ฉบับที่ 211 กระแสต่างแดน

ค่าาเข้าชม  ผู้บริโภครายหนึ่งตื่นเต้นกับโฆษณาขายบ้านในอินเทอร์เน็ต โอ้ว... บ้านหลังโตพร้อมระเบียงกว้างใหญ่ในเขตเมืองเอช รัฐบาเซิล-ลันด์ชัฟท์ ประกาศขายในราคาเพียง 300,000 ฟรังก์สวิส (ประมาณ 10 ล้านบาท) เธอจึง “คลิก” แสดงความสนใจ  จากนั้นเจ้าของบ้าน ซึ่งเป็นแพทย์ชาวสเปนชื่อแคทาลีนา ตอบกลับมาว่าเธอได้มอบอำนาจให้บริษัทอสังหาริมทรัพย์ Partner Real Estate เป็นนายหน้าดูแลเรื่องการขาย  ต่อมา “ลอร่า วัตสัน” ตัวแทนขายก็โทรมาแจ้งว่าหากเธอต้องการ “เข้าชมบ้าน” ก็ให้ชำระเงิน 12,000 ฟรังก์(ประมาณ 4 แสนบาท) เข้ามาก่อน โดยย้ำชัดเจนว่าไม่ใช่ค่ามัดจำ  มันชักจะยังไง ลูกค้ารายนี้ลองหาข้อมูลผ่านเว็บกูเกิล แต่ก็ไม่พบชื่อของคุณหมอคนดังกล่าวในโรงพยาบาลที่อ้างว่าทำงานอยู่ เธอจึงแจ้งต่อหน่วยงานที่รับผิดชอบ  การสืบสวนพบว่า PRE เป็นบริษัทกำมะลอที่นำโฆษณาขายบ้านจากเว็บที่ประกอบธุรกิจถูกต้องตามกฎหมาย มาใส่ในเว็บตัวเองแล้วสวมรอยเป็นตัวแทนขายโดยเจ้าของตัวจริงไม่รู้เรื่องเลยเที่ยวบินบูมเมอแรง  เบอลินมีท่าอากาศยานสองแห่ง ทางตอนเหนือและทางตอนใต้ของเมือง แต่ไม่มีใครเดินทางระหว่างสองสนามบินนี้ด้วยเครื่องบิน... ยกเว้นผู้โดยสารกลุ่มนี้  เที่ยวบินของสายการบินอีซี่เจ็ทจากท่าอากาศยาน Tegel ตอนเหนือของเบอลินไปยังเมืองซูริคสวิตเซอร์แลนด์ มีกำหนดออกเดินทางเวลา 21:20 น. แต่ด้วยเหตุขัดข้องทางเทคนิค กว่าจะขึ้นบินได้ก็เลย 23:00 น. ไปแล้ว  สนามบินปลายทางมีช่วงเวลาเคอฟิวระหว่าง 23:30 น. และ 06:00 น. แต่กัปตันก็มั่นใจว่ามีการประสานงานกับเจ้าหน้าที่ให้สามารถนำเครื่องลงได้เป็นกรณีพิเศษ โชคร้าย... กัปตันเข้าใจผิด  ว่าแล้วก็เตรียมบินกลับที่เดิม แต่เวลานั้นสนามบิน Tegel ปิดแล้ว กัปตันจึงต้องนำเครื่องไปลงที่สนามบิน Schönefeld ทางตอนใต้ของเบอลิน ซึ่ง ณ เวลานั้นมีแท็กซี่ให้บริการอยู่เพียง 5 คัน สร้างความเพลียจิตให้กับผู้โดยสารทั้ง 200 คนมิใช่น้อยไม่ชอบเรียนซ้ำ  ปีการศึกษา 2018-2019 ฮานอย โฮจิมินห์ และเมืองใหญ่อื่นๆ เริ่มต้นด้วยเสียงบ่นของพ่อแม่ผู้ปกครองที่หงุดหงิดเพราะหาซื้อหนังสือเรียนให้ลูกหลานไม่ได้  รัฐบาลเวียดนามลดจำนวนการพิมพ์หนังสือเรียนลงเรื่อยๆ โดยส่งเสริมให้นักเรียนใช้หนังสือมือสองที่รุ่นพี่ฝากไว้กับโรงเรียน เพราะแต่ละปีมีหนังสือเรียนหลายร้อยล้านเล่ม (คิดเป็นมูลค่าแล้วไม่ต่ำกว่าหมื่นล้านดอง) ถูกวางทิ้งไว้เฉยๆ   แม้ทางการจะยืนยันว่าเนื้อหาสาระในเล่มไม่ได้เปลี่ยน หนังสือเรียนมือสองก็ยังไม่เป็นที่ยอมรับ มีผู้วิเคราะห์ว่าเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นทำให้พ่อแม่อยากซื้อหนังสือใหม่ให้ลูก ที่สำคัญราคาหนังสือเรียนในเวียดนามก็ถูกมาก (ชุด 6 เล่มสำหรับเด็กประถมราคาไม่เกิน 108 บาท/ ชุด 13 เล่มสำหรับ ม.ต้น ไม่เกิน 200 บาท และชุด 14 เล่มสำหรับ ม.ปลาย ไม่เกิน 220 บาท)   เวียดนามเป็นหนึ่งในประเทศที่ผู้ปกครองจ่ายค่าหนังสือและอุปกรณ์การเรียนมากที่สุด ข้อมูลระบุว่าปีนี้พวกเขาจ่ายไปเกือบหนึ่งในสามของเงินเดือนอยากดังต้องดี  จีนประกาศผลการจัดอันดับความรับผิดชอบต่อสังคมของบุคคลในวงการบันเทิง ว่ากันว่านอกจากหน้าตาและความสามารถแล้ว “ความดีงาม” จะทำให้คุณไปได้ไกลในจีนแผ่นดินใหญ่  จากนักร้องนักแสดงเชื้อสายจีนทั้งหมด 100 คน มีเพียง 9 คนเท่านั้นที่ผ่านเกณฑ์ว่าด้วยผลงานการแสดง การร่วมงานการกุศล และการเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับสังคม  อันดับหนึ่งเป็นของ สวี เจิง ดารานำจากภาพยนตร์ตลกเคล้าดราม่า Dying to Survive ที่พูดถึงความพยายามในการเสาะหายาราคาถูกให้กับผู้ป่วยมะเร็ง (หนังเรื่องนี้ทำรายได้แซง จูราสสิก เวิลด์ และทำให้รัฐบาลจีนประกาศลดค่ายารักษามะเร็งด้วย)  อันดับสองและสามได้แก่ สมาชิกวงบอยแบนด์ TFBoys ที่โดดเด่นด้านงานการกุศล  ส่วนดาราสาว ฟ่าน ปิงปิง แม้จะโด่งดังและ “อินเตอร์” ที่สุด แต่เธอเข้ามาที่โหล่เพราะกำลังถูกทางการสอบสวนในข้อหาเลี่ยงภาษีนั่นเองสงครามราคา  ในอังกฤษ โดยเฉลี่ยแล้วค่าใช้จ่ายในการจัดงานศพอยู่ที่ 4,271 ปอนด์(ประมาณ 184,000 บาท) แต่ธุรกิจรับจัดงานศพเป็นธุรกิจที่ไม่มีการควบคุมเรื่องราคา บริการนี้จึงค่อนข้างแพงและมักไม่ชัดเจนว่าผู้ซื้อบริการจะได้อะไรบ้าง หน่วยงานกำกับดูแลตลาดและการแข่งขันจึงเริ่มสืบสวนหาข้อเท็จจริงเรื่องต้นทุนและความโปร่งใสในการทำธุรกิจของบริษัทเหล่านี้ ระหว่างที่รอผล เรามีคู่มวยเด็ดให้ชมไปพลางๆ ... Co-op (ผู้ประกอบการที่มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 16) ออกแพคเก็จ “พิธีศพแบบเรียบง่าย” ในราคาที่ถูกกว่าคู่แข่งที่เน้นความหรูหราอย่างบริษัท Dignity   Dignity (ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 12) ไม่ยอมแพ้ ประกาศลดราคาแพคเก็จบริการของตัวเองลงมาเช่นกัน แต่ Co-op ก็ตอบโต้ด้วยการลดราคาแพคเก็จที่ถูกที่สุดลงจากเดิมอีก 100 ปอนด์  หุ้นของ Dignity ตกฮวบฮาบเพราะนักวิเคราะห์ระบุว่าหากจะสู้ราคากับ Co-op ให้ได้บริษัทจะต้องยอมขาดทุนกำไรประมาณ 1.5 ล้านปอนด์

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 209 สูบบุหรี่ไฟฟ้าอันตรายน้อยกว่า จริงหรือ ?

จากผลสำรวจ ปี 2560 พบประชากรไทย ราว 10.7 ล้านคน บริโภคยาสูบ(ชนิดมีควัน) หรือเท่ากับ ร้อยละ 19.1 ของประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป อันตรายจากการสูบบุหรี่จากผลสำรวจสถิติการสูบบุหรี่ของคนไทย จากโครงการสำรวจการบริโภคยาสูบในผู้ใหญ่ ปี 2560 พบว่า จำนวนผู้บริโภคยาสูบชนิดมีควัน คือ 10.7 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 19.1 ของประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป โดยมีอัตราการบริโภคยาสูบในเพศชายร้อยละ 37.7 และในเพศหญิงร้อยละ 1.7และจากการสำรวจการได้รับควันบุหรี่มือสองในช่วงระยะเวลา 30 วัน พบว่า 17.3 ล้านคน ได้รับควันบุหรี่มือสองในบ้านอย่างน้อยเดือนละครั้งการสูบบุหรี่เพิ่มโอกาสในการเป็นโรคมะเร็งปอด โรคถุงลมโป่งพอง หญิงมีครรภ์ที่สูบบุหรี่มีโอกาสแท้งลูกมากขึ้น และเด็กที่คลอดออกมาอาจมีน้ำหนักน้อยกว่าปกติ นอกจากนี้การสูบบุหรี่ยังเพิ่มโอกาสของอาการหัวใจวาย และโรคมะเร็งประเภทอื่นๆ อีกด้วยโอกาสที่จะเป็นโรคมะเร็งปอดจากการสูบควันนั้นไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับลักษณะของการสูบ สารที่สูบ และความถี่ จากสถิติพบว่า คนที่สูบบุหรี่มีโอกาสที่จะเป็นโรคมะเร็งปอดประมาณ 10 - 20 เท่าของคนที่ไม่สูบบุหรี่ การสูดสารพิษและสารก่อมะเร็งจากควันบุหรี่ เช่น เรดอนและเรเดียม-226 เชื่อว่าเป็นสาเหตุหลักของการเกิดมะเร็งจากบุหรี่ธรรมดาสู่บุหรี่ไฟฟ้าจากการให้ข้อมูลที่ชัดเจนทั้งในทางสถิติและคำเตือนที่หน่วยงานรัฐได้พยายามแจ้งสื่อสารต่อประชาชนมาเป็นเวลาหลายสิบปี ทุกคนน่าจะตระหนักดีถึงอันตรายอันร้ายแรงของการสูบบุหรี่ อย่างไรก็ตามผู้ที่เสพติดการสูบบุหรี่ การละเลิกจากสิ่งนี้อาจเป็นเรื่องที่ไม่ง่าย นวัตกรรมหนึ่งจึงเกิดขึ้น เราเรียกมันว่า “บุหรี่ไฟฟ้า” หรือให้ถูกต้องคือ “ยาสูบอิเล็กทรอนิกส์” ซึ่ง “ฉลาดซื้อ” เราจะมาหาคำตอบกันว่า การสูบบุหรี่ไฟฟ้าอันตรายน้อยกว่าการสูบบุหรี่(ธรรมดา) จริงๆ หรือ ยาสูบอิเล็กทรอนิกส์มีอันตรายน้อยกว่าบุหรี่ทั่วไป จริงหรือ ?   คำตอบคงต้องแบ่งเป็นสองประการ คือ ถ้าจะวัดกันที่ว่า บุหรี่ไฟฟ้าไม่ปล่อยควันยาสูบที่เป็นอันตราย บุหรี่ไฟฟ้า อันตรายตรงนี้น้อยกว่าจริง   แต่ประเด็นที่ต้องพิจารณาต่อมาคือ ผู้สูบบุหรี่ไฟฟ้าอาจได้รับมีสารตกค้าง และความเสี่ยงในการรับนิโคตินมากเกินไปบุหรี่ไฟฟ้าได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ โดยเฉพาะจากบริษัทบุหรี่ว่า อาจไม่มีความปลอดภัยในการใช้ นอกจากนี้บริษัทยาขนาดใหญ่ที่สนใจเกี่ยวกับยาเพื่อการเลิกสูบบุหรี่ เช่น แผ่นแปะนิโคติน หรือเม็ดอมนิโคติน ได้ให้การสนับสนุนทางการเงินอย่างเป็นธูปธรรมต่อกลุ่มสาธารณสุขเพื่อเรียกร้องให้มีการห้ามยาสูบอิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากยาสูบอิเล็กทรอนิกส์มีผลต่อความอยากบุหรี่ และอาจทำให้เลิกบุหรี่ได้ บุหรี่ไฟฟ้าเป็นเครื่องมือทางการแพทย์และได้รับการยอมรับในหลายประเทศ แต่ก็เป็นสินค้าผิดกฎหมายในอีกหลายประเทศเช่นกันในประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุขได้มีมาตรการห้ามนำบุหรี่ไฟฟ้าเข้ามาจำหน่ายในประเทศโดยใช้กฎหมาย 3 ฉบับ ได้แก่ - พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2535 มาตรา 10 เรื่องห้ามผลิต นำเข้า เพื่อขายหรือเพื่อจ่ายแจกเป็นการทั่วไปหรือโฆษณาสินค้าอื่นใดที่มีรูปลักษณะ ที่ทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นสิ่งเลียนแบบผลิตภัณฑ์ยาสูบประเภทบุหรี่ซิการ์แรต หรือบุหรี่ซิการ์ มีโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท - พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510  มาตรา 12 ห้ามมิให้ผู้ใดผลิต ขาย หรือนำ หรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักร ซึ่งยาแผนปัจจุบัน เว้นได้แต่ได้รับอนุญาตฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 10,000 บาท และมาตรา 72 ห้ามมิให้ผู้ใดผลิตขาย หรือนำเข้า หรือสั่งนำเข้ายาที่มิได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา มาในราชอาณาจักร ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 20,000 บาท - พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ผู้ใดนำหรือพาของที่ยังมิได้เสียค่าภาษีหรือของต้องจำกัดหรือของต้องห้าม หรือที่ยังมิได้ผ่านศุลกากรโดยถูกต้อง เข้ามาในราชอาณาจักรสยาม ความผิดครั้งหนึ่งจะมีโทษปรับเป็นเงิน 4 เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรขาเข้าด้วยแล้ว หรือจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือทั้งปรับทั้งจำโดยกระทรวงสาธารณสุขอ้างว่า พบปริมาณนิโคตินสูงกว่าบุหรี่ทั่วไปหลายเท่า และมีผลเสียต่อผู้ที่สูบ หากสูบบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ 1 มวน จะเท่ากับสูบบุหรี่ทั่วไปถึง 15 มวน หากนำไปใช้โดยปราศจากการดูและของแพทย์จะเป็นอันตรายต่อหัวใจและหลอดเลือดได้ขณะเดียวกันผู้ใช้ยาสูบอิเล็กทรอนิกส์ก็มีการโต้แย้งว่าบุหรี่จริง มีนิโคตินที่ได้รับจากการเผาไหม้ใบยาสูบ ซึ่งนอกจานิโคตินแล้ว ยังมีสารก่อมะเร็งและสารพิษมากมายปัจจุบันในสังคมไทยยังไม่อนุญาตให้นำเข้าบุหรี่ไฟฟ้า และไม่ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลกประกาศแล้วว่าบุหรี่ไฟฟ้า ไม่ใช่อุปกรณ์ช่วยเลิกบุหรี่ จากผลการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ JAMA ชี้ว่า การใช้บุหรี่ไฟฟ้า (e-cigarette) ไม่ได้ทำให้อัตราการเลิกบุหรี่ลดลง หลังจากการใช้ 1 ปี แต่อย่างใดแม้ว่ายาสูบอิเล็กทรอนิกส์จะปราศจากส่วนผสมของใบยาสูบ และการสันดาปที่ก่อให้เกิดสารพิษกว่า 7,000 ชนิด ในบุหรี่จริงก็ตาม แต่ผู้สูบยังคงได้รับนิโคตินอยู่ ซึ่งการรับนิโคตินที่มากเกินไปอาจทำให้เกิดการระคายเคือง คลื่นไส้ และมีผลต่อหัวใจได้ จึงไม่อาจกล่าวว่า ยาสูบอิเล็กทรอนิกส์ ปลอดภัยได้ร้อยเปอร์เซ็นต์เรื่องต้องรู้ ความต่างของบุหรี่ธรรมดาและบุหรี่ไฟฟ้าบุหรี่ มีลักษณะเป็นทรงกระบอกม้วนห่อด้วยกระดาษ ขนาดปกติจะมีความยาวสั้นกว่า 12 เซนติเมตร และมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 1 เซนติเมตร มีใบยาสูบบดหรือซอยบรรจุอยู่ภายใน ปลายด้านหนึ่งใช้สำหรับจุดไฟ อีกด้านจะมีตัวกรองใช้สำหรับใช้ปากดูดควันไส้บุหรี่ ทำจากใบยาสูบตากแห้ง นำไปผ่านกระบวนการทางเคมี ควันบุหรี่ประกอบด้วยสารเคมีมากกว่า 7,000 ชนิด ซึ่งมีสารเคมีที่เป็นสารพิษ สารที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม และสารก่อมะเร็ง สารเคมีที่มีอยู่ในบุหรี่ เช่น คาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon monoxide), คลอโรฟอร์ม (Chloroform), ไซยาไนด์/ไฮโดรเจนไซยาไนด์ (Cyanide/Hydrogencyanide), ฟอร์มัลดีไฮด์ (Formaldehyde), นิโคตีน (Nicotine), ทาร์ (Tar)บุหรี่ไฟฟ้า หรือ ยาสูบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Cigarette) หรือบุหรี่ไอน้ำ (Vapor Cigarette) คือผลิตภัณฑ์ยาสูบจำพวกบุหรี่ บุหรี่ซิการ์ และบุหรี่แบบกล้องสูบ ซึ่งทำขึ้นจากอุปกรณ์ประจุแบตเตอรีที่จะส่งผ่านนิโคตินไปยังผู้สูบ โดยทั่วไปมีอยู่ 2 แบบ คือ แบบที่คล้ายกับบุหรี่จริง กับแบบที่เรียกว่าแบบปากกา (Pen style) มีลักษณะเหมือนบุหรี่ที่มีปลายด้านก้นกรองเสียบอยู่กับตัวต่อก้นกรองอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งบุหรี่ไฟฟ้านั้นถูกคิดค้นขึ้นในประเทศจีนบุหรี่ไฟฟ้าสามารถอดแยกชิ้นส่วนได้เป็น 3 ส่วน คือ- ส่วนแบตเตอรี่ (Battery) คือ ส่วนที่มีลักษณะคล้ายกับตัวบุหรี่ มีความยาวราว 55-80 มิลลิเมตร ส่วนปลายมักมีหลอดไฟแอลอีดี (LED) แสดงสถานะการทำงาน และแจ้งเตือนระดับแบตเตอรี่ มีทั้งแบบอัตโนมัติและแบบตรวจด้วยมือ- ส่วนตัวสร้างควัน และความร้อน (Atomizer) คือ ส่วนกลาง จะมีไมโครชิพ (Microship Circuit) ควบคุมการทำงาน และขดลวดอิเล็กตรอนเพื่อเปลี่ยนน้ำยา (e-Liquid) ให้กลายเป็นละอองไอน้ำ และสร้างกลิ่นเสมือนบุหรี่จริง- ส่วนเก็บน้ำยา (Cartridge) หรือส่วนปากดูด (Mouth piece) จะมีรูปร่างคล้ายปากเป็ด หรือทรงกระบอก และอีกด้านหนึ่งจะเป็นกระเปาะใส่วัสดุซับน้ำยาไว้นอกจากส่วนประกอบในตัวเครื่องแล้ว ส่วนประกอบสำคัญของยาสูบอีกอย่างคือ น้ำยา (e-Liquid) ซึ่งผลิตจาก สารโพรพีลีน กลีเซอรอล (Propylene Glycerol) หรือ สารโพรพีลีน ไกลคอล (Propylene Glycol) หรือเรียกสั้นๆ ว่าสารพีจี (PG) ซึ่งเป็นตัวทำละลายระดับที่บริโภคได้ (Food-grade) ซึ่งสารพีจีนั้นมีอยู่ในเครื่องสำอางแทบทุกชนิด รวมทั้งในผลิตภัณฑ์จำพวก แชมพู สบู่ โฟมล้างหน้า หรือแม้กระทั่งลูกอม สารพีจีนี้อาจมีการสะสมหรือระคายเคืองหากได้รับเป็นเวลานานระดับของสารนิโคตินในน้ำยา โดยทั่วไปจะกำหนดไว้ดังนี้- ระดับสูงมาก (Extra High) มีระดับนิโคติน 20 - 24 มิลลิกรัม- ระดับสูง (High) มีระดับนิโคติน 16 - 18 มิลลิกรัม- ระดับปานกลาง (Medium) มีระดับนิโคติน  11 - 14 มิลลิกรัม- ระดับต่ำ (Low) มีระดับนิโคติน  4 - 8 มิลลิกรัม- ไม่มีนิโคติน (Non) มีระดับนิโคติน   0 - 2 มิลลิกรัมนอกจากนี้ ยังมีบางบริษัทที่ผลิตระดับนิโคตินสูงสุด (Super High) คือ 34 มิลลิกรัม ซึ่งอาจเกิดอันตรายต่อร่างกาย หากได้รับในปริมาณมากควันที่เกิดจากบุหรี่ไฟฟ้า คือ ไอน้ำที่เกิดจากปฏิกิริยาของสารพีจีที่ถูกคลื่นความร้อนไมโครเวฟจากตัวสร้างควันทำให้แตกตัวและดูดน้ำในอากาศกลายเป็นสายหมอกไอน้ำสีขาว ที่มีความคล้ายคลึงกับไอน้ำจากกาต้มน้ำ แต่มีความหนาแน่นและรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนมากกว่า ซึ่งแตกต่างจากควันบุหรี่จริงที่มีสีออกเทาแม้ว่ายาสูบอิเล็กทรอนิกส์จะปราศจากส่วนผสมของใบยาสูบ และการสันดาปที่ก่อให้เกิดสารพิษกว่า 7,000 ชนิด ในบุหรี่จริงก็ตาม แต่ผู้สูบยังคงได้รับนิโคตินอยู่ ซึ่งการรับนิโคตินที่มากเกินไปอาจทำให้เกิดการระคายเคือง คลื่นไส้ และมีผลต่อหัวใจได้ จึงไม่อาจกล่าวว่า ยาสูบอิเล็กทรอนิกส์ ปลอดภัยได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ยาสูบอิเล็กทรอนิกส์เป็นเพียงทางเลือกหนึ่ง สำหรับผู้ต้องการลดปริมาณพิษสะสม อันเกิดจากบุหรี่จริงและเพื่อให้ได้คำตอบที่ชัดเจนมากขึ้นว่า บุหรี่ไฟฟ้ามีอันตรายน้อยกว่าบุหรี่จริงนั้น ถูกต้องหรือไม่ ฉลาดซื้อจึงได้สัมภาษณ์ ศาสตราจารย์นายแพทย์ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ เพื่อคลายข้อสงสัยดังกล่าว“ความจริงอันหนึ่งที่ยอมรับกันทั่วไปก็คือ ถ้าคนสูบบุหรี่แล้วหันไปสูบบุหรี่ไฟฟ้าแล้วเลิกสูบบุหรี่เลย อันตรายจะน้อยกว่าซึ่งอันนี้จริง ปัญหาส่วนใหญ่ก็คือ คนที่สูบบุหรี่แล้วหันไปสูบบุหรี่ไฟฟ้า 80 เปอร์เซ็นต์ไม่ได้เปลี่ยนไปสูบบุหรี่ไฟฟ้าอย่างเดียวแต่สูบทั้งสองอย่าง เขาจะสูบบุหรี่ไฟฟ้าเมื่อไปในที่ๆ คนไม่ให้สูบบุหรี่ แต่เมื่อไหร่ที่เขาอยู่ในที่ๆ เขาสูบบุหรี่ได้ เขาก็จะสูบบุหรี่”จริงหรือไม่ ที่ว่าบุหรี่ไฟฟ้าช่วยไม่ให้เกิดนักสูบบุหรี่หน้าใหม่ ? ศ.นพ.ประกิต ได้ให้ข้อมูลว่า จากรายงานขององค์กร The National Academies of Sciences, Engineering, and Medicine หรือ สถาบันวิชาการทางวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และการแพทย์แห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (https://www.nap.edu/catalog/24952/public-health-consequences-of-e-cigarettes) ซึ่งเป็นองค์กรที่เป็นกลาง ได้สรุปรายงานเมื่อ เดือนมกราคม 2561 ว่า ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานว่าบุหรี่ไฟฟ้าสามารถลดตัวเลขสถิติของนักสูบบุหรี่หน้าใหม่ลง แต่กลับกันมีแนวโน้มว่าบุหรี่ไฟฟ้าอาจทำให้เกิดนักสูบบุหรี่หน้าใหม่มากขึ้น โดยเฉพาะเด็กวัยรุ่นที่ไม่เคยสูบบุหรี่มาก่อน ซึ่งเริ่มเข้ามาสูบบุหรี่ไฟฟ้า จากการติดตามในระยะเวลา 1 - 2 ปี ผลปรากฏว่า เด็กเหล่านั้นกลายมาสูบบุหรี่จริง มากกว่าเด็กที่ไม่ได้สูบบุหรี่ไฟฟ้าถึง 3 - 4 เท่า ซึ่งพบว่ามีรายงานในลักษณะนี้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยประเด็นที่น่ากังวลก็คือ บุหรี่ไฟฟ้าอาจทำให้เด็กหรือผู้ใหญ่ที่ไม่เคยสูบบุหรี่เลย มีความเข้าใจว่าบุหรี่ไฟฟ้าปลอดภัยกว่า เพราะไม่เหม็นเหมือนบุหรี่ธรรมดา ก็เริ่มติดบุหรี่ไฟฟ้า ติดนิโคติน แล้วก็เริ่มหันไปสูบบุหรี่จริง แม้แต่รายงานของคณะกรรมาธิการสาธารณสุขของประเทศออสเตรเลีย เมื่อเดือนมีนาคม 2561 ก็ได้มีการสั่งให้ค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติมถึงความเป็นไปได้ที่บุหรี่ไฟฟ้าจะทำให้เยาวชนติดนิโคติน และหันมาสูบบุหรี่เพิ่มขึ้น นี่คือประเด็นที่ประเทศออสเตรเลียก็ห่วงเช่นกันผู้ที่หันมาสูบบุหรี่ไฟฟ้าแทนบุหรี่ธรรมดา สามารถเลิกบุหรี่ได้จริงหรือ ?ศ.นพ.ประกิต ได้ให้ข้อมูลว่า มีหลักฐานรายงานที่ให้ข้อเท็จจริงว่า คนที่สูบบุหรี่จริงแล้วหันมาใช้บุหรี่ไฟฟ้าเพื่อการเลิกบุหรี่นั้น ไม่ได้มีประสิทธิภาพดีกว่าการเลิกบุหรี่ด้วยวิธีอื่นๆ ซึ่งยังคงต้องอยู่ภายใต้การควบคุมการวิจัย โดยพบว่า การใช้บุหรี่ไฟฟ้าเพื่อช่วยในการเลิกบุหรี่ ยังคงต้องทำพร้อมกันควบคู่ไปกับการเข้ารับคำแนะนำ ตัวยา และกำลังใจจากแพทย์ผู้ดูแล การใช้บุหรี่ไฟฟ้าเพื่อเลิกบุหรี่ด้วยตนเองนั้น มีโอกาสที่จะเลิกได้น้อยกว่า การใช้บุหรี่ไฟฟ้าภายใต้ความดูแลของหมอ ซึ่งคล้ายกันกับการใช้ยาอดบุหรี่ “ความจริงอันหนึ่งที่ยอมรับกันทั่วไปก็คือ ถ้าคนสูบบุหรี่แล้วหันไปสูบบุหรี่ไฟฟ้าแล้วเลิกสูบบุหรี่เลย อันตรายจะน้อยกว่าซึ่งอันนี้จริง ปัญหาส่วนใหญ่ก็คือ คนที่สูบบุหรี่แล้วหันไปสูบบุหรี่ไฟฟ้า 80 เปอร์เซ็นต์ไม่ได้เปลี่ยนไปสูบบุหรี่ไฟฟ้าอย่างเดียวแต่สูบทั้งสองอย่าง เขาจะสูบบุหรี่ไฟฟ้าเมื่อไปในที่ๆ คนไม่ให้สูบบุหรี่ แต่เมื่อไหร่ที่เขาอยู่ในที่ๆ เขาสูบบุหรี่ได้ เขาก็จะสูบบุหรี่”บุหรี่ไฟฟ้านั้นยังพัฒนาไม่เต็มที่ เพราะการส่งนิโคตินไปสู่สมองยังไม่เท่าบุหรี่จริง ในแง่ความรื่นรมย์ การใช้บุหรี่ไฟฟ้ายังให้ความรื่นรมย์ในการสูบสู้บุหรี่จริงไม่ได้ ถ้าคนที่สูบบุหรี่ธรรมดาหันไปสูบบุหรี่ไฟฟ้าแล้วเลิกสูบบุหรี่จริงได้ อันตรายจะน้อยกว่าการสูบบุหรี่ธรรมดาแน่นอน แต่อย่างไรก็ตาม พบว่าความตั้งใจเลิกบุหรี่ด้วยวิธีอื่นๆ โดยไม่พึ่งบุหรี่ไฟฟ้านั้นสามารถเลิกได้มากกว่าบุหรี่จริงนั้นมีการพัฒนามานานกว่าสองสามร้อยปี แต่สำหรับบุหรี่ไฟฟ้านั้นเพิ่งพัฒนาได้ไม่ถึง 10 ปี และบุหรี่ไฟฟ้าก็มีการเปลี่ยนเทคนิคการผลิตไปเรื่อยๆบุหรี่ไฟฟ้ารุ่นแรก มีการนำขดลวดและสำลีชุปน้ำยาซึ่งสูบได้ 200 ครั้ง มีแบตเตอรี่ในตัว ใช้เสร็จแล้วทิ้งได้เลย ส่วนในน้ำยามีนิโคตินและสารเคมีอีกหลายตัว ซึ่งบุหรี่ไฟฟ้าก็มีทั้งประเภทเหลว หรือ แบบน้ำ รวมถึงล่าสุด มีการผลิตบุหรี่ไฟฟ้าแบบแห้ง (ที่ไม่ใช่นิโคตินเหลว) มีตัวชาร์จแบตเตอรี่ และตัวสูบ แยกออกจากกัน เมื่อดูดแล้วเกิดความร้อนซึ่งทำให้เกิดควัน บุหรี่ไฟฟ้าแบบใหม่นั้น ส่วนที่เป็นยาเส้น ไม่ใช่ใบยาแบบบุหรี่ธรรมดา แต่เป็นใบยาที่บดเป็นผง ใส่สารเคมี แล้วรีดเป็นแผ่น จากนั้นจึงตัดเป็นใบยาใหม่ แต่ยังคงใช้ความร้อนจากแบตเตอรี่เหมือนกันในประเทศญี่ปุ่น และออสเตรเลีย มีกฎหมายห้ามขายบุหรี่ไฟฟ้าที่เติมน้ำยาแบบเหลว เพราะนิโคตินถือเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายในกฎหมายยาพิษ ในประเทศญี่ปุ่นอนุญาตให้ขายบุหรี่ไฟฟ้าแบบแห้งได้ เพราะไม่มีส่วนประกอบของนิโคตินเหลว (ซึ่งถือว่าเป็นยาพิษ) ส่วนประเทศออสเตรเลีย มีกฎหมายห้ามไม่ให้ขายบุหรี่ไฟฟ้าทั้งรูปแบบนิโคตินแห้ง และ นิโคตินเหลวส่วนในประเทศสหรัฐอเมริกานั้นอนุญาตให้ขายบุหรี่ไฟฟ้าแบบเหลวได้ แต่ยังไม่อนุญาตให้ขายแบบแห้ง ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (U.S. FDA) ยังไม่เห็นด้วยกับบุหรี่ไฟฟ้าแบบแห้ง เนื่องจากยังไม่มีหลักฐานที่มาสนับสนุนว่าปลอดภัยกว่าบุหรี่ธรรมดา ซึ่งบุหรี่ไฟฟ้าชนิดน้ำที่ยังขายอยู่ในอเมริกา จะถูกออกกฎหมายควบคุมภายในปี 2021 กรณีดังกล่าวเป็นความหลากหลายของนโยบายในแต่ละประเทศต่อเรื่องบุหรี่ไฟฟ้า อย่างเช่นในประเทศสิงคโปร์ที่ห้ามจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้าทุกชนิดบุหรี่ไฟฟ้าแบบแห้งเพิ่งออกวางจำหน่ายในตลาดเพียงแค่ปีกว่าๆ ซึ่งบุหรี่ไฟฟ้าแบบแห้งให้ควันที่น้อยกว่าบุหรี่จริง บุหรี่ไฟฟ้าไม่ได้มีเพียงแค่ผลิตภัณฑ์เดียว และยังมีส่วนประกอบต่างกันอีกด้วย ซึ่งบางรายงานก็บอกว่ามีอันตรายน้อย บ้างรายงานก็บอกว่าเยอะกว่า เพราะมีหลากหลายยี่ห้อ และประกอบไปด้วยสารเคมีกว่า 7,000 ตัวที่ใช้ทำกลิ่น (Favor)การซื้อบุหรี่ไฟฟ้าไปเพื่อใช้เลิกสูบบุหรี่เองส่วนใหญ่จะไม่สำเร็จ อาจจบลงด้วยการสูบทั้งบุหรี่ไฟฟ้าและบุหรี่จริง ซึ่งจากรายงานของสหรัฐอเมริกา พบว่า ภายใน 4 ปี เด็กมัธยมศึกษาตอนปลายสูบบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.5 มาเป็นร้อยละ 16 ภายในระยะเวลา 4 ปี บุหรี่ไฟฟ้าเป็นอะไรที่น่าตื่นเต้น เป็นสิ่งใหม่ ไม่มีกลิ่นเหม็น แอบสูบได้ ซึ่งปัจจุบันยังมีการพัฒนาให้ตัวสูบคล้ายกับธัมไดรฟ์ (Thumb Drive) ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถแอบนำเข้าไปในโรงเรียนได้ คนไทยมีแนวโน้มสูบบุหรี่ธรรมดาลดลง แต่มีแนวโน้มในการสูบบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มขั้น จากข้อมูลสำรวจเมื่อปี พ.ศ. 2558 จากการสำรวจระดับประเทศในเด็กช่วงอายุ 13 - 15 ปี พบว่ามีการสูบบุหรี่ไฟฟ้าร้อยละ 3.3 ซึ่งเป็นเพศชายร้อยละ 4.9 เพศหญิงร้อยละ 1.9 ในความเป็นจริงแล้วเด็กผู้หญิงในวัยนั้นก็เริ่มสนใจทดลองสูบบุหรี่เหมือนกัน แต่ส่วนใหญ่ไม่เลือกที่จะสูบต่อ คือทดลองแล้วเลิก เพราะสังคมไม่ยอมรับ ผู้หญิงนั้นมีการทดลองสูบบุหรี่ไม่ได้น้อยกว่าผู้ชายเท่าไหร่ มันเป็นธรรมชาติ แต่ผู้ชายมีการทดลองต่อ ซึ่งถ้าลองเกิน 100 มวน ครึ่งหนึ่งของผู้ที่ลองจะติดบุหรี่ เพราะสารนิโคตินพูดกันให้ชัดในเรื่องบุหรี่ไฟฟ้าก็คือ ถ้าเราสามารถเปลี่ยนคนสูบบุหรี่ธรรมดาทั้งหมด ให้หันมาสูบบุหรี่ไฟฟ้านั้นเป็นเรื่องดี แต่ปัญหาขณะนี้คือแนวโน้มมันอาจจะทำให้คนติดบุหรี่เพิ่มขึ้น จากคนที่ไม่ได้สูบ ก็เข้าไปติดบุหรี่ไฟฟ้า แล้วก็หันมาสูบบุหรี่จริง มันอันตรายในเชิงเพิ่มปริมาณคนสูบบุหรี่ให้เพิ่มขึ้นการนำเข้า - จำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทยตามกฎหมายของกระทรวงพาณิชย์ ห้ามนำเข้าบุหรี่ไฟฟ้ามาเพื่อจำหน่ายในประเทศไทย รวมถึงกฎหมายของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ซึ่งห้ามมิให้มีการขาย หรือให้บริการบุหรี่ไฟฟ้าแต่หากนักท่องเที่ยวนำเอาบุหรี่ไฟฟ้าติดตัวมาเพื่อใช้ส่วนตัว นั้นไม่ผิดกฎหมาย เพราะไม่ได้นำเข้าเพื่อการจำหน่าย ซึ่งไม่มีกฎหมายห้ามไว้ เว้นแต่นำเข้ามาเป็นจำนวนมาก ซึ่งอาจไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำมาใช้สูบส่วนตัวสำหรับคนไทยที่สูบบุหรี่ไฟฟ้า นั้นไม่มีความผิดตามกฎหมาย จริงๆ ควรถามต่อไปว่าได้บุหรี่ไฟฟ้ามาจากไหน เพื่อสืบไปยังต้นตอที่นำมาจำหน่าย ซึ่งสำหรับคนขายนั้นมีความผิดทั้งจากการขาย และมีความผิดจากการนำเข้า ซึ่งไทยเองก็ยังไม่มีการพิจารณากฎหมายเกี่ยวกับการอนุญาตให้จำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้า เพราะยิ่งนับวัน ก็ยิ่งเห็นฤทธิ์ของบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น และหลักฐานที่จะสนับสนุนว่าบุหรี่ไฟฟ้านั้นช่วยให้คนเลิกบุหรี่ได้เองก็มีน้อยลงการห้ามมิให้มีการขายบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทย เป็นการจำกัดสิทธิผู้บริโภคหรือไม่ต้องคิดถึงภาพรวมว่า สุดท้ายแล้วบุหรี่ไฟฟ้าจะทำให้คนสูบบุหรี่เพิ่มมากขึ้นหรือไม่ ส่วนประเด็นว่าจะเป็นการจำกัดสิทธิผู้สูบบุหรี่ไฟฟ้าหรือไม่ ก็คงต้องบอกว่าประเทศไทย ไม่ใช่ประเทศเดียวที่จำกัดสิทธิเรื่องบุหรี่ไฟฟ้า ในประเทศออสเตรเลียก็มีการห้าม ญี่ปุ่นก็ห้ามบุหรี่ไฟฟ้าบางประเภท สิงคโปร์นั้นห้ามหมดเลย ห้ามแม้แต่การมีครอบครองก็ผิดกฎหมาย ซึ่งก็แล้วแต่บริบทของแต่ละประเทศต้องให้ความจริงกับผู้บริโภค เพราะธุรกิจบุหรี่ไฟฟ้าอยู่เบื้องหลังคนบางกลุ่มที่ออกมาให้ความเห็นต่อสาธารณะ ไม่ว่าจะปิด หรือ เปิดขาย ก็ต้องให้ความรู้กับผู้บริโภคให้มากที่สุด เพราะบุหรี่ไฟฟ้าถูกบิดเบือนไปว่าไม่มีอันตรายซึ่งไม่ใช่ บุหรี่ไฟฟ้านั้นมีอันตราย แต่อาจจะน้อยกว่าบุหรี่ธรรมดา ส่วนผลกระทบในระยะยาวยังไม่สามารถบอกได้ศ.นพ.ประกิต กล่าวว่า “มีคนไทยเข้าใจผิดว่า บุหรี่ไฟฟ้าปลอดภัยไม่มีอันตราย ซึ่งความเข้าใจผิดเหล่านี้มาจากคำของคนขาย เขาจะอ้างประเทศอังกฤษ ต้องเข้าใจเพราะอังกฤษเขาตายจากการสูบบุหรี่ปีละเกือบแสนคน ค่าใช้จ่ายรักษาพยาบาลเขาเต็มที่ จากการป่วยจากการสูบบุหรี่ เขาเลยโปรโมทให้สูบบุหรี่ไฟฟ้า และเขาคุมการเข้าถึงของเด็ก เขาห้ามใส่พวกกลิ่นที่ดึงดูดนักสูบหน้าใหม่”อ้างอิง:- https://www.nap.edu/catalog/24952/public-health-consequences-of-e-cigarettes- 10 ความเชื่อผิดๆ ของการสูบบุหรี่ ที่คุณต้องทำความเข้าใจใหม่, หนังสือคู่มือชุดนิทรรศการยืม-คืน ส่งเสริมการพัฒนาทักษะชีวิตประเด็น “บุหรี่และยาสูบ” โดย สำนักศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สสส.- Wikipedia (https://th.wikipedia.org/wiki/ยาสูบอิเล็กทรอนิกส์)- ผลวิจัยสหรัฐชี้ บุหรี่ไฟฟ้า ทำติดยาสูบ 6.8 เท่า (มติชนออนไลน์) (https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_790745)- รายงานโครงการสำรวจการบริโภคยาสูบในผู้ใหญ่ ระดับโลก ปี 2554 (http://www.ashthailand.or.th/th/data_center_page.php?id=505)- e-cigarette โดย ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ (เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ)(http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/514474)-  https://www.honestdocs.co/cigarette-effects

