ฉบับที่ 207 จ่ายหนี้ไม่ไหว ปรับโครงสร้างหนี้ดีไหม

หลายครั้งเมื่อลูกหนี้แสดงทีท่าว่าจะจ่ายหนี้ไม่ไหว แหล่งเงินกู้ต่างๆ มักเสนอการประนอมหนี้ หรือที่เรียกว่าการปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งอาจดูเหมือนจะเป็นข้อเสนอที่ลูกหนี้ได้ประโยชน์ แต่อาจทำให้ลูกหนี้ต้องมีหนี้เพิ่ม หรือผูกพันกับหนี้ก้อนใหม่แทนคุณสมพลโทรศัพท์มาขอคำปรึกษาที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิ์ว่า เขาเป็นหนี้บัตรเครดิตอยู่จำนวนหนึ่ง ซึ่งเคยผ่อนชำระที่เดือนละกว่า 5,000 บาท ต่อมาเกิดปัญหาการเงินภายในครอบครัว จึงเป็นเหตุให้เขาต้องชำระหนี้ล่าช้าติดต่อกันหลายเดือน ภายหลังทางบัตรเครดิตจึงโทรศัพท์มาเสนอให้เขาเปลี่ยนยอดชำระจากเดือนละ 5,000 บาทเหลือเพียงเดือนละ 1,000 บาทแทน แต่คุณสมพลไม่แน่ใจว่าหากเขายินดีรับข้อเสนอดังกล่าว จะส่งผลต่อยอดหนี้อย่างไรบ้างแนวทางในการแก้ไขปัญหาสำหรับหนี้บัตรเครดิตและบัตรกดเงินสด ถือเป็นหนี้ที่มีดอกเบี้ยในอัตราสูง โดยหากเรานำบัตรเครดิตไปรูดซื้อสินค้า แต่ไม่สามารถชำระได้เต็มจำนวนที่กำหนดไว้ ก็จะต้องเสียดอกเบี้ยในอัตรา 20 % ต่อปี หรือหากมีการกดเงินสดจากบัตรกดเงินสด และชำระไม่ตรงกำหนดก็จะเสียดอกเบี้ยในอัตรา 28 % ต่อปี ซึ่งจะเริ่มคิดดอกเบี้ยตั้งแต่มีการกดเงินสดออกมาจากบัตร ส่งผลให้ผู้บริโภคหลายคนที่ชำระหนี้เต็มจำนวนไม่ไหว และมักชำระหนี้ขั้นต่ำ ซึ่งอยู่ที่ 5-10 % ของยอดหนี้ จะต้องใช้เวลานานมากกว่าจะชำระหนี้จนหมดสิ้น เพราะเสียดอกเบี้ยในอัตราที่สูงมากนั่นเอง ดังนั้นเมื่อถูกเสนอให้ปรับโครงสร้างหนี้หรือประนอมหนี้ หลายคนจึงยินดีรับข้อเสนอดังกล่าว แต่อาจลืมไปว่าแม้การประนอมหนี้ จะมีข้อดีคือสามารถปรับตามกำลังหรือความสามารถของเราที่จะชำระหนี้ได้ แต่จะถือเป็นการทำสัญญาใหม่ที่จะรวมทั้ง เงินต้น ดอกเบี้ย เบี้ยปรับ เบี้ยทวงถาม เบี้ยค่าติดตาม ทั้งหมดมารวมกันและกลายเป็นหนี้ใหม่เกิดขึ้น นอกจากนี้ยังให้ระยะการชำระหนี้นานขึ้นอีกด้วยศูนย์พิทักษ์สิทธิ์จึงแนะนำผู้ร้องว่า ในกรณีนี้หากผู้ร้องหยุดพักชำระหนี้และพยายามเก็บเงินก้อนให้ครบจำนวนยอดหนี้เดิม เพื่อชำระให้หมดภายในครั้งเดียวจะเป็นทางเลือกที่เหมาะสมกว่า หากผู้บริโภคท่านใดต้องการรายละเอียดเพิ่มสามารถติดต่อขอคำปรึกษาได้ที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 207 ลูกเสียชีวิตหลังคลอด เรียกร้องอะไรได้บ้าง

