ฉบับที่ 142 ฝรั่งออสเตรเลีย ฟ้อง ธ.กรุงไทย หลังโดนหักเงินในบัตรเดบิตไม่ทราบเหตุ

ฝรั่งออสเตรเลียฟ้องธนาคารกรุงไทย ฐานหักค่าใช้จ่ายผ่านบัตรเดบิตทั้งที่ไม่ได้เป็นผู้ใช้ เรียกค่าเสียหายเป็นเงิน 1.25 แสน ศาลพิพากษาธนาคารผิดจริงให้จ่ายค่าเสียหายตามที่เรียกพร้อมค่าเสียหายเชิงลงโทษอีก 120,000 บาทเจฟฟรี ชายชราชาวออสเตรเลีย เข้ามาใช้ชีวิตบั้นปลายอาศัยอยู่ในเมืองไทยที่ อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน ประมาณปี 2548 เขาเปิดบัญชีออมทรัพย์ กับธนาคารกรุงไทย สาขาแม่สะเรียง เพื่อฝากเงินที่ได้รับจากสวัสดิการผู้สูงอายุประเทศออสเตรเลีย และเปิดใช้บริการบัตรเดบิตผ่านบัญชีดังกล่าวต่อมาราวปลายปี 2554 เจฟฟรี ใช้บัตรเดบิตเบิกเงินสดจากตู้เอทีเอ็ม พบความผิดปกติว่าเงินในบัญชีลดลงอย่างมาก จึงติดต่อกับธนาคารกรุงไทย สาขาแม่สะเรียงเพื่อให้ตรวจสอบการหักเงินจากบัญชีเงินฝาก ผลการตรวจสอบของธนาคารพบว่า  มีรายการใช้จ่ายซื้อสินค้าและบริการที่ประเทศสหรัฐอเมริกา  ติดต่อกันในช่วงเดือนสิงหาคม – กันยายน 2554 เป็นเงินประมาณ 120,000 กว่าบาท ซึ่งการใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเป็นการใช้จ่ายที่ต้องใช้บัตรเดบิตพร้อมกับการลงลายมือชื่อของเจ้าของบัตรเท่านั้น ไม่ใช่เป็นการซื้อสินค้าหรือบริการที่สามารถชำระด้วยการโอนเงินโดยใช้บัตรเดบิตพร้อมกับรหัสประจำตัวได้ปัญหาอยู่ตรงที่ รายการใช้จ่ายซื้อสินค้าดังกล่าวเกิดขึ้นในขณะที่เจฟฟรียังพำนักพักอาศัยอยู่ในประเทศไทย และบัตรเดบิตก็อยู่กับตัวเขาตลอดเวลา เจฟฟรีจึงมีหนังสือถึงธนาคารปฏิเสธรายการใช้บัตรเดบิตและเข้าแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ สถานีตำรวจภูธร จังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐานทันทีที่ทราบเรื่อง ต่อมาธนาคารกรุงไทยได้แจ้งผลการตรวจสอบรายการใช้จ่ายผ่านบัตรเดบิต และปฏิเสธการคืนเงินให้กับเจฟฟรี อ้างว่าเป็นการใช้บัตรซื้อสินค้าและบริการตามปกติ ไม่ใช่การทำธุรกรรมของมิจฉาชีพ   แนวทางแก้ไขปัญหาหลังได้รับเรื่องร้องเรียน มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคได้ส่งอาสาสมัครขึ้นไปที่ จ.แม่ฮ่องสอนเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับเจฟฟรีและภรรยาชาวไทย และพยายามนัดเจรจากับ ธ.กรุงไทย แต่ไม่ได้รับความร่วมมือเท่าใดนัก ด้วยข้ออ้างว่าธนาคารมีประสบการณ์ในการแยกแยะการใช้จ่ายผ่านบัตรเดบิตของคนธรรมดาทั่วไปกับมิจฉาชีพ หากเป็นการใช้จ่ายของมิจฉาชีพจริง เมื่อปลอมบัตรหรือได้รหัสผ่านแล้วจะรีบนำเงินออกจากบัญชีให้เร็วที่สุด ไม่ใช่ใช้บัตรเดบิตเดินช้อปปิ้งซื้อของเล็กบ้างใหญ่บ้าง แถมยังใช้บัตรเดบิตจ่ายค่าแท๊กซี่ปรากฏอยู่ด้วย เป็นสภาพของการซื้อใช้สินค้าและบริการตามปกติของผู้คนทั่วไปที่ใช้บัตรเดบิตของตัวเอง จึงยืนกระต่ายขาเดียวปฏิเสธการคืนเงินให้แก่เจฟฟรีเมื่อหมดหนทางการพูดคุยในทางปกติ เราจึงถามใจเจฟฟรีว่าจะสู้กับธนาคารต่อหรือไม่ เจฟฟรีบอก ผมอยากได้รับความเป็นธรรม ผมไม่ได้เป็นคนซื้อสินค้าเหล่านี้ ธนาคารต้องคืนเงินให้กับผมวันที่ 10 กรกฎาคม 2555 จึงเป็นวันที่เจฟฟรีเข้ายื่นฟ้องธนาคารกรุงไทย เป็นคดีผู้บริโภค กล่าวหาธนาคารกรุงไทยมีความผิดฐานผิดสัญญาการใช้บัตรเดบิต เรียกค่าเสียหาย 125,357 บาท พร้อมดอกเบี้ยในวันที่  7  พฤศจิกายน  2555   ศาลแขวงพระนครใต้ พิพากษาให้ ธนาคาร กรุงไทย จ่ายเงินชดเชยค่าเสียหายให้กับเจฟฟรี เป็นเงินตามจำนวนที่ฟ้อง พร้อมกับสั่งให้ธนาคารกรุงไทย จ่ายค่าเสียหายเชิงลงโทษตามมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 เนื่องจากพบว่ามีการกระทำที่มีเจตนาเอาเปรียบผู้บริโภคโดยไม่เป็นธรรม เพิ่มอีก 120,599.35 บาท  รวมเป็นค่าเสียหายทั้งสิ้น 245,956.46 บาทเหตุที่ศาลชั้นต้นให้ผู้บริโภคเป็นฝ่ายชนะคดี เพราะว่าเมื่อพิเคราะห์พยานหลักฐานและข้อเท็จจริงแล้วฟังได้ว่า กรณีนี้ธนาคารกรุงไทยยอมรับว่ามีผู้นำบัตรเดบิตที่ออกให้กับนายเจฟฟรี ไปใช้ในต่างประเทศจริงและทราบด้วยว่าใช้ที่ไหนบ้าง ซึ่งในการให้บริการดังกล่าวจะต้องมีเซลล์สลิปการใช้บริการหรือลายมือชื่อลูกค้าเป็นหลักฐาน แต่ธนาคารกลับไม่นำหลักฐานที่ว่ามาแสดงต่อศาล อีกทั้งพยานของธนาคารเองยังเบิกความย้ำว่า จากประสบการณ์ทำงานที่ยาวนานสันนิษฐานได้ว่า กรณีที่เกิดขึ้นนี้ เกิดจากการถูกขโมยบัตรเดบิตไปใช้จริง ซึ่งหากมีกรณีบัตรถูกขโมยไปใช้นั้น ธนาคารจะไม่ชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้นตามสัญญาให้บริการ จึงเป็นข้อเท็จจริงที่สอดคล้องกับข้ออ้างของเจฟฟรีที่ยืนยันว่าเขาไม่ได้เป็นผู้ใช้บัตรในช่วงขณะดังกล่าวดังนั้นเมื่อธนาคารไม่มีหลักฐานมาแสดงต่อศาลเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริง ว่าผู้บริโภคเป็นผู้ใช้เองหรือมอบหมายให้บุคคลอื่นนำไปใช้ ธนาคารจึงไม่มีสิทธินำรายการดังกล่าวมาหักเงินจากบัญชีธนาคารของลูกค้า เมื่อธนาคารหักเงินจากบัญชีธนาคารของลูกค้าไปแล้ว ธนาคารจึงต้องคืนเงินที่หักไปจากบัญชีของลูกค้าทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันที่จำเลยหักเงินไปจากบัญชี และการที่ธนาคารทราบอยู่แล้วว่า กรณีนี้เกิดจากการมีบุคคลอื่นขโมยบัตรเดบิตของลูกค้าไปใช้ เมื่อลูกค้าทวงถามแล้ว แต่ธนาคารกลับปฏิเสธไม่คืนเงินให้กับลูกค้า จึงถือว่าธนาคารมีเจตนาเอาเปรียบผู้บริโภคโดยไม่เป็นธรรม ศาลจึงมีคำพิพากษาให้ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) จ่ายเงินชดเชยความเสียหายทั้งค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจริงและเงินในเชิงลงโทษให้กับเจฟฟรีตามจำนวนที่กล่าวมา และยังสั่งให้ธนาคารชำระค่าธรรมเนียมต่อศาลรวมทั้งค่าทนายความจำนวน 5,000 บาทแทนนายเจฟฟรีอีกด้วย“ผมรู้สึกพอใจกับคำพิพากษาของศาลไทยเป็นอย่างมาก ผมดีใจที่ได้ความยุติธรรมกลับคืนมา เนื่องจากการจ่ายเงินคืนของธนาคารเป็นการกระทำที่เอาเปรียบผู้บริโภคมาก ซึ่งเงินจำนวนดังกล่าวมีความจำเป็น แม้จะไม่มากมายแต่ก็เป็นเงินเพื่อใช้ในการยังชีพของผมที่อายุมากและภรรยา  ซึ่งผมเชื่อว่ายังมีอีกหลายคนที่ต้องเจอแบบนี้เหมือนกัน อยากให้ธนาคารให้ความสำคัญกับผู้บริโภคมากกว่านี้” เจฟฟรี กล่าวนายเฉลิมพงษ์ กลับดี หัวหน้าศูนย์ทนายความอาสามูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เปิดเผยว่า กรณีนี้เป็นคดีตัวอย่างสำหรับผู้บริโภค ที่ถูกธนาคารในฐานะผู้ประกอบธุรกิจกระทำโดยเจตนาเอาเปรียบและจงใจให้ผู้บริโภคได้รับความเสียหาย โดยเฉพาะการกำหนดค่าเสียหายเพื่อการลงโทษกับธนาคาร  ที่จะเป็นตัวอย่างที่ดีของการป้องปรามหรือยับยั้งไม่ให้ผู้ประกอบการทำเช่นนี้กับใครอีก โดยเฉพาะการที่จำเลยในคดีนี้เป็นรัฐวิสาหกิจควรต้องมีการประกอบการที่สุจริตเป็นที่น่าเชื่อถือต่อนานาชาติ“ในคดีนี้กระบวนพิจารณาของศาลก็รวดเร็ว โดยใช้เวลาเพียง 4 เดือนเท่านั้น ซึ่งเป็นไปตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคอย่างแท้จริง ทำให้ผู้บริโภคได้รับการเยียวยาอย่างทันท่วงทีโดยไม่ต้องรอนาน ซึ่งเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมของประเทศไทย  ทั้งนี้ศูนย์ทนายความอาสาฯ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค จะนำผลของคดีนี้ไปศึกษา เพื่อขยายผลและสร้างให้เป็นบรรทัดฐานทางกฎหมายต่อไป ” นายเฉลิมพงษ์กล่าว

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 127 การบินไทยช่วยผู้โดยสารหลีกภัยนิวเคลียร์?

