ฉบับที่ 204 เลือกใช้ยารักษาฝ้า อย่างถูกวิธี

เลือกใช้ยารักษาฝ้า อย่างถูกวิธีแม้ความขาวใสจะเป็นสิ่งที่สาวๆ ส่วนใหญ่ปรารถนา แต่บางครั้งเราอาจเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่เหมาะสม อย่างการใช้ยารักษาฝ้าที่มีส่วนประกอบขอสารไฮโดรควิโนนมาทำให้หน้าขาวขึ้น ซึ่งสามารถส่งผลเสียร้ายแรงต่อผิวได้ หรือเผลอใช้เครื่องสำอางที่มีส่วนประกอบของสารดังกล่าวไปอย่างไม่รู้ตัว โดยเราจะมีวิธีเลือกอย่างไรให้ปลอดภัย ลองไปดูกันมารู้จักยารักษาฝ้ากันสักนิด หนึ่งในวิธีการรักษาฝ้าหรือกระที่แพร่หลาย คือการใช้ยาในกลุ่มที่มีส่วนประกอบของไฮโดรควิโนน(Hydroquinone) ซึ่งมักอยู่ในรูปแบบครีมและเจล เพราะไฮโดรควิโนนเป็นสารมาตรฐานสำคัญ ที่สามารถออกฤทธิ์ยับยั้งกระบวนการสร้างเม็ดสีของผิวหนัง และส่งผลให้ผิวขาวขึ้นได้ภายในเวลาที่รวดเร็วหรือประมาณ 4-6 สัปดาห์ อย่างไรก็ตามการเลือกใช้ยาดังกล่าว จำเป็นต้องอยู่ภายใต้ความดูแลของแพทย์หรือเภสัชกร เพราะจัดอยู่ในประเภทยาอันตรายที่อาจทำให้เกิดอันตรายกับผู้ใช้ได้ง่าย หรือสามารถทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้สูง รวมทั้งส่งผลเสียต่อผิวพรรณได้ในระยะยาว สารไฮโดรควิโนนส่งผลเสียอย่างไรแม้สารไฮโดรควิโนนจะมีคุณสมบัติทำให้ผิวขาวขึ้นได้ แต่ต้องใช้ภายใต้ความดูแลของแพทย์ และยังถูกสั่งห้ามใช้เป็นส่วนประกอบในเครื่องสำอาง เนื่องจากหากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน สามารถทำให้ผิวไวต่อแสงแดดมากขึ้น ส่งผลต่อการเกิดฝ้าที่มากกว่าเดิม หรือทำให้เกิดอาการผื่นแพ้สัมผัสและการระคายเคือง รวมทั้งอาจทำให้เกิดจุดด่างขาวที่หน้า ผิวหน้าดำ เป็นฝ้าถาวรหรือฝ้าเส้นเลือดได้ แต่ที่มากไปกว่านั้นคือสามารถทำให้เกิดโรคผิวหนังอื่นๆ หรือเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งผิวหนังได้แนะวิธีการเลือกใช้อย่างปลอดภัยด้วยคุณสมบัติที่จำเป็นต่อการรักษาฝ้า ทำให้ยาที่มีส่วนประกอบของไฮโดรควิโนนยังสามารถใช้ได้ แต่ในกรณีนี้ผู้บริโภคควรหลีกเลี่ยงการซื้อยาดังกล่าวมาใช้เอง โดยควรเลือกซื้อตามร้านขายยาแผนปัจจุบันที่มีเภสัชกรประจำ เพื่อให้คำแนะนำการใช้ยาอย่างถูกวิธี ต่างจากยาทั่วไปเช่น ยาแก้ปวดหัว ยาแก้ไอหรือยาแก้โรคหวัดบางชนิดที่ผู้บริโภคสามารถหาซื้อเองได้ทั้งนี้เราควรตรวจสอบข้อมูลสำคัญทางยาบนฉลากยา ได้แก่ ชื่อตัวยาสำคัญ วัตถุประสงค์หรือข้อบ่งใช้ คำเตือนหรือคำแนะนำ หรือเปอร์เซ็นต์ของยาให้อยู่ในปริมาณที่ อย.กำหนด (ไม่เกิน 2%) รวมทั้งควรใช้ในระยะเวลาที่จำกัด และทาเฉพาะจุดที่เป็นฝ้าเท่านั้น โดยหลังจากหยุดการใช้ยาที่มีส่วนผสมของไฮโดรควิโนนแล้ว ควรทาครีมกันแดดเป็นประจำทุกวันเพื่อป้องการอาการไวต่อแสงแดดสำหรับในส่วนของเครื่องสำอางบางยี่ห้อที่แอบลักลอบใส่สารไฮโดรควิโนน ซึ่งผู้บริโภคอาจเผลอใช้โดยไม่รู้ตัว โดยจะทำให้ผิวขาวขึ้นเร็วผิดปกติ เพราะมักใส่สารดังกล่าวในปริมาณสูงนั้น ผู้บริโภคควรตรวจสอบให้ดีก่อนตัดสินใจ ด้วยวิธีการง่ายๆ อย่างการตรวจสอบฉลากว่ามีฉลากภาษาไทยหรือไม่ โดยอย่างน้อยต้องระบุชื่อเครื่องสำอาง ส่วนผสม ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิตหรือนำเข้า ปริมาณสุทธิ เลขที่แสดงครั้งที่ผลิต ว/ด/ป ผลิตหรือหมดอายุ และเลขที่จดแจ้ง ซึ่งผู้บริโภคสามารถนำเลขที่จดแจ้งหรือชื่อเครื่องสำอางดังกล่าว เข้าไปสืบค้นข้อมูลผลิตภัณฑ์ว่าตรงกับที่ระบุไว้ฉลากหรือไม่ ผ่านทางเว็บไซต์ของ อย. ที่ http://porta.fda.moph.go.th ได้อีกด้วย

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 204 ต้นตอ ปัญหาบริการ sms ขี้โกง แอบคิดเงินโดยไม่รู้ตัว