หนึ่งในเรื่องไม่คาดคิดที่ทำให้หลายคนใจสลาย คือการที่เด็กเสียชีวิตหลังการคลอด ดังเหตุการณ์ของผู้ร้องรายนี้ เราลองไปดูกันว่าเธอจะสามารถเรียกร้องสิทธิอะไรได้บ้างคุณนภาอยู่ในช่วงระยะเวลาใกล้คลอด จึงใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพเข้ารับการผ่าคลอดที่โรงพยาบาลสมุทรสาคร ซึ่งหลังจากได้รับการผ่าคลอดแล้วเรียบร้อยและได้ยินเสียงเด็กร้องแล้ว ทางพยาบาลก็เดินมาเรียกชื่อ ถามสิทธิต่างๆ พร้อมนำเด็กมาให้กินนมของเธอ ภายหลังคุณนภาหลับและตื่นมาอีกครั้ง ทางพยาบาลก็ได้เข้ามาแจ้งว่าจะวัคซีนให้ พร้อมเดินเข้ามาอุ้มเด็ก แต่ทันใดนั้นก็ส่งเสียงร้องตกใจและรีบนำเด็กออกไปจากห้อง ซึ่งเมื่อกลับเข้ามาอีกครั้งก็ได้แจ้งเรื่องที่ไม่คาดคิดว่า ลูกของเธอได้เสียชีวิตแล้ว โดยอาจมีสาเหตุจากโรคประจำตัวอย่างไรก็ตามหลังออกจากโรงพยาบาล คุณนภาตัดสินใจส่งเรื่องมาขอคำปรึกษาที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิ์ ด้วยเหตุที่เธอไม่แน่ใจสาเหตุการเสียชีวิตของลูก นอกจากนี้ยังอยากทราบว่าจะสามารถเรียกร้องความรับผิดชอบอะไรจากโรงพยาบาลได้บ้างหรือไม่แนวทางการแก้ไขปัญหาศูนย์พิทักษ์สิทธิ์แนะนำผู้ร้องว่า จากกรณีที่เกิดขึ้นสามารถเรียกร้องให้ทางโรงพยาบาลชดใช้เยียวยาความเสียหายได้ตาม พ.ร.บ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 มาตรา 41 ซึ่งกำหนดให้ผู้รับบริการที่ได้รับความเสียหายจากการรักษาพยาบาลของหน่วยบริการได้รับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นโดยเงินช่วยเหลือเบื้องต้น หมายถึง เงินที่จ่ายให้ผู้รับบริการหรือทายาทหรือผู้อุปการะ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในกรณีที่ผู้รับบริการได้รับค่าเสียหายจากการรักษาพยาบาลในหน่วยบริการ โดยมิต้องรอการพิสูจน์ถูกผิด แต่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด  ทั้งนี้เกณฑ์การพิจารณาเงินช่วยเหลือ คือ 1. กรณีเสียชีวิตหรือทุพพลภาพอย่างถาวร จ่ายเงินช่วยเหลือตั้งแต่ 240,000 บาท แต่ไม่เกิน 400,000 บาท 2. กรณีพิการหรือสูญเสียอวัยวะ จ่ายเงินช่วยเหลือตั้งแต่ 100,000 บาท แต่ไม่เกิน 240,000 บาท 3. กรณีบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยต่อเนื่อง จ่ายเงินช่วยเหลือได้ไม่เกิน 100,000 บาท 4. กรณีฝากครรภ์อย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องและได้รับการดูแลตามมาตรฐานการฝากครรภ์ จนอายุครรภ์ตั้งแต่ 37 สัปดาห์ขึ้นไป และทารกเสียชีวิตในครรภ์ระหว่างการดูแลในหน่วยบริการ ให้จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นได้เท่ากรณีเสียชีวิตหรือทุพพลภาพอย่างถาวร และหากมารดาได้รับความเสียหายด้วยก็ให้ได้รับเงินช่วยเหลือได้อีกตามประเภทความเสียหายนั้น สำหรับกรณีนี้ศูนย์ฯ ได้ช่วยผู้ร้องทำหนังสือถึงโรงพยาบาลเพื่อให้มีการเยียวยาผู้ร้องก่อนเบื้องต้น พร้อมแนะนำให้รอผลการชันสูตรการเสียชีวิตเพิ่มเติม อย่างไรก็ตามภายหลังผู้ร้องได้แจ้งกลับมาว่า ทางประกันสังคมได้ติดต่อมาแนะนำผู้ร้องว่า ขอให้ผู้ร้องให้ความร่วมมือกับทางโรงพยาบาลว่า มีการดูแลรักษาเป็นอย่างดี เพื่อจะให้เบิกเงินประกันสังคมได้ และนัดให้ผู้ร้องไปรับฟังคำชี้แจงจากโรงพยาบาล ส่งผลให้ผู้ร้องไม่แน่ใจว่าควรจะเข้าไปฟังเองเพียงคนเดียวหรือไม่ ศูนย์ฯ จึงช่วยประสานงานให้เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคในพื้นที่ไปร่วมฟังคำชี้แจงด้วย ซึ่งผลชันสูตรพบว่าเด็กมีอาการไหลตาย และทางสำนักงานหลักประกันสุขภาพจะชดเชยเยียวยาผู้ร้องเป็นจำนวน 320,000 บาท ด้านผู้ร้องไม่ติดใจอะไรเพิ่มเติมกับผลการชันสูตรและตกลงรับข้อเสนอดังกล่าว จึงยินดียุติการร้องเรียน ทั้งนี้ขอเพิ่มเติมเล็กน้อย สำหรับผู้ที่ต้องการยื่นเรื่องร้องเรียน สามารถยื่นคำร้องได้ 2 วิธี  คือ ด้วยตนเองที่หน่วยรับคำร้อง หรือส่งคำร้องทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ไปยังสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติสาขาจังหวัด(สสจ.) ที่เกิดเหตุ หรือกรณีในกรุงเทพฯ สามารถส่งไปที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประจำกรุงเทพมหานคร โดยเตรียมเอกสารที่ดังนี้ 1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน 2. สำเนาทะเบียนบ้าน 3. หนังสือมอบอำนาจ(กรณีที่มีการมอบอำนาจ) 4. เอกสารหรือหลักฐานแสดงรายละเอียดข้อมูลอื่นที่อาจใช้เป็นประโยชน์ประกอบการพิจารณา(ถ้ามี) และข้อสำคัญคือต้องยื่นเรื่องภายใน 1 ปี นับจากทราบความเสียหาย 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 206 หลักสูตรไม่ตรงกับที่สมัคร