ยอมเปลี่ยนวันและเส้นทางบิน ปลอดค่าธรรมเนียมเหตุการณ์แผ่นดินไหวและการระเบิดของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ที่เมืองฟูกูชิมะ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อเดือนมีนาคม 2554 นอกจากจะสร้างความสูญเสียให้ชาวอาทิตย์อุทัยเกือบทั้งเกาะแล้ว ยังสร้างความเสียหายให้กับสองแม่ลูกที่ตั้งใจจะเดินทางไปเที่ยวชมประเทศญี่ปุ่นในช่วงนั้นอีกด้วย แม้จะเป็นความเสียหายที่ดูเล็กๆ เมื่อเทียบกับการเจ็บการตายและบ้านที่พังถล่มทลายของชาวเมืองซากุระ แต่เมื่อเป็นเรื่องเกี่ยวกับสิทธิของผู้บริโภค ทุกเรื่องที่เข้ามาที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคถือเป็นเรื่องสำคัญเท่าเทียมกัน คุณไปรยา(นามสมมติ) เป็นสมาชิกสะสมไมล์รอยัลออร์คิด พลัส ของสายการบินไทย อุตส่าห์ดีใจได้แลกรางวัลไมล์สะสมเพื่อเดินทางไปยังกรุงโตเกียวประเทศญี่ปุ่นพร้อมคุณแม่ โดยมีกำหนดเดินทางไปในวันที่ 31 ตุลาคม 2554 และกลับวันที่ 8 พฤศจิกายน 2554 ด้วยอากาศที่หนาว กับภาพหิมะที่ปลิวในสายลม เป็นช่วงการเดินทางที่ทำให้คนในเมืองไทยต้องอิจฉาแต่พอเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวเตาปฏิกรณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ระเบิดไปหลายเตา ภาพปุยหิมะขาวๆ ละลายเป็นน้ำไปทันที นั่ง นอน ค้นหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตก็มีแต่ข่าวไม่ดี การแก้ไขปัญหาไม่มีความคืบหน้า นึกเห็นแต่ภาพเหยื่อกัมมันตภาพรังสีที่น่าขนพองสยองขวัญ“ไม่เอาแล้วโตเกียวเราเปลี่ยนเป้าหมายไปกรุงโซล เกาหลีใต้ ดีกว่า โซนเดียวกัน หนาวเหมือนกัน” เธอบอกกับแม่ คุณไปรยา จึงแจ้งกับการบินไทยเพื่อจะขอเปลี่ยนการเดินทางไปกรุงโซลแทนในวันที่ 2 ธันวาคม และกลับในวันที่ 10 ธันวาคม 2554 การบินไทยบอกเปลี่ยนได้แต่ต้องเสียค่าธรรมเนียม 40 ดอลลาร์สหรัฐคิดเป็นเงินไทยตกราว  1,200 บาทคุณไปรยาจึงถามกลับไปว่าทำไมต้องคิดค่าธรรมเนียมด้วย ใจน่ะอยากไปญี่ปุ่นแต่กลัววิกฤตินิวเคลียร์จะมาทำร้ายสุขภาพร่างกายของฉันกับแม่ฉันน่ะ เข้าใจไหม และการเดินทางก็อยู่ในโซนเดียวกันทำไมต้องมาคิดค่าธรรมเนียมกันด้วย และถ้าจะรอให้การบินไทยมีนโยบายอนุญาตให้เปลี่ยนตั๋วได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ก็มักจะประกาศในช่วงเวลาใกล้ๆ การเดินทาง ถึงตอนนั้นก็อาจหาตั๋วไม่ได้แล้ว และต้องเสียสิทธิสะสมไมล์ในท้ายที่สุดฝ่ายหนึ่งขอไม่ให้เก็บเพราะเป็นเหตุการณ์พิเศษ การบินไทยน่าจะเห็นใจลูกค้า แต่การบินไทยแจ้งว่าต้องเก็บเพราะเป็นระเบียบ คุยกันไม่จบ...เรื่องจึงมาถึงมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคในท้ายที่สุด แนวทางแก้ไขปัญหา มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้มีจดหมายแจ้งไปถึงกรรมการผู้จัดการบริษัท การบินไทย จำกัด เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2554 เพื่อขอให้พิจารณายกเว้นค่าธรรมเนียมเป็นกรณีพิเศษให้กับผู้โดยสาร ต่อมาวันที่ 23  สิงหาคม 2554 คุณอมรา  ลีสวรรค์ ผู้จัดการกองบริการสมาชิกรอยัลออร์คิดพลัสของสายการบินไทย ได้มีหนังสือตอบกลับมา แจ้งว่า ทางการบินไทยได้พิจารณาอนุมัติให้เปลี่ยนแปลงวันเดินทางและเปลี่ยนแปลงเส้นทางบินเป็นกรุงเทพฯ – โซล – กรุงเทพฯ ตามที่ผู้โดยสารประสงค์ โดยไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม พร้อมทั้งชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติมว่า โดยปกติการเปลี่ยนเส้นทางใหม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการคืนไมล์ 3,750 บาท ต่อ 1 ฉบับ และทำบัตรโดยสารใหม่ในเส้นทางใหม่ และการเปลี่ยนวันเดินทางต้องเสียค่าธรรมเนียม 1,200 บาทต่อการเปลี่ยน 1 ครั้ง แต่ทั้งนี้การเปลี่ยนเส้นทางจะต้องทำการออกบัตรโดยสารใหม่ ซึ่งจะทำให้เกิดค่าภาษีน้ำมันเพิ่มขึ้น โดยอัตรานี้อาจจะเปลี่ยนแปลงได้ เพราะขึ้นอยู่กับราคาภาษีน้ำมันและวันที่ออกบัตรโดยสารใหม่ (โดยประมาณ 2,130 บาทต่อฉบับ) ซึ่งในส่วนนี้ผู้โดยสารจะต้องรับผิดชอบเอง เมื่อได้ทราบข้อมูลข้อเท็จจริงทั้งหมดแล้ว และได้ตรวจสอบสถานการณ์ปัญหาวิกฤตินิวเคลียร์ว่าคลี่คลายไปมากคุณไปรยาจึงเปลี่ยนใจขอไปโตเกียวเหมือนเดิม มูลนิธิฯ ขอขอบคุณการบินไทยที่ใส่ใจสิทธิของลูกค้าเป็นอย่างดี ขอให้คุณไปรยาและคุณแม่เดินทางโดยปลอดภัยและไม่เอานิวเคลียร์มาเป็นของฝากกันนะขอรับ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 126 คนไทยกับหมอดู

ผู้เขียนได้มีโอกาสไปร่วมเวทีพัฒนาเครือข่ายผู้บริโภคในจังหวัดภาคกลาง  ก็มีการพูดคุยกันหลายเรื่องมีอยู่เรื่องหนึ่งที่ฟังแล้วสะดุดใจ คือมีคุณพี่ท่านหนึ่งมาเล่าให้ฟังว่าตัวเองเป็นแม่บ้านอยู่บ้านคนเดียว (สามีและลูกไม่อยู่)ก็มีแขกมาเสนอขายมุ้ง  พี่แกก็บอกไปว่าไม่ซื้อ บ้านแกมีมุ้งอยู่แล้วและไล่ให้ไปที่อื่น    แขกขายมุ้งก็เปลี่ยนวิธีใหม่ โดยบอกว่าดูหน้าตาของคุณพี่ท่านนี้แล้วรู้สึกว่ามีสง่าราศรี  และขออนุญาตดูลายมือ  เอาล่ะซิคนไทยกับโชคลาภ และหมอดู มันเป็นอะไรที่บอกได้คำเดียวว่า “โดน”จากขับไล่อย่างแข็งขัน ก็กลายเป็นอ่อนลงทันที  และยินยอมให้แขกดูลายมือให้แขกดูแล้วก็บอกว่าเธอมีโชคจริงๆ  โดยมีข้อเสนอว่าให้คุณพี่คนนี้เขียนเลขตามที่ชอบใส่มือตัวเองแล้วกำไว้  หากแขกทายถูกว่าคุณพี่เธอเขียนเลขอะไร แสดงว่าคุณพี่เป็นผู้มีโชคลาภต้องซื้อมุ้งแขกในราคาหลังละ 600 บาท  เมื่อคุณพี่เธอได้ฟังเธอบอกว่าใจหนึ่งก็อยาก ลองของ ใจหนึ่งก็อยากได้เลข(ไปแทงหวย)  แกก็เลยตกลงว่าแล้ว เธอก็แอบไปเขียนโดยไม่ให้แขกเห็นแล้วกำมือไว้ในแน่นเลย  จากนั้นแขกก็บอกว่าหากเรา(แขกกับคุณพี่ท่านนี้)หากมีโชคร่วมกันจริง คงทายถูก  จากนั้นแขกก็แบมือเลขที่แขกเขียนมาเทียบกับที่คุณพี่เธอเขียน   สิ่งที่เกิดขึ้นคือเลขตรงกันพอดิบพอดี  คุณพี่บอกว่าตอนนั้นไม่ได้คิดเลยว่าถูกแขกหลอกเพราะกำลังดีใจว่าได้ตัวเลขในการแทงหวยงวดหน้าเลยจ่ายเงิน 600 บาทซื้อมุ้งตามที่ตกลงกันไว้   แขกบอกว่าหากถูกหวยอย่าลืมบอกแขกนะ  คุณพี่เธอก็บอกว่า จะบอกแขกได้อย่างไรแขกไม่ให้เบอร์โทร  แขกตอบกลับมาว่าไม่ต้องใช้เบอร์โทร แขกรู้ทางจิตคุณพี่ท่านนี้บอกว่า เธอไม่ได้เสียดายเงินเลย  รอวันหวยออกอย่างเดียว มารู้ว่าถูกหลอกก็ต่อเมื่อหวยออกแล้วไม่โดนเลยซักตัวเดียว เธอก็เลยรู้ว่าถูกหลอก  ที่เจ็บใจไม่ใช่แค่เสียเงินซื้อมุ้ง  แต่เสียเงินซื้อหวยมากกว่า  แจ้งความก็ไม่ได้เพราะแขกไปนานแล้ว  บอกใครก็ไม่ได้เพราะอายที่ถูกหลอก มันเหมือนกลืนไม่เข้าคายไม่ออก ได้แต่เจ็บใจอยู่คนเดียว ที่เขียนเรื่องนี้มาเล่าสู่กันฟัง เพียงเพื่อที่จะบอกว่า เดี๋ยวนี้มิจฉาชีพ มีวิธีแปลกๆ มาหลอกลวงผู้บริโภคอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะแม่บ้านตามต่างจังหวัด  ผู้เขียนไม่อาจตอบได้ว่าทำไมแขกทายเลขถูก  รู้แต่ว่าแขกจับจุดคนไทยได้ว่าเชื่อเรื่องดวงและชอบโชคลาภ  ใครได้อ่านบทความนี้ก็ช่วยกันบอกต่อกันหน่อย   เพราะไม่รู้จะพึ่งใคร นอกจากเราต้องพึ่งตนเอง  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 125 กสิกรไทยหาดใหญ่ ชุ่ย ยอมให้เด็กเก้าขวบถอนเงินเอง

คุณวราภรณ์ เข้ามาร้องเรียนที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคว่า เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2553 ตนได้ไปเปิดบัญชีเงินฝากประจำกับธนาคารกสิกรไทย สาขาคาร์ฟูร์หาดใหญ่ให้กับลูกชาย 2 คนคนหนึ่งอายุ 9 ขวบ อีกคนอายุ 6 ขวบ เปิดเป็นบัญชีเงินฝากทวีทรัพย์ ระยะเวลาฝาก 24 เดือน เดือนละ 5,000 บาท เป็นยอดรวมเงินฝากทั้งสิ้น 120,000 บาท คุณวราภรณ์ผู้เป็นแม่เปิดบัญชีให้ลูกคนละบัญชี โดยใช้ชื่อของลูกชายทั้งสองคนเป็นชื่อเจ้าของบัญชี และมีเงื่อนไขการถอนเงินจากบัญชีว่าให้ลงลายมือชื่อของลูกที่เป็นเจ้าของบัญชีนั้นเพียงคนเดียว“ตลอดมาดิฉันได้มอบหมายให้นางกาญจนา เส้งสุข พี่เลี้ยงของเด็กเป็นผู้ดูแลนำเงินเข้าฝากให้ทุกเดือน จนเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2554 ดิฉันพบว่านางกาญจนา ได้ยักยอกเงินส่วนหนึ่งของดิฉันแล้วหนีหายไปไม่สามารถติดต่อได้อีกเลย ดิฉันได้แจ้งความดำเนินคดีแล้วเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2554”คุณวราภรณ์ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ต่อมาเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2554 ลูกชายคนโตอายุ 9 ขวบได้พูดเปรยขึ้นมาว่า นางกาญจนาเคยให้ตนกับน้องไปเซ็นเอกสารบางอย่างที่ธนาคาร“จึงเอะใจขึ้นมาค่ะ พอตรวจสอบไปที่ธนาคารปรากฏว่าได้มีการถอนเงินปิดบัญชีเงินฝากของเด็กทั้งสองคนไปเรียบร้อยแล้วค่ะ ตั้งแต่วันที่ 9 และ 10 กุมภาพันธ์ 2554”“ดิฉันได้สอบถามกับพนักงานธนาคารและผู้จัดการ(ธนาคารกสิกรไทย สาขาคาร์ฟูร์หาดใหญ่) ก็ได้รับคำตอบว่าได้ทำถูกต้องตามระเบียบธนาคารแล้ว เพราะเด็กเจ้าของบัญชีเป็นคนมาเซ็นชื่อถอนเงินเอง โดยหลักฐานที่พี่เลี้ยง(นางกาญจนา)นำมาด้วยมีเพียงสำเนาบัตรประชาชนของแม่และสำเนาทะเบียนบ้านของเด็ก ผู้จัดการสาขาให้คำแนะนำแค่ว่าให้เข้าแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ และหากต้องการให้ธนาคารรับผิดชอบก็ให้ดำเนินการตามกฎหมาย เพื่อให้เป็นไปตามขั้นตอนของธนาคาร” คุณวราภรณ์เล่าด้วยอารมณ์เซ็งสุดขีดที่เห็นธนาคารปัดความรับผิดชอบออกมาแบบนั้น “ดิฉันขอร้องเรียนมาเพื่อขอความเป็นธรรมแทนเด็กทั้งสองเพราะได้รับความเสียหายที่เกิดจากความประมาทของพนักงานธนาคารที่ให้เด็กยังไม่บรรลุนิติภาวะทำธุรกรรมการเงินได้โดยไม่มีผู้ปกครองที่ถูกต้องตามกฎหมายไปให้ความยินยอมด้วย และขอให้ธนาคารแสดงความรับผิดชอบต่อการกระทำของพนักงานด้วย” แนวทางแก้ไขปัญหาเจ้าหน้าที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคได้สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมทราบว่า