดนมที่ผลิตจากพลาสติกชนิด polycarbonate (PC) ไม่ว่าจะเป็นสหภาพยุโรป แคนาดา สหรัฐอเมริกา จีน มาเลเซีย แอฟริกาใต้ เกาหลีใต้ ยูเออี บางประเทศแม้ไม่ได้สั่งแบนแต่ผู้ผลิตพร้อมใจกันรับผิดชอบต่อสังคมโดยยกเลิกการผลิตและจำหน่ายขวดนมที่มีสาร BPA ได้แก่ ญี่ปุ่น ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ประเทศไทยหน่วยงานรับผิดชอบหลักอย่าง อย. สคบ. และสมอ. ยังศึกษาข้อมูลอยู่ โดยคุณแม่ไทยที่ต้องเลี้ยงลูกด้วยขวดนม ต้องใส่ใจใฝ่รู้กันเอาเอง เลี่ยงขวดนมพลาสติกได้ก็เลี่ยง เลี่ยงไม่ได้ให้ใช้ที่เขียนว่า BPA Free และรอมาตรการคุ้มครองผู้บริโภคจากภาครัฐอย่างมีความหวังต่อไป   จับได้...แต่ไล่ไม่ทัน  ใครที่บ้านติดเคเบิลทีวีหรือดูโทรทัศน์ผ่านจานดาวเทียม คงจะสงสัยเหมือนกันว่า ไอ้ช่องทีวีที่มีให้ดูเป็นร้อยๆ ช่อง ทำไมโฆษณาส่วนใหญ่ถึงได้มีแต่พวกอาหารเสริม ไม่แก้โรคสารพัด ก็เสริมความงาม หรือไม่ก็เสริมสมรรถภาพทางเพศ  เรียกว่าเปิดไปช่องไหนก็เจอ จากที่ไม่สนใจพอดูไปนานๆ อาจจะเคลิ้มเผลอตัวสั่งซื้อมาใช้ไม่รู้ตัว บ้านเรามีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องปัญหาโฆษณาอาหารเสริมที่เป็นปัญหาหลายฝ่าย ตั้งแต่ กสทช. สคบ. อย. สมาคมผู้ประกอบการเคเบิลทีวี และสมาคมโฆษณาไทย แต่การทำงานเหมือนจะยังประสานกันไม่ลงตัว เคเบิลทีวีจึงคงเป็นแหล่งทำเงินของพ่อค้าอาหารเสริม หนึ่งจุดสำคัญที่ทำให้บรรดาพ่อค้าผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพโม้สรรพคุณยังคงโฆษณาขายของกันอย่างคึกคัก ก็เพราะบทลงโทษผู้ทำผิดที่แสนจะน้อยนิด คือปรับแค่ 30,000 บาท สำหรับผลิตภัณฑ์ที่โฆษณาเกินจริง เมื่อปีที่แล้ว อย. ได้ตรวจจับสินค้าที่เข้าข่ายโฆษณาเกินจริงได้กว่า 1,000 รายการ มูลค่ามากกว่า 20 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นอาหารเสริมซึ่งขึ้นทะเบียนกับ อย. ถูกต้อง แต่ว่าพอไปทำโฆษณากับโอ้อวดสรรพคุณเกินจริง โม้กันไปใหญ่โต จริงๆ อย.เขาแค่ออกทะเบียนเพื่อรับรองว่ากินได้ไม่ตายเท่านั้นเอง เพราะฉะนั้นใครที่ยังปักใจเชื่อว่าอาหารเสริมที่มี อย. รับรองแล้วต้องเป็นของดี คงต้องคิดใหม่ทำใหม่   ทิ้งกันลง อีก 6 เดือนข้างหน้า  หากไทยเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีการออกอากาศโทรทัศน์จากระบบอนาล็อกไปสู่ระบบดิจิตอลได้ คาดว่าจะมีทีวี 20 ล้านเครื่อง ถูกทิ้งและกลายเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่อันตรายแก่ดาวโลก WEEE(Waste from Electrical and Electronic Equipments) เป็นศัพท์ที่หมายถึง