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 209 ค่าเช่าบ้านปรับราคาทุกปี จะต่อรองอย่างไรไม่ให้เสียเปรียบ

ทุกข์จากที่อยู่อาศัยนั้น ไม่ใช่เรื่องจะแก้ไขได้โดยง่ายอย่างการซื้อสินค้าหรือบริการทั่วๆ ไปเพราะเกี่ยวพันกับความรู้สึกที่ผูกพัน หรือทำเลที่ตั้งอันเหมาะสม ยิ่งเป็นเรื่องของการเช่า ซึ่งมีเรื่องของอำนาจการต่อรองที่ผู้ให้เช่ามีมากกว่าผู้ขอเช่านั้น ยิ่งสร้างความอึดอัดคับข้องใจได้อย่างมาก ดังเช่น คุณสำราญ ที่กำลังกลัดกลุ้มใจ เพราะบ้านที่ตนเองเช่าเพื่ออยู่อาศัยกับครอบครัวมาตั้งแต่ปี 2559 นั้น ถูกผู้ให้เช่าเรียกร้องค่าต่อสัญญา(ทำใหม่ทุกปี) อัตราใหม่ เพิ่มค่าเช่าห้อง และขอเก็บเงินค่าประกันเพิ่มขึ้น ลองมาดูรายละเอียดกัน- ค่าเช่ารายเดือน ห้องละ 2,000 บาท (จำนวน 2 ห้อง )- เงินประกัน จำนวน 30,000 บาท- ค่าภาษีโรงเรือน (ปี 2559 = 3,800 ปี 2561 เพิ่มเป็น 4,000 บาท)- ค่าทำสัญญา ปี 2559 ห้องละ 18,000 บาท (รวม 2 ห้อง 36,000 บาท) โดนขอปรับค่าทำสัญญาเพิ่มเป็น ห้องละ 25,000 บาท หรือเท่ากับ 50,000 บาท)- ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ จ่ายกับผู้ให้บริการเองเมื่อคุณสำราญถูกขอปรับค่าทำสัญญาใหม่ ในเดือน พฤษภาคม ที่ผ่านมา จึงรู้สึกอึดอัด  และโทรศัพท์มาขอคำปรึกษากับทางศูนย์พิทักษ์สิทธิ ว่าจะเจรจากับผู้ให้เช่าอย่างไรดี สามารถอ้างเรื่องใดได้บ้าง เพื่อผ่อนเพลาค่าที่อยู่อาศัยที่ถูกปรับราคาเพิ่มขึ้น แต่ต้องไม่ทำให้ฝ่ายผู้ให้เช่าไม่พอใจจนยกเลิกสัญญาเช่า เพราะคุณสำราญค่อนข้างพอใจกับทำเลที่อาศัยในตอนนี้ ไม่อยากย้ายไปที่อื่น แนวทางการแก้ไขปัญหาหากเรานำเงื่อนไขเรื่องที่ต้องทำสัญญาใหม่ทุกปีมาคำนวณเป็นรายเดือน ตอนปี 2559 มีค่าทำสัญญาที่ 18,000 บาท หรือเท่ากับเดือนละ 1,500 บาท เมื่อรวมกับค่าเช่าห้อง เดือนละ 2,000 บาท ก็เท่ากับว่าค่าเช่าห้องตกที่ห้องละ 3,500 บาท โดยเก็บเป็นเงินค่าทำสัญญาไปก่อนแล้ว 18,000 บาท (คุณสำราญเช่าสองห้อง เท่ากับต้องจ่ายเงินค่าเช่าเบ็ดเสร็จที่เดือนละ 7,000 บาท) มาปีนี้ 2561 ถูกเรียกค่าทำสัญญาใหม่ที่ 25,000 บาทหรือตกเดือนละ 2,083 บาท ถ้าบวกกับฐานค่าเช่าเดิมคือ 2,000 บาท เท่ากับต้องจ่ายเงินค่าเช่าเดือนละ 4,083 บาท หรือเพิ่มขึ้นมาอีกราว 15% วิธีการแบบนี้คือ การบอกให้เช่าโดยเรียกเก็บเงินค่าเช่าไปก่อนล่วงหน้าเป็นรายปี โดยเรียกมันว่าการทำสัญญาใหม่ ซึ่งตามประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง “ให้ธุรกิจการให้เช่าอาคารเพื่ออยู่อาศัยเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2561” โดยสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคนั้น  ห้ามมิให้เก็บค่าเช่าล่วงหน้าเกินกว่า 1 เดือน หรือถ้าเรียกมันว่า ค่าทำสัญญา ตามประกาศฉบับนี้ ข้อ 4 (9) ระบุว่า กรณีเงินค่าทำสัญญา / ค่าต่อสัญญา ไม่ให้ใช้ข้อสัญญาที่กำหนดให้ผู้ประกอบการมีสิทธิเรียกเก็บค่าต่อสัญญาเช่าอาคารจากผู้เช่ารายเดิม  ดังนั้นเท่ากับว่า ค่าทำสัญญาหรือค่าต่อสัญญาเช่าผู้ประกอบการไม่มีสิทธิเรียกเก็บ ซึ่งข้อนี้ ผู้เช่าหรือคุณสำราญ น่าจะสามารถใช้เป็นข้อต่อรองได้ โดยอาจขอให้เรียกเก็บค่าเช่าแบบตรงไปตรงมา ว่าผู้ให้เช่าจะเรียกเก็บที่ราคาเท่าไร โดยไม่ต้องเรียกเก็บล่วงหน้าเป็นรายปีอย่างที่ทำอยู่ เพราะถือว่าผิดกฎหมาย สำหรับเรื่องเงินค่าประกันความเสียหาย ตามประกาศระบุว่า ผู้เช่าจะต้องจ่ายผู้ให้เช่าหลังจากเซ็นสัญญาเช่า โดยเมื่อหมดสัญญาเช่าแล้ว ผู้ให้เช่าจะต้องคืนให้แก่ผู้เช่าในกรณีที่ผู้เช่าไม่ทำความเสียหายให้กับห้องเช่าหรือเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ ที่ระบุในสัญญา ภายใน 7 วัน หลังจากการเช่าหมดสัญญา สำหรับกรณีคุณสำราญที่ต้องต่อสัญญาทุกปี ผู้ประกอบการอาจเก็บเงินประกันก้อนดังกล่าวไว้ก่อนได้ และหากต้องการเพิ่มก็เรียกให้จ่ายเพิ่มได้ แต่ทั้งนี้ตามประกาศ ในข้อ 4 (4) นั้นระบุว่า เงินประกันค่าเสียหายห้ามเรียกเก็บเกินกว่า 1 เดือนของอัตราค่าเช่ารายเดือน เมื่อคุณสำราญมีค่าเช่าห้องที่เดือนละ 2,000 บาท ค่าประกันความเสียหายจะเรียกเก็บได้ไม่เกิน 2,000 บาท   คุณสำราญจึงควรหาราคาค่าเช่าห้องที่พอเหมาะกับรายได้ของครัวเรือน และเจรจากับทางผู้ให้เช่า ให้เรียกเก็บในอัตราที่พอใจกันทั้งสองฝ่าย โดยไม่มีการเรียกเก็บค่าเช่าล่วงหน้า ด้วยการคิดเป็นค่าต่อสัญญาและไม่เรียกเก็บเงินค่าประกันความเสียหายเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด 

อ่านเพิ่มเติม >

ยิ่งแชร์ฉลาดซื้อ ยิ่งรับ Point :: แลกของรางวัล

การแชร์เพื่อใช้ point แลกโปรโมชั่นสะสมแต้มได้ทั้ง สมัครชิกฟรี และ สมาชิก VIP  การแชร์ข้อมูลบนเว็บไซต์ไปยัง Facebook ที่ทางเว็บไซต์ได้กำหนดแต้ม (Point)ไว้  จะต้องเป็นสมาชิกเว็บฉลาดซื้อก่อนเพื่อสะสมแต้มเข้าบัญชี  โดยมีกติกาดังนี้• ท่านจะต้องแชร์จากบทความในเว็บฉลาดซื้อไปยัง Facebook  (ไม่ใช่แบบ Copy Link)•  จำนวน Point ที่ท่านจะได้ต่อการแชร์จะแสดงอยู่ตรง ไอคอน Facebook ด้านล่างบทความทางมือถือ หรือ ด้านข้างทางคอมพิวเตอร์• ท่านจะต้องแชร์บทความที่ไม่ใช่มีลักษณะบทความใดบทความหนึ่งซ้ำๆ ในเวลาที่ใกล้เคียงกัน• การแชร์ของท่านจะต้องเป็นการเปิด สาธารณะ หรือ เพื่อนของท่านเห็น ไม่ใช่การแชร์ที่เห็นเพียงท่านคนเดียว• การแชร์ของท่านจะต้องกระทำโดยบุคคลโดยไม่ใช่เป็นการใช้โปรแกรมบอททางคอมพิวเตอร์ในการแชร์ข้อมูลดังกล่าง• หากทางนิตยสารฉลาดซื้อ ตรวจสอบการแลกโปรโมชั่นไม่เป็นไปตามเงื่อนไข ทางเราขอสงวนสิทธิ์การแลกโปรโมชั่นของท่าน• ท่านต้อง Login บนเว็บไซต์ฉลาดซื้อก่อนการแชร์ เพื่อสะสมเข้าบัญชีท่าน• สามารถชมของ  "โปรโมชั่น" คลิกที่นี่สมัครสมาชิกฉลาดซื้อ คลิกที่นี่