เป็นเรื่องธรรมดา ที่ผู้ปกครองส่วนใหญ่ยินดีจ่ายค่าเทอมราคาสูง เพื่อให้บุตรหลานเข้ารับการศึกษาในโรงเรียนชื่อดัง หรือมีหลักสูตรที่สามารถพัฒนาทักษะของเด็กได้ดีที่สุด แต่หากสมัครเรียนไปแล้วกลับพบว่า ไม่เป็นไปตามที่โรงเรียนโฆษณาไว้ เราจะสามารถจัดการปัญหาดังกล่าวได้อย่างไรบ้าง ลองไปดูกันคุณสมพลพาลูกสาวเข้าเรียนที่โรงเรียนโยธินบูรณะ ในหลักสูตรของโครงการนานาชาติ เนื่องจากได้รับการประชาสัมพันธ์ผ่านงาน Open House ของโรงเรียนว่า มีชื่อเสียงด้านการจัดการเรียนการสอนที่ดี ทั้งหลักสูตรดังกล่าวได้ใช้แนวทางการเรียนการสอน ตามหลักสูตรนานาชาติของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ อย่างไรก็ตามหลังลูกสาวเข้าเรียน และชำระเงินค่าเทอมไปแล้วกว่า 200,000 บาท กลับพบปัญหาหลายอย่างที่ไม่เป็นไปตามเอกสารประชาสัมพันธ์ที่แจ้งไว้ เช่น ไม่มีห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ (Lab) ขาดอุปกรณ์เครื่องดนตรี ขาดครูผู้สอนชาวตะวันตกหลายวิชา หรือการเปลี่ยนแปลงตารางเรียนกะทันหันเนื่องจากครูไม่พอ ส่งผลให้คุณสมพลและผู้ปกครองท่านอื่น พยายามสอบถามถึงวิธีแก้ปัญหาไปยังผู้อำนวยการของโรงเรียน แต่ก็ไม่ได้รับการแก้ปัญหาใดๆจนกระทั่งเปิดภาคเรียนถัดมาและถึงเวลาชำระเงิน ซึ่งแน่นอนว่าคุณสมพลได้จ่ายเพิ่มไปอีกเกือบ 200,000 บาท เขาก็พบว่าเหล่าปัญหาดังกล่าวยังคงไม่ได้รับการแก้ไข และแม้จะมีการรวมตัวของผู้ปกครองเพื่อเรียกร้องให้ทางโรงเรียนหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรับผิดชอบปัญหาที่เกิดขึ้น แต่ก็ไม่ได้รับการตอบรับ ทำให้ภายหลังมีนักเรียนลาออกกว่า 20 คนจากปัญหาที่เกิดขึ้นทำให้คุณสมพลไม่พอใจอย่างมาก และรู้สึกไม่มั่นใจคุณภาพการศึกษาของโครงการ จึงย้ายลูกสาวออกจากโรงเรียนกลางคัน โดยในเวลาต่อมาเขาก็ได้ส่งลูกสาวไปเรียนต่อที่ต่างประเทศ ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายอีกในราคาที่เกือบจะเท่ากับที่สมัครเรียนไปรอบแรกเมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนี้ คุณสมพลจึงส่งเรื่องร้องเรียนมายังศูนย์พิทักษ์สิทธิ โดยต้องการสอบถามว่าสามารถขอเงินคืนจากโรงเรียนดังกล่าวทั้งหมดได้หรือไม่ เนื่องจากเห็นว่าการเรียนการสอนไม่เป็นไปตามที่โรงเรียนได้ประชาสัมพันธ์ไว้แนวทางการแก้ไขปัญหาศูนย์ฯ แนะนำผู้ร้องว่า ในกรณีนี้ผู้ร้องสามารถทำหนังสือขอเงินคืนจากโรงเรียนดังกล่าวได้ โดยใช้เอกสารการประชาสัมพันธ์โรงเรียนเป็นหลักฐาน เพราะตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภคด้านโฆษณา(วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค) พ.ศ. 2522 (มาตรา 11) กำหนดไว้ว่า ประกาศ โฆษณา คำรับรอง หรือการกระทำด้วยประการใดๆ ของผู้ประกอบธุรกิจ ซึ่งทำให้ผู้บริโภคเข้าใจได้ในขณะทำสัญญาว่าผู้ประกอบธุรกิจตกลงจะมอบให้ หรือจัดหาให้ซึ่งสิ่งของบริการ หรือสาธารณูปโภคอื่นใด หรือจะดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งให้แก่ผู้บริโภคเพื่อเป็นการตอบแทนที่ผู้บริโภคเข้าทำสัญญา หรือข้อตกลงใดๆ ที่ผู้ประกอบธุรกิจจะให้สิทธิประโยชน์แก่ผู้บริโภคเพิ่มเติมขึ้นจากที่ได้ทำสัญญาไว้ ให้ถือว่าข้อความ การกระทำ หรือข้อตกลงดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบธุรกิจ ซึ่งผู้บริโภคสามารถนำสืบพยานบุคคล หรือพยานหลักฐานเกี่ยวกับข้อตกลงดังกล่าวได้ ถึงแม้ว่าการทำสัญญาเช่นว่านั้นกฎหมายจะกำหนดว่าต้องทำเป็นหนังสือ หรือมีหลักฐานเป็นหนังสือและไม่ปรากฏข้อตกลงนั้นในหนังสือที่ได้ทำขึ้นก็ตามอย่างไรก็ตามหากฟ้องร้องคดี ผู้ร้องอาจไม่ได้รับเงินคืนทั้งหมด เพราะเกิดการเรียนการสอนไปแล้วส่วนหนึ่ง แต่แน่นอนว่าทางโรงเรียนต้องมีการชดเชยเยียวยา ในกรณีที่ผิดสัญญาดังกล่าวทั้งนี้ศูนย์ฯ จะช่วยทำจดหมายถึงเลขาธิการคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในฐานะหน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับ ควบคุม ดูแล โรงเรียนดังกล่าว เพื่อให้ตรวจสอบหลักสูตรโครงการนานาชาติว่าเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ขออนุญาตหรือไม่ ซึ่งเรื่องราวดังกล่าวยังไม่ปิดเพียงเท่านี้ และจะเป็นอย่างไรต่อไปนั้น ยังคงต้องติดตาม

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 206 สะสมแต้มครบ แต่แลกของไม่ได้