ซากเครื่องใช้หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งใช้กระแสไฟฟ้าหรือสนามแม่เหล็กในการทำงานที่ไม่ได้ตามมาตรฐาน (off-spec) หรือหมดอายุการใช้งาน หรือล้าสมัย ซึ่งแบ่งเป็น 10 ประเภท ใหญ่ ๆ 1 ประเภทในนั้น ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ขยะจากทีวีเก่าเป็นสิ่งอันตรายมาก เพราะมีโลหะหนักทั้ง ตะกั่ว แคดเมียม ปรอท ฯลฯ ซึ่งหากได้รับการจัดการที่ไม่เหมาะสม อาจก่อให้เกิดการรั่วไหลสู่สิ่งแวดล้อมและกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ นอกจากขยะจากทีวีเก่า ขยะอิเล็กทรอนิกส์จากเครื่องใช้ไฟฟ้า หรือ แกดเจทยอดฮิต อย่าง โทรศัพท์ แทบเล็ต ก็ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของขยะที่เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วด้วย  เพราะผู้บริโภคมักเบื่อง่าย อะไรใหม่ก็รีบคว้าไว้ ทิ้งของเก่าให้เป็นขยะ ในยุโรปขยะอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มจำนวนขึ้นร้อยละ 3-5 ต่อปี  ซึ่งเพิ่มขึ้นรวดเร็วกว่าขยะประเภทอื่นถึง 3 เท่า เอเชียเองก็ไม่น้อยหน้าชาวโลก เพราะมีการทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ประมาณ 12 ล้านตันต่อปี ข้อมูล  : กรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ , ส่วนของเสียอันตราย, สำนักจัดการกากของเสียและสารอันตราย กรมควบคุมมลพิษ   ไม่มีสาย แต่มีเสี่ยง ข้อมูลล่าสุด ณ ปี ค.ศ. 2011 ระบุว่าร้อยละ 85 ของประชากรโลกมีโทรศัพท์มือถือใช้ (หกพันล้านเลขหมาย) และกำลังเพิ่มจำนวนขึ้นตลอดเวลา อันตรายจากการใช้โทรศัพท์มือถือนั้นเป็นที่ตระหนักกันมาได้ระยะหนึ่งแล้ว และที่มีหลักฐานชัดเจนที่สุดคือการเกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาวและเนื้องอกในสมองในเด็กเล็ก แต่ก็มีงานวิจัยที่ได้ข้อสรุปออกมาในทางตรงข้ามเช่น งานวิจัยของสมาคมโรคมะเร็งเดนมาร์คที่พบว่าอัตราการเกิดมะเร็งของกลุ่มตัวอย่างไม่เปลี่ยนแปลงจากช่วงก่อนมีการใช้โทรศัพท์มือถือ แม้ปัจจุบันมีมาตรการป้องกันอันตรายจากความร้อนที่ปล่อยออกมาจากเครื่องโทรศัพท์ เช่น มาตรฐาน ICNIRP (The International Commission on Non-Ionizing Radiation Protection) ที่ควบคุมระดับการแผ่คลื่นแม่เหล็กฯ จากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ให้อยู่ในระดับที่ไม่ทำให้เนื้อเยื่อของมนุษย์มีอุณหภูมิสูงขึ้น แต่ยังไม่มีมาตรการใดๆ ออกมารองรับ อันตรายอื่นๆที่อาจเกิดขึ้นในระดับดีเอ็นเอ และสิ่งที่น่ากลัวกว่าสัญญาณจากเครื่องโทรศัพท์ คือสัญญาณจากเสาส่งที่ถูกปล่อยออกมาตลอดเวลา แถมเสาสัญญาณเหล่านี้ อยู่ดีๆ ก็ผุดขึ้นมาแบบไม่ถามชาวบ้านชาวช่องเสียด้วย ถ้าจำกันได้ เมื่อต้นปีชาวบ้านที่พะเยาได้ออกมาเรียกร้องให้ผู้ประกอบการย้ายเสาสัญญาณออกไปตั้งห่างจากตัวหมู่บ้านอย่างน้อย 400 เมตร เรื่องจบลงที่ผู้ประกอบการถูกปรับ 9,000 บาท แต่ไม่มีการสั่งย้ายเสาแต่อย่างใด การดูแลจัดการเรื่องนี้ยังไม่ชัดเจน แต่ความต้องการสัญญาณคุณภาพ ความเร็วในการรับ/ส่งข้อมูล (ซึ่งเราเชื่อว่าจะมาพร้อมกับระบบ 3G) ก็ทำให้ผู้ประกอบการตอบสนองด้วยการเพิ่มจำนวนเสาสัญญาณขึ้นอีก ข้อมูลจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ระบุว่าขณะนี้มีจำนวนสถานีฐานของผู้ประกอบการเพื่อรองรับบริการ 3G ทั้งหมด 3,650 สถานีทั่วประเทศ แยกเป็น AIS 3,512 สถานี  DTAC 130 สถานี และTRUE Move H อีก 8 สถานี ว่าแต่เราสามารถลดการเพิ่มจำนวนเสาสัญญาณ ด้วยการให้ผู้ประกอบการใช้เสาสัญญาณร่วมกันเหมือนในบางประเทศได้หรือไม่? ที่ผ่านมาผู้ประกอบการให้เหตุผลเรื่องความคล่องตัว จึงต้องต่างคนต่างตั้ง แล้วใครจะช่วยไขข้อข้องใจผู้บริโภคได้บ้าง?   ค้าปลีก หลังจากยินข่าวว่าบริษัทเจ้าของกิจการร้านสะดวกซื้อรายใหญ่ของไทยเข้าซื้อกิจการห้างค้าส่งขนาดใหญ่แล้ว หลายคนอาจวิตกว่านี่อาจหมายถึงการใช้อำนาจผูกขาดที่ทำให้ทางเลือกของผู้บริโภคลดลง เพราะสองเจ้านี้รวมกันก็มียอดขายเกือบครึ่งหนึ่งของยอดขายจากกิจการค้าปลีกค้าส่งในประเทศแล้ว ข่าวดีคือคุณไม่จำเป็นต้องตกใจมากนัก เพราะเขาเป็นห้างคนละประเภทที่มีลูกค้าคนละกลุ่ม ข่าวร้ายคือทางเลือกของเราถูกจำกัดมานานแล้ว ปัจจุบันเรามีกิจการค้าปลีก 3 รายใหญ่ที่มีอำนาจต่อรองสูง และทั้งหมดถือว่าเข้าข่าย “มีอำนาจเหนือตลาด” ตาม พ.ร.บ.แข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 แต่ตามกฎหมายแล้วห้างเหล่านี้ยังไม่ได้กระทำความผิดใดๆ จนกว่าจะใช้อำนาจดังกล่าวกีดกันคู่แข่งไม่ให้เข้าสู่ตลาดได้ กระทรวงพาณิชย์จึงทำได้แค่จับตาดูอย่างใกล้ชิด สิ่งที่น่าห่วงไม่แพ้เรื่องของการผูกขาดคือ เรายังไม่ได้พูดถึงประเด็นเรื่องการค้าที่เป็นธรรมในขณะที่ห้างค้าปลีกเหล่านี้กำลังขยายสาขาออกไปอย่างต่อเนื่อง  ด้วยอำนาจการต่อรองสูง ผู้ประกอบการจึงสามารถกำหนดราคารับซื้อที่ต่ำมากๆ จากเกษตรกรหรือผู้ผลิตสินค้า ซึ่งอาจเป็นผลต่อความยั่งยืน เพราะบรรดาซัพพลายเออร์เหล่านี้อาจถูกบีบจนไม่สามารถทำธุรกิจต่อไปได้ หันไปดูรอบบ้านในอาเซียนกันบ้าง ข้อมูลจากธนาคารไทยพาณิชย์ระบุว่าประเทศไทยเราครองแชมป์ด้วยสถิติอัตราส่วนระหว่างจำนวนร้านค้าปลีกสมัยใหม่ 