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 208 รู้เท่าทัน ไขมันทรานส์

การบริโภคไขมันทรานส์ เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ ร้อยละ 21  และเสียชีวิตก่อนวัยอันควรร้อยละ 28  ไขมันทรานส์ยังนำไปสู่การแข็งตัวและการอุดตันของหลอดเลือด ทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดจากไขมันทรานส์กว่า 500,000 รายในแต่ละปีนับเป็นความกล้าหาญขององค์การอนามัยโลกอีกครั้งที่ได้ประกาศเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2561 ว่า จะขจัดไขมันทรานส์ให้หมดจากระบบการผลิตอาหารของโลก และได้กำหนดยุทธศาสตร์ทีละขั้นตอนเพื่อให้บรรลุผลในปี พ.ศ. 2566 (ค.ศ. 2023)  การขจัดไขมันทรานส์นี้เป็นกุญแจสำคัญในการปกป้องสุขภาพและช่วยชีวิตผู้คน เรามารู้เท่าทันไขมันทรานส์กันเถอะไขมันทรานส์ คืออะไรไขมันได้กลายเป็นผู้ร้ายในสายตาของผู้รักสุขภาพ ความจริงไขมันเป็นแหล่งพลังงานหลักของร่างกายและช่วยในการดูดซึมวิตามินเอ ดี อี เค และแคโรทีนอยด์  เมื่อกินไขมันเท่าที่จำเป็นจะช่วยให้เกิดการเจริญเติบโตที่เหมาะสมและช่วยรักษาสุขภาพ  แต่ทุกวันนี้เรากินไขมันมากเกินไป ออกกำลังกายน้อย ทำให้เกิดไขมันส่วนเกินไปสะสมในร่างกาย ไขมันในอาหารมี 3 ชนิดหลัก ได้แก่ ไขมันอิ่มตัว ไขมันไม่อิ่มตัว และ ไขมันทรานส์ไขมันทรานส์ ถูกใช้ในการผลิตอาหารในต้นคริสศตวรรษที่ 20 เพื่อใช้แทนเนย และเป็นที่นิยมอย่างมากในช่วงคริสต์ศักราช 1950-1970  ไขมันทรานส์เกิดจากกระบวนการผลิตโดยทำให้น้ำมันพืชแข็งตัวด้วยการเติมไฮโดรเจน (Partially Hydrogenated Oils, PHOs) ทำให้อาหารที่ใช้ไขมันทรานส์นั้นยืดอายุ (การขาย) ได้นาน เพิ่มความคงตัวของรสชาติ ที่สำคัญคือ มีราคาถูกกว่าไขมันอิ่มตัวและไม่อิ่มตัว  อาหารหลายชนิดที่ใช้ไขมันทรานส์ ได้แก่ เนยขาว เนยเทียมหรือมาการีน คุกกี้ อาหารว่าง อาหารทอด และขนมอบ เป็นต้นไขมันทรานส์มีโทษต่อร่างกายอย่างไรไขมันทรานส์มีผลเหมือนไขมันอิ่มตัวและโคเลสเตอรอลทำให้ระดับ LDL (โคเลสเตอรอลชนิดอันตราย) ในเลือดสูงขึ้น เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ  นอกจากนี้ ไขมันทรานส์ยังลดระดับ HDL (โคเลสเตอรอลชนิดดี) ในเลือดอีกด้วย ทำให้เพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจมากขึ้นองค์การอนามัยโลกได้ระบุว่า การบริโภคไขมันทรานส์ เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ ร้อยละ 21  และเสียชีวิตก่อนวัยอันควรร้อยละ 28  ไขมันทรานส์ยังนำไปสู่การแข็งตัวและการอุดตันของหลอดเลือด ทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดจากไขมันทรานส์กว่า 500,000 รายในแต่ละปี การลดการบริโภคไขมันทรานส์จะช่วยลดการเกิดหัวใจวายและการเสียชีวิตได้องค์การอนามัยโลกใช้ปฏิบัติการ REPLACE   องค์การอนามัยโลกเรียกร้องให้รัฐบาลของทุกประเทศใช้ปฏิบัติการ REPLACE เพื่อขจัดไขมันทรานส์ออกจากอุตสาหกรรมอาหาร  Dr Tedros Adhanom Ghebreyesus ผู้อำนวยการคนใหม่ขององค์การอนามัยโลก กล่าวว่า “การใช้ REPLACE จะช่วยในการขจัดไขมันทรานส์ และจะเป็นชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ของโลกในการต่อสู้เอาชนะกับโรคหลอดเลือดและหัวใจ”REPLACE ได้แก่Review  ทบทวนแหล่งอุตสาหกรรมการผลิตไขมันทรานส์ และฉากทัศน์ในการเปลี่ยนแปลงนโยบายPromote  ส่งเสริมให้อุตสาหกรรมการผลิตไขมันทรานส์ใช้ไขมันและน้ำมันที่ดีต่อสุขภาพแทนไขมันทรานส์Legislate  การออกกฎหมายเพื่อขจัดไขมันทรานส์จากการผลิตแบบอุตสาหกรรมAssess  การประเมินและกำกับดูแลการใช้ไขมันทรานส์ในการผลิตอาหารและการเปลี่ยนแปลงการบริโภคไขมันทรานส์ของประชากรCreate การสร้างความตระหนักถึงผลกระทบในทางลบของไขมันทรานส์ในผู้กำหนดนโยบาย ผู้ผลิต ผู้ขาย และสังคม Enforce  การบังคับใช้กฎหมายและระเบียบต่างๆขณะนี้หลายประเทศได้ขจัดการใช้ไขมันทรานส์ จากอุตสาหกรรมเกือบสิ้นเชิง เดนมาร์กเป็นประเทศแรกที่จำกัดการใช้ไขมันทรานส์จากอุตสาหกรรม ทำให้ปริมาณของไขมันทรานส์ในอาหารลดลงอย่างชัดเจน และอัตราการตายจากโรคหลอดเลือดหัวใจลดลงอย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับประเทศ OECD (สมาชิกประเทศยุโรปตะวันตก 19 ประเทศ)ประเทศไทยต้องมีความตื่นตัวเรื่องนี้ และร่วมกันขจัดการใช้ไขมันทรานส์ในอุตสาหกรรมอาหารโดยเร็ว เพื่อให้ลูกหลานของเราไม่ต้องเสี่ยงกับโรคหัวใจและหลอดเลือด

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 208 ไซบูทรามีนในอาหารเสริมที่กล่าวอ้างลดน้ำหนัก

ไซบูทรามีนในอาหารเสริมที่กล่าวอ้างลดน้ำหนัก ในช่วงเวลาที่ผ่านมา ข่าวการเข้าปราบปราม จับกุมผู้กระทำผิดเกี่ยวกับการขายผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ผิดกฎหมาย กลายเป็นกระแสสังคมที่ช่วยให้ผู้บริโภคตระหนักถึงสิ่งอันตรายที่แฝงอยู่ในผลิตภัณฑ์เหล่านี้ และน่าจะเกิดความระมัดระวังมากขึ้น อย่างไรก็ตามผู้บริโภคยังต้องการกำลังเสริมจากรัฐในด้านการกำกับควบคุมที่เข้มงวดต่อเนื่อง และภาคส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค เพราะถึงแม้รัฐจะออกมาตรการที่รัดกุมแค่ไหน ภัยจากผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมาย ก็คงไม่หมดไปง่ายๆ ผู้บริโภคยังเสี่ยงที่จะต้องเผชิญกับผู้กระทำผิดทั้งรายใหม่และรายเก่า ดังนั้นการสร้างเครื่องมือตรวจสอบและการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร นับเป็นอีกมาตรการหนึ่งที่สามารถช่วยผู้บริโภคได้ฉลาดซื้อและโครงการเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ได้สุ่มเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ที่บรรยายสรรพคุณว่ามีส่วนในการลดน้ำหนัก จากเว็บไซต์ขายของออนไลน์ชื่อดัง ได้แก่ C mart ,Shop at 24, LAZADA, We mall, Watsons, 11 street, Konvy, Shopee รวม 8 แห่ง รวมทั้งสิ้น 16 ผลิตภัณฑ์ ในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม ที่ผ่านมา ส่งห้องปฏิบัติการศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ อุบลราชธานี เพื่อทดสอบหายาไซบูทรามีน และ ยาฟลูออกซิทีน (Fluoxetine) ซึ่งเป็นยาในกลุ่มต้านอาการซึมเศร้า แต่มีผลข้างเคียงในการลดความอยากอาหาร ที่นิยมนำมาผสมในผลิตภัณฑ์อาหารเสริมและอวดอ้างสรรพคุณว่าช่วยลดน้ำหนักอย่างรวดเร็ว แต่มีภัยแฝงถึงเสียชีวิต ผลทดสอบผลการทดสอบหา ไซบูทรามีน (Sibutramine) และ ยาฟลูออกซิทีน (Fluoxetine) หรือยารักษาโรคซึมเศร้า จากผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจำนวน 16 ตัวอย่าง ที่ฉลาดซื้อสั่งซื้อจากเว็บขายสินค้าออนไลน์ 8 แห่ง พบว่า  มีผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร 6 ตัวอย่าง พบการปนเปื้อนยาแผนปัจจุบัน ดังนี้  1. AIKA รุ่นผลิต 21/11/2017 พบ ไซบูทรามีน และฟลูออกซิทีน  2. MINIMAL By FALONFON รุ่นผลิต มกราคม 2018 พบ ไซบูทรามีน 3. S – Line รุ่นผลิต ไม่ระบุ พบ ไซบูทรามีน 4. LYN รุ่นผลิต 10-01-2561 พบไซบูทรามีน 5. L-Fin by Luk-Sam-Rong รุ่นผลิต 1/7/60 พบ ไซบูทรามีน 6. Kalo รุ่นผลิต ไม่ระบุ พบ ฟลูออกซิทีน  และยังพบด้วยว่า ผลิตภัณฑ์ AIKA, L-Fin และ Kalo นั้น มีชื่อผู้รับอนุญาตคนเดียวกัน คือ บริษัทสยามเฮลท์แอนด์บิวตี้แคร์ จำกัดการขายผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนักที่มีไซบูทรามีน (Sibutramine) มีโทษตามกฎหมายภก. ปรุฬห์ รุจนธำรงค์ http://www.facebook.com/rparun          ไซบูทรามีน(Sibutramine) แรกเริ่มนั้นใช้เป็นยาต้านอาการซึมเศร้า ซึ่งพบว่าสามารถลดความอยากอาหารได้ โดยการไปยับยั้งการดูดกลับ(reuptake) ของซีโรโทนิน(serotonin) และนอร์อะดรีนาลีน (noradrenaline) ที่สมองส่วนไฮโปธาลามัส ซึ่งเป็นส่วนที่ควบคุมการรับประทานอาหาร จึงมีการพยายามนำมาใช้เพื่อเป็นยาลดน้ำหนัก แต่พบความเสี่ยงทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น มีความดันโลหิตสูงขึ้น เสี่ยงต่อการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ในด้านของการลดน้ำหนักเมื่อรับประทานยาผ่านไป 6 เดือน กลับพบว่าให้ผลต่างกับยาหลอกเพียงเล็กน้อย จึงทำให้หลายประเทศมีความพยายามในการเลิกใช้ยานี้ ไซบูทรามีน(Sibutramine) เดิมประเทศไทยมีเพียงชื่อการค้าเดียวที่ได้รับการขึ้นทะเบียนตำรับยา คือ รีดักทิล (Reductil) ชนิดแคปซูล 10 มิลลิกรัมและ 15 มิลลิกรัม ต่อมาบริษัทผู้นำเข้ายกเลิกทะเบียนตำรับยาโดยสมัครใจภายใต้คำแนะนำของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ตั้งแต่ 11 ตุลาคม 2553 ดังนั้น ปัจจุบันห้ามผู้รับอนุญาตนำเข้าหรือผู้รับอนุญาตขายยาผู้ใดขาย นำเข้า ยาที่ทะเบียนตำรับยาถูกยกเลิก ตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510 มาตรา 72(5) ผู้ฝ่าฝืนต้องได้รับโทษตามมาตรา 120 วรรคสอง คือ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หรือมาตรา 120 วรรคสาม ถ้ากระทำโดยไม่รู้ว่าเป็นยาทะเบียนตำรับยาถูกยกเลิก ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาทแล้วแต่กรณี ส่วน ประชาชนทั่วไปที่ขายยาหรือนำเข้ายานี้ ถือว่าเป็นการขายยาแผนปัจจุบันหรือนำเข้ายาแผนปัจจุบันโดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 12 ต้องรับโทษตามมาตรา 101 คือ  ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 50,000 บาท ด้วย หากผลิตภัณฑ์ใดได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นผลิตภัณฑ์อาหารในประเทศไทย และมีไซบูทรามีน (Sibutramine) เป็นส่วนผสม ถือว่าเป็นอาหารไม่บริสุทธิ์ ตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 มาตรา 25(1) ประกอบมาตรา 26(1) ต้องได้รับโทษตามมาตรา 58 คือ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หรืออาจเข้าข่ายอาหารปลอมหากมีฉลากเพื่อลวงหรือพยายามลวงให้เกิดความเข้าใจผิด ตามมาตรา 25(2) ประกอบมาตรา 26(3) ต้องระวางโทษตามมาตรา 59 คือ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 5,000 – 100,000 บาทผลิตภัณฑ์อาหารที่มี fluoxetine มีความโทษตามกฎหมายfluoxetine เป็นยาในกลุ่ม selective serotonin reuptake inhibitor (SSRIs) ซึ่งใช้ในการรักษาโรคซึมเศร้า กลไกการออกฤทธิ์โดยเพิ่มระดับสารสื่อประสาท serotonin ในสมอง นอกจากใช้ในโรคซึมเศร้า ยังมีข้อบ่งใช้ในการรักษา ผู้ป่วยที่มีอาการอาเจียนในโรคกลัวอ้วนรุนแรงปานกลางถึงรุนแรงมากfluoxetine จัดเป็นยาแผนปัจจุบันประเภทยาอันตราย ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ยาอันตราย ฉบับที่ 25 (14 พ.ค.2555 ข้อ 3 (34)) กรณีที่มีการผสมยาตัวนี้ลงไปในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจะถือว่าเป็นอาหารไม่บริสุทธิ์ มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท 

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า1000 Point

ฉบับที่ 207 เหตุใดมีเลข อย.จึงยังอันตราย

ช่วงนี้เกิดคำถามสำคัญขึ้นกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดูแล กฎหมายอาหาร ยา เครื่องสำอาง ว่าเหตุใด สินค้ามี อย.ถึงยังเป็นอันตรายสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการที่ประชาชนมีความสับสนในส่วนของเครื่องหมายที่ สำนักงาน อย. นำมาใช้ในผลิตภัณฑ์สุขภาพแต่ละประเภท รวมกับความเข้าใจผิดของคนกลุ่มใหญ่ว่า “เครื่องหมาย อย.” มีค่าเท่ากับ “ปลอดภัย” (ซึ่งการสื่อสารผิดพลาดนี้ต้องวิเคราะห์กันต่อไปว่ามาได้อย่างไร) เพราะความจริงคือ เครื่องหมาย อย. นั้น  ไม่ได้รับรองว่า สินค้าปลอดภัย เครื่องหมายนี้มีความสำคัญเพียงแค่ให้รู้ว่าผลิตภัณฑ์ตัวนั้นมีที่มาที่ไปจากผู้ผลิตไหน หากมีปัญหาในภายหลัง สำนักงาน อย.สามารถติดตามไปจัดการได้  ความจริงคือ เครื่องหมาย อย. นั้น  ไม่ได้รับรองว่า สินค้าปลอดภัย เครื่องหมายนี้มีความสำคัญเพียงแค่ให้รู้ว่าผลิตภัณฑ์ตัวนั้นมีที่มาที่ไปจากผู้ผลิตไหน หากมีปัญหาในภายหลัง สำนักงาน อย.สามารถติดตามไปจัดการได้  และในเรื่องของความสับสนจากเครื่องหมายที่ถูกนำมาใช้ ก็มีที่มาจากความไม่เข้าใจในสาระที่ถูกต้องของเครื่องหมายแต่ละประเภท ได้แก่   เครื่องหมาย อย. จะใช้กับอาหารเท่านั้น เรียกว่า “เลขสารบบอาหาร” ซึ่ง เลขสารบบอาหาร จะเป็นตัวเลข 13 หลัก แสดงอยู่ภายในกรอบเครื่องหมาย อย. หากเป็น ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง จะไม่มี เลข อย. แต่ฉลากต้องแสดง“เลขที่ใบรับแจ้ง” (เลขจดแจ้ง)โดยกำหนดให้เป็นเลข 10 หลัก เช่น 10-1-61xxxxx เป็นต้นขณะที่ ยา จะแสดงเลขทะเบียนตำรับยา โดยลักษณะของกลุ่มตัวเลขแรกคือ ประเภทของทะเบียนตำรับยาจะเป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษ แล้วตามด้วยเลขทะเบียนตำรับยา(ของแต่ละตำรับยา) /ปี พ.ศ. เช่น ทะเบียนยาเลขที่ 1A 324/50 เป็นต้น ช่องโหว่จากความที่ผู้บริโภคทั่วไปไม่เข้าใจเรื่องนี้ ได้กลายเป็นจุดขายให้แม่ค้าพ่อค้าสินค้าสุขภาพลวงโลก เอาไปยำข้อมูลจนผู้บริโภคสับสน เช่น เอาเครื่องหมาย อย.ไปใส่ในฉลากเครื่องสำอาง  เอาเครื่องหมาย อย.ไปใช้ในตัวสินค้าที่เป็นแค่อาหาร แต่อ้างสรรพคุณในทางรักษา หรือไม่ก็ข้างในผลิตภัณฑ์เป็นยา แต่ระบุฉลากด้วยเครื่องหมาย อย.  และโฆษณาว่า “ผลิตภัณฑ์เรามี อย. ผลิตภัณฑ์เราปลอดภัย” จนกลายเป็นที่มาของคำถามว่า ทำไมมี อย.แล้วยังไม่ปลอดภัย ปรับความรู้กันใหม่ สู้ภัยสินค้าสุขภาพผิดกฎหมาย 1.เข้าใจให้ถูกต้องเรื่องเครื่องหมาย เลขสารบบอาหาร ใช้กับผลิตภัณฑ์อาหารเท่านั้น และห้ามฉลากหรือโฆษณาบอกว่า รักษาหรือบำบัดโรค ส่วนฉลากเครื่องสำอาง ต้องไม่มีเลข อย. แต่มีเลขจดแจ้ง ระบุไว้ ซึ่งเครื่องหมายเหล่านี้สามารถนำไปตรวจสอบได้ว่า เป็นเครื่องหมายจริงหรือปลอม  2.ผลิตภัณฑ์ต้องมีการระบุ ชื่อ ที่อยู่ ผู้ผลิตที่ชัดเจน จะได้ตรวจสอบได้ หาคนรับผิดชอบได้ หากเกิดปัญหา  3.เลิกเชื่อโฆษณาอวดอ้าง ผลลัพธ์มหัศจรรย์ทั้งหลาย  เพราะมันไม่เป็นจริง  4.หากใช้แล้วมีความผิดปกติแม้เพียงเล็กน้อย ต้องหยุดใช้ทันที คำอ้างที่ว่า ขับพิษหรือรออีกสักพักจะดีขึ้น มันคือคำลวง  5.ติดตามข่าวสารการแจ้งเตือนภัยสินค้า เพื่อจะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อสินค้าผิดกฎหมาย  6.เจอผลิตภัณฑ์เข้าข่ายผิดกฎหมาย แจ้งสายด่วน อย. 1556 อีเมล์ 1556@fda.moph.go.th หรือต่างจังหวัดที่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด หรือแจ้งตำรวจ ปคบ. สายด่วน 1135 -----------------------------------สามารถติดตามการแจ้งเตือนภัยสินค้าได้ที่www.tumdee.org  ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์5 แพลตฟอร์มของ อย. facebook.com/fdathai twitter.com/fdathai Instagram.com/fdathai YouTube.com/fdathai Line@fdathai