ปัญหาถูกคิดเงินจากบริการเสริม sms ข้อมูล ข่าวสาร ที่ไม่ได้สมัครใช้บริการ เป็นหนึ่งในปัญหาที่มีมานาน และนับวันดูจะรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ ลองถามคนใกล้ๆ ตัวคุณดู ผมว่า ต้องมีอย่างน้อยสักคนสองคนที่เคยโดนคิดเงินจากบริการเสริม sms สมัครเล่นเกมส์  โหลดคลิป ดูดวง ทายผลบอล โดยที่เจ้าตัวก็ไม่รู้ว่าเคยไปสมัครใช้บริการพวกนี้ไว้ตั้งแต่เมื่อไร ประเด็นที่น่าสนใจ คือ เมื่อเทียบกับการร้องเรียนบริการโทรคมนาคมอื่น ๆ อย่างบริการอินเทอร์เน็ต และบริการโทรศัพท์ เราจะพบการร้องเรียนที่หลากหลาย เช่น บริการที่ได้รับไม่ตรงตามสัญญาหรือโฆษณา  หรืออาจจะมีบ้างที่ร้องเรียนว่าไม่ได้สมัครใช้แต่ถูกคิดเงิน แต่กับการร้องเรียนบริการเสริม sms มันชัดเจนมากว่า ผู้ร้องเรียนแทบจะทุกคนยืนยันว่าไม่เคยสมัครใช้บริการเสริม sms พวกนี้ และไม่ปรากฏว่ามีการร้องเรียนในว่าสมัครไปแล้วได้บริการไม่ครบ หรือบริการเสริม sms ที่ได้รับไม่ตรงตามที่โฆษณา  ตรงนี้ผมว่า มันสะท้อนให้เห็นว่า ระบบการสมัครใช้บริการของบริการเสริม sms ต้องมีปัญหาอย่างแน่นอน เพราะจะเป็นไปได้อย่างไรที่ผู้ร้องเรียนนับพันคน จะจำไม่ได้ว่าเคย แสดงเจตนาสมัครใช้บริการเสริม sms เหล่านี้   “สัญญา จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อคู่สัญญาได้แสดงเจตนาเสนอสนองถูกต้องตรงกัน” หลักกฎหมายว่าไว้อย่างนี้ คือ ต้องมี 3 องค์ประกอบ ทั้ง คำเสนอ คำสนอง และ “การแสดงเจตนาที่ต้องชัดเจน ถูกต้องตรงกัน” คำถามก็คือ แล้วการสมัครใช้บริการเสริม sms ที่ผ่านมาและในปัจจุบัน มันมีระบบที่ให้ผู้ใช้บริการแสดงเจตนา หรือยืนยันว่าต้องการสมัครใช้บริการจริงๆ หรือไม่ และเป็นระบบที่มีความปลอดภัยทางอิเล็กทรอนิกส์เพียงพอหรือไม่   ที่ผ่านมา ก็คงมีผู้บริโภคบางคนเผลอไปกดปุ่มสมัครใช้บริการโดยไม่เจตนา แต่ก็มีไม่น้อยที่ถูกกลโกงเขียนโปรแกรมดักไว้ให้สมัครใช้บริการเพียงแค่มือไปโดนป้ายข้อความโฆษณา แม้กระทั่งผู้เชี่ยวชาญด้าน cyber security ก็ยังเคยถูกเรียกเก็บค่าบริการเสริม sms ทั้งที่เจ้าตัวไม่เคยสมัครใช้บริการมาก่อน ซึ่งเป็นกลโกงของผู้ประกอบการ content partner บางรายที่ใช้วิธีเขียนโปรแกรมดักผู้ใช้บริการ เพียงแค่ลากมือผ่านป้าย banner ของบริการเสริมเหล่านี้ ก็จะมีผลเป็นการสมัครใช้บริการแล้ว ดังนั้น ยิ่งผู้คนใช้สมาร์ทโฟน หน้าจอทัชสกรีนมากขึ้น ปัญหาถูก sms คิดเงินโดยไม่ได้สมัครใช้บริการก็พุ่งสูงขึ้นสอดคล้องกัน อย่างมีนัยสำคัญ ถ้าเทียบกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ ในปัจจุบัน ก่อนที่เงินจะออกจากกระเป๋า จะต้องมีการกรอกรหัส แสดงตัวตน ยืนยันความเป็นเจ้าของก่อนทุกครั้งที่จะทำธุรกรรมไม่ว่าจะเป็นการโอนเงิน หรือการซื้อสินค้า ผ่าน mobile payment ผ่าน QR Code ในขณะที่การสมัครบริการเสริม sms ไม่มีขั้นตอนนี้ ให้ผู้ใช้บริการต้องกรอกรหัสแสดงตัวตนและยืนยันเจตนาสมัครใช้บริการ จึงเปิดโอกาส ให้มีการเขียนโปรแกรมเข้ามาโกงผู้ใช้บริการได้ง่าย ดังนั้น ถ้าจะแก้ปัญหาบริการเสริม sms คิดค่าบริการโดยไม่ได้สมัครให้ตรงจุดที่สุด ก็ต้องแก้กันที่ต้นเหตุ ทำให้ระบบการสมัครบริการมีความชัดเจน ทั้งในแง่เนื้อหาที่โฆษณา ที่ต้องไม่กำกวม เพราะหลายบริการอ่านแล้วก็งง เช่น กด *xxxx ใช้ฟรี 7 วัน” บางคนอาจจะแค่อยากทดลองใช้ฟรี แต่เมื่อกดไปแล้วกลับกลายเป็นการสมัครใช้ และหลังจากนั้นจะได้ใช้ฟรี 7 วัน ถ้าจะพูดให้ชัดเจนจริงๆ ก็คือ สมัครใช้บริการแล้วจะได้แถมฟรี 7 วัน และที่สำคัญ จะต้องมีระบบที่มีความปลอดภัย ให้ผู้บริโภคต้องกรอกรหัสยืนยันตัวตน และแสดงเจตนาสมัครใช้บริการอย่างชัดแจ้ง ไม่ใช่แค่การคลิกเลือกช่องสมัครใช้บริการ ซึ่งแม้จะต้องคลิกหลายครั้ง แต่ก็ยังไม่สามารถป้องกัน bot (โปรแกรมอัตโนมัติ) ได้  ในขณะที่ภาครัฐและภาคธุรกิจ พยายามกระตุ้นและสนับสนุนให้ ประชาชนทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ อยากจะให้สังคมไทยเป็นสังคมไร้เงินสด แต่ถ้าระบบความปลอดภัย ยังไม่น่าเชื่อถือ ประชาชนก็คงไม่กล้าใช้บริการ  ก่อนจะเดินหน้าประเทศไทยยุค 4.0 แก้ปัญหาซ้ำซากอย่างเรื่อง  sms โกงเงิน กันก่อนดีไหม ครับ - CPA มีการเขียนโปรแกรมดัก ให้ mouse over มีผลเป็นการสมัครใช้บริการ- ขั้นตอนการสมัครใช้บริการ sms ข้อมูลข่าวสารในปัจจุบัน ไม่มีความปลอดภัย และรัดกุม เพียงพอ เปิดโอกาสให้มีการ เขียนโปรแกรม โกงผู้ใช้บริการได้ แม้จะมีการต้อง คลิกเลือกในหลายขั้นตอนก็ตามข้อเสนอเพื่อการแก้ปัญหา  ทำให้การสมัครใช้บริการ sms ข้อมูล ข่าวสาร ต้องมีกระบวนการขั้นตอน ให้ผู้ใช้บริการแสดงเจตนาสมัครใช้บริการที่ชัดเจน และมีความรัดกุม ปลอดภัย ในทางอิเล็กทรอนิกส์  เทียบกับธุรกรรมทางการเงินต่าง ๆ ในปัจจุบัน ก่อนที่เงินจะออกจากกระเป๋า จะต้องมีการกรอกรหัส แสดงตัวตน ยืนยันความเป็นเจ้าของก่อน ทุกครั้งที่จะทำธุรกรรม ในขณะที่การสมัคร บริการ sms ไม่มีกระบวนการในขั้นตอนนี้ ทำให้เปิดโอกาส ให้มีการเขียนโปรแกรมเข้ามาโกงผู้ใช้บริการได้ง่าย รูปธรรมในการแก้ไขปัญหา sms คิดเงินโดยไม่ได้สมัครใช้บริการ ใช้อำนาจ กสทช. ตามประกาศ กสทช. เรื่องการกระทำที่น่าจะเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม ข้อ 5 (6) กำหนดให้บริการโทรคมนาคม ที่ไม่มีระบบสมัครใช้บริการ ที่ให้ผู้ใช้บริการแสดงตัวตนและเจตนาที่ชัดแจ้งในการสมัครใช้บริการ ถือว่าเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคปัญหาการบังคับใช้กฎหมาย ประกาศ กสทช. เรื่องการกระทำที่น่าจะเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม ฯ ต่อกรณีปัญหา sms คิดเงินโดยไม่ได้สมัครใช้บริการ  ประกาศ กสทช. เรื่องการกระทำที่น่าจะเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม ฯ ประกาศใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 มีสาระสำคัญ ที่กำหนดลักษณะการกระทำของผู้ให้บริการและตัวแทนที่เข้าข่ายเป็นการกระทำที่น่าจะเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค อาทิ ข้อ 5 (3 )การโฆษณาเกินความจริง ที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับบริการ , ข้อ 5 (1)การไม่แจ้งรายละเอียดของบริการให้ครบถ้วน ถูกต้อง ,ข้อ 5 (5) การละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวส่งข้อความโฆษณา sms โดยมิได้รับอนุญาตหรือความยินยอมจากผู้บริโภค จนก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ เป็นต้น  เมื่อมีการร้องเรียนว่า ผู้ให้บริการโทรคมนาคม มีพฤติการณ์ที่น่าจะเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค หากคณะกรรมการพิจารณาแล้ว เห็นว่าเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคจริงและมีคำสั่งให้ระงับการกระทำดังกล่าว บริษัทฯ ผู้ให้บริการจะต้องห้ามกระทำการในลักษณะนั้นกับผู้ใช้บริการทุกราย และถ้ายังไม่หยุดการกระทำเอาเปรียบผู้บริโภคก็จะมีโทษปรับทางปกครองไม่เกิน 5 ล้านบาท และจะปรับต่อไปเรื่อย ๆ อีกวันละไม่เกิน 1 แสนบาท จนกว่าจะปฏิบัติตามคำสั่งของคณะกรรมการ  มาตรการนี้ จะเป็นผลดีต่อการคุ้มครองผู้บริโภคในภาพรวม เพราะการร้องเรียนของผู้บริโภค 1 คน จะส่งผลช่วยให้ผู้ใช้บริการคนอื่น ๆ ได้รับความเป็นธรรมจากการใช้บริการด้วยโดยอัตโนมัติ และมีผลห้ามมิให้เกิดการกระทำผิดซ้ำในลักษณะเดียวกันอีก  การเสนอเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับปัญหา sms คิดเงินโดยไม่ได้สมัครใช้ ให้ กสทช. พิจารณา หลายกรณี เข้าข่ายเป็นการกระทำที่น่าจะเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค ซึ่ง กสทช. ควรที่จะพิจารณาใช้อำนาจตามประกาศข้างต้น สอบสวนข้อเท็จจริง และสั่งห้ามกระทำการในลักษณะดังกล่าวอีกเป็นการทั่วไป เพื่อคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ แต่การพิจารณาเรื่องร้องเรียนของ กสทช. ก็จะหยุดอยู่แค่การแก้ปัญหา case by case ให้แก้ผู้ร้องเรียน  แม้ว่า อนุกรรมการ คุ้มครองผู้บริโภค ด้านกิจการโทรคมนาคม และกสทช. สายคุ้มครองผู้บริโภค จะได้พยายามเสนอให้มีการพิจารณาเรื่องร้องเรียน ปัญหา sms คิดเงินโดยไม่ได้สมัครใช้ ในแง่มุมของการบังคับใช้ ประกาศ กสทช. เรื่อง การกระทำที่น่าจะเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค ในกิจการโทรคมนาคมแล้วก็ตาม แต่ก็มีการขัดขวาง ตัดตอนเรื่องร้องเรียน ให้หยุดอยู่แค่การแก้ปัญหาในระดับบุคคล 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 204 เราไม่ได้โดดเดี่ยว ความในใจกลุ่มผู้เสียหายจากรถยนต์มาสด้า