370 ร้านต่อประชากรในเขตเมือง 1 ล้านคน ในขณะที่สิงคโปร์และมาเลเซียตามมาติดๆ ที่ 293 และ 208 ร้าน  ส่วนเวียดนาม (ซึ่งมีประชากรมากกว่าไทย 1.2 เท่า) นั้นมีจำนวนร้านค้าปลีกสมัยใหม่น้อยกว่าไทยถึง 50 เท่า   แข่งกันขึ้นราคา ผ่านปี 2556 มาได้ครึ่งทาง สินค้าต่างๆ พาเหรดเดินหน้าขึ้นราคากันอย่างไม่บันยะบันยัง ไม่ว่าจะเป็นราคาน้ำมันเบนซิน แก๊สโซฮอล์ ที่ทยอยขึ้นมาแบบต่อเนื่อง ราคาตั๋วรถไฟฟ้า BTS ที่ปรับราคาขึ้นเมื่อวันที่ 1 มิ.ย. ที่ผ่านมา อ้อ ค่าทางด่วนด้วย ไม่นับรวมพวกสินค้าอุปโภคบริโภคอย่าง หมู เห็ด เป็ด ไก่ พืชผักผลไม้ ที่ขึ้นเอาๆ จนผู้บริโภคอย่างเราได้แต่นั่งมองตาปริบๆ ดูเงินหายไปจากกระเป๋าแบบทำอะไรไม่ได้ แถมแว่วๆ ว่าพอถึงเดือนกรกฎาคม ราคาก๊าซหุงต้มจะปรับเพิ่มขึ้นอีก กระทรวงพาณิชย์ออกมายอมรับตรงๆ ว่ามีเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับสินค้าราคาแพงเข้ามาที่หน่วยงานเป็นจำนวนมาก ขณะที่กรมการค้าภายในที่รับหน้าที่ดูแลราคาสินค้า ก็ถึงกับสะอึกเมื่อเห็นผลการสำรวจราคาสินค้า ที่ปรับขึ้นแทบจะทุกอย่าง โดยเฉพาะผักผลไม้ที่ราคาเขยิบขึ้นมากสุดที่ประมาณ 13.14% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว มองแง่ดี คราวนี้ล่ะเป็นโอกาสได้ผอมสมใจ ไม่ต้องเปลืองงบประมาณรณรงค์ลดอ้วนกันแล้ว   ปรับราคาก๊าซหุงต้ม รัฐบาลเอาแน่ หลังงึกๆ งักๆ กันมาได้ครึ่งปี 2556 นี้แล้ว กระทรวงพลังงานก็ประกาศเอาแน่ กรกฎาคมนี้ ราคาก๊าซหุงต้มต้องขึ้นแน่ๆ  จากที่ประกาศเสียงดังไว้ตั้งแต่ปีที่แล้ว โดยจะทยอยปรับขึ้นราคาก๊าซหุงต้มเดือนละ 50 สตางค์/กก. จากระดับปัจจุบันที่ 18.13 บาท/กก. ให้ขึ้นไปเท่ากับราคาก๊าซ LPG ในภาคขนส่งซึ่งอยู่ที่ระดับ 21.38 บาท/กก. แล้วค่อยพิจารณาการปรับขึ้นราคาทั้งภาคครัวเรือน และภาคขนส่งไปพร้อม ๆ กัน ให้ถึง 24.82 บาทต่อกิโลกรัม ถามว่ากระทบกับประชาชนไหม โถ จะถามทำไม? ไม่กระทบสิแปลก แม้รัฐจะพยายามหาวิธีช่วยบรรเทาปัญหาไม่ว่าจะเป็นการโอนเงินให้กับผู้ใช้ก๊าซ สูงสุดไม่เกินเดือนละ 36 บาท หรือใช้วิธีแจกบัตรส่วนลดเพื่อซื้อก๊าซหุงต้มในราคาเดิมให้กับพ่อค้าแม่ค้าหาบเร่-แผงลอย ก็คงช่วยอะไรไม่ได้มากเท่าไหร่ เพราะเป็นแค่มาตรการระยะสั้น หลอกให้สบายใจมากกว่า รัฐจะเอาเงินที่ไหนมาชดเชยให้ได้มากมาย ข่าวว่าทำโครงการอื่นขาดทุนไปหลายแสนล้านแล้ว ความจริงถ้าขึ้นราคาแล้วผลตอบแทนมันกลับมาช่วยคนส่วนใหญ่ในประเทศ คงไม่อึดอัดเท่ากับรู้ข้อมูลว่า