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 207 พาราควอตในน้ำตาลทราย

เรื่องทดสอบฉบับนี้ เป็นความร่วมมือกันของทีมงานคุ้มครองผู้บริโภค ระหว่างคณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน (คอบช.) และมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (ภายใต้โครงการเฝ้าระวังสินค้าและบริการ เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค) ทำการสำรวจด้านนโยบายของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมน้ำตาลต่อการใช้สารพาราควอต โดยส่งแบบสำรวจถึงกลุ่มโรงงานน้ำตาลไทย รวมทั้งสิ้น 47 บริษัท และทีมนิตยสารฉลาดซื้อ สุ่มเก็บตัวอย่างน้ำตาลทรายในท้องตลาดจำนวน  21 ตัวอย่าง นำส่งห้องปฏิบัติการ เพื่อทดสอบหาการปนเปื้อนของพาราควอตในผลิตภัณฑ์  เหตุผลสำคัญที่ทีมงานเลือกการทดสอบน้ำตาลทรายและทำสำรวจกับกลุ่มผู้ประกอบการโรงงานน้ำตาล เนื่องจากกลุ่มผู้ประกอบการน้ำตาลและเกษตรกรผู้ปลูกอ้อย ถือเป็นเสียงจากฟากฝั่งที่ยังคงต้องการให้มีการใช้สารพาราควอตต่อไปอีกระยะหนึ่ง แม้ว่าจะมี “มติ” ไปเมื่อวันที่ 5 เม.ย. 60 จากคณะกรรมการขับเคลื่อนปัญหาการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่มีความเสี่ยงสูง ซึ่งมี ศ. คลินิกเกียรติคุณ นพ. ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เป็นประธาน ให้ยกเลิกการใช้สารเคมี 2 ชนิด คือ พาราควอต และคลอร์ไพริฟอส โดยไม่ให้ขึ้นทะเบียนเพิ่ม ไม่ต่ออายุทะเบียน และให้ยุตินำเข้าในวันที่ 1 ธ.ค. 2560 และยุติการใช้วันที่ 1 ธ.ค. 2562   อย่างไรก็ตามเรื่องราวได้ยืดเยื้อกันมาจนถึงปัจจุบัน  โดยทั้ง 3 กระทรวงที่เกี่ยวข้องได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรมและกระทรวงสาธารณสุข ยังไม่ดำเนินการทำตามมติข้างต้น ให้เหตุผลว่า อยู่ระหว่างศึกษาข้อมูลและผลกระทบจากการใช้สารเคมีดังกล่าว เพื่อนำเสนอนายกรัฐมนตรี ซึ่งจะมีมติ แบน-ไม่แบน ในวันที่ 23 พฤษภาคม ปีนี้      ผลการสำรวจด้านโยบาย• จากจำนวน 47 บริษัทในกลุ่มโรงงานน้ำตาลทราย มีบริษัทที่ตอบแบบสอบถามกลับมาจำนวน 6 บริษัท (ดูตารางที่ 1) ตารางที่ 1 บริษัทและนโยบาย การใช้สารพาราควอต• มีบริษัทที่ไม่ตอบแบบสอบถาม จำนวน 39 บริษัท ซึ่งผู้จัดทำแบบสอบถาม ได้ระบุไว้ชัดเจนในจดหมายว่า “กรณีท่านไม่สะดวกในการตอบแบบสอบถาม ขออนุญาตแปลความว่า “บริษัทท่านยังไม่มีนโยบายในการยกเลิกการใช้สารเคมีพาราควอตในวัตถุดิบสำหรับการผลิตน้ำตาล”  • มีบริษัทที่ไม่ได้รับแบบสอบถาม 2 บริษัท คือ บริษัท น้ำตาลกุมภวาปี จำกัด และ บริษัท น้ำตาลเกษตรผล จำกัดผลทดสอบผลิตภัณฑ์น้ำตาลทราย พบว่าจากจำนวนทั้งสิ้น 21 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อนของสารพาราควอต (สามารถดูตัวอย่างทั้งหมดได้ในตารางที่ 2)  ตารางที่ 2 ผลทดสอบการปนเปื้อนพาราควอตในน้ำตาลทรายฉลาดซื้อแนะ แม้จะไม่พบการปนเปื้อนพาราควอตในน้ำตาล แต่เมื่อเร็วๆ นี้ ทีมวิจัยจากจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย โดย ผศ.ดร.นพดล กิตนะ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ ระบุว่า พบการปนเปื้อนสารพาราควอตใน กบหนอง ปูนา หอยกาบน้ำจืด และปลากะมัง ซึ่งมีค่ามากกว่าระดับสูงสุดที่องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ จำกัดให้มีในอาหาร(เนื้อสัตว์) คือ ไม่เกิน 5 ไมโครกรัม/กิโลกรัม โดยปริมาณที่พบในปูนา อยู่ระหว่าง 24 – 56 ไมโครกรัม/กิโลกรัม พบในกบหนอง 17.6 – 1,233.8 ไมโครกรัม/กิโลกรัม พบในปลากะมัง 6.1 – 12.5 ไมโครกรัม/กิโลกรัม และพบในหอยกาบน้ำจืด 3.5 – 7.7 ไมโครกรัม/กิโลกรัม อีกทั้งยังพบในอาหารแปรรูปอย่างน้ำปู๋ (น้ำปู) เรียกว่าเกินกว่าค่ามาตรฐานไปถึง 200 เท่าในบางรายการ ซึ่งเป็นสิ่งยืนยันได้ว่า พาราควอตมีการตกค้างจำนวนมากในพื้นที่เกษตรกรรม และสามารถส่งผ่านไปถึงสิ่งมีชีวิตที่สัมผัสสารโดยตรงด้วย  ดังนั้นทีมฉลาดซื้อขอร่วมสนับสนุนการแบนพาราควอตและคลอร์ไพริฟอส ตามมติเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2560ในงานวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดล จากการตรวจพาราควอตในซีรั่มของมารดาและสายสะดือของทารก ในกลุ่มประชากรที่อาศัยในพื้นที่เกษตร ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ อำนาจเจริญ และกาญจนบุรี โดยเก็บตัวอย่างเลือด ซีรั่ม ปัสสาวะ รวมถึงขี้เทาในทารกแรกคลอด ยืนยันว่า ในประเทศไทยพบการตกค้างและสะสมของพาราควอตจากมารดาสู่ทารก ซึ่งพบปริมาณการสะสมมากกว่าในมารดาศาสตราจารย์ ดร.พรพิมล กองทิพย์  อาจารย์ประจำภาควิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุข---------------------------------------------------------------------------รายชื่อโรงงานน้ำตาลทั้งหมด 47 บริษัท 1. บริษัท ไทยรุ่งเรืองอุตสาหกรรม จำกัด  2. บริษัท อุตสาหกรรมน้ำตาลบ้านไร่ จำกัด  3. บริษัท น้ำตาลพิษณุโลก จำกัด  4. บริษัท ไทยเพิ่มพูนอุตสาหกรรม จำกัด 5. บริษัท น้ำตาลสระบุรี จำกัด  6. บริษัท ไทยอุตสาหกรรมน้ำตาล จำกัด  7. บริษัท สหการน้ำตาลชลบุรี  8. บริษัท น้ำตาลระยอง จำกัด  9. บริษัท อุตสาหกรรมน้ำตาลชลบุรี จำกัด  10. บริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด  11. บริษัท รวมเกษตรกรอุตสาหกรรม จำกัด12. บริษัท น้ำตาลมิตรกาฬสินธุ์ จำกัด13. บริษัท น้ำตาลสิงห์บุรี จำกัด14. บริษัทเกษตรไทย อินเตอร์เนชั่นแนล ซูการ์คอร์ปอเรชั่น จำกัด 15. บริษัท น้ำตาลไทยเอกลักษณ์ จำกัด16. บริษัท น้ำตาลขอนแก่น จำกัด (มหาชน)17. บริษัท โรงงานน้ำตาลนิวกรุงไทย จำกัด18. บริษัท น้ำตาลนิวกว่างสุ้นหลี จำกัด19. บริษัท น้ำตาลท่ามะกา จำกัด20. บริษัท อุตสาหกรรมโคราช จำกัด21. บริษัท น้ำตาลสุรินทร์ จำกัด  22. บริษัท น้ำตาลนครเพชร จำกัด  23. บริษัท น้ำตาลบ้านโป่ง จำกัด 24. บริษัท น้ำตาลเกษตรผล จำกัด 25. บริษัท น้ำตาลกุมภวาปี จำกัด  26. บริษัท น้ำตาลทิพย์สุโขทัย จำกัด  27. บริษัท อุตสาหกรรมน้ำตาลสุพรรณบุรี จำกัด  28. บริษัท น้ำตาลทิพย์กำแพงเพชร จำกัด  29. บริษัท น้ำตาลไทยกาญจนบุรี จำกัด  30. บริษัท น้ำตาลไทยอุดรธานี จำกัด  31. บริษัท อุตสาหกรรมมิตรเกษตร จำกัด32. บริษัท มิตรเกษตร อุทัยธานี จำกัด33. บริษัท น้ำตาลครบุรี จำกัด (มหาชน) 34. บริษัท น้ำตาลและอ้อยตะวันออก จำกัด (มหาชน) 35. บริษัท น้ำตาล เอราวัณ จำกัด36. บริษัท โรงงานน้ำตาลบุรีรัมย์ จำกัด (มหาชน)37. บริษัท อุตสาหกรรมน้ำตาลอีสาน จำกัด38. บริษัท น้ำตาลทรายกำแพงเพชร จำกัด39. บริษัท ประจวบอุตสาหกรรม จำกัด40. บริษัท อุตสาหกรรมน้ำตาลปราณบุรี จำกัด41. บริษัท อุตสาหกรรมอ่างเวียง จำกัด (รง.น้ำตาลราชสีมา แก้งสนามนาง)42. บริษัท อุตสาหกรรมน้ำตาลที.เอ็น. จำกัด43. บริษัท น้ำตาลรีไฟน์ชัยมงคล จำกัด (รง.น้ำตาลอู่ทอง)44. บริษัท น้ำตาลวังขนาย จำกัด (มหาวัง)45. บริษัท โรงงานน้ำตาลทรายขาวเริ่มอุดม จำกัด46. บริษัท สหเรือง จำกัด47. บริษัท น้ำตาลราชบุรี จำกัด 

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า1000 Point

ฉบับที่ 206 กระแสในประเทศ

สรุปความเคลื่อนไหวเดือนเมษายน 2561จับตาพิจารณา “พาราควอต” หมอจุฬาฯ ย้ำอันตราย ทำผู้ป่วยตายทรมานเมื่อวันที่ 9 เม.ย.61 ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ รพ.จุฬาลงกรณ์ ในฐานะกรรมการปฏิรูประบบสาธารณสุข กล่าวว่า ยังพบคนไทยมีความเสี่ยงจากการกินผักผลไม้ปนเปื้อนสารเคมี ซึ่งอาจสะสมจนเสี่ยงต่อโรคไต โรคตับ ล่าสุดพบส่งผลต่อสมองด้วย ที่ผ่านมาเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคได้เรียกร้องให้ยกเลิกการใช้พาราควอต อีกทั้งกระทรวงสาธารณสุขและผู้เชี่ยวชาญได้สรุปข้อเสนอไปแล้วว่าควรถอนทะเบียนพาราควอต เพราะมีผลต่อสุขภาพ แต่ยังมีการตั้งอนุกรรมการเฉพาะกิจ ที่มีตัวแทนจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อพิจารณาตัดสินในเดือนเมษายนนี้อีกว่า จะถอนหรือต่อทะเบียนพาราควอตปัจจุบันพาราควอตถูกห้ามใช้แล้วใน 48 ประเทศทั่วโลก โดยมีผู้ป่วยจากการสัมผัสสารเคมีที่ผิวหนัง หรือกินโดยไม่ตั้งใจ เสียชีวิตอย่างทรมานจากเนื้อปอดเป็นพังผืด ตับวาย ไตวาย และยังพบว่าชาวสวนนั้นสัมผัสสารเคมีจากการย่ำน้ำที่ขังอยู่ในไร่นา ทั้งนี้ คณะวิจัยของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) พบว่า รพ.จังหวัด หนองบัวลำภู ในหนึ่งปีมีคนไข้ 100 กว่าราย และเสียชีวิตแล้ว 6 ราย จากภาวะขาเน่าและติดเชื้อซ้ำซ้อน ซึ่งผู้ป่วยหลายรายต้องตัดขาทิ้ง สบส.ยกระดับการคุ้มครองผู้บริโภค สแกนปุ๊บ รู้ทันทีคลินิกไหนเถื่อนกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) สร้างระบบให้ประชาชนตรวจสอบการขึ้นทะเบียนสถานพยาบาลด้วย “คิวอาร์โค้ด” (QR Code) ผ่านสมาร์ทโฟน สแกนแล้วรู้ทันทีว่าเป็นคลินิกถูกต้องตามกฎหมาย หรือ คลินิกเถื่อนนพ.ธงชัย กีรติหัตถยากร รองอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า ในปี พ.ศ.2561 เฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานคร มีคลินิกที่ขึ้นทะเบียนกับ สบส. เกือบ 6,000 แห่ง ดังนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการลักลอบเปิดคลินิกเถื่อนให้บริการทางการแพทย์ที่ไม่ได้คุณภาพ สร้างความเสี่ยงต่อสุขภาพ และชีวิตประชาชน สบส.ได้พัฒนาระบบตรวจสอบคลินิกเอกชนที่มีกว่า 20,000 แห่งทั่วประเทศ โดยนำนวัตกรรม “คิวอาร์โค้ด” (QR Code) ติดที่ใบอนุญาตประกอบกิจการสถานพยาบาล, ใบอนุญาตแพทย์ผู้ดำเนินการ และบริเวณด้านหน้าของคลินิกหากประชาชนสแกนคิวอาร์โค้ดแล้วพบว่าข้อมูลชื่อสถานพยาบาลและที่ตั้งไม่ตรง หรือแพทย์ผู้ดำเนินการเป็นคนละคนกับที่แสดงในฐานข้อมูล ขอให้หลีกเลี่ยงการรับบริการจากคลินิกดังกล่าว สำหรับในพื้นที่ กทม. ให้แจ้งมายังศูนย์รับเรื่องร้องเรียนกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ โทรศัพท์ 02 193 7000 ต่อ 18618 ในส่วนภูมิภาค ให้แจ้งที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดในพื้นที่ เพื่อให้หน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบเข้าดำเนินการตรวจสอบโดยทันที พบเครื่องสำอางเกาหลี 8 ยี่ห้อ ปนเปื้อนโลหะหนักเมื่อวันที่ 23 มี.ค.61 เว็บไซต์ข่าวโพสต์ทูเดย์ ได้เผยแพร่ข่าวจากเซาท์ไชน่ามอร์นิ่งโพสต์ ซึ่งรายงานว่า รัฐบาลเกาหลีใต้โดยกระทรวงความปลอดภัยของอาหารและยา เปิดเผยเครื่องสำอาง 8 ยี่ห้อ ที่ผลิตในเกาหลีปนเปื้อนสารโลหะหนักจำนวนมาก โดยพบว่าเครื่องสำอาง 13 ชนิด มีทั้งเครื่องสำอางสำหรับชายและหญิง ที่จำหน่ายโดยแบรนด์ดัง 8 ยี่ห้อ มีตั้งแต่แบรนด์ อีทูดี้ เฮ้าส์, เอเทรียม, เมคฮัล, XTM Style, SKEDA, สกินฟู้ด, 3CE และ Makeheal Naked Slim Brow Pencil (สี BR0203 and YL0801) ซึ่งตามรายงานของหน่วยงานดังกล่าว ระบุว่า พบ antimony ในระดับตั้งแต่ 10.1 ส่วนต่อล้าน (ppm) ถึง 14.3 ppm จากทั้งใน 13 ผลิตภัณฑ์ ซึ่งกฎหมายอนุญาตให้พบ antimony ได้สูงสุดไม่เกิน 10 ppmด้านบริษัท อมอร์แปซิฟิก ซึ่งเป็นหนึ่งในเจ้าของแบรนด์ที่อยู่ในรายชื่อดังกล่าว ได้ออกแถลงการณ์ขอโทษต่อสิ่งที่เกิดขึ้น พร้อมระบุว่าจะหามาตรการอย่างดีที่สุดเพื่อไม่ให้เกิดเรื่องแบบนี้ขึ้นอีก และได้สั่งเรียกคืนเครื่องสำอางที่มีปัญหาดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคมแล้วที่มา: เว็บไซต์โพสต์ทูเดย์, scmp.com สคบ. ออก“สัญญาเช่าซื้อรถ” เพิ่มความคุ้มครองผู้บริโภค ไม่ให้ถูกเอาเปรียบเว็บไซต์ประชาชาติธุรกิจ รายงานว่า สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ได้ออกประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2561 (ฉบับใหม่ล่าสุด) ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 กรกฎาคมนี้โดยสาระสำคัญของประกาศฉบับใหม่ ไม่ได้แตกต่างจากเดิมมากนัก ที่แก้ไขเป็นเรื่องการคิดอัตราดอกเบี้ยกรณีผิดนัดชำระหนี้, การปรับลดดอกเบี้ยกรณีผู้บริโภคต้องการชำระค่าเช่าซื้อทั้งหมดในคราวเดียวกัน, ค่าใช้จ่ายจากการบังคับยึดรถกรณีผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระหนี้เกิดกำหนด ซึ่งเดิมผู้ให้สินเชื่อเช่าซื้อหรือบริษัทลีซซิ่ง สามารถเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการยึดรถจากผู้บริโภคได้ แต่กฎหมายใหม่กำหนดข้อห้ามไว้ ซึ่งประกาศฉบับใหม่ มีรายละเอียดโดยสรุป ดังนี้1. กำหนดดอกเบี้ยปรับกรณีผิดนัดชำระ ไม่เกิน 15% (เดิม 17%)2. บริษัทเช่าซื้อต้องทำตารางแสดงค่างวด แยกเงินต้น-ดอกเบี้ย วันเดือนปีชำระค่างวด ให้ผู้บริโภคทราบชัดเจน3. กรณีผู้เช่าซื้อต้องการชำระเงินทั้งหมด (โปะ) บริษัทลีสซิ่งต้องให้ส่วนลดดอกเบี้ยไม่น้อยกว่า 50%4. ให้สิทธิ์ผู้เช่าซื้อ ซื้อรถคืนได้ภายใน 7 วัน หลังยึดรถ และให้สิทธิ์ผู้ค้ำประกันอีก 15 วัน5. กรณีจะนำรถขายทอดตลาด ต้องแจ้งให้ผู้เช่าซื้อและผู้ค้ำประกันทราบล่วงหน้า 7 วัน โดยจะซื้อได้ตามมูลหนี้ส่วนที่ขาดอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อ6. บริษัทเช่าซื้อสามารถเก็บค่าธรรมเนียมทวงถามได้ตามใช้จ่ายจริง แต่ห้ามเก็บค่าใช้จ่ายดำเนินการยึดรถ7. มีผลบังคับใช้ 1 กรกฎาคม 2561นอกจากนี้ ในประกาศยังระบุว่า ในกรณีที่ผู้เช่าซื้อ ชำระเงินค่าเช่าซื้อและค่าใช้จ่ายต่างๆ ครบถ้วนแล้ว ให้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ที่เช่าซื้อเป็นของลูกค้าทันที โดยบริษัทลีสซิ่งต้องดำเนินการจดทะเบียนรถให้เป็นชื่อของลูกค้าภายใน 30 วัน หากเกินกำหนด บริษัทลีสซิ่งต้องเสียเบี้ยปรับในอัตราที่เท่ากับเบี้ยปรับที่ลูกค้าต้องชำระเมื่อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อ คอบช. ทวงถาม กรมการค้าภายใน เรื่องควบคุมค่ารักษา รพ.เอกชนเมื่อวันที่ 28 มี.ค.61 คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค(คอบช.) พร้อมเครือข่ายผู้บริโภค ได้เดินทางไปติดตามทวงถาม เรื่องการควบคุมราคาค่ารักษาพยาบาล กับ กรมการค้าภายใน หลังจากเคยยื่นหนังสือขอให้ควบคุมราคาค่ารักษาพยาบาลของโรงพยาบาลเอกชน เมื่อ มี.ค.ที่ผ่านมาโดยได้มีการเสนอข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการบริการสุขภาพของ รพ.เอกชน ว่าถือเป็นบริการที่มีความจำเป็นพื้นฐาน จึงควรมีการควบคุมราคา ซึ่งการเรียกเก็บค่าบริการที่ไม่เป็นธรรมของ รพ.เอกชน ยังคงเป็นปัญหาที่ผู้บริโภคร้องเรียนเข้ามาน.ส.สุภัทรา นาคะผิว กรรมการ คอบช. ด้านบริการสุขภาพ กล่าวว่า การควบคุมค่ารักษาพยาบาลแพง ใน รพ.เอกชนนั้นเป็นเรื่องเร่งด่วน เพราะผู้ใช้บริการมีความเดือดร้อน จากการเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลที่ไม่มีการกำกับดูแลขอบเขต จึงขอให้คณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) ได้จัดประชุมเพื่อทบทวนในเรื่องนี้ โดยขอให้กรมการค้าภายใน เก็บข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สมาคมโรงพยาบาลเอกชน  เพื่อหามาตรการกำกับควบคุมต่อไป โดยหลังจากนี้ ทางเครือข่ายผู้บริโภคจะมีการติดตามทวงถามความคืบหน้าอีกครั้งหนึ่ง

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 206 ไขมันทรานส์และพลังงาน ในโดนัทรสช็อกโกแลต

ไขมันทรานส์และพลังงาน ในโดนัทรสช็อกโกแลตแม้หลายคนจะยกให้โดนัทจะเป็นของว่างแสนอร่อย จนบางครั้งก็กินเพลินจนลืมไปว่าในความอร่อยที่แสนหวานนั้น ให้พลังงานสูงไม่แพ้การรับประทานอาหารจานหลักเลยทีเดียว และที่มากไปกว่านั้นยังทำให้เราเสี่ยงต่อการได้รับไขมันทรานส์อีกด้วย โดยสำหรับเจ้าไขมันทรานส์(Trans fat) หรือกรดไขมันทรานส์ (Trans Fatty acid) นั้น เป็นกรดไขมันชนิดหนึ่งที่เกิดจากกระบวนการแปรรูป พบมากในการผลิตอาหารทอด ครีมเทียม หรือพวกขนมอบ เบเกอรี่ที่มีมาการีน/เนยขาว เพราะสามารถทำให้อาหารเก็บได้นาน ทนความร้อน ไม่มีกลิ่นหืนและต้นทุนการผลิตต่ำ อย่างไรก็ตามไขมันทรานส์กลับเป็นถูกจัดให้เป็นไขมันตัวร้าย เนื่องจากสามารถเพิ่มระดับระดับโคเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL: low-density lipoprotein) ที่มีผลต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นต้นเหตุของโรคหัวใจและความดัน รวมทั้งสามารถทำให้มีการอักเสบของผนังหลอดเลือด ซึ่งทำให้หลอดเลือดตีบง่ายขึ้น ส่งผลให้องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำให้หลีกเลี่ยงการบริโภคไขมันทรานส์ หรือไม่ควรบริโภคเกินกว่า 2.2 กรัม/วัน และควรพบความเข้มข้นในอาหารได้สูงสุดไม่เกิน 0.5 กรัมต่อหน่วยบริโภคฉลาดซื้อฉบับนี้จึงกลับมาเอาใจคนชอบกินโดนัทกันอีกครั้ง ด้วยการทดสอบปริมาณไขมันทรานส์ และพลังงานในโดนัทรสช็อกโกแลต จากยี่ห้อยอดนิยมตามท้องตลาดจำนวน 13 ตัวอย่าง ซึ่งผลการทดสอบจะเป็นอย่างไร เราลองไปดูกันเลยประเทศไทยอยู่ในระหว่างการยกร่างกฎหมาย ที่กำหนดห้ามนำส่วนประกอบอาหารที่มีไขมันทรานส์มาผลิตอาหาร หรือ ห้ามเติมสารไฮโดรเจนลงไปในกระบวนการผลิตน้ำมัน โดยคาดว่าจะสามารถบังคับใช้ได้ภายในเดือนเมษายน 2561 อ้างอิงบทความข่าวจาก https://www.matichon.co.th/news/781033สรุปผลการทดสอบจากโดนัทที่นำมาทดสอบทั้งหมดจำนวน 13 ตัวอย่าง พบว่า1. พลังงาน- ยี่ห้อที่ให้พลังงาน/ 100 กรัม มากที่สุด คือ แซง-เอ-ตัวล (Saint ETOILE) ให้พลังงาน 471 kcal./ 100 กรัมในขณะที่ยี่ห้อ ดังกิ้น โดนัท ให้พลังงานน้อยที่สุด คือ 381 kcal./ 100 กรัม- ยี่ห้อที่ให้พลังงาน/ ชิ้น มากที่สุด คือ แซง-เอ-ตัวล (Saint ETOILE) ให้พลังงาน 320 kcal./ ชิ้น (68 กรัม)ส่วนยี่ห้อ เอ็น.เค.โดนัท (NK Donut) ให้พลังงานน้อยที่สุด คือ 85 kcal./ชิ้น (19 กรัม)2. ไขมันทรานส์ผลการทดสอบพบว่า ทุกยี่ห้อมีส่วนประกอบของไขมันทรานส์ โดยแบ่งเป็น - ยี่ห้อที่มีปริมาณไขมันทรานส์/ 100 กรัม มากที่สุด คือ ซับไลม์โดนัท (Sublime Doughnuts) มีปริมาณไขมันทรานส์ 6.65 กรัม./ 100 กรัมในขณะที่ยี่ห้อ เฟลเวอร์ ฟิลด์ (Flavor Field) มีปริมาณไขมันทรานส์น้อยที่สุด คือ 0.12 กรัม./ 100 กรัม- ยี่ห้อที่มีปริมาณไขมันทรานส์/ ชิ้นมากที่สุด คือ ซับไลม์โดนัท (Sublime Doughnuts) มีปริมาณไขมันทรานส์ 4.5913 กรัม./ ชิ้น (69 กรัม)ส่วนยี่ห้อที่มีปริมาณไขมันทรานส์/ ชิ้นน้อยที่สุด คือ แด๊ดดี้ โด (Daddy Dough) มีปริมาณไขมันทรานส์ 0.0729 กรัม./ ชิ้น (51 กรัม)ข้อสังเกต- ไขมันทรานส์ จากโดนัทที่นำมาทดสอบทั้งหมด พบว่า มีปริมาณไขมันทรานส์ เฉลี่ย 1.25 ต่อหน่วยบริโภค ซึ่งสูงเกินกว่าที่องค์การอนามัยโลกแนะนำ คือไม่ควรเกิน 0.5 กรัมต่อหน่วยบริโภค โดยหากเราบริโภคหลายชิ้น อาจได้รับปริมาณไขมันทรานส์มากกว่าเกินกว่า 2.2 กรัม/วันได้ ทำให้ส่งผลเสียต่อสุขภาพ - โดนัทส่วนใหญ่มีน้ำหนักประมาณ 60 กรัม/ ชิ้น และให้พลังงานเฉลี่ยที่ประมาณ 256 กิโลแคลอรี่ ซึ่งหากเราอร่อยเพลิน อาจทำให้ได้รับพลังงานสูงเกินกว่าที่ต้องการต้องการได้ เพราะอย่าลืมว่าโดนัท เป็นเพียงของหวานรับประทานเล่นเท่านั้น ยังมีอีก 3 มื้อหลัก/ วันรออยู่ (ปริมาณพลังงานที่เหมาะสมที่ร่างกายควรได้รับใน 1 วันคือ 2,000 กิโลแคลอรี่)**** อัพเดท***เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2561 ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องกำหนดอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย ระบุว่า โดยปรากฏหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจนว่า กรดไขมันทรานส์ (Trans Fatty Acids) จากน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน (Partially Hydrogenated Oils) ส่งผลเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 วรรคหนึ่ง และมาตรา 6 (8) แห่งพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ข้อ 1 ให้น้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนและอาหารที่มีน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนเป็นส่วนประกอบ เป็นอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่ายข้อ 2 ประกาศฉบับนี้ ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวัน นับแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 13 มิถุนายน 2561ปิยะสกล สกลสัตยาทรรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า1000 Point

ฉลาดซื้อฉบับที่ 205 ผลิตภัณฑ์ของฝาก-ของดี จาก 4 ภาค "น้ำพริกหนุ่ม น้ำปลาร้า แกงไตปลาแห้ง และโรตีสายไหม"