นายภัทรกร ทีปบุญรัตน์ ผู้เสียหายจากการซื้อรถยนต์มาสด้า  และเพื่อนซึ่งเป็นผู้เสียหายจากกรณีคล้ายกัน คือซื้อรถยนต์มาสด้า 2 รุ่น ได้แก่ รุ่น XD High Plus และ Sky Active ปี 2014 – 2016 แล้วพบว่า มีอาการสั่นขณะเร่งความเร็วและเกิดอาการกระตุกขณะขับรถในช่วงความเร็ว 60 – 120 กม./ชม. เมื่อนำรถเข้าศูนย์ซ่อมบำรุงช่างแจ้งว่าปัญหาเกิดจากเขม่า จึงทำการเปลี่ยนสปริงวาล์วกับระบบหัวฉีด และเปลี่ยนกล่อง Converter DCDC ให้ อย่างไรก็ตามเมื่อนำรถกลับมาใช้กลับพบอาการเดิม ผู้เสียหายจึงได้เข้าร้องเรียนที่ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ขอให้บริษัทฯ ขยายเวลารับประกันและชี้แจงวิธีการแก้ไขปัญหาให้เป็นปกติ หากไม่สามารถแก้ไขได้ขอให้รับซื้อรถยนต์คืน และชดเชยค่าขาดประโยชน์จากการใช้งาน ทว่าหลังจากนั้น บริษัทฯ ได้ฟ้องกลับผู้บริโภคข้อหาใช้สิทธิเกินส่วน เรามาฟังความในใจของผู้เสียหายที่รับทุกข์ซ้ำซ้อนอย่าง คุณภัทรกร ทีปบุญรัตน์ และ   “การออกมาเรียกร้องสิทธินั้นตนได้ทำด้วยความสุจริตใจและอยากให้บริษัทแก้ปัญหาที่เกิดเพียงเท่านั้น ไม่ได้มีเจตนาหรือจงใจทำลายชื่อเสียงของบริษัท" ภัทรกร ทีปบุญรัตน์ก่อนจะมาถึงขั้นฟ้องเป็นคดีผู้บริโภค เรื่องราวเป็นมาอย่างไร  ซื้อรถยนต์มาแล้วพบว่า มีอาการสั่นขณะเร่งความเร็วและเกิดอาการกระตุกขณะขับรถในช่วงความเร็ว 60 – 120 กม./ชม. ซึ่งเป็นปัญหาของรถที่มันเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุรุนแรงต่อชีวิต โดยเฉพาะผู้ใช้รถที่ไปเจอปัญหานี้ครั้งแรกบนถนนในจังหวะเร่งแซงซึ่งอันตรายมาก เมื่อผมได้ส่งรถเข้าซ่อมที่ศูนย์ฯ แล้วแต่ก็แก้ปัญหาไม่ได้ ทำให้เสียเวลาและค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น จึงมีการตั้งกลุ่มทางเฟซบุ๊คชื่อว่า อำนาจผู้บริโภคช่วยเหลือผู้ใช้ Mazda Skyactiv เครื่องสั่น เร่งไม่ขึ้น ฯลฯ เพื่อรวมตัวกันเสนอแนวทางการแก้ปัญหาของรถ ผมมองว่าเรื่องนี้มันเป็นปัญหาของส่วนรวม ผมเรียนตามตรงว่าผมเป็นนักวิทยุสมัครเล่นและทำงานจิตอาสามาตลอดอยู่แล้ว เรื่องอะไรที่เรามองว่ามันน่าจะเป็นประโยชน์สาธารณะผมก็ดำเนินการแทนเพราะส่วนใหญ่น้องๆ ก็ใช้รถรุ่นนี้ที่ถือว่าเป็นอีโคคาร์ ก็ไม่รู้ช่องทางการร้องเรียนว่าต้องดำเนินการอย่างไร แต่เราทำมาเรารู้กระบวนการว่าเรื่องนี้มันไม่ใช่ปัญหาของเราคนเดียวมีผู้เสียหายรายอื่นๆ ซึ่งเรามองว่าผู้ผลิตควรต้องรับรู้ว่าปัญหานี้เป็นปัญหาของส่วนรวม สิ่งที่เราเรียกร้องให้บริษัทผู้ผลิตมาชี้แจงก็เพื่อประโยชน์สาธารณะทั้งนั้นจำนวนผู้เสียหายที่รวบรวมได้ มีแนวทางทำงานกันอย่างไร เริ่มต้นจากกรณีของผมเอง ซึ่งร้องเรียนในประเด็นปัญหาอื่นก่อนหน้านี้ ก็ไม่ได้รับคำตอบจากทางผู้ผลิตจนร้องมาทางมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และทางมูลนิธิฯ เป็นคนดำเนินการให้เรื่องผ่าน สคบ. ก็ผ่านมาเกือบปีครึ่ง ซึ่ง สคบ.ไม่ได้ดำเนินการอะไรให้เลย ทางโน้น(บริษัทผู้ผลิต) ตอบมาว่ายังไม่รู้ว่าสาเหตุคืออะไรและก็ไม่ได้ตอบคำถามของเรา เราก็เรียกร้องไปจนมีการตั้งกลุ่มและเปิดเพจชื่อ “อำนาจผู้บริโภค” ขึ้นมา เพื่อจะบอกว่ามีปัญหาอาการรถแบบนี้ใครมีปัญหาบ้างก็รวบรวมรายชื่อมาจนได้ระดับหนึ่งเพื่อเพิ่มเติมรายชื่อในส่วนของ สคบ. จนร้องมาที่มูลนิธิฯ ว่าปัญหานี้มันรุนแรงนะมีเรื่องความปลอดภัยในการขับขี่และมีการรวมกลุ่มกันและไปยื่นเรื่องที่ สคบ. ในกรณีปัญหาเรื่องเครื่องยนต์สั่นเร่งไม่ขึ้นในการขับขี่ ตอนนี้จากหลักฐานทางทะเบียนที่เปิดทาง Google doc มีผู้เสียหายประมาณ 200 กว่าท่าน แต่ว่าคนที่มาแสดงตัว ประมาณ 20 – 30  กว่าท่านที่มีความประสงค์จะฟ้องเป็นคดีผู้บริโภค  ข้อดีของการที่ผู้เสียหายได้รวมกลุ่มกันคือ ทำให้คนที่ไม่ทราบปัญหาว่าสิ่งผิดปกตินี้มันไม่ได้เกิดจากผู้บริโภคนะ เราต้องเรียกร้องสิทธิสิ อย่างที่บอกว่าไป คือแทนที่ผมจะสู้คนเดียว ณ วันนี้เขาฟ้องผมคนเดียว(การใช้สิทธิเกินส่วน) ถ้าผมยืนคนเดียวผมคงเหนื่อย แต่พอมีผู้เสียหายมารวมตัวกันอย่างน้อยมันก็เป็นกำลังใจให้ผมด้วย และเป็นแนวทางในการต่อสู้ ผมถือว่าผู้บริโภคที่มีปัญหาต้องออกมาเรียกร้องสิทธิของตนเองรู้สึกอย่างไรเมื่อโดนบริษัทฟ้องว่าใช้สิทธิเกินส่วน(ช่วงปลายปี 2560 กลุ่มผู้เสียหายจากการใช้รถยนต์ มาสด้า 2 รุ่น รวมตัวกันและเดินทางไปยื่นหนังสือต่อ สคบ. เรียกร้องให้ผู้ประกอบการแสดงความรับผิดชอบ อีกทั้งยังได้ร่วมกันยื่นหนังสือต่อตัวแทนบริษัทมาสด้าเซลส์(ประเทศไทย) ในงาน Motor EXPO ทำให้บริษัทฯ ฟ้องคดีคุณภัทรกร ทีปบุญรัตน์ เรียกค่าเสียหายถึง 84 ล้านบาทโดยอ้างเหตุว่า เป็นการใช้สิทธิเกินส่วน ทำให้ภาพลักษณ์บริษัทฯ เสียหาย ขายรถไม่ได้)  ผมคงเดินหน้าสู่ศาลผู้บริโภค ในเมื่อผู้ผลิตเขาไม่ยอมรับว่าสินค้าของเขามีข้อบกพร่อง คงไปพิสูจน์ในชั้นศาลครับ ความกังวลมันไม่ได้กังวลว่าเราจะแพ้คดีหรืออะไรนะ ผมกังวลว่าเราจะต้องเสียเวลามากกว่า แต่เรื่องข้อเท็จจริงผมมั่นใจว่าผมพูดไปด้วยประโยชน์สาธารณะและเป็นไปด้วยข้อเท็จจริงทั้งหมดซึ่งผมไม่พูดอะไรเกินเลยจากข้อเท็จจริงเลย ผมสู้แค่ตายครับสิ่งที่อยู่ในใจและฝากให้คนอื่นคืออะไรถ้าเรายึดถือสิทธิผู้บริโภคตามรัฐธรรมนูญก็คงต้องรักษาสิทธิของเราเอง แต่ว่าแทนที่เราจะรักษาสิทธิของตนเองต้องหาว่ามีพวกร่วมชะตากรรมเรื่องนี้ไหมและเดินไปด้วยกัน พลังของผู้บริโภคพวกนี้มันสามารถจะเอาไปต่อรอง อย่างที่ผมบอกว่ามาร้องเรียนไปหากผู้ผลิตไม่เคยตอบอะไรกลับมาเลยจนเรื่องถึงที่สุดมีหนังสือออกมา1 ฉบับ ก็ยังดีที่สิ่งที่เราเรียกร้องไปมันรับรู้ถึงบริษัทว่ามีปัญหาอยู่จริงซึ่งเขาจะปฏิเสธก็อีกเรื่องหนึ่ง“เวลาขับจะมีการสะเทือน