ราคาก๊าซที่ปรับเพิ่มขึ้นทั้งหมดจะเป็นรายได้ของบริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) ในฐานะผู้ผลิตก๊าซรายใหญ่ที่สุดของประเทศ ผ่านทางธุรกิจโรงแยกก๊าซธรรมชาติและโรงกลั่นน้ำมันที่ ปตท. เข้าเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ เหมาะแล้วที่เขาออกมาตั้งคำถามกันมากมายว่า กระทรวงพลังงานไทยเพื่อใคร   นิยมเป็นหนี้ ? นอกจากเราจะได้มีโอกาสเป็นเจ้าของ “บ้านหลังแรก” และ “รถคันแรก” ของขวัญจากรัฐบาลชุดนี้แล้ว คนไทยยังได้ของแถมสุดพิเศษอีกหนึ่งชิ้น นั้นคือ “หนี้ก้อนแรก” ข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทยที่รวบรวมจากธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงินอื่นๆ เช่น สหกรณ์ออมทรัพย์ รายงานตัวเลข “หนี้ครัวเรือน” ของประเทศไทยในปี 2555 ภาระหนี้สินต่อครัวเรือนอยู่ที่ 439,490 บาท จากจำนวนครัวเรือนทั้งหมดราวๆ 20 ล้านครัวเรือน โดยหนี้สินครัวเรือนทั้งระบบคิดเป็นเงินถึง 8,818,217 ล้านบาท ตัวเลขหนี้ครัวเรือนนี้ขึ้นทุกปีและยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นได้อีกเรื่อยๆ แม้จะให้ภาพของการขยายตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศ ผู้บริโภคมีการใช้จ่ายมากขึ้น เข้าถึงแหล่งเงินทุนมากขึ้น แต่ก็เป็นไปในลักษณะการกู้ยืมกับสถาบันการเงิน เป็นการสร้างหนี้ และอาจส่งผลเสียหากไม่มีการบริหารจัดการหนี้ที่ดี ไม่สามารถชำระหนี้ที่เกิดขึ้นได้ ถ้าเป็นแบบนั้นระบบเศรษฐกิจทั้งระบบก็จะเจอปัญหา ผู้บริโภคขาดกำลังซื้อ หนี้ที่เกิดขึ้นก็จะกลายเป็นหนี้เสีย สำนักงานเศรษฐกิจการคลังได้แสดงตัวเลขสัดส่วนรายได้ทั้งประเทศและสินเชื่ออุปโภคบริโภคส่วนบุคคลในปี 2555 ที่ผ่านมา โดยรายได้ทั้งประเทศขยายตัวที่ 7.3% ขณะที่สินเชื่ออุปโภคบริโภคส่วนบุคคลขยายตัว 21.6% ชี้ให้เห็นว่าคนไทยเราก่อหนี้สูงกว่ารายได้ถึง 3 เท่า   TPP กับผู้บริโภค เดือนกรกฎาคมนี้ผู้แทนจาก 12 ประเทศในทวีปอเมริกาและเอเชียแปซิฟิก จะมีการเจรจาข้อตกลง  Trans-Pacific Partnership (TPP) หรือข้อตกลงความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจในภูมิภาคแปซิฟิก รอบที่ 18 กันที่ประเทศมาเลเซีย สหพันธ์ผู้บริโภคสากล (Consumers International) ได้แสดงความห่วงใยจากมุมมองของผู้บริโภคดังนี้ ทรัพย์สินทางปัญญา ข้อตกลงดังกล่าวจะยกระดับการคุมครองลิขสิทธิ์ให้เข้มกว่าที่องค์กรการค้าโลกยอมรับ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดการแข่งขันน้อยลง ในขณะที่ราคาสินค้าลิขสิทธิ์จะเพิ่มสูงขึ้น