สารกันบูด ในน้ำพริกหนุ่ม และ แกงไตปลาแห้งฉลาดซื้อฉบับนี้ เราจะพาไปขึ้นเหนือล่องใต้ ออกอีสานและแวะเที่ยวภาคกลาง ด้วยเรื่องราวของ ของฝากสี่ภาค โดยฉลาดซื้อ โครงการเฝ้าระวังสินค้าและบริการ เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ และเครือข่ายผู้บริโภคทั้งสี่ภาค  เก็บตัวอย่างสินค้า 4 ชนิด ซึ่งจัดเป็นของฝากยอดนิยม มาทดสอบเพื่อเป็นการเฝ้าระวังด้านความปลอดภัยให้กับผู้บริโภค ขอประเดิมด้วย ผลทดสอบของฝากยอดนิยมจากภาคเหนือ อย่าง “น้ำพริกหนุ่ม” ซึ่งนิยมรับประทานคู่กับแคบหมู เพราะมีรสชาติที่ไม่เผ็ดมากนัก(ลำแต้ๆ เจ้า) และ “แกงไตปลาแห้ง” จากภาคใต้ที่ออกรสชาติเค็มและเผ็ดร้อน เหมาะรับประทานเคียงกับผัก(หรอยจังฮู้) โดยปัจจุบันน้ำพริกทั้งสองชนิดนี้ มักถูกวางจำหน่ายไปยังศูนย์โอทอปหรือศูนย์ของฝากทั่วประเทศ ทำให้ผู้ผลิตหลายรายนิยมใช้วัตถุกันเสีย หรือสารกันบูดมาช่วยถนอมอาหาร เพื่อทำให้สามารถเก็บรักษาไว้ได้นานขึ้น ซึ่งแม้กฎหมายไม่ได้ห้ามการใส่สารดังกล่าว แต่ก็กำหนดให้ใส่อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม คือ ไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามเกณฑ์มาตรฐานของโคเด็กซ์ (CODEX) ที่กำหนดไว้ในหมวดอาหารประเภทน้ำพริกแบบแห้งและน้ำพริกแบบเปียก เพราะการใช้วัตถุกันเสียที่มากเกินไป สามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้บริโภคที่รับประทานเป็นประจำได้ เช่น ทำให้ระคายเคืองระบบทางเดินอาหาร คลื่นไส้ อาเจียน หรือเกิดการสะสมในร่างกายและก่อให้เกิดเป็นพิษเรื้อรังในอนาคต เครือข่ายผู้บริโภคภาคเหนือ ได้สุ่มเก็บตัวอย่างน้ำพริกหนุ่มพร้อมบริโภค จากจังหวัดต่างๆ แถบภาคเหนือ และเครือข่ายผู้บริโภคภาคใต้ สุ่มเก็บตัวอย่างแกงไตปลาแห้งพร้อมบริโภค จากจังหวัดต่างๆ ในภาคใต้ เป็นจำนวนภาคละ 10 ยี่ห้อ (เก็บตัวอย่างระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม 61) ซึ่งมีการวางจำหน่ายตามท้องตลาดหรือร้านของฝากทั่วไป เพื่อทดสอบหาปริมาณสารกันบูด (กรดเบนโซอิกและซอร์บิก) โดยผลการทดสอบจะเป็นอย่างไรนั้น ไปดูกันเลยสรุปผลการทดสอบ - น้ำพริกหนุ่ม จากตัวอย่างน้ำพริกหนุ่มที่นำมาทดสอบทั้งหมด จำนวน 10 ยี่ห้อ พบว่า ทุกตัวอย่างมีสารกันบูดหรือกรดเบนโซอิกตกค้าง โดยมีน้ำพริกหนุ่ม 4 ยี่ห้อ ที่มีปริมาณกรดเบนโซอิกสูงเกินกว่าที่มาตรฐานโคเด็กซ์กำหนด คือ ไม่เกิน 1,000 มก./อาหาร 1 กก. ได้แก่1. แม่ถนอม มีปริมาณกรดเบนโซอิกมากที่สุด คือ 3476.46 มก./กก. 2. ป้านวย มีปริมาณกรดเบนโซอิก 1195.06 มก./กก.3. ศุภลักษณ์(รสเผ็ดมาก) มีปริมาณกรดเบนโซอิก 1122.06 มก./กก. และ4. น้ำพริก มารศรี(สูตรดั้งเดิม) มีปริมาณกรดเบนโซอิก 1043.80 มก./กก. อีก 6 ตัวอย่าง ไม่เกินเกณฑ์มาตรฐาน  ปลอดภัยในการบริโภค  โดยน้ำพริกหนุ่มยี่ห้อ เรือนไทยขนมไทย พบปริมาณกรดเบนโซอิกน้อยที่สุด คือ 217.73 มก./กก.สารกันบูด แกงไตปลาแห้งจากตัวอย่างแกงไตปลาแห้งที่นำมาทดสอบทั้งหมดจำนวน 10 ยี่ห้อ พบว่า- มี 3 ยี่ห้อ ที่ไม่พบสารกันบูดหรือกรดเบนโซอิกตกค้างเลย ได้แก่ 1. คุณแม่จู้ 2. วังรายา และ 3. วิน (Win) - มี 2 ยี่ห้อ พบกรดเบนโซอิก แต่ไม่เกินเกณฑ์มาตรฐาน ได้แก่ แม่รุ่ง และ เจ๊น้อง - มี 5 ยี่ห้อ ที่พบสารกันบูด (กรดเบนโซอิก/ ซอร์บิก) ตกค้างเกินกว่าที่มาตรฐานโคเด็กซ์กำหนด คือพบได้สูงสุดไม่เกิน 1,000 มก./ อาหาร 1 กก. ได้แก่1. ป้าสุ มีปริมาณกรดเบนโซอิกและซอร์บิก คือ 1318.32 มก./กก. และ 978.88 มก./กก. ตามลำดับ 2. ชนิดา(CHANIDA) มีปริมาณกรดเบนโซอิก 2540.22 มก./กก.3. RICHMe by lalita มีปริมาณกรดเบนโซอิก 2429.64 มก./กก. 4. จันทร์เสวย มีปริมาณกรดเบนโซอิก 1572.86 มก./กก.5. แม่จิตร มีปริมาณกรดเบนโซอิก 1508.32 มก./กก.ยี่ห้อ ป้าสุ ซึ่งตรวจพบ ปริมาณกรดเบนโซอิก 1318.32 มก./กก. และกรดซอร์บิก 978.88 มก./กก. นั้น พบว่า มีผลรวมของสารกันบูด หรือกรดเบนโซอิกและซอร์บิกรวมกัน เท่ากับ 2.297.2 มก./กก. ซึ่งสูงเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้  หากมีการใช้วัตถุเจือปนอาหารตั้งแต่สองชนิดขึ้นไป ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 381) “ข้อ 6 การใช้วัตถุเจือปนอาหาร ต้องใช้ตามชื่อวัตถุเจือปนอาหาร หมวดอาหาร หรือชนิดอาหาร หน้าที่ทางด้านเทคโนโลยีการผลิต และปริมาณสูงสุดที่อนุญาตที่กำหนดไว้ตามบัญชีหมายเลข 1 โดยมีคำอธิบายเพิ่มเติมตามบัญชีหมายเลข 2 แนบท้ายประกาศนี้ การใช้วัตถุเจือปนอาหารที่มีการกำหนดปริมาณสูงสุดที่อนุญาตเป็นตัวเลขในกลุ่มหน้าที่เดียวกันรวมกันตั้งแต่สองชนิดขึ้นไป จะต้องมีผลรวมของสัดส่วนของปริมาณการใช้วัตถุเจือปนอาหารต่อปริมาณสูงสุดที่อนุญาตของวัตถุเจือปนอาหารแต่ละชนิดไม่เกินหนึ่ง”ข้อสังเกตเรื่อง ฉลากอาหารตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 237) พ.ศ.2544 เรื่องการแสดงฉลากของอาหารพร้อมปรุง และอาหารสำเร็จรูปที่พร้อมบริโภคบริโภคทันที กำหนดให้อาหารสำเร็จรูปที่พร้อมบริโภคบริโภคทันที หมายถึง อาหารที่ผลิตเรียบร้อยพร้อมบริโภค ที่บรรจุในภาชนะพร้อมจำหน่ายได้ทันที ซึ่งต้องมีการแสดงฉลากตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 194) พ.ศ.2543 เรื่องฉลาก ที่กำหนดให้ ต้องมีข้อความเป็นภาษาไทย และมีข้อความแสดงรายละเอียดต่อไปนี้ (ยกเว้นอาหารสำเร็จรูปที่พร้อมบริโภคทันที ซึ่งผู้ปรุงเป็นผู้จำหน่ายแก่ผู้บริโภคโดยตรง)1. ชื่ออาหาร 2. เลขสารบบอาหาร 3. ชื่อและที่ตั้งของสถานที่ผลิต หรือแบ่งบรรจุ หรือจัดจำหน่าย แล้วแต่กรณี 4. น้ำหนักสุทธิ 5. ส่วนประกอบที่สำคัญ 6. ข้อความว่า “ใช้วัตถุกันเสีย” ถ้ามีการใช้ 7. ข้อความว่า “เจือสีธรรมชาติ” หรือ “เจือสีสังเคราะห์” ถ้ามีการใช้แล้วแต่กรณี 8. ข้อความว่า “ใช้...เป็นวัตถุปรุงแต่งรสอาหาร” 9. ข้อความว่า “ใช้...เป็นวัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาล” 10. ข้อความว่า “แต่งกลิ่นธรรมชาติ” “แต่งกลิ่นเลียนธรรมชาติ” “แต่งกลิ่นสังเคราะห์” “แต่งรสธรรมชาติ” หรือ “แต่งรสเลียนธรรมชาติ” ถ้ามีการใช้แล้วแต่กรณี 11.วันเดือนและปีที่หมดอายุ/ ผลิต 12. คำแนะนำในการเก็บรักษา (ถ้ามี)และจากตัวอย่างน้ำพริกหนุ่ม และแกงไตปลาแห้งที่นำมาทดสอบทั้งหมด พบว่า มีหลายตัวอย่างที่แสดงรายละเอียดบนฉลากไม่ครบถ้วน ซึ่งอาจขัดต่อกฎหมายดังกล่าวน้ำปลาร้าปรุงสำเร็จโลหะหนัก ตะกั่ว แคดเมียม ในน้ำปลาร้าปรุงสำเร็จปลาร้า เป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งที่แทบขาดไม่ได้ในครัวคนอีสานหรือร้านอาหารอีสาน โดยเฉพาะส้มตำปลาร้า เมนูสุดแซ่บขวัญใจคนทุกภาค แต่ปลาร้านั้นหากไม่ทำให้สุกก่อนบริโภค ก็อาจก่อปัญหาด้านสุขภาพได้มาก โดยเฉพาะเรื่องพยาธิใบไม้ที่แฝงในตัวปลาหรือจุลินทรีย์ก่อโรคที่อาจส่งผลให้เสาะท้องได้ จึงมีการรณรงค์ในวงกว้างให้ใช้ปลาร้าสุกหรือทำปลาร้าให้สุกก่อนบริโภค ซึ่งก็ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ขึ้นมา นั่นคือ น้ำปลาร้าปรุงสุกสำเร็จรูป ออกวางขายทั่วไป เรียกว่า ช่วยสร้างความสะดวกให้แก่ผู้บริโภคได้อร่อยนัวกันอย่างวางใจ ซึ่งแหล่งผลิตใหญ่ก็ไม่พ้นภาคอีสาน และถือเป็นหนึ่งในของฝากที่มีชื่อเสียง ฉลาดซื้อ โดยโครงการเฝ้าระวังสินค้าและบริการ เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ จึงร่วมมือกับเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เก็บตัวอย่างน้ำปลาร้าปรุงสำเร็จ จำนวน 12 ตัวอย่าง ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม 2561 เพื่อทดสอบหาปริมาณตะกั่วและแคดเมียม ซึ่งเป็นโลหะหนักที่ปนเปื้อนอยู่ในสิ่งแวดล้อมทั่วไปและมีโอกาสเข้าสู่ตัวปลาที่ใช้ในการทำน้ำปลาร้า ถือเป็นการเฝ้าระวังด้านอาหารเพื่อสร้างความมั่นใจในการบริโภค และเป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการซื้อน้ำปลาร้าปรุงสำเร็จเป็นของฝากยามเยือนถิ่นอีสานน้ำปลาร้า หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการหมักปลากับเกลือ เติมข้าวคั่วที่บดละเอียด รำข้าว หรือรำข้าวคั่วในอัตราส่วนที่เหมาะสม ก่อนหรือหลังการหมักปลากับเกลือ เพื่อให้ได้กลิ่นรสตามธรรมชาติของปลาร้านำมากรอง ให้ความร้อนก่อนบรรจุ หรือได้จากการนำปลาร้าดิบมาต้มกับนํ้า อาจเติมเกลือ สมุนไพร แล้วกรอง อาจเติมเครื่องปรุงรส เช่น น้ำตาล น้ำมะขาม น้ำกระเทียมดอง และให้ความร้อนก่อนบรรจุที่มา มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน มผช.1346/2557ผลทดสอบผลทดสอบตะกั่ว น้ำปลาร้าทุกตัวอย่างผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98 พ.ศ. 2529 คือไม่เกิน 1 มิลลิกรัม/อาหาร 1 กิโลกรัมส่วนผลทดสอบแคดเมียม เนื่องจากไม่มีเกณฑ์มาตรฐานตามประกาศ ฉบับที่ 98 จึงใช้เกณฑ์เทียบเคียงจากของมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน น้ำปลาร้า ของสำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม คือ แคดเมียม ต้องน้อยกว่า 2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม พบว่า ทุกตัวอย่างผ่านเกณฑ์มาตรฐาน มผช.มาตรฐานตะกั่วและแคดเมียมในอาหารประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98 พ.ศ.2529 เรื่อง มาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน  กำหนดให้ตรวจพบตะกั่วไม่เกิน 1 มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม ส่วนแคดเมียมไม่มีการกำหนดมาตรฐานไว้ในประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98 แต่อาจพิจารณาเทียบเคียงจาก มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน น้ำปลาร้า (มผช. 1346/2557) ของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ซึ่งกำหนดไว้ว่า สารปนเปื้อนแคดเมียม ต้องน้อยกว่า 2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม  ขณะที่ Codex (Codex Standard 193-1995) กำหนดไว้ไม่เกิน 2 มิลลิกรัม/กิโลกรัมในสัตว์น้ำ (Marine bivalve molluscs) และสหภาพยุโรป (EC) No 1881/2006 กำหนดค่ามาตรฐานแคดเมียมในเนื้อปลาไว้ไม่เกิน 0.05 มิลลิกรัม/กิโลกรัม(0.05 ppm.)  แต่ทั้งนี้ก็มีการแยกย่อยไปตามชนิดของปลาด้วย ตะกั่ว แคดเมียม อยู่ในน้ำปลาร้าได้อย่างไร โลหะหนักถูกใช้ในแวดวงอุตสาหกรรมหลายชนิด แต่ที่หลุดรอดออกสู่แหล่งดิน น้ำธรรมชาติ และถูกกำหนดไว้ในมาตรฐานอาหารส่วนใหญ่ คือ ปรอท ตะกั่ว แคดเมียม เนื่องจากมีพิษรุนแรง การปนเปื้อนเข้าสู่แหล่งน้ำ ก็มีความเสี่ยงที่โลหะหนักจะสะสมในตัวสัตว์น้ำอย่างปลา ที่ใช้เป็นวัตถุดิบสำคัญในการทำปลาร้า และโลหะหนักไม่อาจทำลายได้ด้วยความร้อน จึงสามารถพบได้ในอาหารที่ผลิตออกจำหน่าย  โรตีสายไหม โรตีสายไหม ของฝากออเจ้า จากกรุงเก่าอยุธยาหากได้มีโอกาสเดินทางไปท่องเที่ยวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นอกจากการแวะไปไหว้พระทำบุญในวัดสำคัญ และเยี่ยมชมโบราณสถานที่งดงามในจังหวัดแล้ว คงไม่พลาดต้องซื้อของฝากชื่อดังอยุธยาอย่าง “โรตีสายไหม” หนึ่งในของดีภาคกลางติดไม้ติดมือกลับบ้านไปฝากคนรู้จักรู้ใจอย่างแน่นอน เพราะรสสัมผัสของแผ่นแป้งโรตีที่ละมุนนุ่มลิ้น กับกลิ่นหอมหวานของสายไหมสีสดใส เมื่อได้ชิมชิ้นแรก ก็คงห้ามใจ ไม่ให้หยิบชิ้นต่อไปคงไม่ได้“ขนมโรตีสายไหม” มีส่วนประกอบหลัก 2 ส่วน คือ ส่วนของแป้ง และส่วนของเส้นสายไหม แป้งโรตีประกอบไปด้วย แป้งสาลี น้ำ และเกลือ ส่วนของสายไหม มีส่วนผสมของน้ำตาล น้ำมันมะพร้าว และแป้งสาลี ซึ่งขนมที่มีส่วนประกอบของแป้ง อาจต้องใช้สารกันบูด กันรา เพื่อยืดอายุการเก็บรักษา ไม่ให้บูดเสียเร็วหรือขึ้นราได้ง่าย และอาจมีการใช้สีผสมอาหารสังเคราะห์ในแผ่นแป้ง และสายไหม เพื่อสร้างสีสันให้กับแผ่นแป้ง และเส้นสายไหม ให้สดใสดึงดูดใจคนกิน ฉลาดซื้อ ร่วมกับตัวแทนเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภาคกลาง จึงอยากเชิญชวนผู้บริโภค มาลองดูกันว่า เมื่อสุ่มเก็บตัวอย่าง โรตีสายไหม ในแบบฉบับที่ผู้บริโภคซื้อกันแล้ว เราพบอะไรบ้างที่น่าสนใจว่ากันว่าโรตีสายไหม ที่โด่งดังของอยุธยานั้น เป็นขนมของชาวไทยมุสลิม มีต้นกำเนิดมาจากการรังสรรค์ของนายบังเปีย แสงอรุณ และครอบครัว ที่ได้คิดค้นขึ้น เมื่อครั้งไปทำงานอยู่ที่ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ก่อนจะเดินทางกลับมาประกอบอาชีพที่บ้านเกิดอยุธยาหากเอ่ยถึงตลาดขายโรตีเจ้าดัง คงต้องตรงดิ่งไปที่โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา ไม่ได้พาไปหาหมอหายา แต่ว่าร้านโรตีเจ้าอร่อย เขามารวมตัวกันอยู่ที่นี่ แถวเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา แต่ถ้าใครไม่ได้ผ่านไปแถวนั้น ก็ไม่ต้องเสียใจ ยังมีเส้นทางโรตีสายไหม ที่จอดรถซื้อข้างทางได้ เช่น ถนนบางไทร - บางปะหัน, ถนนอยุธยา - บางปะอิน, ถนนเลี่ยงเมืองสุพรรณ รวมไปถึงถนนสายเอเชียผลทดสอบโรตีสายไหม โรตีสายไหมที่นำมาทดสอบ จำนวน 10 ตัวอย่าง ได้จากการสุ่มซื้อโดยเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภาคกลาง จากร้านโรตีสายไหม 10 แห่ง ใน จ.พระนครศรีอยุธยา ในส่วนของแผ่นแป้งโรตี ฉลาดซื้อเลือกทดสอบวัตถุกันเสีย จำนวน 3 ชนิด ที่อาจถูกใช้เพื่อยืดอายุการเก็บรักษา ได้แก่ กรดซอร์บิก กรดเบนโซอิก และกรดโพรพิโอนิก รวมทั้งทดสอบหาสีสังเคราะห์ในแผ่นแป้งด้วย สำหรับสายไหม เลือกทดสอบเฉพาะสีสังเคราะห์ ผลการทดสอบพบว่า• แผ่นแป้งโรตี  ตรวจพบกรดเบนโซอิก(Benzoic Acid) เกินมาตรฐาน (1,000 มก./กก.)   จำนวน 4 ตัวอย่าง ได้แก่  1) โรตีสายไหม ร้านศิลัคข บังอารีย์ แสงอารุณ เจ้าเก่า ตรวจพบปริมาณกรดเบนโซอิก  1910.45  มก./กก.2) ร้านแม่ชูศรี ตรวจพบปริมาณกรดเบนโซอิก  1894.05  มก./กก. 3) ร้านเรือนไทย ตรวจพบปริมาณกรดเบนโซอิก  1502.32  มก./กก.4) ร้านเอกชัย (B.AEK) ตรวจพบปริมาณกรดเบนโซอิก  1147.95  มก./กก.ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 381 พ.ศ. 2559 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 4) สำหรับอาหารประเภทธัญชาติและผลิตภัณฑ์ธัญชาติ กำหนดปริมาณกรดเบนโซอิก ไม่เกิน 1,000 มก./อาหาร 1 กก. อีก 6 ตัวอย่างตรวจพบ กรดเบนโซอิก แต่อยู่ในเกณฑ์ปลอดภัยไม่เกินมาตรฐาน(เรียงลำดับจากน้อยที่สุดไปมากที่สุด ได้แก่1) ร้านอาบีดีน+ประนอม แสงอรุณ  ตรวจพบปริมาณกรดเบนโซอิก  23.96 มก./กก. 2) ร้านวริศรา โรตีสายไหม  ตรวจพบปริมาณกรดเบนโซอิก  671.45 มก./กก. 3) ร้านโรตีสายไหมบังแป๊ะ  ตรวจพบปริมาณกรดเบนโซอิก  686.56 มก./กก. 4) ร้านโรตีสายไหม ไคโร น้องชายบังอิมรอน  ตรวจพบปริมาณกรดเบนโซอิก  708.64 มก./กก. 5) ร้านจ๊ะโอ๋  ตรวจพบปริมาณกรดเบนโซอิก  887.62 มก./กก. 6) ร้านประวีร์วัณณ์  ตรวจพบปริมาณกรดเบนโซอิก  985.84 มก./กก.ด้านสีสังเคราะห์ พบในแผ่นแป้งโรตีทุกตัวอย่างแต่ไม่เกินมาตรฐาน  อย่างไรก็ตาม มีข้อสังเกตว่า ร้านเอกชัย (B.AEK) ซึ่งตรวจพบสีสังเคราะห์ กลุ่มสีเหลือง คือ ตาร์ตราซีน ปริมาณ  49.82 มก./กก. และกลุ่มสีน้ำเงิน คือ บริลเลียนท์ บลู เอฟซีเอฟ ปริมาณ  5.94 มก./กก. เมื่อคำนวณแล้วพบว่า ผลรวมสัดส่วนของสีสังเคราะห์ทั้งสองชนิดที่ตรวจพบ เท่ากับ 1.036 ถือว่าเกินเกณฑ์มาตรฐานไปเล็กน้อย เพราะตามกฎหมายระบุว่า เมื่อนำมาคำนวณร่วมกันแล้ว ต้องไม่เกิน 1 (ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 381 ข้อ 6 ) สำหรับกรดซอร์บิกและกรดโพรพิโอนิกตรวจไม่พบในทุกตัวอย่าง  •สายไหม  ตรวจพบสีสังเคราะห์ทุกตัวอย่าง แต่ไม่เกินมาตรฐาน โดยสีสังเคราะห์ที่ตรวจพบในแผ่นแป้งและสายไหม อยู่ในกลุ่มสีแดง สีเหลือง และสีน้ำเงิน ได้แก่ คาร์โมอีซีน หรือ เอโซรูบิน INS122, ตาร์ตราซีน INS102 และบริลเลียนท์ บลู เอฟซีเอฟ INS133มาตรฐานการใช้ปริมาณวัตถุกันเสียและสีสังเคราะห์ สารกันบูด สารกันรา และสีสังเคราะห์ จัดเป็นวัตถุเจือปนอาหาร (food additive) ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข  (ฉบับที่ 381) พ.ศ. 2559 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 4)  ที่มีข้อกำหนดปริมาณสูงสุดที่อนุญาตให้ใช้ได้ ตามหมวดอาหารแต่ละประเภทเอาไว้ ซึ่งแผ่นแป้งโรตีเทียบได้กับอาหารประเภทธัญชาติและผลิตภัณฑ์ธัญชาติ ส่วนสายไหมนั้นเทียบได้กับอาหารในหมวดลูกกวาด ลูกอม ช็อกโกแลตปริมาณกรดเบนโซอิกที่อนุญาตให้พบได้ในส่วนของ แผ่นแป้งโรตี แผ่นแป้งโรตี เทียบได้ในหมวดอาหารกลุ่มขนมหวานที่มีธัญชาติและสตาร์ชเป็นส่วนประกอบหลัก ตามข้อกำหนดในประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 381) พ.ศ. 2559 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 4) อนุญาตให้ใช้ปริมาณกรดเบนโซอิกสูงสุดได้ไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักอาหาร 1 กิโลกรัม ส่วนสีสังเคราะห์ในกลุ่มสีแดง ได้แก่ คาร์โมอีซีน หรือ เอโซรูบิน (Carmoisine or Azorubine) INS 122 อนุญาตให้ใช้ได้สูงสุดในปริมาณไม่เกิน 50 มก./กก., ในกลุ่มสีเหลือง ได้แก่ ตาร์ตราซีน (Tartrazine) INS 102 อนุญาตให้ใช้ได้สูงสุดในปริมาณไม่เกิน 50 มก./กก. และในกลุ่มสีน้ำเงิน ได้แก่ บริลเลียนท์ บลู เอฟซีเอฟ (Brilliant Blue FCF) INS 133 อนุญาตให้ใช้ได้สูงสุดในปริมาณไม่เกิน 150 มก./กก.ปริมาณสีสังเคราะห์อาหารที่อนุญาตให้พบได้ในส่วนของ สายไหม สายไหม อาจเทียบได้ในหมวดอาหารกลุ่มลูกกวาด นูกัตและมาร์ซิแพน ตามข้อกำหนดในประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 381) พ.ศ. 2559 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 4) อนุญาตให้ใช้สีสังเคราะห์ ในกลุ่มสีเหลือง ตาร์ตราซีน (Tartrazine) INS 102 และในกลุ่มสีน้ำเงิน บริลเลียนท์ บลู เอฟซีเอฟ (Brilliant Blue FCF) INS 133 ได้ในปริมาณไม่เกิน 300 มก./กก. ทั้งนี้ หากมีการใช้วัตถุเจือปนอาหารตั้งแต่สองชนิดขึ้นไป ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 381) “ข้อ 6 การใช้วัตถุเจือปนอาหาร ต้องใช้ตามชื่อวัตถุเจือปนอาหาร หมวดอาหาร หรือชนิดอาหาร หน้าที่ทางด้านเทคโนโลยีการผลิต และปริมาณสูงสุดที่อนุญาตที่กำหนดไว้ตามบัญชีหมายเลข 1 โดยมีคำอธิบายเพิ่มเติมตามบัญชีหมายเลข 2 แนบท้ายประกาศนี้ การใช้วัตถุเจือปนอาหารที่มีการกำหนดปริมาณสูงสุดที่อนุญาตเป็นตัวเลขในกลุ่มหน้าที่เดียวกันรวมกันตั้งแต่สองชนิดขึ้นไป จะต้องมีผลรวมของสัดส่วนของปริมาณการใช้วัตถุเจือปนอาหารต่อปริมาณสูงสุดที่อนุญาตของวัตถุเจือปนอาหารแต่ละชนิดไม่เกินหนึ่ง”รู้จักสารกันบูด และ สารกันรา สารกันบูด และสารกันราที่ฉลาดซื้อเลือกสุ่มตรวจ ได้แก่ กรดซอร์บิก (Sorbic Acid) INS 200, กรดเบนโซอิก (Benzoic Acid) INS 210 และ กรดโพรพิโอนิก (Propionic Acid) INS 280 ซึ่งสารกันเสียแต่ละตัวเป็นวัตถุเจือปนอาหารที่มีลักษณะและวัตถุประสงค์การใช้ในอาหาร ดังนี้ กรดซอร์บิก (Sorbic Acid) INS 200* เป็นวัตถุเจือปนอาหาร (food additive) ที่อยู่ในกลุ่มซอร์เบต (sorbate) ที่ใช้เป็นสารกันเสีย (preservative) มีลักษณะเป็นผลึกสีขาว ใช้ป้องกันการเจริญเติบโตของยีสต์ รา และเเบคทีเรีย โดยไม่มีผลต่อกลิ่นและรสชาติของอาหาร กรดเบนโซอิก (Benzoic Acid) INS 210* เป็นกรดอ่อนในอาหาร เป็นวัตถุเจือปนอาหารเพื่อใช้เป็นสารกันเสีย มีลักษณะเป็นผงผลึกหรือเกล็ดสีขาว มีคุณสมบัติสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ได้ กรดโพรพิโอนิก (Propionic Acid) INS 280* เป็นกรดอินทรีย์ที่พบในอาหารที่เกิดจากการหมัก เป็นวัตถุเจือปนอาหาร มีหน้าที่เป็นสารกันเสีย และใช้เป็นสารกันราในอาหาร(ขอขอบคุณข้อมูลจาก: www.foodnetworksolution.com)หมายเหตุ: *INS (International Numbering System) คือ ระบบเลขหมายสากลสำหรับวัตถุเจือปนอาหารสีสังเคราะห์ที่ใช้ในอาหารสีผสมอาหารสังเคราะห์ หมายถึง สีที่เป็นสารอินทรีย์ที่ได้จากการสังเคราะห์ ใช้เป็นวัตถุเจือปนอาหาร จัดอยู่ในกลุ่มสีผสมอาหาร สีสังเคราะห์มีราคาถูกกว่าสีธรรมชาติ อีกทั้งยังสะดวกต่อการเลือกใช้ ผู้ประกอบการจึงมักนิยมใช้สีสังเคราะห์ในอาหารมากกว่าสีธรรมชาติ ทั้งที่สีธรรมชาติมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคมากกว่า ซึ่งสีสังเคราะห์ สามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มสีต่างๆ ได้แก่ กลุ่มสีแดง, กลุ่มสีเหลือง, กลุ่มสีเขียว และกลุ่มสีน้ำเงินกลุ่มสีแดง มี 3 สี ได้แก่ ปองโซ 4 อาร์ (Ponceau 4 R), คาร์โมอีซีน หรือ เอโซรูบิน (Carmoisine or Azorubine) และ เออริโทรซีน (Erythrosine)กลุ่มสีเหลือง มี 3 สี ได้แก่ ตาร์ตราซีน (Tartrazine), ซันเซ็ต เย็ลโลว์ เอฟซีเอฟ (Sunset Yellow FCF) และ ไรโบฟลาวิน (Riboflavin)กลุ่มสีเขียว มีสีเดียว ได้แก่ ฟาสต์ กรีน เอฟซีเอฟ (Fast Green FCF)และกลุ่มสีน้ำเงิน มี 2 สี ได้แก่ อินดิโกคาร์มีน หรือ อินดิโกติน (Indigocamine or Indigotine) และบริลเลียนท์ บลู เอฟซีเอฟ (Brilliant Blue FCF)