สั่น และเร่งไม่ขึ้นควบคู่กันไป”คุณกรกนก อรรถพรพิมล ผู้เสียหายอีกท่านที่เข้ามารวมกลุ่มฟ้องคดี เล่าถึงความยากลำบากเมื่อไม่ได้ใช้งานรถยนต์ตามวัตถุประสงค์ที่ซื้อมาลำบากตรงต้องไปยืมเช่าหรือขอยืมรถญาติ ทั้งๆ ที่เรายังต้องผ่อนทุกเดือนและไม่มีคำตอบที่ชัดเจนว่าอะไรมันเสีย ได้แต่รอให้เขาแจ้งมาหลังจากเสร็จจากช่างนำไปซ่อม เราก็มาคิดว่าน่าจะจบแต่มันมีปัญหาจุกจิกสารพัด เช่น ฝาถังน้ำมันเปิดไม่ได้มากกว่า 3 ครั้ง ในแต่ละครั้งก็มีปัญหาคือน้ำมันจะหมดแต่ฝาเปิดไม่ได้ เขาบอกว่าถ้าเราแงะเองนั่นคือหมดประกัน ก็เลยต้องรอ บางทีติดวันเสาร์ – อาทิตย์ ซึ่งศูนย์ปิด ต้องเปิดโรงแรมนอนรอก็ทำมาแล้ว เพื่อให้ศูนย์เปิดฝาถังให้โดยไม่มีค่าชดเชยใดๆ ทั้งสิ้น ไม่มีคำตอบใดๆ ทั้งสิ้น และหลังจากนั้นก็เกิดอาการล่าสุดที่รับไม่ได้เลยก็คือ จอดซ่อมอีก 18 วัน สาเหตุเกิดจากเทอร์โบแตก ต้องยกเครื่องออกทั้งหมดเลยและก็หมดวารันตีพอดี เพิ่งเข้าไปเช็คระยะ 100,000 กม. แล้วหมดพอดี ไฟหน้าก็มีอาการหนักกว่าตอนที่ไปเช็คระยะ 60,000 กม. คือวิ่งได้ที่ความเร็ว 20 รถกระชาก เร่งไม่ขึ้น พอช่วงถอนคันเร่งก็กระชาก เหตุการณ์เกิดขึ้นตอนกลางคืน วันรุ่งขึ้นก็ต้องขับรถเข้าศูนย์เพราะว่าไม่มีบริการลากแล้วการดูแลของบริษัทต่อปัญหาที่เกิดขึ้นไม่มีการดูแลเลย เขาได้แต่ถามไถ่และให้เหตุผลประมาณว่า “เป็นอย่างนี้แหละรถเทคโนโลยีสูง รถต้นแบบเทคโนโลยีล้ำมันก็ต้องมีข้อผิดพลาดแบบนี้แหละ” เลยอยากถามกลับว่า ทำไมไม่ทดลองให้มันเสร็จก่อนค่อยออกมาขาย และลูกค้าตอบรับเยอะ ทำให้ผลิตอะไหล่ไม่ทัน ทำให้ต้องไปจ้างโรงงานอื่นผลิต ซึ่งมันไม่สามารถเช็คได้ทั่วถึงว่าโรงงานนั้นๆ ผลิตดีไหม แล้วบังเอิญเราไปเจอเทอร์โบที่ผลิตโรงงานนี้เลยพัง แต่มันไม่ใช่เรื่องที่เราต้องทราบ แล้วตั้งแต่บัดนั้นจนวันนี้ไม่มีความสบายใจในการที่จะขับรถเลย ต้องเลิกเปิดวิทยุเพื่อที่จะเงี่ยหูฟังว่า จะมีอะไรพังอีกไหม ไม่มีความสุขเลย  แล้วเราต้องเดินทางทุกวันด้วยทราบว่ามีการเก็บหลักฐานไว้ตลอดทุกเรื่องบันทึกไว้ตลอดทุกข้อมูล พยายามขอข้อมูลจากศูนย์ว่า ให้ช่วยออกเอกสารยืนยันมาหน่อยว่ามันได้เข้าซ่อมจริง เกิดอาการจริง เพราะว่ารถจะหมดวารันตีแล้ว ซึ่งตอนนี้ก็หมดไปแล้ว และถ้าจะขายต่อก็ไม่มีใครซื้อหรอก ทั้งๆ ที่เป็นรถใหม่ และข้อมูลมันทำให้เราไม่มีความสบายใจในการขับรถเลย ค่าอะไหล่แพงมาก เทอร์โบตัวหนึ่ง 5 – 6 หมื่นบาท ยังไม่รวมค่าแรงอีก แถมยังต้องจอดทิ้งไว้ทีละครึ่งเดือน นี่มันใช่หรือกับรถใหม่มั้ย แล้วที่เราเลือกยี่ห้อนี้เพราะมันดูแลง่าย เป็นเครื่องดีเซล และทุกครั้งที่เขาบอกต้องรอเขาจะพูดลักษณะคือ มีแต่คำพูดเท่านั้น เลยบอกให้เขาออกเอกสารมาให้เราว่าพบปัญหานี้จริง ให้ลงวันที่ด้วยและคุณขอเวลา เอกสารพวกนี้ก็ต้องขอและบางที่ไม่ยอมให้ด้วย ทั้งๆ ที่เราเป็นเจ้าของรถแต่ขอประวัติการซ่อมรถที่ศูนย์ก็ไม่ให้ตัดสินใจเข้าร่วมกลุ่มเพราะอะไร เข้ามาร่วมกลุ่มกับพวกพี่ๆ เขา เพราะว่าตอนแรกทางศูนย์บอกว่าเราต้องจ่ายเอง หลังจากนั้นเราก็ได้มารวบรวมข้อมูลว่า มันเป็นการเสียต่อเนื่องถึงจะได้สิทธินั้น แต่ถ้าคนที่ไม่ทราบก็ต้องซ่อมทีละ 5 – 6 หมื่น บ้าหรือเปล่า เราคือผู้บริโภคยังต้องผ่อนรถอยู่เลยทั้งๆ ที่การใช้งานของเราไม่ได้สมบุกสมบัน ออกรถมาไม่ถึงปีต้องเปลี่ยนโช้คหลังทั้งซ้ายขวา แล้วทางศูนย์ยังมาถามว่าเจ้าของรถน้ำหนักเท่าไร เลยตอบไปว่ามันเกี่ยวอะไรกันนี่มันรถยนต์ 7 ที่นั่งนะไม่ใช่รถมอเตอร์ไซค์ถึงมาถามว่าเราหนักเท่าไร แล้วก็ถามกลับว่าถามทำไม เขาตอบว่าโช้คพบการรั่วซึมของน้ำมัน นี่เลยทำให้รู้สึกว่าจะมั่นใจได้ไหม รถใหม่ป้ายแดงส่องกระจกหลังทุกวันๆ เริ่มรู้สึกว่าทำไมมองเห็นน้อยลง สรุปกระจกเสื่อม มันลามเข้ามาเหมือนกระจกหมดอายุเลย ทุกวันนี้เริ่มทยอยเสีย กระจกข้างปกติมันพับเก็บได้ ตอนนี้เก็บได้ข้าง ไม่ได้ข้าง บางทีเก็บไปไม่อ้าออก ซึ่งน่าจะเป็นที่มอเตอร์ ทุกอย่างทยอยเสีย แบตเตอรี่ก็ 2 ลูกแล้ว ลูกแรกก่อน 1 ปีแต่เขาบอกว่าด้วยความที่มันเป็น...มันเปลืองแบตฯ ก็ไม่เป็นไรเปลี่ยนที่ศูนย์ พอมาอีกทีให้เปลี่ยนอีกแล้ว คือมีแต่เรื่อง เพราะฉะนั้นเป็นเหตุผลให้เราต้องมาวันนี้เพราะมันเป็นแบบนี้ไง ไม่ใช่การมโนแต่มันเกินที่เราจะอดทนแล้วจริงๆ ทำไมจึงร่วมฟ้องคดี  มีความรู้สึกว่าเราเป็นผู้บริโภค เราก็กลัวนะเพราะเราไม่รู้เรื่องอะไรเลยมีแค่ข้อมูลความเป็นจริงแค่นั้น แต่อยากรู้เพราะว่าไม่ใช่แค่เราคนเดียวแล้วมันเป็นสิทธิของเราด้วย ถ้ามีการยื่นข้อเสนอมาแล้วไปตกลงนั่นก็อีกเรื่อง แต่นี่ไม่ใช่ หนำซ้ำยังฟ้องกลับอีก เดิมเราก็ไม่ได้เรียกร้องจะเอาค่าเสียหายหรืออะไรมาเยอะๆ แต่เราเป็นลูกค้าของเขานะ ซื้อด้วยความที่ชอบและตัดสินใจอย่างดีแต่ผลที่เราได้รับกลับลอยๆ ขึ้นมา และเขาก็ส่งหนังสือกลับมาว่าเสียจากปัจจัยภายนอก ถ้าลูกค้ามีความไม่สบายใจให้นำรถเข้ามาเช็คที่ศูนย์ได้ เนื่องจากว่ามันอาจมีความบกพร่องจากปัจจัยภายนอก เลยถามว่าปัจจัยภายนอกคืออะไร ต้องมีหิมะหรือเปล่า  ตอนนี้อยากให้คนอื่นๆ ที่มีปัญหาอย่างเดียวกัน มาแสดงตัวไม่ใช่อะไรก็ไม่เป็นไร และมูลค่าก็ไม่ใช่ 20 บาท แต่นี่มัน 890,000 บาท เงินเกือบล้านทั้งๆ ที่เรายินดีจ่ายแม้กระทั่งดอกเบี้ยค่างวดรถเราบวกไปแล้วในส่วนที่เรายินดีไม่ใช่ว่ารถต้นแบบแล้วเซลส์ให้ 50 % ถ้าแบบนั้นถือว่าเราก็ยินดีซื้อของเซลส์ แต่นี่เก็บเราเต็มและเราก็ยินดี เลยมีความรู้สึกว่าเราต้องสู้ ต้องลุกขึ้นมาเรียกร้อง ไม่ได้หวังว่าจะต้องชนะหรืออะไรแต่ว่าอยากให้รู้ว่าความถูกต้องมันต้องมี