มีการเบิกถอนเงินของลูกอายุ 9 ขวบเป็นเงิน 50,123.57 บาท และลูกคนเล็กของคุณวราภรณ์เป็นเงิน 50,124.57 บาท จากนั้นจึงได้นำเรื่องปรึกษาในข้อกฎหมายกับศูนย์ทนายความอาสาเพื่อผู้บริโภคของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และท้ายสุดได้มีข้อแนะนำให้คุณวราภรณ์ทำจดหมายแสดงเจตนาบอกล้างนิติกรรมการฝากถอนเงิน เนื่องจากการปิดบัญชีเงินฝากและเบิกถอนเงินของเด็กทั้งสองที่ธนาคารยินยอมให้เด็กผู้เยาว์ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะกระทำไปนั้น เป็นการกระทำที่ปราศจากความยินยอมของบิดามารดา ทำให้บิดามารดาในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมและบุตรผู้เยาว์ทั้งสองได้รับความเสียหาย และขอให้ธนาคารคืนเงินพร้อมดอกเบี้ยภายใน 7 วันนับแต่วันที่ได้รับจดหมายฉบับนี้ ซึ่งหากพ้นกำหนดคุณวราภรณ์และสามีซึ่งเป็นบิดามารดาโดยชอบด้วยกฎหมายสามารถดำเนินคดีกับธนาคารได้ตามกฎหมายต่อมาในเดือนเมษายน มูลนิธิฯ ได้ทราบความคืบหน้าจากคุณวราภรณ์ว่า ได้รับเงินคืนเต็มตามจำนวนทั้งหมด 100,274.72 บาท โดยธนาคารขอให้ผู้ร้องเซ็นหนังสือสัญญาว่าจะไม่ติดใจเอาความใดๆกับธนาคารฯ คุณวราภรณ์เห็นว่าตนได้รับเงินคืนครบตามจำนวนที่หายไป และธนาคารฯ รับปากว่าจะตามหาพนักงานที่กระทำผิดมาลงโทษ คุณวราภรณ์จึงขอยุติเรื่องร้องเรียนไว้แต่เพียงเท่านี้เรื่องนี้นับเป็นบทเรียนสำคัญกับผู้บริโภคทุกคนว่า อย่าไว้ใจทาง อย่าวางใจคน และต้องเพิ่มด้วยว่า “อย่าวางใจธนาคาร” ด้วยเช่นกัน  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 109 ไทยแอร์เอเซีย ชดใช้ผู้บริโภคเหตุเครื่องบินดีเลย์

เรื่องนี้...เป็นเรื่องยาวข้ามประเทศครับคุณรุจน์ และภรรยา มีกิจธุระที่ต้องเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปจาการ์ตา เมืองหลวงของอินโดนีเซีย และเลยไปท่องเที่ยวยังเมืองที่ชื่อว่า ย๊อกยาการ์ตา ซึ่งอยู่ในประเทศอินโดนีเซียเช่นกันทั้งสองสามีภรรยาเลือกใช้บริการสายการบินราคาประหยัดไทยแอร์เอเซีย โดยซื้อตั๋วจากเว็บไซต์ของสายการบินแห่งนี้ ได้ตั๋วขาไปออกเดินทางในวันที่ 21 มีนาคม 2552 ออกจากกรุงเทพฯ เวลา 20.15 น. และถึงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซียเวลา 23.45 น. และตั๋วขากลับเครื่องบินจะออกจากจาการ์ตาในวันที่ 29 มีนาคม 2552 เวลา 16.20 น. และถึงกรุงเทพฯ เวลา 19.45 น. ทั้งนี้เพื่อจะกลับมาทำงานที่กรุงเทพฯ ให้ทันในเช้าวันรุ่งขึ้นอย่างไรก็ดี ในวันที่ 29 มีนาคมซึ่งเป็นวันที่ต้องเดินทางกลับนั้น สองสามีภรรยายังอยู่ที่เมืองย๊อกยาการ์ตา เพื่อไม่ให้พลาดเที่ยวบินขากลับจากจาการ์ตาไปกรุงเทพฯ ทั้งสองจึงได้ซื้อตั๋วจากไทยแอร์เอเซียเที่ยวบินจากย๊อกยาการ์ตามาถึงจาการ์ตาในเวลา 12.45 – 13.45 น. อีกด้วยคุณรุจน์และภรรยาทราบจากโฆษณาว่า สายการบินแอร์เอเซีย เป็นสายการบินที่ให้บริการแบบ “จุดต่อจุด” ไม่ได้ให้บริการเที่ยวบินต่อเนื่อง ผู้โดยสารต้องรับผิดชอบตัวเองในการไปเช็คอินให้ทันเที่ยวบินถัดไป คุณรุจน์จึงไม่ประมาทเพราะกลัวตกเครื่องบิน ก่อนออกเดินทางคุณรุจน์และภรรยาจึงช่วยกันเข้าอินเทอร์เน็ตเพื่อรวบรวมข้อมูลเที่ยวบินของสายการบินอื่นๆ ที่ให้บริการในเส้นทางย๊อกยาการ์ตา – จาการ์ตา ในเวลาใกล้เคียงกันกับเที่ยวบินของไทยแอร์เอเซียไว้เผื่อเหนียว ขาไปไม่มีปัญหาอะไร ทำธุระและท่องเที่ยวอยู่ในอินโดนีเซียจนถึงวันที่ 26 มีนาคม 2552 จึงได้เดินทางมาถึงเมืองย๊อกยาการ์ตา ก่อนออกจากสนามบินย๊อกยาการ์ตาจึงได้นำตั๋วเครื่องบินเส้นทางย๊อกยาการ์ตา – จาการ์ตา และ จาการ์ตา – กรุงเทพฯ ที่ซื้อไว้แล้วไปยืนยันการเดินทางกับพนักงานไทยแอร์เอซีย พนักงานก็จิ้ม ๆ ดูข้อมูลในคอมพิวเตอร์แล้วบอกว่าเที่ยวบินที่สำรองที่นั่งไว้ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ คุณรุจน์และภรรยาจึงออกจากสนามบินไปท่องเที่ยวและทำธุระในเมืองย๊อกยาการ์ตาอย่างสบายใจพอถึงวันเดินทางกลับในวันที่ 29 มีนาคม 2552 ซึ่งจะต้องบินออกจากย๊อกยาการ์ตาไปจาการ์ตาในเวลา 12.45 น. คุณรุจน์และภรรยา จึงรีบเก็บเสื้อผ้าใส่กระเป๋า เดินทางมาถึงสนามบินย๊อกยาการ์ตา และเช็คอินในเวลา 10.30 น. ได้ถามพนักงานไทยแอร์เอเซียว่าเที่ยวบิน “ตรงเวลา” หรือเปล่า ได้รับคำตอบจากพนักงานยืนยันว่าเที่ยวบินนี้ตรงเวลาจนถึงเวลา 12.15 น. พนักงานของท่าอากาศยานได้ประกาศเรียกให้ผู้โดยสารของสายการบินไทยแอร์เอเซียเที่ยวบินที่จะไปจาการ์ตาเข้าไปรอที่หน้าประตูทางออก คุณรุจน์และภรรยาก็เบาใจว่าได้ขึ้นเครื่องบินตรงเวลาแน่ จึงได้ผ่านกระบวนการซื้อสิทธิการใช้ท่าอากาศยานและผ่านการตรวจค้นอาวุธเพื่อไปรอที่ประตูทางออกรอกันอยู่ที่ประตูทางออกจนถึงเวลาที่เครื่องบินจะต้องออกคือเวลา 12.45 น. ไม่เห็นวี่แววจะมีเครื่องบินของไทยแอร์เอเซียมารับไปจาการ์ตาเสียที มองไปที่ลานบิน เห็นเครื่องบินของสายการบินอื่นที่ได้เล็งไว้เผื่อเป็นเที่ยวบินสำรองเวลามีเหตุฉุกเฉิน ก็ทยอยโผผินบินไปทีละลำๆโอย...นี่มันเหตุฉุกเฉินแล้วนี่ คุณรุจน์และภรรยามองหน้ากันเลิ่กลั่ก และทำสิ่งที่อาจหาญที่สุดเท่าที่เคยทำในชีวิตที่ผ่านมาด้วยการ ขออนุญาตพนักงานรักษาความปลอดภัยของสนามบินวิ่งย้อนออกไปถามข้อมูลเรื่องความล่าช้าของเที่ยวบินกับพนักงานไทยแอร์เอเซียกระทั่งเวลาบ่ายโมงเศษถึงได้รับข้อมูลว่า เครื่องบินที่จะใช้เดินทางนั้นเกิดความล่าช้าในการบินจากสนามบินสิงคโปร์มาสนามบินย๊อกยาการ์ตา ทำให้ต้องเลื่อนการเดินทางออกจากย๊อกยาการ์ตาเป็นเวลา 15.00 น. และถึงจาการ์ตา เวลา 16.00 น.การที่พนักงานไทยแอร์เอเซียเพิ่งมาบอกข้อมูลการดีเลย์ของเที่ยวบิน ทำให้คุณรุจน์และภรรยาหมดสิทธิที่จะไปเช็คอินเที่ยวบินจาการ์ตา – กรุงเทพฯ ได้ทัน เพราะเครื่องบินจะออกเวลา 16.20 น. แต่ต้องเช็คอินก่อนเครื่องบินออกอย่างน้อย 45 นาที สองสามีภรรยาจึงได้แต่นั่งทำใจหลังจากนั่งทำใจอยู่ในสนามบินย๊อกยาการ์ตาจนเบื่อแล้วเบื่ออีก ท้ายที่สุด คุณรุจน์และภรรยาได้ขึ้นเครื่องจากย๊อกยาการ์ตาในเวลา 15.30 น. ล่าช้าไปกว่ากำหนดการเดิม 2 ชั่วโมงครึ่ง และถึงจาการ์ตาเวลา 16.30 น. ซึ่งเที่ยวบินที่ซื้อจองไว้โบยบินไปกรุงเทพฯ เรียบร้อยแล้วทำให้คุณรุจน์และภรรยาต้องควักเงินซื้อตั๋วเครื่องบินหาทางกลับกรุงเทพฯ ใหม่ทั้งหมด และกลับมาถึงกรุงเทพฯ เกือบเที่ยงคืน นับเป็นการเดินทางที่ต้องใช้ความพยายามอย่างแสนสาหัสและต้องจดจำไปอีกนานแนวทางการแก้ไขปัญหาหลังเกิดปัญหา คุณรุจน์และภรรยา ได้พยายามติดต่อไปที่ไทยแอร์เอเซียเพื่อให้แสดงความรับผิดชอบใช้เวลาไปอีก 26 วัน ถึงจะได้คำตอบว่า ไทยแอร์เอเซีย ไม่จ่ายค่าชดเชยให้ โดยอ้างว่าความล่าช้าของเที่ยวบินที่เกิดขึ้น เป็นความล่าช้าจากระบบของสนามบินสิงคโปร์ที่ขัดข้องอย่างกะทันหัน ทำให้เครื่องบินของไทยแอร์เอเซียจากสิงคโปร์ไม่สามารถบินมารับผู้โดยสารที่ย๊อกยาการ์ตาได้ตรงตามเวลาเมื่อเห็นการปัดความรับผิดชอบเช่นนั้น คุณรุจน์และภรรยาจึงอีเมลล์ไปสอบถามข้อเท็จจริงกับทางท่าอากาศยานสิงคโปร์ ไม่นานได้รับคำตอบกลับมาว่า เหตุล่าช้าของเที่ยวบินเจ้าปัญหานั้น เกิดความบกพร่องของสายการบินไทยแอร์เอเซียเอง ไม่ใช่ความผิดพลาดของสนามบินสิงคโปร์ คำตอบดังกล่าวทำให้ลิมิตความอดทนของคุณรุจน์และภรรยาขาดสะบั้น แบกความชอกช้ำระกำใจจูงมือกันมาที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเพื่อให้ช่วยทำเรื่องฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายกับไทยแอร์เอเซียให้หลาบจำเสียทีศูนย์ทนายความอาสาเพื่อผู้บริโภค ของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคได้รับมอบอำนาจจากผู้ร้องทั้งสอง ยื่นฟ้องเป็นคดีผู้บริโภคเรียกค่าเสียหายกับไทยแอร์เอเซีย โทษฐานผิดสัญญาการให้บริการ รวมเป็นเงิน 65,000 บาทเศษศาลได้นัดเจรจาไกล่เกลี่ย ท้ายที่สุดไทยแอร์เอเซีย ยอมชดใช้ค่าเสียหายในส่วนที่เป็นค่าตั๋วเครื่องบิน ค่ารถแท๊กซี่ ในการที่ต้องวิ่งวุ่นไปมา ตามจำนวนที่ถูกเรียกร้องมาทั้งหมดคือ 15,844 บาท และยังยอมชดใช้ค่าเสียความรู้สึกอีกเป็นเงิน 30,000 บาท จากที่เรียกร้องไปในส่วนนี้ 50,000 บาท ทำให้คุณรุจน์ได้รับการเยียวยาความเสียหายจากการเดินทางด้วยความทรมานของสายการบินไทยแอร์เอเซียเป็นเงินทั้งสิ้น 45,844 บาทถือเป็นบรรทัดฐานสำหรับผู้โดยสารอื่นๆ ว่า ปัญหาเที่ยวบินดีเลย์แล้วไม่รับผิดชอบนั้น อย่าปล่อยให้สายการบินลอยนวลโดยเด็ดขาด  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 100 เที่ยวเกาะหลีเป๊ะแบบเปลือยๆ กับบริการพิเศษไทยแอร์เอเชีย