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 204 ที่นอนยุบตัว

บางครั้งสินค้าก็มีราคาและคุณภาพที่สวนทางกัน ซึ่งสร้างปัญหาให้กับผู้บริโภคอย่างเรา ที่นอกจากจะเสียเงินแล้วยังเสียเวลาในการเปลี่ยนคืนสินค้าอีกด้วย คุณแก้วตาต้องการที่นอนขนาด 6 ฟุต จึงไปเดินเลือกซื้อสินค้าจากห้างสรรพสินค้าเมกาบางนา ต่อมาเมื่อพบยี่ห้อที่ต้องการ เธอจึงตัดสินใจซื้อไปในราคาเกือบ 30,000 บาท แต่หลังจากที่นอนถูกจัดส่งมายังบ้านพักของเธอและใช้งานไปประมาณ 1 สัปดาห์กลับพบว่า ที่นอนดังกล่าวมีลักษณะยุบจมเป็นรอยตามส่วนของลำตัวที่กดทับ ไม่ฟูกลับคืนรูปดังเดิม เธอจึงแจ้งปัญหาไปยังบริษัท ซึ่งส่งพนักงานมาวัดระดับความยุบตัว และพบว่ายุบลงจากปกติจริงประมาณ 5 เซนติเมตร คุณแก้วตาจึงต้องการเปลี่ยนที่นอนใหม่ ซึ่งบริษัทก็ยินดีทำตามข้อเสนอดังกล่าว แต่สามารถจัดส่งสินค้าใหม่ให้ได้ในอีก 2 เดือนหลัง ด้านคุณแก้วตาเห็นว่าไม่มีทางเลือกอื่น จึงต้องยินยอมรับข้อเสนอไป อย่างไรก็ตามเมื่อที่นอนมาส่งใหม่ตามกำหนด เธอกลับพบปัญหาอีกครั้ง เพราะเมื่อจัดที่นอนวางลงบนเตียงแล้วกลับพบว่า ที่นอนที่ถูกนำมาเปลี่ยนให้นี้ มีขนาดต่ำกว่าที่นอนเดิมเยอะมาก ซึ่งไม่ตรงตามขนาดมาตรฐานของสินค้าที่ขาย ส่งผลให้เธอต้องโทรศัพท์กลับไปร้องเรียนยังบริษัทอีกครั้ง และได้การตอบรับว่ายินดีจะเปลี่ยนสินค้าให้อีกรอบเมื่อสินค้ารอบที่ 3 มาถึงและถูกใช้งานไปประมาณ 2-3 วัน คุณแก้วตาก็ต้องพบกับปัญหาเดิมคือ ที่นอนยุบตัวไม่คืนรูปขึ้นมาอีก เธอจึงโทรศัพท์ไปร้องเรียนพร้อมแจ้งว่าไม่ต้องการเปลี่ยนที่นอนใหม่แล้ว แต่ต้องการให้บริษัทคืนเงินทั้งหมดเมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนี้ บริษัทจึงยื่นข้อเสนอว่า เธอสามารถเปลี่ยนที่นอนเป็นรุ่นอื่นได้ในราคาที่สูงกว่า(ให้จ่ายส่วนต่างเพิ่ม) หรือราคาที่ถูกกว่า(ให้ของสมนาคุณทดแทนส่วนต่าง) เพราะทางบริษัทไม่มีนโยบายคืนเงินให้กับลูกค้า แต่คุณแก้วตารู้สึกไม่มีความประทับใจในยี่ห้อนี้อีกต่อไปแล้ว จึงปฏิเสธข้อเสนอทั้งหมดพร้อมยืนยันให้มีการคืนเงินเช่นเดิมภายหลังทางบริษัทจึงตอบกลับมาว่า หากคุณแก้วตาต้องการคืนเงิน จะใช้เวลาในการพิจารณานาน รวมทั้งต้องหักเงินในส่วนค่าของแถมอีกด้วย อย่างไรก็ตามคุณแก้วตาเห็นว่าในส่วนที่จะถูกหักนั้นอยู่ในราคาที่พอรับได้ เธอจึงรับข้อเสนอดังกล่าว แต่ขอให้มีการคืนเงินให้เร็วที่สุด ซึ่งบริษัทแจ้งว่าจะสามารถโอนเงินคืนได้ภายใน 3 สัปดาห์ โดยจะส่งพนักงานมารับสินค้ากลับไปก่อน ทั้งนี้เมื่อคุณแก้วตาสอบถามต่อว่า หากพนักงานมารับสินค้าแล้ว จะมีเอกสารหรือหลักฐานเพื่อยืนยันว่าจะได้รับเงินคืนภายในระยะเวลาที่ตกลงกันไว้หรือไม่ กลับได้รับคำตอบว่าทางบริษัทไม่มีให้และไม่เคยเกิดเหตุการณ์โกงเงินลูกค้าขึ้น ส่งผลให้คุณแก้วตากังวลว่าอาจไม่ได้รับเงินคืนภายในระยะเวลาที่กำหนด และไม่ยินยอมให้พนักงานมารับที่นอนกลับไป พร้อมส่งเรื่องมายังศูนย์พิทักษ์สิทธิ์เพื่อขอคำแนะนำแนวทางการแก้ไขปัญหาสำหรับในกรณีสินค้าชำรุดบกพร่อง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 472 กำหนดให้ทรัพย์สินที่ชำรุดบกพร่องอย่างหนึ่งอย่างใด อันเป็นเหตุให้เสื่อมราคาหรือเสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์อันมุ่งจะใช้เป็นปกติก็ดี ประโยชน์ที่มุ่งหมายโดยสัญญาก็ดี ผู้ขายต้องรับผิดชอบ ไม่ว่าจะรู้อยู่แล้วหรือไม่รู้ว่าความชำรุดบกพร่องมีอยู่ก็ตาม หรือกรณีที่ความชำรุดบกพร่องไม่เห็นประจักษ์ในเวลาส่งมอบ ซึ่งจะเห็นความชำรุดบกพร่องเมื่อใช้ไปได้สักระยะหนึ่งแล้ว ผู้ร้องก็สามารถเรียกให้บริษัทรับผิดชอบในความเสียหายที่เกิดขึ้นได้ โดยสิทธิของผู้ซื้อเมื่อทรัพย์สินนั้นชำรุดบกพร่อง คือ 1. สิทธิเรียกร้องให้ผู้ขายแก้ไขความชำรุดบกพร่อง 2. สิทธิยึดหน่วงราคาทั้งหมดหรือแต่บางส่วน 3. สิทธิบอก (ปัด) เลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหาย เงินมัดจำชำระหนี้บางส่วน ทั้งนี้หลักฐานที่สามารถใช้ยืนยันหากพบว่า บริษัทไม่คืนเงินภายในระยะเวลาที่กำหนดได้นั้น สามารถเป็นเอกสารการรับสินค้าก็ได้ ซึ่งพนักงานจะนำมาให้ผู้ร้องลงลายมือชื่อเมื่อรับสินค้ากลับไป 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 204 ไขมันทรานส์ ในเครื่องดื่มปรุงสำเร็จชนิดผง

ตามที่สัญญากันไว้ว่าเราจะกลับมาพบกันอีกครั้ง กับผลการทดสอบไขมันทรานส์ในเครื่องดื่มปรุงสำเร็จชนิดผง หลังจากเล่มที่ผ่านมาเราได้เสนอผลการตรวจสอบ ปริมาณพลังงานและน้ำตาลในเครื่องดื่มดังกล่าวไปแล้ว ไขมันทรานส์(Trans fat) หรือกรดไขมันทรานส์(Trans Fatty acid) เป็นกรดไขมันชนิดหนึ่งที่เกิดจากกระบวนการแปรรูป พบมากในการผลิตอาหารจำพวกขนมอบ เบเกอรี่ที่มีมาการีน/เนยขาว อาหารทอดหรือครีมเทียม เพราะสามารถทำให้อาหารเก็บได้นาน ทนความร้อน ไม่มีกลิ่นหืนและต้นทุนการผลิตต่ำอย่างไรก็ตามไขมันทรานส์กลับเป็นสิ่งที่ทั่วโลกต่างเฝ้าระวัง เพราะสามารถส่งผลร้ายเช่นเดียวกับกรดไขมันอิ่มตัว โดยทำให้ระดับโคเลสเตอรอลชนิดไม่ดี(LDL: low-density lipoprotein) เพิ่มสูงขึ้น และลดระดับโคเลสเตอรอลชนิดดี(HDL: high-density lipoprotein) ในเลือดลง ซึ่งเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด รวมทั้งยังเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคอัลไซเมอร์ จอประสาทตาเสื่อม โรคนิ่วในถุงน้ำดีและการอักเสบ อันเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคติดต่อไม่เรื้อรังทั้งหลายดังนั้นหลายประเทศจึงออกกฎหมายกำกับปริมาณไขมันทรานส์ในอาหาร เช่น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา(USFDA) กำหนดให้อาหารทุกประเภทที่วางจำหน่ายและมีส่วนประกอบของกรดไขมันดังกล่าว ต้องระบุการใช้กรดไขมันทรานส์ไว้บนฉลากโภชนาการ รวมทั้งต้องมีปริมาณไม่เกิน 0.5 กรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค ทั้งนี้ภายหลังก็ได้ออกกฎหมายใหม่ให้เข้มงวดขึ้น โดยควบคุมการผลิตอาหารให้มีไขมันทรานส์เป็น 0% หรือห้ามไม่ให้มีไขมันทรานส์ในอาหารอีกเลย(หลังวันที่ 16 มิถุนายน 2561) เนื่องจากตระหนักถึงปัจจัยเสี่ยงข้างต้น ซึ่งถือเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับแรกๆ ของประชากรโลก องค์การอาหารและยา(อย.) บ้านเราตระหนักในผลร้ายของไขมันทรานส์เช่นกัน โดยล่าสุดทาง อย. ได้ออกประกาศว่ากำลังอยู่ในระหว่างการยกร่างกฎหมาย ที่ห้ามนำส่วนประกอบอาหารที่มีไขมันทรานส์มาผลิตอาหาร หรือห้ามเติมสารไฮโดรเจนลงไปในกระบวนการผลิตน้ำมัน โดยคาดว่าจะสามารถใช้กฎหมายดังกล่าวได้ภายในเดือนเมษายน 2561 (ที่มา https://www.prachachat.net/economy/news-90978)ฉลาดซื้อฉบับนี้จึงอาสาช่วยตรวจสอบปริมาณไขมันทรานส์ในเครื่องดื่มปรุงสำเร็จชนิดผง 15 ยี่ห้อ 22 ตัวอย่าง โดยอ้างอิงตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) ที่แนะนำให้หลีกเลี่ยงการบริโภคกรดไขมันทรานส์ คือ ไม่ควรบริโภคเกินกว่า 2.2 กรัม/วัน หรือควรพบความเข้มข้นสูงสุดไม่เกิน 0.5 กรัมต่อหน่วยบริโภค ซึ่งผลการทดสอบจะเป็นอย่างไร เราลองไปดูกันผลการทดสอบไขมันทรานส์ในทั้ง 15 ยี่ห้อ 22 ตัวอย่างที่สุ่มตรวจพบว่า มีปริมาณกรดไขมันทรานส์อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน อย่างไรก็ตามมีเพียง 1 ยี่ห้อที่มีปริมาณกรดไขมันดังกล่าวสูง คือ เครื่องดื่มข้าวกล้องงอก ผสมธัญพืช 7 ชนิด สูตรไม่ผสมน้ำตาล ยี่ห้อ โกเด้นท์ มีปริมาณไขมันทรานส์มากที่สุดคือ 2.43 กรัม/ 100 กรัม(0.7 ต่อหน่วยบริโภค)  ส่วนตัวอย่างที่เหลือพบว่ามีไขมันทรานส์อยู่ในปริมาณน้อย ซึ่งอาจพบได้ในธรรมชาติและไม่เกินคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก  ตารางแสดงผลการทดสอบอย.เตรียมประกาศห้ามใช้ไขมันทรานส์น.ส.ทิพย์วรรณ ปริญญาศิริ ผู้อำนวยการสำนักอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า อย.ได้จัดทำร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. …. เรื่องกำหนดวัตถุที่ห้ามใช้ในอาหาร (ฉบับที่ 3) อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 (1) และมาตรา 6 (5) แห่งพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 โดยให้เพิ่มความลงในข้อ 2 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 151 (พ.ศ. 2536) เรื่องกำหนดวัตถุที่ห้ามใช้ในอาหาร ลงวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2536 ในข้อ 2.13 “ห้ามใช้น้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน (ไขมันทรานส์) “ยกเว้น” การใช้ในการผลิตอาหารเพื่อการส่งออก”การออกประกาศฉบับดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากที่ผลวิจัยทางวิทยาศาสตร์บ่งชี้ว่า “ไขมันทรานส์ (trans fatty acids)” จากน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน (partially hydrogenated oil) จะเพิ่ม “ความเสี่ยง” ของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ดังนั้น อย.จึงได้จัดทำร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับดังกล่าวขึ้น โดยขณะนี้ตัวร่างอยู่ระหว่างการเปิดรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แก่ โรงงานผลิตวัตถุดิบอาหาร, โรงงานผลิตน้ำมันพืช, โรงงานผลิตนม-เนย-เบเกอรี่ และโดนัท ฯลฯ ที่ใช้กระบวนการผลิตที่มีไขมันทรานส์เกิดขึ้น“เราเปิดรับฟังความคิดเห็นผ่านเว็บไซต์ของสำนักอาหาร อย. รวมถึงการส่งหนังสือไปยังองค์การการค้าโลก (WTO) ด้วย และให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียส่งความคิดเห็นกลับมายัง อย. ภายในวันที่ 31 ธันวาคมนี้ หลังจากนั้น อย.จะรวบรวมความคิดเห็นทั้งหมดสรุปเสนอคณะกรรมการอาหาร ที่มีปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธาน หากความเห็นสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน อย.จะเร่งประกาศฉบับนี้ให้มีผลใช้บังคับโดยเร็ว หลังประกาศในราชกิจจานุเบกษา” น.ส.ทิพย์วรรณกล่าวที่มา https://www.prachachat.net/economy/news-90978**อัพเดท**เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2561 ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องกำหนดอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย ระบุว่า โดยปรากฏหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจนว่า กรดไขมันทรานส์ (Trans Fatty Acids) จากน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน (Partially Hydrogenated Oils) ส่งผลเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 วรรคหนึ่ง และมาตรา 6 (8) แห่งพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ข้อ 1 ให้น้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนและอาหารที่มีน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนเป็นส่วนประกอบ เป็นอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่ายข้อ 2 ประกาศฉบับนี้ ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวัน นับแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 13 มิถุนายน 2561ปิยะสกล สกลสัตยาทรรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า500 Point

ฉบับที่ 203 ไม่ส่งสินค้าให้ เพราะแสดงราคาผิด

เพราะสินค้าในตลาดออนไลน์ส่วนใหญ่มักมีราคาถูกกว่าท้องตลาดทั่วไป ทำให้ผู้บริโภคจำนวนมากตัดสินซื้อได้อย่างรวดเร็ว แต่หากเราซื้อแล้วพบว่าราคาที่แสดงหน้าเว็บไซต์กับราคาที่ต้องจ่ายจริงต่างกัน จะสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างไรบ้างคุณพอใจต้องการลำโพงไร้สายคุณภาพดี ราคาเหมาะสม จึงตัดสินใจเลือกซื้อผ่านเว็บไซต์ขายของออนไลน์ชื่อดัง ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่ทำหน้าที่เหมือนตลาดกลาง คอยรวบรวมสินค้าจากร้านค้าหรือบริษัทต่างๆ เอาไว้ภายในเว็บไซต์เดียว คล้ายห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ที่มีร้านค้าต่างๆ มากมายมาเช่าพื้นที่เปิดร้านขายสินค้านั่นเอง ทั้งนี้หลังจากเธอพบสินค้าที่ต้องการในราคาที่ถูกกว่าร้านทั่วไป จึงรีบกดซื้อและชำระเงินผ่านบัตรเครดิต พร้อมรอให้มีการจัดส่งสินค้าภายใน 10 วันตามที่ระบุไว้อย่างไรก็ตามหลังครบกำหนดเวลาดังกล่าว คุณพอใจก็ยังไม่ได้รับสินค้า เธอจึงโทรศัพท์ไปสอบถามที่ร้านค้าและได้รับการตอบกลับมาว่า เหตุที่ยังไม่ส่งสินค้าดังกล่าวให้ เนื่องจากทางร้านลงราคาผิดพลาดและไม่มีความประสงค์จะขายในราคาที่ระบุไว้บนหน้าเว็บไซต์ ดังนั้นจึงขอให้ลูกค้าไปติดต่อขอคืนเงินกับทางเว็บไซต์ได้เลยเมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนี้ คุณพอใจจึงไม่พอใจมาก จึงส่งเรื่องมายังศูนย์พิทักษ์สิทธิ์เพื่อขอคำปรึกษาว่าสามารถจัดการร้านค้าเช่นนี้ได้อย่างไรบ้างแนวทางการแก้ไขปัญหาศูนย์พิทักษ์สิทธิ์แนะนำให้ผู้ร้องแจ้งรายงานพฤติกรรมผู้ขายไปยังเว็บไซต์ เพื่อให้มีมาตรการลงโทษผู้ขายที่มีพฤติกรรมดังกล่าว พร้อมแนะนำให้ดำเนินการขอเงินคืนทั้งหมด ส่วนการเรียกค่าเสียหายหรือขอให้ส่งของมาให้ตามที่ซื้อ จะต้องแจ้งให้ผู้ขายหรือเว็บไซต์รับผิดชอบ แต่หากยังปฏิเสธหรือเพิกเฉย สามารถฟ้องร้องเพื่อเรียกค่าเสียหายหรือบังคับให้ส่งสินค้าตามสัญญาได้ทั้งนี้หลังการดำเนินการข้างต้นและผู้ร้องได้แชร์เรื่องราวดังกล่าวลงสื่อสังคมออนไลน์ ก็พบว่าทางเว็บไซต์ได้ดำเนินการแก้ปัญหาให้ ด้วยการคืนเงินทั้งหมดพร้อมคูปองลดราคาสินค้าอื่นๆ และลงโทษผู้ขายตามข้อกำหนดของบริษัท 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 202 ขาวอันตราย