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 204 ภาพยนตร์ผู้บริโภค

กรณี น.ส.รัตนฉัตร ใช้ขวานทุบรถยนต์ที่จอดขวางประตูหน้าบ้าน บริเวณหมู่บ้านเสรีวิลลา เขตประเวศ จนได้รับฉายาในโลกโซเชียลว่า "ป้าทุบรถ" นำมาสู่การบอกเล่าความทุกข์ตลอด 10 ปี ท่ามกลางตลาดที่รายล้อมรอบบ้านโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ทำให้นึกย้อนถึงหลายเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคในหลายกรณี คุณปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา และครอบครัวที่ปรากฏตัวตนต่อสู้ต่อสาธารณะหลายครั้งหลายหน จนคุณหมอวิชัย โชควิวัฒน์ ให้ฉายาว่า เป็นตัวแสบ หรือนางปีศาจร้ายที่ “เล่นไม่เลิก” แต่ในอีกด้านหนึ่ง คุณปรียนันท์กลายเป็นตำนานของการต่อสู้ที่ยืนหยัดจนถึงปัจจุบัน ให้มีกฎหมายคุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบจากบริการสาธารณสุขทั้งคนไข้และบุคลากรทางการแพทย์เรื่องราวของ “รัตนา สัจจเทพ” หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ “รัตนา บ้านสีดำ” ยังคงอยู่ในใจใครหลายๆ คนมาจนถึงทุกวันนี้ บทบาทนักต่อสู้เพื่อเรียกร้องความถูกต้องจากการเอารัดเอาเปรียบของข้าราชการขี้ฉ้อ เห็นแก่ผลประโยชน์ของตนและพวกพ้อง มากกว่าการทำหน้าที่โดยยึดหลักความถูกต้องเป็นธรรม ได้ก่อให้เกิดกรณี  “บ้านสีดำ” สู่สายตาสาธารณชนในที่สุด กรณีที่ น.ส.เดือนเพ็ญ ศิลาเกษ เจ้าของร้าน "ศิลาเกษ" ซึ่งจำหน่ายเสื้อผ้าย่านพาหุรัด ซื้อรถยนต์ป้ายแดง แต่ปรากฏว่า รถมีปัญหาตั้งแต่ซื้อมาใหม่ๆ เข้าศูนย์ซ่อมมาหลายครั้งหลายหนแล้วก็ไม่หาย ร้องเรียนขอความเป็นธรรมแล้วไม่ได้ผล จนทุบรถเพื่อให้ประชาชนได้รับทราบปัญหาที่เกิดขึ้นกรณีเหล่านี้ สะท้อนภาพการคุ้มครองผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี ว่า การพัฒนาประเทศที่ผ่านมา รัฐสม่ำเสมอกับการคุ้มครองผลกำไรของธุรกิจเอกชน จนละเลยสิทธิของคนเล็กคนน้อย ผู้บริโภค และหลายครั้งรัฐเป็นผู้ละเมิดสิทธิ หรือร่วมมือในการกระทำเหล่านั้นเสียเอง ความยุ่งยากในการแก้ไขปัญหาตั้งแต่จุดเริ่มต้น กระบวนการชดเชยเยียวยา ขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรม ในทุกหน่วยงานที่ต่างมีกำแพงความยุติธรรม สะท้อนความล้มเหลวครั้งแล้วครั้งเล่า และการป้องกันปัญหาภายในประเทศนี้ได้เป็นอย่างดี ทุกคนกว่าจะได้รับความเป็นธรรมในปัญหาของแต่ละคน ต้องดำเนินการที่เกี่ยวข้องจนสามารถสร้างภาพยนตร์จากเรื่องราวเหล่านั้นได้ทุกคน สิ่งหนึ่งที่เป็นรากฐานสำคัญ คงไม่พ้นความรับผิดชอบ ความเที่ยงตรงของหน่วยงานรัฐ การบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเสมอหน้า เกิดขึ้นซ้ำซาก ๆ แต่ยังไม่สามารถเปลี่ยนแปลงหน่วยงานรัฐ และการเรียนรู้จากสังคมไทย เพราะขาดความเด็ดขาดของกระบวนการยุติธรรมร่วมด้วยที่พอจะเกี่ยวข้อง คงเป็นปัญหาบริโภคนิยมที่มากับข่าวสารที่มากมาย รวดเร็ว มีความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทำให้ไม่สามารถรองรับการแก้ไขปัญหาทุกอย่างได้ในขณะเดียวกัน เหมือนอย่างที่ล้อเลียนกัน ว่า ขอบคุณเสือดาวที่ทำให้ปัญหานาฬิกาหายไป หรือขอบคุณป้าที่มาช่วยชีวิตคนฆ่าเสือดาว ทำให้ความรับผิดชอบที่ไม่มากพอของหน่วยงานรัฐทั้งระบบ เงียบหายไป หรือคนที่ลงมือทำเหนื่อยเกินไปจนท้อ และเกิดเรื่องราวใหม่อีกรอบ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 204 ทนายความทิ้งคดี