และงานสร้างสรรค์ที่มีความสำคัญต่อมนุษยชาติอาจไม่ได้รับการเผยแพร่ในเวลาอันควร ความเป็นส่วนตัว การลดระดับการคุ้มครองความเป็นส่วนตัวในการทำธุรกรรมทางอินเตอร์เน็ท หมายถึงผู้บริโภคมีสิทธิ์ที่จะถูกละเมิดความเป็นส่วนตัวมากขึ้น เพราะข้อมูลเหล่านี้อาจถูกนำไปเก็บไว้ในประเทศที่ไม่เข้มงวดเรื่องนี้ เช่นสหรัฐอเมริกา (ที่เพิ่งจะเป็นข่าวไปว่า แอบเก็บข้อมูลโทรศัพท์และการใช้อินเทอร์เน็ตของชาวบ้าน) เป็นต้น อาหารปลอดภัย ความตกลงนี้อาจมีผลต่อการควบคุมสารเคมีกำจัดศัตรูพืช อาหารดัดแปรพันธุกรรม ในประเทศต่างๆ เพราะมีตัวอย่างแล้วว่าข้อตกลงระหว่างประเทศเป็นอุปสรรคในการห้ามนำเข้าสินค้าที่ตนเองรู้สึกว่าไม่ปลอดภัย เช่นกรณีสหภาพยุโรปถูกองค์กรการค้าโลกลงโทษ เพราะห้ามนำเข้าเนื้อวัวปนเปื้อนฮอร์โมน เพราะยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ชี้ชัดถึงอันตรายจากการใช้ฮอร์โมนดังกล่าว นอกจากนี้บริษัทยังสามารถฟ้องร้องรัฐบาลได้ในศาลระหว่างประเทศ เช่นที่บริษัทฟิลลิป มอริส กำลังฟ้องรัฐบาลออสเตรเลีย ภายใต้ข้อตกลงการค้าระหว่างออสเตรเลียกับฮ่องกง กรณีที่ออสเตรเลียออกกฎหมายให้ซองบุหรี่ต้องเป็นซองที่ไม่มีสีสันดึงดูดใจ   หลัก(ไม่)ประกันสุขภาพ สุขภาพของคนไทยกว่า 50 ล้านคน ฝากไว้กับระบบหลักประสุขภาพถ้วนหน้า จากเดิมที่เป็นความหวังให้คนไทยที่ส่วนใหญ่เป็นคนที่มีรายได้น้อยให้มีโอกาสได้รับการรักษาพยาบาลอย่างมีมาตรฐานและเท่าเทียม แต่วันนี้ระบบหลักประสุขภาพถ้วนหน้ากำลังส่งสัญญาณที่ชวนให้ต้องเป็นห่วง กว่า 10 ปีที่ผ่านมา ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าต้องดำเนินงานโดยถูกปัญหาหลายอย่างรุมเร้า ที่ชัดที่สุดคือเรื่องเงิน ที่โรงพยาบาลของรัฐที่อยู่ในระบบหลักประกันถ้วนหน้าต่างต้องเจอกับภาวะขาดทุน เนื่องจากเงินกองทุนที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เป็นคนจ่าย ไม่เพียงพอกับภาระที่โรงพยาบาลต้องรับผิดชอบ แม้จะมีการให้ผู้เข้ารับการรักษากลับมาร่วมจ่าย 30 บาทอีกครั้งเมื่อปีที่แล้ว แต่ก็คงไม่ช่วยแก้ปัญหาได้มากนักเพราะเป็นการเรียกเก็บแบบสมัครใจ นอกจากนี้ยังมีปัญหาด้านคนทำงานที่ยังมีน้อยเมื่อเทียบกับจำนวนผู้เข้ารับบริการ รวมทั้งระบบข้อมูลสุขภาพที่ยังไม่ครอบคลุมทั่วถึง อีกปัญหาที่สำคัญคือความไม่โปร่งใสของผู้บริหารหลักประกันสุขภาพที่ส่งผลต่อการบริหารงานทำให้ระบบหลักประกันสุขภาพของคนไทยยังคงเต็มไปด้วยคำถามถึงความจริงใจจริงจังในการดูแลสุขภาพของคนไทย งานหนัก คนไข้มาก ยังเป็นอีกปัจจัยที่เร่งให้บุคลากรด้านสาธารณสุขในภาครัฐ หนีไปซบอกเอกชนที่จ่ายค่าตอบแทนสูง และงานหนักน้อยกว่า   การแพทย์เชิงท่องเที่ยว ช่วงเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมการแพทย์เชิงท่องเที่ยวของไทยเจริญเติบโตแบบก้าวกระโดดสุดๆ ถึงร้อยละ 13 ต่อปี จนอาจกล่าวได้ว่าไทยคือหนึ่งในผู้นำของธุรกิจนี้ จากข้อมูลประมาณการของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ระบุ จำนวนผู้ป่วยต่างชาติที่เข้ารับบริการการรักษาพยาบาลในประเทศไทย คือ 1.98 ล้านคน ปี 2553 และ 2.24 ล้านคน ปี 2554 ซึ่งเมื่อเทียบกับปี  2547 ที่มีประมาณ 1.1 ล้านคน นับว่าเพิ่มเป็นเท่าตัวในเวลาเพียงไม่นาน โดยร้อยละ 60 เป็นคนต่างชาติที่เข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศ และร้อยละ 30 เป็นกลุ่มที่ตั้งใจเดินทางมารับบริการทางการแพทย์โดยเฉพาะ การเติบโตนี้ส่วนหนึ่งเพราะรัฐบาลอำนวยความสะดวกเต็มที่  ล่าสุดคือการยกเว้นวีซ่าให้กับคนไข้และญาติที่จะเข้ามารักษาตัวในเมืองไทย สำหรับ 6 ประเทศในตะวันออกกลาง ได้แก่ คูเวต บาห์เรน โอมาน กาตาร์ ซาอุดีอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ด้วยเป็นลูกค้ากระเป๋าหนักและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ถ้าทำแล้วสำเร็จ รัฐยังเล็งเป้าเรื่องการยกเว้นวีซ่าให้กับประเทศที่มองว่าน่าจะเป็นกลุ่มลูกค้าชั้นดีอื่นๆ ด้วย จากการแพทย์เชิงท่องเที่ยวที่นำรายได้เข้าประเทศอย่างมากมายนี้ รัฐบาลจึงเร่งดำเนินโครงการเมดิคัลฮับอย่างต่อเนื่อง โดยเริ่มดึงเอาโรงเรียนแพทย์เข้ามาเปิดแข่งขันกับโรงพยาบาลเอกชนด้วย หลายฝ่ายเลยเกิดความกังวลขึ้นว่า ต่อไปประเทศไทยจะเกิดการรักษาสองมาตรฐานขึ้นหรือไม่ ระหว่างคนไทยที่ใช้ระบบประกันสุขภาพที่ยังมีปัญหา กับคนต่างชาติที่ได้รับการดูแลอย่างดีจากทรัพยากรทางการแพทย์ที่รัฐไทยและคนไทยเป็นผู้ลงทุน   “แคลิฟอร์เนีย ฟิตเนส” บทเรียนราคาแพง ผ่านมา 1 ปีกว่า การจัดการแก้ปัญหาเรื่องแคลิฟอร์เนีย ว้าว ฟิตเนส มาถึงตรงที่คณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ตรวจสอบแล้วว่าแคลิฟอร์เนีย ว้าว ฟิตเนส มีการกระทำที่เข้าข่ายกระทำความผิด ฐานฉ้อโกงประชาชน เพราะในช่วงเวลาที่กิจการมีปัญหาถูกประกาศล้มละลายจนต้องปิดให้บริการในหลายสาขา แต่ก็ยังพบว่าบริษัทได้โอนเงินออกไปต่างประเทศ โดยระหว่างที่ปิดให้บริการ แคลิฟอร์เนีย ว้าว ฟิตเนส ก็ไม่เคยออกมาแสดงความรับผิดชอบใดๆ ซ้ำยังมีการหักเงินค่าบริการผ่านบัตรเครดิตของลูกค้าอย่างต่อเนื่อง จากนี้ ป.ป.