หนึ่งในกลยุทธ์ส่งเสริมการขายที่โดนใจผู้บริโภคมากที่สุด หนีไม่พ้นวิธีการสะสมแต้มเพื่อแลกรับของรางวัล ซึ่งนอกจากจะทำให้ธุรกิจนั้นๆ มียอดขายที่เพิ่มขึ้นแล้ว ยังส่งผลให้ผู้บริโภคส่วนใหญ่รู้สึกว่าเงินที่เสียไป สามารถสร้างประโยชน์กลับคืนมาได้อีกอย่างไรก็ตามกลยุทธ์ดังกล่าวอาจสร้างปัญหาได้ ในกรณีที่ผู้บริโภคสะสมแต้มครบ และทำตามกติกาที่กำหนดไว้ทุกอย่าง แต่กลับแลกรับของรางวัลไม่ได้ ดังเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับผู้ร้องรายนี้คุณพชรเข้าร่วมกิจกรรมสะสมดาว (แต้มที่จะได้รับหลังการซื้อสินค้า) เพื่อแลกรับของรางวัล ของห้างสรรพสินค้าเทสโก้ โลตัส ซึ่งภายหลังเขาสะสมครบตามจำนวนที่กำหนดไว้ และต้องการแลกรับของรางวัลเป็นหมอนสุขภาพ กลับได้รับการแจ้งจากพนักงานว่า ระหว่างนี้สินค้าดังกล่าวหมด แต่สามารถเขียนใบจองไว้ก่อนได้ ซึ่งหากสินค้ามาถึงจะโทรศัพท์ติดต่อกลับไปหลังผ่านไปนานหลายสัปดาห์ และใกล้ครบกำหนดวันที่สามารถแลกรับของรางวัลได้ คุณพชรก็ยังไม่ได้รับการติดต่อกลับจากพนักงานของห้างฯ ดังกล่าวแต่อย่างใด เขาจึงทดลองไปสอบถามโดยตรงกับพนักงานอีกครั้ง ซึ่งได้รับการตอบกลับมาว่า สินค้าหมดและหมดเวลาแลกแล้ว ถึงจะมีใบจองไว้ก็หมดสิทธิเมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนี้ คุณพชรจึงไม่พอใจมากและนำเรื่องราวดังกล่าวไปโพสต์ลงสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งหลังจากนั้นได้มีผู้บริโภครายอื่นๆ จำนวนมาก ได้เข้ามาแสดงคิดเห็นว่าประสบปัญหาดังกล่าวเช่นเดียวกัน ส่งผลให้คุณพชรส่งเรื่องมาร้องเรียนยังศูนย์พิทักษ์สิทธิ เพราะต้องการให้ห้างฯ แสดงความรับผิดชอบแนวทางการแก้ไขปัญหาจากกรณีดังกล่าว พบว่า ผู้ร้องทำตามกติกาที่ทางห้างฯ ระบุไว้ แต่ไม่สามารถแลกรับของรางวัลได้ตามโปรโมชั่น เนื่องจากสินค้าหมด ซึ่งตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 เรื่องการคุ้มครองผู้บริโภคในด้านการโฆษณา มาตรา 22 กำหนดไว้ว่า การโฆษณาจะต้องไม่ใช้ข้อความที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค หรือใช้ข้อความที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมเป็นส่วนรวมโดยให้ข้อความดังต่อไปนี้ ถือว่าเป็นข้อความที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค หรือเป็นข้อความที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมเป็นส่วนรวม (1) ข้อความที่เป็นเท็จหรือเกินความจริง(2) ข้อความที่จะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการไม่ว่าจะกระทำโดยใช้หรืออ้างอิงรายงานทางวิชาการ สถิติ หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งอันไม่เป็นความจริงหรือเกินความจริง หรือไม่ก็ตาม(3) ข้อความที่เป็นการสนับสนุนโดยตรงหรือโดยอ้อมให้มีการกระทำผิดกฎหมายหรือศีลธรรม หรือนำไปสู่ความเสื่อมเสียในวัฒนธรรมของชาติ(4) ข้อความที่จะทำให้เกิดความแตกแยกหรือเสื่อมเสียความสามัคคีในหมู่ประชาชน(5) ข้อความอย่างอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงซึ่งตาม (5) ข้อความอย่างอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2534) นั้น กำหนดให้ ข้อความโฆษณาสินค้าหรือบริการที่ระบุหรือประกาศว่า ผู้ประกอบธุรกิจจัดให้มีการประกวดชิงรางวัล โดยไม่ได้ระบุรายละเอียดดังต่อไปนี้ ถือเป็นข้อความที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค(ก) หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข หรือข้อกำหนดในการเสี่ยงโชคหรือในการประกวดชิงรางวัล(ข) วัน เดือน ปีที่เริ่มต้นและสิ้นสุดของการจัดให้มีการเสี่ยงโชคหรือการประกาศชิงรางวัล เว้นแต่กรณีที่เป็นการโฆษณาทางวิทยุ โทรทัศน์ ข้อความโฆษณาที่กำหนดระยะเวลาเริ่มต้นของการเสี่ยงโชคหรือการประกวดชิงรางวัลนั้นจะให้ปรากฏในส่วนที่เป็นภาพหรือในส่วนที่เป็นเสียงอย่างหนึ่งอย่างใดก็ได้ แต่ข้อความโฆษณาที่กำหนดระยะเวลาสิ้นสุดนั้นจะต้องให้ปรากฏทั้งในส่วนที่เป็นภาพและส่วนที่เป็นเสียง(ค) ประเภทและลักษณะของของแถมพก หรือรางวัลจำนวนและมูลค่าของของแถมพกหรือรางวัลแต่ละสิ่ง หรือมูลค่ารวมในแต่ละประเภท เว้นแต่กรณีที่การโฆษณาทางวิทยุกระจายเสียงหรือวิทยุโทรทัศน์ ผู้ประกอบธุรกิจจะไม่ระบุมูลค่าของของแถมพกหรือรางวัล แต่ละสิ่ง หรือมูลค่ารวมในแต่ละประเภทก็ได้   แต่ผู้ประกอบธุรกิจจะต้องระบุมูลค่ารวมของแถมพกหรือรางวัลทุกประเภทไว้แทน(ในกรณีที่สิ่งซึ่งจัดเป็นของแถมพกหรือรางวัลเป็นสิ่งซึ่งมีมูลค่าที่ผู้บริโภคอาจทราบได้โดยทั่วไป  และข้อความโฆษณานั้นได้แสดงให้ผู้บริโภคทราบถึงประเภทและลักษณะของของแถมพกหรือรางวัลไว้โดยชัดแจ้งแล้ว  ผู้ประกอบธุรกิจจะไม่ระบุมูลค่าของของแถมพกหรือรางวัลนั้นไว้ก็ได้)(ง) เขตหรือถิ่นที่มีการจัดให้มีการเสี่ยงโชคหรือการประกวดชิงรางวัล เว้นแต่กรณีที่เป็นการจัดให้มีขึ้นทั่วราชอาณาจักร(จ) วัน เดือน ปี เวลา และสถานที่ซึ่งกำหนดไว้สำหรับการทำการเสี่ยงโชคหรือการตัดสินการประกวดชิงรางวัล(ฉ) สื่อโฆษณาที่จะใช้ในการประกาศรายชื่อผู้ได้รับของแถมพกหรือรางวัลจากการเสี่ยงโชคหรือการประกวดชิงรางวัลดังนั้นจากเหตุการณ์ของผู้ร้องรายนี้ การที่ห้างฯ ไม่ระบุจำนวนของรางวัลไว้ให้ผู้บริโภคทราบ และอ้างว่าสินค้าหมดนั้น อาจเข้าข่ายการโฆษณาที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งผู้บริโภคสามารถร้องเรียนขอให้มีการตรวจสอบได้