“กระเป๋าของฉันอยู่ไหน”คุณอิสริยาเดินจูงมือน้องชายที่บินมาด้วยกันจากสนามบินสุวรรณภูมิเพื่อสอบถามกับพนักงานของบริษัทไทยแอร์เอเชียที่ประจำอยู่ที่สนามบินหาดใหญ่ว่า ทำไมไม่เห็นกระเป๋าเสื้อผ้าของตนและน้องชายที่เตรียมไว้สำหรับไปเที่ยวเกาะหลีเป๊ะที่จังหวัดสตูลจำนวน 5 วันเสียที ทั้งๆ ที่ลงเครื่องมานานแล้วพนักงานให้คำตอบอันสุดแสนประทับใจว่า ทางสายการบินไม่ได้โหลดกระเป๋าขึ้นเครื่องมาด้วย และวันนี้ก็คงจะส่งตามมาไม่ทัน“แล้วอย่างงี้จะเที่ยวได้ยังไงเนี่ย”“แล้วอย่างงี้จะเที่ยวได้ยังไงเนี่ย”“แล้วอย่างงี้จะเที่ยวได้ยังไงเนี่ย” คุณอิสริยารำพึงกับตัวเอง รู้สึกว่าทำไมเช้านี้ชีวิตถึงได้อับโชคขนาดนี้ กะว่าจะเที่ยวเกาะหลีเป๊ะกับน้องชายให้ครึกครื้นเศรษฐกิจไทยคึกคักตามคำคุยของ ททท. เสียหน่อย แต่ต้องมาเจอบริการพิเศษที่ไม่ได้สั่งจองจากไทยแอร์เอเซียที่ให้บินมาได้แต่ตัว แต่กระเป๋าเสื้อผ้าและของใช้จำเป็นอื่นๆ ไม่บินมาด้วยพอสอบถามเพิ่มเติมว่าจะได้เห็นกระเป๋าเมื่อไหร่ พนักงานบอกว่า คงจะได้รับในช่วงบ่ายของวันรุ่งขึ้นโดยทางสายการบินจะฝากกระเป๋าไปกับเรือส่งให้ถึงรีสอร์ตบนเกาะคุณอิสริยากับน้องชายไม่มีทางเลือกเพราะต้องเดินทางไปที่ จ.สตูลให้ทันเรือรอบ 11.30 น. เพื่อไปพักที่เกาะหลีเป๊ะ จึงได้ทำเรื่องทิ้งไว้และไปปักหลักรอกระเป๋าเสื้อผ้าที่เกาะ ซึ่งคืนนั้นคุณอิสริยาและน้องชายต้องแก้ปัญหาด้วยการซื้อเสื้อผ้ามาใส่ประทังไปก่อนพอสอบถามเพิ่มเติมว่าจะได้เห็นกระเป๋าเมื่อไหร่ พนักงานบอกว่า คงจะได้รับในช่วงบ่ายของวันรุ่งขึ้นโดยทางสายการบินจะฝากกระเป๋าไปกับเรือส่งให้ถึงรีสอร์ตบนเกาะคุณอิสริยากับน้องชายไม่มีทางเลือกเพราะต้องเดินทางไปที่ จ.สตูลให้ทันเรือรอบ 11.30 น. เพื่อไปพักที่เกาะหลีเป๊ะ จึงได้ทำเรื่องทิ้งไว้และไปปักหลักรอกระเป๋าเสื้อผ้าที่เกาะ ซึ่งคืนนั้นคุณอิสริยาและน้องชายต้องแก้ปัญหาด้วยการซื้อเสื้อผ้ามาใส่ประทังไปก่อนพอสอบถามเพิ่มเติมว่าจะได้เห็นกระเป๋าเมื่อไหร่ พนักงานบอกว่า คงจะได้รับในช่วงบ่ายของวันรุ่งขึ้นโดยทางสายการบินจะฝากกระเป๋าไปกับเรือส่งให้ถึงรีสอร์ตบนเกาะคุณอิสริยากับน้องชายไม่มีทางเลือกเพราะต้องเดินทางไปที่ จ.สตูลให้ทันเรือรอบ 11.30 น. เพื่อไปพักที่เกาะหลีเป๊ะ จึงได้ทำเรื่องทิ้งไว้และไปปักหลักรอกระเป๋าเสื้อผ้าที่เกาะ ซึ่งคืนนั้นคุณอิสริยาและน้องชายต้องแก้ปัญหาด้วยการซื้อเสื้อผ้ามาใส่ประทังไปก่อนพอถึงวันรุ่งขึ้นแทนที่จะได้ออกไปเที่ยวทะเลดำน้ำเหมือนนักท่องเที่ยวคนอื่นๆ คุณอิสริยาต้องมานั่งรอกกระเป๋าอยู่ในที่พัก รอจนถึงบ่ายสองโมงก็ยังไม่เห็นกระเป๋าสุดที่รัก จึงโทรไปถามกับพนักงานไทยแอร์เอเชีย ได้รับแจ้งว่า ได้ทิ้งกระเป๋าไว้ให้กับบริษัทเรือที่จะมาเกาะหลีเป๊ะแล้วแต่บริษัทเรือไม่ได้นำลงเรือไปเกาะด้วย ทำให้คืนนั้นคุณอิสริยาและน้องชายต้องซื้อเสื้อผ้าใส่กันอีกหนึ่งชุดคุณอิสริยามาได้กระเป๋าในวันที่สามของการท่องเที่ยวครั้งนี้ในเวลาประมาณบ่ายสามโมงกว่าๆ สรุปว่ามาเที่ยว 5 วัน ใช้เวลา 3 วันเพื่อรอกระเป๋าและได้เที่ยวจริงๆ เพียงแค่ 2 วัน ด้วยอารมณ์บูดสุดๆ พอถึงวันเดินทางกลับคุณอิสริยาได้ร้องเรียนเรียกค่าเสียหายกับไทยแอร์เอเชียที่ทำกระเป๋าตกทั้งเครื่องบิน ตกทั้งเรือจนไม่มีเสื้อผ้าใส่ ซึ่งไทยแอร์เอเชียแสดงความรับผิดชอบชดใช้เงินให้กับคุณอิสริยาและน้องชายคนละ 300 บาท บวกค่าเรือไปรับกระเป๋าอีก 100 บาทรวมเป็นเงิน 700 บาท พร้อมสำทับว่านี่คือมาตรฐานความรับผิดชอบค่าเสียหายของบริษัท คุณอิสริยาเห็นหลักในการชดใช้ดังกล่าวของไทยแอร์เอเชียแล้วต้องบอกว่า รับไม่ได้“ถ้าดิฉันเป็นคนหาดใหญ่แล้วไม่ได้รับกระเป๋าจะต้องรอกี่วันก็ไม่เดือดร้อน เพราะรออยู่ที่บ้านตัวเอง แต่นี่ดิฉันและน้องชายเดินทางไปพักผ่อนในเวลาจำกัดและไปพักบนเกาะ ความเดือดร้อนและความเสียหายมันต่างกัน แล้วไม่ใช่แค่วันเดียว แต่เป็น 2 คืน 3วันที่กว่าจะได้รับกระเป๋า...”เมื่อไม่สามารถตกลงกันได้ท้ายสุดคุณอิสริยาจึงร้องเรียนมาที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเพื่อให้ช่วยแก้ปัญหานี้แนวทางแก้ไขปัญหา“ถ้าดิฉันเป็นคนหาดใหญ่แล้วไม่ได้รับกระเป๋าจะต้องรอกี่วันก็ไม่เดือดร้อน เพราะรออยู่ที่บ้านตัวเอง แต่นี่ดิฉันและน้องชายเดินทางไปพักผ่อนในเวลาจำกัดและไปพักบนเกาะ ความเดือดร้อนและความเสียหายมันต่างกัน แล้วไม่ใช่แค่วันเดียว แต่เป็น 2 คืน 3วันที่กว่าจะได้รับกระเป๋า...”เมื่อไม่สามารถตกลงกันได้ท้ายสุดคุณอิสริยาจึงร้องเรียนมาที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเพื่อให้ช่วยแก้ปัญหานี้มูลนิธิฯ ได้ช่วยทำจดหมายประสานไปยังไทยแอร์เอเชีย ซึ่งในเวลาต่อมาสายการบินราคาประหยัดแห่งนี้ได้มีจดหมายชี้แจงถึงสาเหตุที่กระเป๋าผู้โดยสารมีอันต้องตกเครื่องบินและตกเรือว่า ปัญหาเริ่มต้นมาจากระบบการลำเลียงสัมภาระได้ส่งสัมภาระมาล่าช้า จึงเป็นสาเหตุให้สัมภาระที่ลงทะเบียนไม่ได้ถูกส่งไปพร้อมกับเที่ยวบินที่ผู้เสียหายเดินทาง บริษัทฯ ได้รีบดำเนินการจัดส่งไปในเที่ยวบินถัดไปของวันเดียวกันซึ่งออกจากกรุงเทพฯเวลา 10.40 ถึงหาดใหญ่เวลา 12.05 น. และนำไปส่งบริษัทเรือที่ท่าเรือปากบารา จังหวัดสตูล เพื่อส่งขึ้นเรือและนำไปส่งที่หลีเป๊ะ แต่มาไม่ทันเวลาเรือที่ออกไปหลีเป๊ะ จึงแจ้งให้บริษัทเรือจัดส่งให้ในวันถัดไป จนกระทั่งได้รับการติดต่อจากผู้ร้องว่ายังไม่ได้รับกระเป๋า ไทยแอร์เอเชียจึงติดต่อไปยังบริษัทเรือ ถึงทราบว่าบริษัทเรือลืมนำสัมภาระลงเรือ จึงต้องจัดส่งให้ในวันต่อไปอย่างไรก็ดี ไทยแอร์เอเชียได้พิจารณาให้ผู้ร้องเป็นกรณีพิเศษ โดยชดเชยค่าเสียหายให้เป็นจำนวนเงิน 1,100 บาท เป็นทั้งค่าเสื้อผ้าและค่าเรือที่ผู้ร้องจ่ายเพื่อไปรับกระเป๋า ซึ่งเป็นจุดที่คุณอิสริยาพอที่จะรับได้จึงยินยอมรับเงินชดเชยค่าเสียหายจำนวนดังกล่าวในท้ายที่สุด  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 99 การบินไทยทำที่นั่งผู้โดยสารหาย

ไม่ได้ตั้งชื่อเรื่องขึ้นมาเพื่อความเท่นะครับแต่เกิดขึ้นจริงๆ ผู้โดยสารจ่ายเงินซื้อตั๋วชั้นธุรกิจล่วงหน้าแล้ว มีตั๋วอยู่ในมือแล้ว พอมาเช็คอินเจ้าหน้าที่บอกไม่มีชื่ออยู่ในระบบ ทำได้แค่จัดที่นั่งชั้นประหยัดให้แทน บริการประทับใจจริงๆคุณปัทมา เขียนเล่าความทุกข์ของตัวเองผ่านทางช่องทางร้องทุกข์ออนไลน์ในเว็บไซต์ของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคว่า อยากทราบว่ากรณีซื้อตั๋วเครื่องบินของการบินไทย ชั้นธุรกิจ มีตั๋วอยู่ในมือเรียบร้อยแล้ว แต่ในวันเดินทางเจ้าหน้าที่เคาน์เตอร์บอกว่า ไม่มีชื่ออยู่ในระบบการจองเพราะโดนตัดที่นั่งออกไปแล้ว อยากทราบว่ากรณีนี้ร้องเรียนได้หรือไม่คุณปัทมาได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า เจ้าหน้าที่การบินไทยบอกว่าเป็นเพราะระบบ เห็นว่ามีการจองซ้ำซ้อนกับเอเยนต์ขายตั๋ว แต่ทางเราไม่ได้ซื้อกับทางเอเยนต์ แต่จ่ายเงินกับการบินไทยและได้ตั๋วมาเรียบร้อยแล้ว อยากทราบว่ากรณีนี้อย่างนี้จะเรียกร้องอะไรได้บ้าง เพราะในที่สุดเจ้าหน้าที่เคาน์เตอร์หาที่นั่งชั้นประหยัดให้แทนแต่จ่ายเงินในชั้นธุรกิจ “เราซื้อตั๋วแล้ว จ่ายเงินแล้ว ทำไมการบินไทยมีสิทธิตัดที่งนั่งได้ด้วยหรือ เอาที่นั่งของเราไปขายให้คนอื่นอย่างนี้ก็เท่ากับได้เงินสองต่อน่ะสิ” แนวทางแก้ไขปัญหาน่าสงสารจริง ๆ ครับ ไม่รู้มีตัวดีหรือผู้ยิ่งใหญ่ที่ไหนไปเบียดเบียนที่นั่งประชาชนคนธรรมดาที่ใช้สิทธิในความเป็นราษฎรเต็มขั้นซื้อตั๋วชั้นธุรกิจ จ่ายเงินแล้ว ได้ตั๋วอยู่ในมือแล้ว แต่ที่นั่งกลับหายไปเสียนี่โดยไม่มีการชี้แจงเหตุผลที่ชัดเจนจากการบินไทย ทำได้เพียงการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าด้วยการจัดที่นั่งชั้นประหยัดให้แทน คุณปัทมาถามว่าจะเรียกร้องอะไรได้มั้ย ได้สิครับอย่างแรกก็คือ ขอคำชี้แจงจากการบินไทยว่าทำไมถึงได้เกิดเหตุการณ์การบริการที่ประทับใจแบบนี้ขึ้นได้ อย่างที่สองคือ ค่าโดยสารส่วนเกินที่ได้จ่ายไปสำหรับที่นั่งชั้นธุรกิจแต่กลับได้บินไปกับที่นั่งชั้นประหยัด ซึ่งการบินไทยจะต้องคืนให้กับผู้โดยสารในช่องทางใดช่องทางหนึ่งที่ผู้เสียหายเขาประสงค์ และอย่างที่สามก็คือ เรื่องความเสียหายทางด้านจิตใจที่การบินไทยจะต้องพิจารณารับผิดชอบด้วย ก็แหมผู้โดยสารเขาอุตส่าห์ซื้อตั๋วและจ่ายเงินกับการบินไทยแท้ๆ กลับทำที่นั่งเขาหายไปเฉยๆ จะไม่รับผิดชอบในเรื่องนี้ได้อย่างไรข้อเรียกร้องทั้งหมดนี้มูลนิธิฯ ได้ทำหนังสือสอบถามไปถึงการบินไทยให้เรียบร้อยแล้วนะครับ โปรดรอผลตอบรับจากการบินไทยโดยพร้อมเพรียงกัน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 178 เมืองไทยไม่แพ้ชาติใดในโลก

    อันดับ 3 ของโลก ส่งออกอาหารทะเลมากสุด แต่เข้าข่ายละเมิดสิทธิมนุษยชนมากสุด ประเทศไทยส่งออกอาหารทะเลมากเป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากจีนและนอร์เวย์ อุตสาหกรรมประมงสร้างรายให้ประเทศปีละไม่ต่ำกว่า 5,400 ล้านเหรียญ ผลพลอยได้คือ เรามีชื่อติดอันดับเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนกับเขาด้วย อุตสาหกรรมประมงไทยต้องอาศัยแรงงานอย่างน้อย 300,000 คน ส่วนใหญ่เป็นแรงงานต่างชาติที่ลักลอบเข้าเมืองจากประเทศเพื่อนบ้าน ด้วยสภาพการทำงานที่ค่อนข้างเลวร้ายจึงทำให้มี “ตำแหน่งงานว่าง” ปีละไม่ต่ำกว่า 50,000 ตำแหน่ง กระบวนการสรรหาบุคลากรผ่านกระบวนการค้ามนุษย์จึงเกิดขึ้น องค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานด้านสิทธิมนุษยชนต่างก็ออกมาสนับสนุนสหรัฐฯ ที่จัดประเทศไทยไว้ในกลุ่มประเทศที่ยังจัดการเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนได้ต่ำกว่ามาตรฐาน ปลายปีนี้ก็มีลุ้นว่าเราจะได้ใบแดงจากสหภาพยุโรป (ลูกค้ารายใหญ่ที่นำเข้าอาหารทะเลจากไทยเป็นมูลค่าไม่ต่ำกว่า 700 ล้านยูโร หรือประมาณ 27,000 ล้านบาทในปี 2557) หรือไม่ ระหว่างนี้ผู้บริโภคก็มีส่วนช่วยผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นได้ด้วยการตั้งคำถามให้มากเรื่องที่มาของอาหารทะเล   อันดับ 2 ของโลก อุบัติเหตุบนท้องถนน จากการเก็บสถิติอัตราผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนทั่วโลกในปี 2557 ของสถาบันวิจัยด้านคมนาคม มหาวิทยาลัยมิชิแกน ประเทศสหรัฐอเมริกา ร่วมกับองค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่า ในอัตราส่วนประชากร 100,000 คนต่อปี ประเทศที่มีผู้เสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุทางถนนมากที่สุดในโลก คือ นามิเบีย 45/100,000 คน ประเทศไทย 44/100,000 คน ส่วนประเทศที่มีผู้เสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุทางถนนน้อยที่สุดคือ มัลดีฟท์ 2/100,000 คนเท่านั้น โดยค่าเฉลี่ยทั่วโลกอยู่ที่ 18/100,000 คน ยืนยันซ้ำโดยทางการไทย กรมการขนส่งทางบก ระบุอัตราการตายที่เกิดจากอุบัติเหตุบนท้องถนน