ผู้บริโภคหลายคนที่ประสบปัญหาด้านคดีความ มักว่าจ้างทนายความให้มาช่วยแก้ต่างให้ ซึ่งต่อให้ไม่ชนะคดี แต่สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่ผู้บริโภคต้องการคือ ความเอาใจใส่ด้านคดีความหรือการทุ่มเทให้กับคดีอย่างเต็มที่ และหากเราพบภายหลังว่าทนายความมีการทิ้งคดี หรือหนีหายจากการทำคดีไปดื้อๆ จะสามารถจัดการปัญหาได้อย่างไรบ้าง ลองไปดูเหตุการณ์นี้กันคุณชูชาติพบว่า มีหลายคนเข้ามาบุกรุกที่ดินของตัวเอง จึงไปว่าจ้างทนายความมาช่วยฟ้องร้องให้ ซึ่งภายหลังส่งเรื่องไปที่ศาล ทนายความก็นัดให้เขาเตรียมตัวขึ้นศาลเพื่อเจรจาไกล่เกลี่ย อย่างไรก็ตามหลังจากนัดแนะวันเวลากันเรียบร้อย ทนายความก็กลับมาบอกว่าศาลเลื่อนนัดและเป็นเช่นนี้อยู่หลายครั้งคุณชูชาติจึงลองเดินทางไปที่ศาลเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงด้วยตนเองและพบว่า ศาลได้พิพากษายกฟ้องคดีของเขาไปนานแล้ว เนื่องจากโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองคนที่เข้ามาบุกรุกให้เป็นคดีเดียวกัน แต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะแยกฟ้องจำเลยเข้ามาใหม่ แต่ทนายกลับไม่ได้ยื่นฟ้องเข้ามาใหม่แต่อย่างใด ส่งผลให้คดีขาดอายุความในที่สุดเมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนี้ คุณชูชาติจึงรู้สึกว่าถูกทิ้งคดี และส่งเรื่องร้องเรียนปัญหาไปยังสภาทนายความ ซึ่งได้รับการตอบกลับมาว่า ทนายความคนดังกล่าวไม่ได้มีสถานภาพเป็นทนายความแล้ว เนื่องจากใบอนุญาตการประกอบอาชีพของเขาได้หมดอายุไปแล้ว และยังไม่มีการยื่นคำขอต่อใบอนุญาตแต่ประการใด อย่างไรก็ตามคุณชูชาติกลับพบชื่อของทนายดังกล่าว ในเครือข่ายสังคมออนไลน์หรือเฟซบุ๊ก (Facebook) ของสภาทนายความประจำจังหวัด ซึ่งเป็นการโพสต์เมื่อเร็วๆ นี้ เพื่อแจ้งรายชื่อบุคคลที่จะดำรงตำแหน่งในสภา ส่งผลให้คุณชูชาติส่งเรื่องมายังศูนย์พิทักษ์สิทธิ์เพื่อขอให้ช่วยตรวจสอบปัญหาแนวทางการแก้ไขปัญหา ตามข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ. 2529 กำหนดให้ทนายความต้องมีมรรยาทต่อตัวความ ซึ่งไม่ควรกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งดังกล่าวต่อไปนี้  เพราะอาจทำให้เสื่อมเสียประโยชน์ของลูกความ คือ 1.จงใจขาดนัด หรือทอดทิ้งคดี 2. จงใจละเว้นหน้าที่ที่ควรกระทำอันเกี่ยวแก่การดำเนินคดีแห่งลูกความของตน  หรือปิดบังข้อความที่ควรแจ้งให้ลูกความทราบ ซึ่งผู้ร้องสามารถร้องเรียนปัญหาไปที่สภาทนายความเพื่อให้มีการตรวจสอบได้ นอกจากนี้หากพบว่าทอดทิ้งคดีจริงและทำให้ผู้ร้องเสียหาย อาจเข้าข่ายผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 420 ที่กำหนดว่า ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่น โดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ผู้นั้นจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนอีกด้วย อย่างไรก็ตามสำหรับในกรณีนี้ศูนย์ฯ ช่วยผู้ร้องทำหนังสือสอบถามข้อเท็จจริงไปยังสภาทนายความอีกครั้ง ซึ่งผลจะเป็นอย่างไรยังคงต้องติดตาม

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 204 ที่นอนยุบตัว

บางครั้งสินค้าก็มีราคาและคุณภาพที่สวนทางกัน ซึ่งสร้างปัญหาให้กับผู้บริโภคอย่างเรา ที่นอกจากจะเสียเงินแล้วยังเสียเวลาในการเปลี่ยนคืนสินค้าอีกด้วย คุณแก้วตาต้องการที่นอนขนาด 6 ฟุต จึงไปเดินเลือกซื้อสินค้าจากห้างสรรพสินค้าเมกาบางนา ต่อมาเมื่อพบยี่ห้อที่ต้องการ เธอจึงตัดสินใจซื้อไปในราคาเกือบ 30,000 บาท แต่หลังจากที่นอนถูกจัดส่งมายังบ้านพักของเธอและใช้งานไปประมาณ 1 สัปดาห์กลับพบว่า ที่นอนดังกล่าวมีลักษณะยุบจมเป็นรอยตามส่วนของลำตัวที่กดทับ ไม่ฟูกลับคืนรูปดังเดิม เธอจึงแจ้งปัญหาไปยังบริษัท ซึ่งส่งพนักงานมาวัดระดับความยุบตัว และพบว่ายุบลงจากปกติจริงประมาณ 5 เซนติเมตร คุณแก้วตาจึงต้องการเปลี่ยนที่นอนใหม่ ซึ่งบริษัทก็ยินดีทำตามข้อเสนอดังกล่าว แต่สามารถจัดส่งสินค้าใหม่ให้ได้ในอีก 2 เดือนหลัง ด้านคุณแก้วตาเห็นว่าไม่มีทางเลือกอื่น จึงต้องยินยอมรับข้อเสนอไป อย่างไรก็ตามเมื่อที่นอนมาส่งใหม่ตามกำหนด เธอกลับพบปัญหาอีกครั้ง เพราะเมื่อจัดที่นอนวางลงบนเตียงแล้วกลับพบว่า ที่นอนที่ถูกนำมาเปลี่ยนให้นี้ มีขนาดต่ำกว่าที่นอนเดิมเยอะมาก ซึ่งไม่ตรงตามขนาดมาตรฐานของสินค้าที่ขาย ส่งผลให้เธอต้องโทรศัพท์กลับไปร้องเรียนยังบริษัทอีกครั้ง และได้การตอบรับว่ายินดีจะเปลี่ยนสินค้าให้อีกรอบเมื่อสินค้ารอบที่ 3 มาถึงและถูกใช้งานไปประมาณ 2-3 วัน คุณแก้วตาก็ต้องพบกับปัญหาเดิมคือ ที่นอนยุบตัวไม่คืนรูปขึ้นมาอีก เธอจึงโทรศัพท์ไปร้องเรียนพร้อมแจ้งว่าไม่ต้องการเปลี่ยนที่นอนใหม่แล้ว แต่ต้องการให้บริษัทคืนเงินทั้งหมดเมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนี้ บริษัทจึงยื่นข้อเสนอว่า เธอสามารถเปลี่ยนที่นอนเป็นรุ่นอื่นได้ในราคาที่สูงกว่า(ให้จ่ายส่วนต่างเพิ่ม) หรือราคาที่ถูกกว่า(ให้ของสมนาคุณทดแทนส่วนต่าง) เพราะทางบริษัทไม่มีนโยบายคืนเงินให้กับลูกค้า แต่คุณแก้วตารู้สึกไม่มีความประทับใจในยี่ห้อนี้อีกต่อไปแล้ว จึงปฏิเสธข้อเสนอทั้งหมดพร้อมยืนยันให้มีการคืนเงินเช่นเดิมภายหลังทางบริษัทจึงตอบกลับมาว่า หากคุณแก้วตาต้องการคืนเงิน จะใช้เวลาในการพิจารณานาน รวมทั้งต้องหักเงินในส่วนค่าของแถมอีกด้วย อย่างไรก็ตามคุณแก้วตาเห็นว่าในส่วนที่จะถูกหักนั้นอยู่ในราคาที่พอรับได้ เธอจึงรับข้อเสนอดังกล่าว แต่ขอให้มีการคืนเงินให้เร็วที่สุด ซึ่งบริษัทแจ้งว่าจะสามารถโอนเงินคืนได้ภายใน 3 สัปดาห์ โดยจะส่งพนักงานมารับสินค้ากลับไปก่อน ทั้งนี้เมื่อคุณแก้วตาสอบถามต่อว่า หากพนักงานมารับสินค้าแล้ว จะมีเอกสารหรือหลักฐานเพื่อยืนยันว่าจะได้รับเงินคืนภายในระยะเวลาที่ตกลงกันไว้หรือไม่ กลับได้รับคำตอบว่าทางบริษัทไม่มีให้และไม่เคยเกิดเหตุการณ์โกงเงินลูกค้าขึ้น ส่งผลให้คุณแก้วตากังวลว่าอาจไม่ได้รับเงินคืนภายในระยะเวลาที่กำหนด และไม่ยินยอมให้พนักงานมารับที่นอนกลับไป พร้อมส่งเรื่องมายังศูนย์พิทักษ์สิทธิ์เพื่อขอคำแนะนำแนวทางการแก้ไขปัญหาสำหรับในกรณีสินค้าชำรุดบกพร่อง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 472 กำหนดให้ทรัพย์สินที่ชำรุดบกพร่องอย่างหนึ่งอย่างใด อันเป็นเหตุให้เสื่อมราคาหรือเสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์อันมุ่งจะใช้เป็นปกติก็ดี ประโยชน์ที่มุ่งหมายโดยสัญญาก็ดี ผู้ขายต้องรับผิดชอบ ไม่ว่าจะรู้อยู่แล้วหรือไม่รู้ว่าความชำรุดบกพร่องมีอยู่ก็ตาม หรือกรณีที่ความชำรุดบกพร่องไม่เห็นประจักษ์ในเวลาส่งมอบ ซึ่งจะเห็นความชำรุดบกพร่องเมื่อใช้ไปได้สักระยะหนึ่งแล้ว ผู้ร้องก็สามารถเรียกให้บริษัทรับผิดชอบในความเสียหายที่เกิดขึ้นได้ โดยสิทธิของผู้ซื้อเมื่อทรัพย์สินนั้นชำรุดบกพร่อง คือ 1. สิทธิเรียกร้องให้ผู้ขายแก้ไขความชำรุดบกพร่อง 2. สิทธิยึดหน่วงราคาทั้งหมดหรือแต่บางส่วน 3. สิทธิบอก (ปัด) เลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหาย เงินมัดจำชำระหนี้บางส่วน ทั้งนี้หลักฐานที่สามารถใช้ยืนยันหากพบว่า บริษัทไม่คืนเงินภายในระยะเวลาที่กำหนดได้นั้น สามารถเป็นเอกสารการรับสินค้าก็ได้ ซึ่งพนักงานจะนำมาให้ผู้ร้องลงลายมือชื่อเมื่อรับสินค้ากลับไป 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 204 ประกันชีวิตแบบออมทรัพย์