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 206 จักรยานหาย ในพื้นที่ของห้างฯ

เพราะปัญหารถจักรยานหายมีให้พบเห็นได้ทั่วไป ผู้บริโภคหลายคนจึงป้องกันด้วยการจอดในพื้นที่ ที่ดูมีความปลอดภัย แต่ความจริงก็คือ ทุกพื้นที่ล้วนมีความเสี่ยงทั้งนั้น ไม่เว้นแม้แต่ลานจอดของห้างสรรพสินค้า ซึ่งมีพนักงานรักษาความปลอดภัยคอยเดินตรวจตราอยู่ก็ตามคุณพลพลปั่นจักรยานคู่ใจไปซื้อสินค้าที่ห้างสรรพสินค้าแถวบ้าน ซึ่งเขาได้นำรถจักรยานไปจอดในบริเวณจอดรถที่ห้างฯ จัดไว้ให้ และคิดว่าไม่น่าจะมีปัญหาอะไรจึงไม่ได้ใช้กุญแจล็อกล้ออย่างที่เคยทำประจำ ครั้นเวลาผ่านไปเมื่อซื้อของกลับออกมาปรากฏว่ารถจักรยานหาย เขาจึงไปแจ้งความที่สถานีตำรวจ และแจ้งเรื่องร้องเรียนไปยังห้างสรรพสินค้าดังกล่าว เพื่อขอให้รับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น แต่ก็ไม่ได้รับการตอบรับใดๆ จึงส่งเรื่องร้องเรียนมายังศูนย์พิทักษ์สิทธิ์แนวทางการแก้ไขปัญหาจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ศูนย์พิทักษ์สิทธิ์แนะนำผู้ร้องว่า หากรถจักรยานหายในบริเวณที่ทางห้างสรรพสินค้าจัดไว้ให้ ถือว่าทางห้างฯ ต้องรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้น ตามมาตรา 420 ความรับผิดเพื่อละเมิด ซึ่งกำหนดไว้ว่า ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างใดอย่างหนึ่งก็ดี ผู้นั้นจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน สำหรับกรณีร้องเรียนนี้ ทางศูนย์ฯ สามารถช่วยผู้ร้องทำหนังสือไปยังห้างฯ ดังกล่าว เพื่อขอเจรจาเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นได้ แต่เมื่อตรวจสอบเรื่องราวแล้วพบว่าเหตุการณ์ได้เกิดขึ้นมาปีกว่าแล้ว ซึ่งเลยอายุความละเมิดไปเรียบร้อย เพราะสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายนั้นมีอายุความ 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิดเมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนี้ ผู้ร้องจึงจำต้องยุติการร้องเรียนไป ศูนย์ฯ จึงอยากฝากเตือนผู้บริโภคที่พบลักษณะปัญหาทำนองเดียวกันนี้ว่า ควรรีบร้องเรียนให้ขอให้มีการรับผิดชอบเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้น เพื่อป้องกันคดีหมดอายุความ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 206 ป่วย เพราะอาหารเสริม?