เฉลี่ยวันละ 25 คน หรือชั่วโมงละ 1 คน โดยเฉพาะอุบัติเหตุที่เกิดจากรถตู้โดยสารสาธารณะ ตั้งแต่เดือนมกราคม 2554 ถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2555 มีอุบัติเหตุรถตู้โดยสารสาธารณะรวม 45 ราย ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมคนขับถึง 41 ราย และที่เหลือเกิดจากสาเหตุสภาพรถ จำนวน 4 ราย ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุน่าตกใจนี้ มีงานวิจัยพบสาเหตุ 3 ประการ คือ พฤติกรรมเสี่ยงของผู้ขับขี่ การบังคับใช้กฎหมายไม่เข้มงวดพอ และความปลอดภัยของถนนไม่ได้มาตรฐานปีใหม่นี้ขอให้แคล้วคลาดปลอดภัยทุกคน   อันดับ 3 ของโลก ใช้น้ำอย่างสิ้นเปลืองข้อมูลจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเพื่อประชาชนระบุว่า ประเทศไทยเราถูก องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ ยกให้เป็นประเทศที่ใช้น้ำในกระบวนการผลิตต่างๆ ในปริมาณมาก พร้อมทั้งสร้างผลกระทบต่อแหล่งน้ำธรรมชาติ หรือที่เรียกว่า “Water Footprint” ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่าในภาคการผลิตของประเทศไทยเรายังใช้ทรัพยากรน้ำอย่างไม่รู้คุณค่า!!! โดยประเทศไทยมีค่าเฉลี่ย Water Footprint อยู่ที่ 2,223 ลูกบาศก์เมตรต่อคนต่อปี มากเป็นอันดับ 3 ของโลก เป็นรองแค่ สหรัฐอเมริกา และ อิตาลี โดยค่าเฉลี่ยของ Water Footprint ของโลกอยู่ที่ 1,243 ลูกบาศก์เมตรต่อคนต่อปี ไทยเรายังมีความรู้เรื่อง Water Footprint ค่อนข้างน้อย โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ผลิตภาคเกษตรกรรมที่มีค่าเฉลี่ย Water Footprint สูงถึง 2,131 ลูกบาศก์เมตรต่อคนต่อปี เนื่องจากเราเป็นประเทศเกษตรกรรม ส่งออกสินค้าเกษตรมากเป็นอันดับต้นๆ ของโลก ส่วนเรื่องการใช้น้ำในภาคคัวเรือนทั่วไป คนไทยเราก็ทำสถิติใช้น้ำเปลืองด้วยเช่นกัน การประปานครหลวง และการประปาส่วนภูมิภาค พบว่าในปี 2557 คนไทยใช้น้ำเฉลี่ยมากถึง 119 ลิตรต่อวันต่อคน เพิ่มจากปี 2555 ที่มีใช้น้ำเฉลี่ยต่อวันต่อคนอยู่ที่ 48 ลิตร สูงขึ้นเกินกว่าเท่าตัว สถิติการใช้น้ำของคนไทย จัดเป็นอันดับ 3 ของอาเซียน รองจากประเทศ สิงคโปร์ที่ 165 ลิตรต่อวันต่อคนและฟิลิปปินส์ 164 ลิตรต่อวันต่อคน ขณะที่ชาวโลก สหรัฐอเมริกามีอัตราการใช้น้ำเฉลี่ยสูงที่สุดในโลกที่ 575 ลิตรต่อคนต่อวัน รองลงมาคือ ออสเตรเลีย 493 ลิตรต่อคนต่อวัน และ ญี่ปุ่น 374 ลิตรต่อคนต่อวัน   อันดับ 5 ของโลก ใช้สารเคมีทางการเกษตรมากปี 2554 ประเทศไทยเราเคยถูกจัดอันดับอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีการใช้สารเคมีทางการเกษตรมากที่สุดในโลก โดยธนาคารโลก (World Bank) องค์การทางการเงินระหว่างประเทศ ได้จัดอันดับให้ไทยเป็นประเทศที่ใช้สารเคมีทางการเกษตรสูงที่สุดเป็นอันดับ 5 ของโลก ที่ปริมาณ 0.86 กิโลกรัมต่อพื้นที่เกษตร 10,000 ตารางเมตร เป็นรองแค่ ฝรั่งเศส เวียดนาม สเปน และบราซิล (ถ้านำมาวางเรียงกันแล้วจะสูงเท่ากับตึกใบหยก 2 หรือที่ความสูงประมาณ 304 เมตร) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร รายงานตัวเลขปริมาณและมูลค่าการนำเข้าสารเคมีทางการเกษตรของประเทศไทยในปี 2557 มีตัวเลขการนำเข้าทั้งหมดรวม 134,377 ตัน คิดเป็นมูลค่าถึง 19,357 ล้านบาท ส่วนปี 2558 เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thai-PAN) ได้มีการสรุปตัวเลขการนำเข้าล่าสุดถึงเดือน มิ.ย. พบว่ามีการนำเข้าสารเคมีทางการเกษตรไปแล้วจำนวน 96,871 ตัน คิดเป็นมูลค่า 12,453 ล้านบาท การใช้สารเคมีทางการเกษตรเป็นจำนวนมากส่งผลต่อสุขภาพ ไม่เฉพาะแค่ผู้บริโภคเท่านั้น แต่ยังรวมถึงเกษตรกรด้วย ข้อมูลจากสำนักโรคจากการประกอบอาชีพ และสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบว่า มีผู้ป่วยที่ได้รับพิษจากสารเคมีกําจัดศัตรูพืชเฉลี่ยปีละ 1,734 ราย และในปี 2557 ได้มีการตรวจเลือดเกษตรกรจำนวน 317,051 ราย พบว่ามีเกษตร 107,820 ราย หรือคิดเป็น 1 ใน 3 ที่มีผลตรวจเลือดอยู่ในระดับไม่ปลอดภัย อันดับ 6 ของโลก ทิ้งขยะพลาสติกลงทะเลมากทะเลไทยขึ้นชื่อเรื่องความสวยงามติดอันดับโลก ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติต้องมาสัมผัส แต่ทะเลไทยกำลังจะเปลี่ยนไป น้ำทะเลที่เคยสวยใส สัตว์ทะเลน้อยใหญ่ที่อุดมสมบูรณ์ อาจจะไม่มีให้เราได้ชื่นชมอีก เพราะทะเลไทยกำลังจะถูกทำลายด้วย “ขยะพลาสติก” สำนักข่าวต่างประเทศชื่อดังอย่าง CNN ได้นำรายงานของ www.sciencemag.org ที่มีชื่อว่า “ขยะพลาสติกที่ถูกทิ้งลงสู่ทะเล” (Plastic waste inputs from land into the ocean) มาเผยแพร่ โดยพบว่าในปี 2010 มีพลาสติกมากถึง 275 ล้านเมตริกตัน (1 เมตริกตัน = 1,000 กิโลกรัม) ที่ถูกผลิตและใช้ในประเทศที่มีพื้นที่ติดกับทะเลจำนวน 192 ประเทศทั่วโลก โดยในจำนวนนี้น่าจะมีขยะพลาสติกราว 4.8 – 12.7 ล้านเมตริกตันที่ถูกทิ้งลงทะเล ประเทศไทยเราถูกจัดให้อยู่ในอันดับที่ 6 ของประเทศที่ทิ้งขยะพลาสติกลงทะเลมากที่สุดของโลก โดยในแต่ละปีเราทิ้งขยะพลาสติกลงทะเลมากถึง 1.03 ล้านเมตริกตัน ประเทศที่มีการทิ้งขยะพลาสติกลงทะเลมากที่สุดคือ จีน ซึ่งเป็นประเทศที่มีการใช้พลาสติกสูงที่สุดของโลกด้วย โดยจีนทิ้งขยะพลาสติกลงทะเลที่ปริมาณ 8.82 ล้านเมตริกตันต่อปี อันดับ 2 อินโดนีเซีย 3.22 ล้านเมตริกตัน, อันดับ 3 ฟิลิปปินส์ 1.88 ล้านเมตริกตัน, อันดับ 4 เวียดนาม 1.83 ล้านเมตริกตัน และ อันดับ 5 ศรีลังกา 1.59 ล้านเมตริกตัน ข้อมูลจากกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ในปี 2015 มีการเก็บขยะจากทะเลและชายฝั่งเป็นจำนวน 5,363.50 กิโลกรัม โดยประเภทของขยะที่พบมากที่สุดคือ ถุงพลาสติก จำนวน 12,971 ชิ้น คิดเป็น 28.21% รองลงมาก็ยังเป็นขยะในกลุ่มพลาสติกอย่าง หลอด, ฝาขวด, ขวดน้ำพลาสติก   ตั้งแต่พลาสติกถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในช่วงยุค 90 ว่ากันว่า ขยะพลาสติกชิ้นแรกก็ยังคงมีชีวิตอยู่บนโลกใบนี้ ไม่ได้ย่อยสลายหายไปไหน   ละเมิดลิขสิทธิ์ติดอันดับโลกไทยแลนด์ไม่น้อยหน้าใครเรื่องการเป็นแหล่งซื้อหาสินค้า “ทำเหมือน” คุณภาพเยี่ยม ทุกรุ่นทุกยี่ห้อ และแทบจะในทุกแหล่งจับจ่าย ตั้งแต่ริมทางเท้าไปจนถึงห้างสรรพสินค้าห้องแอร์ นักท่องเที่ยวที่แวะเวียนมาบางคนก็อดใจไม่ไหว ต้องซื้อสินค้าเหล่านี้ติดไม้ติดมือกลับบ้านไป ปีนี้สหรัฐฯ ยังคงจัดให้เราอยู่ในกลุ่มประเทศ PWL (Priority Watch List) หรือ กลุ่มประเทศที่ถูกจับตาเป็นพิเศษ ทั้งเรื่องสินค้าปลอมที่ใช้โลโก้ลิขสิทธิ์ การใช้โลโก้ที่เลียนแบบต้นฉบับ ไปจนถึงการใช้ซอฟท์แวร์ไม่จดทะเบียน สหรัฐฯ ระบุว่าไทยเป็นตลาดสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ขนาดใหญ่ ที่จะต้องมีการบังคับใช้กฎหมายให้จริงจังขึ้น แต่สินค้าปลอมนี้ดูไม่มีทีท่าว่าจะลดน้อยลง แม้จะมีการตรวจจับและนำมาทำลายให้เห็นกันบ่อยครั้ง “ผู้ประกอบการ” นิยมนำเข้าสินค้าเหล่านี้จากจีน เกาหลี และไต้หวัน กันมากขึ้น โดยนำเข้ามาทางเรือหรือทางรถผ่านชายแดนลาวและกัมพูชา ที่สำคัญ การค้าในแหล่งท่องเที่ยวดูเหมือนจะดีวันดีคืน ถึงขั้นที่ต้องนำเข้า “พนักงานขาย” จากประเทศเพื่อนบ้านที่สามารถใช้ภาษาอังกฤษด้วย   เจนวายไทย ติดอันดับติดโทรศัพท์มือถือมากสุดในเอเชียการสำรวจพฤติกรรมออนไลน์ของผู้ใช้อินเตอร์เน็ท 60,000 คน ใน 50 ประเทศทั่วโลกโดยบริษัทวิจัยการตลาด TNS พบว่า คนไทยเจนวาย (คนที่อายุระหว่าง 16 – 30 ปี) เป็นกลุ่มคนที่ติดโทรศัพท์มือถือมากที่สุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ด้วยสถิติ 4.2 ชั่วโมงต่อวัน คนมาเลเซียและสิงคโปร์ใช้วันละ 3.8 และ 3.4 ชั่วโมง ตามลำดับ แม้แต่ฮ่องกงก็ยังมีอัตราใช้เพียงวันละ 2.8 ชั่วโมง ส่วนผู้นำด้านเทคโนโลยีอย่างญี่ปุ่นนั้นใช้วันละ 1.6 ชั่วโมงเท่านั้น นี่เรามาเหนือประเทศผู้ผลิตสมาร์ทโฟนอย่างจีน (3.9 ชั่วโมง) และประเทศที่ต้นสังกัดของไอโฟนอย่างอเมริกา (3.1 ชั่วโมง) ได้อย่างไร (อัตราเฉลี่ยทั่วโลกอยู่ที่ 3.2 ชั่วโมง) ไม่อยากจะคุยว่าคนไทยถือโทรศัพท์กันคนละ 1.4 เครื่อง (คนอเมริกันและคนจีนมีมือถือคนละ 0.91 และ 0.77 เครื่อง ตามลำดับ) นอกจากนี้ข้อมูลปี 2556 ระบุว่าร้อยละ 56 ของการใช้อินเตอร์เน็ทในเมืองไทยเป็นการเข้าผ่านโทรศัพท์มือถือ สูงกว่าในสหรัฐฯและจีนด้วย (ร้อยละ 40 และร้อยละ 34 ตามลำดับ)   โรงพยาบาลเอกชนไทยดีติดอันดับโลก โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล เคยถูกจัดอันดับเป็นสถานพยาบาลติด 1 ใน 10 ของสถานพยาบาลทั่วโลกที่มีมาตรฐานระดับสากลที่ชาวต่างชาตินิยมมาใช้บริการ ในขณะที่โรงพยาบาลเอกชนได้รับการยอมรับในระดับโลก แต่ในบ้านเราก็พบการร้องเรียนเรื่องค่าบริการของโรงพยาบาลเอกชนที่แพงเกินจริง จนเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ได้ล่ารายชื่อจำนวนถึง 33,000 ราย เพื่อยื่นต่อรัฐบาลให้ตั้งคณะกรรมการควบคุมราคาค่ารักษาในโรงพยาบาลเอกชน ผลการศึกษามาตรฐานค่ารักษาพยาบาลของสถานพยาบาล โดยกรรมาธิการสาธารณสุข สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พบว่าค่ารักษาพยาบาลในโรงพยาลเอกชนสูงกว่าค่ารักษาในโรงพยาบาลรัฐเกินกว่า 60 % ยกตัวอย่าง โรคหลอดเลือดหัวใจ ค่าใช้จ่ายในโรงพยาบาลรัฐจะอยู่ที่ประมาณ 139,000 บาท ส่วนในโรงพยาบาลเอกชนจะอยู่ที่ 370,000 บาท โรคหวัด ค่าใช้จ่ายในการรักษากับโรงพยาบาลรัฐจะอยู่ที่ 781 บาท แต่ถ้าเป็นในโรงพยาบาลเอกชนชื่อดังจะอยู่ที่ 3,069 บาท สูงกว่ากันเกือบ 4 เท่า ว่าไปแล้ว ผู้บริโภคอย่างเราๆ ก็เข้าใจดีว่า ค่าใช้จ่ายในโรงพยาบาลเอกชนย่อมสูงกว่าโรงพยาบาลรัฐ และยอมรับว่า โรงพยาบาลเอกชน ก็คือธุรกิจประเภทหนึ่งที่จะต้องมีการหาผลกำไร มีการลงทุน (ยิ่งโรงพยาบาลเอกชนที่มีหุ้นซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ยิ่งมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าโรงพยาบาลเอกชนที่ไม่มีหุ้นเกือบเท่าตัว) แต่การตั้งราคาควรมีความเป็นธรรมและเหมาะสมหรือไม่ หรือว่ามุ่งแต่จะรักษาคนต่างชาติเงินหนา โดยไม่สนใจผู้บริโภคคนไทย กระทรวงสาธารณสุขรับแล้วว่าจะดูแลในเรื่องนี้ ต้องติดตามดูกันต่อไป   อันดับ 1 ของอาเซียน ดื่มสุราสูงสุดองค์การอนามัยโลก ปี 2557 เผยว่า ประเทศไทยบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นอันดับ 1 ในอาเซียน มีการดื่มเฉลี่ย 7.1 ลิตรต่อคนต่อปี ส่วนอันดับรองลงมาคือประเทศลาวและฟิลิปปินส์ นอกจากนี้ตามข้อมูลจากศูนย์การศึกษาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์(CAS) ภูมิภาคในประเทศไทยที่มีการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากที่สุดคือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คิดเป็นร้อยละ 40 ของประเทศ ในขณะที่อันดับสอง คือภาคเหนือ ร้อยละ 23 ส่วนในกรุงเทพฯ คิดเป็นร้อยละ 8 ในทางเดียวกันกับข้อมูลข้างต้น สำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่า ในปี 2557 จำนวนผู้ดื่มสุราในประเทศไทยคิดเป็นร้อยละ 32 หรือประมาณ 17 ล้านคน อยู่ในช่วงอายุกลุ่มวัยทำงาน 25 - 59 ปี มากที่สุด ซึ่งผู้ชายมีอัตราการดื่มสุรามากกว่าผู้หญิง ประมาณ 4 เท่า โดยสุราที่นิยมเป็นอันดับหนึ่งคือ เบียร์ ทั้งนี้สำหรับ 3 สาเหตุหลัก ในการดื่มแอลกอฮอล์คือ เพื่อเข้าสังคมหรือการสังสรรค์มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 41.9 รองลงมาคือ ทำตามอย่างเพื่อนหรือเพื่อชวนดื่ม คิดเป็นร้อยละ 27.3 และอันดับสุดท้ายคือ อยากทดลองดื่ม ร้อยละ 24.4   ต่ำสุดในอาเซียน เลี้ยงลูกด้วยนมแม่แม้ผลศึกษาวิจัยหลายชิ้นจะชี้ให้เห็นประโยชน์ของนมแม่ ในการพัฒนาสมองหรือภูมิคุ้มกันของทารกให้เพิ่มขึ้นได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้นมผงเสริม แต่สถิติการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของประเทศไทยในช่วง 6 เดือนแรกของทารกก็ยังอยู่ในระดับต่ำ โดยจากผลการสำรวจขององค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ในปี 2557 พบว่า มีคุณแม่คนไทยเพียงร้อยละ 16 เท่านั้นที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งต่ำกว่าระดับมาตรฐานโลกที่ตั้งไว้ร้อยละ 50 นอกจากนี้ยังเป็นตัวเลขที่ต่ำสุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าสาเหตุสำคัญประการหนึ่งมาจากอิทธิพลของการโฆษณานมผงต่างๆ   อันดับสองในอาเซียน แม่วัยรุ่นน่าตกใจไหม? ไทยเป็นอันดับ 2 ในอาเซียนที่มีแม่วัยรุ่น (อายุ 15-19 ปี) มากที่สุด โดยอ้างอิงข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ที่ระบุว่า ในปี 2556 การตั้งครรภ์ของผู้หญิงที่อายุต่ำกว่า 20 ปีทั่วโลก ประเทศไทยมีจำนวนสูงถึง 74 คนต่อ 1,000 คน ซึ่งเป็นอันดับ 2 รองจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการตั้งครรภ์ของวัยรุ่นพบว่า ส่วนใหญ่เกิดจากใช้วิธีคุมกำเนิดไม่ถูกต้อง หรือไม่ใช้วิธีป้องกันเนื่องจากขาดความรู้นั่นเอง   ข้อมูลเว็บไซต์ของหนังสือพิมพ์สเตรทไทม์ส์ และนิตยสารมาร์เก็ตติ้งเว็บไซต์กรมการขนส่งทางบก http://www.dlt.go.th/th/ และข้อมูลสถิติจากมหาวิทยาลัยมิชิแกน http://deepblue.lib.umich.edu/handle/2027.42/102731http://englishnews.thaipbs.or.th/infographic/alcohol-consumption-thailand และสำนักงานสถิติแห่งชาติ http://service.nso.go.th/nso/web/survey/surveylist.htmlhttp://thaibreastfeeding.org/page.php?id=29 / http://www.hiso.or.th/hiso5/healthy/news2.php?names=06&news_id=8286 / http://www.ipu.org/splz-e/vientiane14/malnutrition.pdf / http://www.ictsilpakorn.com/ictmedia/detail.php?news_id=296#.VmE8fXYrLIU  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 121 ถึงเวลาคนไทยใช้ระบบประกันสุขภาพมาตรฐานเดียวกัน

  “จะดีไหม!?...ถ้า 0.88% ของเงินเดือนที่เราและนายจ้างต้องจ่ายให้ระบบประกันสังคมในกรณีเจ็บป่วย ถูกนำไปเพิ่มเป็นเงินบำนาญหลังเกษียณ ส่วนเรื่องการรักษาพยาบาลเวลาเจ็บป่วยก็เปลี่ยนให้ไปใช้บัตรทองซึ่งให้สิทธิรักษาฟรีกับคนไทยทั่วประเทศอยู่แล้ว...”   ผู้ประกันตนระบบประกันสังคมฟังทางนี้!!! เรารู้จักสิทธิของตัวเองดีพอหรือยัง? คงยังมีหลายคนที่สงสัยว่า “ผู้ประกันตน” ที่ว่านี้หมายถึงใคร ?  ผู้ประกันตน ก็คือ พวกเราเหล่ามนุษย์เงินเดือนที่ต้องจ่ายเงินให้กับประกันสังคม โดยการหักจากเงินเดือน (แบบอัตโนมัติ) ทุกเดือนเดือนละ 5% สำหรับเป็นเงินไว้สำหรับสมทบเพื่อสิทธิประโยชน์ เวลาที่เราเจ็บป่วยแล้วใช้บริการที่สถานพยาบาล หรือเป็นเงินช่วยเหลือตอนตกงาน รวมทั้งจะได้มีเงินบำนาญไว้ใช้ตอนอายุมาก ซึ่งก็ถือเป็นเรื่องที่ดีที่จะได้มีเงินส่วนหนึ่งไว้ค่อยช่วยเหลือเวลาที่เราลำบาก โดยไม่ใช่แค่เราเท่านั้นที่ต้องจ่ายเงินสมทบให้กับประกันสังคม แต่นายจ้างและรัฐก็ร่วมจ่ายสมทบเพื่อสิทธิของเราด้วย โดยนายจ้างจ่าย 5% ของเงินเดือนของเรา ส่วนรัฐช่วยน้อยลงมาหน่อยที่ 2.75% ไม่ว่าจะเต็มใจหรือไม่เต็มใจ เหล่ามนุษย์เงินเดือนก็ต้องจ่าย 5% ของเงินเดือน เข้าสู่กองทุนประกันสังคม หลายคนอาจจะตั้งข้อสงสัยว่า  “นานทีปีหนถึงจะได้เข้าโรงพยาบาล แล้วแบบนี้ทำไมต้องมาจ่ายเงินให้ประกันสังคมด้วย”  ไขข้อข้องใจ ที่เราต้องจ่ายก็เพราะว่าหลักการของประกันสังคมคือเรื่องของการ “เฉลี่ยทุกข์ เฉลี่ยสุข” เงินของเราที่ถูกหักให้ประกันสังคมทุกๆ เดือนนั้นจะกลายไปเป็นเงินกองกลางสำหรับบริหารจัดการดูแลทุกๆ คนที่อยู่ในระบบประกันสังคมร่วมกับเรา ใครป่วยต้องรักษาพยาบาลก็ได้รับการดูแล วันหนึ่งถ้าเราไปหาหมอก็จะได้รับการดูแลเช่นกัน หรือถ้าวันหนึ่งเราตกงานหรือเกษียณก็จะมีเงินชดเชยให้ ซึ่งก็คือเงินของเราที่ถูกหักไปทุกๆ เดือนนั้นแหละ   5% ของเงินเดือนที่เราจ่ายให้ประกันสังคมถูกใช้ไปทำอะไรบ้าง   %ของเงินเดือนที่จ่าย สิทธิประโยชน์ สิทธิที่ได้รับ เงื่อนไขการใช้สิทธิ 0.88% กรณีเจ็บป่วย *รักษาฟรีที่ รพ.ตามสิทธิที่เลือกไว้ *เงินทดแทนการขาดรายได้ ส่งเงินสมทบไม่น้อยกว่า 3เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนใช้สิทธิครั้งแรก 0.12% กรณีคลอดบุตร ผู้ประกันตนหญิง *ได้เงินทดแทน 13,000 บาทต่อครรภ์ ได้ไม่เกิน 2 คน *เงินทดแทนการขาดรายได้ 50% ไม่เกิน 90 วัน ผู้ประกันตนชาย *ได้เงินทดแทน 13,000 บาท ต่อครรภ์ ได้ไม่เกิน 2 คน ส่งเงินสมทบไม่น้อยกว่า 7 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนคลอดบุตร 0.44% กรณีทุพพลภาพ *ใช้บริการ รพ.ของรัฐฟรี *หากเป็น รพ.เอกชน -ผู้ป่วยในเดือนละ 4,000 บาท -ผู้ป่วยนอกเดือนละ 2,000 บาท *เงินทดแทนการขาดรายได้ 50% ของค้าจ้างรายเดือนไปตลอดชีวิต *อวัยวะเทียมที่จำเป็นฟรี ส่งเงินสมทบไม่น้อยกว่า 3 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนทุพพลภาพ 0.06% กรณีตาย เงินสงเคราะห์ และค่าปลงศพ 40,000 บาท *หากส่งสมทบมาแล้วมากกว่า 3 ปี แต่ไม่ถึง 10 ปี จะได้เงินสงเคราะห์ เท่ากับค่าจ้าง 1 เดือนครึ่ง *หากสมทบมากกว่า 10 ปี เงินสงเคาระห์เท่ากับค่าจ้างของผู้ประกันตน 5 เดือน ส่งเงินสมทบไม่น้อยกว่า 1 เดือน ภายใน 6 เดือนก่อนตาย 3% กรณีชราภาพ *จะได้รับบำนาญ 20% ของเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย หากส่งสมทบมามากกว่า 180 เดือน *หากส่งสมทบมาไม่ถึง 180 เดือน จะได้รับบำเหน็จเท่ากับเงินสมทบทั้งหมดบวกกับดอกเบี้ยตามอัตราที่สำนักงานประกันสังคมประกาศในแต่ละปี อายุ 55 ปี บริบูรณ์ และความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง 0% (เพราะรัฐออกให้) กรณีสงเคราะห์บุตร *เดือนละ 400 บาท ไปจนบุตรอายุ 6 ปี และได้ครั้งละ 2 คน ส่งเงินสมทบไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายใน 36 เดือนก่อนได้รับสิทธิ 0.5% กรณีว่างงาน *หากถูกให้ออกโดยไม่ใช่ความผิดของลูกจ้างจะได้ 50% ของค่าจ้างรายวันไม่เกิน 6 เดือน *หากลูกจ้างลาออกหรือหมดโครงการจะได้ 30% ของค่าจ้างรายวันไม่เกิน 3 เดือน ส่งเงินสมทบไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนว่างงาน   ความจริงเรื่องประกันสุขภาพ ประเทศไทยเรา ไม่ได้มีระบบประกันสุขภาพสำหรับดูแลเรื่องความป่วยไข้ของคนไทยแค่ระบบประกันสังคมเท่านั้น แต่ยังมีอีก 2 ระบบสำคัญที่ค่อยเป็นที่พึ่งเรื่องสุขภาพของคนไทย นั้นคือ ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือที่เราคุ้นเคยกันในชื่อที่ว่า “ระบบบัตรทอง” ซึ่งเป็นระบบที่รัฐดูแลจัดการ ถือเป็นสวัสดิการให้กับคนไทยทุกคน ที่ไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคม หรือระบบประกันสุขภาพอื่นๆ ซึ่งปัจจุบันมีคนไทยที่ได้รับการดูแลเรื่องการรักษาพยาบาล ค่ายา ประมาณ 47 ล้านคน งบประมาณที่ใช้ก็มาจากเงินภาษีของเรานี่แหละ  คิดเป็นตัวเลขก็ประมาณ 1 แสนล้านบาท โดยค่ารักษาพยาบาลเหมาจ่ายต่อคนที่รัฐออกให้อยู่ที่ประมาณ 2,401.33 บาท อีกระบบ คือ ระบบสวัสดิการข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ สำหรับดูแลข้าราชการและครอบครัว ซึ่งมีประมาณ 5 ล้านคนทั่วประเทศ งบประมาณที่ใช้ก็มาจากเงินภาษีของเราอีกนั้นแหละ ซึ่งให้งบประมาณดูแลสูงถึง 7 หมื่นล้านบาท ค่ารักษาพยาบาลเหมาจ่ายรายต่อคนประมาณ 10,000 บาท  ส่วนระบบประกันสังคม ซึ่งดูแลเหล่าลูกจ้างและมนุษย์เงินเดือนซึ่งมีอยู่ประมาณ 9 ล้านคน โดยงบประมาณที่นำมาใช้ดูแลสุขทุกข์ก็มาจากเงินที่เราถูกหักจากเงินเดือนทุกๆ เดือน บวกกับนายจ้างและรัฐช่วยสมทบให้ ซึ่งเงินที่เราจ่ายไปถูกนำไปเฉลี่ยสำหรับการดูแลคุ้มครองหลายๆ ส่วน (อย่างที่เราแจกแจงให้ดูในตารางก่อนหน้านี้) ซึ่งถ้าดูเฉพาะส่วนของค่ารักษาพยาบาลเราจะมีงบประมาณดูแลอยู่ที่ประมาณ 2 หมื่น 2 พันล้านบาท คิดเป็นค่ารักษาพยาบาลเหมาจ่ายที่คนละ 2,105.26 บาท  “น่าคิดมั้ย?...