เพราะการทำประกันชีวิตมีมากมายหลายแบบ ซึ่งมีลักษณะความคุ้มครองและผลประโยชน์แตกต่างกันออกไป ผู้บริโภคจึงควรศึกษารายละเอียดของประกันให้ดีก่อนตัดสินใจ เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาด ดังเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับผู้ร้องรายนี้คุณธนพรได้รับการเชิญชวนให้ทำประกัน จากพนักงานของบริษัทกรุงไทยแอกซ่าประกันชีวิต เธอจึงแจ้งความประสงค์ไปว่าต้องการทำประกันชีวิตแบบออมทรัพย์ ซึ่งพนักงานได้ตอบกลับมาว่ามีประกันชีวิตที่มีลักษณะคล้ายการออมแบบที่เธอต้องการ โดยเมื่อครบ 5 ปีจะได้เงินคืนพร้อมดอกเบี้ย และที่สำคัญที่สุดคือลดเบี้ยประกันปีแรกอีก 10,000 บาท ทั้งนี้นอกจากข้อมูลที่ได้กล่าวไปเบื้องต้นแล้ว พนักงานได้แจ้งรายละเอียดอื่นๆ เพิ่มเติมอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งเธอไม่ค่อยเข้าใจมากนัก แต่ก็ยินดีตกลงทำประกันดังกล่าว และตัดสินใจใช้บัตรเครดิตชำระค่าเบี้ยประกันไปจำนวน 40,000 บาทอย่างไรก็ตามเมื่อคุณธนพรถึงบ้าน และอ่านเอกสารการทำประกันที่ได้รับมากลับพบว่า ไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ที่เธอต้องการ เพราะประกันดังกล่าวจะสามารถได้รับเงินออมต่อเมื่อผู้ทำประกันเสียชีวิตไปแล้วเท่านั้น ในขณะที่เธอต้องการเพียงแค่ออมทรัพย์ไว้และได้รับเงินคืนพร้อมดอกเบี้ยในช่วงระยะเวลาที่กำหนด เพื่อเอาไว้เป็นค่าใช้จ่ายยามชราภาพ ดังนั้นเมื่อเหตุการณ์เป็นนี้ คุณธนพรจึงโทรศัพท์มายังศูนย์พิทักษ์สิทธิ์เพื่อขอคำปรึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาในกรณีนี้เมื่อผู้ร้องพบว่ากรมธรรม์ไม่ตรงกับที่พูดคุยเอาไว้ หรือไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการก็สามารถยกเลิกประกันได้ภายในกำหนดเวลาและได้เงินค่าเบี้ยประกันคืนทั้งหมด ตามประกาศของคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ที่กำหนดให้บอกเลิกสัญญาภายได้ใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ผู้เอาประกันภัยได้รับกรมธรรม์ประกันภัยจากบริษัท หรือมากกว่า 15 วัน ขึ้นกับแบบกรมธรรม์ประกันภัยที่มีการเสนอขาย ซึ่งภายหลังศูนย์ฯ ได้ช่วยผู้ร้องทำจดหมายยกเลิกสัญญา และจดหมายปฏิเสธการชำระหนี้ของบัตรเครดิต และเมื่อได้รับเงินคืนเรียบร้อย ผู้ร้องก็ยินดียุติการร้องเรียน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 204 เครื่องพิมพ์ไม่มีหัวพิมพ์

ผู้บริโภคหลายคนที่ชื่นชอบการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ อาจลืมอ่านรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ของสินค้าและตัดสินใจซื้ออย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาตามมาได้ ดังเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับผู้ร้องรายนี้คุณโจนาธานต้องการเครื่องพิมพ์ใหม่ จึงตัดสินใจเลือกสินค้าผ่านเว็บไซต์ขายของออนไลน์ที่เคยซื้ออยู่แล้วเป็นประจำ โดยภายหลังพบสินค้าที่ต้องการ เขาจึงตัดสินใจซื้อและชำระเงินจำนวนกว่า 2,000 บาทไปอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตามเมื่อได้รับสินค้า เขากลับพบว่าเครื่องพิมพ์ดังกล่าว ไม่สามารถพิมพ์ได้ เพราะไม่มีหัวพิมพ์และหมึกมาให้ ซึ่งเขาคิดว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคและต้องการเปลี่ยนคืนสินค้า จึงส่งเรื่องมาขอคำแนะนำที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิ์แนวทางการแก้ไขปัญหาศูนย์พิทักษ์สิทธิ์ช่วยผู้ร้องติดต่อไปยังเว็บไซต์ขายของออนไลน์ดังกล่าว ซึ่งพนักงานได้ตอบกลับมาว่า สินค้าที่ผู้ร้องสั่งซื้อนั้น หน้าเว็บไซต์ระบุว่าเป็นเพียงอะไหล่ของเครื่องพิมพ์ จึงไม่มีหัวพิมพ์มาให้ อย่างไรก็ตามในกรณีหมึกพิมพ์นั้น ไม่มีการระบุหน้าเว็บไซต์ว่าไม่มีหมึกพิมพ์ ดังนั้นทางเว็บไซต์จะช่วยเยียวยาผู้ร้องด้วยการมอบบัตรกำนัลส่วนลดให้จำนวน 500 บาท สำหรับการซื้อสินค้าอื่นๆ ในครั้งถัดไป ด้านผู้ร้องยินดีรับข้อเสนอดังกล่าวและขอยุติการร้องเรียน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 204 ถึงคราผู้หลอกลวงจะทวงคืน

นักคุ้มครองผู้บริโภคหลายท่านเล่าให้ฟังว่าเดี๋ยวนี้ ผู้จำหน่ายสินค้าทั้งหลายก็มีการปรับกลยุทธ์ หรือมีเทคนิคการเอาตัวรอดมากขึ้นเช่นกัน  ลองดูกลยุทธ์ของพวกเขา เพื่อเราจะได้เท่าทัน 1. ตาต่อตาฟันต่อฟัน : ผู้จำหน่ายสินค้าหลายรายเริ่มหันมาเผยแพร่ข้อมูลตอบโต้นักคุ้มครองผู้บริโภคกันตรงๆ แบบแลกหมัด เช่น เปิดเฟซบุ๊คด่าเจ้าหน้าที่ อ้างว่าผลิตภัณฑ์สินค้าของตนปลอดภัย รุ่นที่ผู้บริโภคนำไปให้เจ้าหน้าที่ตรวจเป็นของปลอม นอกจากนี้ยังอ้างว่า ตนทำมาหากินบริสุทธิ์เลี้ยงพ่อเลี้ยงแม่ หาเงินเป็นทุนการศึกษาก็ถูกกลั่นแกล้ง 2. เข้าพบหัวหน้า อ้างอิงคนใหญ่คนโต : ผู้จำหน่ายสินค้าบางรายจะใช้วิธีอ้างอิงคนใหญ่คนโตที่มีอิทธิพลในสังคม และขอเข้าพบหัวหน้าหรือผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่หรือผู้บริโภค อ้างว่าตนได้รับผลกระทบจากการทำงานของผู้บริโภคหรือเจ้าหน้าที่  3. ใช้รูปถ่ายอวดบารมีข่มขวัญ : บางรายก็จะงัดเอารูปที่ตนเองถ่ายกับคนใหญ่คนโตมาโชว์ เพื่อให้นักคุ้มครองผู้บริโภคหรือเจ้าหน้าที่ยำเกรง บางรายก็ทำทีเป็นเข้ามาพบผู้ใหญ่เพื่อมาชี้แจงหรือขอคำแนะนำเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้น แล้วก็ถือโอกาสขอถ่ายรูปคู่ด้วย สุดท้ายก็เอารูปไปโชว์หลอกชาวบ้านว่า ตนได้เข้าพบผู้ใหญ่แล้ว ผู้ใหญ่รับทราบว่าปลอดภัย วิธีนี้ผู้ใหญ่บางคนเคยเสียมวยไม่ทันเกม โดนเด็กหลอกมาแล้ว  4. ส่งหนังสือขอให้แก้ข่าว : ผู้ผลิตหลายรายเริ่มฉลาด เมื่อถูกตรวจพบสารอันตราย ก็จะงัดเอกสารหลักฐานผลการตรวจวิเคราะห์ของตนเองออกมาต่อสู้ โดยอ้างว่าผลิตภัณฑ์ที่ตนตรวจทำไมไม่เจอ เจ้าหน้าที่อาจไปเจอของปลอมก็ได้ บางรายหัวหมอทำทีไปแจ้งความว่า มีคนปลอมผลิตภัณฑ์ของตน เพื่อแสดงให้เห็นว่าตนบริสุทธิ์และขอให้หน่วยงานแก้ข่าวให้ตนด้วย หากหน่วยงานไหนไม่เท่าทันก็จะหลวมตัวไปแก้ข่าวให้ สุดท้ายผู้ผลิตก็ใช้ข่าวที่หน่วยงานแก้ให้ไปแสดงประกอบการขายอีก งานนี้เลยไม่รู้ว่าใครโง่ ใครฉลาดกว่ากันเจอไป 4 กลยุทธ์ อย่าเพิ่งกังวล หากจะสู้กับผู้ผลิตที่หลอกลวงและหัวหมอแบบนี้ สิ่งสำคัญที่สุดคือเราต้องเก็บให้ครบถ้วนชัดเจน เช่น เมื่อเจอผลิตภัณฑ์ที่อันตราย พยายามคงสภาพเดิมให้มากที่สุด อย่าแบ่งถ่ายใส่ขวดอื่น  บันทึกรายละเอียดต่างๆ ให้ละเอียดมากที่สุด เช่น ผลิตภัณฑ์อะไร พบอะไร จำหน่ายที่ไหน โฆษณาอย่างไรคนที่ซื้อไปใช้มีอาการผิดปกติหรือไม่ ตรงนี้ถ้าเก็บข้อมูลได้เยอะยิ่งดีพยายามหาพยานบุคคลมารับรู้พร้อมๆ กับเรา เช่น นักข่าว หรือถ้าได้เจ้าหน้าที่ของรัฐมาเป็นพยานรับรู้ก็ยิ่งดีหากจะต้องนำส่งตรวจวิเคราะห์ต้องปิดผนึกให้มิดชิด เพื่อกันข้อครหาว่าเราสลับสินค้า และควรเก็บผลิตภัณฑ์ตามสภาพที่เหมาะสมของแต่ละชนิด เช่น แช่เย็น เก็บให้พ้นแสง ฯลฯ เพื่อไม่ให้ผู้ผลิตอ้างได้ว่าผลิตภัณฑ์เสียหายระหว่างทางหากเรามีข้อมูลชัดเจนแล้ว เมื่อต้องชี้แจงหัวหน้าหรือผู้บังคับบัญชาก็จะง่ายขึ้นในกรณีที่พบว่าผู้ผลิตลงข้อมูลตอบโต้เราในโลกโซเชี่ยล ขอให้เก็บบันทึกข้อมูลให้ละเอียด และหากจำเป็นเราอาจต้องใช้ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ จัดการกับพวกนี้ได้