เมื่อต้นเดือน พฤศจิกายน 2559  มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคได้รับเรื่องร้องเรียนจาก ผู้ร้องเรียนจำนวน 45 ราย ที่ได้รับความเสียหายจากการใช้ผลิตภัณฑ์ยี่ห้อเพอร์ลี่ จากบริษัท เมย์โรว จำกัด ของนางอมรรัตน์ ก่อเกียรติสิริกุล โดยผู้ร้องบางท่านได้ซื้อผลิตภัณฑ์มาใช้เองจนเห็นผลลัพธ์ว่ามี ผิวขาวขึ้นเป็นอย่างมาก ภายใน 1-2 เดือนแรก จึงแนะนำให้ผู้อื่นมาใช้บ้าง แต่เมื่อใช้ต่อไป จึงเริ่มมีอาการผิวหนังแตก คัน และปวดแสบบริเวณที่ใช้ผลิตภัณฑ์ โดยผู้บริโภคส่วนใหญ่ซื้อผลิตภัณฑ์จากตัวแทนจำหน่ายในพื้นที่ภาคใต้ เช่น จังหวัดสตูล สงขลา สุราษฎร์ธานี ปัตตานี นครศรีธรรมราช ชุมพร ตรัง กระบี่ นราธิวาส หรือบริเวณภาคกลาง เช่น กรุงเทพฯ กาญจนบุรี สมุทรปราการ และภาคอีสาน เช่น อุบลราชธานี เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่อันตราย ครั้งนี้เรามีตัวแทนผู้เสียหาย 2 ท่าน ที่พร้อมถ่ายทอดเรื่องราวผ่านหน้ากระดาษเพื่อเป็นอุทาหรณ์ให้แก่ผู้บริโภคท่านอื่นศุภสุตา มาหนุ๊ สวัสดีค่ะ หนูชื่อ ศุภสุตา มาหนุ๊ ชื่อเล่นว่า ฝ้าย เป็นชาวจังหวัดนราธิวาส ใช้ครีมทาผิวขาว(ยี่ห้อเพิร์ลลี่) เพื่อนได้แนะนำว่าเพื่อนใช้มาก่อนบอกว่าใช้แล้วขาวขึ้น มีออร่า โดนแดดไม่ดำขึ้น และมีการโฆษณาทางสื่อออนไลน์ เฟซบุ๊ค หนูเลยได้ตัดสินใจซื้อ ปี 2558 ใช้แรกๆ ผิวเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นมาก ขาวขึ้นภายในเวลา 2 อาทิตย์ หนูใช้เป็นเซต ใน 1 เซตที่หนูใช้จะมี สบู่ โลชั่น เซรั่ม ดีดีครีม คราวนี้พอใช้ไปใช้มาผิวเริ่มแตกเป็นฝอยเล็กๆ ตอนนั้นหนูก็ไม่ได้คิดอะไรมากนึกว่าเพราะผิวขาวขึ้นเลยเห็นเส้นเลือดฝอยเล็กๆ (ใช้มาเป็นปีๆ ขนาดผิวเริ่มแตกยังใช้อยู่เพราะไม่คิดว่าผิวแตกเป็นผลมาจากครีมเพิร์ลลี่ หนูคิดว่าแตกเพราะหนูอ้วนมากกว่า แต่หนูก็ไม่ได้อ้วนหรือผอมลง) หนูก็ยังใช้อยู่เรื่อยๆ จนผิวเริ่มแตกใหญ่ ตอนนี้ทั้งคัน แสบ หนูคิดว่ามันคงไม่มีอะไรมั้ง(ปลอบใจตัวเอง) พอแม่เห็นแม่ตกใจ แม่เลยบอกว่าผิวเป็นอะไร ทำไมถึงได้แตกขนาดนี้ แม่เลยบอกว่าให้หนูหยุดใช้ครีมเพิร์ลลี่ หนูเลยหยุดใช้ ต่อมามีพี่ที่รู้จักได้แชร์ทางเฟซบุ๊คเรื่องของพี่วินัย เรื่องที่เขาผิวแตกจากใช้ครีมเพิร์ลลี่ หนูดูไป ฟังไป คือเรื่องมันคล้ายๆ ครีมที่หนูใช้เลย(วันที่ 24 สิงหาคม 59) เลยติดต่อพี่วินัยไป พี่เขาแนะนำให้ไปบันทึกประจำวันที่สถานีตำรวจใกล้บ้าน พอวันที่ 5 กันยายน 59 พี่วินัย ญาติพี่วินัยและหนู ขึ้นไป กทม.เดินทางถึงวันที่ 6 กันยายน 59 เพื่อไปลงทะเบียนผู้ที่มีปัญหาผิวแตกลายจากการใช้ครีมเพิร์ลลี่ และให้ PNAC Care ศูนย์ประสานงานเยียวยาให้ช่วยเหลือ และไลฟ์สดกรณีครีมทาผิว พอวันที่ 9 กันยายน หนูไปออกรายการสถานีประชาชน ทางช่องไทยพีบีเอส และได้ให้สัมภาษณ์สกู๊ปพิเศษให้กับรายการรถปลดทุกข์ทางไทยรัฐทีวี 1 พฤศจิกายน ได้เริ่มไปหาหมอที่คลินิคเพื่อทำการรักษาและบอกได้ระบุว่าผิวแตกเกิดจากสเตียรอยด์6 พฤศจิกายน ไปโรงพยาบาลกรุงเทพ หาดใหญ่ ผลวินิจฉัยออกมาว่า ผิวแตกเกิดจากสเตียรอยด์ ไม่สามารถรักษาให้ได้ค่ารักษาทั้งหมดจะเป็นเท่าไร ก็ไม่สามารถระบุได้เพราะรักษายังไงก็ไม่มีวันหาย จนวันที่ 7 พฤศจิกายน ช่วงเช้า ไปร้องเรียน ที่สคบ.และไปแจ้งความ/บันทึกประจำวัน ที่ บก.ปคบ.ช่วงบ่ายไปร้องเรียนที่ กสทช. และ 18 พฤศจิกายน ไปออกรายการสถานีประชาชนครั้งที่ 2 (ทำกันทุกทางที่สามารถทำได้แล้ว)จำได้ว่าตอนนั้นก็พากันไปที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค 1 ครั้ง แต่จำไม่ได้ว่าไปวันที่เท่าไหร่ หลังจากนั้นเรื่องก็เงียบไป เรื่องที่เคยดำเนินการต่างๆ ไป ก็เงียบเช่นกัน หนูคิดว่าคงไม่มีใครช่วยได้ แล้วจะหาที่รับผิดชอบจากไหน เครียด ท้อ จนวันหนึ่งมูลนิธิผู้บริโภคติดต่อเข้ามา ช่วยเหลือทุกอย่าง รู้สึกมีพลังเพิ่มขึ้น  ส่วนในเรื่องคดีหนูและเพื่อนๆ อีกจำนวนหนึ่งได้มอบอำนาจให้กับมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคดำเนินคดีต่อสู้ให้ถึงที่สุด  ถ้าถามว่า อยากฝากอะไรกับใครบ้าง อยากบอกมากๆ เลยว่า ให้ผู้ผลิตคำนึงถึงความปลอดภัย คำนึงว่าผลิตภัณฑ์ตัวนี้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ผู้ผลิตใช้เอง ใช้แล้วปลอดภัย ใช้แล้วไม่อันตรายไม่ใช่แค่โฆษณาเพื่อกระจายสินค้าออกจากสต็อก และต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพผู้ผลิตใช้ปลอดภัย ลูกค้าใช้ไม่เป็นอันตรายเพชราภรณ์ คงกลั่น เราซื้อมาสองแบบ ขวดแรกสูตรสีชมพู ราคาประมาณ 1,500 บาท อีกแบบเป็นสูตร ขาว x2 ราคาขวดละประมาณ 1,700 บาท ก็ใช้มาเรื่อย จนเกือบจะหมดขวดก็รู้สึกแสบๆ ที่ผิว คันๆ เป็นริ้วขาวๆ ทีแรกไม่รู้สึกอะไร คิดว่ามันทำปฏิกิริยา  เพราะเราเพิ่งเปลี่ยนครีม เราก็ใช้มาเรื่อย ก็เป็นรอยเป็นฝอยๆ  แล้วก็เจ็บแสบๆ เหมือนมดกัด แต่ยังฝืนใช้มาจนหมดขวด จนมันกลายเป็นรอยใหญ่กว่าเดิม แล้วก็ผิวแตกหมดทั้งตัวเลย เราก็เลยหยุดใช้ ไปหาหมอถามว่ามันเกิดจากสารอะไรกันแน่ หรือเป็นเพราะว่าฮอร์โมนเราปรับตัวหรือเปล่า หมอบอกว่าเกิดจากโลชั่น เป็นสารสเตียรอยด์ เราก็รักษาตามอาการ จนต้องมาหยุดไปหาหมอเรื่องเงิน ค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น เรื่องค่าเดินทาง ค่ายา เราก็เลยซื้อยามาใช้เอง พวกยากันรอยแตกลาย ก็หมดไปเป็นหมื่นเลย เพราะพวกยาทาแก้แตกลายก็หลอดละ 280 บาทแล้ว บางยี่ห้อก็ขวดละ 300-400 บาท เราใช้อาทิตย์หนึ่งไม่ต่ำกว่าสามขวด เพราะว่าเราต้องทาทั้งตัว ตอนแรกเราทำงานสองคนกับแฟน พอเราเป็นแบบนี้ เราก็เลยไม่ได้ไปทำงาน 1 คือเราอายเพื่อน แฟนทำงานคนเดียวมันไม่มีรายได้เสริม มันก็เลยลำบาก เราก็รักษาตามอาการแบบที่เล่ามาเรื่อยๆ ส่วนเรื่องการร้องทุกข์ แรกๆ เราเห็นเพจหนึ่งเขารวบรวมเกี่ยวกับคนแปลก เราก็ไปกับเขา ไปร้องเรียนหลายที่แล้ว แล้วพอเรามาร้องเรียนที่เครือข่ายผู้บริโภคที่สงขลา เขาก็พามาร้องเรียนที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ที่กรุงเทพฯ  พอเรามาที่นี่เราก็เจอกับคนที่มีปัญหาเหมือนๆ กับเราหลายๆ คนมาฟ้องคดีร่วมกัน เขาก็ให้เราเตรียมเอกสาร เช่น ใบรับรองแพทย์ ซึ่งของเราเขาระบุเลยว่า เกิดจากสารสเตียรอยด์ โลชั่นมันกินเนื้อ อาการของเราเป็นมากกว่าคนอื่นเลย คนอื่นสามารถใส่เสื้อแขนสั้นได้ คนอื่นเขาเป็นที่ขา ส่วนเราเป็นที่แขนสองข้าง ถ้าถามว่าเลเซอร์ทั้งตัวหายไหม มันก็ไม่รู้ว่าหายหรือเปล่า คือ อยากให้ผู้ผลิตมารับผิดชอบเราด้วย เราไม่เคยใช้โลชั่นที่มันแพงแบบนี้มาก่อน เราใช้โลชั่นทั่วไป ตลาดทั่วไป ขวดละ 25 บาทเราใช้แบบนั้นมาตลอด มันก็ไม่มีปัญหาอะไร พอเราทำงานที่ดีๆ เราอยากผิวสวย เราไปซื้อของแพงมาใช้ เราคิดว่ามันไม่น่าจะเกิดปัญหาอะไร เราไม่ได้ซื้อของเถื่อนนะ แล้วมันมี อย.ข้างกล่อง มีเลขที่จดแจ้ง แล้วราคามันสูง มันก็ทำให้เราคิดว่ามันน่าจะดีนะตอนนี้ดำเนินการถึงขั้นตอนที่ศาลอุธรณ์แล้ว  จากนั้นก็จะไต่สวน แล้วก็ไกล่เกลี่ยว่าผู้ผลิตจะชดใช้ให้เราอย่างไร  ตอนนี้มูลนิธิฯ ขอยื่นคำร้องฟ้องแบบกลุ่ม แต่ศาลไม่รับ บอกว่าแต่ละคนมีอาการแพ้ไม่เหมือนกัน บางคนแพ้มาก ก็จะได้ค่าเสียหายมาก บางคนน้อยก็ควรจะได้เงินตามอาการที่เป็น จะรับค่าเสียหายมากไม่ได้ ต้องดูตามอาการ สิ่งที่เราอยากบอกมากๆ เลยคือ อยากให้คนที่ซื้อของมาใช้แล้วมีปัญหาแบบนี้ อยากให้คนที่มีปัญหาแบบพี่ เมื่อมีปัญหาให้รีบหยุดใช้ทันที ดูฉลากให้ดี ว่ามี อย.ไหม มีเลขจดแจ้งชัดเจนหรือไม่ ให้ตรวจสอบให้ดีๆ ลองประเมินดูก่อนว่าของที่เราซื้อมามันโฆษณาเกินจริงไหม  ถ้าหลงเชื่อก็อาจกลายเป็นเหยื่อแบบนี้  และเมื่อเกิดปัญหาขึ้นให้หยุดใช้ทันที แล้วเก็บตัวอย่างเอาไว้ ตอนนี้สินค้าตัวนี้ตามชุมชนยังมีอยู่ แต่ตามห้างไม่มีแล้วสำหรับผู้ผลิต อยากให้เขารับผิดชอบเราให้ถึงที่สุด ถ้าคุณเป็นแบบที่เราเป็นคุณจะรู้เลยว่าคุณจะเสียใจไปตลอดชีวิต แล้วถ้าคุณอยากทำสินค้าเกี่ยวกับความสวยความงามคุณอย่าโกหกคน คุณอย่าหลอกคนด้วยการเอาตัวยาโน้นมาผสม ตัวนี้มาผสม คุณต้องทำให้ดี แล้วของคุณจะขายดี ไม่ใช่คุณทำแบบนี้ แล้วเห็นไหมผู้เสียหายร้องเรียนเข้ามา พอเรื่องเราจบ ก็จะมีเรื่องคนอื่นอีก คือมันไม่จบไม่สิ้น แล้วประเทศไทยเราก็เหมือนกันพอเรื่องเราจบก็จะให้ขายต่อไปอีก แล้วมันก็ไม่จบ  -----------------------สถานการณ์การฟ้องคดี  วันที่ 18 พฤศจิกายน 2559  มูลนิธิฯ ได้เชิญผู้ประกอบการมาเจรจาไกล่เกลี่ยแต่ได้รับการปฏิเสธ  ตัวแทนผู้เสียหาย 4 ราย จึงเป็นโจทก์ฟ้องคดีนางอมรรัตน์   ก่อเกียรติศิริกุล    และศาลได้นัดไต่สวนคำร้องขอให้ดำเนินคดีแบบกลุ่มในวันที่  18  ตุลาคม 2560 เวลา  13.00 น.  โดยมูลนิธิฯ และเครือข่ายทนายอาสา นายสิษฐวัศ   ภาคินสกุลพัฒน์  เป็นทนายผู้รับผิดชอบ วันที่ 9 - 10 พฤศจิกายน 2560  นัดไต่สวนคำร้องขอให้ดำเนินคดีแบบกลุ่ม  วันที่ 22 พฤศจิกายน 2560  ศาลมีคำสั่งไม่รับเป็นคดีกลุ่ม  ปัจจุบันคดีอยู่ระหว่างการอุทธรณ์คำสั่ง

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 202 รากนครา : เบ้าหลอมจิตสำนึกแห่งชาติบ้านเมือง

จิตสำนึกของบุคคลที่มีต่อสังคมนั้น ไม่ใช่อยู่ดีๆ ก็โผล่ขึ้นมาจากกระบอกไม้ไผ่หรือจากสุญญากาศ หากแต่เกิดจากการหล่อหลอมขึ้นภายใต้เงื่อนไขที่แตกต่างกันไปของแต่ละบุคคลในแต่ละสังคม และถ้าเงื่อนไขมีที่มาต่างกันแล้ว การก่อตัวของจิตสำนึกทางสังคมที่คนแต่ละคนมีอยู่ก็คงแตกต่างกันตามไปด้วย และไม่เพียงเท่านั้น เมื่อเงื่อนไขทางสังคมทำหน้าที่ไม่ต่างจากเบ้าหลอมที่ก่อรูปก่อร่างจิตสำนึกของบุคคลแล้ว หากเบ้าหลอมดังกล่าวเปลี่ยน จิตสำนึกของผู้คนก็เปลี่ยนแปลงไปได้เช่นกัน ตัวอย่างภาพแห่งการหลอมหล่อจิตสำนึกแบบนี้ ปรากฏอยู่ในละครโทรทัศน์ “รากนครา” กับภาพสะท้อนชีวิตและจิตสำนึกแห่งชาติบ้านเมืองของตัวละครอย่าง “แม้นเมือง” บุตรสาวที่ทั้งสวยและเฉลียวฉลาดของ “เจ้าหลวงแสนอินทะ” เจ้าผู้ครองนครเมืองเชียงเงิน ในท่ามกลางบรรยากาศที่ลัทธิการล่าเมืองขึ้นของชาติตะวันตกเป็นภัยคุกคามอาณาจักรบ้านพี่เมืองน้องทั้งหลายในดินแดนแถบล้านนาเมื่อร้อยกว่าปีก่อน ชีวิตของแม้นเมืองก็มีเหตุต้องโคจรมาอยู่ในวังวนความสัมพันธ์กับตัวละครอีกสามคน ที่มีระบบคิดและจิตสำนึกแตกต่างกันไปคนละทิศคนละทาง เริ่มต้นจากตัวละครแรกคือพี่ชายของแม้นเมืองเอง หรือ “หน่อเมือง” ตัวอย่างของชายผู้สะท้อนให้เห็นจิตสำนึกที่ไม่เพียงแต่เป็นความรักในแผ่นดินบ้านเมือง หากแต่ยังเป็นความรักชาติแบบ “ชาตินิยมที่สุดขั้ว” จนสามารถนำไปสู่โศกนาฏกรรมได้ในตอนท้ายเรื่อง เพราะถูกหล่อหลอมความคิดมาจากทั้งเจ้าหลวงแสนอินทะผู้เป็นบิดา และมี role model เป็น “เจ้าอุปราชสิงห์คำ” ผู้มีศักดิ์เป็นอา หน่อเมืองจึงบ่มเพาะจิตสำนึกรักชาติแบบสุดโต่ง จนบางนัยก็ดูไม่ต่างจากเป็นพวก “คลั่งชาติคลั่งบ้านเมือง” ซึ่งยึดมั่นในความคิดที่ว่า “จงอย่าถามเลยว่า ชาติบ้านเมืองจะมอบอะไรให้กับเรา แต่จงถามตัวเองว่า เราจะทำอะไรให้แก่ชาติบ้านเมืองบ้าง” โดยไม่สนใจต่อความเปลี่ยนแปลงของโลกรอบตัวแต่อย่างใด ตัวละครถัดมาก็คือ พระเอกของเรื่องหรือ “ศุขวงศ์” บุตรชายของ “เจ้าราชบุตรศุษิระ” แห่งนครเชียงพระคำ แม้ว่าศุขวงศ์จะมีสำนึกรักแผ่นดินบ้านเกิด แต่เขาก็คิดต่างออกไปจากหน่อเมืองว่า ท่ามกลางคลื่นพายุของลัทธิอาณานิคมที่ซัดกระหน่ำถาโถมอยู่นั้น ชาติบ้านเมืองมิอาจคงอยู่โดยไม่ปรับตัวไปตามความเปลี่ยนแปลงใดๆ ได้เลย เนื่องจากเบ้าหลอมความคิดของศุขวงศ์มาจากการที่เขาได้มีโอกาสไปใช้ชีวิตอยู่ที่สิงคโปร์หลายปี และเคยรับราชการในราชสำนักสยาม ศุขวงศ์จึงเห็นโลกที่กว้างออกไปกว่าแค่กำแพงนครเชียงพระคำบ้านเกิด และทางเดียวที่เขาเชื่อว่าจะทำให้ดินแดนล้านนาอยู่รอดจากการเป็นเมืองขึ้นได้ ก็ต้องปรับตัวและอาศัยการพึ่งบารมีของสยามเพื่อคานอำนาจของชาติจักรวรรดินิยม ส่วนตัวละครสุดท้ายก็คือน้องสาวของแม้นเมือง หรือ “มิ่งหล้า” ที่มีวิธีคิดแตกต่างไปจากบรรดาพี่ๆ โดยสิ้นเชิง เพราะเธอถูกอบรมสั่งสอนมาจาก “เจ้านางข่ายคำ” ผู้เป็นมารดา ที่ทั้งทะเยอทะยานและต้องการให้บุตรสาวเป็นอันดับหนึ่งเดียวของดินแดนล้านนา แม้จะมีสำนึกรักชาติและแผ่นดินแบบที่บิดาปลูกฝังมาให้ แต่มิ่งหล้าก็กลับมีโลกทัศน์ที่ต่างจากหน่อเมืองออกไปว่า “จงอย่าถามเพียงแค่ว่าเราจะทำอะไรให้กับชาติบ้านเมือง แต่จงถามด้วยว่าชาติบ้านเมืองพึงจะทำอะไรให้กับเราบ้าง”  ดังนั้น เมื่อมิ่งหล้าที่ต่อสู้เพื่อหัวใจอันมีจิตปฏิพัทธ์ต่อศุขวงศ์แต่กลับถูกบิดาส่งตัวไปถวายตัวเป็นนางสนมของ “กษัตริย์เมืองมัณฑ์” ด้านหนึ่งมิ่งหล้าก็จำใจทำเพื่อบ้านเมืองที่จะผูกสัมพันธ์ระหว่างเชียงเงินกับเมืองมัณฑ์ แต่อีกด้านหนึ่ง เธอก็ทะยานอยากที่จะขึ้นเป็นเจ้านางหลวงแข่งบารมีกับ “เจ้านางปัทมสุดา” ด้วยเหตุผลว่า ถ้าทำเพื่อชาติบ้านเมืองแล้ว เธอก็ควรจะได้อำนาจยศศักดิ์เป็นราคาตอบแทน โดยไม่สนใจว่านั่นจะทำให้เธอต้องทุกข์ทรมานจนเกือบปางตายในตอนจบก็ตาม ชะตากรรมของตัวละครทั้งสามที่ผูกโยงเอาไว้รอบตัวของแม้นเมืองนี้เอง เป็นประหนึ่งเงื่อนไขที่ทำให้แม้นเมืองได้ก่อรูปก่อร่างจิตสำนึกทางสังคมที่มีต่อชาติบ้านเมืองขึ้นมา เนื่องจากเติบโตมาในขอบขัณฑ์ของเชียงเงินที่บิดากล่อมเกลามาตั้งแต่วัยเยาว์ แม้นเมืองจึงมีสำนึกรักชาติบ้านเมืองอย่างเข้มข้น พลันที่เธอได้พบเจอรู้จักกับ “มิสเตอร์จอห์น แบร็กกิ้น” ที่เป็นคนอังกฤษผิวขาวหรือเป็นพวก “กุลาขาว” แม้นเมืองก็แสดงออกถึงอาการกระอักกระอ่วนที่ต้องมาสังเสวนากับคนต่างเผ่าต่างถิ่นอย่างเห็นได้ชัด แต่เพราะเธอเองก็แตกต่างจากพี่ชาย ด้วยเป็นหญิงที่รักการอ่านหนังสือเป็นอาจิณ แม้นเมืองจึงมิได้คลั่งชาติคลั่งแผ่นดินหรือเชื่อว่าเชียงเงินเป็นศูนย์กลางของโลกและจักรวาล และยิ่งเมื่อเธอได้แต่งงานมาใช้ชีวิตอยู่ที่เชียงพระคำ โลกที่กว้างขึ้นกว่าแค่ตัวหนังสือ ก็ยิ่งทำให้แม้นเมืองค่อยๆ เห็นว่า โลกที่กว้างใหญ่นั้นเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และเราเองก็มิอาจหลีกเลี่ยงต่อความเปลี่ยนแปลงไปได้เลย เพราะเบ้าหลอมที่ก่อตัวขึ้นมาผสมผสานกับประสบการณ์ที่สัมผัสกับความเปลี่ยนแปลงจริงๆ ของโลกรอบตัว เมื่อแม้นเมืองต้องมายืนอยู่ท่ามกลางความขัดแย้งของจิตสำนึกต่อบ้านเมืองที่ต่างกันของคนสามคน เธอจึงเหมือนอยู่ในภาวะที่ “คราวนี้ทำใจลำบาก” เพราะถูกชักเย่อระหว่างขั้วประจุความคิดที่ลากกันอยู่ไปมาบนทางสามแพร่ง ดังคำพูดในฉากท้ายเรื่องกับน้องสาวก่อนที่แม้นเมืองจะตัดสินใจยอมรับความตายแทนศุขวงศ์สามีผู้เป็นที่รักว่า “ถ้ามองด้วยเหตุผลส่วนตัว ข้างหนึ่งก็คือพ่อ พี่ บ้านเมือง ภาระหน้าที่ ความเชื่อ และความหวังทั้งหมดที่เคยมีเคยหล่อหลอมตัวตนความคิดของเรา...และอีกฝั่งหนึ่งก็คือผู้ชายคนเดียวในชีวิตที่รักเขา...แต่เป็นเพราะโลกของพี่กว้างขึ้น มีความจริงใหม่ๆ ให้พี่ได้เรียนรู้ และมีความเปลี่ยนแปลงมากมายให้พี่ได้พบ พี่ก็มีทางออกที่จะขออุทิศชีวิตเพื่อชดใช้ให้ทุกเรื่องและทุกคน” หาก “รากนครา” เป็นเสมือนภาพจำลองของสำนึกแห่งชาติบ้านเมืองที่อยู่ในท่ามกลางแรงกระหน่ำจากความเปลี่ยนแปลงภายนอก และหากเราต้องมายืนเป็นตัวละครแม้นเมืองที่อยู่ท่ามกลางขั้วความคิดที่แตกต่างและความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว คำถามก็คือ ปัจเจกบุคคลอย่างเราๆ จะหลอม “ราก” ก่อตัวจิตสำนึกแห่งชาติและ “นครา” กันขึ้นมาเยี่ยงไร

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 196 ศาลโซเชียลกับความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