ทำไมระบบประกันสังคมถึงเป็นระบบประกันสุขภาพระบบเดียว ที่ผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบเอง”   ทั้ง ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และ ระบบสวัสดิการข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ ใช้เงินจากรัฐซึ่งก็มาจากเงินภาษีของเราเองในการดูแลเรื่องสุขภาพของคนที่อยู่ในระบบ แต่ระบบประกันสุขภาพในระบบประกันสังคน ผู้ประกันตนต้องเป็นคนจ่ายสมทบเอง ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าแปลก ว่าทำไมรัฐจึงไม่ดูแลเรื่องสุขภาพของคนไทยให้เหมือนกันเป็นระบบเดียว เพราะเมื่องบประมาณที่ใช้ดูแลก็มาจากเงินภาษีของคนไทยทุกคนอยู่แล้ว ทำไมเรายังต้องจ่ายเพิ่มอีก?!  จริงอยู่ที่ว่าระบบประกันสังคม เป็นระบบการดูแลคุ้มครองความมั่นคงของชีวิตที่ดีและมีประโยชน์ คือมีทั้งเรื่องการช่วยเหลือซึ่งกันและในแบบเฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุข และยังเป็นการออมเพื่ออนาคต แต่หากสามารถนำหลักการเฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุขในเรื่องของการดูแลสุขภาพให้เท่าเทียมเป็นมาตรฐานเดียวกันทุกระบบก็น่าจะเป็นเรื่องที่ดีกว่ามั้ย?   มาเปลี่ยนเป็นระบบสุขภาพที่เท่าเทียมกันเถอะ“ถ้าเปลี่ยนให้ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมได้รับการดูแลเรื่องสุขภาพในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ แต่ว่ายังจ่ายสมทบเท่าเดิม แล้วนำเงินที่ต้องจ่ายกรณีเจ็บป่วยไปเพิ่มให้กรณีชราภาพ น่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกันตนมากกว่า”ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ ระบบบัตรทอง ทำหน้าที่ดูแลเรื่องสุขภาพคนไทยส่วนใหญ่ของประเทศอยู่แล้ว หากจะเพิ่มการดูแลให้กับกลุ่มผู้ใช้แรงงานเหล่ามนุษย์เงินเดือนที่เป็นผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม ก็คงไม่น่าจะเป็นเรื่องแปลกหรือยุ่งยากอะไร ถือเป็นการช่วยเหลือผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมที่ยังเป็นเพียงคนกลุ่มเดียวที่ต้องจ่ายเงินในการดูแลรักษาสุขภาพยามเจ็บป่วย ถึงแม้จะเปลี่ยนไปรับความคุ้มครองในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ แต่ก็เชื่อว่าผู้ประกันตนส่วนใหญ่ก็ยังยินดีที่จะจ่ายสมทบในระบบประกันสังคม เพราะยังมีข้อดีในส่วนของการออมเพื่ออนาคต ทั้งการช่วยเหลือตอนว่างงาน และเงินบำเหน็จบำนาญตอนเกษียณ  ซึ่งถ้าหากได้รับการดูแลเรื่องสุขภาพจากระบบบัตรทองแล้ว เงินที่เคยจ่ายให้ประกันสังคมกรณีเจ็บป่วย 0.88% ของเงินเดือน ก็น่าจะถูกไปเพิ่มในส่วนของเงินชราภาพ ตอนเกษียณอายุเราจะได้มีเงินใช้เพิ่มมากขึ้น โดยปัจจุบันเราได้เงินบำนาญจากการจ่ายเงินสมทบให้ประกันสังคมอยู่ที่ 20% ของเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย ถ้าหากได้อีก 0.88% ของเงินเดือนไปเพิ่ม %เฉลี่ยของเงินที่จะได้เป็นบำนาญก็จะสูงขึ้น หรือถ้าเป็นเงินบำเหน็จ ซึ่งปัจจุบันใช้เกณฑ์คิดจากเงินสมทบทั้งหมดที่เราจ่าย + กับอัตราดอกเบี้ยอีกนิดหน่อย ถ้าได้ 0.88% ของเงินเดือนไปเพิ่มก็จะทำให้ได้บำเหน็จเยอะขึ้นจากเดิมทันที (อย่าคิดว่า 0.88% ของเงินเดือนเป็นเงินไม่กี่บาท ถ้าหากเราเงินเดือนเดือนละ 10,000 บาท แต่ละเดือนเราก็จ่ายสมทบไป 88 บาท 1 ปี เราจะจ่ายไป 1,056 บาท และถ้าเป็น 10 ปี ก็เท่ากับเงิน 10,560 บาทเลยนะ)  และยิ่งถ้าเรานำเงินสมทบให้ระบบประกันสังคมจาก กรณีคลอดบุตร 0.12% ของเงินเดือน และ กรณีทุพพลภาพ 0.44% ของเงินเดือน ซึ่งระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติก็ให้ความดูแลคุ้มครองตรงนี้ด้วยเช่นกัน ไปเพิ่มให้เงินสมทบสำหรับกรณีชราภาพอีก ตัวเงินหรือสิทธิที่เราจะได้รับการดูแลหลังเกษียณในฐานะผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมก็น่าจะยิ่งเพิ่มมากขึ้นไปอีก  ***แต่ที่เล่ามาทั้งหมดยังเป็นแค่ความฝันและความหวัง ของเหล่าผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมที่อยากเห็นเรื่องนี้เกิดขึ้นจริง เพราะเป็นประโยชน์ต่อทั้งตัวผู้ประกันตนและสังคมโดยรวม งานนี้ก็คงต้องวิงวอนภาครัฐและบรรดาผู้ใหญ่ที่เกี่ยวข้อง ช่วยทำให้ฝันเล็กๆ ของลูกจ้าง ผู้ใช้แรงงาน และมนุษย์เงินเดือนในระบบประกันสังคมเป็นจริงด้วยเถิด*** ************************************************** “ชมรมพิทักษ์สิทธิผู้ประกันตน” มาร่วมกันสร้างระบบหลักประกันสุขภาพให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ชมรมพิทักษ์สิทธิผู้ประกันตน อยากเชิญชวนผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมทุกคนมาร่วมกันสร้างระบบหลักประกันสุขภาพที่เท่าเทียม สิทธิประโยชน์ที่ดีและเหมาะสมสำหรับพวกเราผู้จ่ายเงินสมทบในระบบประกันสังคม เพราะเงินทุกบาทที่เราจ่ายไปมีความหมาย ประกันสังคมต้องสามารถเป็น “หลักประกันให้สังคมได้อย่างแท้จริงและมีประสิทธิ”  ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม สามารถเข้าร่วม หรือติดตามข่าวสาร ข้อมูลต่างๆ ของการประกันสังคม ได้ที่หน้า facebook ของ “ชมรมพิทักษ์สิทธิผู้ประกันตน” **************************************************  ตัวอย่างสิทธิประโยชน์การบริการทางการแพทย์ที่แตกต่างกันของระบบประกันสังคมและระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) ***(O) = คุ้มครอง   (X) = ไม่คุ้มครอง   ลักษณะการบริการ ระบบประกันสังคม ระบบประกันสุขภาพแห่งชาติ โรคเดียวกันที่ต้องรักษาในโรงพยาบาลเกิน 180 วัน X   O กรณีมีความจำเป็นต้องรักษาต่อเนื่องจากภาวะแทรกซ้อนหรือข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ เจ็บป่วยฉุกเฉิน แล้วไม่สามารถใช้บริการ รพ. ที่ลงทะเบียนไว้ได้ O ไม่เกิน 2 ครั้งต่อปี O ไม่จำกัดจำนวนครั้ง โรคหรือประสบอันตรายจากการใช้สารเสพติด X O เฉพาะหน่วยงานที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุข ได้รับอันตรายหรือทุพพลภาพจากการที่ตัวเองตั้งใจให้เกิด (กรณีพยายามฆ่าตัวตาย) X O การบริการรักษาตัวเองหรือฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ที่บ้านหลังออกจาก รพ. X O การส่งต่อผู้ป่วยไปยังหน่วยบริการที่มีศักยภาพสูงกว่าทางอากาศยาน (เฮลิคอปเตอร์) X O ไม่เกิน 60,000 บาทต่อครั้ง การช่วยเหลือเบื้องต้นให้แกผู้รับบริการและผู้ให้บริการที่ได้รับความเสียหายทางการแพทย์ X O 1.เสียชีวิตหรือทุพพลภาพอย่างถาวร จ่ายเงิยช่วยเหลือไม่เกิน 200,000 บาท 2.สูญเสียอวัยวะหรือพิการ จ่ายเงินช่วยเหลือไม่เกิน 120,000 บาท 3.บาดเจ็บหรือเจ็บต่อเนื่อง จ่ายเงินช่วยเหลือไม่เกิน 50,000 บาท การให้ยาไวรัสโรคเอดส์ เพื่อป้องกันการติดเชื้อหลังสัมผัส เช่น ถูกข่มขืน หรือติดเชื้อระหว่างปฏิบัติงาน เช่น แพทย์ พยาบาล X O การบริการแพทย์แผนไทยหรือแพทย์ทางเลือก X O ข้อมูลประกอบบทความ : “สู่ระบบสุขภาพมาตรฐานเดียว สู่หลักประกันทั้งสังคม”.เครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ, “รายงานการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ประจำปี 2552”, “รายงานประจำปีสำนักงานประกันสังคม 2552”, “คู่มือบัตรทองสำหรับอาสาสมัครสาธารณะสุข”, “สรุปสาระสำคัญพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พ.ศ. 2537 (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542”, บทความ “ระบบหลักประกันสุขภาพในประเทศไทย” สำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย, http://www.posttoday.com/ข่าว/อาชญากรรม-สังคม/72522/เทียบผลประโยชน์-บัตรทองดีกว่าประกันสังคมทุกด้าน/page-1/   เปรียบเทียบบริการทางการแพทย์ของระบบประกันสังคมและระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ   ระบบประกันสังคม ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กรณีประสบอันตราย/อุบัติเหตุ ขอรับค่าบริการได้โดยไม่จำกัดจำนวนครั้ง ทดรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลก่อน สามารถเบิกคืนจากสำนักงานประกันสังคมในอัตราที่กำหนดดังนี้ 1.สถานพยาบาลของรัฐ -ผู้ป่วยนอก สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น -ผู้ป่วยใน สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น ภายในระยะเวลาไม่เกิน 72 ชั่วโมง ยกเว้น ค่าห้อง และค่าอาหารเบิกได้ไม่เกินวันละ 700 บาท 2.