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 204 ค้างค่าส่วนกลางห้องชุดเจ้าของห้องต้องระวัง

ครั้งนี้ก็มีเรื่องกฎหมายสำคัญใกล้ตัวผู้บริโภคที่จะเอามาแบ่งปันอีกเช่นเคย  แต่จะขอเน้นไปที่เรื่องของผู้อยู่อาศัยในแนวดิ่งหรือ คอนโดมิเนียม ที่เมื่อเราเข้าอยู่แล้ว จะมีค่าใช้จ่ายต่างๆ ตามมามากมาย หนึ่งในนั้นคือ ค่าส่วนกลาง ที่แน่นอนว่าเจ้าของห้องชุดทุกคนต้องจ่าย  แต่ก็พบว่าในหลายที่ นิติบุคคลอาคารชุดแทนที่จะไปฟ้องร้องใช้สิทธิตามกฎหมายเพื่อเรียกค่าส่วนกลางจากเจ้าของห้อง กลับไปออกระเบียบข้อบังคับบีบให้ลูกบ้านอื่นๆ เสียสิทธิในการใช้ที่อยู่อาศัยตามปกติ เช่นนี้ ศาลเคยมีคำพิพากษาศาลฎีกาตัดสินไว้แล้ว ว่าทำไม่ได้ อย่างเช่น การออกระเบียบข้อบังคับที่จะไม่ส่งมอบบัตรผ่านประตูนิรภัยให้แก่เจ้าของห้องชุด ซึ่งค้างชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลาง เช่นนี้ถือว่าไปจำกัดสิทธิในการใช้สอยทรัพย์บุคคลเป็นการทำผิดกฎหมาย คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8512/2553โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ห้องชุด ซึ่งเป็นทรัพย์ส่วนบุคคลตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 4 โจทก์ในฐานะเจ้าของทรัพย์สินย่อมมีสิทธิตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 แม้นิติบุคคลอาคารชุดจำเลยที่ 1 มีหน้าที่รับผิดชอบจัดการและดูแลรักษาทรัพย์ส่วนกลางของอาคารชุดพิพาทและการออกระเบียบข้อบังคับของจำเลยที่ 1 อันเป็นประโยชน์ต่อเจ้าของร่วมเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของอาคารชุดตามข้อบังคับของจำเลยที่ 1 ข้อ 7 (1) (5) แต่ตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 33 วรรคสอง จำเลยที่ 1 มีสิทธิเพียงจัดการและดูแลรักษาทรัพย์ส่วนกลางและมีอำนาจกระทำการใดๆ เพื่อประโยชน์ตามมติของเจ้าของร่วมเท่านั้น ไม่มีอำนาจกระทำการใดเป็นการรบกวนสิทธิหรือเสื่อมความสะดวกในการใช้ทรัพย์ส่วนบุคคลของเจ้าของร่วม แม้โจทก์ค้างชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลางต่อจำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 1 ก็ชอบที่จะไปว่ากล่าวเป็นอีกคดีต่างหาก มิใช่ออกระเบียบเพื่อบังคับโจทก์ให้ต้องปฏิบัติตามระเบียบที่จำเลยที่ 1 กำหนดโดยหลีกเลี่ยงการที่จะฟ้องร้องบังคับคดีตามกฎหมาย การออกระเบียบข้อบังคับที่จะไม่ส่งมอบบัตรผ่านประตูนิรภัยให้แก่โจทก์ซึ่งค้างชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลางอันทำให้โจทก์เสื่อมเสียสิทธิในการใช้สอยทรัพย์ส่วนบุคคล จึงไม่สามารถบังคับเอาแก่โจทก์ได้ การที่จำเลยที่ 1 ทำประตูนิรภัยปิดกั้นและไม่ยอมมอบบัตรผ่านประตูนิรภัย จึงเป็นการรบกวนสิทธิและทำให้เสื่อมความสะดวกแห่งสิทธิของโจทก์ในฐานะเจ้าของร่วมในอันที่จะเข้าไปใช้ทรัพย์ส่วนบุคคล ถือว่าเป็นการจงใจทำละเมิดต่อโจทก์อีกตัวอย่าง เป็นเรื่องการงดจ่ายน้ำประปา แม้การจ่ายน้ำประปานั้นจะต้องใช้อุปกรณ์บางส่วนที่เป็นทรัพย์ส่วนกลางก็ตาม นิติบุคคลก็ไม่สามารถทำได้ หากทำเป็นการละเมิด นอกจากนี้ ศาลก็มีการกล่าวเตือนถึงเจ้าของห้องชุดเช่นกัน กรณีนิติบุคคลไม่เอาเงินที่จ่ายไปดูแลทรัพย์ส่วนกลาง ไปหาประโยชน์มิชอบอื่น เจ้าของห้องชุดเองก็ไม่มีสิทธิที่จะไม่จ่ายค่าส่วนกลาง ต้องไปว่ากล่าวดำเนินคดีต่างหาก ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10230/2553คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10230/2553ค่าใช้จ่ายส่วนกลางนั้น เป็นหนี้ที่เกิดตามกฎหมาย พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 18 ที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะ ไม่ได้เกิดขึ้นจากการทำสัญญาระหว่างกัน และเป็นหนี้เงิน ซึ่งตาม ป.วิ.พ.ได้บัญญัติหลักเกณฑ์การบังคับชำระหนี้โดยการใช้สิทธิทางศาลเพื่อให้พิจารณาพิพากษาบังคับให้ลูกหนี้ชำระหนี้ และตามพ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 ก็ไม่ได้บัญญัติให้จำเลยทั้งสองบังคับชำระหนี้โดยวิธีอื่นหรือโดยพลการ นอกจากนี้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของห้องชุดย่อมมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนบุคคลของตนในอาคารชุด และมีกรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพย์ส่วนกลางด้วย ตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 13 วรรคหนึ่ง จึงมีสิทธิใช้สอยทรัพย์ส่วนกลางที่มีกรรมสิทธิ์ร่วมนั้นด้วย ย่อมไม่ชอบที่จำเลยที่ 1 จะใช้วิธีการขัดขวางการใช้ทรัพย์สินส่วนกลางของโจทก์เพื่อเป็นมาตรการบังคับให้โจทก์ชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลาง อันเป็นการละเมิดต่อสิทธิในทรัพย์สินของโจทก์โดยพลการโจทก์ไม่ชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลางเพราะจำเลยที่ 1 นำเงินไปใช้จ่ายโดยพลการ โจทก์ก็ต้องว่ากล่าวดำเนินคดีเอาแก่จำเลยที่ 1 เพื่อไม่ให้กระทำเช่นนั้นหรือให้ชำระค่าเสียหาย ไม่เป็นเหตุโดยชอบที่โจทก์จะอ้างขึ้นเพื่อไม่ปฏิบัติตามกฎหมายในการชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลาง

อ่านเพิ่มเติม >