มีผู้บริโภคอีกจำนวนไม่น้อยเลย ที่ยังคงสับสนระหว่างคำว่า “ยา” และ “อาหาร” ซึ่งส่วนใหญ่มักรับประทาน อาหาร เข้าไป แต่เผลอคิดไปว่าสามารถช่วยบำบัด รักษาโรคหรือออกฤทธิ์ได้เหมือน ยา ดังในกรณีของผู้ร้องรายนี้ ที่เธอรับประทาน ‘อาหารเสริม’ เข้าไป แต่คาดหวังสรรพคุณในการโรค คุณพลอยต้องการลดน้ำหนัก จึงตัดสินใจรับประทานอาหารเสริมยี่ห้อ Mizme เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว เพราะเห็นว่าเพื่อนกินแล้วหุ่นดีขึ้น อย่างไรก็ตามหลังรับประทานอาหารเสริมดังกล่าวไปได้จำนวน 7 กล่อง เธอกลับรู้สึกถึงอาการผิดปกติของร่างกาย และมีอาการแน่นหน้าอกเป็นประจำ จึงไปพบแพทย์และพบว่าเส้นเลือดหัวใจอักเสบ ซึ่งแพทย์ได้สันนิษฐานสาเหตุว่า อาจเกิดจากการการรับประทานอาหารเสริมดังกล่าวเข้าไป คุณพลอยจึงติดต่อไปยังบริษัทผู้ผลิตอาหารเสริม เพื่อขอให้รับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แต่ทางบริษัทตอบกลับมาว่าเลิกผลิตยี่ห้อนี้ไปแล้ว และไม่ขอรับผิดชอบใดๆ เพราะอาการดังกล่าวอาจเกิดจากยาตัวอื่นก็เป็นได้ส่งผลให้คุณพลอยส่งเรื่องร้องเรียนมายังศูนย์พิทักษ์สิทธิ์ เพื่อขอคำปรึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาในกรณีนี้ผู้ร้องต้องการให้ศูนย์พิทักษ์สิทธิ์ ช่วยตรวจสอบส่วนประกอบของอาหารเสริมยี่ห้อดังกล่าว ว่ามีสารอันตรายที่สามารถส่งผลต่ออาการของเธอจริงหรือไม่ ศูนย์ฯ จึงแนะนำผู้ร้องเบื้องต้นว่า สามารถส่งผลิตภัณฑ์ต้องสงสัยไปยังสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อขอให้ช่วยตรวจสอบได้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย อย่างไรก็ตามหลังได้รับเรื่องร้องเรียนไม่นาน ผู้ร้องได้แจ้งกลับมาว่าขอยุติการร้องเรียน เนื่องจากพบข่าว สสจ.จังหวัด นำเจ้าหน้าที่เข้าจับกุมแหล่งผลิตยาลดความอ้วนยี่ห้อดังกล่าวแล้ว ซึ่งมีการปลอมหมายเลข อย. นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ยังแจ้งข้อหาอื่นๆ อีก คือ 1. ตั้งโรงงานผลิตอาหารเพื่อจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต 2.ผลิตอาหารปลอม 3.โฆษณาโอ้อวดสรรพคุณอันเป็นเท็จเป็นการหลอกลวงให้เกิดความเชื่อโดยไม่สมควร และ 4.ผลิตหรือนำเข้า หรือจำหน่ายอาหารไม่บริสุทธิ์ ทั้งนี้เจ้าหน้ายังระบุว่า อาหารเสริมดังกล่าวเคยถูกร้องเรียนและตรวจพบส่วนผสมของ ยาฟลูออกซิทีน (Fluoxetine) หรือยาที่ใช้สำหรับคนไข้จิตเวช/ โรคซึมเศร้า โดยมีผลทำให้ไม่อยากอาหาร และหากใช้ไปนานๆ ระยะยาว อาจทำให้เกิดผลข้างเคียง บางรายอาจถึงขั้นอยากฆ่าตัวตายได้

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 205 ค่าน้ำไฟหอพักแพง

หลายคนที่เช่าหอพักหรืออพาร์ทเมนต์ มักพบปัญหาค่าน้ำค่าไฟแพง ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มาจากการถูกเรียกเก็บในอัตราต่อหน่วยที่สูงกว่าปกติ แต่เราจะสามารถแก้ปัญหานี้ได้อย่างไร ลองไปดูกันคุณพลอยเคยเช่าหอพักอยู่แถวรังสิต และต้องเสียค่าน้ำไฟเฉลี่ยแล้วเดือนละ 1,500 บาท โดยเธอพบว่าถูกเรียกเก็บค่าไฟในอัตรา 6 บาท/ ยูนิตและค่าน้ำเหมา 250 บาท/ เดือน ซึ่งเธอรู้สึกว่าแพงเกินไปจึงย้ายที่อยู่ใหม่มาเช่าอพาร์ทเมนต์แถววิภาวดี อย่างไรก็ตามเธอก็ยังคงต้องเสียค่าน้ำไฟถึง 2,000 บาทต่อเดือน เพราะที่ใหม่เรียกเก็บค่าไฟในอัตรา 8 บาท/ ยูนิต แม้คุณพลอยจะพยายามหาที่อยู่ในพื้นที่อื่นๆ เธอก็ยังคงพบว่าการเรียกเก็บค่าน้ำไฟอยู่ในอัตราที่ใกล้เคียงกัน หรือตั้งแต่ 6 – 12 บาท/ ยูนิต เธอจึงต้องการทราบว่าการเรียกเก็บในอัตราดังกล่าวมีความเหมาะสมแล้วหรือไม่ หรือสามารถจัดการปัญหานี้ได้อย่างไรบ้างแนวทางการแก้ไขปัญหาศูนย์พิทักษ์สิทธิ์แนะนำผู้ร้องว่าการเก็บค่าน้ำไฟในอัตราดังกล่าว ถือว่าแพงเกินอัตราเรียกเก็บจากหน่วยงานของรัฐ ซึ่งมีผู้ร้องหลายรายที่ร้องเรียนปัญหาดังกล่าวเข้ามา และศูนย์ฯ เคยรวบรวมรายชื่อผู้ร้องทั้งหมดส่งไปยัง สคบ. เพื่อขอให้ออกมาตรการหรือประกาศควบคุมการเรียกเก็บค่าน้ำไฟของหอพักแล้วภายหลัง สคบ. ก็ได้มีการหารือร่วมกับหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และล่าสุดได้ออกประกาศให้ธุรกิจการให้เช่าอาคารเพื่ออยู่อาศัย เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา (พ.ศ. 2561) โดยกำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจต้องแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับสัญญาเช่าให้ชัดเจน รวมทั้งข้อสัญญาที่ผู้ประกอบธุรกิจทำกับผู้เช่า ต้องไม่ใช้ข้อสัญญาที่มีลักษณะหรือความหมาย ในลักษณะที่กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจสามารถกำหนดอัตราค่าบริการกระแสไฟฟ้าและน้ำประปา เกินกว่าที่ผู้ให้บริการกระแสไฟฟ้าและน้ำประปาเรียกเก็บจากผู้ประกอบธุรกิจได้ทั้งนี้ประกาศดังกล่าวจะบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2561 เป็นต้นไป ซึ่งหลังการบังคับใช้แล้ว หากผู้บริโภคพบว่าเจ้าของหอพักยังคงเรียกเก็บค่าน้ำค่าไฟเกินกว่าอัตราที่ระบุไว้ก็สามารถฟ้องร้องได้