สถานพยาบาลของเอกชน *ผู้ป่วยนอก สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ เท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 1,000 บาท และสามารถเบิกค่ารักษาพยาบาล เท่าที่จ่ายจริงเกิน 1,000 บาทได้ ตามหลักเกณฑ์และอัตราที่กำหนด **ผู้ป่วยใน สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ ตามหลักเกณฑ์และอัตราที่กำหนด กรณีที่ใช้บริการที่หน่วยบริการซึ่งขึ้นทะเบียนไว้ตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ผู้รับบริการไม่ต้องเสียค่าบริการหรือค่าใช้จ่าย และสามารถใช้สิทธิใช้บริการเจ็บป่วยฉุกเฉินได้ตามความจำเป็นโดยไม่จำกัดจำนวนครั้ง กรณีใช้บริการที่สถานบริการอื่น ผู้รับบริการต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเฉพาะส่วนที่เกินจากที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจ่ายให้สถานบริการ โดยสถานบริการดังกล่าวจะต้องแจ้งให้ผู้ป่วยและญาติทราบก่อนการให้บริการทุกครั้ง   การคลอดบุตร ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน ในกรณีคลอดบุตรสำหรับตนเองหรือคู่สมรส มีสิทธิได้รับค่าบริการทางการแพทย์ในการคลอดบุตรคนละ 2 ครั้ง รวมถึงประโยชน์ทดแทนในกรณีคลอดบุตร ได้แก่ ค่าตรวจรับฝากครรภ์ ค่าบำบัดทางการแพทย์ ค่ายาและเวชภัณฑ์ ค่าทำคลอด ค่ากินอยู่และรักษาพยาบาลในสถานพยาบาล ค่าบริการและค่ารักษาพยาบาลทารกแรกเกิด ค่ารถพยาบาลหรือค่าพาหนะรับส่งผู้ป่วย ค่าบริการอื่นที่จำเป็น ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์และอัตราที่คณะกรรมการการแพทย์กำหนด โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ โดยจะได้รับเงินเหมาจ่ายค่าคลอดบุตร จำนวน 13,000 บาท สำหรับการคลอดบุตร (อายุครรภ์ 28 สัปดาห์ขึ้นไป) ของผู้ประกันตนหรือภริยาของผู้ประกันตน หรือหญิงซึ่งอยู่กินฉันสามีภริยากับผู้ประกันโดยเปิดเผยกรณีผู้ประกันไม่มีภริยา *กรณีผู้ประกันหญิง สามารถคลอดบุตรที่สถานพยาบาลใดก็ได้ จะได้รับเงินเหมาจ่ายค่าคลอดบุตร จำนวน 13,000 บาท และยังจะได้รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรอีก ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างที่นำส่งเงินสมทบเฉลี่ยเป็นเวลา 90 วัน และสามารถหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรครั้งหนึ่ง ไม่เกิน 60 วัน *กรณีผู้ประกันตนชายที่มีภรรยาจดทะเบียนสมรส หรือหญิงซึ่งอยู่กินฉันสามีภรรยาแต่มิได้จดทะเบียนสมรส สามารถคลอดบุตรที่สถานพยาบาลใดก็ได้ จะได้รับเงินเหมาจ่ายค่าคลอดบุตร จำนวน 13,000 บาท แต่ไม่มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร *กรณีเป็นผู้ประกันตนทั้งสามีและภรรยา ผู้ประกันตนสามารถใช้สิทธิได้คนละ 2 ครั้ง รวมกันได้ไม่เกิน 4 ครั้ง โดยบุตรที่นำมาใช้สิทธิเบิกค่าคลอดบุตร ไม่สามารถนำมาขอรับค่าคลอดบุตรได้อีก และแนะนำให้ใช้สิทธิของภรรยาก่อนเนื่องจากจะได้รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรด้วยนอกเหนือจากค่าคลอดบุตร จำนวน 13,000 บาท สนับสนุนค่ารักษาพยาบาลตามกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม จำนวนไม่เกิน 2 ครั้ง (กรณีบุตรมีชีวิตอยู่) ครอบคลุมถึงค่าตรวจและรับฝากครรภ์ โดยไม่จำกัดจำนวนครั้ง จนสิ้นสุดการตั้งครรภ์ และการตรวจเยี่ยมดูแลหลังคลอด และจะได้รับวัคซีนทุกชนิดวัคซีนตามตารางแผนการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคด้วยวัคซีน (EPI) ของกรมควบคุมโรค *คุ้มครองถึงหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นผู้ประกันตนสิทธิประกันสังคมที่ส่งเงินสมทบไม่ครบ 7 เดือน โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย บริการทันตกรรม 1. กรณีถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน ใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้ฐานอคริลิก และรากฟันเทียม 2.การผ่าตัดเพื่อรักษาภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ กรณีผู้ประกันตนไม่มีปัญหาด้านการกลืน แต่ช่องเพดานโหว่มีเพดานกว้างพอประมาณ ครอบคลุมอยู่ในเงินเหมาจ่ายรายหัว หมายเหตุ: 1) ผู้ประกันตนมีสิทธิเข้ารับการบริการสถานพยาบาลใดก็ได้ในกรณี ถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน โดยสำรองเงินจ่ายไปก่อนและนำหลักฐานมาขอเบิกเงินคืนได้ในอัตราไม่เกิน 300 บาทต่อครั้ง ปีละไม่เกิน 600 บาท และมีสิทธิใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้ฐานอคริลิก (พลาสติก) 1-5 ซี่ ในวงเงินไม่เกิน 1,200 บาท ตั้งแต่ 6 ซี่ขึ้นไปจะเบิกได้ไม่เกิน 1,400 บาท ภายในระยะเวลา 5 ปี ตั้งแต่วันที่ใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้ฐานอคริลิก 2) ผู้ประกันยังต้องร่วมจ่ายในกรณีที่วงเงินเกินกำหนด โดยสามารถไปใช้บริการที่ใดก็ได้ 1.กรณีถอนฟัน การผ่าตัดช่องปาก (oral surgery) อุดฟัน ขูดหินปูน การเกลารากฟัน (root planing) ฟันเทียมฐานพลาสติก และทันตกรรมประดิษฐ์ 2.การรักษาโพรงประสาทฟันน้ำนมสำหรับเด็กเคลือบหลุมร่องฟัน (ในกลุ่มอายุไม่เกิน 15 ปี) นอกจากนั้นยังมีงานทันตกรรมเพิ่มทวีที่ดูแลเด็กชั้นประถมปีที่ 1 ทุกคนอย่างครบวงจร 3.ทันตกรรมรักษาในเด็กและหญิงตั้งครรภ์ 4.การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในช่องปาก ได้แก่ การตรวจสุขภาพช่องปาก การแนะนำด้านทันตสุขภาพ 5.การให้ฟลูออไรด์เสริมในกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อโรคฟันผุ เช่น กลุ่มเด็ก ผู้สูงอายุ 6.การผ่าตัดแก้ไขความพิการผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ รวมถึงการจัดฟัน และแก้ไขปัญหาด้านการพูด (สำหรับเด็ก) โดยค่าผ่าตัดสามารถรับค่าใช้จ่ายตามกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและอัตราที่กำหนด ค่าเพดานเทียมในอัตรา 500 บาทต่อชิ้น ค่าอรรถบำบัด/แก้ไขการพูด จ่าย 3,850 บาทต่อรายต่อปี ค่าทันตกรรมบำบัด (ฟื้นฟู) จ่าย 12,000 บาทต่อรายต่อปี หมายเหตุ: ผู้มีสิทธิไม่ต้องร่วมจ่ายในกรณีที่วงเงินเกินกำหนด การส่งต่อผู้ป่วยไปหน่วยบริการที่มีศักยภาพสูงกว่า กรณีมีความจำเป็น ต้องรับหรือส่งตัวผู้ป่วยไปตรวจวินิจฉัยหรือรักษาต่อยังสถานพยาบาลอีกแห่งหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่สถานพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิฯ ภายในระยะเวลา 72 ชั่วโมง สามารถเบิกค่าพาหนะตามอัตรา ดังนี้ 1.ภายในเขตจังหวัดเดียวกัน สำหรับค่ารถพยาบาลหรือเรือพยาบาลจ่ายตามจำนวนที่จ่ายจริงไม่เกิน 500 บาทต่อครั้ง และ 300 บาทต่อครั้งสำหรับพาหนะรับจ้างหรือส่วนบุคคล 2.กรณีข้ามเขตจังหวัดจ่ายเพิ่มจากกรณีภายในเขตจังหวัดเดียวกันอีกตามระยะทางกิโลเมตรละ 6 บาท (ตามระยะทางกรมทางหลวง) ให้จ่ายตามราคาเรียกเก็บแต่ไม่เกินราคากลางที่กำหนดในแต่ละประเภทพาหนะและระยะทาง ดังนี้ 1.ค่าบริการรับส่งต่อทางรถยนต์ เป็นไปตามระยะทาง ถ้าไม่เกิน 50 กิโลเมตร ให้เบิกตามค่าใช้จ่ายจริงในอัตราไม่เกิน 500 บาท แต่ถ้ามากกว่า 50 กิโลเมตรขึ้นไป ให้เบิกจ่ายค่าชดเชยครั้งละ 500 บาท และให้ได้รับค่าชดเชยเพิ่มอีกกิโลเมตรละ 4 บาทต่อระยะทางจากหน่วยบริการต้นทางถึงหน่วยบริการปลายทาง (ตามระยะทางกรมทางหลวง) 2.ค่าบริการรับส่งต่อทางเรือ เป็นไปตามประเภทเรือ และระยะทางอัตราจ่ายไม่เกิน 35,000 บาทต่อครั้ง โรคไต 1) การล้างช่องท้องด้วยน้ำยาแบบถาวร เหมาจ่ายให้แก่สถานพยาบาลในความตกลง และจ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกินเดือนละ 15,000 บาท และเบิกค่าวางท่อพร้อมอุปกรณ์ได้ไม่เกิน 20,000 บาทต่อรายต่อ 2 ปี 2) การฟอกเลือด เหมาจ่ายให้แก่สถานพยาบาลในความตกลง และเบิกได้ครั้งละไม่เกิน 1,500 บาทต่อครั้ง และไม่เกิน 3,000 บาทต่อสัปดาห์ ค่าเตรียมเส้นเลือด (Shunt) อัตรา 20,000 บาทต่อรายต่อ 2 ปี 3) การปลูกถ่ายไต ค่าใช้จ่ายก่อนการปลูกถ่ายไต เหมาจ่ายให้สถานพยาบาลไม่เกิน 30,000 บาทต่อราย ค่าใช้จ่ายระหว่างปลูกถ่ายไต เหมาจ่ายให้สถานพยาบาลไม่เกิน 230,000 บาทต่อราย โดยครอบคลุมผู้ประกันตนและผู้บริจาคไตเป็นเวลา 60 วัน นับแต่วันที่ทำการผ่าตัดปลูกถ่ายไตรวมทั้งการรักษาภาวะสลัดไตอย่างเฉียบพลันของผู้ประกันเป็นเวลา 2 ปี นับแต่วันที่ทำการปลูกถ่ายไต ค่าใช้จ่ายหลังการปลูกถ่ายไต สำหรับสถานพยาบาลที่ปลูกถ่ายไตผู้ประกันตนที่มีสิทธิโดยครอบคลุมการตรวจรักษา ยากดภูมิคุ้มกัน ตรวจทางห้องปฏิบัติการ ตรวจปัสสาวะ ตรวจระดับยากดภูมิภูมิคุ้มกัน เหมาจ่ายในอัตรา ดังนี้ ปีที่ 1 เดือนที่ 1-6 เดือนละ 30,000 บาท เดือนที่ 7-12 เดือนละ 20,000 บาท ปีที่ 2 เดือนที่ 1-6 เดือนละ 15,000 บาท ปีที่ 3 เป็นต้นไป เดือนละ 10,000 บาท หมายเหตุ: การปลูกถ่ายไต จะไม่ได้รับคุ้มครองเมื่อผู้ป่วยเป็นไตวายเรื้อรังก่อนเป็นผู้ประกันตน 1) การล้างช่องท้องด้วยน้ำยาแบบถาวร เหมาจ่ายค่าบริการให้โรงพยาบาล 220,000 บาทต่อรายต่อปี หรือ 18,320 บาทต่อรายต่อเดือน (ค่าน้ำยา 14,100 บาท ร่วมกับ ค่าดูแลครบวงจร) 2) การฟอกเลือด ผู้ป่วยลงทะเบียนก่อน 1 ต.ค. 51 1,000 บาทต่อครั้ง+ผู้ป่วยร่วมจ่าย 500 บาท 1,200 บาทต่อครั้ง (อายุเกิน 60 ปี+มีโรคเรื้อรัง) +ผู้ป่วยร่วมจ่าย 500 บาท ผู้ป่วยลงทะเบียนหลัง 1 ต.ค. 51 1,500 บาทต่อครั้ง 1,700 บาทต่อครั้ง (อายุเกิน 60 ปี+มีโรคเรื้อรัง) ค่าเตรียมเส้นเลือด (Shunt) จ่ายตามจริงแต่ไม่เกิน 20,000 บาทต่อรายต่อ 2 ปี 3) การปลูกถ่ายไต ค่าใช้จ่ายก่อนการปลูกถ่ายไต ให้สิทธิผู้ป่วยที่สามารถหาไตบริจาคได้ โดยได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายคือ (1) ค่าเตรียมผู้รับบริจาคก่อนเข้ารับการผ่าตัดที่สมองตาย 40,000 บาท (2) ค่าเตรียมผู้รับบริจาคก่อนเข้ารับการผ่าตัดที่มีชีวิต ก่อนเข้ารับการผ่าตัด 40,000 บาท (จ่ายไม่เกิน 2 ครั้ง) ระหว่างเข้ารับการผ่าตัด 32,800 บาท ส่วนค่าใช้จ่ายสำหรับเตรียมผู้ป่วยก่อนเข้ารับการผ่าตัด 31,300 บาทและค่าเตรียมผู้รับบริจาคระหว่างรอผู้บริจาคที่สมองตาย ทุก 3 เดือน ครั้งละ 1,800 บาท ค่าใช้จ่ายระหว่างปลูกถ่ายไต จ่ายตามความเสี่ยง ตั้งแต่ Protocol I-IV โดยมีค่าใช้จ่ายต่ำสุดคือ 143,000 บาท และสูงสุดคือ 292,000 บาท กรณีมีภาวะแทรกซ้อนจ่ายตาม Protocol ทั้งสิ้น 7 Protocol โดยมีค่าใช้จ่ายเหมาจ่ายตั้งแต่ 23,000 บาทและสูงสุดคือ 493,000 บาท ค่าใช้จ่ายหลังปลูกถ่ายไต สนับสนุนค่าใช้จ่าย ยากดภูมิ ตรวจทางห้องปฏิบัติการตรวจปัสสาวะ ตรวจระดับยากดภูมิคุ้มกัน เหมาจ่าย ดังนี้ ปีที่ 1 เดือนที่ 1-6 เดือนละ 30,000 บาท เดือนที่ 7-12 เดือนละ 25,000 บาท ปีที่ 2 เดือนละ 20,000 บาท ปีที่ 3 เป็นต้นไป เดือนละ 15,000 บาท

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point