ปัจจุบันเครือข่ายสังคมออนไลน์ได้เข้ามามีบทบาทกับภาคสังคมและภาคธุรกิจมากขึ้นเรื่อยๆ กิจกรรมบนอินเทอร์เน็ตจึงได้รับความนิยมมาก ในอดีตการใช้อินเทอร์เน็ตผ่านเว็บไซต์ต่างๆ นั้น สามารถแสดงเพียงเนื้อหาอย่างเดียวเท่านั้น บุคคลไม่สามารถติดต่อหรือโต้ตอบซึ่งกันและกันได้ แต่ต่อมาเมื่อมีการพัฒนาช่องทางในการติดต่อสื่อสารแบบสองทาง การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารการพูดคุยโต้ตอบกันระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารสามารถทำได้ รวมไปถึงการแบ่งปันสื่อต่างๆ ที่ส่งผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ตได้รวดเร็วขึ้น โดยเฉพาะเว็บไซด์เครือข่ายสังคมออนไลน์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือเฟซบุ๊ค ซึ่งผู้ใช้บริการสามารถแสดงความคิดเห็นและโต้ตอบถึงกันได้  จึงเกิดเป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์  “เครือข่ายสังคมออนไลน์”  หมายถึงช่องทางในการติดต่อสื่อสารแบบสองทาง โดยมีการเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเพื่อตอบสนองความต้องการทางสังคมที่มุ่งเน้นการแลกเปลี่ยนข้อมูลความคิดเห็น ข่าวสาร หรือการพูดคุยโต้ตอบระหว่างกัน รวมไปถึงการแบ่งปันสื่อต่างๆ ที่สามารถส่งผ่านทางระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้  การสื่อสารประเภทนี้มีอิทธิพลต่อสังคมเป็นอย่างมากทั้งในด้านดีและไม่ดี ในด้านดี กล่าวคือใช้ในการเผยแพร่ข้อมูลส่วนตัวในด้านการศึกษา การค้นคว้า การวิจัย การจัดการความรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ด้านการดำเนินธุรกิจเพื่อความบันเทิง เป็นต้น ในขณะเดียวกันก็มีข้อเสีย กล่าวคือในด้านการเผยแพร่สื่อลามกอนาจาร และสิ่งผิดกฎหมาย ไม่มีความปลอดภัยในการใช้ข้อมูลส่วนตัว ก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรมด้านสังคม เป็นต้นดังนั้น ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตจึงเปรียบเสมือนผู้ควบคุมช่องทางในการผ่านเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตซึ่งหลังจากที่ผู้ใช้บริการเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ตได้แล้วก็จะสามารถเข้าถึงการใช้งานใดในระบบอินเทอร์เน็ตได้ และตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่2) พ.ศ. 2560 มาตรา 3 ได้บัญญัติความหมายของผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการคือ  "ผู้ให้บริการ" หมายความว่า (1) ผู้ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่นโดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการในนามของตนเอง หรือในนามหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น  (2) ผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์ เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น "ผู้ใช้บริการ" หมายความว่า ผู้ใช้บริการของผู้ให้บริการ ไม่ว่าต้องเสียค่าใช้บริการหรือไม่ก็ตาม          ปัจจุบันเกิดสภาพปัญหาการละเมิดสิทธิข้อมูลส่วนบุคคลจากการใช้บริการเว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์ อย่างมากมาย ซึ่งสามารถแยกประเภทพิจารณาออกได้สามกรณีกรณีที่หนึ่ง การได้มาซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่นโดยมิชอบ    เช่น การเข้าไปในเว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์ของผู้อื่นโดยไม่ได้รับความยินยอมและเข้าไปนำเอาข้อมูล  ภาพ หรือคลิป  ของผู้ใช้บริการมาเก็บไว้เพื่อเฝ้าติดตามคุกคามความเป็นส่วนตัว หรือนำไปใช้เผยแพร่แสวงหาประโยชน์  ดังนี้ อาจจะมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่2) พ.ศ.2560 มาตรา 16 ซึ่งเป็นไปตามกรณีข้อเท็จจริง กรณีที่สอง การได้มาซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่นโดยชอบ เช่น การได้ข้อมูลส่วนบุคคลมาโดยได้รับความยินยอมจากผู้ใช้เว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์ แต่อย่างไรก็ตามผู้เป็นเจ้าของข้อมูลดังกล่าวอาจให้ข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อวัตถุประสงค์ในการติดต่อสื่อสารทางเครือข่ายสังคมออนไลน์เท่านั้น แต่ผู้ได้รับข้อมูลส่วนบุคคลนั้นนำมาใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น เช่น เพื่อการนำมาใช้เพื่อการขายตรงหรือโฆษณาสินค้าหรือบริการ ดังนี้ ดังนี้ อาจจะมีความว่าผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่2)พ.ศ.2560 มาตรา11ซึ่งเป็นไปตามกรณีข้อเท็จจริง         กรณีที่สาม การนำเสนอข่าวของสื่อประเภทโซเชียล ซึ่งทำตัวเป็นเสมือนศาลที่พิพากษาให้บุคคลที่ตกเป็นข่าวเป็น”คนผิด” ในทันที โดยที่เจ้าตัวอาจจะยังไม่มีโอกาสชี้แจ้งใดๆ เลย เช่น ข่าวผู้ว่าราชการแม่ฮ่องสอนมีชื่อพัวพันกับขบวนการค้ามนุษย์ สื่อทุกสื่อร่วมใจกันตีแผ่เรื่องนี้ยาวนานหลายสัปดาห์ แต่ต่อมาเมื่อความจริงปรากฏว่าท่านผู้ว่าฯ ไม่ได้ทำ มลทินที่ท่านได้รับจากศาลโซเชียล ก็ยังไม่ถูกบรรเทาลงไปแต่อย่างใด หรือกรณีการส่งรูปภาพที่ได้รับมาจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่งเป็นทอดๆ โดยไม่ได้ขออนุญาตเจ้าของภาพจนทำให้บุคคลในภาพได้รับผลกระทบ ทั้งสามกรณี หากนำข้อมูลส่วนบุคคล ภาพ หรือคลิป ออกมาเผยแพร่ในเครือข่ายสังคมออนไลน์ต่างๆ ไม่ว่าจะมีการชี้นำให้คิดตามหรือไม่ก็ตาม  ย่อมอาจจะทำให้บุคคลนั้นถูกละเมิดเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง  หรือได้รับความอับอายได้  ประเด็นเหล่านี้ ใครควรจะเป็นผู้รับผิดชอบระหว่างผู้ให้บริการหรือผู้ใช้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์  หากจะใช้มาตรการทางกฎหมายเพียงอย่างเดียวคงไม่สามารถแก้ปัญหา “อิทธิพลศาลโซเชียล” ได้อย่างแน่นอน  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 196 เครื่องสำอางราคาไม่เหมาะสม

เครื่องสำอางกับผู้หญิงเป็นของคู่กัน เพราะไม่ว่าใครก็อยากดูดี ดังนั้นต่อให้เครื่องสำอางราคาแพงแค่ไหน เชื่อว่าหลายคนก็ยอมที่จะซื้อมาใช้ อย่างไรก็ตามเครื่องสำอางบางยี่ห้อ กลับคิดราคาตามใจชอบ ทำให้ผู้บริโภคหลายคนที่ซื้อเครื่องสำอางยี่ห้อดังกล่าวมาใช้ รู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมและมาร้องเรียนที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิ์เพื่อขอความช่วยเหลือ ดังเหตุการณ์ต่อไปนี้คุณปราณีไปเดินเล่นที่ห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่งในย่านรังสิต และถูกชักชวนจากพนักงานขายเครื่องสำอางยี่ห้อหนึ่ง ซึ่งเป็นชาวต่างชาติหน้าตาดีมาเชิญชวนให้เข้ามาทดลองสินค้า ซึ่งเธอได้บอกปฏิเสธไป เพราะไม่ได้ต้องการซื้อเครื่องสำอางดังกล่าว แต่พนักงานเหล่านั้นก็หว่านล้อมต้อนหน้าหลัง จนทำให้เธอไม่มีทางเลือกจึงต้องเข้าไปทดลองสินค้าในที่สุด อย่างไรก็ตามเมื่อได้ลองสินค้าหลายชนิดที่พนักงานนำมาทดสอบให้ดู เธอก็มีความประทับใจต่อผลิตภัณฑ์ แต่เมื่อสอบถามราคากลับต้องตกใจ เพราะเครื่องสำอางแต่ละชิ้นราคาเริ่มตั้งแต่หลักพันไปจนถึงหลักแสนเลยทีเดียวเมื่อพนักงานเห็นว่าคุณปราณีมีท่าทางตกใจในราคาก็พากันเสนอโปรโมชั่นมากมาย ซึ่งเธอก็ได้ปฏิเสธไปเพราะไม่ต้องการเสียเงินจำนวนมากแต่พนักงานก็ไม่ได้ลดละความพยายามในการขาย ด้วยการเสนอราคาโปรโมชั่นสุดร้อนแรงลดกระหน่ำไปกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเมื่อเหตุการณ์กลายเป็นอย่างนี้ คุณปราณีก็เริ่มลังเลใจและเกรงใจพนักงาน จนทำให้ตกลงซื้อสินค้ามาทั้งหมด 7 ชิ้น รวมเป็นเงินกว่า 100,000 บาทอย่างไรก็ตามเมื่อเธอกลับบ้านมาหาข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าดังกล่าวผ่านทางออนไลน์ก็พบว่า มีคนรีวิวเกี่ยวกับประสิทธิภาพของสินค้าในด้านบวกไว้มากมาย แต่หลายคนก็ไม่พอใจกับราคาสินค้า เพราะนอกจากจะแพงมากแล้ว ยังเสนอขายในราคาตามใจชอบ ทั้งๆ ที่หน้าร้านไม่ได้มีการจัดโปรโมชั่นที่เห็นได้แต่อย่างใด โดยส่วนใหญ่จะถูกเชิญชวนเพราะบอกว่าเป็นโปรโมชั่นลับเฉพาะสำหรับพนักงาน และเสนอให้กับผู้ซื้อเพียงคนเดียวเท่านั้น นอกจากนี้ภายหลังการใช้สินค้าคุณปราณีพบว่ามีอาการผื่นคัน จึงไปพบแพทย์และขอใบรับรองแพทย์มา เพื่อนำไปแจ้งยังบริษัทฯ เพื่อขอให้คืนเงิน แต่ทางบริษัทฯ กลับแจ้งว่า ใบรับรองแพทย์ไม่ได้ระบุว่าเธอแพ้ครีมของบริษัท จึงไม่สามารถคืนเงินให้ได้ ทำให้คุณปราณีส่งเรื่องมายังศูนย์พิทักษ์สิทธิ์เพื่อขอความช่วยเหลือแนวทางการแก้ไขปัญหาศูนย์พิทักษ์สิทธิ์แนะนำให้ผู้ร้องส่งรายละเอียดสินค้าทั้งหมด ภาพถ่ายสินค้า ใบเสร็จรับเงิน และใบรับรองแพทย์มาให้เพิ่มเติม และช่วยทำหนังสือถึงกรมการค้าภายในเพื่อให้เข้าไปตรวจสอบราคา รวมทั้งส่งสินค้าทดสอบสารประกอบ ซึ่งในระหว่างนี้อยู่ในขั้นตอนการตรวจสอบข้อเท็จจริง และผลจะเป็นอย่างไรไว้ติดตามกันต่อไป ทั้งนี้สำหรับใครที่พบเห็นสินค้ามีราคาไม่เหมาะสม ควรถ่ายรูปป้ายราคาสินค้าที่หน้าร้านเก็บไว้ หรือหากซื้อสินค้ามาแล้วก็ควรเก็บใบเสร็จรับเงินไว้ก่อน และโทรศัพท์ไปร้องเรียนโดยตรงได้ที่สายด่วนกรมการค้าภายในเบอร์ 1569 นอกจากนี้ควรเลือกซื้อเครื่องสำอางโดยพิจารณาจากปลอดภัยเป็นหลัก ซึ่งสามารถทดสอบด้วยการทาทิ้งไว้ในบริเวณที่บอบบางอย่างใต้ท้องแขนเป็นเวลาอย่างน้อย 24 ชั่วโมง เพื่อทดสอบดูว่ามีอาการแพ้หรือไม่ รวมทั้งเลือกซื้อเครื่องสำอางที่แสดงรายละเอียด ดังนี้1.มีเลขที่จดแจ้ง10หลักซึ่งเราสามารถนำเลขดังกล่าวเข้าไปตรวจสอบได้ที่เว็บไซต์สืบค้นข้อมูลผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางของ อย.หรือ ค้นหาที่นี่ เพื่อดูว่าเป็นเครื่องสำอางที่ได้รับการอนุญาตให้ขายจริงหรือไม่ ซึ่งหากพบว่าชื่อจดแจ้งข้างกล่องกับในเว็บไซต์ไม่ตรงกันก็ให้สงสัยไว้ก่อนว่าเครื่องสำอางดังกล่าวอาจไม่ปลอดภัย นอกจากนี้เลขที่จดแจ้งยังมีไว้ในกรณีที่ผู้ใช้เกิดความผิดปกติกับผิวหนัง ซึ่งจะทำให้สามารถแจ้งหรือตามตัวผู้ผลิตได้  2. มีฉลากภาษาไทยที่อย่างน้อยแสดงข้อความต่อไปนี้ (1) ชื่อเครื่องสำอาง (2) ประเภทหรือชนิดของเครื่องสำอาง (3) ส่วนประกอบ (4) วิธีใช้ (5) ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิต/นำเข้า (6) ปริมาณสุทธิ (7) เลขที่แสดงครั้งที่ผลิต (8) เดือนปีที่ผลิตหรือหมดอายุ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 194 สารเคมีอันตรายจากขยะอิเล็กทรอนิกส์รีไซเคิล ในลูกบิดรูบิก (Rubik’s cube)

แม้ปัจจุบันจะมีการควบคุมการใช้พลาสติกรีไซเคิลที่มีส่วนประกอบของ “สารหน่วงการติดไฟที่มีองค์ประกอบของโบรมีน” (Brominated Flame Retardants: BFR) มาผลิตเป็นสินค้าสำหรับผู้บริโภค โดยเฉพาะในของเล่นสำหรับเด็ก แต่ผลจากการสำรวจตลาดของเล่นเด็กครั้งล่าสุดทั้งในประเทศไทยและในอีกหลายประเทศพบว่า ของเล่นเด็กยอดฮิตคือ “ลูกบิดรูบิก” หรือลูกบาศก์เรียงสี ที่นิยมให้เด็กเล่นเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเชาว์ปัญญา มีสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อระบบประสาทและพัฒนาการทางสมองของเด็กปนเปื้อนอยู่ในระดับสูงโครงการสำรวจและตรวจวิเคราะห์นี้ดำเนินการโดย “เครือข่ายระหว่างประเทศว่าด้วยการกำจัดสารพิษตกค้างยาวนานในสิ่งแวดล้อม” หรือไอเพน (IPEN) ซึ่งเป็นเครือข่ายที่ประกอบด้วยนักวิชาการสาขาต่างๆ และองค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพจาก  100 กว่าประเทศ หรือ 700 กว่าองค์กร โดยมีคณะผู้ร่วมการสำรวจจากทั้งหมด 26 ประเทศ รวมถึงมูลนิธิบูรณะนิเวศในประเทศไทยโครงการฯ ได้ดำเนินการสำรวจผลิตภัณฑ์ของเล่นเด็กที่ทำจากพลาสติกรีไซเคิลที่มีสาร BFRs ปนเปื้อนหรือใช้เป็นสารเติมแต่งระหว่างกระบวนการผลิต ใน 26 ประเทศ  ซึ่งประกอบด้วยลูกบิดรูบิกรวม 95 ตัวอย่าง และผลิตภัณฑ์อื่นๆ อีกจำนวน 16 ตัวอย่าง ได้แก่ แก้วใส่น้ำร้อน กิ๊บหนีบผม หวี ที่คาดผม และของเล่นเด็กอื่นๆ  เพื่อวิเคราะห์หาการเจือปนของสารพิษกลุ่มสาร BFRs ได้แก่ 1) สาร Octabromodiphenyl ether  (OctaBDE), 2) สาร Decabromodiphenyl either (DecaBDE) และ 3) สาร Hexabromocyclododecane (HBCD)  ผลการสำรวจในประเทศไทยมูลนิธิบูรณะนิเวศได้สำรวจและซื้อลูกบิดรูบิกที่ผลิตจากพลาสติกรีไซเคิลในตลาดของเล่นเด็กของไทยในจังหวัดกรุงเทพฯ ปทุมธานี นครปฐม และระยอง ระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน 2558  รวม 9 ตัวอย่าง ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่นำเข้าจากประเทศจีนทั้งหมด  เพื่อวิเคราะห์หาความเข้มข้นของกลุ่มสาร PBDEs (OctaBDE และ DecaBDE) และ HBCD ผลการวิเคราะห์พบว่า ลูกบิดรูบิกจำนวน 9 ตัวอย่างจากประเทศไทย มี 2 ตัวอย่างที่พบปริมาณสารโบรมีนทั้งหมด (Total Br) สูงเกิน 1,000 ppm  ด้วยเครื่องวิเคราะห์ Handheld X-ray Fluorescence (HHXRF)  และจากการวิเคราะห์ของห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ของสถาบันวิจัยเทคโนโลยีเคมี สาธารณรัฐเช็ก เฉพาะ 2 ตัวอย่างที่มีโบรมีนรวมเกิน 1,000 ppm พบว่าทั้งสองตัวอย่างปนเปื้อนสาร OctaBDE ที่มีปริมาณเข้มข้นสูง 25 – 48 ppm และสาร DecaBDE มีปริมาณเข้มข้นสูง 21 – 23 ppm  ทั้งนี้มี 1 ตัวอย่างที่มีสาร HBCD ในปริมาณเข้มข้น 5 ppm ผลการสำรวจใน 26 ประเทศการวิเคราะห์ตัวอย่างจากประเทศต่างๆ รวม 26 ประเทศ ซึ่งประกอบด้วยลูกบิดรูบิก95 ตัวอย่าง  และผลิตภัณฑ์อื่นๆ จำนวน 16 ตัวอย่าง ได้แก่ แก้วใส่น้ำร้อน กิ๊บหนีบผม หวี ที่คาดผม และของเล่นเด็กอื่นๆ  พบว่ามี 100 ตัวอย่าง (ร้อยละ 90) มีสาร OctaBDE ปนเปื้อนในปริมาณเข้มข้นระหว่าง 1- 1,174 ppm;  พบสาร HBCD ในจำนวน 45 ตัวอย่าง (ร้อยละ 41)  ระดับความเข้มข้นอยู่ที่ 1 - 1,586 ppm  และสาร DecaBDE ในจำนวน 101 ตัวอย่าง (ร้อยละ 91)  มีช่วงความเข้มข้นที่พบคือ 1 -  672 ppmอัครพล ตีบไธสง นักวิชาการมูลนิธิบูรณะนิเวศ ผู้ร่วมการศึกษาในโครงการนี้กล่าวให้ความเห็นว่า  “สารเคมีอันตรายกลุ่มนี้มักเจือปนอยู่ในขยะพลาสติก เป็นสิ่งอันตรายมากโดยเฉพาะต่อพัฒนาการทางสมอง ระบบประสาทของเด็ก และมีผลกระทบต่อระบบฮอร์โมนส์ของร่างกายด้วย จึงไม่ควรนำมาผลิตของเล่นเด็กโดยเด็ดขาด และควรมีมาตรการกำจัดผลิตภัณฑ์ที่อันตรายต่อเด็กออกจากท้องตลาดด้วย”ซึ่งสอดคล้องกับความเห็นของ ดร. โจ ดิกันจิ ผู้เชี่ยวชาญด้านสารอันตรายของ IPEN จากสหรัฐอเมริกา ที่กล่าวว่า “การรีไซเคิลวัสดุที่มีสารพิษเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ เป็นวัฏจักรที่จะทำให้ปนเปื้อนสารพิษในสิ่งแวดล้อมที่เป็นปัญหาไม่จบสิ้น และยังจะทำลายความน่าเชื่อถือของการรีไซเคิลวัสดุ รัฐบาลของแต่ละประเทศจึงควรหาทางยุติปัญหานี้และควรมีมาตรการเชิงป้องกันระยะยาวด้วย”ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่า สารหน่วงการติดไฟที่อยู่ในขยะอิเล็กทรอนิกส์นั้นยังคงปนเปื้อนในของเล่นเด็กและผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่ผลิตจากการรีไซเคิลขยะเหล่านี้อย่างน่าวิตก  ยิ่งไปกว่านั้นของเล่นหลายชนิดปนเปื้อนสารอันตรายมากกว่า 50  ppm ในที่นี้คือ OctaBDE และ HBCD  รวมถึง DecaBDE  

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า500 Point

ฉบับที่ 194 กฎหมายห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา เครื่องมือรัฐจัดการเจ้าหนี้ดอกเบี้ยโหด (2)

ความเดิมตอนที่แล้ว รัฐบาลได้ปรับปรุงและประกาศใช้ พ.ร.บ. ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา ฉบับใหม่ (พ.ศ. 2560) ห้ามเจ้าหนี้ คิดดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด ถ้าฝ่าฝืนมีโทษอาญาทั้งจำทั้งปรับ สำหรับเจ้าหนี้บุคคลธรรมดา มีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ไม่เกินร้อยละ 15  ต่อปี ส่วนสถาบันการเงินในกำกับของธนาคารแห่งประเทศไทย เช่น ธนาคารพาณิชย์ บริษัทบัตรเครดิต บริษัทสินเชื่อส่วนบุคคล เจ้าหนี้กลุ่มนี้มีสิทธิคิดดอกเบี้ยเงินกู้ได้เกินร้อยละ 15 ต่อปีดอกเบี้ยของเจ้าหนี้เงินกู้ที่เป็นสถาบันการเงิน  “สถาบันการเงิน” ตามนิยามของ พระราชบัญญัติดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ. 2523 ได้แก่ (1) ธนาคารแห่งประเทศไทย(2) ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์  (3) บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์  (4) สถาบันการเงินอื่นที่รัฐมนตรีกำหนดโดยคำแนะนำของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษากฎหมายให้สิทธิ สถาบันการเงินสามารถคิดดอกเบี้ยเกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปีได้ โดยจะออกเป็นประกาศกระทรวงการคลัง กำหนดรายละเอียดว่าสถาบันการเงินประเภทไหน คิดดอกเบี้ยได้เท่าไร และก็จะมีการปรับแก้อัตราดอกเบี้ยอยู่เป็นระยะ ๆ ตามสภาพเศรษฐกิจ ล่าสุด กำหนดให้ ธนาคารพาณิชย์คิดอัตราดอกเบี้ยสูงสุดได้ไม่เกินร้อยละ 19 ต่อปีดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง อัตราสูงสุดของดอกเบี้ยที่สถาบันการเงินอาจคิดได้จาก      ผู้กู้ยืม ได้ที่ http://law.longdo.com/lawindex/%E0%B8%94ดอกเบี้ยของเจ้าหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลบริษัทบัตรเครดิต บริษัทสินเชื่อส่วนบุคคลทั้งหลายนั้น เป็นการประกอบธุรกิจภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย  “บัตรเครดิต” มีเงื่อนไขกำหนดว่า “การเรียกเก็บดอกเบี้ยในหนี้ค้างชำระ หรือดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดชำระหนี้ หรือค่าปรับในการชำระหนี้ล่าช้ากว่ากำหนด หรือค่าธรรมเนียม หรือค่าบริการอื่นใด จากผู้ถือบัตร เมื่อคำนวณรวมกันแล้วต้องไม่เกินร้อยละ 20 ต่อปี” และ “ห้ามคิดค่าธรรมเนียม หรือค่าใช้จ่ายอื่นใด ในการเบิกถอนเงินสดผ่านบัตรเครดิต เกินร้อยละ 3 ของจำนวนเงินที่เบิกถอนนั้น”ในส่วนของ “สินเชื่อส่วนบุคคล” นั้น จะคิดดอกเบี้ย ได้ไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี ตามที่กฎหมายกำหนด แต่ก็ยังมีสิทธิคิด ค่าบริการ ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ได้อีก แต่เมื่อรวมกันทั้งหมดแล้วต้องไม่เกินร้อยละ 28 ต่อปี ดอกเบี้ยธุรกิจเช่าซื้อ ธุรกิจเช่าซื้อไม่ว่าจะเช่าซื้อรถยนต์ รถจักรยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า หรือสินค้าอะไรก็ตามนั้น ไม่อยู่ในการกำกับ ดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย เพราะไม่ได้เป็นการกู้ยืมเงิน ดังนั้น จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้เกินร้อยละ 15 ต่อปี ไม่อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายแพ่ง มาตรา 654  ดังนั้น จึงมีนายทุนเงินกู้นอกระบบเจ้าเล่ห์ อาศัยช่องว่างของกฎหมายตรงนี้ ปล่อยกู้โดยคิดดอกเบี้ยสูงกว่าร้อยละ 15 ต่อปี โดยอาศัยการทำสัญญาเช่าซื้อบังหน้า โดยทำทีว่า ลูกหนี้มาเช่าซื้อสินค้า เช่น คอมพิวเตอร์ ราคา 30,000 บาท ผ่อน 10 เดือน เดือนละ 3,000 บาท แต่ไม่ได้มีการส่งมอบเครื่องคอมพิวเตอร์กันจริง ๆ เมื่อเซ็นสัญญาเช่าซื้อแล้ว เจ้าหนี้ก็จะเอาเงินสดให้ลูกหนี้ 20,000 บาท หักไว้ 10,000 บาท เป็นค่าดำเนินการและดอกเบี้ยล่วงหน้า เป็นธุรกรรมทำนาบนหลังคน ที่มีเจตนาหลีกเลี่ยงกฎหมายห้ามคิดดอกเบี้ยเกินอัตราอย่างชัดเจน ซึ่งมีโทษทางอาญาทั้งจำทั้งปรับเลยทีเดียว ดอกเบี้ยผิดกฎหมาย ศาลยกขึ้นมาพิจารณาเองได้การคิดดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดนั้น เป็นเรื่องที่กระทบต่อความสงบเรียบร้อยของสังคม ศาลจึงมีอำนาจที่จะหยิบประเด็นนี้ขึ้นมาพิจารณาได้เอง แม้ว่าลูกหนี้จะไม่ได้อ้างเรื่องนี้เป็นข้อต่อสู้ในคดี ถ้าคุณเจอศาลที่ท่านเมตตาลูกหนี้   ให้ความเป็นธรรมพิพากษาไม่ให้คุณต้องจ่ายดอกเบี้ยโหดก็ถือว่าโชคดีไป แต่เพื่อความไม่ประมาท ก็ควรเตรียมตัวทำคำให้การให้ชัดเจนว่า เจ้าหนี้เขาคิดดอกเบี้ยคุณถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ เพราะการตัดหนี้ดอกเบี้ยพวกนี้ออกไปจะช่วยให้คุณประหยัดเงินในการปิดบัญชีปลดหนี้ไปได้อีกเยอะเลยทีเดียว

อ่านเพิ่มเติม >