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 205 กาแฟแพงเกินไป

สินค้าหรือบริการใดที่ไม่แสดงราคาหรือรายละเอียดให้ผู้บริโภคทราบก่อน มักสร้างปัญหาน่าปวดหัวตามมาภายหลัง เหมือนอย่างในกรณีนี้ที่ผู้ร้องเป็นคอกาแฟ ซึ่งปกติแล้วเธอยินดีจ่ายค่ากาแฟในราคาสูงเพื่อแลกกับกลิ่นหรือรสชาติของกาแฟแท้ แต่ครั้งนี้กลับต้องตกใจเมื่อพบว่ากาแฟราคาแก้วละ 400 บาท!คุณดวงใจเลือกสั่งมอคค่าเย็น จากร้านกาแฟสดแถวหน้ามหาวิทยาลัยใน จ.พิษณุโลก โดยก่อนชำระค่าสินค้าพนักงานได้สอบถามว่าต้องการกาแฟแบบธรรมดาหรือแท้ เธอจึงตอบกลับไปว่าแท้และไม่คิดว่าราคากาแฟแท้ดังกล่าวจะแพงมากนัก เนื่องจากเห็นป้ายราคาติดไว้ว่า “มอคค่าเย็น 50 บาท” อย่างไรก็ตามหลังจากได้รับกาแฟเรียบร้อย พนักงานก็แจ้งว่าค่ากาแฟทั้งหมด 400 บาท ซึ่งเธอตกใจมากและเมื่อสอบถามจึงทราบว่าที่ราคาสูงเนื่องจากเป็นมอคค่าแท้ ส่วนราคา 50 บาทนั้นสำหรับมอคค่าแบบธรรมดา แม้คุณดวงใจจะไม่พอใจมาก แต่เธอก็ต้องชำระเงินจำนวนดังกล่าวไปและต้องการร้องเรียนเพื่อให้ทางร้านมีการปรับปรุงป้ายราคา หรือแจ้งรายละเอียดระหว่างกาแฟแท้กับกาแฟธรรมดาให้ลูกค้าฟังก่อนตัดสินใจ เพราะอาจเกิดเหตุการณ์เช่นนี้กับผู้บริโภคคนอื่นๆ อีก เธอจึงส่งเรื่องมายังศูนย์พิทักษ์สิทธิ์เพื่อขอคำแนะนำแนวทางการแก้ไขปัญหาสำหรับกรณีนี้หากผู้บริโภคพบว่า การแสดงป้ายราคาสินค้าหรือค่าบริการ ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กรมการค้าภายในได้กำหนดไว้ คือ 1. สามารถเห็นราคาได้อย่างชัดเจน 2. ราคาที่แสดงต้องเป็นราคาต่อหน่วย 3. รายการที่แสดงต้องเป็นภาษาไทย (แต่จะมีภาษาอื่นด้วยก็ได้) 4. แสดงค่าใช้จ่ายอื่นที่เรียกเก็บเพิ่มเติมให้ชัดเจน เช่น ภาษีหรือเซอร์วิสชาร์ท 5. ป้ายราคาสินค้าและบริการต้องแสดงให้ตรงกับราคาที่จำหน่าย (ยกเว้นจำหน่ายต่ำกว่าราคา) สามารถโทรศัพท์ร้องเรียนโดยตรงได้ที่ เบอร์สายด่วนกรมการค้าภายใน 1569 หรือร้องเรียนออนไลน์ผ่านทางเว็บไซต์ของกรมการค้าภายใน http://www.dit.go.th/ ซึ่งหากตรวจสอบแล้วพบว่าทางร้านค้า/ ร้านอาหารกระทำผิดจริงจะโดนโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 205 มีสิทธิยกเลิกสัญญาหรือไม่