ง. ก็จะร่วมมือกับ สคบ. และกรมบังคับคดีเพื่อติดตามยึดทรัพย์นำมาเฉลี่ยชดเชยให้กับผู้เสียหายที่มีมากกว่า 1,700 ราย รวมความเสียหายแล้วสูงถึง 50 ล้านบาท กรณีแคลิฟอร์เนีย ว้าว ฟิตเนส ถือเป็นอุทาหรณ์ที่ดี สำหรับคนที่กำลังคิดจะทำสัญญาใช้บริการต่างๆ ที่ต้องมีการจ่ายเงินด้วยวงเงินสูงๆ และผูกพันสัญญากันระยะยาว เพราะเงินที่จ่ายไป ไม่ว่าจะด้วยความเชื่อมั่นในชื่อเสียงของเจ้าของบริการ หรือถูกชักจูงหว่านล้อมจนยอมจ่าย เงินของเราอาจหายไปในพริบตาหากเจอผู้ประกอบการที่ไร้จริยธรรม   แบนสารเคมีการเกษตร ความพยายามอยู่ที่ไหน ไทยเรานำเข้าสารเคมีการเกษตรสูงเท่ากับตึกใบหยก 2 หรือประมาณ 520,000 ตัน คิดเป็นเงินมากกว่า 2 หมื่นล้านบาท โดยสารเคมี 4 ชนิด คาร์โบฟูราน เมโทมิล ไดโครโตฟอส และ อีพีเอ็น ซึ่งจัดเป็นกลุ่มที่อันตรายร้ายแรงรวมอยู่ในนั้นด้วย จากความพยายามของกลุ่มนักวิชาการและเกษตรกรที่รวมตัวกันเพื่อเสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องยกเลิกการขึ้นทะเบียนสารเคมีเกษตรอันตราย 4 ชนิดข้างต้น ที่ผ่านมาเกือบใกล้จะเป็นความจริงแล้ว หากไม่ถูกคณะกรรมการวัตถุอันตรายที่มีปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นประธานบอก “ไม่รับรองการขอยกเลิกการขึ้นทะเบียน” ไปเสียก่อน ท่านคณะกรรมการฯ ผู้ทรงคุณวุฒิทั้งหลายท่านไม่เชื่อข้อมูลที่กรมวิชาการเกษตรจัดทำมาประกอบการเสนอให้ยกเลิก แถมยังให้มีการตั้งคณะทำงานขึ้นใหม่เพื่อให้ภาคเอกชนบริษัทนำเข้าสารเคมีนำข้อมูลมาแย้งกับข้อมูลของกรมวิชาการเกษตร แล้วมีหรือที่บริษัทนำเข้าสารเคมีจะทำข้อมูลเพื่อให้สินค้าของตัวเองถูกแบน เป็นเสมือนการเปิดช่องให้บริษัทสารเคมียังขายสินค้าได้ต่อไปในระหว่างที่ยังรอการนำเสนอข้อมูล เอาน่า ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น กลุ่มรณรงค์ยังคงต้องทำงานกันต่อไปเพื่อผลักดันให้เกิดการยกเลิกการขึ้นทะเบียนสารเคมีอันตราย ซึ่งถ้าการยกเลิกการขึ้นทะเบียนเป็นผลเมื่อไหร่ ก็หมายถึงผู้บริโภคจะได้รับประทานอาหารที่ปลอดภัยจากการปนเปื้อนสารเคมีมากขึ้นไปด้วย   แร่ใยหิน แม้ปัจจุบันไทยได้ยกเลิกการใช้แร่ใยหินชนิดต่างๆ ไปหมดแล้ว แต่ตัวที่ร้ายที่สุด คือแร่ใยหินชนิดไครโซไทล์ หรือ ไวท์ แอสเบสตอส ยังมีวางจำหน่ายอยู่ ซึ่งอาจจะมีคนไทยป่วยเป็นมะเร็งเยื่อหุ้มปอดอย่างน้อย 1,295 คนต่อปี จากแร่ใยหิน หากยังฝืนใช้กันต่อไป มีหลักฐานทางการแพทย์ชิ้นใหม่ๆ ออกมาสนับสนุนอยู่ตลอดเวลาว่า แร่ใยหิน ชนิดไครโซไทล์ (Chrysotile)  เป็นส

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point