หากเราตกลงทำสัญญาใดๆ ไปแล้ว แต่ต้องการยกเลิกในภายหลังจะสามารถทำได้หรือไม่ ลองไปดูเหตุการณ์ของผู้ร้องรายนี้กันคุณสมพรได้รับการเชิญชวนให้ตรวจสุขภาพฟรี ซึ่งภายหลังการตรวจเลือด พนักงานก็แจ้งว่าเลือดในร่างกายไม่ปกติ เพราะมีการสะสมของไขมันและโลหะหนัก ทำให้เลือดขาดออกซิเจน โดยอาจส่งผลกระทบต่ออวัยวะอื่นๆ ได้ในอนาคต นอกจากนี้เมื่อตรวจร่างกายอย่างละเอียดก็ยังพบอีกว่า ระบบทางเดินอาหารไม่ดีและตับเสื่อม ด้วยผลการตรวจเช่นนั้น ทำให้คุณสมพรวิตกกังวลอย่างมาก จึงยินดีเข้ารับการรักษาแบบคีเลชั่น (Chelation) เพื่อเอาสารพิษออกจากเลือดตามที่พนักงานแนะนำ ในราคาพิเศษเหลือ 149,000 บาท สามารถใช้บริการได้ 50 ครั้ง อย่างไรก็ตามในอีกอาทิตย์ถัดมา เมื่อคุณสมพรได้เข้าพบแพทย์เพื่อทำการรักษาดังกล่าว แพทย์กลับแจ้งว่าการทำ 50 ครั้งมากเกินไป ควรทำแค่ 10 ครั้งก็เพียงพอแล้ว เพราะหากทำมากเกินไปสามารถส่งผลให้ไตวายได้ คุณสมพรจึงยังไม่เข้ารับการรักษาทันที เพราะเห็นว่าแพทย์และพนักงานให้ข้อมูลที่ไม่ตรงกัน และไปหาข้อมูลเกี่ยวกับการทำคีเลชั่นเพิ่มเติมจากในอินเทอร์เน็ต ซึ่งเธอพบว่าแพทย์สภาไม่รับรองการรักษาดังกล่าว จึงต้องการยกเลิกการรักษาและขอเงินคืนทั้งหมด แต่พนักงานกลับต่อรองให้ทำการรักษาตามที่แพทย์แนะนำต่อไป ทำให้คุณสมพรส่งเรื่องร้องเรียนมายังศูนย์พิทักษ์สิทธิ์เพื่อขอคำปรึกษา แนวทางการแก้ไขปัญหาศูนย์พิทักษ์สิทธิ์แนะนำผู้ร้องว่า หลักในการยกเลิกสัญญามี 3 วิธีดังนี้ 1. คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต้องการยกเลิกสัญญา 2. คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งต้องการยกเลิกสัญญา แล้วทำคำเสนอขอยกเลิกสัญญา เมื่อคู่สัญญาเห็นพ้องด้วย ทำคำสนองตอบกลับมา 3. การบอกเลิกสัญญาเพียงฝ่ายเดียว โดยอีกฝ่ายไม่ต้องเห็นพ้องด้วยโดยในกรณีที่การบอกเลิกสัญญาเพียงฝ่ายเดียวนั้น คู่สัญญาที่ต้องการยกเลิกสัญญา ต้องมีสิทธิในการบอกเลิก คือ ในข้อสัญญามีการระบุไว้ว่าถ้ามีการผิดสัญญา อีกฝ่ายสามารถยกเลิกสัญญาได้ หรือตามบัญญัติของกฎหมาย กรณีที่ไม่ได้มีข้อสัญญาระบุไว้ ดังนี้ 3.1 สิทธิบอกเลิกสัญญาเมื่อคู่สัญญาอีกฝ่ายไม่ชำระหนี้3.2 สิทธิบอกเลิกสัญญาเมื่อคู่สัญญาอีกฝ่ายไม่ชำระหนี้ตามเวลา ในกรณีที่เวลาเป็นสาระสำคัญ และ 3.3 สิทธิบอกเลิกสัญญาเพราะการชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัย โดยโทษลูกหนี้ได้อย่างไรก็ตามในกรณีนี้ ผู้ร้องอาจเจรจาต่อรองและรับการรักษาตามที่แพทย์แนะนำคือ 10 ครั้ง โดยจ่ายราคาตามจริงได้ ส่วนการรักษาแบบคีเลชั่นนั้น เป็นการขจัดโลหะหนักที่เป็นพิษออกจากร่างกาย ซึ่งเหมาะสมสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับโลหะหนักเข้าสู่ร่างกายเป็นประจำ หรือผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมียที่มีปัญหาธาตุเหล็กเกินในร่างกายแต่หากพบว่าสถานบริการหรือโรงพยาบาลใด ที่ระบุว่าการทำคีเลชั่นสามารถช่วยรักษาโรคหลอดเลือด โรคหัวใจหรือออทิสติคได้ จะถือว่าเป็นการอวดอ้างสรรพคุณเกินจริง และไม่ได้อยู่ในการรับรองของแพทยสภา ซึ่งผู้บริโภคสามารถเข้าไปสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติม หรือสามารถสอบถามข้อมูลต่อได้ที่สมาคมแพทย์คีเลชั่นไทย (http://www.cmat.or.th/)

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 205 สั่งซอสปรุงรสออนไลน์ ไม่พบฉลาก

แม้การสั่งซื้อสินค้าออนไลน์จะช่วยอำนวยความสะดวกหลายประการ แต่อุปสรรคหนึ่งที่ผู้บริโภคหลายคนต้องพบ มักหนีไม่พ้นเรื่องคุณภาพหรือมาตรฐานของสินค้านั้นๆ หากปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นกับเรา จะสามารถจัดการได้อย่างไรบ้าง ลองไปดูกันคุณสมชายเป็นคนชอบทำอาหาร และเห็นว่าพิธีกรรายการอาหารที่ตนเองชื่นชอบทำซอสปรุงรสขาย เขาจึงตัดสินใจสั่งซื้อมาทดลองประกอบอาหารดู เพราะเห็นการโฆษณาว่าซอสนี้ปรุงอาหารอะไรก็อร่อย อย่างไรก็ตามหลังจากได้รับสินค้าแล้วเรียบร้อย เขากลับพบว่าสินค้าดังกล่าวมีเพียงฉลากชื่อยี่ห้อที่ระบุว่าเป็น “ซอสตราไก่” เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ไม่มีรายละเอียดอื่นๆ เช่น เลข อย. ส่วนประกอบหรือวันเดือนปีที่ผลิต/ หมดอายุ ทำให้คุณสมชายไม่มั่นใจว่า ซอสที่ได้รับมาเป็นสินค้าที่ได้มาตรฐานจริงหรือไม่ จึงส่งเรื่องร้องเรียนมายังศูนย์พิทักษ์สิทธิ์เพื่อขอให้ช่วยตรวจสอบแนวทางการแก้ไขปัญหาศูนย์พิทักษ์สิทธิ์แนะนำให้ผู้ร้องส่งรายละเอียดเกี่ยวกับโฆษณาขายซอสดังกล่าว พร้อมภาพถ่ายหรือสินค้าตัวจริงมาให้ ซึ่งภายหลังการตรวจสอบพบว่าไม่มีเลขการจดทะเบียน อย. ฉลากโภชนาการ หรือวันเดือนปีที่ผลิต/ หมดอายุตามที่ผู้ร้องร้องเรียนจริง จึงช่วยทำจดหมายไปยัง อย. เพื่อขอให้มีการตรวจสอบซอสดังกล่าวเนื่องจากตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 200) พ.ศ. 2543 เรื่องซอสในภาชนะบรรจุปิดสนิท กำหนดให้ซอสเป็นอาหารที่ถูกควบคุม และซอสในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทเป็นอาหารที่ต้องมีฉลาก โดยต้องแสดงให้ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งหากพบว่าการผลิตซอสและจำหน่ายซอสที่ไม่มีฉลากและข้อความบนฉลากที่ถูกต้อง จะมีโทษปรับไม่เกิน 30,000 บาท 

อ่านเพิ่มเติม >